สมาร์ทโฟน 10001-15000 บาท – CBIZ Reviews – MGR Online https://cyberbiz.mgronline.com เว็บไซต์รีวิวอุปกรณ์ ไอที ไฮเทค เป็นส่วนหนึ่งของผู้จัดการออนไลน์ Tue, 23 Apr 2019 11:53:33 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.0 Review : Nokia 8.1 กล้อง Zeiss ไม่ทำให้ผิดหวัง https://cyberbiz.mgronline.com/review-nokia-8-1/ Tue, 23 Apr 2019 11:50:45 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=30580 Nokia 8.1 คือสมาร์ทโฟนเรือธงที่ดีที่สุดนับตั้งแต่เอชเอ็มดี โกลบอลซื้อแบรนด์ Nokia กลับมาสู่อ้อมอกบ้านเกิด จุดขายหลักของ Nokia 8.1 คือสมรรถนะการทำงานที่รวดเร็ว, กล้องคู่เลนส์ ZEISS ที่ทำงานผสานกับระบบ AI, ระบบปฏิบัติการ Android 9 Pie ที่อัปเดตความปลอดภัยทุกเดือนเป็นเวลา 3 ปี และรับประกันการอัปเดต Android เวอร์ชั่นใหม่อย่างน้อย 2 เวอร์ชั่น ทั้ง 4 จุดขายนี้ถูกนำมารวมกันในเครื่องที่มองแล้วหน้าตาคล้ายรุ่นฮิต Nokia 6.1 Plus

ข้อดี

– ดีไซน์หรู วัสดุดูดี
– ระบบ Android One ลื่นไหล
– แบตเตอรี่อึดทนนาน เหลือ 3% ยังใช้ต่อได้เกิน 1 ชั่วโมง
– กล้องคู่เลนส์ ZEISS ถ่ายภาพแสงน้อยได้ดี

ข้อสังเกต

– ไม่มีฟีเจอร์ซอฟต์แวร์พิเศษ
– หากไม่ได้ชาร์จกับ adapter ที่ให้มา จะชาร์จได้ช้ามาก

สวยขึ้นนิดเดียว?

ความรู้สึกแรกที่ได้จับ Nokia 8.1 คือหน้าตาที่มองคล้ายกับรุ่นพี่ทั้ง Nokia 6.1 Plus และ Nokia 7 Plus แต่จุดต่างคือความเล็กกว่าของหน้าจอขนาด 6.18 นิ้ว รอบตัวเครื่องเป็นอะลูมิเนียม ตัดขอบด้วยสีทองแดงหรือ Copper จนเป็นลูกเล่นที่ดึงดูดสายตาคนชอบความแวววาวได้อยู่หมัด

Nokia 8.1 มีกล้องหน้าความละเอียดสูงติดไว้ด้านบน หน้าจอความละเอียด Full HD+ ฝั่งซ้ายของเครื่องเป็นช่องใส่ซิม และ Micro SD, ฝั่งขวามีปุ่มกดปรับระดับเสียงและเปิดปิดเครื่อง

Nokia 8.1 มาพร้อมพอร์ต USB-C ติดไว้ด้านล่างของเครื่อง วางไว้กึ่งกลางระหว่างลำโพงและไมโครโฟน สำหรับช่องเสียบหูฟังถูกติดไว้ด้านบนแทน ด้านหลังของ Nokia 8.1 มีกระจกเคลือบ ช่วยลดรอยนิ้วมือกวนใจได้ดีมาก กล้องถ่ายภาพเลนส์ Zeiss คู่วางไว้เหนือระบบสแกนลายนิ้วมือ ตามมาด้วยโลโก้ Nokia ที่วางแนวนอน

AI ช่วยให้ฉลาดขึ้น

การเพิ่มระบบ AI ที่ทำให้ Nokia 8.1 ดูฉลาดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อรวมกับระบบปฏิบัติการ Android Pie พ่วงด้วยฐานะมือถือ Android One ทำให้สิ่งที่สัมผัสได้ชัดบน Nokia 8.1 คือความลื่นไหล ที่สำคัญคือกล้องหลังของ Nokia 8.1 ที่เป็นเลนส์ Zeiss คู่ 13 และ 12 ล้านพิกเซลและทำงานร่วมกับระบบ AI ประมวลผลภาพนั้นช่วยยกระดับการถ่ายภาพบน Nokia 8.1 ได้แบบไม่ต้องอธิบายกันมาก

UI กล้องแบบใหม่บน Nokia 8.1 ถือว่าใช้ง่าย มีระบบ Auto Focus ถ่ายภาพไม่ผิดหวังเพราะมีแฟลช LED Flash Two Tone ภาพเหล่านี้จะยิ่งชัดใสเมื่อแสดงบนหน้าจอ Nokia 8.1 ที่มีฟีเจอร์ Pure Display ผ่านหน้าจอ LTPS LCD ขนาด 6.18 นิ้ว ความละเอียด 2280×1080 พิกเซล

Nokia 8.1 ไม่เพียงถูกใจคอวิดีโอเพราะสามารถถ่ายวิดีโอความละเอียดสูงสุดที่ 4K 30 FPS แต่ยังถูกใจคอเซลฟี่เพราะกล้องหน้าของ Nokia 8.1 ใช้เลนส์ Zeiss ความละเอียด 20 ล้านพิกเซล ซึ่งยังคงมีลูกเล่นเฉพาะของ Nokia อย่าง Bothie เหมือนเดิม

Nokia 8.1 ตอบโจทย์คอเกมได้ด้วยซีพียู Qualcomm Snapdragon 710 หน่วยความจำ RAM ขนาด 4GB พื้นที่เก็บข้อมูล ROM ขนาด 64GB รองรับ MicroSD สูงสุด 512GB รองรับการเชื่อมต่อ 4G LTE (Dual SIM), WiFi 802.11AC, Bluetooth 5.0, GPS และ A-GPS

ผลการทดสอบของ Nokia 8.1 พบว่าพอเชิดหน้าชูตาได้ เช่นเดียวกับการแสดงผลกราฟฟิก


แบตเตอรี่ของ Nokia 8.1 ใหญ่ 3500 mAh ใช้งานทั่วไปได้ตลอดวันแบบไม่ต้องชาร์จ การชาร์จแบตเตอรี่จาก 0% เป็น 100% ใช้เวลาราว 2 ชั่วโมง ผลงานของที่ชาร์จใหญ่ขนาด 18W ซึ่งแปลว่า HMD Global ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีชาร์จไว

ปิดรอยบากไม่ได้

Nokia 8.1 ไม่มีซอฟต์แวร์ซ่อนรอยบากหรือ Notch มากับเครื่อง ผู้ใช้ที่รำคาญตาอาจต้องไปดาวน์โหลดโปรแกรมเพื่อซ่อนรอยบากด้วยตัวเอง ถือเป็นจุดต่างของสมาร์ทโฟนแบรนด์ Nokia เทียบกับแอนดรอยด์โฟนค่ายอื่นอย่างเช่น Huawei หรือ Oppo ที่มีซอฟต์แวร์ซ่อนทั้งรอยบากและรอยหยดน้ำบนหน้าจอไร้ขอบของตัวเอง

นอกจากการไม่มีซอฟต์แวร์เสริม อีกจุดที่สัมผัสได้จากการทดสอบ Nokia 8.1 เครื่องนี้คือระบบสแกนลายนิ้วมือที่ทำงานไม่ต่อเนื่อง นอกจากนี้ การหยิบจับเครื่องเมื่อวางลงยังทำได้ยาก เกิดจากตัว body ของเครื่องที่ลื่น ไม่ถนัดมือ

สรุป

ตัวเครื่องและจอแสดงผลสวยงามทำให้ราคาโปรโมชัน 9,900 บาท จากราคาเต็ม 13,900 บาทถูกมองว่าดีงามมาก โดยเฉพาะการถ่ายรูปในที่แสงน้อยที่ทำได้ดีเหลือเชื่อ

แบตเตอรี่ 3,500 mAh ไม่ทำให้ผิดหวังเพราะสามารถใช้งานต่อได้แม้ไม่ชาร์จทุกวัน ระบบจะตัดคุณสมบัติบางส่วนออกเพื่อประหยัดแบตเตอรี่ ทำให้ยังสามารถใช้งานต่อได้อีกหลายชั่วโมง

]]>
Review : VIVO V7+ เน้นเซลฟี 24 ล้านพิกเซลพร้อมระบบปลดล็อกด้วยใบหน้า https://cyberbiz.mgronline.com/review-vivo-v7plus/ Fri, 06 Oct 2017 09:26:13 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=27333

ช่วงนี้ตลาดสมาร์ทโฟนระดับกลางค่อนข้างคึกคัก เพราะนอกจากกระแสจอแบบไร้ขอบ (Full View) จะถูกนำมาใช้มากขึ้นแล้ว เรื่องของกล้องหน้าเน้นถ่ายเซลฟีคุณภาพสูง ยังถือเป็นอีกหนึ่งจุดเด่นที่ปัจจุบันกลายเป็นจุดขายหลักของสมาร์ทโฟนราคาไม่เกิน 1 หมื่นห้าพันบาทไปเช่นกัน

โดยในวันนี้ทีมงานไซเบอร์บิซได้รับอีกหนึ่งสมาร์ทโฟนระดับกลาง VIVO V7+ ที่มีความโดดเด่นตั้งแต่หน้าจอแบบ Full View ไปถึงเรื่องกล้องหน้าความละเอียดสูงถึง 24 ล้านพิกเซลและมาพร้อมระบบปลดล็อกด้วยใบหน้าไม่ต่างกับ iPhone X อีกด้วย

การออกแบบ

เริ่มจากด้านหน้า VIVO V7+ การออกแบบหน้าจอของวีโว่จะเป็นแบบ Full View ที่ใช้การขยายขอบจอทั้ง 4 ด้านให้ชิดกับขอบเครื่องมากยิ่งขึ้น ทำให้อัตราส่วนภาพเปลี่ยนจาก 16:9 เป็น 18:9 พร้อมขอบจอบางเพียง 2.15 มิลลิเมตร ทำให้ V7+ จะมีหน้าจอที่ใหญ่ถึง 5.99 นิ้ว ความละเอียดหน้าจอ 1,440×720 พิกเซล แต่ตัวเครื่องยังคงความเล็กในแบบสมาร์ทโฟนจอ 5 นิ้วปกติ

ในส่วนปุ่มคำสั่ง Navigation Buttons จะทำผ่านซอฟต์แวร์ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นปุ่มโฮม ย้อนกลับและเรียก Recent Apps โดยผู้ใช้สามารถปรับแต่งสลับตำแหน่งปุ่มคำสั่งได้ในเมนูตั้งค่า

ด้านขนาดตัวเครื่องจะมีความหนาเพียง 7.7 มิลลิเมตรและน้ำหนัก 160 กรัม เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งสมาร์ทโฟนที่มีหน้าจอใหญ่แต่ตัวเครื่องทั้งน้ำหนักและขนาดกำลังพอดีมือ

มาดูกล้องหน้า VIVO V7+ จะมีความละเอียดสูงสุดที่ 24 ล้านพิกเซล รูรับแสง f2.0 พร้อมไฟ LED Selfie Softlight และตัวกล้องรองรับระบบสแกนใบหน้าเพื่อปลดล็อกสมาร์ทโฟนด้วย

ด้านหลัง ใช้วัสดุเป็นอะลูมิเนียม โดยด้านบนจะเป็นที่อยู่ของกล้องถ่ายภาพหลัก 16 ล้านพิกเซล รูรับแสง f2.0 พร้อมไฟแฟลช LED 1 ดวง ถัดลงมาเป็นส่วนเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือและโลโก้วีโว่

มาดูในส่วนพอร์ตเชื่อมต่อและปุ่มกดรอบตัวเครื่อง เริ่มจากด้านล่างเครื่อง จะเป็นที่อยู่ของช่องหูฟัง 3.5 มิลลิเมตร ไมโครโฟน พอร์ต MicroUSB และลำโพง 1 ตัว

ด้านบน เป็นที่อยู่ของไมโครโฟนตัดเสียงรบกวน

ด้านซ้าย เป็นช่องใส่ซิมการ์ดโทรศัพท์แบบ Nano Sim รองรับ 2 ซิมการ์ดและ 1 MicroSD Card (รองรับความจุสูงสุด 256GB)

ด้านขวา เป็นปุ่มเพิ่มลดเสียงและปุ่มเปิดปิดเครื่อง (สังเกตบริเวณกล้องถ่ายภาพด้านหลังจะยื่นออกจากตัวเครื่องเล็กน้อย ทำให้ต้องระวังเรื่องการวางเครื่องบนโต๊ะเพราะอาจทำให้เกิดรอยที่เลนส์ได้ แนะนำให้ใส่เคสจะดีที่สุด)

สุดท้ายมาแกะกล่อง VIVO V7+ เสียหน่อย จะพบว่าทางวีโว่ได้แถมเคสพลาสติกพร้อมติดฟิล์มกันรอยที่หน้าจอมาให้ในกล่องเลย

สเปก

VIVO V7+ ขับเคลื่อนด้วยซีพียู Qualcomm Snapdragon 625 Octa-core ความเร็ว 1.80GHz มาพร้อมแรม 4GB รอม 64GB (เหลือให้ใช้จริงประมาณ 50GB) ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 7.1 (และ Funtouch OS 3.2 จากวีโว่) พร้อมแบตเตอรี 3,225mAh

ด้านสเปกเชื่อมต่อเครือข่ายรองรับ 3G/4G ทุกเครือข่ายในบ้านเรา ส่วน WiFi รองรับมาตรฐาน 802.11 b/g/n/ac บลูทูธ 4.2 GPS รองรับทั้ง GLONASS/BeiDou พร้อมภาครับวิทยุ FM ภายในตัว และสุดท้ายภายในตัวเครื่องยังมาพร้อมชิปเสียง AK4376A HiFi รองรับการถอดรหัสไฟล์เสียงคุณภาพสูงอย่างเต็มรูปแบบ

ฟีเจอร์เด่น

ต้องบอกว่าข้อดีของ Funtouch OS 3.2 จากวีโว่จะอยู่ในเรื่องหน้าตาที่ดูเรียบและเข้าถึงง่ายไม่ซับซ้อน แถมการออกแบบไอคอนไปถึงการจัดวางเรียกใช้ออปชันปรับแต่งค่าต่างๆยังให้ความรู้สึกเดียวกับ iOS บนไอโฟนอย่างมาก เช่น เวลาจะเรียก Quick Setting ปกติของแอนดรอยด์จะต้องรูดนิ้วจากขอบจอด้านบนลงล่าง แต่ของวีโว่จะใช้วิธีรูดจากขอบจอด้านล่างขึ้นบนพร้อมอินเตอร์เฟสแบบเดียวกับ Control Center บน iOS อย่างใดอย่างนั้น

ในส่วนแอปฯพื้นฐานติดตั้งมาจากโรงงานทางวีโว่ให้มาพอประมาณ ส่วนใหญ่จะเป็นแอปฯจำพวกจดโน้ต WPS Office เวอร์ชันอ่านแก้ภาษาไทยได้ VIVO Cloud รวมถึงเฟสบุ๊ก เป็นต้น

มาดูฟีเจอร์เด่นกันบ้าง เริ่มจาก “ระบบสแกนและจดจำใบหน้าเพื่อใช้ปลดล็อกตัวเครื่อง” ที่ทาง VIVO เรียกว่า “Facial Recognition” และมีลักษณะการทำงานคล้ายกับ Face ID บน iPhone X เพียงแต่ของวีโว่จะไม่มีเซ็นเซอร์ตรวจจับใบหน้าโดยเฉพาะ แต่ใช้กล้องหน้าในการตรวจจับใบหน้าเราหลายส่วน และการปลดล็อกจะใช้เวลารวดเร็วเพียงเสี้ยววินาทีเท่านั้น (ทำงานเร็วกว่าระบบตรวจจับใบหน้าที่เคยมีในแอนดรอยด์ทุกรุ่นรวมถึง Iris Scan ของซัมซุง)

แต่ทั้งนี้ระบบ Facial Recognition ของวีโว่ก็มีข้อจำกัดอยู่โดยเฉพาะเมื่อใช้ในที่แสงน้อยมาก ระบบจะไม่สามารถตรวจจับใบหน้าได้ หรือถ้าเรามีฝาแฝดที่หน้าตา โครงหน้าและไว้ทรงผมเหมือนกับเราระบบอาจมองว่าเป็นคนคนเดียวกันและยอมปลดล็อกหน้าจอได้ ส่วนการใช้รูปถ่ายในการปลดล็อก ทีมงานทดสอบแล้วว่าไม่สามารถทำได้

มาถึงฟีเจอร์ต่อไปกับความสามารถในการทำ Multitask เปิด 2 แอปฯใน 1 หน้าจอที่กลายเป็นมาตรฐานใหม่ของแอนดรอยด์ทุกรุ่นในปัจจุบัน แน่นอนว่า VIVO V7+ สามารถใช้งานฟีเจอร์นี้ได้ลื่นไหล เพียงแต่ต้องเป็นแอปฯที่รองรับเท่านั้นถึงจะเข้าสู่โหมดใช้งานดังกว่าได้

นอกจากนั้น VIVO V7+ ยังมาพร้อมฟีเจอร์ Dual Apps ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ที่มีบัญชีแอปฯโซเชียล เช่น Facebook, LINE สามารถเข้าใช้งาน 2 บัญชีพร้อมกันได้ในเครื่องเดียว

สุดท้ายกับฟีเจอร์เด็ดเอาใจสาวสวย หนุ่มหล่อกับ Beauty Mode ที่ออกแบบมาเพื่อกล้องหน้า V7+ โดยเฉพาะและสามารถเปิดใช้งานเมื่อเราวิดีโอคอลล์หาเพื่อนผ่านแอปฯ เช่น LINE ผู้ใช้สามารถปรับเอ็ฟเฟ็กต์แต่งความงามบนใบหน้าหรือจะเปิดไฟ Softlight ช่วยให้หน้าขาวใสก็สามารถทำได้ทันที

กล้องถ่ายภาพ

อย่างที่ทราบดีว่า V7+ จะเน้นกล้องหน้าเป็นหลัก ส่วนกล้องหลังจะให้คุณภาพไม่โดดเด่นนัก โดยในส่วนของซอฟต์แวร์ก็เรียกได้ว่า วีโว่จัดเต็มเอาใจขาเซลฟีอย่างมาก โดยเมื่อผู้ใช้เปิดกล้องหน้าจะสามารถเลือกโหมดเซลฟีได้หลากหลายตั้งแต่ เซลฟีมุมกว้าง (พาโนรามา) สำหรับถ่ายเซลฟีร่วมกับวิวทิวทัศน์หรือจะประยุกต์ใช้ถ่ายเซลฟีหมู่ก็ได้ ใบหน้าสวยหรือ Beauty Mode โหมดปรับความขาวใสของใบหน้า รวมถึงมี Portrait Mode ทำหน้าชัดหลังเบลอ (ผ่านซอฟต์แวร์) และสุดท้ายกล้องหน้าสามารถบันทึกวิดีโอได้ที่ความละเอียดสูงสุด 1080p

วิดีโอตัวอย่างจากกล้องหน้าที่ความละเอียด 1080p

ส่วนกล้องหลังจะมีโหมดให้เลือกใช้ตั้งแต่ UltraHD, โหมดมืออาชีพปรับแต่งค่ากล้องเองได้รวมถึง Time Lapse และมี HDR, Live Photo รวมถึงมีฟิลเตอร์สีให้เลือกใช้และสามารถใส่ลายน้ำให้รูปได้ด้วย

ตัวอย่างภาพจากกล้อง VIVO V7+

กล้องหลัง

กล้องหลัง

กล้องหลัง

กล้องหน้า โหมดภาพปกติ

กล้องหน้า Beauty Mode (ใบหน้าสวย)

กล้องหน้าถ่ายย้อนแสงพร้อมเปิด Beauty Mode (ใบหน้าสวย) + Portrait Mode หน้าชัดหลังเบลอ

ภาพรวมเรื่องกล้องถ่ายภาพจะเห็นว่า VIVO V7+ จะโดดเด่นในเรื่องกล้องหน้ามากกว่า ส่วนกล้องหลังคุณภาพถือว่ากลางๆไม่ดีและแย่เกินไป พอใช้ถ่ายภาพสนุกๆได้ ส่วนความรวดเร็วของชัตเตอร์ถือว่ากำลังดี กดปุ๊บภาพมาปั๊บ ไม่เชื่องช้าให้จังหวะการถ่ายภาพเสียเหมือนหลายแบรนด์ในระดับเดียวกัน

ทดสอบประสิทธิภาพ

AnTuTu Benchmark = 56,570 คะแนน

PCMark Work 2.0 = 4,934 คะแนน

3DMark
Sling Shot Extreme = 435 คะแนน
Sling Shot = 799 คะแนน
Ice Storm Extreme = 7,879 คะแนน
Ice Storm = 12,063 คะแนน

PassMark PerformanceTest
System = 4,561 คะแนน
CPU Tests = 113,173 คะแนน
Memory Tests = 6,108 คะแนน
Disk Tests = 60,656 คะแนน
2D Graphics Tests = 3,284 คะแนน
3D Graphics Tests = 1,049 คะแนน

AndroBench
Seq. Read = 300.64 MB/s
Seq. Write = 218.44 MB/s

สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพ VIVO V7+ คะแนนถือว่าใช้ได้ตามาตรฐานกลุ่มสมาร์ทโฟนระดับกลาง ส่วนการใช้งานจริงถือว่าเป็นอีกหนึ่งสมาร์ทโฟนที่ทำงานลื่นไหลและไม่พบอาการแอปฯเด้งเพราะแรมหมดให้เห็น การทำงาน ลูกเล่นและการใช้งานทำได้ค่อนข้างประทับใจ สเปกและซอฟต์แวร์วีโว่ใส่มาให้พอดีเหมาะสมกับราคา โดยเฉพาะรอม 64GB ถือว่าเพียงพอในปัจจุบันแล้ว

ส่วนแบตเตอรีเป็นอะไรที่ว้าวมาก เพราะจากสเปกแล้วไม่น่าจะอึดทนถึงเพียงนี้ แต่ VIVO V7+ สามารถทดสอบใช้งานต่อเนื่องได้ยาวนานถึง 14-15 ชั่วโมงแบบเปิดหน้าจอทิ้งไว้ตลอดการทดสอบ (แบตฯเหลือ 20%) ส่วนเมื่อใช้งานปกติในชีวิตประจำวัน ถ้าไม่ใช่คนชอบถ่ายรูปหรือแชทตลอดทั้งวัน แบตฯของวีโว่สามารถใช้ได้เต็มวันเกือบ 24 ชั่วโมงแน่นอน

สรุป

สำหรับราคา VIVO V7+ อยู่ที่ 11,990 บาท มีให้เลือก 2 สีได้แก่ ดำด้านและทอง เทียบกับสเปก ประสิทธิภาพและลูกเล่นต่างๆก็ถือเป็นอีกหนึ่งสมาร์ทโฟนระดับกลางที่ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะผู้ที่กำลังมองหาสมาร์ทโฟนเน้นกล้องหน้าเพื่อนำมาถ่ายวิดีโอไลฟ์ รีวิวสินค้าหรือเน้นเซลฟีเป็นหลัก V7+ น่าตอบโจทย์ได้ดี จะมีข้อสังเกตอยู่อย่างเดียวก็เรื่องกล้องหลังที่ให้คุณภาพระดับเริ่มต้นเกินไป แน่นอนว่าแพ้พี่ใหญ่ในกลุ่มที่เคยทำคะแนนทดสอบไว้ยอดเยี่ยมอย่าง OPPO R9s พอสมควร แต่เรื่องกล้องหน้าตามความรู้สึกของทีมงาน R9s สู้ V7+ ไม่ได้ ส่วนหลายคนที่สงสัยว่าสู้ ASUS Zenfone 4 Selfie รุ่นราคา 8,990 บาทได้หรือไม่ ต้องเรียนตามตรงว่า VIVO V7+ ดีกว่ามากครับ เพราะ Zenfone 4 Selfie จะจับกลุ่มระดับเริ่มต้นกว่า V7+ (ถ้าจะเทียบชนกันให้ถูกต้องเป็นรุ่น Zenfone 4 Selfie Pro)

ข้อดี

– กล้องหน้า 24 ล้านพิกเซล เป็นสมาร์ทโฟนที่เกิดมาเพื่อเน้นเซลฟีโดยเฉพาะ
– แบตเตอรีอึด
– งานประกอบค่อนข้างดี
– ระบบสแกนใบหน้าและปลดล็อกเครื่องทำงานรวดเร็ว
– ลำโพงถึงแม้จะเป็นโมโนแต่เสียงดีมาก
– รอม 64GB
– ในแพกเกจมีฟิล์มกันรอยหน้าจอและเคสแถมมาให้ด้วย

ข้อสังเกต

– กล้องหลังคุณภาพยังไม่น่าประทับใจ
– ระบบสแกนใบหน้าและปลดล็อกเครื่องเหมือนเป็นลูกเล่นเสริมมากว่าจะใช้งานจริงจังเนื่องจากเรื่องความปลอดภัยที่ไม่ดีเท่าสแกนลายนิ้วมือและรหัสผ่าน

Gallery

]]>
Review : Vivo V5 Plus ตัวแม่ของคนชอปเซลฟี่ด้วยกล้องหน้าคู่ https://cyberbiz.mgronline.com/review-vivo-v5-plus/ Sun, 30 Apr 2017 10:48:35 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=25872

การวางกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนของ Vivo ด้วยการใส่กล้องหน้าคู่ความละเอียด 20/8 ล้านพิกเซล มาให้ใช้งาน กับกล้องหลัง 16 ล้านพิกเซล ถือเป็นจุดแข็งสำคัญที่ทำให้ Vivo V5 Plus กลายมาเป็นแอนดรอยด์โฟนในช่วงหมื่นบาทที่น่าสนใจในเวลานี้

การออกแบบ

Vivo V5 Plus ถือเป็นสมาร์ทโฟนที่ออกแบบมาได้ใกล้เคียงกับ iPhone 7 มากที่สุด ทั้งในแง่ของดีไซน์โดยรวม และยูสเซอร์อินเตอร์เฟสที่มีให้เลือกใช้งาน ดังนั้น การที่มาจับกลุ่มผู้ใช้ที่อยากได้เครื่องดีไซน์พรีเมียมในระดับราคาหมื่นบาท ถือเป็นจุดที่น่าสนใจ

โดยรวมแล้วดีไซน์ของ V5 Plus ก็เหมือนเป็นการนำ V5 มาเพิ่มขนาดให้ใหญ่ขึ้น ใช้วัสดุเป็นอะลูมิเนียม ทำให้ตัวเครื่องโดยรวมของ Vivo V5 Plus จะอยู่ที่ 152.58 x 74.00 x 7.26 มิลลิเมตร น้ำหนัก 158.6 กรัม มีให้เลือกเฉพาะสีขาว-ทอง

ด้านหน้า – จะมีขอ IPS Lcd ขนาด 5.5 นิ้ว ความละเอียด Full HD (1920 x 1080 พิกเซล) ความละเอียดเม็ดสี 401 ppi โดยเป็นจอกอลิล่ากลาส 5 ที่ลบเหลี่ยมมุมเป็นแบบ 2.5D ส่วนบนหน้าจอมีช่องลำโพงสนทนาตรงกึ่งกลาง

โดยมีกล้องความละเอียด 20 ล้านพิกเซล และ 8 ล้านพิกเซล f/2.0 อยู่ทางฝั่งซ้าย และทางฝั่งขวาเป็นไฟแฟลชกล้องหน้า และเซ็นเซอร์ตรวจจับใบหน้า พร้อมกับไฟแสดงสถานะทางฝั่งขวา ส่วนล่างหน้าจอมีปุ่มโฮม (ใช้สแกนลายนิ้วมือ) ปุ่มย้อนกลับ และปุ่มเรียกดูแอปที่ใช้งานล่าสุด

ด้านหลัง – ตัวผิวเครื่องจะทำออกมาเกือบๆด้าน ทำให้มีรอยนิ้วมือติดค่อนข้างยาก โดยมีกล้องความละเอียด 16 ล้านพิกเซล พร้อมไฟแฟลขอยู่ที่มุมบน โดยตัวกล้องจะนูนออกมาจากเครื่องเล็กน้อย และมีสัญลักษณ์ของ Vivo สีเงิน อยู่ตรงกึ่งกลาง และสัญลักษณ์มาตรฐานต่างๆอยู่ส่วนล่าง

ด้านซ้าย – จะมีช่องถาดใส่ซิมการ์ด แบบนาโนซิมการ์ด 2 ซิม ด้านขวา – เป็นปุ่มเปิด-ปิดเครื่อง และปุ่มปรับระดับเสียง โดยถ้าสังเกตการออกแบบจะมีลายเส้นของสายสัญญาณโทรศัพท์พาดมาด้วย

ด้านบน – ถูกปล่อยว่างไว้เช่นเดียวกัน ด้านล่าง – มีทั้งพอร์ตไมโครยูเอสบี ช่องเสียบหูฟัง ไมโครโฟน ลำโพง และรูน็อตสำหรับแกะตัวเครื่อง

สำหรับอุปกรณ์ที่ให้มาในกล่องนอกจากตัวเครื่อง จะประกอบไปด้วย สายยูเอสบี อะเดปเตอร์ หูฟัง คู่มือการใช้งาน เคสใส และฟิลม์กันรอยอีก 1 แผ่น (ที่ตัวเครื่องแปะมาแล้ว 1 แผ่น) นอกจากนี้ ก็จะมีชุดหูฟังบลูทูธอินเอียร์แบบเกี่ยวหู (มีจุกให้เลือกเปลี่ยน) และที่เสียบชาร์จในรถยนต์แบบชาร์จเร็ว

สเปก

สำหรับสเปกภายในของ Vivo V5 Plus จะใช้หน่วยประมวลผล Qualcomm Snapdragon 625 ที่เป็น Octa Core 2 GHz 64 bit RAM 4 GB พื้นที่เก็บข้อมูลในตัวเครื่อง 64 GB ทำงานบนระบบปฏิบัติการ Funtouch 3.0 ที่เป็นแอนดรอยด์ 6.0

ด้านการเชื่อมต่อรองรับทั้ง 4G LTE / 3G 2 ซิมสแตนบาย Wi-Fi มาตรฐาน 802.11 ac บลูทูธ 4.0 มี วิทยุ FM, GPS ภายในตัว แต่ไม่มี NFC มาให้ แบตเตอรีภายใน 3,160 mAh รองรับระบบชาร์จเร็ว

ฟีเจอร์เด่น

ในส่วนของการใช้งาน Vivo V5 Plus ต้องยอมรับว่า Vivo ทำการบ้านมาค่อนข้างดี ด้วยการออกแบบอินเตอร์เฟสใหม่มาครอบในชื่อ Funtouch OS ให้มีความแตกต่างจากแอนดรอยด์ทั่วไป ด้วยการนำหน้ารวมแอปออกไป รวมทุกอย่างมาไว้บนหน้าจอหลักทั้งหมด

ขณะเดียวกัน ก็มีการปรับไอค่อนแอปให้คล้ายกับบน iOS เมื่อดีไซน์คล้ายกัน การสื่อสารไปยังผู้บริโภคก็ง่ายขึ้น แต่แน่นอนว่าถ้าใครไม่ชอปดีไซน์ลักษณะที่ก็สามารถเข้าไปเลือกเปลี่ยน Themes ได้ตามความต้องการอยู่แล้ว

เบื้องต้นแอปพลิเคชันที่ติดตั้งมาให้ก็จะเป็นแอปทั่วไปๆ ทั้งบริการต่างๆของกูเกิล เซอร์วิส โทรศัพท์ ข้อความ เบราว์เซอร์ กล้อง เครื่องเล่นเพลง อัลบั้มภาพ วิดีโอ ครบถ้วน ที่เพิ่มมาก็จะมีอย่าง i Manager ไว้จัดการตัวเครื่อง WPS Office ไว้เปิดเอกสารดู และ UC Browser เป็นอีกช่องทางในการท่องเว็บ

ในแง่ของการตั้งค่าลัดต่างๆของ Vivo V5 Plus จะใช้วิธีการลากจากล่างหน้าจอขึ้นมา แน่นอนว่าเหมือนการใช้งานบนไอโฟนไม่ผิดเพี้ยน แต่จะมีรูปแบบการตั้งค่าที่หลากหลายกว่าไม่ว่าจะเป็นปรับสีจอ ปรับระดับเสียง เปิดโหมดเครื่องบิน ปรับการแสดงผล(ตัดแสงสีฟ้า) เปิดปิดการเชื่อมต่อไวไฟ ดาต้า บลูทูธ พร้อมทางลัดเรียกใช้ไฟฉาย กล้อง จับภาพหน้าจอ

ส่วนของการแจ้งเตือนดูได้จากการลากนิ้วจากขอบบนตามปกติ ซึ่งนอกจากแสดงผลแจ้งเตือน ก็จะมีแสดงเวลา วันที่ เครือข่ายที่ใช้งานอยู่ด้วย ส่วนหน้าจอล็อกสกรีน ผู้ใช้สามารถเลือกรูปแบบได้ทั้งกรอกรหัส วาดรูปแบบ และสแกนลายนิ้วมือ โดยหน้าจอล็อกจะมีปุ่มลัดสำหรับการโทร และเรียกใช้งานกล้องให้

ในส่วนของการตั้งค่า มีการเพิ่มสีสันให้ดูใช้งานง่ายขึ้น แบ่งออกเป็นส่วนๆคือการเชื่อมต่อ การแสดงผลและการแจ้งเตือน การตั้งค่าตัวเครื่อง การจัดการบัญชีผู้ใช้ และแอปการใช้งานพื้นฐานต่างๆ รวมถึงการตั้งค่าโหมดพิเศษต่างๆ

การใช้งานอัจฉริยะ จะเป็นการทำให้จอเปิดโดยไม่ต้องสัมผัส ด้วยการใช้มือปาดบริเวณเซ็นเซอร์ส่วนบนหน้าจอ การเปิดหน้าจออัจฉริยะอย่างการสัมผัสหน้าจอ 2 ครั้ง หรือเมื่อนำออกจากระเป๋า รูปแบบการโทรอัจฉริยะเมื่อนำเครื่องไปแนบใบหน้า เขย่าเครื่องเพื่อเปิดใช้งานไฟฉาย การซูมภาพโดยการเอียงโทรศัพท์ต่างๆ

รวมถึงการใช้งานแบบ Multi-Screen กับแอปพื้นฐานอย่างข้อความ เฟซบุ๊ก ไลน์ วอทซ์แอป ที่สามารถใช้งานพร้อมๆกันได้แบบแบ่งเครื่องหน้าจอ และสุดท้ายโหมดการใช้งานด้วยมือข้างเดียว ทั้งปุ่มกด และการใส่รหัสผ่านในการปลดล็อกเครื่อง และแป้นพิมพ์ที่ย่อขนาดลงมา

ที่กล่าวถึง i Manager จะเป็นเหมือนแอปที่ไว้เช็กการทำงานของโทรศัพท์ ที่จะตรวจสอบว่าตัวเครื่องมีการเปิดแอปอะไรค้างไว้หรือไม่ รวมถึงการอัปเดตเฟิร์มแวร์ให้ใหม่ที่สุด และยังใ้ช้ในการจัดการพื้นที่ในตัวเครื่อง เพื่อดูว่าแต่ละแอปใช้งานพื้นที่ใดบนเครื่องบ้าง ถ้ามีข้อมูลแคช หรือที่ไม่ได้ใช้ก็สามารถลบทิ้งเพื่อให้เครื่องโล่งขึ้นได้

การถ่ายภาพของ Vivo V5 Plus อินเตอร์เฟสจะใช้การสลับโหมดด้วยการปาดซ้ายขวาบนหน้าจอเพื่อเลือกถ่ายภาพพาโนราม่า ใบหน้าสวย ภาพถ่ายปกติ และการถ่ายวิดีโอ โดยในโหมดภาพถ่ายยังสามารถเลือกได้ว่าจะถ่ายภาพกลางคืน ภาพคมชัดสูง (ใช้การซ้อนภาพ) ถ่ายจอพาวเวอร์พอยต์ โหมดกีฬา การปรับตั้งค่าเอง ภาพเคลื่อนไหว (Gif) ถือว่าให้มาค่อนข้างครบ

ภาพตัวอย่างจาก Vivo V5 Plus

การใช้งานโทรศัพท์ ตัวแป้นพิมพ์ตัวเลขจะมาพร้อมกับระบบคาดเดารายชื่ออยู่แล้ว เมื่อกดเลขหมายนำหน้า หรืออักษรก็สามารถเลือกเพื่อใช้งานโทรศัพท์ได้ทันที หน้าจอขณะสนทนาจะแสดงชื่อ เบอร์ เวลาที่ใช้ มีปุ่มลัดเรียกแป้นพิมพ์ บันทึกเสียง พักสาย ปิดเสียง เพิ่มสาย ดูรายชื่อ เปิดลำโพงให้กด ส่วนกรณีที่มีสายเรียกเข้าใช้การลากลงเพื่อรับ ลากขึ้นเพื่อตัดสาย หรือลากจากขอบหน้าจอขึ้นมาเพื่อส่งข้อความกลับ

ภายในเครื่องยังมีการใส่แอปสำหรับจัดการไฟล์มาให้ เพื่อช่วยให้สามารถเข้าถึงไฟล์ต่างๆในตัวเครื่องได้สะดวกขึ้น มีการแบ่งประเภทของไฟล์ชัดเจน นอกจากนี้ Vivo ยังมีการใส่แอปอย่าง Easy Share มาให้เลือกส่งข้อมูลผ่าน WiFi กับเพื่อนที่ใช้งานแอนดรอยด์ด้วยกันได้มาให้ด้วย

การใช้งานเว็บเบราว์เซอร์ รองรับการโหลดหน้าเว็บหนักๆได้สบายๆ ประกอบกับขนาดหน้าจอ 5.5 นิ้ว ถือว่าตอบโจทย์การใช้งานได้เป็นอย่างดีทั้งแนวตั้ง แนวนอน ไม่รวมถึงการนำไปใช้ในด้านความบันเทิงอย่างดูยูทูป หรือวิดีโอ Live จากเฟซบุ๊ก ก็ช่วยให้ผู้ใช้สนุกได้

ทดสอบประสิทธิภาพ

Antutu Benchmark = 62,444 คะแนน
Quadrant Standard = 39,789
Multi-touch Test = 10 จุด

PC Mark
Work 2.0 = 4,828 คะแนน
Computer Vision = 2,337 คะแนน
Storage Score = 4,589 คะแนน
Work = 6,673 คะแนน

3D Mark
Sling Shot Extreme = 462 คะแนน
Sling Shot = 843 คะแนน
Ice Storm Extreme = 8,132 คะแนน
Ice Storm Unlimited = 13,800 คะแนน
Ice Storm = 12,053 คะแนน

PassMark PerformanceTest

System = 7,296 คะแนน
CPU Tests = 156,031 คะแนน
Disk Tests = 43,004 คะแนน
Memory Tests = 5,130 คะแนน
2D Graphics Tests = 3,980 คะแนน
3D Graphics Tests = 2,340 คะแนน

Vellamo
Chrome Browser = 2,749 คะแนน
Android Web View = 2,909 คะแนน
Metal = 1,583 คะแนน
Multicore = 2,590 คะแนน

Geekbench 4
Single-Core = 833 คะแนน
Multi-Core = 2,990 คะแนน
Compute = 2,517 คะแนน

อีกจุดที่น่าสนใจคือแบตเตอรีที่ให้มา 3,160 mAh ทดสอบการใช้งานผ่าน PC Mark จนเหลือ 20% เปิดใช้งานตลอดเวลาจะได้ราว 11 ชั่วโมงซึ่งถ้าเทียบเป็นการใช้งานจริงๅวันถือว่าสบายๆถ้าไม่ได้ใช้งานหนักมากนัก

สรุป

การมารอบนี้ของ Vivo กับซีรีส์ V5 ถือว่าเป็นรุ่นที่ทำการบ้านมาได้ดี ทั้งในแง่ของการโปรโมทที่ดึงซูเปอร์สตาร์อย่าง อั้ม พัชราภา มาช่วย ทำให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคในวงกว้างได้ และยังมีการวางจำหน่ายรุ่นย่อยๆออกมาจับลูกค้าหลายๆกลุ่มอย่างต่อเนื่อง

แน่นอนว่า ถ้าสินค้าไม่ดีพอ ก็จะไม่เกิดความประทับใจ แต่เท่าที่ได้สัมผัส เมื่อเทียบความสามารถ วัสดุที่ใช้ กับราคาเปิดตัวที่ 13,900 บาท ถือว่าเป็นรุ่นที่ครบเครื่อง จากจุดเด่นหลักที่กล้องหน้า 20 ล้านพิกเซล กล้องหลัง 16 ล้านพิกเซล มีโหมดถ่ายภาพให้เลือกใช้งานหลากหลาย

ความสามารถในการใช้งานโดยรวม การจับเครือข่าย 4G การใช้งาน 2 ซิม ทำได้ตามมาตรฐาน เมื่อเทียบกับราคาที่จ่ายไป แน่นอนว่าถ้าไม่ต้องการเครื่องเกินหมื่น Vivo ก็จะมีรุ่นอย่าง V5 และ V5s เป็นทางเลือกให้อีกด้วย

ข้อดี

อินเตอร์เฟสทำมาใช้งานง่ายกับ FunTouch OS
การออกแบบวัสดุทำมาให้จับแล้วรู้สึกถึงความพรีเมี่ยม
กล้องหน้าคู่ 20/8 ล้านพิกเซล เลือกจุดโฟกัสได้
รองรับการใช้งาน 3G / 4G และ 2​ ซิม

ข้อสังเกต

ตัวเครื่องไม่สามารถใส่ MicroSD เพิ่มได้
ไม่รองรับการเชื่อมต่อ NFC
กล้องหลังโฟกัสช้าเป็นบางจังหวะ
ต้องรอดูว่าในอนาคตจะมีการอัปเดตเฟิร์มแวร์เป็น 7.0 หรือไม่

Gallery

]]>
Review : HUAWEI MediaPad M3 เสียงดัง ฟังชัด สเปกดี คุ้มราคา https://cyberbiz.mgronline.com/review-huawei-mediapad-m3/ Sat, 15 Oct 2016 04:39:40 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=24171

head-huam3

ปีนี้แบรนด์หัวเว่ยรุกตลาดสมาร์ทดีไวซ์ (สมาร์ทโฟน/แท็บเล็ต) อย่างหนักหน่วง โดยเฉพาะในส่วนของนวัตกรรมที่หัวเว่ยทุ่มเทสร้างดีลร่วมพัฒนากับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ยกตัวอย่างที่โด่งดังสุดในปีนี้ก็คือ การจับมือร่วมกับ “Leica (ไลก้า)” เพื่อพัฒนากล้องถ่ายภาพบนสมาร์ทโฟน Huawei P9/P9 Plus เป็นครั้งแรกของโลก

จนมาถึงวันนี้ หัวเว่ยสร้างดีลครั้งใหม่ (Co-Engineered) ให้กับกลุ่มแท็บเล็ตรุ่นใหม่ “HUAWEI MediaPad M3” โดยจับมือกับ harman/kardon (ฮาร์แมน คาร์ดอน) ร่วมพัฒนาและออกแบบลำโพง เพื่อทำให้แท็บเล็ตรุ่นนี้สามารถใช้งานด้านความบันเทิงได้สมบูรณ์แบบที่สุด

การออกแบบ

DSC_2664

DSC_2685

MediaPad M3 เป็นแอนดรอยด์แท็บเล็ตหน้าจอขนาด 8.4 นิ้ว อัตราส่วนภาพ 16:10 แบบ IPS ความละเอียดหน้าจออยู่ที่ 2K 2,560×1,600 พิกเซล พร้อมความหนาแน่นพิกเซล 359 พิกเซลต่อตารางนิ้ว

ด้านขนาดตัวเครื่อง ความสูงอยู่ที่ 215.5 มิลลิเมตร กว้าง 124.2 มิลลิเมตร หนา 7.3 มิลลิเมตร น้ำหนัก 310 กรัม มาพร้อมกล้องหน้าความละเอียดสูงถึง 8 ล้านพิกเซล

DSC_2686

fingerprint-huam3

มาดูปุ่มโฮมและส่วนสแกนลายนิ้วมือแบบสัมผัส (คล้ายกับปุ่มโฮมบนไอโฟน 7 เพียงแต่ไม่มีเซ็นเซอร์รับรู้แรงกด) โดยมาพร้อมความสามารถดังต่อไปนี้

– ระหว่างหน้าจอปิดอยู่ ผู้ใช้สามารถสัมผัสเพื่อสแกนนิ้วพร้อมปลดล็อกหน้าจอทันที
– เมื่ออยู่ในหน้าแอปฯ ถ้าสัมผัสปุ่มโฮมหนึ่งครั้งจะแทนคำสั่งย้อนกลับ (Back)
– สามารถกดปุ่มโฮมนี้ค้างไว้เพื่อไปหน้าโฮมสกรีนได้ทันที
– สามารถสไลด์นิ้วซ้ายหรือขวาที่ปุ่มโฮมเพื่อเรียกส่วน Recent Apps ได้

ในส่วนระบบสแกนลายนิ้วมือจะเหมือนกับสมาร์ทโฟนหัวเว่ยทุกรุ่น กล่าวคือจะใช้เทคนิคการสัมผัสลงไปตรงๆ ซึ่งตอบสนองได้รวดเร็วและแม่นยำกว่าการรูดนิ้วเพื่อสแกนแบบเดิม

DSC_2696

DSC_2673

ด้านหลัง เป็นอลูมิเนียมทั้งหมด ด้านบนเป็นส่วนของเสาสัญญาณโทรศัพท์และกล้องถ่ายภาพความละเอียด 8 ล้านพิกเซล ไม่มีไฟแฟลช LED ตรงกลางเป็นโลโก้หัวเว่ย ด้านล่างเป็นโลโก้ harman/kardon และส่วนของเสาสัญญาณโทรศัพท์เช่นเดียวกัน

DSC_2676

DSC_2674

พลิกมาดูด้านบนและล่างของตัวเครื่อง เริ่มจากด้านบนจะเป็นที่อยู่ของช่องหูฟัง 3.5 มิลลิเมตร พร้อมลำโพงตัวที่ 1 ส่วนด้านล่างจะเป็นที่อยู่ของลำโพงตัวที่ 2 (ลำโพงสเตอริโอทั้ง 2 ตัวพัฒนาร่วมกับ harman/kardon บนเทคโนโลยี SWS 3.0) และพอร์ต MicroUSB 2.0

DSC_2690

ถัดจากช่องลำโพง สำหรับโมเดลที่ขายในบ้านเราจะรองรับ 3G/4G LTE สามารถใส่ซิมการ์ดโทรศัพท์แบบ Nano SIM พร้อมใส่การ์ดความจำ MicroSD (สูงสุด 128GB) ได้จากช่องนี้

DSC_2677

DSC_2679

ด้านข้าง เริ่มจากขวามือจะเป็นที่อยู่ของปุ่มเปิดปิดเครื่องและปุ่มเพิ่มลดเสียง ส่วนอีกด้านจะไม่มีปุ่มกดและพอร์ตเชื่อมต่อใดๆติดตั้งอยู่

DSC_2698

DSC_2705

สุดท้ายในส่วนของอุปกรณ์ที่แถมมาในแพกเกจ HUAWEI MediaPad M3 สำหรับรุ่นที่ขายในบ้านเราจะมีอะแดปเตอร์ชาร์จไฟ สาย MicroUSB เข็มจิ้มถาดใส่ซิมการ์ด คู่มือและฟิล์มกันรอยหน้าจอพร้อมผ้าเช็ดทำความสะอาดเท่านั้น ไม่มีการแถมหูฟัง AKG มาให้

สเปก

spec-huam3

HUAWEI MediaPad M3 ขับเคลื่อนด้วยหน่วยประมวลผล HUAWEI HiSilicon Kirin 950 Octa-core ความเร็ว 2.30GHz (4 แกน) และ 1.8GHz (4 แกน) แรม (RAM) ให้มา 4GB รอม (ROM) 32GB แต่เหลือใช้งานเก็บข้อมูลได้จริงประมาณ 25GB ส่วนระบบปฏิบัติการเป็นแอนดรอยด์ 6.0 Marshmallow ครอบทับด้วย EMUI 4.1 จากหัวเว่ย

สำหรับแบตเตอรี หัวเว่ยเลือกใช้ Lithium Polymer ความจุ 5,100 mAh

ด้านการรองรับเครือข่ายโทรศัพท์เพื่อใช้งานดาต้าอินเตอร์เน็ต รองรับ 3G/4G LTE ทุกคลื่นความถี่ในบ้านเรา WiFi รองรับมาตรฐาน IEEE 802.11 a/b/g/n/ac บนย่านความถี่ 2.4/5GHz พร้อม GPS รองรับทั้ง A-GPS, Glonass และ Beidou ส่วนบลูทูธรองรับเวอร์ชัน 4.1

สุดท้าย MediaPad M3 ยังมาพร้อมชิปประมวลผลเสียง AK4376 จาก Asahi Kasei Microdevices ซึ่งรองรับการถอดรหัสเสียง HiFi 192khz/24-bit ด้วย

ฟีเจอร์เด่น

home-huam3

home-huam3-2

เริ่มจากส่วนระบบปฏิบัติการที่ถูกครอบทับด้วย EMUI 4.1 ของหัวเว่ย โดยในรุ่นใหม่นี้ หน้าตายูสเซอร์อินเตอร์เฟสจะเรียบร้อยและมีแอปฯติดตั้งมาให้ใช้งานเท่าที่จำเป็น เช่น แอปฯบันทึกเสียง, WPS Office เป็นต้น ทำให้การใช้งานค่อนข้างลื่นไหล ไม่มีอาการหน่วงให้เห็น

setup-huam3

ในส่วนฟีเจอร์เด่นของ MediaPad M3 จะมาพร้อมฟีเจอร์ถนอมสายตา Eye comfort สำหรับผู้ใช้ที่ชอบอ่าน ebook epaper ในแท็บเล็ต ระบบจะปรับสีหน้าจอและควบคุมแสงสว่างเพื่อความสบายตา นอกจากนั้นสำหรับผู้ชอบความบันเทิง ดูหนัง ฟังเพลงผ่าน MediaPad M3 ยังสามารถเลือกปิดเปิดฟีเจอร์เสียง SWS Mode ได้จากหน้าตั้งค่าอีกด้วย

cameramode-huam3

ในส่วนกล้องถ่ายภาพ ทางหัวเว่ยก็จัดเต็มฟีเจอร์กล้องไม่แพ้สมาร์ทโฟนของตน โดยซอฟต์แวร์กล้องถ่ายภาพใน MediaPad M3 จะมาพร้อมโหมดถ่ายภาพให้เลือกใช้หลากหลายตั้งแต่ โหมดอัตโนมัติ, Pro Mode ปรับตั้งค่ากล้องเอง ไปถึงโหมดถ่ายภาพกลางคืนที่หลายคนประทับใจมาแล้ว ก็มีให้เลือกใช้ครบทุกฟังก์ชัน

แต่ทั้งนี้เพราะ MediaPad M3 เป็นแท็บเล็ตที่หัวเว่ยไม่เน้นเรื่องกล้องถ่ายภาพมากนัก คุณภาพของไฟล์ภาพที่ได้จากกล้องหลังจึงถูกลดทอนลงไปอยู่ในเกณฑ์แค่พอใช้เท่านั้น แต่ในส่วนกล้องหน้ากลับให้คุณภาพที่ดีมาก ทั้งเรื่องความละเอียดระดับ 8 ล้านพิกเซล สกินโทนที่ดี รวมถึงความคมชัดที่อยู่ในระดับน่าประทับใจ

ทดสอบประสิทธิภาพ

bench-huam3

bench2-huam3

PC Mark : Work Performance score = 5,614 คะแนน

3D Mark
Sling Shot using ES 3.1 = 701 คะแนน
Sling Shot using ES 3.0 = 1,272 คะแนน

AnTuTu Benchmark = 68,568 คะแนน

Vellamo
Chrome Browser = 5,616 คะแนน
Metal = 2,935 คะแนน
Multicore = 3,274 คะแนน

Quadrant Benchmark = 35,405 คะแนน

Geekbench 4
Single-Core Score = 1,700 คะแนน
Multi-Core Score = 4,620 คะแนน

มาถึงเรื่องการทดสอบประสิทธิภาพ MediaPad M3 ใช้ซีพียูตัวเดียวกับ Mate 8 เพราะฉะนั้นประสิทธิภาพโดยรวมถือว่าอยู่ในระดับเดียวกับสมาร์ทโฟนไฮเอนด์ของปีที่แล้ว ส่วนการทดสอบใช้งานจริงร่วม 1 อาทิตย์เต็มพบว่า ตัวเครื่องใช้งานลื่นไหลดีมาก อาการแรมหมดระหว่างใช้งานหนักหน่วงไม่มีให้เห็น การเล่นเกมสามารทำได้ไม่ต่างจากไฮเอนด์สมาร์ทโฟน

ส่วนเรื่องหน้าจอความละเอียด 2K ให้ความคมชัดที่ดี จออาจให้สีไม่สว่างสดใส แต่เรื่องความสบายตาเป็นธรรมชาติถือว่าสอบผ่าน

ด้านระบบเสียงและลำโพงจาก harman/kardon ซึ่งเป็นจุดขายหลักของ MediaPad M3 ทีมงานทดสอบพบว่า ด้านความดังของเสียงถือว่าดีมาก เสียงดังจริง เวลารับชมยูทูปหรือฟังเพลงจะเปิดเสียงเพียงครึ่งเดียวก็เพียงพอแล้ว ส่วนเรื่องการจัดตำแหน่งลำโพงซ้ายขวาถือว่าทำได้ดี เสียงจากลำโพงซ้ายและขวาแยกชัดเจน มีมิติและสามารถปรับเปลี่ยนตามการใช้งานได้ เช่น ใช้งานในแนวตั้งเสียงจะเปลี่ยนเป็นโมโน ส่วนเมื่อเอียงเครื่องใช้งานแนวนอน เสียงจะเปลี่ยนเป็นสเตอริโอโดยอัตโนมัติ

ในส่วนคุณภาพเสียง ส่วนนี้ถือว่าให้คุณภาพพอใช้ ความคมชัดอยู่ในเกณฑ์ดีแต่เรื่องน้ำหนักเสียง โดยเฉพาะเสียงเบสให้แค่พอใช้ เนื่องจากโทนเสียงจะออกกลางๆแหลมๆมากกว่า

batt-m3

สุดท้ายเรื่องแบตเตอรี ทดสอบโดย Geekbench 3 สามารถทำเวลาใช้งานต่อเนื่องได้ 9 ชั่วโมง 22 นาที 30 วินาที หรือถ้าคิดเป็นเวลาใช้งานปกติทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 14-17 ชั่วโมง ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี ใช้งานได้ตลอดทั้งวัน

สรุป

DSC_2688

สำหรับราคาเปิดตัว HUAWEI MediaPad M3 อยู่ที่ 12,900 บาท นับว่าหัวเว่ยเปิดราคามาได้ดีและน่าสนใจเช่นเดิม เนื่องจากเมื่อเทียบประสิทธิภาพ สเปกเครื่องกับช่วงราคาแล้ว MediaPad M3 ถือเป็นแท็บเล็ตที่มีความคุ้มค่าคุ้มราคาอีกหนึ่งรุ่นที่ไม่ควรมองข้ามในปีนี้

ข้อดี

– ลำโพงสเตอริโอให้เสียงดัง ฟังชัด
– รองรับ 3G/4G LTE
– เพิ่มความจุด้วย MicroSD Card ได้
– หน้าจอ 2K คมชัด
– ระบบปฏิบัติการปรับแต่งมาได้ลื่นไหล เรียบร้อยและสวยงาม

ข้อสังเกต

– กล้องถ่ายภาพหลังให้คุณภาพพอใช้เท่านั้น
– ไม่มี NFC

Gallery

]]>
Review : Sony Xperia XA Ultra เน้นจอใหญ่ ดีไซน์มีเอกลักษณ์ https://cyberbiz.mgronline.com/review-sony-xperia-xa-ultra/ Mon, 12 Sep 2016 06:18:08 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=23753

IMG_5791

การที่โซนี่ยังคงเลือก XA Ultra มาเจาะกลุ่มลูกค้าที่ต้องการสมาร์ทโฟนหน้าจอขนาดใหญ่ ที่ถือว่าเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการชัดเจนมากขึ้นในปัจจุบัน ถือเป็นอีกกลยุทธ์นอกเหนือไปจากที่มีการเพิ่มไลน์สินค้าในกลุ่ม Compact มาจับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการสมาร์ทโฟนขนาดหน้าจอไม่ใหญ่จนเกินไป

Screen-Shot-2559-09-10-at-3.02.42-PM

จุดเด่นหลักๆของ Sony XA Ultra คือหน้าจอขนาด 6 นิ้ว พร้อมกับอัดกล้องหน้ามาที่ความละเอียด 16 ล้านพิกเซล และกล้องหลัก 21 ล้านพิกเซล พร้อมเซ็นเซอร์จาก ExmorRS มาเป็นจุดขาย เรียกได้ว่าเป็นรุ่นที่รองลงมาจากตัวท็อปอย่าง Xperia Z5 ก็ว่าได้ นอกเหนือจากนี้ก็คือตัวเครื่องรองรับการใช้งาน 4G แบบ 2 ซิม (เลือกใช้ได้ซิมใดซิมหนึ่ง) ส่วนแบตเตอรีให้มาอยู่ที่ 2,700 mAh ก็ไม่ได้ถือว่าสูงมาก

การออกแบบ

Screen-Shot-2559-09-10-at-3.02.30-PM

โซนี่ยังคงเอกลักษณ์ในการออกแบบของสมาร์ทโฟนในตระกูล Xperia ไว้อย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับ XA Ultra ที่มีการออกแบบที่ไม่ต่างจากเดิม เพียงแต่ขยายขนาดให้ใหญ่ขึ้น ลดขนาดขอบจอให้แคบลงเพื่อให้จับถือได้ง่ายขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็ยังเว้นพื้นที่ในส่วนของขอบบน และล่างเพื่อให้มีพื้นที่ในการใส่เซ็นเซอร์เพิ่มเติม ส่งผลให้ขนาดของเครื่องโดยรวมอยู่ที่ 164 x 79 x 8.4 มิลลิเมตริ น้ำหนัก 202 กรัม วางจำหน่ายด้วยกัน 3 สี คือ ขาว ทอง และดำ

IMG_5795

ด้านหน้าสิ่งที่โดดเด่นขึ้นมามากที่สุดคงหนีไม่พ้นหน้าจอขนาด 6 นิ้ว ความละเอียด Full HD (1920 x 1080 พิกเซล) ที่โซนี่มีการนำเทคโนโลยี Mobile BRAVIA engine 2 และ Super Vivid มาช่วยเพิ่มสีสันให้สะดุดตามากยิ่งขึ้น โดยชอบบนของหน้าจอจะมีโลโก้โซนี่พาดอยู่กึ่งกลาง เหนือโลโก้เป็นช่องลำโพงทนา ขนาบข้างโลโก้ด้วยเซ็นเซอร์ตรวจจับใบหน้า ไฟแอลอีดีแสดวผล และกล้องหน้าความละเอียเ 16 ล้านพิกเซล พร้อมไฟแฟลช ที่สำคัญคือมากับระบบกันสั่นแบบ OIS ส่วนขอบล่างจะปล่อยว่างไว้

IMG_5794

ด้านหลังพื้นที่ส่วนใหญ่จะถูกปล่อยให้ว่างไว้กับฝาหลังที่ใช้วัสดุเป็นพลาสติกเพื่อไม่ให้น้ำหนักตัวเครื่องมากเกินไป โดยตรงกลางจะมีการสกรีนแบรนด์ Xperia ไว้ ส่วนที่มุมบนจะมีกล้องหลักความละเอียด 21.5 ล้านพิกเซล ที่ใช้เซ็นเซอร์รับภาพขนาด 1/2.4” เพื่อให้รับภาพได้ละเอียดมากยิ่งขึ้น พร้อมกับไฟแฟลช

IMG_5803IMG_5801ด้านบนจะมีช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม. และช่องไมโครโฟนตัวที่ 2 เพื่อรับเสียง และตัดเสียงรบกวน ด้านล่างมีพอร์ตไมโครยูเอสบีสำหรับเสียบสายชาร์จ ช่องลำโพง และไมโครโฟนสนทนา

IMG_5804IMG_5802ด้านซ้าย – จะมีเพียงฝาปิดช่องใส่ซิมการ์ด และไมโครเอสดีการ์ด โดยถาดใส่ซิมการ์ดจะเป็นแบบนาโนซิมแบบยาวถาดเดียวให้ใส่ 2 ซิมการ์ด ด้านขวาเป็นปุ่มเปิดปิดเครื่อง สีเงิน (เอกลักษณ์ของ Xperia) ปุ่มปรับระดับเสียง และชัตเตอร์กล้องถ่ายรูป (สามาถรกดค้างเพื่อเรียกใช้งานกล้องแบบด่วนได้)

สเปก

s11

<B>สำหรับสเปกภายในของ Xperia XA Ultra จะมากับ หน่วยประมวลผล MediaTek MT6755 Helio P10 Octa Core 2.0 GHz 64bit RAM 3 GB พื้นที่เก็บข้อมูลภายในตัวเครื่อง 16 GB รองรับไมโครเอสดีการ์ดสูงสุด 200 GB ทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอดย์ 6.0.1 (Marshmallow) แบตเตอรีภายใน 2,700 mAh รองรับ Quick Charge 3.0</B>

ด้านการเชื่อมต่อรองรับการใช้งาน 4G LTE Cat 4 ทั้ง 2 ซิม แต่ต้องสลับใช้งานระหว่าง 4G/3G/2G กับ 2G (ยังไม่เป็น Full NetCom 3.0) ซิมการ์ดเป็นแบบ นาโนซิม ส่วนการเชื่อมต่อพื้นฐานไวไฟ มาตรฐาน 802.11 a/b/g/n บลูทูธ 4.1 ระบบระบุพิกัด GPS, A-GPS รองรับ NFC

ฟีเจอร์เด่น

s01

โซนี่ยังคงคอนเซปต์ของอินเตอร์เฟสการใช้งานแบบเดิมกับรุ่นก่อนหน้า แม้ว่าจะมีการปรับเพิ่มให้รับกับการทำงานบนแอนดรอยด์ 6.0.1 เพิ่มขึ้นบ้างก็ตาม โดยในส่วนของหน้าจอหลักผู้ใช้งานสามารถเลือกจัดวางไอคอน วิตเจ็ตต่างๆได้ตามสะดวก ในส่วนของหน้าจอล็อกจะมีการแสดงผลนาฬิกาขนาดใหญ่ พร้อมการแจ้งเตือนต่างๆ และปุ่มลัดสำหรับเรียกใช้งานคำสั่งเสียง ปลดล็อก และเรียกใช้งานกล้องได้ทันที

หน้าจอการแจ้งเตือนสามารถเรียกใช้ได้จากการลากนิ้วลงจากขอบบนเช่นเดิม ซึ่งก็จะมีการแสดงผลปกติ เมื่อลากลงอีกครั้งจะเป็นการเรียกตั้งค่าด่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการปรับความสว่างหน้าจอ การเปิดปิดการเชื่อมต่อไวไฟ บลูทูธ เรียกใช้งานไฟฉาย เปิดโหมดเครื่องบิน การหมุนหน้าจอ ปล่อยฮ็อตสป็อต การใช้งานโมบายดาต้า เปิดโหมดห้ามรบกวน แน่นอนว่าตรงส่วนนี้ผู้ใช้สามารถเลือกปรับแต่งได้

s02

สำหรับหน้ารวมแอปพลิเคชันที่ติดตั้งมาให้ในเครื่อง โซนี่จะมีการรวมแอปที่มีการใช้งานเป็นประจำ และแอปแนะนำไว้ให้เลือกกดใช้งานได้ทันที ขณะที่เมื่อเลื่อนดูแอปฯที่ติดตั้งมาให้ในเครื่องก็จะเป็นแอปทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ ข้อความ รายชื่อ เบราว์เซอร์ เครื่องเล่นเพลง วิดีโอ อัลบัมภาพ รวมถึงแอปที่เป็นโซนี่เซอร์วิส และกูเกิล เซอร์วิส ให้เลือกใช้

s04

โดยแอปที่บันเดิลมาให้ในเครื่องของโซนี่หลักๆแล้วก็จะมี What’s News ที่เป็นแอปแนะนำแอปพลิเคชันที่น่าสนใจ โดยจะมีทั้งรูปแบบที่เป็นวิตเจ็ตบนหน้าจอหลัก และกดเข้าไปดูรายละเอียดภายในได้ กับแอปในการเชื่อมต่อ Play Station Store สำหรับผู้ที่เล่นเกมให้สามารถเชื่อมต่อสมาร์ทโฟนเข้ากับเครือข่ายได้ด้วย

s09

จุดเด่นลักที่โซนี่พยายามชูขึ้นมาในเครื่องรุ่นนี้คือกล้อง โดยอินเตอร์เฟสการใช้งานยังเน้นการใช้งานง่ายคือมีปุ่มชัตเตอร์ให้กดถ่ายภาพทางฝั่งขวา พร้อมปุ่มกดดูรูปในอัลบั้ม และเข้าสู่การตั้งค่า ส่วนฝั่งขวาเป็นการตั้งค่าด่วนอย่างการสลับกล้องหน้าหลัง และการเลือกโหมดถ่ายภาพแบบอัตโนมัติ ปรับเอง วิดีโอ เป็นต้น

s10

ในส่วนของการเลือกโหมดถ่ายภาพผู้ใช้สามารถเข้าไปดาวน์โหลดโหมดเพิ่มเติมได้จากในสโตร์ ส่วนการตั้งค่าก็จะเป็นรูปแบบการตั้งค่าทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นเวลาถ่ายภาพ ปรับสี ความสว่าง ความละเอียดภาพ ระบบโฟกัสอัตโนมัติ บันทึกพิกัดรูปถ่าย การแตะหน้าจอเพื่อถ่ายภาพ แสดงตาราง เลือกพื้นที่เก็บข้อมูลเป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ด้วยการที่โซนี่ให้กล้องหน้ามาถึง 16 ล้านพิกเซล พร้อมระบบกันสั่น OIS ทำให้เห็นได้ว่าโซนี่พยายามจะเน้นการใช้งานกล้องเซลฟี่เป็นหลัก เพราะในกล้องหลักแม้ว่าจะให้ความละเอียดมาถึง 21.5 ล้านพิกเซล แต่กลับไม่มีการใส่ระบบกันสั่นมาให้ ทำให้น่าแปลกใจไม่น้อย

s03

การใช้งานโหมดโทรศัพท์ มาพร้อมกับระบบคาดเดารายชื่อ กับอินเตอร์เฟสการใช้งานที่ดูโล่งสบายตา พร้อมปุ่มกดขนาดใหญ่ตามขนาดของหน้าจอ หน้าจอขณะสนทนาจะมีการแสดงชื่อ เบอร์ ระยะเวลารับสาย รูปภาพ พร้อมกับไอค่อนลัดสำหรับเปิดลำโพง ปิดเสียง เรียกปุ่มกด พักสาย และเพิ่มสายตามปกติ ส่วนหน้าจอรับสายจะใช้การลากปุ่มเพื่อรับสาย ตัดสาย

s05

หน้ารวมของการตั้งค่าจะแบ่งออกเป็น 5 ส่วนคือเรื่องของการเชื่อมต่อต่างๆ ที่เพิ่มจากทั่วไปคือการตั้งค่าซิมการ์ดเนื่องจากเครื่องรองรับการใช้งาน 2 ซิม การเลือกธีมและภาพพื้นหลัง การตั้งค่าอุปกรณ์อย่างการแสดงผล และระบบเสียงที่มีการนำเทคโนโลยีของโซนี่มาใส่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการบัญชีและบริการต่างๆ และการตั้งค่าระบบของเครื่อง

s06

ด้วยการที่ตัวเครื่องมีขนาดหน้าจอใหญ่ ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้ด้วยมือข้างเดียวได้ถนัดนัก ดังนั้นโซนี่จึงเพิ่มโหมดการใช้งานด้วยมือข้างเดียวมาให้ผู้ใช้สามารถเรียกด้วยการลากนิ้วจากมุมล่างเข้าหากลางจอ เพื่อปรับขนาดจอได้ตามต้องการ นอกจากนี้ ยังสามารถตั้งให้การแป้นข้อมูลบนแป้นคีย์บอร์ด ปุ่มกดตัวเลขมีขนาดเล็กลงให้สามารถใช้งานได้ด้วยมือข้างเดียวด้วย

s08s07

จากการที่ตัวเครื่องให้พื้นที่เก็บข้อมูลภายใน 16 GB ซึ่งจะเหลือพื้นที่ให้ใช้งานจริงราว 8 GB จึงมีการใส่โปรแกรมทำความสะอาดข้อมูลอัจฉริยะมาเพิ่มให้ผู้ใช้สามารถเคลียข้อมูลที่ไม่จำเป็นเพื่อเพิ่มพื้นที่การใช้งาน นอกจากนี้การที่ตัวเครื่องมีหน้าจอขนาดใหญ่แต่ให้แบตเตอรีมา 2,700 mAh ก็ต้องมีระบบประหยัดพลังงานมาให้เลือกใช้ ซึ่งจะช่วยยืดระยะเวลาใช้งานได้ยาวนานขึ้นด้วย

ทดสอบประสิทธิภาพ

s12

เมื่อทดสอบ ผ่านโปรแกรมทดสอบประสิทธิภาพบนแอนดรอยด์อย่าง Quadrant Standart และ Antutu ได้คะแนน 16,410 คะแนน และ 48,759 คะแนน ตามลำดับ หน้าจอรองรับการสัมผัส 10 จุดพร้อมกัน

s13

ทดสอบการใช้งาน HTML 5 ผ่าน Vellamo จากแอนดรอยด์เว็บวิวได้ 3,388 คะแนน โครมเบราว์เซอร์ 3,207 คะแนน ส่วนประสิทธิภาพตัวเครื่องได้ (Metal) 1,187 คะแนนMulticore 2,315 คะแนน คะแนน ส่วนโปรแกรม PCMark ในส่วนของ Work Performance ได้ 4,350 คะแนน 3D Mark ตัว Sling Shot ES3.1 ได้ 421 คะแนน Sling Shot ES3.0 ได้ 598 คะแนน Ice Storm Unlimited ได้ 11,087 คะแนน ส่วน Ice Storm Extreme 6,449 คะแนน และ Ice Storm 10,486 คะแนนทะลุ

น่าเสียดายที่ไม่สามารถทดสอบประสิทธิภาพบน GeekBench 3 ได้ เนื่องจากระหว่างที่ได้มาทดสอบทางเซิร์ฟเวอร์ของ Geek Bench มีปัญหาทำให้ไม่สามารถประมวลผลคะแนนของตัวเครื่องออกมาได้ ก่อนที่ปัจจุบัน Geek Bench ได้อัปเดตเวอร์ชันเป็น 4 แล้ว

ทั้งนี้ เมื่อทดสอบการใช้งานแบตเตอรีทั่วๆไป ต้องยอมรับว่าตัวเครื่อง Xperia XA Ultra มีการจัดการแบตเตอรีที่ดี เมื่อใช้งานทั่วๆไปสามารถอยู่ได้เกิน 1 วันสบายๆ แต่ถ้ามีการใช้งานหน่วยประมวลผลหนักๆ เปิดเครื่องใช้งานติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็ทำให้แบตเตอรีลดลงได้เร็วขึ้น ทำให้ไม่พอต่อการใช้งานครบวัน ดังนั้นก็ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมในการใช้งานเป็นหลักมากกว่า

สรุป

Sony Xperia XA Ultra ถือเป็นสมาร์ทโฟนหน้าจอขนาด 6 นิ้วอีกรุ่นที่มีความน่าสนใจ โดยเฉพาะถ้าชื่นชอบการออกแบบของโซนี่ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว พร้อมกับในแง่ของความสเถียรในการใช้งาน เพียงแต่น่าเสียดายที่ตัวเครื่องยังไม่รองรับ 2 ซิม แบบ Full NetCom 3.0 ทำให้ซิมที่ 2 ยังคงใช้งานได้เฉพาะ 2G เช่น เมื่อเทียบกับสมาร์ทโฟนในระดับใกล้เคียงกันของคู่แข่งรองรับแล้ว

แต่แน่นอนว่าถ้าไม่ได้ซีเรียสกับการใช้งาน 2 ซิม ก็ต้องยอมรับว่าประสิทธิภาพโดยรวมของ Xpria XA Ultra ถือว่าสูงเพียงพอใช้งานอย่างแน่นอน ในสมาร์ทโฟนระดับราคาหมื่นกลางๆ เพราะตัวเครื่องรองรับ 4G LTE อยู่แล้ว ยิ่งมากับกล้องความละเอียด 21.5/16 ล้านพิกเซล ทำให้เหมาะกับผู้ที่ชื่นชอบการถ่ายภาพด้วยเช่นเดียวกัน

Gallery

]]>
Review : ASUS Zenfone 3 Marshall Limited Edition รุ่นกลางสุดคุ้มค่า https://cyberbiz.mgronline.com/review-asus-zenfone3-marshall/ Sun, 28 Aug 2016 07:36:48 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=23587

IMG_6252

หลังจากประสบความสำเร็จกับสมาร์ทโฟนคุ้มค่าคุ้มราคาในตระกูล Zenfone ไปแล้วเมื่อปีก่อน ปีนี้เอซุส (ASUS) เลยขอคิดต่างจากเดิมด้วยการขยายครอบครัว Zenfone ออกไปมากถึง 7 รุ่นครอบคลุมทุกตลาดตั้งแต่ระดับเริ่มต้นราคาหลักพันถึงแฟลกชิปสองหมื่นปลายๆ เริ่มตั้งแต่ Zenfone 3 Max, Zenfone 3 Laser, Zenfone 3 5.2 นิ้ว, Zenfone 3 5.5 นิ้ว, Zenfone 3 Ultra และรุ่นท็อป Zenfone 3 Deluxe แบ่งเป็น 2 รุ่นได้แก่รุ่นใช้ชิป Snapdragon 820 กับ Snapdragon 821

IMG_6130

โดยรุ่นที่เอซุสจะเริ่มทำตลาดก่อนในช่วงแรกก็คือรุ่นกลางที่ได้ชื่อว่าเป็นรุ่นที่คุ้มค่าคุ้มราคาที่สุดกับ Zenfone 3 5.2 นิ้ว, Zenfone 3 5.5 นิ้ว โดยในรุ่น 5.5 นิ้ว (รุ่นที่ทีมงานจะรีวิวให้ชมในบทความนี้) จะมีการแถมหูฟัง Marshall Major 2 แบบจำนวนจำกัด ส่วนรุ่นอื่นๆอีก 5 รุ่นรอการประกาศจากเอซุสประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง

การออกแบบ

IMG_6197

IMG_6221

เริ่มจากการออกแบบ ASUS Zenfone 3 รุ่นที่ทีมงานได้รับมาทดสอบเป็นรหัส ZE552KL โดยตัวเครื่องมาพร้อมหน้าจอ Super IPS+ มีระบบตัดแสงสีน้ำเงิน (Bluelight Filter) ขนาดหน้าจออยู่ที่ 5.5 นิ้วความละเอียด 1,920×1,080 พิกเซล (401ppi) กระจกจอเป็น 2.5D Corning Gorilla Glass 3 ขอบจอมีความโค้งมนเล็กน้อยตามสมัยนิยม

ส่วนกล้องหน้ามีความละเอียด 8 ล้านพิกเซล รูรับแสง f2.0 ใต้จอภาพเป็นส่วนของ Navigation Buttons แบบเดียวกับ Zenfone รุ่นก่อน (ไม่มีไฟส่องสว่างใต้ปุ่มกด)

IMG_6223

ด้านขนาดตัวเครื่องกว้าง 77.38 มิลลิเมตร ยาว 152.59 มิลลิเมตร หนา 7.69 มิลลิเมตร พร้อมน้ำหนัก 155 กรัม

IMG_6212

IMG_6219

ส่วนสเปกกล้องหลัง เอซุสอัปเกรดไปใช้เซ็นเซอร์ Sony IMX298 ความละเอียด 16 ล้านพิกเซล รูรับแสง f2.0 ประกบหน่วยประมวลผลภาพ Pixel Master 3.0 พร้อมระบบป้องกันภาพสั่นไหว OIS/EIS แบบ 4 แกน และระบบออโต้โฟกัส TriTech AF รวมเทคโนโลยีโฟกัสแบบทั้ง Laser AF, Phase Detection AF และ Continuous AF เข้าไว้ด้วยกัน ทำให้ออโต้โฟกัสสามารถจับโฟกัสได้รวดเร็วด้วยเวลาเพียง 0.03 วินาทีเท่านั้น

ถัดจากกล้องไปทางขวามือเป็นไฟแฟลช และด้านล่างเป็นส่วนของเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือ (Fingerprint Scan)

IMG_6231

IMG_6255

มาดูด้านข้างตัวเครื่องจะเห็นว่าทุกด้านเอซุสเลือกใช้เฟรมโลหะมาเชื่อมต่อกับกระจกหน้าหลัง ทำให้ตัวเครื่องมีความแข็งแรง ในส่วนพอร์ตและปุ่มกดต่างๆ เริ่มจากด้านซ้ายของตัวเครื่อง จะเป็นที่อยู่ของช่องใส่ซิมการ์ด 2 ช่อง แบ่งเป็นช่องใส่ซิมที่ 1 รองรับซิมการ์ดแบบ Micro SIM ส่วนช่องใส่ซิมที่ 2 รองรับซิมการ์ดแบบ Nano Sim พร้อมแชร์กับช่องใส่การ์ดความจำ MicroSD (รองรับความจุสูงสุด 256GB) จะใส่ซิมการ์ดโทรศัพท์หรือการ์ดความจำต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง

IMG_6233

ด้านขวา จะเป็นที่อยู่ของปุ่มเปิดปิดเครื่องและปุ่มเพิ่มลดระดับเสียง

IMG_6235

ด้านบน เป็นส่วนของเสารับสัญญาณโทรศัพท์, ช่องไมโครโฟนรับเสียงตัวที่สองและช่องหูฟัง 3.5 มิลลิเมตร

IMG_6234

ด้านล่าง เริ่มจากส่วนของเสาสัญญาณ ช่องไมโครโฟนรับเสียงหลัก รองรับ ASUS NoiseZero Talk Technology ตรงกลางเป็นช่อง USB-C (รองรับ Quick Charge 3.0) ถัดไปเป็นลำโพง

IMG_6249

โดยอะแดปเตอร์ชาร์จไฟที่ให้มากับ ASUS Zenfone 3 Marshall Limited Edition จะเป็นอะแดปเตอร์สเปก 5V 2A 10W

หูฟัง Marshall Major 2

IMG_6162

IMG_6159

สำหรับหูฟัง Marshall Major 2 รุ่นนี้เป็นรุ่นที่ออกแบบมารองรับเฉพาะแอนดรอยด์ ถ้าซื้อแยกต่างหากจะมีราคาค่าตัวเกือบ 5 พันบาทแต่เอซุสก็ใจดีแถมมาให้กับ Zenfone 3 เฉพาะหน้าจอ 5.5 นิ้ว (จำนวนจำกัดนะครับ) โดยจุดเด่นของหูฟังตัวนี้คือมาพร้อมกับส่วน Small Talk และปุ่มควบคุมการเล่นเพลงผ่านสมาร์ทโฟน

IMG_6136

IMG_6152

อีกทั้งสายแจ็คยังสามารถถอดแยกกับหูฟังได้ด้วย ซึ่งถ้าสังเกตบริเวณช่องเสียบแจ็คหูฟังจะมีทั้งฝั่งซ้ายและขวา ผู้ใช้สามารถนำแจ็คมาเสียบข้างใดก็ได้ โดยช่องเสียบแจ็คอีกข้างที่ปล่อยโล่งไว้ คุณสามารถนำ Marshall Major 2 อีกตัวมาเชื่อมต่อเพื่อแชร์เสียงจากหูฟังตัวหลักไปยังหูฟังตัวที่สองได้ด้วย

ด้านเอกลักษณ์ของเสียงที่ออกมาจาก Marshall Major 2 จะเด่นเรื่องเสียงเบสที่หนักแน่นเป็นพิเศษ เหมาะแก่การฟังเพลงแนว Rock, Metal, Hardcore, Alternative เป็นหลัก

สเปก ASUS Zenfone 3 5.5 นิ้ว

spec-zen3

กลับมาที่เรื่องสเปกของพระเอกกันต่อ ASUS Zenfone 3 5.5 นิ้ว ขับเคลื่อนด้วยซีพียู Qualcomm Snapdragon 625 (Octa-core 64 bit) ความเร็ว 2.0GHz กราฟิกใช้ Adreno 506 GPU แรมให้มา 4GB รอม 64GB (เหลือให้ใช้งานจริงประมาณ 51.21GB) แบตเตอรี 3,000mAh ขับเคลื่อนด้วยระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 6.0.1 (Marshmallow)

cellular-zen3

มาถึงเรื่องการรองรับเครือข่ายต่างๆ เริ่มจาก 3G/4G รองรับ Full NetCom 3.0 (แต่มีข้อแม้ว่าถ้าใส่สองซิม ซิมสองมีคนโทรเข้า ซิมแรกจะใช้งานอินเตอร์เน็ตไม่ได้) ส่วนคลื่นความถี่ รองรับทุกคลื่นความถี่ที่มีในบ้านเราทั้งหมด โดยในส่วนของ 4G จะรองรับความเร็วสูงสุดที่ Cat7 300Mbps อีกทั้งยังรองรับ VoLTE และ Carrier Aggregation แบบ 2CA

มาดูเรื่อง WiFi รองรับมาตรฐาน 802.11 b/g/n/ac ที่ความเร็วสูงสุด 433Mbps, บลูทูธ 4.2, GPS รองรับทั้ง A-GPS GLONASS และ BDSS อีกทั้งตัวเครื่องยังมาพร้อมภาครับสัญญาณ FM ในตัว สามารถเชื่อมต่อหูฟังเพื่อฟังวิทยุได้

ซอฟต์แวร์และฟีเจอร์เด่น

home1-zen3

home2-zen3

เริ่มจากยูสเซอร์อินเตอร์เฟส ใน Zenfone 3 เอซุสอัปเดต Zen UI เป็นเวอร์ชัน 3.0 ที่เน้นเรื่องความเรียบง่ายตามสมัยนิยม อีกทั้งยังปรับปรุงประสิทธิภาพ การบริโภคหน่วยความจำให้ลื่นไหลขึ้น

home3-zen3

อีกทั้งจุดเด่นหลักของยูสเซอร์อินเตอร์เฟส Zen UI อย่างการปรับแต่งธีมก็สามารถทำได้ พร้อมมีคลังธีมให้เลือกดาวน์โหลดได้ตามความต้องการด้วย

otherapps-1-zen3

otherapps-3-zen3

ส่วนจุดเด่นเรื่องซอฟต์แวร์ช่วยเหลือและแอปพลิเคชันอำนวยความสะดวกจากโรงงาน เอซุสจัดเต็มมามากมายแบบเหลือกินเหลือใช้เช่นเดิม ตั้งแต่ MiniMovie, TripAdvisor, Puffin เกม Sim City/Need for Speed No Limit เป็นต้น ซึ่งถ้าผู้ใช้ท่านใดมองว่ากินพื้นที่เพราะไม่ได้ใช้งานก็สามารถสั่ง Uninstall ลบออกได้

keybaord-zen3

ด้านคีย์บอร์ดถือเป็นอีกส่วนที่มีความยืดหยุ่นสูงมาก เพราะผู้ใช้สามารถปรับแต่งเลย์เอาท์ เลือกธีม ปรับ Emoji ได้หลากหลาย อีกทั้งตัวคีย์บอร์ดยังมาพร้อมระบบเดาคำศัพท์รองรับทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษและภาษาอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี เป็นต้น

mobile-manage-zen3

Mobile Manager – ปัจจุบันสมาร์ทโฟนที่ทำงานบนแอนดรอยด์ 6.0 จะต้องมาพร้อมส่วนจัดการพลังงานทุกรุ่น โดยใน Zenfone 3 จะเป็นส่วนหนึ่งของ Mobile Manager หรือส่วนจัดการระบบตัวเครื่อง ที่มีให้ผู้ใช้สามารถเลือกปรับแต่งหลักๆได้ตั้งแต่

1.จำกัด Data usage ที่ผู้ใช้สามารถตั้งลิมิตการใช้ Mobile Data 3G/4G ได้ว่าเดือนหนึ่งจะใช้ได้เท่าไร รวมถึงจำกัดการเรียกใช้ดาต้าอินเตอร์เน็ตของแต่ละแอปฯที่อยู่ในเครื่องได้แบบละเอียดยิบ

2.Power saver เลือกโปรไฟล์พลังงาน รวมถึงให้ระบบสแกนแอปฯที่เรียกใช้พลังงานที่มากเกินไปจนเข้าข่ายน่าสงสัยและรายงานให้เราทราบได้ รวมถึงจัดการแอปฯที่ทำงาน Background ได้อย่างอิสระ

3.Boost เป็นจุดเด่นของเอซุสทุกรุ่น ที่เมื่อผู้ใช้กดปุ่มนี้ทั้งจากส่วนของ Notification หน้าโฮมหรือภายในแอปฯนี้ ระบบจะทำการเคลียร์แรมให้

4.Cleanup ลบไฟล์ขยะ แคชไฟล์ต่างๆ

fingerprint-zen3

Fingerprint Scan – ใน Zenfone 3 จะมาพร้อมระบบสแกนลายนิ้วมือเพื่อปลดล็อกหน้าจอ โดยระบบจะเป็นไปตามมาตรฐานของกูเกิลและแอนดรอยด์ยุคใหม่ทั้งหมด (เซ็นเซอร์ใช้การสัมผัสเบาๆ หน้าจอจะปลดล็อกทันที โดยไม่ต้องกดปุ่มเปิดปิดหน้าจอก่อน)

audio-zen3

Hi-Res Audioครั้งนี้เอซุสเซอร์ไพรส์คนชอบฟังเพลงหูเทพด้วยการรองรับ Hi-Res Audio 24-bit/192KHz แบบเต็มรูปแบบทั้งในส่วนของการเล่นไฟล์ FLAC Hi-Res และรองรับการเชื่อมต่อกับหูฟังที่ออกแบบมาเฉพาะ Hi-Res Audio ด้วย

ส่วนการใช้ฟังเพลงทั่วไป ทางเอซุสให้ระบบประมวลผลเสียง SonicMaster มาให้ ซึ่งผู้ใช้สามารถปรับแต่งโปรไฟล์เสียง ปรับเพิ่มเบส เพิ่มเสียงแหลมได้ตามต้องการ อีกทั้งยังสามารถปรับ EQ ได้ 5 ย่านความถี่ด้วย

game-genie1-zen3

game-genie2-zen3

ASUS Game Genie – เป็นฟีเจอร์ใหม่ที่มาพร้อมกับ Zen UI 3.0 โดยหลักการทำงานก็คือ ตัว Game Genie จะทำงานเมื่อเราเข้าเล่นเกมต่างๆ โดยใน Game Genie จะมีฟีเจอร์ย่อยดังต่อไปนี้

Speed Booster เมื่อกดจะเป็นการเคลียร์แรมและปิดแอปฯที่เราเปิดค้างไว้เพื่อเป็นการเรียกหน่วยความจำกลับคืนมาจนทำให้เกมลื่นไหลขึ้น

Live & record ผู้ใช้สามารถถ่ายทอดสดการเล่นเกมผ่าน YouTube Live, Twitch หรือจะเลือกบันทึกเป็นคลิปวิดีโอเก็บไว้ในเครื่องก็ได้

Search ส่วนค้นหาคลิปวิดีโอจาก YouTube แบบเร่งด่วน สำหรับค้นหาทริป รีวิวเกมที่เรากำลังเล่นอยู่

Share แชร์ภาพสกรีนช็อตหรือวิดีโอไปยังโซเชียลต่างๆ

zencircle-zen3

gallery-zen3

soundrec-zen3

สุดท้ายในส่วนของแอปฯที่น่าสนใจซึ่งมาพร้อมกับ ASUS Zenfone 3 หลักๆจะมี Gallery ที่นอกจากจะมาพร้อมส่วนตกแต่งภาพแล้ว Gallery ยังมาพร้อมระบบใส่รหัสผ่านเพื่อความเป็นส่วนตัวได้ด้วย, Zen Circle โซเชียลสำหรับผู้ใช้ Zenfone และแอปฯบันทึกเสียง ที่นอกจากจะใช้บันทึกเสียงปกติได้แล้ว เวลาโทรศัพท์ยังสามารถกดบันทึกเสียงสายสนทนาได้ด้วย

กล้อง

cam1-zen3

cam2-zen3

กล้องใน ASUS Zenfone 3 เฉพาะรุ่น 5.5 และ 5.2 นิ้ว จะมีสเปกกล้องเหมือนกัน โดยความละเอียดของกล้องหลักจะอยู่ที่ 16 ล้านพิกเซล มี Super Resolution เพิ่มความละเอียดเป็น 66 ล้านพิกเซล ด้วยเทคโนโลยี Deep Trench Isolation Technology โดยทั้งหมดถูกควบคุมและจัดการโดย PixelMaster 3.0

ในส่วนซอฟต์แวร์กล้องถ่ายภาพ เอซุสจัดเต็มด้วยโหมดถ่ายภาพให้เลือกใช้อย่างจุใจตั้งแต่ Auto, Manual ที่ให้ผู้ใช้ปรับความเร็วชัตเตอร์ ชดเชยแสง ปรับระบบโฟกัส White Balance ได้, HDR Pro รวมถึงมีโหมดเฉพาะเหตุการณ์อย่าง ถ่ายภาพเด็ก ถ่ายในที่แสงน้อยมาก ไปถึงความสามารถในการอ่าน QR Code ถ่ายพาโนรามา Slow Motion ทำ Depth of field หรือสร้าง GIF Animation จากกล้องได้ เป็นต้น

นอกจากนั้นในส่วนของการเซลฟี ทางเอซุสยังให้โหมด Beautification สามารถปรับโครงหน้า ทำหน้าเนียน หน้าเด้ง ตาโตได้ตามต้องการ

ด้านโหมดวิดีโอ รองรับความละเอียดสูงสุด 4K

ตัวอย่างภาพถ่ายจาก ASUS Zenfone 3 5.5 นิ้ว

คุณภาพไฟล์ภาพ สำหรับ Zenfone 3 รุ่นที่ทีมงานทดสอบจะใช้เซ็นเซอร์กล้องรุ่นกลาง (ต่างจาก Zenfone 3 Deluxe ที่ใช้เซ็นเซอร์กล้องรุ่นท็อป) เพราะฉะนั้นคุณภาพที่ได้ถือว่าโอเค เป็นไปตามราคา Super Resolution ใช้งานจริงแล้ว คงไว้ใช่ครอปภาพเพื่อลงโซเชียลเท่านั้น

ส่วนเมื่อนำไปเทียบกับรุ่นก่อน ตัวนี้ให้คุณภาพไฟล์ภาพดีกว่ามาก โดยเฉพาะการโฟกัสที่ทำได้รวดเร็วขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน

ส่วนการถ่ายวิดีโอ ถึงแม้ทางเอซุสจะเครมว่า Zenfone 3 มาพร้อมระบบกันสั่นแบบฮาร์ดแวร์และออโต้โฟกัสที่เร็วมาก แต่เมื่อทดสอบใช้งานจริงกลับไม่ประทับใจเลย โดยเฉพาะระบบออโต้โฟกัสที่ไม่สามารถโฟกัสแบบต่อเนื่องได้ ไม่รู้เป็นที่ซอฟต์แวร์มีบั๊กหรืออย่างไร อีกทั้งคุณภาพวิดีโอยังอยู่ในเกณฑ์พอใช้เท่านั้น

สรุปส่วนกล้องถ่ายภาพหลัง ยังไม่น่าประทับใจเหมือนกับสเปกที่ให้ไว้อย่างหรูหรา กล้องมีดีที่ตัวซอฟต์แวร์กับโหมดถ่ายภาพที่มีให้เลือกหลากหลาย รวมถึงกล้องหน้าที่ให้คุณภาพค่อนข้างดี

ทดสอบประสิทธิภาพ

bench1-zen3

3D Mark

Sling Shot ES 3.1 = 467 คะแนน
Sling Shot ES 3.0 = 845 คะแนน
Ice Storm Unlimited = 14,061 คะแนน
Ice Storm Extreme = 8,174 คะแนน

PC Mark

Work Performance = 6,423 คะแนน
Storage Score = 3,091 คะแนน

AnTuTu Benchmark = 62,040 คะแนน

Geekbench 3

Single-core = 926 คะแนน
Multi-core = 5,212 คะแนน

bench2-zen3

Quadrant Standard = 39,877 คะแนน

PassMark PerformanceTest Mobile

System = 6,071 คะแนน
CPU Tests = 154,835 คะแนน
Disk Tests = 55,322 คะแนน
Memory Tests = 4,368 คะแนน
2D Graphics Tests = 4,077 คะแนน
3D Graphics Tests = 1,699 คะแนน

Vellamo

Multicore = 2,393 คะแนน
Metal = 1,571 คะแนน
Chrome Browser = 3,519 คะแนน

มาถึงส่วนทดสอบประสิทธิภาพ ต้องเรียนตามตรงว่า Zenfone 3 5.5 นิ้ว ให้ผลลัพท์ทั้งส่วนคะแนนและการใช้งานจริงที่ดีมาก จนกลายเป็นเหมือนจุดแข็งของรุ่นนี้มากที่สุด ประสิทธิภาพโดยรวม ทีมงานขอยกให้เทียบเคียงกับสมาร์ทโฟนไฮเอนด์ของปีที่แล้วอย่าง Samsung Galaxy S6 หรือ iPhone 6 ได้เลย โดยเฉพาะรอมที่ให้มามากถึง 64GB ก็น่าจะเพียงพอต่อการใช้งานในยุคปัจจุบันแล้ว แต่ก็มีผลทำให้ราคาเครื่องแพงขึ้น

จะติดอยู่เรื่องเดียวก็คือแอปฯเสริมที่เอซุสใส่มาให้มากมายเกินความจำเป็นไปเล็กน้อย ถ้าเป็นไปได้อยากให้ตัดออกให้เหลือแค่เฉพาะตัวที่จำเป็นจริงๆ น่าจะช่วยให้เครื่องเบาลง แรมก็จะเหลือมากขึ้น ประสิทธิภาพน่าจะโดดเด่นขึ้น และถ้าเป็นไปได้จัดระเบียบส่วนออปชันตั้งค่า-ปรับแต่งต่างๆให้เรียบร้อยขึ้นจะดีมาก

batttest-zen3

มาดูเรื่องแบตเตอรี ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่น่าประทับใจต่อจากส่วนประสิทธิภาพประมวลผล เพราะใน Zenfone 3 5.5 นิ้ว (ให้แบตเตอรีมา 3,000mAh) สามารถทำเวลาทดสอบใช้งานต่อเนื่องได้ยาวนานถึง 12 ชั่วโมง 11 นาที และเมื่อทดลองใช้งานในชีวิตประจำวันจริง พบว่าแบตเตอรีสามารถใช้งานตลอดทั้งวันได้สบายๆ ประทับใจกว่าทุกรุ่นที่ผ่านมาเลย

6IMG_6247

มาถึงการทดสอบหูฟังที่แถมมาในรุ่นนี้ (ย้ำว่าที่แถมกับ Zenfone 3 5.5 นิ้วมีจำนวนจำกัดนะครับ) กับ Marshall Major 2 หูฟังที่ออกแบบมาเพื่อผู้ใช้สมาร์ทดีไวซ์หูหนักโดยเฉพาะ แน่นอนว่าเหมาะกับการฟังเพลงที่มีดนตรีหนักหน่วง หูฟังจะแสดงศักยภาพได้ดีมาก แต่เมื่อลองกับเพลงเบาๆ Jazz หรือเพลงช้าๆที่ใช้กีตาร์โปร่งเป็นหลัก Major 2 อาจให้ผลลัพท์ที่ไม่ดีนัก เสียงที่ออกมาจะดูเบาบางพร้อมตวามทู่เล็กน้อย และอาการจะหนักขึ้นเมื่อฟังเพลงจากไฟล์ Hi-Res Audio Major 2 ให้เสียงที่ไม่ดีนัก (ทุกอย่างฟังดูเบาบางไปหมด) แต่ก็อย่างว่า Major 2 ไม่ได้ออกแบบมาให้รองรับการฟัง Hi-Res อยู่แล้ว

อีกส่วนที่ต้องกล่าวถึงก็คือ โครงหูฟังและส่วนของ earcup ที่มีข้อดีคือกระชับ สวมใส่แล้วแน่นจนเสียงรบกวนภายนอกเข้ามาได้น้อย แต่สำหรับคนใส่แว่นส่วนของ earcup จะมีปัญหาไปบีบขาแว่นเล็กน้อย ใส่ไปนานๆอาจรู้สึกเจ็บได้

สรุป

2IMG_6229

สำหรับราคาค่าตัว ASUS Zenfone 3 5.5 นิ้ว อยู่ที่ 14,990 บาท มีให้เลือก 4 สีได้แก่ สีทอง, สีน้ำเงิน, สีดำ และสีขาว ส่วนราคารุ่นอื่นลองไปติดตามได้ในเว็บไซต์ ASUS Thailand

หลายคนเห็นราคาของรุ่นนี้ แล้วอาจบ่นว่าแพงไม่สมกับจุดขายของ Zenfone ที่เน้นราคาประหยัดเหมือนสมัยก่อน อย่าเพิ่งรีบตัดสินใจแบบนั้นครับ เพราะความจริงแล้ว Zenfone 3 มีซีรีย์ย่อยอีก 7 รุ่น และราคาเริ่มต้นก็มีตั้งแต่หลักพันไปถึงสองหมื่นบาท เนื่องจากเอซุสต้องการให้จับตลาดครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยรุ่น 5.5 นิ้ว Snapdragon 625 เป็นรุ่นกลางที่เอซุสต้องการยกระดับทั้งการออกแบบ วัสดุ ด้วยกระจก 2.5D หน้าหลังและประสิทธิภาพให้ใกล้เคียงรุ่นท็อป (แรม 4GB รอม 64GB) ซึ่งทั้งหมดเมื่อรวมกับประสิทธิภาพที่ทดสอบได้ ทีมงานก็มองว่าคุ้มค่าคุ้มราคาพอตัว ยิ่งเป็นชุดที่แถมหูฟัง Marshall Major 2 ด้วยแล้วถือว่าคุ้มค่ามาก แต่น่าเสียดายที่เอซุสทำเป็น Limited Edition ไม่อย่างนั้นรุ่นนี้จะจัดให้เป็นรุ่นคุ้มค่าคุ้มราคาที่สุดของปีนี้ได้เลย

ข้อดี

– ตัวเครื่องออกแบบแน่นหนาและหรูหราขึ้นด้วยกระจกประกบหน้าหลัง
– ประสิทธิภาพภายในอยู่ในเกณฑ์ดี ลื่นไหล รวดเร็ว
– รอม 64GB แรม 4GB
– รองรับ Hi-Res Audio
– ASUS Game Genie ออกแบบฟีเจอร์มาได้น่าสนใจ
– แบตเตอรีทำเวลาทดสอบต่อเนื่องได้น่าประทับใจมาก สามารถใช้งานทั่วไปได้ข้ามวัน

ข้อสังเกต

– กล้องถ่ายภาพหลักยังให้ประสิทธิภาพธรรมดาไม่เหมือนกับสเปกที่เขียนไว้หรูหรามาก
– ซอฟต์แวร์เสริมจากโรงงานให้มามากเกินจำเป็น
– ถ้าเล่นไฟล์เพลง Hi-Res Audio คุณภาพสูงสุด 24-bit/192KHz บางครั้งมีอาการเสียงสะดุด
– การจับถือตัวเครื่องไม่ค่อยกระชับมือ ยิ่งมาเจอกระจกประกบทั้งหน้าหลัง จับไม่ดีเครื่องหลุดมือได้ง่าย

*รุ่นนี้ใช้พอร์ต USB-C เชื่อมต่อข้อมูลและชาร์จไฟ

Gallery

]]>
Review : Samsung Galaxy A5 2016 สิ่งที่ได้คือความหรูหรา ในระดับหมื่นต้น https://cyberbiz.mgronline.com/review-samsung-galaxy-a5-2016/ Sun, 20 Mar 2016 04:07:42 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=21951

IMG_2555หนึ่งในสมาร์ทโฟนภาคต่อของซัมซุงที่จับซีรีส์ A มาอัปเดตใหม่ กลายเป็น Galaxy A รุ่นปี 2016 โดยในคราวนี้เลือกนำเข้ามาทำตลาดด้วยกัน 2 รุ่นคือ A5 และ A7 โดยยังคงความโดดเด่นในเรื่องของวัสดุตัวเครื่องที่ใช้ พร้อมกับประสิทธิภาพตัวเครื่องที่คุ้มกับราคาในระดับหมื่นต้นๆ ที่สำคัญรองรับการใช้งาน 4G ด้วย

สิ่งที่ทำให้ซีรีส์ A ค่อนข้างโดดเด่นในตลาดสมาร์ทโฟนคงหนีไม่พ้นเรื่องของหน้าตา และวัสดุ ที่ซัมซุงมีการคิดใหม่ทำให้ ให้ตัวเครื่องดูแข็งแรง ขณะที่ประสิทธิภาพการทำงานก็อยู่ในระดับที่เพียงพอกับการใช้งานหนักๆ แต่อาจจะไม่ได้มีฟีเจอร์ที่เป็นลูกเล่นชัดเจนเหมือนเครื่องในรุ่นไฮเอนด์

การออกแบบ

1600

จุดเด่นของ Galaxy A5 2016 ที่เห็นชัดที่สุดเลยคือเรื่องของดีไซน์ตัวเครื่อง ที่ใช้วัสดุเป็นอะลูมิเนียม ที่มีการลบขอบมุมให้จับง่ายขึ้น ประกบด้วยกระจก Gorilla Glass 4 พร้อมไปกับการออกสีสรรใหม่เข้ามาจับตลาดอย่างสีชมพู และทอง จากก่อนหน้าที่มีเพียงสีขาว และดำ ตามปกติ โดยขนาดรอบตัวของ Galaxy A5 จะอยู่ที่ 144.8 x 71 x 7.3 มิลลิเมตร น้ำหนัก 153 กรัม

IMG_2542

ด้านหน้าไล่จากส่วนบนจะมีช่องลำโพงสนทนาพาดอยู่ตรงกลาง ถัดลงมาเป็นโลโก้ ‘Samsung’ สีเงิน โดยมีกล้องหน้าความละเอียด 5 ล้านพิกเซล อยู่ข้างๆ ถัดลงมาเป็นหน้าจอ SuperAMOLED ขนาด 5.2 นิ้ว ความละเอียด Full HD (1,920 x 1080 พิกเซล) ซึ่งถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่ามีการทำขอบจอให้แคบมากที่สุด ประกอบกับกระจกที่โค้งรับกับรูปตัวเครื่อง ทำให้ถือใช้งานค่อนข้างสะดวก

IMG_2551

ล่างหน้าจอลงมาจะเป็นปุ่มโฮม ที่มาพร้อมระบบสแกนลายนิ้วมือ และปุ่มสัมผัสเรียกดูแอปที่ใช้งาน และย้อนกลับอยู่ทางซ้ายและขวาตามลำดับ อย่างไรก็ตามระบบสแกนลายนิ้วมือของซัมซุง จะทำงานก็ต่อเมื่อหน้าจอติดขึ้นมาเท่านั้น ยังไม่ได้พัฒนาเพิ่มให้รองรับการสแกนขณะหน้าจอปิดเหมือนคู่แข่งในตลาดแอนดรอดย์อย่างหัวเว่ย และเอชทีซี

IMG_2545

ด้านหลังพื้นผิวหลังจะถูกคลุมด้วยกระจกเช่นเดียวกัน เพียงแต่จะมีการแสดงสีของตัวเครื่องที่ออกเงาๆเล็กน้อย อย่างกรณีเครื่องสีดำก็อาจจะเห็นรอยนิ้วมือได้ง่าย โดยจะมีกล้องหลักความละเอียด 13 ล้านพิกเซล พร้อมไฟแฟลชอยู่กึ่งกลางส่วนบน ถัดลงมามีโลโก้ซัมซุง ตัวเครื่องไม่สามารถถอดฝาหลังได้ ภายในจะมีแบตเตอรี่ขนาด 2,900 mAh

IMG_2558IMG_2560ด้านซ้ายจะมีปุ่มปรับระดับเสียง ด้านขวาเป็นที่อยู่ของปุ่มเปิดปิดเครื่อง และถาดใส่นาโนซิมการ์ด และไมโครเอสดีการ์ดที่ต้องใช้เข็มจิ้มถาดออกมา

IMG_2559IMG_2561ด้านบนจะถูกปล่อยโล่งๆ โดยมีเพียงไมโครโฟนตัวที่ 2 เท่านั้น ด้านล่างมีพอร์ตไมโครยูเอสบี ช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม ทางซ้าย ส่วนช่องลำโพง ขนาบอยู่ทางขวา พร้อมกับช่องไมโครโฟนสนทนา โดยจะมีแถบคลื่นอยู่ด้วยทั้งด้านบน และด้านล่าง

สเปก

s11

 

ตัวเครื่อง Galaxy A5 2016 จะมาพร้อมกับหน่วยประมวลผล Samsung Exynos 7580 ที่เป็น Octa Core 1.6 GHz RAM 2 GB พื้นที่เก็บข้อมูลภายในตัวเครื่อง 16 GB สามารถใส่ไมโครเอสดีการ์ดได้สูงสุด 128 GB ทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 5.1.1 (Lollipop)

ในแง่ของการเชื่อมต่อ A5 รองรับทั้ง 3G 2100/1900/900/850 MHz และ 4G 2100/1800/900/850 MHz หรือทุกคลื่นที่ให้บริการในประเทศไทย โดยอัตราการดาวน์โหลดและอัปโหลดสูงสุดจะอยู่ที่ 300/50 Mbps ไวไฟ มาตรฐาน 802.11 a/b/g/n บลูทูธ 4.1 GPS NFC

ฟีเจอร์เด่น

s01

ในมุมของการใช้งาน Galaxy A5 2016 จะเน้นไปที่การใช้งานแบบรอบด้านมากกว่า ไม่ได้มีการใส่ฟีเจอร์พิเศษเข้ามาเหมือนในรุ่นใหญ่อย่างตระกูล Galaxy S แต่ก็ถือว่าครบกับการใช้งานทั่วไป เริ่มกันจากตัวอินเตอร์เฟสที่เป็น Touch WIZ เช่นเดิม ผู้ที่ใช้ซัมซุงกันอยู่แล้วน่าจะคุ้นเคย ด้วยการที่มีหน้าจอหลักให้นำวิตเจ็ตต่างๆเข้ามาใส่

เมื่อเลื่อนหน้าจอไปทางซ้ายก็จะเข้าสู่ Flipboard ที่รวมข้อมูลข่าวสารที่น่าสนใจมาให้ใช้งาน ถ้าไม่ต้องการก็สามารถกดเอาออกได้เช่นเดียวกัน หรือจะเข้าไปตั้งค่าหน้าหลักด้วยการสัมผัสที่หน้าจอค้างไว้ เพื่อเลือกเปลี่ยนภาพพื้นหลัง เปลี่ยนธีม ปรับขนาดตารางหน้าจอ

s03

ในส่วนของแถบการแจ้งเตือน ก็จะมีปุ่มคำสั่งลัดต่างๆให้เปิดปิด ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อไวไฟ บลูทูธ จีพีเอส ดาต้า การหมุนหน้าจอ รวมถึงแถบปรับความสว่างหน้าจอให้ปรับใช้งานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยัง ระบบอย่างการใช้งาน 2 หน้าจอพร้อมกันก็ยังมีมาให้ใช้งานอยู่

IMG_2546

ระบบปลดล็อกตัวเครื่องในรุ่นนี้ จะมีความพิเศษตรงที่ตัวเครื่องรองรับระบบสแกนลายนิ้วมือด้วย ผู้ใช้สามารถบันทึกลายนิ้วมือเพิ่มได้สูงสุด 5 นิ้วด้วยกัน และสามารถเลือกได้ว่าจะนำระบบสแกนลายนิ้วมือไปใช้กับระบบใดบ้าง อย่างการลงชื่อเข้าเว็บไซต์ ใช้กับบัญชีของซัมซุง

s06

นอกจากนี้ ก็จะมีฟังก์ชันอย่างระบบตรวจจับความเคลื่อนไหว อย่างการแจ้งเตือนเมื่อหยิบเครื่องขึ้นมาใช้ ปิดเสียงอัตโนมัติเมื่อคว่ำเครื่องขณะสายเข้า หรือการใช้มือปาดหน้าจอเพื่อจับภาพหน้าจอ พร้อมกับระบบบริหารจัดการเครื่องอย่าง Smart Manager ที่ไว้ตรวจสอบแบตเตอรี ปริมาณ RAM และพื้นที่ที่ใช้งานไป

s04

สำหรับแอปพลิเคชันที่ติดตั้งมาให้ในเครื่องเบื้องต้นจะมีเฉพาะแอปของซัมซุง และกูเกิลเซอร์วิสเท่านั้น ไม่ได้มีการลงแอปฯอื่นมาให้รกเครื่องแต่อย่างใด โดยผู้ใช้สามารถเข้าไปโหลดเพิ่มเติมได้จากใน Galaxy Apps หรือ Play Store ได้ตามปกติ

s05

การตั้งค่าต่างๆ จะมีไอค่อนลัดให้เลือกดูการใช้ข้อมูล ปรับเสียงการแจ้งเตือน ตั้งจอภาพ เปลี่ยนธีม ระบบล็อกหน้าจอ และคู่มือการใช้งานมาให้เข้าใช้ด่วน ถัดลงมาจึงเป็นการตั้งค่าการเชื่อมต่อ ตั้งค่าอุปกรณ์ ตั้งค่าการใช้งานส่วนตัว และตั้งค่าระบบต่างๆ

s07

การใช้งานเว็บเบราว์เซอร์ ในตัวเครื่องจะมีมาให้ทั้งเบราว์เซอร์ของทางซัมซุง ที่จะมีการเก็บข้อมูลเข้าบัญชีผู้ใช้ของซัมซุงไว้ และโครมเบราว์เซอร์ ที่ซิงค์ข้อมูลจากบัญชีกูเกิล ดังนั้นก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่าจะเลือกใช้งานจากเบราว์เซอร์ตัวไหน การแสดงผลถือว่าตอบสนองได้ดีทีเดียว

s10

ระบบโทรศัพท์ที่ให้มา เน้นการใช้งานง่ายเป็นหลัก มีตัวอักษรขนาดใหญ่ให้กด พร้อมระบบคาดเดารายชื่อจากเลขหมาย หรือตัวอักษร หน้าจอขณะสนทนาจะมีแสดงเวลาสนทนา ชื่อ เลขหมาย พร้อมปุ่มคำสั่งอย่างเพิ่มสาย เพิ่มความดัง เปิดใช้บลูทูธ ลำโพง เรียกปุ่มกด ปิดเสียง เรียกใช้อีเมล ข้อความ อินเทอร์เน็ต รายชื่อ S Planner และสมุดบันทึก

s08ขณะที่โหมดการใช้งานกล้องถือเป็นอีกจุดเด่นที่ซัมซุงพยายามโชว์ขึ้นมาใน Galaxy A5 ด้วยการที่ให้ความละเอียดกล้องมา 13 ล้านพิกเซล คุณภาพของรูปที่ออกมาถือว่าคุ้มค่ากับราคา เพียงแต่ในส่วนของโหมดการใช้งานแบบโปร ผู้ใช้ไม่สามารถปรับละเอียดๆได้เหมือนในรุ่นไฮเอนด์ แต่จะเลือกปรับได้แค่ ISO สมดุลแสง และไวท์บาลานซ์เท่านั้น

ส่วนโหมดถ่ายภาพอย่างพาโนราม่า ถ่ายต่อเนื่อง ถ่ายชดเชยแสง ถ่ายกลางคืนยังมีมาให้ปกติ ผู้ใช้สามารถเข้าไปดาวน์โหลดโหมดถ่ายภาพเพิ่มเติมได้ สำหรับการโฟกัสจุดถ่ายภาพ เมื่อเลือกจุดโฟกัสเรียบร้อยแล้ว สามารถเลื่อนปรับแสงได้ที่ฝั่งขวาของหน้าจอ

s09ส่วนการตั้งค่ากล้องอย่างการบันทึกวิดีโอ เลือกได้ที่ความละเอียด 1080p ทั้งกล้องหน้า และกล้องหลัง การถ่ายภาพเซลฟี่ สามารถใช้เสียงในการสั่งถ่ายภาพได้ เช่นเดียวกับการกดป่มเพิ่มลดระดับเสียง และยังมีฟังก์ชันลัดในการเรียกใช้งานกล้องด้วยการกดปุ่มโฮมติดกัน 2 ครั้งจากหน้าจอล็อกเป็นต้น

ทดสอบประสิทธิภาพ

s12

ในส่วนของผลการทดสอบ ผ่านโปรแกรมทดสอบประสิทธิภาพบนแอนดรอยด์อย่าง Quadrant Standart และ Antutu ได้คะแนน 19,769 คะแนน และ 41,377 คะแนน ตามลำดับ หน้าจอรองรับการสัมผัส 5 จุดพร้อมกัน โดยในส่วนของ Antutu หัวเว่ยถือเป็นผู้นำอยู่ในขณะนี้

s13

ทดสอบการใช้งาน HTML 5 ผ่าน Vellamo จากอินเทอร์เน็ตเบราว์เซอร์ ได้ 2,609 คะแนน แอนดรอยด์เว็บวิวได้ 2,280 คะแนน โครมเบราว์เซอร์ 2,711 คะแนน ส่วนประสิทธิภาพตัวเครื่องได้ (Metal) 1,108 คะแนน Multicore 1,657 คะแนน คะแนน Geek Bench 3 Single-Core 691 คะแนน Multi-Core 3,677 คะแนน

ระยะเวลาการใช้งานบนแบตเตอรีต่อเนื่องอยู่ที่ 11 ชั่วโมง 47 นาที 50 วินาที คิดเป็นคะแนนของ Geekbench 3 ได้ 4,719 คะแนน จากแบตเตอรีที่ใหญ่ถึง 2,900 mAh

s14ขณะที่การทดสอบด้วยโปรแกรม PCMark ในส่วนของ Work Performance ได้ 4,076 คะแนน 3D Mark ตัว Sling Shot ES3.0 ได้ 323 คะแนน Ice Storm Unlimited ได้ 8,142 คะแนน ส่วน Ice Storm Extreme 5,067 คะแนน และ Ice Storm 8,438 คะแนน

ส่วน Passmark Performance Test Mobile ได้คะแนน System 4,277 คะแนน CPU 32,166 คะแนน Disk 7,057 คะแนน Memory 4,703 คะแนน 2D Graphics 2,912 คะแนน และ 3D Graphics 1,285 คะแนน

สรุป

อย่างที่บอกว่าตระกูล Galaxy A จะเน้นไปที่ความคุ้มค่าในการใช้งาน กับขนาดหน้าจอที่เหมาะสม (แล้วแต่จะเลือก A5 หรือ A7) และในเรื่องของดีไซน์ตัวเครื่องที่เพิ่มความสวยงามและหรูหราขึ้นมา ส่วนในแง่ของประสิทธิภาพตัวเครื่องอยู่ในระดับที่เพียงพอกับการใช้งานทั่วไป แต่ก็จะไม่มีฟังก์ชันพิเศษเพิ่มเติมเหมือนในตระกูล Galaxy S

ดังนั้น ถ้าเป็นกลุ่มผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนที่ไม่ได้ต้องการ ใช้งานเครื่องระดับไฮเอนด์ ซีรีส์ A จึงถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ กับระดับราคาเปิดตัวที่ 13,900 บาท ได้กล้องความละเอียด 13 ล้านพิกเซล กล้องหน้า 5 ล้านพิกเซล ที่สำคัญคือแบตเตอรี 2,900 mAh ที่ให้ใช้งานได้นานตลอดวัน

ข้อดี

ดีไซน์ วัสดุตัวเครื่อง เทียบกับราคาถือว่าคุ้มค่า

ฟังก์ชันสแกนลายนิ้วมือ (แม้จะต้องกดเปิดจอขึ้นมาก่อน)

รองรับการใช้งาน 3G/4G และ 2 ซิม (เครื่องที่ได้มารีวิวเป็นสีใหม่เลยไม่มี 2 ซิม)

ข้อสังเกต

ตัวเครื่องติดรอยนิ้วมือค่อนข้างง่าย

หน้าจอรองรับสัมผัสพร้อมกันแค่ 5 จุด

โหมดกล้องเน้นการใช้งานอัตโนมัติมากกว่า เพราะระบบโปรจะปรับได้ไม่ค่อยมาก

Gallery

]]>
Review : iPad mini 4 ยกเครื่องใหม่ แรงขึ้น เบาบางลง https://cyberbiz.mgronline.com/review-ipad-mini-4/ Wed, 06 Jan 2016 05:20:01 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=20922

first-image-mini4

หลังจากกลุ่มผลิตภัณฑ์แท็บเล็ตตัวเล็กของแอปเปิลอย่าง iPad mini (เป็นแท็บเล็ตยอดนิยมในบ้านเรามาก) กำลังตกอยู่ในช่วงเงียบเหงา ไร้การอัปเกรดสเปกเครื่องให้สดใหม่มาร่วมปี แถมรุ่น 3 ที่ออกวางจำหน่ายไปเมื่อปีก่อนก็โดนเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องสเปกเครื่องที่ไม่แตกต่างจากรุ่น 2 อย่างหนักจนยอดขายไม่ดี

มาวันนี้แอปเปิลขอแก้ตัวใหม่ด้วยการคลอด iPad mini 4 กับการปรับเปลี่ยนสเปกเครื่องใหม่หมดทุกส่วนเพื่อมาแทนที่ iPad mini 3 ที่ปัจจุบันแอปเปิลเลิกผลิตไปแล้ว

การออกแบบ

IMG_3528IMG_3499

iPad mini 4 มีการปรับเปลี่ยนขนาดรูปทรงจากรุ่นเดิมให้บางลง 18% (หนา 6.1 มิลลิเมตร) พร้อมน้ำหนักเพียง 298.8 กรัมในรุ่น WiFi และ 304 กรัมในรุ่น WiFi + Cellular

หน้าจอ – ถือเป็นครั้งแรกของตระกูล mini ที่แอปเปิลเคลือบสารกันแสงสะท้อนเข้ามา โดยพาเนลจอยังคงเป็น LED Retina ขนาด 7.9 นิ้ว ความละเอียด 2,048×1,536 พิกเซล ความหนาแน่นพิกเซลอยู่ที่ 326 พิกเซลต่อนิ้ว

นอกจากนั้นแอปเปิลยังใส่เทคโนโลยี Full Lamination แบบเดียวกับ iPad Air 2 และ iPad Pro เข้ามา ซึ่งช่วยให้ภาพที่แสดงผ่านหน้าจอจะได้สีสันและคอนทราสต์ที่ดีขึ้น โดยเฉพาะสีดำจะดำสนิทและความคมชัดจะสูงขึ้นกว่า iPad mini รุ่นเดิมมาก

ใต้หน้าจอ – ยังคงเป็นปุ่มโฮมพร้อมเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือ TouchID ส่วนด้านบนเป็นกล้องหน้าความละเอียด 1.2 ล้านพิกเซลเหมือน iPad ทุกรุ่น

IMG_3506

ด้านหลัง – วัสดุด้านหลังเป็นอลูมิเนียมพร้อมสีให้เลือก 3 สีได้แก่ สีทอง สีเงินและสีเทาสเปซเกรย์ พร้อมกล้องหลัง iSight ปรับใหม่เพิ่มความละเอียดจาก 5 ล้านพิกเซลเป็น 8 ล้านพิกเซล รองรับโหมดถ่ายภาพต่อเนื่องและวิดีโอสโลโมชันเพิ่มจากรุ่นเดิม

IMG_3509

มาถึงพอร์ตเชื่อมต่อและปุ่มกดต่างๆรอบตัวเครื่อง เริ่มจากด้านขวา เป็นปุ่มเพิ่มลดระดับเสียง และสำหรับรุ่น WiFi + Cellular ด้านล่างจะเป็นช่องใส่ซิมการ์ดโทรศัพท์ Nano Sim

ส่วนด้านซ้ายจะไม่มีปุ่มกดและพอร์ตเชื่อมต่อใดๆติดตั้งอยู่

IMG_3511IMG_3513

มาดูด้านบนของตัวเครื่อง ตรงกลางแถบสีขาว จะเป็นส่วนของเสาสัญญาณโทรศัพท์ (ถ้าเป็น WiFi จะไม่มีแถบสีขาวนี้) ด้านขวามือ (ซ้ายของภาพ) จะเป็นปุ่มเปิดปิดเครื่อง และซ้ายมือ (ขวาของภาพ) เป็นช่องหูฟัง 3.5 มิลลิเมตร

ด้านล่างเป็นลำโพงสเตอริโอซ้าย ขวา (จุดสังเกตว่าเครื่องเป็น iPad mini 3 หรือ 4 สามารถดูได้จากลำโพง โดยรุ่น 3 ช่องลำโพงจะเป็นสองแถว ส่วนรุ่น 4 จะเป็นแถวเดียวและรูลำโพงใหญ่กว่า) ตรงกลางเป็นพอร์ต Lightning

สเปกและฟีเจอร์เด่น

IMG_3532

iPad mini 4 มาพร้อมสเปกที่ใกล้เคียงกับ iPad Air 2 อย่างมาก โดยหน่วยประมวลผลเลือกใช้ Apple A8 Dual Core 1.5GHz 64 บิต (เร็วกว่าเดิม 30%) พร้อมชิปประมวลผลการเคลื่อนไหว M8 กราฟิกชิป PowerVR GX6450 แรม 2GB หน่วยเก็บข้อมูลภายในมีความจุให้เลือกตั้งแต่ 16/64/128GB (รุ่นที่ทดสอบความจุ 128GB เหลือพื้นที่ใช้งานจริงประมาณ 110GB) ขับเคลื่อนด้วยระบบปฏิบัติการ iOS 9 (ปัจจุบัน iOS 9.2)

ipadmini4-multitask

ในส่วนฟีเจอร์เกือบทุกส่วนเหมือนกับ iPad mini รุ่นก่อนเกือบทั้งหมด Split View สามารถใช้งานได้ลื่นไหลขึ้นเมื่อเทียบกับ iPad mini รุ่นที่แล้ว โดยเมื่อเปิดใช้งานแอปฯสองหน้าจอ ระบบจะปรับขนาดเป็น iPhone Size

สำหรับสเปกปลีกย่อยที่เปลี่ยนแปลงไปจากรุ่นก่อนหน้า WiFi พร้อม MIMO รองรับมาตรฐานใหม่ 802.11 a/b/g/n/ac สองช่องความถี่ 2.4GHz และ 5GHz สามารถรับส่งข้อมูลความเร็วสูงสุด 866Mbps ส่วนบลูทูธปรับไปใช้รุ่น 4.2

ในส่วนเซ็นเซอร์ภายใน นอกจากการเพิ่ม TouchID เข้ามาแล้ว ตัวเครื่องยังมาพร้อมเซ็นเซอร์บารอมิเตอร์และรองรับบริการ Apple Sim ด้วย

ทดสอบประสิทธิภาพ

ipadmini4-game-test

ในส่วนประสิทธิภาพ iPad mini 4 ได้คะแนนทดสอบอยู่เหนือ iPhone 6 / 6 Plus และใกล้เคียงกับ iPad Air 2

การใช้งานตัดต่อวิดีโอผ่าน iMovie และเล่นเกม 3 มิติทำได้ลื่นไหลขึ้น และมีสิ่งที่น่าสนใจคือ หน้าจอ iPad mini 4 ให้สีสันที่สวยงามและความคมชัดมากกว่ารุ่นก่อนหน้าอย่างเห็นได้ชัด

ipadmini4-benchmark-battery-test

แต่สิ่งหนึ่งที่อาจเป็นข้อสังเกตสำคัญของ iPad mini 4 ก็คือเรื่องแบตเตอรีที่ปรับลดลงเหลือเพียง 5,124 mAh (จากเดิมใน iPad mini 3 อยู่ที่ 6,471 mAh) ถึงแม้แอปเปิลจะเครมว่าแบตเตอรีจะให้เวลาใช้งานเท่าเดิมคือประมาณ 10 ชั่วโมง แต่จากการทดสอบด้วย Geekbench 3 และทดลองใช้งานจริงพบว่า แบตเตอรี iPad mini 4 หมดเร็วกว่ารุ่นก่อนหน้าเล็กน้อย โดยถ้าใช้งานแบบหนักหน่วงแบตเตอรีจะอยู่ได้ประมาณ 5-6 ชั่วโมง ในขณะที่รุ่น 3 จะอยู่ที่ประมาณ 6-7 ชั่วโมง ส่วนเมื่อใช้งานทั่วไป เช่น แชท เล่นเฟสบุ๊ก ท่องเว็บไซต์ ระยะเวลาที่ได้ไล่เลี่ยกันมาก

ipadmini4-phototest2ipadmini4-phototest1

มาถึงการทดสอบสุดท้ายกับกล้อง iSight ปรับใหม่ ที่ดูแล้วสเปกใกล้เคียงกับ iPhone 6 และ 6 Plus โดยเมื่อทีมงานทดลองถ่ายภาพ ผลลัพท์ที่ได้ใกล้เคียงกับการถ่ายภาพด้วยกล้องบน iPhone 6 มาก จะแตกต่างก็ตรงระบบจัดการนอยซ์ที่ iPhone ทำได้ดีกว่า

สรุป

IMG_3522

สำหรับราคาเปิดตัว iPad mini 4 ในรุ่น WiFi ราคาเริ่มต้น 13,400 บาท รุ่น WiFi + Cellular เริ่มต้น 17,900 บาท ถือเป็นแท็บเล็ตขนาดพอดีมือ ที่ในครั้งนี้ถูกปรับสเปกมาได้พอดีและน่าสนใจจนสามารถตอกปิดฝาโลง iPad mini 3 ได้อย่างสวยงาม โดยเฉพาะประสิทธิภาพที่ถูกจัดอยู่ตรงกลางระหว่าง iPhone 6 และ iPad Air 2 จนกลายเป็นรุ่นที่เร็วที่สุดในตระกูล iPad mini

ผู้อ่านที่เคยผิดหวังกับการมาของ iPad mini 3 ลองหันกลับมามองรุ่น 4 ใหม่อีกครั้ง ผมเชื่อว่าคนที่กำลังรอแท็บเล็ตขนาดพอดีมือจากแอปเปิลจะต้องถูกใจรุ่นนี้ที่สุด

ข้อดี

– เล็กและน้ำหนักเบาลง
– ประสิทธิภาพดีขึ้น เหมือน iPad Air 2 ย่อส่วนลดสเปก
– หน้าจอรุ่นใหม่ สีสวย ภาพคมชัดขึ้น
– กล้อง iSight คุณภาพใกล้เคียง iPhone 6

ข้อสังเกต

– แบตเตอรีความจุน้อยลง ใช้งานหนัก แบตฯหมดเร็ว
– ไม่มีฟีเจอร์สดใหม่ เหมือนนำ iPad Air 2 มาย่อส่วน ลดสเปกลง
– ขนาดตัวเครื่องแตกต่างจากรุ่นก่อนหน้ามาก โดยเฉพาะความบาง ต้องใช้เคสที่ออกแบบมาเฉพาะ iPad mini 4

Gallery

]]>
Review : Lenovo Phab Plus จอใหญ่ 6.8 นิ้ว ราคาหมื่นต้น https://cyberbiz.mgronline.com/lenovo-phab-plus-review/ Mon, 09 Nov 2015 04:45:12 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=18889

IMG_0842

แม้ว่าปัจจุบันเลอโนโวจะแบ่งธุรกิจโทรศัพท์มือถือ แยกออกมาจากฝั่งของพีซีแล้วแต่ก็ยังมีบางผลิตภัณฑ์ที่อยู่คาบเกี่ยวระหว่างการเป็นสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต คือแฟ็บเล็ต ที่ยังถูกทำตลาดโดยฝั่งธุรกิจพีซี เพราะมองว่าเป็นเครื่องที่มีขนาดจอใหญ่กว่าสมาร์ทโฟนทั่วไป

Lenovo Phab Plus จึงถือเป็นแฟ็บเล็ตที่เกิดขึ้นมาอยู่ระหว่างการเป็นสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ด้วยขนาดหน้าจอที่ใหญ่ถึง 6.8 นิ้ว ทำให้เหมาะกับการใช้งานในด้านการรับชมความบันเทิงบนหน้าจอขนาดใหญ่ ที่ไม่ถึงขั้นของแท็บเล็ตเพื่อให้พกพาได้ง่าย

จุดเด่นหลักของ Phab Plus นอกจากขนาดหน้าจอระดับ Full HD แล้ว ก็จะมีในส่วนของตัวเครื่องที่ใช้วัสดุเป็นโลหะ ระบบเสียงแบบ Dolby Atmos รวมถึงการเพิ่มฟังก์ชันอย่างการใช้งานด้วยมือเดียว และกล้องถ่ายภาพหลังที่ความละเอียด 13 ล้านพิกเซล

การออกแบบ

IMG_0847

ถ้าจำกันได้ก่อนหน้านี้เลอโนโว เคยออกสมาร์ทโฟนมที่มีรูปทรงใกล้เคียงกับ Phab Plus ในรุ่น S90 ซึ่งถ้ามองแล้วก็ถือว่าเป็นการนำดีไซน์ของไอโฟนมาใช้งาน เพราะด้วยรูปลักษณ์ทั้งแบบจะเหมือนกับ iPhone 6 Plus ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นนั่นเอง ด้วยการใช้วัสดุที่เป็นอะลูมิเนียมมีสีให้เลือกด้วยกัน 3 สี คือ ทอง เงิน และเทา ขนาดรอบตัวของ Phab Plus จะอยู่ที่ 188.6 x 96.6 x 7.6 มม. น้ำหนัก 220 กรัม

IMG_0839

ด้านหน้าจะมากับจอขนาด 6.8 นิ้ว ความละเอียด Full HD (1280 x 1080 พิกเซล) โดยทางเลอโนโวระบุว่าเป็นจอแบบ Retina ความละเอียด 368 ppi ส่วนบนหน้าจอจะมีลำโพงสนทนา และกล้องหน้าความละเอียด 5 ล้านพิกเซล ขณะที่ปุ่มกดสั่งงานด้านล่างก็จะอยู่บนจอสัมผัสทั้งหมด

IMG_0840ด้านหลังบริเวณบนจะมีการเจาะช่องลำโพงเป็นแนวยาว ซึ่งถือเป็นจุดที่สร้างความต่างระหว่างเลอโนโวกับไอโฟน โดยมีกล้องความละเอียด 13 ล้านพิกเซล พร้อมไฟแฟลชแบบ 2 โทนสี กับมีสัญลักษณ์ lenovo ตรงกลางเครื่อง พื้นที่ๆเหลือถูกปล่อยว่างไว้ แต่จะมีแถบรับสัญญาณคาดผ่านตัวเครื่องด้วย ภายในจะมีแบตเตอรีขนาด 3,500 mAh ที่ไม่สามารถถอดเปลี่ยนได้

IMG_0855IMG_0853

ด้านซ้ายจะมีช่องสำหรับใส่ซิมการ์ด และไมโครเอสดีการ์ด เพียงแต่จะต้องเลือกใส่เป็น นาโนซิมการ์ด พร้อมกับ ไมโครซิมการ์ด หรือไมโครเอสดีการ์ด กับไมโครซิมการ์ด ดังนั้นถ้าใส่ไมโครเอสดีการ์ดก็จะใช้งานได้แบบซิมเดียว ด้านขวาเป็นปุ่มปรับระดับเสียง และปุ่มเปิดปิดเครื่อง

IMG_0852

ด้านบนมีเพียงช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม. ด้านล่าง – เป็นพอร์ตไมโครยูเอสบี ไมโครโฟนสนทนา และเหมือนเป็นรูน็อต

สเปก

s14

สำหรับสเปกภายในของ Lenovo Phab Plus จะมากับหน่วยประมวลผล Qualcomm Snapdragon 615 ที่เป็น Octa Core 1.5 GHz 64 บิต RAM 2GB พื้นที่เก็บข้อมูล 64 GB ใส่ไมโครเอสดีการ์ดเพิ่มได้สูงสุด 64 GB ทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 5.0 (Lollipop)

ด้านการเชื่อมต่อรองรับการใช้งาน 2 ซิม (แทนช่องไมโครเอสดีการ์ด) โดยซิมหลักสามารถใช้งาน 3G 4G ได้ทุกเครือข่าย ส่วนซิมที่ 2 จะสแตนบายบนระบบ 2G ไวไฟมาตรฐาน 802.11 a/b/g/n/ac บลูทูธ 4.0 GPS และวิทยุFM แต่ไม่รองรับ NFC

ฟีเจอร์เด่น

IMG_0865

ฟีเจอร์หลักที่น่าสนใจใน Phab Plus คือโหมดการใช้งานมือเดียว โดยผู้ใช้จำเป็นต้องเข้าไปเปิดค่าการใช้งาน Screen Shrink ก่อน เมื่อเปิดแล้ว จะทำให้สามารถวาดสัญลักษณ์ตัว C บนหน้าจอ ขนาดหน้าจอก็จะเล็กลงมาให้สามารถใช้งานด้วยมือข้างเดียว โดยผู้ใช้สามารถเอียงซ้ายขวา เพื่อให้จออยู่ติดขอบฝั่งที่ถนัด

s01

หรือจะเลือกได้ว่าจะให้อยู่บริเวณบน กลาง ล่าง ของหน้าจอ ถัดมาคือฟังก์ชันการปลุกหน้าจอด้วยการกดจอ 2 ครั้ง และการสั่นเครื่องเพื่อปิดหน้าจอ โหมดคีย์บอร์ดสำหรับใช้งานมือเดียว และปุ่มช่วยสั่งงาน ที่ช่วยอำนวยความสะดวกกรณีที่ใช้งานด้วยมือข้างเดียวนั่นเอง

s02

ต่อมาคือการชูในเรื่องของระบบเสียง Dolby Atmos ที่ผู้ใช้สามารถเข้าไปเลือกตามโหมดที่ใช้งานได้ ไม่ว่าจะเป็นดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม นอกจากนี้ ผู้ใช้ที่มีความรู้ในการตั้งเสียงยังสามารถเลือกเข้าไปปรับ Equalizer ให้ได้ตามที่ต้องการเพิ่มเข้าไปอีก

s03

ขณะที่ตัวหน้าจอหลัก สังเกตได้จากพื้นหลังจะมีการใช้ภาพลวดลายใกล้เคียงกับปลากัดเพื่อชูถึงรายละเอียดในการแสดงผลของหน้าจอ โดยรวมแล้วหน้าจอหลักจะมีไอค่อนลัด 5 ปุ่มที่แถบล่างสุดคือโทรศัพท์ กล้อง เรียกดูแอปทั้งหมด ข้อความ และเว็บเบราว์เซอร์ ในขณะที่ผู้ใช้สามารถนำวิตเจ็ตมาใส่หน้าจอได้ตามปกติ

เมื่อลากแถบแจ้งเตือนลงมา จะพบกับนาฬิกาบอกวัน เวลาที่มุมซ้ายบน มุมขวาบนแสดงสถานะแบต และทางลัดเข้าสู่การตั้งค่าหลัก โดยในหน้าจอนี้ผู้ใช้สามารถเลือกปรับความสว่างหน้าจอ และตั้งค่าด่วนอย่างการเปิดปิด การใช้งานไวไฟ บลูทูธ โหมดเครื่องบิน หมุนหน้าจอ พิกัด สลับซิมการ์ด ดาต้า และโหมดใช้งานมือเดียวได้

ส่วนปุ่ม Recent Apps ที่ไว้ใช้สลับการใช้งานของแต่ละแอป ยังไม่มีการเพิ่มปุ่มเคลียแอปทั้งหมดเข้ามา ทำให้ถ้าต้องการปิดการใช้งานจำเป็นต้องเลื่อนไปทีละหน้าต่างแทน

s04

เข้ามาดูที่หน้ารวมแอปพลิเคชัน ก็จะเห็นแอปไว้ใช้งานทั่วๆไปมาครบ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคิดเลข ปฏิทิน นาฬิกา อีเมล วิทยุ สแกนไวรัส เครื่องเล่นเพลง ที่อัดเสียง เมื่อรวมกับบริการต่างๆของกูเกิลเข้าไปไม่ว่าจะเป็น เว็บเบราว์เซอร์ จีเมล กูเกิลพลัส กูเกิลแฮงเอาท์ และยูทูป ก็ถือว่าพอกับการใช้งานเบื้องต้นแล้ว

นอกจากนี้ ยังมีการใส่แอปที่เป็นการแนะนำฟังก์ชันต่างๆของเครื่องเข้ามาด้วย เมื่อเปิดแล้วจะแสดงผลเป็นวิดีโอเคลื่อนไหว แนะนำการใช้งานฟีเจอร์ที่น่าสนใจของ Phab Plus

s05

เข้ามาถึงส่วนของการตั้งค่า รวมๆแล้วจะแบ่งออกเป็นการตั้งค่าการเชื่อมต่อ ตัวเครื่อง บุคคล และระบบ โดยที่น่าสนใจคือระบบการใช้งาน 2 ซิม ที่ผู้ใช้สามารถเข้าไปเลือกเปิดปิด การทำงานซิมได้ สลับการใช้งานโทรศัพท์ ข้อความ และซิมที่ต่อเน็ตได้ เพียงแต่เมื่อเลือกซิมหลักแล้ว อีกซิมจะเข้าสู่โหมดสแตนบาย 2G

s06

โหมดการใช้งานกล้องของ Phab Plus ยังถือว่าไม่ได้มีจุดเด่นที่ชัดเจน เหมือนในรุ่นอย่าง Vibe Shot กล่าวคือตัวอินเตอร์เฟสจะเน้นการใช้งานแบบอัตโนมัติเป็นหลัก สามารถปรับโหมดถ่ายภาพได้มาไอค่อนลัดที่มุมขวาบน หรือถ้าต้องการเข้าไปตั้งค่าอื่นๆก็จะมีให้เลือกอย่าง สมดุลแสงขาว ระบบกันสั่น โหมดหน้าสวย เสียงชัตเตอร์ ระบบตรวจจับใบหน้าเป็นต้น

s07

การใช้งานโทรศัพท์ ยังมาพร้อมระบบเดารายชื่อจากเลขหมายหรือชื่อที่พิมพ์ไป โดยสามารถตั้งได้ว่าจะให้ซิมใดใช้งานสำหรับโทรศัพท์เป็นหลัก เมือเข้าสู่หน้าจอสนทนาจะมีไอค่อนลัดสำหรับเปิดลำโพง ปิดเสียง เรียกปุ่มกด พักสาย เพิ่มสาย บันทึกเสียงได้ ส่วนหน้าจอสายเรียกเข้าจะให้เลื่อนปุ่มรับสาย ตัดสาย และส่งข้อความกลับ

s08

คีย์บอร์ดที่แถมมาให้กับตัวเครื่อง Phab Plus รองรับการใช้งานภาษาไทยอยู่แล้ว ทำการสลับภาษาด้วยการกดปุ่มลูกโลก สามารถใช้งานได้ทั้งแนวตั้ง และแนวนอน ซึ่งด้วยขนาดหน้าจอแล้ว ทำให้ปุ่มกดที่ได้มีขนาดใหญ่ ง่ายต่อการพิมพ์

s09

ในแง่ของการใช้งานทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานเว็บไซต์ จากตัวจอที่มีขนาดใหญ่ 6.8 นิ้ว แน่นอนว่าทำให้สามารถใช้ในกาใช้งานได้ดีขึ้น รวมถึงการรับชมคลิปวิดีโอ ดูยูทูปได้เต็มตามากยิ่งขึ้น แต่ก็แลกมาด้วยความหนักของตัวเครื่อง กับความใหญ่ที่ทำให้ไม่สามารถถือใช้งานด้วยมือข้างเดียวเป็นเวลานานๆได้

s10

สุดท้ายแอปที่แถมมาให้สำหรับผู้ใช้งานเลอโนโว คือ Sync it เป็นแอปใช้สำรองข้อมูลรายชื่อผู้ติดต่อ ขึ้นไปเก็บไว้บนระบบคลาวด์ หรือจะเลือกสำรองข้อมูลไว้ในเอสดีการ์ดก็ได้ ส่วน Share it เป็นแอปในการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องสมาร์ทโฟนด้วยกัน แต่ต้องทำการติดตั้งแอปไว้ทั้งคู่ ภายในตัวเครื่องยังมีวิทยุFM มาให้ใช้งานด้วย

ทดสอบประสิทธิภาพ

s11

มาถึงส่วนของผลการทดสอบ ผ่านโปรแกรมทดสอบประสิทธิภาพบนแอนดรอยด์อย่าง Antutu 32 bit ได้คะแนน 32,498 คะแนน 64 bit 32,243 คะแนน และ Quadrant Standart 20,954 คะแนน ตามลำดับ หน้าจอรองรับการสัมผัส 5 จุดพร้อมกัน

s12

ทดสอบการใช้งาน HTML 5 ผ่าน Vellamo จากโครมเบราว์เซอร์ 2,083 คะแนน เว็บเบราว์เซอร์ได้ 1,578 คะแนน ส่วนประสิทธิภาพตัวเครื่องได้ (Metal) 1,014 คะแนน Multicore 1,488 คะแนน คะแนน Geek Bench 3 Single-Core 645 Multi-Core 2,432 คะแนน

ระยะเวลาการใช้งานบนแบตเตอรีต่อเนื่องอยู่ที่ 6 ชั่วโมง 6 นาที 50 วินาที คิดเป็นคะแนนของ Geekbench 3 ได้ 2,446 คะแนน

s13

ขณะที่การทดสอบด้วยโปรแกรม PCMark ในส่วนของ Work Performance ได้ 3,412 คะแนน 3D Mark ตัว Sling shot ES3.0 ได้ 101 คะแนน Ice Storm Unlimited ได้ 7,609 คะแนน Ice Storm Extreme 5,346 คะแนน และ Ice Storm 8,810 คะแนน

ส่วน Passmark PerformanceTest Mobile ได้คะแนน System 4,570 คะแนน CPU 86,871 คะแนน Disk 24,001 คะแนน Memory 4,560 คะแนน 2D Graphics 3,103 คะแนน และ 3D Graphics 1,184 คะแนน

สรุป

IMG_0863

โดยรวมแล้วถ้าต้องการสมาร์ทโฟนที่มีขนาดหน้าจอใหญ่กว่าปกติ เพื่อใช้งานทางด้านความบันเทิง Phab Plus ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในระดับราคา 11,990 บาท เพราะถ้าเทียบในระดับราคาเดียวกันจะหาเครื่องที่มีขนาดหน้าจอใหญ่เท่านี้ และใช้วัสดุแบบเดียวก็ถือว่าหาได้ยาก

อย่างไรก็ตาม Phab Plus อาจจะไม่ใช่แฟ็บเล็ตที่พกพา หรือใช้งานโทรศัพท์ได้ง่ายนัก เพราะตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ ทำให้การพกพาได้ลำบาก โดยเฉพาะผู้ชายที่นำเครื่องสมาร์ทโฟนใส่กระเป๋ากางเกง แต่ถ้าปกติไลฟ์สไตล์จะถือใช้งาน หรือใส่กระเป๋าเป็นหลักก็ถือว่าแลกกับความสะดวกในการใช้งาน

อีกจุดที่น่าสนใจคือการที่เครื่องรองรับการเชื่อมต่อ 4G รวมถึงสามารถเลือกได้ว่าจะใช้งานแบบ 2 ซิม (ซิมที่ 2 ต้องใช้งานดีแทค เพราะเป็นรายเดียวที่ยังให้บริการ 2G อยู่ในปัจจุบัน) หรือใส่ไมโครเอสดีการ์ดแทน แต่ก็น่าเสียดายที่ตัวเครื่องไม่ได้รองรับการใช้งาน NFC ด้วย

ข้อดี

แฟ็บเล็ตหน้าจอ 6.8 นิ้ว Full HD

รองรับการเชื่อมต่อ 4G

ใส่ฟีเจอร์สำหรับใช้งานมือเดียวมาให้ด้วย

การดีไซน์ และวัสดุ ดูน่าใช้งาน เมื่อเทียบกับราคา 11,990 บาท

ข้อสังเกต

ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ อาจจะไม่เหมาะกับการพกพา

คุณภาพกล้องยังไม่ดีเท่าที่ควร

ไม่รองรับ NFC

Gallery

]]>
Review: Sony Xperia M5 ปรับใหม่ กล้องเยี่ยม เทียบไฮเอนด์ สเปกคุ้มราคา https://cyberbiz.mgronline.com/sony-xperia-m5/ Mon, 12 Oct 2015 07:57:47 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=17821

558000011834602

ก่อนที่สมาร์ทโฟนท็อปฟอร์มกระแสดีอย่าง Sony Xperia Z5 จะวางขายอย่างเป็นทางการ Sony Xperia M5 ก็ถือเป็นสมาร์ทโฟนระดับกลางที่หลายคนให้ความสนใจไม่แพ้กัน เพราะในครั้งนี้โซนี่ตั้งใจลบเสียงวิจารณ์ด้านลบที่เคยเกิดขึ้นกับ M4 Aqua โดยเฉพาะกล้องถ่ายภาพที่โซนี่จัดเต็มทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ไม่แพ้ Z5 จนได้ชื่อว่า “เป็นสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ระดับกลางที่มาพร้อมกล้องถ่ายภาพความละเอียดสูงที่สุดในโลก” และถือเป็นครั้งแรกที่โซนี่ปรับปรุงกล้องถ่ายภาพใหม่หมดโดยนำฟีเจอร์จากกล้องดิจิตอลตระกูลอัลฟ่ามาบรรจุลงใน Xperia M5 พร้อมด้วยราคาที่ยังจัดว่าคุ้มค่าคุ้มราคาอีกด้วย

การออกแบบ

558000011834603558000011834604

แต่ก่อนจะไปรับชมรีวิวจุดเด่นต่างๆ เรามาดูเรื่องการออกแบบกันก่อน สำหรับ Xperia M5 รุ่นที่วางจำหน่ายในไทยจะเป็นรุ่นซิมเดียว (แต่เครื่องรีวิวเป็น Dual Sim) และมีสีให้เลือก 3 สีได้แก่ ดำ ขาวและทอง

ภาพรวมด้านการออกแบบ การวางปุ่มต่างๆ โซนี่ยึดตามหลัก OmniBalance เช่นเดิม ด้านหน้าของตัวเครื่อง โซนี่เลือกใช้วัสดุเป็นกระจกป้องกันรอยขีดข่วน ด้านบนเหนือโลโก้ Sony เป็นช่องลำโพงฟังเสียงสนทนา ด้านล่างเป็นช่องไมโครโฟนตัวที่ 1

หน้าจอเป็น IPS LCD ขนาด 5 นิ้ว ความละเอียด 1,920×1,080 พิกเซล ประกบหน่วยประมวลผล BRAVIA Engine 2 ตัวเครื่องหนา 7.6 มิลลิเมตร ขอบเครื่องจากสเปกชีทระบุว่าเป็นอลูมิเนียม น้ำหนักตัวเครื่องรวม 142.5 กรัม

และที่สำคัญโซนี่ยังคงรักษาจุดขายของตนในเรื่องการป้องกันน้ำและฝุ่นตามมาตรฐาน IP65/68

558000011834605

มาดูกล้องหน้า ถือเป็นครั้งแรกที่โซนี่ปรับให้เข้ากับยุคแห่งการเซลฟีมากขึ้น โดย Xperia M5 มาพร้อมกล้องหน้าความละเอียด 13 ล้านพิกเซล ประกบเซนเซอร์รับภาพ Exmor RS รองรับ HDR และสามารถถ่ายวิดีโอที่ความละเอียด 1,920×1,080 พิกเซล ที่ความเร็ว 30 เฟรมต่อวินาที

558000011834606

ด้านหลังของตัวเครื่อง ใช้วัสดุเป็นกระจกเช่นเดียวกับด้านหน้า จุดเด่นอยู่ที่กล้องถ่ายภาพด้านหลัง 21.5 ล้านพิกเซล รูรับแสง f2.2 ประกบเซนเซอร์รับภาพ Exmor RS รองรับความไวแสงสูงสุด ISO 3,200 และรองรับระบบซูมภาพแบบไม่สูญเสียความคมชัดที่ 5 เท่า พร้อมระบบโฟกัสภาพแบบ Hybrid Auto focus (Phase + Contrast Detection จากเทคโนโลยีโฟกัสของกล้องตระกูลอัลฟ่า) ที่ช่วยให้โฟกัสเร็วถึง 0.25 วินาทีและโฟกัสในที่แสงน้อยทำได้แม่นยำขึ้น ถัดมาเป็นไฟแฟลช LED 1 ดวง

ตรงกลางเป็นส่วนของภาครับสัญญาณ NFC และโลโก้ Sony ถัดลงไปด้านล่างเป็นชื่อรุ่น Xperia

558000011834607

ในส่วนปุ่มกดและช่องเชื่อมต่อต่างๆรอบตัวเครื่อง เริ่มจากด้านซ้ายของเครื่อง จะเป็นที่อยู่ของช่องใส่ซิมการ์ดโทรศัพท์แบบ Nano Sim และช่องใส่การ์ดเพิ่มความจุตัวเครื่อง MicroSD รองรับความจุสูงสุด 200GB Class 10 หรือ UHS Class 1

558000011834608

โดยหลังใส่ซิมหรือการ์ด MicroSD แล้วควรปิดช่องดังกล่าวให้สนิทเพื่อป้องกันน้ำและฝุ่นละอองผ่านเข้าไปภายในตัวเครื่อง เวลาเราต้องนำเครื่องไปลุยฝนหรือลุยน้ำในรูปแบบต่างๆ

558000011834609

ด้านขวาของเครื่อง จากซ้ายของภาพเป็นปุ่มชัตเตอร์ โดยเมื่อหน้าปิดอยู่สามารถกดค้างเพื่อเรียกกล้องถ่ายภาพได้ทันที ถัดมาเป็นปุ่มเพิ่มลดระดับเสียง และสุดท้ายปุ่มวงกลมคือปุ่มเปิดปิดเครื่อง

558000011834610558000011834611

ด้านบนเครื่อง เป็นที่อยู่ของช่องหูฟัง 3.5 มิลลิเมตรและไมโครโฟนตัวที่ 2 สำหรับตัดเสียงรบกวน ส่วนด้านล่างเครื่องตรงกลางเป็นช่อง MicroUSB สำหรับชาร์จไฟและเชื่อมต่อข้อมูลกับคอมพิวเตอร์ ถัดไปด้านซ้ายเป็นช่องลำโพง (Internal Speaker)

สเปก

558000011834612

มาถึงด้านสเปกเครื่อง Sony Xperia M5 ขับเคลื่อนด้วยซีพียู 64 บิตตัวฮิตของปีนี้ในชื่อ MediaTek Helio X10 Octa-core (8 คอร์) ความเร็ว 2.0GHz กราฟิกเป็นของ PowerVR รุ่น Rogue G6200 แรมให้มา 3GB ความจุภายในตัวเครื่อง 16GB เหลือใช้งานจริงประมาณ 9.05GB ส่วนระบบปฏิบัติการเลือกใช้ แอนดรอยด์ 5.0 Lollipop แบบ 64 บิตเต็มรูปแบบ

ในส่วนการเชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ Xperia M5 รองรับ 3G และ 4G LTE ทุกเครือข่ายในประเทศไทย WiFi รองรับมาตรฐาน 802.11 a/b/g/n Dual band ทั้ง 2.4GHz และ 5GHz นอกจากนั้นยังรองรับ DLNA และ Wi-Fi Direct ส่วน GPS รองรับทั้ง aGPS และ GLONASS พร้อมบลูทูธ 4.1 รองรับการเชื่อมต่อ aptX แต่ไม่รองรับ Hi-Res Audio เหมือนรุ่นพี่ใหญ่ Xperia Z5

สำหรับแบตเตอรี ให้มา 2,600mAh ตามสเปกชีทระบุว่าสามารถสนทนาได้ต่อเนื่อง 11 ชั่วโมง 49 นาที ส่วนเล่นวิดีโอต่อเนื่องได้ยาวนาน 8 ชั่วโมง 2 นาที

ฟีเจอร์เด่น

558000011834613

ภาพรวมของยูสเซอร์อินเตอร์เฟสของโซนี่บนแอนดรอยด์ 5.0 Lollipop ไม่ค่อยแตกต่างจากรุ่นก่อนหน้ามากนัก จุดที่เปลี่ยนแปลงไปส่วนใหญ่จะอยู่ในส่วนไอคอนและหน้าตาแอปฯบางตัวมีการปรับให้เรียบง่ายขึ้นตามรูปแบบของ Material Design

558000011834614

โดยเฉพาะส่วนของแถบแจ้งเตือน (Notification) ที่ดึงหน้าตาแถบแจ้งเตือนบนแอนดรอยด์ 5.0 Lollipop ออกมาใช้ได้อย่างลงตัวพร้อมเพิ่มความสามารถให้ผู้ใช้สามารถเลือกเพิ่มเมนูตั้งค่าด่วนได้ตามต้องการ

558000011834615

ในส่วนแอปฯจากโรงงานที่น่าสนใจ นอกจากแอปฯเดิมอย่าง Sketch, What’s New และแอปฯอื่นๆ จะได้รับอัปเดตให้รองรับแอนดรอยด์ 5.0 Lollipop รวมถึงปรับดีไซน์ใหม่แล้ว ทางโซนี่ยังได้เพิ่มแอปฯในกลุ่ม Play Station Network สำหรับผู้ใช้ที่มีเครื่องเล่นเกมคอนโซล PlayStation 4 อยู่ สามารถเชื่อมต่อเครื่องเล่นเกมดังกล่าวเข้ากับสมาร์ทโฟนกลุ่ม Xperia และแชร์เกมมาเล่นบนสมาร์ทโฟนได้ด้วยฟีเจอร์ Remote Play ที่ทำงานได้ลื่นไหลกว่าเดิม

558000011834616558000011834617

ด้านฟีเจอร์จับภาพหน้าจอในรูปแบบวิดีโอที่ผู้ใช้หลายคนชื่นชอบก็ยังคงมีให้เลือกใช้งานเหมือนเดิม หรือแม้แต่ระบบตั้งค่าเสียง ClearAudio+ ที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของโซนี่ก็ยังคงมีให้เลือกปรับแต่งได้เหมือนรุ่นก่อนหน้าทั้งหมด แต่น่าเสียดายที่ Xperia M5 ไม่มีชิปประมวลผลเสียงคุณภาพสูงติดตั้งมาให้ ทำให้เมนูปรับเสียงบางฟังก์ชัน เช่น Clear Phase, HiRes Audio, xLOUD ถูกตัดออกไปทั้งหมด

558000011834618

STAMINA กลายเป็นจุดเด่นสำคัญของสมาร์ทโฟนโซนี่ทุกรุ่น เพราะฟังก์ชันนี้ช่วยในการจัดการพลังงานและประหยัดแบตเตอรีได้ค่อนข้างดี โดยเฉพาะโหมด Ultra STAMINA ที่ช่วยชีวิตเวลาสมาร์ทโฟนแบตเตอรีใกล้หมด โดยโหมดดังกล่าวจะปิดการดึงข้อมูลเบื้องหลังทั้งหมด รวมถึงปิดอินเตอร์เน็ทให้เหลือไว้เพียงความสามารถในการโทรออกรับสาย ถ่ายรูปและส่งข้อความ

558000011834619

Movie Creator มาถึงแอปฯที่ถูกเพิ่มเข้ามาใหม่ กับความสามารถในการช่วยลำดับภาพวิดีโอและภาพนิ่งแบบง่ายในสไตล์จับใส่ๆแล้วแอปฯจะประมวลผลให้อัตโนมัติ รวมถึงผู้ใช้สามารถเลือกใส่ฟิลเตอร์หรือใส่ดนตรีประกอบ (คล้ายกับ Google Photos) ได้แบบฟรีๆ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการทำพรีเซนต์รวมภาพหรือวิดีโอประจำสัปดาห์ ไว้เปิดดูเล่นกับครอบครัว

กล้องถ่ายภาพ


 

558000011834620

มาโฟกัสเรื่องกล้องกันบ้าง ซอฟต์แวร์ควบคุมกล้องใน Xperia M5 มีหน้าตาไม่แตกต่างจากซอฟต์แวร์กล้องของ Xperia รุ่นก่อนหน้า โดยโซนี่ได้ปรับปรุงเรื่องความเสถียรและความรวดเร็วในการประมวลผลภาพให้ดีขึ้น รวมถึงโหมดอัตโนมัติพิเศษ (Superior Auto) กับการเลือกซีนโหมดไปถึงการปรับแสงสีที่ทำได้รวดเร็วและแม่นยำกว่าเดิมด้วยฮาร์ดแวร์กล้องชุดใหม่

ในส่วนวิดีโอมีการเพิ่มความละเอียด FullHD 1080p ที่ความเร็ว 60 เฟรมต่อวินาทีเข้ามา รวมถึงโหมดสโลโมชันที่คมชัดขึ้น

558000011834621

สำหรับการถ่ายวิดีโอความละเอียด 4K ที่มีมาตั้งแต่รุ่นที่แล้ว ใน Xperia M5 โซนี่ได้ปรับปรุงเรื่องคุณภาพไฟล์ภาพโดยเฉพาะความคมชัดที่ทำได้ดีขึ้นมาก แต่ทั้งนี้การถ่ายวิดีโอ 4K จะไม่สามารถเปิดโหมดกันภาพสั่นไหว SteadyShot ได้

558000011834622

สุดท้ายสำหรับสิ่งที่เพิ่มเติมมาจากรุ่นก่อนหน้า จะอยู่ที๋โหมดถ่ายภาพใหม่ “หน้ากาก AR โดยระบบจะใช้ระบบตรวจจับใบหน้าวิเคราะห์หน้าของเรา จากนั้นผู้ใช้สามารถเลือกใส่หน้ากากลวดลายต่างๆทับใบหน้าเดิมได้ตามต้องการ ถือเป็นโหมดภาพที่สร้างเสียงหัวเราะอย่างมาก

ในส่วนโหมดถ่ายภาพนิ่งและเคลื่อนไหวอื่นๆจะเหมือนกับ Xperia รุ่นก่อนหน้า และสามารถดาวน์โหลดโหมดถ่ายภาพใหม่ๆเพิ่มเติมได้จาก PlayStore

ทดสอบประสิทธิภาพ

558000011834624558000011834623

ปัจจุบันด้วยสเปกเครื่องและซอฟต์แวร์รุ่นใหม่แบบ 64 บิต ทำให้แอนดรอยด์สมัยใหม่มีความลื่นไหล รวดเร็วและน่าใช้มากขึ้น โดย Xperia M5 ก็ถือเป็นหนึ่งในสมาร์ทโฟนระดับกลางยุคใหม่ที่มีประสิทธิภาพดี ตั้งแต่ใช้งานทั่วไปถึงเล่นเกม โดยเฉพาะความลื่นไหลของ OS และ UI ถือว่าโซนี่จัดการได้ดีขึ้นมาก

โดยทั้งหมดนี้ถ้าถามถึงจุดคุ้มค่าที่จะทำให้คนยอมจ่ายเงินซื้อ Xperia M5 เรื่องประสิทธิภาพด้านการประมวลผลคงไม่ใช่คำตอบเพราะมองในภาพรวมก็ไม่ต่างจากสมาร์ทโฟน 64 บิตในช่วงราคาระดับเดียวกันในยุคนี้ แต่ถ้าเป็นเรื่องคุณภาพกล้องถ่ายภาพ สิ่งนี้คือจุดคุ้มค่าที่หลายคนเห็นแล้วอาจเกิดอาการอยากเสียเงินให้สมาร์ทโฟนโซนี่รุ่นนี้ได้ไม่ยาก

>ชมรูปตัวอย่างเต็มความละเอียด กรุณาคลิก<

ลองมานั่งนึกดูว่าปัจจุบันสมาร์ทโฟนในช่วงราคาไม่เกิน 15,000 บาทที่ส่วนใหญ่จะมีสเปกใกล้เคียงกัน มีรุ่นใดเน้นกล้องเป็นจุดขายและให้ผลลัพท์ที่โดดเด่นบ้าง นึกดูแล้วในปีนี้ก็ยังไม่เห็นสมาร์ทโฟนรุ่นใดมีกล้องที่โดดเด่นเท่า Sony Xperia M5 ได้เลย

เพราะในสเปกกล้องของ Xperia M5 ถือว่าครั้งนี้โซนี่จัดเต็มฮาร์ดแวร์มาใกล้เคียงกับไฮเอนด์ Z5 ตั้งแต่ความละเอียดภาพ 21.5 ล้านพิกเซล (ทั้งในโหมด Manual และ Superior Auto) พร้องระบบ Clear Zoom 5 เท่า ที่อัตราส่วน 4:3, กล้องหน้า 13 ล้่านพิกเซล หน่วยประมวลผลภาพตัวใหม่รองรับความไวแสงสูงถึง ISO 3,200 ที่ใช้งานได้จริงและให้ผลลัพท์ภาพถ่ายในที่แสงน้อยที่ยอดเยี่ยม โดยเฉพาะโฟกัสแบบไฮบริด อีกทั้งระบบกล้องยังค่อนข้างฉลาดในการปรับใช้ HDR ควบคู่ซีนโหมดได้ดีเมื่ออยู่ในโหมดถ่ายภาพอัตโนมัติพิเศษ

558000011834625

ในส่วนระบบซูมภาพแบบไม่เสียความละเอียด (ClearZoom) ที่มีตั้งแต่รุ่นก่อนหน้า โซนี่ได้ปรับใหม่อีกครั้งใน Xperia M5 ซึ่งผลลัพท์ภาพที่ออกมาถือว่าทำได้น่าพอใจและกลายเป็นสมาร์ทโฟนที่มี Digital Zoom ดีที่สุดในตอนนี้

ด้านงานวิดีโอ ใน Xperia M5 โซนี่ได้ปรับปรุงคุณภาพวิดีโอใหม่ให้มีความคมชัดมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของสีสันและการเก็บรายละเอียดแสงสีที่อิ่มตัวขึ้น แต่น่าเสียดายในเรื่องระบบกันภาพสั่นไหวที่ใน M5 จะมีให้เลือกเพียง SteadyShot แบบซอฟต์แวร์เท่านั้น ต่างจากใน Xperia Z5 ที่เป็นระบบซอฟต์แวร์ผสมฮาร์ดแวร์ในชื่อ SteadyShot with Intelligent Active Mode

558000011834626

มาถึงการทดสอบสุดท้ายกับแบตเตอรีด้วยชุดทดสอบเดิม Geekbench ผลคะแนนถือว่าทำได้น่าพอใจ เพราะสามารถทำเวลาใช้งานได้นานถึง 7 ชั่วโมง 18 นาที 50 วินาที ส่วนเมื่อใช้งานทั่วไปแบตเตอรีความจุ 2,600mAh สามารถใช้งานได้นานกว่า 13-14 ชั่วโมงแน่นอน

สรุป

558000011834635

สำหรับราคาเปิดตัว Sony Xperia M5 อยู่ที่ 14,990 บาท เทียบกับคุณภาพ สเปกและประสิทธิภาพที่ได้ ถือเป็นอีกหนึ่งสมาร์ทโฟนระดับกลางที่เมื่อเทียบราคาแล้วมีความคุ้มค่าจนไม่น่าเชื่อว่าจะได้เห็นจากแบรนด์โซนี่ จุดขายที่น่าสนใจสุดของ Xperia M5 คือคุณภาพกล้องที่เทียบกับไฮเอนด์หลายเจ้าและดีกว่ากล้องบนสมาร์ทโฟนราคาระดับเดียวกันเกือบทุกตัว โดยเฉพาะกล้องหน้าที่คาดว่าจะถูกใจสาวๆอย่างยิ่ง

ถือเป็นน้องกลางที่มีพลังในตัวสูงใกล้เคียงพี่ใหญ่ Xperia Z5 ถ้าผู้อ่านที่กำลังสนใจ ชอบถ่ายภาพแบบง่ายๆแต่ให้คุณภาพสูงและเน้นการใช้งานทั่วไปมากกว่าเน้นระบบมัลติมีเดียและใช้เล่นเกมกราฟิกสูงๆเป็นงานหลัก Sony Xperia M5 ก็ถือเป็นตัวเลือกที่ไม่ควรมองข้ามในชั่วโมงนี้

ข้อดี

– สเปกดี มีอนาคต อัปเดตได้ไกลเพราะเป็น 64 บิตแท้ๆ
– แบตเตอรีและระบบจัดการพลังงานได้ดี
– กล้องปรับใหม่ให้คุณภาพที่ดีกว่าเดิมมาก โดยเฉพาะกล้องหน้า 13 ล้่านพิกเซล
– งานประกอบดี วัสดุหน้าหลังเป็นกระจก
– รับ 4G LTE เพิ่มความจุได้ด้วย MicroSD Card
– กันน้ำ กันฝุ่น

ข้อสังเกต

– งานออกแบบ ขอบจอและตัวเครื่องค่อนข้างหนา
– หน้าจอไม่ค่อยคมชัดแม้จะทำงานบนความละเอียด 1080p ก็ตาม
– ลำโพงในตัวเครื่องให้เสียงที่ไม่ดีนัก และไม่รองรับ Hi-Res Audio

Gallery

]]>