สมาร์ทโฟน 20000 บาทขึ้นไป – CBIZ Reviews – MGR Online https://cyberbiz.mgronline.com เว็บไซต์รีวิวอุปกรณ์ ไอที ไฮเทค เป็นส่วนหนึ่งของผู้จัดการออนไลน์ Tue, 16 Jun 2020 06:04:39 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.0 Review : Samsung Galaxy S20 Ultra 5G ตัวเลือกสมบูรณ์ที่สุดของสมาร์ทโฟน 5G https://cyberbiz.mgronline.com/review-samsung-galaxy-s20-ultra-5g/ Tue, 16 Jun 2020 06:02:25 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=33012

แม้ว่าในช่วงที่เริ่มวางจำหน่ายในประเทศไทย Galaxy S20 Ultra 5G จะมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้งาน 5G ในประเทศไทย จนทำให้ต้องรอถึงช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ถึงจะรองรับการใช้งาน 5G ในไทยได้ แต่ด้วยความสมบูรณ์โดยรวมของ S20 Ultra 5G จึงทำให้กลายเป็นรุ่นที่มีความโดดเด่นน่าสนใจ

จุดเด่นของ Samsung Galaxy S20 5G คือการนำกล้องความละเอียด 108 ล้านพิกเซลมาใช้งานคู่กับทั้งเลนส์ UltraWide และเลนส์ Telephoto ที่เป็น SpaceZoom 100x รองรับการถ่ายภาพวิดีโอความละเอียดสูงระดับ 8K

ตามด้วยการแสดงผลของจอภาพที่ Refresh Rate 120Hz ที่ให้ความเนียนตา และลื่นไหลในการใช้งาน รวมถึงการที่รองรับการเชื่อมต่อระดับสูงทั้ง 5G และ WiFi 6 และที่สำคัญคือทำงานบนระบบปฏิบัติการ Android 10 แบบสมบูรณ์ เพียงแต่ราคาจะค่อนข้างสูงอยู่ที่ 39,900 บาท

ข้อดี

  • จอแสดงผลขนาด 6.9 นิ้ว 120 Hz
  • รองรับ 5G
  • กล้อง 108 ล้านพิกเซล ถ่ายวิดีโอ 8K
  • มีทุกอย่างที่ไฮเอนด์สมาร์ทโฟนควรมี

ข้อสังเกต

  • ราคาค่อนข้างสูง
  • การถ่ายวิดีโอ 8K ยังมีข้อจำกัดอยู่
  • กล้องเวลาถ่ายซูมดิจิทัล 100x ยังไม่คมชัดเท่าคู่แข่ง
  • ไม่มีช่องเสียบหูฟัง 3.5 มม.

รองรับ 5G ในไทย

Samsung Galaxy S20 Ultra 5G ถือว่าเป็นสมาร์ทโฟนรุ่นแรกของซุมซุง ที่นำเข้ามาทำตลาดในประเทศไทย และรองรับการใช้งาน 5G ก็ว่าได้ แม้ว่าในช่วงแรกที่วางจำหน่ายจะเจอปัญหายังไม่ได้อัปเฟิร์มแวร์ให้รองรับการใช้งาน แต่หลังจากเดือนพฤษภาคมมา S20 Ultra 5G ก็สามารถใช้งาน 5G ในไทยได้แล้ว

เมื่อตัวเครื่องรองรับการใช้งาน 5G เมื่อเข้าไปใช้งานในพื้นที่ที่รองรับ และมีสัญญาณ 5G ตัวเครื่องก็จะจับสัญญาณแบบอัตโนมัติ ความเร็วในการเชื่อมต่อที่ได้ก็จะเพิ่มขึ้น โดยปกติแล้วสามารถทำความเร็วได้เกิน 400 Mbps ขึ้นไป ซึ่งถือว่าเร็วกว่า 4G ที่ให้บริการในปัจจุบันอยู่แล้ว

แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ไม่ได้ใช้งานแพ็กเกจเน็ตแบบไม่จำกัด ต้องระมัดระวังในการใช้งานพอสมควร เนื่องจากเมื่อเชื่อมต่อกับ 5G แล้วไม่ได้มีแพ็กเกจรองรับ ปริมาณการใช้เน็ตจะเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นถ้าต้องการใช้งาน 5G แนะนำให้เปลี่ยนแพ็กเกจเน็ตที่ใช้งานด้วย

กล้อง SpaceZoom 100x

ฟีเจอร์อย่าง SpaceZoom 100x ดูดสี Filter และ SingleTake

ในช่วงแรกที่ S20 Ultra 5G วางจำหน่าย เชื่อว่าทุกคนคงผิดหวังกับความสามารถของกล้องที่ได้เมื่อทำการซูมระยะไกล แต่หลังจากมีการอัปเดตเฟิร์มแวร์มาพัฒนาการทำงานของกล้องแล้ว คุณภาพของภาพที่ได้ถือว่าดีขึ้นเยอะ เมื่อเทียบกับช่วงแรกๆ เรียกได้ว่าสามารถนำไปใช้งานได้อย่างเต็มที่

จุดขายที่ 2 ของ S20 Ultra 5G ที่มีเพิ่มขึ้นมาจาก S20+ คือการนำเลนส์ความละเอียด 108 ล้านพิกเซลมาใช้งานเป็นรุ่นแรก ทำให้สามารถถ่ายภาพได้ความละเอียดชัดเจนมากขึ้น และเมื่อนำไปประมวลผลคู่กับเลนส์ซูมที่ใช้หลักการของ Folded lens ที่ใช้กระจกสะท้อนมาใช้งาน ทำให้สามารถซูมดิจิทัลได้ 100 เท่า ซึ่งซัมซุงตั้งชื่อว่า SpaceZoom

ตัวกล้องหลังของ S20 Ultra 5G มีมาด้วยกัน 4 เลนส์ ประกอบด้วยเลนส์หลัก 108 ล้านพิกเซล f/1.8 ตามด้วยเลนส์มุมกว้าง 12 ล้านพิกเซล f/1.2 ให้มุมกว้างที่ 120 องศา ตามด้วยเลนส์ซูม 48 ล้านพิกเซล f/3.5 รองรับการซูมแบบออปติคัล 10x พร้อมกับเลนส์ DepthVision ที่ใช้ในการวัดระยะลึกตื้นเพิ่มเข้ามา

โดยเวลาใช้งานตัวสมาร์ทโฟนจะมีการคำนวนระยะที่เหมาะสมในการใช้งานแต่ละเลนส์ เช่นการถ่ายภาพในมุมกว้างสุด 0.5 – 0.9x จะใช้เลนส์มุมกว้าง 12 ล้านพิกเซล เมื่อเข้ามาในระยะปกติ 1x – 9.9x จะใช้เลนส์ 108 ล้านพิกเซล และเมื่อเข้าระยะ 10x – 100x จะปรับไปใช้เลนส์ซูม 48 ล้านพิกเซล

สำหรับระยะหวังผลในการใช้งานเลนส์ซูมที่ได้ภาพคมชัดมากที่สุดจะอยู่ในช่วงประมาณ 30x ที่ภาพหลังจากประมวลผลออกมาแล้วแทบจะไม่สูญเสียรายละเอียดของภาพให้ใช้งาน ในขณะที่เมื่อถ่ายภาพในระยะไกลกว่านั้น ความคมชัดก็จะลดน้อยลงตามลักษณะของ Hybrid Digital Zoom

คุณภาพของกล้องหน้าก็ไม่ใช่เล่นๆ เพราะด้วยการใส่เลนส์ความละเอียด 40 ล้านพิกเซล f/2.2 มาให้ ทำให้รองรับทั้งการถ่ายภาพนิ่งหน้าชัดหลังเบลอ จนถึงรองรับการถ่ายวิดีโอกล้องหน้าความละเอียด 4K60fps ด้วย

ซื้อตอนนี้ใช้ได้ยาวๆ

เมื่อจุดขายหลักของเครื่องรุ่นนี้คือรองรับการใช้งาน 5G ดังนั้นเรื่องนี้จึงเป็นจุดสำคัญที่ทำให้ Galaxy S20 Ultra 5G กลายเป็นสมาร์ทโฟน Android ที่สมบูรณ์ที่สุดในตอนนี้ เพราะนอกจากรองรับ 5G แล้วยังมากับ Google Mobile Service ที่คู่แข่งอย่าง Huawei ไม่มีอยู่ในเวลานี้

เช่นเดียวกับเรื่องกล้องที่กลายเป็น 1 ในมือถือที่มากับกล้องที่ครอบเครื่องที่สุดทั้งการถ่ายภาพนิ่ง และภาพวิดีโอที่รองรับความละเอียดถึง 8K แม้ว่าจะไม่สามารถถ่ายต่อเนื่องยาวๆ ได้จากข้อจำกัดเรื่องของพื้นที่เก็บข้อมูลในตัวเครื่อง แต่ก็ถือว่านำมาใช้งานในเวลาจำเป็นได้เป็นอย่างดี

ประกอบกับในช่วงหลังๆ ประสิทธิภาพของสมาร์ทโฟนในระดับไฮเอนด์ เมื่อมากับหน่วยประมวลผลรุ่นใหม่ๆ ที่มีความแรงทำให้สามารถใช้งานระยะยาวได้ 3 ปีขึ้นไปสบายๆ ยิ่งเมื่อ Samsung รองรับการอัปเดตระบบปฏิบัติการ Android ต่อเนื่อง ทำให้ S20 Ultra 5G สามารถใช้งานได้ยาวๆ

การออกแบบตัวเครื่อง

กลับมาที่ดีไซน์ของตัวเครื่อง Samsung Galaxy S20 Ultra 5G ซึ่งถือว่าไม่ได้แตกต่างจากรุ่นอื่นในซีรีส์ S20 มากนัก เพียงแต่ด้วยการที่ S20 Ultra มีขนาดหน้าจอใหญ่ขึ้นมาเป็น 6.9 นิ้ว ทำให้ขนาดตัวเครื่องใหญ่ และหนักตามไปด้วย โดยขนาดของเครื่องจะอยู่ที่ 166.9 x 76 x 8.8 มิลลิเมตร นำ้หนัก 220 กรัม ตัวเครื่องมีให้เลือกด้วยกัน 2 สี คือเทา Cosmic Gray และ ดำ Cosmic Black

หน้าจอของ S20 Ultra จะใช้จอแบบ Dynamic AMOLED 2X ความละเอียด Quad HD+ (3200 x 1440 พิกเซล) ที่เป็นจอ Infiniti-O หรือจอที่มีการเจาะรูเพื่อฝังกล้องหน้าความละเอียด 40 ล้านพิกเซลไว้ ที่ตรงกึ่งกลางบนของหน้าจอ โดยตัวจอยังรองรับการแสดงผลที่ 120 Hz ด้วยเช่นเดียวกัน

ใต้หน้าจอของ S20 Ultra 5G ยังมากับเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือแบบ Ultra Sonic ทำให้สะดวกในการปลดล็อกสมาร์ทโฟน แม้อยู่ในช่วงเวลาที่ต้องใส่หน้ากากผ้า หรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลาก็สามารถปลดล็อกได้ หรือจะเลือกผสมผสานการใช้งานกับกล้องหน้าในการตรวจจับใบหน้าเพื่อปลดล็อกก็ได้เช่นกัน

ทางฝั่งขวาของ S20 Ultra 5G จะมีปุ่มปรับระดับเสียง และปุ่มเปิดปิดเครื่องอยู่ ส่วนด้านบน จะมีถาดใส่ซิมการ์ดที่เป็นแบบนาโนซิมการ์ด 2 ซิม หรือเลือกใช้งานเป็นช่องเพิ่มพื้นที่เก็บข้อมูลไมโครเอสดีการ์ดได้เช่นกัน ที่พิเศษก็คือรุ่นนี้รองรับการใช้งาน eSIM ด้วยดังนั้นก็สามารถใช้งาน 2 เลขหมาย พร้อมใส่การ์ดเพิ่มได้

ด้านล่างจะมีพอร์ต USB-C สำหรับเสียบสายชาร์จโดยตัวเครื่องรองรับระบบชาร์จเร็วสูงสุด 45W (แต่ในกล่องให้หัวชาร์จ 25W มาให้) นอกจากนี้ ยังรองรับการเชื่อมต่อกับจอภาพ หรือคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งาน Samsung DeX ได้ตามปกติของแฟลกชิปสมาร์ทโฟน ข้างๆพอร์ต USB-C เป็นช่องลำโพง และไมโครโฟนสนทนา

หลังเครื่องจุดหลักๆ เลยคือชุดเลนส์กล้องที่นูนขึ้นมาจากตัวเครื่องพอสมควร ทำให้ในกรณีที่ไม่ได้ใส่เคสใช้งาน แนะนำให้ระมัดระวังเวลาวางตัวเครื่องเล็กน้อย นอกจากชุดเลนส์สี่เหลี่ยมแล้ว ก็จะมีสัญลักษณ์ของ Samsung อยู่ อีกความพิเศษก็คือรองรับการชาร์จไร้สายที่ 15W

ภายในของ S20 Ultra 5G ที่ใช้หน่วยประมวลผล Exynos 990 5G ที่เป็น Octa Core 2.73 GHz 2.5 GHz และ 2 GHz RAM 12 GB พื้นที่เก็บข้อมูล 128 GB สามารถเพิ่มไมโครเอสดีการ์ดได้สูงสุด 1 TB แบตเตอรีภายใน 5,000 mAh

ด้านการเชื่อมต่อรองรับทั้ง 3G/4G/5G รวมถึง WiFi 6 ทำให้สามารถใช้เน็ตบ้านระดับ 1 Gbps ได้สบายๆ ที่เหลือบลูทูธเป็นเวอร์ชัน 5.0 NFC GPS ระดับท็อป ส่วนระบบปฏิบัติการที่ใช้ก็เป็น Android 10 ที่ครอบด้วย One UI 2.0

ทดสอบประสิทธิภาพ

ในช่วงแรกที่เริ่มใช้งาน Samsung Galaxy S20 Ultra 5G สิ่งที่เกิดขึ้นเลยคืออาการแบตไหล หรือแบตเตอรีหมดเร็วมาก ทั้งๆที่ปรับการแสดงผลหน้าจอเป็นแบบ 60 Hz แต่พอใช้งานต่อเนื่องไปสักพัก เมื่อตัวเครื่องเริ่มเรียนรู้การใช้งานของผู้ใช้มากขึ้น อาการแบตฯ ไหลก็เริ่มหายไป และใช้งานได้นานขึ้น

ขณะที่ในแง่ของการใช้งานทั่วไป S20 Ultra 5G ตอบโจทย์การใช้งานแทบทุกรูปแบบอยู่แล้ว ทั้งเพื่อความบันเทิงอย่างดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม ที่จอใหญ่เต็มตา จนถึงใช้ในการทำงาน และใช้เพื่อสร้างคอนเทนต์อย่างการถ่ายภาพ หรือถ่ายวิดีโอ ซึ่งสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมาก

สำหรับผลการทดสอบประสิทธิภาพตัวเครื่องจากแอปพลิเคชันต่างๆ สามารถดูผลได้จากภาพด้านล่าง

เทียบแบตเตอรี เมื่อเปิดใช้ 120 Hz จะหมดเร็วกว่า 60 Hz

สรุป

ในช่วงครึ่งปีแรกนี้ ถ้ามองหาสมาร์ทโฟนที่รองรับการใช้งานเผื่อไปในอนาคต และราคาไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อ เชื่อว่า Samsung Galaxy S20 Ultra 5G กลายเป็นคำตอบเดียวสำหรับผู้ที่ต้องการ Android ประสิทธิภาพสูงรองรับทุกรูปแบบการใช้งานมากที่สุด

Gallery

]]>
Review : Huawei P30 Pro ที่สุดของกล้องถ่ายภาพบนสมาร์ทโฟน https://cyberbiz.mgronline.com/review-huawei-p30-pro/ Tue, 09 Apr 2019 09:30:44 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=30478

เรียกได้ว่า หัวเว่ย (Huawei) ประสบความสำเร็จอย่างมาก ในการปรับแนวคิดการถ่ายภาพบนสมาร์ทโฟน ด้วยการชูจุดเด่นอย่างการซูมภาพได้ไกล 50x บน P30 Pro และการถ่ายภาพในที่แสงน้อย ให้ออกมาสว่างเหมือนกลางวัน จนกลายเป็นจุดขายหลักของเครื่องรุ่นนี้

Huawei P30 Pro ถือว่าทำการบ้านมาเป็นอย่างดี ด้วยการเลือกนำจุดที่ผู้บริโภคต้องการเป็นลำดับต้นๆ ในการเลือกซื้อสมาร์ทโฟนเวลานี้คือเรื่องของกล้อง มาชูเป็นจุดเด่น ต่อยอดจากความร่วมมือกับ ไลก้า (Leica) ที่มัดใจผู้บริโภคมาได้ตั้งแต่ P20 ซีรีส์แล้ว

การมาของ P30 Pro เลยยิ่งเข้าไปตอกย้ำภาพของการเป็นผู้นำสมาร์ทโฟนที่สามารถถ่ายภาพได้ดี ผสมไปกับประสิทธิภาพของตัวเครื่องที่ถูกพูดถึงมาตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมาคือ Mate20 Pro ที่แสดงให้ผู้บริโภคเห็นถึงความสามารถมาแล้ว

ข้อดี

  • สมาร์ทโฟนที่มีกล้องถ่ายภาพดีสุดในเวลานี้
  • แบตเตอรี 4,200 mAh อึดมาก รองรับการชาร์จเร็ว / Reverse Charge ให้อุปกรณ์อื่น
  • สีตัวเครื่องมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
  • เริ่มมีการนำเสนอฟีเจอร์ที่ใช้งานในอีโคซิสเตมส์อย่าง OneHop เข้ามาให้ใช้งาน

ข้อสังเกต

  • ความละเอียดหน้าจอแสดงผลยังเป็น Full HD+
  • กล้องหน้าเป็นแบบ Fix Focus / ไม่รองรับการสแกนใบหน้าแบบ 3D
  • ถ้าจะเพิ่มพื้นที่เก็บข้อมูลต้องใช้ NM Card โดยเฉพาะ
  • ไม่มีช่องเสียบหูฟัง 3.5 มม. / ตัวแปลงมาให้

เด่นที่กล้องชัดเจน

จุดสำคัญที่ทำให้ P30 Pro กลายเป็นสมาร์ทโฟนที่มีความโดดเด่นเรื่องของกล้องคือการปรับแนวคิดในการบันทึกภาพ จากเดิมที่เซ็นเซอร์จะรับแสง RGB (แดง เขียว น้ำเงิน) มาเพื่อประมวลผลออกมาเป็นภาพ แต่ Huawei เลือกนำการรับแสงแบบ RYYB (แดง เหลือง เหลือง น้ำเงิน) มาช่วยประมวลผลแทน ทำให้สามารถเก็บแสงได้มากกว่าเดิม 40%

โดยเมื่อดูถึงการจัดเรียงกล้องหลังทั้ง 3 เลนส์ ของ P30 Pro ไล่จากด้านบนลงมาคือเลนส์มุมกว้างสุดที่ความละเอียด 20 ล้านพิกเซล f/2.2 ในระยะเลนส์ 16 มม. ตรงกลางคือเลนส์หลักระยะ 27 มม. ที่ความละเอียด 40 ล้านพิกเซล f/1.6 และสุดท้ายคือเลนส์ซูมระยะ 125 มม. ความละเอียด 8 ล้านพิกเซล f/2.4

ที่น่าสนใจคือเลนส์ทุกตัวมาพร้อมกับระบบโฟกัสอัตโนมัติแบบ PDAF และระบบกันสั่น OIS ไม่นับรวมกับเลนส์ ToF ที่มาช่วยในการโฟกัสระยะของวัตถุเพิ่มเติม ซึ่งช่วยให้สามารถจับโฟกัสในที่แสงน้อยได้ง่ายขึ้น รวมไปถึงการสร้างโบเก้ของการถ่ายภาพบุคคล (Portrait) ด้วย

การใช้งานแต่ละช่วงเลนส์ก็จะมีการจับคู่ทำหน้าที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้งาน เบื้องต้นก็คือถ้าใช้งานถ่ายระยะปกติ 1x กล้องหลัก 40 ล้านพิกเซลจะเป็นเลนส์หลัก เมื่อซูมเข้าไปถึงระยะ 5 เท่า ถึงจะปรับเป็นหน้าที่ของเลนส์ซูม 8 ล้านพิกเซล

ในขณะที่ถ้าถ่ายภาพในระยะ 3x-5x จะเป็นการทำงานคู่กันระหว่างเลนส์หลัก และเลนส์ซูม เพื่อให้ภาพที่ออกมาได้รายละเอียดมากที่สุด นอกจากนี้ ก็ยังมีการทำงานของเลนส์มุมกว้างคู่กับเลนส์หลัก เมื่อถ่ายภาพซูเปอร์มาโคร หรือการนำเลนส์กว้างมาช่วยลดการสั่นไหวของภาพขณะถ่ายวิดีโอด้วย

จะเห็นได้ว่า การทำงานของ AI ที่มากับหน่วยประมวลผล Kirin 980 ที่เข้ามาช่วยควบคุมการทำงานของกล้องตรงนี้ กลายเป็นจุดเด่นหลักที่ทำให้ P30 Pro สามารถถ่ายภาพได้ดีขึ้น พัฒนาขึ้นจาก P20 Pro และ Mate20 Pro เป็นอย่างมาก

P30 Pro ที่ดัน ISO ไปถึง 439,600

โดยภาพการเปรียบเทียบของรูปที่ถ่ายในที่แสงน้อย ระหว่าง iPhone XS Max Galaxy S10+ และ P30 Pro ถือเป็นการแสดงจุดเด่นที่ชัดเจนที่สุดของเครื่องรุ่นนี้ได้เป็นอย่างดี เพราะในสภาพแสงที่เครื่อง 2 รุ่นแรกไม่สามารถบันทึกภาพได้ แต่ P30 Pro สามารถถ่ายและเก็บรายละเอียดออกมาได้ แม้ใช้งานในโหมดอัตโนมัติ

นอกจากนี้ การซูมภาพในระยะที่ให้ความคมชัดมากที่สุดของรุ่นนี้ เมื่อหันมาใช้เลนส์ซูมแบบ Periscope ทำให้การถ่ายภาพระยะ 10x ที่เป็นไฮบริดจ์ซูมได้ความคมชัดมาก และช่วยให้สามารถทำดิจิทัลซูมไปได้สูงถึง 50 เท่าด้วย

ส่วนกล้องหน้าที่หันมาใช้เลนส์แบบฟิกซ์โฟกัส ความละเอียด 32 ล้านพิกเซล เมื่อทำงานร่วมกับระบบ AI ก็ช่วยให้สามารถละลายหลังได้เมื่อถ่ายเซลฟี่ รวมไปถึงการใส่เอฟเฟกต์ภาพต่างๆ และเนื่องจากเป็นเลนส์แบบฟิกซ์โฟกัส ทำให้เหมาะกับระยะการถ่ายเซลฟี่เป็นหลัก

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของโหมดการถ่ายวิดีโอ P30 Pro ยังมีจุดที่ยังไม่สามารถแซงคู่แข่งได้อย่างเรื่องระบบกันสั่น การโฟกัสภาพ การตรวจจับวัตถุต่างๆ ที่เชื่อว่ามีโอกาสพัฒนาขึ้นอีกแน่นอนในอนาคต ซึ่งถ้ามองเทียบกับรุ่นก่อนหน้าของหัวเว่ยก็ถือว่าพัฒนาขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัดแล้ว

โหมดถ่ายวิดีโอที่น่าสนใจใน P30 Pro คือเรื่องของการถ่ายวิดีโอ 2 กล้องพร้อมกัน ทำให้ได้มุมมองที่แตกต่างกัน คือได้ทั้งแบบมุมกว้าง และมุมแคบ ทำให้ได้ภาพเคลื่อนไหวที่แปลกตาไปอีกแบบ

Photos Gallery

ฟีเจอร์อื่นๆก็ไม่ทิ้ง

ต่อมา หลังจากเรื่องกล้องฟีเจอร์อื่นๆที่ถูกนำเสนอมาใน Mate20 Pro ที่ถือเป็นรุ่นแฟลกชิปที่เน้นประสิทธิภาพ Huawei ก็มีการนำมาให้ใช้งานภายใน P30 Pro นี้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นระบบบริหารจัดการพลังงาน ที่ทำให้ P30 Pro สามารถใช้งานบนแบตเตอรีขนาด 4,200 mAh ได้สบายๆ

พร้อมด้วยเทคโนโลยีชาร์จเร็ว Huawei Super Charge ที่รองรับไฟแรง 40W ทำให้สามารถชาร์จได้ 70% ในเวลา 30 นาที รวมกับรองรับการชาร์จไร้สาย และฟีเจอร์อย่าง Reverse Charge ที่จะแชร์แบตเตอรีแบบไร้สายให้อุปกรณ์อื่นด้วย

ส่วนการปลดล็อกด้วยการสแกนลายนิ้วมือก็ทำได้รวดเร็ว แถมตัวเครื่อง P30 Pro ยังมากับการป้องกันน้ำกันฝุ่นระดับ IP68 ที่น้ำลึก 1.5 เมตร ไม่เกิน 30 นาที ทำให้ในการใช้งาน เมื่ออกไปถ่ายภาพก็ไม่ต้องกังวลเมื่อฝนตก

ในส่วนของประสิทธิภาพตัวเครื่อง เนื่องจาก P30 Pro นำชิปเซ็ตอย่าง Kirin 980 มาใช้งาน ซึ่งถือเป็นหน่วยประมวลผลบนสถาปัตยกรรมแบบ 7 นาโนเมตรรุ่นแรกๆของโลกอยู่แล้ว เมื่อนำมาใช้งานคู่กับเครื่อง RAM 8 GB ROM 256 GB จึงถือว่าเป็นสมาร์ทโฟนที่อยู่ในกลุ่มประสิทธิภาพสูงในทันที

แต่ถ้ามองในแง่ของการเป็นเครื่องไฮเอนด์แล้ว P30 Pro ก็ยังมีจุดที่น่าเสียดายอยู่เมื่อเทียบกับ Mate20 Pro อย่างเรื่องจอแสดงที่ Mate20 Pro ให้ความละเอียดจอเป็น 2K รวมถึงกล้องหน้าที่รองรับการสแกนใบหน้าแบบ 3D ที่หายไปในรุ่นนี้

ดีไซน์ ยังคงสำคัญ

ดีไซน์ตัวเครื่องของ P30 Pro ถูกพัฒนามาเรื่อยๆ จากรุ่นเดิมที่เป็นจอแบน พอมาในรุ่นนี้ก็พัฒนามาเป็นจอโค้ง เช่นเดียวกับใน Mate20 Pro ที่ทำเป็นรุ่นจอโค้งมาก่อนแล้ว พร้อมกับปรับลดรอยบากบนหน้าจอออกไป เหลืองเพียงกล้องหน้าอยู่ตรงกึ่งกลางจอด้านบนเท่านั้น เพื่อให้ได้หน้าจอแสดงผลที่เต็มพื้นที่มากที่สุด

ด้านหลังเครื่องก็มีการไล่เฉดสีตามสมัยนิยม โดยเฉพาะสีอย่าง Breathing Crystal ที่จะไล่เฉดสีตามแต่ละมุมมอง ทำให้ตัวเครื่องมีความหรูหรามากยิ่งขึ้น ประกอบกับการออกแบบให้เป็นขอบหลังโค้งด้วยเช่นกัน ทำให้เวลาจับถือถนัดมือมากยิ่งขึ้น

ขนาดของ P30 Pro จะอยู่ที่ 73.4 x 158. X 8.41 มิลลิเมตร น้ำหนัก 192 กรัม โดยส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ของหน้าจอ 6.47 นิ้ว ความละเอียด Full HD+ (2340 x 1080 พิกเซล) แน่นอนว่าเมื่อหันมาใช้จอโค้งทำจะเสียพื้นที่บริเวณขอบเครื่องไปบางส่วน ซึ่งในจุดนี้ถ้าเป็นผู้ที่ไม่ค่อยชินกับจอโค้งเวลาใช้งานช่วงแรกๆ จะต้องมีอาการสัมผัสบริเวณขอบไม่ค่อยติดอยู่บ่อยๆ

ส่วนรอบๆตัวเครื่องของ P30 Pro ทางด้านซ้ายจะถูกปล่อยว่างไว้ ส่วนทางด้านขวา เป็นปุ่มปรับระดับเสียง และปุ่มเปิดปิดเครื่อง ขณะที่ด้านบนจะมีไมโครโฟนตัดเสียง และพอร์ตอินฟาเรตที่เอาไว้ใช้ควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ

ด้านล่างจะนอกจากเป็นที่อยู่ของพอร์ต USB-C ที่ใช้เป็นทั้งช่องชาร์จแบตเตอรี เชื่อมต่อหูฟัง และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ พร้อมกับรูไมโครโฟน ก็จะมีช่องใส่นาโนซิมการ์ด ที่รองรับการใช้งานแบบ 2 ซิม หรือ 1 ซิม คู่กับการ์ดนาโนเมมโมรี่ (NM Card) ของหัวเว่ยโดยเฉพาะ

ส่วนลำโพงสนทนา P30 Pro จะใช้เทคโนโลยีใหม่ Acoustic Display ที่ใช้การกระจายตัวของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จากการสั่นสะเทือนในจอภาพ ทำให้เสียงสามารถแนบหน้าจอเข้ากับหูเพื่อใช้งานได้เลย ส่วนเสียงลำโพงของเครื่องรุ่นนี้ที่เป็นแบบโมโน ก็จะไม่ดังออกมาจนกังวาล แต่อยู่ในระดับที่เพียงพอกับการใช้งาน

อุปกรณ์ที่ให้มาในกล่องของ P30 Pro นอกจากตัวเครื่องก็จะมี อะเดปเตอร์ที่รองรับการชาร์จเร็ว 40w สายชาร์จ USB-C หูฟัง USB-C เคสใส คู่มือ เข็มจิ้มถาดซิมมาให้

Gallery

ทดสอบประสิทธิภาพ

สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพของ Huawei P30 Pro ในส่วนของการประมวลผลถือว่าอยู่ในระดับบนๆ อยู่แล้ว แต่ในเรื่องของแบตเตอรี กลับเด่นชัดขึ้นมา โดยสามารถทำเวลาใช้งานต่อเนื่องได้ถึง 16 ชั่วโมง

สรุป

จากประสิทธิภาพของกล้องในหลายๆจุด Huawei P30 Pro ได้พิสูจน์ถึงความเป็นสมาร์ทโฟนที่กล้องถ่ายภาพนิ่งได้ดีที่สุดในตลาดเวลานี้อย่างไม่ต้องสงสัย แต่ก็ยังมีส่วนที่ต้องพัฒนาในการถ่ายวิดีโอให้ดีขึ้น เทียบกับคู่แข่งรายอื่นๆในท้องตลาด

นอกจากนี้ ด้วยการทำราคากับโอเปอเรเตอร์ และโปรโมชันในช่วงเปิดจองทำให้ P30 Pro กลายเป็นสมาร์ทโฟนที่ระดับราคาน่าสนใจ เพราะถ้าเป็นผู้ที่ใช้แพกเกจมือถือรายเดือนแพงๆอยู่แล้ว ก็สามารถซื้อเครื่องได้ในราคาเริ่มต้นที่ 9,990 บาท จากราคาปกติที่ 31,990 บาท ซึ่งถือว่าลดเยอะมาก

]]>
Review : Samsung Galaxy S9+ ที่กลับมาทวงแชมป์สมาร์ทโฟนในครึ่งปีแรก https://cyberbiz.mgronline.com/review-samsung-galaxy-s9plus/ Fri, 16 Mar 2018 07:29:33 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=28156

หลังจากการเปิดตัวสมาร์ทโฟนไฮเอนด์รุ่นใหม่ของ Samsung สิ่งแรกที่เห็นได้จากการเปิดตัวในเมืองนอก คือภายใน 2 วันหลังเปิดตัว มีการเปิดจอง พร้อมไปกับเครื่องให้ผู้บริโภคได้ลองสัมผัสในแต่ละสาขา ก่อนที่ปลายสัปดาห์ต่อมาเริ่มจัดส่งเครื่องให้แก่ผู้บริโภคกลุ่มแรกแล้ว ถือเป็นความพร้อมในการทำตลาดของ Samsung Galaxy S9 และ S9+ ได้เป็นอย่างดี

แน่นอนว่า ถ้ามองภายนอกแล้ว ดูเผินๆ Samsung Galaxy S9 และ S9+ จะไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนจากรุ่นก่อนหน้าอย่าง Samsung Galaxy S8 และ S8+ มากนัก ทำให้ดูเหมือนไมเนอร์เชนจ์จากรุ่นเดิม หรือถ้าให้มองง่ายๆ ก็คล้ายๆกับการที่ Apple ออก iPhone 7 ตามมาด้วย iPhone 8 ที่เน้นเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานมากกว่า

หลายๆ คนที่อยู่ในแวดวงเทคโนโลยี คงรู้กันดีว่าการพัฒนาเทคโนโลยี หรือนวัตกรรม เพื่อนำมาใช้บนอุปกรณ์ใดสักชิ้น คงไม่สามารถพัฒนาแบบก้าวกระโดดได้ในทุกๆปี ดังนั้น ในมุมหนึ่งก็ยอมรับได้ว่าจาก S8 เปลี่ยนมา S9+ ที่เน้นความสมบูรณ์แบบมากขึ้นของ Samsung ก็เพียงพอที่จะทำให้กลายเป็นแอนดรอยด์โฟนที่ดีสุดในเวลานี้

ข้อดี

ดีไซน์ตัวเครื่องแบบ Infinite Display กับจอ Super AMOLED ที่สีสันคมชัด

ประสิทธิภาพตัวเครื่องจากหน่วยประมวลผลรุ่นใหม่ Exynos 8895

กล้อง S9+ ที่มาแบบ Dual Camera กล้องหลัก f/1.5/-2.4 คู่กับเลนส์เทเล

ในรุ่น S9+ มากับ RAM 6 GB

ตัวเครื่องกันน้ำ กันฝุ่น รองรับการชาร์จไร้สาย

ข้อสังเกต

จุดต่างระหว่าง S9 และ S9+ ที่เป็นกล้องเดี่ยว กับกล้องคู่ (น่าจะทำให้ทั้ง 2 รุ่นต่างกันแค่จอกับแบตฯ)

– DeX Mode ยังต้องใช้กับอุปกรณ์เฉพาะ ไม่เหมือน Huawei Mate 10 ที่แค่ต่อออกจอ HDMI ก็ใช้ได้แล้ว

– AR Emoji ยังไม่เนียนเท่ากับ Animoji (เซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวยังสู้ไม่ได้)

Design

ในส่วนของข้อมูลเบื้องต้น Samsung Galaxy S9 และ S9+ สามารถย้อนกลับไปอ่านได้ที่ “มีอะไรใหม่ ใน “Samsung Galaxy S9 และ S9+” พร้อมขายไทยกลุ่มแรก มี.ค.นี้”

กลับมาดูถึงการใช้งานจริง หลังจากที่ทีมงาน Cyberbiz นำ Samsung Galaxy S9+ มาใช้งาน ได้ราว 2 สัปดาห์ สิ่งแรกที่ยอมรับเลยคือในแง่ของภาพรวมการใช้งาน Galaxy S9+ ถือว่าทำออกมาได้ตอบสนองการใช้งานสมาร์ทโฟนได้ค่อนข้างครบถ้วน ทั้งจากอินเตอร์เฟสที่ถูกปรับปรุงขึ้นให้ใช้สะดวกยิ่งขึ้น

ดังนั้น ถ้าดูถึงการใช้งานโดยรวมแล้ว Galaxy S9+ จะกลายเป็นหนึ่งในรุ่นแนะนำของปีนี้ได้อย่างไม่ต้องสงสัย บนความต้องการของสมาร์ทโฟนไฮเอนด์ที่ตอบโจทย์การใช้งานได้ แต่แน่นอนว่าไม่นับเรื่องงบประมาณเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เพราะด้วยราคาเปิดตัวที่เกิน 3 หมื่นบาท เลยทำให้วู่วามมากนักไม่ได้

ใช้งาน Galaxy S8 หรือ S8+ ควรเปลี่ยนมาใช้หรือไม่?

ถ้าเงินไม่ใช่ปัจจัยที่สร้างปัญหาในการใช้ชีวิต การจ่ายเงิน 3 หมื่นบาท หรือผ่อนสักเดือนละ 3,000 บาท เพื่อเปลี่ยนมือถือเครื่องใหม่ไม่ใช่ปัญหา การจะเปลี่ยนมาใช้งาน Galaxy S9+ จะเป็นรุ่นที่แนะนำ แต่ถ้าใช้งาน S8 อยู่แล้วไม่อยากได้หน้าจอใหญ่แบบรุ่นพลัส จะเปลี่ยนมาเป็น S9 แนะนำว่าใช้รุ่นเดิมดีกว่า เพราะไม่ได้เปลี่ยนมากขนาดต้องจ่ายเงินซื้อ

ส่วนหนึ่งเลยมาจากกที่ Samsung เลือกที่จะนำกล้องคู่ (Dual Camera) มาใช้เฉพาะบน S9+ เท่านั้น ในขณะที่ S9 แม้จะมีการอัปเกรดกล้องจากเดิมที่เป็น Dual Pixel 12 ล้านพิกเซล f/1.7 มาเป็น Dual Pixel รุ่นใหม่ที่ปรับรูรับแสงได้ระหว่าง f/1.5 และ f/2.4 ไม่ได้ทำให้ว้าวขนาดนั้น

ลองดูได้จากภาพตัวอย่างที่เปรียบเทียบการถ่ายบน S8 กับ S9+ ที่ถ่ายในที่มืด (ใช้ขาตั้งกล้อง) ตั้งสปีดชัตเตอร์ที่ 10 วินาที ความไวแสง (ISO 50) บน S8 ใช้รูรับแสง f/1.7 ส่วน S9+ ใช้รูรับแสง f/1.5 จะเห็นได้ว่าภาพที่ได้ออกมา แตกต่างกันเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งถ้าไม่ได้เป็นคนที่ถ่ายภาพในที่แสงน้อยความสามารถดังกล่าวแทบจะไม่ได้ใช้งาน

แต่ถ้าจะเปลี่ยนมาใช้งาน S9+ ที่มากับ Dual Camera ที่ช่วยทำให้การถ่ายภาพได้หลากหลายขึ้นจากเลนส์เทเลที่ใส่เข้ามา (เหมือนบน Galaxy Note 8) ก็ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ รวมถึงผู้ใช้แอนดรอยด์โฟนรุ่นสักปี 2016 หรือช่วงต้นปี 2017 ที่กำลังมองหาเครื่องใหม่ S9+ จะกลายเป็นรุ่นที่น่าสนใจสุดในเวลานี้

ลองดูจากตัวอย่างภาพที่ถ่ายในที่มืด ระหว่าง Galaxy S9+ (ภาพบน) และ Galaxy S8 (ภาพล่าง)

ทั้ง 2 ภาพจะตั้งค่ากล้องไว้ที่ ISO 50 ความเร็วชัตเตอร์ 10 วินาที โดยใน S9+ จะใช้ f/1.5 ส่วนใน S8 จะใช้ f/1.7

เด่นที่สุดคือเรื่องกล้อง

อย่างที่เกริ่นไปช่วงแรกว่า สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนว่ามีการเปลี่ยนแปลงเลยคือเรื่องของโหมดกล้อง การนำ Dual Camera พร้อมฟีเจอร์อย่าง Live Focus มาช่วยเสริม คู่กับกล้องหลักที่ปรับรูรับแสงได้ ทำให้ Samsung Galaxy S9+ กลายเป็นสมาร์ทโฟนที่ถ่ายภาพโดยรวมได้ดีที่สุดในเวลานี้

เริ่มกันจากกล้องหลัก Dual Camera ที่เมื่อใช้ในโหมดอัตโนมัติตัวกล้องจะทำการปรับรูรับแสงระหว่าง f/1.5 และ f/2.4 ให้เอง โดยดูจากสภาพแสงขณะถ่าย ถ้าถ่ายในที่แสงเพียงพอตัวเลนส์จะปรับไปอยู่ที่รูรับแสง f/2.4 เพื่อให้ภาพที่ได้คมชัดมากขึ้น ในขณะเดียวกันถ้าอยู่ในที่แสงน้อยตัวเลนส์ก็จะปรับไปอยู่ที่ f/1.5 เพื่อให้รับแสงได้มากขึ้น ถือเป็นหลักการง่ายๆ ที่ Samsung นำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างน่าสนใจ

ถัดมาคือในส่วนของ Live Focus จากเดิมที่เน้นใช้การถ่ายภาพบุคคล เพื่อเน้นหลังละลายบน Note 8 พอมาเป็นใน S9+ มีการเพิ่มความสามารถอย่างการปรับเลือกเฉดของโบเก้ดวงไฟ ทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าจะให้ดวงไฟที่เป็นโบเก้มีลักษณะอย่างไร ทั้งหัวใจ ดาว ดอกไม้ กระต่าย ผีเสื้อ เกล็ดหิมะ เป็นต้น

เพียงแต่ว่า ไม่ใช่ว่าทุกรูปที่ถ่ายออกมาจะสามารถปรับแต่งได้ กล่าวคือการที่จะปรับได้นั้นนอกจากต้องถ่ายให้เข้าโหมด Live Focus แล้ว พื้นหลังยังที่เป็นดวงไฟยังต้องอยู่ในจุดที่เหมาะสมด้วย ไม่เช่นนั้นจะขึ้นให้เลือกปรับเฉพาะความเบลอพื้นหลังเท่านั้น แต่ถ้าติดก็จะเลือกปรับรูปร่างโบเก้ได้

อีกส่วนหนึ่งที่ถูกพัฒนาขึ้นมาใน Galaxy S9 และ S9+ คือเรื่องของการถ่ายภาพสโลว์โมชันที่ 960fps ที่ความละเอียด HD (720p) รุ่นแรกของ Samsung (ในตลาด Sony พัฒนามาก่อนแล้วในปีที่ผ่านมา และปีนี้พัฒนาเป็นความละเอียด Full HD 1080p)

จุดที่ S9 ทำได้โดดเด่นกว่า Sony คือมาพร้อมโหมดตรวจจับการเคลื่อนไหว เพื่อบันทึกภาพ Super Slow Motion แบบอัตโนมัติ แถมยังมีการใส่เพลงประกอบ เลือกเล่นย้อนกลับได้ ช่วยให้มีลูกเล่นในการถ่ายวิดีโอเพิ่มขึ้น แล้วก็ยังง่ายในการแชร์สู่โซเชียลเน็ตเวิร์กให้น่าสนใจด้วย

ส่วนถ้าถามว่ากล้อง S9+ ดีที่สุดในตลาดตอนนี้มั้ย ต้องยอมรับว่าโดยภาพรวมแล้ว ทำได้ดีที่สุด โดยถ้าเข้าไปดูคะแนนจากเว็บทดสอบกล้องอย่าง DxOMark ก็จะพบว่า S9+ มีคะแนนนำอยู่ในเวลานี้ แซงชนะ Google Pixel 2 ที่ครองแชมป์ในช่วงปลายปีที่ผ่านมาไปได้ จากคะแนนที่เพิ่มขึ้นของ Dual Camera ทำให้คะแนนในส่วนของการซูมถ่ายภาพ รวมถึงการถ่ายภาพในเวลากลางคืนดีกว่า

ขณะที่ถ้ามองในแง่ของภาพนิ่งทั่วไป จากที่ทีมงานได้ลองเทียบทั้งภาพจาก S9+ และ Pixel 2 Xl ที่ใช้อยู่ ภาพของ Pixel 2 XL ก็ยังดูแล้วคม และให้สีสมจริงมากกว่า รวมถึงการถ่ายภาพบุคคล (Portrait) ที่นำ AI มาใช้เบลอหลังของ Pixel 2 XL ยังเหนือกว่า Live Focus ของ S9+ อยู่ แน่นอนว่าเดียวมีเปรียบเทียบภาพถ่ายจากสมาร์ทโฟนรุ่นท็อปออกมาให้ติดตามกันแน่นอน

Gallery

AR Emoji อีกลูกเล่นที่เพิ่มมา แต่การตรวจจับยังสู้ Animoji ไม่ได้

ประเด็นเรื่องของ AR เริ่มถูกยกมาพูดถึงมากขึ้นในช่วงปลายปีที่ผ่านมาจากการที่ทาง กูเกิล เริ่มมีการพัฒนา ARkit ให้เหล่านักพัฒนาได้ทำไปใช้งาน ในการนำเทคโนโลยี AR มาใช้บนสมาร์ทโฟน โดยสิ่งที่ Samsung เลือกมานำเสนอคือการนำ AR มาใช้ในการสร้างสติกเกอร์ หรือคาแรกเตอร์ของผู้ใช้ เพื่อให้แชร์ต่อในช่องทางโซเชียลเน็ตเวิร์กต่างๆ ต่อยอดจากก่อนหน้านี้ที่ทำเป็นหน้ากาก คล้ายๆกับใน Snapchat มาให้ใช้งานกัน

AR Emoji จึงเกิดขึ้น ด้วยการที่ผู้ใช้สามารถสร้างสติกเกอร์ ด้วยการถ่ายภาพเซลฟี่เปิดหน้า (ใครมีผมหน้าม้าให้เอาขึ้น ใครใส่แว่นให้ถอดออก) หลังจากนั้นก็จะนำไปประมวลผล และแสดงผลออกมาเป็นตัวการ์ตูน ที่ให้ผู้ใช้เลือกได้ว่าอยากได้แบบหน้าเสมือนจริง หรือหน้าวิ้งๆแบบการ์ตูน เพียงแต่เมื่อเป็นการแปลง AR จากรูปถ่ายทำให้ภาพที่ออกมาไม่ค่อยเหมือนตัวจริงเท่าที่ควร

หลังจากนั้น เมื่อนำมาใช้ถ่าย AR Emoji ตัวเครื่องจะทำการสร้างสติกเกอร์ (ไฟล์ GIF) ขึ้นมา 16 แอคชัน ให้นำไปแชร์ต่อใน LINE หรือโพสต์ใน Facebook เล่นกันได้ หรือจะนำตัวการ์ตูน มาแทนใบหน้าเพื่อถ่ายภาพก็ได้เช่นกัน เพียงแต่หลังจากถ่าย AR Emoji ครั้งแรกแล้วตัวการ์ตูนจะถูกเก็บไว้ในเครื่อง แล้วจะนำไปใช้กับแทนหน้าใครก็ได้

อย่างไรก็ตาม เมื่อทดลองนำ AR Emoji มาใช้ด้วยตัวการ์ตูนที่ให้มาในเครื่องอย่างกระต่าย ก็จะพบว่า การแสดงผลท่าทางบนใบหน้ายังทำได้ไม่ละเอียดเท่ากับ Animoji ของ iPhone X ดังนั้น ถ้าจะคาดหวังให้นำทั้ง 2 เทคโนโลยีมาสู้กันคงวัดผลได้จาก เพราะใช้ฮาร์ดแวร์กันคนละชนิด iPhone X มีการนำกล้อง True Depth มาใช้สแกนโครงหน้า จึงแสดงผลได้ละเอียดกว่า เทียบกับ S9+ ที่ใช้กล้องหน้าธรรมดา

Bixby Vision ที่ผสาน Machine Learning ของ Google

อีกฟีเจอร์ที่ Samsung พยามนำมาขายในตอนเปิดตัว S9+ คือเรื่องของ Bixby เวอร์ชัน 2 ที่พัฒนาให้ฉลาดขึ้น ด้วยการที่เมื่อเล็งกล้องไปในวัตถุ หรือสถานที่ต่างๆ จะทำการค้นหาและแสดงผลบอกทันที ว่าวัตถุชิ้นนั้นเป็นอะไร หรือการแปลภาษาแบบ Real Time ด้วยการส่องกล้องไปยังตัวอักษรที่ต้องการแปล

เรื่องขำๆ ขณะทดลองใช้งาน Bixby ก็จะมีให้เห็นอย่างการส่องถ้วนกาแฟเย็น ตัว Bixby จะแสดงผลออกมาว่าเป็น Starbucks หรือลองส่องมะละกอยำเกาหลี ออกมาเป็นสปาเกตตี้คาโบนาร่า ส่องสลัดเกาหลี ออกมาเป็นซีซ่าร์สลัด จนทำให้คิดว่าบางทีอาจจะส่องยากไปหน่อย

แน่นอนว่า ถ้าไม่เคยใช้งาน Google Lens หรือ Google Translate มาก่อน ก็อาจจะมองว่าเป็นฟีเจอร์ใหม่ที่น่าสนใจ และ Samsung นำมาให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น ผ่านโหมด Bixby ในแอปกล้อง แต่กลับกันถ้าเคยใช้งานผ่านแอปแยกของทางกูเกิลอยู่แล้ว ก็จะไม่ได้รู้สึกว่าเป็นฟีเจอร์ที่ว้าวมากนัก เพราะสุดท้ายก็คือการนำ Machine Learning ของ Google มาใช้นั่นเอง

Intelligence Scan ช่วยให้ใช้ง่ายขึ้น

ในแง่ของความปลอดภัย ซัมซุง ยังเป็นแบรนด์ที่เน้นความสะดวกในการใช้งานของผู้บริโภค โดยเปิดให้ผู้ใช้เลือกได้ว่า จะทำการปลดล็อกเครื่องที่เลือกได้จากทั้งสแกนลายนิ้วมือ ที่ด้านหลังเครื่อง (มีการย้ายตำแหน่งลงมาให้ไม่ไปโดนเลนส์กล้องแล้ว) กับอีกส่วนคือการปลดล็อกด้วยใบหน้า และม่านตา

จากเดิมที่ผ่านมาผู้ใช้จำเป็นต้องเลือกว่าจะปลดล็อกเครื่องด้วย ใบหน้า (Face Unlock) หรือ ม่านตา (Iris Scanner) เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่พอมาเป็นใน Galaxy S9 และ S9+ ซัมซุง ทำให้ฉลาดขึ้นสมกับชื่อ Intelegence Scan ด้วยการนำทั้ง 2 ระบบมาใช้งานพร้อมกันแบบอัตโนมัติ

กล่าวคือตัวเครื่องจะปลดล็อกด้วยใบหน้า เมื่ออยู่ในที่ที่มีแสงสว่าง กลับกันถ้าอยู่ในที่มืดการปลดล็อกด้วยม่านตาจะแม่นยำกว่า ทำให้การปลดล็อกตัวเครื่องทำได้รวดเร็วเหมือนเดิม ขณะเดียวกัน เมื่อถูกนำไปใช้กับระบบรักษาความปลอดภัยอย่าง Samsung Pass ตัวเครื่องจะทำการสแกนทั้ง 2 ระบบพร้อมกัน เพื่อยืนยันผู้ใช้งานอีกรอบหนึ่ง

แบตเตอรี ใช้งานหนักๆได้แค่ไหน

จากที่ให้แบตเตอรีมา 3,500 mAh ถ้าถามว่านำมาใช้งานทั่วๆไปใน 1 วัน Samsung Galaxy S9+ ถือว่าบริหารจัดการทรัพยากรได้ค่อนข้างดี แต่กลับกันถ้านำมาใช้งานหนักๆ เปิดใช้งานตลอดเวลา ก็จะอยู่ได้ราว 7-8 ชั่วโมงต่อเนื่อง ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับกลางๆ รวมๆแล้วยังอยู่ในเกณฑ์ที่สูงกว่ามาตรฐานทั่วไปอยู่

โดยมีจุดที่ควรรู้ก่อนว่า ตัวเครื่องจะถูกตั้งค่ามาตรฐานมาให้แสดงผลที่ความละเอียดหน้าจอแบบ Full HD ซึ่งในมุมหนึ่งจะช่วยยืดระยะเวลาในการใช้งานบนแบตเตอรีอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่ได้กังวลในจุดนั้นก็แนะนำให้ปรับความละเอียดหน้าจอเพิ่มขึ้นมาเป็น 2K ในการใช้งานก็ได้

ยังมีอะไรที่น่าสนใจอีก

นอกจากหลายๆประเด็นที่บอกไปแล้ว ใน Galaxy S9+ ก็ยังมีจุดเล็กๆที่ปรับปรุงขึ้น อย่างระบบเสียง มีการนำลำโพงสเตอริโอ ที่ปรับแต่งโดย AKG มาใช้งานแล้ว จากที่ก่อนนี้ในรุ่นไฮเอนด์ซัมซุงจะใช้ลำโพงเดียวมาโดยตลอด ส่วนเทคโนโลยีเสียงที่ใช้ก็รองรับ Dolby Atmos ที่นิยมใช้กัน

ถัดมาคือเรื่องของ Samsung DeX ที่แม้ว่าต้องเชื่อมต่อกับ DeX Station เพื่อใช้งานเช่นเดิม แต่ก็ปรับเปลี่ยนมุมของการเชื่อมต่อให้เป็นแนวนอนแทน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถทำ Galaxy S9+ มาใช้แทนเมาส์แพดในการควบคุมเครื่องได้

ฟีเจอร์เพิ่มเติมอย่าง Samsung Knox ที่ใช้เก็บข้อมูลที่ต้องการความปลอดภัย โหมดการใช้งานแอปแชท 2 บัญชี การใช้งาน Multi Windows ด้วยการแบ่งครึ่งหน้าจอ ที่เรียกใช้งานด่วนจากขอบเครื่อง สามารถจับคู่แอป (Pair Apps) ได้เหมือนใน Note 8

ส่วนฟีเจอร์ที่กลายเป็นมาตรฐานอย่างกันน้ำ กันฝุ่น การเชื่อมต่อ 4G กาารแชร์ไวไฟมาปล่อยเป็นฮ็อตสป็อต การเชื่อมต่อกับบลูทูธหลายอุปกรณ์พร้อมกัน ก็ยังสามารถใช้งานได้เหมือนใน S8 และ Note 8 ดังนั้น รวมๆแล้วจึงกลายเป็นเครื่องที่ค่อนข้างครบถ้วนอยู่แล้ว

จุดที่ใช้แล้วยังขัดๆอยู่

ไม่ใช่ว่า Galaxy S9+ จะสมบูรณ์แบบทุกอย่าง เพราะในการใช้งานด้วยความที่เป็นจอโค้ง แบบเต็มพื้นที่ ทำให้เวลาถือใช้งานในแนวนอน อาจจะมีอาการทัชลั่นบ้าง หรือในการถือใช้งานมือเดียวอุ้งมืออาจจะไปโดนบริเวณขอบทำให้สัมผัสหน้าจอโดยไม่รู้ตัว

กับอีกส่วนคืออินเตอร์เฟสของกล้องถ่ายภาพ ที่พยามเน้นให้ง่ายขึ้นด้วยการปัดซ้ายขวาเพื่อเปลี่ยนโหมดใช้งาน หรือขึ้นลง เพื่อสลับกล้องหน้าหลัง ซึ่งรับสัมผัสได้ไวเกินไป บางที่ต้องการปรับความสว่างรูปภาพ กลับเป็นเปลี่ยนโหมดถ่ายภาพแทน โดยเฉพาะเมื่อใช้งานในโหมด Pro ที่ต้องมีการปรับชัตเตอร์สปีด ถ้ากดไปตรงแถบๆ จะกลายเป็นเปลี่ยนโหมดถ่ายภาพแทนบ่อยๆ

ส่วนโหมดอย่าง Super Slow-Mo ในช่วงแรกที่ใช้จะจับจังหวะในการถ่ายยากสักหน่อย เนื่องจากตัวเครื่องจะเข้าสู่โหมดถ่ายวิดีโอสโลว์โมชันก่อน หลังจากนั้นถ้าจะตั้งโหมดอัตโนมัติต้องรอให้กรอบเป็นสีเหลือง (พร้อมใช้งาน) ก่อนที่วัตถุ ที่คลื่นไหวจะขยับ หรือถ้าตั้งแบบกำหนดเอง ก็ต้องกะจังหวะถ่าย Super Slow-Mo จากปุ่มที่อยู่ด้านบนชัตเตอร์อีกครั้ง

]]>
Review : Huawei Mate 10 Pro เครื่องเร็ว กล้องสวย แบตอึด คือ 3 นิยามหลักของรุ่นนี้ https://cyberbiz.mgronline.com/review-huawei-mate-10-pro/ Tue, 26 Dec 2017 08:58:26 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=27891

อย่างที่รู้กันว่าซีรีส์ Mate ของ Huawei ถือเป็นตระกูลที่เน้นในแง่ของประสิทธิภาพ การใช้งาน และเทคโนโลยีใหม่เป็นหลัก ที่จะกลายเป็นตัวต้นแบบให้รุ่นอื่นๆที่จะตามออกมาในอนาคต ซึ่งใน Mate 10 Pro ที่เพิ่งวางจำหน่ายนี้ก็เช่นกัน

Huawei Mate 10 Pro จะเคลมถึงการเป็นสมาร์ทโฟนที่มากับหน่วยประมวลผล Kirin 970 ที่มีการแยกหน่วยประมวลผลที่เป็น AI ออกมาด้วย นอกจากนี้ก็ยังมีเรื่องของการที่รองรับ 4.5G แบบ 2 ซิมที่สามารถใช้งานได้พร้อมกัน และที่ไม่เคยมีใน Huawei มาก่อนคือ Desktop Mode ในการต่อสมาร์ทโฟนกับจอเพื่อใช้งานเป็นคอมพิวเตอร์

ไม่นับรวมกับเรื่องที่ถูกปรับปรุงจากรุ่นก่อนหน้าอย่างกล้องหลังคู่ที่ยังคงคอนเซปต์ Leica เช่นเดิม เพิ่มเติมด้วยเลนส์ชนิดใหม่ที่ให้รูรับแสงขนาดใหญ่มากขึ้น ขณะเดียวกันการมาของ AI ช่วยทำให้เครื่องมีการเรียนรู้ และปรับการใช้งานให้เหมาะกับผู้ใช้ด้วย ในราคา 27,900 บาท

การออกแบบ

ตัวเครื่องของ Mate 10 Pro จะมากับดีไซน์ที่เป็นเอกลักษณ์อย่างอย่างวัสดุอะลูมิเนียมที่ใช้ ให้ความคงทนแข็งแรง ประกอบกับมีการใช้หน้าจอ Full View Display ทำให้ตัวเครื่องไม่กว้างจนเกินไป แม้จะให้จอที่มีขนาดใหญ่ โดยตัวเครื่องจะอยู่ที่ 154.2 x 74.5 x 7.9 มิลลิเมตร น้ำหนัก 178 กรัม วางจำหน่ายด้วยกัน 2 สีคือ น้ำเงิน และน้ำตาล

ด้านหน้าจะมีการเว้นขอบบนและล่างไว้ในขนาดที่สมมาตร โดยขอบบนจะเป็นที่อยู่ของลำโพงสนทนา กล้องหน้าความละเอียด 8 ล้านพิกเซล ที่ให้ f/2.0 เซ็นเซอร์ต่างๆ และไฟแสดงสถานะเครื่อง ถัดลงมาเป็นหน้าจอ OLED Full View Display ขนาด 5.9 นิ้ว Full HD+ (2160 x 1080 พิกเซล) ส่วนขอบล่างเป็นตรา Huawei

ด้านหลังที่เห็นหลักๆเลยคือกล้องเลนส์ Leica คู่ที่เป็นเลนส์ขาวดำความละเอียด 20 ล้านพิกเซล และเลนส์สี 12 ล้านพิกเซล ที่ f/1.6 ทั้งคู่ (Summilux-H) โดยมีไฟแฟลช Dual LED อยู่ข้างๆ ซึ่งตรงนี้จะมีการเล่นลายสีของเครื่องที่เข้มกว่าพาดผ่านอยู่

ลงมาเป็นเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือ ซึ่งเมื่อวางตำแหน่งอยู่ข้างล่างเลนส์กล้อง ถือเป็นจุดที่เหมาะมาก เพราะช่วยให้สามารถใช้นิ้วชี้ปลดล็อกได้พอดี ลงมาด้านล่างก็จะมีโลโก้ Huawei อยู่ ทั้งนี้ด้วยการที่ฝาหลังจะใช้วัสดุเงามันทำให้เวลาใช้งานจะมีรอยนิ้วมือติดค่อนข้างง่าย ภายในจะมีแบตเตอรีขนาด 4,000 mAh อยู่

ด้านซ้ายจะมีเพียงช่องถาดใส่ซิมการ์ด ที่ผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าจะใส่ 1 นาโนซิม + ไมโครเอสดีการ์ด หรือจะเลือกใส่นาโนซิมทั้ง 2 ช่อง ด้านขวาเป็นปุ่มปรับระดับเสียง และปุ่มเปิดปิดเครื่อง

ด้านบนจะมีเซ็นเซอร์อินฟาเรดอยู่ กับไมโครโฟนตัดเสียง และลายเสาอากาศ ด้านล่างจะมีลำโพง ไมโครโฟนสนทนา และพอร์ต USB-C โดยมีลายเสาอากาศขนาบอยู่เช่นกัน

สำหรับอุปกรณ์ที่ให้มาในกล่องประกอบไปด้วย ตัวเครื่อง อะเดปเตอร์ สาย USB-C เคสใส คู่มือ และอะเดปเตอร์แปลงพอร์ต USB-C เป็นช่องเสียบหูฟัง 3.5 มม. มาให้ด้วย

สเปก

Huawei Mate 10 Pro จะทำงานบนหน่วยประมวลผล Kirin 970 ที่เป็น Octa Core (2.36 GHz x 4, 1.8 GHz x 4) หน่วยประมวลผลกราฟิกเป็น Mali-G72 MP12 มี NPU เพิ่มเติมมาด้วย RAM 6GB พื้นที่เก็บข้อมูลภายในตัวเครื่อง 128 GB ทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 8.0 Oreo

ในส่วนของการเชื่อมต่อ Mate 10 Pro จะเป็นเครื่องรุ่นแรกในโลกที่รองรับ 4G 2 ซิม ที่ใช้งานได้พร้อมกัน และยังมาพร้อมการเชื่อมต่อไวไฟ 802.1.1 a/b/g/n/ac บลูทูธ 4.2 โดยตัวพอร์ต USB-C ยังสามารถใช้ต่อกับจอเพื่อเข้าใช้งาน Desktop Mode ได้ด้วย

ฟีเจอร์เด่น

สำหรับจุดเด่นหลักๆของ Huawei Mate 10 Pro จะเริ่มกันจากตัวของอินเตอร์เฟสที่เป็น EMUI 8.0 ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เน้นการใช้งานที่ลื่นไหลมากขึ้น ด้วยการที่ไม่มีหน้ารวมแอป แต่จะเป็นการแสดงไอค่อนที่หน้าจอหลักทั้งหมด ทำให้การใช้งานไม่ซับซ้อน

รูปแบบการแจ้งเตือนก็จะเป็นตามปกติของแอนดรอยด์ทั่วไปที่บริเวณแถบ Notification จะมีไอค่อนลัดสำหรับการตั้งค่าด่วนต่างๆ ซึ่งจะมีที่น่าสนใจอย่างการจับภาพหน้าจอ การบันทึกภาพหน้าจอเป็นวิดีโอ โหมดถนอมสายตา มาให้เลือกใช้ด้วย

ส่วนในแง่ของแอปพลิเคชันที่บันเดิลมาให้ นอกจากเครื่องมือพื้นฐานทั่วไป และบริการของกูเกิลเซอร์วิสแล้ว จะมีเครื่องมืออย่างพยากรณ์อากาศ เครื่องคิดเลข ไฟฉาย กระจก รีโมทอัจฉริยะ (ใช้อินฟาเรตควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้า) เข็มทิศ

มาถึงในแง่ของการใช้งานเริ่มจากจุดเด่นหลักๆกันก่อน คือเรื่องของการเชื่อมต่อที่ Mate 10 Pro รองรับการใช้งาน 4G 2 ซิม กล่าวคือจากเดิมสมาร์ทโฟนที่รองรับ 2 ซิมเวลาซิมหลักเชื่อมต่อ 4G ซิมรองจะสแตนบายในโหมด 3G หรอื 2G แต่พอมาเป็นใน Mate 10 Pro ตัวเครื่องถูกทำมาให้สามารถเชื่อมต่อ 4G ได้พร้อมกันทั้ง 2 ซิม

เมื่อเชื่อมต่อ 4G ได้ทั้ง 2 ซิมแล้วดีอย่างไร ก็คือในเรื่องของการใช้งานโทรศัพท์ที่จะได้เสียงที่คมชัดขึ้นจาก VoLTE และการสลับการใช้งานดาต้าทำให้ง่ายขึ้น ประกอบกับการที่รองรับ 4G LTE Cat 18 ทำให้สามารถเชื่อมต่อได้สูงสุดถึง 1.2 Gbps (บนเครือข่ายที่รองรับ)

ถัดมาในแง่ของการที่ตัวเครื่องมี AI มาให้ หลักๆแล้วจะถูกนำไปใช้งานกับโหมดการถ่ายภาพอัตโนมัติ ที่จะตรวจจับวัตถุที่ถ่ายและเลือกโหมดใช้งานที่เหมาะสมให้ ซึ่งถือว่าทำให้กล้องอัตโนมัติของหัวเว่ยฉลาดขึ้น ถ่ายภาพได้ง่ายขึ้น

ในขณะเดียวกันด้วยกล้องใหม่ทำให้การใช้งานในโหมดโปรทำได้สนุกขึ้นเช่นเดียวกัน ดังนั้นผู้ที่ชอบการถ่ายภาพ และปรับแต่งได้เอง มีไฟล์ RAW ไปให้ Process ภาพให้ดีขึ้นอีก Mate 10 Pro จะไม่ทำให้ผิดหวัง

อีกระบบหนึ่งที่ AI ถูกนำไปใช้คือตัวบริหารจัดการแบตเตอรี ที่ตัวเครื่องจะคอยทำการสแกนแอปที่เปิดใช้งาน เมื่อพบแอปที่มีการใช้พลังงานมากกว่าปกติก็จะมีการแจ้งเตือน เพื่อให้ปิดแอป หรือตรวจสอบการใช้งาน (ในอีกมุมหนึ่งผู้ใช้อาจจะรู้สึกรำคาญได้เพราะจะมีแจ้งเตือนขึ้นมาเรื่อยๆ)

ทำให้แบตเตอรีที่ให้มาขนาด 4,000 mAh สามารถใช้งานได้ต่อเนื่องทั้งวันสบายๆ ไม่ต้องกังวลว่าแบตเตอรีจะหมดระหว่างวัน ซึ่งเท่าที่ลองใช้มาเเดือนกว่าๆ ก็พบว่า Mate 10 Pro เป็นสมาร์ทโฟนที่แบตอึดมาก เมื่อเทียบกับเรือธงหลายๆรุ่นในช่วงปลายปีนี้

ส่วนฟีเจอร์อื่นๆที่ให้มา เนื่องจาก Mate 10 Pro จะไม่มีช่องเสียบหูฟัง 3.5 มม. ทำให้ถ้าไม่ใช้งานหูฟัง USB-C ที่แถมมาให้ ก็สามารถใช้อะเดปเตอร์แปลง USB-C ไปเป็นพอร์ต 3.5 มม.ได้เช่นเดียวกัน โดยในการใช้งานผู้ใช้สามารถเข้าไปตั้งค่าหูฟังที่ใช้ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานได้

ในส่วนของการตั้งค่า หัวเว่ยจะใช้การรวมการตั้งค่าในลักษณะเดียวกันเข้าไปอยู่ในหัวข้อเดียวกันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อเครือข่าย เชื่อมต่ออุปกรณ์ ตั้งค่าแอป การแจ้งเตือน จัดการแบตเตอรี ตั้งค่าหน้าจอ เสียง จัดการพื้นที่เก็บข้อมูล ระบบรักษาความปลอดภัย

โดยในส่วนของการแจ้งเตือนผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าจะให้มีการแสดงไฟแจ้งเตือน แสดงชื่อโอเปอเรเตอร์ที่เชื่อมต่อ ความเร็วในการเชื่อมต่อ และเปอเซนต์แบตเตอรี นอกจากนี้ ก็ยังมีฟีเจอร์ App Twin ที่จะทำให้สามารถใช้งานเฟซบุ๊ก ไลน์ ได้ 2 บัญชีในเครื่องเดียว

การแสดงผลนอกจากปรับตั้งค่าความสว่างอัตโนมัติแล้ว ยังสามารถเข้าไปตั้งค่าอุณหภูมิสี เปิดโหมดถนอมดวงตา ตั้งขนาดตัวอักษรได้ สำหรับแถบควบคุมด้านล่างก็ยังสารถเลือกจัดเรียงปุ่มต่างๆได้ และโหมดช่วยในการใช้งานอย่างการใช้งานมือเดียว การควบคุมด้วยท่าทางต่างๆ

คีย์บอร์ดที่ให้มากับตัวเครื่องคือ SwifKey ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความชอบของผู้ใช้ แต่โดยส่วนตัวแล้วเลือกที่จะโหลดแอปคีย์บอร์ดอย่าง Gboard ที่เป็นของกูเกิลมาใช้งาน และถนัดมากกว่า

สุดท้ายในส่วนของ PC Mode หรือการเปลี่ยน Mate 10 Pro ให้กลายเป็นพีซี เมื่อเชื่อมต่อกับจอแสดงผล ด้วยการเชื่อมต่ออะเดปเตอร์ USB-C to HDMI โดยเมื่อเชื่อมต่อแล้วตัวหน้าจอ Mate 10 Pro ก็จะทำหน้าที่แทนเมาส์ หรือคีย์บอร์ดให้ใช้งานกัน

กรณีที่มีคีย์บอร์ด หรือเมาส์บลูทูธ ก็ยังสามารถเชื่อมต่อกันเพื่อใช้งานแบบไร้สายได้ หรือถ้าตัวอะเดปเตอร์มีพอร์ต USB แยกมาให้ก็สามารถเสียบสายเพื่อใช้งานได้ทันทีเช่นเดียวกัน

ในการใช้งาน PC Mode นอกจากแอปที่ติดตั้งมาให้ในเครื่องอย่างตัวจัดการไฟล์ โครม อีเมล โน้ต อัลบั้มภาพ และวิดีโอ ผู้ใช้ยังสามารถเรียกใช้งานแอปที่ดาวน์โหลดมาติดตั้งเพิ่มเติมได้ ช่วยให้สามารถใช้งานบนหน้าจอขนาดใหญ่ได้สะดวกขึ้น

ยกตัวอย่างเช่นถ้าต้องการดูหนังจากจอขนาดใหญ่ เปิด Netflix ขึ้นมา ก็สามารถเลือกดูซีรีส์เรื่องโปรดได้ทันที

ทดสอบประสิทธิภาพ

Antutu Benchmark = 177,816 คะแนน
Multi-Touch = 10 จุด
AndroBench Read = 803.58 MB/s Write 229.62 MB/s

PC Mark
Work 2.0 = 6,888 คะแนน
Computer Vision = 4,595 คะแนน
Storage = 14,615 คะแนน
Work = 8,086 คะแนน

3D Mark
Sling Shot Extreme Unlimited = 3,017 คะแนน
Sling Shot Extreme = 2,929 คะแนน
Sling Shot Unlimited = 3,297 คะแนน
Sling Shot = 3,385 คะแนน
Ice Storm Extreme = 14,145 คะแนน
Ice Storm Unlimited = 32,043 คะแนน
Ice Storm = 14,269 คะแนน

PassMark PerformanceTest
System = 12,798 คะแนน
CPU Tests = 178,344 คะแนน
Memory Tests = 9,052 คะแนน
Disk Tests = 71,384 คะแนน
2D Graphics Tests = 8,028 คะแนน
3D Graphics Tests = 3,892 คะแนน

Geekbench 4
Single-Core = 1,899 คะแนน
Multi-Core = 6,773 คะแนน
Compute = 7,486 คะแนน

ในส่วนของการทดสอบแบตเตอรีจาก PC Mark เปิดใช้งานตลอดเวลาจนแบตเตอรีลดลงเหลือ 20% จะได้ระยะเวลาประมาณ 11 ชั่วโมง 18 นาที ซึ่งถือว่าสูงมาก เพราะเป็นการทดสอบใช้งานต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับการใช้งานจริงจึงสามารถใช้งานได้วันถึง 2 วันสบายๆ

สรุป

หลังจากได้ลองใช้งาน Hauwei Mate 10 Pro มาเกือบๆ 2 เดือน สิ่งที่พบหลักๆเลยคือตัวเครื่องค่อนข้างครบ และคุ้มเมื่อเทียบกับระดับราคาตามที่หัวเว่ยเคลมไว้ เพราะตอบโจทย์การใช้งานได้ทั้งการใช้งานหนักๆ การถ่ายภาพ แบตเตอรี ประกอบกับหน้าจอขนาดใหญ่ รวมๆจึงตอบโจทย์ทั้งหมด

เพียงแต่ว่าด้วย EMUI ของ Mate 10 Pro อาจจะยังไม่สมบูรณ์มากนัก เวลาใช้งานบางทีจะเจออาการแอปเด้ง หรือแอปค้างให้เห็นบ้าง ประกอบกับสัดส่วนหน้าจอเป็น 18:9 แต่ในบางแอป (ที่เจอคือ 1-2 แอปฯ) ไม่สามารถเลือกปรับสัดส่วนได้เอง ทำให้กลายเป็นไม่สามารถใช้งานได้เต็มที่

แต่ด้วยการที่เป็นรุ่นเรือธงของปีอยู่แล้วเชื่อว่าจะมีการอัปเดตเฟิร์มแวร์ออกมาต่อเนื่อง รวมถึงเมื่อแอปมีการอัปเดตให้รองรับสัดส่วนใหม่ก็จะใช้งานได้อย่างราบรื่น อีกจุดที่ค่อนข้างประทับใจคือภาครัฐสัญญาณ 4G ที่ใช้งานได้ทั้ง 2 ซิม ถือเป็นจุดที่น่าสนใจจริงๆ

ส่วนในเรื่องของ AI ที่นำมาใช้กับหน่วยประมวลผล ผู้ใช้อาจจะยังไม่รู้สึกถึงการมีอยู่ เพราะยังอยู่ในช่วงการเก็บข้อมูลใช้งาน แต่ถ้าใช้งานไปสักพัก ตัวเครื่องมีการเรียนรู้พฤติกรรมผู้ใช้มากขึ้น ก็จะเข้ามาช่วยโดยเฉพาะในเรื่องของแบตเตอรีที่ไม่เคยหมดระหว่างวัน

ข้อดี

สมาร์ทโฟนไฮเอนด์สเปกแรง

แบตฯ อึดมากใช้งานได้ 2 วันสบายๆ ถ้าไม่ใช้งานหนัก

กล้องคู่ Leica ไม่ทำให้ผิดหวัง โดยเฉพาะผู้ที่ชื่นชอบการถ่ายโหมด Pro

รองรับ 4G สแตนบายพร้อมกัน 2 ซิม ใช้ VoLTE ได้เสียงคมชัด

ข้อสังเกต

ตัวเครื่องจะมีขนาดใหญ่ไม่สักหน่อยเมื่อถือใช้งานมือเดียว

ไม่มีระบบชาร์จไร้สายมาให้

ไม่มีช่องเสียบหูฟัง 3.5 มม. (แต่ในกล่องมีแถมอะเดปเตอร์แปลงมาให้)

อินเตอร์เฟส EMUI ยังไม่ค่อยสมบูรณ์

Gallery

]]>
เทียบภาพถ่ายจาก 3 สมาร์ทโฟนเด่นช่วงปลายปี 2017 Note 8 – Mate 10 Pro – iPhone X https://cyberbiz.mgronline.com/compare-flagship-smartphone-camera-2h2017/ Tue, 19 Dec 2017 08:39:01 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=27837

กับคำถามที่ว่าช่วงปลายปีเลือกซื้อสมาร์ทโฟนรุ่นใดดี กล้องจากเครื่องระดับไฮเอนด์รุ่นไหนดีที่สุด ทีมงาน Cyberbiz เลยนำ 3 รุ่นเด่นในช่วงปลายปี 2017 ไม่ว่าจะเป็น Samsung Galaxy Note 8 Huawei Mate 10 Pro และ Apple iPhone X มาเทียบกันให้หายสงสัย

(รูปถ่ายไม่ได้เรียงตามรุ่นที่กล่าวไป เฉลยอยู่ด้านล่าง)

สภาพแสงปกติ

ซูม 2X


แสงน้อย

อาหาร

หน้าชัดหลังเบลอ

สำหรับลำดับในการเรียงภาพ รูปแรกจะมาจาก Apple iPhone X ตามด้วย Huawei Mate 10 Pro และ Samsung Galaxy Note 8

เมื่อลองเทียบกันในแง่ของคุณภาพรูปที่แตกเชื่อว่าไม่ค่อยแตกต่างกันมากนัก แต่ละแบรนด์ก็จะมีเอกลักษณ์ในแง่ของสีที่ได้แตกต่างกัน แต่ถ้าถามว่าสีจากเครื่องรุ่นใดที่ให้ตรงตามความเป็นจริงมากที่สุด ก็จะเป็น iPhone X แต่ถ้ามองในแง่ของความสด การชดเชยแสงที่ทำให้สีอิ่มมากขึ้น Note 8 ก็ให้แสงดีที่สุด

ส่วน Mate 10 Pro จะดีโดดเด่นในเรื่องของการทำหน้าชัดหลังเบลอมากกว่า เนื่องจากเลนส์คู่ที่ใช้ไม่ได้เป็นเลนส์เทเลเหมือนอีก 2 รุ่น แต่ใช้เลนส์ขาว-ดำ ในมีความฉลาดในแง่การเก็บมิติของภาพมาช่วยแยกวัตถุออกมา ดังนั้นดูแล้วชอบสี ชอบโทนรูปแบบไหน ก็เลือกใช้งานกันได้

ทั้งนี้ผู้ที่อยากเข้าไปชมภาพจากไฟล์จริง สามารถเข้าไปดาวน์โหลดเพิ่มเติมได้ที่ Google Drive นี้เลย

]]>
Review : Microsoft Surface Pro 2017 สเปกใหม่ ลงตัวมากขึ้น https://cyberbiz.mgronline.com/review-surface-pro2017/ Mon, 16 Oct 2017 07:18:05 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=27436

วันนี้ไมโครซอฟท์เปิดตัว New Surface Pro หรือแท็บเล็ตสายพันธุ์วินโดวส์รุ่นใหม่จากไมโครซอฟท์ (หลายคนเรียกว่าเป็น Surface Pro รุ่นที่ 5) ประจำปี 2017 ที่ทีมงานไซเบอร์บิซมองว่าเป็นรุ่นพัฒนาต่อยอด อัปสเปกเพิ่มจาก Surface Pro 4 โดยเฉพาะในส่วนอุปกรณ์เสริมอย่างปากกา Surface Pen ที่ถูกปรับปรุงใหม่ให้แม่นยำมากขึ้น รวมถึงตัวเครื่อง Surface เองที่ออกแบบมาได้ลงตัวพร้อมสเปกซีพียูเปลี่ยนไปใช้ตระกูล Kaby Lake (รุ่นที่ 7)

การออกแบบ

สำหรับการออกแบบ Surface Pro ยังคงเป็นวินโดวส์แท็บเล็ตที่สามารถใช้งานแบบโน้ตบุ๊กได้อย่างสมบูรณ์แบบเช่นเดิม โดยตัวเครื่องมาพร้อมหน้าจอแสดงผล PixelSense แบบสัมผัส 10 จุด ขนาด 12.3 นิ้ว ความละเอียด 2,736×1,824 พิกเซล ขนาดตัวเครื่องหนา 8.5 มิลลิเมตร พร้อมน้ำหนักประมาณ 770 กรัม

เหนือหน้าจอแสดงผลขึ้นไป ยังคงเป็นที่อยู่ของกล้องหน้าความละเอียด 5 ล้านพิกเซล รองรับวิดีโอคอลล์ที่ความละเอียดสูงสุด FullHD 1080p พร้อมไมโครโฟนแบบคู่ในตัวรวมถึงมีเซ็นเซอร์ตรวจจับใบหน้าเพื่อใช้ปลดล็อกตัวเครื่องผ่านฟีเจอร์ Windows Hello ใน Windows 10 และเซ็นเซอร์ตรวจวัดแสง รวมถึงภายในยังมีไจโรสโคปด้วย

นอกจากนั้นบริเวณขอบจอทั้งสองด้าน ไมโครซอฟท์เลือกติดตั้งลำโพงสเตอริโอ (ใช้เทคโนโลยี Dolby Audio Premium) ไว้ด้วย

ด้านหลัง วัสดุเป็นอะลูมิเนียมมาพร้อมขาตั้ง Kickstand อันเป็นเอกลักษณ์เด่นของไมโครซอฟท์ Surface โดยในรุ่นปี 2017 ขาตั้งจะกางออกได้ถึง 165 องศา ส่วนการปรับเปลี่ยนขาตั้งสามารถทำได้ 3 โหมดหลักได้แก่ 1.แล็ปท็อป เมื่อเชื่อมต่อกับคีย์บอร์ดจะใช้งานได้แบบโน้ตบุ๊ก 2.Studio ปรับ Kickstand ลงให้สุด 165 องศาสำหรับใช้งานวาดเขียน 3.แท็บเล็ต สามารถใช้งานเป็นแท็บเล็ตพกพาได้ปกติ

มาดูกล้องหลังจะมีความละเอียดอยู่ที่ 8 ล้านพิกเซลพร้อมออโต้โฟกัสและรองรับการถ่ายวิดีโอที่ความละเอียด FullHD 1080p พร้อมไมโครโฟนรับเสียงสเตอริโอติดตั้งอยู่ด้วย

ส่วนช่องใส่การ์ด MicroSD (จะใช้เพื่อเพิ่มความจุตัวเครื่องหรือใช้อ่านการ์ด MicroSD ปกติก็ได้) จะถูกติดตั้งอยู่ใต้ Kickstand

มาถึงพอร์ตเชื่อมต่อและปุ่มกดรอบตัวเครื่อง เริ่มจากด้านซ้ายมือจะเป็นช่องหูฟัง/Headset 3.5 มิลลิเมตร ถัดไปจะเป็นส่วนแม่เหล็กที่สามารถดูดปากกา Surface Pen ให้ติดกับตัวเครื่องได้ (หรือจะเรียกว่าที่เก็บปากกาก็ไม่ผิด)

ขวา เริ่มจาก Surface Connect สำหรับใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์เสริมและอะแดปเตอร์ชาร์จไฟบ้านของ Surface พอร์ต USB 3.0 จำนวน 1 ช่องและ Mini Display Port (ไม่รองรับการเชื่อมต่อ USB-C)

ด้านล่าง ตรงกลางจะเป็นช่องเชื่อมต่อกับคีย์บอร์ดเพื่อใช้งานในรูปแบบโน้ตบุ๊ก

ด้านบน เป็นปุ่มเพิ่มลดเสียงและปุ่มเปิดปิดเครื่อง

อุปกรณ์เสริม (จำหน่ายแยก)

มาดูอุปกรณ์เสริมของ Surface Pro 2017 กันบ้าง เริ่มจากคีย์บอร์ดจะเพิ่มรุ่น “Surface Pro Signature Type Cover” (ราคา 6,390 บาท) หุ้มด้วยผ้าวัสดุ Alcantara ตามภาพประกอบด้านบน

Surface Arc Mouse ใหม่ เมาส์ดีไซน์ล้ำจากไมโครซอฟท์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับ Surface Pro และสามารถนำไปใช้งานกับโน้ตบุ๊กทั่วไปหรือพีซีที่ติดตั้ง Windows 10/8.1/8 ผ่านการเชื่อมต่อบลูทูธ โดยส่วนแบตเตอรีอัลคาไลน์ขนาด AAA สองก้อน

Surface Pen รุ่นใหม่ปี 2017 (ต้องซื้อแยกต่างหากในราคา 3,900 บาท) จะถูกอัปเกรดเรื่องการรองรับแรงกดได้มากถึง 4,096 จุดพร้อมปรับปรุงเรื่องการตอบสนองให้ดีขึ้นกว่ารุ่นก่อนหน้า หัวปากกาขนาด HB ส่วนการเชื่อมต่อทำผ่านบลูทูธ แบตเตอรีใช้ถ่าน AAAA 1 ก้อน รองรับ Surface Pro ตั้งแต่รุ่น 3 ขึ้นไป

สเปก

สำหรับ Surface Pro รุ่นใหม่นี้จะวางตลาดด้วยสเปกซีพียูใหม่ 3 รุ่นย่อยได้แก่ Intel Core m3, i5 และ i7 (เจนเนอเรชั่น 7 ทั้งหมด) โดยรุ่นที่ทีมงานได้รับมาทดสอบวันนี้จะเป็นตัวกลางขับเคลื่อนด้วยซีพียู Intel Core i5 7300U ความเร็ว 2.60GHz กราฟิกการ์ดเป็นออนบอร์ด Intel HD Graphics 620 (ท็อปสุดสำหรับรุ่นซีพียู i7 จะเป็นการ์ดจอ Intel Iris Plus 640) พร้อมแรม DDR3 (Dual Channel) 8GB หน่วยเก็บข้อมูลเป็น SSD ความจุ 256GB (เหลือให้ใช้จริงประมาณ 190-200GB) มาพร้อมระบบปฏิบัติการ Windows 10 Pro ตัวเต็ม พร้อมแถม Office ให้ใช้งานฟรี 30 วันด้วย

ด้านการเชื่อมต่อจะรองรับ WiFi มาตรฐาน 802.11 a/b/g/n/ac บลูทูธ 4.1 ไม่รองรับการใส่ซิมการ์ดโทรศัพท์ และไม่มี GPS นำทางในตัว

ฟีเจอร์เด่นและทดสอบประสิทธิภาพ

Surface Pro 2017 จะติดตั้ง Windows 10 Pro มาให้ ทำให้ผู้ใช้สามารถติดตั้งซอฟต์แวร์ที่รองรับ Windows ได้ปกติเช่น ชุดซอฟต์แวร์ Adobe, Office ได้แบบเดียวกับการใช้บนพีซีหรือโน้ตบุ๊กทั่วไป ส่วนซอฟต์แวร์พิเศษ เนื่องจาก Surface Pro เป็นของไมโครซอฟท์เพราะฉะนั้นการปรับตั้งค่าระบบต่างๆจะสามารถทำผ่านหน้า Settings ได้ทั้งหมด รวมถึงการกำหนดรูปแบบการใช้พลังงานเพื่อประหยัดแบตเตอรีก็สามารถทำผ่านส่วนไอคอนแบตเตอรีได้ทันที

ทดสอบประสิทธิภาพ : PCMark 10 = 2,894 คะแนน

ทดสอบประสิทธิภาพ : Geekbench 4 / Single Core = 4,071 คะแนน / Multi Core = 8,415 คะแนน

ทดสอบประสิทธิภาพ : Cinebench R15 / OpenGL = 43.02 เฟรมต่อวินาที / CPU = 343cb

มาดูด้านการทดสอบประสิทธิภาพ โดยรุ่นที่เราได้รับมาเป็น Core i5 7300U ประกบกราฟิก Intel HD Graphics 620 ซึ่งถือเป็นสเปกระดับกลาง ภาพรวมถือว่าสามารถตอบโจทย์การทำงานได้หลากหลายตั้งแต่ใช้พิมพ์งาน ตกแต่งภาพจากไฟล์ RAW ของกล้อง DSLR ไปถึงตัดวิดีโอ 1080p ทุกอย่างทำงานได้ลื่นไหล หน่วยเก็บข้อมูล SSD ทำงานได้รวดเร็วดี และสามารถเพิ่มความจุด้วย MicroSD เพื่อใช้สำหรับเก็บไฟล์งานได้ (แต่ไม่แนะนำให้ใช้เก็บโปรแกรมเพราะอ่านเขียนช้า)

ส่วนข้อสังเกตจะเป็นเรื่องของพอร์ตเชื่อมต่อที่มีให้เพียง USB 3.0 จำนวน 1 พอร์ตเท่านั้น (ถ้ามีอุปกรณ์ต่อพ่วงเยอะอาจต้องหาอุปกรณ์เสริมอย่าง Surface Dock มาใช้งาน) อีกทั้งตัวเครื่องยังไม่มี USB-C ที่เป็นมาตรฐานใหม่ของปีนี้ติดตั้งมาให้ด้วย

ด้านการใช้งานคีย์บอร์ดและปากกา เริ่มจากคีย์บอร์ด ทีมงานรู้สึกว่านอกจากพื้นผิว Alcantara ในคีย์บอร์ดเวอร์ชัน Signature Type Cover ที่สัมผัสแล้วรู้สึกกระชับมือ วางพิมพ์งานบนตักแล้วตัว Cover เกาะกับขาและกางเกงไม่ลื่นหล่นได้ดีมาก ส่วนแป้นพิมพ์ให้ความรู้สึกกดง่ายและแม่นยำมากขึ้น โดยเฉพาะส่วนทัชแพดที่ตอบสนองได้ดีมาก

ด้านปากกา Surface Pen นอกจากดีไซน์ที่ปรับเหมือนดินสอมากขึ้นแล้ว เรื่องสเปกฮาร์ดแวร์ภายยังถูกปรับปรุงให้ตอบสนองได้ดีขึ้นแถมรับแรงกดได้ละเอียดขึ้นจากรุ่นก่อนหน้า ประสิทธิภาพถือว่าเทียบเท่าคู่แข่งแล้ว แถมตัวปากกายังมีฟีเจอร์เด่นอย่างท้ายปากกาเป็นยางสามารถใช้แทนยางลบดิจิตอลหรือแม้แต่หัวปากกาก็สามารถเปลี่ยนรูปแบบได้ทั้งเป็นแบบดินสอ HB/B หรือหัวปากกาลูกลื่น

สุดท้ายในส่วนของแบตเตอรีโดยทดสอบใช้งานเป็นโน้ตบุ๊กส่วนตัวเน้นพิมพ์งาน ต่อ WiFi เข้าเว็บไซต์ แชทและเล่นเกมฆ่าเวลาบ้างสลับตลอดทั้งวัน พบว่าเรื่องของแบตเตอรีทำได้น่าพอใจกว่ารุ่นก่อน โดยทีมงานทดสอบสามารถทำเวลาใช้งานได้มากถึง 9-11 ชั่วโมงเลยทีเดียว และอีกหนึ่งข้อดีของ Surface Pro ที่ถูกปรับระบบทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ Windows 10 มาให้เข้ากันมากขึ้นก็คือ เวลาเราเลิกใช้งานเครื่องเราสามารถกดปุ่มปิดเครื่องครั้งเดียวเพื่อสั่งให้หน้าจอดับแล้วเข้าโหมดสแตนบายได้ทันทีแบบเดียวกับแท็บเล็ตแอนดรอยด์หรือ iOS และสามารถปลุกเครื่องให้ตื่นได้ตลอดเวลาโดยไม่พบอาการเครื่องค้างให้เห็น อีกทั้งถ้าเรากดสแตนบายเครื่องเป็นเวลานานเกินไป ระบบจะพาตัวเองเข้าสู่ Hibernate อัตโนมัติ เวลาเปิดเครื่องใหม่ระบบบู๊ตค่อนข้างเร็วกว่ารุ่นที่แล้ว ทำให้การใช้งาน Surface Pro 2017 ไม่พบอาการสะดุดให้เห็นตลอดการทดสอบร่วม 2 อาทิตย์ (ทีมงานไม่เคยสั่งชัทดาวน์เครื่องเลย ส่วนใหญ่ใช้วิธีกดปุ่มปิด 1 ครั้งให้หน้าจอดับแล้วก็ใส่กระเป๋าทันที)

กล้องหน้า

กล้องหลัง

สุดท้ายในส่วนการทดสอบกล้องถ่ายภาพ เริ่มจากด้านหน้า คุณภาพถือว่าอยู่ในระดับพอใช้ไม่ค่อยคมชัดเมื่ออยู่ในที่แสงน้อย แต่เรื่องความลื่นไหลของภาพถือว่าทำได้ดี ส่วนกล้องหลังถือว่าคุณภาพกลางๆ ใช้แก้ขัดได้

สรุป

สำหรับราคา Surface Pro 2017 จะเริ่มต้นที่ 30,900 บาทไปจนถึงรุ่นท็อปสุด Intel Core i7/1TB SSD/16GB RAM/Iris Plus Graphics 640 อยู่ที่ราคา 101,900 บาท

Surface Pro 2017 ถือว่าเป็นแท็บเล็ตลูกผสมโน้ตบุ๊กสายพันธุ์ Windows 10 จากไมโครซอฟท์ที่เน้นการปรับปรุงด้านสเปกภายในที่มีให้เลือกหลากหลายระดับตั้งแต่ระดับเริ่มต้นไปถึงเน้นประสิทธิภาพสูง เน้นงานตัดต่อวิดีโอ 4K รวมถึงการปรับปรุงเรื่องฟีเจอร์ในแบบแท็บเล็ต เช่น การปิดเปิดเครื่องที่รวดเร็วกว่าโน้ตบุ๊กปกติและสามารถใช้งานได้ตลอดทั้งวันแบบไร้รอยต่อ สิ่งเหล่านี้ไมโครซอฟท์ปรับปรุงมาได้ดีมากขึ้น ผู้อ่านที่กำลังมองหาโน้ตบุ๊ก-แท็บเล็ตวินโดวส์เน้นน้ำหนักเบา พกพาง่ายแบบแท็บเล็ตแต่ประสิทธิภาพสูงสามารถใช้งานร่วมกับซอฟต์แวร์รองรับ Windows ได้แบบเดียวกับพีซี Surface Pro 2017 เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจ

ส่วนผู้ใช้ที่เป็นแฟน Surface Pro อยู่แล้ว ต้องเรียนตามตรงเลยว่ารุ่นปี 2017 ถูกปรับปรุงเน้นความลงตัวและพยายามเป็นแท็บเล็ตไฮบริดที่สมบูรณ์มากกว่าเก่า จุดที่แตกต่างจากรุ่นเดิมจริงๆจะอยู่ที่ตัว m3 กับ i5 ที่ไม่มีพัดลมระบายความร้อนแล้วทำให้เครื่องทำงานเงียบมาก รวมถึงแบตเตอรีที่อึดขึ้น มองแล้วมีความเป็นแท็บเล็ตสูงกว่ารุ่นก่อน นอกนั้นจะแตกต่างจากเดิมไม่มากนัก ใครกำลังสนใจต้องลองช่างใจดูเองครับ

ข้อดี

– ปรับแต่งได้ลงตัวไม่ว่าจะใช้ในโหมดไหนก็ตาม
– ได้ Windows 10 Pro มาจากโรงงาน
– รุ่น m3 และ i5 ทำงานเงียบเพราะใช้ระบบระบายความร้อนแบบใหม่ ไร้พัดลม
– แบตเตอรีอึดกว่ารุ่นเดิมเกือบเท่าตัว
– ปากกา Surface Pen ใหม่ เขียนได้แม่นยำ ลื่นไหลขึ้นมาก

ข้อสังเกต

– กล้องหน้าและหลังคุณภาพแค่พอใช้
– ช่องเชื่อมต่อ USB ให้มาน้อย ไม่มี USB-C

Gallery

]]>
Review : Samsung Galaxy Note 8 กลับมาพร้อมกล้องคู่และความสมบูรณ์แบบ https://cyberbiz.mgronline.com/review-galaxy-note8/ Thu, 07 Sep 2017 05:29:08 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=27022

ผ่านพ้นช่วงมรสุมชีวิตของซัมซุงไปแล้ว ในปีนี้หลังจากเปิดตัวแม่ทัพใหญ่ Galaxy S8/S8+ ก็ถึงคิวของสมาร์ทโฟนที่หลายคนจับตามองมากที่สุดอย่าง Samsung Galaxy Note 8 ที่ในครั้งนี้นอกจากซัมซุงจะออกแบบตัวเครื่อง ปากกาและปรับสเปกใหม่แล้ว ด้านกล้องถ่ายภาพด้านหลังยังถูกปรับใหม่ให้แตกต่างจาก Galaxy S8/S8+ เอาใจเหล่าสาวกกับกล้องคู่ Dual Camera พร้อมเลนส์ 2 ระยะครั้งแรกของสมาร์ทโฟนซัมซุง หลังจาก Galaxy S8/S8+ ซัมซุงโดนวิจารณ์เรื่องกล้องว่าไม่ค่อยมีความแตกต่างจากเดิมมากเท่าใด กลับมาในครั้งนี้ทุกสิ่งเลยถูกปรับให้ยิ่งใหญ่และสมบูรณ์แบบเพื่อให้สมกับคำว่า “Do bigger things”

*ตัวเครื่องที่ทีมงานได้รับมาทดสอบเป็นเครื่องเดโมไม่ใช่เครื่องจำหน่ายจริง*

การออกแบบ

ยอมรับว่าครั้งแรกที่ได้รับ Galaxy Note 8 มาจากทางซัมซุง ทีมงานค่อนข้างประหลาดใจกับการออกแบบที่ดูแล้วมีความแปลกมากกว่าสวยงาม ทั้งๆที่ตัวเครื่องมีพื้นฐานมาจาก Galaxy S8/S8+ ตั้งแต่สัดส่วนหน้าจอ 18.5:9 (ซัมซุงบอกว่าหน้าจอสัดส่วนนี้จะทำการให้รับชมภาพยนตร์ที่ส่วนใหญ่เป็นอัตราส่วน 21:9 ทำได้เต็มตาขึ้น) ไปถึงการจัดวางกระจกจอและปุ่มสั่งงานต่างๆนั้นเหมือนกับ Galaxy S8 แต่ในมุมมองของทีมงานกลับชื่นชอบดีไซน์ของ Galaxy S8 ที่ดูลงตัวกว่า

และทุกความคิดก็ต้องเปลี่ยนไปทันทีเมื่อได้ทดลองจับถือใช้งาน Galaxy Note 8 ตลอดทั้งวัน พบว่าการออกแบบที่ดูแปลกประหลาดนี้ จริงๆแล้วทำให้การจับถือตัวเครื่องที่มาพร้อมหน้าจอ Infinity Display ขนาดใหญ่ 6.3 นิ้ว (Quad HD+ 1,440×2.960 พิกเซล 521ppi รองรับ HDR) ทำได้ถนัดมือมากยิ่งขึ้น (จับถือถนัดกว่า Galaxy Note ทุกรุ่น) อีกทั้งขอบจอที่โค้งสองด้านทั้งหน้าหลังยังช่วยลดอาการสมาร์ทโฟนลื่นหลุดจากมือได้ด้วย เพราะเวลาจับถือใช้งาน Note 8 สันเครื่องจะเข้ากับร่องนิ้วได้พอดี

ส่วนคนที่กังวลว่าขอบจอที่ออกแบบมาแทบจะไร้ขอบและหน้าจอมีขนาดใหญ่เต็มพื้นที่ด้านหน้าทั้งหมด เวลาจับถือโอกาสที่นิ้วมือจะไปโดนปุ่มคำสั่งต่างๆที่หน้าจอมีหรือไม่ สำหรับทีมงานไซเบอร์บิซเองตลอดการใช้งานกว่า 1 อาทิตย์ยังไม่พบปัญหาดังกล่าว คาดว่าภายในน่าจะมีระบบตรวจจับอยู่การจับถือบริเวณขอบจออยู่

คอนเทนต์อัตราส่วนภาพ 16:9 เมื่อเล่นบนหน้าจอ Galaxy Note 8 ที่มาพร้อมอัตราส่วน 18.5:9 จะมีขอบดำด้านซ้ายและขวา

แต่เราสามารถปรับให้คอนเทนต์อัตราส่วนภาพ 16:9 เล่นได้เต็มจอ Galaxy Note 8 แต่ภาพจะถูกครอปบนและล่างออกไป (ส่วนการเล่นคอนเทนต์ 21:9 ระบบจะขยายภาพให้อัตโนมัติ)

ปัจจุบันเริ่มมีเกมที่ออกมารองรับหน้าจออัตราส่วน 18.5:9 แล้ว เช่น Lineage2 Revolution

โดยในส่วนความหนาตัวเครื่องอยู่ที่ 8.6 มิลลิเมตรพร้อมน้ำหนัก 195 กรัม ส่วนกล้องถ่ายภาพด้านหน้ายกมาจาก Galaxy S8/S8+ ความละเอียด 8 ล้านพิกเซล รูรับแสง f1.7 มาพร้อม Smart Auto Focus นอกจากนั้นยังมาพร้อมกล้องสแกนม่านตา (Iris Scan) อีกด้วย

มาดูในส่วนใต้จอภาพกันบ้าง จะเห็นว่าปุ่มโฮมแบบปุ่มกดจริงดั้งเดิมถูกเปลี่ยนเป็นปุ่มโฮมผ่านซอฟต์แวร์เหมือนกับ Galaxy S8/S8+ โดยใต้จอภาพทางซัมซุงได้ฝังเซ็นเซอร์วัดแรงกดไว้ ซึ่งจะสั่นเมื่อเรากดปุ่มนี้ลงไปทำให้ความรู้สึกเหมือนกดปุ่มโฮมของจริง ส่วนปุ่มคำสั่ง Recent Apps และปุ่มย้อนกลับจะปรากฏขึ้นเมื่อเราปลดล็อกหน้าจอแล้ว

พลิกเครื่องไปด้านหลังสิ่งแรกที่เห็นการเปลี่ยนแปลงไปก็คือส่วนของกล้องถ่ายภาพหลังถูกปรับเป็นกล้องคู่ Dual Camera ครั้งแรกของกลุ่มสมาร์ทโฟนซัมซุงหลังจากแฟนๆเรียกร้องมายาวนานร่วมปี (เพราะคู่แข่งเขาไปกล้องคู่หมดแล้ว) พร้อมไฟแฟลช LED เซ็นเซอร์วัดอัตราการเต้นของหัวใจและถัดออกไปเป็นเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือถูกย้ายมาติดตั้งด้านหลังแบบเดียวกับ Galaxy S8/S8+

โดยในส่วนสเปกกล้องหลังคู่ Dual Camera จะเป็นแบบเดียวกับ iPhone 7 Plus คือเป็นเลนส์ 2 ระยะ ได้แก่ กล้องตัวแรกเป็นเลนส์มุมกว้าง 26 มิลลิเมตร รูรับแสงกว้าง f1.7 ส่วนกล้องตัวที่สองเป็นเลนส์ระยะ Normal 52 มิลลิเมตร รูรับแสงกว้าง f2.4 โดยกล้องทั้งสองตัวจะให้ความละเอียดภาพสูงสุดที่ 12 ล้านพิกเซลบนเซ็นเซอร์รับภาพ 1.4 ไมครอนตัวเดียวกับ Galaxy S8/S8+ พร้อมระบบออโต้โฟกัส Dual Pixel

ทำให้ระบบกล้อง Note 8 รองรับการซูมออปติคอล 2 เท่าและสามารถทำหน้าชัดหลังเบลอ (ซัมซุงเรียก “Live Focus”) ได้เหมือน iPhone 7 Plus พร้อมเพิ่มระบบป้องกันภาพสั่นไหว Optical Image Stabilization (OIS) มาให้กับกล้องทั้งสองตัวด้วย (Dual OIS)

มาดูพอร์ตเชื่อมต่อและปุ่มกดรอบตัวเครื่องกันบ้าง เริ่มจากด้านล่างจะเป็นส่วนช่องหูฟัง 3.5 มิลลิเมตร พอร์ต USB-C ไมโครโฟน ลำโพง (มีตัวเดียวให้เสียงแบบโมโน) และช่องเก็บปากกา S Pen

ด้านบน เป็นส่วนของไมโครโฟนตัวที่สองและช่องใส่ซิมการ์ดโทรศัพท์แบบนาโน 2 ซิม โดยช่องใส่ซิมที่ 2 จะแชร์กับช่องใส่ MicroSD Card รองรับความจุสูงสุด 256GB

ในส่วนด้านซ้ายและขวาของตัวเครื่องจะเป็นที่อยู่ของปุ่มเพิ่มลดเสียง ปุ่มเรียกผู้ช่วย Bixby และปุ่มเปิดปิดเครื่อง

มาดูในส่วนปากกา S Pen มองภาพรวมภายนอกแล้วดูไม่มีการเปลี่ยนแปลงจาก Note 7 แต่ภายในซัมซุงได้อัปเกรดใหม่แทบทั้งหมดเริ่มตั้งแต่

1.หัวปากกาปรับไปใช้หัวยางขนาด 0.7 มิลลิเมตร ทำให้เขียนได้ลื่นไหลและไม่ทำให้หน้าจอเป็นรอย
2.S Pen ใหม่รองรับแรงกดได้ละเอียด 4,096 ระดับเพิ่มขึ้นจากรุ่นเดิมเป็นเท่าตัว
3.S Pen รองรับการเขียนในน้ำตามมาตรฐาน IP68

สุดท้ายเป็นไปตามธรรมเนียมของซัมซุงก็คือตัวเครื่อง Galaxy Note 8 รองรับการป้องกันน้ำและฝุ่นตามมาตรฐาน IP68 เช่นเดิม

สเปก

เริ่มจากซีพียูจะใช้แบบ 10 นาโนเมตร Samsung Exynos 8895 Octa ความเร็ว 2.3GHz พร้อมแรม LPDDR4 6GB รอม 64GB (เหลือใช้งานจริงประมาณ 51-52GB) ระบบปฏิบัติการ Android 7.1.1 (Nougat) และแบตเตอรีความจุ 3,300mAh

ด้านการเชื่อมต่อเครือข่าย รองรับ 3G/4G ทุกเครือข่ายในบ้านเรา รวมถึงรองรับ Next G ของ AIS เต็มรูปแบบ โดยในส่วน 4G LTE จะรองรับความเร็วถึง Cat.16 (LTE Advanced) พร้อมรองรับเทคโนโลยีรวมคลื่นความถี่มากถึง 4CA ส่วน WiFi มีการปรับปรุงให้เป็น MU-MIMO และบลูทูธเปลี่ยนไปใช้เวอร์ชัน 5.0 ที่สามารถรับส่งข้อมูลได้เร็วถึง 2Mbps

ในส่วนการรองรับ NFC ยังมีให้เช่นเดิมพร้อม Samsung Pay ด้าน GPS รองรับ Galileo, Glonass และ BeiDou และ Note 8 สามารถถอดรหัสเสียง UHQ 32-bit และ DSD รองรับการเล่นไฟล์เพลงได้หลากหลายรูปแบบ

ฟีเจอร์เด่น

ภาพรวมหน้าตาและการใช้งานระบบปฏิบัติการจะเหมือนกับ Galaxy S8/S8+ ที่ซัมซุงเน้นเรื่องความเบาและใช้งานลื่นไหล โดยแอปฯของซัมซุงทั้งหมดจะไม่ถูกติดตั้งลงในระบบปฏิบัติการอีกแล้ว ถ้าผู้ใช้ต้องการใช้งานแอปฯใดต้องเข้าไปดาวน์โหลดเพิ่มเติมเอง

ในส่วน Navigation Buttons สามารถปรับแต่งได้ตั้งแต่เลือกสีไปถึงปรับการทำงานของเซ็นเซอร์วัดแรงกดว่าถ้าผู้ใช้กดหนักจะเป็นการสั่งงานคำสั่งใด อีกทั้งยังสามารถสลับตำแหน่งปุ่มคำสั่งได้ และทีเด็ดสุดก็คือในระหว่างใช้งานสามารถกดซ่อนแถบ Navigation Buttons จากหน้าจอได้ด้วยการกดปุ่ม ‘จุด’ ด้านซ้ายมือค้างไว้ (ส่วนการเรียกแถบ Navigation Buttons กลับมาก็เพียงสไลด์นิ้วจากขอบจอด้านล่างขึ้นมาและกดปุ่ม ‘จุด’ ค้างไว้อีกครั้งจะถือเป็นการตรึงแถบปุ่มคำสั่งเหมือนเดิม

S Pen การใช้งานหลักยังคงเหมือนทั้ง Galaxy Note 5 และ Note 7 คือสามารถเขียนผ่าน Samsung Notes สามารถเลือกตัดภาพที่ต้องการได้ เขียนบนหน้าจอ สร้าง GIF Animation จากวิดีโอโดยใช้ปากกาครอปภาพที่ต้องการ รวมถึงสามารถแปลภาษาได้ (รองรับการแปลไทย-อังกฤษ และสามารถแปล Subtitle ที่อยู่ในเกมหรือวิดีโอได้ด้วย) หรือจะเลือกครอปภาพอย่างอิสระก็สามารถทำได้แบบเดียวกับ Note 7 (อ่านรีวิวฟีเจอร์ปากกาเพิ่มเติม >คลิกที่นี่<)

แต่ทั้งนี้สิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาใน S Pen พิเศษเฉพาะ Galaxy Note 8 ก็คือความสามารถในการทำ Live Message โดยผู้ใช้สามารถวาดภาพในรูปแบบ GIF Animation และส่งไปให้คนสนิทได้ทันที หรือจะเลือกรูปที่ส่งผ่าน Message มาแล้วนำมาแก้ไขใส่สีสันต่างๆก็สามารถทำได้เช่นกัน ยกตัวอย่างภาพ GIF ด้านบนทีมงานเลือกเขียนทักทายเพื่อนจากนั้นก็ส่งผ่านระบบ Message ในเครื่องหรือจะเก็บไว้แล้วค่อยไปส่งผ่านแอปฯแชท เช่น LINE หรือ Facebook Messenger ก็ได้

อีกส่วนที่ถือเป็นไฮไลท์เด็ดพิเศษเฉพาะ Galaxy Note 8 เช่นกัน ก็คือ ผู้ใช้สามารถเขียนข้อความหรือวาดภาพบนหน้าจอ Always on Display (AOD) จากนั้นเลือกตรึงข้อความไว้ที่หน้า AOD อารมณ์แบบเดียวกับการเขียน Post-it เพื่อใช้เตือนความจำ เช่น เขียนรายการซื้อสินค้าไว้ เมื่อไปถึงห้างเราก็เพียงยก Note 8 ขึ้นมาแล้วดูรายการสั่งซื้อได้ทันทีโดยไม่ต้องปลดล็อกหน้าจอให้เสียเวลา

Bixby (บิกซ์บี) ใน Galaxy Note 8 บิกซ์บีถูกเพิ่มความสามารถและประสิทธิภาพให้ดีขึ้น โดยเมื่อผู้ใช้กดปุ่มเรียกบิกซ์บี คุณสามารถพูดสั่งงานให้ช่วยเปิดแอปฯต่างๆ เลือกเล่นเพลง ไปถึงสามารถสั่งให้เซลฟีหน้าเราได้แล้วด้วย (แต่ยังไม่ฉลาดเท่า Siri ของแอปเปิล) แต่น่าเสียดายที่ปัจจุบัน Bixby ยังรองรับแค่ภาษาอังกฤษและเกาหลีเท่านั้น

Link sharing เป็นฟีเจอร์ที่น่าสนใจสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการส่งรูปภาพหรือวิดีโอคุณภาพสูงไปให้เพื่อน แต่เพื่อนใช้สมาร์ทดีไวซ์คนละแพลตฟอร์มกับเรา เช่น เราใช้ Note 8 เพื่อนใช้ iPhone เป็นต้น Link sharing จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหา โดยระบบจะให้เราสามารถส่งรูปภาพ วิดีโอหรือไฟล์อะไรก็ได้ไม่เกินวันละ 2GB จากนั้นเมื่อเรากดใช้งาน ระบบจะนำไฟล์ของเราไปฝากไว้บนคลาวด์สตอเรจของซัมซุงชั่วคราว (ลิงค์มีอายุ 24 ชั่วโมงและต้องใช้อินเทอร์เน็ตในการส่งไฟล์) พร้อมสร้างลิงค์ไฟล์มาให้กับเรา เราก็เพียงนำลิงค์ไฟล์นั้นส่งให้เพื่อนไปดาวน์โหลดออกมา (หลักการทำงานคล้ายเราฝากไฟล์ไว้ใน Dropbox แต่ระบบนี้ใช้งานง่ายกว่าเพราะไม่ต้องล็อกอินเข้าใช้งานแอปฯใดๆ)

WiFi MIMO เป็นหนึ่งฟีเจอร์ที่น่าสนใจเพราะ Galaxy Note 8 มาพร้อม WiFi แบบ MU-MIMO (Multi-User Multiple-Input and Multiple-Output) พร้อมรองรับความเร็วในการรับส่งข้อมูลผ่าน WiFi ระดับ Gigabit ทำให้ตัวสมาร์ทโฟนมีฟังก์ชันพิเศษที่หลายคนอาจยังไม่ทราบก็คือ สามารถแชร์ WiFi ที่เชื่อมต่อกับ Note 8 ส่งผ่าน WiFi อีกครั้งไปให้สมาร์ทโฟนเครื่องอื่นได้ จากเดิมปกติเราจะทำ Hotspot แชร์ได้แค่ 3G/4G เท่านั้น

นอกจากนั้น Galaxy Note 8 ยังมาพร้อมฟังก์ชัน Adaptive Wi-Fi ที่เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบเสถียรเพราะเมื่อเปิดใช้ฟังก์ชันนี้ เมื่อใดก็ตามที่ WiFi ที่เราเชื่อมต่อสัญญาณไม่ดี ระบบจะดึงข้อมูลจากดาต้าอินเทอร์เน็ต 3G/4G มาเสริมทันที

นอกนั้นในส่วนฟีเจอร์เด่นอื่นๆ จะเหมือนกับ Galaxy S8/S8+ เช่น สามารถทำ Dual Messenger หรือความสามารถในการใช้เฟสบุ๊ก 2 บัญชีได้ในเครื่องเดียว, มีระบบป้องกันสแปมจากเบอร์โทรที่เราไม่รู้จัก ไปถึงความสามารถในการลดความละเอียดหน้าจอลงได้เพื่อประหยัดแบตเตอรี เป็นต้น

ทดสอบประสิทธิภาพ

มาถึงการทดสอบประสิทธิภาพด้านการประมวลผล ส่วนนี้ทีมงานไซเบอร์บิซ ออนไลน์จะไม่ขอลงรายละเอียดมากนักเพราะคะแนนก็ถือว่าติดอยู่ในระดับท็อปของตารางและประสิทธิภาพส่วนใหญ่ก็ไม่ได้แตกต่างจาก Galaxy S8/S8+ (คะแนนอยากเทียบกับ Galaxy Note 7 หรือ S8+ สามารถรับชมได้โดยกดที่ชื่อรุ่น) ที่ทีมงานได้ทดสอบไปก่อนหน้านี้ โดยจุดเด่นของ Note 8 ที่ทีมงานรู้สึกแตกต่างจากตอนทดสอบ S8/S8+ ก็คือความลงตัวและสมบูรณ์ของซอฟต์แวร์ควบคุมต่างๆที่ซัมซุงปรับแต่งมาได้ดีขึ้น แต่คาดว่า Galaxy S8/S8+ ปัจจุบันก็คงได้รับการอัปเดตแก้ไขข้อบกพร่องไปพอสมควรแล้วเช่นกัน

ส่วนเรื่องแบตเตอรีกับระยะเวลาใช้งานถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติของสมาร์ทโฟนเรือธงปีนี้คือ 10-12 ชั่วโมง โดยทีมงานทดสอบด้วยการเปิดหน้าจอรันแอปฯ PC Mark ทิ้งไว้ตลอดทั้งวัน

กล้องถ่ายภาพ Dual Camera

ครั้งนี้ถือว่าซัมซุงเปิดตัว Galaxy Note 8 ได้อย่างหวือหวาเพราะเลือกใส่กล้องคู่มาให้ในรุ่นนี้ทันที (ปกติซัมซุงจะเลือกใส่นวัตกรรมใหม่มากับ Galaxy S เสียมากกว่า) โดยกล้องคู่ของ Note 8 ก็เดินตาม iPhone 7 Plus แบบเรียกได้ว่าเป็นพี่น้องกันเลย เนื่องจากกล้องทั้ง 2 ตัวที่ใส่มามีสองระยะคือ 26 มิลลิเมตรกับ 52 มิลลิเมตร หรือเทียบเท่าซูมออปติคอล 2 เท่า

โดยในส่วนของซอฟต์แวร์กล้องก็ยังคงหน้าตาเหมือนกับ Samsung Galaxy ทุกรุ่นคือเน้นใช้งานง่าย แต่สิ่งที่เพิ่มเข้ามาเฉพาะ Galaxy Note 8 อย่างแรกคือปุ่ม x2 ซึ่งเมื่อกดแล้วก็เท่ากับจะเปลี่ยนไปใช้เลนส์ 52 มิลลิเมตร ภาพก็จะถูกซูมเข้ามา (ลองกดรับชมวิดีโอด้านบน) หรือจะใช้นิ้วจิ้มค้างไว้ที่ปุ่มชัตเตอร์แล้วลากขึ้นลงเพื่อซูมเข้าออก รวมถึงใช้วิธีใช้นิ้วถ่างขยายแบบปกติก็ได้ โดยระบบซูมออปติคอลจะอยู่ที่ระยะ x1-x2 หลังจากนั้นไปจนถึง x10 จะเป็นดิจิตอลซูม

Live Focus (โฟกัสตามเวลาจริง) หรือโหมดหน้าชัดหลังเบลอ ที่ซัมซุงออกแบบมาให้ใช้ได้ทั้งถ่ายภาพบุคคลและวัตถุ โดยหลักการทำงานของโหมดนี้ก็คือใช้เลนส์คู่ในการตรวจจับระยะ จำลองมิติและฉากหลังที่หลุดโฟกัส จากนั้นระบบจะบันทึกภาพให้ทั้งมุมกว้างจากเลนส์ตัวแรกและระยะใกล้จากเลนส์ตัวที่สอง เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกไฟล์ที่ดีที่สุดรวมทั้งสามารถปรับแก้ความเบลอของฉากหลังได้ด้วย

ในส่วนโหมดถ่ายภาพอื่นๆ Galaxy Note 8 จะมาพร้อม Pro Mode สามารถปรับตั้งค่ากล้องได้เองรวมถึงเปิดความสามารถในการบันทึกแบบ RAW File ได้ โหมด Hyperlapse, โหมดอาหาร, Slow Motion, Panorama เป็นต้น ส่วนกล้องหน้าจะเหมือนกับ Galaxy S8/S8+ คือรองรับการถ่ายภาพเซลฟีมุมกว้าง ทำหน้าชัดหลังเบลอได้ รวมถึงสามารถตกแต่งใส่สติกเกอร์ได้ตามต้องการ

ทดสอบกล้อง Galaxy Note 8

เลนส์ตัวแรก 26 มิลลิเมตร

เลนส์ตัวที่สอง 52 มิลลิเมตร (เท่ากับซูม 2 เท่า)

เลนส์ตัวแรก 26 มิลลิเมตร

เลนส์ตัวแรก 26 มิลลิเมตร

เลนส์ตัวแรก 26 มิลลิเมตร

ดิจิตอลซูมประมาณ 5 เท่า

เปิดใช้เลนส์ตัวที่สอง 52 มิลลิเมตร (เท่ากับซูม 2 เท่า) โหมดโปร ตั้งสปีดชัตเตอร์ 2 วินาที

เลนส์ตัวที่สอง 52 มิลลิเมตร (เท่ากับซูม 2 เท่า)

Food Mode

กล้องหน้า ยังคงสไตล์ซัมซุงคือเมื่อกล้องจับใบหน้าของเราได้ ระบบจะชดเชยแสงให้สว่างกว่าปกติเล็กน้อย

iPhone 7 Plus ปะทะ Galaxy Note 8

ด้วยสเปกกล้องที่เหมือนซัมซุงวางมาชนกับ iPhone 7 Plus ทำให้ทีมงานไซเบอร์บิซต้องจับมาชนกันแบบภาพต่อภาพให้ดูกัน

เริ่มจากภาพแรก หลายคนที่ดูภาพนี้อาจกำลังคิดว่าไม่ยุติธรรม เพราะระยะภาพจากตัวแบบไม่เท่ากัน ตรงนี้ทีมงานขอชี้แจงก่อนครับว่า ด้วยความที่ระบบหน้าชัดหลังเบลอของแต่ละเจ้ามีข้อจำกัดไม่เหมือนกัน เพราะต้องไม่ลืมว่าระบบใช้ซอฟต์แวร์ช่วยในการจัดการความเบลอของส่วนที่หลุดโฟกัส เพราะฉะนั้นเมื่อถ่ายในที่แสงน้อย พอภาพเริ่มไม่คมชัดระบบจะตรวจจับระยะชัดของภาพและประมวลผลได้ยากขึ้น

ยกตัวอย่างภาพนี้ เราเลือกถ่ายด้วย Portrait Mode สำหรับ iPhone 7 Plus และ Live Focus สำหรับ Galaxy Note 8 ในที่แสงน้อยมากเพื่อให้กล้องแสดงประสิทธิภาพเต็มที่ แต่ปัญหาที่พบก็คือ iPhone 7 Plus ฟ้องว่า “แสงไม่พอ ให้ถอยห่างออกมา” ทีมงานก็ต้องถอยไปมาจนในที่สุดก็ถ่ายได้ที่ระยะอย่างที่เห็นตามภาพ ส่วน Note 8 ก็ไม่ต่างกัน ขยับจนกว่าจะถ่ายได้ก็เล่นเอาเหงื่อตก ทำให้ระยะที่ได้คลาดเคลื่อนไม่เท่ากัน ส่วนการวัดแสงผมเลือกที่ใบหน้าจุดเดียวกันทั้งหมด

จะเห็นว่าถ้ามองในเรื่องการเก็บรายละเอียด iPhone 7 Plus จะให้ภาพที่คมกว่าแต่ก็แลกมากับนอยซ์ที่มากและแสงที่มืดกว่า ในขณะที่ Note 8 จะเกลี่ยนอยซ์ออกได้ดีกว่า จนภาพดูเบลอๆเล็กน้อย และที่สำคัญอย่างที่เกริ่นไปตอนต้นว่าเมื่อใดก็ตามที่ระบบกล้องของ Note 8 (รวมถึง S8/S8+) รู้ว่าเป็นการถ่ายคน ซอฟต์แวร์จะปรับโทนภาพ สีผิวและความสว่างให้หน้าสดใสตามแบบฉบับซัมซุง

ภาพนี้ปิดไฟทั้งห้องเหลือเพียงแต่ไฟจากจอมอนิเตอร์คอมพิวเตอร์พร้อมครอปภาพ 100% ให้ดูกันระยะใกล้ไปเลย พบว่าในส่วนรายละเอียดตัวหนังสือที่ถ่ายด้วยกล้อง Note 8 จะมีความชัดเจนกว่า iPhone 7 Plus

ภาพนี้ถ่ายย้อนแสงเล็กน้อย HDR On วัดแสงตรงกลางภาพ ต้องยอมรับว่าเรื่องโทนภาพ iPhone 7 Plus ให้โทนที่สวยกว่า ในขณะที่ Galaxy Note 8 จะให้โทนติดอมฟ้าม่วง แต่ในเรื่องความคมชัดและรายละเอียด เมื่อซูมดูใกล้ๆ Galaxy Note 8 ทำได้ชัดเจนกว่า

ภาพนี้ถ่ายด้วย Portrait Mode สำหรับ iPhone 7 Plus และ Live Focus สำหรับ Galaxy Note 8 พบว่าคุณภาพของการเบลอส่วนที่หลุดโฟกัสดีใกล้เคียงกันมาก เพียงแต่ระบบ Live Focus ของ Galaxy Note 8 จะปรับแต่งได้มากกว่า ส่วนรายละเอียดภาพ Galaxy Note 8 ค่อนข้างเก็บได้ดีกว่า ส่วนอื่นลองพิจารณากันเองครับ

สรุป

สำหรับราคาเปิดตัว Samsung Galaxy Note 8 อยู่ที่ 33,900 บาท เรียกได้ว่าเป็นการกลับมาของ Galaxy Note ที่ซัมซุงจัดเต็มทุกสัดส่วน จนทำให้ Galaxy Note 8 น่าจะเป็นสมาร์ทโฟนเรือธงทำตลาดแทนที่ Galaxy S8+ ได้เลย หลายส่วนดูสมบูรณ์แบบมาก โดยเฉพาะการมาของกล้องคู่ที่ซัมซุงทำได้น่าสนใจ รวมถึงลูกเล่น S Pen ที่ให้ประสบการณ์การใช้งานที่ดี ยกเว้นเรื่องลำโพงที่ให้มาตัวเดียวเหมือนกับ Galaxy S8/S8+ เมื่อเทียบกับคู่แข่งทั้ง iPhone 7 Plus เองหรือ Huawei P10+ ลำโพงของ Note 8 ให้เสียงที่ด้อยกว่าอย่างเห็นได้ชัด

สรุปสั้นๆในตอนนี้ใครกำลังมองหาสมาร์ทโฟนเรือธงจากซัมซุงถ้าไม่ติดเรื่องงบทีมงานอยากให้มองข้ามมาที่ Galaxy Note 8 ทันทีเพราะสิ่งที่ S8/S8+ มีใน Note 8 จะทำได้สมบูรณ์แบบกว่า

ข้อดี

– การออกแบบจับถือทำได้ดีมาก หน้าจอใหญ่แต่สามารถใช้งานมือเดียวได้ถนัด
– กล้องหลังคู่ Dual Camera คุณภาพดี ซูม 2 เท่าแบบออปติคอล
– การรองรับ 4G ทำได้เหนือกว่าคู่แข่งในตลาดปัจจุบันพร้อม WiFi MU-MIMO
– ตัวเขียนและปากกา S Pen ป้องกันน้ำและฝุ่น เขียนใต้น้ำได้
– S Pen เขียนได้ลื่นไหลกว่าเดิม

ข้อสังเกต

– ลำโพงตัวเดียวให้เสียงด้อยกว่าคู่แข่ง
– ราคาเปิดตัว เริ่มต้นค่อนข้างสูง
– ลูกเล่นสั่งงานด้วยเสียงผ่าน Bixby ยังน้อยและจำกัดแค่ภาษาอังกฤษ เกาหลี
– หน้าจอ Infinity Display ขนาดใหญ่ เวลาตกแตกราคาซ่อมสูงมาก

Gallery

]]>
Review : iPad Pro 10.5 WiFi (2017) ทรงพลังใกล้เคียงแล็ปท็อปพีซี https://cyberbiz.mgronline.com/review-ipadpro-2017/ Tue, 25 Jul 2017 03:11:49 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=26714

หลังจากแอปเปิลเลือกปรับไลน์กลุ่มแท็บเล็ต iPad ใหม่ โดยให้ iPad mini 4 และ iPad (2017 แทนที่ iPad Air) เป็นคู่ยึดตลาดราคาประหยัดเน้นความคุ้มค่า ในส่วนระดับบนเน้นประสิทธิภาพ ราคาสูง แอปเปิลได้เลือกเปิดตัว iPad Pro ใหม่ 2 ขนาดหน้าจอ คือรุ่น 12.9 นิ้วและ 10.5 นิ้ว พร้อมเลือกปรับสเปกให้กลุ่ม iPad Pro มีประสิทธิภาพสูงขึ้นจากรุ่นเดิมตั้งแต่การประมวลผลไปถึงจอภาพใหม่ ProMotion 120Hz ครั้งแรกของตลาดแท็บเล็ต

การออกแบบ

iPad Pro ขึ้นชื่อว่าเป็นแท็บเล็ตที่มีราคาแพงที่สุดในตลาด เพราะฉะนั้นเรื่องงานออกแบบ แอปเปิลจึงค่อนข้างพิถีพิถัน โดยเฉพาะรุ่นไฮไลท์ 10.5 นิ้วที่ทีมงานไซเบอร์บิซนำมารีวิวในวันนี้ จะเป็นรุ่นที่ได้รับการออกแบบใหม่หมดทุกสัดส่วน ตั้งแต่ขนาดหน้าจอ 10.5 นิ้ว ความละเอียด 2,224 x 1,668 พิกเซล (ความหนาแน่นพิกเซล 264 พิกเซลต่อตารางนิ้ว) มาพร้อมกล้องหน้าความละเอียด 7 ล้านพิกเซล รูรับแสง f2.2 รองรับ Retina Flash, TouchID อัปเกรดไปใช้รุ่น 2 และมีเซ็นเซอร์ตรวจวัด Ambient light sensor เพื่อใช้ร่วมกับฟีเจอร์ True Tone Display

ในส่วนขนาดตัวเครื่อง ถึงแม้หน้าจอจะมีขนาดใหญ่จากรุ่นเดิมถึง 20% (ใช้วิธีขยายขอบจอภาพแทน) แต่ในส่วนขนาดตัวเครื่องแอปเปิลจะพยายามคงรูปร่างของ iPad Pro 9.7 นิ้วไว้ ตั้งแต่ความหนาตัวเครื่องเท่ากันที่ 6.1 มิลลิเมตร ในขณะที่ด้านยาวจะต่างกันประมาณ 10 มิลลิเมตรและน้ำหนักต่างกันในหลัก 10-20 กรัมเท่านั้น (iPad Pro 10.5 นิ้วมีน้ำหนัก 469 กรัมในรุ่น WiFi และ 477 กรัมในรุ่น WiFi+Cellular) เรียกได้ว่าคนที่ยังชื่นชอบดีไซน์ iPad Pro 9.7 นิ้วจะรู้สึกแตกต่างจากเดิมเล็กน้อยเมื่อเปลี่ยนมาใช้ iPad Pro 10.5 นิ้ว

ด้านหลัง ใช้วัสดุเป็นอะลูมิเนียมขึ้นรูปแผ่นเดียว เป็นที่อยู่ของกล้องถ่ายภาพหลัก (Main Camera) ที่ถูกอัปเกรดไปใช้สเปกเดียวกับ iPhone 7 ตั้งแต่ความละเอียดภาพ 12 ล้านพิกเซล มาพร้อมเลนส์กล้องรูรับแสง f1.8 มีระบบป้องกันภาพสั่นไหว ไฟแฟลชแบบ LED TrueTone 4 ดวงและออโต้โฟกัสแบบ Focus Pixels รองรับการถ่ายวิดีโอ 4K 30 เฟรมต่อวินาทีและวิดีโอสโลโมชั่น 720p 240 เฟรมต่อวินาที

มาถึงพอร์ตเชื่อมต่อและปุ่มกดรอบตัวเครื่อง เริ่มจากด้านขวาจะเป็นที่อยู่ของปุ่มเพิ่มลดเสียง (สังเกตกล้องหลักจะยื่นออกมาจากตัวเครื่องด้านหลังค่อนข้างมาก เวลาวางบนโต๊ะต้องใช้ความระมัดระวัง)

ซ้าย ตรงกลางเป็นพอร์ต Smart Connector สำหรับเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เสริมจากแอปเปิล เช่น คีย์บอร์ด

บน ซ้ายสุดจะเป็นปุ่มเปิดปิดเครื่อง/หน้าจอ > ลำโพงตัวที่ 1 > ไมโครโฟน > ลำโพงตัวที่ 2 > ช่องเชื่อมต่อหูฟัง 3.5 มิลลิเมตร

ล่าง ลำโพงตัวที่ 3 > พอร์ต Lightning > ลำโพงตัวที่ 4

*ลำโพงใน iPad Pro 10.5 นิ้วจะเป็นสเตอริโอ 4 ตัว แบ่งการทำงานเป็นคู่ โดยคู่แรกจะให้เสียงแหลมแยกลำโพงซ้ายขวา คู่ที่สองเป็นเสียงกลางและเบสแยกลำโพงซ้ายขวา อีกทั้งเมื่อผู้ใช้ตะแคงเครื่องจากแนวตั้งมาแนวนอนหรือกลับเครื่องจากบนลงล่าง ล่างขึ้นบน ไม่ว่าหมุนเครื่องไปมุมไหนก็ตาม ระบบภายในจะบาลานซ์ปรับเสียงแหลม กลาง เบส แยกลำโพงซ้ายขวาให้อย่างถูกต้องทุกองศาการรับฟัง เพราะภายในมีเซ็นเซอร์ตรวจจับอยู่

ในส่วนการรองรับ Apple Pencil สำหรับ iPad Pro 10.5 นิ้ว (รวมถึงรุ่น 12.9 นิ้วใหม่) ยังคงรองรับ Apple Pencil เช่นเดิม แต่ประสิทธิภาพจะดีขึ้น

สเปกและฟีเจอร์เด่น

iPad Pro 10.5 นิ้ว และ 12.9 นิ้ว (2017) ขับเคลื่อนด้วยซีพียู Apple A10X Fusion 64-bit แบบ 6-core CPU 12-core GPU ทำงานร่วมกับชิป M10 พร้อมแรม 4GB รอมมีให้เลือก 64/256/512GB โดยรุ่นที่ทีมงานได้รับมาทดสอบเป็นความจุ 512GB WiFi

ด้านการเชื่อมต่อเครือข่าย WiFi รองรับมาตรฐาน 802.11 a/b/g/n/ac (2.4GHz และ 5GHz) พร้อม MIMO นอกจากนั้นยังรองรับเทคโนโลยีเชื่อมต่อผ่าน Bluetooth 4.2 พร้อมเข็มทิศดิจิตอลในตัวและรองรับเทคโนโลยีเฉพาะ iBeacon หรือเทคโนโลยีระบุตำแหน่งในอาคาร

ส่วนรุ่น WiFi+Cellular จะเพิ่มเติมความสามารถในการรองรับเครือข่ายโทรศัพท์ผ่าน Nano Sim รองรับการเชื่อมต่อ 3G/4G LTE ทุกเครือข่ายในประเทศไทย นอกจากนั้นยังรองรับ GPS/GLONASS เพื่อใช้งานแผนที่นำทางได้ด้วย

ด้านแบตเตอรี ในรุ่นหน้าจอ 10.5 นิ้วที่ทีมงานนำมาทดสอบจะถูกขยายความจุเป็น 30.4 Wh จากเดิมในรุ่น 9.7 นิ้วอยู่ที่ 27.9 Wh สามารถใช้งานต่อเนื่องยาวนาน 10 ชั่วโมง และ iPad Pro 2017 ยังรองรับการชาร์จไฟแบบเร็วผ่านอะแดปเตอร์ USB-C ของแอปเปิลอีกด้วย

ด้านระบบปฏิบัติการปัจุบัน iPad Pro ขับเคลื่อนด้วย iOS 10 แต่ในอนาคต iOS 11 จะเป็นระบบปฏิบัติการที่เหมาะสมกับ iPad Pro (2017) มากที่สุด

ทดสอบประสิทธิภาพและสรุป

3DMark (iPad Pro 9.7″ – 2016 Model)

3DMark (iPad Pro 10.5″ – 2017 Model)

AnTuTu Benchmark (iPad Pro 9.7″ – 2016 Model)

AnTuTu Benchmark (iPad Pro 10.5″ – 2017 Model)

เป็นเรื่องแน่นอนอยู่แล้วว่า iPad Pro 10.5 นิ้วเมื่อเทียบกับ iPad Pro 9.7 นิ้วรุ่นปีที่แล้วต้องดีกว่า รวมถึงการใช้งาน ความลื่นไหล โดยเฉพาะการเปิดใช้ฟีเจอร์ Multitasking 2 จอเพื่อทำงาน iPad Pro 10.5 จะให้ประสิทธิภาพด้านการประมวลผลที่ดีอย่างเห็นได้ชัด แอปฯต่างๆสามารถโหลดข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น

ส่วนคนที่ชอบใช้ iPad Pro สร้างผลงานเพลงทั้งจากแอปฯเฉพาะทาง เช่น NanoStudio, GarageBand ไปถึงการวาดภาพ สร้างภาพ ตัดต่อภาพผ่าน Adobe Photoshop หรือตัดต่อวิดีโอ 4K รวมถึงช่างภาพที่ต้องจัดการรูปภาพความละเอียดสูง iPad Pro รุ่นใหม่นี้สามารถตอบสนองการทำงานเหล่านั้นได้ไม่ต่างจากแล็ปท็อป PC หรือเรียกได้ว่าสเปกเครื่องเหลือๆให้ใช้งานได้ตั้งแต่รับชมภาพยนตร์ ทำงาน เล่นเกม ทุกอย่างสามารถจัดการได้บน iPad Pro ทั้งหมด

ในส่วนจุดเด่นอย่างจอภาพใหม่ที่มาพร้อมเทคโนโลยี “ProMotion” พร้อมอัตราการดึงข้อมูลส่วนจอภาพสูงถึง 120Hz ครั้งแรกในกลุ่มแท็บเล็ตระดับยูสเซอร์ ที่นอกจากความลื่นไหล ตอบสนองต่อการกดสั่งงานได้รวดเร็วกว่าเดิมแล้ว เมื่อลองใช้ Apple Pencil เทียบกับ iPad Pro รุ่นก่อนหน้า (หน้าจอ 60Hz) Apple Pencil บน iPad Pro 2017 สามารถลากเส้นได้ต่อเนื่องและลื่นไหล เป็นธรรมชาติกว่าด้วย (พิสูจน์ด้วยตาคุณเองที่คลิปวิดีโอด้านบนสุดช่วงเวลา 1 นาที 29 วินาที)

สรุปภาพรวม iPad Pro 2017 ต้องเรียกได้ว่าเป็นแท็บเล็ตระดับบนที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในตลาดในตอนนี้ทั้งเรื่องสเปกและประสิทธิภาพการประมวลผลของซีพียูที่ใกล้เคียงกับอัลตร้าบุ๊ก ไปถึงเรื่องลำโพง 4 ตัวที่ให้เสียงดีสุดในตลาดตอนนี้ คนที่กำลังมองหาแท็บเล็ตเน้นทำงานแบบหนักหน่วง หรือคนชอบเน้นเล่นเกม วาดภาพ ใช้ทำงานศิลปะหรือชอบดูหนัง ฟังเพลง iPad Pro ถือเป็นอีกหนึ่งแท็บเล็ตที่น่าสนใจเช่นกัน

ในส่วนราคาและรุ่นมีดังต่อไปนี้

iPad Pro 10.5 นิ้ว WiFi 64GB เริ่มต้นที่ 24,500 บาท ถึง 34,700 บาทในรุ่น WiFi 512GB
iPad Pro 12.9 นิ้ว WiFi 64GB เริ่มต้นที่ 30,900 บาท ถึง 41,100 บาทในรุ่น WiFi 512GB

iPad Pro 10.5 นิ้ว WiFi+Cellular 64GB เริ่มต้นที่ 29,500 บาท ถึง 39,700 บาทในรุ่น WiFi+Cellular 512GB
iPad Pro 12.9 นิ้ว WiFi+Cellular 64GB เริ่มต้นที่ 35,900 บาท ถึง 46,100 บาทในรุ่น WiFi+Cellular 512GB

มี 4 สีให้เลือก ได้แก่ สีเงิน, เทาสเปซเกรย์, ทองและโรสโกลด์ ส่วนอุปกรณ์เสริมอย่าง Apple Pencil (ซื้อแยก ไม่มีแถม) อยู่ที่ 3,900 บาท ส่วน Smart Keyboard อยู่ที่ 5,900 บาท

ข้อดี

– รุ่น 10.5 นิ้วออกแบบดี เป็นรุ่นเน้นการพกพามากที่สุด ขนาดและน้ำหนักไม่ต่างจาก 9.7 นิ้วเดิมมากนัก
– หน้าจอ 120Hz ลื่นไหลตั้งแต่เปิดเครื่อง สไลด์นิ้วปลดล็อกจอ
– สเปกเครื่องดีมาก ใช้งานได้หลากหลาย
– ลำโพง 4 ตัวให้เสียงดีสุดในตลาดแท็บเล็ตตอนนี้
– กล้องปรับปรุงใหม่สเปกเดียวกับ iPhone 7 (มาพร้อมระบบป้องกันภาพสั่นไหวด้วย)

ข้อสังเกต

– แอปฯบางตัว เช่น เกม ส่วนใหญ่ยังไม่รองรับจอ 120Hz
– ไม่แถมอะแดปเตอร์ชาร์จไฟแบบเร็วมาให้ ต้องซื้อเพิ่ม

Gallery

]]>
Review : Samsung Galaxy Tab S3 พรีเมียมแท็บเล็ตพร้อมปากกา S Pen และลำโพง 4 ตัว https://cyberbiz.mgronline.com/review-tabs3/ Wed, 12 Jul 2017 01:30:48 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=26545

Samsung Galaxy Tab S ถือเป็นกลุ่มแท็บเล็ตพรีเมียมจากซัมซุงที่ได้รับความนิยมสูงมาตั้งแต่รุ่นแรกที่ออกวางจำหน่ายเมื่อปี 2014 จนปัจจุบัน Tab S เดินทางมาถึงรุ่นที่ 3 (Tab S3) กับจุดขายใหม่ “พรีเมียมแท็บเล็ตที่สามารถขีดเขียนได้ด้วยปากกา S Pen” ครั้งแรกของตระกูลพรีเมียม Tab S ที่ในครั้งนี้ ซัมซุงตั้งใจปรับปรุงปากกามาให้โดดเด่นเป็นพิเศษอีกด้วย

การออกแบบ

สำหรับ Samsung Galaxy Tab S3 จะมาพร้อมหน้าจอ Super AMOLED ขนาด 9.7 นิ้ว อัตราส่วนหน้าจอเป็น 4:3 แบบเดียวกับ Tab S2 มาพร้อมความละเอียหน้าจอ 2,048×1,536 พิกเซล รองรับการเล่นวิดีโอ HDR และรองรับปากกา S Pen

ในส่วนขนาดตัวเครื่องจะมีความหนาอยู่ที่ 6 มิลลิเมตร หนัก 434 กรัม

ด้านหน้า เหนือหน้าจอขึ้นำไป ข้างโลโก้ Samsung จะเป็นที่อยู่ของกล้องหน้า ความละเอียด 5 ล้านพิกเซล รูรับแสงกว้าง f2.2

ใต้จอภาพ ตรงกลางจะเป็นปุ่มโฮมพร้อมเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือ (Fingerprint) แบบดั้งเดิมของซัมซุง ด้านซ้ายเป็นปุ่มสัมผัสเรียก Recent Apps ขวา ปุ่มย้อนกลับ

ด้านหลังตัวเครื่อง วัสดุจะเป็นกระจก โดยด้านบนจะเป็นที่อยู่ของกล้องหลังความละเอียด 13 ล้านพิกเซล รูรับแสงกว้าง f1.9 พร้อมไฟแฟลชแบบ LED

มาดูด้านข้างเครื่องกันบ้าง เริ่มจากด้านบนจะเป็นที่อยู่ของลำโพงสเตอริโอ 2 ตัวพร้อมเสารับสัญญาณโทรศัพท์

ด้านล่าง ซ้าย-ขวาจะเป็นที่อยู่ของลำโพงอีก 2 ตัว พร้อมเสารับสัญญาณโทรศัพท์เช่นเดียวกับด้านบน ส่วนตรงกลางจะเป็นที่อยู่ของช่อง USB-C รองรับมาตรฐานเชื่อมต่อสูงสุด USB 3.1 พร้อมช่องต่อหูฟัง 3.5 มิลลิเมตร

ด้านขวา จะเป็นปุ่มเพิ่มลดระดับเสียง โดยตรงกลางจะเป็นช่องใส่ถาดใส่ซิมการ์ดโทรศัพท์แบบ Nano Sim (รองรับ ซิมเดียว) และช่องใส่ MicroSD Card รองรับความจุสูงสุด 256GB

ด้านซ้าย จะเป็นส่วนเชื่อมต่อ POGO กับอุปกรณ์เสริม เช่น คีย์บอร์ด

มาถึงส่วนของปากกา S Pen ที่ในครั้งนี้ซัมซุงปรับปรุงใหม่ให้เหมาะกับ Tab S3 มากยิ่งขึ้น (ใช้สเปกเดียวกับ S Pen ใน Galaxy Note 7) ตั้งแต่ขนาดตัวปากกาที่ออกแบบให้เหมือนของจริง จับถนัดมือกว่า Galaxy Note พร้อมหัวปากกาแบบ 0.7 มิลลิเมตร รองรับทั้งเขียนหนังสือและวาดรูป ไปถึงสเปกที่ในครั้งนี้ซัมซุงเพิ่มการรองรับแรงกดมากถึง 4,096 ระดับ มากกว่า Galaxy Tab A และ Note 5 เป็นเท่าตัว

และที่สำคัญปากกาไม่ต้องชาร์จแบตเตอรี ไม่ต้องใส่ถ่าน

สุดท้าย Galaxy Tab S3 จะรองรับระบบชาร์จไฟแบบเร็ว เช่นเดียวกับ Galaxy S8 และในแพกเกจจะมาพร้อมอะแดปเตอร์ Adaptive Fast Charging ด้วย

สเปก

หน่วยประมวลผลขับเคลื่อน Galaxy Tab S3 ซัมซุงเลือกใช้ซีพียู Qualcomm Snapdragon 820 Quad-core ความเร็ว 2.15GHz แรม 4GB (ประสิทธิภาพแรงกว่ารุ่นก่อนหน้า 18% กราฟิกแรงกว่า 3 เท่า) มาพร้อมรอม 32GB เหลือพื้นที่ให้ใช้งานจริงประมาณ 23.1GB

ในส่วนการรองรับเครือข่ายโทรศัพท์ จะรองรับ 3G/4G LTE ทุกเครือข่ายในบ้านเรา สามารถโทรศัพท์ได้แต่อาจต้องทำผ่านบลูทูธ ส่วน WiFi รองรับมาตรฐาน 802.11 a/b/g/n/ac มี GPS/Glonass/Beidou/Galileo ในตัว บลูทูธรองรับรุ่นใหม่ 4.2 มาพร้อมระบบปฏิบัติการ Android 7.0 ส่วนแบตเตอรีให้ความจุมา 6,000 mAh

ยูสเซอร์อินเตอร์เฟสและฟีเจอร์เด่น

เริ่มจากยูสเซอร์อินเตอร์เฟส (UI) จะเป็นซัมซุงยุคใหม่คือไม่ยัดเยียดแอปฯมาให้เกินความจำเป็น ทำให้ UI ค่อนข้างเบาและรูปแบบการใช้งานจะเหมือนกับ UI ใน Galaxy S8 ผสม Galaxy A7 2017 รวมถึงรอบรับ Multitasking เปิดใช้งาน 2 แอปฯในหนึ่งหน้าจอได้

ในส่วนหน้าจออัตราส่วน 4:3 แม้มองเผินๆจะดูไม่คุ้นตานัก แต่เรื่องของพื้นที่แสดงผล สำหรับการใช้งานเอกสาร เล่นเว็บไซต์ถือว่าให้พื้นที่กว้างขวาง ไม่อึดอัด โดยเฉพาะการเปิด 2 แอปฯในหนึ่งหน้าจอ จะมีพื้นที่ใช้งานค่อนข้างมาก แต่ถ้านำไปเล่นวิดีโออัตราส่วน 16:9 หรือ 21:9 จะเกิดขอบดำบนล่างค่อนข้างมาก มองแล้วไม่เต็มตา

มาถึงฟีเจอร์ S Pen นอกจากตัวปากกามีข้อดีในเรื่องไม่ต้องใช้ถ่านแล้ว ระบบการทำงานยังถือว่าครั้งนี้ซัมซุงได้พอร์ตฟังก์ชันจาก Galaxy Note 7 มาให้ใช้บน Tab S3 แทบทุกฟังก์ชัน เริ่มตั้งแต่ Smart Select ไปถึงสามารถสร้าง GIF Animation จากคลิปวิดีโอได้หรือจะเลือกครอปภาพด้วยปากกา เขียน Screenshot หรือฟังก์ชันเด่นอย่าง ยกปากกาเหนือข้อความก็สามารถเลือกแปลภาษา (รองรับแปล อังกฤษ-ไทย) ได้ด้วย

ลำโพง 4 ตัว – ในครั้งนี้ซัมซุงจับมือพัฒนาลำโพง Tab S3 ร่วมกับ AKG/HARMAN โดยลำโพงทั้ง 4 ตัวจะทำงานสอดประสานกันในรูปแบบสเตอริโอ แยกเสียงเบสและโทนแหลมออกจากกัน ทำให้เสียงมีความคมชัดและความดังที่เพิ่มขึ้น

ในส่วนกล้องถ่ายภาพ รองรับความละเอียด 13 ล้านพิกเซล วิดีโอรองรับความละเอียดสูงสุด 4K โดยในส่วนคุณภาพภาพนิ่งจะอยู่กลางๆประมาณ Galaxy A-Series ส่วนวิดีโอถือว่าพอใช้ ระบบกันภาพสั่นไหวสามารถเปิดให้ซอฟต์แวร์ช่วยเหลือได้

ทดสอบประสิทธิภาพ

3D Mark
Sling Shot Extreme = 2,478 คะแนน
Sling Shot = 2,913 คะแนน
Ice Storm Unlimited = 24,302 คะแนน
Ice Storm Extreme = 13,995 คะแนน

PC Mark
Work 2.0 = 4,549 คะแนน

AnTuTu Benchamrk = 100,960 คะแนน

Geekbench 4
Single-Core = 1,368 คะแนน
Multi-Core = 3,930 คะแนน

PassMark PerformanceTest
System = 9,689 คะแนน
CPU Tests = 150,911 คะแนน
Memory Tests = 9,465 คะแนน
Disk Tests = 40,764 คะแนน

AndroBench (ทดสอบการอ่านเขียนของรอม)
Seq. Read = 289.65 MB/s
Seq. Write 89.48 MB/s

มาดูเรื่องการทดสอบประสิทธิภาพ ด้านผลคะแนนถือว่ากลางๆ พอใช้ แอบเสียดายที่ซัมซุงเลือกใช้สเปกฮาร์ดแวร์จากตัวท็อปของปีที่แล้ว โดยเฉพาะส่วนของซีพียู Snapdragon 820 ซึ่งการใช้งานจริงถือว่าไม่มีปัญหา สามารถใช้งานได้ปกติ

แต่สำหรับเครื่องเดโมที่ทีมงานได้รับมาทดสอบจะพบอาการเครื่องช้าบ้าง โดยเฉพาะเมื่อเปิดใช้งาน Multitasking หรือเปิดใช้งานแอปฯจำนวนมากสลับไปมา

ส่วนการใช้งาน S Pen วาดภาพและเขียนหนังสือ เรียกได้ว่าถอดแบบ Galaxy Note 7 มาเลย ประสิทธิภาพปากกาเหมือนกัน โดย S Pen ใน Tab S3 จะจับถนัดกว่า ส่วนความลื่นไหลก็อยู่ในเกณฑ์ดี ผิดจากประสิทธิภาพของตัวเครื่องโดยรวมที่อยากให้ซัมซุงนำสเปกของ Galaxy S8 มาใส่ไว้ใน Tab S3 เสียจริงๆ หรืออย่างน้อยก็พัฒนาซีพียูของพรีเมียมแท็บเล็ตขึ้นมาเฉพาะเลยจะดีกว่า

ส่วนการเล่นเกม อย่างเกม Modern Combat 5 ไม่ทราบเป็นที่ตัวเกมไม่ได้ปรับประสิทธิภาพมาให้เข้ากับ Tab S3 หรืออย่างไร เพราะเกมค่อนข้างหน่วง เล่นแล้วไม่ลื่นไหล ต้องปรับค่ากราฟิกลงมากลางๆ

มาถึงการทดสอบสุดท้าย “แบตเตอรี” สามารถทำเวลาใช้งานแบบต่อเนื่องจากชุดทดสอบ PC Mark (เปิดจอทิ้งไว้และประมวลผลตลอดการทดสอบ) อยู่ที่ 8 ชั่วโมง 6 นาที แบตเตอรีเหลือ 20% สามารถใช้งานต่อเนื่องได้อีกประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง แบตเตอรีจึงใกล้หมด

ส่วนใช้งานจริงถ้าเป็นการใช้งานปกติ เน้นงานเอกสาร ท่องเว็บไซต์ผ่าน WiFi/4G จะอยู่ที่ประมาณ 10-12 ชั่วโมง สามารถใช้งานได้ตลอดทั้งวัน ส่วนถ้านำมาเล่นเกมหรือใช้งานตกแต่งภาพที่ต้องใช้ซีพียูหนักหน่วง แบตเตอรีสามารถหมดได้เพียง 3-4 ชั่วโมงเท่านั้น

ภาพรวมถือว่า Samsung Galaxy Tab S3 ในส่วนประสิทธิภาพประมวลผลถือว่าอยู่ระดับกลางๆ ไม่โดดเด่นหวือหวาเหมือนแฟลกชิปอย่าง Galaxy S8

สรุป

สำหรับราคาขาย Galaxy Tab S3 (32GB WiFi/รองรับ 3G/4G LTE) พร้อม S Pen จะอยู่ที่ 24,500 บาท

เรียกได้ว่าเป็นราคาที่สูงมากเมื่อเทียบกับสเปกเครื่องที่ไม่สดใหม่นัก แต่ Tab S3 มีดีที่ปากกา S Pen ที่ถูกปรับปรุงใหม่ใช้งานได้ดี โดยเฉพาะคนชอบจดโน้ต S Pen รุ่นนี้ทำงานได้ค่อนข้างแม่นยำ ฟีเจอร์ปากกาดี คนที่สนใจหาซื้อมาทำงานเอกสาร พิมพ์งานน่าจะถูกใจ แต่สำหรับคนที่ต้องการซื้อมาเพื่อเล่นเกม เน้นเอนเตอร์เทนเมนต์เป็นหลัก อยากให้ลองไปทดสอบที่ Samsung Shop ก่อนตัดสินใจซื้อ เพราะในส่วนที่ปรับปรุงใหม่อย่างลำโพง 4 ตัวไปถึงหน้าจอและสเปกเครื่องก็ถือว่ายังมีประสิทธิภาพแค่ระดับกลางๆ จะเป็นพรีเมียมก็ไม่สมบูรณ์ 100% ดูครึ่งๆกลางๆไม่สุดสักทาง แถมราคาก็ยังไปชนกับ iPad Pro 10.5 นิ้ว (64GB WiFi) รุ่นล่างสุดอีก

ใครกำลังมองหาแท็บเล็ตพรีเมียมราคาระดับ 2 หมื่นบาทคงต้องตัดสินใจกันให้ดีๆ (Tab S3 ซื้อแล้วจบเลย อุปกรณ์ S Pen ได้ครบ ส่วน iPad Pro คงต้องกำเงินถึง 3 หมื่นกว่าบาทถึงจะได้ฟังก์ชันแบบ Tab S3 แต่ iPad Pro ก็ได้ในเรื่องสเปกสุดแรง สดใหม่สุดในตลาดตอนนี้)

ข้อดี

– หน้าจอ Super AMOLED ตัวใหม่ให้สีสดใส รองรับ HDR
– S Pen ทำงานได้ดี ยอดเยี่ยมเหมือนตอนทดสอบกับ Galaxy Note 7
– ลำโพง 4 ตัวให้เสียงที่ดีมากขึ้นเมื่อเทียบกับ Tab S ทุกรุ่นที่ผ่านมา

ข้อสังเกต

– สเปกส่วนประมวลผลไม่สดใหม่สมเป็นพรีเมียมแท็บเล็ต
– ราคาสูง
– แบตเตอรี ใช้งานต่อเนื่องยังไม่น่าประทับใจ
– ปัจจุบันความจุมีให้เลือกเพียง 32GB (ไม่แน่ใจจะมีรุ่น 64GB ออกมาภายหลังหรือไม่)

Gallery

]]>
Review : Sony Xperia XZ Premium สมาร์ทโฟนครบเครื่อง เด่นทั้งจอ เสียง เน็ตเวิร์ก และกล้อง https://cyberbiz.mgronline.com/review-sony-xperia-xz-premium/ Mon, 10 Jul 2017 07:07:19 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=26481

น่าสนใจว่าความโดดเด่นของ Sony Xperia XZ Premium จะกลับมาเรียกศรัทธาให้แก่สาวกอารยะธรรมโซนี่ ได้หรือไม่ เพราะด้วยการที่วางตัวเป็นแฟลกชิปสมาร์ทโฟนประจำปีนี้ XZ Premium จึงรับภาระหนักในการรุกตลาดไฮเอนด์ไปโดยปริยาย

ที่ผ่านมา โซนี่ ค่อนข้างจะโฟกัสในตลาดสมาร์ทโฟนระดับพรีเมียมเป็นหลัก และถือว่าทำได้ค่อนข้างดี แต่พอช่วงหลังๆมีการขยายไลน์สินค้าลงไประดับหมื่นบาทเพิ่มมากขึ้น แม้จะทำให้ไลน์สินค้ากว้างขึ้น ผู้บริโภคเข้าถึงได้ง่าย แต่ก็เจอกับปัญหาว่าในเมื่อสามารถหาเครื่องที่ให้ฟังก์ชันใกล้เคียงกันได้ในราคาต่ำกว่า จะเลือกรุ่นแฟลกชิปไปทำไม

โซนี่จึงได้เวลาคิดใหม่ทำใหม่ ด้วยการนำสุดยอดเทคโนโลยีที่มีทั้งด้านภาพ เสียง และกล้อง มารวมกับความสามารถในการประมวลผลของ Qualcomm Snapdragon 835 ที่ขึ้นชื่อว่าแรงที่สุดในเวลานี้ และรองรับการใข้งาน 4.5G ในไทยได้อย่างสมบูรณ์แบบ จนออกมาเป็น Sony Xperia XZ Premium ในทุกวันนี้

การออกแบบ

เอกลักษณ์ในการใช้ Omni Design ยังกลายเป็นจุดสำคัญของ XZ Premium ที่คราวนี้หันมาใช้ ตัวเครื่องโลหะ ผสมกับกระจกหน้าหลัง เพื่อสร้างให้เครื่องดูหรูหรามากขึ้น งานประกอบทำได้แข็งแรง แน่นหนา เมื่อสัมผัสแล้วจะรู้สึกถึงความพรีเมียมของตัวเครื่องอย่างแน่นอน

ในส่วนของขนาดตัวเครื่อง จะอยู่ที่ 156 x 77 x 7.9 มิลลิเมตร น้ำหนัก 191 กรัม มีให้เลือกด้วยกัน 2 สีคือ ดำ (Deepsea Black) และเงิน (Luminous Silver) เมื่อเทียบกันในท้องตลาดแล้ว XZ Premium จะมีขนาดใกล้เคียงกับ Samsung Galaxy S8+ แต่หน้าจอของ S8+ จะใหญ่กว่าที่ 6.4 นิ้ว

ส่วนหน้าจอของ Xperia XZ Premium จะอยู่ที่ 5.5 นิ้ว แต่ก็ชดเชยได้ด้วยความละเอียดหน้าจอที่โซนี่ อัดมาให้เต็มเป็นแบบ 4K HDR ซึ่งเรียกได้ว่าละเอียดที่สุดในตลาดเวลานี้ และโซนี่ก็ยังคงช่องว่างระหว่างขอบบน และขอบล่างเครื่องอยู่เช่นเดิม แต่ก็ถือเป็นข้อดี เพราะทำให้จับใช้งานถนัดมือมากขึ้น

ด้านหน้าขอบบนจะมีช่องลำโพงสนทนา อยู่กึ่งกลาง โดยมีการสกรีนแบรนด์ Sony อยู่ข้างล่าง ขนาบไปด้วยกล้องหน้าความละเอียด 13 ล้านพิกเซล ที่เป็นเลนส์มุมกว้าง f/2 ทำงานด้วยเซ็นเซอร์ Exmor RS 1/3.06” อีกฝั่งเป็นเซ็นเซอร์ตรวจจับใบหน้า วัดแสง

ส่วนไฟแจ้งสถานะต่างๆจะขยับไปอยู่ที่บริเวณขอบซ้าย ขอบล่างก็จะมีลำโพงอีกตัว เพื่อให้เสียงที่ออกมาเป็นแบบสเตอริโอ เมื่อใช้ดูภาพยนตร์ ในแนวนอน ซึ่งถือว่าโซนี่ยังรักษาคุณภาพของเสียงที่ออกจากลำโพงได้เป็นอย่างดี

ด้านหลังเนื่องจากหันมาใช้กระจกครอบทำให้ฝาหลังที่เป็นกระจก เมื่อไม่ได้ใส่เคสใช้งานจะเต็มไปด้วยรอยนิ้วมือได้ค่อนข้างง่าย ประกอบกับฝาหลังถูกปล่อยให้โล่งๆ มีการติดซับแบรนด์ Xperia อยู่ตรงกึ่งกลาง พร้อมสัญลักษณ์ NFC ภายในมีแบตเตอรีขนาด 3,230 mAh

ส่วนมุมซ้ายบนจะเป็นที่อยู่ของทีเด็ดอย่างหกล้องหลัง ที่โซนี่เลือกใช้เทคโนโลยี Motion Eye มาใช้งานเหมือนใน Xperia XZs ที่ออกมาก่อนหน้านี้ โดยจะเป็นกล้องความละเอียด 19 ล้านพิกเซล ที่ใช้เลนส์ G มาใช้งาน ให้รูรับแสง f/2.0 ตัวเซ็นเซอร์เป็น Exmor RS 1/2.3” ความละเอียดเม็ดพิกเซล 1.22 um พร้อมกับระบบโฟกัสแบบไฮบริดจ์ และไฟ LED

ด้านบนจะมีช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม. ให้เลือกใช้อยู่ ด้านล่างเป็นพอร์ต USB-C

ด้านซ้ายจะมีฝาปิดช่องใส่ซิมการ์ด และไมโครเอสดีการ์ด โดยแยกออกเป็น 2 ถาด ถาดแรกที่ถอดออกมาจะไว้ใส่ซิม 2 หรือเลือกใส่ไมโครเอสดีการ์ด ส่วนถาดซิมแรกจะอยู่ซ้อนเข้าไปด้านในอีก ด้านขวามีปุ่มปรับระดับเสียง ปุ่มเปิดปิดเครื่อง ที่เป็นเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือ สุดท้ายคือปุ่มชัตเตอร์กล้อง ที่ใช้เปิดโหมดกล้องได้ทันที

ที่น่าสนใจคือตัวเครื่องกันน้ำกันฝุ่น มาตรฐาน IP 65/68 เพียงแต่ต้องดูการปิดถอดซิมให้แนบสนิทมากที่สุด อุปกรณ์ที่ให้มาในกล่องจะประกอบไปด้วยตัวเครื่อง คู่มือการใช้งาน สาย USB-C อะเดปเตอร์ และหูฟังแบบ In-Ear

สเปก

ในส่วนของฮาร์ดแวร์ Xperia XZ Premium มากับหน่วยประมวลผล Qualcomm Snapdragon 835 ที่เป็น Octa-Core (Quad 2.45 GHz Kryo + Quad 1.9 GHz Kryo) หน่วยประมวลผลภาพ Adreno 540 RAM 4 GB พื้นที่เก็บข้อมูลภายในตัวเครื่อง 64 GB ทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 7.1.1

ด้านการเชื่อมต่อรองรับการใช้งาน 2 ซิม 2G/3G/4G โดยเฉพาะในระบบ 4G ที่ตัวเครื่องรองรับ LTE Cat 16 หรือ 4.5G ที่เอไอเอส และทรูมูฟ เอช ให้บริการอยู่ในเวลานี้ WiFi มาตรฐาน 802.11ac บลูทูธ 5.0 มี NFC GPS มาให้ครบถ้วน แต่ไม่มีวิทยุ FM

ฟีเจอร์เด่น

ความโดดเด่นของ Xperia XZ Premium แทบทั้งหมดจะมาจากฮาร์ดแวร์ที่ใส่มาให้เป็นหลัก ส่วนอินเตอร์เฟส และฟีเจอร์การใช้งานภายใน ถือเป็นส่วนเสริมที่ได้มาจากฮาร์ดแวร์เป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการแสดงผล XZ Premium เป็นสมาร์ทโฟนรุ่นแรกที่มีหน้าจอความละเอียดระดับ 4K

ผลที่ตามมาคือผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงคอนเทนต์ 4K ได้จากในเครื่อง ไม่ว่าจะเป็นการใช้งาน Youtube เพื่อรับชมไฟล์ความละเอียดสูง 4K ภาพที่ได้ออกมาเมื่อใช้คอนเทนต์ที่รองรับจะแสดงให้เห็นความแตกต่างในการใช้งานที่ชัดเจน

โดยถ้าไล่ดูก็จะมาจากการที่โซนี่นำเทคโนโลยีอย่างจอแสดงผล TRILUMINOS ระบบประมวลผลภาพ X-Reality พร้อมปรับการแสดงผลให้เป็นแบบ sRGB 138% ทำให้ภาพที่ได้ออกมาค่อนข้างสมจริง และให้สีสันทีสวยงาม

ถัดมาในแง่ของกล้อง Motion Eye ที่เคยพูดถึงกันไปแล้วใน Review : Sony Xpreria XZs สิ่งที่เพิ่มขึ้นมาใน XZ Premium คือระบบการถ่ายวิดีโอแบบ 4K ที่โซนี่พัฒนาขึ้นในรุ่นนี้อย่างชัดเจน แต่เดิมตัวเครื่องจะเกิดปัญหาความร้อนในการถ่ายวิดีโอทำให้ถ่ายได้ไม่เกิน 15-30 นาที แต่พอมาเป็น XZ Premium ทดลองถ่ายต่อเนื่องไปราว 1 ชั่วโมง ก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด

ส่วนในแง่ของภาพนิ่ง ด้วยการที่โซนี่เลือกใช้เลนส์มุมกว้าง (มาก) ทำให้ตอนนี้เกิดปัญหาขึ้นเล็กน้อยเมื่อถ่ายภาพในระยะใกล้ๆ ทำให้เกิดอาการภาพบิดเบี้ยว (Distortion) ซึ่งถือเป็นปัญหากับเลนส์มุมกว้างในกล้องโปรมาก่อน จนช่างภาพส่วนใหญ่เข้าใจถึงธรรมชาติดังกล่าวแล้ว

(เทียบให้เห็นระหว่าง XZ Premium กับ S8+ ว่าเมื่อถ่ายภาพใกล้ๆบริเวณขอบภาพจะโค้งๆ)

แต่พอมาเกิดในสมาร์ทโฟน ผู้ที่ไม่เคยมีความรู้เรื่องการถ่ายภาพมาก่อน อาจจะมองว่าเป็นปัญหาใหญ่ แต่เชื่อว่าเมื่อโซนี่ได้รับทราบปัญหาดังกล่าวแล้ว จะมีการออกเฟิร์มแวร์แก้ไขออกมาได้ไม่ยาก แน่นอนว่าปัญหาดังกล่าวจะไม่เกิดเมื่อถ่ายภาพในระยะไกล

ส่วนถ้าถามว่าคุณภาพของภาพนิ่ง Xperia XZ Premium ทำได้ดีแค่ไหน สามารถเข้าไปดูได้จากคอนเทนต์ก่อนหน้านี้อย่าง “เทียบกันยาวๆ ภาพจาก 4 สมาร์ทโฟนเรือธง” โดยรวมแล้วสีที่ได้จากกล้องของโซนี่จะสมจริงมากที่สุด เมื่อเทียบกับแบรนด์อื่นๆ

แต่ก็จะมีในส่วนของระบบถ่ายภาพแบบมือโปร ที่โซนี่ ตั้งมาให้ปรับได้แค่ความเร็วชัตเตอร์ระหว่าง 1/4000 – 1 วินาที ระบบโฟกัส ไวท์บาลานซ์ และปรับค่าชดเชยแสง (EV) เท่านั้น ถ้าต้องการตั้ง ISO ก็สามารถตั้งได้ตั้งแต่ 50-3200 แต่ไม่สามารถตั้งคู่กับชัตเตอร์สปีดได้

ส่วนการปรับตั้งค่าอื่นๆ ของกล้องถือว่ามีอิสระมาก ผู้ใช้สามารถเข้าไปปรับองศาเคลวินเพื่อคุมโทนสีของภาพได้ พร้อมกับเข้าไปเลือกคุณภาพของการบันทึกวิดีโอสโลว์โมชันว่าจะถ่ายแบบสโลว์ปกติ แล้วกดซ้ำเพื่ออัดซูเปอร์สโลว์โมชัน หรือจะเลือกถ่ายเป็นช็อตซูเปอร์สโลว์โมชันเลยก็ได้

ขณะที่การบันทึกวิดีโอ 4K ที่ให้สามารถ จะต้องเข้าไปเลือกที่โหมดถ่ายภาพ 4K แทน ไม่ได้อยู่กับโหมดถ่ายวิดีโอปกติ โดยผู้ใช้สามารถเลือกการเข้ารหัสไฟล์มาตรฐานให้เป็น .h264 หรือ .h265 ก็ได้ พร้อมความสามารถในการปรับสมดุลแสงให้เหมาะสม เลือกไวท์บาลานซ์ได้ปกติ

อีกจุดที่น่าสนใจคือเรื่องของการเชื่อมต่อบนเครือข่าย 4.5G ที่จะเห็นว่าตอนนี้ทั้งเอไอเอส และ ทรูมูฟ เอช เริ่มมีการโฆษณา เรื่องการรวมคลื่น และปรับปรุงอุปกรณ์ส่งสัญญาณให้ทันสมัยมากขึ้น Xperia XZ Premium ที่มากับโมเด็ม X16 LTE ของ Qualcomm จึงกลายเป็นรุ่นแรกที่รองรับสมบูรณ์แบบ (ไม่นับ U11 เพราะรุ่นที่ขายในไทย เป็นตัว RAM 6 GB ไม่ได้ใช้ชิปเซ็ต X16)

กล่าวคือถ้าเข้าไปอยู่ในพื้นที่ ที่มีการปล่อยสัญญาณ 4.5G 3CA (รวม 3 คลื่น 900 1800 2100 MHz มาให้ใช้งาน) พร้อมกับ 4×4 MIMO 256 qam (เทคโนโลยีที่ทำให้ตัวเครื่องสามารถรับสัญญาณพร้อมๆ 5 เท่ามาช่วยเพิ่มความแรงของคลื่น) โดยความเร็วที่ทำได้จะเกิน 200 Mbps ขึ้นไป

ในส่วนของระบบเสียง ที่ผ่านมาชื่อชั้นของโซนี่ ถือว่าเป็นผู้นำในการก้าวเข้าสู่เสียงระดับ Hi-Res อยู่แล้ว ดังนั้นการที่นำการสังเคราะห์เสียงดิจิตอลคุณภาพสูง (DSEE HX) มาใช้ ร่วมกับ Clear Audio+ และ Clear Bass ทำให้เสียงที่ได้ออกมาอยู่ในระดับสูง

อีกจุดที่พัฒนากันต่อของเสียงคือ การเชื่อมต่อแบบไร้สายผ่านบลูทูธที่ปัจจุบันก้าวเข้าสู่ยุคของ Bluetooth 5.0 แล้ว คุณภาพของการส่งผ่านสัญญาณไร้สาย ไปยังหูฟัง หรือเครื่องเล่นเพลงสามารถให้คุณภาพไม่แตกต่างจากการใช้สายเชื่อมต่อ ดังนั้นถ้ามีหูฟังบลูทูธ Hi-Res อยู่แล้วเอามาเชื่อมต่อฟังเพลงก็ได้รายละเอียดที่ครบถ้วน

ส่วนที่เหลือไม่ว่าจะเป็นแอปที่บันเดิลมาให้ในเครื่อง ระบบการตั้งค่าต่างๆ ยังคงยึดเอกลักษณ์ของโซนี่ จึงไม่ได้มีความแตกต่างจากเครื่องรุ่นก่อนๆมากนัก ดังนั้นผู้ที่เคยใช้งานสมาร์ทโฟนโซนี่มาก่อน พอมาใช้งานบนอินเตอร์เฟสของแอนดรอยด์ 7.1.1 ก็อาจจะมีการปรับตัวเพียงนิดเดียว แต่ที่เหลือเรียนรู้ได้ไม่ยาก

ทดสอบประสิทธิภาพ

Antutu Benchmark = 144,953 คะแนน
Quadrant Standard = 38,632
Multi-touch Test = 10 จุด

Geekbench 4
Single-Core = 1,784 คะแนน
Multi-Core = 5,529 คะแนน
Compute = 7,927 คะแนน

PassMark PerformanceTest
System = 12,568 คะแนน
CPU Tests = 232,048 คะแนน
Memory Tests = 13,975 คะแนน
Disk Tests = 67,829 คะแนน
2D Graphics Tests = 7,745 คะแนน
3D Graphics Tests = 3,294 คะแนน

PC Mark
Work 2.0 = 6,507 คะแนน
Computer Vision = 3,448 คะแนน
Storage = 4,181 คะแนน
Work = 7,883 คะแนน

3D Mark
Sling Shot Extreme Unlimited = 4,021 คะแนน
Sling Shot Unlimited = 4,987 คะแนน
Sling Shot Extreme = 3,108 คะแนน
Sling Shot = 3,685 คะแนน
Ice Storm Extreme = 13,509 คะแนน
Ice Storm Unlimited = 39,128 คะแนน
Ice Storm = 14,522 คะแนน

ส่วนการทดสอบแบตเตอรี่ แม้ว่า XZ Premium จะให้แบตมาที่ 3,230 mAh และมากับหน้าจอความละเอียดระดับ 4K แต่ถือว่าระบบบริหารจัดการแบตเตอรีทำได้ดี ทดสอบจาก PC Mark ใช้งานได้ต่อเนื่อง 7 ชั่วโมง 52 นาที ถือว่าอยู่ในระดับบนๆ ส่วนถ้าใช้งานปกติ ทั่วๆไป สามารถใช้ได้เกินวันสบายๆ

สรุป

ต้องยอมรับว่าการรอคอยของสาวกโซนี่ ที่ตั้งตารอสมาร์ทโฟนในตระกูล Xperia ที่ครบเครื่อง ถือว่าบรรลุเป้าหมายแล้ว กับความสามารถของ Xperia XZ Premium ที่ออกมาตอกย้ำการเป็นสมาร์ทโฟนที่ครบเครื่องในหลายๆด้าน

ที่สำคัญคือด้วยราคาเปิดตัวที่ 25,990 บาท เมื่อสมัครใช้แพกเกจพร้อมชำระค่าบริการล่วงหน้ากับโอเปอเรเตอร์ผู้บริโภคจะสามารถหาเครื่องมาใช้ได้ในราคา 19,990 บาท จึงนับได้ว่า Xperia XZ Premium ถือเป็นสมาร์ทโฟนที่คุ้มค่า กับประสิทธิภาพของตัวเครื่องที่ได้รับ

เพียงแต่ว่า ถ้าเป็นคนที่ชื่นชอบดีไซน์ของสมาร์ทโฟนที่ให้ความโฉบเฉี่ยวแหวกแนว และโหมดถ่ายโปรที่มีข้อจำกัดในการตั้งค่า Xperia XZ Premium อาจจะไม่ใช่ แต่ถ้ารับได้กับรูปทรง และขอบบนขอบล่างหน้าจอที่กินพื้นที่ไปสักหน่อย ก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในตลาดเวลานี้

ข้อดี

หน้าจอ 5.5 นิ้ว ความละเอียด 4K HDR
กล้อง Motion Eye ที่มากับการถ่ายภาพสโลว์โมชัน 960 fps
รองรับ 4.5G / บลูทูธ 5.0 / Wi-Fi 802.11ac
ระบบเสียง Hi-Res
ระบบบริหารจัดการแบตเตอรีที่ทำได้ดี ใช้งานเกิน 1 วันสบายๆ

ข้อสังเกต

ตัวเครื่องเป็นรอยนิ้วมือง่าย จากกระจกที่ใช้ทั้งหน้าหลัง
พื้นที่ขอบบนล่าง ที่ถูกเว้นว่างไว้
โหมดถ่ายภาพแบบ Pro ที่ตั้งสปีดชัตเตอร์ได้ต่ำสุด 1 วินาที และไม่สามารถปรับ ISO ได้

Gallery

]]>