Sony – CBIZ Reviews – MGR Online https://cyberbiz.mgronline.com เว็บไซต์รีวิวอุปกรณ์ ไอที ไฮเทค เป็นส่วนหนึ่งของผู้จัดการออนไลน์ Tue, 17 Jan 2017 09:43:43 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.0 Review : Sony RX100 V เด่นที่โฟกัสไว ถ่ายภาพเร็วที่สุดในโลก https://cyberbiz.mgronline.com/review-sony-rx100v/ Tue, 17 Jan 2017 09:16:07 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=25111

IMG_0673

ตระกูล RX100 จากโซนี่ถือเป็นการเปลี่ยนโลกกล้องพรีเมียมคอมแพกต์มาตั้งแต่รุ่นแรกจนมาถึงรุ่นปัจจุบัน (Mark IV) โดยจุดเด่นของกล้องตระกูลนี้คือเป็นกล้องคอมแพกต์ขนาดเล็ก (Cyber-shot) แต่ทรงประสิทธิภาพทั้งเรื่องเซ็นเซอร์รับภาพขนาดใหญ่และฟังก์ชันใช้งานครบครันตั้งแต่งานภาพนิ่งไปถึงวิดีโอ 4K ด้วยไฟล์คุณภาพสูงไม่ต่างจากกล้องโปร

มาถึงวันนี้โซนี่ก็พร้อมจะเปิดตัว RX100 Mark V (5) ต่อเนื่องจากรุ่น Mark IV ด้วยการปรับปรุงระบบออโต้โฟกัสและกลไกภายในจนได้ชื่อว่าเป็นกล้องคอมแพกต์ที่ถ่ายภาพได้เร็วสุดในโลก เอาใจทั้งขาสแนปและผู้กำลังมองหากล้องเล็กเพื่อใช้งานระดับโปร

การออกแบบและสเปก

IMG_0644

IMG_0652

Sony RX100 V เป็นกล้องคอมแพกต์ขนาดจิ๋ว โดยตัวกล้องมีขนาดแค่ฝ่ามือ น้ำหนักประมาณ 299 กรัม (ขนาดอ้วนกว่า RX100 IV เล็กน้อย แต่ก็ยังสามารถใส่กระเป๋ากางเกงได้เช่นเดิม) วัสดุภายนอกเป็นอะลูมิเนียมทั้งหมด แต่สเปกภายในเรียกได้ว่าจัดเต็มมากตั้งแต่เซ็นเซอร์รับภาพ Exmor RS CMOS ขนาด 1 นิ้ว หน่วยประมวลผลภาพ BIONZ X มี DRAM แปะด้านหลังเซ็นเซอร์เพื่อช่วยให้การส่งข้อมูลทำได้รวดเร็วขึ้น (โซนี่ขยาย DRAM ให้ใหญ่กว่า RX100 IV) ไปถึงความละเอียดภาพ 20.1 ล้านพิกเซล

ในส่วนความไวแสงรองรับ ISO 125-12,800 มี Multi-Frame NR ให้เลือกใช้ พร้อมระบบปรับ Dynamic Range อัตโนมัติ

IMG_0651

ด้านเลนส์ใช้ ZEISS Vario-Sonnar T* ชิ้นเลนส์ 10 ชิ้น เป็นซูมเลนส์ 2.9 เท่า ระยะเทียบกล้องฟูลเฟรมคือ 24-70 มิลลิเมตร พร้อมรูรับแสงกว้างสุด f1.8 ที่ระยะกว้างสุด ส่วนเมื่อซูมรูรับแสงกว้างสุดจะอยู่ที่ f2.8 (รูรับแสงแคบสุด f11) มาพร้อมฟิลเตอร์ลดแสง 3 สตอป และรองรับระบบ Clear Image Zoom 5.8 เท่า

IMG_0653

IMG_0659

IMG_0660

IMG_0662

ด้านหลังกล้องมาพร้อมหน้าจอไลฟ์วิวขนาด 3 นิ้วความละเอียด 1,228,800 จุด หน้าจอสามารถพับขึ้นได้ 180 องศา รองรับการเซลฟี ส่วนพับลงได้มากสุด 45 องศา

ด้านปุ่มคำสั่งต่างๆไม่แตกต่างจาก RX100 IV โดยบางปุ่มคำสั่งจะใช้สั่งงานได้สองคำสั่งพร้อมกัน ผู้ใช้งานครั้งแรกอาจเกิดความสับสนได้ต้องทำความเข้าใจก่อนใช้งาน

IMG_0674

นอกจากหน้าจอไลฟ์วิวแล้ว โซนี่ยังให้ช่องมองภาพอิเล็กทรอนิกส์แบบ OLED มาด้วย (EVF) โดยช่องมองภาพมีความละเอียด 2,359,296 จุด มาพร้อมสวิตซ์ปรับไดออปเตอร์ตั้งแต่ -4.0 ถึง +3.0m-1

IMG_0657

ด้านบนกล้องเหมือน RX100 IV ทุกสัดส่วนตั้งแต่ตำแหน่งไฟแฟลช ไมโครโฟนรับเสียงสเตอริโอ ไม่มี Hot Shoe ไปถึงปุ่มเปิดปิดและโหมดถ่ายภาพที่ไม่ต่างจากรุ่นก่อนหน้า

สามารถติดตามอ่านรีวิว Sony RX100 IV ได้โดย >กดที่นี่<

IMG_0670

ในส่วนวงแหวนบริเวณเลนส์กล้องสามารถหมุนแทนคำสั่งปรับรูรับแสง ชัตเตอร์สปีดหรือใช้แทนสวิตซ์ซูมภาพได้เมื่ออยู่ในโหมดถ่ายภาพแต่ละแบบ

IMG_0671

IMG_0672

ด้านไฟแฟลชหัวกล้องยังคงเอกลักษณ์เดิมคือเป็นก้านยกขึ้น ทำให้สามารถยิงแฟลชแนวตรงหรือใช้นิ้วดันให้ยิงสะท้อนกับเพดานได้

IMG_0680

มาดูสันเครื่องเริ่มจากขวาจะเป็นช่อง Multi (MicroUSB) สำหรับเชื่อมต่อสาย USB ชาร์จไฟ (รองรับการชาร์จกับพอร์ต USB 5V เช่น Power Bank) และเชื่อมต่อข้อมูลกับคอมพิวเตอร์ ถัดลงมาเป็น HDMI และสัญลักษณ์แสดงการรองรับ WiFi

IMG_0676

อีกด้านจะเป็นที่อยู่ของสวิตซ์เปิดช่องมองภาพ Finder ถัดลงมาเป็นช่องใส่สายคล้องข้อมือและสัญลักษณ์บอกตำแหน่งเซ็นเซอร์ NFC เพื่อใช้แตะเชื่อมต่อกับสมาร์ทดีไวซ์

IMG_0663

ด้านล่าง ตรงกลางเป็นช่องเชื่อมต่อกับขาตั้งกล้อง ซ้ายเป็นช่องใส่แบตเตอรี NP-BX1 และการ์ดความจำ ขวาสุดเป็นช่องลำโพง

ฟังก์ชันใช้งานและฟีเจอร์เด่น

afrx100v

ระบบออโต้โฟกัสปรับปรุงใหม่ครั้งแรกของกล้องคอมแพกต์ โดยในครั้งนี้โซนี่นำระบบออโต้โฟกัสจากมิร์เรอร์เลสมาใช้ในชื่อ “Fast Hybrid AF” 315 จุด ครอบคลุม 65% ของพื้นที่รับภาพบนเซ็นเซอร์ตัวใหม่ ทำให้ RX100 V สามารถจับโฟกัสได้เร็วสุด 0.05 วินาที รองรับ AF Lock on และ Eye AF สามารถโฟกัสติดตามวัตถุที่เคลื่อนไหวรวดเร็วไปถึงสามารถโฟกัสดวงตาและติดตามแบบต่อเนื่องได้เลย

24 fps Continuous Shooting เป็นจุดขายหลักของ RX100 V และเป็นครั้งแรกของโลกที่โซนี่ให้ผู้ใช้สามารถถ่ายภาพต่อเนื่องได้เร็วสุด (Hi) 24 เฟรมต่อวินาทีที่ความละเอียด 20.1 ล้านพิกเซล พร้อมบัฟเฟอร์ขนาดใหญ่จากการขยาย DRAM ทำให้การกดชัตเตอร์ค้างไว้หนึ่งครั้ง (เมื่ออยู่ในโหมดถ่ายภาพต่อเนื่อง) สามารถถ่ายภาพได้มากถึง 150-160 ภาพ

hfr-rx100v-long

HFR

HFR (High Frame Rate) หรือโหมดวิดีโอสโลโมชัน ถูกปรับปรุงเรื่องระยะเวลาในการถ่ายเพิ่มอีก 2 เท่าจาก RX100 IV โดยโหมด HFR สามารถเลือกความเร็วถ่ายได้ตั้งแต่ 250fps 500fps และ 1,000fps (PAL)

video-rx100v

มาถึงฟังก์ชันใช้งานทั่วไป ซึ่งจะเหมือนกับ RX100 IV โดยด้านคุณภาพไฟล์จะมีให้เลือกทั้ง JPEG, JPEG+RAW และ RAW สามารถถ่าย Dual Rec หรือระหว่างถ่ายวิดีโอสามารถกดชัตเตอร์ถ่ายภาพนิ่งได้ที่ความละเอียดสูงสุด 17 ล้านพิกเซล

ส่วนวิดีโอใช้ฟอร์แมต XAVC S ความละเอียด 4K 30fps และ 1080p ความเร็วสูงสุด 60fps พร้อมระบบป้องกันภาพสั่นไหว Intelligent Active ให้ผลลัพท์ไม่ต่างจากกันสั่น 5 แกนในมิร์เรอร์เลสโซนี่แต่อย่างใด (ลองรับชมได้จากคลิปวิดีโอด้านบน)

smartphone-rx100v

apps-sonyrx100

WiFi/NFC/Application มีให้เลือกใช้เช่นเดียวกับ RX100 IV พร้อม Smart Remote หรือรีโมทชัตเตอร์บนสมาร์ทโฟน รวมถึงสามารถติดตั้งแอปพลิเคชันเพิ่มเติมได้ด้วย

setup1-rx100v

setup2-rx100v

ส่วนผู้ใช้ที่ต้องการปรับแต่งปุ่มคำสั่งต่างๆด้วยตัวเอง RX100 V เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถปรับแต่งได้ตามความถนัดแทบจะทุกปุ่มคำสั่ง รวมถึงผู้ใช้งานวิดีโอ โซนี่ได้ใส่ Marker ไว้ให้ใช้งานด้วย เช่น ต้องการถ่ายวิดีโอที่อัตราส่วน 1.85:1 ก็สามารถเลือกใช้งานได้

mem-recall-rx100v

Memory recall (MR) ถือเป็นฟังก์ชันตอบสนองผู้ใช้มืออาชีพที่ชอบปรับค่ากล้องหลากหลายแนวและต้องการตั้งเป็นโปรไฟล์ไว้เพื่อความรวดเร็วในการเลือกใช้ โดย MR ใน RX100 V จะให้เราเลือกสร้างโปรไฟล์ได้มากสุด 3 โปรไฟล์

ทดสอบประสิทธิภาพและสรุป

rx100v-isotest

เริ่มจากการทดสอบความไวแสง(ISO)ช่วงต่างๆ สำหรับ RX100 V ให้ผลลัพท์ไม่ต่างจาก RX100 IV ตัวก่อนแต่อย่างใด นอยซ์ที่ค่าความไวแสงตั้งแต่ ISO100-12,800 ทำได้ดีมากสำหรับ JPEG ซึ่งก็สอดคล้องกับจุดประสงค์หลักที่โซนี่ต้องการให้ RX100 เป็นกล้องคอมแพกต์ใช้งานง่าย ใครถ่ายก็ได้ภาพคุณภาพสูงทั้งหมด

ส่วนถ้ามืออาชีพขึ้นมาและใช้งาน RAW เป็นหลัก RX100 V จะให้คุณภาพไฟล์ที่ดีเมื่อถ่ายด้วย ISO ไม่เกิน 3,200 ไม่ต่างจาก RX100 IV เช่นกัน

hi-speed-shoot-rx100v

DSC01712

คราวนี้มาดูสิ่งที่แตกต่างจาก RX100 IV กันบ้างก็คือเรื่องระบบออโต้โฟกัสและความรวดเร็วในการถ่ายภาพต่อเนื่อง 24 เฟรมต่อวินาที ถามว่าจำเป็นไหม สำหรับคนชอบถ่ายสแนปหรือสตรีทโฟโต้ 24fps ถือเป็นส่วนช่วยให้เรามีโอกาสได้ภาพที่ไม่หยุดนิ่งสูงขึ้น ยกตัวอย่างภาพนี้ทีมงานเดินสวนกับเด็ก 2 คนที่กำลังกึ่งเดินกึ่งวิ่งแบบรวดเร็วมาก ถ้าไม่มีระบบถ่ายภาพต่อเนื่อง 24fps อาจพลาดจังหวะที่ต้องการไป

DSC01605

1/400s : f4.5 : ISO125

หรือแม้แต่ภาพนี้ซับเจคที่เห็นทั้งหมดไม่หยุดนิ่ง แต่โหมดถ่ายภาพต่อเนื่อง 24fps ใน RX100 V ก็สามารถสแนปไว้ได้และหลังจากนั้นทีมงานค่อยมาเลือกภาพที่ดีที่สุดภายหลัง

DSC01015

1/160s : f5.6 : ISO125

DSC01034

1/80s : f2.8 : ISO320

DSC01162

1/160s : f2.8 : ISO250

DSC01234

1/160s : f1.8 : ISO125

DSC01251

1/500s : f4 : ISO125

DSC01267

1/100s : f6.3 : ISO125

DSC01720

1/40s : f5 : ISO125

ในส่วนการถ่ายภาพทั่วไป คุณภาพไฟล์ภาพไม่ต่างจาก RX100 IV อย่างชัดเจนนัก รวมถึงฟังก์ชันใช้งานต่างๆก็ยังเหมือนเดิม เรียกได้ว่า RX100 V เน้นเรื่องความรวดเร็วของระบบออโต้โฟกัสและการถ่ายภาพต่อเนื่องเป็นหลัก รวมถึงงานวิดีโอที่ได้รับผลจากการเปลี่ยนไปใช้โฟกัสแบบ Fast Hybrid AF 315 จุด พร้อม Lockon AF เต็มๆเพราะทำให้ระบบออโต้โฟกัสวิดีโอทำได้แม่นยำขึ้นกว่ารุ่นก่อนมาก โดยเฉพาะการโฟกัสติดตามวัตถุทำได้แม่นยำดี

ส่วนการใช้งานอื่นๆก็เรียกได้ว่าครอบคลุมทุกความต้องการของผู้ใช้แทบทั้งหมด ฟังก์ชันใช้งานมีให้เลือกมากมายเช่น วิดีโอ 4K, โปรไฟล์สี Slog, ถ่ายสโลโมชัน HFR ได้สูงถึง 1,000 เฟรมต่อวินาทีไปถึงการถ่ายภาพคร่อมแสง คร่อม White Balance ทำภาพ HDR และอื่นๆอีกมากมาย แน่นอนว่าก่อนใช้งานต้องเรียนรู้สักเล็กน้อย เนื่องจากตัว RX100 V ถูกออกแบบเมนูมาค่อนข้างซับซ้อนไปเสียหน่อย รวมถึงแบตเตอรีที่ไม่ทนทานนัก ใช้งานในหนึ่งวันหนักๆอาจต้องพกถึง 3-4 ก้อนเลยทีเดียว (แบตเตอรี 1 ก้อนชาร์จไฟเต็มสามารถถ่ายภาพได้ประมาณ 200-220 ภาพ ภาพยนตร์ประมาณครึ่งชั่วโมง)

อีกทั้งในส่วนของราคาค่าตัว RX100 V เปิดตัวมาค่อนข้างสูง 38,990 บาท ส่วน RX100 IV ลดลงเหลือ 29,990 บาท ถ้าผู้สนใจไม่ได้ต้องการสเปกออโต้โฟกัสและการถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็งสูง RX100 IV ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจไม่แพ้ Mark V เพราะถ้ามองเรื่องคุณภาพไฟล์ภาพอย่างเดียวแล้วเรียกว่าแทบไม่แตกต่างกันชัดเจนนัก

ข้อดี

– กล้องเล็กพกพาไปได้ทุกที่ ทุกเวลา
– ระบบออโต้โฟกัสใหม่ทำงานรวดเร็ว
– ถ่ายภาพต่อเนื่องเร็วสูงสุด 24 เฟรมต่อวินาที
– ฟังก์ชันใช้งานครอบคลุมทุกการใช้งานตั้งแต่ภาพนิ่งถึงวิดีโอ 4K ระดับภาพยนตร์

ข้อสังเกต

– ไม่มี Hot Shoe ไม่รองรับการต่อแฟลชภายนอก
– แบตเตอรีหมดเร็วมาก
– การจับถือไม่ถนัด อาจต้องพึ่งพาอุปกรณ์กริปเสริมภายนอก
– ไม่มีช่องเชื่อมต่อไมโครโฟนภายนอกทั้งที่สเปกวิดีโอถือว่าไฮเอนด์มาก

Gallery

]]>
Review : Sony a6300 เด่นที่ออโต้โฟกัสเร็วสุดในโลก https://cyberbiz.mgronline.com/review-sony-a6300/ Wed, 06 Apr 2016 10:59:56 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=22215

head-a6300

a6300 ถูกจัดเป็นกล้องมิร์เรอร์เลสแฟลกชิปในตระกูล APS-C ที่โซนี่ตั้งใจจับกลุ่มผู้ใช้ที่ต้องการกล้องมิร์เรอร์เลสความเร็วสูง โดย a6300 ถูกพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพจาก a6000 อยู่หลายส่วน โดยเฉพาะระบบออโต้โฟกัสใหม่ที่โซนี่ตั้งใจพัฒนาให้ทำงานได้รวดเร็วจนได้ชื่อว่า “เป็นกล้องที่ออกแบบมาเพื่อถ่ายงานกีฬา งานแคนดิต สตรีท หรือไลฟ์โฟโต้ได้อย่างยอดเยี่ยม”

**Sony a6300 รุ่นที่ทีมงานได้รับจะมาพร้อมคิทเลนส์ 16-50mm f3.5-5.6 Power Zoom พร้อมระบบป้องกันภาพสั่นไหว Optical Steady Shot

การออกแบบ

IMG_4279

ตั้งแต่โซนี่ปรับตระกูล NEX และ Alpha มารวมกันและมุ่งพัฒนามิร์เรอร์เลสให้เป็นตลาดหลักแทน DSLR ทำให้เราเห็นการมุ่งเน้นพัฒนาเทคโนโลยีบนมิร์เรอร์เลสของโซนี่ได้ชัดเจนมากขึ้น โดย a6300 เป็นกล้องมิร์เรอร์เลสเปลี่ยนเลนส์ได้ (ใช้เลนส์ E-Mount) ขนาดเท่าฝ่ามือ (Palm-size) ขนาดกล้องกว้างxสูง อยู่ที่ 120×66.9 มิลลิเมตร หนา 48.8 มิลลิเมตร น้ำหนักประมาณ 404 กรัม

นอกจากนั้นบอดี้ตัวกล้องยังถูกผลิตโดยใช้วัสดุแมกนีเซียมอัลลอยพร้อมป้องกันน้ำและฝุ่น (ในที่นี่หมายถึงป้องกันน้ำฝน ฝุ่นทรายได้เล็กๆน้อยๆ ไม่สามารถลุยน้ำหรือถ่ายใต้น้ำได้)

IMG_4280IMG_4282

ด้านข้าง – เริ่มจากซ้ายจะเป็นที่อยู่พอร์ตเชื่อมต่อ (มีฝาปิดไว้) ไล่ตั้งแต่ AV Multi, Micro HDMI และมีการเพิ่มช่องเสียบไมโครโฟนภายนอกขนาด 3.5 มิลลิเมตรสำหรับงานวิดีโอมาให้ด้วย

ส่วนด้านขวามือจะเป็นส่วนของกริปยางจับถือพร้อมเซ็นเซอร์ NFC ส่วนด้านหน้ากริปยางจะเป็นที่อยู่ของเซ็นเซอร์อินฟาเรดสำหรับใช้งานกับอุปกรณ์เสริมไร้สาย เช่น รีโมทชัตเตอร์ เป็นต้น

IMG_4291

ด้านบน – ตรงกลางเป็นที่อยู่ของช่อง Hot Shoe สำหรับสวมใส่อุปกรณ์เสริม เช่น ไฟแฟลช ไมโครโฟนจากโซนี่ ถัดมาเป็นไฟแฟลชแบบ Pop up, วงล้อหมุนปรับโหมดถ่ายภาพ, ปุ่มชัตเตอร์พร้อมสวิตซ์เปิดปิดกล้อง, ปุ่ม Custom 1 และสุดท้ายขวาสุดคือ วงล้อปรับตั้งค่าที่สามารถตั้งการใช้งานได้อิสระ

IMG_4303display-a6300IMG_4299

ด้านหลัง – หน้าจอสี TFT 3 นิ้ว (ปรับหน้าจอขึ้นได้ 90 องศา กดหน้าจอลงได้ 45 องศา) ความละเอียดหน้าจออยู่ที่ 921,600 จุด Live View สามารถแสดงภาพเคลื่อนไหวความเร็วสูงสุด 50/100fps (NTSC 60/120fps) ซึ่งช่วยให้การติดตามวัตถุทำได้ลื่นไหลต่อเนื่องกว่าหน้าจอ Live View ทั่วไป

IMG_4350

ในส่วนช่องมองภาพอิเล็กทรอนิกส์สี XGA OLED มีความละเอียด 2,359,296 จุด พร้อมเซ็นเซอร์เปิดปิดการทำงานช่องมองภาพและสลับการทำงานระหว่าง Live View แบบอัตโนมัติ

ด้านปุ่มคำสั่งที่น่าสนใจจะอยู่ที่สวิตซ์ AF/MF, AEL เวลาผู้ใช้ต้องการเลือกล็อคโฟกัส คอนเฟริมโฟกัสในโหมด Manual Focus หรือล็อคค่าแสงที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งก็เพียงนำนิ้วโป้งดันก้านสวิตซ์เลือกคำสั่งที่ต้องการ จากนั้นก็ใช้นิ้วโป้งกดปุ่มตรงกลางค้างไว้เท่านั้น

ส่วนปุ่มคำสั่งอื่นๆ จะคล้ายกับมิร์เรอร์เลสทุกรุ่นของโซนี่ เช่นปุ่ม Fn เวลาอยู่ในโหมดกล้องถ่ายภาพกดจะเป็นการเรียกเมนูตั้งค่ากล้อง ส่วนเมื่ออยู่ในหน้าพรีวิวภาพกดค้างไว้จะเป็นการเปิด WiFi และแชร์ภาพ อีกทั้งในรุ่น a6300 ปุ่มกดต่างๆจะดูแข็งแรงกว่า a6000 ด้วย

IMG_4294IMG_4318

ด้านล่าง – นอกจากเป็นที่อยู่ของช่องใส่ขาตั้งกล้องแล้ว บริเวณกริปยังเป็นที่อยู่ของช่องใส่แบตเตอรี NP-FW50 (แบตเตอรี 1 ก้อนถ่ายได้ต่อเนื่องประมาณ 350-400 ภาพ) และช่องใส่การ์ดความจำ SD Card/Memory Stick รองรับมาตรฐาน Memory Stick PRO Duo, Memory Stick PRO-HG Duo, Memory Stick Micro (M2), SDHC UHS, SDXC UHS

IMG_4321

ในส่วนการชาร์จไฟ โซนี่ยุคใหม่ไม่มีการแถมแท่นชาร์จแบตเตอรีภายนอกมาให้ แต่จะให้เป็นอะแดปเตอร์แปลงไฟ 5V 1.5A พร้อมสาย MicroUSB เชื่อมต่อกับกล้องโดยตรง อีกทั้งด้วยระบบจัดการพลังงานแบบใหม่ ทำให้ผู้ใช้สามารถนำตัวกล้องไปชาร์จกับ Power Bank ที่จ่ายไฟ 5V ได้ หรือแม้กระทั่งระหว่างจะชาร์จไฟก็สามารถใช้งานกล้องพร้อมกันได้ด้วย

สเปกและฟีเจอร์เด่น

IMG_4317new-sensor-design-a6300

มาถึงส่วนของสเปกที่น่าสนใจของ a6300 เริ่มจากเซ็นเซอร์รับภาพใช้ขนาด APS-C (23.5 x 15.6 มม.) Exmor CMOS ความละเอียดสูงสุด 24.2 ล้านพิกเซล (6,000×4,000 พิกเซล ที่อัตราส่วนภาพ 3:2) ตัวเซ็นเซอร์ได้รับการออกแบบในส่วนตัวนำสัญญาณไฟฟ้าใหม่เป็น “โลหะทองแดง” ช่วยให้การไหลผ่านของไฟฟ้าทำได้รวดเร็วขึ้น อีกทั้งยังสามารถขยายพื้นที่โฟโต้ไดโอดให้สามารถรับแสงได้มากขึ้น

อีกทั้งโซนี่ยังได้ปรับปรุงหน่วยประมวลผลภาพ BIONZ X ให้สามารถขจัดสัญญาณรบกวนได้ดีขึ้นกว่ารุ่นก่อนหน้า ค่าความไวแสง (ISO) รองรับได้กว้างตั้งแต่ 100-51,200 รวมถึงรองรับการถ่ายภาพในรูปแบบ RAW 14-bit + 16-bit Color (แต่เป็นแบบบีบอัดไฟล์) ซึ่งให้คุณภาพสูงกว่า a6000

4dfocus

ในส่วนระบบออโต้โฟกัส “4D Focus” บนเทคโนโลยี “Fast Hybrid AF (Phase/Contrast AF)” โซนี่ปรับปรุงใหม่โดยขยายพื้นที่ตรวจจับโฟกัสแบบ Phase Detection ให้เต็มเซ็นเซอร์รับภาพเป็นจำนวนมากถึง 425 จุด ส่วน Contrast Detection เพิ่มเป็น 169 จุด เมื่อรวมแล้ว a6300 จะครอบคลุมพื้นที่โฟกัสมากกว่า a6000 ถึง 7.5 เท่า พร้อมปรับปรุงสมองกลให้สามารถคิด วิเคราะห์และคาดเดาทิศทางและเวลาของวัตถุที่กำลังโฟกัสได้แม่นยำ ต่อเนื่องและรวดเร็วกว่าเดิม โดยความเร็วออโต้โฟกัสของ a6300 โซนี่เครมไว้ที่เวลา 0.05 วินาทีเท่านั้น

นอกจากนั้นโซนี่ยังได้ปรับปรุงให้ระบบออโต้โฟกัสแบบ Phase Detection AF ให้สามารถใช้ร่วมกับอะแดปเตอร์ A-mount (LA-EA2 หรือ LA-EA4)

วิดีโอแสดงตัวอย่างการทำงานของระบบออโต้โฟกัสใหม่ในโหมดถ่ายภาพต่อเนื่อง โดยตั้งพื้นที่โฟกัสเป็น Wide และกดถ่ายโดยไม่เล็งแบบที่กำลังถ่ายเพราะต้องการให้กล้องตรวจจับเอง

focus-a6300

ด้านโหมดถ่ายภาพต่อเนื่อง โซนี่เลือกปรับปรุงใหม่หมด โดยเพิ่มโหมดถ่ายภาพต่อเนื่องแบบ Hi+ ที่ความเร็ว 11 เฟรมต่อวินาทีขึ้นมา และปรับ Hi ให้มีความเร็วเพิ่มขึ้นเป็น 8 เฟรมต่อวินาที รวมถึงปรับเพิ่มบัฟเฟอร์ (เมื่อกดชัตเตอร์ค้างไว้ในโหมดถ่ายภาพต่อเนื่อง) ให้ทำงานได้สูงขึ้น โดยที่คุณภาพไฟล์ JPEG Extra Fine อยู่ที่ประมาณ 44 ภาพ JPEG Fine L อยู่ที่ประมาณ 47 ภาพ JPEG Standard L อยู่ที่ประมาณ 55 ภาพ ส่วน RAW และ RAW+JPEG จะอยู่ที่ประมาณ 21 ภาพ

focus-mag-a6300

และสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการความแม่นยำในการจับโฟกัสวัตถุมากกว่าปกติ เช่น ต้องการโฟกัสวัตถุชิ้นเล็กมาก สามารถใช้ฟีเจอร์ Focus Magnifier เพื่อขยายภาพให้ใหญ่ขึ้น จากนั้นผู้ใช้สามารถเลื่อนกากบาทไปยังวัตถุที่ต้องการโฟกัสแบบละเอียดกว่าจุดโฟกัสทั่วไปได้

peaking-a6300

ส่วนคนใช้เลนส์มือหมุน a6300 ยังคงมี Focus Peaking ให้เลือกใช้เช่นเดียวกับมิร์เรอร์เลสรุ่นก่อนหน้าของโซนี่ (รู้สึกว่า Peaking จะทำงานได้แม่นยำขึ้นเล็กน้อย)

วิดีโอปรับปรุงใหม่

วิดีโอตัวอย่างโปรไฟล์ภาพใหม่ S-Gamut3.Cine/S-Log 3

วิดีโอ 4K จาก Sony a6300 บนฟอร์แมต Super35 แท้ๆ

มาถึงโหมดวิดีโอที่ในครั้งนี้โซนี่จัดเต็มกว่าเดิม เริ่มจากโปรไฟล์ใหม่ S-Gamut3.Cine/S-Log 3 ที่ให้ไดนามิกกว้างถึง 1,300%, ฟอร์แมต Super35 แท้ๆที่ใช้การครอปเซ็นเซอร์แทนการบีบอัดภาพ (No Pixel Binning) ไปถึงวิดีโอ 4K 25p ที่บันทึกด้วยฟอร์แมต XAVC S 100Mbps ได้ (วิดีโอ 1080p สูงสุดที่ 50Mbps ฟอร์แมตมีให้เลือกใช้ตั้งแต่ XAVC S, AVCHD และ MP4) รวมถึงรองรับวิดีโอสโลโมชัน (High Frame Rate) ที่ความเร็ว 120 เฟรมต่อวินาทีบนความละเอียด 1080p 100Mbps

IMG_4360

ส่วนคนที่ชอบ แชะ & แชร์ ใน a6300 รองรับการเชื่อมต่อ NFC/WiFi ทำให้สามารถควบคุมกล้อง (คล้ายเป็นรีโมทชัตเตอร์) หรือจะถ่ายปุ๊บแชร์เข้าสมาร์ทโฟนปั๊บ (Remote Camera – ไม่จำเป็นต้องใส่เมมกล้องก็ถ่ายได้ เพราะระบบจะบันทึกภาพลงในสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตทันที) ซึ่งทั้งหมดสามารถทำได้ผ่านแอปฯ PlayMemories Camera Apps บนสมาร์ทดีไวซ์

นอกจากนั้นจะดาวน์โหลดโหมดถ่ายภาพพิเศษเพิ่มเติมก็สามารถทำได้ผ่านสโตร์ภายในตัวกล้องหรือหน้าเว็บไซต์ https://www.playmemoriescameraapps.com/portal/

สุดท้ายสำหรับสเปกปลีกย่อยที่น่าสนใจ เริ่มจากความเร็วชัตเตอร์ที่รองรับต่ำสุดที่ 30 วินาที (รองรับชัตเตอร์ B) สูงสุดที่ 1/4,000 วินาที Flash Sync ที่ความเร็วสูงสุด 1/160 วินาที นอกจากนั้น a6300 มาพร้อมฟังก์ชันชัตเตอร์เงียบ (Silent Shooting) และรองรับ Eye AF ที่เหมาะแก่การถ่ายภาพบุคคล เพราะโฟกัสสามารถตรวจจับดวงตาของแบบได้

filesize-a6300

ขนาดไฟล์ภาพ 1 รูป ฟอร์แมต RAW อยู่ที่ประมาณ 25-26MB JPEG Extra Fine อยู่ที่ประมาณ 10-11MB

ทดสอบประสิทธิภาพ

ISO-a6300

เริ่มจากทดสอบ Noise (ไฟล์ JPEG) ที่ค่าความไวแสงแต่ละช่วงเพื่อพิสูจน์เซ็นเซอร์รับภาพและหน่วยประมวลผลภาพปรับแต่งใหม่ว่าจะทำได้ดีแค่ไหน จากภาพจะเห็นว่าช่วงค่าความไวแสงตั้งแต่ ISO100-6,400 สอบผ่านแบบไม่ต้องซูมดูแต่อย่างใด ไฟล์ที่ได้เนียนมาก ส่วนเมื่อเข้า High Zone เริ่มตั้งแต่ 12,800 ก็ยังถือว่าใช้ได้ แต่พอเข้าสู่ตัวเลข 25,600-51,200 ไฟล์ที่ได้เริ่มมีสัญญาณรบกวนสูงขึ้นตามลำดับ โดยถ้านำไปใช้ถ่ายภาพเพื่องานเว็บไซต์หรือโพสต์ภาพลงโซเชียลปกติ ช่วง ISO 12,800-32,000 ถือว่าให้คุณภาพที่ใช้ได้ ส่วน 51,200 แนะนำให้ใช้เวลาจำเป็นจริงๆจะดีที่สุด

ด้าน Noise สำหรับ RAW ไฟล์ จะเริ่มเกิดสัญญาณรบกวนมากตั้งแต่ ISO 3,200 เป็นต้นไป

caf-a6300

มาถึงการทดสอบจุดขายสำคัญอย่าง “ระบบออโต้โฟกัส 4D Focus ปรับปรุงใหม่” โดยเพิ่มจุดโฟกัสทั้ง Phase และ Contrast ให้มากขึ้นจนเต็มเซ็นเซอร์รับภาพ ผลลัพท์ที่ได้จากการทดสอบโดยเปิดใช้โหมดถ่ายภาพต่อเนื่อง Hi+ 11fps (แนะนำให้ใช้ร่วมกับ SD Card อ่านเขียนความเร็วสูงมาตรฐาน UHS-I จะดีที่สุด) โดยทีมงานได้ลองวิ่งจากระยะไกลสุดเข้ามาหาตัวกล้อง โดยไม่มีการเล็งภาพหรือจับโฟกัสก่อนกดชัตเตอร์ จะเห็นว่ากล้องสามารถเรียนรู้ได้ว่าวัตถุใดเคลื่อนไหวและควรจับโฟกัสที่ตำแหน่งใด ภาพที่ได้จึงออกมาคมชัดเกือบทุกเฟรมที่ถ่าย

โดยบัฟเฟอร์ที่ทำได้ ทดสอบจากการกดชัตเตอร์ลงไป 1 ครั้งแล้วกดค้างไว้ตลอดจนกล้องเริ่มทำงานช้าลงจนหยุดถ่ายภาพจะอยู่ที่ประมาณ 44-46 ภาพ (บนความละเอียด 24 ล้านพิกเซล JPEG Extra Fine) หลังจากนั้นก็ต้องรอกล้องบันทึกภาพทั้งหมด (ประมาณ 400-500MB) ลงบนการ์ด ซึ่งต้องใช้เวลาเป็นนาทีสำหรับการ์ดความจำ MicroSD 32GB Sandisk Class 10 UHS-I 80MB/s

DSC00761DSC00631

ยกตัวอย่าง 2 ภาพนี้ ทีมงานเลือกถ่ายโดยใช้โหมดถ่ายภาพต่อเนื่อง Hi+ พร้อมตั้งโฟกัสต่อเนื่อง Wide Continuous AF และตั้ง ISO ให้วิ่งอยู่ที่ 1,000-2,000 เพื่อหยุดการเคลื่อนไหวของเด็กน้อย จากนั้นทีมงานก็เริ่มกดชัตเตอร์ทันที ระบบโฟกัสจะเข้าใจว่าต้อง Tracking บริเวณหน้าของเด็กและผลลัพท์ของภาพที่ออกมาก็คือโฟกัสเข้าเป้าหมายตามที่ผู้ถ่ายต้องการ

failfocus-a6300

แต่ก็ใช่ว่าระบบออโต้โฟกัสใหม่นี้จะไม่มีอาการจับโฟกัสพลาดเป้าเลย เพราะจากการทดสอบร่วมกับคิทเลนส์ 16-50mm พบว่า บางครั้งถ้าแบบหรือวัสถุที่ถ่ายเคลื่อนไหวเข้าหากล้องเร็วเกินไป หรือในเฟรมภาพมีวัตถุที่เคลื่อนไหวอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ใบหน้าและแขนของแบบเคลื่อนไหวอยู่ในเฟรมพร้อมกัน ออโต้โฟกัสอาจมีสับสนเล็กน้อย และเกิดอาการโฟกัสผิดพลาดบ้าง (บางทีทั้ง 40-46 ภาพที่ถ่ายได้ อาจมีโฟกัสพลาดเป้าถึง 10-12 ภาพ แต่บางสถานการณ์อาจพลาดเป้าเพียง 2-3 รูปเท่านั้น) แต่สักพักโฟกัสก็จะเรียนรู้ทิศทางและจับโฟกัสให้ใหม่ในเสี้ยววินาที

DSC00008

ส่วนในโหมดวิดีโอ ด้วยระบบโฟกัสใหม่ทำให้การจับโฟกัสทำได้เร็วและแม่นยำมากขึ้น แต่ก็มีข้อสังเกตเล็กน้อยในเรื่องเวลาเปลี่ยนตำแหน่งโฟกัสแบบต่อเนื่องจะมีอาการกระชาก ไม่นุ่มนวลเท่าที่ควร

rolling-shutter-a6300

นอกจากนั้นการถ่ายวิดีโอ ถ้าต้องมีการแพนกล้องซ้ายขวาอย่างรวดเร็ว ผู้ใช้จะพบอาการภาพล้มเกิดขึ้นได้ ต้องใช้ซอฟต์แวร์ตัดต่อช่วยลดอาการภาพล้มภายหลัง

DSC00440

raw-details-a6300-1

มาถึงการทดสอบ RAW ปรับปรุงใหม่แบบ 14-bit ที่ในครั้งนี้ถือว่าไฟล์ให้รายละเอียดที่ดี ยกตัวอย่างจากภาพประกอบด้านบน ทีมงานเลือกถ่ายโดยวัดแสงภายในร้านของชำให้พอดีและปล่อยให้รอบข้างมืด จากนั้นเมื่อนำมาปรับแก้ผ่านโปรแกรมตกแต่งภาพจะเห็นว่าเราสามารถดึงส่วนที่มืดให้ปรากฏรายละเอียดขึ้นมาได้ชัดเจนดี สัญญาณรบกวนต่างๆถูกจัดการมาได้ดีขึ้น แต่ก็ยังถือว่ามากอยู่ถ้าใช้ ISO เกิน 3,200 ขึ้นไป ต่างจาก JPEG File ที่ให้คุณภาพที่ดีแม้จะตั้ง ISO สูงถึง 12,800

DSC00606raw-details-a6300-2

ส่วนคุณภาพไฟล์ JPEG เป็นไปตามมาตรฐานโซนี่ยุคใหม่เริ่มตั้งแต่ a6000, a7-Series ไปถึง RX100 Mark 4 โทน JPEG File จะมาแบบเดียวกัน คือเน้นไดนามิกที่กว้างขึ้น เอาใจคนชอบแต่งภาพบนสมาร์ทดีไวซ์ เพราะผู้ใช้สามารถนำ JPEG ไปตกแต่งต่อยอดทั้งจากแอปฯบนสมาร์ทโฟนและอื่นๆได้ไม่ต่างจาก RAW

ยกตัวอย่างภาพด้านบน ทีมงานถ่ายด้วย JPEG Extra Fine จากนั้นนำมาย้อมสีฟิล์ม Kodak Portra 400 ด้วยปลั๊กอิน VSCO จะเห็นว่าสกินโทนและเนื้อไฟล์ยังให้คุณภาพที่ดีอยู่

DSC00486DSC00407

ด้านการใช้ร่วมกับเลนส์มือหมุน ยกตัวอย่าง 2 ภาพนี้ใช้ a6300 ร่วมกับอะแดปเตอร์ OM>NEX เลนส์ Olympus Zuiko 50mm f1.4 ตั้งแต่ช่วงยุค ’70 เมื่อเชื่อมต่อกับกล้องระบบออโต้โฟกัสทุกฟังก์ชันจะหยุดทำงาน แต่เราสามารถเรียก Peaking Level ขึ้นมาดูได้ โดยเมื่อหมุนเลนส์ Peaking จะวิ่งไปตามขอบวัตถุที่โฟกัสเข้าเป้า แน่นอนว่าใน a6300 Peaking Level ทำงานได้ค่อนข้างน่าประทับใจกว่ามิร์เรอร์เลสโซนี่ยุคก่อนๆมาก

ตัวอย่างภาพถ่ายจาก Sony a6300 + Kit Lens 16-50mm PZ OSS

DSC00017

ISO 100 – Shutter speed 1/60s – f4

DSC00034

ISO 100 – Shutter speed 1/250s – f5.6

DSC00052

ISO 100 – Shutter speed 1/200s – f5.6

DSC00372

ISO 2,500 – Shutter speed 1/60s – f4

DSC00400

ISO 4,000 – Shutter speed 1/60s – f4.5

DSC00429

ISO 160 – Shutter speed 13s – f14

DSC00463

ISO 6,400 – Shutter speed 1/30s – f5, ถ่ายด้วย RAW แล้วนำไปตกแต่งดึงสีใหม่หมดด้วย Lightroom โดยบริเวณคนนั่งภาพต้นฉบับจะมืดมาก ทีมงานจึงดึงส่วน Shadow ขึ้นมากพอสมควร

DSC00521

ISO 800 – Shutter speed 1/80s – f5.6 – Skin Tone : Low

DSC00509DSC00511

เปิดใช้ Picture Effect : HDR Painting: Mid (Picture Effect ต่างๆยังมีให้เลือกใช้เหมือนเดิม รวมถึงโหมดถ่ายอัตโนมัติ Superior Auto, Anti Motion Blur ก็มีให้เลือกใช้เหมือนเดิม แต่เมนูจะซ่อนอยู่ลึกหน่อย)

สรุป

IMG_4354

สำหรับค่าตัว a6300 เฉพาะบอดี้ อยู่ที่ 39,990 บาท ส่วนชุดรวมคิทเลนส์พาวเวอร์ซูม 16-50 มิลลิเมตร อยู่ที่ 46,990 บาท

เทียบกับสเปกและฟังก์ชันการใช้งานที่ได้ ถ้าผู้อ่านเป็นคนชอบถ่ายภาพแคนดิต สตรีท หรือชีวิตผู้คนตามท้องถนนไปถึงภาพกีฬา จงลอง Sony a6300 แล้วคุณอาจจะถูกใจ เพราะจากการทดสอบหลายส่วนค่อนข้างลงตัว ไฟล์ดิบ JPEG ไว้ใจได้ วิดีโอและระบบโฟกัสคือพระเอกคนสำคัญ รวมถึงขนาดตัวกล้องและการจับถือ โซนี่ปรับปรุงมาได้ดีกว่าเดิมมาก

ส่วนใครที่งบประมาณไม่ถึง การเลือกเล่น a6000 (ปัจจุบันราคาอยู่ที่ประมาณ 23,000-24,000 บาท) ก็ไม่ถือว่าตกรุ่นจนตาม a6300 ไม่ทันแต่อย่างใด

ข้อดี

– กริปจับถือถนัดมือขึ้น งานประกอบแข็งแรงมาก
– ออโต้โฟกัสทำงานได้แม่นยำและรวดเร็วตามที่คุยไว้จริง
– Silent shooting เงียบจริงๆ (ไม่มีเสียงเลย)
– วิดีโอ 4K คุณภาพสูง มี S-log 3 /S-Gamut 3 ให้ใช้ พร้อมรองรับสโลโมชัน 100/120fps ที่ความละเอียด 1080p
– JPEG Extra Fine ไฟล์ดีมากทั้งเรื่องนอยซ์และไดนามิก
– Live View 50/100fps (60/120fps NTSC) สมูท ลื่นไหล ช่วยให้การจับโฟกัสติดตามวัตถุทำได้ดีขึ้น
– มีช่องไมโครโฟน 3.5 มิลลิเมตรแล้ว

ข้อสังเกต

– วิดีโอมีอาการภาพล้ม (Rolling Shutter) เมื่อแพนกล้องซ้ายหรือขวาเร็วๆ และโฟกัสค่อนข้างกระชากไปนิด (ทดสอบโดยคิทเลนส์)
– ราคาสูงแต่ไม่มีระบบกันสั่นในตัวกล้อง
– หน้าจอปรับพับแบบ 180 องศาไม่ได้

Gallery

]]>
Review: Sony RX100 Mark 4 เทพคอมแพกต์โปรกลับมาแล้ว https://cyberbiz.mgronline.com/review-sony-rx100-mark-4-%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%9e%e0%b8%84%e0%b8%ad%e0%b8%a1%e0%b9%81%e0%b8%9e%e0%b8%81%e0%b8%95%e0%b9%8c%e0%b9%82%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%81%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%a1%e0%/ Fri, 21 Aug 2015 06:22:09 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=17583

558000009805002

Sony RX-Series ถือเป็นกล้องคอมแพกต์ในกลุ่มไฮเอนด์ที่โซนี่ประสบความสำเร็จทั้งเรื่องผลตอบรับและยอดขายที่สูงมาก โดยเฉพาะ RX100 ที่ถึงแม้ราคาค่าตัวของกล้องตระกูลนี้จะถูกตั้งไว้สูงระดับเดียวกับ DSLR แต่ด้วยเทคโนโลยีที่สดใหม่ทุกครั้งที่เปิดตัว ไปถึงขนาดตัวเครื่องและฟังก์ชันที่ใช้งานง่ายบนแนวคิดกล้อง Point and Shoot ทำให้กล้องตระกูลนี้สามารถครองใจช่างภาพและผู้ใช้งานทั่วไปได้ทุกเวลา

558000009805003

โดยในวันนี้ ทีมงานได้รับ Sony RX-Series รุ่นที่ประสบความสำเร็จสูงสุดมารีวิวทดสอบกับ Sony RX100 ที่ปัจจุบันเดินทางมาถึงรุ่นที่ 4 (Mark 4) กับการปรับเปลี่ยนครั้งสำคัญในเรื่องของระบบประมวลผลภาพรุ่นใหม่ครั้งแรกของโลกที่มีหน่วยความจำพ่วงท้ายมาด้วย

แต่ก่อนจะไปรับชมรีวิว ผู้อ่านสามารถย้อนดูรีวิวกล้องตระกูล RX100 รุ่นก่อนหน้าได้ตามลิงค์ด้านล่าง

Review : Sony Cybershot RX100 กล้องคอมแพกต์จิ๋วแต่แจ๋ว
Review: Sony Cybershot RX100 Mark 2 จิ๋วแจ๋วรุ่น 2 รองรับ NFC
Review : Sony DSX-RX100 Mark 3 คอมแพกต์โปรใช้ง่าย คุณภาพดี

การออกแบบ

558000009805004

มาดูเรื่องการออกแบบกันก่อน ภาพรวมจะเห็นภาพ RX100 Mark 4 รูปร่างจะไม่แตกต่างจาก RX100 Mark 3 แต่อย่างใด โดยตัวกล้องมีขนาด กว้างxสูงxหนา อยู่ที่ 101.6×58.1×41 มิลลิเมตร น้ำหนักรวมแบตเตอรีอยู่ที่ประมาณ 298 กรัม (สามารถพกเก็บใส่กระเป๋ากางเกงได้)

558000009805005

ด้านเลนส์กล้อง โซนี่ยังคงเลือกใช้บริการ ZEISS Vario Sonnar T* แบบเลนส์ซูม 2.9 เท่า (Clear Image Zoom ที่ 5.8 เท่า) ครอบคลุมระยะตั้งแต่ 8.8-25.7 มิลลิเมตร โดยเมื่อเทียบกับระยะทางยาวโฟกัสของกล้องฟูลเฟรมจะอยู่ที่ 24-70 มิลลิเมตร ส่วนเมื่อใช้งานในโหมดวิดีโอพร้อมเปิดระบบกันภาพสั่นไหวแบบอัจฉริยะจะได้ระยะทางยาวโฟกัสที่ 33.5-95 มิลลิเมตร

ในส่วนของรูรับแสงที่ระยะทางยาวโฟกัสกว้างสุดจะอยู่ที่ f1.8 ส่วนในระยะเทเล รูรับแสงจะไหลไปที่ f2.8 ส่วนรูรับแสงแคบสุดที่สามารถตั้งได้จะอยู่ที่ f11

ด้านระยะโฟกัส กว้างสุดสามารถถ่ายได้ใกล้สุดที่ 5 เซนติเมตร เทเล 30 เซนติเมตร

558000009805006558000009805007

มาดูส่วนจอแสดงผลภาพและปุ่มควบคุมต่างๆ จอ Live View Xtra Fine/TFT LCD มีขนาด 3 นิ้ว ความละเอียด 1,228,800 จุด หน้าจอสามารถพับขึ้นได้มากสุด 180 องศา พับลงได้ต่ำสุด 45 องศา

ในส่วนปุ่มคำสั่งปรับตั้งค่ากล้องจะถูกติดตั้งอยู่ด้านขวาของหน้าจอ โดยตำแหน่งปุ่มคำสั่งยังคงเหมือนกับ RX100 Mark 3 แต่จะมีการปรับขนาดและแป้นยางรองนิ้วบริเวณปุ่มบันทึกวิดีโอใหม่ ให้ผู้ใช้สามารถกดสั่งงานได้ง่ายขึ้นจากรุ่นก่อน

558000009805008

ด้านบน จากซ้ายสุดจะเป็นช่องมองภาพ OLED ถัดมาเป็นช่องไฟแฟลช ปุ่มเปิด-ปิดกล้อง ปุ่มชัตเตอร์ล้อมรอบด้วยวงแหวนซูมภาพ และสุดท้าย ด้านขวาสุดเป็นวงล้อปรับโหมดถ่ายภาพ (มีการปรับลดโหมด Intelligent Auto ออกให้เหลือแต่ AUTO เพียงอย่างเดียว)

558000009805009558000009805010558000009805011

ด้านข้างและด้านล่างของตัวกล้อง เริ่มจากซ้ายสุดจะเป็นที่อยู่ของสวิตซ์เปิดช่อง Finder ถัดลงมาบริเวณแถบสัมผัส NFC กับสมาร์ทดีไวซ์ ส่วนอีกด้านของตัวกล้องจะเป็นที่อยู่ของช่อง Multi (MicroUSB) สำหรับใช้ชาร์จไฟหรือเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เพื่อส่งข้อมูล ถัดลงมาเป็น Micro HDMI รองรับสัญญาณภาพ 4K/30p

ส่วนด้านล่างของตัวเครื่องจะเป็นช่องใส่แบตเตอรีรหัส NP-BX1 และช่องใส่การ์ดความจำ รองรับการ์ด Memory Stick และการ์ด SD/SDHC/SDXC

สเปกและฟีเจอร์เด่น


558000009805012

Sony RX100 Mark 4 ถือเป็นกล้องดิจิตอลคอมแพกต์รุ่นแรกที่โซนี่ปรับเปลี่ยนเซนเซอร์รับภาพเป็น ExmorRS BSI Stacked CMOS (เซนเซอร์รับภาพขนาด 1 นิ้วเช่นเดิม) พร้อม DRAM Chip ที่ช่วยให้การส่งถ่ายข้อมูลจากเซนเซอร์รับภาพไปยังหน่วยประมวลผลภาพ BIONZ X ทำได้เร็วกว่าปกติถึง 5 เท่า

และด้วยชุดเซนเซอร์รับภาพใหม่นี้ทำให้ RX100 Mark 4 จะรองรับการถ่ายวิดีโอที่ความละเอียดสูงสุด 4K (3,840×2,160 พิกเซล) 25p ในรูปแบบไฟล์ XAVC S และให้คุณภาพไฟล์สูงถึง 100Mbps พร้อมยังรองรับการถ่ายวิดีโอ Super Slow motion 40 เท่า ไปถึงการถ่ายภาพนิ่งด้วยความเร็วชัตเตอร์ 1/32,000 วินาทีแบบไม่เกิด Distortion Shutter ก็สามารถทำได้ในกล้องจิ๋วตัวนี้

558000009805013

ในส่วนสเปกอื่นๆ RX100 Mark 4 รองรับการถ่ายภาพนิ่งที่ความละเอียด 20.1 ล้านพิกเซลในรูปแบบ JPEG, RAW และ RAW+JPEG รองรับ Dual Record (ระหว่างถ่ายวิดีโอสามารถถ่ายภาพนิ่งได้ที่ความละเอียด 17 พิกเซล) และพาโนรามากว้างสุดที่ความละเอียด 12,416×1,856 พิกเซล/5,536×2,160 พิกเซล

สำหรับโหมดวิดีโอปกติรองรับรูปแบบ XAVC S ที่ความละเอียดสูงสุด 1,920×1,080 พิกเซล 25/50/100p ที่ความละเอียดไฟล์สูงสุด 100Mbps อีกทั้งยังรองรับไฟล์ AVCHD และ MP4 แบบดั้งเดิมที่ความละเอียด 1,920×1,080 พิกเซลด้วย

ด้านระบบป้องกันภาพสั่นไหว (Image Stabilizer System) สำหรับภาพนิ่งจะใช้ระบบป้องกันภาพสั่นไหวจากเลนส์กล้อง ส่วนในโหมดวิดีโอจะเป็นระบบ Intelligent Active คือใช้ทั้งระบบกันสั่นจากเลนส์กล้องพร้อมกับชดเชยด้วยระบบไฟฟ้าและซอฟต์แวร์ในตัวเอง อีกทั้งระบบดังกล่าวยังช่วยลดการเกิด Rolling Shutter (เวลาแพนกล้องด้วยความเร็วแล้วเกิดภาพล้ม)

มาดูค่าความไวแสงสำหรับภาพนิ่งรองรับ ISO 125-12,800 รองรับระบบ Multi-Frame Noise Reduction ที่ค่า ISO 200-25,600 ส่วนในโหมดวิดีโอรองรับ ISO 125-12,800

ด้านชัตเตอร์กล้อง RX100 Mark 4 แบ่งชัตเตอร์ออกเป็น 2 ชุด ได้แก่

1.ชัตเตอร์แบบกลไกล สามารถถ่ายภาพที่ความเร็วชัตเตอร์ช้าสุด 30 วินาที และในโหมด Manual ที่ Bulb ส่วนความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 1/2,000 วินาที
2.ชัตเตอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์ สามารถถ่ายภาพที่ความเร็วชัตเตอร์ช้าสุด 4 วินาที ส่วนความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 1/32,000 วินาที

ในส่วนการถ่ายภาพต่อเนื่องเร็วสุดที่ 16 เฟรมต่อวินาที ส่วนอายุการใช้งานแบตเตอรี สำหรับการถ่ายภาพนิ่งอยู่ที่ประมาณ 230-280 ภาพ วิดีโอ 45 นาที

558000009805014

High Frame Rate (Super Slow motion mode) ถือเป็นฟังก์ชันเด่นครั้งแรกของโลกกล้องดิจิตอลคอมแพกต์ตัวเล็กจิ๋วที่สามารถถ่ายภาพสโลโมชันได้ โดยความเร็วเฟรมและความละเอียดไฟล์ที่ได้มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

250fps ช้าลง 5 เท่าเมื่อเล่นที่คุณภาพวิดีโอ 50p และช้าลง 10 เท่าเมื่อเล่นที่คุณภาพวิดีโอ 25p ในส่วนความละเอียดวิดีโอ โหมด Quality Priority (ถ่ายได้ 2 วินาที) จะได้ความละเอียดวิดีโอที่ 1,824×1,026 พิกเซล ส่วนโหมด Shoot Time Priority (ถ่ายได้ 4 วินาที) จะได้ความละเอียดวิดีโอที่ 1,676×566 พิกเซล

500fps ช้าลง 10 เท่าเมื่อเล่นที่คุณภาพวิดีโอ 50p และช้าลง 20 เท่าเมื่อเล่นที่คุณภาพวิดีโอ 25p ในส่วนความละเอียดวิดีโอ โหมด Quality Priority (ถ่ายได้ 2 วินาที) จะได้ความละเอียดวิดีโอที่ 1,676×566 พิกเซล ส่วนโหมด Shoot Time Priority (ถ่ายได้ 4 วินาที) จะได้ความละเอียดวิดีโอที่ 1,136×384 พิกเซล

1,000fps ช้าลง 20 เท่าเมื่อเล่นที่คุณภาพวิดีโอ 50p และช้าลง 40 เท่าเมื่อเล่นที่คุณภาพวิดีโอ 25p ในส่วนความละเอียดวิดีโอ โหมด Quality Priority (ถ่ายได้ 2 วินาที) จะได้ความละเอียดวิดีโอที่ 1,136×384 พิกเซล ส่วนโหมด Shoot Time Priority (ถ่ายได้ 4 วินาที) จะได้ความละเอียดวิดีโอที่ 800×270 พิกเซล

558000009805015

Picture Profile:S-log2/S-Gamut อีกหนึ่งฟังก์ชันเด่นที่มากับ Sony RX100 Mark 4 ก็คือความสามารถในการเลือกโปรไฟล์ภาพได้แบบเดียวกับกล้องรุ่นใหญ่ โดยโปรไฟล์ภาพที่น่าสนใจได้แก่แกรมม่าแบบ S-Log2 และโปรไฟล์สี S-Gamut ที่ช่วยขยายความกว้างของสีและไดนามิกของภาพเพื่อให้ผู้ใช้นำไปปรับแต่งต่อยอดได้ง่ายขึ้น แบบเดียวกับกล้องระดับโปรหรือกล้องถ่ายภาพยนตร์ต่างๆ

558000009805016

Built-in WiFi & Applications Sony RX100 Mark 4 นอกจากมาพร้อม NFC แล้วตัวกล้องยังมี WiFi ติดตั้งมาให้เพื่อรองรับการเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตเพื่อควบคุมกล้องและแชร์ภาพผ่านซอฟต์แวร์ PlayMemories หรือจะแชร์ภาพไปยังสมาร์ททีวีก็สามารถทำได้ผ่าน WiFi Direct

นอกจากนั้น ระบบยังรองรับการติดตั้งแอปพลิเคชันเสริมความสามารถกล้องเพิ่มเติมได้ โดยผู้ใช้สามารถเลือกซื้อเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ https://www.playmemoriescameraapps.com

558000009805017

สุดท้ายเรื่องการเลือกการ์ดความจำที่สามารถใช้ร่วมกับ Sony RX100 Mark 4 ตามสเปกโซนี่แนะนำให้ใช้ SD Card Class 10 เป็นต้นไป แต่สำหรับผู้ใช้ที่ชอบถ่ายวิดีโอ ทีมงานแนะนำให้ใช้การ์ดประเภท Class 10 UHS Speed Class 3 ความจุ 64GB จะดีที่สุด เนื่องจากคุณภาพไฟล์วิดีโอของกล้องตัวนี้ค่อนข้างสูงมาก โดยเฉพาะไฟล์วิดีโอ 4K (ความยาว 10 วินาที ขนาดไฟล์ประมาณ 140MB) และ ไฟล์วิดีโอ 100Mbps XAVC S

ทดสอบประสิทธิภาพ

งานวิดีโอ

ทดสอบโปรไฟล์ S-Log2/S-Gamut คุณภาพวิดีโอ 1080@100p

S-Log2/S-Gamut ขอประเดิมการทดสอบแรกกับโปรไฟล์ภาพตัวใหม่ ที่ทีมงานยอมรับว่าไดนามิกและโทนสีมาเต็มและกว้างมาก ISO จะถูกล็อกค่าเริ่มต้นไว้ที่ 6,400 สัญญาณรบกวนมีให้เห็นบ้างเล็กน้อย

ส่วนการปรับแต่ง สำหรับงานวิดีโอชุดนี้ทีมงานเลือกใช้ Magic Bullet Suite ในการเกลี่ยสีและ Final Cut Pro X ในการตัดต่อทั้งหมด

ผลลัพท์ที่ได้ถือว่าค่อนข้างพอใจมาก กล้องเก็บไดนามิกมาดี คุณภาพไฟล์ 100Mbps เยี่ยมมาก ส่วนการปรับแต่งทำได้ยืดหยุ่นดี จะติดอยู่ปัญหาเดียวก็คือ S-Log2 ล็อก ISO ให้เริ่มต้น 6,400 ทำให้เกิดสัญญาณรบกวนพอสมควร ยิ่งต้องถ่ายในที่แสงน้อยด้วยแล้วสัญญาณรบกวนเยอะมาก (แต่ก็แก้ไขได้ในขั้นตอน Post-Production)

High Frame Rate Mode Test Sony RX100 Mark 4 เป็นกล้องดิจิตอลจิ๋วตัวแรกของโลกที่สามารถถ่ายวิดีโอซุปเปอร์สโลโมชันได้หลากหลาย แถมไฟล์วิดีโอก็สามารถนำไปใช้งานจริงได้ โดยเฉพาะการนำไปถ่ายช็อตเด็ดกีฬาดังที่ทำได้ดีกว่ากล้อง Action Cam หลายตัวมาก

แต่ทั้งนี้โหมด High Frame Rate ก็มีข้อจำกัดในเรื่องระยะเวลาที่ถ่ายได้เพียง 2-4 วินาทีเท่านั้น แถมขั้นตอนการถ่ายทำก็ค่อนข้างยาก เพราะระยะเวลาที่ถ่ายมีเพียงไม่กี่วินาที ผู้ใช้จำเป็นต้องใช้การกะจังหวะถ่ายที่เหมาะสมถึงจะได้ภาพที่สวยงาม

4K UHD ด้วยการเข้ารหัสไฟล์แบบ XAVC S ทำให้ไฟล์ 4K ของ RX100 Mark 4 มีความคมชัดสูง และสามารถนำไปเข้าขั้นตอน Post Production ตัดต่อปรับแต่งสีได้ละเอียดมากขึ้น

แต่ทั้งนี้ข้อจำกัดของ 4K บน RX100 Mark 4 จะอยู่ที่ระยะเวลาถ่ายต่อเนื่องได้แค่ 5 นาที และอีกเรื่องคือ ด้วยขนาดไฟล์ที่ใหญ่มาก ทำให้โซนี่ล็อกสเปกการ์ดความจำที่สามารถใช้ร่วมกับโหมด 4K ได้คือ SD Card Class 10 UHS Speed Class 3 ความจุ 64GB เป็นต้นไป ถ้าใช้สเปกการ์ดต่ำกว่านี้จะไม่สามารถบันทึกวิดีโอ 4K ได้

ภาพนิ่ง

เริ่มจากการทดสอบสัญญาณรบกวนที่ค่า ISO ช่วงต่างๆ ถือว่า RX100 Mark 4 ทำผลทดสอบส่วนนี้ได้ดีมาก โดยค่า ISO 80-3,200 แทบมองไม่เห็นสัญญาณรบกวน (Noise) ที่เกิดขึ้น ภาพที่ได้คมชัด ส่วนที่ค่า ISO 6,400-12,800 เริ่มมองเห็นสัญญาณรบกวน แต่ถ้าไม่ซูม 100% เพื่อจับผิด ก็ถือว่าคุณภาพที่ได้ยอดเยี่ยมเกินขนาดตัวมากแล้ว

มาตรวจดูเรื่อง Skin Tone โซนี่ยังคงจัดการสิ่งเหล่านี้ได้ดีเหมือนรุ่นก่อนหน้า โดยเฉพาะการถ่ายภาพบุคคลด้วยโหมดอัตโนมัติ ระบบตรวจจับค่อนข้างฉลาด การปรับและประมวลผลสีผิวที่กล้องจับได้และแสดงผลออกมาผ่านภาพด้านบนนี้ทำได้นุ่มนวลและเป็นธรรมชาติมาก แม้ในสถานที่ถ่ายทำจะเป็นช่วงตอนเย็นแสงน้อยและถ่ายย้อนแสงด้วยก็ตาม

ด้านคุณภาพชิ้นเลนส์และการปรับรูรับแสงรีดระยะหน้าชัดหลังเบลอที่ f1.8-f2.8 ส่วนนี้ยังให้คุณภาพที่ดีไม่แตกต่างจาก RX100 Mark 3 หรือ Mark 2 นัก โซนี่จัดการสิ่งเหล่านี้มาได้ดีแล้ว และในรุ่นล่าสุดก็ยังคงความดีเหล่านี้ไว้เหมือนเดิม พร้อมเพิ่มความฉลาดในเรื่องการจับโฟกัสที่ทำได้เร็วและแม่นยำมากขึ้น

ลองมาทดสอบ “ชุปเปอร์ชัตเตอร์สปีด 1/32,000 วินาที” ด้วยรูรับแสงกว้างสุด f1.8-2.8 ในโหมด Shutter Priority ปรับแต่ความเร็วชัตเตอร์อย่างเดียว ค่าอื่นให้ระบบจัดการให้ ทำให้การถ่ายภาพความเร็วสูงทำได้ง่ายขึ้น สามารถใช้มือถือถ่ายได้โดยไม่ต้องพึ่งพาอุปกรณ์ใดๆให้ยุ่งยาก

อีกทั้งด้วยความเร็วชัตเตอร์ที่สามารถตั้งได้สูงประกอบกับรูรับแสงที่กว้างพร้อม ND Filter ระบบจึงเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถใช้ค่าเหล่านี้สร้างสรรค์ผลงานภาพถ่ายได้ตามใจต้องการ

ลองทดสอบตามกระแสด้วยการถ่ายภาพจาก RX100 Mark 4 จากนั้นแชร์ไปยังสมาร์ทโฟนและเข้าโปรแกรมตกแต่งภาพสุดฮิตอย่าง VSCO ถือว่าทำได้ยอดเยี่ยม แอปฯควบคุมอย่าง PlayMemories สามารถตั้งเซฟภาพจากกล้องไปยังสมาร์ทโฟนแบบเต็มความละเอียด 20.1 ล้านพิกเซลได้ทันที

Sony RX100 Mark 4 – Shutter Speed: 1/60sec – f2.8 – ISO 125

Sony RX100 Mark 4 – Shutter Speed: 1/100sec – f3.5 – ISO 125

Sony RX100 Mark 4 – Shutter Speed: 1/500sec – f2.8 – ISO 125

Sony RX100 Mark 4 – Shutter Speed: 1/30sec – f2.8 – ISO 200

Sony RX100 Mark 4 – Shutter Speed: 1/30sec – f4.0 – ISO 1,250

Sony RX100 Mark 4 – Auto Mode – Shutter Speed: 1/80sec – f2.8 – ISO 250

Sony RX100 Mark 4 – Landscape – Shutter Speed: 1/100sec – f6.3 – ISO 200

Sony RX100 Mark 4 – Shutter Speed: 1/640sec – f2.8 – ISO 200

Sony RX100 Mark 4 – Shutter Speed: 1/400sec – f8.0 – ISO 200

Sony RX100 Mark 4 – Shutter Speed: 1/80sec – f4.5 – ISO 1,000

Sony RX100 Mark 4 – Shutter Speed: 1/80sec – f3.2 – ISO 200

Sony RX100 Mark 4 – Shutter Speed: 1/80sec – f8.0 – ISO 200

Sony RX100 Mark 4 – Shutter Speed: 1/80sec – f2.8 – ISO 320

สรุป

สำหรับส่วนทดสอบประสิทธิภาพ ถือเป็นการปรับสเปกที่แรงและโดนใจผู้ใช้กลุ่มไฮเอนด์ โดยเฉพาะช่างภาพวิดีโอที่น่าจะถูกใจกับสเปกวิดีโอคุณภาพสูง และน่าจะเป็นกล้องคอมแพกต์อีกหนึ่งตัวที่สามารถใช้ควบคู่กับกล้องมืออาชีพได้อย่างลงตัว

ในส่วนการถ่ายภาพนิ่ง โดยภาพรวมแล้วไม่แตกต่างจาก RX100 Mark 3 มากนัก แต่จะมีการปรับเพิ่มในส่วนไดนามิกภาพที่กว้างขึ้นเล็กน้อย อีกทั้งสำหรับคนที่ชอบการเกลี่ยสี (Color Grading) ก็สามารถเปิดใช้โปรไฟล์ภาพ Cine หรือ S-Log 2 รวมกับโปรไฟล์สี S-Gamut หรือโปรไฟล์อื่นๆได้เหมือนกล้องใหญ่อย่าง Sony A7

จุดสังเกตหลักก็ยังคงอยู่ที่เรื่องการควบคุมกล้องเมื่อถ่ายกลางคืน ซึ่งจำเป็นต้องตั้งกล้องบนขาตั้งและใช้ชัตเตอร์ช้ามาก ผู้ใช้อาจต้องเข้าไปปิดระบบกันสั่นและเข้าไปเลือกใช้ชัตเตอร์แบบกลไกลด้วยตัวเอง ไม่เช่นนั้นภาพที่ได้จะสั่นไหว โดยขั้นตอนการปิดออปชันเหล่านี้ค่อนข้างซับซ้อนพอสมควร

สำหรับราคาเปิดตัว Sony RX100 Mark 4 อยู่ที่ 32,990 บาท ถือเป็นราคาเปิดตัวที่สูงมาก แต่ถ้าเทียบกับสเปกและประสิทธิภาพที่ได้ ถึงอย่างไรทีมงานก็ยังยืนยันคำเดิมว่า RX100 ยังคงเป็นกล้องจิ๋วที่ให้คุณภาพสูง คุ้มค่าคุ้มราคา แถมในตัว Mark 4 ยังมาพร้อมเทคโนโลยีรุ่นใหม่ล่าสุดที่สามารถนำไปใช้งานครอบคลุมตั้งแต่ระดับเริ่มต้นถึงระดับโปรได้อย่างง่ายดาย โดยเฉพาะงานวิดีโอที่ในรุ่น RX100 Mark 4 โซนี่ชูให้เป็นจุดขายเคียงคู่กับประสิทธิภาพการถ่ายภาพนิ่งที่ยังคงแจ๋วเหมือนเดิม

ถ้างบในกระเป๋าถึงและกำลังมองหาคอมแพกต์ตัวเล็กเท่าฝ่ามือที่มาพร้อมประสิทธิภาพแบบเดียวกับ DSLR ขอให้ลองทดสอบ Sony RX100 Mark 4 ก่อนครับแล้วคุณจะติดใจ ส่วนถ้าใครมองว่า RX100 Mark 4 เลนส์ซูมได้น้อยไปหรือเป็นคนชอบถ่ายภาพแนวสตรีทโฟโต้ อยากได้กล้องที่คุ้มค่าซื้อครั้งเดียวใช้ได้ทุกรูปแบบ ลุยไปได้ทุกที่ Sony RX10 Mark 2 ที่มาพร้อมเลนส์ซูม 8.3x และสเปกที่เหมือนกับ RX100 Mark 4 ก็เป็นอีกตัวที่น่าสนใจในราคาเพิ่มขึ้นอีก 1 หมื่นบาท

อีกทั้งระหว่างถ่ายภาพถ้าต้องการใช้ชัตเตอร์ Bulb ในโหมด Manual และคิดว่าการเชื่อมต่อกับแอปฯ PlayMemories บนสมาร์ทโฟนจะช่วยเป็นปุ่มชัตเตอร์ในโหมดนี้ได้ ทีมงานต้องเรียนตามตรงว่าคุณคิดผิดแล้ว โหมด Bulb จำเป็นต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์เสริมเฉพาะที่โซนี่วางขายแยกต่างหากเท่านั้น แอปฯ PlayMemories ไม่สามารถสั่งงาน Bulb ได้

ข้อดี

– สเปกเทพ เลนส์ดี ใช้งานได้ตั้งแต่มือสมัครเล่นถึงมืออาชีพ
– กล้องมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา พกพาสะดวก
– การประมวลผลรวดเร็ว DRAM ใช้งานได้จริงตามที่โซนี่คุยไว้
– การจัดการสัญญาณรบกวนของ BIONZ X ทำได้ดีทุกค่าความไวแสง
– มี NFC WiFi
– รองรับการติดตั้งแอปพลิเคชันลูกเล่นกล้องเพิ่มเติมได้

ข้อสังเกต

– แบตเตอรีก้อนเล็ก หมดเร็ว โดยเฉพาะเมื่อถ่ายวิดีโอบ่อยครั้ง
– บางฟีเจอร์ต้องเรียนรู้และฝึกฝนก่อนใช้งานจริง เช่น High Frame Rate Mode
– แกรมม่า S-Log 2 ให้สัญญาณรบกวนมากเกินไป แต่ก็ปรับแก้ได้ด้วยซอฟต์แวร์ตัดต่อ

Gallery

]]>