Cameras 2016 – CBIZ Reviews – MGR Online https://cyberbiz.mgronline.com เว็บไซต์รีวิวอุปกรณ์ ไอที ไฮเทค เป็นส่วนหนึ่งของผู้จัดการออนไลน์ Fri, 06 Jan 2017 07:27:43 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.0 Review : Nikon D5600 กล้อง DSLR ระดับกลาง ฟังก์ชันครบครัน https://cyberbiz.mgronline.com/review-nikon-d5600/ Fri, 06 Jan 2017 06:23:33 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=24962

IMG_0517

D5000 Series ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม DSLR ราคาประหยัด (Entry Level) ระดับกลาง เน้นความคุ้มค่าคุ้มราคา ฟังก์ชันมีให้เลือกใช้หลากหลายจนเป็นกล้อง DSLR ที่ได้รับการตอบรับจากมือสมัครเล่นที่ดีอีกหนึ่งรุ่น จนปัจจุบันซีรีย์นี้เดินทางมาถึงรุ่น “D5600” กับความสามารถที่เพิ่มมากขึ้นตามแบบฉบับนิคอนยุคใหม่

การออกแบบและสเปก

IMG_0486

IMG_0504

เริ่มจากดีไซน์ ไม่แตกต่างอย่างชัดเจนกับ D5500 บอดี้เป็นพลาสติก (Monocoque Body) แป้นเมาท์เลนส์เป็นอลูมิเนียม Nikon F mount น้ำหนักถูกปรับขึ้นเป็น 465 กรัม จับถือมือเดียวได้สะดวกสบาย โดยเฉพาะส่วนกริปยางที่ออกแบบมาให้จับได้กระชับมือยิ่งขึ้น

ด้านเซ็นเซอร์รับภาพเป็น DX Format (CMOS sensor) ความละเอียด 24 ล้านพิกเซล (6,000×4,000 พิกเซล) แบบไม่ติดตั้ง Low-pass Filter ประกบชิปประมวลผลภาพ EXPEED 4 และระบบออโต้โฟกัสตัวเดียวกับ D5500 คือ Nikon Multi-CAM 4800DX 39 จุดโฟกัส และ 9 จุดแบบ cross-type รองรับเลนส์ออโต้โฟกัส AF-S AF-P และ AF-I

ระบบออโต้โฟกัสรองรับ Single-servo AF, continuous-servo AF, AF-A พร้อมโฟกัสติดตามวัตถุและโฟกัสตรวจจับใบหน้า

ส่วนค่าความไวแสง ISO เริ่มต้น 100 สูงสุด 25,600 รองรับการถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูงสุด 5 เฟรมต่อวินาที ชัตเตอร์เร็วสูงสุด 1/4,000 วินาที ช้าสุด 30 วินาที มีชัตเตอร์ B และ T รวมถึงชัตเตอร์เงียบก็มีให้เลือกใช้

IMG_0487

IMG_0489

IMG_0492

มาดูด้านหลังตัวกล้อง เริ่มจากจอภาพไลฟ์วิวขนาด 3.2 นิ้ว ความละเอียด 720×480 พิกเซล ซึ่งเป็นจุดขายสำคัญของซีรีย์นี้ เนื่องจากตัวจอเป็น Vari-angle monitor สามารถพลิกเปลี่ยนมุมมองได้ 170 องศา ครอบคลุมเฟรมภาพ 100%

IMG_0535

นอกจากนั้นหน้าจอยังเป็นระบบสัมผัสที่ถูกปรับปรุงให้ตอบสนองดีขึ้นจากรุ่นที่แล้ว ทำให้การปรับแต่งค่ากล้อง ล็อคจุดโฟกัสผ่าน Live VIew ทำได้ง่ายขึ้นมาก โดยเฉพาะผู้ใช้งานวิดีโอน่าจะถูกใจหน้าจอสัมผัสรุ่นใหม่จากนิคอน

ส่วนปุ่มคำสั่งยังคงเหมือนกับ D5500 มีปุ่ม i และปุ่มล็อคค่าแสง/ล็อคโฟกัส ติดตั้งมาให้

IMG_0508

ช่องมองภาพแบบออปติคอล (Viewfinder) เป็นกระจกสะท้อนภาพปกติ ครอบคลุมเฟรมภาพ 95% ทั้งแนวตั้งและแนวนอน มาพร้อมปุ่มหมุนปรับระยะ Eyepoint

IMG_0497

ด้านบนตัวกล้อง จากซ้ายเป็นช่องลำโพง ตรงกลางเป็น Hot Shoe ใส่ไฟแฟลชแยก รองรับ Nikon Creative Lighting System หรืออุปกรณ์เสริมพร้อมไมโครโฟนรับเสียงสเตอริโอ ถัดไปขวามือ จะเป็นวงล้อปรับโหมดถ่ายภาพแบบเดียวกับรุ่นน้องสุดท้อง D3400 มีให้เลือกตั้งแต่โหมด Auto, P, S, A, M, ซีนโหมด 16 ซีนเพื่อปรับโทนภาพให้เข้ากับบรรยากาศของสถานที่จริง (ซีนแนะนำ blossom, autumn colors กับ Food น่าจะถูกใจวัยรุ่น) และโหมดเอ็ฟเฟ็กต์ 10 รูปแบบช่วยให้ถ่ายภาพทำได้สนุกสนานมากขึ้น

ถัดจากวงล้อปรับโหมดถ่ายภาพ ข้างๆจะเป็นก้านสวิตซ์ไว้เกี่ยวเพื่อเปิดปิด Live View ถัดลงมาเป็นวงล้อปรับค่ากล้อง (ค่ามาตรฐานเป็นคำสั่งปรับความเร็วชัตเตอร์) ถัดขึ้นไปด้านบนเป็นปุ่มชดเชยแสง ซึ่งเมื่อกดปุ่มนี้ค้างไว้แล้วเลื่อนวงล้อสีดำจะเป็นการเปลี่ยนขนาดรูรับแสง ถัดมาเป็นปุ่มบันทึกวิดีโอ ปุ่มชัตเตอร์และสวิตซ์เปิดปิดกล้อง

IMG_0501

ด้านหน้าจะเป็นที่อยู่ของไฟช่วยโฟกัส และถ้าสังเกตให้ดี กล้องรุ่นเล็กของนิคอนจะไม่มีปุ่มเช็คระยะชัดมาให้เหมือนรุ่นใหญ่

IMG_0499

ด้านข้าง เริ่มจากด้านซ้ายบริเวณบอดี้กล้องจะเป็นที่อยู่ของปุ่ม เปิดปิดไฟแฟลชหัวกล้องพร้อมปุ่มชดเชยแสงแฟลช ปุ่ม Fn (Function) ปรับตั้งค่าได้อิสระ ปุ่มปลดล็อกเลนส์และปุ่มตั้งเวลาถ่ายหรือปรับรูปแบบการถ่ายภาพ

ถัดมาที่สันด้านซ้ายของตัวกล้อง เริ่มจากด้านบนเป็นโลโก้ Bluetooth/WiFi เนื่องจาก D5600 รองรับ SnapBridge เต็มรูปแบบ ด้านล่างเป็นที่อยู่ของช่องเชื่อมต่อรีโมทชัตเตอร์ ช่องไมโครโฟน 3.5 มิลลิเมตร และ USB

IMG_0500

ด้านขวา เป็นช่องเชื่อมต่อ HDMI, เซ็นเซอร์ NFC และช่องใส่การ์ดความจำ SD Card รองรับมาตรฐาน UHS-I

IMG_0532

ด้านล่างเป็นส่วนของช่องเชื่อมต่อกับขาตั้งกล้องและช่องใส่แบตเตอรี EN-EL14a 1,230mAh (ถ่ายได้ประมาณ 400-600 รูป)

ฟีเจอร์เด่น

wifid5600

Nikon SnapBridge เป็นสิ่งที่เพิ่มเข้ามาใหม่ใน D5600 โดยการเชื่อมต่อจะทำได้เต็มฟังก์ชันกว่า D3400 เนื่องจากตัวกล้องมาพร้อม WiFi/Bluetooth ทำให้นอกจากผู้ใช้จะซิงค์รูประหว่างกล้องไปเก็บไว้ในสมาร์ทโฟนได้แล้ว ตัวกล้องยังรองรับรีโมทชัตเตอร์ผ่าน WiFi ได้ด้วย

nef-d5600

NEF 14-bit ในส่วนไฟล์ RAW ใน D5600 สามารถเลือกรูปแบบการบันทึกได้ทั้ง 12-bit และ 14-bit รวมถึง Retouch Menu ที่สามารถโปรเซสแก้ไข RAW ได้ทันทีพร้อมแปลงไฟล์ภาพเป็น JPEG จากหลังกล้องได้อย่างรวดเร็ว โดยเมื่อแก้ไขภาพเสร็จแล้วก็สามารถใช้ WiFi หรือ Bluetooth ส่งภาพผ่าน SnapBridge ไปยังสมาร์ทโฟนได้ทันที

movie-d5600

วิดีโอ Nikon D5600 รองรับการถ่ายวิดีโอที่ความละเอียดสูงสุด 1,920×1,080 พิกเซล ที่ความเร็ว 60 เฟรมต่อวินาที รองรับ Manual Movie ปรับตั้งค่ากล้องได้เอง

timelapse-d5600

Timelapse เพิ่มฟังก์ชัน Exposure smoothing แบบเดียวกับกล้องรุ่นใหญ่ ทำให้การถ่ายภาพในช่วงเวลาแสงแตกต่างกันทำได้เนียนตาและเป็นมืออาชีพมากขึ้น

display-d5600

ในส่วนการแสดงผลค่ากล้องต่างๆจะทำผ่านหน้าจอ Live View เหมือน D3400 พร้อมระบบแนะนำการถ่ายภาพสำหรับมือใหม่ด้วย

ทดสอบประสิทธิภาพและสรุป

d5600-ISO

เริ่มจากการทดสอบความไวแสงช่วงต่างๆ เริ่มจากค่า ISO ที่ให้ไฟล์ภาพดีสุดจะอยู่ในช่วง 100-3,200 ไม่แตกต่างจาก D5500 หรือ D3400 ที่ทดสอบไปก่อนหน้า เนื่องจากใช้ชิปประมวลผลตัวเดียวกัน ส่วนช่วงความไวแสง ISO 6,400 จะเริ่มมีนอยซ์เพิ่มขึ้นบ้างแต่อยู่ในระดับยอมรับได้ จนถึง ISO 12,800-25,600 จะให้นอยซ์ค่อนข้างเยอะ

มาถึงการทดสอบถ่ายภาพนิ่ง ทีมงานเลือกใช้เลนส์ AF-S 20mm. f/1.8 G ED เมื่อคูณ 1.5 จะเท่ากับระยะประมาณ 30 มิลลิเมตร

PS0_0026

ชัตเตอร์สปีด 1/8 วินาที : รูรับแสง f16 : ISO400

PS0_0040

ชัตเตอร์สปีด 1/200 วินาที : รูรับแสง f11 : ISO500

PS0_0058

ชัตเตอร์สปีด 1/640 วินาที : รูรับแสง f14 : ISO560

PS0_0077

ชัตเตอร์สปีด 1/640 วินาที : รูรับแสง f13 : ISO320

PS0_0087

ชัตเตอร์สปีด 1/640 วินาที : รูรับแสง f13 : ISO800

PS0_0108

ชัตเตอร์สปีด 1/400 วินาที : รูรับแสง f11 : ISO2800

PS0_0126

ชัตเตอร์สปีด 1/800 วินาที : รูรับแสง f16 : ISO3600

จากภาพทดสอบทั้งหมด ลองสังเกตที่การตั้งค่ากล้อง ผมพยายามดัน ISO ให้สูงเพื่อทดสอบคุณภาพไฟล์และนอยซ์ที่เกิดขึ้น พบว่า ด้วยความเป็นกล้องนิคอนยุคใหม่ (ซีรีย์ที่มาพร้อม EXPEED 4) ผมถือว่าสอบผ่านเรื่องคุณภาพไฟล์อย่างมาก เนื้อไฟล์ดีมาก โดยเฉพาะ RAW 14-bit ที่เก็บรายละเอียดได้ดี อย่างบางภาพผมดึงแสงขึ้น 2-3 สตอปก็ยังให้รายละเอียดที่ครบถ้วนไม่ต่างจากพี่ใหญ่ D500 แต่อย่างใด ยกเว้นเรื่องนอยซ์จากไฟล์ RAW ที่อาจมากกว่ารุ่นใหญ่เล็กน้อย

ส่วน JPEG ก็ให้คุณภาพที่ดีเช่นกัน ไฟล์เนียนสวยแม้จะใช้ ISO สูงระดับ 6,400 ก็ตาม

สำหรับการจับถือ ด้วยน้ำหนักที่ไม่มาก ตัวกล้องขนาดเล็กและมีกริปยางที่จับกระชับมือมาก ทีมงานขอให้คะแนนส่วนการจับถือและพกพาติดตัวเต็ม 10 เลย เพราะลองใช้งานทั้งวันแล้ว ความรู้สึกไม่ต่างจากการพกพามิร์เรอร์เลส แถมการจับถือก็ถนัดมากกว่า ยิ่งจับคู่กับเลนส์ฟิกซ์น้ำหนักเบาคุณภาพสูงอย่าง 20mm f1.8G ED ดูแล้วเข้ากันอย่างมาก ยกเว้นราคาเลนส์ที่เหมือนจะแพงกว่าตัวกล้อง

ส่วนการควบคุม เริ่มจากการวางตำแหน่งปุ่มกดต่างๆทำได้ดีแล้ว แต่ด้วยเป็นกล้องรุ่นเล็กทำให้นิคอนออกแบบปุ่มคำสั่ง 1 ปุ่มให้ใช้งานได้หลายฟังก์ชัน จนบางครั้งกลายเป็นสร้างความสับสนให้ผู้ใช้งานได้ แต่ก็ยังดีที่รุ่นนี้เป็นหน้าจอสัมผัส บางคำสั่งสามารถกดปุ่ม i แล้วเลือกปรับเปลี่ยนโดยจิ้มจากหน้าจอโดยตรงได้

ด้านวิดีโอ คล้ายกับ D5500 ไฟล์คุณภาพดี โดยเฉพาะนอยซ์และความคมชัดถือว่าสอบผ่าน ยิ่งเมื่อใช้ร่วมกับเลนส์ AF-P โฟกัสทำได้ลื่นไหลมากขึ้น แต่ก็ยังมีข้อสังเกตในเรื่องระบบออโต้โฟกัส เมื่อทำงานผ่าน Live View ระบบโฟกัสภาพจะทำงานช้าและไม่แม่นยำตามสไตล์นิคอนเนื่องจากใช้วิธีคิดแบบเก่า ซึ่งถือเป็นเรื่องน่าเสียดาย ไม่เช่นนั้น D5600 จะเป็น DSLR ที่มีฟังก์ชันครบครันคุ้มค่าคุ้มราคามากกว่านี้

สุดท้ายกับราคาเปิดตัว 27,500 บาท (ชุดแถมคิทเลนส์ AF-P 18-55VR) ก็ถือเป็นช่วงราคาเดิมที่นิคอนตั้งไว้กับตระกูล D5000 แน่นอนว่ากล้องซีรีย์นี้น่าจะเหมาะแก่คนที่ใช้งานระดับเริ่มต้นที่กำลังมองหากล้อง DSLR ตัวเล็กเน้นฟังก์ชันใช้งานครบครันตั้งแต่ภาพนิ่ง วิดีโอ มีจอพลิกได้และเป็นจอสัมผัส โดย D5600 มีการเพิ่ม SnapBridge เข้ามาทำให้การถ่ายภาพแล้วแชร์ผ่านสมาร์ทโฟนทำได้รวดเร็วมากขึ้นรวมถึงหน้าจอสัมผัสที่ทำได้ลื่นไหลขึ้น ในขณะที่คุณภาพและการใช้งานโดยรวมไม่ต่างจาก D5500 อย่างชัดเจนนัก

ข้อดี

– ตัวเล็ก น้ำหนักเบา
– จอพลิกได้
– หน้าจอสัมผัสแม่นยำกว่า D5500
– มี RAW 14-bit คุณภาพไฟล์ดี
– ฟังก์ชันใช้งานครบครัน มีช่อง 3.5 มิลลิเมตรเชื่อมต่อไมโครโฟนภายนอกได้
– SnapBridge ผ่าน NFC / WiFi / Bluetooth ทำให้การแชร์รูปไปยังสมาร์ทโฟนทำได้ง่าย (ประมาณกดถ่ายภาพแล้วรูปไหลไปอยู่ในสมาร์ทโฟนทันทีโดยไม่ต้องมากดแชร์ภาพให้ยุ่งยาก)

ข้อสังเกต

– ระบบออโต้โฟกัสผ่าน Live View ทำงานช้าและไม่แม่นยำ
– แบตเตอรีชาร์จไฟเต็ม ถ่ายได้ประมาณ 480 ภาพ น้อยกว่า D5500

Gallery

]]>
Review : Nikon D3400 ต่อยอด DSLR ระดับเริ่มต้น เพิ่มบลูทูธ แบตเตอรีอึดขึ้น https://cyberbiz.mgronline.com/review-nikon-d3400/ Fri, 07 Oct 2016 06:37:47 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=24073

d3400head

D3400 เป็นตระกูลกล้องนิคอน DSLR รุ่นเริ่มต้น (Entry Level) ต่อยอดจาก D3300 มีความโดดเด่นในเรื่องการพกพาที่ทำได้สะดวกสบาย เนื่องจากมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบาและใช้งานง่ายด้วยระบบที่ไม่ซับซ้อน เหมาะสมกับผู้ใช้ทุกเพศทุกวัย

โดยในรุ่น D3400 จะมีสเปกคล้ายกับ D3300 แต่นิคอนได้ปรับปรุงเรื่องระบบจัดการพลังงานให้มีความประหยัดมากขึ้น รวมถึงเพิ่มบลูทูธเพื่อรองรับการใช้งาน Nikon SnapBridge พร้อมคิทเลนส์ตัวใหม่ AF-P DX 18-55mm F3.5-5.6G VR

การออกแบบและสเปก

Nikon D3400 รุ่นที่ทีมงานได้รับมาทดสอบจะมาพร้อมกับคิทเลนส์ F-mount : AF-P DX 18-55mm F3.5-5.6G VR ทำให้กล้องมีขนาดเล็กกะทัดรัด (ประมาณฝ่ามือเรา) โดยขนาดตัวกล้อง กว้างxสูงxลึก อยู่ที่ 124x98x75.5 มิลลิเมตร น้ำหนัก 445 กรัม เนื่องจากตัวกล้องผลิตจากคาร์บอนไฟเบอร์ทำให้มีน้ำหนักเบา และเมื่อรวมน้ำหนักกับคิทเลนส์ (หนักประมาณ 205 กรัม) น้ำหนักรวมจะอยู่ที่ประมาณ 650 กรัมไม่ต่างจากกล้องมิร์เรอร์เลส APS-C ที่มาพร้อมคิทเลนส์มาตรฐานเท่าใดนัก

ด้านเซ็นเซอร์รับภาพเป็น CMOS DX(APS-C) Format x1.5 ไม่มี Low-Pass Filter เพื่อให้ภาพมีความคมชัดมากขึ้น โดยขนาดเซ็นเซอร์อยู่ที่ 23.5×15.6 มิลลิเมตร ความละเอียดภาพ 24 ล้านพิกเซล ประกบหน่วยประมวลผลภาพ EXPEED 4 รองรับความไวแสงในช่วง ISO 100-25,600 รองรับการถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็ว 5 เฟรมต่อวินาที และวิดีโอความละเอียดสูง 1080p ที่ความเร็วสูงสุด 60 เฟรมต่อวินาที

ส่วนตัววัดแสงใช้ RGB Sensor TTL 420 พิกเซล รองรับการวัดแสงเฉลี่ยทั้งภาพ, เน้นวัดกลางภาพ 75% ของพื้นที่วงกลมขนาด 8 มม และวัดแสงเฉพาะจุด

3658393857

ในส่วนระบบออโต้โฟกัส เลือกใช้ Nikon Multi-CAM 1000 พร้อมจุดโฟกัส 11 จุด มีไฟช่วยออโต้โฟกัสแบบ LED รองรับระบบออโต้โฟกัสทั้ง AF-S, AF-C, AF-F, โฟกัสติดตามวัตถุและ Manual Focus

ชัตเตอร์สปีด – สูงสุดอยู่ที่ 1/4,000 วินาที ช้าสุด 30 วินาที รองรับชัตเตอร​์ Bulb, Time ความเร็วชัตเตอร์สัมพันธ์ไฟแฟลชอยู่ที่ 1/200 วินาที ส่วนโหมดถ่ายภาพมีชัตเตอร์เงียบและรองรับรีโมทชัตเตอร์แบบ IR ด้วย

มาดูที่คิทเลนส์ AF-P DX 18-55mm F3.5-5.6G VR เป็นเลนส์กลุ่มใหม่ที่ปรับกลไกลทำงานภายในไปใช้สเต็ปปิ้งมอเตอร์ ทำให้การจับโฟกัสทำได้รวดเร็วและนุ่มนวลพร้อมระบบลดภาพสั่นไหว (Optical VR) ได้มากถึง 4 สตอป

ด้านหลัง ส่วนช่องมองภาพ Optical Viewfinder ครอบคลุมการมองเห็นภาพประมาณ 95% พร้อมตัวแก้สายตา หน้าจอ Live View มีขนาด 3 นิ้ว ความละเอียด 921,000 จุด ด้านซ้ายของจอเป็นปุ่มคำสั่งพรีวิวภาพ เข้าเมนู เลือกซูมขณะพรีวิวภาพ และปุ่ม i สำหรับเข้าเมนูตั้งค่ากล้องแบบเร่งด่วน

ด้านขวา บนสุดเป็นที่อยู่ของปุ่มล็อกค่าแสงและโฟกัส AE-L/AF-L ถัดไปเป็น Dial วงล้อปรับรูรับแสงหรือความเร็วชัตเตอร์สปีด ลงมาเป็นที่พักนิ้ว ปุ่มคำสั่ง LV กดเพื่อเปิดใช้หน้าจอ Live View ปุ่มทิศทางสำหรับใช้เลือกจุดโฟกัสและเมนูคำสั่งในหน้าจอ ปุ่มเปลี่ยนโหมดถ่ายภาพและลบภาพ

ด้านบน เริ่มจากตรงกลางจะเป็น Hot Shoe และส่วนไฟแฟลชหัวกล้อง (ไม่รองรับ Wireless Flash จากไฟแฟลชหัวกล้อง) ด้านขวา จะเป็นที่อยู่ของวงล้อปรับโหมดถ่ายภาพมีให้เลือกตั้งแต่ M/A/S/P ปกติ และโหมดถ่ายภาพสำเร็จรูปตามสถานการณ์ต่างๆที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้หมุนปรับได้ตามการใช้งาน รวมถึงโหมดถ่ายภาพอัตโนมัติ (AUTO) และมี Effect/Guide Mode ที่จะอธิบายรายละเอียดการใช้งานในหัวข้อถัดไป

ถัดจาก Dial ปรับโหมดถ่ายภาพ เหนือขึ้นไปจะเป็นที่อยู่ของปุ่ม Info, ปุ่มบันทึกวิดีโอ, ปุ่มปรับชดเชยแสง (สามารถปรับ –5 ถึง +5 EV) อีกทั้งปุ่มนี้ยังใช้ร่วมกับการปรับรูรับแสงด้วย (เนื่องจากกล้องรุ่นเล็กจะไม่มี Dial ด้านหน้า) และสุดท้ายปุ่มชัตเตอร์พร้อมสวิตซ์ปิด-เปิดเครื่อง

quickmenu-d3400

ในส่วนหน้าจอแสดงค่ากล้องต่างๆในรุ่นเล็กจะใช้รวมกับหน้าจอ Live View โดยผู้ใช้สามารถปรับตั้งค่ากล้องแบบเร่งด่วนได้โดยกดปุ่ม i

กลับมาบริเวณโลโก้ D3400 จะเป็นที่อยู่ของปุ่มเปิดปิดไฟแฟลชหัวกล้องและปุ่ม Function (Fn) พร้อมไมโครโฟนรับเสียง

ด้านซ้ายของตัวกล้อง เริ่มจากด้านบนเป็นโลโก้บลูทูธเพื่อบอกให้ผู้ใช้ทราบว่ากล้องรุ่นนี้รองรับ Nikon SnapBridge ถัดลงมาจากเดิม D3300 จะมีช่องไมโครโฟนแต่ใน D3400 นิคอนเลือกตัดออกเหลือเพียงช่อง USB และ HDMI เท่านั้น

ด้านขวาของตัวกล้อง จะเป็นช่องใส่การ์ดความจำ SD Card รองรับการ์ดมาตรฐานสูงสุด SDHC (UHS-I), SDXC (UHS-I)

ด้านล่าง จะเป็นที่อยู่ของช่องใส่แบตเตอรี EN-EL14a 1,230mAh พร้อมช่องเชื่อมต่อขาตั้งกล้อง

รายละเอียดสเปกกล้องส่วนอื่นสามารถติดตามอ่านได้จาก http://www.nikon.co.th/th_TH/product/digital-slr-cameras/d3400#tech_specs

เมนูและฟีเจอร์เด่น

display-d3400

จุดประสงค์หลักของกล้องรุ่นเล็กจากนิคอนก็คือ เน้นการใช้งานที่ง่ายและคล่องตัว ทำให้เมนูทั้งหมดถูกปรับและลดความซับซ้อนลง พร้อมตัวช่วยพิเศษสำหรับผู้ใช้มือใหม่ที่ไม่เคยใช้งาน DSLR มาก่อน ทางนิคอนได้ให้ Guide Mode มาช่วยแนะนำการตั้งค่ากล้องตามรูปแบบการใช้งานต่างๆ รวมถึงส่วนของ Live View จะมีระบบแนะนำสภาพแสงตามการตั้งค่ากล้องด้วย เช่น เราปรับค่ากล้องจนแสงติดอันเดอร์ ระบบจะแจ้งให้เราทราบว่า “Subject is too dark” เป็นต้น

setup-d3400

ส่วนเมนูตั้งค่าจะถูกปรับลดให้เหลือเฉพาะส่วนที่จำเป็น เช่น ปรับขนาดภาพ รูปแบบไฟล์ JPEG, RAW ปรับ Picture Control ปรับความละเอียดวิดีโอและที่สำคัญ Retouch Menu ที่มีให้ใช้หลังกล้องครบทุกฟังก์ชัน

snapbridge-d3400

มาถึง Nikon SnapBridge (ปัจจุบันใช้ได้ทั้งแอนดรอยด์และ iOS) ซึ่งทีมงานไซเบอร์บิซเคยรีวิวไปแล้วตอน Nikon D500 แต่ใน D3400 ฟังก์ชันนี้จะถูกใช้เพื่อซิงค์ภาพกับสมาร์ทโฟนและคลาวด์สตอเรจ Nikon Image Space แบบอัตโนมัติ (ซิงค์ตลอดเวลาแม้กล้องจะปิดอยู่ก็ตาม) รวมถึงสามารถใส่พิกัด GPS ให้ภาพได้ด้วย

ส่วน Remote Photography จะไม่สามารถใช้งานได้ เนื่องจากตัวกล้อง D3400 ไม่มี WiFi ติดตั้งมาให้

d3400-effect

ในส่วนโหมดถ่ายภาพพิเศษ Effect 10 รูปแบบที่มีให้เลือกใช้งานใน D3400 หลักๆการทำงานยังคงเดิมคือใส่เอ็ฟเฟ็กต์ให้ภาพแบบเรียลไทม์และเซฟเป็น JPEG เพื่อให้สามารถนำไปใช้งานได้ทันทีจากหลังกล้อง

nikontrim

และสุดท้าย กับหนึ่งฟีเจอร์เล็กๆแต่ใช้งานได้น่าสนใจก็คือ Trim กล่าวคือ เวลาผู้ใช้ต้องการครอปและตัดแต่งภาพทันที เพียงกดพรีวิวภาพจากนั้นกดซูมพร้อมจัดตำแหน่งภาพให้เรียบร้อย เมื่อกดปุ่ม i และเลือก Trim ระบบจะทำการครอปภาพตามที่เราต้องการทันที

filesize-d3400

ขนาดไฟล์ภาพ JPEG 24 ล้านพิกเซลอ ยู่ที่ประมาณ 14MB ต่อหนึ่งไฟล์ ส่วน RAW 24 ล้านพิกเซล อยู่ที่ประมาณ 24MB ต่อหนึ่งไฟล์

ทดสอบประสิทธิภาพ

ISOTEST-D3400

เริ่มจากทดสอบสัญญาณรบกวนกันก่อน Nikon D3400 จะสามารถปรับค่าความไวแสง (ISO) ได้ตั้งแต่ 100-25,600 แน่นอนด้วยชิปประมวลผลภาพตัวใหม่ทำให้สัญญาณรบกวนที่ได้ต่ำลงและทำได้ค่อนข้างน่าประทับใจสำหรับกล้อง DSLR ระดับเริ่มต้น ทำให้ช่วง ISO ที่ใช้งานได้ดีจะเริ่มตั้งแต่ 100 จนดันไปสูงถึง 3,200 ได้อย่างไม่มีปัญหา ส่วนที่ ISO 6,400 ภาพจะเริ่มมีสัญญาณรบกวนมากขึ้น แต่เรื่องของสีสันยังไม่เพี้ยน สามารถใช้งานได้เช่นกัน

พอขยับสูงขึ้นเป็น ISO 12,800 สัญญาณรบกวนเริ่มชัดเจนขึ้น แต่ถ้าถ่ายภาพเพื่อใช้ลงโซเชียลเล็กๆน้อย ยังถือว่าใช้งานได้ จนสุดท้ายที่ ISO 25,600 สัญญาณรบกวนจะเพิ่มมากสุดจนเห็นเป็นเม็ดสีแตกๆปรากฏขึ้นพร้อมสีสันของภาพที่เริ่มเพี้ยนมากขึ้น

D3400_8

1/320s : f5 : ISO 6,400

มาถึงการทดสอบถ่ายภาพ ทีมงานขอเริ่มทดสอบที่ ISO 6,400 กันก่อน เป็นสิ่งที่ทีมงานประทับใจมากสุดกับกล้องรุ่นเล็กสุดของตระกูล เพราะด้วยเทคโนโลยีที่แปรเปลี่ยนไปตามเวลา ทำให้ D3400 รองรับการถ่ายภาพในทุกสภาพแสงได้ดียิ่งขึ้น สัญญาณรบกวนน้อยลงและที่สำคัญภาพมีความคมชัดมากขึ้น เลนส์ AF-P ตัวใหม่ทำงานได้ดี โดยเฉพาะระบบออโต้โฟกัสที่รวดเร็วและแม่นยำกว่าคิทเลนส์ตัวเดิมและระบบกันสั่น VR ที่ปรับปรุงมาได้ดีขึ้นมาก

D3400_1

1/250s : f13 : ISO 200

D3400_2

1/500s : f5 : ISO 100

D3400_3

1/125s : f13 : ISO 100

D3400_4

1/250s : f13 : ISO 100

D3400_5

1/250s : f13 : ISO 100

D3400_10

1/250s : f13 : ISO 100

D3400_6

1/30s : f8 : ISO 200

D3400_7

10s : f16 : ISO 800

D3400_9

1/60s : f10 : ISO 100

ในส่วนการวัดแสง ยอมรับว่า D3400 ทำได้แม่นยำกว่ารุ่นพี่ D610 ที่ใช้ EXPEED 3 เสียอีก รายละเอียดภาพที่ได้ก็ถือว่าทำได้ดีไม่แพ้รุ่นกลางหรือรุ่นใหญ่แต่อย่างใด

โดยเฉพาะ RAW ที่มาพร้อมบัฟเฟอร์รัวต่อเนื่องได้ 16 ภาพที่ความเร็ว 5 เฟรมต่อวินาทีต่อการกดชัตเตอร์ค้างไว้หนึ่งครั้ง ก็ถือว่าเพียงพอต่อการใช้งานระดับเริ่มต้นแล้ว

ด้านน้ำหนักและการจับถือ ส่วนนี้ถือว่าสอบผ่านแน่นอนเพราะกล้องค่อนข้างเบา พกพาสะดวกสบายมาก กริปจับถือถูกปรับองศาเล็กน้อยทำให้จับถือถนัดกว่า D3300 โดยเฉพาะผู้ชื่นชอบการถ่ายภาพแนวสตรีท น่าจะชื่นชอบเรื่องน้ำหนักและขนาดตัวที่ไม่สร้างภาระให้กับชีวิตการเดินถ่ายภาพตามท้องถนนนัก แถมกล้องก็มีหน้าตาน่ารัก อ้วนป้อมไม่ค่อยเป็นที่สะดุดตาผู้คนเท่าใด

แต่ทั้งนี้ด้วยการเป็นกล้องรุ่นเล็ก ก็ต้องแลกกับปุ่มปรับค่ากล้องที่ถูกลดทอนลงไป ทำให้การปรับค่ากล้อง โดยเฉพาะคนที่ชอบถ่าย Manual Mode เป็นหลักอาจไม่ถนัดนัก

ในส่วนการใช้งาน Live View สำหรับภาพนิ่งและวิดีโอ ก็ยังคงเป็นจุดอ่อนสุดของนิคอน DSLR เช่นเดิม การจับโฟกัสที่ทำได้ช้าต่างจากโฟกัสผ่าน Optical Viewfinder

ส่วนโหมดวิดีโอ นิคอนปรับลดให้เป็นแค่ลูกเล่นเสริมแทนการใช้งานแบบจริงจัง ไฟล์วิดีโอที่ได้คุณภาพดีตามสมัยนิยม (1080p ที่ความเร็วสูงสุด 60fps) แต่ก็มาพร้อมข้อสังเกตในเรื่องระบบออโต้โฟกัสเมื่อใช้งานผ่าน Live View แม้จะใช้เลนส์รุ่นใหม่อย่าง AF-P แต่โฟกัสที่ได้ยังคงช้าและไม่ค่อยลื่นไหลเท่าที่ควร (ต่างจากการโฟกัสผ่านช่องมองภาพที่รวดเร็วและแม่นยำกว่ามาก) ระบบป้องกันภาพสั่นไหวทำงานได้แค่ระดับพอใช้ และที่สำคัญเมื่อใช้งานในที่เงียบ เสียงออโต้โฟกัสจากเลนส์ AF-P ยังคงเข้ามาในวิดีโอให้ได้ยินเช่นเดิม

สุดท้ายส่วนแบตเตอรีเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมมาก เพราะ D3400 มีแบตเตอรีที่อึดขึ้น สามารถถ่ายภาพได้สูงสุด 1,200 ภาพต่อการชาร์จแบตเตอรีหนึ่งครั้ง

สรุป

สำหรับราคาขาย Nikon D3400 รวมชุดคิทเลนส์ AF-P DX 18-55mm F3.5-5.6G VR อยู่ที่ประมาณ 20,900 บาท

ถือเป็นกล้องรุ่นเล็กที่ออกแบบมาเพื่อผู้ใช้งานที่ต้องการ DSLR ระดับเริ่มต้น และเข้ามาทดแทน D3300 เดิม เพราะฉะนั้นในเรื่องคุณภาพและฟีเจอร์จะมีการปรับเปลี่ยนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เช่น เพิ่มบลูทูธ ปรับแบตเตอรีและดีไซน์บางส่วน คนที่มี D3300 อยู่แล้ว คงต้องลองช่างใจเอาเองว่าสิ่งที่นิคอนปรับเพิ่มเข้ามาจำเป็นหรือไม่สำหรับเรา แต่สำหรับผู้ใช้หน้าใหม่ที่กำลังมองหา DSLR ใช้งานง่าย เน้นขนาดที่เล็กและเบา D3400 ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจครับ โดยเฉพาะคุณภาพไฟล์ภาพนิ่งที่ประทับใจทีมงานมากเมื่อเทียบกับราคาที่จ่ายออกไป

ข้อดี

– ตัวเล็ก น้ำหนักเบา จับถนัดกว่าเดิม
– แบตเตอรีอึดมากกว่าเดิม
– มีบลูทูธ รองรับ Nikon SnapBridge
– คุณภาพไฟล์ภาพนิ่งดีมาก
– กล้องทำงานรวดเร็ว มีโหมดช่วยเหลือสำหรับมือใหม่
– ISO 100-3,200 ให้ไฟล์ภาพที่ดี
– ไฟช่วยระบบออโต้โฟกัสในที่มืดสว่างมาก

ข้อสังเกต

– ไม่เน้นงานวิดีโอ ช่องไมโครโฟน 3.5 มิลลิเมตรถูกตัดออก
– โฟกัสผ่าน Live View ทำงานช้าไม่แม่นยำ
– จอ Live View ความละเอียดต่ำไป

Gallery

]]>
Review : Nikon D500 : King of DX Format กลับมาแล้ว https://cyberbiz.mgronline.com/review-nikon-d500/ Wed, 22 Jun 2016 01:40:29 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=22992

IMG_5223

เป็นเวลากว่า 7 ปีที่ Nikon D300s ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มกล้องท็อปฟอร์มของเซ็นเซอร์รับภาพ APS-C (DX Format) จะต้องถูกปลดระวางและแทนที่ด้วยน้องใหม่ไฟแรงล่าสุด Nikon D500 พร้อมการชุบชีวิตกลุ่มกล้อง DX Format ไฮเอนด์ที่นิคอนทิ้งตลาดไปหลายปีให้กลับมาโลดแล่นเคียงข้างรุ่นใหญ่ในตระกูล D5

และนอกจากนั้น นิคอนยังเพิ่มความชัดเจนของความเป็นไฮเอนด์ DX Format ด้วยการดึงสเปกฮาร์ดแวร์หลายส่วนของ Nikon D5 มาใช้ และตั้งจุดขายให้ D500 ใหม่ กลายเป็นกล้องระดับมืออาชีพสำหรับคนที่ต้องการความรวดเร็วในการถ่ายภาพและความคล่องตัวที่สูงในระดับรองจาก D5 รวมถึงความสามารถในการถ่ายวิดีโอที่ปรับปรุงเพิ่มขึ้นด้วย

การออกแบบและสเปก

IMG_5181

IMG_5190

Nikon D500 ใช้เซ็นเซอร์รับภาพ CMOS DX (APS-C) ขนาด 23.5 x 15.7 มิลลิเมตร ประกบหน่วยประมวลผลภาพ EXPEED 5 รองรับความละเอียดภาพสูงสุด 20.9 ล้านพิกเซล (5,568 x 3,712 พิกเซล)

ตัวกล้องมีขนาดกว้าง x สูง x ลึก อยู่ที่ 147 x 115 x 81 มิลลิเมตร น้ำหนักรวมประมาณ 860 กรัม บอดี้กล้องทั้งหมดเป็นแมกนีเซียมอัลลอยและคาร์บอนไฟเบอร์ สามารถป้องกันหยดน้ำและฝุ่นละอองระดับเดียวกับ D5

นอกจากนั้นนิคอนยังติดตั้งช่องเชื่อมต่อรีโมท 10 พิน อยู่บริเวณใต้โลโก้ D500 เหมือนกล้องไฮเอนด์นิคอนทุกรุ่น เพื่อใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์เสริม เช่น GPS, รีโมตคอนโทรลไร้สาย เป็นต้น

IMG_5169

ด้านกริปจับถือ ได้รับการออกแบบใหม่ให้จับกระชับมือมากกว่าเดิม ยางหุ้มห่อเต็มพื้นด้านขวาของกล้องตั้งแต่จุดวางนิ้วโป้งไปถึงฝ่ามือและนิ้วมือบริเวณกริปทั้งหมด ทำให้การจับถือทำได้ถนัดมากขึ้น (ถือตัวกล้องนานๆแล้วเมื่อยมือสามารถนำนิ้วทั้งสี่สอดเข้าไปต้องกริปแล้วถือหลวมๆได้โดยกล้องไม่ตกหล่นลงมา)

IMG_5172

flipscreen-d500

ด้านหลังกล้อง – ส่วนหลักเป็นหน้าจอแสดงผล Live View (RGBW) แบบสัมผัส (Touch Screen) ขนาด 3.2 นิ้ว ความละเอียด 2,359,000 จุด ครอบคลุมการมองเห็นภาพ 100% พร้อมหน้าจอปรับเงยก้มได้ 170 องศา

ช่องมองภาพสะท้อนเลนส์มีขนาดใหญ่ สามารถปรับระยะห่างระหว่างสายตากับช่องมองภาพได้ ส่วนระยะครอบคลุมพื้นที่การมองเห็นในโหมด DX 100% และโหมดครอป 1.3x ที่ 98% พร้อมกรอบกะระยะภาพแสดงที่ช่องมองภาพ

function-d500

function-d500-2

ในส่วนปุ่มคำสั่งต่างๆ จะไม่แตกต่างจากกล้องนิคอนไฮเอนด์รุ่นอื่นๆ พร้อมปุ่ม Function 2 ปุ่ม Jog 1 ปุ่ม และปุ่ม Pv 1 ปุ่ม โดยปุ่มพิเศษเหล่านี้สามารถปรับแต่งได้อิสระผ่านหน้าจอ Custom control assignment

IMG_5179

IMG_5206

มาดูส่วนบนและกะโหลก D500 ด้านซ้ายเป็นปุ่มปรับโหมดถ่ายภาพ ปรับตัววัดแสง ปรับคุณภาพไฟล์ และวงแหวนเปลี่ยนระบบถ่ายภาพตั้งแต่ Single ถ่ายภาพเดียว, CL ถ่ายภาพต่อเนื่องแบบช้า (สามารถตั้งความเร็วได้ 1-9 เฟรมต่อวินาที), CH ถ่ายภาพต่อเนื่องแบบเร็ว, Q ชัตเตอร์เงียบ, Qc ชัตเตอร์เงียบในโหมดถ่ายภาพต่อเนื่อง, ตั้งเวลาถ่าย, ใช้รีโมทชัตเตอร์ เป็นต้น

ตรงกลาง เป็นช่องใส่ไฟแฟลชและอุปกรณ์เสริม (D500 ไม่มีแฟลชหัวกล้องติดตั้งมาให้)

ด้านขวา เป็นส่วนของจอแสดงการตั้งค่ากล้องต่างๆ จำนวนภาพที่จะถ่ายได้และไฟสถานะแบตเตอรี ถัดขึ้นไปเป็นปุ่มปรับความไวแสง (ISO) ไฟช่วยวัดระยะโฟกัส ปุ่มบันทึกวิดีโอ ปุ่มชดเชยแสง ชัตเตอร์ และสวิตซ์เปิดปิดกล้อง พร้อมวงล้อหน้าหลังปรับค่ากล้องและปรับรูรับแสง

IMG_5185

ด้านขวาของตัวกล้อง เป็นที่อยู่ของ NFC และฝาสามารถดันเพื่อเปิดออกได้ โดยภายในจะเป็นช่องใส่การ์ดความจำ 2 รูปแบบได้แก่ ช่องบนใส่ XQD ช่องล่างใส่ SD Card รองรับมาตรฐานอ่านเขียนข้อมูลสูงสุด UHS-II

ส่วนถ้าใส่การ์ดความจำทั้งสองรูปแบบพร้อมกันจะสามารถตั้งค่าให้การ์ด XQD เป็นการ์ดบันทึกข้อมูลหลัก และตั้งให้ SD Card เป็นการ์ดสำรองข้อมูล หรือจะตั้งให้ SD Card เก็บเฉพาะไฟล์วิดีโอก็สามารถทำได้เช่นกัน

IMG_5183

IMG_5214

ด้านซ้ายของตัวกล้อง สังเกตด้านบนจะมีโลโก้ Bluetooth และ WiFi (เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องสังเกตทุกครั้งที่ซื้อกล้องนิคอน เพราะถ้ามีโลโก้ทั้งสองแสดงว่ากล้องนิคอนรุ่นนี้รองรับ SnapBridge)

ถัดลงมาเป็นที่อยู่ของพอร์ตเชื่อมต่อ (มีฝายางปิดไว้กันน้ำเข้า) เริ่มตั้งแต่พอร์ตบนสุด USB 3.0 ถัดลงมาเป็นช่องเชื่อมต่อไมโครโฟนและหูฟัง 3.5 มิลลิเมตรสำหรับงานวิดีโอ และสุดท้ายพอร์ต HDMI type C (รองรับ Clean HDMI)

IMG_5216

IMG_5218

ด้านใต้กล้อง – รองรับการเชื่อมต่อกริปเสริม Nikon MB-D17 Multi Power Battery Pack โดยแบตเตอรีกล้องจะใช้รหัส EN-EL15 ขนาด 1,900mAh

ฮาร์ดแวร์และฟีเจอร์เด่นที่น่าสนใจ

IMG_5165

contn-d500

เริ่มจากระบบโฟกัสอัตโนมัติที่นิคอนเลือกใช้ Multi-CAM 20K พร้อมฟังก์ชั่นตรวจวัดระยะห่างแบบ TTL ซึ่งยกมาจาก D5 ทำให้ D500 จะมีจุดโฟกัสรวม 153 จุด โฟกัสสามารถเลือกได้หลากหลายตั้งแต่ โฟกัสใบหน้า พื้นที่กว้าง พื้นที่ปกติและโฟกัสติดตามวัตถุ

อีกทั้งในครั้งนี้ นิคอนยังได้ปรับปรุงระบบโฟกัสติดตามวัตถุด้วย Lock-on ให้ผู้ใช้สามารถตั้งค่าการตอบสนองของโฟกัสได้ตามต้องการด้วย

คลิปวิดีโอทดสอบ Buffer ถ่ายภาพต่อเนื่องจาก Nikon D500

มาถึงเรื่องความเร็วชัตเตอร์ D500 สามารถตั้งความเร็วชัตเตอร์สูงสุดที่ 1/8,000 วินาที ช้าสุด 30 วินาที ส่วนความสามารถในการถ่ายภาพต่อเนื่อง ความเร็วสูงสุดทำได้ 10 ภาพต่อวินาที (ลดสเปกจาก D5 ลงมา) พร้อม RAW บัฟเฟอร์ถ่ายภาพต่อเนื่องสูงสุดได้มากถึง 200 ภาพเมื่อใช้ร่วมกับการ์ด XQD ที่มีความเร็วในการเขียนมากกว่า 400MB/s

settings-d500

file-size-d500

ด้านคุณภาพไฟล์ภาพ รองรับการบันทึกไฟล์ในรูปแบบ JPEG, RAW และ TIFF โดย RAW ผู้ใช้สามารถเลือกรูปแบบการบันทึกไฟล์ได้ 3 รูปแบบ ได้แก่ Uncompressed ไม่บีบอัด ขนาดไฟล์ใหญ่สุดตกไฟล์ละประมาณ 40 MB > Compressed บีบอัดไฟล์ และ Lossless compressed บีบอัดไฟล์แบบไม่สูญเสียรายละเอียด

ส่วนวิดีโอในครั้งนี้นิคอนอัปเกรดให้รองรับความละเอียดสูงถึง 4K ที่ความเร็ว 30 เฟรมต่อวินาที และ 1080p ที่ความเร็ว 60/30 เฟรมต่อวินาที พร้อมเปิดใช้ฟีเจอร์ Electronic VR (ไม่สามารถเปิดใช้งานได้เมื่อถ่าย 4K) ช่วยลดการสั่นไหวของวิดีโอได้

นอกจากนั้นระหว่างถ่ายวิดีโอคุณสามารถถ่ายภาพนิ่งพร้อมกันได้ที่ความละเอียด 5,568 x 3,128 พิกเซล และที่วิดีโอความละเอียด 4K จะถ่ายภาพนิ่งพร้อมบันทึกวิดีโอได้ที่ความละเอียด 3,840 x 2,160 พิกเซล

flicker-reduct-d500

flicker-reduct-001

Flicker reduction – Nikon D500 มาพร้อมระบบป้องกันภาพกระพริบเมื่อต้องถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์สูงในสภาพที่แหล่งกำเนิดแสงมาจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ โดยเมื่อกล้องตรวจจับได้ว่าจะเกิดภาพกระพริบขึ้น หลังจากกดชัตเตอร์ลงไปครึ่งหนึ่งเพื่อโฟกัสภาพ ที่ช่องมองภาพจะมีตัวอักษร Flicker ปรากฏให้ผู้ใช้ทราบทันที

ISO-D500

สุดท้ายเรื่องค่าความไวแสง (ISO) ในครั้งนี้ทีมงานต้องขอยกมาพูดถึงในหัวข้อฟีเจอร์-ฮาร์ดแวร์เด่นแทน เนื่องจากนิคอนเน้นเป็นจุดขายหลัก หลังจาก EXPEED 5 ได้สําแดงฤทธิ์เรื่องการจัดการสัญญาณรบกวนในช่วง ISO สูงๆมาแล้ว ตั้งแต่ Nikon 1 J5 (EXPEED 5A) มาใน D500 รวมถึง D5 นิคอนได้นำ EXPEED 5 เข้าใช้งานเช่นเดียวกัน รวมถึงการปรับปรุงฮาร์ดแวร์เซ็นเซอร์รับภาพใหม่หมดทำให้ D500 สามารถตั้งความไวแสง (ISO) ได้เริ่มต้นตั้งแต่ 100-51,200 และสามารถลด ISO ได้ต่ำสุด 50 สูงสุดได้ถึง 1,638,400

โดยจากภาพตัวอย่างความไวแสงในช่วงต่างๆ (JPEG) จะเห็นว่า D500 ให้ภาพที่ดีตั้งแต่ช่วงความไวแสง ISO 100 ถึงช่วงประมาณ 32,000-51,200 ได้อย่างสบายๆ หลังจากนั้นเราจะเริ่มเห็นสัญญาณรบกวนเพิ่มขึ้นมากตั้งแต่ ISO 64,000-80,000 ซึ่งถ้าอยู่ในสถานการณ์บีบบังคับต้องใช้ ก็ถือว่าให้คุณภาพไม่น่าเกลียดนัก ส่วนช่วงความไวแสงตั้งแต่ ISO 204,800 เป็นต้นไป ถ้าไม่จำเป็นควนหลีกเลี่ยงหรือแก้ไขด้วยวิธีอื่น เช่น จัดหาแสง เปลี่ยนมุมถ่ายใหม่ จะดีที่สุด

ส่วนคนถ่าย RAW หน่วยประมวลผลภาพจะไม่เข้ามาช่วยเรื่องการจัดการสัญญาณรบกวนเลย เพราะฉะนั้นค่าความไวแสงที่ให้คุณภาพไฟล์ภาพที่ดีที่สุดจะอยู่ตั้งแต่ ISO 100 ถึงหลักพันปลายๆ พอเข้าสู่หลักหมื่น ก็ต้องวัดกันที่ซอฟต์แวร์โปรเซสภาพแล้วว่าตัวใดจะจัดการได้ดีที่สุด

Nikon SnapBridge

ก่อนอ่านบทความด้านล่างนี้ แนะนำให้กดรับชมวิดีโอสาธิตการใช้งาน SnapBridge ก่อนเพื่อความเข้าใจที่เพิ่มขึ้น

Nikon SnapBridge ถือเป็นการต่อยอดระบบแชร์ภาพผ่าน WiFi ให้มีความเสถียร ประสิทธิภาพสูงขึ้นและทำให้สมาร์ทดีไวซ์และกล้องที่ติดตั้งระบบ SnapBridge เป็นหนึ่งเดียวและใช้งานได้อย่างไร้รอยต่อมากขึ้น

IMG_5219

snapb-1

snapb-sync

โดยระบบ SnapBridge จะใช้การเชื่อมต่อผ่าน Bluetooth 4.1 Low Energy (ใช้พลังงานต่ำ) กับสมาร์ทดีไวซ์ (ปัจจุบันรองรับแค่แอนดรอยด์ ส่วน iOS รอช่วงเดือนสิงหาคม) ซึ่งใช้หลักการเดียวกับอุปกรณ์สวมใส่ (Wearable) หลังจากติดตั้งระบบครั้งแรกเสร็จ กล้องและสมาร์ทดีไวซ์จะเชื่อมต่อกันตลอดเวลา และเมื่อกดชัตเตอร์เพื่อถ่ายภาพ กล้องจะส่งภาพถ่ายเหล่านั้นผ่าน Bluetooth ไปที่สมาร์ทดีไวซ์ทุกครั้ง (แม้เราจะปิดกล้องไปแล้วก็ตาม) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถนำภาพจากกล้องไปแชร์เข้าสู่สังคมออนไลน์ต่างๆอย่างไร้รอยต่อทันที ซึ่งต่างจากระบบเชื่อมต่อผ่าน WiFi แบบดั้งเดิม ที่เวลาผู้ใช้ต้องการจะส่งภาพไปที่สมาร์ทดีไวซ์จะต้องทำการเชื่อมต่อกันก่อนทุกครั้ง

snapb-app1

snapb-app2

ในส่วนแอปพลิเคชันที่ใช้ควบคุมการทำงานจะมีชื่อว่าเดียวกับระบบคือ “SnapBridge” โดยในแอปฯคุณสามารถตั้งค่าการเลือกความละเอียดภาพที่ต้องการซิงค์ได้ (ระบบแนะนำความละเอียดที่ 2 ล้านพิกเซล แต่เราก็สามารถเลือกให้ซิงค์แต่ขนาดภาพตามต้นฉบับได้)

snapb-app3

นอกจากนั้นแอปฯ SnapBridge ยังสามารถแจ้งเตือนเฟริมแวร์กล้องใหม่ๆ รวมถึงใส่ลายน้ำ เช่น วันที่ถ่าย ข้อมูลการถ่ายภาพเบื้องต้น ติดลงไปที่ภาพถ่ายของเราได้ด้วย

snapb-gps-d500

อีกทั้งด้วยการที่กล้องกับสมาร์ทดีไวซ์ของเราเชื่อมต่อกันตลอดเวลา ทำให้เวลาถ่ายภาพ ระบบจะดึงพิกัดสถานที่จากสมาร์ทดีไวซ์ติดลงไปที่โปรไฟล์ภาพอัตโนมัติด้วย

snapb-app4

ส่วนถ้าผู้ใช้ต้องการ WiFi Remote Camera (ใช้จับโฟกัสและลั่นชัตเตอร์) ทางนิคอนก็ยังติดตั้งระบบดังกล่าวมาให้เช่นเดิม รวมถึงยังสามารถดาวน์โหลดภาพจากกล้องผ่าน WiFi เหมือนระบบดั้งเดิมได้อีกด้วย

nikonimage-2

สุดท้ายนอกจากการซิงค์ภาพระหว่างกล้องกับสมาร์ทดีไวซ์แล้ว ระบบ SnapBridge ยังรองรับการสำรองภาพถ่ายไปสู่คลาวด์สตอเรจ “Nikon Image Space” ได้ด้วย โดยลูกค้านิคอนเมื่อสมัครใช้งานครั้งแรกจะได้รับพื้นที่เก็บภาพฟรี 20GB และการสำรองภาพอัตโนมัติผู้ใช้สามารถตั้งค่าได้ว่าจะให้อัปโหลดภาพเมื่อเชื่อมต่อ WiFi หรือจะเลือกอัปโหลดภาพเองก็ได้

ทดสอบประสิทธิภาพ

DSC_0156

testd500

ระยะ 35mm 1/400sec ISO100 f4.5

ลำดับแรกทีมงานขอทดสอบเรื่องคุณภาพไฟล์ภาพก่อน โดยทีมงานเลือกบันทึกไฟล์ RAW 14-bit Uncompressed ขนาดไฟล์ตก 40 กว่า MB แต่สิ่งที่ได้ถือว่านิคอนก็ยังรักษามาตรฐานกล้องระดับโปรไว้ได้อย่างดี แม้ตัวกล้องจะจัดอยู่ในระดับเซ็นเซอร์ DX แต่ D500 กลับเก็บรายละเอียดภาพได้อย่างน่าพอใจ

โดยเฉพาะ JPEG File ส่วนนี้ถือว่ายอดเยี่ยมสุด และเป็น JPEG File ที่ให้คุณภาพดีมาก (ผมเคยชื่นชม EXPEED 5 จาก Nikon 1 J5 ไปแล้ว) คนทำงานเป็นช่างภาพสื่อสารมวลชนและงาน Event ที่จำเป็นต้องส่งภาพให้สำนักข่าวและลูกค้าด้วยเวลาที่จำกัด ไม่มีเวลามานั่งตกแต่งภาพ อยากจะบอกว่า D500 กับ JPEG เป็นสิ่งที่พึ่งพิงได้จริง ISO ระดับ 100 ถึงหลักหมื่นไว้ใจคุณภาพได้เลย

ส่วนเรื่องการจับถือ ยอมรับว่าแนวทางการผลิต DSLR ยุคใหม่ของนิคอนได้รับการออกแบบมาดีขึ้นมาก อย่างตัว D500 ผม (เป๋า พศวัต ศิริจันทร์) เดินถือถ่ายสตรีทเป็นเวลากว่า 4 ชั่วโมง D500 ไม่ค่อยเป็นอุปสรรคต่อการจับถือเลย กริปของ D500 นี่นับว่าออกแบบมาได้ยอดเยี่ยมมาก โดยเฉพาะความกระชับและยางที่หนึบมือดีมาก จนผมมองว่าถ้า D5 จะเป็นกล้องที่เน้นประสิทธิภาพสูงสุด เน้นการถ่ายกีฬาที่ไม่ต้องเคลื่อนกล้องไปมามากนัก D500 น่าจะนำมาเป็นกล้องเสริมสำหรับการวิ่งถ่ายภาพ ใส่กับขาตั้งกล้อง Monopod น่าจะลงตัวดี อีกทั้งคุณภาพไฟล์ D500 กับ D5 นี่คือพี่กับน้องเลยก็ว่าได้ แม้ D500 จะใช้เซ็นเซอร์ตัวคูณและสเปกเรื่อง ISO และความเร็วชัตเตอร์ถ่ายภาพต่อเนื่องจะด้อยกว่า แต่ลักษณะไฟล์ที่ได้ออกมาถือว่าคล้ายกันพอสมควร (ผมรู้สึกว่าไฟล์ภาพ D500 มันเหนือกว่า D750 แต่ไม่เท่า D800 – ความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ)

มาถึงเรื่องชัตเตอร์กล้องกันบ้าง ต้องชื่นชมการออกแบบกลไกลชัตเตอร์และกระจกใหม่ เสียงและความสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นหลังกดชัตเตอร์มีความนุ่มนวลมาก

การจับโฟกัส – ถ้าใช้ผ่านช่องมองภาพ ถือว่านิคอนปรับปรุงมาได้ยอดเยี่ยมขึ้นมาก โฟกัสจับได้เร็ว แม่นยำ และเด็ดสุดตรงโฟกัสติดตามวัตถุที่ว่องไวใช้ได้เลย

มาถึงเรื่องข้อสังเกตกันบ้าง เริ่มจากจุดขาย SnapBridge ส่วนนี้ข้อดีก็มีมาก แต่ข้อเสียก็คือบริโภคแบตเตอรีอยู่บ้าง แม้เราจะปิดกล้องไปแล้วก็ตาม (จะว่ามีภาพค้างไว้ไม่ได้ซิงค์กับสมาร์ทโฟนก็ไม่ใช่) แต่ก็มีบางครั้ง จู่ๆระบบ SnapBridge ก็ไม่กินแบตเตอรีเลย แปลกดีครับ! อีกทั้งระบบการเชื่อมต่อครั้งแรกยังมีปัญหาสมาร์ทดีไวซ์หากล้องพบบ้างไม่พบบ้าง ซึ่งน่าจะเป็นปัญหามาจากเฟริมแวร์ที่ต้องรอนิคอนอัปเดตในอนาคต

ส่วนเรื่องที่สองกับวิดีโอและการใช้งานผ่าน Live View ส่วนนี้ถ้าเทียบกับคู่แข่งแล้ว ถือว่านิคอนยังทำได้ไม่ดีนัก โดยเฉพาะระบบโฟกัสที่เมื่อเปลี่ยนไปใช้ Live View แล้วโฟกัสทำงานไม่ค่อยแม่นยำ แต่ความเร็วในการจับโฟกัสถือว่าปรับปรุงดีขึ้น

และเรื่องสุดท้ายงานวิดีโอที่มีทั้งข้อดีคือ รองรับ 4K 30fps ที่ให้คุณภาพดีมาก และ 1080p 30/60fps ที่ปรับปรุงไฟล์ได้ดีขึ้น และสามารถครอปเซ็นเซอร์เพื่อเพิ่มระยะเลนส์ได้รวมถึงถ่ายภาพนิ่งระหว่างบันทึกวิดีโอได้ด้วย แต่ข้อเสียอยู่ที่เรื่องออโต้โฟกัสแบบต่อเนื่องก็ยังทำได้ไม่ดีนัก แม้จะได้ลองใช้ร่วมกับเลนส์ stepping motors AF-P แล้วแต่การจับโฟกัสแบบต่อเนื่องอัตโนมัติก็ยังไม่รวดเร็วและแม่นยำทัดเทียมคู่แข่งอยู่ดี

ตัวอย่างภาพจากกล้อง Nikon D500

Nikon D500
RAW 14-bit Uncompressed
Processed : Capture NX-D และ Lightroom
Lens : Nikon AF-S NIKKOR 24-85mm f/3.5-4.5G ED VR และ Nikon AF-S NIKKOR 35mm 1:1.8G DX

ระยะ 52mm 1/640sec ISO100 f6.3
ระยะ 52mm 1/640sec ISO100 f6.3

ระยะ 52mm 1/500sec ISO100 f9
ระยะ 52mm 1/500sec ISO100 f9

ระยะ 52mm 1/1,600sec ISO100 f4.5
ระยะ 52mm 1/1,600sec ISO100 f4.5

ระยะ 52mm 1/400sec ISO100 f11
ระยะ 52mm 1/400sec ISO100 f11

ระยะ 36mm 1/500sec ISO2,800 f3.5
ระยะ 36mm 1/500sec ISO2,800 f3.5

ระยะ 36mm 1/1,250sec ISO640 f3.5
ระยะ 36mm 1/1,250sec ISO640 f3.5

ระยะ 52mm 1/500sec ISO100 f3.2
ระยะ 52mm 1/500sec ISO100 f3.2

ระยะ 36mm 1/400sec ISO100 f5.6
ระยะ 36mm 1/400sec ISO100 f5.6

ระยะ 57mm 1/250sec ISO100 f7.1
ระยะ 57mm 1/250sec ISO100 f7.1

ระยะ 26mm 1/800sec ISO100 f4.5
ระยะ 26mm 1/800sec ISO100 f4.5

ระยะ 127mm 1/250sec ISO100 f6.3
ระยะ 127mm 1/250sec ISO100 f6.3

สรุป

ราคาเปิดตัว Nikon D500 (Body อย่างเดียว ไม่มีเลนส์มาให้) อยู่ที่ 69,900 บาท

เทียบกับประสิทธิภาพ สเปกฮาร์ดแวร์และคุณภาพไฟล์ที่ได้ถือว่านิคอนไม่ทำให้แฟนๆผิดหวัง D500 มีสเปกที่ใช้งานระดับมืออาชีพได้หรือจะใช้เป็นกล้องเสริมกับ D5 เพื่อนำเซ็นเซอร์ตัวคูณมาใช้เพิ่มระยะเลนส์เวลาถ่ายงานกีฬา สารคดี ภาพสัตว์ป่า รวมถึงงานวิดีโอที่ D500 จะใช้งานได้ค่อนข้างคล่องตัวกว่า โดยเฉพาะขาลุยทั้งหลายน่าจะถูกใจ D500 เนื่องจากตัวกล้องทั้งหมดมีความแข็งแรง ลุยฝน ลุยโคลนได้เหมือนกับกล้องไฮเอนด์ของนิคอนทุกรุ่น

ส่วนถ้าใครกำลังลังเลใจหรืองงกับกลุ่มกล้องของนิคอน DSLR ผมจะแนะนำดังนี้ครับ

  • Nikon D5 (FX), D500 (DX) เป็นกล้องที่เน้นประสิทธิภาพสูง ส่วนใหญ่จะถูกเลือกใช้ในงานอาชีพที่ต้องการความรวดเร็วทั้งการประมวลผลและชัตเตอร์
  • Nikon D810A จับกลุ่มคนต้องการกล้องความละเอียดสูง ไม่เน้นความรวดเร็ว เช่น เก็บภาพสถาปัตยกรรม ถ่ายดวงดาว งาน Landscape เป็นต้น
  • Nikon D750, D610 กลุ่มคนทั่วไปที่ต้องการเซ็นเซอร์ฟูลเฟรม
  • และสุดท้าย Nikon Dxxxx (พวกเลขสี่ตัว) จะเน้นกลุ่มคนทั่วไปที่ต้องการเซ็นเซอร์ตัวคูณ DX นำโดย D7200 เน้นความรวดเร็วลงไปถึง D3300 เป็นรุ่นเริ่มต้น น้ำหนักเบา

ข้อดี

– การออกแบบ จับถือกระชับมือและแข็งแรงตามแบบฉบับนิคอน
– SnapBridge แนวคิดดีมาก
– ถ่ายภาพต่อเนื่องเร็ว บัฟเฟอร์ทำได้มากถึง 200 ภาพ
– ค่าความไวแสงในช่วงต่างๆกับ EXPEED 5 ให้ผลลัพท์ภาพที่น่าประทับใจมาก
– วิดีโอทั้ง 4K และ 1080p ให้คุณภาพสูงมาก

ข้อสังเกต

– มีปัญหาเรื่องจัดการพลังงานเมื่อเปิดใช้ Bluetooth LE ร่วมกับ SnapBridge
– ออโต้โฟกัสสำหรับงานวิดีโอ และเมื่อเปิด Live View ยังทำได้ไม่น่าประทับใจ

Gallery

]]>
Review : Sony a6300 เด่นที่ออโต้โฟกัสเร็วสุดในโลก https://cyberbiz.mgronline.com/review-sony-a6300/ Wed, 06 Apr 2016 10:59:56 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=22215

head-a6300

a6300 ถูกจัดเป็นกล้องมิร์เรอร์เลสแฟลกชิปในตระกูล APS-C ที่โซนี่ตั้งใจจับกลุ่มผู้ใช้ที่ต้องการกล้องมิร์เรอร์เลสความเร็วสูง โดย a6300 ถูกพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพจาก a6000 อยู่หลายส่วน โดยเฉพาะระบบออโต้โฟกัสใหม่ที่โซนี่ตั้งใจพัฒนาให้ทำงานได้รวดเร็วจนได้ชื่อว่า “เป็นกล้องที่ออกแบบมาเพื่อถ่ายงานกีฬา งานแคนดิต สตรีท หรือไลฟ์โฟโต้ได้อย่างยอดเยี่ยม”

**Sony a6300 รุ่นที่ทีมงานได้รับจะมาพร้อมคิทเลนส์ 16-50mm f3.5-5.6 Power Zoom พร้อมระบบป้องกันภาพสั่นไหว Optical Steady Shot

การออกแบบ

IMG_4279

ตั้งแต่โซนี่ปรับตระกูล NEX และ Alpha มารวมกันและมุ่งพัฒนามิร์เรอร์เลสให้เป็นตลาดหลักแทน DSLR ทำให้เราเห็นการมุ่งเน้นพัฒนาเทคโนโลยีบนมิร์เรอร์เลสของโซนี่ได้ชัดเจนมากขึ้น โดย a6300 เป็นกล้องมิร์เรอร์เลสเปลี่ยนเลนส์ได้ (ใช้เลนส์ E-Mount) ขนาดเท่าฝ่ามือ (Palm-size) ขนาดกล้องกว้างxสูง อยู่ที่ 120×66.9 มิลลิเมตร หนา 48.8 มิลลิเมตร น้ำหนักประมาณ 404 กรัม

นอกจากนั้นบอดี้ตัวกล้องยังถูกผลิตโดยใช้วัสดุแมกนีเซียมอัลลอยพร้อมป้องกันน้ำและฝุ่น (ในที่นี่หมายถึงป้องกันน้ำฝน ฝุ่นทรายได้เล็กๆน้อยๆ ไม่สามารถลุยน้ำหรือถ่ายใต้น้ำได้)

IMG_4280IMG_4282

ด้านข้าง – เริ่มจากซ้ายจะเป็นที่อยู่พอร์ตเชื่อมต่อ (มีฝาปิดไว้) ไล่ตั้งแต่ AV Multi, Micro HDMI และมีการเพิ่มช่องเสียบไมโครโฟนภายนอกขนาด 3.5 มิลลิเมตรสำหรับงานวิดีโอมาให้ด้วย

ส่วนด้านขวามือจะเป็นส่วนของกริปยางจับถือพร้อมเซ็นเซอร์ NFC ส่วนด้านหน้ากริปยางจะเป็นที่อยู่ของเซ็นเซอร์อินฟาเรดสำหรับใช้งานกับอุปกรณ์เสริมไร้สาย เช่น รีโมทชัตเตอร์ เป็นต้น

IMG_4291

ด้านบน – ตรงกลางเป็นที่อยู่ของช่อง Hot Shoe สำหรับสวมใส่อุปกรณ์เสริม เช่น ไฟแฟลช ไมโครโฟนจากโซนี่ ถัดมาเป็นไฟแฟลชแบบ Pop up, วงล้อหมุนปรับโหมดถ่ายภาพ, ปุ่มชัตเตอร์พร้อมสวิตซ์เปิดปิดกล้อง, ปุ่ม Custom 1 และสุดท้ายขวาสุดคือ วงล้อปรับตั้งค่าที่สามารถตั้งการใช้งานได้อิสระ

IMG_4303display-a6300IMG_4299

ด้านหลัง – หน้าจอสี TFT 3 นิ้ว (ปรับหน้าจอขึ้นได้ 90 องศา กดหน้าจอลงได้ 45 องศา) ความละเอียดหน้าจออยู่ที่ 921,600 จุด Live View สามารถแสดงภาพเคลื่อนไหวความเร็วสูงสุด 50/100fps (NTSC 60/120fps) ซึ่งช่วยให้การติดตามวัตถุทำได้ลื่นไหลต่อเนื่องกว่าหน้าจอ Live View ทั่วไป

IMG_4350

ในส่วนช่องมองภาพอิเล็กทรอนิกส์สี XGA OLED มีความละเอียด 2,359,296 จุด พร้อมเซ็นเซอร์เปิดปิดการทำงานช่องมองภาพและสลับการทำงานระหว่าง Live View แบบอัตโนมัติ

ด้านปุ่มคำสั่งที่น่าสนใจจะอยู่ที่สวิตซ์ AF/MF, AEL เวลาผู้ใช้ต้องการเลือกล็อคโฟกัส คอนเฟริมโฟกัสในโหมด Manual Focus หรือล็อคค่าแสงที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งก็เพียงนำนิ้วโป้งดันก้านสวิตซ์เลือกคำสั่งที่ต้องการ จากนั้นก็ใช้นิ้วโป้งกดปุ่มตรงกลางค้างไว้เท่านั้น

ส่วนปุ่มคำสั่งอื่นๆ จะคล้ายกับมิร์เรอร์เลสทุกรุ่นของโซนี่ เช่นปุ่ม Fn เวลาอยู่ในโหมดกล้องถ่ายภาพกดจะเป็นการเรียกเมนูตั้งค่ากล้อง ส่วนเมื่ออยู่ในหน้าพรีวิวภาพกดค้างไว้จะเป็นการเปิด WiFi และแชร์ภาพ อีกทั้งในรุ่น a6300 ปุ่มกดต่างๆจะดูแข็งแรงกว่า a6000 ด้วย

IMG_4294IMG_4318

ด้านล่าง – นอกจากเป็นที่อยู่ของช่องใส่ขาตั้งกล้องแล้ว บริเวณกริปยังเป็นที่อยู่ของช่องใส่แบตเตอรี NP-FW50 (แบตเตอรี 1 ก้อนถ่ายได้ต่อเนื่องประมาณ 350-400 ภาพ) และช่องใส่การ์ดความจำ SD Card/Memory Stick รองรับมาตรฐาน Memory Stick PRO Duo, Memory Stick PRO-HG Duo, Memory Stick Micro (M2), SDHC UHS, SDXC UHS

IMG_4321

ในส่วนการชาร์จไฟ โซนี่ยุคใหม่ไม่มีการแถมแท่นชาร์จแบตเตอรีภายนอกมาให้ แต่จะให้เป็นอะแดปเตอร์แปลงไฟ 5V 1.5A พร้อมสาย MicroUSB เชื่อมต่อกับกล้องโดยตรง อีกทั้งด้วยระบบจัดการพลังงานแบบใหม่ ทำให้ผู้ใช้สามารถนำตัวกล้องไปชาร์จกับ Power Bank ที่จ่ายไฟ 5V ได้ หรือแม้กระทั่งระหว่างจะชาร์จไฟก็สามารถใช้งานกล้องพร้อมกันได้ด้วย

สเปกและฟีเจอร์เด่น

IMG_4317new-sensor-design-a6300

มาถึงส่วนของสเปกที่น่าสนใจของ a6300 เริ่มจากเซ็นเซอร์รับภาพใช้ขนาด APS-C (23.5 x 15.6 มม.) Exmor CMOS ความละเอียดสูงสุด 24.2 ล้านพิกเซล (6,000×4,000 พิกเซล ที่อัตราส่วนภาพ 3:2) ตัวเซ็นเซอร์ได้รับการออกแบบในส่วนตัวนำสัญญาณไฟฟ้าใหม่เป็น “โลหะทองแดง” ช่วยให้การไหลผ่านของไฟฟ้าทำได้รวดเร็วขึ้น อีกทั้งยังสามารถขยายพื้นที่โฟโต้ไดโอดให้สามารถรับแสงได้มากขึ้น

อีกทั้งโซนี่ยังได้ปรับปรุงหน่วยประมวลผลภาพ BIONZ X ให้สามารถขจัดสัญญาณรบกวนได้ดีขึ้นกว่ารุ่นก่อนหน้า ค่าความไวแสง (ISO) รองรับได้กว้างตั้งแต่ 100-51,200 รวมถึงรองรับการถ่ายภาพในรูปแบบ RAW 14-bit + 16-bit Color (แต่เป็นแบบบีบอัดไฟล์) ซึ่งให้คุณภาพสูงกว่า a6000

4dfocus

ในส่วนระบบออโต้โฟกัส “4D Focus” บนเทคโนโลยี “Fast Hybrid AF (Phase/Contrast AF)” โซนี่ปรับปรุงใหม่โดยขยายพื้นที่ตรวจจับโฟกัสแบบ Phase Detection ให้เต็มเซ็นเซอร์รับภาพเป็นจำนวนมากถึง 425 จุด ส่วน Contrast Detection เพิ่มเป็น 169 จุด เมื่อรวมแล้ว a6300 จะครอบคลุมพื้นที่โฟกัสมากกว่า a6000 ถึง 7.5 เท่า พร้อมปรับปรุงสมองกลให้สามารถคิด วิเคราะห์และคาดเดาทิศทางและเวลาของวัตถุที่กำลังโฟกัสได้แม่นยำ ต่อเนื่องและรวดเร็วกว่าเดิม โดยความเร็วออโต้โฟกัสของ a6300 โซนี่เครมไว้ที่เวลา 0.05 วินาทีเท่านั้น

นอกจากนั้นโซนี่ยังได้ปรับปรุงให้ระบบออโต้โฟกัสแบบ Phase Detection AF ให้สามารถใช้ร่วมกับอะแดปเตอร์ A-mount (LA-EA2 หรือ LA-EA4)

วิดีโอแสดงตัวอย่างการทำงานของระบบออโต้โฟกัสใหม่ในโหมดถ่ายภาพต่อเนื่อง โดยตั้งพื้นที่โฟกัสเป็น Wide และกดถ่ายโดยไม่เล็งแบบที่กำลังถ่ายเพราะต้องการให้กล้องตรวจจับเอง

focus-a6300

ด้านโหมดถ่ายภาพต่อเนื่อง โซนี่เลือกปรับปรุงใหม่หมด โดยเพิ่มโหมดถ่ายภาพต่อเนื่องแบบ Hi+ ที่ความเร็ว 11 เฟรมต่อวินาทีขึ้นมา และปรับ Hi ให้มีความเร็วเพิ่มขึ้นเป็น 8 เฟรมต่อวินาที รวมถึงปรับเพิ่มบัฟเฟอร์ (เมื่อกดชัตเตอร์ค้างไว้ในโหมดถ่ายภาพต่อเนื่อง) ให้ทำงานได้สูงขึ้น โดยที่คุณภาพไฟล์ JPEG Extra Fine อยู่ที่ประมาณ 44 ภาพ JPEG Fine L อยู่ที่ประมาณ 47 ภาพ JPEG Standard L อยู่ที่ประมาณ 55 ภาพ ส่วน RAW และ RAW+JPEG จะอยู่ที่ประมาณ 21 ภาพ

focus-mag-a6300

และสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการความแม่นยำในการจับโฟกัสวัตถุมากกว่าปกติ เช่น ต้องการโฟกัสวัตถุชิ้นเล็กมาก สามารถใช้ฟีเจอร์ Focus Magnifier เพื่อขยายภาพให้ใหญ่ขึ้น จากนั้นผู้ใช้สามารถเลื่อนกากบาทไปยังวัตถุที่ต้องการโฟกัสแบบละเอียดกว่าจุดโฟกัสทั่วไปได้

peaking-a6300

ส่วนคนใช้เลนส์มือหมุน a6300 ยังคงมี Focus Peaking ให้เลือกใช้เช่นเดียวกับมิร์เรอร์เลสรุ่นก่อนหน้าของโซนี่ (รู้สึกว่า Peaking จะทำงานได้แม่นยำขึ้นเล็กน้อย)

วิดีโอปรับปรุงใหม่

วิดีโอตัวอย่างโปรไฟล์ภาพใหม่ S-Gamut3.Cine/S-Log 3

วิดีโอ 4K จาก Sony a6300 บนฟอร์แมต Super35 แท้ๆ

มาถึงโหมดวิดีโอที่ในครั้งนี้โซนี่จัดเต็มกว่าเดิม เริ่มจากโปรไฟล์ใหม่ S-Gamut3.Cine/S-Log 3 ที่ให้ไดนามิกกว้างถึง 1,300%, ฟอร์แมต Super35 แท้ๆที่ใช้การครอปเซ็นเซอร์แทนการบีบอัดภาพ (No Pixel Binning) ไปถึงวิดีโอ 4K 25p ที่บันทึกด้วยฟอร์แมต XAVC S 100Mbps ได้ (วิดีโอ 1080p สูงสุดที่ 50Mbps ฟอร์แมตมีให้เลือกใช้ตั้งแต่ XAVC S, AVCHD และ MP4) รวมถึงรองรับวิดีโอสโลโมชัน (High Frame Rate) ที่ความเร็ว 120 เฟรมต่อวินาทีบนความละเอียด 1080p 100Mbps

IMG_4360

ส่วนคนที่ชอบ แชะ & แชร์ ใน a6300 รองรับการเชื่อมต่อ NFC/WiFi ทำให้สามารถควบคุมกล้อง (คล้ายเป็นรีโมทชัตเตอร์) หรือจะถ่ายปุ๊บแชร์เข้าสมาร์ทโฟนปั๊บ (Remote Camera – ไม่จำเป็นต้องใส่เมมกล้องก็ถ่ายได้ เพราะระบบจะบันทึกภาพลงในสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตทันที) ซึ่งทั้งหมดสามารถทำได้ผ่านแอปฯ PlayMemories Camera Apps บนสมาร์ทดีไวซ์

นอกจากนั้นจะดาวน์โหลดโหมดถ่ายภาพพิเศษเพิ่มเติมก็สามารถทำได้ผ่านสโตร์ภายในตัวกล้องหรือหน้าเว็บไซต์ https://www.playmemoriescameraapps.com/portal/

สุดท้ายสำหรับสเปกปลีกย่อยที่น่าสนใจ เริ่มจากความเร็วชัตเตอร์ที่รองรับต่ำสุดที่ 30 วินาที (รองรับชัตเตอร์ B) สูงสุดที่ 1/4,000 วินาที Flash Sync ที่ความเร็วสูงสุด 1/160 วินาที นอกจากนั้น a6300 มาพร้อมฟังก์ชันชัตเตอร์เงียบ (Silent Shooting) และรองรับ Eye AF ที่เหมาะแก่การถ่ายภาพบุคคล เพราะโฟกัสสามารถตรวจจับดวงตาของแบบได้

filesize-a6300

ขนาดไฟล์ภาพ 1 รูป ฟอร์แมต RAW อยู่ที่ประมาณ 25-26MB JPEG Extra Fine อยู่ที่ประมาณ 10-11MB

ทดสอบประสิทธิภาพ

ISO-a6300

เริ่มจากทดสอบ Noise (ไฟล์ JPEG) ที่ค่าความไวแสงแต่ละช่วงเพื่อพิสูจน์เซ็นเซอร์รับภาพและหน่วยประมวลผลภาพปรับแต่งใหม่ว่าจะทำได้ดีแค่ไหน จากภาพจะเห็นว่าช่วงค่าความไวแสงตั้งแต่ ISO100-6,400 สอบผ่านแบบไม่ต้องซูมดูแต่อย่างใด ไฟล์ที่ได้เนียนมาก ส่วนเมื่อเข้า High Zone เริ่มตั้งแต่ 12,800 ก็ยังถือว่าใช้ได้ แต่พอเข้าสู่ตัวเลข 25,600-51,200 ไฟล์ที่ได้เริ่มมีสัญญาณรบกวนสูงขึ้นตามลำดับ โดยถ้านำไปใช้ถ่ายภาพเพื่องานเว็บไซต์หรือโพสต์ภาพลงโซเชียลปกติ ช่วง ISO 12,800-32,000 ถือว่าให้คุณภาพที่ใช้ได้ ส่วน 51,200 แนะนำให้ใช้เวลาจำเป็นจริงๆจะดีที่สุด

ด้าน Noise สำหรับ RAW ไฟล์ จะเริ่มเกิดสัญญาณรบกวนมากตั้งแต่ ISO 3,200 เป็นต้นไป

caf-a6300

มาถึงการทดสอบจุดขายสำคัญอย่าง “ระบบออโต้โฟกัส 4D Focus ปรับปรุงใหม่” โดยเพิ่มจุดโฟกัสทั้ง Phase และ Contrast ให้มากขึ้นจนเต็มเซ็นเซอร์รับภาพ ผลลัพท์ที่ได้จากการทดสอบโดยเปิดใช้โหมดถ่ายภาพต่อเนื่อง Hi+ 11fps (แนะนำให้ใช้ร่วมกับ SD Card อ่านเขียนความเร็วสูงมาตรฐาน UHS-I จะดีที่สุด) โดยทีมงานได้ลองวิ่งจากระยะไกลสุดเข้ามาหาตัวกล้อง โดยไม่มีการเล็งภาพหรือจับโฟกัสก่อนกดชัตเตอร์ จะเห็นว่ากล้องสามารถเรียนรู้ได้ว่าวัตถุใดเคลื่อนไหวและควรจับโฟกัสที่ตำแหน่งใด ภาพที่ได้จึงออกมาคมชัดเกือบทุกเฟรมที่ถ่าย

โดยบัฟเฟอร์ที่ทำได้ ทดสอบจากการกดชัตเตอร์ลงไป 1 ครั้งแล้วกดค้างไว้ตลอดจนกล้องเริ่มทำงานช้าลงจนหยุดถ่ายภาพจะอยู่ที่ประมาณ 44-46 ภาพ (บนความละเอียด 24 ล้านพิกเซล JPEG Extra Fine) หลังจากนั้นก็ต้องรอกล้องบันทึกภาพทั้งหมด (ประมาณ 400-500MB) ลงบนการ์ด ซึ่งต้องใช้เวลาเป็นนาทีสำหรับการ์ดความจำ MicroSD 32GB Sandisk Class 10 UHS-I 80MB/s

DSC00761DSC00631

ยกตัวอย่าง 2 ภาพนี้ ทีมงานเลือกถ่ายโดยใช้โหมดถ่ายภาพต่อเนื่อง Hi+ พร้อมตั้งโฟกัสต่อเนื่อง Wide Continuous AF และตั้ง ISO ให้วิ่งอยู่ที่ 1,000-2,000 เพื่อหยุดการเคลื่อนไหวของเด็กน้อย จากนั้นทีมงานก็เริ่มกดชัตเตอร์ทันที ระบบโฟกัสจะเข้าใจว่าต้อง Tracking บริเวณหน้าของเด็กและผลลัพท์ของภาพที่ออกมาก็คือโฟกัสเข้าเป้าหมายตามที่ผู้ถ่ายต้องการ

failfocus-a6300

แต่ก็ใช่ว่าระบบออโต้โฟกัสใหม่นี้จะไม่มีอาการจับโฟกัสพลาดเป้าเลย เพราะจากการทดสอบร่วมกับคิทเลนส์ 16-50mm พบว่า บางครั้งถ้าแบบหรือวัสถุที่ถ่ายเคลื่อนไหวเข้าหากล้องเร็วเกินไป หรือในเฟรมภาพมีวัตถุที่เคลื่อนไหวอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ใบหน้าและแขนของแบบเคลื่อนไหวอยู่ในเฟรมพร้อมกัน ออโต้โฟกัสอาจมีสับสนเล็กน้อย และเกิดอาการโฟกัสผิดพลาดบ้าง (บางทีทั้ง 40-46 ภาพที่ถ่ายได้ อาจมีโฟกัสพลาดเป้าถึง 10-12 ภาพ แต่บางสถานการณ์อาจพลาดเป้าเพียง 2-3 รูปเท่านั้น) แต่สักพักโฟกัสก็จะเรียนรู้ทิศทางและจับโฟกัสให้ใหม่ในเสี้ยววินาที

DSC00008

ส่วนในโหมดวิดีโอ ด้วยระบบโฟกัสใหม่ทำให้การจับโฟกัสทำได้เร็วและแม่นยำมากขึ้น แต่ก็มีข้อสังเกตเล็กน้อยในเรื่องเวลาเปลี่ยนตำแหน่งโฟกัสแบบต่อเนื่องจะมีอาการกระชาก ไม่นุ่มนวลเท่าที่ควร

rolling-shutter-a6300

นอกจากนั้นการถ่ายวิดีโอ ถ้าต้องมีการแพนกล้องซ้ายขวาอย่างรวดเร็ว ผู้ใช้จะพบอาการภาพล้มเกิดขึ้นได้ ต้องใช้ซอฟต์แวร์ตัดต่อช่วยลดอาการภาพล้มภายหลัง

DSC00440

raw-details-a6300-1

มาถึงการทดสอบ RAW ปรับปรุงใหม่แบบ 14-bit ที่ในครั้งนี้ถือว่าไฟล์ให้รายละเอียดที่ดี ยกตัวอย่างจากภาพประกอบด้านบน ทีมงานเลือกถ่ายโดยวัดแสงภายในร้านของชำให้พอดีและปล่อยให้รอบข้างมืด จากนั้นเมื่อนำมาปรับแก้ผ่านโปรแกรมตกแต่งภาพจะเห็นว่าเราสามารถดึงส่วนที่มืดให้ปรากฏรายละเอียดขึ้นมาได้ชัดเจนดี สัญญาณรบกวนต่างๆถูกจัดการมาได้ดีขึ้น แต่ก็ยังถือว่ามากอยู่ถ้าใช้ ISO เกิน 3,200 ขึ้นไป ต่างจาก JPEG File ที่ให้คุณภาพที่ดีแม้จะตั้ง ISO สูงถึง 12,800

DSC00606raw-details-a6300-2

ส่วนคุณภาพไฟล์ JPEG เป็นไปตามมาตรฐานโซนี่ยุคใหม่เริ่มตั้งแต่ a6000, a7-Series ไปถึง RX100 Mark 4 โทน JPEG File จะมาแบบเดียวกัน คือเน้นไดนามิกที่กว้างขึ้น เอาใจคนชอบแต่งภาพบนสมาร์ทดีไวซ์ เพราะผู้ใช้สามารถนำ JPEG ไปตกแต่งต่อยอดทั้งจากแอปฯบนสมาร์ทโฟนและอื่นๆได้ไม่ต่างจาก RAW

ยกตัวอย่างภาพด้านบน ทีมงานถ่ายด้วย JPEG Extra Fine จากนั้นนำมาย้อมสีฟิล์ม Kodak Portra 400 ด้วยปลั๊กอิน VSCO จะเห็นว่าสกินโทนและเนื้อไฟล์ยังให้คุณภาพที่ดีอยู่

DSC00486DSC00407

ด้านการใช้ร่วมกับเลนส์มือหมุน ยกตัวอย่าง 2 ภาพนี้ใช้ a6300 ร่วมกับอะแดปเตอร์ OM>NEX เลนส์ Olympus Zuiko 50mm f1.4 ตั้งแต่ช่วงยุค ’70 เมื่อเชื่อมต่อกับกล้องระบบออโต้โฟกัสทุกฟังก์ชันจะหยุดทำงาน แต่เราสามารถเรียก Peaking Level ขึ้นมาดูได้ โดยเมื่อหมุนเลนส์ Peaking จะวิ่งไปตามขอบวัตถุที่โฟกัสเข้าเป้า แน่นอนว่าใน a6300 Peaking Level ทำงานได้ค่อนข้างน่าประทับใจกว่ามิร์เรอร์เลสโซนี่ยุคก่อนๆมาก

ตัวอย่างภาพถ่ายจาก Sony a6300 + Kit Lens 16-50mm PZ OSS

DSC00017

ISO 100 – Shutter speed 1/60s – f4

DSC00034

ISO 100 – Shutter speed 1/250s – f5.6

DSC00052

ISO 100 – Shutter speed 1/200s – f5.6

DSC00372

ISO 2,500 – Shutter speed 1/60s – f4

DSC00400

ISO 4,000 – Shutter speed 1/60s – f4.5

DSC00429

ISO 160 – Shutter speed 13s – f14

DSC00463

ISO 6,400 – Shutter speed 1/30s – f5, ถ่ายด้วย RAW แล้วนำไปตกแต่งดึงสีใหม่หมดด้วย Lightroom โดยบริเวณคนนั่งภาพต้นฉบับจะมืดมาก ทีมงานจึงดึงส่วน Shadow ขึ้นมากพอสมควร

DSC00521

ISO 800 – Shutter speed 1/80s – f5.6 – Skin Tone : Low

DSC00509DSC00511

เปิดใช้ Picture Effect : HDR Painting: Mid (Picture Effect ต่างๆยังมีให้เลือกใช้เหมือนเดิม รวมถึงโหมดถ่ายอัตโนมัติ Superior Auto, Anti Motion Blur ก็มีให้เลือกใช้เหมือนเดิม แต่เมนูจะซ่อนอยู่ลึกหน่อย)

สรุป

IMG_4354

สำหรับค่าตัว a6300 เฉพาะบอดี้ อยู่ที่ 39,990 บาท ส่วนชุดรวมคิทเลนส์พาวเวอร์ซูม 16-50 มิลลิเมตร อยู่ที่ 46,990 บาท

เทียบกับสเปกและฟังก์ชันการใช้งานที่ได้ ถ้าผู้อ่านเป็นคนชอบถ่ายภาพแคนดิต สตรีท หรือชีวิตผู้คนตามท้องถนนไปถึงภาพกีฬา จงลอง Sony a6300 แล้วคุณอาจจะถูกใจ เพราะจากการทดสอบหลายส่วนค่อนข้างลงตัว ไฟล์ดิบ JPEG ไว้ใจได้ วิดีโอและระบบโฟกัสคือพระเอกคนสำคัญ รวมถึงขนาดตัวกล้องและการจับถือ โซนี่ปรับปรุงมาได้ดีกว่าเดิมมาก

ส่วนใครที่งบประมาณไม่ถึง การเลือกเล่น a6000 (ปัจจุบันราคาอยู่ที่ประมาณ 23,000-24,000 บาท) ก็ไม่ถือว่าตกรุ่นจนตาม a6300 ไม่ทันแต่อย่างใด

ข้อดี

– กริปจับถือถนัดมือขึ้น งานประกอบแข็งแรงมาก
– ออโต้โฟกัสทำงานได้แม่นยำและรวดเร็วตามที่คุยไว้จริง
– Silent shooting เงียบจริงๆ (ไม่มีเสียงเลย)
– วิดีโอ 4K คุณภาพสูง มี S-log 3 /S-Gamut 3 ให้ใช้ พร้อมรองรับสโลโมชัน 100/120fps ที่ความละเอียด 1080p
– JPEG Extra Fine ไฟล์ดีมากทั้งเรื่องนอยซ์และไดนามิก
– Live View 50/100fps (60/120fps NTSC) สมูท ลื่นไหล ช่วยให้การจับโฟกัสติดตามวัตถุทำได้ดีขึ้น
– มีช่องไมโครโฟน 3.5 มิลลิเมตรแล้ว

ข้อสังเกต

– วิดีโอมีอาการภาพล้ม (Rolling Shutter) เมื่อแพนกล้องซ้ายหรือขวาเร็วๆ และโฟกัสค่อนข้างกระชากไปนิด (ทดสอบโดยคิทเลนส์)
– ราคาสูงแต่ไม่มีระบบกันสั่นในตัวกล้อง
– หน้าจอปรับพับแบบ 180 องศาไม่ได้

Gallery

]]>
Review : Nikon COOLPIX P900 คอมแพกต์ซุปเปอร์ซูม ถ่ายทะลุถึงดวงจันทร์ https://cyberbiz.mgronline.com/review-nikon-p900/ Sun, 13 Mar 2016 04:44:23 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=21955

Nikon COOLPIX P900 เป็นกล้องดิจิตอลคอมแพกต์กระแสแรงตั้งแต่งานเปิดตัวเมื่อปีก่อน (บ้านเรา นิคอนประเทศไทยเพิ่งนำเข้ามาทำตลาดอย่างเป็นทางการเมื่อต้นปีที่ผ่านมา) ด้วยวิดีโอแสดงการซูมภาพถ่ายดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ได้กลมโตและดวงใหญ่มาก เนื่องจากตัวกล้องมาพร้อมเลนส์ซูมถึง 83 เท่า หรือคิดเป็นระยะ 35 มิลลิเมตร จะครอบคลุมระยะตั้งแต่กว้างสุด 24 มิลลิเมตรจนไหลไปไกลถึง 2,000 มิลลิเมตรพร้อมเทคโนโลยีป้องกันภาพสั่นไหวตัวใหม่ เพื่อต่อกรกับระยะซูม 83 เท่าเป็นครั้งแรกของตลาดคอมแพกต์

การออกแบบ

IMG_4179

ในส่วนการออกแบบตัวกล้อง ดูจากรูปลักษณ์ภายนอก Nikon COOLPIX P900 มีขนาดตัวที่ใหญ่ใกล้เคียงกับกล้อง DSLR ระดับกลางๆได้เลย โดยขนาดกว้างxยาวxสูงxลึก อยู่ที่ 139.5×103.2×137.4 มิลลิเมตร น้ำหนักอยู่ที่ 899 กรัม (ใกล้เคียง D7200) พร้อมกริปยางจับถือได้กระชับมือ ผิวสัมผัสนุ่ม (จับแล้วให้อารมณ์ไม่ต่างจาก DSLR) อีกทั้งด้านหน้านิคอนยังได้ติดตั้งช่องรับสัญญาณอินฟาเรด รองรับรีโมทลั่นชัตเตอร์กล้องด้วย

IMG_4185

ด้านซ้าย – บริเวณกริปจับจะเป็นที่อยู่ของ NFC และพอร์ต Micro USB สำหรับชาร์จไฟ (รองรับการชาร์จไฟผ่านพอร์ต USB 5V 1A) พร้อมช่อง Micro HDMI

IMG_4198

ด้านขวา – ด้านบนสุดเป็นปุ่มเปิดไฟแฟลช ถัดลงมาตรงกระบอกเลนส์จะเป็นที่อยู่ของปุ่ม Snap-Back Zoom (เวลาถ่ายภาพระยะใกล้แล้ววัตถุที่กำลังโฟกัสหลุดออกจากเฟรม ให้กดปุ่มนี้ค้างไว้เลนส์จะซูมออกให้กว้างขึ้นชั่วคราวเพื่อให้เราสามารถมองเห็นวัตถุที่หลุดจากเฟรมไปแล้วได้ จากนั้นเมื่อเราจัดองค์ประกอบภาพเสร็จ ปล่อยปุ่มนี้ เลนส์จะซูมไปที่ระยะเดิม)

ถัดไปด้านข้างจะเป็นสวิตซ์ T/W สามารถเลื่อนขึ้นลงเพื่อใช้ซูมภาพเข้าออกได้ (ใช้เวลาถ่ายวิดีโอ ระบบซูมจะนุ่มนวลมาก)

IMG_4196

ด้านบน – ตรงกลางเป็นไมโครโฟนสเตอริโอพร้อมโลโก้ GPS ถัดไปด้านขวามือจะเป็นที่อยู่ของปุ่มหมุนปรับโหมดถ่ายภาพ (สไตล์ DLSR-Like) คือมีโหมดถ่ายภาพให้เลือกใช้หลากหลายตั้งแต่ Auto, Program, Manual, ซีนโหมด, ปรับความเร็วชัตเตอร์หรือรูรับแสงเอง เป็นต้น

นอกจากนั้นนิคอนยังให้ปุ่ม Fn (Function) และวงล้อ Dial ส่วนปุ่มชัตเตอร์และวงแหวนซูมภาพถูดติดตั้งอยู่ในตำแหน่งกริปจับเหมือน DSLR

IMG_4187display-tilt-p900

ด้านหลัง – เป็นจอไลฟ์วิว TFT LCD ปรับหมุนได้ ขนาด 3 นิ้ว ความละเอียดหน้าจอ 921,000 จุด (RGBW) ครอบคลุมการมองเห็นภาพ 100%

display-p900

ช่องมองภาพ – เป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์ ขนาด 0.2 นิ้วความละเอียด 921,000 จุด โดยมีฟังก์ชั่นการปรับแก้สายตา (–3 ถึง +1 m) และเซ็นเซอร์สลับจอใช้งานอัตโนมัติเมื่อมองช่องมองภาพ

ถัดไปด้านขวามือ จะเป็นที่อยู่ของปุ่มควบคุม ปุ่มบันทึกวิดีโอ เปิด WiFi ปุ่มพรีวิวภาพ และส่วนสำคัญคือวงล้อปรับตั้งค่ากล้องต่างๆ

IMG_4211

ด้านใต้กล้อง – จะเป็นที่อยู่ของรูเชื่อมต่อขาตั้งกล้องและช่องใส่แบตเตอรี EN-EL23 1,850mAh (ถ่ายภาพต่อเนื่องได้ประมาณ 360 ภาพ วิดีโอ 1 ชั่วโมง 20 นาที) พร้อมช่องใส่การ์ดความจำ SD, SDHC, SDXC

IMG_4203IMG_4239

มาถึงเรื่องเลนส์กล้องและสเปกภายใน เริ่มจากเลนส์ นิคอนเลือกใช้ Nikkor 83x 4.3-457 มิลลิเมตร (24-2,000 มิลลิเมตร) Wide Optical Zoom ED VR (หน้าเลนส์ขนาด 67 มิลลิเมตร) พร้อมรองรับ Dynamic Fine Zoom 166 เท่า (4,000 มิลลิเมตร) ดิจิตอลซูมสูงสุด 8,0000 มิลลิเมตร

zoom83x

24wide-p90083tele-p900166x-p900

จากบน – ภาพถ่ายที่ระยะกว้างสุด 24 มิลลิเมตร > ซูม 83x 2,000 มิลลิเมตร และจบด้วยภาพซูม Dynamic Fine Zoom 166 เท่า (4,000 มิลลิเมตร)

ช่วงโฟกัส – ระยะกว้างสุดประมาณ 50 เซนติเมตร เทเลประมาณ 5 เมตร

Shutter lag – มุมกว้าง อยู่ที่ 0.12 วินาที, เทเล ประมาณ 0.75 วินาที

ส่วนประกอบชิ้นเลนส์ – 16 ชิ้น 12 กลุ่ม พร้อมเลนส์ ED 5 ชิ้น และ Super ED 1 ชิ้น เพื่อลดความคลาดเคลื่อนสี Chromatic Aberration (CA) โดยเฉพาะเมื่อยู่ในระยะซูม

รูรับแสงและม่านชัตเตอร์ – ควบคุมด้วยแผ่นไดอะแฟรมม่านรูรับแสงหกกลีบควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เริ่มต้นที่ f2.8 และเมื่อซูมภาพ รูรับแสงกว้างสุดจะไหลไปได้ถึง f6.5 ส่วนรูรับแสงแคบสุดที่สามารถตั้งค่าได้คือ f8.0

qc-p900

ด้านเซ็นเซอร์รับภาพเป็นชนิด CMOS ขนาด 1/2.3 นิ้ว (เท่าคอมแพกต์และสมาร์ทโฟนทั่วไป) พร้อมหน่วยประมวลผลภาพ EXPEED C2 ความละเอียดภาพสูงสุด 16 ล้านพิกเซล ที่อัตราส่วนภาพ 4:3 คุณภาพไฟล์ JPEG เลือกได้ระหว่าง Normal/Fine ไม่รองรับการบันทึกในรูปแบบไฟล์ RAW

focus-mainfocus-p900

มาดูระบบออโต้โฟกัส นิคอนเลือกใช้ระบบ Contrast Detection AF แต่เพิ่มความฉลาดให้หน่วยประมวลผลภาพทำให้จับโฟกัสได้เร็ว โดยโหมดออโต้โฟกัสที่น่าสนใจได้แก่ Target finding AF ที่ระบบสามารถจะตรวจหาและคาดเดาวัตถุที่เราต้องการโฟกัสให้อัตโนมัติ โดยใน P900 ระบบดังกล่าวถูกปรับแต่งมาให้ทำงานได้รวดเร็วขึ้นกว่ารุ่นก่อนหน้า

สำหรับการปรับตั้งค่าโฟกัส P900 จะมีให้เลือกเฉพาะออโต้โฟกัส, มาโคร (ใกล้สุด 1 เซนติเมตร) และอินฟินิตี้สำหรับถ่าย Landscape เท่านั้น ไม่มี Manual Focus ให้เลือกใช้งาน

ois-p900

นอกจากนั้นยังรองรับระบบป้องกันภาพสั่นไหวแบบ Active ที่สามารถเลือกใช้ขณะกำลังนั่งถ่ายภาพอยู่บนรถ เดิน หรือถือถ่ายวิดีโอ (ใช้ร่วมกับระบบลดภาพสั่นไหวแบบอิเล็กทรอนิกส์) โดยระบบดังกล่าวจะช่วยลดอาการภาพพร่ามัวลงได้ระดับหนึ่ง

มาถึงระบบป้องกันภาพสั่นไหว VR (Vibration Reduction) เป็นแบบ Dual Detect Optical 5 สตอป โดยเทคโนโลยีป้องกันภาพสั่นไหวใหม่นี้จะใช้เซ็นเซอร์ตรวจจับ (Angular velocity) ทำงานร่วมกับเซ็นเซอร์รับภาพที่จะช่วยอ่านค่าการสั่นไหวของกล้องได้ละเอียดขึ้น ทำให้การถือ P900 ถ่ายในที่แสงน้อยทำได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

mode-p900set-p900

ในส่วนสเปกปลีกย่อยอื่นๆ

– ค่าความไวแสง ISO เริ่มต้น 100 สูงสุด 6,400 และ Hi1 ISO 12,800 เมื่ออยู่ในโหมดเอ็ฟเฟกต์พิเศษ
– ความเร็วชัตเตอร์ : ช้าสุด 15 วินาที เร็วสุด 1/4,000 วินาที
– ถ่ายภาพต่อเนื่อง : 7.1 เฟรมต่อวินาที (ความเร็วสูงสุด 60 และ 120fps ที่ความละเอียด 2 ล้านพิกเซล อัตราส่วน 16:9) พร้อมโหมด BSS (Best Shot Selector)
– ระบบวัดแสง : เฉลี่ยทั้งภาพ, เน้นตรงกลาง, เฉพาะจุด
– รองรับการเชื่อมต่อพิเศษ : NFC, WiFi 802.11b/g/n, GPS GLONASS พร้อม POI ทำงานร่วมกับ Here Maps
– วิดีโอ : ความละเอียดสูงสุด 1080p 30/60fps, Slowmotion 120 fps ที่ความละเอียด 640×480 พิกเซล
– สามารถถ่ายวิดีโอ Time-lapse, Interval Timer Shooting ได้


วิดีโอสโลโมชัน 120 เฟรมต่อวินาที ที่ความละเอียด 480p

ฟังก์ชันที่น่าสนใจ

scene-p900

ด้วยการที่ Nikon COOLPIX P900 เป็นกล้องคอมแพกต์เน้นโหมดอัตโนมัติ เพราะฉะนั้นนิคอนจึงพัฒนาซีนโหมดมาให้ใช้งานได้หลากหลายมาก ตั้งแต่ถ่ายภาพบุคคล HDR พาโนรามา สัตว์เลี้ยง และที่สำคัญซีนโหมดพิเศษเฉพาะกล้องซุปเปอร์ซูมตัวนี้ ได้แก่ โหมดพระจันทร์และชมนก โดยกล้องจะปรับความเร็วชัตเตอร์ โทนสีและระยะโฟกัสให้ คุณมีหน้าที่แค่เล็งและกดถ่ายเท่านั้น หรือถ้าต้องการความคล่องตัวมากขึ้น สามารถตั้งซีนโหมดให้เลือกอัตโนมัติได้ด้วย

pc-p900

Picture Control – P900 ให้โปรไฟล์ภาพมาให้เลือกใช้ถึง 4 รูปแบบได้แก่ Standard, Neutral, Vivid และ Monochrome นอกจากนั้นในแต่ละโปรไฟล์ ผู้ใช้ยังสามารถเข้าไปปรับแต่งรายละเอียดภายในได้ด้วย

effect-p900

Effects – เป็นโหมดถ่ายภาพพร้อมเอฟเฟ็กต์พิเศษให้เลือกมากมาย

IMG_4263app-nwu

WiFi and NFC – รองรับการเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ผ่านแอปฯ Nikon Wireless Mobile Utility สามารถส่งรูปจากกล้องไปสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตได้หรือจะใช้สมาร์ทโฟนควบคุมกล้องผ่าน WiFi ก็ได้

ทดสอบประสิทธิภาพ

*JPEG Fine 1 ภาพ ใช้เนื้อที่ประมาณ 6-7MB

ISO-TEST-P900

เริ่มจากทดสอบนอยซ์กับช่วงค่าความไวแสงตั้งแต่ ISO 100-6,400 ยอมรับว่านิคอนยุคใหม่เกือบทุกรุ่นรวมถึง P900 ที่มาพร้อมเซ็นเซอร์รับภาพ 1/2.3 นิ้ว ทำผลทดสอบตรงนี้ได้ดี ISO 100-800 ให้ภาพคมชัดดี ในขณะที่ ISO 1600-3,200 จะเริ่มเห็นการเกลี่ยนอยซ์เกิดขึ้น ภาพเริ่มสูญเสียรายละเอียดความคมชัดไปบ้างแต่ไม่ถึงกับน่าเกลียด EXPEED ยังจัดการได้ดี และสุดท้ายที่ค่า ISO 6,400 เกิดนอยซ์ค่อนข้างมาก ระบบจัดการนอยซ์จนสูญเสียเรื่องความคมชัดไปพอสมควร (ต้องเข้าใจ เพราะเป็นคอมแพกต์ที่มีเซ็นเซอร์รับภาพเล็ก แถมพิกเซลยังมีขนาดแค่ 1.34 ไมครอน ประมาณ Samsung Galaxy S4 Zoom เท่านั้น)

DSCN0045DSCN0020-CROP

แน่นอนด้วยเซ็นเซอร์รับภาพขนาดไม่ต่างจากสมาร์ทโฟนทั่วไป สิ่งหนึ่งที่ทีมงานสัมผัสได้ทันทีหลังจากทดลองถ่ายภาพกลางคืนก็คือ สีสันและโทนภาพโดยรวมที่ไม่ถูกใจทีมงานนัก โดยเฉพาะการเปิดหน้ากล้องนานเกิน 1 วินาทีในโหมด M ที่ค่า ISO 100 ภาพที่ได้กลายเป็นนอยซ์เกิดขึ้นเยอะมาก และภาพชอบติดโอเวอร์ แถมการไล่โทนสีก็ดูแปลกๆ สีสันที่ได้ก็ติดตุ่นๆเพี้ยนๆ ต้องแก้ด้วยการเข้าไปปรับ Picture Control กันตลอดเวลา กว่าจะลงตัวเข้ากับความต้องการผู้ทดสอบได้ ต้องใช้เวลาเรียนรู้นิสัยอยู่หลายชั่วโมง

DSCN0064

DSCN0010

DSCN0002

DSCN0013

คราวนี้พอเริ่มชินมือแล้ว ก็ลองทดสอบกันสั่น VR แบบใหม่ด้วยการถือถ่ายในที่แสงน้อยพร้อมซูมระดับ 125-170 มิลลิเมตร ด้วยความเร็วชัตเตอร์ช้าๆตั้งแต่ 1/5-1/15 วินาที ผลปรากฏคือ “ระบบกันสั่นทำผลลัพท์ได้ดีสมราคาคุยมาก” ภาพส่วนใหญ่ถ่ายได้เพียงแค่กลั้นหายใจอึกเดียวแล้วกดชัตเตอร์เท่านั้น ภาพคมชัดทันที

DSCN0080

มาลองถ่ายชัตเตอร์ 1/500 วินาที ISO 6,400 ที่ระยะ 135 มิลลิเมตรกันบ้าง ก็เป็นไปตามคาด ISO สูงภาพที่ได้จะแตกและสูญเสียความคมชัดไปพอสมควร (ดูภาพนี้แล้วนึกถึงกล้องดิจิตอลเมื่อ 6-7 ปีที่แล้ว)

ส่วนเรื่องสีสันเมื่อกลับมาลองในที่แสงปกติ อาการสีตุ่นและเพี้ยนหายไปแล้ว

DSCN0068

DSCN0101

DSCN0172

DSCN0166

DSCN0155

คราวนี้ขอทดลองเรื่องซุปเปอร์ซูมกันบ้าง ทีมงานขอลองซูมระยะตั้งแต่ 800 มิลลิเมตรจนไปถึงระดับ 1,000 ปลายๆ ยอมรับว่านิคอนผลิตกระบอกเลนส์ชุดนี้มาได้ยอดเยี่ยมมาก ภาพที่ได้ทุกระยะค่อนข้างคมชัดมาก อีกทั้งกันสั่นถ้าปรับเป็น Active แล้วผลลัพท์ที่ได้ถือว่ายอดเยี่ยมเช่นกัน


วิดีโอแสดงการทำงานของระบบป้องกันภาพสั่นไหวในโหมดวิดีโอ (ถือถ่ายด้วยมือ) (VR : Active + Electronic VR)

ส่วนอาการชัตเตอร์หน่วง (Shutter lag) ส่วนนี้มีให้เห็นแน่นอน โดยเฉพาะเวลาซูมมากๆอาการหน่วงจะชัดเจนมากขึ้น

DSCN0106DSCN0118DSCN0134DSCN0122DSCN0137DSCN0161DSCN0142DSCN0174DSCN0171DSCN0066DSCN0175


วิดีโอแสดงการซูมออปติคอลตั้งแต่ระยะ 24 มิลลิเมตร ถึง 2,000 มิลลิเมตร


ไฟล์ดิบส่งตรงจากกล้องทดสอบการบันทึกเสียงแบบสเตอริโอ

สรุปด้านทดสอบประสิทธิภาพ ในภาพรวม – Nikon COOLPIX P900 โดดเด่นในเรื่องเลนส์ซูมคุณภาพสูง ระบบกันสั่นยอดเยี่ยม มี GPS WiFi และ NFC ส่วนคุณภาพไฟล์ภาพถ้าเป็นการถ่ายในที่แสงน้อยและกลางคืน ถึงแม้ระบบกล้องจะมีตัวช่วยมากมาย แต่ไฟล์ที่ได้ยังไม่น่าพอใจนัก โดยเฉพาะโทนสี มิติความกว้างของภาพที่ทำได้ไม่ค่อยดีนัก

ส่วนถ่ายกลางวันคุณภาพหน้ามือเป็นหลังมือจากกลางคืน ไฟล์ที่ได้โอเค สีสวย คอนทราสต์จัด และที่สำคัญ Dynamic Fine Zoom 166 เท่า (4,000 มิลลิเมตร) หลังพ้นออปติคอลซูมไปแล้วให้ผลลัพท์ภาพที่ดีมาก

ในส่วนงานวิดีโอ นิคอนทำได้ดีมาก โดยเฉพาะระบบป้องกันภาพสั่นไหว ถือว่าเป็นมาตรฐานใหม่ของพวกกล้องคอมแพกต์ซุปเปอร์ซูมได้เลย ส่วนเรื่องโฟกัสที่ถึงแม้จะทำงานเร็วจริง แต่ชอบโฟกัสพลาดเป้าและมักมีอาการเอ๋อ โฟกัสวืดวาดไปมาบ่อยครั้งตามสไตล์ CDAF (แถมไม่มีแมนวลโฟกัสมาให้ด้วย)

สรุป

p700-head

ราคาค่าตัว Nikon COOLPIX P900 อยู่ที่ 19,900 บาท ถือว่าเป็นกล้องคอมแพกต์ราคาไม่ถึงสองหมื่นบาท ที่มาพร้อมเลนส์ซูมครอบคลุมระยะมากสุดในตลาดตอนนี้ แม้สเปกจะเก่าไปนิด แต่คุณภาพโดยรวมสำหรับการใช้งานทั่วไปก็อยู่ในเกณฑ์พอใช้สอดคล้องกับราคาไม่ถึงสองหมื่นบาท

ส่วนพวกช่างภาพมืออาชีพหรือคนเน้นถ่ายภาพจริงจัง อยากนำไฟล์ไปต่อยอด อาจจะต้องยอมเพิ่มเงินอีก 1-2 หมื่นบาทวิ่งไปหากล้องชุปเปอร์ซูมในตระกูลคอมแพกต์พรีเมียม DL24-500 f2.8-5.6 ที่อัดแน่นไปด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆของปีนี้รวมถึงเซ็นเซอร์รับภาพขนาดใหญ่กว่า P900 อยู่มากโข (แต่ต้องแลกกับระยะซูมที่น้อยกว่า P900)

ข้อดี

– เลนส์กล้องคุณภาพสูง 24-2,000 มิลลิเมตรพร้อมมาโคร 1 เซนติเมตร ครอบคลุมทุกระยะ ทุกสถานการณ์
– ระบบป้องกันภาพสั่นไหว Dual Detect Optical 5 สตอป ทำงานดีมาก
– การออกแบบได้อารมณ์ DSLR จับถนัดมือ
– ปุ่มซูมภาพตรงกระบอกเลนส์นุ่มนวล มี Snap-Back Zoom
– จอภาพปรับหมุนได้
– มีช่องมองภาพ
– มี WiFi, NFC, GPS ครบครัน
– โหมดอัตโนมัติ ซีนโหมดฉลาด
– ไฟช่วยโฟกัสส่องได้ไกล

ข้อสังเกต

– คุณภาพไฟล์ภาพในที่แสงน้อยและกลางคืน ไม่น่าประทับใจ
– โฟกัสไม่แม่นยำ โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในระยะซูมมากๆ
– ขนาดและน้ำหนักตัวกล้องค่อนข้างมาก
– จอไลฟ์วิวหลอกตาเล็กน้อย โดยภาพที่แสดงผ่านหน้าจอจะสว่างกว่าไฟล์จริง

Gallery

]]>