Notebooks 2017 – CBIZ Reviews – MGR Online https://cyberbiz.mgronline.com เว็บไซต์รีวิวอุปกรณ์ ไอที ไฮเทค เป็นส่วนหนึ่งของผู้จัดการออนไลน์ Mon, 18 Dec 2017 07:04:30 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.0 Review : Asus Zenbook Flip S 2-1 โน้ตบุ๊กหรูสุดบางพับจอได้ 360 องศา https://cyberbiz.mgronline.com/review-asus-zenbook-flip-s/ Mon, 18 Dec 2017 07:04:30 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=27787

ถ้ามองไปในตลาดโน้ตบุ๊ก 2-1 เครื่องบาง เชื่อว่าชื่อของ Asus Zenbook จะกลายเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจเสมอ มาถึงในรุ่นล่าสุดอย่าง Asus Zenbook Filp S (UX370UA) ก็เช่นกัน จากความโดดเด่นในเรื่องของวัสดุที่ใช้ ความบาง และการหมุนหน้าจอใช้งานได้แบบ 360 องศา

ไม่นับรวมเรื่องของสเปกที่ใส่มาให้สุดแบบ Intel Core i7 RAM 8 GB และฮาร์ดดิสก์ที่เป็นแบบ SSD 512 GB แน่นอนว่า เมื่ออัดสเปกมาให้สูงแบบนี้ ราคาจำหน่ายก็สูงด้วยเช่นกัน จากค่าตัวที่ 63,900 บาท แลกกับโน้ตบุ๊ก 2-1 ขนาดบางที่สุดในเวลานี้

การออกแบบ

ตัวเครื่องของ Asus Zenbook Flip S UX370UA จะทำจากอะลูมิเนียมอัลลอย 6013 ซึ่งเป็นวัสดุเกรดเดียวกับที่ใช้ในอุตสาหกรรมการบิน และอวกาศ ที่มาพร้อมลวดลายที่ขัดเป็นวงกลมเอกลักษณ์ของ Zenbook โดยมีขนาดเครื่องอยู่ที่ 313 x 218 x 10.9 มิลลิเมตร น้ำหนัก 1.1 กิโลกรัม

เมื่อเปิดฝาพับขึ้นมาจะพบกับหน้าจอขนาด 13 นิ้ว ที่ใช้กระจก Corning Gorilla Glass ให้ความละเอียดระดับ Full HD (1920 x 1080 พิกเซล) โดยเมื่อเทียบกับสัดส่วนจอกับตัวเครื่องจะอยู่ที่ 80% ให้มุมมองกว้าง 178 องศา ขนาดของขอบจอ 6.11 มม.

โดยบริเวณส่วนบนหน้าจอจะมีกล้องที่ให้ความละเอียดระดับ VGA มาให้เท่านั้น ส่วนขอบล่างจะมีการสกรีน Asus Zenbook สีทอง ถัดลงมาก็จะเป็นบริเวณข้อต่อจอ ที่เอซุส ระบุว่าใช้บานพับ ErgoLift 360 องศา ที่ได้รับการทดสอบเปิดปิดกว่า 20,000 รอบ ก็ยังสามารถใช้งานได้เป็นอย่างดี

บริเวณคีย์บอร์ดที่ให้มาจะเป็นขนาด Full Size ทำให้ เพียงแต่ในบริเวณปุ่มแถบบนที่เป็นคีย์ลัด และ คำสั่งต่างๆจะมีขนาดเล็กลงราวครึ่งหนึ่งของปุ่มขนาดปกติ ซึ่งตัวคีย์บอร์ดจะมากับไฟ Back LED เพื่อช่วยให้ใช้งานเวลากลางคืนได้ด้วย

ส่วนบริเวณทัชแพดที่มีขนาดใหญ่ การตอบสนองทำได้ลื่นไหลดี รวมถึงการที่มีฟีเจอร์สั่งงานในรูปแบบต่างๆ ทำให้ใช้งานได้ง่ายขึ้นบริเวณที่วางข้อมือ จะมีการติดสติกเกอร์ระบุหน่วยประมวลผลที่ใช้งานในฝั่งซ้าย ส่วนฝั่งขวาจะมีโลโก้ Harman Kardon ที่เป็นระบบเสียงของเครื่องนี้อยู่

พอร์ตที่ให้มารอบตัวเครื่องทางฝั่งซ้ายจะมีพอร์ต USB-C และช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม. และรูพัดลมระบายอากาศ ส่วนทางฝั่งขวา จะมีตั้งแต่พอร์ต USB-C เซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือ ปุ่มปรับระดับเสียง ปุ่มเปิดเครื่อง

สำหรับอุปกรณ์ที่ให้มาในกล่องนอกจากตัวเครื่องก็จะมีปากกา อะเดปเตอร์สำหรับแปลง USB-C มาเป็นพอร์ต USB 3.0 และ HDMI ให้ด้วย ส่วนอะเดปเตอร์ก็จะใช้ช่อง USB-C ในการชาร์จไฟ และยังมีเคสหนังมาให้ด้วย

สเปก

สำหรับสเปกของ Asus Zenbook Flip S UX370UA จะมากับหน่วยประมวลผล Intel Core i7-7500U 2.7GHz (up to 3.5GHz) 4MB cache กราฟิก Intel HD Graphics 620 RAM LPDDR3 8GB 2133MHz SSD 512 GB ทำงานบนระบบปฏิบัติการ Windows 10 Pro

ด้านการเชื่อมต่อรองรับ Wi-Fi มาตรฐาน 802.11ac บลูทูธ 4.1 USB-C 2 พอร์ต แบตเตอรีที่ให้มาเป็นแบบ 39Wh 2 เซลล์ หรือประมาณ 5,000 mAh ที่มากับระบบ Fast Charge สามารถชาร์จได้ 60% ใน 49 นาที

ฟีเจอร์เด่น

จุดเด่นหลักๆของ Asus Zenbook Flip S คือการเป็นโน้ตบุ๊กแบบบางเบา หน้าจอสัมผัสที่มากับระบบปฏิบัติการ Windows 10 Pro ดังนั้นในแง่ของการใช้งานต่างๆ จึงไม่ได้แตกต่างจากโน้ตบุ๊กรุ่นอื่นๆในตลาดมากนัก

โดยจะมีรูปแบบการแสดงผลระหว่างจอเดสก์ท็อปปกติ กับหน้าจอใช้งานแท็บเล็ต เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สั่งงานผ่านนิ้วได้สะดวกขึ้น ซึ่งก็เป็นตามปกติของ Windows 10 ที่รองรับการใช้งานหลากหลายรูปแบบมากขึ้น

จะมีก็เพียงในเรื่องของการที่ตัวเครื่องจะมีปากกามาให้ด้วย ทำให้นอกจากการสั่งงานรูปแบบเดิมคือผ่านคีย์บอร์ด ทัชแพด และการสัมผัสหน้าจอแล้ว ยังสามารถใช้งาน Asus Pen ที่มีมาให้ในกล่องใช้งานควบคู่กันได้ ซึ่งจะเหมาะกับผู้ที่ต้องการจดบันทึก วาดรูป หรือร่างแบบต่างๆได้

อีกส่วนที่น่าสนใจคือเรื่องของระบบรักษาความปลอดภัย ที่เมื่อทำงานร่วมกับ Windows Hello ทำให้นอกจากการปลดล็อกเครื่องจากการใส่รหัส ยังสามารถใช้กล้องเว็บแคมในการปลดล็อก หรือใช้เซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือ ที่ข้างเครื่องก็สามารถปลดล็อกเครื่องได้

ส่วนที่เหลือ Asus ก็จะมีซอฟต์แวร์มาช่วยบริหารจัดการอย่างแบตเตอรี ที่มี Asus Battery Health Charging มาให้ คือผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าจะให้เครื่องทำการชาร์จแบตเตอรีแบบเต็มประจุตลอดเวลา หรือจะเลือกยืดอายุการใช้งานแบตเตอรีด้วยการจำกัดการชาร์จไว้ที่ 60% เพื่อให้อายุแบตเตอรีนานขึ้น

รวมถึง Asus Installation Wizard ที่จะมาทำหน้าที่ในการหาไดร์ฟเวอร์ตัวเครื่อง หรือซอฟต์แวร์ต่างๆ เพื่อให้การใช้งานเครื่องได้ลื่นไหลมากที่สุด

ไม่นับรวมกับการเลือกโหมดใช้งานของ Asus Splendid Technology ที่มีให้เลือกทั้งโหมดปกติ โหมดถนอมสายตา เร่งสี หรือจะเลือกปรับโทนสีตามที่ต้องการก็ได้

นอกจากนี้ ในกรณีเริ่มใช้งานเครื่องครั้งแรก Asus จะมีฟีเจอร์มาช่วยในการ Pre Install โปรแกรมแบบอัตโนมัติ โดยผู้ใช้สามารถเลือกติดตั้งโปรแกรมที่ต้องการใช้งานได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทำงาน โปรแกรมบีบอัดไฟล์ โปรแกรมแชทต่างๆ

ทดสอบประสิทธิภาพ

PCMark 10 = 2,978 คะแนน
PCMark 10 Express = 2,890 คะแนน
PCMark 10 Extended = 1,644 คะแนน

PCmark 8 Home Conventional = 2,453 คะแนน
PCmark 8 Home Accelerated = 3,579 คะแนน
PCmark 8 Creative Conventional = 2,914 คะแนน
PCmark 8 Creative Accelerated = 4,604 คะแนน
PCmark 8 Work Conventional = 3,357 คะแนน
PCmark 8 Work Accelerated = 4,722 คะแนน

3D mark
Fire Strike Ultra 233 คะแนน
Fire Strike Extreme 411 คะแนน
Fire Strike 965 คะแนน
Sky Driver 4,218 คะแนน
Cloud Gate 6,563 คะแนน
Time Sky 304 คะแนน
Ice Storm Unlimited 73,435 คะแนน
Ice Storm Extreme 48,720 คะแนน
Ice Storm 64,660 คะแนน

Geekbench 4 / Single-core = 4,301 คะแนน, Multi-core = 8,433 คะแนน Open CL 20,212 คะแนน

ในส่วนของระยะเวลาการใช้งานแบตเตอรี ถือว่า Asus Zenbook Flip S ทำได้เหนือกว่าที่คาดไว้ เมื่อลองใช้งานยาวๆ 5-6 ชั่วโมงต่อเนื่องก็ยังใช้งานได้อยู่ ดังนั้นถือว่าเป็นเครื่องที่น่าสนใจ เหมาะกับการพกไปใช้งานได้ตลอดวัน

สรุป

ถ้าไม่นับเรื่องราคาของ Asus Zenbook Flip S ที่อยู่ 63,900 บาท ที่ดูแล้วค่อนข้างสูง ก็จะเป็นโน้ตบุ๊กวินโดวส์ ที่มากับ 2-1 รุ่นหนึ่งที่น่าสนใจ ทั้งในแง่ของดีไซน์ การออกแบบ การที่หมุนหน้าจอได้ 360 องศา รองรับการใช้งานปากกา และประสิทธิภาพตัวเครื่องที่เพียงพอกับการใช้งานในชีวิตประจำวัน

แน่นอนว่าด้วยกลุ่มเป้าหมายของเครื่องรุ่นนี้ จะเน้นที่กลุ่มวัยรุ่นที่มีไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต หรือกลุ่มนักธุรกิจที่ต้องการโน้ตบุ๊กซึ่งมาตอบโจทย์ทั้งการใช้งาน และในชีวิตประจำวัน ดังนั้น ใครที่มองหาโน้ตบุ๊กเครื่องบาง สเปกแรงชือของซีรีส์ Zenbook ก็ยังเป็นรุ่นที่น่าสนใจ

ข้อดี

ดีไซน์ตัวเครื่องที่บาง และเบา

รองรับการใช้งาน Windows Hello ทั้งสแกนลายนิ้วมือ และการใช้ใบหน้าปลดล็อก

เแม้ว่าจะเปลี่ยนมาใช้พอร์ต USB-C ทั้งหมด แต่การที่แถมอเดปเตอร์แปลงมาให้ทำให้ผู้ใช้สะดวกไม่น้อย

หน้าจอรองรับการใช้งานระบบสัมผัส รวมถึงปากกา

ข้อสังเกต

หน้าจอที่ให้มายังเป็นความละเอียด Full HD เท่านั้น

แบตเตอรีที่ใช้ได้ 5-6 ชั่วโมง น่าจะใช้งานได้ยาวกว่านี้

Gallery

]]>
Review : HP Pavilion x360 (2017) โน้ตบุ๊ก 360 องศา จอสัมผัส มีปากกา https://cyberbiz.mgronline.com/review-hp-x360/ Sun, 13 Aug 2017 09:58:57 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=26842

ห่างหายจากการรีวิวโน้ตบุ๊กในกลุ่ม Convertible ไปเสียนาน มาวันนี้ HP (เอชพี) นำ Pavilion x360 มาอัปเกรดสเปกปี 2017 พร้อมความสามารถใหม่กับการรองรับปากกา Digital Pen ที่รองรับ Windows Ink บน Windows 10 อย่างสมบูรณ์แบบ พร้อมหน้าจอพับเปลี่ยนมุมมองได้แบบ 360 องศา สามารถใช้เป็นโน้ตบุ๊กพิมพ์งานหรือพับจอเป็นแท็บเล็ตก็สามารถทำได้อย่างไร้รอยต่อ

การออกแบบ

ขึ้นชื่อว่าเป็นโน้ตบุ๊กประเภท “Convertible PC” เพราะฉะนั้นความสามารถหลักของ x360 จะอยู่ในเรื่องของหน้าจอสามารถพับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานได้ถึง 4 รูปแบบหลักได้แก่ Stand, Tent, Laptop และ Tablet (ตามภาพประกอบด้านบน) พร้อมหน้าจอสัมผัสและรองรับ Digital Pen ขนาด 14 นิ้วแบบ IPS LED ความละเอียด 1,920×1,080 พิกเซล 

ด้านวัสดุรอบตัวเครื่องจะเป็นอะลูมิเนียมพร้อมบานพับจอภาพผลิตจากเหล็กสามารถป้องกันฝุ่นละอองและทนทานต่อการสึกหรอ ส่วนน้ำหนักจะอยู่ประมาณ 1.4 กิโลกรัม

อีกจุดที่น่าสนใจ x360 ปี 2017 ยังมาพร้อมกล้อง Web Cam พร้อมเลนส์มุมกว้าง 88 องศา รองรับการใช้งานในลักษณะประชุมเป็นหมู่คณะ อีกทั้งตัวกล้องยังมาพร้อมเซ็นเซอร์อินฟราเรดเพื่อใช้ร่วมกับ Windows Hello ได้อย่างสมบูรณ์แบบ

ด้านล่างตัวเครื่อง HP เพิ่มความแข็งแรงด้วยการเลือกใช้วัสดุเป็นอะลูมิเนียมแบบชิ้นเดียว ส่วนภายในมาพร้อม HP 3D DriveGuard ซึ่งช่วยให้ระหว่างใช้งานถ้าเกิดอุบัติเหตุโน้ตบุ๊กตกกระแทกกับพื้น ระบบดังกล่าวจะสั่งให้ฮาร์ดดิสก์หยุดทำงานเพื่อป้องกันความเสียหาย

ในส่วนแป้นพิมพ์จะเป็นคีย์แบบ Full Size รุ่นขายบ้านเรามีสกรีนไทยพร้อมไฟส่องสว่างใต้คีย์สำหรับใช้งานในที่มืด ด้านล่างเป็น TrackPad ส่วนบนสุดเป็นลำโพงสเตอริโอจาก B&O (Bang & Olufsen) เสียดายไม่มีซัฟวูฟเฟอร์ติดตั้งมาให้

มาดูรอบตัวเครื่องกันบ้าง เริ่มจากด้านซ้ายมือ จะเป็นที่อยู่ของปุ่มเปิดปิดเครื่องพร้อมไฟแสดงสถานะการทำงาน ถัดมาเป็นช่องระบายความร้อน ช่องหูฟัง/Headset ขนาด 3.5 มิลลิเมตร ปุ่มปรับระดับเสียงและไฟแสดงการทำงานของฮาร์ดดิสก์

อีกด้านจะเป็นที่อยู่ของช่องอ่านการ์ด SD Card, USB-C (เพิ่มเข้ามาจากรุ่น 2016), USB, HDMI และช่องเชื่อมต่ออะแดปเตอร์ชาร์จไฟบ้านพร้อมไฟแสดงสถานะการชาร์จ (สีส้มกำลังชาร์จแบตเตอรี – สีขาวแบตเตอรีเต็ม)

มาถึงไฮไลท์เด็ดของ Pavilion x360 (2017) ก็คือปากกา “Digital Pen” ที่ออกแบบมารองรับแรงกดหลายระดับ เน้นการใช้งานทั้งเขียนข้อความและวาดภาพได้ พร้อมรองรับฟีเจอร์ Windows Ink ใน Windows 10 อย่างเต็มรูปแบบ โดยตัวปากกาถูกออกแบบการจับถือให้เหมือนปากกาจริงพร้อมปุ่มคำสั่ง 2 ปุ่ม (ค่ามาตรฐานกดค้างไว้จะเป็นยางลบ) สามารถตั้งค่าเพิ่มเติมได้ผ่าน Settings ใน Windows 10

นอกจากนั้นตัวปากกายังจำเป็นต้องใส่ถ่านขนาด AAA จำนวน 1 ก้อนด้วย

สเปก

นอกจากตัวโน้ตบุ๊กจะให้วินโดวส์ 10 ลิขสิทธิ์แท้มาแล้ว ในส่วนซอฟต์แวร์ภายในที่โดดเด่นได้แก่ B&O PLAY ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ X360 สามารถปรับแต่งเสียงลำโพงได้ตามต้องการ นอกจากนั้นในส่วนไมโครโฟนยังรอบรับระบบตัดเสียงรบกวนรอบข้างด้วย

HP CoolSense เป็นเทคโนโลยีเกี่ยวกับการควบคุมระบบระบายความร้อนของ HP เมื่อระบบตรวจจับได้ว่าโน้ตบุ๊กไม่ได้วางไว้บนโต๊ะ (อาจถือใช้งาน หรือวางบนตัก) ระบบจะปรับรอบพัดลมพร้อมควบคุมอุณหภูมิพื้นผิวทั้งส่วนบนและใต้โน้ตบุ๊กให้อยู่ในระดับพอดี ไม่ร้อนเกินไปแม้ระบบจะกำลังทำงานเต็มประสิทธิภาพอยู่ก็ตาม

HP Orbit! เป็นฟีเจอร์ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถจับคู่สมาร์ทโฟน (iOS และ Android) กับโน้ตบุ๊กหรือคอมพิวเตอร์ของ HP เพื่อให้ผู้ใช้สามารถโยนไฟล์รูป เอกสารหรือจะสั่งให้กล้องบนสมาร์ทโฟนถ่ายภาพและส่งภาพจากสมาร์ทโฟนเข้ามาสู่คอมพิวเตอร์ของ HP ได้อย่างง่ายผ่านฟีเจอร์ดังกล่าว

รองรับ Windows Ink อย่างที่กล่าวไปข้างต้นแล้วว่า X360 ปี 2017 จะมาพร้อมปากกา Digital Pen รองรับ Windows Ink เต็มรูปแบบ ทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกดาวน์โหลดแอปฯวาดเขียนจาก Windows Store มาใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ รวมถึงการปรับรูปแบบและตั้งค่าปากกาสามารถทำผ่านระบบของ Windows 10 ได้ทันที

สุดท้ายเป็นดีลฟรีสำหรับลูกค้า HP กับบริการคลาวด์สตอเรจรับฝากไฟล์อย่าง Dropbox ที่ให้พื้นที่ฟรีถึง 25GB เป็นเวลา 1 ปี ใครเป็นลูกค้า HP อย่าลืมไปรับดีลนี้กันด้วย

ทดสอบประสิทธิภาพและสรุป

PCMark 10 = 2,212 คะแนน

Cinebench R15 / OpenGL = 59.86fps, CPU = 352cb

Geekbench 4 / Single-core = 4,000 คะแนน, Multi-core = 7,140 คะแนน

เริ่มจากการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานภาพรวมของตัวเครื่อง ไม่ได้มีความแตกต่างจากอัลตร้าบุ๊ก รุ่นอื่นนักเพราะสเปกซีพียูเหมือนกันหมดทั้งตลาด แต่ X360 ปี 2017 จะมีจุดแตกต่างในเรื่องของแรมที่ HP ใส่มาให้เพียง 4GB ซึ่งถ้าผู้ใช้เน้นพิมพ์งาน ท่องเว็บไซต์ต่างๆหรือจะใช้ตกแต่งรูปเล็กๆน้อยยังถือว่าสามารถใช้งานได้ลื่นไหลดี แต่ถ้าผู้ใช้เป็นคนชอบใช้งานโน้ตบุ๊กแบบหนักหน่วง เช่น ตัดต่อวิดีโอความละเอียดสูงหรือตกแต่งภาพไฟล์ภาพขนาดใหญ่ X360 จะเริ่มแสดงอาการแรมไม่พอให้เห็นบ้าง (ที่ทีมงานพบเจอก็คือตัดวิดีโอ 4K ด้วย Adobe Premiere เปิดพรีวิวไฟล์แล้วเครื่องทำงานช้ามากเมื่อเทียบกับอัลตร้าบุ๊กสเปกเดียวกันแต่มีแรมให้ 8GB DDR4)

 

ส่วนปากกา Digital Pen ถือว่าตอบสนองดีใช้ได้ ตัวปากการองรับแรงกดหลายระดับ ความลื่นไหลถือว่าดีมากเมื่อเทียบกับปากกา Digital Pen ที่ออกแบบมาเพื่อโน้ตบุ๊กประเภท Convertible หลายรุ่น แต่จะมีข้อสังเกตเล็กน้อยตรงที่ปากกาต้องใส่ถ่าน และไม่มีที่เก็บมาให้

ในส่วนแบตเตอรีใช้งานได้ต่อเนื่องได้ประมาณ 6-8 ชั่วโมงสำหรับการใช้งานทั่วไปและตัวเครื่องมาพร้อมฟังก์ชันชาร์จไฟแบบเร็ว (ชาร์จ 90 นาทีได้ 90%) และจุดเด่นในเรื่อง HP CoolSense ยังถือเป็นจุดขายที่ดีของ HP เช่นเดิม

สุดท้ายในส่วนราคาเริ่มต้นที่ 22,990 บาท ถือเป็นโน้ตบุ๊กลูกผสมแท็บเล็ตที่โดดเด่นในเรื่องการใช้งานที่ทำได้หลากหลาย โดยเฉพาะหน้าจอแบบสัมผัสพับได้ 360 องศาและปากกา Digital Pen ทำงานได้แม่นยำ ถือว่าตอบโจทย์ได้ทั้งคนทำงาน (รองรับ e-sign สำหรับนักธุรกิจที่ต้องเซ็นเอกสารดิจิตอลบ่อยครั้ง) ไปถึงนักศึกษาก็สามารถใช้งาน Pavilion x360 ได้เช่นกัน

ข้อดี

– Convertible Notebook หน้าจอสัมผัส พับได้ 360 องศาเปลี่ยนเป็นแท็บเล็ตได้
– ปากกา Digital Pen ใช้งานลื่นไหลดี
– มีระบบ HP CoolSense
– งานประกอบแข็งแรง

ข้อสังเกต

– แรมให้มาน้อย ปัจจุบันขั้นต่ำควรเริ่มที่ 8GB
– ลำโพง B&O ให้เสียงที่ใสเพียงอย่างเดียว (เสียงเบสแทบไม่ได้ยินเลย)
– ดีไซน์ยังคงติดความเป็นโน้ตบุ๊กแบบดั้งเดิมอยู่ ตัวเครื่องค่อนข้างหนา มีน้ำหนักและอะแดปเตอร์ชาร์จไฟมีขนาดใหญ่ไปเมื่อเทียบกับแบรนด์คู่แข่ง

Gallery

]]>
Review : Acer Aspire VX 15 โน้ตบุ๊กเกมมิ่งราคาประหยัด https://cyberbiz.mgronline.com/review-acer-aspire-vx15/ Thu, 20 Jul 2017 03:40:29 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=26669

นอกจากเอเซอร์จะมีกลุ่มโน้ตบุ๊กเกมมิ่งสายฮาร์ดคอร์ในชื่อ Predator (พรีเดเตอร์) ทำตลาดระดับไฮเอนด์ (ราคาเกิน 5 หมื่นบาทขึ้นไป) อยู่แล้ว วันนี้เอเซอร์ก็พร้อมขยายฐานโน้ตบุ๊กเกมมิ่งลงมายังกลุ่มโน้ตบุ๊กยอดนิยมอย่าง Aspire กับซีรีย์ใหม่ Aspire VX จับตลาดเกมเมอร์เน้นความคุ้มค่าและราคาประหยัดไม่เกิน 4 หมื่นบาท โดย Aspire VX รุ่นทำตลาดในประเทศไทยจะยืนพื้นด้วยกราฟิกการ์ด NVIDIA GeForce 1050/1050Ti พร้อมซีพียู Intel Core i7 รุ่นที่ 7 “Kaby Lake”

การออกแบบ

สำหรับดีไซน์ Acer Aspire VX 15 ทุกรุ่นย่อย จะมาพร้อมหน้าจอ Full HD 1,920×1,080 พิกเซล ขนาด 15.6 นิ้ว พร้อมกล้องเว็บแคมความละเอียด HD 720p โดยในส่วนขนาดตัวเครื่องจะมีความหนา 28.90 มิลลิเมตรและน้ำหนัก 2.5 กิโลกรัม ซึ่งเมื่อเทียบกับกลุ่มโน้ตบุ๊ก Predator รุ่นล่างสุดที่มีน้ำหนักระดับ 3-4 กิโลกรัมแล้ว Aspire VX 15 จะเคลื่อนย้ายหรือพกพาไปไหนมาไหนได้สะดวกสบายกว่า

ด้านคีย์บอร์ด จะมาพร้อมแป้นตัวเลขและปุ่มฟังก์ชันครบครัน อีกทั้งยังมาพร้อมไฟส่องด้านหลังสีแดงและคีย์ WASD ยังถูกไฮไลท์ด้วยตัวอักษรขอบสีแดง มองเห็นได้ชัดเจน

ส่วน TrackPad มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ล้อมกรอบด้วยเส้นสายสีแดง ด้านคุณภาพจัดอยู่ในระดับกลางๆแบบเดียวกับโน้ตบุ๊ก Aspire ทั่วไป

ด้านล่างตัวเครื่อง จะเป็นช่องระบายความร้อนทั้งหมด (ไม่มีช่องให้อัปเกรมแรมหรือเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ด้วยตัวเองได้) โดยเอเซอร์ได้ติดตั้งพัดลมระบายความร้อน 2 ตัวครอบทับส่วนซีพียูและกราฟิกการ์ด สำหรับวิธีระบายความร้อนจะใช้การดึงลมจากด้านล่างตัวเครื่องออกไปยังด้านหลัง (ตามภาพ : ช่องให้ลมร้อนออกคือบริเวณกรอบสีแดง)

ส่วนแบตเตอรีบรรจุอยู่ภายในตัวเครื่อง (ไม่สามารถถอดเปลี่ยนได้ด้วยตัวเอง) มีความจุ 4,605mAh (3 เซลล์) เป็นแบตเตอรีลิเธียมไอออน

มาดูเรื่องพอร์ตเชื่อมต่อรอบตัวเครื่อง เริ่มจากด้านขวาจะเป็นช่อง USB-C (Version 3.1 Gen 1) พอร์ต USB 3.0 2 พอร์ต HDMI 1 พอร์ต และพอร์ตแลน RJ-45 อีก 1 พอร์ต

ซ้าย เริ่มจากช่องใส่สายล็อกกันขโมย, ช่องเสียบอะแดปเตอร์ชาร์จไฟบ้าน, พอร์ต USB 2.0 1 พอร์ต ช่องอ่านการ์ดความจำ SD และช่องเสียบ Headset/Headphone 3.5 มิลลิเมตร

ส่วนด้านหน้า จะเป็นที่อยู่ของลำโพงสเตอริโอ ซ้าย-ขวา บนเทคโนโลยีเสียง Acer TrueHarmony และ Dolby Audio Premium

สุดท้ายด้านอะแดปเตอร์จ่ายไฟและชาร์จไฟ สามารถจ่ายไฟ 135W ขนาด-รูปร่างอะแดปเตอร์ประมาณ iPhone 7 Plus มีน้ำหนักค่อนข้างมาก

สเปก

Acer Aspire VX 15 รุ่นที่ทีมงานได้รับมารีวิวเป็นโมเดล VX5-591G-71W6 ขับเคลื่อนด้วยซีพียู Intel Core i7 7700HQ 4-Cores 8-Threads ความเร็ว 2.80GHz มาพร้อมแรม DDR4 (Single Channel) จำนวน 8GB ส่วนหน่วยเก็บข้อมูลจะแบ่งเป็น SSD ความจุ 128GB และฮาร์ดดิสก์จานหมุน 1TB อีกหนึ่งลูก

ในส่วนกราฟิกการ์ด ออนบอร์ดจะเป็น Intel HD Graphics 630 ส่วนกราฟิกแยกสำหรับบ้านเราจะเป็น NVIDIA GeForce GTX 1050 พร้อมแรม GDDR5 4GB (ไม่รองรับ VR) และตัวท็อปสุดจะเป็น NVIDIA GeForce GTX 1050Ti พร้อมแรม GDDR5 4GB โดยระบบจะเลือกใช้งานอัตโนมัติ (Auto Switch) เพื่อประหยัดพลังงานเวลาไม่ได้เล่นเกม

ด้านการเชื่อมต่อเครือข่าย เอเซอร์ได้ติดตั้ง WiFi มาตรฐาน 802.11ac มาให้ ส่วนแลนรองรับ Gigabit LAN และมาพร้อม Bluetooth

ด้านระบบปฏิบัติการที่ติดตั้งมากับเครื่อง ตามสเปกชีทในเว็บเอเซอร์ประเทศไทยระบุไว้ว่าเป็น Linux แต่เครื่องที่ทีมงานได้รับมาทดสอบจะติดตั้ง Windows 10 Pro ลิขสิทธิ์พร้อมมีสติกเกอร์ติดอยู่ด้านใต้โน้ตบุ๊ก เพราะฉะนั้นคนที่กำลังสนใจก่อนเลือกซื้อเครื่องกรุณาสอบถามพนักขายให้ดีเสียก่อน

ทดสอบประสิทธิภาพ

PC Mark 10 = 3,331 คะแนน

3D Mark – Time Spy (DirectX 12) = 1,826 คะแนน

3D Mark Fire Strike = 5,434 คะแนน

3D Mark Sky Diver = 16,328 คะแนน

3D Mark Cloud Gate = 19,159 คะแนน

GeekBench Single Core = 3,767 คะแนน / Multi Core = 11,613 คะแนน

Cinebench R15 OpenGL = 77.23fps / CPU = 699cb

Catzilla = 10,792 คะแนน

ก่อนไปทดสอบเล่นเกมจริง มาเริ่มชุดทดสอบเฉพาะกันก่อน จะเห็นว่าข้อดีของ Aspire VX 15 นอกจากราคาประหยัดแล้ว เรื่องฮาร์ดแวร์ภายในยังถือสดใหม่ใช้ได้เลยทีเดียว ทำให้คะแนนทดสอบถือว่าทำได้ค่อนข้างดี คนที่ซื้อมาทำงานตัดต่อวิดีโอ 4K หรือใช้งานสร้างเอ็ฟเฟ็กต์ภาพด้วย Adobe After Effect ทีมงานมองว่า VX 15 ตอบโจทย์ได้ดีเช่นเดียวกับการเล่นเกมแน่นอน

มาถึงการทดสอบเล่นเกม เริ่มจากเกมปี 2015 กับ Mad Max (DirectX 11) โดยทีมงานตั้งค่ากราฟิก High ผสม Very High พร้อมเปิดลบรอยหยัก (AA) ที่ความละเอียด 1080p เฟรมเรทที่ได้เป็นดังต่อไปนี้

ถ้าตั้งค่ากราฟิกสูงสุด (MAX Settings) จะได้เฟรมเรทประมาณ 45-57 เฟรมต่อวินาที จะพบอาการหน่วงเล็กน้อยเวลาฉากระเบิดจำนวนมากหรือฉากเกิดพายุทะเลทราย ส่วนถ้าลดกราฟิกลงมาเป็น Very High เฟรมเรทจะนิ่งอยู่ที่ 60 เฟรมต่อวินาทีตลอด เกมแรกถือว่าสอบผ่านหายห่วง

เกมที่สอง Project Cars (DirectX11) เป็นเกมที่กินสเปกเครื่องพอสมควร แน่นอนว่า GeForce GTX 1050 4GB ไม่สามารถปรับค่ากราฟิกสูงสุดได้ (ที่ความละเอียด 1080p) เพราะเกมจะกระตุกมาก (เล่นไม่ได้) ต้องลดลงแค่ High และปิดลบรอยหยัก SMAA ออกไป ซึ่งเฟรมเรทที่ได้ ถ้าสนามแข่งมีแดดออก เฟรมเรทจะวิ่งที่ 50-67 เฟรมต่อวินาที แต่ถ้าเมื่อใดก็ตามที่มีฝนตก เฟรมเรทจะตกลงเหลือ 25-45 เฟรมต่อวินาทีทันที ถ้าอยากให้เฟรมเรทนิ่งเล่นแล้วไม่สะดุด อาจต้องปรับค่ากราฟิกให้ต่ำกว่านี้

มาถึงเกมอภิมหาโหดแห่งการบริโภคสเปกคอมพิวเตอร์ Tom Clancy’s Ghost Recon Wildlands แน่นอนครับว่า Aspire VX 15 ที่มาพร้อม GTX 1050 สามารถเล่นได้ที่ค่ากราฟิก Low – Medium แต่อาจต้องทนกับอาการหน่วงของภาพเล็กน้อย เพราะเฟรมเรทจะวิ่งแกว่งไปมาที่ 20-38 เฟรมต่อวินาทีตลอดทั้งเกม ถ้าจะให้ลื่นจริงๆอาจต้องลดความละเอียดภาพลงมาเหลือ 720p ที่ค่ากราฟิก Low – Medium

ส่วนเกมสุดท้ายทดสอบเทคโนโลยีกราฟิกล่าสุด Async Compute ใน DirectX 12 บน Windows 10 กับเกม Sniper Elite 4 ถือว่า GTX 1050 สอบผ่านที่ค่ากราฟิก High เฟรมเรทที่ได้อยู่ระหว่าง 45-56 เฟรมต่อวินาที

มาถึงการทดสอบความร้อนของตัวเครื่อง ใช้งานปกติตัวเครื่องแทบไม่มีความร้อนแผ่ออกมาให้ผู้ใช้รู้สึก แม้จะตั้งบนตักก็ตาม โดยอุณหภูมิของซีพียูเมื่อใช้งานทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 45 องศาเซลเซียส อุณหภูมิกราฟิกการ์ดอยู่ที่ 41 องศาเซลเซียส

ส่วนเมื่อใช้งานเต็มประสิทธิภาพ ด้านความร้อนที่แผ่ออกมาจะอยู่บริเวณคีย์บอร์ด ส่วนด้านหลังเครื่องพัดลมทำงานค่อนข้างมีประสิทธิภาพ ความร้อนระบายออกค่อนข้างเร็วด้วยพัดลม 2 ตัวรอบสูงแต่เสียงรบกวนไม่ดังมาก โดยส่วนอุณหภูมิของซีพียูจะอยู่ที่ประมาณ 77-88 องศาเซลเซียส อุณหภูมิกราฟิกการ์ดอยู่ที่ 69-70 องศาเซลเซียส

สุดท้ายด้านแบตเตอรีเป็นไปตามมาตรฐานโน้ตบุ๊กเกมมิ่งคือ ใช้งานทั่วไป ระบบจะสลับไปใช้การ์ดจอ Intel ทำให้ใช้งานต่อเนื่องได้ประมาณ 4-5 ชั่วโมง ส่วนเมื่อเล่นเกม ถ้าไม่ต่ออะแดปเตอร์ไฟบ้านระบบจะสลับมาใช้ NVIDIA GeForce GTX 1050 ด้วยโปรไฟล์ประหยัดพลังงาน แบตเตอรีจะใช้ได้ประมาณ 2 ชั่วโมง แต่ถ้าสั่งให้ระบบวิ่งเต็มประสิทธิภาพพร้อมพัดลมระบายความร้อนทำงาน 100% แบตเตอรีจะใช้ได้ประมาณ 45-50 นาที ไปจนถึง 1 ชั่วโมงกว่าๆเท่านั้น (แล้วแต่เกมที่เล่นด้วย) แนะนำเล่นเกมให้เสียบอะแดปเตอร์ไฟบ้านไว้จะดีที่สุด

สรุป

Acer Aspire VX 15 ในประเทศไทยจะวางขายด้วยกัน 3 รุ่นย่อยได้แก่

VX5-591G-782Z มาพร้อมแรม 4GB ซีพียู i7-7700HQ กราฟิกการ์ด NVIDIA GeForce GTX 1050 ราคาอยู่ที่ 31,990 บาท
VX5-591G-71W6 มาพร้อมแรม 8GB ซีพียู i7-7700HQ กราฟิกการ์ด NVIDIA GeForce GTX 1050 ราคาอยู่ที่ 34,990 บาท
VX5-591G-766Z มาพร้อมแรม 8GB ซีพียู i7-7700HQ กราฟิกการ์ด NVIDIA GeForce GTX 1050Ti ราคาอยู่ที่ 37,990 บาท

โดยทั้ง 3 รุ่นจะมาพร้อมหน้าจอ 1080p 15.6 นิ้วและหน่วยเก็บข้อมูลเป็น SSD 128GB + HDD 1TB

โดยภาพรวมถือว่า Acer Aspire VX 15 เป็นโน้ตบุ๊กเกมมิ่งที่เอเซอร์เลือกสเปกภายในมาได้ลงตัวเหมาะสมกับราคา แม้กราฟิกการ์ดแยกจะมีประสิทธิภาพไม่สูงเหมือนตระกูล Predator แต่ภาพรวมการเล่นเกมก็ถือว่า GTX 1050 และ 1050Ti ก็สามารถเล่นเกมในปัจจุบันด้วยค่ากราฟิกระดับกลางๆค่อนต่ำได้เกือบทั้งหมด อีกทั้งด้วยดีไซน์ที่ดูผสมผสานระหว่างโน้ตบุ๊กเกมมิ่งกับโน้ตบุ๊กตระกูล Aspire ที่เน้นการใช้งานในชีวิตประจำวัน VX 15 สามารถพกพาไปนอกสถานที่ นั่งทำงานที่ร้านกาแฟ หรือพกพา VX 15 ไปพรีเซนต์งาน ก็สามารถทำได้สะดวกสบายกว่าโน้ตบุ๊กเกมมิ่งสายฮาร์ดคอร์ค่อนข้างมาก

ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับเกมเมอร์ที่มีงบประมาณจำกัดและไม่ได้คลั่งไคล้ชอบปรับค่ากราฟิกในเกมสูงๆเพื่อภาพที่สวยงาม

ข้อดี

– ราคาเทียบประสิทธิภาพถือว่าทำได้น่าพอใจ
– ระบบระบายความร้อนดี
– มีพอร์ต USB-C

ข้อสังเกต

– TrackPad ใช้งานไม่ค่อยลื่นไหล

Gallery

]]>
Review : ASUS ZenBook 3 Deluxe แมคบุ๊กสายวินโดวส์ https://cyberbiz.mgronline.com/review-asus-zenbook3-deluxe/ Thu, 13 Jul 2017 04:09:02 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=26594

ASUS (เอซุส) ถือเป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่ออกแบบโน้ตบุ๊กได้ลงตัวและสวยงาม โดยเฉพาะกลุ่ม ZenBook ที่เน้นเรื่องความบางเบาและหรูหราเป็นพิเศษ โดยในวันนี้ ZenBook เดินทางมาถึงรุ่นที่ 3 กับการปรับเปลี่ยนดีไซน์และสเปกภายในให้ลงตัวมากกว่าเดิม โดยรุ่นที่ทีมงานไซเบอร์บิซได้รับมารีวิวในวันนี้จะเป็นตัวท็อปสุดในกลุ่มกับ “ASUS ZenBook 3 Deluxe”

การออกแบบ

ทั้ง ASUS ZenBook 3 และรุ่น Deluxe จะถูกออกแบบใหม่โดยเน้นเส้นสายสีทองและตัวเครื่องลูมิเนียมแบบ Unibody คือผลิตจากโลหะขึ้นรูปชิ้นเดียว พร้อมความบางเพียง 12.9 นิ้ว น้ำหนัก 1.1 กิโลกรัมเท่านั้น 

ด้านจอภาพสำหรับรุ่น Deluxe ที่ทีมงานนำมารีวิวจะเป็นจอ LED ขนาด 14 นิ้ว (1080p) ที่มีความพิเศษคือเป็นจอที่มาพร้อมเทคโนโลยี ASUS Eye Care ตัดแสงสีฟ้า 30% และมี Contrast Ratio (ค่าสีดำที่ดำสนิทที่สุดและสีขาวที่ขาวสุด ค่ายิ่งมากภาพจะมีมิติขึ้น) สูงถึง 1,000:1

ประกบทับด้วยกระจกจอ Corning Gorilla Glass 5 ความหนา 0.55 มิลลิเมตรเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของหน้าจอ

อีกทั้งหน้าจอขนาด 14 นิ้วยังถูกออกแบบให้ใช้งานเต็มพื้นที่ตัวเครื่อง เพราะเอซุสต้องการคงขนาดโน้ตบุ๊ก 13 นิ้วไว้ ซึ่งถือเป็น Compact Design เหมาะสมสำหรับการพกพามากที่สุดในตอนนี้

ขยับลงมาดูส่วนคีย์บอร์ดและทัชแพด เริ่มจากคีย์บอร์ดเป็นขนาด Full-size ระยะกด 1.2 มิลลิเมตร เหนือแป้นคีย์บอร์ดเป็นที่อยู่ของลำโพงสเตอริโอ 2 ตัว จากทั้งหมด 4 ตัว ออกแบบโดย Harman Kardon ด้วยเทคโนโลยีเสียง ASUS SonicMaster Premium

ถัดลงมาในส่วนทัชแพดด้านล่าง ถูกครอบทับด้วยกระจก ส่วนสเปกเป็นมัลติทัช รองรับ Smart gestures ได้สูงสุด 4 นิ้วมือ รองรับการขีดเขียนตัวอักษร (Handwriting) และที่สำคัญมาพร้อมเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือเพื่อใช้งานร่วมกับ Windows Hello ใน Windows 10

ด้านใต้เครื่องจะเป็นที่อยู่ของลำโพงอีก 2 ตัว ส่วนภายในตัวเครื่องจะเห็นว่า ZenBook 3 มีพัดลมระบายความร้อนเพียงตัวเดียว รวมถึงเมนบอร์ดก็ถูกลดขนาดลง ซึ่งเป็นผลมาจากหน่วยประมวลผลตระกูล Kaby Lake 14 นาโนเมตร

มาถึงช่องเชื่อมต่อรอบตัวเครื่อง เริ่มจากด้านขวาตัวเครื่องจะเป็นที่อยู่ของไฟสถานะการทำงานและชาร์จไฟ ถัดมาเป็นพอร์ต USB-C (รองรับ Thunderbolt 3 – 40Gbps/USB 3.1 Gen 2) แบบเดียวกับพอร์ตเชื่อมต่อบน MacBook Pro ใหม่

ด้านซ้าย เป็นช่องเชื่อมต่อหูฟัง 3.5 มิลลิเมตร และ USB-C (Version 3.1 Gen 1)

ส่วนการชาร์จไฟจะทำผ่านอะแดปเตอร์ USB-C (Output: 19V DC, A, 65W) โดยผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อกับพอร์ต USB-C พอร์ตใดก็ได้ รอบตัวเครื่อง

และสำหรับคนที่กำลังกังวลว่าจะสามารถเชื่อมต่อแฟลชไดร์ฟหรืออุปกรณ์เสริมที่เป็นพอร์ต USB-A ในปัจจุบันได้หรือไม่ ในแพกเกจจะมีการแถมอะแดปเตอร์ USB-A to USB-C มาให้จำนวน 1 ตัว และอะแดปเตอร์ HDMI to USB-C อีก 1 ตัว อีกทั้งทางเอซุสยังได้แถมกระเป๋า ซองผ้าและผ้าเช็ดโน้ตบุ๊กมาในแพกเกจสมราคาครึ่งแสนเลยทีเดียว

สเปก

ในส่วนสเปกเครื่อง ASUS ZenBook 3 Deluxe รุ่นที่ทีมงานได้รับมาทดสอบเป็นโมเดล UX490UA มาพร้อมซีพียู Intel Core i7-7500U Dual-Core ความเร็ว 2.7GHz รองรับ Turbo Boost ได้สูงสุด 3.5GHz พร้อมกราฟิกออนชิป Intel HD Graphics 620 (รองรับการแสดงผล 4K)

ด้านกล้อง Web cam ความละเอียดระดับ VGA 640×480 พิกเซล

ในส่วนแรมเป็น LPDDR3 2,133MHz แบบติดกับเมนบอร์ด (อัปเกรดไม่ได้) จำนวน 16GB หน่วยเก็บข้อมูลในรุ่นที่ทีมงานได้รับมาทดสอบจะเป็นแบบ PCIe 3.0 ความจุ 512GB (เร็วกว่า SSD 3 เท่า)

สุดท้ายสำหรับสเปกการเชื่อมต่อเครือข่าย WiFi รองรับมาตรฐาน 802.11ac Dual-band มีบลูทูธ 4.1 และมาพร้อมวินโดวส์ 10 Pro

ฟีเจอร์เด่น

Fast Charging ความจริงแล้วอะแดปเตอร์ชาร์จไฟที่ให้มากับ ZennBook 3 Deluxe จะรองรับการจ่ายไฟได้ถึง 4 รูปแบบได้แก่ 5V – 3A / 9V – 3A / 15V – 3A และ 20V – 3.25A ทำให้อะแดปเตอร์ตัวนี้สามารถชาร์จไฟได้ตั้งแต่สมาร์ทโฟน (ทีมงานทดสอบแล้วสามารถชาร์จแบบ Quick Charge ได้ด้วย – แต่เอซุสได้แนะนำเพราะอาจเกิดความเสียหายได้ภายหลัง) ไปถึงโน้ตบุ๊ก

โดยการชาร์จไฟด้วยอะแดปเตอร์รุ่นนี้ใน ZenBook 3 จะรองรับระบบ Fast Charging สามารถชาร์จไฟ 60% ได้ด้วยเวลาเพียง 50 นาที อีกทั้งผู้ใช้ยังสามารถตั้งค่าการชาร์จไฟได้ด้วยตัวเองผ่านซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งมากับตัวเครื่องด้วย

มาดูเรื่องดีลพิเศษสำหรับผู้เป็นลูกค้า ZenBook 3 ได้แก่ 1.Adobe Acrobat Pro DC สำหรับงานเอกสาร PDF จะได้ส่วนลดเมื่อเลือกซื้อซอฟต์แวร์ 13% 2.Adobe Premiere Pro CC รุ่นล่าสุด ได้ส่วนลด 20% และสุดท้ายดีล Dropbox ฟรีสำหรับทุกคน เพียงใช้งาน Dropbox บน ZenBook 3 จะได้พื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มอีก 25GB ฟรีเป็นเวลา 1 ปี

ทดสอบประสิทธิภาพ

ทีมงานเลือกใช้ซอฟต์แวร์ทดสอบ 3 ตัวด้วยกันได้แก่ PCMark 10, Cinebench R15 และ Geekbench 4 ซึ่งผลคะแนนก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดีโดยเฉพาะในส่วนการประมวลผล ตัวเครื่องให้สเปกมาค่อนข้างไฮเอนด์ แม้ซีพียูจะอยู่ในระดับเน้นประหยัดพลังงาน แต่การใช้งานตัดต่อวิดีโอ 4K ตกแต่งภาพและอื่นๆสามารถทำงานได้ไหลลื่น ส่วนหนึ่งมาจากแรมที่ให้มามากถึง 16GB และหน่วยเก็บข้อมูลที่ทำงานได้รวดเร็วมาก ถือเป็นโน้ตบุ๊กในรูปแบบอัลตร้าบุ๊กที่รองรับงานระดับบนได้อย่างดี

อีกส่วนที่ ZenBook 3 Deluxe ทำได้ดีไม่แพ้ส่วนอื่นก็คือเรื่องแบตเตอรีและระบบจัดการพลังงานภายในที่ทำได้ใกล้เคียง MacBook ของแอปเปิลอย่างมาก ตัวเครื่องสามารถใช้งานทั่วไปได้ 6-8 ชั่วโมง (พิมพ์งาน เชื่อมต่อ WiFi และมีตกแต่งภาพสลับบ้างตลอดระยะทดสอบ)

ส่วนในเรื่องความร้อน การใช้งานปกติไม่พบอาการเครื่องร้อนแต่อย่างใด แต่เมื่อเครื่องทำงานเต็มประสิทธิภาพ 100% ความร้อนถือว่าค่อนข้างสูง โดยเฉพาะใต้เครื่องถ้าใช้งานแบบโหลด 100% ตลอดทั้งวัน ผู้ใช้จะไม่สามารถวางบนตักได้เลยเพราะร้อนมาก แต่ก็ต้องยอมรับเวลาคายความร้อน ด้วยการที่ตัวเครื่องใช้วัสดุเป็นอลูมิเนียมทั้งหมด ความร้อนจะคายผ่านฝาอลูมิเนียมอย่างรวดเร็วเช่นกัน

สรุป

สำหรับราคาขาย ASUS ZenBook 3 Deluxe (UX490UA) จะอยู่ที่ 69,990 บาท ส่วน ZenBook 3 (UX390UA) ราคาอยู่ที่ 54,990 บาท ก็เป็นไปตามที่ทีมงานจั่วหัวไว้ “แมคบุ๊กสายวินโดวส์” เรียกได้ว่าตั้งราคาและประสิทธิภาพมาชนกับ MacBook/MacBook Pro ของแอปเปิลเลย (แต่ ZenBook 3 Deluxe จะมีสเปกค่อนข้างสูงกว่า ในรุ่นราคาระดับเดียวกัน)

โดยในส่วนประสิทธิภาพ ภาพรวมทั้งหมดเท่าที่ทีมงานทดสอบมา 2 อาทิตย์ถือว่า ZenBook 3 Deluxe ทำได้ดี ใช้ไปสักพักจะรู้สึกว่าได้อารมณ์ของ MacBook ผสม MacBook Pro ในคราบ Microsoft Windows มาก ไม่ว่าจะพิมพ์งาน ติดตัวไปประชุม พรีเซนต์งานไปถึงใช้งานตัดต่อวิดีโอแบบหนักหน่วงทุกอย่างสามารถทำได้ใน ZenBook 3 Deluxe (ยกเว้นเล่นเกม สามารถทำได้แต่ไม่แนะนำ) โดยเฉพาะน้ำหนักและขนาดที่ออกแบบมาได้ดี ไม่เป็นปัญหาในการพกพา เดินทางตลอดทั้งวันแน่นอน

ข้อดี

– การออกแบบยอดเยี่ยม หน้าจอสีสวย
– สเปกดี ใช้งานได้ตั้งแต่พิมพ์งาน พรีเซนต์งานไปถึงตัดต่อวิดีโอ
– แบตเตอรีและการจัดการพลังงานภายในทำได้ค่อนข้างดี
– ลำโพงเสียงดี
– มีระบบชาร์จไฟเร็ว

ข้อสังเกต

– ทำงานเต็ม 100% ตัวเครื่องค่อนข้างร้อนมาก
– กล้อง Web Cam ความละเอียดแค่ VGA
– พอร์ตเชื่อมต่อเป็น USB-C ทั้งหมด

Gallery

]]>
Review : Lenovo Yoga 910 พรีเมียมอัลตร้าบุ๊ก สเปกแรง จอ 4K https://cyberbiz.mgronline.com/review-lenovo-yoga910/ Fri, 24 Feb 2017 04:38:40 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=25357

lenovo-y910head

หลังจากอินเทลเปิดตัวซีพียูตระกูล Kaby Lake ไปเมื่อช่วงปลายปีที่แล้วและผู้อ่านน่าจะได้เห็นซีพียูตระกูลใหม่นี้ไปโลดแล่นอยู่ในตลาดพีซีและโน้ตบุ๊กหลายเจ้า  มาวันนี้ถึงคิวของเลอโนโวกับ Yoga 910 อัลตร้าบุ๊กตัวท็อปในตระกูลโยก้าที่มาพร้อม Intel Core i7-7500U พร้อมสเปกระดับพรีเมียมเอาใจคนทำงานระดับบน

การออกแบบ

IMG_0929

IMG_0922

IMG_0949

อัลตร้าบุ๊กตระกูล Yoga ถือว่ามีจุดเด่นในเรื่องการออกแบบและรูปแบบการใช้งานมากที่สุด โดยในรุ่น 910 ยังคงคอนเซปหลักของเลอโนโวคือเป็นอัลตร้าบุ๊กบาง เบาที่สามารถพลิกหน้าจอ 360 องศาด้วยการออกแบบข้อต่อแบบ watchband hinge เพื่อรองรับการใช้งาน 4 รูปแบบได้แก่ 1.ใช้งานแบบโน้ตบุ๊กทั่วไป 2.Stand – สำหรับใช้รับชมภาพยนตร์ 3.Tablet – ใช้ในรูปแบบแท็บเล็ต และ 4.Tent – เหมาะสำหรับการวิดีโอคอลล์

ในส่วนวัสดุเป็นอะลูมิเนียมพร้อมความบาง 14.3 มิลลิเมตร น้ำหนัก 1.38 กิโลกรัม

IMG_0941

ด้านสเปกหน้าจอYoga 910 ใช้หน้าจอ IPS Multi-Touch ขนาด 13.9 นิ้ว ความละเอียด 3,840×2,160 พิกเซล (4K UHD) มาพร้อมกล้องเว็บแคมความละเอียด 720p และไมโครโฟนติดตั้งด้านล่างจอภาพ (เพื่อให้รองรับกับการใช้ในแบบ Tent) อีกทั้งถ้าสังเกตขอบจอให้ดีจะเห็นว่าเลอโนโวออกแบบให้ขอบจอมีขนาดเล็กลงมาก เวลาใช้งานจะให้ความรู้สึกภาพแสดงผลได้เต็มพื้นที่จอมากกว่าการออกแบบดั้งเดิม

IMG_0932

ในส่วนแป้นคีย์บอร์ดเป็นรูปแบบมาตรฐาน แต่เลอโนโวได้เพิ่มส่วนเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือ (แบบเดียวกับบนสมาร์ทโฟน) เพื่อให้รองรับกับฟีเจอร์ Windows Hello ใน Windows 10 อย่างสมบูรณ์แบบ

IMG_0956

พอร์ตเชื่อมต่อ – เริ่มจากด้านซ้ายของเครื่องจะเป็นพอร์ตเชื่อมต่ออะแดปเตอร์ชาร์จไฟ ถัดมาเป็นพอร์ต USB-C (USB3.0/2.0)

IMG_0957

อีกด้านเป็นปุ่มเปิดปิดเครื่อง ถัดมาเป็นช่องหูฟัง 3.5 มิลลิเมตรและช่องเชื่อมต่อ USB 3.0

IMG_0952

ด้านใต้ จะเป็นที่อยู่ของลำโพงสเตอริโอจาก JBL พร้อมรองรับระบบเสียง Dolby Audio Premium

IMG_0905

ส่วนอะแดปเตอร์ชาร์จไฟ 45W ถูกลดขนาดให้เล็กลง พกพาสะดวกสบายมากขึ้น

สเปกและฟีเจอร์เด่น

spec-y910

graphic-y910

Lenovo Yoga 910 ขับเคลื่อนด้วยหน่วยประมวลผล Kaby Lake – Intel Core i7 7500U (2-cores 4-threads) ความเร็ว 2.70GHz สามารถ Turbo boost ได้เร็วสุด 3.50GHz มาพร้อมแรม 16GB DDR4 (Dual Channel) และกราฟิกออนชิป Intel HD Graphics 620 ส่วน Windows 10 ที่ติดตั้งมาในเครื่องเป็นรุ่น Pro

spec-2-y910

ด้านสเปกอื่นๆ เริ่มจากแบตเตอรีไม่ได้ระบุในเอกสารบอกสเปก แต่เลอโนโวเครมว่าใช้งานได้ต่อเนื่องสูงสุด 9 ชั่วโมง WiFi รองรับมาตรฐาน 802.11AC พร้อมบลูทูธ 4.1

ส่วนหน่วยเก็บข้อมูลภายในเป็น M.2 PCIe NVMe SSD ความจุ 512GB

leapp-y910-1

ด้านซอฟต์แวร์จัดการระบบเป็นของเลอโนโว โดยผู้ใช้สามารถเปิดปิดฟังก์ชันการใช้งานต่างๆได้จากส่วน Settings บริเวณ Task Bar และสำหรับคนชอบอ่านหนังสือบนโน้ตบุ๊ก ทางเลอโนโวยังให้ฟีเจอร์ Paper Display มาให้ โดยเมื่อเปิดใช้งานหน้าจอจะปรับแสงและสมดุลแสงขาวให้เหมาะสมกับการอ่านหนังสือโดยอัตโนมัติ

ทดสอบประสิทธิภาพและสรุป

pcmark1-y910

PC Mark 8 – Home accelerated Test

pcmark2-y910

PC Mark 8 – Creative accelerated Test

pcmark3-y910

PC Mark 8 – Work accelerated Test

pcmark4-y910

PC Mark 8 – Storage Test

geekbench-y910

Geekbench 4

ในส่วนการทดสอบประสิทธิภาพ ทีมงานขอเน้นหนักไปทางซอฟต์แวร์ PC Mark จะเห็นว่าคะแนนส่วนใหญ่ทำได้ดีขึ้นเล็กน้อย โดยเฉพาะชุดทดสอบ Creative accelerated ที่ทำงานได้รวดเร็วขึ้นกว่าเดิม ซึ่งตรงจุดนี้น่าจะมาจากแรมที่ให้มามากถึง 16GB แน่นอนว่ามีผลอย่างมากสำหรับผู้ใช้อัลตร้าบุ๊กตกแต่งภาพจากกล้องดิจิตอลหรือใช้ตัดต่อวิดีโอ Yoga 910 จะแสดงประสิทธิภาพได้สมบูรณ์แบบ ใช้งานได้ลื่นไหลดีมาก

หน้าจอ 4K กับสเปกเครื่องไม่มีปัญหาหน่วงช้าให้เห็น ทุกอย่างทำงานได้ลื่นไหลจากการที่เลอโนโวให้แรมมามากถึง 16GB รวมถึงกราฟิกชิปออนบอร์ดตัวใหม่ Intel HD Graphics 620 ก็ให้ประสิทธิภาพด้านการใช้งานทั่วไป ไปถึงงานระดับตัดต่อวิดีโอ 4K ที่ดี ส่วนการเล่นเกมไม่เหมาะสมอย่างแน่นอน

และอีกสิ่งที่ Yoga 910 ทำได้น่าประทับใจไม่แพ้กันก็คือเรื่องการอ่านเขียนข้อมูลที่ทำคะแนนทั้งการการใช้งานจริงและผ่านซอฟต์แวร์ทดสอบได้รวดเร็ว น่าประทับใจเช่นกัน (จากชุดทดสอบ PC Mark ทำความเร็วได้ระดับ 360 เมกะไบต์ต่อวินาทีเลย) คงต้องยกความดีความชอบให้กับ NVMe SSD ไปเต็มๆ รวมถึงส่วนทัชแพดประสิทธิภาพดีมาก การสัมผัสและคลิกทำได้ลื่นไหลน้องๆ MacBook เลย

battery-y910

ส่วนแบตเตอรีทดสอบใช้งานต่อเนื่องได้ 4 ชั่วโมง 30 นาที (ถ้าใช้งานทั่วไปจะทำเวลาได้ประมาณ 6-7 ชั่วโมง) เป็นไปตามมาตรฐานอัลตร้าบุ๊กยุคใหม่ ไม่มีสิ่งใดหวือหวา

กับราคาค่าตัว 69,990 บาท (สี Champagne Gold) เรียกได้ว่าเป็นพรีเมียมอัลตร้าบุ๊กที่แรงทั้งราคาและประสิทธิภาพ เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับผู้ใช้ที่ต้องเดินทางบ่อยและเน้นการทำงานด้านตกแต่งภาพหรือตัดต่อวิดีโอความละเอียดสูงระดับ 2K 4K เป็นสำคัญ Lenovo Yoga 910 เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ด้วยสเปกซีพียูตัวใหม่ล่าสุดของปีนี้ ไปถึงแรมที่ให้มามากถึง 16GB กราฟิกออนชิป Intel HD 620 ที่ให้ประสิทธิภาพที่แรงกว่ารุ่นก่อนหน้ามาก เรียกได้ว่าเกิดมาเพื่อรองรับคนทำงานระดับบนได้อย่างดี

ข้อดี

– สเปกโดยรวมรองรับการใช้งานได้หลากหลาย
– หน้าจอความละเอียด 4K
– ตัวเครื่องบางเบาและเอกลักษณ์ของ Lenovo ตระกูล Yoga
– หน้าจอเป็น Multitouch
– ทัชแพดตอบสนองดี
– ลำโพงให้เสียงที่กว้างและดัง

ข้อสังเกต

– ตำแหน่งกล้องเว็บแคมถูกติดตั้งให้เหมาะแก่การใช้งานแบบ Tent มากกว่า
– ราคาเปิดตัวค่อนข้างสูง

Gallery

]]>
Review : Alienware 15 เกมมิ่งโน้ตบุ๊กสายฮาร์ดคอร์ https://cyberbiz.mgronline.com/review-alienware15/ Tue, 24 Jan 2017 07:57:50 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=25165

alienware15-head

Alienware (เอเลี่ยนแวร์) เป็นแบรนด์สายเกมมิ่งประสิทธิภาพสูงจากเดลล์ที่เคยเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง วันนี้ Alienware พร้อมกลับมาทำตลาดเกมมิ่งพร้อมกับการเปิดตัว Alienware Experience Store ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการเพื่อตอบรับกับโลกเกมเมอร์ที่เติบโตสูงขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

โดยในส่วน Alienware ที่เดลล์นำเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยในปีนี้จะมีทั้งเดสก์ท็อป Aurora และโน้ตบุ๊ก 2 รุ่นได้แก่ Alienware 17 และรุ่นที่ทีมงานได้รับมาทดสอบกับ Alienware 15 ที่เดลล์เน้นสเปกกราฟิกการ์ดเป็นพิเศษ

การออกแบบ

IMG_0777

Alienware 15 รุ่นนี้เป็นรหัส R3 โดยการออกแบบเครื่องจะเน้นความเรียบง่าย มีเหลี่ยมมุมได้อารมณ์ยานอวกาศของเอเลี่ยนในภาพยนตร์ฮอลลีวูด ฝาปิดเครื่องผลิตจากอะลูมิเนียม มีโลโก้ Alienware พร้อมไฟส่องสว่างติดตั้งอยู่

IMG_0727

IMG_0729

หน้าจอ เป็นจอด้าน IPS ขนาด 15.6 นิ้ว ความละเอียด 1,920×1,080 พิกเซล เหนือหน้าจอเป็นไมโครโฟน 2 ตัวพร้อมกล้องเว็บแคมความละเอียด HD และอินฟาเรดรองรับฟีเจอร์ Windows Hello ใน Windows 10

IMG_0811

ในส่วนน้ำหนักตัวเครื่องอยู่ที่ประมาณ 3.49 กิโลกรัม หนา 12 นิ้ว แบตเตอรี 8 เซลล์พร้อมอะแดปเตอร์ไฟบ้าน 240W ขนาดใหญ่

IMG_0765

คีย์บอร์ด ถูกเรียกในชื่อ Alienware TactX Keyboard มีปุ่มคำสั่ง 108 ปุ่ม สามารถปรับแต่งตามการใช้งานได้พร้อมไฟ RGB-LED ส่องใต้แป้นคีย์บอร์ด สามารถปรับแต่งสีได้อิสระ

IMG_0808

ส่วน Track Pad (แยกปุ่มคลิกซ้าย-ขวาออกมา) เป็นมัลติทัชได้รับการออกแบบพิเศษ โดยฝังไฟ Backlit ส่องสว่างด้านใต้แบบ RGB-LED สามารถปรับสีได้ 16.7 ล้านสีผ่านซอฟต์แวร์ภายในตัวเครื่อง

IMG_0782

ด้านพอร์ตเชื่อมต่อรอบตัวเครื่อง เริ่มจากด้านหลัง ซ้ายมือเป็นพอร์ตแลน RJ-45, Mini-Display Port 1.2, HDMI 2.0, Thunderbolt 3, Alienware Graphics Amplifier (พอร์ตเชื่อมต่อกับ Docking เพื่ออัปเกรดไปใช้กราฟิกการ์ดของพีซีได้) และ DC-In

IMG_0783

ด้านซ้าย เริ่มจากพอร์ต USB-C, USB 3.0, ช่องเชื่อมต่อไมโครโฟน 3.5 มิลลิเมตรและช่องหูฟัง 3.5 มิลลิเมตร

IMG_0787

ด้านขวา เป็นที่อยู่ของ USB 3.0 จำนวน 1 ช่อง

IMG_0785

ด้านหน้า เป็นลำโพงสเตอริโอ

IMG_0798

ด้านล่าง จะเป็นที่อยู่ของช่องระบายความร้อนขนาดใหญ่ ส่วนการอัปเกรดสเปกเครื่อง เช่น แรม คงเป็นไปได้ยาก เนื่องจากเดลล์ไม่ได้ทำช่องอัปเกรดมาให้เหมือนหลายแบรนด์ การพยายามถอดฝาหลังด้วยตัวเองอาจทำให้ตัวเครื่องประกันขาดได้

IMG_0733

IMG_0799
สุดท้ายมาดูระบบระบายความร้อนซึ่งเป็นหัวใจหลักของเกมมิ่งโน้ตบุ๊ก โดย Alienware 15 จะใช้ฮีทซิงค์ขนาดใหญ่แยกติดตั้งอยู่ซ้ายและขวาของตัวเครื่อง (ทำหน้าที่ดึงความร้อนจากซีพียูและกราฟิกชิป) พร้อมพัดลมระบายความร้อนรอบสูง โดยหลักการทำงานพัดลมจะดึงอากาศจากด้านข้างและด้านล่างเข้ามา จากนั้นลมจะเป่าไปที่ฮีทซิงค์และพุ่งออกด้านหลังเครื่อง โดยรอบความเร็วพัดลมจะทำงานแปรผันตามการใช้งานและความร้อนที่ระบบตรวจจับได้

เพราะฉะนั้นทีมงานขอแนะนำให้ตั้ง Alienware 15 บนโต๊ะพื้นเรียบและเว้นช่องว่างด้านหลังไว้สักเล็กน้อยเพื่อให้ระบบไหลเวียนอากาศทำงานได้อย่างถูกต้องครบกระบวนการ โดยเฉพาะช่วงเล่นเกมควรตรวจสอบช่องระบายความร้อนทั้ง 4 ด้านว่าไม่มีสิ่งใดไปปิดกั้นทิศทางลมเข้าและออกก่อนทุกครั้ง

สเปก

spec-cpu-aw15

Alienware 15 รหัส R3 รุ่นทำตลาดในบ้านเราจะคล้ายกับรุ่นทำตลาดมาเลเซีย ซีพียูขับเคลื่อนด้วย Intel Core i7 “6th Generation” 6700HQ 4 คอร์ 8 เธรด ความเร็ว 2.60GHz พร้อม Turbo Boost สูงสุด 3.50GHz พร้อมแรม DDR4-2667 16GB ทำงานแบบ Dual Channel

gpu-spec-aw15

ในส่วนกราฟิกหลักขับเคลื่อนด้วย NVIDIA GeForce GTX 1070 พร้อมแรม 8GB (GDDR5) รองรับ DirectX 12 บน Windows 10 เต็มรูปแบบ

ด้านสเปกอื่นๆ Alienware จัดเต็มไม่แพ้กัน เริ่มตั้งแต่ WiFi ใช้ Killer 1535 802.11ac 2×2 บลูทูธ 4.1 ฮาร์ดดิสก์ 1TB 7200 รอบต่อนาทีพร้อม SSD ขนาด 256GB ส่วนระบบปฏิบัติการ Windows 10 Home ติดตั้งมาให้กับเครื่อง และสุดท้ายประกัน Onsite Service จากเดลล์ 3 ปีเต็ม

ฟีเจอร์เด่น

alienfx1

AlienFX เป็นซอฟต์แวร์ไว้ปรับแต่งสีของไฟ RGB-LED ตั้งแต่ไฟ Backlit แป้นคีย์บอร์ดแบ่งเป็น 3 โซน ขอบเครื่อง Track Pad ไฟโลโก้ Alienware โดยผู้ใช้สามารถปรับผสมสีได้ตามต้องการ พร้อมบันทึกเป็นธีมส่วนตัวได้ด้วย

IMG_0769

IMG_0800

AlienFX สามารถปรับได้ตั้งแต่ไฟชื่อแบรนด์ ไฟส่องสว่างใต้แป้นคีย์บอร์ด

IMG_0773

ไฟโลโก้ Alienware ก็ปรับสีได้

IMG_0771

IMG_0772

ขอบด้านข้างเครื่องทั้งสองด้านก็ปรับสีได้แบบ RGB เช่นกัน

alienfx2

AlienFusion เป็นส่วนปรับการตั้งค่าออปชันเกี่ยวกับพลังงาน เช่น เมื่อเสียงอะแดปเตอร์ไฟบ้านจะเปิดใช้งานกราฟิก NVIDIA และเมื่อเปลี่ยนไปใช้ไฟจากแบตเตอรีให้เปลี่ยนเป็นกราฟิกจาก Intel HD เป็นต้น

alienfx3

AlienTactX เป็นส่วนปรับแต่งคีย์บอร์ด โดยผู้ใช้สามารถสร้างโปรไฟล์มาโครปุ่มกดพิเศษ 1-5 (สามารถสร้างโปรไฟล์ได้ 3 ชุด) ปรับได้ตามเกมที่เล่นเหมือนคีย์บอร์ดเกมมิ่ง

alienfx4

graphic-amp-dell

AlienAdrenaline เป็นส่วนควบคุมเมื่อผู้ใช้เชื่อมต่อ Graphics Amplifier ซึ่งเป็นอุปกรณ์เสริมแยกขายที่ Alienware จะอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถอัปเกรดส่วนกราฟิกการ์ดไปใช้รุ่นใหญ่ของพีซี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเล่นเกมในอนาคตให้ถึงขีดสุดโดยไม่ต้องซื้อโน้ตบุ๊กใหม่ เพราะเดลล์เชื่อว่าปัญหาหลักๆของโน้ตบุ๊กเกมมิ่งที่ทำให้เล่นเกมในอนาคตได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ กว่า 70% อยู่ที่กราฟิกการ์ดตกรุ่น ไม่รองรับชุดคำสั่งกราฟิกตัวใหม่ ซึ่ง Graphics Amplifier จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้

alienfx5

และนอกจากนั้นในส่วน AlienAdrenaline ยังมาพร้อมระบบมอนิเตอร์การทำงานของซีพียู แรม WiFi และกราฟิกการ์ดได้ พร้อมความสามารถในการบันทึกกราฟการทำงานเก็บไว้ดูภายหลังได้ด้วย

aliensound-1

aliensound-2

Alienware Sound Center เป็นส่วนปรับแต่งเสียงลำโพงและไมโครโฟนซึ่งจะรองรับบรรดาเกมแคสเตอร์ในการจูนเสียงก่อนจะไลฟ์สด พร้อมระบบไมโครโฟนตัดเสียงรบกวน

aliensound-4

ส่วนสาวก FPS อย่างเกม Overwatch, CS Go ทาง Alienware ยังให้ระบบ Audio Recon โดยเมื่อเปิดใช้ระบบดังกล่าว ระหว่างเล่นเกมคุณสามารถดูเรดาห์จับทิศทางเสียงศัตรูที่วิ่งเข้ามารอบทิศได้ เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ไม่มีหูฟัง 7.1CH ระบบนี้จะช่วยการระบุตำแหน่งของเสียงศัตรูที่เข้ามารอบทิศทางให้ (รองรับเป็นบางเกม เช่น Overwatch)

ทดสอบประสิทธิภาพ

3dmark-alienware15-2017

ถึงแม้ Alienware 15 รุ่นทำตลาดในบ้านเราจะขับเคลื่อนด้วยซีพียู Intel Core i7 Gen 6 เท่านั้น แต่เดลล์ได้ใส่กราฟิกการ์ดตัวใหม่ที่มีประสิทธิภาพเกือบบนสุดของตลาด ทำให้คะแนน 3DMark ทำได้ค่อนข้างดี โดยเฉพาะชุดทดสอบใหม่อย่าง Time Spy (DirectX 12) ที่ดึงประสิทธิภาพ GTX 1070 ได้เต็มที่และความลื่นไหลก็ถือว่าดีระดับ 20-30 เฟรมต่อวินาที

PCAL1PCAL2PCAL3PCAL4PCAL5

ส่วนการทดสอบ PC Mark จะเน้นจำลองการใช้ Alienware 15 ทำงานทั้งพิมพ์งาน กราฟิกและทำงานด้านวิดีโอ เพราะฉะนั้นจะเน้นการประมวลผลของซีพียูเป็นหลัก ก็ถือว่าใช้ได้เป็นไปตามมาตรฐานชิป Core i7 Gen 6 ไม่ต่างจากโน้ตบุ๊กเกมมิ่งแบรนด์อื่นที่ใช้สเปกซีพียูเท่ากัน

hddtest-aw15

โดยอาจมีจุดสังเกตเล็กน้อยในเรื่องแบนด์วิดท์ SSD จะเห็นว่าทำงานได้เร็ว แต่ถ้าเทียบกับหลายแบรนด์แล้ว คะแนนส่วนนี้ยังถือว่าธรรมดา ไม่หวือหวาเท่าที่ควร ส่วนฮาร์ดดิสก์ตัวจานหมุนความจุ 1TB 7200RPM ถือว่าทำได้ตามมาตรฐาน ไม่เร็วหวือหวาเช่นกัน

ส่วนเรื่องการรองรับ NVIDIA G-Sync เท่าที่ทีมงานพยายามค้นหาข้อมูล หลายแหล่งข่าวบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า จอภาพ Alienware 15 รองรับ NVIDIA G-Sync ด้วยแต่เท่าที่ทีมงานค้นหาออปชันกราฟิกแล้วก็ไม่พบกับเมนูดังกล่าว จะปรับได้สูงสุดก็เพียง V-Sync 60Hz ปกติเท่านั้น

gtav-aw15

มาถึงการทดสอบเล่นเกม เริ่มจากเกม GTA V (DirectX 11) ถือว่าเป็นโน้ตบุ๊กไม่กี่รุ่นที่สามารถเปิดออปชันกราฟิกสูงสุดทั้งหมด รวมถึง Advanced Graphics สูงสุดได้ โดยเฟรมเรตถือว่าทำได้ดีระดับ 55-60 เฟรมต่อวินาที เล่นได้ลื่นไหลดีมาก อีกทั้งด้วยแรมกราฟิกการ์ดระดับ 8GB ผู้ใช้สามารถนำโน้ตบุ๊กไปเชื่อมต่อกับจอ 4K ภายนอกและใช้งานได้อย่างลื่นไหล (แต่อาจต้องลดออปชัน Advanced Graphics ลงเล็กน้อย)

Rise-of-the-Tomb-Raider-01.18.2017---12.46.03

Rise of The Tomb Raider (DirectX 12) ด้วยแรมกราฟิกการ์ด 8GB ออปชันกราฟิกทุกส่วนสามารถปรับสูงสุดได้ทั้งหมด ยกเว้นส่วนลบรอยหยักภาพที่ปรับได้แค่ SMAA 2x ถึงจะสามารถเล่นที่ความละเอียด 1080p 60 เฟรมต่อวินาทีได้ลื่นไหลตลอดทั้งเกม เพราะถ้าปรับเป็น 4x เฟรมเรตจะตกลงเหลือ 45 เฟรมต่อวินาที อาจรู้สึกหน่วงเล็กน้อย

Overwatch-01.18.2017---16.29.53

Overwatch มาถึงเกมดังแห่งยุคและเป็นเกมที่ถูกใช้ทดสอบประสิทธิภาพเครื่องมากที่สุด สำหรับ Alienware 15 รุ่นนี้สามารถเล่นเกมนี้ได้ลื่นไหลสบาย ปรับออปชันกราฟิกสูงสุดพร้อมเปิด Render Scale 150% ก็ยังลื่นไหล หรือจะไปเชื่อมต่อจอ 4K ภายนอกก็เล่นได้ลื่นไหลเช่นกัน

catzilla-aw15

คะแนนจากชุดทดสอบ Catzilla (DirectX 11)

ffxiv-aw15

คะแนนจากชุดทดสอบ Final Tantasy XIV Heavensward (DirectX 11)

สรุปภาพรวมด้านการทดสอบประสิทธิภาพ ทีมงานไซเบอร์บิซขอเน้นไปที่การเล่นเกมเป็นหลัก ด้วยกราฟิกการ์ดระดับ GTX 1070 พร้อมแรม 8GB เมื่อประกบบนสเปกเครื่องระดับบนของตลาดโน้ตบุ๊ก ถึงแม้สเปกหลายส่วนจะไม่ใช่รุ่นใหม่ล่าสุดของปี 2017 แต่ก็ยังถือว่าตอบสนองการเล่นเกมทุกเกมในตลาดไปได้อีก 2-3 ปีอย่างแน่นอน โดยเฉพาะกราฟิกการ์ดตระกูล GTX 10 ให้ประสิทธิภาพใกล้เคียงกับกราฟิกการ์ดของพีซีมากกว่าสมัยตระกูล 9xxM

แต่ถึงอย่างไร Alienware 15 ก็เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถอัปเกรดไปใช้กราฟิกการ์ดของพีซี ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่ากราฟิกการ์ดบนโน้ตบุ๊กผ่าน Graphics Amplifier ที่ต้องซื้อแยกภายหลังได้ ก็เท่ากับว่าการลงทุนซื้อ Alienware 15 + Graphics Amplifier จะทำให้โน้ตบุ๊กรุ่นนี้ตกรุ่นช้าลง เพราะอย่างที่หลายท่านทราบ ประเด็นใหญ่สุดของโน้ตบุ๊กเกมมิ่งราคาสูงก็คือซื้อมาใช้ได้ 2 ปี กราฟิกการ์ดตกรุ่น เล่นเกมใหม่ๆก็ไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าเดิม ส่วนซีพียูถึงแม้จะไม่สามารถอัปเกรดได้ แต่ส่วนใหญ่ก็รองรับเกมไปอย่างน้อย 4-5 ปีได้สบายๆ

มาถึงเรื่องการระบายความร้อนภายใน เท่าที่ทดสอบเล่นเกมตลอดทั้งวัน Alienware 15 จะมาพร้อมพัดลมระบายความร้อนรอบสูง 2 ตัว ซึ่งให้แรงลมที่ดีและเสียงดังมาก แต่ก็ให้ประสิทธิภาพการระบายความร้อนที่ดีใช้ได้เลย อุณหภูมิกราฟิกการ์ดตลอดการทดสอบเล่นเกมทั้งวันอยู่ที่ประมาณ 60-70 องศาเซลเซียส สูงสุดไม่เกิน 80 องศาเซลเซียส และตลอดการทดสอบไม่พบอาการเฟรมเรตตกจากความร้อนสะสมที่มากเกินไป ซึ่งส่วนนี้น่าจะมาจากวัสดุตัวเครื่องที่ใช้อะลูมิเนียมเป็นส่วนประกอบหลักทำให้การคายความร้อนทำได้เร็วไปพร้อมๆกับพัดลมรอบสูง

battery1

ใช้โปรไฟล์พลังงาน High Performance พร้อมเปิด AlienFX

battery2

ใช้โปรไฟล์พลังงาน Balance

สุดท้ายเรื่องแบตเตอรี ถึงแม้ Alienware 15 จะมาพร้อมแบตเตอรี 8 เซลล์ก็ตาม แต่ด้วยระบบที่มาพร้อมทั้งไฟ RGB-LED รอบตัวไปถึงพัดลมระบายความร้อนรอบสูง ทำให้ตัวเครื่องบริโภคพลังงานค่อนข้างมาก ถ้าเปิดใช้ระบบทุกส่วนเต็มพิกัด แบตเตอรีจะอยู่ได้ประมาณ 1-2 ชั่วโมงเท่านั้น ส่วนเมื่อปิดไฟ RGB-LED รอบตัวเครื่องพร้อมเปิดโปรไฟล์พลังงาน Balance แบตเตอรีจะอยู่ได้ประมาณ 2-4 ชั่วโมง และสามารถทำได้มากสุดเมื่อเปิด Power Save Mode จะอยู่ได้ไม่เกิน 6 ชั่วโมง ถือว่าค่อนข้างบริโภคพลังงานมากกว่าโน้ตบุ๊กเกมมิ่งหลายแบรนด์

สรุป

สำหรับราคาเปิดตัว Alienware 15 อยู่ที่ 99,900 บาท โดยจุดเด่นจริงๆของ Alienware 15 ถ้าไม่นับเรื่องกราฟิกการ์ดระดับบน (ที่ปัจจุบันเริ่มมีหลายค่ายนำมาติดตั้งกับโน้ตบุ๊กเกมมิ่งของตนแล้ว) คงอยู่ที่เรื่อง Graphics Amplifier และดีไซน์เฉพาะแบบ Alienware รวมถึงวัสดุงานประกอบที่ทำได้แข็งแรงตามแบบฉบับเดลล์ ไปถึงประกัน onsite service 3 ปีเต็มที่ทำให้ Alienware มีความโดดเด่นเหนือคู่แข่งอยู่บ้าง

แต่โดยภาพรวมสำหรับตลาดเกมมิ่งโน้ตบุ๊กระดับบน ก็ต้องยอมรับว่าครั้งนี้ Alienware ตั้งใจทำตลาดในประเทศไทยมากขึ้น เพราะนอกจากการเปิด Alienware Experience Store (ตั้งอยู่ที่ Siam Discovery ชั้น 2) แล้ว ในส่วนราคาก็ถือว่าสอดคล้องกับหลายแบรนด์ที่ให้สเปกใกล้เคียงกัน เพราะฉะนั้นก่อนตัดสินใจเลือกซื้อควรพิจารณาทดลองเล่นที่สโตร์ต่างๆให้ดีก่อน เพราะในราคาระดับนี้ หลายแบรนด์ก็มีรุ่นย่อยให้เลือกแยกย่อยลงไปอีก และสำคัญสุดสำหรับการเลือกซื้อโน้ตบุ๊กเกมมิ่งก็คือ ควรดูระบบระบายความร้อนเป็นอันดับแรก เพราะต้องไม่ลืมว่าการเล่นเกมบนโน้ตบุ๊กตลอดทั้งวันจะเท่ากับว่าตัวเครื่องต้องมีความร้อนสะสมภายในอยู่เป็นจำนวนมาก ถ้าระบบระบายความร้อนไม่ดี โน้ตบุ๊กจะลากลับบ้านเก่าได้ง่ายกว่ารุ่นที่ใส่ใจเรื่องระบบระบายความร้อนเป็นสำคัญ

ข้อดี

– งานประกอบแข็งแรงและมีเอกลักษณ์ความเป็น Alienware
– สเปกไฮเอนด์ รองรับเกมเกอร์สายฮาร์ดคอร์ได้ดี
– รองรับการอัปเกรดไปใช้กราฟิกการ์ดพีซีผ่าน Graphics Amplifier
– รองรับการเชื่อมต่อจอ 4K ภายนอก รวมถึงรองรับ VR
– หน้าจอให้สีสวย ภาพสดใส

ข้อสังเกต

– ไม่มีช่องอ่าน SD Card
– ลำโพงให้ประสิทธิภาพเสียงที่ธรรมดา
– พัดลมระบายความร้อนเสียงดังเมื่อทำงานเต็มประสิทธิภาพ

]]>