Smartphones 2017 – CBIZ Reviews – MGR Online https://cyberbiz.mgronline.com เว็บไซต์รีวิวอุปกรณ์ ไอที ไฮเทค เป็นส่วนหนึ่งของผู้จัดการออนไลน์ Wed, 20 Dec 2017 09:55:52 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.0 เทียบภาพถ่ายจาก 3 สมาร์ทโฟนเด่นช่วงปลายปี 2017 Note 8 – Mate 10 Pro – iPhone X https://cyberbiz.mgronline.com/compare-flagship-smartphone-camera-2h2017/ Tue, 19 Dec 2017 08:39:01 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=27837

กับคำถามที่ว่าช่วงปลายปีเลือกซื้อสมาร์ทโฟนรุ่นใดดี กล้องจากเครื่องระดับไฮเอนด์รุ่นไหนดีที่สุด ทีมงาน Cyberbiz เลยนำ 3 รุ่นเด่นในช่วงปลายปี 2017 ไม่ว่าจะเป็น Samsung Galaxy Note 8 Huawei Mate 10 Pro และ Apple iPhone X มาเทียบกันให้หายสงสัย

(รูปถ่ายไม่ได้เรียงตามรุ่นที่กล่าวไป เฉลยอยู่ด้านล่าง)

สภาพแสงปกติ

ซูม 2X


แสงน้อย

อาหาร

หน้าชัดหลังเบลอ

สำหรับลำดับในการเรียงภาพ รูปแรกจะมาจาก Apple iPhone X ตามด้วย Huawei Mate 10 Pro และ Samsung Galaxy Note 8

เมื่อลองเทียบกันในแง่ของคุณภาพรูปที่แตกเชื่อว่าไม่ค่อยแตกต่างกันมากนัก แต่ละแบรนด์ก็จะมีเอกลักษณ์ในแง่ของสีที่ได้แตกต่างกัน แต่ถ้าถามว่าสีจากเครื่องรุ่นใดที่ให้ตรงตามความเป็นจริงมากที่สุด ก็จะเป็น iPhone X แต่ถ้ามองในแง่ของความสด การชดเชยแสงที่ทำให้สีอิ่มมากขึ้น Note 8 ก็ให้แสงดีที่สุด

ส่วน Mate 10 Pro จะดีโดดเด่นในเรื่องของการทำหน้าชัดหลังเบลอมากกว่า เนื่องจากเลนส์คู่ที่ใช้ไม่ได้เป็นเลนส์เทเลเหมือนอีก 2 รุ่น แต่ใช้เลนส์ขาว-ดำ ในมีความฉลาดในแง่การเก็บมิติของภาพมาช่วยแยกวัตถุออกมา ดังนั้นดูแล้วชอบสี ชอบโทนรูปแบบไหน ก็เลือกใช้งานกันได้

ทั้งนี้ผู้ที่อยากเข้าไปชมภาพจากไฟล์จริง สามารถเข้าไปดาวน์โหลดเพิ่มเติมได้ที่ Google Drive นี้เลย

]]>
Review : Asus Zenfone 4 Max Pro เน้นหนักที่แบตอึด แชร์แบตให้เพื่อนก็ได้ https://cyberbiz.mgronline.com/review-asus-zenfone-4-max-pro/ Sat, 11 Nov 2017 13:13:11 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=27550

หนึ่งในซีรีส์ที่ได้รับความนิยมของเอซุสในปีที่ผ่านมา คงหนีไม่พ้น Zenfone 3 Max ที่ชูจุดเด่นในเรื่องของการเป็นสมาร์ทโฟนที่มากับแบตเตอรีขนาด 5,000 mAh แถมยังพ่วงความสามารถในการแปลงสมาร์ทโฟนเป็นพาวเวอร์แบงค์เพื่อชาร์จแบตให้กับเครื่องอื่นได้ด้วย

ประกอบกับเมื่อดูในไลน์สินค้าของ เอซุส จะเห็นว่ามีการแตกไลน์ออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆด้วยกันคือ ซีรีส์ Max ที่เป็นรุ่นเริ่มต้นเน้นเรื่องแบตฯเป็นพิเศษ ถัดมาเป็น Selfie ที่เน้นเรื่องกล้องหน้า และสุดท้ายคือรุ่นปกติที่จะจับตลาดกลางบนเป็นหลัก

ดังนั้น Asus Zenfone 4 Max และ Max Pro จึงเป็นสมาร์ทโฟนที่อยู่ในช่วงระดับราคาต่ำกว่าหมื่นบาท (5,990 – 7,990 บาท) แต่ไม่ใช่ว่าจะโดดเด่นที่เรื่องแบตเพียงอย่างเดียว เพราะตัวเครื่องก็มากับหน่วยประมวลผลระดับที่พอใช้งาน และยังมีกล้องหลังคู่มาให้ใช้งานด้วย

การออกแบบ

รุ่นที่ทีมงานได้มารีวิวในวันนี้คือ Asus Zenfone 4 Max Pro ที่จะมีแบตเตอรีมากกว่ารุ่น Zenfone 4 Max ธรรมดา โดยตัวเครื่องจะมากับขนาด ขนาด 154 x 76.9 x 8.9 มิลลิเมตร น้ำหนัก 181 กรัม มีให้เลือกด้วยกัน 3 สี คือ Deepsea Black Sunlight Gold และ Rose Pink

ด้านหน้าจะมีหน้าจอ 2.5D IPS ขนาด 5.5 นิ้ว ความละเอียด HD (1280 x 720 พิกเซล) โดยส่วนบนหน้าจอประกอบไปด้วยกล้องหน้าความละเอียด 16 ล้านพิกเซล พร้อมไฟแฟลช ลำโพงสนทนา และเซ็นเซอร์ตรวจจับใบหน้า ล่างหน้าจอเป็นปุ่มโฮมและเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือ พร้อมปุ่มย้อนกลับ และเรียกดูแอปที่ใช้งานล่าสุด

ด้านหลังไล่จากส่วนบนจะมีกล้องหลักคู่ที่เป็นเลนส์ความละเอียด 16 ล้านพิกเซล คู่กับเลนส์มุมกว้าง พร้อมไฟแฟลช ถัดลงมาเป็นสัญลักษณ์เอซุส โดยจะใช้วัสดุเป็นอะลูมิเนียม เน้นความเรียบง่ายเป็นหลัก ภายในมีแบตเตอรี 5,000 mAh อยู่

ด้านซ้ายจะมีช่องใส่ซิมการ์ดโทรศัพท์ (Nano Sim) ที่มีความพิเศษตรงช่องใส่ซิมที่ 2 ไม่ต้องแชร์กับช่องใส่การ์ด MicroSD เหมือนหลายๆแบรนด์ สะดวกสบายสำหรับคนที่ใช้ 2 ซิมแล้วต้องการใส่การ์ดความจำเพิ่มด้วย ถือเป็นอีกจุดที่น่าสนใจของรุ่นนี้

ด้านขวามีปุ่มเพิ่มลดระดับเสียง และปุ่มเปิดปิดเครื่อง ด้านบนมีช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม. และไมโครโฟน ด้านล่างเป็นพอร์ตไมโครยูเอสบี และช่องลำโพง (โมโน)

อุปกรณ์ที่ให้มาในกล่อง นอกจากตัวเครื่อง อะเดปเตอร์ สายชาร์จ หูฟัง และคู่มือการใช้งานแล้ว เอซุส ยังได้แถมสาย OTG หรือสายแปลงหัวไมโครยูเอสบี เป็นพอร์ตยูเอสบีให้เสียบสายชาร์จ หรือแฟลชไดรฟ์เพื่อต่อใช้งานได้ทันทีมาให้ด้วย

สเปก

ASUS Zenfone 4 Max Pro จะขับเคลื่อนด้วยซีพียู Qualcomm Snapdragon 430 Octa-core ความเร็ว 1.4GHz กราฟิก Adreno 505 พร้อมแรม 3GB รอม 32GB ระบบปฏิบัติการเป็น Android 7.1.1 ครอบทับด้วย ASUS ZenUI 4.0 และแบตเตอรีความจุ 5,000 mAh

ด้านสเปกการเชื่อมต่อเครือข่าย รองรับ 3G/4G ในบ้านเราทั้งหมด โดย 4G (รองรับ VoLTE) จะรองรับความเร็วระดับ Cat4 ดาวน์โหลด 150Mbps 3G รองรับความเร็วดาวน์โหลดสูงสุด 42 Mbps ส่วน WiFi รองรับมาตรฐาน 802.11 b/g/n บลทูธ 4.0, มี GPS/A-GPS/GLONASS/BDSS และภาครับสัญญาณ FM

ฟีเจอร์เด่น

ในแง่ของฟีเจอร์การใช้งานทั่วไป Zenfone 4 Max Pro จะคล้ายๆกับรุ่นที่เคยรีวิวไปก่อนหน้านี้อย่าง Zenfone 4 Selfie ที่มีการใช้อินเตอร์เฟสของ Zen UI 4.0 มาครอบเพื่อให้ใช้งานได้ในสไตล์ของเอซุส ซึ่งถือว่าทำออกมาได้เบา ทำให้เครื่องไม่หน่วงเวลาใช้งานแม้จะให้ RAM มาเพียง 3GB

โดยจุดเด่นหลักๆของเครื่องรุ่นนี้จริงๆ ก็จะเป็นเรื่องของการแชร์แบตเตอรี ที่สามารถต่อกับอะเดปเตอร์เพื่อแชร์แบตให้เครื่องอื่นได้ เพราะด้วยแบตเตอรีที่ให้มา 5,000 mAh ก็เปรียบเหมือนพาวเวอร์แบงค์ขนาดเล็กๆอันหนึ่ง

แต่ถ้าไม่ได้ไปแชร์ใช้ให้ใคร เมื่อใช้เครื่องปกติ ระยะเวลาการใช้งานที่ได้ก็ถือว่าใช้งานได้สบายๆ 2-3 วัน ขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้งาน แต่ถ้าใช้งานต่อเนื่องหนักๆ ก็จะได้ประมาณ 1 วันสบายๆ เพราะด้วยสเปกที่ให้มาก็ถือว่าอยู่ในระดับกลางๆ ตามระดับราคาของเครื่อง

ในส่วนของกล้องที่ให้มา แม้ว่าจะมีลูกเล่นอย่างกล้องคู่มาให้ด้วย แต่คุณภาพของรูปทีไ่ด้จากกล้องรองที่เป็นเลนส์มุมกว้างนั้น ไม่ค่อยดีเท่าที่ควร เนื่องจากใช้เลนส์ความละเอียดต่ำ เหมือนใส่มาเพื่อให้การถ่ายภาพได้มุมมองที่แปลกไปมากกว่า

ขณะที่ในแง่ของโหมดถ่ายภาพที่ให้มาก็เป็นมาตรฐาน มีทั้งโหมดอัตโนมัติ โหมดโปร ที่เข้าไปตั้ง ISO และ Speed Shutter ได้เอง แต่ถ้าเน้นถ่ายง่ายๆ สนุกๆโหมดอัตโนมัติที่ให้มาก็พอแล้ว ไม่นับรวมกับพวกโหมดพิเศษอย่างพาโนราม่า หรือการถ่ายภาพเป็นไฟล์ GIF

ที่เหลือก็จะเป็นลูกค้าที่มากับ Zen UI ภายใต้ Zen Motion ที่จะมีให้เลือกตั้งค่าอย่างการจับภาพหน้าจอ สามารถกดปุ่ม Recent Apps ค้างไว้เพื่อบันทึกภาพแทน หรือการแตะหน้าจอ 2 ครั้งเพื่อเปิดปิดหน้าจอ การวาดตัวอักษรบนหน้าจอเพื่อเรียกใช้แอปเป็นต้น

ทดสอบประสิทธิภาพ

Antutu Benchmark = 44,447 คะแนน
Quadrant Standard = 14,760 คะแนน

PassMark PerformanceTest
System = 3513 คะแนน
CPU Tests = 81,572 คะแนน
Memory Tests = 5,267 คะแนน
Disk Tests = 36,236 คะแนน
2D Graphics Tests = 2,446 คะแนน
3D Graphics Tests = 807 คะแนน

3D Mark

Sling Shot Unlimited = 566 คะแนน
Sling Shot Extreme = 296 คะแนน
Sling Shot = 569 คะแนน
Ice Storm Extreme = 5,838 คะแนน
Ice Storm Unlimited = 9,483 คะแนน
Ice Storm = 10,004 คะแนน

PC Mark

Work 2.0 = 3,716 คะแนน
Computer Vision = 1,704 คะแนน
Storage = 3,155 คะแนน
Work = 4,846 คะแนน

Geekbench 4
Single-Core = 656 คะแนน
Multi-Core = 2,493 คะแนน
Compute = 2,129 คะแนน

ขณะที่การทดสอบแบตเตอรีผ่าน PCMark จะอยู่ที่ 15 ชั่วโมง 5 นาที เมื่อแบตเตอรีเหลือ 20% ดังนั้นถ้าใช้งานต่อเนื่องจนถึงแบตหมดเหมือนใช้งานต่อเนื่องได้ทั้งวันสบายๆ หรือถ้าใช้งานทั่วๆไปในแต่ละวัน ก็สามารถอยู่ได้ 2-3 วัน

สรุป

ด้วยการที่เอซุสในซีรีส์เน้นเรื่องแบตเตอรีเป็นหลัก ดังนั้นถ้าอยากได้สมาร์ทโฟนที่แบตอึดๆ ใช้ได้ยาวๆก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในราคาระดับนี้ เพราะโดยรวมกับสเปกที่ให้มาอยู่ในช่วงกลางๆ พอกับการใช้งานทั่วๆไป อย่างใช้โซเชียลมีเดีย แชท เล่นเน็ต ดูซีรีส์ยาวๆ แต่ถ้าจะเอามาเล่นเกมหนักๆ ตัวเครื่องก็จะมีอาการหน่วงอยู่นิดๆ

ข้อดี

– แบตเตอรี 5,000 mAh ที่ใช้ได้ยาวๆ และแชร์แบตให้เพื่อนได้
– มีสาย OTG (แปลง MicroUSB เป็น USB) มาให้ในกล่อง
– มีเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือให้ใช้งาน
– กล้องหลังคู่ที่เป็นเลนส์มุมกว้าง

ข้อสังเกต

– ประสิทธิภาพตัวเครื่องจะอยู่ในระดับกลางๆ
– กล้องคู่ที่ให้มาคุณภาพไม่ค่อยดี ส่วนกล้องหลักตามราคาเครื่อง
– ZenUI ที่ให้มายังไม่ค่อยเสถียรมากนัก
– ดีไซน์ไม่ได้มีความแปลกใหม่จากรุ่นเดิมมากนัก

Gallery

]]>
Review : VIVO V7+ เน้นเซลฟี 24 ล้านพิกเซลพร้อมระบบปลดล็อกด้วยใบหน้า https://cyberbiz.mgronline.com/review-vivo-v7plus/ Fri, 06 Oct 2017 09:26:13 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=27333

ช่วงนี้ตลาดสมาร์ทโฟนระดับกลางค่อนข้างคึกคัก เพราะนอกจากกระแสจอแบบไร้ขอบ (Full View) จะถูกนำมาใช้มากขึ้นแล้ว เรื่องของกล้องหน้าเน้นถ่ายเซลฟีคุณภาพสูง ยังถือเป็นอีกหนึ่งจุดเด่นที่ปัจจุบันกลายเป็นจุดขายหลักของสมาร์ทโฟนราคาไม่เกิน 1 หมื่นห้าพันบาทไปเช่นกัน

โดยในวันนี้ทีมงานไซเบอร์บิซได้รับอีกหนึ่งสมาร์ทโฟนระดับกลาง VIVO V7+ ที่มีความโดดเด่นตั้งแต่หน้าจอแบบ Full View ไปถึงเรื่องกล้องหน้าความละเอียดสูงถึง 24 ล้านพิกเซลและมาพร้อมระบบปลดล็อกด้วยใบหน้าไม่ต่างกับ iPhone X อีกด้วย

การออกแบบ

เริ่มจากด้านหน้า VIVO V7+ การออกแบบหน้าจอของวีโว่จะเป็นแบบ Full View ที่ใช้การขยายขอบจอทั้ง 4 ด้านให้ชิดกับขอบเครื่องมากยิ่งขึ้น ทำให้อัตราส่วนภาพเปลี่ยนจาก 16:9 เป็น 18:9 พร้อมขอบจอบางเพียง 2.15 มิลลิเมตร ทำให้ V7+ จะมีหน้าจอที่ใหญ่ถึง 5.99 นิ้ว ความละเอียดหน้าจอ 1,440×720 พิกเซล แต่ตัวเครื่องยังคงความเล็กในแบบสมาร์ทโฟนจอ 5 นิ้วปกติ

ในส่วนปุ่มคำสั่ง Navigation Buttons จะทำผ่านซอฟต์แวร์ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นปุ่มโฮม ย้อนกลับและเรียก Recent Apps โดยผู้ใช้สามารถปรับแต่งสลับตำแหน่งปุ่มคำสั่งได้ในเมนูตั้งค่า

ด้านขนาดตัวเครื่องจะมีความหนาเพียง 7.7 มิลลิเมตรและน้ำหนัก 160 กรัม เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งสมาร์ทโฟนที่มีหน้าจอใหญ่แต่ตัวเครื่องทั้งน้ำหนักและขนาดกำลังพอดีมือ

มาดูกล้องหน้า VIVO V7+ จะมีความละเอียดสูงสุดที่ 24 ล้านพิกเซล รูรับแสง f2.0 พร้อมไฟ LED Selfie Softlight และตัวกล้องรองรับระบบสแกนใบหน้าเพื่อปลดล็อกสมาร์ทโฟนด้วย

ด้านหลัง ใช้วัสดุเป็นอะลูมิเนียม โดยด้านบนจะเป็นที่อยู่ของกล้องถ่ายภาพหลัก 16 ล้านพิกเซล รูรับแสง f2.0 พร้อมไฟแฟลช LED 1 ดวง ถัดลงมาเป็นส่วนเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือและโลโก้วีโว่

มาดูในส่วนพอร์ตเชื่อมต่อและปุ่มกดรอบตัวเครื่อง เริ่มจากด้านล่างเครื่อง จะเป็นที่อยู่ของช่องหูฟัง 3.5 มิลลิเมตร ไมโครโฟน พอร์ต MicroUSB และลำโพง 1 ตัว

ด้านบน เป็นที่อยู่ของไมโครโฟนตัดเสียงรบกวน

ด้านซ้าย เป็นช่องใส่ซิมการ์ดโทรศัพท์แบบ Nano Sim รองรับ 2 ซิมการ์ดและ 1 MicroSD Card (รองรับความจุสูงสุด 256GB)

ด้านขวา เป็นปุ่มเพิ่มลดเสียงและปุ่มเปิดปิดเครื่อง (สังเกตบริเวณกล้องถ่ายภาพด้านหลังจะยื่นออกจากตัวเครื่องเล็กน้อย ทำให้ต้องระวังเรื่องการวางเครื่องบนโต๊ะเพราะอาจทำให้เกิดรอยที่เลนส์ได้ แนะนำให้ใส่เคสจะดีที่สุด)

สุดท้ายมาแกะกล่อง VIVO V7+ เสียหน่อย จะพบว่าทางวีโว่ได้แถมเคสพลาสติกพร้อมติดฟิล์มกันรอยที่หน้าจอมาให้ในกล่องเลย

สเปก

VIVO V7+ ขับเคลื่อนด้วยซีพียู Qualcomm Snapdragon 625 Octa-core ความเร็ว 1.80GHz มาพร้อมแรม 4GB รอม 64GB (เหลือให้ใช้จริงประมาณ 50GB) ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 7.1 (และ Funtouch OS 3.2 จากวีโว่) พร้อมแบตเตอรี 3,225mAh

ด้านสเปกเชื่อมต่อเครือข่ายรองรับ 3G/4G ทุกเครือข่ายในบ้านเรา ส่วน WiFi รองรับมาตรฐาน 802.11 b/g/n/ac บลูทูธ 4.2 GPS รองรับทั้ง GLONASS/BeiDou พร้อมภาครับวิทยุ FM ภายในตัว และสุดท้ายภายในตัวเครื่องยังมาพร้อมชิปเสียง AK4376A HiFi รองรับการถอดรหัสไฟล์เสียงคุณภาพสูงอย่างเต็มรูปแบบ

ฟีเจอร์เด่น

ต้องบอกว่าข้อดีของ Funtouch OS 3.2 จากวีโว่จะอยู่ในเรื่องหน้าตาที่ดูเรียบและเข้าถึงง่ายไม่ซับซ้อน แถมการออกแบบไอคอนไปถึงการจัดวางเรียกใช้ออปชันปรับแต่งค่าต่างๆยังให้ความรู้สึกเดียวกับ iOS บนไอโฟนอย่างมาก เช่น เวลาจะเรียก Quick Setting ปกติของแอนดรอยด์จะต้องรูดนิ้วจากขอบจอด้านบนลงล่าง แต่ของวีโว่จะใช้วิธีรูดจากขอบจอด้านล่างขึ้นบนพร้อมอินเตอร์เฟสแบบเดียวกับ Control Center บน iOS อย่างใดอย่างนั้น

ในส่วนแอปฯพื้นฐานติดตั้งมาจากโรงงานทางวีโว่ให้มาพอประมาณ ส่วนใหญ่จะเป็นแอปฯจำพวกจดโน้ต WPS Office เวอร์ชันอ่านแก้ภาษาไทยได้ VIVO Cloud รวมถึงเฟสบุ๊ก เป็นต้น

มาดูฟีเจอร์เด่นกันบ้าง เริ่มจาก “ระบบสแกนและจดจำใบหน้าเพื่อใช้ปลดล็อกตัวเครื่อง” ที่ทาง VIVO เรียกว่า “Facial Recognition” และมีลักษณะการทำงานคล้ายกับ Face ID บน iPhone X เพียงแต่ของวีโว่จะไม่มีเซ็นเซอร์ตรวจจับใบหน้าโดยเฉพาะ แต่ใช้กล้องหน้าในการตรวจจับใบหน้าเราหลายส่วน และการปลดล็อกจะใช้เวลารวดเร็วเพียงเสี้ยววินาทีเท่านั้น (ทำงานเร็วกว่าระบบตรวจจับใบหน้าที่เคยมีในแอนดรอยด์ทุกรุ่นรวมถึง Iris Scan ของซัมซุง)

แต่ทั้งนี้ระบบ Facial Recognition ของวีโว่ก็มีข้อจำกัดอยู่โดยเฉพาะเมื่อใช้ในที่แสงน้อยมาก ระบบจะไม่สามารถตรวจจับใบหน้าได้ หรือถ้าเรามีฝาแฝดที่หน้าตา โครงหน้าและไว้ทรงผมเหมือนกับเราระบบอาจมองว่าเป็นคนคนเดียวกันและยอมปลดล็อกหน้าจอได้ ส่วนการใช้รูปถ่ายในการปลดล็อก ทีมงานทดสอบแล้วว่าไม่สามารถทำได้

มาถึงฟีเจอร์ต่อไปกับความสามารถในการทำ Multitask เปิด 2 แอปฯใน 1 หน้าจอที่กลายเป็นมาตรฐานใหม่ของแอนดรอยด์ทุกรุ่นในปัจจุบัน แน่นอนว่า VIVO V7+ สามารถใช้งานฟีเจอร์นี้ได้ลื่นไหล เพียงแต่ต้องเป็นแอปฯที่รองรับเท่านั้นถึงจะเข้าสู่โหมดใช้งานดังกว่าได้

นอกจากนั้น VIVO V7+ ยังมาพร้อมฟีเจอร์ Dual Apps ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ที่มีบัญชีแอปฯโซเชียล เช่น Facebook, LINE สามารถเข้าใช้งาน 2 บัญชีพร้อมกันได้ในเครื่องเดียว

สุดท้ายกับฟีเจอร์เด็ดเอาใจสาวสวย หนุ่มหล่อกับ Beauty Mode ที่ออกแบบมาเพื่อกล้องหน้า V7+ โดยเฉพาะและสามารถเปิดใช้งานเมื่อเราวิดีโอคอลล์หาเพื่อนผ่านแอปฯ เช่น LINE ผู้ใช้สามารถปรับเอ็ฟเฟ็กต์แต่งความงามบนใบหน้าหรือจะเปิดไฟ Softlight ช่วยให้หน้าขาวใสก็สามารถทำได้ทันที

กล้องถ่ายภาพ

อย่างที่ทราบดีว่า V7+ จะเน้นกล้องหน้าเป็นหลัก ส่วนกล้องหลังจะให้คุณภาพไม่โดดเด่นนัก โดยในส่วนของซอฟต์แวร์ก็เรียกได้ว่า วีโว่จัดเต็มเอาใจขาเซลฟีอย่างมาก โดยเมื่อผู้ใช้เปิดกล้องหน้าจะสามารถเลือกโหมดเซลฟีได้หลากหลายตั้งแต่ เซลฟีมุมกว้าง (พาโนรามา) สำหรับถ่ายเซลฟีร่วมกับวิวทิวทัศน์หรือจะประยุกต์ใช้ถ่ายเซลฟีหมู่ก็ได้ ใบหน้าสวยหรือ Beauty Mode โหมดปรับความขาวใสของใบหน้า รวมถึงมี Portrait Mode ทำหน้าชัดหลังเบลอ (ผ่านซอฟต์แวร์) และสุดท้ายกล้องหน้าสามารถบันทึกวิดีโอได้ที่ความละเอียดสูงสุด 1080p

วิดีโอตัวอย่างจากกล้องหน้าที่ความละเอียด 1080p

ส่วนกล้องหลังจะมีโหมดให้เลือกใช้ตั้งแต่ UltraHD, โหมดมืออาชีพปรับแต่งค่ากล้องเองได้รวมถึง Time Lapse และมี HDR, Live Photo รวมถึงมีฟิลเตอร์สีให้เลือกใช้และสามารถใส่ลายน้ำให้รูปได้ด้วย

ตัวอย่างภาพจากกล้อง VIVO V7+

กล้องหลัง

กล้องหลัง

กล้องหลัง

กล้องหน้า โหมดภาพปกติ

กล้องหน้า Beauty Mode (ใบหน้าสวย)

กล้องหน้าถ่ายย้อนแสงพร้อมเปิด Beauty Mode (ใบหน้าสวย) + Portrait Mode หน้าชัดหลังเบลอ

ภาพรวมเรื่องกล้องถ่ายภาพจะเห็นว่า VIVO V7+ จะโดดเด่นในเรื่องกล้องหน้ามากกว่า ส่วนกล้องหลังคุณภาพถือว่ากลางๆไม่ดีและแย่เกินไป พอใช้ถ่ายภาพสนุกๆได้ ส่วนความรวดเร็วของชัตเตอร์ถือว่ากำลังดี กดปุ๊บภาพมาปั๊บ ไม่เชื่องช้าให้จังหวะการถ่ายภาพเสียเหมือนหลายแบรนด์ในระดับเดียวกัน

ทดสอบประสิทธิภาพ

AnTuTu Benchmark = 56,570 คะแนน

PCMark Work 2.0 = 4,934 คะแนน

3DMark
Sling Shot Extreme = 435 คะแนน
Sling Shot = 799 คะแนน
Ice Storm Extreme = 7,879 คะแนน
Ice Storm = 12,063 คะแนน

PassMark PerformanceTest
System = 4,561 คะแนน
CPU Tests = 113,173 คะแนน
Memory Tests = 6,108 คะแนน
Disk Tests = 60,656 คะแนน
2D Graphics Tests = 3,284 คะแนน
3D Graphics Tests = 1,049 คะแนน

AndroBench
Seq. Read = 300.64 MB/s
Seq. Write = 218.44 MB/s

สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพ VIVO V7+ คะแนนถือว่าใช้ได้ตามาตรฐานกลุ่มสมาร์ทโฟนระดับกลาง ส่วนการใช้งานจริงถือว่าเป็นอีกหนึ่งสมาร์ทโฟนที่ทำงานลื่นไหลและไม่พบอาการแอปฯเด้งเพราะแรมหมดให้เห็น การทำงาน ลูกเล่นและการใช้งานทำได้ค่อนข้างประทับใจ สเปกและซอฟต์แวร์วีโว่ใส่มาให้พอดีเหมาะสมกับราคา โดยเฉพาะรอม 64GB ถือว่าเพียงพอในปัจจุบันแล้ว

ส่วนแบตเตอรีเป็นอะไรที่ว้าวมาก เพราะจากสเปกแล้วไม่น่าจะอึดทนถึงเพียงนี้ แต่ VIVO V7+ สามารถทดสอบใช้งานต่อเนื่องได้ยาวนานถึง 14-15 ชั่วโมงแบบเปิดหน้าจอทิ้งไว้ตลอดการทดสอบ (แบตฯเหลือ 20%) ส่วนเมื่อใช้งานปกติในชีวิตประจำวัน ถ้าไม่ใช่คนชอบถ่ายรูปหรือแชทตลอดทั้งวัน แบตฯของวีโว่สามารถใช้ได้เต็มวันเกือบ 24 ชั่วโมงแน่นอน

สรุป

สำหรับราคา VIVO V7+ อยู่ที่ 11,990 บาท มีให้เลือก 2 สีได้แก่ ดำด้านและทอง เทียบกับสเปก ประสิทธิภาพและลูกเล่นต่างๆก็ถือเป็นอีกหนึ่งสมาร์ทโฟนระดับกลางที่ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะผู้ที่กำลังมองหาสมาร์ทโฟนเน้นกล้องหน้าเพื่อนำมาถ่ายวิดีโอไลฟ์ รีวิวสินค้าหรือเน้นเซลฟีเป็นหลัก V7+ น่าตอบโจทย์ได้ดี จะมีข้อสังเกตอยู่อย่างเดียวก็เรื่องกล้องหลังที่ให้คุณภาพระดับเริ่มต้นเกินไป แน่นอนว่าแพ้พี่ใหญ่ในกลุ่มที่เคยทำคะแนนทดสอบไว้ยอดเยี่ยมอย่าง OPPO R9s พอสมควร แต่เรื่องกล้องหน้าตามความรู้สึกของทีมงาน R9s สู้ V7+ ไม่ได้ ส่วนหลายคนที่สงสัยว่าสู้ ASUS Zenfone 4 Selfie รุ่นราคา 8,990 บาทได้หรือไม่ ต้องเรียนตามตรงว่า VIVO V7+ ดีกว่ามากครับ เพราะ Zenfone 4 Selfie จะจับกลุ่มระดับเริ่มต้นกว่า V7+ (ถ้าจะเทียบชนกันให้ถูกต้องเป็นรุ่น Zenfone 4 Selfie Pro)

ข้อดี

– กล้องหน้า 24 ล้านพิกเซล เป็นสมาร์ทโฟนที่เกิดมาเพื่อเน้นเซลฟีโดยเฉพาะ
– แบตเตอรีอึด
– งานประกอบค่อนข้างดี
– ระบบสแกนใบหน้าและปลดล็อกเครื่องทำงานรวดเร็ว
– ลำโพงถึงแม้จะเป็นโมโนแต่เสียงดีมาก
– รอม 64GB
– ในแพกเกจมีฟิล์มกันรอยหน้าจอและเคสแถมมาให้ด้วย

ข้อสังเกต

– กล้องหลังคุณภาพยังไม่น่าประทับใจ
– ระบบสแกนใบหน้าและปลดล็อกเครื่องเหมือนเป็นลูกเล่นเสริมมากว่าจะใช้งานจริงจังเนื่องจากเรื่องความปลอดภัยที่ไม่ดีเท่าสแกนลายนิ้วมือและรหัสผ่าน

Gallery

]]>
Review : ASUS Zenfone 4 Selfie เซลฟีกล้องคู่ในราคาไม่ถึงหมื่น https://cyberbiz.mgronline.com/review-asus-zenfone4selfie/ Sat, 16 Sep 2017 03:24:44 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=27168

เดินทางมาถึงรุ่นที่ 4 กับ ASUS Zenfone สมาร์ทโฟนกระแสแรง ที่ล่าสุดเลือกดึงดาราสุดร้อนแรงอย่าง กง ยู มาเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์อย่างเป็นทางการ ไปถึงการเปิดรุ่นย่อยของ Zenfone 4 ถึง 6 รุ่นตามแบบฉบับเอซุส ไล่ตั้งแต่รุ่นบนไฮเอนด์สุด อย่าง ASUS Zenfone 4 Pro ลงไปถึงตลาดราคาประหยัดแต่เน้นความอึดของแบตเตอรีอย่าง Zenfone 4 Max โดยรุ่นที่ทีมงานไซเบอร์บิซได้รับมารีวิวในวันนี้จะเป็นรุ่นระดับกลาง เน้นเซลฟีในชื่อ “ASUS Zenfone 4 Selfie” ที่มีความโดดเด่นในเรื่องกล้องหน้าแบบคู่ 2 ระยะเลนส์ เอาใจขาเซลฟีเป็นพิเศษ

การออกแบบ

สำหรับ Zenfone 4 Selfie จะเปิดตัวมาถึง 2 รุ่นย่อยคือรุ่น Pro และรุ่นเริ่มต้น (เป็นรุ่นที่เราจะรีวิวในวันนี้) เน้นราคาประหยัด โดยตัวเครื่องที่ทีมงานได้รับมาเป็นโมเดล ZD553KL มาพร้อมหน้าจอ 2.5D IPS ขนาด 5.5 นิ้ว ความละเอียด HD 720p (Zenfone 4 Selfie Pro จะเป็นหน้าจอ AMOLED Full HD)

ในส่วนขนาดตัวเครื่องจะมีความหนา 7.85 มิลลิเมตร หนัก 144 กรัม ซึ่งถือเป็นสมาร์ทโฟนอีกหนึ่งรุ่นที่มีน้ำหนักเบา

ใต้จอภาพจะเป็นที่อยู่ของปุ่มโฮมและเซนเซอร์สแกนลายนิ้วมือ (เป็นแบบสัมผัสไม่ใช่ปุ่มกดจริง) ขนาบข้างด้วยปุ่มย้อนกลับและปุ่มเรียก Recent Apps แบบดั้งเดิมของเอซุส โดยในรุ่นนี้ไม่มีไฟส่องสว่างติดตั้งใต้ปุ่มดังกล่าว

มาดูกล้องหน้าซึ่งถือเป็นจุดขายหลักของ Zenfone 4 Selfie โดยในรุ่นนี้เอซุสใส่กล้องหน้ามาถึง 2 ตัว 2 ระยะเลนส์ (Dual Camera) โดยกล้องหลักมาพร้อมระยะ 31 มิลลิเมตร รูรับแสง f2.0 ความละเอียดภาพสูงสุด 20 ล้านพิกเซล ส่วนกล้องหน้าตัวที่สองมาพร้อมระยะ 12 มิลลิเมตร เป็นเลนส์มุมกว้างพิเศษ 120 องศา (6 ชิ้นเลนส์) มาพร้อมความละเอียดภาพ 8 ล้านพิกเซล โดยกล้องทั้งสองตัวสามารถทำหน้าชัดหลังเบลอได้ และนอกจากนั้นทางเอซุสยังใส่ Softlight LED flash ที่เมื่อใช้ร่วมกับซอฟต์แวร์ภายในจะช่วยเพิ่มความใสของใบหน้าได้ดีมาก

ด้านหลัง วัสดุจะเป็นอะลูมิเนียมแบบไร้รอยต่อ ในส่วนกล้องหลังมีระยะ 26 มิลลิเมตร ความละเอียด 16 ล้านพิกเซล มาพร้อมไฟแฟลช LED และระบบออโต้โฟกัสในกล้องใช้เทคโนโลยี Phase detection

มาดูรอบข้างตัวเครื่องกันบ้าง เริ่มจากด้านซ้ายสุดจะเป็นที่อยู่ของช่องใส่ซิมการ์ดโทรศัพท์ (Nano Sim) ที่มีความพิเศษตรงช่องใส่ซิมที่ 2 ไม่ต้องแชร์กับช่องใส่การ์ด MicroSD เหมือนหลายๆแบรนด์ สะดวกสบายสำหรับคนที่ใช้ 2 ซิมแล้วต้องการใส่การ์ดความจำเพิ่มด้วย

ด้านขวา – เป็นที่อยู่ที่ของปุ่มเพิ่มลดระดับเสียงและปุ่มเปิดปิดเครื่อง

ด้านบน – เป็นช่องเชื่อมต่อหูฟัง 3.5 มิลลิเมตรและไมโครโฟน

ด้านล่าง – ซ้ายมือสุดเป็นส่วนของไมโครโฟน (รองรับระบบตัดเสียงรบกวน ASUS Noise Reduction Technology) ตรงกลางช่อง MicroUSB ขวามือเป็นช่องลำโพง (โมโน)

สเปก

ASUS Zenfone 4 Selfie รุ่นเริ่มต้นจะขับเคลื่อนด้วยซีพียู Qualcomm Snapdragon 430 Octa-core ความเร็ว 1.4GHz กราฟิก Adreno 505 พร้อมแรม 4GB รอม 64GB เหลือให้ใช้งานจริงประมาณ 49-50GB ระบบปฏิบัติการเป็น Android 7.1.1 ครอบทับด้วย ASUS ZenUI 4.0 และแบตเตอรีความจุ 3,000 mAh

ด้านสเปกการเชื่อมต่อเครือข่าย รองรับ 3G/4G ในบ้านเราทั้งหมด โดย 4G (รองรับ VoLTE) จะรองรับความเร็วระดับ Cat4 ดาวน์โหลด 150Mbps 3G รองรับความเร็วดาวน์โหลดสูงสุด 42 Mbps ส่วน WiFi รองรับมาตรฐาน 802.11 b/g/n บลทูธ 4.0, มี GPS/A-GPS/GLONASS/BDSS และภาครับสัญญาณ FM

ฟีเจอร์เด่น

ภาพรวมของ ZenUI 4.0 มีการอัปเกรดหน้าตาในดูเรียบร้อยและเบาขึ้น แอปฯจากโรงงานที่เกินความจำเป็นถูกตัดออกเหลือเพียงแอปฯที่จำเป็นต่อการใช้งานเท่านั้น เรียกได้ว่าเป็น ZenUI ที่เบาสบาย ใช้งานลื่นไหลสุดตั้งแต่เอซุสพัฒนาออกมา

ในส่วนฟีเจอร์เด่นของ Zenfone 4 Selfie ก็ถือว่าจัดเต็มมาตามแบบฉบับเอซุส ไล่ตั้งแต่ความสามารถในการทำ Multitasking เปิด 2 แอปฯพร้อมกันในหน้าจอเดียวได้ ไปถึงความสามารถในการบันทึกเสียงสนทนาโทรศัพท์ได้ทันทีและตัวเด็ดที่มาพร้อมกับ ASUS Zenfone มานานอย่างระบบ Boost ที่จะช่วยเคลียร์แรมอัตโนมัติก็ยังมีให้เลือกใช้งานเช่นเดิม

และการใช้งาน Zenfone 4 Selfie ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดัง ทางเอซุสยังใส่ Outdoor Mode มาให้ โดยเมื่อเปิดใช้งาน ลำโพงของตัวเครื่องจะส่งเสียงดังกว่าเดิมเท่าตัว

Emergency Mode หรือโหมดฉุกเฉิน (เข้าใช้งานได้โดยกดปุ่มปิดเครื่องค้างไว้และกดที่ Emergency Mode) โดยเมื่อเปิดใช้งานและตั้งเบอร์คนสนิทไว้ ระบบจะเปิด GPS และส่งพิกัดให้กับคนสนิทผ่านระบบ ASUS Safeguard อีกทั้งยังช่วยติดต่อเบอร์ฉุกเฉินในพื้นที่ของเราได้ด้วย

Page Maker สำหรับคนที่ชอบอ่านข่าว อ่านบทความผ่านหน้าเว็บไซต์ ระบบ Page Maker จะสามารถเซฟหน้าเว็บไซต์เหล่านั้นเก็บไว้อ่านทีหลังได้ (ออฟไลน์โหมด) อีกทั้งผู้ใช้ยังสามารถเลือกใช้ปากกาสีไฮไลท์ข้อความได้ด้วย

ฟีเจอร์กล้องถ่ายภาพ

อย่างที่ทราบดีว่า Zenfone 4 Selfie จะถูกเน้นการใช้งานกล้องหน้าเพื่อถ่ายเซลฟีเป็นสำคัญ เพราะฉะนั้นฟีเจอร์เซลฟี เอซุสใส่มาแบบจัดเต็มตั้งแต่ Beauty Mode ที่ปรับแต่งได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นทำหน้าเนียน เพิ่มความขาว ลบรอยไปถึงเปลี่ยนเชฟใบหน้าก็สามารถทำได้ หรือถ้าอยากปรับแต่งปรับโทนหน้าให้ละเอียดมากขึ้น ทางเอซุสได้ติดตั้งแอปฯ Selfie Master มาให้ใช้งานกันได้อย่างอิสระ

Portrait Mode ร่วมกับกล้องหน้า จะเห็นว่าหน้าชัดหลังเบลอของ ASUS Zenfone 4 Selfie จะใช้ซอฟต์แวร์ช่วยเป็นหลัก

นอกจากนั้นยังมีโหมดถ่ายภาพพิเศษ (ใช้ได้ทั้งกล้องหน้าและหลัง) คือ “Portrait” สำหรับทำหน้าชัดหลังเบลอ

ในส่วนโหมดกล้องปกติ จะไม่แตกต่างจากสมาร์ทโฟนรุ่นอื่นของเอซุส โดยจะมีโหมดให้เลือกใช้งานตั้งแต่อัตโนมัติ โหมดโปร (ปรับค่ากล้องได้ตามต้องการ) ไปถึงโหมดพาโนรามาหรือ Time Lapse ก็มีให้เลือกใช้เช่นเดิม

สำหรับการใช้งานกล้องหน้า Dual Camera ผู้ใช้สามารถสลับเปลี่ยนกล้องทั้ง 2 ได้ผ่านไอคอนรูปคน โดยกล้องทั้งสองตัวจะทำงานแยกกันอย่างอิสระ เช่น ใช้งานกล้องตัวแรกระยะ 31 มิลลิเมตร ผู้ใช้จะถ่ายรูปที่ความละเอียดสูงสุด 20 ล้านพิกเซล ส่วนเมื่อกดใช้กล้องตัวที่สองระยะ 12 มิลลิเมตร ผู้ใช้ก็จะถ่ายภาพได้ที่ความละเอียดแค่ 8 ล้านพิกเซลเท่านั้น อีกทั้งคุณภาพไฟล์ภาพจากกล้องทั้งสองตัวยังแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ตามตัวอย่างต่อไปนี้

กล้องหน้าตัวที่ 1 ระยะ 31 มิลลิเมตร พร้อมเปิด Beauty Mode (ถ่ายในที่แสงน้อย)

กล้องหน้าตัวที่ 2 ระยะ 12 มิลลิเมตร พร้อมเปิด Beauty Mode จะเห็นว่าได้ภาพที่กว้างกว่ามาก ออกแบบมาเพื่อให้เราสามารถถ่ายเซลฟีกับภาพวิวทิวทัศน์ได้เหมือนกล้อง Action Cam หรือจะถ่ายเซลฟีหมู่ก็ได้ แต่คุณภาพจะลดลงไปพอสมควร (ถ่ายในที่แสงน้อย)

กล้องหน้าตัวที่ 1 ระยะ 31 มิลลิเมตร พร้อมเปิด Beauty Mode และเปิดใช้ Softlight LED flash ควบคู่ไปด้วย

ส่วนกล้องหลักด้านหลังจะให้คุณภาพกลางๆ และไม่มีระบบป้องกันภาพสั่นไหวมาให้

ทดสอบประสิทธิภาพ

AnTuTu Benchmark = 43,892 คะแนน
PCMark Work 2.0 = 3,628 คะแนน

3D Mark
Sling Shot Extreme = 298 คะแนน
Sling Shot = 582 คะแนน
Sling Shot Unlimited = 9,369 คะแนน
Ice Storm Extreme = 5,878 คะแนน

PassMark PerformanceTest
System = 3,575 คะแนน
CPU Tests = 80,284 คะแนน
Memory Tests = 5,367 คะแนน
Disk Tests = 50,023 คะแนน
2D Graphics Tests = 2,434 คะแนน
3D Graphics Tests = 823 คะแนน

AndroBench
Seq. Read = 276.77MB/s
Seq. Write = 211.92MB/s

สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพ อาจเพราะเอซุสเลือกใช้ซีพียูระดับเริ่มต้นทำให้การทำงานไม่ค่อยรวดเร็วนัก แต่ถ้านำไปใช้งานปกติเช่นเล่นเฟสบุ๊ก ท่องเว็บ แชทถือว่าตอบสนองได้ดี แต่ถ้านำไปเล่นเกม Zenfone 4 Selfie อาจไม่เหมาะ

ส่วนการใช้งานกล้องถ่ายภาพจะเจอปัญหาชัตเตอร์ช้าเล็กน้อย (อารมณ์เหมือนกดชัตเตอร์ลงไปแล้วต้องรอประมาณครึ่งถึงหนึ่งวินาทีภาพถึงจะถูกบันทึก) ไม่เหมาะสำหรับการถ่ายสแนป

ด้านแบตเตอรีทดสอบด้วย PC Mark ด้วยการเปิดหน้าจอและเชื่อมต่อ WiFi/4G ตลอดการทดสอบ สามารถใช้งานต่อเนื่องได้ที่ 8 ชั่วโมง 25 นาที ส่วนทดลองใช้งานปกติจะอยู่ที่ 12-14 ชั่วโมง ใช้งานได้ตลอดทั้งวัน แต่ถ้าใช้งานกล้องถ่ายรูปบ่อยแบตเตอรีค่อนข้างลดลงรวดเร็วพอสมควร

สรุป

สำหรับราคาเปิดตัว ASUS Zenfone 4 Selfie อยู่ที่ 8,990 บาท ถือว่าเป็นอีกหนึ่งสมาร์ทโฟนสเปกระดับกลางค่อนไปทางเริ่มต้นที่มึจุดขายหลักอยู่ที่กล้องหน้าแบบคู่ 2 ระยะเลนส์ เน้นเซลฟีได้ทั้งแบบกลุ่มหรือจะเน้นเดี่ยวแต่สามารถเก็บวิวทิวทัศน์ได่ในราคาไม่ถึงหมื่นบาท โดยถ้าต้องการคุณภาพที่ดีมากขึ้นอาจต้องรอ Zenfone 4 Selfie Pro เพราะในรุ่นที่ทีมงานทดสอบนี้ทั้งกล้องหน้าและหลังยังให้คุณภาพแค่ระดับกลางๆ เท่านั้น

ข้อดี

– ตัวเครื่องน้ำหนักเบา จอภาพขนาดกำลังพอดี
– ช่องใส่ซิม 2 ไม่ต้องแชร์กับ MicroSD
– กล้องหน้าคู่ 2 ระยะ เลนส์ตัวที่สองให้ภาพที่กว้าง สามารถถ่ายเซลฟีหมู่ได้
– ซอฟต์แวร์ช่วยเซลฟีมีให้เลือกใช้หลากหลาย
– ZenUI ปรับมาดีขึ้นมาก

ข้อสังเกต

– คุณภาพกล้องอยู่ระดับกลางๆ ทั้งหน้าและหลัง
– ชัตเตอร์กล้องช้ามาก

Gallery

]]>
Review : Xiaomi Mi 6 ไฮเอนด์ราคาแพงหลบไป เมื่อ Xiaomi มาไทย https://cyberbiz.mgronline.com/review-xiaomi-mi-6/ Wed, 13 Sep 2017 09:14:38 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=27121

ความคุ้มค่ากับสเปกที่ได้ถือเป็นจุดเด่นที่สำคัญของ Xiaomi มาตลอด แน่นอนว่ากับรุ่นล่าสุดที่เพิ่งวางขายในตลาดประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ผ่านตัวแทนจำหน่ายในไทย Xiaomi Mi 6 ที่เป็นตัวท็อปก็มีมาให้เลือกในระดับราคาเริ่มต้นที่ 13,790 บาท

ในภาพรวมแล้ว Xiaomi Mi 6 ถือเป็นสมาร์ทโฟนระดับไฮเอนด์ จากการที่ใช้หน่วยประมวลผลอย่าง Qualcomm Snapdragon 835 มาพร้อมกล้องคู่แบบ Tele ช่วยละลายหลังได้ แถมอัด RAM มาให้ใช้ 6 GB มีเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือมาให้ด้วย ทำให้กลายเป็นเครื่องไฮเอนด์ในระดับราคาหมื่นกลางๆ

การออกแบบ

การออกแบบของ Xiaomi Mi 6 จะเน้นตัวเครื่องที่เป็นวัสดุโลหะ ผสมกับกระจกหน้า และหลังที่สร้างเงาสะท้อน งานประกอบแข็งแรง ประกอบกับขนาดตัวเครื่องที่พอดีมือ ทำให้จับถือใช้งานได้ง่าย โดยขนาดของตัวเครื่องอยู่ที่ 145.17 x 70.49 x 7.45 มิลลิเมตร น้ำหนัก 168 กรัม

แต่ถ้ามองในเรื่องของสี ถือว่าเป็นการจับคู่สีที่ค่อนข้างแปลก ด้วยการนำขอบสีทอง มาคู่กับตัวเครื่องสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นคู่สีที่ตรงข้ามกัน ทำให้ดูแล้วไม่ค่อยเข้ากันเท่าไหร่ แน่นอนว่าถ้ามองเฉพาะสีน้ำเงินอย่างเดียว Mi 6 ทำออกมาได้สวย เมื่อเปลี่ยนมุมกระทบของแสงก็ให้สีที่แตกต่างกัน

ด้านหน้า – พื้นที่หลักจะเป็นหน้าจอขนาด 5.15 นิ้ว ความละเอียด Full HD (1920 x 1080 พิกเซล) ความละเอียดเม็ดสี 428 ppi คิดเป็นสัดส่วนหน้าจอเทียบกับตัวเครื่องประมาณ 71.4% ที่มีกล้องหน้าความละเอียด 8 ล้านพิกเซล เซ็นเซอร์วัดแสง และตรวจจับใบหน้า และช่องลำโพงสนทนาอยู่ส่วนบน

ล่างหน้าจอมีเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือที่อยู่ใต้กระจกหน้าจอ และเป็นปุ่มโฮมไปในตัว พร้อมกับปุ่มสัมผัสในการกดย้อนกลับ และเรียกดูแอปที่ใช้งานล่าสุด ขนาบอยู่ด้านข้าง ที่จะแสดงผลเป็นไฟแอลอีดี สองจุดเท่านั้น

ด้านหลังตัวเครื่องจะใช้กระจกโค้งครอบไปกับส่วนของฝาหลังที่เป็นสีน้ำเงินมันเงา โดยมีกล้องคู่ 12 ล้านพิกเซลแบบมุมกว้าง และมุมเทเล พร้อมไฟแฟลข Dual LED อยู่ใกล้ๆ ถัดลงมาจะมีสัญลักษณ์ของ Mi และตัวอักษรบอกมาตรฐานต่างๆ แบตเตอรีที่บรรจุอยู่ภายในขนาด 3,350 mAh รองรับระบบ Quick Charge 3.0

ด้านซ้ายจะมีช่องใส่ถาดซิมที่เป็นแบบ นาโนซิมการ์ด ทั้ง 2 ซิม รองรับการเชื่อมต่อ 4G พร้อมกัน ด้านขวามีปุ่มปรับระดับเสียง และปุ่มเปิดปิดเครื่อง โดยรอบๆเครื่องก็จะมีเสาสัญญาณสีขาวแทรกอยู่เรื่อยๆ

ด้านบนจะมีไมค์ตัวที่ 2 ไว้ตัดเสียง และเซ็นเซอร์อินฟาเรต ไว้ใช้งานคู่กับ Mi Remote ด้านล่างจะมีช่องลำโพงอยู่ทางขวา และไมค์โครโฟนอยู่ทางซ้าย ขั้นกลางด้วยพอร์ต USB-C ที่เป็นทั้งพอร์ตสำหรับชาร์จไฟ เชื่อมต่อข้อมูล และใช้สายแปลงเพื่อต่อหูฟังขนาด 3.5 มม. ด้วย เนื่องจากตัวเครื่องตัดช่องเสียบหูฟังออกไป

ส่วนอุปกรณ์ที่ให้มาในกล่องจะประกอบไปด้วยตัวเครื่อง อะเดปเตอร์ชาร์จไฟ สาย USB-C ตัวแปลง USB-C เป็นพอร์ต 3.5 มม. โดยตัวแปลงและสายจะอยู่ม้วนมาอยู่ในกล่องกระดาษกลมๆภายในอีกที เคสยางใส คู่มือการใช้งาน และเข็มจิ้มซิมมาให้ แน่นอนว่าไม่ได้แถมหูฟังมาให้ด้วย

สเปก

สำหรับสเปกภายในของ Xiaomi Mi 6 จะมากับหน่วยประมวลผล Qualcomm Snapdragon 835 ที่เป็น Octa-Core 2.45 GHz + 1.9 GHz 64bit RAM 6 GB พื้นที่เก็บข้อมูล 64/128 GB พร้อมกราฟอก Adreno 540 ทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 7.1 (Nougat)

ด้านการเชื่อมต่อรองรับ 3G/4G แบบ 3CA ความเร็วในการเชื่อมต่อสูงสุด 450/50 Mbps สามารถเลือกใส่ 2 ซิมเพื่อใช้งาน 4G พร้อมกันได้ ส่วน ไวไฟ มาตรฐาน 802.11ac บลูทูธ 5.0 พร้อม เซ็นเซอร์อินฟาเรต GPS และ NFC

ในส่วนของกล้องคู่ Mi 6 เลือกใข้การจับคู่ระหว่างเลนส์ไวด์ 27 มม. ความละเอียด 12 ล้านพิกเซล เซ็นเซอร์ขนาด 1/29” 1.25um รูรับแสง f/1.8 ที่มาพร้อมกับระบบกันสั่น OIS 4 แกน คู่กับเลนส์ 52 มม. ความละเอียด 12 ล้านพิกเซล 1.0um f/2.6 ทำให้รองรับการซูมแบบออปติคัล 2x พร้อมแฟลชคู่

ฟีเจอร์เด่น

การใช้งานของ Xiaomi ผู้ที่เคยใช้งานจะรู้จักกับอินเตอร์เฟสที่มีชื่อเฉพาะอย่าง Mi UI ซึ่งทาง Xiaomi พัฒนาขึ้นมาครอบความเป็นแอนดรอยด์ มีจุดเด่นที่ความง่ายในการใช้งาน กับสไตล์โปร่งๆโล่งๆ แต่แน่นอนว่าเมื่อพื้นฐานเป็นแอนดรอดย์การใช้งานต่างๆก็ไม่ใช่เรื่องยากอยู่แล้ว

เมื่อเปิดเครื่องขึ้นมาใช้งาน ในหน้าจอหลักจะมีการนำไอค่อนลัดต่างๆมาใส่ไว้ให้เต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็นแถบไอค่อนล่างสุดที่ไว้ใช้งานโทรศัพท์ ข้อความ เบราว์เซอร์ และกล้อง ถัดขึ้นมาหน่อยก็จะเป็นการเข้าใช้งานแอปต่างๆ โดยทั้งหมดนี้ผู้ใช้สามารถลากสลับ ปรับเปลี่ยนไอค่อนได้ตามที่ใช้งาน

ประกอบกับการที่ Xiaomi ไม่ได้ทำหน้ารวมแอปมาให้ เวลาดาวน์โหลดแอปพลิเคชันเพิ่มเติมก็จะมาอยู่ในหน้ารอง ผู้ใช้สามารถจับกลุ่มแอปเข้าไปไว้ในโฟลเดอร์เพื่อให้สะดวกกับการค้นหาได้ หรือจะเลือกนำวิตเจ็ตต่างๆมาใส่ก็ได้

ในส่วนของแถบการแจ้งเตือนเมื่อลากนิ้วจากขอบบนลงมา ก็จะพบกับแถวให้เลือกตั้งค่าการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ไวไฟ ไฟฉาย ปิดเสียง เมื่อลากลงมาอีกก็จะพบกับปุ่มลัดอื่นๆอย่างการจับภาพหน้าจอ บลูทูธ ตั้งปรับความสว่างหน้าจอ ล็อกหน้าจอ โดยทั้งหมดนี้ก็สามารถจัดเรียงใหม่ เพิ่มทางลัดอื่นๆได้

ส่วนหน้ารวมแอปที่เรียกใช้งานล่าสุด จะเปิดออกมาเป็นหน้าต่างให้สามารถสลับใช้งานไปมาได้ หรือจะเลือกให้เป็นแบบแสดงผลเป็นช่องๆสี่เหลี่ยม (Grid) ก็ได้เช่นกัน ด้วยการกดที่ปุ่มมุมขวาบน ส่วนล่างจะมีปุ่มกากบาทไว้กดปิดแอปทั้งหมด

ฟีเจอร์พิเศษที่น่าสนใจและผู้ใข้สามารถปรับใช้ได้ก็จะมีอย่าง การสร้าง Second Space หรือจำลองเครื่องขึ้นมา เพื่อติดตั้งแอปพลิเคชันที่ซ้ำกัน หรือแยกการใช้งานระหว่างการทำงาน หรือใช้งานส่วนตัว ซึ่งก็จะทำให้สามารถใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์ก 2 ไอดีในเครื่องเดียวได้

ถัดมาคือการที่ตัวเครื่องไม่ได้มากับพอร์ต 3.5 มม. แต่การเชื่อมต่อผ่าน USB-C ก็ช่วยให้ผู้ใช้สามารถปรับแต่งการใช้งานหูฟังได้ดีขึ้น โดยเมื่อกดเข้าไปตั้งค่าหูฟังก็จะมี่ให้เลือกทั้งการตั้งว่าปุ่มบนสายหูฟังจะใช้ควบคุมเสียง หรือควบคุมการเล่นเพลง รวมถึงการปรับแต่งคุณภาพเสียงให้เหมาะกับหูฟังแต่ละชนิด

อีกจุดที่มากับแอนดรอยด์คือ ผู้ใช้สามารถเข้าไปเลือกเปลี่ยนแถบนำทาง (Navigation buttons) ได้ว่าจะให้เรียงปุ่มเรียกดูแอปไว้ทางซ้าย ย้อนกลับไว้ทางขวา หรือสลับกันก็ได้ ซึ่งถ้าคุนชิ้นกับการใช้งานจากเครื่องเก่ามาแบบใดก็แนะนำให้ตั้งเหมือนกัน

เพื่อความปลอดภัยตัวเครื่องจะมากับระบบอย่าง App Lock ไว้ให้ผู้ใช้สามารถตั้งรหัสผ่านสำหรับการเข้าใช้งานแอปพลิเคชันที่กำหนดไว้ได้ด้วย อาจจะประยุกต์ใช้กับผู้ที่มีบุตรหลาน สามารถตั้งไม่ให้เข้าแอปสำคัญๆ เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการใช้งาน

นอกจากนี้ ก็ยังมีหน้ารวมธีม ให้เลือกเปลี่ยนกัน โดยจะมีให้เลือกทั้งธีมสีของเครื่อง และปรับแต่งไอค่อน ซึ่งที่ผ่านมา Mi UI ถือเป็นหนึ่งในอินเตอร์เฟสที่มีการทำธีมออกมาค่อนข้างเยอะอยู่แล้ว ดังนั้นก็สามารถเข้าไปเลือกดูใช้แบบฟรี หรือจะเสียเงินอุดหนุนก็ได้

กรณีที่ไม่อยากใช้งาน Second Space ใน Mi 6 จะมีโหมดพิเศษอย่าง Dual Apps มาให้ใช้ ผู้ใช้สามารถเลือกแอปที่ต้องการเพื่อติดตั้งแยกกับแอปเดิมได้ โดยที่ตัวไอค่อนจะมีสัญลักษณ์บอกชัดเจน เพื่อให้เข้าใช้งานได้ถูกต้อง

มาถึงจุดเด่นสำคัญของเครื่องอย่างโหมดถ่ายภาพที่ Mi 6 ให้มาแบบกล้องคู่ การทำงานในโหมดถ่ายภาพ อินเตอร์เฟสใช้งานถือว่าค่อนข้างง่าย โดยจะมีปุ่มซูม 1x 2x ให้กดเพื่อใช้งานโหมดกล้องคู่ได้ทันที หรือจะเลือกกดปุ่มถ่ายภาพบุคคล (Portrait) เพื่อละลายหลังแทนก็ได้

ส่วนโหมดถ่ายภาพที่มีให้เลือกนอกจากแบบอัตโนมัติ ก็จะมีถ่ายภาพแบบพาโนราม่า ตั้งเวลาถ่าย ถ่ายภาพพร้อมบันทึกเสียง โหมดมืออาชีพ รวมถึงการใส่เอฟเฟกต์ภาพอย่างโหมดบิวตี้ การถ่ายแบบ Till Shift เลือกสัดส่วนภาพเป็นแบบ 1:1 ให้เลย

โดยในการตั้งค่านอกจากการตั้งความละเอียดรูปภาพทั่วไป ก็จะมีให้เลือกเลยว่าจะบันทึกพิกัดสถานที่ลงไปด้วยหรือไม่ เลือกเปิดปิดเสียงชัดเตอร์ได้ เลือกใช้โหมดกล้องสำหรับการสแกนคิวอาร์โค้ดได้ทันที รวมถึงโหมดที่ใช้ AI มาช่วยประมวลผลอายุ แยกเพศ ตั้งปุ่มปรับเสียงเป็นชัตเตอร์ก็ได้

เมื่อลองใช้งานโหมดถ่ายภาพแบบละลายหลัง สิ่งที่ได้ชัดๆเลยคือฉากหลังละลายแน่นอน แต่ว่าถ้ามองในเรื่องความเนียนของขอบ ตัวประมวลผลยังทำออกมาได้ไม่ดีเท่าที่ควร ยังมีการกินพื้นที่ไปอยู่บ้าง แตกลับกันด้วยความสามารถของการถ่ายออปติคัลซูม 2x ก็ช่วยให้ถ่ายภาพซูมได้ง่ายขึ้น

เทียบรูปถ่ายมุมปกติ กับ ซูม 2x

อย่างไรก็ตามคุณภาพของรูปที่ออกมาก็ไม่ได้ถึงกับคมกริบมากนัก การถ่ายภาพในที่แสงน้อยยังมีนอยซ์ค่อนข้างเยอะ ซึ่งอาจจะเกิดจากตัวเลนส์ที่ใช้ กับตัวประมวลผลยังไม่ได้ถูกพัฒนาขึ้นมามากนัก ทำให้ต้องรอดูการอัปเกรดเฟิร์มแวร์ที่ออกมาในอนาคตว่าจะช่วยได้หรือไม่

สุดท้ายในส่วนของการตั้งค่าตัวเครื่องจะแยกการตั้งค่าการเชื่อมต่อการจัดการซิมการ์ด ไวไฟ บลูทูธ ปล่อยฮ็อสป็อตออกมาเป็นส่วนแรก ตามมาด้วยการใช้งานทั่วไปอย่างการตั้งค่าหน้าจอ เสียง ธีม จนมาถึงการตั้งค่าตัวเครื่องอย่างการล็อกหน้าจอ การจัดการแบตเตอรี พื้นที่เก็บข้อมูล

ที่น่าสนใจคือการที่มี Mi Account มาให้ใช้งาน นอกจากจะใช้เป็นคลาวด์ในการเก็บข้อมูล ยังสามารถใช้ในการตามหาเครื่อง (ใช้คู่กับหน้าเว็บไซต์เพื่อเข้าไประบุจุดที่อยู่ของเครื่องที่ทำการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตครั้งสุดท้าย) แน่นอนว่าถ้าโดนถอดซิมออกก็ทำอะไรไม่ได้อยู่ดี

ทดสอบประสิทธิภาพ

Antutu Benchmark = 159,376 คะแนน
Quadrant Standard = 38,255
Multi-Touch = 10 จุด

Geekbench 4
Single-Core = 1,942 คะแนน
Multi-Core = 6,294 คะแนน
Compute = 7,816 คะแนน

PassMark PerformanceTest
System = 12,317 คะแนน
CPU Tests = 249,099 คะแนน
Memory Tests = 14,403 คะแนน
Disk Tests = 72,247 คะแนน
2D Graphics Tests = 7,502 คะแนน
3D Graphics Tests = 3,185 คะแนน

3D Mark
Sling Shot Extreme Unlimited = 2,826 คะแนน
Sling Shot Unlimited = 3,262 คะแนน
Sling Shot Extreme = 2,756 คะแนน
Sling Shot = 3,310 คะแนน
Ice Storm Extreme = 14,166 คะแนน
Ice Storm Unlimited = 34,411 คะแนน
Ice Storm = 13,497 คะแนน

PC Mark
Work 2.0 = 6,728 คะแนน
Computer Vision = 3,432 คะแนน
Storage = 4,976 คะแนน
Work = 7,821 คะแนน

ส่วนการทดสอบแบตเตอรีบน PC Mark ตั้งแต่ 100 > 20% ผลออกมาอยู่ที่ 12 ชั่วโมง 23 นาที แน่นอนว่าถ้าเป็นการใช้งานปกติทั่วไปก็จะยืดระยะเวลาออกไปอีก เพราะด้วยแบตเตอรีที่ให้มา 3,350 mAh ถือว่าค่อนข้างเยอะ ดังนั้นใช้งานในหนึ่งวันถือว่าสบายๆ ถ้าใช้งานต่อเนื่องหนักๆก็เกิน 6-8 ชั่วโมงแน่ๆ

อย่างไรก็ตาม ในการใช้งานเครื่องเมื่อประมวลผลหนักๆแล้ว ตัวเครื่องจะค่อนข้างร้อน ประกอบกับด้วยเครื่องเป็นโลหะ และกระจกหลัง ทำให้การถือใช้งานอาจจะร้อนมือได้ ถ้าใช้งานนานจริงๆ ควรพักเครื่องบ้าง

สรุป

ด้วยระดับราคาเปิดตัวของ Xiaomi Mi 6 ทำให้กลายเป็นสมาร์ทโฟนในระดับไฮเอนด์ (วัดจากหน่วยประมวลผล) ที่ราคาน่าสนใจที่สุดในท้องตลาด ประกอบกับฟีเจอร์ต่างๆที่ให้มาก็ถือว่าได้ใช้งานกันจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นกล้องคู่ การใส่เซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือมาให้ใช้

ตัวเครื่องขนาดถือว่ากำลังพอดีมือ การใช้งานทั่วๆไปอย่างการเล่นโซเชียลเน็ตเวิร์ก เอามาอ่านเมล ทำงานก็ได้สบายๆ ส่วนถ้าจะประมวลผลหนักๆขึ้นมาหน่อยอย่างการดูหนัง เล่นไฟล์ความละเอียดสูง เล่นเกมถือว่าทำได้สมประสิทธิภาพอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม สินค้าก็อยู่กับระดับราคา ถ้าจะคาดหวังว่าจะดีทุกอย่างคงไม่ใช่เพราะ ภาพถ่ายของ Mi 6 ทำออกมาได้ไม่สมเป็นกล้องคู่เท่าที่ควร ซึ่งจริงๆแล้วน่าจะทำได้ดีกว่านี้ แถมยังตัดช่องเสียบหูฟัง 3.5 มม. ออกไปตามสมัยนิยม ใส่ไมโครเอสดีการ์ดเพิ่มไม่ได้อีก

เบื้องต้น Xiaomi Mi 6 ที่วางขายในไทยจะแบ่งออกเป็น 2 รุ่นหลักๆด้วยกันคือรุ่น RAM 6 GB ROM 64 GB ในราคา 13,790 บาท ส่วน RAM 6 GB ROM 128 GB จะอยู่ที่ 15,990 บาทซึ่งถ้าต้องการเครื่องพื้นที่เก็บข้อมูลเยอะก็ควรเลือกตัวแพงกว่า

ข้อดี

– สเปกไฮเอนด์ราคาหมื่นกลางๆ

– ขนาดตัวเครื่องกำลังพอดีมือ

– หน้าจอปรับสว่าง-มืดได้แบบสุดๆ

– ระบบรักษาความปลอดภัย เซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือ / Mi Account

ข้อสังเกต

ไม่มีช่องเสียบหูฟัง 3.5 มม.

กล้องคู่ ยังไม่ดีเท่าที่ควร

ตัวเครื่องร้อนง่ายเมื่อประมวลผลหนักๆ

ใส่ไมโครเอสดีการ์ดเพิ่มไม่ได้

Gallery

]]>
Review : Samsung Galaxy Note 8 กลับมาพร้อมกล้องคู่และความสมบูรณ์แบบ https://cyberbiz.mgronline.com/review-galaxy-note8/ Thu, 07 Sep 2017 05:29:08 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=27022

ผ่านพ้นช่วงมรสุมชีวิตของซัมซุงไปแล้ว ในปีนี้หลังจากเปิดตัวแม่ทัพใหญ่ Galaxy S8/S8+ ก็ถึงคิวของสมาร์ทโฟนที่หลายคนจับตามองมากที่สุดอย่าง Samsung Galaxy Note 8 ที่ในครั้งนี้นอกจากซัมซุงจะออกแบบตัวเครื่อง ปากกาและปรับสเปกใหม่แล้ว ด้านกล้องถ่ายภาพด้านหลังยังถูกปรับใหม่ให้แตกต่างจาก Galaxy S8/S8+ เอาใจเหล่าสาวกกับกล้องคู่ Dual Camera พร้อมเลนส์ 2 ระยะครั้งแรกของสมาร์ทโฟนซัมซุง หลังจาก Galaxy S8/S8+ ซัมซุงโดนวิจารณ์เรื่องกล้องว่าไม่ค่อยมีความแตกต่างจากเดิมมากเท่าใด กลับมาในครั้งนี้ทุกสิ่งเลยถูกปรับให้ยิ่งใหญ่และสมบูรณ์แบบเพื่อให้สมกับคำว่า “Do bigger things”

*ตัวเครื่องที่ทีมงานได้รับมาทดสอบเป็นเครื่องเดโมไม่ใช่เครื่องจำหน่ายจริง*

การออกแบบ

ยอมรับว่าครั้งแรกที่ได้รับ Galaxy Note 8 มาจากทางซัมซุง ทีมงานค่อนข้างประหลาดใจกับการออกแบบที่ดูแล้วมีความแปลกมากกว่าสวยงาม ทั้งๆที่ตัวเครื่องมีพื้นฐานมาจาก Galaxy S8/S8+ ตั้งแต่สัดส่วนหน้าจอ 18.5:9 (ซัมซุงบอกว่าหน้าจอสัดส่วนนี้จะทำการให้รับชมภาพยนตร์ที่ส่วนใหญ่เป็นอัตราส่วน 21:9 ทำได้เต็มตาขึ้น) ไปถึงการจัดวางกระจกจอและปุ่มสั่งงานต่างๆนั้นเหมือนกับ Galaxy S8 แต่ในมุมมองของทีมงานกลับชื่นชอบดีไซน์ของ Galaxy S8 ที่ดูลงตัวกว่า

และทุกความคิดก็ต้องเปลี่ยนไปทันทีเมื่อได้ทดลองจับถือใช้งาน Galaxy Note 8 ตลอดทั้งวัน พบว่าการออกแบบที่ดูแปลกประหลาดนี้ จริงๆแล้วทำให้การจับถือตัวเครื่องที่มาพร้อมหน้าจอ Infinity Display ขนาดใหญ่ 6.3 นิ้ว (Quad HD+ 1,440×2.960 พิกเซล 521ppi รองรับ HDR) ทำได้ถนัดมือมากยิ่งขึ้น (จับถือถนัดกว่า Galaxy Note ทุกรุ่น) อีกทั้งขอบจอที่โค้งสองด้านทั้งหน้าหลังยังช่วยลดอาการสมาร์ทโฟนลื่นหลุดจากมือได้ด้วย เพราะเวลาจับถือใช้งาน Note 8 สันเครื่องจะเข้ากับร่องนิ้วได้พอดี

ส่วนคนที่กังวลว่าขอบจอที่ออกแบบมาแทบจะไร้ขอบและหน้าจอมีขนาดใหญ่เต็มพื้นที่ด้านหน้าทั้งหมด เวลาจับถือโอกาสที่นิ้วมือจะไปโดนปุ่มคำสั่งต่างๆที่หน้าจอมีหรือไม่ สำหรับทีมงานไซเบอร์บิซเองตลอดการใช้งานกว่า 1 อาทิตย์ยังไม่พบปัญหาดังกล่าว คาดว่าภายในน่าจะมีระบบตรวจจับอยู่การจับถือบริเวณขอบจออยู่

คอนเทนต์อัตราส่วนภาพ 16:9 เมื่อเล่นบนหน้าจอ Galaxy Note 8 ที่มาพร้อมอัตราส่วน 18.5:9 จะมีขอบดำด้านซ้ายและขวา

แต่เราสามารถปรับให้คอนเทนต์อัตราส่วนภาพ 16:9 เล่นได้เต็มจอ Galaxy Note 8 แต่ภาพจะถูกครอปบนและล่างออกไป (ส่วนการเล่นคอนเทนต์ 21:9 ระบบจะขยายภาพให้อัตโนมัติ)

ปัจจุบันเริ่มมีเกมที่ออกมารองรับหน้าจออัตราส่วน 18.5:9 แล้ว เช่น Lineage2 Revolution

โดยในส่วนความหนาตัวเครื่องอยู่ที่ 8.6 มิลลิเมตรพร้อมน้ำหนัก 195 กรัม ส่วนกล้องถ่ายภาพด้านหน้ายกมาจาก Galaxy S8/S8+ ความละเอียด 8 ล้านพิกเซล รูรับแสง f1.7 มาพร้อม Smart Auto Focus นอกจากนั้นยังมาพร้อมกล้องสแกนม่านตา (Iris Scan) อีกด้วย

มาดูในส่วนใต้จอภาพกันบ้าง จะเห็นว่าปุ่มโฮมแบบปุ่มกดจริงดั้งเดิมถูกเปลี่ยนเป็นปุ่มโฮมผ่านซอฟต์แวร์เหมือนกับ Galaxy S8/S8+ โดยใต้จอภาพทางซัมซุงได้ฝังเซ็นเซอร์วัดแรงกดไว้ ซึ่งจะสั่นเมื่อเรากดปุ่มนี้ลงไปทำให้ความรู้สึกเหมือนกดปุ่มโฮมของจริง ส่วนปุ่มคำสั่ง Recent Apps และปุ่มย้อนกลับจะปรากฏขึ้นเมื่อเราปลดล็อกหน้าจอแล้ว

พลิกเครื่องไปด้านหลังสิ่งแรกที่เห็นการเปลี่ยนแปลงไปก็คือส่วนของกล้องถ่ายภาพหลังถูกปรับเป็นกล้องคู่ Dual Camera ครั้งแรกของกลุ่มสมาร์ทโฟนซัมซุงหลังจากแฟนๆเรียกร้องมายาวนานร่วมปี (เพราะคู่แข่งเขาไปกล้องคู่หมดแล้ว) พร้อมไฟแฟลช LED เซ็นเซอร์วัดอัตราการเต้นของหัวใจและถัดออกไปเป็นเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือถูกย้ายมาติดตั้งด้านหลังแบบเดียวกับ Galaxy S8/S8+

โดยในส่วนสเปกกล้องหลังคู่ Dual Camera จะเป็นแบบเดียวกับ iPhone 7 Plus คือเป็นเลนส์ 2 ระยะ ได้แก่ กล้องตัวแรกเป็นเลนส์มุมกว้าง 26 มิลลิเมตร รูรับแสงกว้าง f1.7 ส่วนกล้องตัวที่สองเป็นเลนส์ระยะ Normal 52 มิลลิเมตร รูรับแสงกว้าง f2.4 โดยกล้องทั้งสองตัวจะให้ความละเอียดภาพสูงสุดที่ 12 ล้านพิกเซลบนเซ็นเซอร์รับภาพ 1.4 ไมครอนตัวเดียวกับ Galaxy S8/S8+ พร้อมระบบออโต้โฟกัส Dual Pixel

ทำให้ระบบกล้อง Note 8 รองรับการซูมออปติคอล 2 เท่าและสามารถทำหน้าชัดหลังเบลอ (ซัมซุงเรียก “Live Focus”) ได้เหมือน iPhone 7 Plus พร้อมเพิ่มระบบป้องกันภาพสั่นไหว Optical Image Stabilization (OIS) มาให้กับกล้องทั้งสองตัวด้วย (Dual OIS)

มาดูพอร์ตเชื่อมต่อและปุ่มกดรอบตัวเครื่องกันบ้าง เริ่มจากด้านล่างจะเป็นส่วนช่องหูฟัง 3.5 มิลลิเมตร พอร์ต USB-C ไมโครโฟน ลำโพง (มีตัวเดียวให้เสียงแบบโมโน) และช่องเก็บปากกา S Pen

ด้านบน เป็นส่วนของไมโครโฟนตัวที่สองและช่องใส่ซิมการ์ดโทรศัพท์แบบนาโน 2 ซิม โดยช่องใส่ซิมที่ 2 จะแชร์กับช่องใส่ MicroSD Card รองรับความจุสูงสุด 256GB

ในส่วนด้านซ้ายและขวาของตัวเครื่องจะเป็นที่อยู่ของปุ่มเพิ่มลดเสียง ปุ่มเรียกผู้ช่วย Bixby และปุ่มเปิดปิดเครื่อง

มาดูในส่วนปากกา S Pen มองภาพรวมภายนอกแล้วดูไม่มีการเปลี่ยนแปลงจาก Note 7 แต่ภายในซัมซุงได้อัปเกรดใหม่แทบทั้งหมดเริ่มตั้งแต่

1.หัวปากกาปรับไปใช้หัวยางขนาด 0.7 มิลลิเมตร ทำให้เขียนได้ลื่นไหลและไม่ทำให้หน้าจอเป็นรอย
2.S Pen ใหม่รองรับแรงกดได้ละเอียด 4,096 ระดับเพิ่มขึ้นจากรุ่นเดิมเป็นเท่าตัว
3.S Pen รองรับการเขียนในน้ำตามมาตรฐาน IP68

สุดท้ายเป็นไปตามธรรมเนียมของซัมซุงก็คือตัวเครื่อง Galaxy Note 8 รองรับการป้องกันน้ำและฝุ่นตามมาตรฐาน IP68 เช่นเดิม

สเปก

เริ่มจากซีพียูจะใช้แบบ 10 นาโนเมตร Samsung Exynos 8895 Octa ความเร็ว 2.3GHz พร้อมแรม LPDDR4 6GB รอม 64GB (เหลือใช้งานจริงประมาณ 51-52GB) ระบบปฏิบัติการ Android 7.1.1 (Nougat) และแบตเตอรีความจุ 3,300mAh

ด้านการเชื่อมต่อเครือข่าย รองรับ 3G/4G ทุกเครือข่ายในบ้านเรา รวมถึงรองรับ Next G ของ AIS เต็มรูปแบบ โดยในส่วน 4G LTE จะรองรับความเร็วถึง Cat.16 (LTE Advanced) พร้อมรองรับเทคโนโลยีรวมคลื่นความถี่มากถึง 4CA ส่วน WiFi มีการปรับปรุงให้เป็น MU-MIMO และบลูทูธเปลี่ยนไปใช้เวอร์ชัน 5.0 ที่สามารถรับส่งข้อมูลได้เร็วถึง 2Mbps

ในส่วนการรองรับ NFC ยังมีให้เช่นเดิมพร้อม Samsung Pay ด้าน GPS รองรับ Galileo, Glonass และ BeiDou และ Note 8 สามารถถอดรหัสเสียง UHQ 32-bit และ DSD รองรับการเล่นไฟล์เพลงได้หลากหลายรูปแบบ

ฟีเจอร์เด่น

ภาพรวมหน้าตาและการใช้งานระบบปฏิบัติการจะเหมือนกับ Galaxy S8/S8+ ที่ซัมซุงเน้นเรื่องความเบาและใช้งานลื่นไหล โดยแอปฯของซัมซุงทั้งหมดจะไม่ถูกติดตั้งลงในระบบปฏิบัติการอีกแล้ว ถ้าผู้ใช้ต้องการใช้งานแอปฯใดต้องเข้าไปดาวน์โหลดเพิ่มเติมเอง

ในส่วน Navigation Buttons สามารถปรับแต่งได้ตั้งแต่เลือกสีไปถึงปรับการทำงานของเซ็นเซอร์วัดแรงกดว่าถ้าผู้ใช้กดหนักจะเป็นการสั่งงานคำสั่งใด อีกทั้งยังสามารถสลับตำแหน่งปุ่มคำสั่งได้ และทีเด็ดสุดก็คือในระหว่างใช้งานสามารถกดซ่อนแถบ Navigation Buttons จากหน้าจอได้ด้วยการกดปุ่ม ‘จุด’ ด้านซ้ายมือค้างไว้ (ส่วนการเรียกแถบ Navigation Buttons กลับมาก็เพียงสไลด์นิ้วจากขอบจอด้านล่างขึ้นมาและกดปุ่ม ‘จุด’ ค้างไว้อีกครั้งจะถือเป็นการตรึงแถบปุ่มคำสั่งเหมือนเดิม

S Pen การใช้งานหลักยังคงเหมือนทั้ง Galaxy Note 5 และ Note 7 คือสามารถเขียนผ่าน Samsung Notes สามารถเลือกตัดภาพที่ต้องการได้ เขียนบนหน้าจอ สร้าง GIF Animation จากวิดีโอโดยใช้ปากกาครอปภาพที่ต้องการ รวมถึงสามารถแปลภาษาได้ (รองรับการแปลไทย-อังกฤษ และสามารถแปล Subtitle ที่อยู่ในเกมหรือวิดีโอได้ด้วย) หรือจะเลือกครอปภาพอย่างอิสระก็สามารถทำได้แบบเดียวกับ Note 7 (อ่านรีวิวฟีเจอร์ปากกาเพิ่มเติม >คลิกที่นี่<)

แต่ทั้งนี้สิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาใน S Pen พิเศษเฉพาะ Galaxy Note 8 ก็คือความสามารถในการทำ Live Message โดยผู้ใช้สามารถวาดภาพในรูปแบบ GIF Animation และส่งไปให้คนสนิทได้ทันที หรือจะเลือกรูปที่ส่งผ่าน Message มาแล้วนำมาแก้ไขใส่สีสันต่างๆก็สามารถทำได้เช่นกัน ยกตัวอย่างภาพ GIF ด้านบนทีมงานเลือกเขียนทักทายเพื่อนจากนั้นก็ส่งผ่านระบบ Message ในเครื่องหรือจะเก็บไว้แล้วค่อยไปส่งผ่านแอปฯแชท เช่น LINE หรือ Facebook Messenger ก็ได้

อีกส่วนที่ถือเป็นไฮไลท์เด็ดพิเศษเฉพาะ Galaxy Note 8 เช่นกัน ก็คือ ผู้ใช้สามารถเขียนข้อความหรือวาดภาพบนหน้าจอ Always on Display (AOD) จากนั้นเลือกตรึงข้อความไว้ที่หน้า AOD อารมณ์แบบเดียวกับการเขียน Post-it เพื่อใช้เตือนความจำ เช่น เขียนรายการซื้อสินค้าไว้ เมื่อไปถึงห้างเราก็เพียงยก Note 8 ขึ้นมาแล้วดูรายการสั่งซื้อได้ทันทีโดยไม่ต้องปลดล็อกหน้าจอให้เสียเวลา

Bixby (บิกซ์บี) ใน Galaxy Note 8 บิกซ์บีถูกเพิ่มความสามารถและประสิทธิภาพให้ดีขึ้น โดยเมื่อผู้ใช้กดปุ่มเรียกบิกซ์บี คุณสามารถพูดสั่งงานให้ช่วยเปิดแอปฯต่างๆ เลือกเล่นเพลง ไปถึงสามารถสั่งให้เซลฟีหน้าเราได้แล้วด้วย (แต่ยังไม่ฉลาดเท่า Siri ของแอปเปิล) แต่น่าเสียดายที่ปัจจุบัน Bixby ยังรองรับแค่ภาษาอังกฤษและเกาหลีเท่านั้น

Link sharing เป็นฟีเจอร์ที่น่าสนใจสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการส่งรูปภาพหรือวิดีโอคุณภาพสูงไปให้เพื่อน แต่เพื่อนใช้สมาร์ทดีไวซ์คนละแพลตฟอร์มกับเรา เช่น เราใช้ Note 8 เพื่อนใช้ iPhone เป็นต้น Link sharing จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหา โดยระบบจะให้เราสามารถส่งรูปภาพ วิดีโอหรือไฟล์อะไรก็ได้ไม่เกินวันละ 2GB จากนั้นเมื่อเรากดใช้งาน ระบบจะนำไฟล์ของเราไปฝากไว้บนคลาวด์สตอเรจของซัมซุงชั่วคราว (ลิงค์มีอายุ 24 ชั่วโมงและต้องใช้อินเทอร์เน็ตในการส่งไฟล์) พร้อมสร้างลิงค์ไฟล์มาให้กับเรา เราก็เพียงนำลิงค์ไฟล์นั้นส่งให้เพื่อนไปดาวน์โหลดออกมา (หลักการทำงานคล้ายเราฝากไฟล์ไว้ใน Dropbox แต่ระบบนี้ใช้งานง่ายกว่าเพราะไม่ต้องล็อกอินเข้าใช้งานแอปฯใดๆ)

WiFi MIMO เป็นหนึ่งฟีเจอร์ที่น่าสนใจเพราะ Galaxy Note 8 มาพร้อม WiFi แบบ MU-MIMO (Multi-User Multiple-Input and Multiple-Output) พร้อมรองรับความเร็วในการรับส่งข้อมูลผ่าน WiFi ระดับ Gigabit ทำให้ตัวสมาร์ทโฟนมีฟังก์ชันพิเศษที่หลายคนอาจยังไม่ทราบก็คือ สามารถแชร์ WiFi ที่เชื่อมต่อกับ Note 8 ส่งผ่าน WiFi อีกครั้งไปให้สมาร์ทโฟนเครื่องอื่นได้ จากเดิมปกติเราจะทำ Hotspot แชร์ได้แค่ 3G/4G เท่านั้น

นอกจากนั้น Galaxy Note 8 ยังมาพร้อมฟังก์ชัน Adaptive Wi-Fi ที่เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบเสถียรเพราะเมื่อเปิดใช้ฟังก์ชันนี้ เมื่อใดก็ตามที่ WiFi ที่เราเชื่อมต่อสัญญาณไม่ดี ระบบจะดึงข้อมูลจากดาต้าอินเทอร์เน็ต 3G/4G มาเสริมทันที

นอกนั้นในส่วนฟีเจอร์เด่นอื่นๆ จะเหมือนกับ Galaxy S8/S8+ เช่น สามารถทำ Dual Messenger หรือความสามารถในการใช้เฟสบุ๊ก 2 บัญชีได้ในเครื่องเดียว, มีระบบป้องกันสแปมจากเบอร์โทรที่เราไม่รู้จัก ไปถึงความสามารถในการลดความละเอียดหน้าจอลงได้เพื่อประหยัดแบตเตอรี เป็นต้น

ทดสอบประสิทธิภาพ

มาถึงการทดสอบประสิทธิภาพด้านการประมวลผล ส่วนนี้ทีมงานไซเบอร์บิซ ออนไลน์จะไม่ขอลงรายละเอียดมากนักเพราะคะแนนก็ถือว่าติดอยู่ในระดับท็อปของตารางและประสิทธิภาพส่วนใหญ่ก็ไม่ได้แตกต่างจาก Galaxy S8/S8+ (คะแนนอยากเทียบกับ Galaxy Note 7 หรือ S8+ สามารถรับชมได้โดยกดที่ชื่อรุ่น) ที่ทีมงานได้ทดสอบไปก่อนหน้านี้ โดยจุดเด่นของ Note 8 ที่ทีมงานรู้สึกแตกต่างจากตอนทดสอบ S8/S8+ ก็คือความลงตัวและสมบูรณ์ของซอฟต์แวร์ควบคุมต่างๆที่ซัมซุงปรับแต่งมาได้ดีขึ้น แต่คาดว่า Galaxy S8/S8+ ปัจจุบันก็คงได้รับการอัปเดตแก้ไขข้อบกพร่องไปพอสมควรแล้วเช่นกัน

ส่วนเรื่องแบตเตอรีกับระยะเวลาใช้งานถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติของสมาร์ทโฟนเรือธงปีนี้คือ 10-12 ชั่วโมง โดยทีมงานทดสอบด้วยการเปิดหน้าจอรันแอปฯ PC Mark ทิ้งไว้ตลอดทั้งวัน

กล้องถ่ายภาพ Dual Camera

ครั้งนี้ถือว่าซัมซุงเปิดตัว Galaxy Note 8 ได้อย่างหวือหวาเพราะเลือกใส่กล้องคู่มาให้ในรุ่นนี้ทันที (ปกติซัมซุงจะเลือกใส่นวัตกรรมใหม่มากับ Galaxy S เสียมากกว่า) โดยกล้องคู่ของ Note 8 ก็เดินตาม iPhone 7 Plus แบบเรียกได้ว่าเป็นพี่น้องกันเลย เนื่องจากกล้องทั้ง 2 ตัวที่ใส่มามีสองระยะคือ 26 มิลลิเมตรกับ 52 มิลลิเมตร หรือเทียบเท่าซูมออปติคอล 2 เท่า

โดยในส่วนของซอฟต์แวร์กล้องก็ยังคงหน้าตาเหมือนกับ Samsung Galaxy ทุกรุ่นคือเน้นใช้งานง่าย แต่สิ่งที่เพิ่มเข้ามาเฉพาะ Galaxy Note 8 อย่างแรกคือปุ่ม x2 ซึ่งเมื่อกดแล้วก็เท่ากับจะเปลี่ยนไปใช้เลนส์ 52 มิลลิเมตร ภาพก็จะถูกซูมเข้ามา (ลองกดรับชมวิดีโอด้านบน) หรือจะใช้นิ้วจิ้มค้างไว้ที่ปุ่มชัตเตอร์แล้วลากขึ้นลงเพื่อซูมเข้าออก รวมถึงใช้วิธีใช้นิ้วถ่างขยายแบบปกติก็ได้ โดยระบบซูมออปติคอลจะอยู่ที่ระยะ x1-x2 หลังจากนั้นไปจนถึง x10 จะเป็นดิจิตอลซูม

Live Focus (โฟกัสตามเวลาจริง) หรือโหมดหน้าชัดหลังเบลอ ที่ซัมซุงออกแบบมาให้ใช้ได้ทั้งถ่ายภาพบุคคลและวัตถุ โดยหลักการทำงานของโหมดนี้ก็คือใช้เลนส์คู่ในการตรวจจับระยะ จำลองมิติและฉากหลังที่หลุดโฟกัส จากนั้นระบบจะบันทึกภาพให้ทั้งมุมกว้างจากเลนส์ตัวแรกและระยะใกล้จากเลนส์ตัวที่สอง เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกไฟล์ที่ดีที่สุดรวมทั้งสามารถปรับแก้ความเบลอของฉากหลังได้ด้วย

ในส่วนโหมดถ่ายภาพอื่นๆ Galaxy Note 8 จะมาพร้อม Pro Mode สามารถปรับตั้งค่ากล้องได้เองรวมถึงเปิดความสามารถในการบันทึกแบบ RAW File ได้ โหมด Hyperlapse, โหมดอาหาร, Slow Motion, Panorama เป็นต้น ส่วนกล้องหน้าจะเหมือนกับ Galaxy S8/S8+ คือรองรับการถ่ายภาพเซลฟีมุมกว้าง ทำหน้าชัดหลังเบลอได้ รวมถึงสามารถตกแต่งใส่สติกเกอร์ได้ตามต้องการ

ทดสอบกล้อง Galaxy Note 8

เลนส์ตัวแรก 26 มิลลิเมตร

เลนส์ตัวที่สอง 52 มิลลิเมตร (เท่ากับซูม 2 เท่า)

เลนส์ตัวแรก 26 มิลลิเมตร

เลนส์ตัวแรก 26 มิลลิเมตร

เลนส์ตัวแรก 26 มิลลิเมตร

ดิจิตอลซูมประมาณ 5 เท่า

เปิดใช้เลนส์ตัวที่สอง 52 มิลลิเมตร (เท่ากับซูม 2 เท่า) โหมดโปร ตั้งสปีดชัตเตอร์ 2 วินาที

เลนส์ตัวที่สอง 52 มิลลิเมตร (เท่ากับซูม 2 เท่า)

Food Mode

กล้องหน้า ยังคงสไตล์ซัมซุงคือเมื่อกล้องจับใบหน้าของเราได้ ระบบจะชดเชยแสงให้สว่างกว่าปกติเล็กน้อย

iPhone 7 Plus ปะทะ Galaxy Note 8

ด้วยสเปกกล้องที่เหมือนซัมซุงวางมาชนกับ iPhone 7 Plus ทำให้ทีมงานไซเบอร์บิซต้องจับมาชนกันแบบภาพต่อภาพให้ดูกัน

เริ่มจากภาพแรก หลายคนที่ดูภาพนี้อาจกำลังคิดว่าไม่ยุติธรรม เพราะระยะภาพจากตัวแบบไม่เท่ากัน ตรงนี้ทีมงานขอชี้แจงก่อนครับว่า ด้วยความที่ระบบหน้าชัดหลังเบลอของแต่ละเจ้ามีข้อจำกัดไม่เหมือนกัน เพราะต้องไม่ลืมว่าระบบใช้ซอฟต์แวร์ช่วยในการจัดการความเบลอของส่วนที่หลุดโฟกัส เพราะฉะนั้นเมื่อถ่ายในที่แสงน้อย พอภาพเริ่มไม่คมชัดระบบจะตรวจจับระยะชัดของภาพและประมวลผลได้ยากขึ้น

ยกตัวอย่างภาพนี้ เราเลือกถ่ายด้วย Portrait Mode สำหรับ iPhone 7 Plus และ Live Focus สำหรับ Galaxy Note 8 ในที่แสงน้อยมากเพื่อให้กล้องแสดงประสิทธิภาพเต็มที่ แต่ปัญหาที่พบก็คือ iPhone 7 Plus ฟ้องว่า “แสงไม่พอ ให้ถอยห่างออกมา” ทีมงานก็ต้องถอยไปมาจนในที่สุดก็ถ่ายได้ที่ระยะอย่างที่เห็นตามภาพ ส่วน Note 8 ก็ไม่ต่างกัน ขยับจนกว่าจะถ่ายได้ก็เล่นเอาเหงื่อตก ทำให้ระยะที่ได้คลาดเคลื่อนไม่เท่ากัน ส่วนการวัดแสงผมเลือกที่ใบหน้าจุดเดียวกันทั้งหมด

จะเห็นว่าถ้ามองในเรื่องการเก็บรายละเอียด iPhone 7 Plus จะให้ภาพที่คมกว่าแต่ก็แลกมากับนอยซ์ที่มากและแสงที่มืดกว่า ในขณะที่ Note 8 จะเกลี่ยนอยซ์ออกได้ดีกว่า จนภาพดูเบลอๆเล็กน้อย และที่สำคัญอย่างที่เกริ่นไปตอนต้นว่าเมื่อใดก็ตามที่ระบบกล้องของ Note 8 (รวมถึง S8/S8+) รู้ว่าเป็นการถ่ายคน ซอฟต์แวร์จะปรับโทนภาพ สีผิวและความสว่างให้หน้าสดใสตามแบบฉบับซัมซุง

ภาพนี้ปิดไฟทั้งห้องเหลือเพียงแต่ไฟจากจอมอนิเตอร์คอมพิวเตอร์พร้อมครอปภาพ 100% ให้ดูกันระยะใกล้ไปเลย พบว่าในส่วนรายละเอียดตัวหนังสือที่ถ่ายด้วยกล้อง Note 8 จะมีความชัดเจนกว่า iPhone 7 Plus

ภาพนี้ถ่ายย้อนแสงเล็กน้อย HDR On วัดแสงตรงกลางภาพ ต้องยอมรับว่าเรื่องโทนภาพ iPhone 7 Plus ให้โทนที่สวยกว่า ในขณะที่ Galaxy Note 8 จะให้โทนติดอมฟ้าม่วง แต่ในเรื่องความคมชัดและรายละเอียด เมื่อซูมดูใกล้ๆ Galaxy Note 8 ทำได้ชัดเจนกว่า

ภาพนี้ถ่ายด้วย Portrait Mode สำหรับ iPhone 7 Plus และ Live Focus สำหรับ Galaxy Note 8 พบว่าคุณภาพของการเบลอส่วนที่หลุดโฟกัสดีใกล้เคียงกันมาก เพียงแต่ระบบ Live Focus ของ Galaxy Note 8 จะปรับแต่งได้มากกว่า ส่วนรายละเอียดภาพ Galaxy Note 8 ค่อนข้างเก็บได้ดีกว่า ส่วนอื่นลองพิจารณากันเองครับ

สรุป

สำหรับราคาเปิดตัว Samsung Galaxy Note 8 อยู่ที่ 33,900 บาท เรียกได้ว่าเป็นการกลับมาของ Galaxy Note ที่ซัมซุงจัดเต็มทุกสัดส่วน จนทำให้ Galaxy Note 8 น่าจะเป็นสมาร์ทโฟนเรือธงทำตลาดแทนที่ Galaxy S8+ ได้เลย หลายส่วนดูสมบูรณ์แบบมาก โดยเฉพาะการมาของกล้องคู่ที่ซัมซุงทำได้น่าสนใจ รวมถึงลูกเล่น S Pen ที่ให้ประสบการณ์การใช้งานที่ดี ยกเว้นเรื่องลำโพงที่ให้มาตัวเดียวเหมือนกับ Galaxy S8/S8+ เมื่อเทียบกับคู่แข่งทั้ง iPhone 7 Plus เองหรือ Huawei P10+ ลำโพงของ Note 8 ให้เสียงที่ด้อยกว่าอย่างเห็นได้ชัด

สรุปสั้นๆในตอนนี้ใครกำลังมองหาสมาร์ทโฟนเรือธงจากซัมซุงถ้าไม่ติดเรื่องงบทีมงานอยากให้มองข้ามมาที่ Galaxy Note 8 ทันทีเพราะสิ่งที่ S8/S8+ มีใน Note 8 จะทำได้สมบูรณ์แบบกว่า

ข้อดี

– การออกแบบจับถือทำได้ดีมาก หน้าจอใหญ่แต่สามารถใช้งานมือเดียวได้ถนัด
– กล้องหลังคู่ Dual Camera คุณภาพดี ซูม 2 เท่าแบบออปติคอล
– การรองรับ 4G ทำได้เหนือกว่าคู่แข่งในตลาดปัจจุบันพร้อม WiFi MU-MIMO
– ตัวเขียนและปากกา S Pen ป้องกันน้ำและฝุ่น เขียนใต้น้ำได้
– S Pen เขียนได้ลื่นไหลกว่าเดิม

ข้อสังเกต

– ลำโพงตัวเดียวให้เสียงด้อยกว่าคู่แข่ง
– ราคาเปิดตัว เริ่มต้นค่อนข้างสูง
– ลูกเล่นสั่งงานด้วยเสียงผ่าน Bixby ยังน้อยและจำกัดแค่ภาษาอังกฤษ เกาหลี
– หน้าจอ Infinity Display ขนาดใหญ่ เวลาตกแตกราคาซ่อมสูงมาก

Gallery

]]>
Review : Sony Xperia XZ Premium สมาร์ทโฟนครบเครื่อง เด่นทั้งจอ เสียง เน็ตเวิร์ก และกล้อง https://cyberbiz.mgronline.com/review-sony-xperia-xz-premium/ Mon, 10 Jul 2017 07:07:19 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=26481

น่าสนใจว่าความโดดเด่นของ Sony Xperia XZ Premium จะกลับมาเรียกศรัทธาให้แก่สาวกอารยะธรรมโซนี่ ได้หรือไม่ เพราะด้วยการที่วางตัวเป็นแฟลกชิปสมาร์ทโฟนประจำปีนี้ XZ Premium จึงรับภาระหนักในการรุกตลาดไฮเอนด์ไปโดยปริยาย

ที่ผ่านมา โซนี่ ค่อนข้างจะโฟกัสในตลาดสมาร์ทโฟนระดับพรีเมียมเป็นหลัก และถือว่าทำได้ค่อนข้างดี แต่พอช่วงหลังๆมีการขยายไลน์สินค้าลงไประดับหมื่นบาทเพิ่มมากขึ้น แม้จะทำให้ไลน์สินค้ากว้างขึ้น ผู้บริโภคเข้าถึงได้ง่าย แต่ก็เจอกับปัญหาว่าในเมื่อสามารถหาเครื่องที่ให้ฟังก์ชันใกล้เคียงกันได้ในราคาต่ำกว่า จะเลือกรุ่นแฟลกชิปไปทำไม

โซนี่จึงได้เวลาคิดใหม่ทำใหม่ ด้วยการนำสุดยอดเทคโนโลยีที่มีทั้งด้านภาพ เสียง และกล้อง มารวมกับความสามารถในการประมวลผลของ Qualcomm Snapdragon 835 ที่ขึ้นชื่อว่าแรงที่สุดในเวลานี้ และรองรับการใข้งาน 4.5G ในไทยได้อย่างสมบูรณ์แบบ จนออกมาเป็น Sony Xperia XZ Premium ในทุกวันนี้

การออกแบบ

เอกลักษณ์ในการใช้ Omni Design ยังกลายเป็นจุดสำคัญของ XZ Premium ที่คราวนี้หันมาใช้ ตัวเครื่องโลหะ ผสมกับกระจกหน้าหลัง เพื่อสร้างให้เครื่องดูหรูหรามากขึ้น งานประกอบทำได้แข็งแรง แน่นหนา เมื่อสัมผัสแล้วจะรู้สึกถึงความพรีเมียมของตัวเครื่องอย่างแน่นอน

ในส่วนของขนาดตัวเครื่อง จะอยู่ที่ 156 x 77 x 7.9 มิลลิเมตร น้ำหนัก 191 กรัม มีให้เลือกด้วยกัน 2 สีคือ ดำ (Deepsea Black) และเงิน (Luminous Silver) เมื่อเทียบกันในท้องตลาดแล้ว XZ Premium จะมีขนาดใกล้เคียงกับ Samsung Galaxy S8+ แต่หน้าจอของ S8+ จะใหญ่กว่าที่ 6.4 นิ้ว

ส่วนหน้าจอของ Xperia XZ Premium จะอยู่ที่ 5.5 นิ้ว แต่ก็ชดเชยได้ด้วยความละเอียดหน้าจอที่โซนี่ อัดมาให้เต็มเป็นแบบ 4K HDR ซึ่งเรียกได้ว่าละเอียดที่สุดในตลาดเวลานี้ และโซนี่ก็ยังคงช่องว่างระหว่างขอบบน และขอบล่างเครื่องอยู่เช่นเดิม แต่ก็ถือเป็นข้อดี เพราะทำให้จับใช้งานถนัดมือมากขึ้น

ด้านหน้าขอบบนจะมีช่องลำโพงสนทนา อยู่กึ่งกลาง โดยมีการสกรีนแบรนด์ Sony อยู่ข้างล่าง ขนาบไปด้วยกล้องหน้าความละเอียด 13 ล้านพิกเซล ที่เป็นเลนส์มุมกว้าง f/2 ทำงานด้วยเซ็นเซอร์ Exmor RS 1/3.06” อีกฝั่งเป็นเซ็นเซอร์ตรวจจับใบหน้า วัดแสง

ส่วนไฟแจ้งสถานะต่างๆจะขยับไปอยู่ที่บริเวณขอบซ้าย ขอบล่างก็จะมีลำโพงอีกตัว เพื่อให้เสียงที่ออกมาเป็นแบบสเตอริโอ เมื่อใช้ดูภาพยนตร์ ในแนวนอน ซึ่งถือว่าโซนี่ยังรักษาคุณภาพของเสียงที่ออกจากลำโพงได้เป็นอย่างดี

ด้านหลังเนื่องจากหันมาใช้กระจกครอบทำให้ฝาหลังที่เป็นกระจก เมื่อไม่ได้ใส่เคสใช้งานจะเต็มไปด้วยรอยนิ้วมือได้ค่อนข้างง่าย ประกอบกับฝาหลังถูกปล่อยให้โล่งๆ มีการติดซับแบรนด์ Xperia อยู่ตรงกึ่งกลาง พร้อมสัญลักษณ์ NFC ภายในมีแบตเตอรีขนาด 3,230 mAh

ส่วนมุมซ้ายบนจะเป็นที่อยู่ของทีเด็ดอย่างหกล้องหลัง ที่โซนี่เลือกใช้เทคโนโลยี Motion Eye มาใช้งานเหมือนใน Xperia XZs ที่ออกมาก่อนหน้านี้ โดยจะเป็นกล้องความละเอียด 19 ล้านพิกเซล ที่ใช้เลนส์ G มาใช้งาน ให้รูรับแสง f/2.0 ตัวเซ็นเซอร์เป็น Exmor RS 1/2.3” ความละเอียดเม็ดพิกเซล 1.22 um พร้อมกับระบบโฟกัสแบบไฮบริดจ์ และไฟ LED

ด้านบนจะมีช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม. ให้เลือกใช้อยู่ ด้านล่างเป็นพอร์ต USB-C

ด้านซ้ายจะมีฝาปิดช่องใส่ซิมการ์ด และไมโครเอสดีการ์ด โดยแยกออกเป็น 2 ถาด ถาดแรกที่ถอดออกมาจะไว้ใส่ซิม 2 หรือเลือกใส่ไมโครเอสดีการ์ด ส่วนถาดซิมแรกจะอยู่ซ้อนเข้าไปด้านในอีก ด้านขวามีปุ่มปรับระดับเสียง ปุ่มเปิดปิดเครื่อง ที่เป็นเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือ สุดท้ายคือปุ่มชัตเตอร์กล้อง ที่ใช้เปิดโหมดกล้องได้ทันที

ที่น่าสนใจคือตัวเครื่องกันน้ำกันฝุ่น มาตรฐาน IP 65/68 เพียงแต่ต้องดูการปิดถอดซิมให้แนบสนิทมากที่สุด อุปกรณ์ที่ให้มาในกล่องจะประกอบไปด้วยตัวเครื่อง คู่มือการใช้งาน สาย USB-C อะเดปเตอร์ และหูฟังแบบ In-Ear

สเปก

ในส่วนของฮาร์ดแวร์ Xperia XZ Premium มากับหน่วยประมวลผล Qualcomm Snapdragon 835 ที่เป็น Octa-Core (Quad 2.45 GHz Kryo + Quad 1.9 GHz Kryo) หน่วยประมวลผลภาพ Adreno 540 RAM 4 GB พื้นที่เก็บข้อมูลภายในตัวเครื่อง 64 GB ทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 7.1.1

ด้านการเชื่อมต่อรองรับการใช้งาน 2 ซิม 2G/3G/4G โดยเฉพาะในระบบ 4G ที่ตัวเครื่องรองรับ LTE Cat 16 หรือ 4.5G ที่เอไอเอส และทรูมูฟ เอช ให้บริการอยู่ในเวลานี้ WiFi มาตรฐาน 802.11ac บลูทูธ 5.0 มี NFC GPS มาให้ครบถ้วน แต่ไม่มีวิทยุ FM

ฟีเจอร์เด่น

ความโดดเด่นของ Xperia XZ Premium แทบทั้งหมดจะมาจากฮาร์ดแวร์ที่ใส่มาให้เป็นหลัก ส่วนอินเตอร์เฟส และฟีเจอร์การใช้งานภายใน ถือเป็นส่วนเสริมที่ได้มาจากฮาร์ดแวร์เป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการแสดงผล XZ Premium เป็นสมาร์ทโฟนรุ่นแรกที่มีหน้าจอความละเอียดระดับ 4K

ผลที่ตามมาคือผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงคอนเทนต์ 4K ได้จากในเครื่อง ไม่ว่าจะเป็นการใช้งาน Youtube เพื่อรับชมไฟล์ความละเอียดสูง 4K ภาพที่ได้ออกมาเมื่อใช้คอนเทนต์ที่รองรับจะแสดงให้เห็นความแตกต่างในการใช้งานที่ชัดเจน

โดยถ้าไล่ดูก็จะมาจากการที่โซนี่นำเทคโนโลยีอย่างจอแสดงผล TRILUMINOS ระบบประมวลผลภาพ X-Reality พร้อมปรับการแสดงผลให้เป็นแบบ sRGB 138% ทำให้ภาพที่ได้ออกมาค่อนข้างสมจริง และให้สีสันทีสวยงาม

ถัดมาในแง่ของกล้อง Motion Eye ที่เคยพูดถึงกันไปแล้วใน Review : Sony Xpreria XZs สิ่งที่เพิ่มขึ้นมาใน XZ Premium คือระบบการถ่ายวิดีโอแบบ 4K ที่โซนี่พัฒนาขึ้นในรุ่นนี้อย่างชัดเจน แต่เดิมตัวเครื่องจะเกิดปัญหาความร้อนในการถ่ายวิดีโอทำให้ถ่ายได้ไม่เกิน 15-30 นาที แต่พอมาเป็น XZ Premium ทดลองถ่ายต่อเนื่องไปราว 1 ชั่วโมง ก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด

ส่วนในแง่ของภาพนิ่ง ด้วยการที่โซนี่เลือกใช้เลนส์มุมกว้าง (มาก) ทำให้ตอนนี้เกิดปัญหาขึ้นเล็กน้อยเมื่อถ่ายภาพในระยะใกล้ๆ ทำให้เกิดอาการภาพบิดเบี้ยว (Distortion) ซึ่งถือเป็นปัญหากับเลนส์มุมกว้างในกล้องโปรมาก่อน จนช่างภาพส่วนใหญ่เข้าใจถึงธรรมชาติดังกล่าวแล้ว

(เทียบให้เห็นระหว่าง XZ Premium กับ S8+ ว่าเมื่อถ่ายภาพใกล้ๆบริเวณขอบภาพจะโค้งๆ)

แต่พอมาเกิดในสมาร์ทโฟน ผู้ที่ไม่เคยมีความรู้เรื่องการถ่ายภาพมาก่อน อาจจะมองว่าเป็นปัญหาใหญ่ แต่เชื่อว่าเมื่อโซนี่ได้รับทราบปัญหาดังกล่าวแล้ว จะมีการออกเฟิร์มแวร์แก้ไขออกมาได้ไม่ยาก แน่นอนว่าปัญหาดังกล่าวจะไม่เกิดเมื่อถ่ายภาพในระยะไกล

ส่วนถ้าถามว่าคุณภาพของภาพนิ่ง Xperia XZ Premium ทำได้ดีแค่ไหน สามารถเข้าไปดูได้จากคอนเทนต์ก่อนหน้านี้อย่าง “เทียบกันยาวๆ ภาพจาก 4 สมาร์ทโฟนเรือธง” โดยรวมแล้วสีที่ได้จากกล้องของโซนี่จะสมจริงมากที่สุด เมื่อเทียบกับแบรนด์อื่นๆ

แต่ก็จะมีในส่วนของระบบถ่ายภาพแบบมือโปร ที่โซนี่ ตั้งมาให้ปรับได้แค่ความเร็วชัตเตอร์ระหว่าง 1/4000 – 1 วินาที ระบบโฟกัส ไวท์บาลานซ์ และปรับค่าชดเชยแสง (EV) เท่านั้น ถ้าต้องการตั้ง ISO ก็สามารถตั้งได้ตั้งแต่ 50-3200 แต่ไม่สามารถตั้งคู่กับชัตเตอร์สปีดได้

ส่วนการปรับตั้งค่าอื่นๆ ของกล้องถือว่ามีอิสระมาก ผู้ใช้สามารถเข้าไปปรับองศาเคลวินเพื่อคุมโทนสีของภาพได้ พร้อมกับเข้าไปเลือกคุณภาพของการบันทึกวิดีโอสโลว์โมชันว่าจะถ่ายแบบสโลว์ปกติ แล้วกดซ้ำเพื่ออัดซูเปอร์สโลว์โมชัน หรือจะเลือกถ่ายเป็นช็อตซูเปอร์สโลว์โมชันเลยก็ได้

ขณะที่การบันทึกวิดีโอ 4K ที่ให้สามารถ จะต้องเข้าไปเลือกที่โหมดถ่ายภาพ 4K แทน ไม่ได้อยู่กับโหมดถ่ายวิดีโอปกติ โดยผู้ใช้สามารถเลือกการเข้ารหัสไฟล์มาตรฐานให้เป็น .h264 หรือ .h265 ก็ได้ พร้อมความสามารถในการปรับสมดุลแสงให้เหมาะสม เลือกไวท์บาลานซ์ได้ปกติ

อีกจุดที่น่าสนใจคือเรื่องของการเชื่อมต่อบนเครือข่าย 4.5G ที่จะเห็นว่าตอนนี้ทั้งเอไอเอส และ ทรูมูฟ เอช เริ่มมีการโฆษณา เรื่องการรวมคลื่น และปรับปรุงอุปกรณ์ส่งสัญญาณให้ทันสมัยมากขึ้น Xperia XZ Premium ที่มากับโมเด็ม X16 LTE ของ Qualcomm จึงกลายเป็นรุ่นแรกที่รองรับสมบูรณ์แบบ (ไม่นับ U11 เพราะรุ่นที่ขายในไทย เป็นตัว RAM 6 GB ไม่ได้ใช้ชิปเซ็ต X16)

กล่าวคือถ้าเข้าไปอยู่ในพื้นที่ ที่มีการปล่อยสัญญาณ 4.5G 3CA (รวม 3 คลื่น 900 1800 2100 MHz มาให้ใช้งาน) พร้อมกับ 4×4 MIMO 256 qam (เทคโนโลยีที่ทำให้ตัวเครื่องสามารถรับสัญญาณพร้อมๆ 5 เท่ามาช่วยเพิ่มความแรงของคลื่น) โดยความเร็วที่ทำได้จะเกิน 200 Mbps ขึ้นไป

ในส่วนของระบบเสียง ที่ผ่านมาชื่อชั้นของโซนี่ ถือว่าเป็นผู้นำในการก้าวเข้าสู่เสียงระดับ Hi-Res อยู่แล้ว ดังนั้นการที่นำการสังเคราะห์เสียงดิจิตอลคุณภาพสูง (DSEE HX) มาใช้ ร่วมกับ Clear Audio+ และ Clear Bass ทำให้เสียงที่ได้ออกมาอยู่ในระดับสูง

อีกจุดที่พัฒนากันต่อของเสียงคือ การเชื่อมต่อแบบไร้สายผ่านบลูทูธที่ปัจจุบันก้าวเข้าสู่ยุคของ Bluetooth 5.0 แล้ว คุณภาพของการส่งผ่านสัญญาณไร้สาย ไปยังหูฟัง หรือเครื่องเล่นเพลงสามารถให้คุณภาพไม่แตกต่างจากการใช้สายเชื่อมต่อ ดังนั้นถ้ามีหูฟังบลูทูธ Hi-Res อยู่แล้วเอามาเชื่อมต่อฟังเพลงก็ได้รายละเอียดที่ครบถ้วน

ส่วนที่เหลือไม่ว่าจะเป็นแอปที่บันเดิลมาให้ในเครื่อง ระบบการตั้งค่าต่างๆ ยังคงยึดเอกลักษณ์ของโซนี่ จึงไม่ได้มีความแตกต่างจากเครื่องรุ่นก่อนๆมากนัก ดังนั้นผู้ที่เคยใช้งานสมาร์ทโฟนโซนี่มาก่อน พอมาใช้งานบนอินเตอร์เฟสของแอนดรอยด์ 7.1.1 ก็อาจจะมีการปรับตัวเพียงนิดเดียว แต่ที่เหลือเรียนรู้ได้ไม่ยาก

ทดสอบประสิทธิภาพ

Antutu Benchmark = 144,953 คะแนน
Quadrant Standard = 38,632
Multi-touch Test = 10 จุด

Geekbench 4
Single-Core = 1,784 คะแนน
Multi-Core = 5,529 คะแนน
Compute = 7,927 คะแนน

PassMark PerformanceTest
System = 12,568 คะแนน
CPU Tests = 232,048 คะแนน
Memory Tests = 13,975 คะแนน
Disk Tests = 67,829 คะแนน
2D Graphics Tests = 7,745 คะแนน
3D Graphics Tests = 3,294 คะแนน

PC Mark
Work 2.0 = 6,507 คะแนน
Computer Vision = 3,448 คะแนน
Storage = 4,181 คะแนน
Work = 7,883 คะแนน

3D Mark
Sling Shot Extreme Unlimited = 4,021 คะแนน
Sling Shot Unlimited = 4,987 คะแนน
Sling Shot Extreme = 3,108 คะแนน
Sling Shot = 3,685 คะแนน
Ice Storm Extreme = 13,509 คะแนน
Ice Storm Unlimited = 39,128 คะแนน
Ice Storm = 14,522 คะแนน

ส่วนการทดสอบแบตเตอรี่ แม้ว่า XZ Premium จะให้แบตมาที่ 3,230 mAh และมากับหน้าจอความละเอียดระดับ 4K แต่ถือว่าระบบบริหารจัดการแบตเตอรีทำได้ดี ทดสอบจาก PC Mark ใช้งานได้ต่อเนื่อง 7 ชั่วโมง 52 นาที ถือว่าอยู่ในระดับบนๆ ส่วนถ้าใช้งานปกติ ทั่วๆไป สามารถใช้ได้เกินวันสบายๆ

สรุป

ต้องยอมรับว่าการรอคอยของสาวกโซนี่ ที่ตั้งตารอสมาร์ทโฟนในตระกูล Xperia ที่ครบเครื่อง ถือว่าบรรลุเป้าหมายแล้ว กับความสามารถของ Xperia XZ Premium ที่ออกมาตอกย้ำการเป็นสมาร์ทโฟนที่ครบเครื่องในหลายๆด้าน

ที่สำคัญคือด้วยราคาเปิดตัวที่ 25,990 บาท เมื่อสมัครใช้แพกเกจพร้อมชำระค่าบริการล่วงหน้ากับโอเปอเรเตอร์ผู้บริโภคจะสามารถหาเครื่องมาใช้ได้ในราคา 19,990 บาท จึงนับได้ว่า Xperia XZ Premium ถือเป็นสมาร์ทโฟนที่คุ้มค่า กับประสิทธิภาพของตัวเครื่องที่ได้รับ

เพียงแต่ว่า ถ้าเป็นคนที่ชื่นชอบดีไซน์ของสมาร์ทโฟนที่ให้ความโฉบเฉี่ยวแหวกแนว และโหมดถ่ายโปรที่มีข้อจำกัดในการตั้งค่า Xperia XZ Premium อาจจะไม่ใช่ แต่ถ้ารับได้กับรูปทรง และขอบบนขอบล่างหน้าจอที่กินพื้นที่ไปสักหน่อย ก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในตลาดเวลานี้

ข้อดี

หน้าจอ 5.5 นิ้ว ความละเอียด 4K HDR
กล้อง Motion Eye ที่มากับการถ่ายภาพสโลว์โมชัน 960 fps
รองรับ 4.5G / บลูทูธ 5.0 / Wi-Fi 802.11ac
ระบบเสียง Hi-Res
ระบบบริหารจัดการแบตเตอรีที่ทำได้ดี ใช้งานเกิน 1 วันสบายๆ

ข้อสังเกต

ตัวเครื่องเป็นรอยนิ้วมือง่าย จากกระจกที่ใช้ทั้งหน้าหลัง
พื้นที่ขอบบนล่าง ที่ถูกเว้นว่างไว้
โหมดถ่ายภาพแบบ Pro ที่ตั้งสปีดชัตเตอร์ได้ต่ำสุด 1 วินาที และไม่สามารถปรับ ISO ได้

Gallery

]]>
Review : HTC U11 สเปกแรง กล้องดีสุดในตลาด https://cyberbiz.mgronline.com/review-htc-u11/ Wed, 21 Jun 2017 15:46:41 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=26319

แบรนด์ HTC (เอชทีซี) ห่างหายจากตลาดสมาร์ทโฟนทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศไทยไปนานหลายปี กลับมาในปีนี้ HTC เข็นสมาร์ทโฟนตระกูล U-Series บุกตลาดสมาร์ทโฟนแบบพลิกโฉมใหม่หมดตั้งแต่การออกแบบไปถึงซอฟต์แวร์ภายใน โดยในบ้านเราเริ่มทำตลาดไปก่อนหน้าแล้วกับ HTC U Ultra และในวันนี้ก็ถึงคิวของพี่ใหญ่เรือธงตระกูล U กับ “HTC U11” ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อเร็วๆนี้

การออกแบบ

เริ่มจากจอภาพเป็น SuperLCD 5 ขนาด 5.5 นิ้ว ความละเอียด QuadHD 2,560×1,440 พิกเซล ครอบทับด้วยกระจกจอ 3D (ขอบโค้งมนทั้งสองด้าน) Corning Gorilla Glass 5 มาพร้อมปุ่มโฮม-เซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือและ Navigation Buttons แบบทัชเซนเซอร์ติดตั้งอยู่ใต้จอภาพ

ส่วนกล้องหน้ามาพร้อมความละเอียด 16 ล้านพิกเซล รูรับแสงกว้าง f2.0 เป็นเลนส์มุมกว้าง 150 องศา รองรับการถ่ายวิดีโอเซลฟีความละเอียด FullHD 1080p

ด้านหลังถือเป็นจุดขายหลักของ HTC ก็คือวัสดุที่ใช้ผลิตแบบ “Liquid glass surface” ให้ผิวมันวาว เวลาสะท้อนแสงตามมุมต่างๆจะให้สีสันที่แปลกตา หรูหราแบบเดียวกับกระจก โดยจะมีสีให้เลือก 5 สีได้แก่ Amazing Silver (สีเงินออกฟ้า – เครื่องที่ทีมงานนำมาทดสอบในวันนี้) Sapphire Blue (สีน้ำเงิน) Brilliant Black (สีดำ) Ice White (สีขาว) และสุดท้ายสีพิเศษ Solar Red หรีอสีแดง โดยเมื่อสะท้อนกับแสงจะสามารถไล่เฉดสีเป็นสีส้มได้อารมณ์พระอาทิตย์ยามเย็น

แต่มีข้อสังเกตเล็กน้อยในเรื่องพื้นผิวแบบ Liquid glass surface จะค่อนข้างลื่นง่าย โดยเฉพาะการถือถ่ายภาพในแนวนอนทำได้ไม่ค่อยถนัดนัก แนะนำให้ใส่เคสจะดีที่สุดครับ

ในส่วนกล้องถ่ายภาพหลังก็ถือเป็นอีกหนึ่งจุดขายหลักของ HTC U11 เช่นกันเพราะทางผู้ผลิตเลือกปรับปรุงใหม่หมด โดยสเปกกล้องจะใช้เซ็นเซอร์ที่มาพร้อมพิกเซลขนาดใหญ่ถึง 1.4 ไมครอน เลนส์มาพร้อมรูรับแสงกว้าง f1.7 ความละเอียดภาพ 12 ล้านพิกเซล รองรับการถ่ายวิดีโอ 4K ระบบออโต้โฟกัส UltraSpeed Autofocus (คาดว่าใช้ Dual Pixel) และเลนส์กล้องมาพร้อมระบบป้องกันภาพสั่นไหว OIS โดยสเปกกล้องจะคล้ายกับ Samsung Galaxy S8/S8+ แต่ HTC จะเพิ่มส่วนประมวลผลภาพเฉพาะตัวในชื่อ HTC UltraPixel 3 เข้ามาด้วย

มาถึงปุ่มกดและพอร์ตเชื่อมต่อรอบตัวเครื่อง เริ่มจากด้านขวาของเครื่อง ตรงกลางจะเป็นปุ่มเปิดปิด, ปุ่มเพิ่มลดเสียง, เสาสัญญาณโทรศัพท์และบริเวณพื้นที่ว่างด้านล่างจะเป็นส่วนเซ็นเซอร์รับแรงกด (Haptic Sensor) โดย HTC เลือกติดตั้งไว้ทั้งสองข้าง ให้ผู้ใช้สามารถบีบขอบเครื่องเพื่อสั่งให้ระบบ Edge Sense ทำงานได้

ด้านบน เป็นช่องใส่ซิมการ์ดโทรศัพท์แบบ Nano Sim รองรับ 2 ซิมตามสมัยนิยม

ส่วนด้านล่างเป็นช่อง USB-C (USB3.1 Gen1) ไมโครโฟนและช่องลำโพง โดยลำโพงในตัวเครื่อง U11 จะเป็นสเตอริโอใช้ร่วมกับลำโพงโทรศัพท์ด้านบนด้วยเทคโนโลยี HTC BoomSound อันเป็นเอกลักษณ์ของ HTC

และนอกจากนั้นถ้าสังเกตรอบตัวเครื่องให้ดีจะพบว่า HTC U11 ไม่มีช่องเชื่อมต่อหูฟัง 3.5 มิลลิเมตรอีกแล้ว โดยการเชื่อมต่อหูฟังจะต้องทำผ่านพอร์ต USB-C หรือผ่านอะแดปเตอร์แปลง 3.5 มิลลิเมตรเป็น USB-C เท่านั้น (มีแถมมาให้)

สเปก

ด้านสเปก HTC U11 ทุกรุ่นที่จำหน่ายทั่วโลกจะขับเคลื่อนด้วยหน่วยประมวลผลแฟลกชิปรุ่นใหม่ล่าสุดของปีนี้กับ Qualcomm Snapdragon 835 (64-bit) Octa-core ความเร็ว 2.45GHz โดยรุ่นที่ขายในประเทศไทยจะเป็นรุ่นแรมขนาด 6GB พร้อมพื้นที่เก็บข้อมูล 128GB (แต่รุ่นที่ทีมงานได้รับมาทดสอบจะเป็นรุ่นแรม 4GB พร้อมความจุ 64GB) และสามารถเพิ่มความจุด้วยการ์ด MicroSD ได้สูงสุด 2TB (ใช้ร่วมกับถาดใส่ซิมที่ 2) มาพร้อมระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 7.1

ในส่วนสเปกเชื่อมต่อเครือข่าย HTC U11 รองรับ 2G/3G/4G LTE โดย 4G จะรองรับความเร็วระดับ Cat 16 หรือ Gigabit Network 4CA (ในไทยตอนนี้จะวิ่งได้สูงสุด 700 Mbps จาก 3CA 4×4 MIMO 256 QAM) พร้อมรองรับ VoLTE และ WiFi Calling เต็มระบบ

ด้านการเชื่อมต่อ WiFi รองรับมาตรฐาน 802.11 a/b/g/n/ac รองรับ Miracast, NFC, บลูทูธ 4.2 มี GPS – AGPS – GLONASS – Beidou พร้อมแบตเตอรีขนาด 3,000 mAh รองรับมาตรฐานชาร์จไฟเร็ว Quick Charge 3.0 (HTC แถมอะแดปเตอร์มาให้) โดยสามารถชาร์จไฟตั้งแต่ 0-80% ด้วยเวลาเพียงครึ่งชั่วโมงเท่านั้น (ระบบจ่ายไฟได้สูงสุด 12V 1.25A)

ซอฟต์แวร์และฟีเจอร์เด่น

HTC U11 จะมาพร้อมกับแอนดรอยด์ 7.1 Nougat ครอบทับด้วย HTC Sense โดยในรุ่นใหม่นี้ได้รับการออกแบบใหม่หมดตั้งแต่ยูสเซอร์อินเตอร์เฟสที่เรียบง่ายมากขึ้นไปถึงการเลือกติดตั้งแอปพลิเคชันเสริมเฉพาะที่จำเป็นต้องใช้ เช่น Facebook Instagram เครื่อบันทึกเสียง แอปฯจัดการพลังงานและแอปฯตรวจดูสภาพอากาศ เป็นต้น โดยในภาพรวมแล้ว HTC Sense รุ่นติดตั้งมากับ U11 จะมีความลื่นไหลและให้ประสบการณ์การใช้งานที่ดีกว่า Sense ทุกรุ่นที่ผ่านมา

หน้าตาแป้นคีย์บอร์ดภาษาอังกฤษ

หน้าตาแป้นคีย์บอร์ดภาษาไทย

ส่วนคีย์บอร์ด HTC ไม่ได้พัฒนาเองแต่เลือกใช้บริการจาก TouchPal ซึ่งมีข้อดีในเรื่องแป้นคีย์บอร์ดสามารถปรับแต่งได้หลากหลาย แต่ข้อสังเกตสำหรับทีมงานไซเบอร์บิซจะอยู่ในเรื่องการจัดวางตำแหน่งปุ่มที่รู้สึกไม่ค่อยถนัดต้องอาศัยการปรับตัวเล็กน้อย

มาถึงจุดขายของ HTC Sense ตัวใหม่กันบ้าง จะมาพร้อมผู้ช่วยอัจฉริยะ HTC Sense Companion ที่จะคอยเรียนรู้พฤติกรรมผู้ใช้ และคอยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน อย่างการแนะนำให้ตั้งแจ้งเตือนล่วงหน้าก่อนถึงช่วงเวลานัดหมายในปฏิทิน การแสดงข้อมูลพยากรณอากาศล่วงหน้าเมื่อตื่นนอนหรือแสดงร้านอาหารที่อยู่ใกล้ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม Sense Companion ในตอนนี้ยังไม่สามารถใช้งานในส่วน Amazon Alexa หรือเลขาส่วนตัวที่มีความเป็นมนุษย์เหมือน Siri ของแอปเปิลในประเทศไทยได้ ทำให้ Sense Companion ปัจจุบันสำหรับคนไทยแล้วอาจจะดูไม่น่าตื่นเต้นเหมือน Siri หรือ Google Now/Google Assistant ที่เคยสร้างสีสันในการเลือกตอบคำถามให้คนไทยมาแล้ว คงต้องรออัปเดตจากทางผู้ผลิตต่อไป

via GIPHY

มาถึงฟีเจอร์เด่น เริ่มจากฟีเจอร์แรกอย่าง Edge Sense หรือความสามารถในการบีบขอบเครื่องทั้งสองด้านเพื่อสั่งงานตัวเครื่องได้ โดยคำสั่งหลักๆที่รองรับกับ Edge Sense มีดังนี้

– เมื่อหน้าจอปิดอยู่ ผู้ใช้สามารถบีบขอบเครื่องสองครั้งติดกันจะเป็นการเรียกกล้องถ่ายภาพขึ้นมา
– ระหว่างอยู่ในโหมดกล้องถ่ายภาพ สามารถบีบขอบเครื่อง 1 ครั้งเพื่อลั่นชัตเตอร์ได้
– ระหว่างอยู่ในหน้าโฮมสกรีนสามารถบีบขอบเครื่องค้างไว้เพื่อเรียก Google Assistant
– ระหว่างพิมพ์ข้อความด้วยแป้น TouchPal สามารถบีบขอบเครื่อง 1 ครั้งเพื่อเรียกฟีเจอร์ Voice-to-text ได้

และนอกจากนั้นผู้ใช้ยังสามารถปรับแต่งการใช้งาน Edge Sense ได้อย่างอิสระผ่านเมนูตั้งค่าในระบบด้วย

ป้องกันน้ำและฝุ่น – HTC U11 มาพร้อมการป้องกันน้ำและฝุ่น IP67 ตามสมัยนิยม โดยส่วนที่ต้องระวังเป็นพิเศษเมื่อต้องใช้งานในสภาพอากาศที่เสี่ยงต่อเครื่องเสียหายก็คือ “ส่วนฝาปิดซิมจะมีขอบยางซีลไว้ เวลาแกะเปลี่ยนซิมต้องกดปิดฝาให้สนิท”

HTC USonic – เป็นอีกหนึ่งจุดขายที่น่าสนใจสำหรับ HTC U11 เพราะนอกจากในแพกเกจจะแถมหูฟังอินเอียร์ที่มาพร้อมระบบตัดเสียงรบกวนแบบแอ็คทีฟและรองรับ Hi-Res Audio แล้ว ระบบการทำงานของ USonic ก็ยังน่าสนใจอย่างมาก

เริ่มจากครั้งแรกที่เราเชื่อมต่อหูฟังผ่านพอร์ต USB-C เมื่อเราใส่หูฟังระบบจะตรวจจับและให้เราตั้งค่าหูฟังครั้งแรกก่อน โดยระบบจะปล่อยคลื่นเสียงเข้าไปในรูหูของเรา จากนั้นเมื่อคลื่นเสียงไปกระทบกับแก้วหูและส่งสัญญาณกลับมาที่ตัวหูฟัง ระบบจะอ่านค่าและนำมาตั้งค่าโปรไฟล์เสียงและโปรไฟล์ระบบตัดเสียงรบกวนแบบดิจิตอลที่เหมาะสมกับหูของเราให้อัตโนมัติ

ส่วนคนที่ไม่ชอบใช้หูฟัง แต่ชอบฟังเพลง ชมภาพยนตร์จากลำโพงตัวเครื่อง ทาง HTC ยังให้เทคโนโลยี HTC BoomSound มาให้เช่นเดิม แต่ใน U11 ทาง HTC จะมีการปรับปรุงลำโพงให้สามารถส่งเสียงได้ดังและมีไดนามิกที่ดีกว่าเดิม

Motion Launch อีกหนึ่งฟีเจอร์สุดท้ายที่เคยโด่งดังมาตั้งแต่สมัย HTC One ใน U11 ก็มีให้เลือกใช้งานเช่นเดิม ตั้งแต่ฟังก์ชันปลุกหน้าจอด้วยการแตะหน้าจอ 2 ครั้งระหว่างจอดับอยู่และแตะอีก 2 ครั้งเพื่อปิดหน้าจอ เป็นต้น

กล้องถ่ายภาพ

กล้องถ่ายภาพทั้งหน้าและหลังของ HTC U11 เรียกได้ว่าปรับปรุงใหม่หมดทุกสัดส่วนตั้งแต่ฮาร์ดแวร์ไปถึงซอฟต์แวร์ โดยสเปกในส่วนกล้องหลังจะเหมือนกับ Samsung Galaxy S8/S8+ ซึ่งทีมงานไซเบอร์บิซเคยได้นำมาประชันความเจ๋งไปแล้วในบทความ “ใครเจ๋งกว่ากัน! ทดสอบกล้อง HTC U11 vs Samsung Galaxy S8 (ชมคลิป)”

จากบทสรุปในบทความก่อนหน้าจะเห็นว่า HTC U11 จะโดดเด่นในเรื่องการเก็บรายละเอียดของภาพที่สูงกว่า Samsung Galaxy S8/S8+ และดีกว่า HTC รุ่นก่อนหน้าทุกรุ่น สอดคล้องกับคะแนนที่ทาง DxOMark ให้ไว้เป็นอันดับ 1 (90 คะแนน) โดยไฟล์ภาพจาก HTC U11 ค่อนข้างมีคุณภาพสูง การจัดการของ HTC UltraPixel 3 ทำได้ค่อนข้างดีมาก โดยเฉพาะในที่แสงน้อยค่อนข้างจะโดดเด่นในเรื่องความคมชัดสูงและอาการภาพเป็นวุ้นๆค่อนข้างมีน้อยกว่ากล้องจากสมาร์ทโฟนแฟลกชิปในระดับเดียวกันแทบทุกรุ่น

ตัวอย่างภาพจากกล้อง HTC U11

แต่ทั้งนี้ก็ใช่ว่าจะมีแต่เพียงข้อดีอย่างเดียว ข้อสังเกตเกี่ยวกับกล้องถ่ายภาพ U11 ก็มีเช่นกัน ยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนเลยก็คือกล้องหน้า ที่ HTC คุยว่าให้คุณภาพไม่ต่างจากกล้องหลัง แต่จากที่ทีมงานได้ทดสอบถ่ายเซลฟีพบว่าเรื่องของการจัดการสีผิว (Skin Tone) ยังไม่ค่อยธรรมชาติมากนัก โดยเฉพาะเมื่อถ่ายในที่แสงน้อยและต้องเปิดไฟแฟลชจากจอภาพ สีสันที่ได้ดูไม่เป็นธรรมชาติเท่าที่ควร

และอีกเรื่องในส่วนซอฟต์แวร์ที่ไม่ค่อยมีลูกเล่นพิเศษเหมือนคู่แข่งเจ้าอื่น ลูกเล่นหลักๆของ U11 จะมีพาโนรามาที่ความละเอียด 8,736×1,890 พิกเซล พาโนรามาเซลฟีและทำสโลโมชันวิดีโอที่ความเร็ว 120fps 1080p โดยส่วนใหญ่จะไปเน้นไปในเรื่องคุณภาพไฟล์ภาพนิ่งและ RAW File มากกว่า

แต่โดยรวมทีมงานค่อนข้างพอใจกับไฟล์ภาพนิ่งจาก HTC U11 ค่อนข้างมากและขอยกให้เป็นสมาร์ทโฟนที่มีกล้องถ่ายภาพยอดเยี่ยมสุดในตอนนี้ได้เลย

มาดูงานวิดีโอกับการบันทึกเสียงแบบ 3D Audio กันบ้าง โดย HTC U11 จะมาพร้อมไมโครโฟน 4 ตัวติดตั้งอยู่บริเวณข้างกล้องหน้า 1 ตัว สันเครื่องด้านบน 1 ตัว ล่าง 1 ตัวและด้านหลังอีก 1 ตัว

โดยการทำงาน 3D Audio จะมาพร้อมเทคโนโลยี Acoustic Focus สำหรับการใช้งานปกติระบบจะโฟกัสเสียงที่อยู่ใกล้กับสมาร์ทโฟนก่อนเป็นอันดับแรกไม่ว่าเสียงสภาพแวดล้อมจะดังขนาดไหนก็ตาม เสียงที่อยู่ใกล้ เช่น เสียงพูดจะชัดเจนตลอดการบันทึกวิดีโอ แต่เมื่อเราเริ่มซูมภาพวิดีโอเพื่อไปโฟกัสกับวัตถุที่อยู่ไกลตัวออกไป ไมโครโฟนทั้ง 4 ตัวจะถูกระบบเลือกใช้ตามความเหมาะสมและเริ่มเพิ่มระดับการรับเสียงสอดคล้องไปตามระบบซูมภาพ เพื่อให้เสียงที่อยู่ไกลถูกบันทึกได้อย่างคมชัดมากขึ้น

ทดสอบประสิทธิภาพ

PCMark
Work 2.0 = 7,124 คะแนน
Computer Vision = 3,575 คะแนน

AnTuTu Benchmark = 174,304 คะแนน

3DMark
Sling Shot Extreme = 2,683 คะแนน
Sling Shot = 4,099 คะแนน

Geekbench 4.0
Single-Core = 1,897 คะแนน
Multi-Core = 6,181 คะแนน

PassMark PerformanceTest
System = 13,344 คะแนน
CPU Tests = 248,306 คะแนน
Memory Tests = 12,919 คะแนน
Disk Tests = 68,358 คะแนน
2D Graphics Tests = 7,447 คะแนน
3D Graphics Tests = 3,809 คะแนน

AndroBench
Seq. Read = 708.06MB/s
Seq. Write = 194.89MB/s

เสียดายที่ทีมงานไซเบอร์บิซไม่ได้รับตัวทดสอบเป็นรุ่นแรม 6GB แต่โดยภาพรวมถึงแม้ตัวเครื่องรุ่นนี้จะมาพร้อมแรมเพียง 4GB (เป็นเครื่องไต้หวัน) แต่การใช้งานก็ไม่พบอาการสะดุดให้เห็น การเล่นเกมทุกเกมสามารถทำได้ลื่นไหล การเปิดใช้งานแอปฯจำนวนมากสามารถทำได้ HTC Sense กับแอนดรอยด์ 7.0 ทำงานเข้าขากันดีมาก ฟีเจอร์ที่มากับซีพียู Snapdragon 835 HTC ก็เรียกใช้งานได้ครบถ้วนดีตั้งแต่ ระบบชาร์จไฟ Quick Charge 3.0 ทาง HTC ก็แถมอะแดปเตอร์มาให้ด้วย ไปถึงการรองรับ 4.5G LTE Advanced แบบ Cat 16 ก็มีให้เลือกใช้จาก U11 ทั้งหมด

มาถึงการทดสอบแบตเตอรี น่าจะถือเป็นข้อสังเกตใหญ่สุดเพียงเรื่องเดียวนอกจากข้อสังเกตยิบย่อยเรื่องกล้องที่เป็นเพียงแค่ความรู้สึกของทีมงาน (คนอื่นอาจรู้สึกต่างไป) เพราะตัวเครื่องให้แบตเตอรีมา 3,000 mAh ซึ่งถือว่าไม่ใหญ่มากเมื่อเทียบกับสเปกเครื่องและขนาดหน้าจอ ทำให้สามารถใช้งานได้เพียง 9 ชั่วโมง 39 นาทีเท่านั้น ยิ่งใช้งานหนักหน่วง เช่น เล่นเกม แบตเตอรีสามารถหมดได้เพียง 5-6 ชั่วโมง ถือว่ายังไม่น่าประทับใจนัก

สรุป

สำหรับราคา HTC U11 ในประเทศไทยเป็นรุ่นแรม 6GB ความจุ 128GB อยู่ที่ 25,990 บาท เทียบสเปกกับคู่แข่งระดับเดียวกันแล้ว ราคาเปิดตัวมาได้ค่อนข้างน่าสนใจ (ราคาเปิดตัวต่ำกว่าคู่แข่งระดับเดียวกันหลายเจ้า) โดยเฉพาะคนชอบถ่ายภาพน่าจะถูกใจ HTC U11 ได้ไม่ยาก เพราะกล้องถ่ายภาพโดยเฉพาะด้านหลังถือว่าทำได้ดีมาก แต่กล้องหน้าสำหรับคนที่ชอบเซลฟีทีมงานแนะนำให้ไปลองก่อน เพราะสำหรับทีมงานเองรู้สึกว่ากล้องหน้ายังให้คุณภาพไม่ดีนัก

แต่โดยภาพรวมทั้งตัวเครื่องไปถึงประสิทธิภาพถือว่าครั้งนี้ HTC กลับมาได้สมศักดิ์ศรี ทุกอย่างดูลงตัวดี และที่สำคัญอุปกรณ์ที่แถมมาให้ในกล่องทั้งหูฟัง USonic และอะแดปเตอร์ชาร์จไฟแบบ Quick Charge 3.0 เรียกได้ว่าจัดเต็ม คุ้มราคาดี ใครกำลังมองหาสมาร์ทโฟนแฟลกชิปในตอนนี้ HTC U11 ถือว่าไม่ควรมองข้าม

เบื้องต้น HTC U11 คาดว่าจะเริ่มวางจำหน่ายในช่วงสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ แต่ที่สำคัญคือต้องรอดูในแง่ของการให้บริการหลังการขาย และช่องทางจำหน่ายว่าจะครอบคลุมมากแค่ไหน เพราะเอชทีซี เรียกได้ว่าหายไปจากตลาดไทยพอสมควรในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา

ข้อดี

– ฝาหลัง Liquid glass surface ดูหรูหรา
– สเปกเครื่องดี
– หูฟังอินเอียร์พร้อมระบบตัดเสียงรบกวนและฟีเจอร์ USonic ดีมาก
– กล้องหลังคุณภาพดี
– รองรับ 4G Cat 16
– รองรับการถอดรหัสไฟล์เพลงแบบ HiRes Audio
– ในชุดที่ทีมงานได้รับมาทดสอบ อุปกรณ์ที่ให้มาในกล่องค่อนข้างน่าสนใจ โดยเฉพาะหูฟังอินเอียร์คุณภาพสูงรองรับ HiRes Audio และอะแดปเตอร์ชาร์จไฟ Quick Charge 3.0 มาตรฐาน Qualcomm

ข้อสังเกต

– Liquid glass surface ดูหรูหราแต่ลื่นมาก ยิ่งมาเจอกับขอบเครื่องโค้ง ทำให้จับถือไม่ถนัด
– การบันทึกเสียงวิดีโอแบบ 3D Audio ให้เสียงที่เบาไป
– Edge Sense บีบขอบเครื่องเพื่อสั่งงานเป็นแนวคิดที่ดี แต่การใช้งานยังไม่ค่อยมีประสิทธิภาพนัก บางครั้งต้องบีบแรงๆเพื่อให้ระบบรับคำสั่ง แต่บางครั้งถือเครื่องอยู่ในมือปกติแต่ระบบก็สั่งให้เรียก Google Assistant หรือบางทีก็พาเข้าโหมดกล้องไปโดยผู้ทดสอบยังไม่ทำอะไรเลย
– แบตเตอรีไม่อึด

Gallery

]]>
Review : HTC U Ultra สมาร์ทโฟน 2 จอ กับการสร้างความต่างในตลาด https://cyberbiz.mgronline.com/review-htc-u-ultra/ Sun, 21 May 2017 17:04:05 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=26229

จะเห็นกันว่าตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา เอชทีซี จะเริ่มแนะนำซีรีส์ U เข้าสู่ท้องตลาด เพื่อสื่อถึงการเป็นสมาร์ทโฟนที่เข้าใจผู้ใช้งาน พร้อมกับการนำ HTC U Play และ HTC U Ultra เข้ามาวางจำหน่ายในไทยแบบเงียบๆ จากผู้นำเข้ารายใหม่ และหวังใช้จุดขายของผลิตภัณฑ์มาช่วยบอกต่อในวงกว้าง

HTC U Ultra ถือเป็นสมาร์ทโฟน ที่มากับจอใหญ่ขนาด 5.7 นิ้ว และยังไม่พอมีการแถมจอที่ 2 มาให้ใช้กันด้วย ซึ่งถือเป็นจุดต่างที่สำคัญกับสมาร์ทโฟนรุ่นอื่นๆในตลาด ส่วนในแง่ของสเปก จะเป็นซีพียูรุ่นไฮเอนด์ในปีก่อนอย่าง Snapdragon 821 RAM 4 GB ROM 64 GB รองรับ 4G LTE Cat11 หรือ 3CA ในราคา 22,490 บาท

การออกแบบ

ที่เห็นได้ชัดเลยคือเอชทีซีเริ่มเปลี่ยนจากการใช้งานวัสดุอลูมิเนียมชิ้นเดียวที่ถือเป็นเอกลักษณ์มาเป็นใช้เป็นขอบอลูมิเนียมพร้อมกระจกเคลือบด้านหน้า และด้านหลังแทน บนลวดลายที่เอชทีซีใช้คำว่า ‘Liquid surface’ จากวัสดุกันรอยขีดข่วนแต่ผิวมัน จนสะท้อนแสงในหลายมุม

โดยเอชทีซี เลือกวางจำหน่าย U Ultra ในประเทศไทยทั้งหมด 2 สีดำ (Brillian Black) และ น้ำเงิน (Indigo Blue) แต่ในต่างประเทศจะมีสีขาว (Ice White) และชมพู (Cosmetic Pink) ด้วย ส่วนขนาดรอบตัวจะอยู่ที่ 162.41 x 79.79 x 7.99 มิลลิเมตร น้ำหนัก 170 กรัม

ด้านหน้าอย่างที่บอกไปว่าด้านหน้าจะเป็นกระจก Gorilla Glass 5 แบบขอบโค้ง 2.5D ภายในเป็นจอแบบ Super LCD 5 ขนาด 5.7 นิ้ว ความละเอียด Quad HD (2,560 x 1.440 พิกเซล) โดยส่วนบนจอจะมี Dual Display อยู่ทางฝั่งขวา และกล้องหน้าความละเอียด 16 ล้านพิกเซลอยู่ข้างๆ บนสุดจะเป็นลำโพงสนทนา

ส่วนด้านล่างจอจะมีเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือ ที่เป็นปุ่มกดโฮมไปในตัว ที่ไม่จำเป็นต้องให้หน้าจอติดก็สามารถนำนิ้วมาสัมผัสเพื่อปลดล็อกเครื่องได้ โดยมีปุ่มสัมผัสย้อนหลัง (ทางซ้าย) และเรียกดูแอปที่ใช้งานล่าสุด (ทางขวา) ขนาบอยู่

ด้านหลังจะมีการสกรีนสัญลักษณ์ hTC อยู่ตรงกลางค่อนไปทางบน และกล่องหลักที่เป็น Ultra Pixel 2 ความละเอียด 12 ล้านพิกเซล 1.55um ที่นูนขึ้นมาจากตัวเครื่อง และไฟแฟลชแบบ 2 สี (Dual Tone LED Flash) และจะมีเลเซอร์โฟกัสซ่อนอยู่ล่างแฟลชด้วย

ถ้าสังเกตดีๆส่วนล่างจะมีไมโครโฟนช่วยรับเสียงแบบ 3มิติอยู่ด้วย ภายในจะมีแบตเตอรีขนาด 3,000 mAh ที่มาพร้อมระบบ Quick Charge 3.0 แต่ทั้งนี้ในส่วนของฝาหลังจะเป็นรอยนิ้วมือง่ายมาก ทำให้ต้องเช็ดเครื่องบ่อยๆ

ด้านบนจะมีช่องสำหรับใช้เข็มจิ้มถาดใส่ซิมออกมา ตัวเครื่องรองรับ Dual Nano Sim แบบ 3G Standby ในซิมที่ 2 หรือจะเลือกใส่ไมโครเอสดีการ์ดสูงสุด 256 GB แทน และมีไมค์ตัดเสียงรบกวนข้างๆ ด้านล่างเหลือเพียงพอร์ต USB-C ไมค์สนทนา และลำโพงเท่านั้น ตัดพอร์ต 3.5 มม.ออกไปเรียบร้อย

ด้านขวาเป็นปุ่มปรับระดับเสียง และปุ่มเปิดปิดเครื่อง ด้านซ้ายจะถูกปล่อยว่างไว้ และรอบๆขอบจะมีเส้นรับสัญญาณอากาศอยู่รอบๆตัวเครื่อง

สำหรับอุปกรณ์ที่ให้มาในกล่องจะประกอบไปด้วยตัวเครื่อง HTC U Ultra เคสพลาสติกใส ผ้าเช็ดเครื่อง อะเดปเตอร์ สาย USB-C และหูฟัง In-Ear ที่เป็นพอร์ต USB-C พร้อมจุกหูฟังอีก 2 ขนาด แต่ไม่มีอะเดปเตอร์แปลง USB-C เป็น 3.5 มม.ให้มาด้วย

สเปก

ในส่วนของสเปกภายใน HTC U Ultra จะมากับชิปเซ็ต Snapdragon 821 ที่เป็นควอดคอร์ 2.15 GHz 64bit RAM 4 GB พื้นที่เก็บข้อมูลภายใน 64 GB รองรับไมโครเอสดีการ์ดสูงสุด 256 GB ตัวเครื่องทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 7.0

ด้านการเชื่อมต่อรองรับ 4G LTE Cat 11 หรือ 3CA (กรณีใช้งานซิมเดียว) ให้อัตราการดาวน์โหลดสูงสุด 600 Mbps อัปโหลด 50 Mpbs ส่วน Wi-FI เป็น Dual Band 802.11ac มาพร้อมบลูทูธ 4.2 NFC GPS ภายในเรียบร้อย

ส่วนสเปกกล้องหลัก เป็น HTC UltraPixel 2 ที่ให้เม็ดสีขนาด 1.55um ความละเอียด 12 ล้านพิกเซล f/1.8 มาพร้อมระบบโฟกัสแบบ PDAF และเลเซอร์โฟกัส เซ็นเซอร์แบบ BSI รองรับระบบกันสั่น OIS ตัวเลนส์ทำจากกระจก Sapphire กล้องหน้าเป็น 16 ล้านพิกเซล ที่มีโหมด UltraPixel ให้เลือกถ่ายเวลาแสงน้อยด้วย

ฟีเจอร์เด่น

ในส่วนของการใช้งาน U Ultra จะมากับอินเตอร์เฟส HTC Sense เช่นเดิม ไล่ตั้งแต่หน้าจอปลดล็อกที่สามารถลากไอค่อนลัดเพื่อเข้าสู่การใช้งานได้ทันที หรือจะใช้ลายนิ้วมือปลดล็อกก่อนใช้งานก็ได้ ถัดมาหน้าจอหลักก็จะให้ผู้ใช้ปรับแต่งตามปกติ ส่วนการแจ้งเตือนจะมีการตั้งค่าลัดต่างๆให้เลือก

ที่เพิ่มเติมเข้ามาคือหน้าจอที่ 2 ทีทางเอชทีซีเรียกว่า จอแสดงผลรอง (Dual Screen) ที่จะแสดงผลอยู่ที่มุมขวาบนของหน้าจอหลักอีกที โดยค่ามาตรฐานของจอนี้จะมีให้เลือก 6 รูปแบบคือ แสดงข้อความเตือนความจำ แสดงปฏิทินนัดหมาย รายชื่อผู้ติดต่อด่วน เครื่องเล่นเพลง พยากรณอากาศ และทางลัดเรียกใช้งานแอป

แต่ในกรณีที่หน้าจอหลักปิดอยู่ เมื่อทำการสัมผัสบริเวณจอรอง หรือยกเครื่องขึ้นมา จะมีการแสดงผลวัน เวลา อุณหภูมิ และไอคอนการแจ้งเตือน สามารถปัด เพื่อเข้าไปตั้งค่าด่วนอย่างปิดเสียง เปิดปิด ไวไฟ บลูทูธ ไฟฉาย กล้อง และเครื่องคิดเลขได้ เพิ่มเข้ามา

นอกจากนี้ ในกรณีที่เข้าใช้งานแอปแบบเต็มหน้าจอ อย่างการเล่นเกม หรือดูหนัง ตัวจอแสดงผลรอง ก็จะปรับมาเป็นการแสดงผลนาฬิกา พร้อมกับเปอเซนแบตเตอรี่ เพื่อให้ผู้ใช้ทราบ โดยไม่มีผลกับการแสดงผลของจอหลัก

ถัดมาคือระบบ AI หรือการนำ Machine Learning มาใช้ในเอชทีซี กับระบบที่เรียกว่า Sense Companion ที่จะกลายมาเป็นผู้ช่วยในการแนะนำข้อมูลต่างๆ ในการใช้งานอย่างการแสดงพยากรณ์อากาศวันรุ่งขึ้น การแจ้งเตือนให้ชาร์จแบต การติดต่อกับผู้ใช้ หรือตารางนัดหมายที่จะเกิดขึ้นเป็นต้น

อีกจุดเด่นที่น่าสนใจใน U Ultra คือเรื่องของกล้อง อาจจะเพราะไม่ได้เล่นกล้องของเอชทีซีมาสักพักนึง พอกลับมาจับอีกครั้งให้ความรู้สึกที่ดีขึ้น อินเตอร์เฟสใช้งานง่าย ตัวกล้องโฟกัสได้เร็วมากจาก PDAF + Laser Focus ทำให้ช่วยถ่ายภาพได้สนุกขึ้น

โดยผู้ใช้สามารถเลือกโหมดในการถ่ายภาพได้จากการลากนิ้วจากขอบบนลงมา จะมีให้เลือกโหมดถ่ายภาพทั้งปกติ Zoe (ถ่ายเป็นคลิปวิดีโอสั้นๆ) พาโนรามา โปร วิดีโอ ไฮเปอร์แลปส์ สโลว์โมชั่น เซลฟี่ เซลฟี่พาโนรามา และวิดีโอเซลฟี่ได้

ที่น่าสนใจคือในโหมดโปรตัวกล้องจะบันทึกภาพทั้งไฟล์ JPG และ DNG ให้ไปปรับแต่งกัน สามารถเลือกตั้งค่าความไวแสง (ISO) ได้ที่ 100 – 3200 ส่วนความเร็วชัตเตอร์ได้ตั้งแต่ 1/8000 – 16 วินาที พร้อมปรับสมดุลแสงขาวได้ตามองศาเคลวินที่ต้องการ

ส่วนโหมดถ่ายภาพวิดีโอ ผู้ใช้สามารถพักหน้าจอหลักขณะถ่าย มาควบคุมผ่านจอแสดงผลรองได้ ทำให้ช่วยประหยัดแบตเตอรีขณะบันทึกวิดีโอได้ (กดพักหน้าจอ) แต่ถ้าอยู่ในโหมดกล้องธรรมดาจอรองจะใช้เป็นแถบในการซูมเข้าออกแทน

กลับมาที่แอปพลิเคชันที่ติดตั้งมาให้ในเครื่อง ส่วนใหญ่จะเป็นแอปทั่วๆไป ไม่ได้มีการบันเดิลแอปอื่นๆมาให้รกเครื่อง รวมถึงแอปส่วนใหญ่จะใช้บริการจากกูเกิล เซอร์วิสเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ (พร้อมอัปโหลดขึ้นกูเกิลไดรฟ์เก็บรูปได้ทันที) ปฏิทินที่ซิงค์กับเมล จะมีเพิ่มมาก็คือคีย์บอร์ด TouchPal และ Viveport ในการใช้งานคู่กับแว่นวีอาร์

ในส่วนของหน้าจอตั้งค่า ก็จะเน้นความเรียบง่าย แบ่งการตั้งค่าเป็นการเชื่อมต่อ การใช้งานตัวเครื่องต่างๆ และการตั้งค่าโทรศัพท์ ที่น่าสนใจคือระบบอย่าง HTC Boomsound ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาให้สามารถตรวจจับได้เองว่าคอนเทนต์ที่เล่นอยู่เป็นเพลง หรือภาพยนตร์ ก็จะให้ผลที่ต่างกัน

ตัว RAM ที่ให้มา 4 GB เมื่อเปิดใช้งานไปสักพักจะเหลือให้ใช้งานราว 1.7 GB ถือว่าค่อนข้างเพียงพอ ส่วน ROM 64 GB เมื่อลงแอปทดสอบต่างๆแล้วจะเหลือพื้นที่ให้ใช้งานราว 50 GB นอกจากนี้ ยังมีในเรื่องการตั้งค่าเสียงหูฟัง U Sonic ที่จะปรับเสียงให้เหมาะกับหูของแต่ละคนมาให้ใช้งานด้วย

พวกการใช้งานท่าทางสั่งงานตัวเครื่อง อย่างการแตะหน้าจอ 2 ครั้งเพื่อเปิด กวาดนิ้วขึ้นเพื่อปลดล็อก กวาดทางซ้ายเพื่อเข้าหน้าจอหลัก และกวาดทางขวาเพื่อเรียกใช้งาน BlinkFeed ที่มีมาตั้งแต่สมัย HTC One ก็ยังมีมาให้ใช้งานต่อเนื่อง รวมถึงการตั้งอุณหภูมิสีของหน้าจอ

ตัวอย่างภาพจากกล้อง

ทดสอบประสิทธิภาพ

Antutu Benchmark = 127,041 คะแนน
Quadrant Standard = 38,181
Multi-touch Test = 10 จุด

PC Mark
Work 2.0 = 5,207 คะแนน
Computer Vision = 2,846 คะแนน
Work = 6,707 คะแนน

3D Mark
Sling Shot Extreme Unlimited = 2,077 คะแนน
Sling Shot Unlimited = 2,700 คะแนน
Sling Shot Extreme = 1,951 คะแนน
Sling Shot = 2,483 คะแนน
Ice Storm Extreme = 13,025 คะแนน
Ice Storm Unlimited = 28,907 คะแนน
Ice Storm = 13,627 คะแนน

PassMark PerformanceTest
System = 7,239 คะแนน
CPU Tests = 31,975 คะแนน
Memory Tests = 3,953 คะแนน
Disk Tests = 44,288 คะแนน
2D Graphics Tests = 4,907 คะแนน
3D Graphics Tests = 2,792 คะแนน

Geekbench 4
Single-Core = 1,700 คะแนน
Multi-Core = 3,817 คะแนน
Compute = 7,168 คะแนน

ที่น่าสนใจคือแม้ว่าตัวเครื่องจะให้แบตเตอรีมา 3,000 mAh กับจอ 2K ขนาด 5.7 นิ้ว แต่กลับสามารถใช้งานได้ต่อเนื่อง 6 ชั่วโมง 15 นาที ซึ่งถือว่าทำได้อยู่ในระดับมาตรฐาน ถ้าการใช้งานในแต่ละวันไม่ได้หนักมากก็อยู่ถึงวันสบายๆ

การใช้งานทั่วไปพวกเล่นโซเชียล ใช้งานเว็บเบราว์เซอร์ต่างๆ ถือว่าทำได้ดี จากการแสดงผลที่ใหญ่ถึง 5.7 นิ้ว ไม่นับรวมเรื่องของเสียงที่เอชทีซีโด่งดังมาจาก Boom Sound ที่หันลำโพงเข้าหาผู้ใช้ และยังมากับชิปเสียงแบบ HiRes ด้วย

สรุป

HTC U Ultra ถือเป็นการกลับมาที่น่าสนใจในตลาดประเทศไทย เพราะเชื่อว่ายังมีกลุ่มผู้ใช้งานเอชทีซี ที่เชื่อมั่นในแบรนด์อยู่ เพียงแต่ว่าทางเอชทีซีคงต้องพิสูจน์ความน่าเชื่อถือทั้งบริการหลังการขาย และช่องทางจำหน่ายให้ครอบคลุมได้มากขึ้นเสียก่อน

ส่วนในแง่ของตัวเครื่อง U Ultra ผู้บริโภคอาจจะมองว่ากับราคา 22,490 บาท ถือว่าค่อนข้างสูง แต่ถ้ามองจริงๆแล้วกับเครื่องขนาดจอ 5.7 นิ้ว กับซีพียู Snapdragon 821 ที่เป็นหน่วยประมวลผลรุ่นท็อปในปีที่ผ่านมา ก็ถือว่าอยู่ในระดับที่พอรับได้ ประกอบกับการที่ต้องการจับตลาดพรีเมียมเป็นหลัก แต่ถ้ามีการทำโปรโมชันร่วมกับโอเปอเรเตอร์จะน่าสนใจกว่านี้

ขณะที่ในแง่การใช้งานรวมๆ แล้ว U Ultra ถือว่าเป็นสมาร์ทโฟนที่ค่อนข้างครบรอบด้านทั้งประสิทธิภาพ กล้อง (โฟกัสถ่ายเร็วมาก) รองรับ 4G LTE 3CA / VoWiFi / VoLTE เซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือเร็ว เรียกได้ว่าอะไรที่เครื่องไฮเอนด์ควรจะมีก็มีมาให้ครบ แถมเพิ่มด้วยจอเล็กๆมาให้ใช้สั่งงาน ดูการแจ้งเตือนเพิ่มเติม

ข้อดี
หน้าจอขนาดใหญ่ 5.7 นิ้ว และจอรองนำเสนอการใช้งานในอีกรูปแบบหนึ่ง
กล้องหลักความละเอียด 12 ล้านพิกเซล พร้อม PDAF + Laser Focus
กล้องหน้า 16 ล้านพิกเซล มีโหมด UltraPixel ให้ถ่ายเวลากลางคืน (แต่จะไม่เหมาะกับสายบิวตี้เพราะกล้องค่อนข้างเรียล)
เซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือ ที่ใช้งานได้โดยไม่ต้องเปิดหน้าจอขึ้นมา

ข้อสังเกต
ฝาหลังกระจกที่ให้รอยนิ้วมือมาเต็ม
ความสามารถของจอรอง ยังต้องมีการพัฒนาเพิ่มเติม
แบตเตอรี 3,000 mAh อาจจะไม่พอกับผู้ที่ใช้งานเครื่องหนักๆ แม้จะมีระบบบริหารจัดการแบตที่ดีมาให้ก็ตาม
ไม่มีพอร์ตหูฟัง 3.5มม. และไม่มีตัวแปลงให้ด้วย

Gallery

]]>
Review : Sony Xperia XZs จุดเด่นที่ Motion Eye ถ่ายวิดีโอ Slow-Motion 960 fps https://cyberbiz.mgronline.com/review-sony-xperia-xzs/ Tue, 16 May 2017 22:16:05 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=26171

แม้ว่ามองไปในไลน์สินค้าของโซนี่แล้ว Xperia XZs อาจจะไม่ใช่รุ่นไฮเอนด์ที่สุดในช่วงนี้ เพราะมีคิวของ Xperia XZ Premium ที่รอจ่อคิวผลิต และนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยอยู่จากหน่วยประมวลผลที่สูงขึ้น แต่ Xperia XZs ก็ถือเป็นรุ่นระดับเรือธงที่พลาดไม่ได้ในช่วงนี้

ที่น่าสนใจอีกอย่างคือการที่จะบอกว่า Xperiz XZs เป็นสมาร์ทโฟนที่ถูกผลิตขึ้นในไทย หลังจากที่โซนี่มีการขยับขยายโรงงานการผลิตสินค้าให้ครอบคลุมมากขึ้น จากเดิมที่เน้นผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และกล้อง จนมาเป็นสมาร์ทโฟน แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของไทยเป็นอย่างดี

ในส่วนของจุดขายหลักของ Xperiz XZs นอกจากในเรื่องของดีไซน์ และขนาดที่จับถนัดมือ ก็จะเป็นในส่วนของความสามารถกล้องที่หลายๆแบรนด์ต่างนำเซ็นเซอร์กล้องของโซนี่ไปใช้งาน ดังนั้นใน XZs จึงได้เลือกใช้เซ็นเซอร์ที่ดีที่สุดของโซนี่ในเวลานี้ ที่มีจุดขายอย่างการถ่ายวิดีโอสโลว์โมชัน 960 เฟรมต่อวินาที

ขณะที่ในส่วนอื่นๆ ก็นำเทคโนโลยีของโซนี่มาใช้ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงผล (นำเทคโนโลยี Triluminos มาใช้) เรื่องของคุณภาพเสียง (Sony Hi-res) ทำให้เชื่อมือได้ว่าเสียงของไฟล์มัลติมีเดียคุณภาพสูงที่ออกจาก XZs ไม่แพ้การใช้งาน DAC (ตัวแปลงสัญญาณเสียง) ดีๆสักเครื่อง

การออกแบบ

โซนี่ยังคงยึดแนวทางในการออกแบบภายใต้คอนเซปต์แบบ Omni Design ที่เน้นตัวเครื่องเป็นสี่เหลี่ยม ทรงแท่ง ที่มีการลบขอบมุมออกให้ดูสวยงามขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็ถือเป็นจุดขายในตระกูล Xperia Z เสมอมา โดยมีขนาดที่ 146 x 72 x 8.1 มม. น้ำหนัก 161 กรัม มีให้เลือก 3 สี คือดำ ฟ้า และเงิน

ด้านหน้าหลักๆแล้วจะเป็นจอ Triluminos ขนาด 5.2 นิ้ว ความละเอียด Full HD (1920 x 1080 พิกเซล) ที่จะมีการเว้นขอบบนและล่าง เพื่อใส่ลำโพงสเตอริโอเข้ามาให้ใช้งานกัน (กรณีใช้งานแนวนอน) พร้อมกับกล้องหน้าความละเอียด 13 ล้านพิกเซล ที่แปลกคือมีการย้ายแถบ NFC มาอยู่บริเวณมุมซ้ายบนทางด้านหน้าแทน ส่วนปุ่มกด และปุ่มสัมผัสต่างๆ ถูกนำไปรวมไว้บนหน้าจอทั้งหมด

ด้านหลังด้วยการออกแบบที่เน้นความเรียบหรู ฝาหลังของ XZs ที่เป็นแบบดำเงา จึงเต็มไปด้วยรอยนิ้วมือเวลาจับใช้งาน โดยจะมีสัญลักษณ์ Sony สีเงินอยู่ตรงกึ่งกลาง และจุดเด่นของเครื่องอย่างกล้องความละเอียด 19 ล้านพิกเซล f/2.0 พร้อมไฟแฟลชแบบ Dual LED ภายในมีแบตเตอรีขนาด 2,900 mAh อยู่ไม่สามารถถอดเปลี่ยนได้

ด้านซ้ายจะมีช่องใส่ถาดซิม ที่ไม่จำเป็นต้องใช้เข็มจิ้ม สามารถใช้นิ้วดึงถาดออกมาได้ทันที ภายในจะเป็นถาดสำหรับใส่นาโนซิมการ์ด 2 ซิม (รองรับ 3G/4G) หรือเลือกใส่นาโนซิมการ์ด พร้อมกับไมโครเอสดีการ์ดสูงสุด 256 GB

ด้านขวายังคงมีเอกลักษณ์ของโซนี่ที่นำปุ่มกดเปิดปิดเครื่อง สีเงิน มาไว้ทางขวา พร้อมกับการเพิ่มเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือเข้าไป ทำให้เวลากดเปิดใช้งานจะเป็นการสแกนลายนิ้วมือไปในทันที ถัดลงมาเป็นปุ่มปรับระดับเสียง และปุ่มชัตเตอร์กล้อง (สามารถกดเพื่อเรียกใช้งานโหมดถ่ายภาพได้ทันที)

ด้านบนจะเป็นที่อยู่ของช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม. ซึ่งถือว่าเซอร์ไพรส์พอสมควรที่โซนี่ยังเลือกใช้พอร์ต 3.5 มม. ในขณะที่หลายๆแบรนด์เริ่มตัดพอร์ตดังกล่าวออกไป ด้านล่างโซนี่จะเลือกใช้พอร์ต USB-C มาใช้งานแทนที่ไมโครยูเอสบีแล้ว ทำให้รองรับการใช้งานต่างๆได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเสียบชาร์จ การเชื่อมต่อแบบ OTG และการต่อกับจอภาพให้สะดวกขึ้น

สำหรับอุปกรณ์ที่แถมมาให้ในกล่อง จะประกอบไปด้วยตัวเครื่อง Sony Xperia XZs อะเดปเตอร์ สาย USB-A to USB-C หูฟังแบบ In-Ear คู่มือการใช้งาน และใบรับประกัน ทั้งนี้ถ้าใครที่แกะกล่องแล้วหาสาย USB-C ไม่เจอ ให้ลองเปิดกล่องที่ซ้อนอยู่ภายในดีๆ จะเจอสายถูกม้วนเก็บอยู่

สเปก

ในส่วนของสเปกภายในของ Xperia XZs จะมากับหน่วยประมวลผล Qualcomm Snapdragon 820 ที่เป็น Quad-Core (Dual 2.15 GHz x Dual 1.5 GHz) RAM 4 GB พื้นที่เก็บข้อมูลภายในตัวเครื่อง 64 GB รองรับไมโครเอสดีการ์ดเพิ่มเติม 256 GB ทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 7.1

ด้านการเชื่อมต่อรองรับ 3G/4G ซิมที่ 2 สแตนบาย 3G ได้ โดยตัว 4G LTE ที่รองรับจะเป็น LTE CAT 11 ที่รองรับความเร็วในการดาวน์โหลดสูงสุด 600 Mbps จาก 3CA ส่วน Wi-Fi รองรับมาตรฐาน 802.11ac แบบ Dual-Band 2.4/5GHz พร้อม GPS/aGPS/Glonass บลูทูธ 4.2 และ NFC

ส่วนสเปกของกล้องจะใช้เซ็นเซอร์ภาพ Exmor RS ขนาด 1/ 2.3” ความละเอียดพิกเซล 1.22μm มีระบบคาดโฟกัสที่คาดเดาการณ์เคลื่อนไหว พร้อมระบบประมวลผลภาพ BIONZ รองรับ ISO สูงสุดที่ 12800 สำหรับภาพนิ่ง และ ISO 4000 สำหรับวิดีโอ ตัวเลนส์จะเป็น Sony G Lens 25 มม. กันสั่น 5 ทิศทาง

ฟีเจอร์เด่น

โซนี่ ถือเป็นอีกแบรนด์ที่มีการนำอินเตอร์เฟสมาครอบการทำงานของแอนดรอยด์ เพื่อสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัว และสร้างความคุ้นเคยให้กับเหล่าสาวกของอารยธรรมโซนี่ ที่เน้นในแง่ของคุณภาพการใช้งานของสินค้าเสมอมา

โดยจะยังคงรูปแบบของการมีหน้าหลักให้ผู้ใช้สามารถเลือกนำวิตเจ็ตต่างๆมาใส่ได้เหมือนเดิม ส่วนของแถบการแจ้งเตือนถูกทำให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น ด้วยไอค่อนลัดในการตั้งค่าที่สามารถลากมาใส่เพิ่มได้จนกลายเป็น 2 หน้า สำหรับการปิดการตั้งค่าต่างๆ

โซนี่ ยังมีการแยกหน้ารวมแอปฯออกมาให้เลือกใช้งานกัน โดยแอปที่บันเดิลมาให้ส่วนใหญ่จะเป็นกูเกิล เซอร์วิสต่างๆ พร้อมแอปการใช้งานทั่วๆไป ที่เพิ่มมาคือแอปจากค่ายโซนี่ ที่ไว้อำนวยความสะดวกลูกค้า อย่าง What’s News ไว้แนะนำข้อมูล และแอปที่น่าสนใจ โปรแกรมตัดต่อวิดีโอ และโปรแกรมวาดรูป

การใช้งานโทรศัพท์ เนื่องจากตัวเครื่องรองรับ 2 ซิมอยู่แล้ว ผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าจะตั้งเลขหมายใดในการโทร เลขหมายใดใช้ต่ออินเทอร์เน็ต อินเตอร์เฟสการใช้งานโทรศัพท์จะเน้นตัวเลขใหญ่กดง่าย การแสดงผลชื่อ เลขหมายชัดเจน มีไอค่อนให้เลือกเปิดลำโพง ปิดไมค์ พักสาย เพิ่มสายปกติ ส่วนกรณีสายเข้า จะใช้การลากเพื่อรับสาย ตัดสายเช่นเดิม

ส่วนของการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านเว็บเบราว์เซอร์ทำได้ตามมาตรฐาน เช่นเดียวกับการใช้งานโซเขียลมีเดียต่างๆ ที่รองรับครบถ้วน จากการที่ตัวเครื่องอยู่ในระดับไฮเอนด์อยู่แล้ว จึงไม่น่ากังวลในส่วนนี้เท่าใด

รวมถึงการมี PS4 Remote Play ติดตั้งมาให้ สำหรับผู้ที่มีเครื่องเกมคอนโซล PS4 ก็สามารถใช้เครื่อง XZs เป็นจอที่ 2 เชื่อมต่อกับจอยเกมผ่านบลูทูธ นำไปเล่นส่วนใดของบ้าน (เครือข่ายไวไฟเดียวกัน) ก็ได้ ถือว่าช่วยอำนวยความสะดวกไปอีกแบบ

อีกจุดขายที่หลังๆ โซนี่ ไม่ค่อยได้โฆษณาออกมาแล้วก็คือเรื่องของการกันน้ำ กันฝุ่นบนมาตรฐาน IP68 ที่สามารถกันน้ำลึก 1.5 เมตร ได้ไม่เกิน 30 นาที ซึ่งแน่นอนว่า ถ้าเป็นการใช้งานทั่วไป โดนละอองน้ำ ก็ไม่ต้องกังวลในการใช้งาน

นอกจากนี้ ยังมีการนำระบบ Machine Learning มาใช้งาน กับ Xperia Actions ที่จะเป็นระบบแบ่งช่วงเวลาในการใช้งานเครื่องอย่างตอนนอน ตอนทำงาน หรือเวลาเดินทางไปต่างประเทศ เพื่อให้ตัวเครื่องทำการตั้งค่าต่างๆแบบอัตโนมัติ

อย่างตอนนอนสามารถตั้งเวลาไว้ได้ว่าระหว่างช่วงกี่โมงถึงกี่โมง ให้ตัวเครื่องตั้งค่าอย่างไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นเปิดโหมดเครื่องบิน ตั้งโหมดห้ามรบกวน ปิดไฟแจ้งเตือน ปรับความสว่างหน้าจอต่ำสุด เปิดโหมดสั่น เปิดไวไฟ เปิดโหมดประหยัดพลังงานเป็นต้น

ส่วนของการจัดการข้อมูลต่างๆในตัวเครื่องจะมีโหมด Smart Cleaner ที่จะคอยล้างไฟล์ที่ไม่จำเป็นออกจากเครื่อง เพื่อทำให้เครื่องทำงานได้บนประสิทธิภาพสูงสุด เช่นเดียวกับแบตเตอรี จะมีโหมด Battery Care ที่เมื่อชาร์จไฟถึง 90% แล้วตัวเครื่องถูกเสียบชาร์จต่อค้างไว้ก็จะมีการคำนวนและปรับความเร็วในการชาร์จ

ขณะเดียวกัน Xperia XZs ยังมาพร้อมกับโหมดประหยัดพลังงานไม่ว่าจะเป็น STAMINA Mode ที่ช่วยยืดระยะเวลาการใช้งาน ด้วยการควบคุมการประมวลผลให้ทำงาน โดยใช้พลังงานน้อยลง และ Ultra STAMINA Mode ที่จะตัดการเชื่อมต่อ และปิดการทำงานแอปเบื้องหลัง เพื่อยืดเวลาการใช้แบตเตอรีออกไปอีก

อย่างที่กล่าวไปเบื้องต้นว่า ปกติโซนี่ จะเน้นการนำเทคโนโลยีทางด้านภาพ และเสียงในเครือมาใช้ ดังนั้นใน Xperia XZs จึงมีการนำเทคโนโลยีในการแสดงผลอย่าง รวมถึงจอภาพแบบ Triluminos และเทคโนโลยี X-Reality for mobile มาช่วย

ในส่วนของระบบเสียง Hi-Res ที่เครื่องรองรับ ก็ถอดแบบมาจากเครื่องเล่นเพลง โดยผู้ใช้สามารถเลือกโหมดการใช้งานได้ 2 รูปแบบ DSEE HX ที่จะใช้ซอฟต์แวร์อัปเกรดคุณภาพไฟล์ให้ดีขึ้น (ใช้ได้กับหูฟังมีสาย) และ Clear Audio+ ที่จะปรับค่าเสียงอัตโนมัติ หรือจะเลือกปรับตั้งเองก็ได้

สุดท้ายในส่วนของกล้อง Motion Eye ที่ใช้เทคโนโลยีล่าสุดของโซนี่ นอกจากในแง่คุณภาพของภาพนิ่งที่สามารถเก็บภาพในที่แสงน้อยได้ดีขึ้นแล้ว ยังมีอีกจุดคือเรื่องของการถ่ายวิดีโอต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระดับ 4K หรือ Full HD และที่สำคัญคือมาพร้อมกับระบบกันสั่น ทำให้สามารถถือเครื่องถ่ายวิดีโอได้นิ่ง จนเหมือนกับใช้ Gimble ช่วย

ประกอบกับการชูจุดเด่นในเรื่องของการถ่ายวิดีโอแบบ Slow Motion ที่จะมี 2 ระดับคือ การถ่าย Slow-Motion แบบปกติที่ และยังมีโหมด Super Slow Motion ที่จะใช้การถ่ายวิดีโอซ้อนด้วย Super Slow เข้าไปบางช่วงที่ 960 เฟรมต่อวินาที จนกลายเป็นสมาร์ทโฟนที่ถ่าย Slow-Motion ได้สูงที่สุดในเวลานี้

ทั้งนี้ ในการถ่ายวิดีโอแบบ Slow-Motion เมื่อถูกนำมาถ่ายภายในอาคาร หรือภายใต้แสงจากหลอดไฟ จะไม่ดีเท่าที่ควร เพราะกล้องจับภาพได้เร็วกว่าไฟในห้อง ภาพที่ออกมาจึงกลายเป็นเส้นๆ ดังนั้น การถ่าย Slow-Motion ควรถ่ายในภาวะแสงธรรมชาติเป็นหลัก

เบื้องต้น โซนี่ ใช้การโปรโมทวิดีโอ Slow-Motion จากช่างภาพอย่างทวีพงษ์ ประทุมวงษ์ ที่ได้นำ Xperia XZs ไปใช้ถ่ายภาพลูกสาวเล่นน้ำ สามารถรับชมได้จากวิดีโอด้านล่างนี้ ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงช่วงเวลา Super Slow-Motion จนหยุดหยดน้ำ หรือใบไม้ที่กระเด็นขึ้นมาได้

ส่วนการทดสอบกล้องถ่ายภาพ Motion Eye อย่างละเอียดจะมีการนำเสนอต่อไปในภายหลัง

ทดสอบประสิทธิภาพ

Antutu Benchmark = 111,901 คะแนน
Quadrant Standard = 27,371
Multi-touch Test = 10 จุด

PC Mark
Work 2.0 = 5,006 คะแนน
Computer Vision = 2,632 คะแนน
Storage Score = 2,713 คะแนน
Work = 6,790 คะแนน

3D Mark
Sling Shot Extreme Unlimited = 1,892 คะแนน
Sling Shot Unlimited = 2,461 คะแนน
Sling Shot Extreme = 2,051 คะแนน
Sling Shot = 2,371 คะแนน
Ice Storm Extreme = 12,341 คะแนน
Ice Storm Unlimited = 19,573 คะแนน
Ice Storm = 13,170 คะแนน

PassMark PerformanceTest
System = 5,649 คะแนน
CPU Tests = 22,549 คะแนน
Memory Tests = 3,784 คะแนน
Disk Tests = 51,989 คะแนน
2D Graphics Tests = 3,334 คะแนน
3D Graphics Tests = 2,090 คะแนน

Geekbench 4
Single-Core = 1,733 คะแนน
Multi-Core = 3,608 คะแนน
Compute = 5,958 คะแนน

ในส่วนของการเล่นเกม หรือใช้งานที่รีดประสิทธิภาพเครื่องหนักๆ อย่างการใช้ PS4 Remote Play ตัวเครื่องรองรับได้ลื่นไหลดี ไม่มีอาการกระตุกให้เห็น เพียงแต่ว่าแบตเตอรีก็จะหมดเร็วขึ้น ตามประเภทของการใช้งานเช่นเดียวกัน แต่ถ้าใช้งานทั่วๆไปถือว่าเป็นรุ่นที่แบตอึดพอสมควร

สรุป

Sony Xperia XZs ถือเป็นรุ่นที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่กำลังมองหาสมาร์ทโฟนที่กล้องถ่ายภาพสวยๆ ชอบถ่ายวิดีโอ เพราะให้มาทั้งระบบกันสั่น ถ่าย 4K ได้ แถมด้วย Super Slow Motion 960 fps เรียกได้ว่าครบเครื่องสำหรับการนำเทคโนโลยี Motion Eye มาใช้

ประกอบกับการที่ตัวเครื่องถูกออกแบบมากับหน้าจอขนาด 5.2 นิ้ว ทำให้ตัวเครื่องจับถือค่อนข้างง่าย จึงน่าจะเหมาะกับผู้ที่ไม่ต้องการสมาร์ทโฟนไฮเอนด์ที่หน้าจอใหญ่เกินไป ความสามารถโดยรวมครบถ้วน

อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่ได้กังวลในเรื่องของราคาว่า 21,990 บาท แพงเกินไป ก็จะแนะนำให้รอ Xperia XZ Premium ที่กำลังจ่อเข้าไทยดีกว่า เพราะ XZs จะใช้หน่วยประมวลผลที่เป็นแฟลกชิปของปีที่แล้ว มาอัปเกรดกล้องให้ดีขึ้นในรุ่นนี้ แต่ถ้าเป็น XZ Premium นอกจากได้กล้องรุ่นล่าสุดแล้ว ซีพียูก็จะเป็นรุ่นล่าสุดด้วยกับ Snadragon 835 ซึ่งแน่นอนว่าราคาจำหน่ายก็จะสูงขึ้นไปอีก

ข้อดี

การออกแบบเป็นเอกลักษณ์ของโซนี่
เทคโนโลยีกล้อง Motion Eye กับการถ่ายวิดีโอสโลว์โมชัน 960 fps
ขนาดตัวเครื่องจับถนัดมือ เซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือที่ปุ่มเปิดเครื่อง
ใส่เทคโนโลยีด้านภาพ และเสียงของโซนี่มาครบ

ข้อสังเกต

ซีพียูที่ใช้เป็นรุ่นไฮเอนด์ของปีที่แล้ว
ฝาหลังสีดำเป็นรอยนิ้วมือง่ายมาก
ราคาค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับสเปก (ยกเว้นกล้อง)

Gallery

]]>