PC Hardware – CBIZ Reviews – MGR Online https://cyberbiz.mgronline.com เว็บไซต์รีวิวอุปกรณ์ ไอที ไฮเทค เป็นส่วนหนึ่งของผู้จัดการออนไลน์ Tue, 02 Jan 2018 09:25:12 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.0 Review : WD Blue 3D NAND / SanDisk Ultra 3D โซลิดสเตตไดรฟ์เริ่มต้นที่ 4,290 บาท https://cyberbiz.mgronline.com/review-wd-blue-3d-nand-sandisk-ultra-3d/ Tue, 02 Jan 2018 09:25:12 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=27951

ตลาดอุปกรณ์บันทึกข้อมูลอย่าง SSD ที่ถูกนำมาใช้งานบนพีซี และโน้ตบุ๊ก เริ่มกลายเป็นตลาดหลักของผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ไปแล้ว ทำให้ผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์รายใหญ่อย่าง WD ก็เริ่มออกไลน์สินค้าที่หลากหลายเข้ามาเจาะตลาดนี้เช่นเดียวกัน

แน่นอนว่า หลายคนอาจสงสัยว่าทำไม WD 3D Blue และ SanDisk Ultra 3D ถึงมาอยู่ด้วยกันได้ ก็ต้องย้อนกลับไปดูข้อมูลก่อนหน้านี้คือทาง WD หรือ Western Digital ได้เข้าซื้อกิจการของทาง SanDisk ไปก่อนหน้านี้ แต่ไม่ได้มีความตั้งใจว่าจะยุบแบรนด์มารวมกัน ทำให้มีการออกสินค้าต่อเนื่องในซื้อของทั้ง 2 แบรนด์ต่อไป

การออกแบบ

เริ่มจากการออกแบบ ภายนอกของ SanDisk Ultra 3D และ WD Blue 3D NAND SATA SSD จะเหมือนกับ SSD 2.5 นิ้วทั่วไป น้ำหนักในรุ่น 250 GB 500 GB และ 1 TB จะอยู่ที่ราวๆ 38 กรัม ส่วนรุ่น 2 TB จะอยู่ที่ 60 กรัม โดยขนาดตัวเคสจะอยู่ที่ 7 x 69.85 x 100.2 มิลลิเมตร

ส่วนสเปกภายในทาง WD ระบุไว้ในเอกสารสเปกว่า WD 3D Blue จะมีความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลสูงสุดที่ 560 MB/s พร้อมค่าความทนทานอยู่ที่ 400 Terabytes Written (TBW) หรือประมาณ 1.75 ล้านชั่วโมง ตามสเปกของ SSD ยุคใหม่ที่มีความทนทานมากขึ้น

ทดสอบประสิทธิภาพ

เริ่มจากการทดสอบเชื่อมต่อกับพีซี (Windows 10) จากภาพจะเห็นว่าการทดสอบ CrystalDiskMark 5.2.2 สำหรับ WD Blue 3D 1 TB สามารถทำคะแนนอ่านได้สูงถึง 562.9 MB/s ส่วนการเขียนข้อมูลอยู่ที่ 531.8 MB/s

ส่วนของ Sandisk Ultra 3D สามารถทำคะแนนอ่านได้ 563.4 MB/s ส่วนการเขียนข้อมูลอยู่ที่ 533.5 MB/s

ด้านการทดสอบคัดลอกไฟล์ ลองคัดลอกไฟล์เกมจากสตรีมขนาด 50.6 GB ระหว่าง WD Blue 3D 1 TB และ Sandisk Ultra 3D ความเร็วในการคัดลอกไฟล์อยู่ที่ 231MB/s เพียงแต่จะเห็นจากกราฟว่าค่อนข้างแกว่งขึ้นลงพอสมควร แต่ระดับความเร็วถือว่าน่าพอใจ

สำหรับราคา WD Blue 3D NAND SATA SSD เและ SanDisk Ultra 3D SSDs เริ่มต้นที่ 4,290 บาท สำหรับ 250 GB ส่วนรุ่น 500 GB = 7,590 บาท 1 TB = 13,900 บาท และ 2 TB = 26,900 บาท

สรุป

รวมๆแล้วใครที่มีงบ และกำลังมองหาฮาร์ดดิสก์แบบ SSD ประสิทธิภาพสูง ที่นำมาช่วยให้การใช้งานพีซี หรือโน้ตบุ๊กรวดเร็วขึ้น ทั้ง WD Blue 3D และ SanDisk Ultra 3D ถือเป็นรุ่นที่น่าสนใจและมีระดับราคาให้เลือกหลากหลายตามความจุที่ต้องการ

Gallery

]]>
ชมคลิปรีวิวกราฟิกการ์ด ASUS Strix GeForce GTX1060 DC2O6G ตัวเล็กสเปกแรง https://cyberbiz.mgronline.com/review-asus-strix-dc2o6g/ Wed, 29 Mar 2017 06:57:35 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=25650

หลังจาก ASUS (เอซุส) เปิดตัวกราฟิกการ์ด NVIDIA 10-Series ในรุ่นบนสุดอย่าง ROG (Republic of Gamers) Strix ไปหลากหลายรุ่น ก็ถึงคิวของน้องนกฮูกตัวเล็ก Strix ที่ชูจุดเด่นในเรื่องฮีทซิงค์ระบายความร้อนแบบ DirectCU II (ท่อทองแดงสัมผัสกับชิปกราฟิกโดยตรงทำให้การถ่ายเทความร้อนทำได้ดีกว่าปกติ) รวมถึงตัวการ์ดขนาดเล็กแต่สเปกไม่ธรรมดาด้วยการถูกโอเวอร์คล็อกประสิทธิภาพเพิ่มจากโรงงาน รวมถึงพัดลมระบายความร้อนออกแบบใหม่ที่ให้เสียงเงียบกว่าเดิม 3 เท่าและเย็นกว่าเดิม 30%

โดยในส่วนประสิทธิภาพจะเป็นอย่างไร วันนี้ทีมงานไซเบอร์บิซขอนำเสนอในรูปแบบวิดีโอรีวิวแบบจัดเต็มกว่าครึ่งชั่วโมง ดูในรู้กันไปเลยว่า ASUS Strix GeForce GTX1060 DC2O6G ตัวนี้แรงหรือไม่อย่างไร

เพิ่มเติมจากคลิปวิดีโอ

สเปกเครื่องที่ใช้ทดสอบ

CPU – Intel Core i7 2600K 4.0GHz
Mainboard – ASUS Sabertooth P67
RAM – 8GB DDR3 1600MHz
VGA – ASUS Strix GeForce GTX1060 DC2O6G
HDD – Samsung SSD EVO850 512TB

คะแนนทดสอบ 3DMark – Time Spy (DirectX 12)
Gaming Mode – Boost 1,785MHz = 4,068 คะแนน
OC Mode – Boost 1,811MHz = 4,113 คะแนน

*ปรับแต่งค่าโอเวอร์คล็อกผ่าน GPU Tweak II

คะแนนทดสอบ 3DMark – Fire Strike (DirectX 11)
Gaming Mode – Boost 1,785MHz = 10,708 คะแนน
OC Mode – Boost 1,811MHz = 10,817 คะแนน

*ปรับแต่งค่าโอเวอร์คล็อกผ่าน GPU Tweak II

Gallery

]]>
Review : WD Blue PC SSD 1TB โซลิดสเตตไดรฟ์เพื่อทุกการใช้งาน https://cyberbiz.mgronline.com/review-wdblue-pcssd-1tb/ Tue, 14 Mar 2017 04:29:35 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=25605

เป็นปีที่หน่วยเก็บข้อมูลประเภท “โซลิดสเตตไดรฟ์ (Solid State Drive)” หรือ “SSD” เติบโตสูงขึ้นมาก ทำให้ค่ายผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์เจ้าใหญ่อย่าง WD (Western Digital) ต้องหันมาเสริมทัพตลาดหน่วยเก็บข้อมูลแบบ SSD เป็นครั้งแรก แต่ถึงแม้จะเพิ่งลงมาตลาดโซลิดสเตตไดรฟ์ได้ไม่นาน แต่ WD ก็มีไม้ตายดัน SSD ให้สามารถจับกลุ่มผู้ใช้ทุกรูปแบบตั้งแต่คนทำงานไปถึงเกมเมอร์ พร้อมความจุให้เลือกหลากหลายรวมถึงราคาเทียบประสิทธิภาพแล้วถือว่าน่าสนใจทีเดียว

โดย WD PC SSD จะถูกแบ่งหมวดหมู่เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่

1.WD Green PC SSD เน้นจับกลุ่มผู้ใช้ระดับเริ่มต้น คนทำงานทั่วไป มาพร้อมความจุให้เลือก 120-240GB มี Form Factor ให้เลือกทั้งขนาด 2.5 นิ้วปกติและ M.2 2280 (SSD แบบเป็นการ์ดเพื่อเชื่อมต่อกับเมนบอร์ดหรือโน้ตบุ๊กรุ่นใหม่) พอร์ตเชื่อมต่อเป็น SATA

2.WD Blue PC SSD เป็นรุ่นกลาง เด่นที่ความจุมีให้เลือกหลากหลาย อีกทั้งยังรองรับการทำงานตั้งแต่งานทั่วไป ตัดต่อวิดีโอไปถึงเล่นเกม มีความจุให้เลือกตั้งแต่ 250GB 500GB และ 1TB พร้อม Form Factor ให้เลือกทั้งขนาด 2.5 นิ้วปกติและ M.2 2280 พอร์ตเชื่อมต่อเป็น SATA

3.WD Black PCIE SSD เน้นจับกลุ่มไฮเอนด์ที่ต้องการ SSD ประสิทธิภาพสูงสุด เพราะฉะนั้นจะมี Form Factor ให้เลือกแบบเดียวคือ เป็นการ์ด M.2 2280 เพราะต้องรองรับความเร็วในการอ่านข้อมูลสูงถึง 2,050 MB/s

สำหรับรุ่นที่ทีมงานไซเบอร์บิซได้รับมารีวิวในวันนี้ได้แก่รุ่น WD Blue PC SSD ความจุ 1TB

การออกแบบ สเปกและฟีเจอร์เด่น

เริ่มจากการออกแบบ ภายนอกของ WD Blue PC SSD จะเหมือนกับ SSD 2.5 นิ้วทั่วไป น้ำหนักประมาณ 60 กรัม ส่วนสเปกภายในทาง WD ระบุไว้ในเอกสารสเปกว่า WD Blue จะมีความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลสูงสุดที่ 545 MB/s เมื่อเชื่อมต่อผ่านพอร์ต SATA 3 6Gb/s พร้อมค่าความทนทานอยู่ที่ 400 Terabytes Written (TBW) หรือประมาณ 1.75 ล้านชั่วโมง ตามสเปกของ SSD ยุคใหม่ที่มีความทนทานมากขึ้น

ในส่วนซอฟต์แวร์ตรวจวัดการทำงาน WD มี “WD SSD Dashboard” ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถตรวจสุขภาพของ SSD ได้ตลอดเวลา

ทดสอบประสิทธิภาพและสรุป

เริ่มจาก CrystalDiskMark ทีมงานวัดเฉพาะ Seq Q32T1 ความเร็วในการอ่านอยู่ที่ 557.9MB/s เขียน 516.3MB/s เป็นไปตามที่ WD เครมไว้ในเอกสารสเปก

มาถึง PC Mark 8 ความเร็วที่ได้เฉลี่ยอยู่ที่ 217.62 MB/s คิดเป็นคะแนนอยู่ที่ 4,933 คะแนน

ส่วนการใช้งานจริง เริ่มตั้งแต่ทดลองคัดลอกเกมจากสตรีม (Steam) ขนาด 50.6GB จาก SSD ที่มีความเร็วอ่านเขียนระดับ 2,000MB/s ไปสู่ WD Blue PC SSD 1TB ความเร็วที่ได้เฉลี่ยประมาณ 316-400MB/s เรียกได้ว่าเร็วใช้ได้เลยทีเดียว (เชื่อมต่อผ่านพอร์ต SATA 3 6Gb/s ถ้าเชื่อมต่อกับ SATA รุ่นที่ต่ำกว่าความเร็วอ่านเขียนจะช้าลง)

อีกทั้งเมื่อนำไปใช้งานกับการตัดต่อวิดีโอทั้ง 1080p และ 4K WD Blue PC SSD 1TB ใช้งานได้ลื่นไหลดี ประสิทธิภาพจัดอยู่ในระดับกลางค่อนสูง ไม่ได้เร็วเวอร์หรือช้าจนเกินไป ถือเป็นรุ่นที่เหมาะกับการใช้งานปกติในชีวิตประจำวันทุกรูปแบบ

สุดท้ายทดสอบเล่นเกม “Tom Clancy’s Ghost Recon Wildlands” ประมาณ 6 ขั่วโมง WD Blue PC SSD สามารถใช้งานได้ลื่นไหล การโหลดฉากทำได้รวดเร็วดีและไม่มีอาการสะดุดให้พบเห็นตลอดการทดสอบ

ถือว่าเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่กำลังมองหา SSD ความจุสูง โดยเฉพาะราคาถือว่า WD เปิดตัวมาได้ค่อนข้างดี โดยเฉพาะความจุสูงๆอย่างรุ่นที่ทีมงานได้รับมาทดสอบ ราคาขายหน้าร้านอยู่ที่ 10,700 บาท เทียบกับคู่แข่งที่สเปกใกล้เคียงกันแล้ว WD จะถูกกว่าประมาณ 1-2 พันบาทเลยทีเดียว

ข้อดี

– มีความจุและ Form Factor ให้เลือกใช้งานหลากหลาย ครอบคลุมทุกกลุ่ม
– WD SSD Dashboard ตรวจสุขภาพ SSD ได้ตลอดเวลา

ข้อสังเกต

– รุ่นบนสุด WD Black มีแต่แบบเป็นการ์ด ซึ่งต้องใช้กับเมนบอร์ดหรือโน้ตบุ๊กรุ่นใหม่เท่านั้น ไม่มีรุ่นย่อย SSD 2.5 นิ้ว

]]>
Review : Seagate FireCuda 1TB ฮาร์ดดิสก์ไฮบริด SSHD เร็วแรงเพื่อคอเกมเมอร์ https://cyberbiz.mgronline.com/review-seagate-firecuda/ Wed, 08 Mar 2017 05:19:03 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=25515

ถึงแม้ปัจจุบันหน่วยเก็บข้อมูลแบบชิปรวมถึง Solid State Drive จะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเพราะมีราคาที่ปรับลดลง แต่ฮาร์ดดิสก์จานแม่เหล็กก็ยังเป็นตัวเลือกสำคัญในการเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ โดยเฉพาะเหล่าเกมเมอร์ที่ปัจจุบันเกมหนึ่งเกมใช้เนื้อที่ค่อนข้างมาก SSD อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนักเพราะยิ่งความจุสูงขึ้น ผู้อ่านก็ต้องจ่ายเงินมากป็นเท่าตัว ยกตัวอย่าง SSD 1TB มีราคาขายอยู่ที่ 1 หมื่นบาทในขณะที่ฮาร์ดดิสก์จานแม่เหล็ก 1TB ราคาขายอยู่เพียงหลักพันไม่เกินสี่พันบาทเท่านั้น

เพราะฉะนั้นทาง Seagate (ซีเกท) จึงได้คิดค้นฮาร์ดดิสก์รูปแบบใหม่ขึ้นมาเรียกว่า “SSHD” ย่อมาจาก Solid State Hybrid Drive หรือภาษาง่ายๆก็คือ ฮาร์ดดิสก์ไฮบริดระหว่าง SSD กับ ฮาร์ดดิสก์จานแม่เหล็กแบบเดิม

การออกแบบ สเปกและฟีเจอร์เด่น

โดยหน้าตาของ Seagate FireCuda (รุ่นที่นำมาทดสอบขนาด 3.5 นิ้วใช้กับ Desktop PC) จะเหมือนกับฮาร์ดดิสก์ปกติ เพียงแต่ภายในจะได้รับการออกแบบใหม่ตั้งแต่การติดตั้ง SSD (NAND Flash MLC) ขนาด 8GB เพิ่มลงไป เพื่อใช้เก็บข้อมูลที่ถูกเรียกใช้งานบ่อย (คอมพิวเตอร์จะมองไม่เห็นส่วน SSD แต่ระบบภายในฮาร์ดดิสก์จะเรียนรู้และจัดการด้วยตัวเองอัตโนมัติ คล้ายกับระบบแคชไฟล์)

ส่วนจานแม่เหล็ก Seagate ออกแบบใหม่ โดยให้จานแม่เหล็ก 1 แผ่นมีความจุ 1TB ช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลทำได้รวดเร็วขึ้น ความทนทานเพิ่มขึ้น น้ำหนักเบาลง ความร้อนน้อยลง ประหยัดไฟมากขึ้น

ด้านพอร์ตเชื่อมต่อใช้เป็น SATA 6Gb/s (รองรับ SATA 1.5/3.0) บัฟเฟอร์อยู่ที่ 64MB และรอบจานหมุนอยู่ที่ 7,200 รอบต่อนาที

ทดสอบประสิทธิภาพและสรุป

มาถึงการทดสอบประสิทธิภาพ เริ่มจากชุดทดสอบ Crystal DiskMark ทดสอบคะแนนส่วน Seq อ่านอยู่ที่ 154.5 MB/s เขียนอยู่ที่ 198.8 MB/s

ส่วนการทดสอบคัดลอกข้อมูลขนาดประมาณ 8GB ทำความเร็วได้ประมาณ 130-150 MB/s เลยทีเดียว

มาดูคะแนนจาก PC Mark 8 อยู่ที่ 3,294 คะแนน (23.18MB/s)

ลองมาทดสอบใช้งานจริงด้วยการเล่นเกมและใช้งานคัดลอก เซฟไฟล์งานในชีวิตประจำวัน ถามว่า Seagate FireCuda เร็วแรงสมคำคุยจริงหรือไม่ ทีมงานขอตอบว่า เร็วแรงจริงถ้าเทียบกับกลุ่มฮาร์ดดิสก์จานแม่เหล็กด้วยกัน FireCuda ให้ผลลัพท์ที่ดีมากโดยเฉพาะการใช้เล่นเกมและใช้ร่วมกับงานตัดต่อวิดีโอ FireCuda ให้ประสิทธิภาพที่ดี (ไม่ต้องไปเทียบกับ SSD นะครับ เพราะอย่างไรฮาร์ดดิสก์จานหมุนต้องทำงานช้ากว่าอยู่แล้ว)

ส่วนถ้าเทียบกับฮาร์ดดิสก์เกมเมอร์ด้วยกัน ด้านความเร็วจะใกล้เคียงกันแต่เรื่องการเข้าถึงข้อมูล FireCuda จะทำได้ลื่นไหลกว่า โดยเฉพาะเสียงรบกวนจากการอ่านข้อมูลบนจานแม่เหล็ก FireCuda ทำงานได้ค่อนข้างเงียบกว่าหลายแบรนด์เลยทีเดียว

ส่วนราคาถ้าเทียบในกลุ่มฮาร์ดดิสก์ระดับเดียวกัน เช่น WD Black ตัว Seagate FireCuda จะมีราคาสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 3 พันกว่าบาทสำหรับรุ่น 3.5 นิ้ว ความจุ 1TB

ข้อดี

– ประสิทธิภาพดีเหมาะแก่เหล่าเกมเมอร์และคนทำงานตัดต่อวิดีโองบจำกัดอย่างมาก
– ทำงานเงียบ

ข้อสังเกต

– ราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับกลุ่มฮาร์ดดิสก์ระดับเดียวกัน

]]>
Review : AMD Radeon RX 470 อีกหนึ่งความคุ้มค่ากับราคาที่ทุกคนเอื้อมถึง https://cyberbiz.mgronline.com/review-amd-radeon-rx470/ Sat, 17 Dec 2016 07:24:31 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=24765

IMG_0371

ครั้งที่แล้วทีมงานไซเบอร์บิซพาทุกท่านไปรีวิวกราฟิกการ์ดพี่ใหญ่ AMD Radeon RX 480 พร้อมแรม 8GB ไปแล้ว มาวันนี้ถึงคิวน้องคนกลางกับ “Radeon RX 470” ที่เอเอ็มดียังคงประสิทธิภาพ เน้นความคุ้มค่าคุ้มราคาเงินไม่ถึงหมื่นบาทอีกเช่นเดิม

การออกแบบ

IMG_0378

IMG_0366

สำหรับตัวกราฟิกการ์ด AMD Radeon RX 470 รุ่นที่ทีมงานได้รับมาทดสอบจะเป็น Reference Card ส่งตรงจากโรงงานของเอเอ็มดี เพราะฉะนั้นหน้าตาและขนาดจะเหมือนกับ RX 480 ทุกสัดส่วน (กินพื้นที่ติดตั้ง PCIE 2 ช่องตามมาตรฐาน)

IMG_0368

ในส่วนสเปกการ์ดยังคงใช้สถาปัตยกรรมรุ่นที่ 4 (GCN 4.0) “Polaris” เช่นเดียวกับการ์ดทุกรุ่นในตระกูล RX ด้านพอร์ตเชื่อมต่อการ์ดใช้ PCI Express 3.0 x16 และช่องไฟเลี้ยงใช้แบบ 6 พิน (บริโภคไฟสูงสุดไม่เกิน 120 วัตต์)

IMG_0373

มาดูพอร์ตเชื่อมต่อ เอเอ็มดีให้ Display Port (รองรับ HDR) มาจุใจถึง 3 พอร์ต รองรับ MST ฮับเพื่อเชื่อมต่อจอภาพได้สูงสุด 6 จอ (AMD Eyefinity Technology)

ส่วนพอร์ต HDMI ให้เป็นเวอร์ชัน 2.0 จำนวน 1 พอร์ต

สเปก

gpuz-rx470

AMD Radeon RX 470 มาพร้อมชิปประมวลผลกราฟิก (GPU) โค้ดเนม “Ellesmere” ขนาด 14 นาโนเมตร พร้อมแรม GDDR5 256-bit ขนาด 4GB ความเร็วสัญญาณนาฬิกาสูงสุด 1,206MHz รองรับ Compute Units 32 ยูนิต

ในส่วนฟีเจอร์ชุดคำสั่งกราฟิกที่รองรับ ได้แก่ DirectX 12, HDR Game, Vulkan, OpenCL 2.0, OpenGL 4.5 รวมถึงรองรับ Virtual Reality ในชื่อ “AMD LiquidVR”

ด้านซอฟต์แวร์ควบคุมใช้ “Crimson” รองรับฟีเจอร์ AMD FreeSync, Frame Rate Target Control, Virtual Super Resolution, WattMan และล่าสุดมาพร้อมฟีเจอร์ ReLive ที่เปิดให้ผู้ใช้สามารถบันทึกหน้าจอเกมในรูปแบบวิดีโอหรือแคสเกมผ่านบริการ Twitch ได้ทันที

ส่วนอีกหนึ่งฟีเจอร์ที่น่าสนใจและเพิ่งเปิดให้ใช้งานผ่านซอฟต์แวร์ Crimson รุ่นล่าสุดก็คือ “Radeon Chill” ที่ออกแบบมาเพื่อกราฟิกการ์ดตะกูล RX โดยเฉพาะ โดยฟีเจอร์ดังกล่าวจะทำให้การจัดสรรพลังงานทำได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้การ์ดบริโภคพลังงานน้อยลง ประหยัดไฟและความร้อนลดลง

ทดสอบประสิทธิภาพ

อย่างที่ทราบว่าตัวการ์ด RX 470 จะใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพต้องรันบนอินเตอร์เฟส PCI Express 3.0 แต่เพราะเมนบอร์ดของทีมงานรองรับแค่ PCI Express 2.0 เท่านั้น คะแนนที่ได้อาจคาดเคลื่อนไม่เป็นตามมาตรฐาน

amdsetrx470

ชุดคอมพิวเตอร์ที่ทีมงานใช้ร่วมกับการทดสอบกราฟิกการ์ด AMD Radeon RX 470 – 4GB GDDR 5 เป็นเช็ทระดับกลางที่ทีมงานหวังว่าด้วยสเปกที่ไม่สูงมาก ผู้อ่านสามารถจับต้องได้ทุกคน น่าจะช่วยให้การทดสอบทำได้น่าตื่นเต้น มองแล้วไม่ไกลตัวเกินไป เหมาะกับสภาพเศรษฐกิจในยุคนี้

3dmark-rx470

เริ่มการทดสอบกับ 3DMark เรื่องคะแนนผมขอไม่ยกเป็นประเด็นสำคัญ เพราะผลคะแนนเป็นไปตามราคาการ์ดระดับกลาง แต่ผมจะขอเน้นการใช้งานจริงร่วมกับการเล่นเกมตามคลิปวิดีโอด้านล่าง (ทดสอบที่ความละเอียด 1080p ทุกเกม)

iw7_ship-2016-11-30-19-46-04-70

จากคลิปวิดีโอทดสอบเล่นเกม Call of Duty Infinite Warfare (DirectX 11) เกมนี้สามารถปรับค่ากราฟิกสูงสุดทั้งหมดได้ ยกเว้นส่วน Texture ต้องปรับประมาณ High และลบรอยหยักที่เปิดได้ไม่สูงสุด เฟรมเรตที่ได้จะอยู่ประมาณ 30-50 เฟรมต่อวินาที เล่นได้ลื่นไหลสบายๆ

GTA5-2016-12-03-16-38-29-38

GTA V (DirectX 11) สามรถปรับสุดและเล่นได้ลื่นไหลระดับ 40-60 เฟรมต่อวินาที แต่ต้องปิดลบรอยหยัก MSAA และปิดออปชันส่วน Advanced Graphics ทั้งหมด

catzilla-rx470

Catzilla 720p (DirectX 11) ทำคะแนนได้ 15,606 คะแนน น้อยกว่า RX 480 ประมาณ 2 พันคะแนน โดยการทดสอบทำได้ลื่นไหลไม่มีปัญหาใดๆให้พบเจอ

ffxiv-rx470

Final Fantasy XIV HEAVENSWARD (DirectX 11) ทำคะแนนทดสอบได้ 8,133 คะแนน ปรับค่ากราฟิกสูงสุดทั้งหมด ความลื่นไหลไม่พบอาการสะดุดระหว่างทดสอบ

Rise-of-the-Tomb-Raider-v1.0-build-668.1_64-3_12_2559-14_35_46

Rise of the Tomb Raider (DirectX 12) ปรับสุดทั้งหมด ยกเว้น Texture จะปรับได้แค่ High เนื่องจากการปรับสูงสุดต้องใช้แรมกราฟิกการ์ดประมาณ 6GB และลบรอยหยักภาพต้องปรับให้ต่ำสุดถึงจะเล่นได้ลื่นไหล (เฟรมเรตประมาณ 47-50 เฟรมต่อวินาที) แต่ถ้าเปิดลบรอยหยักสูงสุด เฟรมเรตจะตกลงเหลือประมาณ 27-38 เฟรมต่อวินาทีเท่านั้น (มีอาการภาพหน่วงๆให้เห็นเป็นระยะ)

อาจเพราะการปรับภาพสูงสุด เกมบริโภคแรมกราฟิกการ์ดจำนวนมากจึงทำให้เห็นความแตกต่างจากการรันบนการ์ด RX 480 ที่มีแรมมากถึง 8GB ชัดเจนอย่างมาก (RX 480 ปรับค่ากราฟิกสูงสุดได้ทั้งหมดโดยไม่พบอาการกระตุกหรือภาพหน่วงแต่อย่างใด)

สุดท้ายขยับมาทดสอบเกมที่อยู่คู่เอเอ็มดีมานานกับ Battlefield ทั้งภาค 4 (DirectX 11 และ Mantle) และภาค 1 (DirectX 12) เริ่มจากภาคเก่า Battlefield 4 ใช้ชุดคำสั่งกราฟิก AMD Mantle ปรับสูงสุดทั้งหมด ลื่นไหลไม่มีปัญหา ส่วนถ้าเปิดใช้ชุดคำสั่ง DirectX 11 เวลาเจอเอฟเฟ็กต์จำนวนมาก จะมีอาการภาพหน่วงให้เห็นเล็กน้อย

ส่วน Battlefield 1 โหมด DirectX 12 ที่หลายคนลงความเห็นว่าเข้ากันดีกับ RX 480 มากที่สุด ลองมาทดสอบกับ RX 470 พบว่า สามารถเล่นได้ลื่นไหลแบบปรับสุดได้เช่นกัน แต่เฟรมเรตจะมีอาการสวิงตั้งแต่ 30-50 เฟรมต่อวินาที ไม่นิ่งเหมือน RX 480 และอาจพบอาการภาพหน่วงเวลาเจอระเบิดจำนวนมาก

wattman-temp-rx470

ด้านการทดสอบอุณหภูมิระหว่างทำงานแบบ Full Load จะอยู่ที่ประมาณ 78 องศาเซลเซียส

สรุป

IMG_0385

สำหรับราคาขาย AMD Radeon RX 470 – 4GB จะอยู่ในช่วงตั้งแต่ 7 พันถึง 8 พันบาทปลายๆ โดยภาพรวมตัวการ์ดยังเน้นความคุ้มค่าคุ้มราคา แรมให้มา 4GB เพียงพอกับความต้องการของเกมในปัจจุบัน ส่วนประสิทธิภาพโดยรวมแล้วใกล้เคียงกับพี่ใหญ่ RX 480 เหมาะแก่เกมเมอร์ฮาร์ดคอร์ที่ใช้จอภาพความละเอียด 1080p ส่วนคนที่ใช้หน้าจอ 2-4K ทีมงานยังแนะนำให้เลือกใช้ RX 480 จะดีที่สุด

ข้อดี

– ราคาเทียบประสิทธิภาพจัดอยู่ในเกณฑ์คุ้มค่าคุ้มราคา
– AMD Radeon สถาปัตยกรรมใหม่ ประหยัดไฟมากขึ้น ความร้อนต่ำลงมาก

ข้อสังเกต

– ไม่มีพอร์ต DVI มาให้
– การอัปเดตไดร์วเวอร์ บางครั้งแสดงชื่อการ์ดผิดรุ่น (เป็น RX 480)

]]>
Review : AMD Radeon RX 480 กราฟิกการ์ดสุดคุ้ม แรม 8GB ในราคาเริ่มต้นไม่ถึงหมื่นบาท https://cyberbiz.mgronline.com/review-amd-radeon-rx480/ Sat, 22 Oct 2016 01:57:41 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=24267

DSC_2723

นานทีปีหนทีมงานไซเบอร์บิซจะได้รับกราฟิกการ์ดสำหรับพีซีเกมเมอร์มารีวิวสักครั้งหนึ่ง วันนี้ทีมงานได้รับกราฟิกการ์ดรุ่นใหม่ล่าสุดจาก AMD (เอเอ็มดี) มารีวิวให้ชมกันในชื่อ “AMD Radeon RX 480”

AMD Radeon RX Series เป็นกราฟิกการ์ดตระกูลใหม่จาก AMD โดยปัจจุบันจะมีให้เลิอก 3 รุ่น ได้แก่รุ่นท็อปสุด RX 480 เน้นฮาร์ดคอร์เกมเมอร์และใช้งาน VR ได้ลื่นไหลสุด รุ่นกลาง RX 470 เน้น HD เกม และสุดท้ายรุ่นราคาประหยัด RX 460 เน้นตลาดเกมออนไลน์

การออกแบบ

DSC_2728

DSC_2726

AMD Radeon RX 480 เป็นกราฟิกการ์ดซีรีย์ใหม่บนสถาปัตยกรรมรุ่นที่ 4 (GCN 4.0)  “Polaris” จาก AMD ที่ได้รับออกแบบทุกส่วนใหม่หมดตั้งแต่บอร์ดไปถึงชิปประมวลผล โดยในรุ่นที่ทีมงานไซเบอร์บิซได้รับมารีวิวจะผลิตจาก AMD โดยตรง

DSC_2736

DSC_2731

สำหรับการออกแบบ ตัวการ์ด RX 480 จะเชื่อมต่อกับสลอต PCI Express รองรับเวอร์ชัน 3.0 กินพื้นที่ใส่การ์ด PCIE 2 ช่องตามมาตรฐาน ตัวการ์ดมีขนาดสั้นและน้ำหนักไม่มาก

ด้านหน้าของตัวการ์ดจะเป็นพลาสติกสีดำครอบทับฮีทซิงค์ระบายความร้อนพร้อมพัดลมระบายความร้อน 1 ตัว ด้านหลังเป็นบอร์ดสีดำเปลือย ซึ่งถ้าสังเกตที่บริเวณชิปกราฟิก จะพบว่ามีขนาดเล็กลงจากเดิม

DSC_2719

ด้านไฟเลี้ยงใช้เพียงแค่ 6 พินเท่านั้น (ตามสเปกตัวการ์ดใช้ไฟประมาณ 110 วัตต์) พร้อมโลโก้ RADEON (ไม่มีไฟส่องสว่างเหมือนรุ่นใหญ่)

DSC_2724

ส่วนพอร์ตเชื่อมต่อจอภาพจะแบ่งเป็น Display Port 3 ช่อง (รองรับเวอร์ชัน 1.4 HDR Ready) HDMI 2.0 1 ช่อง

โดย Display Port ทั้ง 3 ช่อง รองรับการต่อเชื่อมกับ Multi Stream Transport (MST) Hub เพื่อต่อจอเพิ่มอีก 3 จอ รวม Display Port รองรับการแสดงผลภาพพร้อมกันทั้งหมดได้สูงถึง 6 จอ เพื่อทำ AMD Eyefinity ได้

สเปก

rx480-specdetails

AMD Radeon RX 480 มาพร้อมชิปประมวลผลกราฟิก (GPU) แบบ 14 นาโนเมตร ความเร็ว 1,266 MHz ในส่วน Stream Processors อยู่ที่ 2,304 Compute Units อยู่ที่ 36 ยูนิต ที่นอกจากความแรงจะมากกว่าสถาปัตยกรรมเก่าถึง 1-2 เท่า ตัวกราฟิกการ์ดยังมาพร้อมการรองรับฟีเจอร์ในอนาคต ได้แก่

– HDR Game
– รองรับ DirectX 12 ใน Windows 10 เต็มรูปแบบ
– รองรับ Vulkan, OpenCL 2.0, OpenGL 4.5
– รองรับเกมที่รันบนความละเอียด 4K 60 เฟรมต่อวินาที และ RX 480 จะรองรับความละเอียด 5K ด้วย
– รองรับการถอดรหัส HEVC H.265 ที่ใช้ในวิดีโอความละเอียดสูง
– รองรับ Virtual Reality ในชื่อ “AMD LiquidVR”

และนอกจากนั้นตัวการ์ดยังบริโภคพลังงานต่ำลง อย่างรุ่น RX 480 ที่เรานำมารีวิวในวันนี้ มีผู้ใช้หลายท่านทดลองใช้งานร่วมกับ Power Supply 300 วัตต์ สามารถใช้ได้อย่างไม่มีปัญหา

มาดูสเปกส่วนอื่นของการ์ดกันบ้าง เริ่มจากแรม AMD เลือกใช้ GDDR5 ขนาด 8GB (มีรุ่น 4GB ให้เลือก) ความเร็ว 2GHz (ปริมาณการรับส่งข้อมูลอยู่ที่ 224GB/s) รองรับ AMD CrossFire แบบ Bridgeless

ในส่วนชุดซอฟต์แวร์ควบคุมใช้ Crimson รองรับฟีเจอร์ AMD FreeSync, Frame Rate Target Control, Virtual Super Resolution และรองรับการโอเวอร์คล็อกผ่านฟีเจอร์ WattMan

ทดสอบประสิทธิภาพ

อย่างที่ทราบว่าตัวการ์ด RX 480 จะใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพต้องรันบนอินเตอร์เฟส PCI Express 3.0 แต่เพราะเมนบอร์ดของทีมงานรองรับแค่ PCI Express 2.0 เท่านั้น คะแนนที่ได้อาจคาดเคลื่อนไปบ้างเล็กน้อย

amdset-rx480

ชุดคอมพิวเตอร์ที่ทีมงานใช้ร่วมกับการทดสอบกราฟิกการ์ด AMD Radeon RX 480 – 8GB GDDR 5 เป็นเช็ทระดับกลางที่ทีมงานหวังว่าด้วยสเปกที่ไม่สูงมาก ผู้อ่านสามารถจับต้องได้ทุกคน น่าจะช่วยให้การทดสอบทำได้น่าตื่นเต้น มองแล้วไม่ไกลตัวเกินไป เหมาะกับสภาพเศรษฐกิจในยุคนี้

คลิปวิดีโอเสริมบทความรีวิวเพื่อความชัดเจนในการทดสอบ AMD Radeon RX 480 – 8GB GDDR 5 ด้วยเกม GTA 5 (ปรับค่ากราฟิกสูงสุดทั้งหมด ยกเว้น MSAA ปิดไว้) และทดลองรันบน DirectX 12 ดูความลื่นไหล

3drx480

เริ่มจากการทดสอบแรก 3D Mark ที่เพิ่งปล่อยให้อัปเดตเพิ่มชุดทดสอบ DirectX 12 ในชื่อ “Time Spy” (ดูวิดีโอเดโมได้จากคลิปด้านบน ช่วงที่ 3) จากการทดสอบจะเห็นว่าด้านคะแนน Time Spy จะอยู่ที่ 3,602 คะแนน ส่วนชุดทดสอบบน DirectX 11 “Fire Strike/Ultra” จะได้คะแนนอยู่ที่ 2,719 และ 5,010 คะแนน

โดยถ้ามองถึงความลื่นไหลและเฟรมเรตที่ได้ RX 480 ถือว่าทำคะแนนได้กลางๆ แต่จะโดดเด่นอย่างมากเมื่อรันบน DirectX 12 ตามที่ AMD คุยไว้ในเรื่องความรวดเร็วและลื่นไหลที่ถือว่าใช้ได้เลยทีเดียว

Rise-of-the-Tomb-Raider-v1.0-build-668

2Rise-of-the-Tomb-Raider-v1.0-build-668

เปลี่ยนมาทดสอบเกมอย่าง Rise of the Tomb Raider ในโหมด DirectX 12 ปรับค่ากราฟิกสูงสุด และเปิดลบรอยหนักภาพ SSAA ทั้งหมดจะพบอาการหน่วงให้เห็นบ้าง ยิ่งเวลาเจอฉากหิมะถล่มเฟรมเรตจะตกมาอยู่ระดับ 20-26 เฟรมต่อวินาทีได้เลย แต่ก็สามารถแก้ไขได้ด้วยการปรับลบรอยหยักเป็น SMAA ระดับแรก เกมจะลื่นขึ้นพร้อมเฟรมเรตที่สามารถพุ่งไปแตะเลข 50-56 เฟรมต่อวินาทีได้ตลอดทั้งเกม คนที่ชอบเปิด VSync สามารถเลือกใช้งานได้สบายๆไม่หน่วงแน่นอน

ทดสอบกับอีกหนึ่งเกมสเปกสูง Quantum Break (DirectX 12) เวอร์ชันแรกก่อนอัปเดตล่าสุดที่หลายคนบ่นว่ากินแรมกราฟิกการ์ดสูงมาก สำหรับการ์ดจอ RX 480 แรม 8GB บนชุดทดสอบของทีมงาน ปรับทุกอย่างสูงสุดทั้งหมดรวมถึงเปิดลบรอยหยัก ไม่พบอาการกระตุก หน่วง หรือการแสดงผลกราฟิกผิดพลาดให้เห็นแต่อย่างใด เกมเล่นได้ลื่นไหล อาจมีสะดุดเล็กๆเท่านั้น

แต่โดยภาพรวมถือว่า AMD Radeon RX 480 กับเกม Quantum Break เล่นได้ลื่นไหลและดูเหมือนว่า DirectX 12 จะเข้ากันได้ดีกับกราฟิกการ์ดตัวนี้เสียจริงๆ พิสูจน์ได้ด้วยตาตัวเองจากคลิปวิดีโอด้านบน

GTA5-2016-10-17-10-33-09-81

ขยับมาทดสอบเกมมหาโหดด้านการบริโภคแรมกราฟิกการ์ดอย่าง GTA V (DirectX 11) แน่นอนด้วยจำนวนแรม 8GB GDDR5 เพียงพอต่อการปรับเรนเดอร์ฉากได้เต็มที่ ยิ่งถ้านำ RX 480 ไปใส่กับคอมพิวเตอร์พีซีที่มีสเปกสูงและใช้บัช PCI Express ที่สูงกว่าเครื่องทดสอบของทีมงาน คุณจะสามารถเล่น GTA V ที่ความละเอียด 4K ได้โดยที่เฟรมเรตจะอยู่ที่ประมาณ 25-30 เฟรมต่อวินาที (ปิด MSAA)

ส่วนเครื่องทดสอบของทีมงาน สเปกกลางๆ สามารถปรับค่ากราฟิก Ultra/High ได้ แต่ต้องปิดลบรอยหยักภาพ MSAA ถึงจะลื่นไหล โดยที่ความละเอียด 1080p เฟรมเรตจะวิ่งอยู่ที่ประมาณ 25-35 เฟรมต่อวินาที ส่วนฉากฝนตกจะวิ่งได้สูงถึง 50-60 เฟรมต่อวินาที และระหว่างการเล่นอาจมีอาการภาพหน่วงเล็กน้อยแต่ไม่ถึงกับกระตุกจนเล่นไม่ได้

ภาพรวมสำหรับ GTA V ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี ถ้าใช้สเปกเครื่อง เมนบอร์ดสูงกว่าของทีมงานอีกนิด ที่ค่ากราฟิก Ultra คงทำเฟรมเรตได้สูงระดับ 40-50 เฟรมต่อวินาที แต่ทั้งนี้ถ้าเป็นคนไม่จริงจังเรืองกราฟิกนัก สามารถปรับตั้งค่าเป็น High/Very High ได้ เพราะเกมจะลื่นไหลระดับ 60 เฟรมต่อวินาทีตลอดเวลาเลย

deadrising3-2016-10-17-10-42-58-42

ในส่วนเกม Dead Rising 3 Apocalypse Edition เกมนี้ไม่มีปัญหาอะไรกับ RX 480 และชุดทดสอบของทีมงานเลย สามารถปรับค่ากราฟิกสูงสุดทั้งหมด (1080p) รวมถึงเปิดใช้ระบบลบรอยหยักภาพสูงสุด เปิด VSync ร่วมด้วยได้ โดยเฟรมเรตภาพ ส่วนใหญ่จะคงที่ 30 เฟรมต่อวินาทีตลอดการเล่น อาจมีตกลงมา 25-27 เฟรมต่อวินาทีบ้างในฉากที่มีฝูงซอมบี้จำนวนมาก

ffxiv_dx11-2016-10-17-12-45-59-90

มาดูการทดสอบด้วยชุดทดสอบกราฟิกจากเกม Final Fantasy XIV HEAVENSWARD ที่ความละเอียด 1080p DirectX 11 ปรับสูงสุดทั้งหมดทำคะแนนได้ 9,320 คะแนน ลื่นไหล ไม่มีปัญหาใดๆ

catzilla-rx480

อีกหนึ่งชุดทดสอบ Catzilla 720p DirectX 11 ทำคะแนนได้ 17,853 คะแนน

wattman-rx480

สำหรับการทดสอบสุดท้ายเกี่ยวกับอุณหภูมิระหว่างใช้งาน (ทดสอบที่อุณหภูมิห้องประมาณ 26-28 องศาเซลเซียส) ทีมงานเลือกใช้ฟีเจอร์ WattMan ใน AMD Catalyst เป็นตัววัดผลหลัก จะเห็นว่าเมื่อ RX 480 ทำงานเต็มประสิทธิภาพ 100% อุณหภูมิจะอยู่คงที่ประมาณ 87 องศาเซลเซียสเท่านั้น ส่วนเมื่อไม่ใช้งานกราฟิกการ์ด อุณหภูมิจะอยู่ประมาณ 38-42 องศาเซลเซียส ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี

สรุป

สำหรับราคา AMD Radeon RX 480 เริ่มต้น 9,900 บาท โดยในช่วงแรกจะเป็น Reference Card จาก AMD และแบรนด์เช่น ASUS, XFX, Power Color, Sapphire ก่อน และหลังจากนั้นจะเป็นรุ่น Non-Ref ที่อาจมีการปรับเพิ่มแรม เพิ่มพัดลมระบายความร้อนหรือโอเวอร์คล็อกความเร็วการ์ดขึ้นและราคาอาจสูงขึ้นเล็กน้อย

โดยในส่วนประสิทธิภาพโดยรวมของ Radeon RX 480 จัดเป็นกราฟิกการ์ดระดับกลางค่อนสูง สามารถปรับกราฟิกในเกมระดับสูงถึงสูงสุดและเล่นได้ลื่นไหลที่ความละเอียดจอเริ่มต้น 1080p เป็นต้นไป (บางเกมอาจต้องปิดลบรอยหยักเกมถึงลื่นไม่หน่วง) จุดเด่นคงอยู่ในเรื่องราคา แรม 8GB อยากได้กราฟิกการ์ดระดับบนแต่มีงบประมาณจำกัด ส่วนเรื่องความแรงอาจตามคู่แข่งอยู่บ้าง แต่สุดท้ายแล้วทั้งหมดก็พอเพียงสำหรับเกมพีซีทุกเกมในปัจจุบันรวมถึงอนาคต ยิ่งถ้าเกมพีซีออกมารองรับ DirectX 12 หรือ Vulkan ให้สมบูรณ์แบบมากขึ้น การ์ด RX 480 น่าจะแสดงประสิทธิภาพได้เต็มที่กว่านี้

ส่วนคำถามสำหรับผู้ใช้จอ 4K แล้วอยากได้กราฟิกการ์ดรุ่นนี้มาใช้เล่นเกมแบบ 4K ทีมงานต้องเรียนตามตรงว่า ด้วยขนาดแรมกราฟิกการ์ดถึง 8GB สามารถเปิดใช้ความละเอียด 4K ได้ แต่ทั้งนี้ในส่วนคุณภาพกราฟิกอาจต้องปรับลดลงมาเล็กน้อย เพราะต้องไม่ลืมว่าตัวการ์ดมีสเปกแค่ระดับกลางค่อนสูงเท่านั้น

ข้อดี

– ราคาเทียบประสิทธิภาพจัดอยู่ในเกณฑ์คุ้มค่าคุ้มราคา
– แรม 8GB GDDR5
– AMD Radeon สถาปัตยกรรมใหม่ ประหยัดไฟมากขึ้น ความร้อนต่ำลงมาก

ข้อสังเกต

– ไม่มีพอร์ต DVI มาให้
– ใช้ช่วยประมวลผลร่วมกับแอปพลิเคชันที่รองรับ เช่น Adobe Premiere, Photoshop ยังให้ผลลัพท์ธรรมดาเมื่อเทียบกับคู่แข่ง

]]>