PC Game – CBIZ Reviews – MGR Online https://cyberbiz.mgronline.com เว็บไซต์รีวิวอุปกรณ์ ไอที ไฮเทค เป็นส่วนหนึ่งของผู้จัดการออนไลน์ Wed, 29 Mar 2017 08:12:59 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.0 ชมคลิปรีวิวกราฟิกการ์ด ASUS Strix GeForce GTX1060 DC2O6G ตัวเล็กสเปกแรง https://cyberbiz.mgronline.com/review-asus-strix-dc2o6g/ Wed, 29 Mar 2017 06:57:35 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=25650

หลังจาก ASUS (เอซุส) เปิดตัวกราฟิกการ์ด NVIDIA 10-Series ในรุ่นบนสุดอย่าง ROG (Republic of Gamers) Strix ไปหลากหลายรุ่น ก็ถึงคิวของน้องนกฮูกตัวเล็ก Strix ที่ชูจุดเด่นในเรื่องฮีทซิงค์ระบายความร้อนแบบ DirectCU II (ท่อทองแดงสัมผัสกับชิปกราฟิกโดยตรงทำให้การถ่ายเทความร้อนทำได้ดีกว่าปกติ) รวมถึงตัวการ์ดขนาดเล็กแต่สเปกไม่ธรรมดาด้วยการถูกโอเวอร์คล็อกประสิทธิภาพเพิ่มจากโรงงาน รวมถึงพัดลมระบายความร้อนออกแบบใหม่ที่ให้เสียงเงียบกว่าเดิม 3 เท่าและเย็นกว่าเดิม 30%

โดยในส่วนประสิทธิภาพจะเป็นอย่างไร วันนี้ทีมงานไซเบอร์บิซขอนำเสนอในรูปแบบวิดีโอรีวิวแบบจัดเต็มกว่าครึ่งชั่วโมง ดูในรู้กันไปเลยว่า ASUS Strix GeForce GTX1060 DC2O6G ตัวนี้แรงหรือไม่อย่างไร

เพิ่มเติมจากคลิปวิดีโอ

สเปกเครื่องที่ใช้ทดสอบ

CPU – Intel Core i7 2600K 4.0GHz
Mainboard – ASUS Sabertooth P67
RAM – 8GB DDR3 1600MHz
VGA – ASUS Strix GeForce GTX1060 DC2O6G
HDD – Samsung SSD EVO850 512TB

คะแนนทดสอบ 3DMark – Time Spy (DirectX 12)
Gaming Mode – Boost 1,785MHz = 4,068 คะแนน
OC Mode – Boost 1,811MHz = 4,113 คะแนน

*ปรับแต่งค่าโอเวอร์คล็อกผ่าน GPU Tweak II

คะแนนทดสอบ 3DMark – Fire Strike (DirectX 11)
Gaming Mode – Boost 1,785MHz = 10,708 คะแนน
OC Mode – Boost 1,811MHz = 10,817 คะแนน

*ปรับแต่งค่าโอเวอร์คล็อกผ่าน GPU Tweak II

Gallery

]]>
Review : WD Blue PC SSD 1TB โซลิดสเตตไดรฟ์เพื่อทุกการใช้งาน https://cyberbiz.mgronline.com/review-wdblue-pcssd-1tb/ Tue, 14 Mar 2017 04:29:35 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=25605

เป็นปีที่หน่วยเก็บข้อมูลประเภท “โซลิดสเตตไดรฟ์ (Solid State Drive)” หรือ “SSD” เติบโตสูงขึ้นมาก ทำให้ค่ายผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์เจ้าใหญ่อย่าง WD (Western Digital) ต้องหันมาเสริมทัพตลาดหน่วยเก็บข้อมูลแบบ SSD เป็นครั้งแรก แต่ถึงแม้จะเพิ่งลงมาตลาดโซลิดสเตตไดรฟ์ได้ไม่นาน แต่ WD ก็มีไม้ตายดัน SSD ให้สามารถจับกลุ่มผู้ใช้ทุกรูปแบบตั้งแต่คนทำงานไปถึงเกมเมอร์ พร้อมความจุให้เลือกหลากหลายรวมถึงราคาเทียบประสิทธิภาพแล้วถือว่าน่าสนใจทีเดียว

โดย WD PC SSD จะถูกแบ่งหมวดหมู่เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่

1.WD Green PC SSD เน้นจับกลุ่มผู้ใช้ระดับเริ่มต้น คนทำงานทั่วไป มาพร้อมความจุให้เลือก 120-240GB มี Form Factor ให้เลือกทั้งขนาด 2.5 นิ้วปกติและ M.2 2280 (SSD แบบเป็นการ์ดเพื่อเชื่อมต่อกับเมนบอร์ดหรือโน้ตบุ๊กรุ่นใหม่) พอร์ตเชื่อมต่อเป็น SATA

2.WD Blue PC SSD เป็นรุ่นกลาง เด่นที่ความจุมีให้เลือกหลากหลาย อีกทั้งยังรองรับการทำงานตั้งแต่งานทั่วไป ตัดต่อวิดีโอไปถึงเล่นเกม มีความจุให้เลือกตั้งแต่ 250GB 500GB และ 1TB พร้อม Form Factor ให้เลือกทั้งขนาด 2.5 นิ้วปกติและ M.2 2280 พอร์ตเชื่อมต่อเป็น SATA

3.WD Black PCIE SSD เน้นจับกลุ่มไฮเอนด์ที่ต้องการ SSD ประสิทธิภาพสูงสุด เพราะฉะนั้นจะมี Form Factor ให้เลือกแบบเดียวคือ เป็นการ์ด M.2 2280 เพราะต้องรองรับความเร็วในการอ่านข้อมูลสูงถึง 2,050 MB/s

สำหรับรุ่นที่ทีมงานไซเบอร์บิซได้รับมารีวิวในวันนี้ได้แก่รุ่น WD Blue PC SSD ความจุ 1TB

การออกแบบ สเปกและฟีเจอร์เด่น

เริ่มจากการออกแบบ ภายนอกของ WD Blue PC SSD จะเหมือนกับ SSD 2.5 นิ้วทั่วไป น้ำหนักประมาณ 60 กรัม ส่วนสเปกภายในทาง WD ระบุไว้ในเอกสารสเปกว่า WD Blue จะมีความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลสูงสุดที่ 545 MB/s เมื่อเชื่อมต่อผ่านพอร์ต SATA 3 6Gb/s พร้อมค่าความทนทานอยู่ที่ 400 Terabytes Written (TBW) หรือประมาณ 1.75 ล้านชั่วโมง ตามสเปกของ SSD ยุคใหม่ที่มีความทนทานมากขึ้น

ในส่วนซอฟต์แวร์ตรวจวัดการทำงาน WD มี “WD SSD Dashboard” ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถตรวจสุขภาพของ SSD ได้ตลอดเวลา

ทดสอบประสิทธิภาพและสรุป

เริ่มจาก CrystalDiskMark ทีมงานวัดเฉพาะ Seq Q32T1 ความเร็วในการอ่านอยู่ที่ 557.9MB/s เขียน 516.3MB/s เป็นไปตามที่ WD เครมไว้ในเอกสารสเปก

มาถึง PC Mark 8 ความเร็วที่ได้เฉลี่ยอยู่ที่ 217.62 MB/s คิดเป็นคะแนนอยู่ที่ 4,933 คะแนน

ส่วนการใช้งานจริง เริ่มตั้งแต่ทดลองคัดลอกเกมจากสตรีม (Steam) ขนาด 50.6GB จาก SSD ที่มีความเร็วอ่านเขียนระดับ 2,000MB/s ไปสู่ WD Blue PC SSD 1TB ความเร็วที่ได้เฉลี่ยประมาณ 316-400MB/s เรียกได้ว่าเร็วใช้ได้เลยทีเดียว (เชื่อมต่อผ่านพอร์ต SATA 3 6Gb/s ถ้าเชื่อมต่อกับ SATA รุ่นที่ต่ำกว่าความเร็วอ่านเขียนจะช้าลง)

อีกทั้งเมื่อนำไปใช้งานกับการตัดต่อวิดีโอทั้ง 1080p และ 4K WD Blue PC SSD 1TB ใช้งานได้ลื่นไหลดี ประสิทธิภาพจัดอยู่ในระดับกลางค่อนสูง ไม่ได้เร็วเวอร์หรือช้าจนเกินไป ถือเป็นรุ่นที่เหมาะกับการใช้งานปกติในชีวิตประจำวันทุกรูปแบบ

สุดท้ายทดสอบเล่นเกม “Tom Clancy’s Ghost Recon Wildlands” ประมาณ 6 ขั่วโมง WD Blue PC SSD สามารถใช้งานได้ลื่นไหล การโหลดฉากทำได้รวดเร็วดีและไม่มีอาการสะดุดให้พบเห็นตลอดการทดสอบ

ถือว่าเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่กำลังมองหา SSD ความจุสูง โดยเฉพาะราคาถือว่า WD เปิดตัวมาได้ค่อนข้างดี โดยเฉพาะความจุสูงๆอย่างรุ่นที่ทีมงานได้รับมาทดสอบ ราคาขายหน้าร้านอยู่ที่ 10,700 บาท เทียบกับคู่แข่งที่สเปกใกล้เคียงกันแล้ว WD จะถูกกว่าประมาณ 1-2 พันบาทเลยทีเดียว

ข้อดี

– มีความจุและ Form Factor ให้เลือกใช้งานหลากหลาย ครอบคลุมทุกกลุ่ม
– WD SSD Dashboard ตรวจสุขภาพ SSD ได้ตลอดเวลา

ข้อสังเกต

– รุ่นบนสุด WD Black มีแต่แบบเป็นการ์ด ซึ่งต้องใช้กับเมนบอร์ดหรือโน้ตบุ๊กรุ่นใหม่เท่านั้น ไม่มีรุ่นย่อย SSD 2.5 นิ้ว

]]>
Review : Seagate FireCuda 1TB ฮาร์ดดิสก์ไฮบริด SSHD เร็วแรงเพื่อคอเกมเมอร์ https://cyberbiz.mgronline.com/review-seagate-firecuda/ Wed, 08 Mar 2017 05:19:03 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=25515

ถึงแม้ปัจจุบันหน่วยเก็บข้อมูลแบบชิปรวมถึง Solid State Drive จะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเพราะมีราคาที่ปรับลดลง แต่ฮาร์ดดิสก์จานแม่เหล็กก็ยังเป็นตัวเลือกสำคัญในการเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ โดยเฉพาะเหล่าเกมเมอร์ที่ปัจจุบันเกมหนึ่งเกมใช้เนื้อที่ค่อนข้างมาก SSD อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนักเพราะยิ่งความจุสูงขึ้น ผู้อ่านก็ต้องจ่ายเงินมากป็นเท่าตัว ยกตัวอย่าง SSD 1TB มีราคาขายอยู่ที่ 1 หมื่นบาทในขณะที่ฮาร์ดดิสก์จานแม่เหล็ก 1TB ราคาขายอยู่เพียงหลักพันไม่เกินสี่พันบาทเท่านั้น

เพราะฉะนั้นทาง Seagate (ซีเกท) จึงได้คิดค้นฮาร์ดดิสก์รูปแบบใหม่ขึ้นมาเรียกว่า “SSHD” ย่อมาจาก Solid State Hybrid Drive หรือภาษาง่ายๆก็คือ ฮาร์ดดิสก์ไฮบริดระหว่าง SSD กับ ฮาร์ดดิสก์จานแม่เหล็กแบบเดิม

การออกแบบ สเปกและฟีเจอร์เด่น

โดยหน้าตาของ Seagate FireCuda (รุ่นที่นำมาทดสอบขนาด 3.5 นิ้วใช้กับ Desktop PC) จะเหมือนกับฮาร์ดดิสก์ปกติ เพียงแต่ภายในจะได้รับการออกแบบใหม่ตั้งแต่การติดตั้ง SSD (NAND Flash MLC) ขนาด 8GB เพิ่มลงไป เพื่อใช้เก็บข้อมูลที่ถูกเรียกใช้งานบ่อย (คอมพิวเตอร์จะมองไม่เห็นส่วน SSD แต่ระบบภายในฮาร์ดดิสก์จะเรียนรู้และจัดการด้วยตัวเองอัตโนมัติ คล้ายกับระบบแคชไฟล์)

ส่วนจานแม่เหล็ก Seagate ออกแบบใหม่ โดยให้จานแม่เหล็ก 1 แผ่นมีความจุ 1TB ช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลทำได้รวดเร็วขึ้น ความทนทานเพิ่มขึ้น น้ำหนักเบาลง ความร้อนน้อยลง ประหยัดไฟมากขึ้น

ด้านพอร์ตเชื่อมต่อใช้เป็น SATA 6Gb/s (รองรับ SATA 1.5/3.0) บัฟเฟอร์อยู่ที่ 64MB และรอบจานหมุนอยู่ที่ 7,200 รอบต่อนาที

ทดสอบประสิทธิภาพและสรุป

มาถึงการทดสอบประสิทธิภาพ เริ่มจากชุดทดสอบ Crystal DiskMark ทดสอบคะแนนส่วน Seq อ่านอยู่ที่ 154.5 MB/s เขียนอยู่ที่ 198.8 MB/s

ส่วนการทดสอบคัดลอกข้อมูลขนาดประมาณ 8GB ทำความเร็วได้ประมาณ 130-150 MB/s เลยทีเดียว

มาดูคะแนนจาก PC Mark 8 อยู่ที่ 3,294 คะแนน (23.18MB/s)

ลองมาทดสอบใช้งานจริงด้วยการเล่นเกมและใช้งานคัดลอก เซฟไฟล์งานในชีวิตประจำวัน ถามว่า Seagate FireCuda เร็วแรงสมคำคุยจริงหรือไม่ ทีมงานขอตอบว่า เร็วแรงจริงถ้าเทียบกับกลุ่มฮาร์ดดิสก์จานแม่เหล็กด้วยกัน FireCuda ให้ผลลัพท์ที่ดีมากโดยเฉพาะการใช้เล่นเกมและใช้ร่วมกับงานตัดต่อวิดีโอ FireCuda ให้ประสิทธิภาพที่ดี (ไม่ต้องไปเทียบกับ SSD นะครับ เพราะอย่างไรฮาร์ดดิสก์จานหมุนต้องทำงานช้ากว่าอยู่แล้ว)

ส่วนถ้าเทียบกับฮาร์ดดิสก์เกมเมอร์ด้วยกัน ด้านความเร็วจะใกล้เคียงกันแต่เรื่องการเข้าถึงข้อมูล FireCuda จะทำได้ลื่นไหลกว่า โดยเฉพาะเสียงรบกวนจากการอ่านข้อมูลบนจานแม่เหล็ก FireCuda ทำงานได้ค่อนข้างเงียบกว่าหลายแบรนด์เลยทีเดียว

ส่วนราคาถ้าเทียบในกลุ่มฮาร์ดดิสก์ระดับเดียวกัน เช่น WD Black ตัว Seagate FireCuda จะมีราคาสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 3 พันกว่าบาทสำหรับรุ่น 3.5 นิ้ว ความจุ 1TB

ข้อดี

– ประสิทธิภาพดีเหมาะแก่เหล่าเกมเมอร์และคนทำงานตัดต่อวิดีโองบจำกัดอย่างมาก
– ทำงานเงียบ

ข้อสังเกต

– ราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับกลุ่มฮาร์ดดิสก์ระดับเดียวกัน

]]>
รอด-ไม่รอด! ลองเล่น Ghost Recon Wildlands กับ SSD WD Blue และ RX470 บนสเปกคอมพ์เก่ากว่า 4 ปี https://cyberbiz.mgronline.com/ssdwd-rx470-wildlands/ Wed, 08 Mar 2017 02:29:45 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=25504 มาลองเล่นเกม Tom Clancy’s Ghost Recon Wildlands ทดสอบ SSD ใหม่จาก WD (Western Digital) Blue 1TB และมาชมกันว่า AMD Radeon RX470 4GB กับสเปกคอมพ์เก่ากว่า 4 ปีจะไปรอดหรือไม่

สเปกคอมพิวเตอร์ที่ใช้

CPU – Intel Core i7 2600K 3.4GHz
Mainboard – ASUS Sabertooth P67
RAM – 8GB DDR3
VGA – AMD Radeon RX470 – 4GB
HDD – WD PC SSD 1TB
Monitor – Samsung 1080p

]]>
Review : Alienware 15 เกมมิ่งโน้ตบุ๊กสายฮาร์ดคอร์ https://cyberbiz.mgronline.com/review-alienware15/ Tue, 24 Jan 2017 07:57:50 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=25165

alienware15-head

Alienware (เอเลี่ยนแวร์) เป็นแบรนด์สายเกมมิ่งประสิทธิภาพสูงจากเดลล์ที่เคยเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง วันนี้ Alienware พร้อมกลับมาทำตลาดเกมมิ่งพร้อมกับการเปิดตัว Alienware Experience Store ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการเพื่อตอบรับกับโลกเกมเมอร์ที่เติบโตสูงขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

โดยในส่วน Alienware ที่เดลล์นำเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยในปีนี้จะมีทั้งเดสก์ท็อป Aurora และโน้ตบุ๊ก 2 รุ่นได้แก่ Alienware 17 และรุ่นที่ทีมงานได้รับมาทดสอบกับ Alienware 15 ที่เดลล์เน้นสเปกกราฟิกการ์ดเป็นพิเศษ

การออกแบบ

IMG_0777

Alienware 15 รุ่นนี้เป็นรหัส R3 โดยการออกแบบเครื่องจะเน้นความเรียบง่าย มีเหลี่ยมมุมได้อารมณ์ยานอวกาศของเอเลี่ยนในภาพยนตร์ฮอลลีวูด ฝาปิดเครื่องผลิตจากอะลูมิเนียม มีโลโก้ Alienware พร้อมไฟส่องสว่างติดตั้งอยู่

IMG_0727

IMG_0729

หน้าจอ เป็นจอด้าน IPS ขนาด 15.6 นิ้ว ความละเอียด 1,920×1,080 พิกเซล เหนือหน้าจอเป็นไมโครโฟน 2 ตัวพร้อมกล้องเว็บแคมความละเอียด HD และอินฟาเรดรองรับฟีเจอร์ Windows Hello ใน Windows 10

IMG_0811

ในส่วนน้ำหนักตัวเครื่องอยู่ที่ประมาณ 3.49 กิโลกรัม หนา 12 นิ้ว แบตเตอรี 8 เซลล์พร้อมอะแดปเตอร์ไฟบ้าน 240W ขนาดใหญ่

IMG_0765

คีย์บอร์ด ถูกเรียกในชื่อ Alienware TactX Keyboard มีปุ่มคำสั่ง 108 ปุ่ม สามารถปรับแต่งตามการใช้งานได้พร้อมไฟ RGB-LED ส่องใต้แป้นคีย์บอร์ด สามารถปรับแต่งสีได้อิสระ

IMG_0808

ส่วน Track Pad (แยกปุ่มคลิกซ้าย-ขวาออกมา) เป็นมัลติทัชได้รับการออกแบบพิเศษ โดยฝังไฟ Backlit ส่องสว่างด้านใต้แบบ RGB-LED สามารถปรับสีได้ 16.7 ล้านสีผ่านซอฟต์แวร์ภายในตัวเครื่อง

IMG_0782

ด้านพอร์ตเชื่อมต่อรอบตัวเครื่อง เริ่มจากด้านหลัง ซ้ายมือเป็นพอร์ตแลน RJ-45, Mini-Display Port 1.2, HDMI 2.0, Thunderbolt 3, Alienware Graphics Amplifier (พอร์ตเชื่อมต่อกับ Docking เพื่ออัปเกรดไปใช้กราฟิกการ์ดของพีซีได้) และ DC-In

IMG_0783

ด้านซ้าย เริ่มจากพอร์ต USB-C, USB 3.0, ช่องเชื่อมต่อไมโครโฟน 3.5 มิลลิเมตรและช่องหูฟัง 3.5 มิลลิเมตร

IMG_0787

ด้านขวา เป็นที่อยู่ของ USB 3.0 จำนวน 1 ช่อง

IMG_0785

ด้านหน้า เป็นลำโพงสเตอริโอ

IMG_0798

ด้านล่าง จะเป็นที่อยู่ของช่องระบายความร้อนขนาดใหญ่ ส่วนการอัปเกรดสเปกเครื่อง เช่น แรม คงเป็นไปได้ยาก เนื่องจากเดลล์ไม่ได้ทำช่องอัปเกรดมาให้เหมือนหลายแบรนด์ การพยายามถอดฝาหลังด้วยตัวเองอาจทำให้ตัวเครื่องประกันขาดได้

IMG_0733

IMG_0799
สุดท้ายมาดูระบบระบายความร้อนซึ่งเป็นหัวใจหลักของเกมมิ่งโน้ตบุ๊ก โดย Alienware 15 จะใช้ฮีทซิงค์ขนาดใหญ่แยกติดตั้งอยู่ซ้ายและขวาของตัวเครื่อง (ทำหน้าที่ดึงความร้อนจากซีพียูและกราฟิกชิป) พร้อมพัดลมระบายความร้อนรอบสูง โดยหลักการทำงานพัดลมจะดึงอากาศจากด้านข้างและด้านล่างเข้ามา จากนั้นลมจะเป่าไปที่ฮีทซิงค์และพุ่งออกด้านหลังเครื่อง โดยรอบความเร็วพัดลมจะทำงานแปรผันตามการใช้งานและความร้อนที่ระบบตรวจจับได้

เพราะฉะนั้นทีมงานขอแนะนำให้ตั้ง Alienware 15 บนโต๊ะพื้นเรียบและเว้นช่องว่างด้านหลังไว้สักเล็กน้อยเพื่อให้ระบบไหลเวียนอากาศทำงานได้อย่างถูกต้องครบกระบวนการ โดยเฉพาะช่วงเล่นเกมควรตรวจสอบช่องระบายความร้อนทั้ง 4 ด้านว่าไม่มีสิ่งใดไปปิดกั้นทิศทางลมเข้าและออกก่อนทุกครั้ง

สเปก

spec-cpu-aw15

Alienware 15 รหัส R3 รุ่นทำตลาดในบ้านเราจะคล้ายกับรุ่นทำตลาดมาเลเซีย ซีพียูขับเคลื่อนด้วย Intel Core i7 “6th Generation” 6700HQ 4 คอร์ 8 เธรด ความเร็ว 2.60GHz พร้อม Turbo Boost สูงสุด 3.50GHz พร้อมแรม DDR4-2667 16GB ทำงานแบบ Dual Channel

gpu-spec-aw15

ในส่วนกราฟิกหลักขับเคลื่อนด้วย NVIDIA GeForce GTX 1070 พร้อมแรม 8GB (GDDR5) รองรับ DirectX 12 บน Windows 10 เต็มรูปแบบ

ด้านสเปกอื่นๆ Alienware จัดเต็มไม่แพ้กัน เริ่มตั้งแต่ WiFi ใช้ Killer 1535 802.11ac 2×2 บลูทูธ 4.1 ฮาร์ดดิสก์ 1TB 7200 รอบต่อนาทีพร้อม SSD ขนาด 256GB ส่วนระบบปฏิบัติการ Windows 10 Home ติดตั้งมาให้กับเครื่อง และสุดท้ายประกัน Onsite Service จากเดลล์ 3 ปีเต็ม

ฟีเจอร์เด่น

alienfx1

AlienFX เป็นซอฟต์แวร์ไว้ปรับแต่งสีของไฟ RGB-LED ตั้งแต่ไฟ Backlit แป้นคีย์บอร์ดแบ่งเป็น 3 โซน ขอบเครื่อง Track Pad ไฟโลโก้ Alienware โดยผู้ใช้สามารถปรับผสมสีได้ตามต้องการ พร้อมบันทึกเป็นธีมส่วนตัวได้ด้วย

IMG_0769

IMG_0800

AlienFX สามารถปรับได้ตั้งแต่ไฟชื่อแบรนด์ ไฟส่องสว่างใต้แป้นคีย์บอร์ด

IMG_0773

ไฟโลโก้ Alienware ก็ปรับสีได้

IMG_0771

IMG_0772

ขอบด้านข้างเครื่องทั้งสองด้านก็ปรับสีได้แบบ RGB เช่นกัน

alienfx2

AlienFusion เป็นส่วนปรับการตั้งค่าออปชันเกี่ยวกับพลังงาน เช่น เมื่อเสียงอะแดปเตอร์ไฟบ้านจะเปิดใช้งานกราฟิก NVIDIA และเมื่อเปลี่ยนไปใช้ไฟจากแบตเตอรีให้เปลี่ยนเป็นกราฟิกจาก Intel HD เป็นต้น

alienfx3

AlienTactX เป็นส่วนปรับแต่งคีย์บอร์ด โดยผู้ใช้สามารถสร้างโปรไฟล์มาโครปุ่มกดพิเศษ 1-5 (สามารถสร้างโปรไฟล์ได้ 3 ชุด) ปรับได้ตามเกมที่เล่นเหมือนคีย์บอร์ดเกมมิ่ง

alienfx4

graphic-amp-dell

AlienAdrenaline เป็นส่วนควบคุมเมื่อผู้ใช้เชื่อมต่อ Graphics Amplifier ซึ่งเป็นอุปกรณ์เสริมแยกขายที่ Alienware จะอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถอัปเกรดส่วนกราฟิกการ์ดไปใช้รุ่นใหญ่ของพีซี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเล่นเกมในอนาคตให้ถึงขีดสุดโดยไม่ต้องซื้อโน้ตบุ๊กใหม่ เพราะเดลล์เชื่อว่าปัญหาหลักๆของโน้ตบุ๊กเกมมิ่งที่ทำให้เล่นเกมในอนาคตได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ กว่า 70% อยู่ที่กราฟิกการ์ดตกรุ่น ไม่รองรับชุดคำสั่งกราฟิกตัวใหม่ ซึ่ง Graphics Amplifier จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้

alienfx5

และนอกจากนั้นในส่วน AlienAdrenaline ยังมาพร้อมระบบมอนิเตอร์การทำงานของซีพียู แรม WiFi และกราฟิกการ์ดได้ พร้อมความสามารถในการบันทึกกราฟการทำงานเก็บไว้ดูภายหลังได้ด้วย

aliensound-1

aliensound-2

Alienware Sound Center เป็นส่วนปรับแต่งเสียงลำโพงและไมโครโฟนซึ่งจะรองรับบรรดาเกมแคสเตอร์ในการจูนเสียงก่อนจะไลฟ์สด พร้อมระบบไมโครโฟนตัดเสียงรบกวน

aliensound-4

ส่วนสาวก FPS อย่างเกม Overwatch, CS Go ทาง Alienware ยังให้ระบบ Audio Recon โดยเมื่อเปิดใช้ระบบดังกล่าว ระหว่างเล่นเกมคุณสามารถดูเรดาห์จับทิศทางเสียงศัตรูที่วิ่งเข้ามารอบทิศได้ เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ไม่มีหูฟัง 7.1CH ระบบนี้จะช่วยการระบุตำแหน่งของเสียงศัตรูที่เข้ามารอบทิศทางให้ (รองรับเป็นบางเกม เช่น Overwatch)

ทดสอบประสิทธิภาพ

3dmark-alienware15-2017

ถึงแม้ Alienware 15 รุ่นทำตลาดในบ้านเราจะขับเคลื่อนด้วยซีพียู Intel Core i7 Gen 6 เท่านั้น แต่เดลล์ได้ใส่กราฟิกการ์ดตัวใหม่ที่มีประสิทธิภาพเกือบบนสุดของตลาด ทำให้คะแนน 3DMark ทำได้ค่อนข้างดี โดยเฉพาะชุดทดสอบใหม่อย่าง Time Spy (DirectX 12) ที่ดึงประสิทธิภาพ GTX 1070 ได้เต็มที่และความลื่นไหลก็ถือว่าดีระดับ 20-30 เฟรมต่อวินาที

PCAL1PCAL2PCAL3PCAL4PCAL5

ส่วนการทดสอบ PC Mark จะเน้นจำลองการใช้ Alienware 15 ทำงานทั้งพิมพ์งาน กราฟิกและทำงานด้านวิดีโอ เพราะฉะนั้นจะเน้นการประมวลผลของซีพียูเป็นหลัก ก็ถือว่าใช้ได้เป็นไปตามมาตรฐานชิป Core i7 Gen 6 ไม่ต่างจากโน้ตบุ๊กเกมมิ่งแบรนด์อื่นที่ใช้สเปกซีพียูเท่ากัน

hddtest-aw15

โดยอาจมีจุดสังเกตเล็กน้อยในเรื่องแบนด์วิดท์ SSD จะเห็นว่าทำงานได้เร็ว แต่ถ้าเทียบกับหลายแบรนด์แล้ว คะแนนส่วนนี้ยังถือว่าธรรมดา ไม่หวือหวาเท่าที่ควร ส่วนฮาร์ดดิสก์ตัวจานหมุนความจุ 1TB 7200RPM ถือว่าทำได้ตามมาตรฐาน ไม่เร็วหวือหวาเช่นกัน

ส่วนเรื่องการรองรับ NVIDIA G-Sync เท่าที่ทีมงานพยายามค้นหาข้อมูล หลายแหล่งข่าวบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า จอภาพ Alienware 15 รองรับ NVIDIA G-Sync ด้วยแต่เท่าที่ทีมงานค้นหาออปชันกราฟิกแล้วก็ไม่พบกับเมนูดังกล่าว จะปรับได้สูงสุดก็เพียง V-Sync 60Hz ปกติเท่านั้น

gtav-aw15

มาถึงการทดสอบเล่นเกม เริ่มจากเกม GTA V (DirectX 11) ถือว่าเป็นโน้ตบุ๊กไม่กี่รุ่นที่สามารถเปิดออปชันกราฟิกสูงสุดทั้งหมด รวมถึง Advanced Graphics สูงสุดได้ โดยเฟรมเรตถือว่าทำได้ดีระดับ 55-60 เฟรมต่อวินาที เล่นได้ลื่นไหลดีมาก อีกทั้งด้วยแรมกราฟิกการ์ดระดับ 8GB ผู้ใช้สามารถนำโน้ตบุ๊กไปเชื่อมต่อกับจอ 4K ภายนอกและใช้งานได้อย่างลื่นไหล (แต่อาจต้องลดออปชัน Advanced Graphics ลงเล็กน้อย)

Rise-of-the-Tomb-Raider-01.18.2017---12.46.03

Rise of The Tomb Raider (DirectX 12) ด้วยแรมกราฟิกการ์ด 8GB ออปชันกราฟิกทุกส่วนสามารถปรับสูงสุดได้ทั้งหมด ยกเว้นส่วนลบรอยหยักภาพที่ปรับได้แค่ SMAA 2x ถึงจะสามารถเล่นที่ความละเอียด 1080p 60 เฟรมต่อวินาทีได้ลื่นไหลตลอดทั้งเกม เพราะถ้าปรับเป็น 4x เฟรมเรตจะตกลงเหลือ 45 เฟรมต่อวินาที อาจรู้สึกหน่วงเล็กน้อย

Overwatch-01.18.2017---16.29.53

Overwatch มาถึงเกมดังแห่งยุคและเป็นเกมที่ถูกใช้ทดสอบประสิทธิภาพเครื่องมากที่สุด สำหรับ Alienware 15 รุ่นนี้สามารถเล่นเกมนี้ได้ลื่นไหลสบาย ปรับออปชันกราฟิกสูงสุดพร้อมเปิด Render Scale 150% ก็ยังลื่นไหล หรือจะไปเชื่อมต่อจอ 4K ภายนอกก็เล่นได้ลื่นไหลเช่นกัน

catzilla-aw15

คะแนนจากชุดทดสอบ Catzilla (DirectX 11)

ffxiv-aw15

คะแนนจากชุดทดสอบ Final Tantasy XIV Heavensward (DirectX 11)

สรุปภาพรวมด้านการทดสอบประสิทธิภาพ ทีมงานไซเบอร์บิซขอเน้นไปที่การเล่นเกมเป็นหลัก ด้วยกราฟิกการ์ดระดับ GTX 1070 พร้อมแรม 8GB เมื่อประกบบนสเปกเครื่องระดับบนของตลาดโน้ตบุ๊ก ถึงแม้สเปกหลายส่วนจะไม่ใช่รุ่นใหม่ล่าสุดของปี 2017 แต่ก็ยังถือว่าตอบสนองการเล่นเกมทุกเกมในตลาดไปได้อีก 2-3 ปีอย่างแน่นอน โดยเฉพาะกราฟิกการ์ดตระกูล GTX 10 ให้ประสิทธิภาพใกล้เคียงกับกราฟิกการ์ดของพีซีมากกว่าสมัยตระกูล 9xxM

แต่ถึงอย่างไร Alienware 15 ก็เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถอัปเกรดไปใช้กราฟิกการ์ดของพีซี ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่ากราฟิกการ์ดบนโน้ตบุ๊กผ่าน Graphics Amplifier ที่ต้องซื้อแยกภายหลังได้ ก็เท่ากับว่าการลงทุนซื้อ Alienware 15 + Graphics Amplifier จะทำให้โน้ตบุ๊กรุ่นนี้ตกรุ่นช้าลง เพราะอย่างที่หลายท่านทราบ ประเด็นใหญ่สุดของโน้ตบุ๊กเกมมิ่งราคาสูงก็คือซื้อมาใช้ได้ 2 ปี กราฟิกการ์ดตกรุ่น เล่นเกมใหม่ๆก็ไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าเดิม ส่วนซีพียูถึงแม้จะไม่สามารถอัปเกรดได้ แต่ส่วนใหญ่ก็รองรับเกมไปอย่างน้อย 4-5 ปีได้สบายๆ

มาถึงเรื่องการระบายความร้อนภายใน เท่าที่ทดสอบเล่นเกมตลอดทั้งวัน Alienware 15 จะมาพร้อมพัดลมระบายความร้อนรอบสูง 2 ตัว ซึ่งให้แรงลมที่ดีและเสียงดังมาก แต่ก็ให้ประสิทธิภาพการระบายความร้อนที่ดีใช้ได้เลย อุณหภูมิกราฟิกการ์ดตลอดการทดสอบเล่นเกมทั้งวันอยู่ที่ประมาณ 60-70 องศาเซลเซียส สูงสุดไม่เกิน 80 องศาเซลเซียส และตลอดการทดสอบไม่พบอาการเฟรมเรตตกจากความร้อนสะสมที่มากเกินไป ซึ่งส่วนนี้น่าจะมาจากวัสดุตัวเครื่องที่ใช้อะลูมิเนียมเป็นส่วนประกอบหลักทำให้การคายความร้อนทำได้เร็วไปพร้อมๆกับพัดลมรอบสูง

battery1

ใช้โปรไฟล์พลังงาน High Performance พร้อมเปิด AlienFX

battery2

ใช้โปรไฟล์พลังงาน Balance

สุดท้ายเรื่องแบตเตอรี ถึงแม้ Alienware 15 จะมาพร้อมแบตเตอรี 8 เซลล์ก็ตาม แต่ด้วยระบบที่มาพร้อมทั้งไฟ RGB-LED รอบตัวไปถึงพัดลมระบายความร้อนรอบสูง ทำให้ตัวเครื่องบริโภคพลังงานค่อนข้างมาก ถ้าเปิดใช้ระบบทุกส่วนเต็มพิกัด แบตเตอรีจะอยู่ได้ประมาณ 1-2 ชั่วโมงเท่านั้น ส่วนเมื่อปิดไฟ RGB-LED รอบตัวเครื่องพร้อมเปิดโปรไฟล์พลังงาน Balance แบตเตอรีจะอยู่ได้ประมาณ 2-4 ชั่วโมง และสามารถทำได้มากสุดเมื่อเปิด Power Save Mode จะอยู่ได้ไม่เกิน 6 ชั่วโมง ถือว่าค่อนข้างบริโภคพลังงานมากกว่าโน้ตบุ๊กเกมมิ่งหลายแบรนด์

สรุป

สำหรับราคาเปิดตัว Alienware 15 อยู่ที่ 99,900 บาท โดยจุดเด่นจริงๆของ Alienware 15 ถ้าไม่นับเรื่องกราฟิกการ์ดระดับบน (ที่ปัจจุบันเริ่มมีหลายค่ายนำมาติดตั้งกับโน้ตบุ๊กเกมมิ่งของตนแล้ว) คงอยู่ที่เรื่อง Graphics Amplifier และดีไซน์เฉพาะแบบ Alienware รวมถึงวัสดุงานประกอบที่ทำได้แข็งแรงตามแบบฉบับเดลล์ ไปถึงประกัน onsite service 3 ปีเต็มที่ทำให้ Alienware มีความโดดเด่นเหนือคู่แข่งอยู่บ้าง

แต่โดยภาพรวมสำหรับตลาดเกมมิ่งโน้ตบุ๊กระดับบน ก็ต้องยอมรับว่าครั้งนี้ Alienware ตั้งใจทำตลาดในประเทศไทยมากขึ้น เพราะนอกจากการเปิด Alienware Experience Store (ตั้งอยู่ที่ Siam Discovery ชั้น 2) แล้ว ในส่วนราคาก็ถือว่าสอดคล้องกับหลายแบรนด์ที่ให้สเปกใกล้เคียงกัน เพราะฉะนั้นก่อนตัดสินใจเลือกซื้อควรพิจารณาทดลองเล่นที่สโตร์ต่างๆให้ดีก่อน เพราะในราคาระดับนี้ หลายแบรนด์ก็มีรุ่นย่อยให้เลือกแยกย่อยลงไปอีก และสำคัญสุดสำหรับการเลือกซื้อโน้ตบุ๊กเกมมิ่งก็คือ ควรดูระบบระบายความร้อนเป็นอันดับแรก เพราะต้องไม่ลืมว่าการเล่นเกมบนโน้ตบุ๊กตลอดทั้งวันจะเท่ากับว่าตัวเครื่องต้องมีความร้อนสะสมภายในอยู่เป็นจำนวนมาก ถ้าระบบระบายความร้อนไม่ดี โน้ตบุ๊กจะลากลับบ้านเก่าได้ง่ายกว่ารุ่นที่ใส่ใจเรื่องระบบระบายความร้อนเป็นสำคัญ

ข้อดี

– งานประกอบแข็งแรงและมีเอกลักษณ์ความเป็น Alienware
– สเปกไฮเอนด์ รองรับเกมเกอร์สายฮาร์ดคอร์ได้ดี
– รองรับการอัปเกรดไปใช้กราฟิกการ์ดพีซีผ่าน Graphics Amplifier
– รองรับการเชื่อมต่อจอ 4K ภายนอก รวมถึงรองรับ VR
– หน้าจอให้สีสวย ภาพสดใส

ข้อสังเกต

– ไม่มีช่องอ่าน SD Card
– ลำโพงให้ประสิทธิภาพเสียงที่ธรรมดา
– พัดลมระบายความร้อนเสียงดังเมื่อทำงานเต็มประสิทธิภาพ

]]>
Review : AMD Radeon RX 470 อีกหนึ่งความคุ้มค่ากับราคาที่ทุกคนเอื้อมถึง https://cyberbiz.mgronline.com/review-amd-radeon-rx470/ Sat, 17 Dec 2016 07:24:31 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=24765

IMG_0371

ครั้งที่แล้วทีมงานไซเบอร์บิซพาทุกท่านไปรีวิวกราฟิกการ์ดพี่ใหญ่ AMD Radeon RX 480 พร้อมแรม 8GB ไปแล้ว มาวันนี้ถึงคิวน้องคนกลางกับ “Radeon RX 470” ที่เอเอ็มดียังคงประสิทธิภาพ เน้นความคุ้มค่าคุ้มราคาเงินไม่ถึงหมื่นบาทอีกเช่นเดิม

การออกแบบ

IMG_0378

IMG_0366

สำหรับตัวกราฟิกการ์ด AMD Radeon RX 470 รุ่นที่ทีมงานได้รับมาทดสอบจะเป็น Reference Card ส่งตรงจากโรงงานของเอเอ็มดี เพราะฉะนั้นหน้าตาและขนาดจะเหมือนกับ RX 480 ทุกสัดส่วน (กินพื้นที่ติดตั้ง PCIE 2 ช่องตามมาตรฐาน)

IMG_0368

ในส่วนสเปกการ์ดยังคงใช้สถาปัตยกรรมรุ่นที่ 4 (GCN 4.0) “Polaris” เช่นเดียวกับการ์ดทุกรุ่นในตระกูล RX ด้านพอร์ตเชื่อมต่อการ์ดใช้ PCI Express 3.0 x16 และช่องไฟเลี้ยงใช้แบบ 6 พิน (บริโภคไฟสูงสุดไม่เกิน 120 วัตต์)

IMG_0373

มาดูพอร์ตเชื่อมต่อ เอเอ็มดีให้ Display Port (รองรับ HDR) มาจุใจถึง 3 พอร์ต รองรับ MST ฮับเพื่อเชื่อมต่อจอภาพได้สูงสุด 6 จอ (AMD Eyefinity Technology)

ส่วนพอร์ต HDMI ให้เป็นเวอร์ชัน 2.0 จำนวน 1 พอร์ต

สเปก

gpuz-rx470

AMD Radeon RX 470 มาพร้อมชิปประมวลผลกราฟิก (GPU) โค้ดเนม “Ellesmere” ขนาด 14 นาโนเมตร พร้อมแรม GDDR5 256-bit ขนาด 4GB ความเร็วสัญญาณนาฬิกาสูงสุด 1,206MHz รองรับ Compute Units 32 ยูนิต

ในส่วนฟีเจอร์ชุดคำสั่งกราฟิกที่รองรับ ได้แก่ DirectX 12, HDR Game, Vulkan, OpenCL 2.0, OpenGL 4.5 รวมถึงรองรับ Virtual Reality ในชื่อ “AMD LiquidVR”

ด้านซอฟต์แวร์ควบคุมใช้ “Crimson” รองรับฟีเจอร์ AMD FreeSync, Frame Rate Target Control, Virtual Super Resolution, WattMan และล่าสุดมาพร้อมฟีเจอร์ ReLive ที่เปิดให้ผู้ใช้สามารถบันทึกหน้าจอเกมในรูปแบบวิดีโอหรือแคสเกมผ่านบริการ Twitch ได้ทันที

ส่วนอีกหนึ่งฟีเจอร์ที่น่าสนใจและเพิ่งเปิดให้ใช้งานผ่านซอฟต์แวร์ Crimson รุ่นล่าสุดก็คือ “Radeon Chill” ที่ออกแบบมาเพื่อกราฟิกการ์ดตะกูล RX โดยเฉพาะ โดยฟีเจอร์ดังกล่าวจะทำให้การจัดสรรพลังงานทำได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้การ์ดบริโภคพลังงานน้อยลง ประหยัดไฟและความร้อนลดลง

ทดสอบประสิทธิภาพ

อย่างที่ทราบว่าตัวการ์ด RX 470 จะใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพต้องรันบนอินเตอร์เฟส PCI Express 3.0 แต่เพราะเมนบอร์ดของทีมงานรองรับแค่ PCI Express 2.0 เท่านั้น คะแนนที่ได้อาจคาดเคลื่อนไม่เป็นตามมาตรฐาน

amdsetrx470

ชุดคอมพิวเตอร์ที่ทีมงานใช้ร่วมกับการทดสอบกราฟิกการ์ด AMD Radeon RX 470 – 4GB GDDR 5 เป็นเช็ทระดับกลางที่ทีมงานหวังว่าด้วยสเปกที่ไม่สูงมาก ผู้อ่านสามารถจับต้องได้ทุกคน น่าจะช่วยให้การทดสอบทำได้น่าตื่นเต้น มองแล้วไม่ไกลตัวเกินไป เหมาะกับสภาพเศรษฐกิจในยุคนี้

3dmark-rx470

เริ่มการทดสอบกับ 3DMark เรื่องคะแนนผมขอไม่ยกเป็นประเด็นสำคัญ เพราะผลคะแนนเป็นไปตามราคาการ์ดระดับกลาง แต่ผมจะขอเน้นการใช้งานจริงร่วมกับการเล่นเกมตามคลิปวิดีโอด้านล่าง (ทดสอบที่ความละเอียด 1080p ทุกเกม)

iw7_ship-2016-11-30-19-46-04-70

จากคลิปวิดีโอทดสอบเล่นเกม Call of Duty Infinite Warfare (DirectX 11) เกมนี้สามารถปรับค่ากราฟิกสูงสุดทั้งหมดได้ ยกเว้นส่วน Texture ต้องปรับประมาณ High และลบรอยหยักที่เปิดได้ไม่สูงสุด เฟรมเรตที่ได้จะอยู่ประมาณ 30-50 เฟรมต่อวินาที เล่นได้ลื่นไหลสบายๆ

GTA5-2016-12-03-16-38-29-38

GTA V (DirectX 11) สามรถปรับสุดและเล่นได้ลื่นไหลระดับ 40-60 เฟรมต่อวินาที แต่ต้องปิดลบรอยหยัก MSAA และปิดออปชันส่วน Advanced Graphics ทั้งหมด

catzilla-rx470

Catzilla 720p (DirectX 11) ทำคะแนนได้ 15,606 คะแนน น้อยกว่า RX 480 ประมาณ 2 พันคะแนน โดยการทดสอบทำได้ลื่นไหลไม่มีปัญหาใดๆให้พบเจอ

ffxiv-rx470

Final Fantasy XIV HEAVENSWARD (DirectX 11) ทำคะแนนทดสอบได้ 8,133 คะแนน ปรับค่ากราฟิกสูงสุดทั้งหมด ความลื่นไหลไม่พบอาการสะดุดระหว่างทดสอบ

Rise-of-the-Tomb-Raider-v1.0-build-668.1_64-3_12_2559-14_35_46

Rise of the Tomb Raider (DirectX 12) ปรับสุดทั้งหมด ยกเว้น Texture จะปรับได้แค่ High เนื่องจากการปรับสูงสุดต้องใช้แรมกราฟิกการ์ดประมาณ 6GB และลบรอยหยักภาพต้องปรับให้ต่ำสุดถึงจะเล่นได้ลื่นไหล (เฟรมเรตประมาณ 47-50 เฟรมต่อวินาที) แต่ถ้าเปิดลบรอยหยักสูงสุด เฟรมเรตจะตกลงเหลือประมาณ 27-38 เฟรมต่อวินาทีเท่านั้น (มีอาการภาพหน่วงๆให้เห็นเป็นระยะ)

อาจเพราะการปรับภาพสูงสุด เกมบริโภคแรมกราฟิกการ์ดจำนวนมากจึงทำให้เห็นความแตกต่างจากการรันบนการ์ด RX 480 ที่มีแรมมากถึง 8GB ชัดเจนอย่างมาก (RX 480 ปรับค่ากราฟิกสูงสุดได้ทั้งหมดโดยไม่พบอาการกระตุกหรือภาพหน่วงแต่อย่างใด)

สุดท้ายขยับมาทดสอบเกมที่อยู่คู่เอเอ็มดีมานานกับ Battlefield ทั้งภาค 4 (DirectX 11 และ Mantle) และภาค 1 (DirectX 12) เริ่มจากภาคเก่า Battlefield 4 ใช้ชุดคำสั่งกราฟิก AMD Mantle ปรับสูงสุดทั้งหมด ลื่นไหลไม่มีปัญหา ส่วนถ้าเปิดใช้ชุดคำสั่ง DirectX 11 เวลาเจอเอฟเฟ็กต์จำนวนมาก จะมีอาการภาพหน่วงให้เห็นเล็กน้อย

ส่วน Battlefield 1 โหมด DirectX 12 ที่หลายคนลงความเห็นว่าเข้ากันดีกับ RX 480 มากที่สุด ลองมาทดสอบกับ RX 470 พบว่า สามารถเล่นได้ลื่นไหลแบบปรับสุดได้เช่นกัน แต่เฟรมเรตจะมีอาการสวิงตั้งแต่ 30-50 เฟรมต่อวินาที ไม่นิ่งเหมือน RX 480 และอาจพบอาการภาพหน่วงเวลาเจอระเบิดจำนวนมาก

wattman-temp-rx470

ด้านการทดสอบอุณหภูมิระหว่างทำงานแบบ Full Load จะอยู่ที่ประมาณ 78 องศาเซลเซียส

สรุป

IMG_0385

สำหรับราคาขาย AMD Radeon RX 470 – 4GB จะอยู่ในช่วงตั้งแต่ 7 พันถึง 8 พันบาทปลายๆ โดยภาพรวมตัวการ์ดยังเน้นความคุ้มค่าคุ้มราคา แรมให้มา 4GB เพียงพอกับความต้องการของเกมในปัจจุบัน ส่วนประสิทธิภาพโดยรวมแล้วใกล้เคียงกับพี่ใหญ่ RX 480 เหมาะแก่เกมเมอร์ฮาร์ดคอร์ที่ใช้จอภาพความละเอียด 1080p ส่วนคนที่ใช้หน้าจอ 2-4K ทีมงานยังแนะนำให้เลือกใช้ RX 480 จะดีที่สุด

ข้อดี

– ราคาเทียบประสิทธิภาพจัดอยู่ในเกณฑ์คุ้มค่าคุ้มราคา
– AMD Radeon สถาปัตยกรรมใหม่ ประหยัดไฟมากขึ้น ความร้อนต่ำลงมาก

ข้อสังเกต

– ไม่มีพอร์ต DVI มาให้
– การอัปเดตไดร์วเวอร์ บางครั้งแสดงชื่อการ์ดผิดรุ่น (เป็น RX 480)

]]>
Review : Acer Aspire E5-553G-T03K โน้ตบุ๊กสุดคุ้ม พลัง AMD ควอดคอร์ ในราคาไม่ถึงสองหมื่นบาท https://cyberbiz.mgronline.com/review-acer-aspire-e-amd/ Tue, 22 Nov 2016 10:14:53 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=24564

IMG_0084

วันนี้ทีมงานไซเบอร์บิซได้รับโน้ตบุ๊กฝั่ง AMD (เอเอ็มดี) มาทดสอบกับแบรนด์ Acer ตระกูล Aspire E Series ที่เน้นการใช้งานในชีวิตประจำวันที่หลากหลาย โดยรุ่นที่ทีมงานได้รับมาเป็นรหัส E5-553G-T03K ใช้ซีพียู AMD A-Series เจนเนอเรชันที่ 7 พร้อมกราฟิกการ์ดแยกและไม้ตายเด็ดคือราคาไม่ถึงสองหมื่นบาท

การออกแบบ

IMG_0080

IMG_0124

เริ่มจากการออกแบบ Aspire E Series ถูกจัดอยู่ในกลุ่มโน้ตบุ๊กเน้นใช้งานหลากหลายในราคาที่คุ้มค่า เพราะฉะนั้นเอเซอร์จึงจัดสเปกฮาร์ดแวร์มาให้เพียงพอต่อการใช้งานทุกรูปแบบ ตั้งแต่หน้าจอแบบด้าน ที่ให้ขนาดมาใหญ่โตถึง 15.6 นิ้ว แต่ด้านพาเนลจะลดสเปกไปใช้ Active Matrix TFT Color LCD ที่ความละเอียด HD 1,366×768 พิกเซล พร้อมกล้องเว็บแคมรองรับ HDR และไมโครโฟน

IMG_0108

ด้านวัสดุ ฝาเปิดปิดเป็นพลาสติกขัดลายให้เหมือนโลหะดูหรูหรา

ในส่วนขนาดตัวเครื่องค่อนข้างใหญ่โตตามขนาดหน้าจอ โดยตัวเครื่องมีความหนา 23.90 (ด้านหน้า)ถึง 30.20 มิลลิเมตร (ด้านหลัง) พร้อมน้ำหนัก 2.23 กิโลกรัม

IMG_0094

แน่นอนว่าด้วยตัวเครื่องขนาดใหญ่ ทำให้แป้นคีย์บอร์ดสามารถติดตั้ง Num Pad (แผงปุ่มตัวเลข) เพิ่มได้ โดยแป้นคีย์บอร์ดจะไม่มีไฟส่องสว่างด้านหลังเวลาใช้งานกลางคืน ส่วน Touch Pad เป็นมัลติทัชรุ่นใหม่แบบมีระบบป้องกันการตอบสนองต่ออุ้งมือจากการสัมผัสโดยไม่ตั้งใจ

IMG_0131

ด้านล่างตัวเครื่อง ในรุ่นใหม่นี้จะมาพร้อมแบตเตอรี 4 เซลล์ขนาด 2,800mAh ไม่สามารถถอดเปลี่ยนได้ด้วยตัวเอง ลงมาด้านล่างจะเป็นฝาปิดช่องใส่แรมและฮาร์ดดิกส์ (สามารถอัปเกรดได้ภายหลัง แต่ระหว่างอยู่ในประกันเมื่อแกะฝาปิดนี้ออกด้วยตัวเอง ประกันจะขาดทันที) 

IMG_0139

ส่วนช่องซ้ายขวาด้านล่างจะเป็นลำโพงสเตอริโอ 2 ตัวบนเทคโนโลยี Acer TrueHarmony เน้นให้เสียงมีมิติมากขึ้น

IMG_0120

มาดูพอร์ตเชื่อมต่อรอบตัวเครื่อง เริ่มจากขวามือเป็นไดร์ฟ DVD อ่านเขียนได้ ถัดมาเป็นช่องเสียบอะแดปเตอร์ไฟบ้าน พอร์ต USB 2.0 และช่องหูฟัง/Headset 3.5 มิลลิเมตร

IMG_0119

ซ้ายมือ เริ่มจากบนสุดเป็นช่องใส่สายล็อคกันขโมย ถัดลงมาเป็นช่องระบายความร้อน พอร์ต USB-C 3.1, พอร์ต LAN RJ-45, VGA D-sub, HDMI และ USB 3.0 อีก 2 พอร์ต (เรียกได้ว่าครบครันทุกพอร์ตเชื่อมต่อที่ใช้ในปัจจุบันเลย)

IMG_0133

ด้านหน้า เป็นช่องอ่านการ์ด SD Card Reader และไฟแสดงสถานะการทำงานของตัวเครื่องและไฟฮาร์ดดิสก์

สเปก

cpu-a10

มาถึงสเปก เริ่มจากซีพียูใช้เจนใหม่ระดับกลาง เน้นประหยัดพลังงาน (7th Gen) AMD A10 9600P Quad Core ความเร็ว 2.40GHz 10 Compute Cores (GPU+CPU) รองรับ AMD Turbo Core Technology เพิ่มความเร็วได้สูงสุด 3.30GHz แรมเป็น DDR4 Dual Channel ขนาด 8GB

gpuz-a10

amdset1

ในส่วนกราฟิกการ์ดจะมี 2 ตัว (Dual Graphics) คือหนึ่งตัวมากับซีพียูเป็น Accelerated Processor (APU) “Radeon R5” พร้อมแรม 512MB แชร์มาจากแรมตัวเครื่อง DDR4 ส่วนอีกตัวเป็น “AMD Radeon R8 M445DX” (ในรูปจะแสดงชื่อรุ่นผิด ต้องรออัปเดตซอฟต์แวร์) พร้อมแรม DDR3 ขนาด 2GB โดยการทำงาน ระบบจะจัดการพลังงานและประสิทธิภาพแปรผันตามการใช้งานผ่านซอฟต์แวร์ควบคุมอัตโนมัติ

specaceramdddddd22

ด้านสเปกฮาร์ดแวร์ส่วนอื่น Acer Aspire E5-553G-T03K มาพร้อมฮาร์ดดิสก์เก็บข้อมูลความจุ 1TB จากโตชิบ้า ชิป WiFi จาก Qualcomm รองรับมาตรฐานเชื่อมต่อสูงสุด IEEE 802.11ac พร้อมบลูทูธ

สำหรับระบบปฏิบัติการที่ติดตั้งมากับเครื่องจะเป็น Linpus Linux เท่านั้น ใครอยากได้ Windows 10 ต้องซื้อแยกมาติดตั้งเอง

ทดสอบประสิทธิภาพและสรุป

pcmark-amdacer1

pcmark-amdacer4pcmark-amdacer2pcmark-amdacer3

ขอเริ่มจาก PCMark 8 กันก่อน จะเห็นว่าผลคะแนนที่ออกมาถ้าเทียบกับโน้ตบุ๊กรุ่นที่ใช้ซีพียูคู่แข่งจะอยู่ประมาณ Intel Core i5 ได้ประสิทธิภาพคุ้มราคาดีเหมือนกันโดยเฉพาะเมื่อใช้งานแอปพลิเคชันเป็นจำนวนมากพร้อมกัน 4 แกนสมองของเอเอ็มดีช่วยเหลือได้ดีมาก

3dmark13dmark2

โดยเฉพาะส่วนกราฟิกแม้เมื่อรวมกันทำงานจะให้ประสิทธิภาพเพียงแค่ระดับเริ่มต้น (3DMark ทดสอบได้แค่ชุด Sky Diver กับ Cloud Gate สูงกว่านั้นสเปกกราฟิกไม่พอ) แต่สำหรับการนำไปใช้ทำงาน เช่น ตกแต่งภาพ เรนเดอร์วิดีโอถือว่าทำได้ลื่นไหลพอตัว โดยทีมงานได้ทดลองตัดต่อวิดีโอ 4K ก็พบว่าสามารถทำได้ในระดับกลางๆ น่าพอใจ อาจไม่รวดเร็วแต่ก็ไม่มีอาการติดขัดใดๆระหว่างใช้งานเลย

geekaceramd

คะแนน Geekbench 4 สำหรับ Single Core อยู่ที่ 1,951 คะแนน Multi-core อยู่ที่ 4,159 คะแนน

ffxiv_dx11-2016-11-19-13-06-17-36

ffxivaceramd

Rise-of-the-Tomb-Raider-v1.0-build-668.1_64-19_11_2559-12_38_39

มาถึงการทดสอบเล่นเกม ตามสเปกและราคา Aspire E5-553G-T03K อาจไม่รองรับกับเกม 3 มิติทุกเกมที่วางขายในท้องตลาดตอนนี้ เนื่องจากสเปกฮาร์ดแวร์ค่อนข้างจำกัดอย่างมาก ยกตัวอย่างเกม Rise of the Tomb Raider สามารถเล่นบน DirectX 12 ที่ค่ากราฟิกต่ำสุดได้เฟรมเรตประมาณ 15-20 เฟรมต่อวินาทีเท่านั้น ถือว่าพอเล่นได้ กราฟิกไม่มีแสดงผลผิดเพี้ยน ถ้าเป็นเกมที่กราฟิกไม่สูงมาก เช่น Overwatch สามารถปรับค่ากราฟิกกลางๆก็สามารถเล่นได้ลื่นไหลสบายๆ หรือ GTA V ถ้าปรับออปชันกราฟิกกลาง-ต่ำ ก็สามารถเล่นได้ลื่นไหลเช่นกัน (เทียบกับคู่แข่งก็ประมาณ NVIDIA GeForce 940M)

aceramda10-batterytest

สุดท้ายกับการทดสอบแบตเตอรี ถือเป็นจุดอ่อนสุดของโน้ตบุ๊กรุ่นนี้เพราะทำเวลาใช้งานต่อเนื่องได้แค่ 2 ชั่วโมง 33 นาทีเท่านั้น ถ้านับเป็นเวลาใช้งานทั่วไปไม่น่าจะถึง 6 ชั่วโมง

สรุปสำหรับค่าตัว Acer Aspire E5-553G-T03K ราคาเต็มอยู่ที่ 17,990 บาท (ตอนนี้มีการปรับราคาลงเหลือ 14,990 บาท) เรียกว่าเป็นราคาเปิดตัวที่คุ้มค่าอย่างมากเมื่อเทียบกับประสิทธิภาพที่ได้ ยิ่งเมื่อเทียบกับคู่แข่งแล้ว โน้ตบุ๊กรุ่นนี้ที่มาพร้อมซีพียูเจนเนอเรชันที่ 7 จาก AMD สามารถฟัดชนะคู่แข่งได้ไม่ยากเลย (ประสิทธิภาพสูสีกันแล้ว) ยิ่งราคาเปิดตัวมาไม่เกินสองหมื่นบาทด้วยแล้ว ใครมีงบประมาณจำกัด ทีมงานแนะนำให้มองรุ่นนี้เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกได้เลย

แต่ทั้งนี้ทีมงานก็อยากให้ทางเอเซอร์ปรับความสมบูรณ์ของไดร์ฟเวอร์กราฟิกการ์ดและเฟริมแวร์ตัวเครื่องอีกเล็กน้อย เนื่องจากระบบมองชื่อรุ่นกราฟิกการ์ดผิดรุ่นและบางครั้งระบบมองไม่เห็นกราฟิกการ์ดตัวที่สองทำให้ประสิทธิภาพลดลงไปถึงการจัดการพลังงานภายในที่ต้องได้รับการแก้ไขอีกเล็กน้อย Aspire E5-553G-T03K ก็น่าจะสมบูรณ์แบบและน่าใช้ยิ่งขึ้นไปอีก

ข้อดี

– สเปกเทียบราคาคุ้มค่ามาก
– ซีพียูควอดคอร์
– จอ 15.6 นิ้ว คีย์บอร์ดมีแป้นตัวเลข
– พอร์ตเชื่อมต่อครบครัน มี USB-C ด้วย
– อัปเกรดแรมและฮาร์ดดิสก์ได้ภายหลัง

ข้อสังเกต

– ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่
– แบตเตอรีหมดเร็ว
– ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ระบบยังไม่ค่อยเสถียรนัก
– ฮาร์ดดิสก์ 1TB ที่ิติดตั้งมากับเครื่องอ่านเขียนค่อนข้างช้า

Gallery

]]>
Review : AMD Radeon RX 480 กราฟิกการ์ดสุดคุ้ม แรม 8GB ในราคาเริ่มต้นไม่ถึงหมื่นบาท https://cyberbiz.mgronline.com/review-amd-radeon-rx480/ Sat, 22 Oct 2016 01:57:41 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=24267

DSC_2723

นานทีปีหนทีมงานไซเบอร์บิซจะได้รับกราฟิกการ์ดสำหรับพีซีเกมเมอร์มารีวิวสักครั้งหนึ่ง วันนี้ทีมงานได้รับกราฟิกการ์ดรุ่นใหม่ล่าสุดจาก AMD (เอเอ็มดี) มารีวิวให้ชมกันในชื่อ “AMD Radeon RX 480”

AMD Radeon RX Series เป็นกราฟิกการ์ดตระกูลใหม่จาก AMD โดยปัจจุบันจะมีให้เลิอก 3 รุ่น ได้แก่รุ่นท็อปสุด RX 480 เน้นฮาร์ดคอร์เกมเมอร์และใช้งาน VR ได้ลื่นไหลสุด รุ่นกลาง RX 470 เน้น HD เกม และสุดท้ายรุ่นราคาประหยัด RX 460 เน้นตลาดเกมออนไลน์

การออกแบบ

DSC_2728

DSC_2726

AMD Radeon RX 480 เป็นกราฟิกการ์ดซีรีย์ใหม่บนสถาปัตยกรรมรุ่นที่ 4 (GCN 4.0)  “Polaris” จาก AMD ที่ได้รับออกแบบทุกส่วนใหม่หมดตั้งแต่บอร์ดไปถึงชิปประมวลผล โดยในรุ่นที่ทีมงานไซเบอร์บิซได้รับมารีวิวจะผลิตจาก AMD โดยตรง

DSC_2736

DSC_2731

สำหรับการออกแบบ ตัวการ์ด RX 480 จะเชื่อมต่อกับสลอต PCI Express รองรับเวอร์ชัน 3.0 กินพื้นที่ใส่การ์ด PCIE 2 ช่องตามมาตรฐาน ตัวการ์ดมีขนาดสั้นและน้ำหนักไม่มาก

ด้านหน้าของตัวการ์ดจะเป็นพลาสติกสีดำครอบทับฮีทซิงค์ระบายความร้อนพร้อมพัดลมระบายความร้อน 1 ตัว ด้านหลังเป็นบอร์ดสีดำเปลือย ซึ่งถ้าสังเกตที่บริเวณชิปกราฟิก จะพบว่ามีขนาดเล็กลงจากเดิม

DSC_2719

ด้านไฟเลี้ยงใช้เพียงแค่ 6 พินเท่านั้น (ตามสเปกตัวการ์ดใช้ไฟประมาณ 110 วัตต์) พร้อมโลโก้ RADEON (ไม่มีไฟส่องสว่างเหมือนรุ่นใหญ่)

DSC_2724

ส่วนพอร์ตเชื่อมต่อจอภาพจะแบ่งเป็น Display Port 3 ช่อง (รองรับเวอร์ชัน 1.4 HDR Ready) HDMI 2.0 1 ช่อง

โดย Display Port ทั้ง 3 ช่อง รองรับการต่อเชื่อมกับ Multi Stream Transport (MST) Hub เพื่อต่อจอเพิ่มอีก 3 จอ รวม Display Port รองรับการแสดงผลภาพพร้อมกันทั้งหมดได้สูงถึง 6 จอ เพื่อทำ AMD Eyefinity ได้

สเปก

rx480-specdetails

AMD Radeon RX 480 มาพร้อมชิปประมวลผลกราฟิก (GPU) แบบ 14 นาโนเมตร ความเร็ว 1,266 MHz ในส่วน Stream Processors อยู่ที่ 2,304 Compute Units อยู่ที่ 36 ยูนิต ที่นอกจากความแรงจะมากกว่าสถาปัตยกรรมเก่าถึง 1-2 เท่า ตัวกราฟิกการ์ดยังมาพร้อมการรองรับฟีเจอร์ในอนาคต ได้แก่

– HDR Game
– รองรับ DirectX 12 ใน Windows 10 เต็มรูปแบบ
– รองรับ Vulkan, OpenCL 2.0, OpenGL 4.5
– รองรับเกมที่รันบนความละเอียด 4K 60 เฟรมต่อวินาที และ RX 480 จะรองรับความละเอียด 5K ด้วย
– รองรับการถอดรหัส HEVC H.265 ที่ใช้ในวิดีโอความละเอียดสูง
– รองรับ Virtual Reality ในชื่อ “AMD LiquidVR”

และนอกจากนั้นตัวการ์ดยังบริโภคพลังงานต่ำลง อย่างรุ่น RX 480 ที่เรานำมารีวิวในวันนี้ มีผู้ใช้หลายท่านทดลองใช้งานร่วมกับ Power Supply 300 วัตต์ สามารถใช้ได้อย่างไม่มีปัญหา

มาดูสเปกส่วนอื่นของการ์ดกันบ้าง เริ่มจากแรม AMD เลือกใช้ GDDR5 ขนาด 8GB (มีรุ่น 4GB ให้เลือก) ความเร็ว 2GHz (ปริมาณการรับส่งข้อมูลอยู่ที่ 224GB/s) รองรับ AMD CrossFire แบบ Bridgeless

ในส่วนชุดซอฟต์แวร์ควบคุมใช้ Crimson รองรับฟีเจอร์ AMD FreeSync, Frame Rate Target Control, Virtual Super Resolution และรองรับการโอเวอร์คล็อกผ่านฟีเจอร์ WattMan

ทดสอบประสิทธิภาพ

อย่างที่ทราบว่าตัวการ์ด RX 480 จะใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพต้องรันบนอินเตอร์เฟส PCI Express 3.0 แต่เพราะเมนบอร์ดของทีมงานรองรับแค่ PCI Express 2.0 เท่านั้น คะแนนที่ได้อาจคาดเคลื่อนไปบ้างเล็กน้อย

amdset-rx480

ชุดคอมพิวเตอร์ที่ทีมงานใช้ร่วมกับการทดสอบกราฟิกการ์ด AMD Radeon RX 480 – 8GB GDDR 5 เป็นเช็ทระดับกลางที่ทีมงานหวังว่าด้วยสเปกที่ไม่สูงมาก ผู้อ่านสามารถจับต้องได้ทุกคน น่าจะช่วยให้การทดสอบทำได้น่าตื่นเต้น มองแล้วไม่ไกลตัวเกินไป เหมาะกับสภาพเศรษฐกิจในยุคนี้

คลิปวิดีโอเสริมบทความรีวิวเพื่อความชัดเจนในการทดสอบ AMD Radeon RX 480 – 8GB GDDR 5 ด้วยเกม GTA 5 (ปรับค่ากราฟิกสูงสุดทั้งหมด ยกเว้น MSAA ปิดไว้) และทดลองรันบน DirectX 12 ดูความลื่นไหล

3drx480

เริ่มจากการทดสอบแรก 3D Mark ที่เพิ่งปล่อยให้อัปเดตเพิ่มชุดทดสอบ DirectX 12 ในชื่อ “Time Spy” (ดูวิดีโอเดโมได้จากคลิปด้านบน ช่วงที่ 3) จากการทดสอบจะเห็นว่าด้านคะแนน Time Spy จะอยู่ที่ 3,602 คะแนน ส่วนชุดทดสอบบน DirectX 11 “Fire Strike/Ultra” จะได้คะแนนอยู่ที่ 2,719 และ 5,010 คะแนน

โดยถ้ามองถึงความลื่นไหลและเฟรมเรตที่ได้ RX 480 ถือว่าทำคะแนนได้กลางๆ แต่จะโดดเด่นอย่างมากเมื่อรันบน DirectX 12 ตามที่ AMD คุยไว้ในเรื่องความรวดเร็วและลื่นไหลที่ถือว่าใช้ได้เลยทีเดียว

Rise-of-the-Tomb-Raider-v1.0-build-668

2Rise-of-the-Tomb-Raider-v1.0-build-668

เปลี่ยนมาทดสอบเกมอย่าง Rise of the Tomb Raider ในโหมด DirectX 12 ปรับค่ากราฟิกสูงสุด และเปิดลบรอยหนักภาพ SSAA ทั้งหมดจะพบอาการหน่วงให้เห็นบ้าง ยิ่งเวลาเจอฉากหิมะถล่มเฟรมเรตจะตกมาอยู่ระดับ 20-26 เฟรมต่อวินาทีได้เลย แต่ก็สามารถแก้ไขได้ด้วยการปรับลบรอยหยักเป็น SMAA ระดับแรก เกมจะลื่นขึ้นพร้อมเฟรมเรตที่สามารถพุ่งไปแตะเลข 50-56 เฟรมต่อวินาทีได้ตลอดทั้งเกม คนที่ชอบเปิด VSync สามารถเลือกใช้งานได้สบายๆไม่หน่วงแน่นอน

ทดสอบกับอีกหนึ่งเกมสเปกสูง Quantum Break (DirectX 12) เวอร์ชันแรกก่อนอัปเดตล่าสุดที่หลายคนบ่นว่ากินแรมกราฟิกการ์ดสูงมาก สำหรับการ์ดจอ RX 480 แรม 8GB บนชุดทดสอบของทีมงาน ปรับทุกอย่างสูงสุดทั้งหมดรวมถึงเปิดลบรอยหยัก ไม่พบอาการกระตุก หน่วง หรือการแสดงผลกราฟิกผิดพลาดให้เห็นแต่อย่างใด เกมเล่นได้ลื่นไหล อาจมีสะดุดเล็กๆเท่านั้น

แต่โดยภาพรวมถือว่า AMD Radeon RX 480 กับเกม Quantum Break เล่นได้ลื่นไหลและดูเหมือนว่า DirectX 12 จะเข้ากันได้ดีกับกราฟิกการ์ดตัวนี้เสียจริงๆ พิสูจน์ได้ด้วยตาตัวเองจากคลิปวิดีโอด้านบน

GTA5-2016-10-17-10-33-09-81

ขยับมาทดสอบเกมมหาโหดด้านการบริโภคแรมกราฟิกการ์ดอย่าง GTA V (DirectX 11) แน่นอนด้วยจำนวนแรม 8GB GDDR5 เพียงพอต่อการปรับเรนเดอร์ฉากได้เต็มที่ ยิ่งถ้านำ RX 480 ไปใส่กับคอมพิวเตอร์พีซีที่มีสเปกสูงและใช้บัช PCI Express ที่สูงกว่าเครื่องทดสอบของทีมงาน คุณจะสามารถเล่น GTA V ที่ความละเอียด 4K ได้โดยที่เฟรมเรตจะอยู่ที่ประมาณ 25-30 เฟรมต่อวินาที (ปิด MSAA)

ส่วนเครื่องทดสอบของทีมงาน สเปกกลางๆ สามารถปรับค่ากราฟิก Ultra/High ได้ แต่ต้องปิดลบรอยหยักภาพ MSAA ถึงจะลื่นไหล โดยที่ความละเอียด 1080p เฟรมเรตจะวิ่งอยู่ที่ประมาณ 25-35 เฟรมต่อวินาที ส่วนฉากฝนตกจะวิ่งได้สูงถึง 50-60 เฟรมต่อวินาที และระหว่างการเล่นอาจมีอาการภาพหน่วงเล็กน้อยแต่ไม่ถึงกับกระตุกจนเล่นไม่ได้

ภาพรวมสำหรับ GTA V ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี ถ้าใช้สเปกเครื่อง เมนบอร์ดสูงกว่าของทีมงานอีกนิด ที่ค่ากราฟิก Ultra คงทำเฟรมเรตได้สูงระดับ 40-50 เฟรมต่อวินาที แต่ทั้งนี้ถ้าเป็นคนไม่จริงจังเรืองกราฟิกนัก สามารถปรับตั้งค่าเป็น High/Very High ได้ เพราะเกมจะลื่นไหลระดับ 60 เฟรมต่อวินาทีตลอดเวลาเลย

deadrising3-2016-10-17-10-42-58-42

ในส่วนเกม Dead Rising 3 Apocalypse Edition เกมนี้ไม่มีปัญหาอะไรกับ RX 480 และชุดทดสอบของทีมงานเลย สามารถปรับค่ากราฟิกสูงสุดทั้งหมด (1080p) รวมถึงเปิดใช้ระบบลบรอยหยักภาพสูงสุด เปิด VSync ร่วมด้วยได้ โดยเฟรมเรตภาพ ส่วนใหญ่จะคงที่ 30 เฟรมต่อวินาทีตลอดการเล่น อาจมีตกลงมา 25-27 เฟรมต่อวินาทีบ้างในฉากที่มีฝูงซอมบี้จำนวนมาก

ffxiv_dx11-2016-10-17-12-45-59-90

มาดูการทดสอบด้วยชุดทดสอบกราฟิกจากเกม Final Fantasy XIV HEAVENSWARD ที่ความละเอียด 1080p DirectX 11 ปรับสูงสุดทั้งหมดทำคะแนนได้ 9,320 คะแนน ลื่นไหล ไม่มีปัญหาใดๆ

catzilla-rx480

อีกหนึ่งชุดทดสอบ Catzilla 720p DirectX 11 ทำคะแนนได้ 17,853 คะแนน

wattman-rx480

สำหรับการทดสอบสุดท้ายเกี่ยวกับอุณหภูมิระหว่างใช้งาน (ทดสอบที่อุณหภูมิห้องประมาณ 26-28 องศาเซลเซียส) ทีมงานเลือกใช้ฟีเจอร์ WattMan ใน AMD Catalyst เป็นตัววัดผลหลัก จะเห็นว่าเมื่อ RX 480 ทำงานเต็มประสิทธิภาพ 100% อุณหภูมิจะอยู่คงที่ประมาณ 87 องศาเซลเซียสเท่านั้น ส่วนเมื่อไม่ใช้งานกราฟิกการ์ด อุณหภูมิจะอยู่ประมาณ 38-42 องศาเซลเซียส ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี

สรุป

สำหรับราคา AMD Radeon RX 480 เริ่มต้น 9,900 บาท โดยในช่วงแรกจะเป็น Reference Card จาก AMD และแบรนด์เช่น ASUS, XFX, Power Color, Sapphire ก่อน และหลังจากนั้นจะเป็นรุ่น Non-Ref ที่อาจมีการปรับเพิ่มแรม เพิ่มพัดลมระบายความร้อนหรือโอเวอร์คล็อกความเร็วการ์ดขึ้นและราคาอาจสูงขึ้นเล็กน้อย

โดยในส่วนประสิทธิภาพโดยรวมของ Radeon RX 480 จัดเป็นกราฟิกการ์ดระดับกลางค่อนสูง สามารถปรับกราฟิกในเกมระดับสูงถึงสูงสุดและเล่นได้ลื่นไหลที่ความละเอียดจอเริ่มต้น 1080p เป็นต้นไป (บางเกมอาจต้องปิดลบรอยหยักเกมถึงลื่นไม่หน่วง) จุดเด่นคงอยู่ในเรื่องราคา แรม 8GB อยากได้กราฟิกการ์ดระดับบนแต่มีงบประมาณจำกัด ส่วนเรื่องความแรงอาจตามคู่แข่งอยู่บ้าง แต่สุดท้ายแล้วทั้งหมดก็พอเพียงสำหรับเกมพีซีทุกเกมในปัจจุบันรวมถึงอนาคต ยิ่งถ้าเกมพีซีออกมารองรับ DirectX 12 หรือ Vulkan ให้สมบูรณ์แบบมากขึ้น การ์ด RX 480 น่าจะแสดงประสิทธิภาพได้เต็มที่กว่านี้

ส่วนคำถามสำหรับผู้ใช้จอ 4K แล้วอยากได้กราฟิกการ์ดรุ่นนี้มาใช้เล่นเกมแบบ 4K ทีมงานต้องเรียนตามตรงว่า ด้วยขนาดแรมกราฟิกการ์ดถึง 8GB สามารถเปิดใช้ความละเอียด 4K ได้ แต่ทั้งนี้ในส่วนคุณภาพกราฟิกอาจต้องปรับลดลงมาเล็กน้อย เพราะต้องไม่ลืมว่าตัวการ์ดมีสเปกแค่ระดับกลางค่อนสูงเท่านั้น

ข้อดี

– ราคาเทียบประสิทธิภาพจัดอยู่ในเกณฑ์คุ้มค่าคุ้มราคา
– แรม 8GB GDDR5
– AMD Radeon สถาปัตยกรรมใหม่ ประหยัดไฟมากขึ้น ความร้อนต่ำลงมาก

ข้อสังเกต

– ไม่มีพอร์ต DVI มาให้
– ใช้ช่วยประมวลผลร่วมกับแอปพลิเคชันที่รองรับ เช่น Adobe Premiere, Photoshop ยังให้ผลลัพท์ธรรมดาเมื่อเทียบกับคู่แข่ง

]]>
Review : Acer Predator 17 โน้ตบุ๊กพันธุ์โหดเพื่อคอเกมและไฮเอนด์ยูสเซอร์ https://cyberbiz.mgronline.com/review-acer-predator17/ Mon, 27 Jun 2016 02:01:35 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=23050

IMG_5320

ขึ้นชื่อซับแบรนด์ “Predator” จากเอเซอร์ คอเกมคงทราบดีรู้แล้วว่าเน้นจับกลุ่ม ”เกมเมอร์” ที่ต้องการคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เล่นเกมประสิทธิภาพสูง โดยในวันนี้ทีมงานไซเบอร์บิซได้รับโน้ตบุ๊กตัวท็อปสุดของซับแบรนด์นี้ (สำหรับตลาดประเทศไทย) มารีวิวกับ “Acer Predator 17”

การออกแบบ

IMG_5375

predator-sideall

เริ่มจากการออกแบบ Acer Predator 17 รุ่นท็อปสุดในบ้านเราจะเป็นโมเดล G9-791-72Q4 โดยตัวเครื่องมาพร้อมหน้าจอ LED ขนาด 17.3 นิ้ว พาเนลจอเป็น IPS ความละเอียดจอ 1,920×1,080 พิกเซล (รองรับ Output 4K) และมีกล้องเว็บแคมพร้อมไมโครโฟนติดตั้งเหนือจอภาพขึ้นไป

ขนาดตัวเครื่องถือว่าใหญ่และหนักถึง 3.95 กิโลกรัมเมื่อรวมอะแดปเตอร์จ่ายไฟแล้วน้ำหนักจะเขยิบไปที่ประมาณเกือบ 5 กิโลกรัมเลยทีเดียว

IMG_5350

มาดูส่วนคีย์บอร์ด Predator ProZone จะเป็นแป้นแบบ Full Keyboard พร้อมแป้นตัวเลขครบถ้วน นอกจากนั้นเพื่อความเป็นเกมเมอร์เอเซอร์ยังได้เพิ่มสีแดงเข้าไปที่คีย์ WASD และปุ่มทิศทางเพื่อให้ผู้ใช้ เวลาเล่นเกมจะสามารถสังเกตเห็นปุ่มเหล่านี้ได้ง่าย

ถัดมาซ้ายมือสุดจะเป็นปุ่มโปรไฟล์พิเศษที่ผู้ใช้สามารถตั้งเป็นคีย์ลัดหรือมาโครปุ่มร่วมกับเกมที่เล่นได้ตามต้องการ

ด้านล่างสุด – จะเป็นทัชแพดขนาดใหญ่พร้อมปุ่มแทนการคลิกเมาส์ซ้ายและขวาและปุ่มเปิดปิดใช้งานทัชแพด

IMG_5341

นอกจากนั้นใต้แป้นพิมพ์ทางเอเซอร์ยังได้ติดตั้งไฟ LED ส่องสว่างไว้ด้วย โดยรุ่นที่ทีมงานได้รับมาทดสอบไฟจะเปลี่ยนสีไม่ได้ (ยกเว้นบริเวณปุ่มโปรไฟล์พิเศษ)

IMG_5346

ถัดขึ้นมาบนขวามือจะเป็นไฟแสดงสถานะเปิดเครื่อง ไฟแสดงสถานะการทำงานของฮาร์ดไดร์ฟและไฟแสดงการชาร์จไฟ (ถ้าเป็นสีส้มแสดงว่ากำลังชาร์จไฟเข้าอยู่ ถ้าเป็นสีแดงแสดงว่าใช้ไฟตรงจากอะแดปเตอร์ไฟบ้าน)

IMG_5329

สำหรับด้านหลังเครื่อง เริ่มจากบริเวณหน้าจอ (ฝาปิด) จะมีโลโก้ Predator อยู่ตรงกลาง ขนาบข้างด้วยเส้นสีแดงสองเส้น (เมื่อเปิดเครื่องจะมีไฟสีแดงเรืองแสงดูน่าเกรงขามดี)

cooling-pre17

ส่วนด้านหลังเครื่องตรงที่ล้อมด้วยกรอบสีแดง บริเวณนั้นจะเป็นช่องระบายความร้อน โดยภายในจะมีพัดลม 2 ตัวช่วยกันระบายความร้อนบนเทคโนโลยี Predator FrostCore ซึ่งทางเอเซอร์ได้เขียนคำเตือนไว้ในคู่มือว่า ระหว่างเล่นเกมบริเวณด้านหลังนี้จะมีความร้อนสูง (สูงกว่าโน้ตบุ๊กทั่วไปหลายเท่าตัว) เพราะฉะนั้นการวาง Acer Predator 17 ระหว่างเล่นเกม ควรวางให้ด้านหลังตัวเครื่องออกห่างจากกำแพงหรือสิ่งของที่ไม่สามารถทนความร้อนได้

แต่ทั้งนี้สำหรับการใช้งานทั่วไปที่ไม่ต้องมีการประมวลผลกราฟิกหรือใช้ซีพียูสูง บริเวณด้านหลังจะมีความร้อนออกมาเหมือนโน้ตบุ๊กทั่วไป

IMG_5368

มาถึงเรื่องพอร์ตเชื่อมต่อต่างๆรอบตัวเครื่อง เริ่มจากขวามือ ช่องสีแดงเป็นช่องเชื่อมต่ออะแดปเตอร์ไฟบ้าน ถัดมาเป็น USB 3.0 จำนวน 2 พอร์ต ช่องเชื่อมต่อไมโครโฟนและหูฟังขนาด 3.5 มิลลิเมตร (ออกแบบมาให้รองรับหูฟังเกมเมอร์) ถัดมาเป็นช่องอ่าน SD Card

IMG_5402

IMG_5401

ส่วนบริเวณขวาสุด ปกติแกะเครื่องออกจากกล่องครั้งแรกจะเป็นไดร์ฟ Blu ray + DVD แต่ในแพกเกจจะมีการแถมพัดลมช่วยระบายความร้อนตัวที่สองมาให้จาก Cooler Master โดยผู้ใช้สามารถถอดเปลี่ยนได้ด้วยการพลิกใต้เครื่องขึ้นแล้วดันสวิตซ์ตามรูปประกอบ

IMG_5372

อีกด้าน เริ่มจากขวามือสุดจะเป็นช่องใส่สายล็อกกันขโมยเครื่อง ถัดมาเป็นพอร์ตแลน RJ45, Display Port, HDMI, USB 3.0 จำนวน 2 พอร์ต โดยพอร์ตที่สองสามารถใช้ชาร์จสมาร์ทดีไวซ์ได้ และสุดท้าย USB-C/Thunderbolt 3

IMG_5371

IMG_5395

ด้านหน้าและใต้เครื่อง – เริ่มจากด้านหน้าจะเป็นช่องลำโพงซ้ายขวาแบ่งเป็นด้านละ 2 ตัวรวม 4 ตัวเพื่อช่วยกระจายเสียงรอบทิศทางตามหลัก Dolby Audio โดยเมื่อผู้ใช้พลิกดูใต้เครื่องจะเห็นว่าลำโพงถูกติดตั้งให้เสียงสามารถยิงสะท้อนกับโต๊ะเพื่อสร้างเสียงรอบทิศทางได้ ในขณะเดียวกันเสียงก็ถูกยิงออกจากช่องลำโพงที่ติดตั้งไว้บริเวณด้านหน้าเครื่องด้วย

แต่แค่เสียงรอบทิศทางอย่างเดียวคงไม่เพียงพอต่อเกมเมอร์ ใต้เครื่องบริเวณแผ่นเหล็กสีแดง เอเซอร์ยังได้ติดตั้ง Subwoofer ช่วยกระจายเสียงเบสออกมาด้วย ซึ่งเมื่อรวมการทำงานของลำโพงทั้งหมดก็เท่ากับว่า Predator 17 เป็นระบบ 4.2 Channel หรือชื่อเรียกอย่างเป็นทางการคือ Predator SoundPound 4.2

สเปก

cpupre17-spec

สเปกซีพียู Acer Predator 17 ใช้ Intel Core i7 6700HQ 4-cores 8-Threads ความเร็ว 2.6GHz สามารถ Turbo Boost ได้สูงสุดถึง 3.5GHz แรม DDR4 32GB กราฟิก NVIDIA GeForce GTX 980M พร้อมแรม 4GB ส่วนระบบปฏิบัติการติดตั้งมากับตัวเครื่องเป็น Windows 10 Home

hdd-spec-pre17

ในส่วนฮาร์ดไดร์ฟเก็บข้อมูลมี 2 ชุดรวม 2TB กว่าๆ แบ่งเป็นชุดแรกไดร์ฟ C เป็น Intel SSD 2 ตัว ความจุตัวละประมาณ 238GB เชื่อมต่อการทำงานกันบน RAID 0 ส่วนชุดที่ 2 เป็นฮาร์ดดิสก์จานหมุนจาก Seagate ขนาดประมาณ 2TB เชื่อมต่อผ่านพอร์ต SATA600

ด้านการเชื่อมต่อเครือข่าย แลนรองรับความเร็วสูงสุดระดับกิกะบิต ส่วน Wireless LAN รองรับมาตรฐานสูงสุด 802.11ac

แบตเตอรีภายในเป็น Lithium Ion ขนาด 6,000mAh (8 เซลล์) และตัวเครื่องบริโภคพลังงานประมาณ​ 180W

ฟีเจอร์เด่น

win10-home-pre17

ขอกล่าวถึงตัว Windows 10 ที่ติดตั้งมากับ Predator 17 ก่อน ก็คือตัววินโดวส์ที่ให้มาในครั้งนี้ทางเอเซอร์จะเน้นความเพียวของระบบปฏิบัติการให้มากที่สุด เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของการประมวลผล เพราะฉะนั้นพวกซอฟต์แวร์ช่วยเหลือต่างๆ เอเซอร์จะเลือกติดตั้งมาให้เฉพาะที่จำเป็นต่อการควบคุมระบบเท่านั้น

dust-defend-pre17

เริ่มจากซอฟต์แวร์ควบคุมซึ่งเป็นจุดขายหลักก่อนเลยกับ Predator DustDefender ย้อนกลับไปตรงการออกแบบพัดลมระบายความร้อนกันก่อน อย่างที่ทราบดีว่าโน้ตบุ๊กเกมมิ่งจะมีความร้อนระหว่างประมวลผลที่สูงกว่าโน้ตบุ๊กทั่วไป เพราะฉะนั้นนอกจากการออกแบบพัดลมระบายความให้สามารถดึงอากาศภายนอกมาช่วยถ่ายเทภายในตัวเครื่องได้ดีแล้ว เอเซอร์มองว่าเรื่องของฝุ่นก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาช่วยลดประสิทธิภาพการระบายความร้อนได้ เพราะฉะนั้นเอเซอร์จึงได้คิดค้นชุดพัดลมระบายความให้สามารถหมุนย้อนกลับเพื่อระบายฝุ่นออกจากตัวเครื่องผ่านช่องทางพิเศษที่ติดตั้งไว้ใต้เครื่อง

โดยปกติระบบไล่ฝุ่นจะทำงานอัตโนมัติทุก 3 ชั่วโมง แต่ทั้งนี้ผู้ใช้สามารถสั่งงานแบบแมนวลได้ผ่านซอฟต์แวร์ Acer DustDefender

acercare-pre17

Acer Care Center เป็นซอฟต์แวร์ช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบแบตเตอรี สำรองข้อมูลระบบ รวมถึงสั่งอัปเดตเฟริมแวร์และซอฟต์แวร์ควบคุมระบบได้

killer-network-pre17

Killer DoubleShot Pro เป็นฟีเจอร์และซอฟต์แวร์ควบคุมระบบเชื่อมต่อเน็ตเวิร์คทั้งหมดที่ออกแบบมาเพื่อเกมเมอร์โดยเฉพาะ โดยระบบจะเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถจัดการแบนด์วิดธ์แบ่งระหว่างสัญญาณอินเตอร์เน็ตและระบบแลนได้ตามต้องการ เพื่อช่วยลดอัตราการดีเลย์ในการรับส่งข้อมูลระหว่างเล่นเกมออนไลน์ได้

predator-sense-17

predator-sense-17-2

Predator Sense ส่วนนี้คือส่วนควบคุมกลางของตัวเครื่องทั้งหมด ตั้งแต่การปรับตั้งคีย์โปรไฟล์พิเศษที่คีย์บอร์ด สร้างปุ่มมาโคร ปิดเปิดไฟส่องสว่างต่างๆ ไปถึงการตั้งค่าเลือกใช้การฟิก ปรับสีจอภาพ และสามารถเช็คอุณหภูมิเครื่อง เมนบอร์ด และดูรอบพัดลมได้จากส่วนนี้ทั้งหมด

xsplit-games-pre17

Split Gamecaster (ลูกค้า Predator ใช้งานฟรี 6 เดือน) เป็นซอฟต์แวร์พิเศษสำหรับนักเล่นเกมที่ชอบทำ Gamecast แอปฯตัวนี้จะช่วยในการบันทึกวิดีโอระหว่างเล่นเกมและสามารถถ่ายทอดสดผ่าน twitch.tv ได้ด้วย

dolby-pre17

Dolby Audio สุดท้ายกับส่วนปรับแต่งระบบเสียงจาก Dolby ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถเลือกโปรไฟล์เสียงได้ตามการใช้งานหรือจะปรับแต่งเองก็สามารถทำได้จากแท็บ Personalize

ทดสอบประสิทธิภาพ

3dbench-pre17

pcmark-pre17

เริ่มจากทดสอบกราฟิกสไตล์เกมเมอร์กับ 3D Mark และ PC Mark กันก่อนเลย จะเห็นว่าทำคะแนนทดสอบได้สมกับเป็นโน้ตบุ๊กเกมเมอร์เสียจริงๆ คะแนนอยู่ระดับเดียวกับ PC Gamer ระดับกลางเลย (ยังไม่ถึงระดับ Notebook Gamer 4K เพราะต้องเป็น Predator รุ่นพิเศษที่ใช้การ์ดจอ GTX 980 ตัวใหญ่) ยิ่งได้ฮาร์ดไดร์ฟ SSD ต่อ RAID 0 มาช่วยเรื่องการโหลดระบบต่างๆยิ่งทำให้คะแนนหลายส่วนเพิ่มขึ้นอย่างน่าสนใจ

คะแนน Geekbench 32 บิต
คะแนน Geekbench 32 บิต

คะแนน Geekbench 64 บิต
คะแนน Geekbench 64 บิต


hddtest-pre17

ทดสอบอ่านเขียนข้อมูลฮาร์ดดิสก์ SSD ต่อ RAID 0 คะแนนพุ่งสูงมาก (เวลาทำงานตัดต่อวิดีโอหรือตกแต่งภาพความละเอียดสูงมากแนะนำให้ทำงานจากไดร์ฟ C เป็นหลัก จะได้ประสิทธิภาพสูงสุด) ส่วนไดร์ฟ D เป็นจานหมุนถือว่าทำคะแนนอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดีเลย

4ktest-pre7

มาถึงการใช้งานด้านตัดต่อวิดีโอ ตกแต่งภาพ ส่วนนี้สามารถใช้งานได้ลื่นไหล หายห่วง เพราะทีมงานได้ลองนำไปตัดไฟล์วิดีโอ 4K จากกล้อง Nikon D500 ผ่านซอฟต์แวร์ Adobe Premiere CC 2015 ทุกอย่างทำงานได้ลื่นไหลเนื่องจากระบบสามารถนำ CUDA จากการ์ดจอ NVIDIA มาใช้งานร่วมได้ ทำให้การเรนเดอร์และ Export ไฟล์ทำได้รวดเร็วมากขึ้น

ทดสอบเกม Final Fantasy X
ทดสอบเกม Final Fantasy X

ทดสอบกับชุดวัดประสิทธิภาพ Unreal 4 (DirectX 12)
ทดสอบกับชุดวัดประสิทธิภาพ Unreal 4 (DirectX 12)

ทดสอบกับชุดวัดประสิทธิภาพ Catzilla ที่ความละเอียด 720p (DirectX 11)
ทดสอบกับชุดวัดประสิทธิภาพ Catzilla ที่ความละเอียด 720p (DirectX 11)


มาดูเรื่องการเล่นเกมกันบ้าง ทีมงานเน้นทดสอบไปที่เกม DOOM 2016 ตั้งค่ากราฟิกสูงสุดทั้งหมด พบว่าทุกอย่างทำงานได้ลื่นไหล เฟรมเรตเฉลี่ยที่ทำได้ (ความละเอียด 1080p) อยู่ที่ประมาณ 50 เฟรมต่อวินาที ส่วนการทดสอบเกมอื่นๆที่ความละเอียด 1080p ส่วนใหญ่จะสามารถเล่นแบบเปิดค่ากราฟิกสูงสุดทั้งหมดได้ไม่มีปัญหา ยกเว้นเมื่อลองทดสอบกับจอภาพ 4K และเปิดเต็มความละเอียดอาจพบอาการกระตุกให้เห็นบ้าง

แต่โดยภาพรวมก็ถือว่า Acer Predator 17 สามารถรันเกมที่วางขายในปัจจุบันได้ทั้งหมด รวมถึงเมื่อใช้งานกราฟิกตัดต่อวิดีโอหรือรูปภาพ ไม่ว่าจะความละเอียดสูงถึง 4K หรือภาพระดับ 40 ไปถึง 100 ล้านพิกเซล Predator 17 จัดการทุกอย่างได้อยู่หมัดแน่นอน

batt-test-pre17

การทดสอบสุดท้ายกับอายุการใช้งานของแบตเตอรี 6,000mAh ถือว่าทำได้ดีเกินคาดหมายพอสมควร เวลาใช้งานต่อเนื่องทำเวลาได้ถึง 4 ชั่วโมง 16 นาที พอๆกับอัลตร้าบุ๊กเลยทีเดียว

สรุป

prelogo-acer

ราคาค่าตัว Acer Predator 17 รุ่นท็อปสุดในบ้านเราอยู่ที่ 89,900 บาท (ความจริงในต่างประเทศจะมีรุ่นปรับแต่งพิเศษให้เป็น 4K Gaming Notebook กับ Predator 17x แต่บ้านเราไม่แน่ใจว่าเอเซอร์ประเทศไทยจะมีให้สั่งซื้อในอนาคตหรือไม่) ซึ่งถ้ามองว่าราคาสูงเกินไป เอเซอร์มีตัวเลือกเป็นรุ่นสเปกรองลงมา (ลดแรมเหลือ 16GB และฮาร์ดดิสก์เหลือ 1TB) อยู่ที่ 79,900 บาท และรุ่นเล็กสุดหน้าจอ 15 นิ้วเริ่มต้นที่ 59,900-69,900 บาท

ถือเป็นไฮเอนด์โน้ตบุ๊กตั้งแต่ซีพียูไปถึงการ์ดจอในตอนนี้ แน่นอน Predator จากเอเซอร์มีความชัดเจนในแบรนด์อยู่แล้วว่าจับกลุ่มเกมเมอร์และไฮเอนด์ยูสเซอร์ที่ต้องการโน้ตบุ๊กประสิทธิภาพสูงเพื่อใช้เล่นเกมหรือทำงานที่ต้องการสเปกประมวลผลระดับสูงโดยเฉพาะ

โดยสำหรับคนที่สนใจสิ่งหนึ่งที่คุณต้องรับให้ได้นอกจากราคาค่าตัวระดับครึ่งแสนบาทเป็นต้นไปแล้วก็คือ น้ำหนักและความใหญ่โต (เป็นโน้ตบุ๊กที่ผมไม่สามารถยกมือเดียวได้ แถมใส่กระเป๋าสะพายหลังน้ำหนักพี่ท่านเหมือนเราแบกอาวุธสงครามมากกว่าแบกโน้ตบุ๊ก) สิ่งเหล่านี้คือเรื่องที่ต้องรับให้ได้ก่อนคิดจะเลือกซื้อโน้ตบุ๊กกลุ่ม Predator

ข้อดี

– งานออกแบบดูดุดัน เฟรมทั้งหมดงานประกอบดูแข็งแรงมาก
– พัดลม ระบายความร้อนได้ดีและฉลาด ส่วนแรงลมที่เป่าความร้อนออกมาถือว่าแรงใช้ได้
– นอกจากนั้นรังสีความร้อนยังถูกควบคุมให้มีอยู่แค่ช่องระบายความร้อนเท่านั้น บริเวณตัวเครื่อง คีย์บอร์ดจะไม่มีความร้อนสะสมให้ผู้ใช้ได้รู้สึกตลอดการเล่นเกมและใช้งานเลย
– แรม 32GB ให้มาใช้งานเหลือเฟือมาก
– มีพอร์ตใหม่ USB-C และ Thunderbolt 3 ให้ใช้
– รองรับการต่อจอนอก 4K และรองรับจอที่มีเทคโนโลยี NVIDIA G-SYNC

ข้อสังเกต

– ตัวเครื่องใหญ่และหนักเกินจะใส่กระเป๋าธรรมดาเพื่อสะพายหลังได้
– วัสดุหุ้มตัวเครื่องทั้งหมดเป็นรอยง่าย
– ลำโพงให้เสียงทู่ๆและไม่ค่อยสมดุล/วูฟเฟอร์ยังขับเสียงได้ไม่เร้าใจพอ
– มุมเครื่องค่อนข้างแหลมและชอบทิ่มแขนเวลาวางมือบนคีย์บอร์ด
– ทัชแพดตอบสนองไม่ค่อยดี

Gallery

]]>