Dell/Alienware – CBIZ Reviews – MGR Online https://cyberbiz.mgronline.com เว็บไซต์รีวิวอุปกรณ์ ไอที ไฮเทค เป็นส่วนหนึ่งของผู้จัดการออนไลน์ Tue, 04 Feb 2020 06:19:19 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.0 Review : Dell XPS 13 2-1 (2019) จอสวย ใช้งานได้หลากหลาย https://cyberbiz.mgronline.com/review-dell-xps-13-2in1/ Tue, 04 Feb 2020 06:06:09 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=32118

เมื่อถึงเวลาที่ Intel ส่งซีพียูรุ่นใหม่เข้าสู่ตลาด บรรดาผู้ผลิตโน้ตบุ๊กก็หันมาอัปเกรดไลน์สินค้าเดิมด้วยซีพียูรุ่นใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของตัวเครื่องให้สูงขึ้น และในขณะเดียวกันก็ปรับในเรื่องของการประหยัดพลังงาน และระบายความร้อนไปในตัว

Dell XPS 13 2-1 ถือเป็นอีกหนึ่งโน้ตบุ๊กรุ่นเด่นของเดลล์ ที่ออกมาจับตลาดกลุ่มผู้ใช้งานที่เป็นผู้บริหารระดับสูง และกลุ่มผู้ที่ต้องการโน้ตบุ๊กบางเบาพกพาง่าย มากความสามารถ มาใช้งาน ด้วยการวางตัวอยู่ในระดับพรีเมียม ทั้งในแง่ของสเปก ดีไซน์ และรูปแบบการใช้งาน

ที่ผ่านมา Dell XPS 13 ได้รับการตอบรับที่ดีในเรื่องของขนาดตัวเครื่องที่บางเบาอยู่แล้ว ต่อมาพัฒขึ้นมาในเรื่องของการปรับมุมมองในการใช้งานที่ปัจจุบันรุ่น 2-in-1 สามารถพับหน้าจอแบบ 360 องศา มาใช้งานเป็นแท็บเล็ตได้ด้วย และแน่นอนว่ามากับหน้าจอแบบทัชสกรีนด้วย

ข้อดี

  • โน้ตบุ๊ก 2-1 บางเบา พกพาง่าย
  • มีพอร์ต Thunderbolt 3 (USB-C) ให้ใช้งาน 2 พอร์ต และช่องใส่ไมโครเอสดีการ์ด
  • รักษาความปลอดภัยด้วย Windows Hello ร่วมกับเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือ
  • หน้าจอ 4K ความละเอียดสูง รองรับทัชสกรีน

ข้อสังเกต

  • ราคาค่อนข้างสูง
  • ประสิทธิภาพเหมาะกับการใช้งานทั่วๆไป

เครื่อง 2-1 ระดับพรีเมียม

ถ้านับย้อนไปตั้งแต่เดลล์ ทำตลาด XPS 13 2-1 ออกมาคือย้อนไปในปี 2017 หรือราว 3-4 ปีที่ผ่าน การออกรุ่นอัปเกรดในปีนี้ นอกจากการปรับปรุงประสิทธิภาพตัวเครื่องให้ดีขึ้นแล้ว ยังมีการเปลี่ยนแปลงในส่วนของสัดส่วนหน้าจอที่ปรับมาเป็น 16:10 ให้ความละเอียดสูงสุดขึ้นเป็น UHD เช่นเดียวกับสเปกซีพียูที่มีให้เลือกระหว่าง Core i5 และ Core i7 ที่เป็น Intel Gen 10

ความสามารถหลักของ Dell XPS 13 2-1 คือการที่ตัวเครื่องสามารถเปิดใช้งานได้ทั้งในรูปแบบของโน้ตบุ๊กฝาพับปกติ หรือหมุนหน้าจอกลับให้กลายเป็นแท็บเล็ตเพื่อถือใช้งานได้ หรือจะใช้งานในรูปแบบของสแตน หรือเปิดจอแบนราบ 180 องศา ก็ได้

ขนาดของตัวเครื่องจะอยู่ที่ 296 x 207 x 7-13 มิลลิเมตร น้ำหนัก 1.33 กิโลกรัม โดยวัสดุที่เดลล์นำมาใช้คืออะลูมิเนียมแผ่นเดียวที่นำมาเจาะ และตัดเพื่อความแข็งแรงของตัวเครื่อง ร่วมกับกระจก Corning Gorilla Glass 5 และขอบเครื่องจะมีการเจียรแบบ Diamond cut

โดย XPS13 2-1 ที่ได้มาทดสอบนี้ จะเป็นรุ่นที่มากับหน้าจอขนาด 13.4 นิ้ว ความละเอียด UHD+ 3840 x 2400 พิกเซล ที่ปรับขอบจอให้บางลง พร้อมกับซ่อนกล้องหน้าไว้ที่ขอบจอบนเพื่อใช้สำหรับการปลดล็อกด้วยใบหน้า และใช้งานวิดีโอคอล

ในส่วนของขาพับตัวเครื่อง เนื่องจากสามารถเปิดหน้าจอพับกลับไปได้ 360 องศา ทำให้ออกแบบเป็นข้อต่อที่ยืดออกมาเล็กน้อยเมื่อเปิดหน้าจอขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าทางเดลล์ได้ทนสอบความทนทานของข้อต่อนี้แล้วให้สามารถบิดพับไปมาได้แข็งแรงกว่ารุ่นปกติทั่วไป

ตามมาด้วยส่วนของคีย์บอร์ด ที่เดลล์เรียกว่า MagLev ซึ่งพัฒนาให้มีขนาดบางลง 24%  เมื่อเทียบกับคีย์บอร์ดทั่วไป หรือลดลงเหลือ 1.3 มิลลิเมตร ทำให้มีพื้นที่ทัชแพดใหญ่ขึ้น 19% โดยที่ขนาดของคีย์บอร์ดอยู่ในระดับมาตรฐานทั่วไป

ส่วนพอร์ตเชื่อมต่อที่ให้มา ทางซ้าย และขวา จะมีพอร์ต Thunderbolt 3 ให้ใช้งาน เสริมด้วยช่องอ่านไมโครเอสดีการ์ดทางฝั่งซ้าย และช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม. ทางฝั่งขวา ซึ่งการที่ให้พอร์ตมาเป็น Thunderbolt 3 แปลว่าสามารถชาร์จแบตได้จากพอร์ตทั้ง 2 ฝั่ง รวมถึงเชื่อมต่อกับจอภายนอกได้ด้วย

สำหรับสเปกภายในของ XPS 13 2-1 จะมากับหน่วยประมวลผล Intel Core i7 Gen 10 (1065G7) 3.9 GHz RAM 16 GB SSD 512 GB กราฟิกการ์ดออนบอร์ด Intel UHD ทำงานบนระบบปฏิบัติการ Windows 10

จุดที่น่าสนใจของรุ่นนี้คือมาพร้อมการเชื่อมต่อบน Wi-Fi 6 หรือ 802.11ax จากชิปเซ็ต Killer AX1650 ที่สามารถรับสัญญาณไวไฟได้ความเร็วระดับ 1 Gbps ที่เริ่มให้บริการแล้วในประเทศไทย และยังมากับบลูทูธ 5.0 อีกด้วย

Gallery

จอสวย ใช้งานครบถ้วน

อีกหนึ่งจุดที่ Dell XPS 13 2-1 ทำได้น่าประทับใจเหมือนเสมอมาคือเรื่องของการแสดงผล ที่ในคราวนี้เลือกใช้จอแสดงผลที่ให้ความละเอียดสูง UHD+ มาใช้งาน และผ่านมาตรฐาน HDR400 รองรับการแสดงผลสี DCI P3 อัตราคอนทราสต์อยู่ที่ 1500:1 ให้ความสว่างต่อเนื่องที่ 500 nit พร้อมจอแบบตัดแสงสะท้อน

นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มเทคโนโลยีอย่าง Dell Eyesafe มาช่วยถนอมสายตาผู้ใช้ ด้วยการลดการแสดงผลแสงสีฟ้าที่เป็นอันตรายกับดวงตา แต่ยังให้ภาพที่สดใสเหมือนเดิม ทำให้กลายเป็นหนึ่งในโน้ตบุ๊กที่จอสวยที่สุดเวลานี้ก็ว่าได้

ที่สำคัญหน้าจอทัชสกรีนยังรองรับการทำงานร่วมกับ Dell Premium Active Pen ทำให้ผู้ที่ชื่นชอบการจดบันทึกบนแท็บเล็ต ทำงานได้สะดวกขึ้น โดยปากการองรับแรงกดถึง 4096 ระดับ

ส่วนของแบตเตอรีในการใช้งานต่อเนื่อง เดลล์เคลมว่าสามารถใช้งานได้ต่อเนื่องราว 10 ชั่วโมง เมื่อใช้งานทั่วไป แต่ถ้าเป็นการใช้รับชมภาพยนต์ผ่านสตรีมมิ่งจะอยู่ที่ราว 7 ชั่วโมง 24 นาที ซึ่งเท่าที่ทดสอบใช้งานก็จะใกล้เคียงกับเวลาที่เคลมไว้

ความสะดวกอีกอย่างของ XPS 13 2-1 คือการที่มากับ Windows Hello ที่นอกจากรองรับการปลดล็อกด้วยใบหน้าแล้ว ยังสามารถใช้ระบบสแกนลายนิ้วมือที่อยู่บริเวณมุมขวาบนของคีย์บอร์ด และเป็นปุ่มเปิดปิดเครื่องไปในตัวได้ด้วย

อะเดปเตอร์ชาร์จที่ให้มาเป็นพอร์ต USB-C ที่พกพาง่ายเหมือนเดิม เพราะสามารถพันสายเก็บรอบตัวอะเดปเตอร์ได้

ถ้าเป็นผู้ที่ใช้แป้นควบคุมทิศทางบ่อยๆ ใน MegLev คีย์บอร์ดของเครื่องรุ่นนี้ อาจจะใช้งานยากสักหน่อย เพราะปุ่มควบคุมทิศทางมีขนาดเล็ก และมีการแทรกปุ่ม Page Up Page Down มาไว้ข้างๆ ทำให้กดผิดเป็นประจำ

ทดสอบประสิทธิภาพ

สำหรับการทดสอบตัวเครื่องผ่านโปรแกรมเทสต่างๆ อย่าง PCmark10 3Dmark และ Geekbench ให้ผลออกมาน่าพอใจ ในระดับของโน้ตบุ๊กทำงานที่บางเบา แต่ไม่ได้เน้นการประมวลผลหนักๆ หรือนำไปเล่นเกม

สรุป

ด้วยการที่เป็นโน้ตบุ๊กรุ่นที่มีกลุ่มเป้าหมายเฉพาะทาง จากระดับราคาที่ค่อนข้างสูง ทำให้ XPS 13 2-1 จะเป็นตัวเลือกให้ผู้บริหารระดับสูง หรือนักธุรกิจที่ต้องการความคล่องตัวในการใช้งานเป็นหลัก และรองรับการใช้งานในโหมดแท็บเล็ต เพื่อคอมเมนต์งาน หรือเข้าถึงคอนเทนต์ต่างๆ

แต่ถ้ามองหาโน้ตบุ๊กเครื่องบาง อาจจะหันไปมอง XPS 13 รุ่นธรรมดา น่าจะตอบโจทย์การใช้งานโดยรวมในราคาที่สมเหตุสมผลมากขึ้น แต่ก็แลกกับการที่ไม่สามารถเปลี่ยนมาใช้เป็นโหมดแท็บเล็ตได้

โดยเดลล์ได้นำเข้ามาทำตลาดในไทย 2 สเปกด้วยกันคือ Intel Core i5 RAM 8 GB SSD 256 GB จอ Full HD+ ในราคา 69,990 บาท ส่วนรุ่นที่นำมาทดสอบคือ Core i7 จอ UHD+ จะอยู่ที่ 89,990 บาท และแน่นอนว่ามากับการรับประกัน On-Site ระดับพรีเมียม 3 ปี

]]>
Review : Dell XPS 13 2in1 โน้ตบุ๊กไฮเอนด์ขอบจอบาง https://cyberbiz.mgronline.com/review-dell-xps-13-2in1-2017/ Sun, 01 Oct 2017 14:34:13 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=27282

การมาของ XPS 13 2in1 ในรุ่นปี 2017 ก็ถือเป็นการต่อยอดความสำเร็จของ XPS 13 รุ่นก่อนหน้า ด้วยการพัฒนาเรื่องของจอภาพแสดงผลให้เต็มพื้นที่มากขึ้น พร้อมกับใส่เทคโนโลยีในส่วนของระบบรักษาความปลอดภัยเข้ามาไม่ว่าจะเป็นกล้องหน้าที่รองรับ Windows Hello และเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือ

ขณะเดียวกันในส่วนของสเปกภายในก็มีการอัปเกรดอย่างต่อเนื่อง ด้วยหน่วยประมวลผลล่าสุดจากทาง Intel Core i7 Gen 7 RAM 16 GB พื้นที่เก็บข้อมูลเป็น SSD 512 GB มากับพอร์ตเชื่อมต่อสมัยใหม่อย่าง USB-C ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการยกเครื่องโน้ตบุ๊กให้ทันสมัยมากขึ้นด้วย

การออกแบบ

XPS 13 2in1 จะชูในเรื่องของการเป็นเครื่องขนาดหน้าจอ 13 นิ้ว ในฟอร์มเฟคเตอร์ของเครื่องขนาด 11-12 นิ้ว โดยใช้วัสดุอย่างอะลูมิเนียม ผสมกับคาร์บอนไฟเบอร์ เพื่อให้โครงเครื่องมีความแข็งแรง น้ำหนักเบา โดยมีขนาดอยู่ที่ 304 x 199 x 8-13.7 มิลลิเมตร น้ำหนัก 1.24 กิโลกรัม

ภายนอกตัวเครื่อง XPS 13 2in1 จะเน้นโทนสีเงินตัดกับโครงเครื่องสีดำ ที่จะเป็นจุดนำสายตาให้ตัวเครื่องดูเพรียวบาง โดยมีสัญลักษณ์ DELL อยู่ตรงกึ่งกลางฝาหน้า ตัดกับข้อต่อเหล็กสีเทาที่หุ้มด้วยอะลูมิเนียมคุณภาพสูง

เมื่อเปิดหน้าจอขึ้นมาจะพบกับจอแสดงผลแบบ InfinityEdge คลุมด้วยกระจก Corning Gorilla Glass รองรับการสัมผัส ขนาด 13.3 นิ้ว ความละเอียด QHD+ (3,200 x 1,800 พิกเซลที่ส่วนล่างหน้าจอจะมีสัญลักษณ์ DELL อีกจุด พร้อมกับกล้องเว็บแคมความละเอียด 720p ที่ทำหน้าที่เป็นเซ็นเซอร์สแกนใบหน้าสำหรับ Windows Hello ด้วย

ถัดลงมาในส่วนของคีย์บอร์ด ซึ่งถือเป็นอีกจุดที่น่าสนใจด้วยการนำปุ่มคีย์บอร์ดขนาดปกติมาให้ใช้งานกัน โดยจะไปย่อขนาดในส่วนของปุ่มฟังก์ชันที่แถบบนสุด ปุ่มควบคุมทิศทาง และปุ่มคำสั่งต่างๆแทน เพื่อให้การใช้งานพิมพ์สามารถทำได้อย่างคล่องตัว

พร้อมกันนี้ ในส่วนของ Touch Pad ที่ให้มาก็มีขนาดใหญ่ ช่วยให้ใช้งานเครื่องได้สะดวกขึ้น แม้ว่าหน้าจอของรุ่นนี้จะรองรับการสัมผัสอยู่แล้วก็ตาม ส่วนทางด้านขวาก็จะมีสี่เหลี่ยมที่เป็นจุดเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือ เพิ่มความปลอดภัยไปอีกขั้นหนึ่ง

เมื่อคว่ำเครื่องขึ้นมา จะเจอกับแถบยาง 2 แถบที่พาดยาวไปป้องกันตัวเครื่องเวลาวางใช้งาน โดยจะมีฝาปิดเหล็กที่สกรีนคำว่า XPS อยู่ เมื่อเปิดขึ้นมาก็จะเจอกับรหัสเครื่อง เครื่องหมายรับรองมาตรฐานต่างๆ และรูไขน็อตเพื่อเปิดฝาหลังออก

รอบๆเครื่องทางฝั่งซ้ายจะมีพอร์ต USB-C 1 พอร์ต ช่องเสียบหูฟัง 3.5 มม. และปุ่มสำหรับกดเช็กปริมาณแบตเตอรี ส่วนฝั่งขวาจจะมีพอร์ตสำหรับล็อกเครื่อง USB-C 1 พอร์ต ช่องใส่ไมโครเอสดีการ์ด และปุ่มเปิดเครื่อง ทั้งนี้ผู้ใช้สามารถเสียบสายชาร์จได้ทั้งฝั่งซ้าย และขวา เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน

ที่น่าสนใจคือเรื่องของสายชาร์จที่ให้มากับเครื่อง ที่ออกแบบมาให้พกพาได้สะดวก ด้วยการทำให้สามารถพันสายรอบอะเดปเตอร์ได้ แต่ก็จะมีในส่วนของสายไฟที่แยกออกมา ทำให้บางทีอยากหาหัวปลั้กมาต่อตรงกับอะเดปเตอร์แทน

สเปก

สำหรับเครื่อง XPS 13 2in1 รุ่นที่ได้มาทดสอบ จะมาพร้อมกับหน่วยประมวลผล 7th Generation Intel Core i7-7Y75 processor (4M Cache, up to 3.6 GHz) Intel HD Graphics 615 RAM 16 GB SSD 512GB

ในส่วนของการเชื่อมต่อจะใช้ชิปเซ็ต Intel 8265 รองรับ WiFi บนมาตรฐาน 802.11ac แบบ 2×2 พร้อมกับ บลูทูธ 4.2 ระบบเสียงจะใช้ลำโพงสเตอริโอที่ปรับแต่งโดย Waves MaxxAudio Pro ทำงานบนระบบปฏิบัติการ Windows 10 Home 64 bit

ฟีเจอร์เด่น

จุดเด่นหลักที่เดลล์ พยามนำเสนอในการใช้งาน XPS 13 2in1 คือเรื่องของรูปแบบในการใช้งาน ที่แบ่งออกเป็น 4 โหมดด้วยกัน คือโหมดแล็ปท็อป ในการทำงานทั่วไป โหมดแท็บเล็ตในกรณีที่ใช้สำหรับการอ่านหรือดูคอนเทนต์ โหมดตั้ง และโหมดเต็นท์ ในการนำเสนองาน หรือรับชมซีรีส์ที่ชื่นชอบ

ถัดมาเลยคือฟีเจอร์ที่มากับความสามารถของ Windows 10 ที่มีการเพิ่มในส่วนของระบบรักษาความปลอดภัยเพิ่มเติมด้วย Windows Hello ที่จะใช้ทั้งกล้องหน้าในการตรวจจับใบหน้าของผู้ใช้ ทำให้เมื่อเปิดเครื่องมาเจอใบหน้าที่ลงทะเบียนไว้ ตัวเครื่องก็จะปลอดล็อกโดนอัตโนมัติ

หรือจะเลือกใช้รูปแบบการปลดล็อกจากการสแกนลายนิ้วมือ ที่ให้มาด้วยก็ได้เช่นกัน หรือถ้าไม่ต้องการใช้ทั้ง 2 รูปแบบ ก็ยังสามารถเลือกการกรอกรหัส หรือเลือกแตะจุดบนหน้าจอเพื่อปลดล็อกได้เช่นเดิม

อย่างไรก็ตามในส่วนของโปรแกรมที่ติดตั้งมาให้ในเครื่อง และดูน่าสนใจที่สุดคือระบบอย่าง Dell Support Assist ที่จะช่วยเตือนในเรื่องของระยะเวลารับประกัน การแจ้งเตือนจากระบบให้อัปเดต รวมถึงการตรวจสอบอุปกรณ์ภายในเครื่อง ปรับแต่งการใช้งานให้เหมาะสม และการติดตั้งไดร์ฟเวอร์เพิ่มเติม

ส่วนที่เหลือก็จะเป็นโปรแกรมที่ให้มากับ Windows 10 อยู่แล้ว ดังนั้นก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคนว่าต้องการนำเครื่องไปใช้ทำอะไร ก็ลงโปรแกรมเพิ่มตามที่ใช้งาน ซึ่งจากสเปกเครื่องที่ให้มาเชื่อว่ารองรับการใช้งานของผู้บริโภคทั่วไป รวมถึงการทำงานหนักๆพอสมควรอยู่แล้ว

อีกจุดที่น่าสนใจเลยคือเรื่องของแบตเตอรีที่ให้มาขนาด 46WHr โดยเมื่อทดสอบใช้งานทั่วๆไป เล่นอินเทอร์เน็ต ทำงานเอกสาร ดูภาพยนตร์ออนไลน์ ที่มีการเชื่อมต่อตลอดเวลา ก็สามารถใช้งานได้ราว 8 ชั่วโมง ซึ่งทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการเปิดความสว่างหน้าจอ และการประมวลผลหนักๆ เพราะเดลล์เคลมว่าสามารถใช้งานได้สูงสุดถึง 15 ชั่วโมง

ทดสอบประสิทธิภาพ

PCMark 10 = 2,259 คะแนน

3D mark

Fire Strike Ultra 150 คะแนน
Fire Strike Extreme 282 คะแนน
Fire Strike 546 คะแนน
Sky Driver 2,286 คะแนน
Cloud Gate 4,336 คะแนน
Time Sky 216 คะแนน
Ice Storm Unlimited 56,308 คะแนน
Ice Storm Extreme 29,964 คะแนน

Cinebench R15 / OpenGL = 20.29fps, CPU = 164cb

Geekbench 4 / Single-core = 4,119 คะแนน, Multi-core = 7,068 คะแนน Open CL 14,216 คะแนน

เมื่อดูจากผลการทดสอบแล้ว จะพบว่า Dell XPS 13 2-1 ไม่ได้เป็นเครื่องที่เน้นด้านการประมวลผลเพื่อใช้ทำงานหนักๆ แต่จะเน้นไปที่ความสามารถของเครื่องโดยรวมมากกว่า รองรับการใช้งานทั่วๆไปในการทำงานแบบนักธุรกิจ หรือใช้เพื่อพรีเซนต์งานต่างๆ

สรุป

ด้วยคอนเซปต์ของเครื่องในตระกูล XPS ที่เน้นในแง่ของการนำนวัตกรรม ของโน้ตบุ๊กรุ่นใหม่ที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานได้ตามพฤติกรรมการใช้งาน ประกอบกับกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนว่าอยู่ในกลุ่มนักธุรกิจ

เพราะจากค่าตัวในรุ่นท็อปสุดจะอยู่ที่ 79,990 บาท แลกกับตัวเครื่อง 13 นิ้ว ที่พับหน้าจอใช้งานได้ 4 รูปแบบ มีความโดดเด่นในเรื่องของดีไซน์ที่ไม่เหมือนใคร ช่วยเสริมภาพลักษณ์ให้แก่ผู้ใช้งาน ดังนั้นก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้แล้วว่า มีความจำเป็นต้องใช้งานเครื่องในระดับนี้หรือไม่

ข้อดี

  • ไฮบริดโน้ตบุ๊กที่สามารถปรับรูปแบบการใช้งานได้ 4 แบบ
  • หน้าจอ 13 นิ้วแบบเต็มพื้นที่ ช่วยให้ตัวเครื่องมีขนาดเล็กลง
  • ขนาด และน้ำหนัก ทำให้พกพาง่าย
  • อะเดปเตอร์ชาร์จขนาดเล็ก

ข้อสังเกต

  • ราคาค่อนข้างสูง (ขึ้นกับสเปก)
  • ด้วยซีพียู ที่เป็นรุ่นประหยัดพลังงาน ทำให้มีข้อจำกัดในการใช้งานประมวลผลสูงๆ
  • แบตเตอรี เมื่อทำงานหนักๆ ไม่เพียงพอกับการใช้งานใน 1 วัน

Gallery

]]>
Review : Alienware 15 เกมมิ่งโน้ตบุ๊กสายฮาร์ดคอร์ https://cyberbiz.mgronline.com/review-alienware15/ Tue, 24 Jan 2017 07:57:50 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=25165

alienware15-head

Alienware (เอเลี่ยนแวร์) เป็นแบรนด์สายเกมมิ่งประสิทธิภาพสูงจากเดลล์ที่เคยเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง วันนี้ Alienware พร้อมกลับมาทำตลาดเกมมิ่งพร้อมกับการเปิดตัว Alienware Experience Store ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการเพื่อตอบรับกับโลกเกมเมอร์ที่เติบโตสูงขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

โดยในส่วน Alienware ที่เดลล์นำเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยในปีนี้จะมีทั้งเดสก์ท็อป Aurora และโน้ตบุ๊ก 2 รุ่นได้แก่ Alienware 17 และรุ่นที่ทีมงานได้รับมาทดสอบกับ Alienware 15 ที่เดลล์เน้นสเปกกราฟิกการ์ดเป็นพิเศษ

การออกแบบ

IMG_0777

Alienware 15 รุ่นนี้เป็นรหัส R3 โดยการออกแบบเครื่องจะเน้นความเรียบง่าย มีเหลี่ยมมุมได้อารมณ์ยานอวกาศของเอเลี่ยนในภาพยนตร์ฮอลลีวูด ฝาปิดเครื่องผลิตจากอะลูมิเนียม มีโลโก้ Alienware พร้อมไฟส่องสว่างติดตั้งอยู่

IMG_0727

IMG_0729

หน้าจอ เป็นจอด้าน IPS ขนาด 15.6 นิ้ว ความละเอียด 1,920×1,080 พิกเซล เหนือหน้าจอเป็นไมโครโฟน 2 ตัวพร้อมกล้องเว็บแคมความละเอียด HD และอินฟาเรดรองรับฟีเจอร์ Windows Hello ใน Windows 10

IMG_0811

ในส่วนน้ำหนักตัวเครื่องอยู่ที่ประมาณ 3.49 กิโลกรัม หนา 12 นิ้ว แบตเตอรี 8 เซลล์พร้อมอะแดปเตอร์ไฟบ้าน 240W ขนาดใหญ่

IMG_0765

คีย์บอร์ด ถูกเรียกในชื่อ Alienware TactX Keyboard มีปุ่มคำสั่ง 108 ปุ่ม สามารถปรับแต่งตามการใช้งานได้พร้อมไฟ RGB-LED ส่องใต้แป้นคีย์บอร์ด สามารถปรับแต่งสีได้อิสระ

IMG_0808

ส่วน Track Pad (แยกปุ่มคลิกซ้าย-ขวาออกมา) เป็นมัลติทัชได้รับการออกแบบพิเศษ โดยฝังไฟ Backlit ส่องสว่างด้านใต้แบบ RGB-LED สามารถปรับสีได้ 16.7 ล้านสีผ่านซอฟต์แวร์ภายในตัวเครื่อง

IMG_0782

ด้านพอร์ตเชื่อมต่อรอบตัวเครื่อง เริ่มจากด้านหลัง ซ้ายมือเป็นพอร์ตแลน RJ-45, Mini-Display Port 1.2, HDMI 2.0, Thunderbolt 3, Alienware Graphics Amplifier (พอร์ตเชื่อมต่อกับ Docking เพื่ออัปเกรดไปใช้กราฟิกการ์ดของพีซีได้) และ DC-In

IMG_0783

ด้านซ้าย เริ่มจากพอร์ต USB-C, USB 3.0, ช่องเชื่อมต่อไมโครโฟน 3.5 มิลลิเมตรและช่องหูฟัง 3.5 มิลลิเมตร

IMG_0787

ด้านขวา เป็นที่อยู่ของ USB 3.0 จำนวน 1 ช่อง

IMG_0785

ด้านหน้า เป็นลำโพงสเตอริโอ

IMG_0798

ด้านล่าง จะเป็นที่อยู่ของช่องระบายความร้อนขนาดใหญ่ ส่วนการอัปเกรดสเปกเครื่อง เช่น แรม คงเป็นไปได้ยาก เนื่องจากเดลล์ไม่ได้ทำช่องอัปเกรดมาให้เหมือนหลายแบรนด์ การพยายามถอดฝาหลังด้วยตัวเองอาจทำให้ตัวเครื่องประกันขาดได้

IMG_0733

IMG_0799
สุดท้ายมาดูระบบระบายความร้อนซึ่งเป็นหัวใจหลักของเกมมิ่งโน้ตบุ๊ก โดย Alienware 15 จะใช้ฮีทซิงค์ขนาดใหญ่แยกติดตั้งอยู่ซ้ายและขวาของตัวเครื่อง (ทำหน้าที่ดึงความร้อนจากซีพียูและกราฟิกชิป) พร้อมพัดลมระบายความร้อนรอบสูง โดยหลักการทำงานพัดลมจะดึงอากาศจากด้านข้างและด้านล่างเข้ามา จากนั้นลมจะเป่าไปที่ฮีทซิงค์และพุ่งออกด้านหลังเครื่อง โดยรอบความเร็วพัดลมจะทำงานแปรผันตามการใช้งานและความร้อนที่ระบบตรวจจับได้

เพราะฉะนั้นทีมงานขอแนะนำให้ตั้ง Alienware 15 บนโต๊ะพื้นเรียบและเว้นช่องว่างด้านหลังไว้สักเล็กน้อยเพื่อให้ระบบไหลเวียนอากาศทำงานได้อย่างถูกต้องครบกระบวนการ โดยเฉพาะช่วงเล่นเกมควรตรวจสอบช่องระบายความร้อนทั้ง 4 ด้านว่าไม่มีสิ่งใดไปปิดกั้นทิศทางลมเข้าและออกก่อนทุกครั้ง

สเปก

spec-cpu-aw15

Alienware 15 รหัส R3 รุ่นทำตลาดในบ้านเราจะคล้ายกับรุ่นทำตลาดมาเลเซีย ซีพียูขับเคลื่อนด้วย Intel Core i7 “6th Generation” 6700HQ 4 คอร์ 8 เธรด ความเร็ว 2.60GHz พร้อม Turbo Boost สูงสุด 3.50GHz พร้อมแรม DDR4-2667 16GB ทำงานแบบ Dual Channel

gpu-spec-aw15

ในส่วนกราฟิกหลักขับเคลื่อนด้วย NVIDIA GeForce GTX 1070 พร้อมแรม 8GB (GDDR5) รองรับ DirectX 12 บน Windows 10 เต็มรูปแบบ

ด้านสเปกอื่นๆ Alienware จัดเต็มไม่แพ้กัน เริ่มตั้งแต่ WiFi ใช้ Killer 1535 802.11ac 2×2 บลูทูธ 4.1 ฮาร์ดดิสก์ 1TB 7200 รอบต่อนาทีพร้อม SSD ขนาด 256GB ส่วนระบบปฏิบัติการ Windows 10 Home ติดตั้งมาให้กับเครื่อง และสุดท้ายประกัน Onsite Service จากเดลล์ 3 ปีเต็ม

ฟีเจอร์เด่น

alienfx1

AlienFX เป็นซอฟต์แวร์ไว้ปรับแต่งสีของไฟ RGB-LED ตั้งแต่ไฟ Backlit แป้นคีย์บอร์ดแบ่งเป็น 3 โซน ขอบเครื่อง Track Pad ไฟโลโก้ Alienware โดยผู้ใช้สามารถปรับผสมสีได้ตามต้องการ พร้อมบันทึกเป็นธีมส่วนตัวได้ด้วย

IMG_0769

IMG_0800

AlienFX สามารถปรับได้ตั้งแต่ไฟชื่อแบรนด์ ไฟส่องสว่างใต้แป้นคีย์บอร์ด

IMG_0773

ไฟโลโก้ Alienware ก็ปรับสีได้

IMG_0771

IMG_0772

ขอบด้านข้างเครื่องทั้งสองด้านก็ปรับสีได้แบบ RGB เช่นกัน

alienfx2

AlienFusion เป็นส่วนปรับการตั้งค่าออปชันเกี่ยวกับพลังงาน เช่น เมื่อเสียงอะแดปเตอร์ไฟบ้านจะเปิดใช้งานกราฟิก NVIDIA และเมื่อเปลี่ยนไปใช้ไฟจากแบตเตอรีให้เปลี่ยนเป็นกราฟิกจาก Intel HD เป็นต้น

alienfx3

AlienTactX เป็นส่วนปรับแต่งคีย์บอร์ด โดยผู้ใช้สามารถสร้างโปรไฟล์มาโครปุ่มกดพิเศษ 1-5 (สามารถสร้างโปรไฟล์ได้ 3 ชุด) ปรับได้ตามเกมที่เล่นเหมือนคีย์บอร์ดเกมมิ่ง

alienfx4

graphic-amp-dell

AlienAdrenaline เป็นส่วนควบคุมเมื่อผู้ใช้เชื่อมต่อ Graphics Amplifier ซึ่งเป็นอุปกรณ์เสริมแยกขายที่ Alienware จะอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถอัปเกรดส่วนกราฟิกการ์ดไปใช้รุ่นใหญ่ของพีซี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเล่นเกมในอนาคตให้ถึงขีดสุดโดยไม่ต้องซื้อโน้ตบุ๊กใหม่ เพราะเดลล์เชื่อว่าปัญหาหลักๆของโน้ตบุ๊กเกมมิ่งที่ทำให้เล่นเกมในอนาคตได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ กว่า 70% อยู่ที่กราฟิกการ์ดตกรุ่น ไม่รองรับชุดคำสั่งกราฟิกตัวใหม่ ซึ่ง Graphics Amplifier จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้

alienfx5

และนอกจากนั้นในส่วน AlienAdrenaline ยังมาพร้อมระบบมอนิเตอร์การทำงานของซีพียู แรม WiFi และกราฟิกการ์ดได้ พร้อมความสามารถในการบันทึกกราฟการทำงานเก็บไว้ดูภายหลังได้ด้วย

aliensound-1

aliensound-2

Alienware Sound Center เป็นส่วนปรับแต่งเสียงลำโพงและไมโครโฟนซึ่งจะรองรับบรรดาเกมแคสเตอร์ในการจูนเสียงก่อนจะไลฟ์สด พร้อมระบบไมโครโฟนตัดเสียงรบกวน

aliensound-4

ส่วนสาวก FPS อย่างเกม Overwatch, CS Go ทาง Alienware ยังให้ระบบ Audio Recon โดยเมื่อเปิดใช้ระบบดังกล่าว ระหว่างเล่นเกมคุณสามารถดูเรดาห์จับทิศทางเสียงศัตรูที่วิ่งเข้ามารอบทิศได้ เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ไม่มีหูฟัง 7.1CH ระบบนี้จะช่วยการระบุตำแหน่งของเสียงศัตรูที่เข้ามารอบทิศทางให้ (รองรับเป็นบางเกม เช่น Overwatch)

ทดสอบประสิทธิภาพ

3dmark-alienware15-2017

ถึงแม้ Alienware 15 รุ่นทำตลาดในบ้านเราจะขับเคลื่อนด้วยซีพียู Intel Core i7 Gen 6 เท่านั้น แต่เดลล์ได้ใส่กราฟิกการ์ดตัวใหม่ที่มีประสิทธิภาพเกือบบนสุดของตลาด ทำให้คะแนน 3DMark ทำได้ค่อนข้างดี โดยเฉพาะชุดทดสอบใหม่อย่าง Time Spy (DirectX 12) ที่ดึงประสิทธิภาพ GTX 1070 ได้เต็มที่และความลื่นไหลก็ถือว่าดีระดับ 20-30 เฟรมต่อวินาที

PCAL1PCAL2PCAL3PCAL4PCAL5

ส่วนการทดสอบ PC Mark จะเน้นจำลองการใช้ Alienware 15 ทำงานทั้งพิมพ์งาน กราฟิกและทำงานด้านวิดีโอ เพราะฉะนั้นจะเน้นการประมวลผลของซีพียูเป็นหลัก ก็ถือว่าใช้ได้เป็นไปตามมาตรฐานชิป Core i7 Gen 6 ไม่ต่างจากโน้ตบุ๊กเกมมิ่งแบรนด์อื่นที่ใช้สเปกซีพียูเท่ากัน

hddtest-aw15

โดยอาจมีจุดสังเกตเล็กน้อยในเรื่องแบนด์วิดท์ SSD จะเห็นว่าทำงานได้เร็ว แต่ถ้าเทียบกับหลายแบรนด์แล้ว คะแนนส่วนนี้ยังถือว่าธรรมดา ไม่หวือหวาเท่าที่ควร ส่วนฮาร์ดดิสก์ตัวจานหมุนความจุ 1TB 7200RPM ถือว่าทำได้ตามมาตรฐาน ไม่เร็วหวือหวาเช่นกัน

ส่วนเรื่องการรองรับ NVIDIA G-Sync เท่าที่ทีมงานพยายามค้นหาข้อมูล หลายแหล่งข่าวบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า จอภาพ Alienware 15 รองรับ NVIDIA G-Sync ด้วยแต่เท่าที่ทีมงานค้นหาออปชันกราฟิกแล้วก็ไม่พบกับเมนูดังกล่าว จะปรับได้สูงสุดก็เพียง V-Sync 60Hz ปกติเท่านั้น

gtav-aw15

มาถึงการทดสอบเล่นเกม เริ่มจากเกม GTA V (DirectX 11) ถือว่าเป็นโน้ตบุ๊กไม่กี่รุ่นที่สามารถเปิดออปชันกราฟิกสูงสุดทั้งหมด รวมถึง Advanced Graphics สูงสุดได้ โดยเฟรมเรตถือว่าทำได้ดีระดับ 55-60 เฟรมต่อวินาที เล่นได้ลื่นไหลดีมาก อีกทั้งด้วยแรมกราฟิกการ์ดระดับ 8GB ผู้ใช้สามารถนำโน้ตบุ๊กไปเชื่อมต่อกับจอ 4K ภายนอกและใช้งานได้อย่างลื่นไหล (แต่อาจต้องลดออปชัน Advanced Graphics ลงเล็กน้อย)

Rise-of-the-Tomb-Raider-01.18.2017---12.46.03

Rise of The Tomb Raider (DirectX 12) ด้วยแรมกราฟิกการ์ด 8GB ออปชันกราฟิกทุกส่วนสามารถปรับสูงสุดได้ทั้งหมด ยกเว้นส่วนลบรอยหยักภาพที่ปรับได้แค่ SMAA 2x ถึงจะสามารถเล่นที่ความละเอียด 1080p 60 เฟรมต่อวินาทีได้ลื่นไหลตลอดทั้งเกม เพราะถ้าปรับเป็น 4x เฟรมเรตจะตกลงเหลือ 45 เฟรมต่อวินาที อาจรู้สึกหน่วงเล็กน้อย

Overwatch-01.18.2017---16.29.53

Overwatch มาถึงเกมดังแห่งยุคและเป็นเกมที่ถูกใช้ทดสอบประสิทธิภาพเครื่องมากที่สุด สำหรับ Alienware 15 รุ่นนี้สามารถเล่นเกมนี้ได้ลื่นไหลสบาย ปรับออปชันกราฟิกสูงสุดพร้อมเปิด Render Scale 150% ก็ยังลื่นไหล หรือจะไปเชื่อมต่อจอ 4K ภายนอกก็เล่นได้ลื่นไหลเช่นกัน

catzilla-aw15

คะแนนจากชุดทดสอบ Catzilla (DirectX 11)

ffxiv-aw15

คะแนนจากชุดทดสอบ Final Tantasy XIV Heavensward (DirectX 11)

สรุปภาพรวมด้านการทดสอบประสิทธิภาพ ทีมงานไซเบอร์บิซขอเน้นไปที่การเล่นเกมเป็นหลัก ด้วยกราฟิกการ์ดระดับ GTX 1070 พร้อมแรม 8GB เมื่อประกบบนสเปกเครื่องระดับบนของตลาดโน้ตบุ๊ก ถึงแม้สเปกหลายส่วนจะไม่ใช่รุ่นใหม่ล่าสุดของปี 2017 แต่ก็ยังถือว่าตอบสนองการเล่นเกมทุกเกมในตลาดไปได้อีก 2-3 ปีอย่างแน่นอน โดยเฉพาะกราฟิกการ์ดตระกูล GTX 10 ให้ประสิทธิภาพใกล้เคียงกับกราฟิกการ์ดของพีซีมากกว่าสมัยตระกูล 9xxM

แต่ถึงอย่างไร Alienware 15 ก็เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถอัปเกรดไปใช้กราฟิกการ์ดของพีซี ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่ากราฟิกการ์ดบนโน้ตบุ๊กผ่าน Graphics Amplifier ที่ต้องซื้อแยกภายหลังได้ ก็เท่ากับว่าการลงทุนซื้อ Alienware 15 + Graphics Amplifier จะทำให้โน้ตบุ๊กรุ่นนี้ตกรุ่นช้าลง เพราะอย่างที่หลายท่านทราบ ประเด็นใหญ่สุดของโน้ตบุ๊กเกมมิ่งราคาสูงก็คือซื้อมาใช้ได้ 2 ปี กราฟิกการ์ดตกรุ่น เล่นเกมใหม่ๆก็ไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าเดิม ส่วนซีพียูถึงแม้จะไม่สามารถอัปเกรดได้ แต่ส่วนใหญ่ก็รองรับเกมไปอย่างน้อย 4-5 ปีได้สบายๆ

มาถึงเรื่องการระบายความร้อนภายใน เท่าที่ทดสอบเล่นเกมตลอดทั้งวัน Alienware 15 จะมาพร้อมพัดลมระบายความร้อนรอบสูง 2 ตัว ซึ่งให้แรงลมที่ดีและเสียงดังมาก แต่ก็ให้ประสิทธิภาพการระบายความร้อนที่ดีใช้ได้เลย อุณหภูมิกราฟิกการ์ดตลอดการทดสอบเล่นเกมทั้งวันอยู่ที่ประมาณ 60-70 องศาเซลเซียส สูงสุดไม่เกิน 80 องศาเซลเซียส และตลอดการทดสอบไม่พบอาการเฟรมเรตตกจากความร้อนสะสมที่มากเกินไป ซึ่งส่วนนี้น่าจะมาจากวัสดุตัวเครื่องที่ใช้อะลูมิเนียมเป็นส่วนประกอบหลักทำให้การคายความร้อนทำได้เร็วไปพร้อมๆกับพัดลมรอบสูง

battery1

ใช้โปรไฟล์พลังงาน High Performance พร้อมเปิด AlienFX

battery2

ใช้โปรไฟล์พลังงาน Balance

สุดท้ายเรื่องแบตเตอรี ถึงแม้ Alienware 15 จะมาพร้อมแบตเตอรี 8 เซลล์ก็ตาม แต่ด้วยระบบที่มาพร้อมทั้งไฟ RGB-LED รอบตัวไปถึงพัดลมระบายความร้อนรอบสูง ทำให้ตัวเครื่องบริโภคพลังงานค่อนข้างมาก ถ้าเปิดใช้ระบบทุกส่วนเต็มพิกัด แบตเตอรีจะอยู่ได้ประมาณ 1-2 ชั่วโมงเท่านั้น ส่วนเมื่อปิดไฟ RGB-LED รอบตัวเครื่องพร้อมเปิดโปรไฟล์พลังงาน Balance แบตเตอรีจะอยู่ได้ประมาณ 2-4 ชั่วโมง และสามารถทำได้มากสุดเมื่อเปิด Power Save Mode จะอยู่ได้ไม่เกิน 6 ชั่วโมง ถือว่าค่อนข้างบริโภคพลังงานมากกว่าโน้ตบุ๊กเกมมิ่งหลายแบรนด์

สรุป

สำหรับราคาเปิดตัว Alienware 15 อยู่ที่ 99,900 บาท โดยจุดเด่นจริงๆของ Alienware 15 ถ้าไม่นับเรื่องกราฟิกการ์ดระดับบน (ที่ปัจจุบันเริ่มมีหลายค่ายนำมาติดตั้งกับโน้ตบุ๊กเกมมิ่งของตนแล้ว) คงอยู่ที่เรื่อง Graphics Amplifier และดีไซน์เฉพาะแบบ Alienware รวมถึงวัสดุงานประกอบที่ทำได้แข็งแรงตามแบบฉบับเดลล์ ไปถึงประกัน onsite service 3 ปีเต็มที่ทำให้ Alienware มีความโดดเด่นเหนือคู่แข่งอยู่บ้าง

แต่โดยภาพรวมสำหรับตลาดเกมมิ่งโน้ตบุ๊กระดับบน ก็ต้องยอมรับว่าครั้งนี้ Alienware ตั้งใจทำตลาดในประเทศไทยมากขึ้น เพราะนอกจากการเปิด Alienware Experience Store (ตั้งอยู่ที่ Siam Discovery ชั้น 2) แล้ว ในส่วนราคาก็ถือว่าสอดคล้องกับหลายแบรนด์ที่ให้สเปกใกล้เคียงกัน เพราะฉะนั้นก่อนตัดสินใจเลือกซื้อควรพิจารณาทดลองเล่นที่สโตร์ต่างๆให้ดีก่อน เพราะในราคาระดับนี้ หลายแบรนด์ก็มีรุ่นย่อยให้เลือกแยกย่อยลงไปอีก และสำคัญสุดสำหรับการเลือกซื้อโน้ตบุ๊กเกมมิ่งก็คือ ควรดูระบบระบายความร้อนเป็นอันดับแรก เพราะต้องไม่ลืมว่าการเล่นเกมบนโน้ตบุ๊กตลอดทั้งวันจะเท่ากับว่าตัวเครื่องต้องมีความร้อนสะสมภายในอยู่เป็นจำนวนมาก ถ้าระบบระบายความร้อนไม่ดี โน้ตบุ๊กจะลากลับบ้านเก่าได้ง่ายกว่ารุ่นที่ใส่ใจเรื่องระบบระบายความร้อนเป็นสำคัญ

ข้อดี

– งานประกอบแข็งแรงและมีเอกลักษณ์ความเป็น Alienware
– สเปกไฮเอนด์ รองรับเกมเกอร์สายฮาร์ดคอร์ได้ดี
– รองรับการอัปเกรดไปใช้กราฟิกการ์ดพีซีผ่าน Graphics Amplifier
– รองรับการเชื่อมต่อจอ 4K ภายนอก รวมถึงรองรับ VR
– หน้าจอให้สีสวย ภาพสดใส

ข้อสังเกต

– ไม่มีช่องอ่าน SD Card
– ลำโพงให้ประสิทธิภาพเสียงที่ธรรมดา
– พัดลมระบายความร้อนเสียงดังเมื่อทำงานเต็มประสิทธิภาพ

]]>
Review : Dell XPS 12 โน้ตบุ๊กกึ่งแท็บเล็ต จอชัดระดับ 4K https://cyberbiz.mgronline.com/review-dell-xps-12-2016/ Mon, 09 May 2016 09:00:33 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=22482

IMG_3022

ตระกูลสินค้า XPS ถือว่าเป็นรุ่นในระดับเรือธงของเดลล์ตลอดมาในการทำตลาดกลุ่มผลิตภัณฑ์โน้ตบุ๊ก ที่ชูความโดดเด่นทั้งในแง่ของประสิทธิภาพ และดีไซน์ ที่มักจะสร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้แก่ตลาดในช่วงเวลาที่ผ่านมา ประกอบกับด้วยเทรนด์การใช้งานของโน้ตบุ๊กที่เปลี่ยนไป จึงทำให้เกิด XPS 12 ที่มีการพัฒนาต่อเนื่องสู่ตลาด

จุดเด่นหลักของ Dell XPS 12 คือการเป็นโน้ตบุ๊กขนาดหน้าจอ 12.5 นิ้ว ในฟอร์มเฟคเตอร์ขนาด 11 นิ้ว ที่สามารถแยกจอออกมาใช้งานเป็นแท็บเล็ตวินโดวส์ เพื่อใช้พกพาไปใช้งานได้ หรือจะประกอบเข้ากับฐานคีย์บอร์ดเพื่อใช้งานเป็นโน้ตบุ๊กเพิ่มความสามารถในการสร้างโปรดักทิวิตี้ให้มากขึ้น ที่สำคัญคือมากับหน้าจอความละเอียดแบบ 4K

แม้ว่า XPS 12 จะใช้หน่วยประมวลผล Intel Core M7 ทำให้ไม่สามารถใช้งานหนักๆ อย่างการตัดต่อวิดีโอ หรือใช้ในการออกแบบ 3D แต่ถ้าเป็นการใช้งานทั่วๆไปอย่างทำงานภายใต้ Microsodt Office เล่นเน็ต หรือใช้ในการแต่งภาพความละเอียดสูงๆบน Photoshop ใช้งานโปรแกรมทั่วไป XPS 12 สามารถตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี

การออกแบบ

IMG_3006

ตัวเครื่อง XPS 12 หลักๆจะอยู่ที่หน้าจอ ที่จริงๆแล้วเป็นแท็บเล็ตมีการบรรจุทั้งชิปหน่วยประมวลผล เมนบอร์ด และแบตเตอรีต่างๆไว้ที่ตัวหน้าจอ ทำให้ตัวจอจะมีความหนาขึ้นมาเมื่อเทียบกับจอโน้ตบุ๊กทั่วๆไป ตัวเครื่องทำจากวัสดุที่เป็นแมกนีเซียมอัลลอยด์แบบยูนิบอดี้ ขนาดรอบตัวเครื่องเฉพาะส่วนทีเเป็นแท็บเล็ตอยู่ที่ 291 x 193 x 8 มิลลิเมตร น้ำหนัก 790 กรัม

หน้าจอของ XPS 12 เป็นหน้าจอทัชสกรีน ที่ใช้กระจก Gorilla Glass แบบ Edge-to-Edge มีขนาด 12.5 นิ้ว ที่ให้ความละเอียด 4K Ultra HD (3840 x 2160 พิกเซล) โดยมีกล้องความละเอียด 5 ล้านพิกเซล อยู่บริเวณขอบด้านบน โดยมีช่องลำโพงแยกอยู่ฝั่งซ้าย และขวา ส่วนขอบล่างหน้าจอเป็นสัญลักษณ์ วินโดวส์

IMG_3011

พื้นผิวหลังหน้าจอด้วยการที่เดลล์ทำเป็นแบบ Soft touch paint ทำให้เมื่อสัมผัสจะรู้สึกเหมือนเป็นยางนุ่มๆหุ่มอยู่รอบตัวเครื่อง โดยมีสัญลักษณ์ เดลล์ สีดำอยู่ตรงกลาง ส่วนขอบบนเป็นกล้องความละเอียด 8 ล้านพิกเซล และไมโครโฟนแบบ Dual Array

IMG_3043

รอบตัวเครื่องของ XPS 12 เริ่มจากทางฝั่งซ้าย จะมีปุ่มปรับระดับเสียง ช่องใส่ไมโครเอสดีการ์ดที่มีฝาปิดอยู่ ถัดลงมาเป็นพอร์ต USB-C ที่รองรับ Thunderbolt 3 พร้อมเป็นสายชาร์จภายในตัว รวมถึงใช้ร่วมกับอะแดปเตอร์แปลงเพื่อใช้งานพอร์ต VGA HDMI LAN และพอร์ตยูเอสบีขนาดปกติ ติดกัน 2 พอร์ต และช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม.

IMG_3046

ส่วนฝั่งขวา จะมีปุ่มเปิดเครื่อง และช่องล็อกเครื่อง ขอบบน จะมีไมโครโฟนจับช่วยจับเสียงเพิ่มเติม และขอบล่างเป็นแถบแม่เหล็กไว้เชื่อมต่อกับฐานคีย์บอร์ด แบตเตอรีที่อยู่ภายในเครื่องขนาด 30 WHr

laptop-xps-12-9250-pdp-polaris-02

ในส่วนของฐานคีย์บอร์ดทางเดลล์จะมีให้เลือก 2 รูปแบบคือ XPS 12 Premier Keyboard with Dell Premier Magnetic Folio ที่เป็นฐานคีย์บอร์ดขนาดปกติแบบ 5 แนว และแทร็กแพด ทำให้สามารถใช้งานได้ไม่แตกต่างจากโน้ตบุ๊กทั่วไป และมาพร้อมกับเคสแม่เหล็ก โดยเมื่อเชื่อมต่อกับคีย์บอร์แล้วขนาดของ XPS 12 จะขยับไปอยู่ที่ 291 x 198 x 16-25 มิลิเมตร น้ำหนัก 1.27 กิโลกรัม

IMG_3026

แต่ข้อเสียของคีย์บอร์ดรุ่นนี้คือไม่สามารถปรับมุมมองในการใช้งานได้ ทำได้เพียงเอียงมาข้างหน้าเพื่อถอดแท็บเล็ตออกจากฐานเท่านั้น แต่ในขณะใช้งานทั่วไปตัวแม่เหล็กที่ติดตั้งไว้สามารถยกตัวแท็บเล็ตและฐานคีย์บอร์ดติดขึ้นมาได้ ส่วนคีย์บอร์ดอีกรูปแบบหนึ่งจะเป็น XPS Slim 12 ถ้าให้นึกง่ายๆก็จะคล้ายกับคีย์บอร์ดของทาง Microsoft Surface มีขนาดปุ่มที่บางลงเหลือ 1.3 มิลลิเมตร

IMG_3049

สำหรับอุปกรณ์ที่ให้มาพร้อมกับตัวเครื่อง และฐานคีย์บอร์ดแล้วก็จะมี เคสแบบ Folio ที่รองรับการใช้งานเฉพาะแท็บเล็ตอย่างเดียว ไว้ในการตั้งหน้าจอบนพื้นราบ และยังสามารถติดตั้งฐานคีย์บอร์ดเข้าไปใช้งานร่วมได้ เพียงแต่เคสจะคลุมไม่เต็มตัวคีย์บอร์ดด้านหลัง

IMG_3053

ขณะที่สายชาร์จ แยกออกเป็น 2 ส่วนคือสายไฟ และตัวอะเดปเตอร์ที่เป็นพอร์ต USB-C ขนาดถือว่าไม่เล็กและใหญ่จนเกินไป ช่วยให้พกพาไปใช้งานข้างนอกได้สะดวกมากขึ้น

สเปก

windows-10cpuz

ในส่วนของสเปกภายใน XPS 12 จะมากับหน่วยประมวลผล 6th Generation Intel Core m7 6Y74 (4M Cache, up to 3.1 GHz) RAM 8GB LPDDR3 1600MHz พื้นที่เก็บข้อมูลเป็นแบบ SSD 512GB หน่วยประมวลผลภาพจากชิป Intel HD Graphics 515 ทำงานบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 10 Home 64bit ด้านการเชื่อมต่อรองรับการเชื่อมต่อไร้สายบนมาตรฐาน 802.11 ac บลูทูธ 4.1

ฟีเจอร์เด่น

IMG_3023

จุดเด่นหลักที่เดลล์พยายามชูขึ้นมามากที่สุดในสินค้าของเดลล์ คงหนีไม่พ้นเรื่องของ หน้าจอ ที่เดลล์ระบุว่าให้สีที่ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด และใน XPS 12 ก็เช่นเดียวกัน จากหน้าจอที่ให้มาขนาด 12.5 นิ้ว ความละเอียดระดับ 4K Ultra HD ที่ให้ความละเอียด 3840 x 2160 พิกเซล ให้ความละเอียดเม็ดสีสูงถึง 352 ppi ที่สำคัญคือเป็นหน้าจอแบบทัชสกรีนแบบมัลติทัช 10 จุดด้วย นอกจากนี้ ตัวหน้าจอยังให้ความสว่างถึง 400 nit กับมุมมองกว้างถึง 170 องศา ให้สี 100% Color Gamut คอนทราสเรโชอยู่ที่ 1,500 : 1

อีกจุดหนึ่งก็คือการที่เป็นแท็บเล็ต ที่สามารถเชื่อมต่อกับคีย์บอร์ดที่เป็น Backlit Chiclet ทำให้เมื่อเชื่อมต่อกับคีย์บอร์ด สามารถใช้งานได้ไม่แตกต่างจากโน้ตบุ๊กทั่วไป จะมีก็เพียงในแง่ขององศาจอที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนมุมได้ ทำให้ไม่เหมาะจะใช้งานขณะพกพา ควรใช้งานเมื่อวางบนโต๊ะหรือพื้นเรียบๆจะดีกว่า

IMG_3044

ในแง่ของการเชื่อมต่อด้วย USB-C ที่ให้มา 2 พอร์ต ทำให้สามารถใช้เพื่อเสียบสายชาร์จ 1 ช่อง พร้อมไปกับการเชื่อมต่ออะเดปเตอร์เพิ่มเติมไว้สำหรับเชื่อมต่อแฮนดี้ไดร์ฟที่รองรับถึง USB 3.1 Gen 2 (ความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงถึง 10 Gbps) หรือแม้แต่พอร์ต Thunderbolt 3 (ความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงถึง 40 Gbps) รวมถึงต่อเข้ากับต่อภาพผ่านพอร์ตอย่าง VGA HDMI แลน หรือยูเอสบีปกติผ่านอะเดปเตอร์ของทางเดลล์

s02s01

โดยผู้ใช้สามารถเลือกสลับการใช้งานระหว่าง Tablet Mode กับ Desktop Mode ได้ ซึ่งเบื้องต้นเมื่อเชื่อมต่อกับฐานคีย์บอร์ดตัวเครื่องจะสลับเข้าสู่ Desktop Mode ให้อัตโนมัติ และเมื่อถอดตัวเครื่องออกจากฐานก็จะปรับเข้าสู่ Tablet Mode ทั้งนี้ ที่มุมขวาล่างจะมีข้อความแจ้งเตือนขึ้นมาบอกด้วย

keyboard

คีย์บอร์ดที่มีให้ใช้งานในแท็บเล็ตโหมด สามารถสลับเปลี่ยนภาษาได้ที่ไอคอนมุมขวาล่าง รองรับการใช้งานภาษาไทย อังกฤษตามปกติ กรณีที่ตัวเครื่องกว้างเกินไป ก็สามารถปรับโหมดคีย์บอร์ดให้อยู่ที่มุมขอบจอทั้ง 2 ฝั่งได้ ถือเป็นความสามารถปกติของวินโดวส์อยู่แล้ว

dell-suport

ส่วนโปรแกรมที่ทางเดลล์ติดตั้งมาอำนวยความสะดวกในการใช้งานเพิ่มเติมจะมีตั้งแต่ Dell Support Assist ที่แสดงระยะเวลารับประกัน แจ้งเตือนการตรวจเช็กระบบต่างๆของตัวเครื่อง ซึ่งจุดโดดเด่นของรุ่นนี้อีกอย่างคือการรับประกันแบบ 24/7 เป็นระยะเวลานาน 3 ปี

Dell-Help

ถัดมาเป็น Dell Help & Support ที่เป็นการแสดงข้อมูลการใช้งานเล็กๆน้อยๆ อย่างการใช้งานวินโดวส์ 10 การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต และอุปกรณ์ไร้สายอื่นๆ การตั้งค่าส่วนบุคคล ทำความรู้จักกับตัวเครื่อง รวมถึงทิปส์ในการยืดระยะเวลาการใช้งานบนแบตเตอรี และการเข้าไปค้นหาอุปกรณ์เสริมอื่นๆผ่านช่องทางออนไลน์

dell-audio

ในส่วนของระบเสียงก็จะมีตัวควบคุมอย่าง Dell Audio ที่เข้ามาช่วยบริหารจัดการทั้งเสียงลำโพง ไมโครโฟน การตัดเสียงรบกวนต่างๆ ถือว่าค่อนข้างครบถ้วนกับการใช้งานทั่วๆไป


ระบบรักษาความปลอดภัย McAfree LiveSafe ที่สามารถใช้งานต่อเนื่องได้ 15 เดือน แต่ถ้ามีโปรแกรมแอนตี้ไวรัสตัวอื่นใช้งานอยู่แล้วก็สามารถถอนการติดตั้งออกได้ตามปกติ

ขณะที่ในแง่ของการใช้งานทั่วๆไป XPS 12 สามารถตอบโจทย์ได้ทั้งการทำงานจากการใช้งาน Microsoft Office ต่างๆ รวมถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านเว็บเบราว์เซอร์ หรือโปรแกรมต่างๆที่ลงบนวินโดวส์ได้ ส่วนในแง่ของความบันเทิง ด้วยการที่ให้จอความละเอียด 4K การรับชมภาพยนตร์ ก็จะให้ความละเอียดที่สูงมาก ระบบเสียงที่ให้มาอยู่ในระดับมาตรฐาน

ส่วนถ้าทำมาใช้ในการเล่นเกม ด้วยการที่ XPS 12 ใช้หน่วยประมวลผลเป็น Core M5 ที่แม้จะเป็นรุ่นประสิทธิภาพสูงแล้ว แต่ก็ยังอยู่ในตระกูลชิปเซ็ตที่ประหยัดพลังงานของอินเทล ทำให้การใช้งานที่เน้นการประมวลผลหนักๆอาจจะไม่สามารถทำได้ แต่ก็สามารถใช้เล่นเกมระดับทั่วๆไปได้เป็นอย่างดี

ทดสอบประสิทธิภาพ

pcmark

PC Mark 8 ชุดทดสอบ Home Accelerated 3.0 ได้คะแนน 2,323 คะแนน Creative Accelerated 3.0 ได้คะแนน 2,989 คะแนน Work Accelerated 3.0 ได้คะแนน 3,032 คะแนน ส่วน Storage ไม่สามารถทดสอบได้

geek

สำหรับคะแนน Geekbench ทดสอบแบบ 32 บิต ชุดทดสอบ Single Core ได้คะแนน 2,625 คะแนน Multi Core ได้คะแนน 4,489 คะแนน ส่วนการทดสอบแบบ 64 บิต ชุดทดสอบ Single Core ได้คะแนน 2,735 คะแนน Multi Core ได้คะแนน 4,668 คะแนน

3d

มาถึงการทดสอบในส่วนกราฟิก 3 มิติ ด้วยชุดทดสอบ 3D Mark จากหน่วยประมวลผลภาพ Intel HD 515 จะทดสอบได้เพียง Ice Storm 30,632 คะแนน Ice Storm Extreme 24,722 และ Sky Diver 2,355 คะแนนเท่านั้น ส่วนที่เหลือไม่สามารถทดสอบได้เพราะประสิทธิภาพไม่ถึง

ลองขยับมาทดสอบเกม 3 มิติจริงๆกันบ้างกับ Catzilla ชุดทดสอบที่ดึงประสิทธิภาพทั้งในส่วนซีพียูและกราฟิกการ์ดออกมาได้เต็มประสิทธิภาพที่สุด โดยทีมงานทดสอบที่ความละเอียด 576p สามารถทำคะแนนได้ 1,503 คะแนน ส่วนการทดสอบบน 720p ไม่สามารถทำได้ จากข้อจำกัดของซีพียู แม้ว่าจะให้ความละเอียดหน้าจอมาสูงสุดถึง 4K ก็ตาม

pcbatt

สุดท้ายกับการทดสอบแบตเตอรีด้วย PC Mark 8 ชุดทดสอบ Home Accelerated 3.0 (ทดสอบโดยเปิดหน้าจอตลอดเวลาและการทดสอบจะเน้นเรื่องการใช้งานทั่วไป เช่น ตกแต่งภาพ เข้าเว็บบราวเซอร์ พิมพ์งาน เป็นต้น) Dell XPS 12 สามารถทำเวลาได้ 3 ชั่วโมง 5 นาที ส่วนถ้าเป็นการทดสอบ Creative Accelerated จะได้ราว 2 ชั่วโมง 15 นาที ขณะที่การใช้งานทั่วๆไปจะอยู่ราว 4-5 ชั่วโมงเท่านั้น

สรุป

เมื่อดูถึงความสามารถต่างๆของ XPS 12 แล้ว ดังนั้นมองว่าจะเหมาะกับผู้ที่ต้องการใช้งานโน้ตบุ๊ก 2-1 หรือที่สามารถแยกพกพาเป็นแท็บเล็ตได้ เน้นการใช้งานแบบโมบิลิตี้เป็นหลัก กล่าวคือสามารถนำ XPS 12 มาใช้งานร่วมกับคีย์บอร์ดขณะอยู่ที่ทำงาน และเลือกเปลี่ยนเป็นใช้โหมดแท็บเล็ตขณะออกไปพรีเซนต์งานนอกสถานที่ รวมถึงใช้ในการดู และแก้ไขข้อมูลบางส่วนขณะเดินทาง เพียงแต่ราคาจำหน่ายค่อนข้างสูงอยู่ที่ 79,990 บาท

แต่ถ้าต้องการ XPS 12 มาเพื่อใช้งานที่เน้นสร้างโปรดักทิวิตี้นอกสถานที่คงต้องมองผ่านไปใช้รุ่นที่สูงขึ้นอย่าง XPS 13 น่าจะเหมาะสมกว่า เพราะให้ความรู้สึกเป็นโน้ตบุ๊กที่สมบูรณ์แบบมากขึ้น ในขณะที่ XPS 12 จะเน้นเรื่องความสะดวกในการใช้งานเป็นหลัก ประกอบกับระยะเวลาใช้งานบนแบตเตอรีต่อเนื่องราว 5 ชั่วโมง ทำให้ถือเป็นรุ่นที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการเครื่องประสิทธิภาพดี ดีไซน์สวย

ทั้งนี้ XPS 12 ที่นำมารีวิวถือเป็นรุ่นท็อป ดังนั้นถ้าต้องการรุ่นที่รองลงมาอย่างปรับลดหน้าจอลงมาเป็น Full HD ลดหน่วยประมวลผลลงมาเป็น Core M5 ลด SSD ลงมาเหลือ 128 GB ราคาจำหน่ายก็จะปรับลดลง เพียงแต่อาจต้องสอบถามทางตัวแทนจำหน่ายอีกที

ข้อดี

โน้ตบุ๊ก 2-1 ขนาดหน้าจอ 12.5 นิ้ว ความละเอียดระดับ 4K

คีย์บอร์ดขนาดมาตรฐาน ที่สามารถถอดประกอบกับตัวเครื่องได้ง่าย มีไฟที่ตัวคีย์บอร์ดด้วย

มีพอร์ต USB-C ให้ 2 พอร์ต ทำให้สามารถเชื่อมต่อได้มากขึ้น

ข้อสังเกต

เมื่อใช้งานร่วมกับคีย์บอร์ดจะไม่สามารถปรับมุมหน้าจอได้ และไม่สามารถใช้งานบนตักได้

พอร์ต USB-C ยังต้องใช้ร่วมกับอะแดปเตอร์แปลงให้กลายเป็นพอร์ตต่างๆ

แบตเตอรีใช้งานได้ไม่ยาวนานเท่าที่ควร แม้ว่าจะเป็น Intel Core M

Gallery

]]>