ASUS – CBIZ Reviews – MGR Online https://cyberbiz.mgronline.com เว็บไซต์รีวิวอุปกรณ์ ไอที ไฮเทค เป็นส่วนหนึ่งของผู้จัดการออนไลน์ Wed, 21 Jul 2021 09:04:54 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.0 Review : ROG Phone 5 มือถือเกมมิ่งตัวแรง อุปกรณ์เสริมครบ https://cyberbiz.mgronline.com/review-rog-phone-5/ Wed, 21 Jul 2021 09:02:50 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=35645

ในบรรดาอุปกรณ์เกมมิ่งชื่อของ ROG ถือว่าเป็นแบรนด์ที่อยู่เคียงคู่กับผู้บริโภคมาตั้งแต่ในยุคของคอมพิวเตอร์ ต่อเนื่องมายังบนสมาร์ทโฟนที่ออก ROG Phone ออกมาต่อเนื่อง จนถึงรุ่นล่าสุดคือ ROG Phone 5 ที่ยังคงความโดดเด่นเรื่องประสิทธิภาพได้อย่างน่าสนใจ

จุดเด่นหลักของ ROG Phone 5 คือมากับชิปเซ็ต Snapdragon 888 5G จอที่ใส่อัตราการแสดงผลมาถึง 144 Hz แบตเตอรี 6,000 mAh พร้อมระบบควบคุมแบบ AirTrigger มาช่วยให้การเล่นเกมทำได้สนุกขึ้น และเอกลักษณ์ที่พลาดไม่ได้อย่าง Aura RGB โลโก้ที่สามารถปรับแต่งสีไฟได้ตามต้องการ

ROG Phone 5 วางจำหน่ายด้วยกัน 2 รุ่น โดยยังคงใช้ชิปเซ็ตหลักเหมือนกันคือ Snapdragon 888 5G แตกต่างตรงที่รุ่นเริ่มต้น RAM 8 GB ROM 128 GB ในราคา 22,990 บาท และรุ่น RAM 16 GB ROM 256 GB ในราคา 29,990 บาท

ข้อดี

  • สมาร์ทโฟนเกมมิ่ง พร้อมระบบควมคุม AirTrigger
  • ประสิทธิภาพสูง รองรับการเล่นเกมได้เป็นอย่างดี
  • มีอุปกรณ์เสริมให้ใช้งานควบคู่ไปด้วย
  • จอแสดงผล Super AMOLED 144 Hz ที่ลื่นไหล
  • รองรับชาร์จเร็ว 65W

ข้อสังเกต

  • แบตเตอรีที่ให้มา 6,000 mAh ถ้าปรับเกมใช้สเปกสูงสุดใช้งานต่อเนื่องได้ไม่กี่ชั่วโมง
  • ตัวเครื่องค่อนข้างร้อนเวลาเล่นเกมในสภาพอากาศประเทศไทย
  • ไม่มีมาตรฐานกันน้ำกันฝุ่น ไม่สามารถใส่ไมโครเอสดีการ์ดเพิ่มได้
  • กล้องยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ทั่วไป เมื่อเทียบกับมือถือไฮเอนด์รุ่นอื่น

เน้นความบันเทิง โดยเฉพาะเล่นเกม

 

ด้วยการที่ ROG Phone 5 ออกแบบมาให้เป็นเกมมิ่งสมาร์ทโฟน ด้วยรูปลักษณ์ของตัวเครื่อง และการออกแบบอินเตอร์เฟสต่างๆ จึงสื่อถึงความล้ำสมัย ให้ความรู้สึกเป็นเกมเมอร์ขึ้นมาตามสไตล์ของ ROG ด้วยเส้นสาย และสีสันที่เป็นเอกลักษณ์

ดังนั้น ถ้าใครที่ชื่นชอบลักษณะดีไซน์เกมเมอร์ แข็งๆ แรงๆ ROG Phone 5 ถือว่าตอบโจทย์อย่างแน่นอน แต่ถ้าต้องการความเรียบหรู พรีเมียม หรือดีไซน์สมัยใหม่ อาจจะต้องมองข้ามรุ่นนี้ไป

จุดเด่นหลักของเครื่องรุ่นนี้ แน่นอนว่าอยู่ที่การเล่นเกม โดยเฉพาะเกมประสิทธิภาพสูง เพราะตัว ROG Phone 5 สามารถรีดประสิทธิภาพของกราฟิกเกมได้ออกมาสูงสุด และที่สำคัญคือเล่นได้อย่างลื่นไหลด้วย

ทีมงานทดสอบกับ Genshin Impact ที่ปรับการแสดงผลสูงสุด ปรับเฟรมเรทเป็น 60 fps ตัวเครื่องก็ยังรองรับได้อย่างสบายๆ เล่นได้ลื่นไหลมากๆ เมื่อเทียบกับแฟลกชิปหลายๆ รุ่น

แต่ที่ต้องแลกมาก็คือความร้อนสะสมของตัวเครื่องที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยถ้าเล่นในห้องที่เปิดเครื่องปรับอากาศอุณหภูมิของตัวเครื่องจะขึ้นไปอยู่ที่ราว 40-50 องศาเซลเซียส แต่ถ้าในอุณหภูมิปกติของประเทศไทย มีโอกาสที่ตัวเครื่องจะร้อนไปถึง 60 องศาเซลเซียส

แน่นอนว่า เมื่อขึ้นไประดับ 60 องศาฯ การถือจับเพื่อเล่นเกมอาจจะไม่สะดวกแล้ว เพราะตัวเครื่องสะสมความร้อนมากเกินไป ดังนั้นแนะนำให้ใช้งานคู่กับอุปกรณ์เสริมอย่างพัดลมระบายอากาศ (AeroActive Cooler )

เมื่อลองใช้งานเล่นเกมคู่กับ AeroActive Cooler พบว่าตัวพัดลมช่วยลดความร้อนสะสมลงไปได้ประมาณ 10 องศา และในขณะเดียวกัน ก็ยังใช้จับถือเครื่องได้เข้ากับมือมากขึ้นด้วย

ไม่นับรวมถึงการควบคุมเกมที่เพิ่มขึ้น จากเดิมที่มี AirTrigger บริเวณขอบบนซ้ายขวาเครื่อง ก็จะเพิ่มปุ่มควบคุมให้อีก 2 ปุ่มที่ปริเวณปีกของพัดลมระบายอากาศ ช่วยให้กดคำสั่งสำหรับการเล่นเกมต่างๆ ได้สะดวกขึ้น

การเพิ่ม AeroActive Cooler 5 ที่เชื่อมต่อเข้ากับพอร์ตพิเศษบริเวณข้างเครื่อง ยังช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเชื่อมต่อสาย USB-C สำหรับชาร์จ และหูฟัง 3.5 มม. ขณะเล่นเกมไปได้ด้วย

จากเดิมที่พอร์ตเหล่านี้อยู่ด้านล่างของเครื่อง ทำให้เวลาถือเล่นเกมในแนวนอน มือขวาจะไปบังพอร์ตเชื่อมต่อเหล่านั้น ทำให้ถ้าเสียบใช้งานไปด้วยก็จะไม่สะดวกกับการเล่นเกม

ความสามารถของ AeroActive Cooler 5 อีกอย่างก็คือการเป็นขาตั้งสมาร์ทโฟน ทำให้ผู้ใช้สามารถเปิดดู YouTube หรือ Netflix เพื่อความบันเทิงได้อย่างสบายๆ โดยวางตั้งไว้บนพื้นโต๊ะ หรือพื้นผิวเรียบๆ ได้ทันที

เพราะในเรื่องของพลังเสียงใส่ลำโพงคู่หน้ามาให้ใช้งาน พร้อมรองรับ Hi-Res Audio ภายในใส่ชิป ESS DAC มาช่วยขับเสียงให้กับหูฟังผ่านพอร์ต 3.5 มม. ด้วย

เอกลักษณ์ที่ไปกับ Aura RGB

กลับมาที่ดีไซน์ของ ROG Phone 5 ตัวเครื่องยังมากับการออกแบบที่สื่อถึงความแข็งแกร่งของตัวเครื่อง ด้วยการนำวัสดุอย่างอะลูมิเนียมที่มีความแข็งแรง มาตัดกับสีแดงที่เป็นเอกลักษณ์ของ ROG อยู่แล้ว

ขนาดตัวเครื่องของ ROG Phone 5 จะอยู่ที่ 173 x 77 x 8.9 มิลลิเมตร น้ำหนัก 239 กรัม ซึ่งถือว่าตัวเครื่องค่อนข้างหนัก แต่เมื่อสัมผัสจะรู้สึกถึงความแข็งแรง และงานประกอบที่แน่นหนาชัดเจน

หน้าจอแสดงผลที่เลือกใช้จะเป็น Super AMOLED ขนาด 6.78 นิ้ว (2448 x 1080 พิกเซล) รองรับ HDR 10+ ที่ให้ Refresh Rate สูงถึง 144 Hz รองรับการสัมผัสที่ 300 Hz ให้ความหน่วงต่ำถึง 24.3 มิลลิวินาที พร้อมกระจก Gorilla Glass Victus เพิ่มความแข็งแกร่งให้หน้าจอ

บริเวณขอบบนของหน้าจอเยื้องไปทางขวา จะมีกล้องหน้าความละเอียด 24 ล้านพิกเซลซ่อนอยู่ ไม่ได้เป็นกล้องแบบเจาะรู หรือทำเป็นติ่งลงมาเฉพาะกล้องหน้าแต่อย่างใด

บริเวณขอบข้างขวาเครื่องนอกจากเป็นที่อยู่ของปุ่มเพิ่มลดเสียง และปุ่มเปิดเครื่องแล้ว ตรงสัญลักษณ์ ROG ยังทำหน้าที่เป็น AirTrigger ให้เป็นพื้นที่สัมผัสเพื่อสั่งงานหน้าจอระหว่างเล่นเกมเพิ่มเติมได้ ซึ่งถือเป็นจุดเด่นหลักของ ROG Phone ก็ว่าได้

ถัดมาทางซ้าย ตามปกติจะมีจุกยางปิดพอร์ตเชื่อมต่อ USB-C และขั้วเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมอยู่ ถัดมาก็คือช่องใส่ถาดซิมสีแดงที่เป็นเอกลักษณ์ของ ROG ส่วนขอบด้านบนจะปล่อยไว้โล่งๆ

ด้านล่างจะมีทั้งพอร์ต USB-C และช่องเสียบหูฟัง 3.5 มม. มาให้ ตัวเครื่องรองรับการชาร์จเร็วที่ 65W โดยภายในเป็นแบตเตอรีแบบคู่รวมกันแล้วอยู่ที่ 6000 mAh

ด้านหลังเครื่องเป็นที่อยู่ของกล้อง 3 เลนส์ ประกอบด้วยเลนส์หลัก 64 ล้านพิกเซล เลนส์มุมกว้าง 13 ล้านพิกเซล และมาโคร มาช่วยในการวัดระยะเพิ่มเติม โดยสามารถบันทึกวิดีโอที่ความละเอียด 8K/30fps ได้ รองรับกันสั่นแบบ 3 แกน

ถัดลงมาคือแผงไฟ Aura RGB ที่ผู้ใช้สามารถปรับแต่งสีได้เพิ่มเติม ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของ ROG Phone ทุกๆ รุ่นก็ว่าได้ ทำให้เครื่องรุ่นนี้เวลาเปิดเล่นเกม หรือใช้งานจะมีไฟส่องสว่างออกมาจากหลังเครื่องตลอดเวลา

สำหรับอุปกรณ์ที่ให้มาภายในกล่องนอกจากตัวเครื่องแล้ว ก็จะมีเคสที่ออกแบบเฉพาะเว้นพื้นที่ Aura RGB ไว้ให้แสดงผลได้ชัดเจน สายชาร์จ USB-C และอะเดปเตอร์ 65W มาให้ด้วย โดยไม่มีหูฟัง 3.5 มม. มาให้

โหมดใช้งาน และฟีเจอร์น่าสนใจ

สำหรับการใช้งาน ROG Phone 5 จะมีความน่าสนใจคือผู้ใช้สามารถเลือกสลับระหว่างโหมดประสิทธิภาพสูง (X Mode+) และโหมดใช้งานปกติได้ ซึ่งจะแสดงผลให้เห็นบนอินเตอร์เฟสของหน้าจอเลย ด้วยการเปลี่ยนภาพพื้นหลังจากสีดำปกติ มาเป็นสีแดงที่สื่อถึงความแรง

ถัดมาคือผู้ใช้สามารถเข้าไปปรับแต่งเพิ่มเติมของ X Mode ได้ในส่วนของคอนโซล เพื่อเลือกปรับแต่งการทำงานต่างๆ ของเครื่อง ไม่ว่าจะเป็นการรีดประสิทธิภาพให้มากที่สุด โหมด Dynamic เพื่อปรับการใช้งานตามรูปแบบการใช้ และโหมดประหยัดพลังงาน ที่จะช่วยยืดระยะเวลาการใช้งานบนแบตเตอรี

นอกจากนี้ ยังสามารถเข้าไปปรับแต่งเอฟเฟกต์แวงเพิ่มเติม กรณีที่เชื่อมต่อกับ Aero Cooling 5 ก็สามารถปรับความเร็วของพัดลมได้ ตั้งระบบ AirTriggers ต่างๆ ได้จากในคอนโซลควบคุมนี้

ในขณะเล่นเกม ผู้ใช้ยังสามารถลากบริเวณขอบซ้ายของหน้าจอเข้ามา เพื่อแสดงแผงควบคุม Game Genie เพื่อตั้งค่าเกี่ยวกับเกมเพิ่มเติมได้ ในจุดนี้จะมีการแสดงผลการทำงานของตัวเครื่อง รวมถึงเฟรมเรทการแสดงผล และอุณหภูมิตัวเครื่องด้วย

จะเห็นได้ว่าฟีเจอร์ต่างๆ ของ ROG Phone 5 ถือว่าออกมาเพื่อรับกับการเล่นเกมโดยเฉพาะ ซึ่งแน่นอนว่าต้องถูกใจผู้ที่ชื่นชอบเล่นเกมอย่างแน่นอน

จุดที่น่าเสียดายอย่างหนึ่งของ ROG Phone 5 คือเรื่องของกล้องที่แม้จะให้ความละเอียดมาถึง 64 ล้านพิกเซล แต่ด้วยระบบการประมวลผลภาพต่างๆ ภาพที่ได้ออกมาอยู่ในระดับทั่วไป ไม่ได้ให้ความรู้สึกว้าวเหมือนในไฮเอนด์สมาร์ทโฟนรุ่นอื่นๆ แต่อย่างใด

สเปก

สำหรับสเปกของ ROG Phone 5 จะมากับชิปเซ็ต Qualcomm Snapdragon 888 5G มีตัวเลือก RAM 8/12 GB พื้นที่เก็บข้อมูล 128 / 256 GB ทำงานบนระบบปฏิบัติการ Android 11

การเชื่อมต่อรองรับ 5G สามารถใส่ใช้งานได้ 2 ซิมพร้อมกัน WiFi 6 บลูทูธ 5.2 รองรับ NFC และมีฟีเจอร์พิเศษอย่าง AirTriggers ให้สัมผัสข้างเครื่องในการสั่งงาน รวมถึงใส่ลำโพงคู่หน้ามาให้ด้วย

สรุป

ROG Phone 5 ถือว่าออกแบบมาได้ตอบโจทย์การเล่นเกมได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการเล่นเกมในห้องแอร์ เพราะกลายเป็นว่าถ้าใช้งานในสภาพอุณหภูมิปกติ ตัวเครื่องจะค่อนข้างร้อนเมื่อเล่นเกมหนักๆ ทำให้ต้องใช้อุปกรณ์เสริมอย่างพัดลมมาช่วย

แน่นอนว่า ถ้าเป็นเกมเมอร์ ที่มีความเชี่ยวชาญสามารถเลือกปรับระดับการแสดงผลของเกมให้เหมาะสมได้ ตัวเครื่องจะไม่ประมวลผลจนร้อนขนาดนั้น และเล่นเกมได้อย่างลื่นไหลแน่นอน

Gallery

]]>
รีวิว Asus ROG Phone 3 สมาร์ทโฟนที่สายเกมมองเป็นเครื่องจบ https://cyberbiz.mgronline.com/review-asus-rog-phone-3/ Sun, 22 Nov 2020 05:27:58 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=34158

เอซุส เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่หันมาให้ความสนใจกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเกมเมอร์ ทั้งพีซี อุปกรณ์เสริม จนถึงสมาร์ทโฟน ภายใต้ชื่อซับแบรนด์อย่าง ‘ROG’ โดยรุ่นล่าสุดที่นำเสนอสู่ตลาดคือ ROG Phone 3 สมาร์ทโฟนสำหรับเกมเมอร์โดยเฉพาะ

จุดเด่นหลักของ ROG Phone 3 คือการรับฟังเสียงจากผู้ใช้ แล้วนำไปพัฒนาออกมาเป็น 5 จุดหลัก ที่ทำให้สมาร์ทโฟนรุ่นนี้แตกต่างจากสมาร์ทโฟนประสิทธิภาพสูงทั่วไปในท้องตลาด

เริ่มกันที่ 1.ประสิทธิภาพของตัวเครื่อง โดยตัวเครื่องมากับหน่วยประมวลผลหลักอย่าง Snapdragon 865+ ที่มีการปรับแต่งพิเศษเพิ่มเติม Enchanced X Mode เมื่อใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ระบายความร้อนที่ให้มา จะทำการโอเวอร์คล็อกตัวเครื่องให้แรงขึ้นไปอีก

ดังนั้น ROG Phone 3 จึงกลายเป็นหนึ่งในแอนดรอยด์โฟนที่เร็วสุดในท้องตลาดเวลานี้ และยังมาพร้อมกับ RAM 12 GB ROM 512 GB ในรุ่นท็อป และมีรุ่นเล็กให้เลือกเป็น RAM 8 GB ROM 256 GB ในราคาที่ย่อมเยาลงมา

ถัดมาคือ 2.หน้าจอแสดงผล ในขณะที่รุ่นท็อปหลายๆ รุ่นในท้องตลาดนำเสนอหน้าจอแบบ 120 Hz แต่ ROG Phone 3 มากับหน้าจอที่รองรับการแสดงผล 144 Hz ที่รองรับการตอบสนองระดับ 1 ms และยังรองรับการแสดงผลแบบ 10 bit HDR บนหน้าจอ AMOLED ขนาด 6.59 นิ้ว นอกจากนี้ ในแง่ของการรับสัมผัสของหน้าจอ รองรับที่ 270 Hz มีความหน่วงในการสัมผัส 25 ms ซึ่งปัจจุบัน

3.แบตเตอรี กลายเป็นอย่างที่ 3 ที่ ROG คิดค้นมาเป็นอย่างดี เพราะยิ่งตัวเครื่องประมวลผลแรงมากเท่าไหร่ การใช้งานแบตเตอรีก็จะสูงขึ้น ทำให้ในรุ่นนี้ให้แบตเตอรีมาถึง 6000 mAh ทำให้เมื่อใช้งานทั่วๆไป ไม่ได้เข้าสู่โหมดประสิทธิภาพสูง สามารถใช้งานได้ยาวนานต่อเนื่อง

ต่อมาคือ 4.การออกแบบตัวเครื่องให้รับกับการเล่นเกมในแนวนอน เนื่องจากประสบการณ์ในการเล่นเกมปัจจุบันจะอยู่กับการใช้งานในแนวนอนเป็นหลัก ทำให้ ROG ปรับการออกแบบให้ตอบสนองการใช้งานกับสรีรศาสตร์ อย่างการเพิ่มช่องชาร์จจุดที่ 2 ระบบสัมผัสพิเศษ AirTrigger3 แผงรับสัญญาณ WiFi เพิ่มเติม

สุดท้าย 5.รองรับอุปกรณ์เสริมที่หลากหลาย เพื่อให้ประสบการณ์เล่นเกมดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นตัว GamePad ที่ทำให้สามารถเชื่อมต่อกับรีโมทคอนโทรลใช้งานพร้อมกัน จนถึง TwinView Dock 3 ช่วยเพิ่มหน้าจอแสดงผลให้เล่นเกมได้สะดวกขึ้น

สำหรับราคาจำหน่ายของ ROG Phone 3 รุ่น 12 GB / 512 GB ราคา 32,990 บาท ส่วนรุ่นรองลงมา ROG Phone 3 Strix Edition 8 GB / 256 GB ราคา 24,990 บาท ส่วนอุปกรณ์เสริม TwinView Dock 3 ราคา 7,990 บาท ROG Phone 3 Lighting Armor case ราคา 1,990 บาท ROG Clip ราคา 1,990 บาท และ ROG Kunai Gamepad ราคา 3,990 บาท

ข้อดี

  • มีโหมด X ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเล่นเกม
  • รองรับการแสดงผลระดับ 144 Hz
  • ออกแบบมาสำหรับเล่นเกมโดยเฉพาะ
  • ทำงานร่วมกับอุปกรณ์เสริมที่หลากหลาย

ข้อสังเกต

  • ตัวเครื่องค่อนข้างหนา+หนัก
  • โหมด X Power ต้องทำงานร่วมกับพัดลมระบายอากาศ
  • จุกยางด้านข้างเครื่องมีโอกาสหาย (ในกล่องมีสำรองให้)

คิดค้นเพื่อการเล่นเกมโดยเฉพาะ

ในการใช้งาน ROG Phone 3 นั้นผู้ใช้สามารถเลือกปรับโหมดในการใช้งานได้ 2 โหมดหลักๆ คือโหมดการใช้งานปกติ ที่ไฟหน้าจอจะเป็นสีฟ้า และเมื่อเปิดโหมดประสิทธิภาพสูง (โหมด X) หน้าจอจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ที่แสดงให้เห็นว่าได้ทำการโอเวอร์คล็อกให้ประสิทธิภาพเครื่องสูงขึ้น

โดยในการใช้งานโหมด X นั้นแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ตั้งแต่เริ่มต้น กลาง และโหมดสูงสุดที่ต้องใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ระบายความร้อนเพิ่มเติม ที่ให้มาในกล่อง เนื่องจากเมื่อเข้าสู่โหมดนี้ ตัวสมาร์ทโฟนจะต้องการตัวช่วยในการระบายความร้อนเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถรีดประสิทธิภาพได้สูงที่สุดด้วย

ขณะเดียวกัน ROG ได้มีการคิดค้นฟีเจอร์อย่าง AirTrigger3 ขึ้นมา ให้ผู้ใช้เพิ่มปุ่มในการควบคุมเพิ่มเติมบริเวณ ขอบของโทรศัพท์ เหมือนปุ่ม L1 และ R1 ของจอยเกม ที่สามารถจำลองปุ่มเสมือนเพื่อใช้งานร่วมกับเกมที่เล่นได้

ภายในโหมดควบคุมการตั้งค่าเกมต่างๆ ยังเปิดให้ผู้ใช้สามารถปรับเลือกสีไฟ LED สัญลักษณ์ของ ROG ด้านหลังเครื่องได้ด้วย โดยเลือกรูปแบบของไฟได้ทั้งสว่างตลอดเวลา กระพริบ จนถึงสลับสีไปเรื่อยๆ ช่วยเพิ่มให้ตัวเครื่อง ROG Phone 3 มีความล้ำสำหรับคอเกมมากขึ้น

อีกจุดที่น่าสนใจในการออกแบบเครื่องรุ่นนี้คือ มีพอร์ต USB-C ให้ 2 จุด โดยจุดแรงจะอยู่ที่ล่างเครื่องเหมือนสมาร์ทโฟนทั่วไป และอีกจุดจะอยู่ที่ข้างเครื่อง โดยใช้เป็นจุดสำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมต่างๆ และในกรณีที่ใช้เล่นเกมแนวนอนอยู่ ก็สามารถใช้เป็นช่องชาร์จได้เช่นกัน

ทั้งนี้ในการชาร์จตัวเครื่อง เนื่องจากให้แบตเตอรีมาถึง 6000 mAh ทำให้ต้องมีการนำระบบชาร์จเร็วแบบ 30W มาให้ใช้งาน ช่วยให้สามารถชาร์จแบตเตอรีได้รวดเร็วขึ้นด้วย โดยในการใช้งานโหมดทั่วไป สามารถใช้งานได้ต่อเนื่องกว่า 18 ชั่วโมง และจะลดลงเหลือ 11 ชั่วโมงเมื่อเปิดใช้โหมด X

ส่วนในภาพรวมของการใช้งาน ROG Phone 3 ถือเป็นสมาร์ทโฟนที่สุดในทุกอย่าง แม้ว่าจะไม่ได้เน้นเรื่องของการใช้งานกล้อง แต่รุ่นนี้ให้กล้องหลักมาที่ 64 ล้านพิกเซล เสริมด้วยกล้องมุมกว้าง 13 ล้านพิกเซล และเลนส์มาโคร 3 ล้านพิกเซลให้ใช้งาน กล้องหน้า 24 ล้านพิกเซล ถือว่าเพียงพอกับการใช้งานอย่างแน่นอน

ทดสอบประสิทธิภาพ

ต้องยอมรับว่าตัวเครื่องของ ROG Phone 3 นั้นถือว่าแรงจริง แม้จะเทียบกับสมาร์ทโฟนในระดับราคาเดียวกันก็รีดประสิทธิภาพออกมาได้ดีกว่า ดังนั้นเมื่อรวมกับการแสดงผลระดับ 144 Hz ทำให้การเล่นเกมบน ROG Phone 3 ไม่ทำให้ผิดหวังแน่นอน

สรุป

ROG Phone 3 ได้ยกระดับมาตรฐานของสมาร์ทโฟนเกมเมอร์ในเมืองไทยขึ้นได้อย่างน่าสนใจ ด้วยการนำนวัตกรรมที่เหมาะสม มาผสมผสานกับการตอบสนองรูปแบบการเล่นเกม แม้ว่าราคาตัวเครื่องจะค่อนข้างสูง เนื่องจากเกิน 3 หมื่นบาท แต่ถ้ามองในแง่ของประสิทธิภาพที่ได้ ถือว่าคุ้มค่าอย่างแน่นอน

ในขณะเดียวกัน ด้วยการที่กลุ่มเป้าหมายของเครื่องรุ่นนี้ค่อนข้างชัดเจน ใครที่ไม่ได้เป็นเกมเมอร์ หรือชื่นชอบการเล่นเกม ก็อาจจะไม่ได้หันมามองเครื่องรุ่นนี้ ทำให้ที่ผ่านมาตลาดสมาร์ทโฟนเกมเมอร์ระดับไฮเอนด์ในไทยจะไม่ค่อยเติบโตเท่าที่ควร เพราะกำลังซื้อส่วนใหญ่จะหันไปเลือกรุ่นที่ระดับราคาที่เข้าถึงได้มากกว่า

Gallery

]]>
Review : Asus ZenBook 13 คงจุดเด่น 2 จอ พกพาง่าย https://cyberbiz.mgronline.com/review-asus-zenbook-13/ Wed, 26 Feb 2020 02:32:42 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=32234

กลายเป็นแนวทางที่ชัดเจนของ เอซุส (Asus) ไปเรียบร้อยแล้วกับการทำโน้ตบุ๊ก 2 หน้าจอ ที่จะมาช่วยให้การใช้งานโน้ตบุ๊กทำได้สะดวกขึ้น จากทั้งการทำงานของ Screen Pad+ และ Duo Screen ในช่วงต้นปีที่ผ่านมาเอซุส เพิ่งมีการอัปเดตไลน์ผลิตภัณฑ์ ZenBook ใหม่ในรุ่นหน้าจอ 13 นิ้ว และ 14 นิ้ว ในระดับราคาที่เข้าได้ถึงง่ายขึ้น

โดยรุ่นที่นำมารีวิวกันในวันนี้คือ Asus ZenBook 13 (UX334FLC) ซึ่งมีการปรับปรุงเพิ่มเติมในส่วนของซีพียู ที่หันมาใช้ Intel Core i7 Gen 10 และ ScreenPad 2.0 ที่ถูกปรับปรุงให้ใช้งานง่ายขึ้นเมื่อเทียบกับรุ่นก่อนหน้่า พร้อมกับจุดเด่นเรื่องของพอร์ตครบ น้ำหนักเบา แบตเตอรีใช้งานได้ต่อเนื่องเกือบ 14 ชั่วโมง

ข้อดี

  • โน้ตบุ๊กขนาดหน้าจอ 13 นิ้ว สเปกแรง พกพาสะดวก
  • มี ScreenPad 2.0 ให้ใช้งานเป็นจอที่ 2
  • พอร์ตเชื่อมต่อครบ

ข้อสังเกต

  • เสียงพัดลมค่อนข้างดัง จากที่ใช้ Core i7 เวลาประมวลผลหนักๆ
  • พอร์ตชาร์จไฟยังเป็นอะเดปเตอร์ ไม่ใช่ USB-C

ขนาดเล็ก พกพาง่าย

Asus ZenBook 13 ขึ้นชื่อว่าเป็นโน้ตบุ๊กที่ถูกออกแบบมาให้มีขนาดเล็กที่สุดในโลกเวลานี้ก็ว่าได้ (ไม่นับความหนา) เพราะด้วยการเลือกใช้หน้าจอในสัดส่วน 16:9 เมื่อรวมกับหน้าจอแบบ NanoEdge Display ทำให้มีขนาดตัวเครื่องเล็กกว่ากระดาษ A4 และเล็กลงกว่ารุ่นก่อนหน้าถึง 14%

โดยขนาดของตัวเครื่อง ZenBook 13 จะอยู่ที่ 302 x 189 x 17.9 มิลลิเมตร น้ำหนักอยู่ที่ 1.22 กิโลกรัม เมื่อเทียบขนาดหน้าจอ 13.3 นิ้วกับตัวเรื่อง จะมีสัดส่วนถึง 95% ตัวเครื่องมีให้เลือกด้วยกันทั้งหมด 2 สี คือน้ำเงิน Royal Blue และ สีเงิน Icicle Silver

สำหรับหน้าจอที่ให้มาจะเป็นจอแบบป้องกันแสงสะท้อน (Anti Glare) ขนาด 13.3 นิ้ว ให้ความละเอียดสูงสุดที่ Full HD (1920 x 1080 พิกเซล) โดยมีมุมมองในการใช้งานถึง 178 องศา และมีกล้องเว็บแคมซ่อนอยู่บริเวณขอบบนของจอภาพ

ถัดลงที่เป็นจุดเด่นอีกอย่างของโน้ตบุ๊กเอซุส ในช่วงหลังๆ คือการนำการออกแบบ Ergolift มาใช้งาน ทำให้เวลากางหน้าจอขึ้นมา จะยกตัวฐานคีย์บอร์ดขึ้นมา 3 องศา เพื่อให้ได้องศาที่เหมาะสมแก่การใช้งาน พร้อมกับช่วยระบายความร้อนตัวเครื่องไปในตัว

ต่อกันที่คีย์บอร์ดของ ZenBook 13 ที่มาในรูปแบบของ Chicklet พร้อมไฟ backlit ทำให้สามารถใช้งานในที่มืดได้ โดยขนาดของปุ่มคีย์บอร์ด 4 แถวหลังจะเป็นขนาดมาตรฐาน ส่วนแถบบนจะมีขนาดที่เล็กลงครึ่งหนึ่ง เพื่อแบ่งที่ให้กับหน้าจอ ScreenPad 2.0

โดยแถบบนนอกจากเป็นปุ่ม Fn แล้วยังถูกใช้เป็นปุ่มควบคุมลัดไม่ว่าจะเป็นการปิดเสียง ปรับเสียง ความสว่างหน้าจอ เปิดใช้งานทัชแพด ไฟคีย์บอร์ด การสลับหน้าจอ ล็อกปุ่ม Windows ปิดการทำงานของกล้อง จับภาพหน้าจอ และเรียก myAsus ขึ้นมาใช้งาน

มาถึงจุดเด่นของ ZenBook 13 รุ่นนี้ ก็คือหน้าจอ ScreenPad 2.0 ที่ปรับให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 5.65 นิ้ว และให้ความละเอียดหน้าจอเป็น 2160 x 1080 พิกเซล ที่ผู้ใช้สามารถเลือกเปิดปิด ได้จากปุ่มลัด f6 บนคีย์บอร์ด ส่วนความพิเศษของ ScreenPad จะกล่าวถึงต่อไปในภายหลัง

นอกเหนือจากเรื่องคีย์บอร์ด และสกรีนแพดแล้ว สิ่งที่โดดเด่นอีกเรื่องของ ZenBook 13 คือการที่ให้พอร์ตเชื่อมต่อมาครบ ไล่จากทางฝั่งซ้ายจะมีช่องเสียบสายชาร์จ พอร์ต HDMI USB3.1 USB-C

ทางฝั่งขวาเป็นช่องอ่านไมโครเอสดีการ์ด USB 2.0 ช่องเสียบหูฟัง และไฟแสดงสถานะการทำงานของเครื่อง ทั้งนี้ในส่วนนี้ก็มีจุดที่น่าเสียดายคือ น่าจะเปลี่ยนช่องเสียบสายชาร์จให้มาเป็นพอร์ต USB-C แทน เช่นเดียวกับ USB 2.0 ที่ควรเปลี่ยนเป็น USB-C เพิ่มให้มาใช้งานกับอุปกรณ์อื่นๆ ตามเทคโนโลยีสมัยใหม่ดีกว่า

สเปก

Asus ZenBook 13 (UX334) เป็นรุ่นที่ได้รับการอัปเกรดซีพียู ขึ้นมาเป็น Intel Core i7 Gen 10 (10510U) โดยมาพร้อมกับชิปกราฟิก NVIDIA MX250 RAM 8 GB พื้นที่เก็บข้อมูล SSD 512 GB ทำงานบนระบบปฏิบัติการ Windows 10 พร้อมให้ใช้งานทันที

ส่วนเรื่องการเชื่อมต่อมากับ WiFi 6 (802.11ax) ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตไฟเบอร์ 1 Gbps ที่มีให้บริการในไทยแล้วได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เสริมด้วยบลูทูธ 5.0

ScreenPad 2.0 ที่ฉลาดกว่าเดิม

นับจากเอซุส เริ่มนำเสนอ SreenPad ออกมาเกือบ 2 ปีแล้ว ทำให้ตัวทัชแพดอัจฉริยะนี้มีการพัฒนาเพิ่มขึ้น และตอบโจทย์การใช้งานมากขึ้น โดยเพาะการเพิ่มแอปพลิเคชันที่รองรับการใช้งานถือว่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สำหรับความสามารถหลักๆ ของ ScreenPad 2.0 นั้นต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า ถ้าผู้ใช้งานไม่ต้องการเปิดหน้าจอ ScreenPad ขึ้นมาใช้งานก็สามารถกดปิดการใช้งานหน้าจอเสริมได้

ถัดมาก็คือเลือกใช้งานเป็นจอเสริมจากจอหลัก ก็คือสามารถลากหน้าต่างที่ต้องการเปิดเพื่อใช้ดูข้อมูลลงมาไว้ที่บริเวณ ScreenPad เพื่อใช้งานต่อเนื่องกันไปได้เลย เพียงแต่ว่าด้วยการที่ความละเอียดของ ScreenPad ค่อนข้างสูง ถ้าไม่ได้ตั้งปรับค่าความละเอียดไว้ตัวอักษรอาจจะแสดงผลเล็กมากๆ

รูปแบบสุดท้ายก็คือใช้ความสามารถของ ScreenPad ร่วมกับซอฟต์แวร์ Screen Xpert ที่จะมีแอปพลิเคชันให้เลือกใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการแทนที่ ScreenPad ด้วยปุ่มตัวเลข สร้างปุ่มลัดไว้ใช้งาน เปิดใช้หน้าจอสำหรับการเขียนข้อความ

ตามด้วยการใช้สั่งงานลัดในโปรแกรม Office ใช้ควบคุมการเล่นเพลงบน Spotify จนถึงเข้าไปเลือกดาวน์โหลดแอปเพิ่มเติมจาก App Deal ที่สำคัญคือหน้าจอใช้พลังงานน้อยลงเมื่อเทียบกับรุ่นก่อนหน้าเยอะมาก จนแทบไม่มีผลกับแบตเตอรีในการใช้งานทั่วๆไป

ทริกเล็กๆ น้อยๆ สำหรับผู้ที่ซื้อ ZenBook 13 มาใช้งานแล้วต้องการสลับใช้งาน ScreenPad กับการเป็นทัชแพดปกติคือ ผู้ใช้สามารถใช้ 3 นิ้วแตะบนหน้าจอเพื่อสลับโหมดใช้งานได้ทันที

หรือถ้าต้องการสลับหน้าจอบนล่าง หรือขยายหน้าจอให้เต็มบน ScreenPad เมื่อนำเมาส์คลิกที่ขอบหน้าต่าง จะมีตัวเลือกขึ้นมาให้สามารถลากหน้าต่างไปไว้ตรงโหมดที่ต้องการได้ทันที

แน่นอนว่าด้วยการที่เป็นแนวคิดใหม่ในการใช้งาน ทำให้อาจเกิดคำถามว่า ScreenPad จะถูกนำไปใช้อะไรได้บ้าง ถ้าให้นึกถึงรูปแบบการใช้งานง่ายๆ ก็คือเมื่อใช้หน้าจอหลักทำงาน เราอาจจะใช้หน้าจอ ScreenPad ในการเปิดข้อมูลเทียบไปด้วย หรือใช้เปิดโปรแกรมสื่อสารเพื่อให้ใช้งานได้ทันที

จุดเด่นอื่นๆ

ไม่ใช่แค่การมี ScreenPad 2.0 และพอร์ตที่ครบจะเป็นจุดเด่นของ ZenBook 13 เพียงอย่างเดียว เพราะยังมีในเรื่องของระบบเสียงที่เลือกใช้ลำโพงจาก harman kardon ทำให้เสียงที่ได้จากเครื่องมีคุณภาพ

หรือแม้แต่เรื่องของแบตเตอรี ที่แม้ว่าจะมีขนาดตัวเครื่องที่เล็กลง แต่แบตเตอรีไม่ได้เล็กตามไปด้วย จากการดีไซน์ตัวเครื่องแบบใหม่ ที่สามารถใส่แบตเตอรีมาได้ถึง 50 Wh ซึ่งสามารถใช้งานได้ต่อเนื่อง 12-14 ชั่วโมงตามที่เคลมไว้จริงๆ

นอกจากนี้ ด้วยการที่ใส่กล้องเว็บแคมแบบอินฟาเรดมาด้วย ทำให้สามารถนำมาใช้งานคู่กับระบบปลดล็อกตัวเครื่องอย่าง Windows Hello ทำให้เวลาเปิดหน้าจอขึ้นมาใช้งาน เมื่อเจอใบหน้าก็จะปลดล็อกตัวเครื่องใช้งานได้ทันที

สุดท้ายก็คือเรื่องของความทนทานที่ทางเอซุสให้ข้อมูลว่าใช้วัสดุเดียวกับ มาตรฐานทางทหาร ที่ผ่านการทดสอบความทนทานจากการตกหล่น ความดัน ความร้อน ความเย็นต่างๆ มาแล้ว

ทดสอบประสิทธิภาพ

สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพของ ZenBook 13 สามารถดูได้จากอัลบั้มภาพด้านล่าง

สรุป

Asus ZenBook 13 ถือว่าเป็นโน้ตบุ๊กที่เหมาะกับวัยทำงานที่ต้องการเครื่องที่พกพาง่าย ประสิทธิภาพสูง รองรับการทำงานได้หลากหลายเป็นหลัก เพราะด้วยขนาดที่เล็กกว่า A4 และแบตเตอรีที่ยาวนานทำให้เหมาะกับการทำงานในออฟฟิศยุคใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขณะเดียวกันด้วยระดับราคาที่ไม่สูงจนเกินไปเพราะมีสเปกให้เลือกทั้ง Core i5 เริ่มที่ 29,990 บาท และ Core i7 เริ่มที่ 35,990 บาท (รุ่นที่นำมารีวิว) ทำให้สามารถเลือกให้เหมาะกับการใช้งานได้

Gallery

]]>
Review : Asus ZenFone Max Pro M1 ชาร์จไวแม้แบตใหญ่ 5,000 mAh https://cyberbiz.mgronline.com/review-asus-zenfone-max-pro-m1/ Tue, 10 Jul 2018 10:59:40 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=28847

เพราะ ZenFone Max Pro M1 เป็นสมาร์ทโฟนที่มีจุดขายที่แบตเตอรี่ใหญ่สะใจ 5,000 mAh เมื่อหน้าจอแสดงว่าเหลือแบตเตอรี่ 2% เราพบว่า ZenFone Max Pro ก็ยังใช้งานต่อได้อีกเกินครึ่งชั่วโมง แถมแบตเตอรี่ใหญ่โตเช่นนี้ยังใช้เวลาไม่นานในการชาร์จ ซึ่งหากใครลืมชาร์จ ก็สามารถชาร์จไว้ครู่หนึ่งเพื่อใช้งานต่อได้ทั้งวัน

จุดสังเกตของ ZenFone Max Pro อยู่ที่กล้องซึ่งแม้จะใช้กล้องหลังคู่ ความละเอียด 16MP + 5MP แต่ถือว่าพัฒนาคุณสมบัติกล้องออกมาแบบไม่โดดเด่นเมื่อเทียบกับสมาร์ทโฟนระดับราคาเดียวกัน ขณะที่เครื่องสีดำเป็นรอยนิ้วมือง่ายจนอาจทำให้หลายคนหงุดหงิดใจไม่น้อย

ข้อดี

– ระบบปฏิบัติการ Pure Android

– ถาดใส่ซิมคู่ และการ์ดเพิ่มพื้นที่เก็บข้อมูล 3-in-1

– หน้าจอ FHD

– แบตเตอรี่ใหญ่ใช้งานได้ข้ามวัน

ข้อสังเกต

– กล้องไม่โดดเด่น

– เครื่องกว้าง ผู้หญิงอาจจับเครื่องมือเดียวลำบาก

ไม่หนาไม่หนัก

ต้องปรบมือให้ Asus ที่สามารถจัดเต็มแบตเตอรี่ mAh ขนาด 5,000 mAh ลงในเครื่องที่มีความหนาเพียง 8.5 มม. (ขนาดตัวเครื่อง 159 x 76 x 8.5 มิลลิเมตร) วัสดุตัวเครื่องเป็นโพลีคาร์บอเนต แต่ให้ความรู้สึกแข็งแรง น้ำหนัก 180 กรัมถือว่าไม่มากเลยเมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ขนาดใหญ่

ZenFone Max Pro M1 มีหน้าจอ 5.99 นิ้ว IPS-LCD ความละเอียด 2160 x 1080 พิกเซล สัดส่วน 18:9 กล้องหน้า 8 ล้านพิกเซล F2.0 พร้อมกับ LED Flash (16 ล้านพิกเซล เฉพาะ รุ่น RAM 6GB) หลังเครื่องติดตั้งกล้องคู่ ที่วางในแนวตั้งเหมือนกับบน iPhone X มีเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมืออยู่ตรงกึ่งกลางเครื่อง อยู่ด้านบนโลโก้แบรนด์ Asus

ถาดซิมรองรับ 2 นาโนซิมการ์ดและไมโครเอสดีการ์ด ที่ใส่ถาดซิมอยู่ด้านซ้ายของเครื่อง ตรงข้ามกับด้านขวาที่เป็นปุ่มเปิด–ปิดเครื่อง และปุ่มปรับระดับเสียง ด้านล่างเครื่องเป็นพอร์ต USB-C ลำโพง และไมโครโฟนสนทนา

ZenFone Max Pro M1 ใช้ซีพียู CPU Qualcomm Snapdragon 636 Octa Core 1.8 GHz พร้อมกับ GPU Adreno 509 เลือกได้ระหว่างรุ่น RAM 3GB, 4GB และ 6GB ความจุพื้นที่เก็บข้อมูลในตัว 32GB (เฉพาะรุ่น RAM 3GB) 64GB (เฉพาะรุ่น RAM 4 – 6GB) เพิ่มความจำได้ด้วย Micro SD รองรับสูงสุด 400GB

ระบบปฏิบัติการ Android 8.1 Oreo รองรับ 3G/4G LTE Cat 4 150/50Mbps

2 ชั่วโมงกว่าก็ชาร์จเต็ม

จากการทดสอบ Asus Zenfone Max Pro M1 ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงในการชาร์จไฟแบตเตอรี่ 5,000 mAh เต็มตั้งแต่ 10-100% โดยอุปกรณ์ชาร์จที่จัดมาให้ในกล่องคืออะแดปเตอร์ 10 วัตต์ ซึ่งไม่รองรับมาตรฐาน Quick Charge

แม้ Asus Zenfone Max Pro M1 ไม่รองรับมาตรฐาน Quick Charge เหมือนคู่แข่ง แต่เมื่อลืมชาร์จจนแบตเตอรี่เหลือน้อย พบว่าเพียงชาร์จไว้ครู่เดียวก็สามารถใช้งานต่อเนื่องได้ตลอดวัน จากการทดลองใช้งานตั้งแต่เช้า 8 โมงด้วยแบตเตอรี่ชาร์จเต็ม 100% แบตเตอรี่มักจะเหลือ 50% ในช่วงเย็นของวันแม้จะเล่นเกม ถ่ายวิดีโอ ดูวิดีโอบน YouTube

สิ่งที่อาจทำให้ผู้ใช้ ZenFone Max Pro M1 เหนื่อยใจคือตัวเลขพลังไฟที่จะเพิ่มขึ้นช้ามากเมื่อชาร์จ ทำให้ผู้ใช้รู้สึกว่าการชาร์จทำได้ช้าเหลือเกิน ซึ่งเมื่อทนไม่ไหวแล้วตัดสินใจเลิกชาร์จ ก็จะพบว่ายังสามารถใช้งาน ZenFone Max Pro M1 ต่อไปได้อีกระยะหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม ผลการทดสอบแบตเตอรี่เมื่อเปิดหน้าจอสว่างสุดด้วย Work 2.0 สถิติที่ได้กลับอยู่ที่ 10 ชั่วโมง คาดว่าตัวเลขผลการทดสอบนี้จะเพิ่มขึ้น หากมีการลดความสว่างหน้าจอลงและปิดโปรแกรมพื้นหลัง

ห้ามซูม

กล้องหลังของ ASUS Zenfone Max Pro M1 มีความละเอียด 13MP + 5MP สำหรับรุ่น RAM 3GB และ 16MP + 5MP สำหรับรุ่น RAM 6GB และ 4GB การทดสอบพบว่าเอฟเฟกต์ภาพเบลอไม่ค่อยใกล้เคียงกับธรรมชาติ และไม่มีโหมดให้ผู้ใช้สามารถตั้งค่ารูรับแสงได้ตามใจต้องการ

อย่างไรก็ตาม แม้จะรองรับการถ่ายวิดีโอแบบ 4K แต่การทดสอบพบว่าคุณภาพการซูมของกล้องนั้นทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร

เมื่อเปิดโหมดย้อนแสง ASUS Zenfone Max Pro M1 ทำได้ดี ภาพถ่ายแสงมากช่วงกลางวันให้คุณภาพไม่ผิดหวัง แต่ noise รบกวนเล็กน้อยในสภาพแสงน้อย

ครบเครื่องใช้คุ้ม

นอกจากกูเกิล เซอร์วิส และแอปพื้นฐานทั่วไป เช่น เครื่องคิดเลข, เครื่องอัดเสียง และ FM Radio แล้ว ASUS Zenfone Max Pro M1 ยังมีระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่ แต่รวมอยู่ในส่วน Setting เท่านั้น

ระบบความปลอดภัย ASUS Zenfone Max Pro M1 มีทั้งระบบสแกนลายนิ้วมือ และสแกนใบหน้า ถือว่าครบเครื่องคุ้มราคารอบด้าน ขณะที่ส่วนประสิทธิภาพของเครื่อง พบว่าคะแนนทดสอบอยู่ในระดับสูง และตอบสนองการเล่นเกมได้ดี

สรุป

หากใครมองว่าแบตเตอรี่มีความสำคัญมากที่สุด ZenFone Max Pro M1 ถือเป็นคำตอบที่ไม่ทำให้ผิดหวังแน่นอนเพราะ ZenFone Max Pro M1 คือโทรศัพท์ราคาเอื้อมถึงที่มีแบตเตอรี่ใหญ่ใช้งานได้ยาวนานที่สุดเมื่อเทียบกับสมาร์ทโฟนระดับเดียวกัน ซึ่งแม้ Zenfone Max Pro M1 อาจไม่สมบูรณ์แบบทุกด้าน แต่ก็ถือว่าคุ้มค่าสำหรับงบประมาณค่าตัว ZenFone Max Pro ที่เริ่มต้น 5,990 บาท

Zenfone Max Pro M1 มีให้เลือกซื้อ 3 รุ่น ได้แก่ RAM 3GB / ROM 32GB ราคา 5,990 บาท, RAM 4GB / ROM 64GB ราคา 6,990 บาท อีกรุ่นคือ RAM 6GB / ROM 64GB ราคา 7,990 บาท นี่คือราคาอัปเดทล่าสุด กรกฎาคม 2018

]]>
Review : Asus Zenfone 5 กล้อง AI ราคาเอื้อมถึง https://cyberbiz.mgronline.com/review-asus-zenfone-5/ Thu, 31 May 2018 08:34:48 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=28527 เอซุส เซนโฟนไฟฟ์ (Asus Zenfone 5) รุ่นปี 2018 ถูกโชว์ความสามารถเรื่องระบบถ่ายภาพ AI ครั้งแรกในบาร์เซโลนา เรียกความตื่นเต้นได้ไม่น้อยเมื่อมีนาคมที่ผ่านมา แต่วันนี้ Zenfone 5 กำลังผจญกับการแข่งขันของสมาร์ทโฟนหลากรุ่นที่อ้างว่าใช้ AI ในกล้องเช่นกัน ดังนั้น Zenfone 5 จึงจำเป็นต้องจัดเต็มทุกกระบวนท่าให้ครบถ้วนเพื่อให้สามารถยืนหยัดได้มั่นคง

ถามว่าสิ่งที่ทำให้ Zenfone 5 โดดเด่นคืออะไร หากมองที่รายละเอียดสเปกเครื่องอย่างเดียว จะพบว่า Zenfone 5 แต่งตัวมาสวยงาม ทั้งกล้องหลักใช้เซ็นเซอร์ของโซนี่ขนาด 12MP พร้อมเลนส์รับแสง F1.8 กล้องรอง 8MP ใช้เลนส์มุมกว้าง 120 องศา F2.0 ยังมีกล้องด้านหน้าซึ่งใช้เซ็นเซอร์ 8MP ที่จับคู่กับเลนส์ F2.0 คุณสมบัติเหล่านี้ถือว่าค่อนข้างเป็นสเปกพิมพ์นิยม ตามมาตรฐานสมาร์ทโฟนระดับกลางทั่วไป

ประเด็นนี้ นักสังเกตการณ์บางรายมองว่าเป็นเรื่องค่อนข้างแปลกที่ Asus เลือกที่จะใส่เลนส์ F1.8 บนกล้องหลักของ Zenfone 5 เพราะที่ผ่านมา เรือธงรุ่นก่อนหน้าอย่าง Zenfone 4 Pro นั้นใช้เลนส์ F1.7 ที่สว่างกว่า แต่ทั้งหมดทั้งมวล ต้องยอมรับว่า Zenfone 5 ให้ภาพคมชัดพร้อมรายละเอียดดีมากในสภาพแสงมาก จุดนี้ Zenfone 5 แตกต่างจากโทรศัพท์รุ่นอื่นที่มักปรับสีภาพ ทำให้ Zenfone 5 ให้ภาพสีธรรมชาติมากขึ้น

ใครที่ต้องการเพิ่มฟิลเตอร์ให้ภาพมีอารมณ์ที่ต่างไป สามารถปาดหน้าจอด้านขวา ซึ่งจะมีเมนูแต่งภาพให้เลือกมากมาย

ผู้ใช้ที่ต้องการควบคุมกล้องให้มากกว่าเดิม สามารถเปลี่ยนจากโหมด Auto ไปใช้โหมด Pro ได้ ซึ่งจะสามารถปรับการรับแสง ความเร็วชัตเตอร์ รวมถึง ISO และการตั้งค่าอื่นได้ ยังบันทึกรูปภาพในรูปแบบ RAW เพื่อการแก้ไขที่เต็มรูปแบบยิ่งขึ้นในเครื่องพีซี

สำหรับมือสมัครเล่น Asus Zenfone 5 ถือว่ามีระบบ AI ในกล้องที่จะดูแลการปรับตั้งค่าเหล่านี้ให้ได้อย่างน่าพอใจ AI ของ Zenfone 5 รู้ว่ากำลังถ่ายรูปอาหาร, ดอกไม้ หรือวิวยามเย็น ซึ่งในระหว่างการทดสอบ พบว่าแม้ Zenfone 5 จะสามารถจดจำรูปถ่ายที่แตกต่างกันได้ เช่น อาหาร ใบหน้า ภาพวิว และดอกไม้ แต่ก็พบว่าบางภาพ AI จำแนกภาพผิดประเภท เช่น รูปเม็ดโฟมกลายถูก AI ระบุเป็นอาหาร นาฬิกาถูกระบุเป็นใบไม้

ไม่ว่าอย่างไร ก็ถือว่าเป็นความผิดพลาดที่อภัยได้เพราะระบบสามารถปรับการตั้งค่าจนได้ภาพที่สีสวยดี ข้อมูลระบุว่า Asus เรียกระบบ AI ในกล้องว่า AI Scene Detection ซึ่งจะเรียนรู้จากฐานข้อมูลบนคลาวด์เพื่อจำแนกข้อมูลรูปภาพเป็น 16 แบบ

ภาพถ่ายในสภาพแสงน้อยของ Zenfone 5 ถือว่ายังสวยงามอยู่ แต่การทำงานของแฟลชนั้นถือว่ายังไม่น่าพอใจ ขณะที่การซูมเข้าถือว่าทำได้เสมอตัวเท่านั้น เพราะความละเอียดบางส่วนหายไป และมี noise ในระดับเห็นชัด

อีกสิ่งที่สัมผัสได้จาก Zenfone 5 คือคุณสมบัติการเซลฟี่ที่ไม่โดดเด่นนัก แม้จะเพียงพอสำหรับการถ่ายภาพตัวเองแต่ความละเอียดกล้องหน้า 8MP เทียบไม่ได้กับ 25MP ของ Oppo F7 และแม้แต่ Huawei P20 Lite ที่มีกล้องหน้า 16MP

บทสรุปคือหาก selfie ไม่ใช่เรื่องสำคัญ Zenfone 5 ถือเป็นตัวเลือกที่ดีมากสำหรับคนที่กำลังมองหาโทรศัพท์ระดับกลางแต่กล้องเลิศที่โดดเด่นในนาทีนี้

Spec เด่น-ฟันธงควรซื้อไหม?

Asus Zenfone 5 รุ่นปี 2018 มี notch หรือรอยบากแบบ iPhone X กล้องคู่ด้านหลังวางเรียงซ้อนกันแนวตั้ง ตรงกลางเครื่องเป็นระบบสแกนนิ้วมือ แม้เครื่องจะดูเงาวาวสวยเพราะใช้วัสดุกอริลลากลาสทั้งหน้าและหลังเครื่อง แต่น่าเสียดายที่เป็นรอยนิ้วมือง่ายมาก

Zenfone 5 รุ่นล่าสุดมีขนาดหน้าจอกว้าง 6.2 นิ้ว สัดส่วน 19:9 มีช่องต่อหูฟัง 3.5 มม. รองรับพอร์ต USB-C ชิปเซ็ต Qualcomm Snapdragon 636 แรม 4GB ในความจุ 64GB แบตเตอรี่ 3,300 mAh

จุดเด่นของ Zenfone 5 คือ AI ที่ปรับใช้หลายส่วน ทั้งระบบ AI Charging ตอบโจทย์ผู้ชาร์จไฟข้ามคืน ให้ชาร์จได้ทีละนิดตลอดคืนเพื่อถนอมอายุการใช้งานแบตเตอรี่ และระบบ AI Ringtone ที่จะช่วยให้ผู้ใช้ที่มิสคอลบ่อย หรือไม่ได้ยินเสียงริงโทนจนพลาดรับสายไป สามารถได้ยินเสียงริงโทนดังและเบาตามสภาพแวดล้อมในขณะนั้น ยังมี AI Boost ที่ระบุว่าช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเมื่อต้องใช้แอปที่ใช้พลังงานสูง เหมาะกับคอเกมเพราะโหมดนี้จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้อีก 12.7%

Zenfone 5 มี ZeniMoji อีโมจิที่กระพริบตาอ้าปากได้ตามใบหน้าผู้ใช้ ถาดใส่ซิมของ Zenfone 5 เป็นแบบไฮบริดที่รองรับ Dual 4G และ Dual VoLTE ใช้ระบบปฏิบัติการ Android Oreo ที่ครอบด้วย ZenUI5.0 รองรับ NFC และ Google Pay ระบบเสียง DTS Headphone X / Hi-Res Audio ลำโพงคู่ NXP Smart AMP ในกล่องไม่มีแถมหูฟังมาให้

ข้อดี

– คุณสมบัติโดยรวมครบตามที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่ต้องการ ราคาสบายกระเป๋าไม่เกิน 13,990 บาท

– หลายคนชื่นชมว่าเครื่องสวย หน้าจอสีสดใส

– ปรับใช้ AI หลายส่วน ทั้ง AI Charging, AI Ringtone และ AI Boost

– แบตเตอรี่ใช้งานได้ข้ามวัน

ข้อสังเกต

– ชิปและสเปกเครื่องโดยรวมไม่ใช่ระดับท็อป

– มีรอยบากเหมือนคู่แข่งมากเกินไป จุดนี้ผู้ใช้ในต่างประเทศพบว่าสามารถตั้งค่าลบรอยบากได้ แต่ในเครื่องที่ทีมงานได้รับทดสอบ กลับไม่พบฟังก์ชันนั้น

– อย่าหวังมากเกินไปกับคุณสมบัติอย่าง ZeniMoji อีโมจิที่กระพริบตาอ้าปากได้ตามใบหน้าผู้ใช้ เพราะจากการทดลอง พบว่ายังเคลื่อนไหวได้ไม่อิสระนัก

]]>
Review : Asus Zenfone Max Plus พิสูจน์แบตฯ 4,130 mAh ใช้งานได้นานแค่ไหน https://cyberbiz.mgronline.com/review-asus-zenfone-max-plus-m1/ Tue, 20 Feb 2018 11:18:08 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=28072

การที่เอซุส (Asus) เลือกแยกไลน์สินค้าในตระกูล Zenfone Max ออกมาจากตระกูลหลัก Zenfone 4 หรือ Zenfone 5 ที่กำลังจะเปิดตัวใหม่ ถือว่าเป็นจุดที่น่าสนใจ ว่าเอซุสกลับมาโฟกัสในตลาดสมาร์ทโฟนช่วงราคาต่ำกว่า 7,000 บาทอีกครั้ง หลังจากที่เคยประสบความสำเร็จในตลาดนี้มาก่อนสมัยเริ่มนำ Zenfone เข้าสู่ตลาดประเทศไทย

ทั้งนี้ จุดเด่นหลักของสมาร์ทโฟนในตระกูล Zenfone Max ที่ผ่านมาเลยคือเรื่องของแบตเตอรี ที่แม้ว่าจะไมไ่ด้แบต mAh จำนวนมากๆ มาแต่มีระบบบริหารจัดการพลังงานที่ดี ทำให้ช่วยยืดระยะเวลาใช้งานต่อการชาร์จแบตออกไปได้มากกว่าสมาร์ทโฟนรุ่นอื่นๆในตลาด

รวมถึงความสามารถอย่างการแปลง Zenfone Max เป็น Powerbank ให้แก่สมาร์ทโฟนเครื่องอื่น (ในกล่องมีแถมสาย OTG มาให้) แสดงให้เห็นว่า เป้าหมายหลักของเครื่องนี้จริงๆคือการเป็นสมาร์ทโฟนเครื่องที่ 2 ของผู้ใช้งานมากกว่า แต่ก็ยังไม่สายในสเปกมาให้เพียงพอกับการใช้งานเป็นเครื่องหลักด้วย

การออกแบบ

ในแง่ของดีไซน์ Asus Zenfone Max Plus (M1) จะเน้นที่การปรับสัดส่วนหน้าจอเป็น 18:9 ทำให้ตัวเครื่องมีขนาดเล็กลง แต่ได้หน้าจอที่ใหญ่ขึ้น บนวัสดุพื้นผิวอย่างอะลูมิเนียม ที่เพิ่มความหรูหราให้แก่ตัวเครื่อง โดยมีขนาดตัวเครื่องอยู่ที่ 73 x 152.6 x 8.8 มิลลิเมตร น้ำหนัก 160 กรัม มีให้เลือกด้วยกัน 3 สีคือ ทอง เงิน และดำ

ด้านหน้าจากขอบบนจะเป็นลำโพงสนทนา กล้องหน้าความละเอียด 16 ล้านพิกเซล f/2.0 เซ็นเซอร์ต่างๆ ถัดลงมาเป็นหน้าจอขนาด 5.7 นิ้ว ความละเอียด HD+ (1440 x 720 พิกเซล) โดยใช้กระจกขอบโค้ง 2.5D รองรับการสัมผัส 5 จุด ซึ่งปุ่มควบคุมหลักจะอยู่บนหน้าจอทั้งหมด

ด้านหลังเด่นๆเลยคือเรื่องของกล้องคู่ความละเอียด 16 ล้านพิกเซล f/2.0 คู่กับเลนส์มุมกว้าง 120 องศา ความละเอียด 8 ล้านพิกเซล โดยมีไฟแฟลช LED อยู่ข้างๆ ถัดลงมาเป็น เซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือ ที่จะอยู่บริเวณนิ้วชี้ พอดีเวลาจับถือเครื่องช่วยให้ปลดล็อกง่ายขึ้น ภายในมีแบตเตอรีขนาด 4,130 mAh

ด้านซ้ายจะเป็นช่องถาดใส่ซิม ที่รองรับการใส่นาโนซิมการ์ด 2 ช่อง พร้อมกับไมโครเอสดีการ์ดอีก 1 ช่อง (สูงสุด 256 GB) ด้านขวาเป็นปุ่มเปิดปิดเครื่อง และปุ่มปรับระดับเสียง

ด้านบนมีช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม. และไมโครโฟนตัวที่ 2 ด้านล่างเป็นพอร์ตไมโครยูเอสบี ช่องไมโครโฟนสนทนา และลำโพง

สำหรับอุปกรณ์ที่ให้มาในกล่องประกอบ นอกจากตัวเครื่องประกอบด้วย หูฟัง สายไมโครยูเอสบี สาย OTG (ใช้เป็นตัวต่อชาร์จกับอุปกรณ์อื่นได้) เข็มจิ้มซิมการ์ด อะเดปเตอร์ (แบบชาร์จเร็ว) และ คู่มือการใช้งาน

สเปก

ภายในของ Asus Zenfone Max Plus (M1) จะมากับหน่วยประมวลผล MediaTek MT6750T ที่เป็น Octa-Core 1.5 GHz RAM 4GB พื้นที่เก็บข้อมูลภายใน 32 GB รองรับไมโครเอสดีการ์ดสูงสุด 256 GB ทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 7.0

ส่วนของการเชื่อมต่อรองรับ 3G/4G โดยซิมหลักจะรองรับ 4G ความเร็วในการดาวน์โหลดสูงสุด 150 Mbps อัปโหลด 50 Mbps ซิมรองสแตนบาย 3G ส่วน Wi-Fi บนมาตรฐาน 802.11 b/g/n นอกจากนี้ ก็มีบลูทูธ 4.0 GPS วิทยุ FM มาให้ใช้งานด้วย

ฟีเจอร์เด่น

จุดเด่นหลักๆของ Asus Zenfone Max Plus (M1) จะเน้นไปที่เรื่องของประสิทธิภาพในการใช้งาน ดีไซน์ตัวเครื่องยุคใหม่ (สัดส่วน 18:9) ในระดับราคา 6,990 บาท ซึ่งถือว่ามีคู่แข่งที่มาจับในตลาดนี้ค่อนข้างน้อย พร้อมกับหวังว่าด้วยชื่อชั้นของแบรนด์ เอซุส จะช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงได้ง่ายด้วย

ในแง่ของการใช้งาน Zen UI 4.0 ถือว่าทำออกมาได้ค่อนข้างเป็นมิตรกับผู้ใช้ในระดับหนึ่ง คือการใช้งานทั่วๆไปจะไม่ค่อยซับซ้อนมากนัก และมีทางลัดต่างๆให้ใช้งานไม่ต่างจากแอนดรอยด์เวอร์ชันปกติมากนัก ดังนั้นถ้ามีพื้นฐานการใช้งานแอนดรอยด์โฟนมาก่อนก็ปรับตัวใช้งานได้ไม่ยาก

ทั้งนี้ จุดเด่นหลักๆของในตระกูล Zenfone Max จริงๆแล้วคือในเรื่องของแบตเตอรี ดังนั้นทีมงานจึงเน้นในแง่ของการใช้งานแบตเตอรีเป็นหลัก เพราะจากขนาดของแบตเตอรีที่ลดลงเหลือ 4,130 mAh เมื่อเทียบกับรุ่นก่อนหน้าจะอยู่ระดับ 5,000 mAh ทำให้ระยะเวลาใช้งานต่อเนื่องน้อยลง

เริ่มจากการทดสอบใช้งานดูหนังบน Youtube ต่อเนื่อง จะใช้งานได้ราวชั่วโมงเท่านั้น แต่ถ้าเป็นการใช้งานทั่วๆไป 10 ชั่วโมงก็ได้สบายๆ จากเดิมที่สามารถใช้ได้ต่อเนื่องมากกว่า 12 ชั่วโมง แน่นอนว่าทั้งเรื่องของขนาดหน้าจอ และขนาดแบตเตอรีที่เปลี่ยนไปทำให้ระยะเวลาการใช้งานได้ไม่ยาวนานเหมือนเดิม แต่ถ้าเทียบกับรุ่นอื่นๆในตลาดก็ถือว่าค่อนข้างอึดอยู่ดี

ส่วนของการแปลง Asus Zenfone Max Plus (M1) ให้กลายเป็นแบตฯสำรอง ที่ถือเป็นอีกจุดเด่น ก็ยังทำหน้าที่ได้ตามปกติ ด้วยการต่อสาย OTG จากตัวเครื่อง Zenfone เข้ากับสายชาร์จ เพื่อไปเชื่อมต่อกับมือถือที่ต้องการชาร์จ เพื่อใข้ในเวลาฉุกเฉิน

อีกส่วนที่น่าสนใจคือฟีเจอร์อย่าง Power Master ที่เอซุส จะช่วยยืดอายุการใช้งานแบตเตอรี ทั้งการควบคุมไฟในการชาร์จแบตเตอรี การควบคุมรอบของการชาร์จ (Cycle) เพื่อช่วยให้แบตเตอรีสามารถใช้งานได้ยาวนานขึ้นกว่าปกติ

ในขณะที่ประสิทธิภาพของกล้อง ถือว่าเป็นไปตามราคาของเครื่อง จากการที่กล้องหลักจะเน้นความคมชัดให้รายละเอียดได้ดี ส่วนเลนส์มุมกว้างที่ให้มาด้วยระดับความละเอียดที่ต่ำกว่า คุณภาพของรูปที่ได้ก็จะดรอปลงไป ถือว่าให้มาใช้แบบขำๆว่ามีกล้องคู่มากกว่า

เรื่องของการปลดล็อกตัวเครื่อง นอกเหนือจากตัวสแกนลายนิ้วมือแล้ว Asus Zenfone Max Plus (M1) ยังเพิ่มฟีเจอร์อย่างปลดล็อกหน้าจอด้วยใบหน้ามาให้ด้วยก็ถือเป็นอีกลูกเล่นที่น่าสนใจเพียงแต่ในการปลดล็อกด้วยใบหน้าความแม่นยำยังไม่ค่อยสูงถ้าอยู่ในมุมหรือองศาที่ไม่ได้ใส่ข้อมูลไว้สุดท้ายก็ต้องใช้การป้อนรหัสแทนอยู่ดี

ทดสอบประสิทธิภาพ

Antutu Benchmark = 54,007 คะแนน
Quadrant Advanced Edition = 18,936
Multi-Touch = 5 จุด

PC MarkWork 2.0 = 2,757 คะแนน
Computer Vision = 1,277 คะแนน
Storage = 2,590 คะแนน
Work = 3,666 คะแนน

3D Mark
Sling Shot Unlimited = 462 คะแนน
Ice Storm Extreme = 5,399 คะแนน
Ice Storm Unlimited = 8,798 คะแนน
Ice Storm = 8,773 คะแนน

Geekbench 4
Single-Core = 446 คะแนน
Multi-Core = 2,221 คะแนน
Compute = 1,741 คะแนน

PassMark PerformanceTest
System = 3,362 คะแนน
CPU Tests = 75,348 คะแนน
Memory Tests = 4,943 คะแนน
Disk Tests = 25,723 คะแนน
2D Graphics Tests = 2,755 คะแนน
3D Graphics Tests = 744 คะแนน

สรุป

สิ่งที่ทำให้ Asus Zenfone Max Plus (M1) น่าสนใจคือการที่เอซุส กล้าทำราคาลงมาต่ำกว่า 7,000 บาท ทำราคาได้น่าสนใจกว่า Wiko View Prime ที่ก่อนหน้าที่ครองตำแหน่งของสมาร์ทโฟนจอ 18:9 ในราคาต่ำกว่า 8,000 บาทอยู่

นอกจากนี้ ด้วยชื่อแบรนด์ และเทคโนโลยีของเอซุสที่ใส่มาในสินค้าตระกูล Zenfone Max ก็ถือว่าให้มาค่อนข้างครบ ดังนั้นถ้ามองหาสมาร์ทโฟนที่มาใช้เล่นโซเชียลเน็ตเวิร์ก ใช้งานเพื่อความบันเทิงในระดับราคาที่ไม่สูงเกินไป Asus Zenfone Max Plus (M1) ถือเป็นอีกรุ่นที่น่าสนใจทีเดียว

อย่างไรก็ตาม ด้วยการที่ตัวเครื่องใช้หน่วยประมวลผลเป็น MediaTek MT6750T อาจทำให้ถ้านำมาเล่นเกมที่สเปกสูงๆหน่อย เมื่อปรับสุดอาจเกิดอาการกระตุก หรือหน่วงๆได้ แต่ถ้าไม่ได้เน้นเล่นเกมแรงๆแล้ว ถือว่าตอบโจทย์การใช้งานทั่วไปได้สบายๆ

ข้อดี

ตัวเครื่องหน้าจอ 5.7 นิ้ว ในสัดส่วน 18:9

วัสดุที่ใช้เป็นอะลูมิเนียม ให้ความแข็งแรง และหรูหราในตัว

รองรับการใช้งาน 2 ซิม พร้อมไมโครเอสดีการ์ด

แบตเตอรีขนาด 4,130 mAh ที่สามารถใช้ชาร์จมือถือเครื่องอื่นได้

ข้อสังเกต

แบตเตอรีไม่อึดเท่ารุ่นที่ผ่านมา

ตัวเครื่องยังมีอาการหน่วงๆ เมื่อใช้งานหนักๆ

กล้องมุมกว้างความละเอียดยังต่ำอยู่

Gallery

]]>
Review : Asus Zenfone 4 Max Pro เน้นหนักที่แบตอึด แชร์แบตให้เพื่อนก็ได้ https://cyberbiz.mgronline.com/review-asus-zenfone-4-max-pro/ Sat, 11 Nov 2017 13:13:11 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=27550

หนึ่งในซีรีส์ที่ได้รับความนิยมของเอซุสในปีที่ผ่านมา คงหนีไม่พ้น Zenfone 3 Max ที่ชูจุดเด่นในเรื่องของการเป็นสมาร์ทโฟนที่มากับแบตเตอรีขนาด 5,000 mAh แถมยังพ่วงความสามารถในการแปลงสมาร์ทโฟนเป็นพาวเวอร์แบงค์เพื่อชาร์จแบตให้กับเครื่องอื่นได้ด้วย

ประกอบกับเมื่อดูในไลน์สินค้าของ เอซุส จะเห็นว่ามีการแตกไลน์ออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆด้วยกันคือ ซีรีส์ Max ที่เป็นรุ่นเริ่มต้นเน้นเรื่องแบตฯเป็นพิเศษ ถัดมาเป็น Selfie ที่เน้นเรื่องกล้องหน้า และสุดท้ายคือรุ่นปกติที่จะจับตลาดกลางบนเป็นหลัก

ดังนั้น Asus Zenfone 4 Max และ Max Pro จึงเป็นสมาร์ทโฟนที่อยู่ในช่วงระดับราคาต่ำกว่าหมื่นบาท (5,990 – 7,990 บาท) แต่ไม่ใช่ว่าจะโดดเด่นที่เรื่องแบตเพียงอย่างเดียว เพราะตัวเครื่องก็มากับหน่วยประมวลผลระดับที่พอใช้งาน และยังมีกล้องหลังคู่มาให้ใช้งานด้วย

การออกแบบ

รุ่นที่ทีมงานได้มารีวิวในวันนี้คือ Asus Zenfone 4 Max Pro ที่จะมีแบตเตอรีมากกว่ารุ่น Zenfone 4 Max ธรรมดา โดยตัวเครื่องจะมากับขนาด ขนาด 154 x 76.9 x 8.9 มิลลิเมตร น้ำหนัก 181 กรัม มีให้เลือกด้วยกัน 3 สี คือ Deepsea Black Sunlight Gold และ Rose Pink

ด้านหน้าจะมีหน้าจอ 2.5D IPS ขนาด 5.5 นิ้ว ความละเอียด HD (1280 x 720 พิกเซล) โดยส่วนบนหน้าจอประกอบไปด้วยกล้องหน้าความละเอียด 16 ล้านพิกเซล พร้อมไฟแฟลช ลำโพงสนทนา และเซ็นเซอร์ตรวจจับใบหน้า ล่างหน้าจอเป็นปุ่มโฮมและเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือ พร้อมปุ่มย้อนกลับ และเรียกดูแอปที่ใช้งานล่าสุด

ด้านหลังไล่จากส่วนบนจะมีกล้องหลักคู่ที่เป็นเลนส์ความละเอียด 16 ล้านพิกเซล คู่กับเลนส์มุมกว้าง พร้อมไฟแฟลช ถัดลงมาเป็นสัญลักษณ์เอซุส โดยจะใช้วัสดุเป็นอะลูมิเนียม เน้นความเรียบง่ายเป็นหลัก ภายในมีแบตเตอรี 5,000 mAh อยู่

ด้านซ้ายจะมีช่องใส่ซิมการ์ดโทรศัพท์ (Nano Sim) ที่มีความพิเศษตรงช่องใส่ซิมที่ 2 ไม่ต้องแชร์กับช่องใส่การ์ด MicroSD เหมือนหลายๆแบรนด์ สะดวกสบายสำหรับคนที่ใช้ 2 ซิมแล้วต้องการใส่การ์ดความจำเพิ่มด้วย ถือเป็นอีกจุดที่น่าสนใจของรุ่นนี้

ด้านขวามีปุ่มเพิ่มลดระดับเสียง และปุ่มเปิดปิดเครื่อง ด้านบนมีช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม. และไมโครโฟน ด้านล่างเป็นพอร์ตไมโครยูเอสบี และช่องลำโพง (โมโน)

อุปกรณ์ที่ให้มาในกล่อง นอกจากตัวเครื่อง อะเดปเตอร์ สายชาร์จ หูฟัง และคู่มือการใช้งานแล้ว เอซุส ยังได้แถมสาย OTG หรือสายแปลงหัวไมโครยูเอสบี เป็นพอร์ตยูเอสบีให้เสียบสายชาร์จ หรือแฟลชไดรฟ์เพื่อต่อใช้งานได้ทันทีมาให้ด้วย

สเปก

ASUS Zenfone 4 Max Pro จะขับเคลื่อนด้วยซีพียู Qualcomm Snapdragon 430 Octa-core ความเร็ว 1.4GHz กราฟิก Adreno 505 พร้อมแรม 3GB รอม 32GB ระบบปฏิบัติการเป็น Android 7.1.1 ครอบทับด้วย ASUS ZenUI 4.0 และแบตเตอรีความจุ 5,000 mAh

ด้านสเปกการเชื่อมต่อเครือข่าย รองรับ 3G/4G ในบ้านเราทั้งหมด โดย 4G (รองรับ VoLTE) จะรองรับความเร็วระดับ Cat4 ดาวน์โหลด 150Mbps 3G รองรับความเร็วดาวน์โหลดสูงสุด 42 Mbps ส่วน WiFi รองรับมาตรฐาน 802.11 b/g/n บลทูธ 4.0, มี GPS/A-GPS/GLONASS/BDSS และภาครับสัญญาณ FM

ฟีเจอร์เด่น

ในแง่ของฟีเจอร์การใช้งานทั่วไป Zenfone 4 Max Pro จะคล้ายๆกับรุ่นที่เคยรีวิวไปก่อนหน้านี้อย่าง Zenfone 4 Selfie ที่มีการใช้อินเตอร์เฟสของ Zen UI 4.0 มาครอบเพื่อให้ใช้งานได้ในสไตล์ของเอซุส ซึ่งถือว่าทำออกมาได้เบา ทำให้เครื่องไม่หน่วงเวลาใช้งานแม้จะให้ RAM มาเพียง 3GB

โดยจุดเด่นหลักๆของเครื่องรุ่นนี้จริงๆ ก็จะเป็นเรื่องของการแชร์แบตเตอรี ที่สามารถต่อกับอะเดปเตอร์เพื่อแชร์แบตให้เครื่องอื่นได้ เพราะด้วยแบตเตอรีที่ให้มา 5,000 mAh ก็เปรียบเหมือนพาวเวอร์แบงค์ขนาดเล็กๆอันหนึ่ง

แต่ถ้าไม่ได้ไปแชร์ใช้ให้ใคร เมื่อใช้เครื่องปกติ ระยะเวลาการใช้งานที่ได้ก็ถือว่าใช้งานได้สบายๆ 2-3 วัน ขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้งาน แต่ถ้าใช้งานต่อเนื่องหนักๆ ก็จะได้ประมาณ 1 วันสบายๆ เพราะด้วยสเปกที่ให้มาก็ถือว่าอยู่ในระดับกลางๆ ตามระดับราคาของเครื่อง

ในส่วนของกล้องที่ให้มา แม้ว่าจะมีลูกเล่นอย่างกล้องคู่มาให้ด้วย แต่คุณภาพของรูปทีไ่ด้จากกล้องรองที่เป็นเลนส์มุมกว้างนั้น ไม่ค่อยดีเท่าที่ควร เนื่องจากใช้เลนส์ความละเอียดต่ำ เหมือนใส่มาเพื่อให้การถ่ายภาพได้มุมมองที่แปลกไปมากกว่า

ขณะที่ในแง่ของโหมดถ่ายภาพที่ให้มาก็เป็นมาตรฐาน มีทั้งโหมดอัตโนมัติ โหมดโปร ที่เข้าไปตั้ง ISO และ Speed Shutter ได้เอง แต่ถ้าเน้นถ่ายง่ายๆ สนุกๆโหมดอัตโนมัติที่ให้มาก็พอแล้ว ไม่นับรวมกับพวกโหมดพิเศษอย่างพาโนราม่า หรือการถ่ายภาพเป็นไฟล์ GIF

ที่เหลือก็จะเป็นลูกค้าที่มากับ Zen UI ภายใต้ Zen Motion ที่จะมีให้เลือกตั้งค่าอย่างการจับภาพหน้าจอ สามารถกดปุ่ม Recent Apps ค้างไว้เพื่อบันทึกภาพแทน หรือการแตะหน้าจอ 2 ครั้งเพื่อเปิดปิดหน้าจอ การวาดตัวอักษรบนหน้าจอเพื่อเรียกใช้แอปเป็นต้น

ทดสอบประสิทธิภาพ

Antutu Benchmark = 44,447 คะแนน
Quadrant Standard = 14,760 คะแนน

PassMark PerformanceTest
System = 3513 คะแนน
CPU Tests = 81,572 คะแนน
Memory Tests = 5,267 คะแนน
Disk Tests = 36,236 คะแนน
2D Graphics Tests = 2,446 คะแนน
3D Graphics Tests = 807 คะแนน

3D Mark

Sling Shot Unlimited = 566 คะแนน
Sling Shot Extreme = 296 คะแนน
Sling Shot = 569 คะแนน
Ice Storm Extreme = 5,838 คะแนน
Ice Storm Unlimited = 9,483 คะแนน
Ice Storm = 10,004 คะแนน

PC Mark

Work 2.0 = 3,716 คะแนน
Computer Vision = 1,704 คะแนน
Storage = 3,155 คะแนน
Work = 4,846 คะแนน

Geekbench 4
Single-Core = 656 คะแนน
Multi-Core = 2,493 คะแนน
Compute = 2,129 คะแนน

ขณะที่การทดสอบแบตเตอรีผ่าน PCMark จะอยู่ที่ 15 ชั่วโมง 5 นาที เมื่อแบตเตอรีเหลือ 20% ดังนั้นถ้าใช้งานต่อเนื่องจนถึงแบตหมดเหมือนใช้งานต่อเนื่องได้ทั้งวันสบายๆ หรือถ้าใช้งานทั่วๆไปในแต่ละวัน ก็สามารถอยู่ได้ 2-3 วัน

สรุป

ด้วยการที่เอซุสในซีรีส์เน้นเรื่องแบตเตอรีเป็นหลัก ดังนั้นถ้าอยากได้สมาร์ทโฟนที่แบตอึดๆ ใช้ได้ยาวๆก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในราคาระดับนี้ เพราะโดยรวมกับสเปกที่ให้มาอยู่ในช่วงกลางๆ พอกับการใช้งานทั่วๆไป อย่างใช้โซเชียลมีเดีย แชท เล่นเน็ต ดูซีรีส์ยาวๆ แต่ถ้าจะเอามาเล่นเกมหนักๆ ตัวเครื่องก็จะมีอาการหน่วงอยู่นิดๆ

ข้อดี

– แบตเตอรี 5,000 mAh ที่ใช้ได้ยาวๆ และแชร์แบตให้เพื่อนได้
– มีสาย OTG (แปลง MicroUSB เป็น USB) มาให้ในกล่อง
– มีเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือให้ใช้งาน
– กล้องหลังคู่ที่เป็นเลนส์มุมกว้าง

ข้อสังเกต

– ประสิทธิภาพตัวเครื่องจะอยู่ในระดับกลางๆ
– กล้องคู่ที่ให้มาคุณภาพไม่ค่อยดี ส่วนกล้องหลักตามราคาเครื่อง
– ZenUI ที่ให้มายังไม่ค่อยเสถียรมากนัก
– ดีไซน์ไม่ได้มีความแปลกใหม่จากรุ่นเดิมมากนัก

Gallery

]]>
Review : ASUS Zenfone 4 Selfie เซลฟีกล้องคู่ในราคาไม่ถึงหมื่น https://cyberbiz.mgronline.com/review-asus-zenfone4selfie/ Sat, 16 Sep 2017 03:24:44 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=27168

เดินทางมาถึงรุ่นที่ 4 กับ ASUS Zenfone สมาร์ทโฟนกระแสแรง ที่ล่าสุดเลือกดึงดาราสุดร้อนแรงอย่าง กง ยู มาเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์อย่างเป็นทางการ ไปถึงการเปิดรุ่นย่อยของ Zenfone 4 ถึง 6 รุ่นตามแบบฉบับเอซุส ไล่ตั้งแต่รุ่นบนไฮเอนด์สุด อย่าง ASUS Zenfone 4 Pro ลงไปถึงตลาดราคาประหยัดแต่เน้นความอึดของแบตเตอรีอย่าง Zenfone 4 Max โดยรุ่นที่ทีมงานไซเบอร์บิซได้รับมารีวิวในวันนี้จะเป็นรุ่นระดับกลาง เน้นเซลฟีในชื่อ “ASUS Zenfone 4 Selfie” ที่มีความโดดเด่นในเรื่องกล้องหน้าแบบคู่ 2 ระยะเลนส์ เอาใจขาเซลฟีเป็นพิเศษ

การออกแบบ

สำหรับ Zenfone 4 Selfie จะเปิดตัวมาถึง 2 รุ่นย่อยคือรุ่น Pro และรุ่นเริ่มต้น (เป็นรุ่นที่เราจะรีวิวในวันนี้) เน้นราคาประหยัด โดยตัวเครื่องที่ทีมงานได้รับมาเป็นโมเดล ZD553KL มาพร้อมหน้าจอ 2.5D IPS ขนาด 5.5 นิ้ว ความละเอียด HD 720p (Zenfone 4 Selfie Pro จะเป็นหน้าจอ AMOLED Full HD)

ในส่วนขนาดตัวเครื่องจะมีความหนา 7.85 มิลลิเมตร หนัก 144 กรัม ซึ่งถือเป็นสมาร์ทโฟนอีกหนึ่งรุ่นที่มีน้ำหนักเบา

ใต้จอภาพจะเป็นที่อยู่ของปุ่มโฮมและเซนเซอร์สแกนลายนิ้วมือ (เป็นแบบสัมผัสไม่ใช่ปุ่มกดจริง) ขนาบข้างด้วยปุ่มย้อนกลับและปุ่มเรียก Recent Apps แบบดั้งเดิมของเอซุส โดยในรุ่นนี้ไม่มีไฟส่องสว่างติดตั้งใต้ปุ่มดังกล่าว

มาดูกล้องหน้าซึ่งถือเป็นจุดขายหลักของ Zenfone 4 Selfie โดยในรุ่นนี้เอซุสใส่กล้องหน้ามาถึง 2 ตัว 2 ระยะเลนส์ (Dual Camera) โดยกล้องหลักมาพร้อมระยะ 31 มิลลิเมตร รูรับแสง f2.0 ความละเอียดภาพสูงสุด 20 ล้านพิกเซล ส่วนกล้องหน้าตัวที่สองมาพร้อมระยะ 12 มิลลิเมตร เป็นเลนส์มุมกว้างพิเศษ 120 องศา (6 ชิ้นเลนส์) มาพร้อมความละเอียดภาพ 8 ล้านพิกเซล โดยกล้องทั้งสองตัวสามารถทำหน้าชัดหลังเบลอได้ และนอกจากนั้นทางเอซุสยังใส่ Softlight LED flash ที่เมื่อใช้ร่วมกับซอฟต์แวร์ภายในจะช่วยเพิ่มความใสของใบหน้าได้ดีมาก

ด้านหลัง วัสดุจะเป็นอะลูมิเนียมแบบไร้รอยต่อ ในส่วนกล้องหลังมีระยะ 26 มิลลิเมตร ความละเอียด 16 ล้านพิกเซล มาพร้อมไฟแฟลช LED และระบบออโต้โฟกัสในกล้องใช้เทคโนโลยี Phase detection

มาดูรอบข้างตัวเครื่องกันบ้าง เริ่มจากด้านซ้ายสุดจะเป็นที่อยู่ของช่องใส่ซิมการ์ดโทรศัพท์ (Nano Sim) ที่มีความพิเศษตรงช่องใส่ซิมที่ 2 ไม่ต้องแชร์กับช่องใส่การ์ด MicroSD เหมือนหลายๆแบรนด์ สะดวกสบายสำหรับคนที่ใช้ 2 ซิมแล้วต้องการใส่การ์ดความจำเพิ่มด้วย

ด้านขวา – เป็นที่อยู่ที่ของปุ่มเพิ่มลดระดับเสียงและปุ่มเปิดปิดเครื่อง

ด้านบน – เป็นช่องเชื่อมต่อหูฟัง 3.5 มิลลิเมตรและไมโครโฟน

ด้านล่าง – ซ้ายมือสุดเป็นส่วนของไมโครโฟน (รองรับระบบตัดเสียงรบกวน ASUS Noise Reduction Technology) ตรงกลางช่อง MicroUSB ขวามือเป็นช่องลำโพง (โมโน)

สเปก

ASUS Zenfone 4 Selfie รุ่นเริ่มต้นจะขับเคลื่อนด้วยซีพียู Qualcomm Snapdragon 430 Octa-core ความเร็ว 1.4GHz กราฟิก Adreno 505 พร้อมแรม 4GB รอม 64GB เหลือให้ใช้งานจริงประมาณ 49-50GB ระบบปฏิบัติการเป็น Android 7.1.1 ครอบทับด้วย ASUS ZenUI 4.0 และแบตเตอรีความจุ 3,000 mAh

ด้านสเปกการเชื่อมต่อเครือข่าย รองรับ 3G/4G ในบ้านเราทั้งหมด โดย 4G (รองรับ VoLTE) จะรองรับความเร็วระดับ Cat4 ดาวน์โหลด 150Mbps 3G รองรับความเร็วดาวน์โหลดสูงสุด 42 Mbps ส่วน WiFi รองรับมาตรฐาน 802.11 b/g/n บลทูธ 4.0, มี GPS/A-GPS/GLONASS/BDSS และภาครับสัญญาณ FM

ฟีเจอร์เด่น

ภาพรวมของ ZenUI 4.0 มีการอัปเกรดหน้าตาในดูเรียบร้อยและเบาขึ้น แอปฯจากโรงงานที่เกินความจำเป็นถูกตัดออกเหลือเพียงแอปฯที่จำเป็นต่อการใช้งานเท่านั้น เรียกได้ว่าเป็น ZenUI ที่เบาสบาย ใช้งานลื่นไหลสุดตั้งแต่เอซุสพัฒนาออกมา

ในส่วนฟีเจอร์เด่นของ Zenfone 4 Selfie ก็ถือว่าจัดเต็มมาตามแบบฉบับเอซุส ไล่ตั้งแต่ความสามารถในการทำ Multitasking เปิด 2 แอปฯพร้อมกันในหน้าจอเดียวได้ ไปถึงความสามารถในการบันทึกเสียงสนทนาโทรศัพท์ได้ทันทีและตัวเด็ดที่มาพร้อมกับ ASUS Zenfone มานานอย่างระบบ Boost ที่จะช่วยเคลียร์แรมอัตโนมัติก็ยังมีให้เลือกใช้งานเช่นเดิม

และการใช้งาน Zenfone 4 Selfie ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดัง ทางเอซุสยังใส่ Outdoor Mode มาให้ โดยเมื่อเปิดใช้งาน ลำโพงของตัวเครื่องจะส่งเสียงดังกว่าเดิมเท่าตัว

Emergency Mode หรือโหมดฉุกเฉิน (เข้าใช้งานได้โดยกดปุ่มปิดเครื่องค้างไว้และกดที่ Emergency Mode) โดยเมื่อเปิดใช้งานและตั้งเบอร์คนสนิทไว้ ระบบจะเปิด GPS และส่งพิกัดให้กับคนสนิทผ่านระบบ ASUS Safeguard อีกทั้งยังช่วยติดต่อเบอร์ฉุกเฉินในพื้นที่ของเราได้ด้วย

Page Maker สำหรับคนที่ชอบอ่านข่าว อ่านบทความผ่านหน้าเว็บไซต์ ระบบ Page Maker จะสามารถเซฟหน้าเว็บไซต์เหล่านั้นเก็บไว้อ่านทีหลังได้ (ออฟไลน์โหมด) อีกทั้งผู้ใช้ยังสามารถเลือกใช้ปากกาสีไฮไลท์ข้อความได้ด้วย

ฟีเจอร์กล้องถ่ายภาพ

อย่างที่ทราบดีว่า Zenfone 4 Selfie จะถูกเน้นการใช้งานกล้องหน้าเพื่อถ่ายเซลฟีเป็นสำคัญ เพราะฉะนั้นฟีเจอร์เซลฟี เอซุสใส่มาแบบจัดเต็มตั้งแต่ Beauty Mode ที่ปรับแต่งได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นทำหน้าเนียน เพิ่มความขาว ลบรอยไปถึงเปลี่ยนเชฟใบหน้าก็สามารถทำได้ หรือถ้าอยากปรับแต่งปรับโทนหน้าให้ละเอียดมากขึ้น ทางเอซุสได้ติดตั้งแอปฯ Selfie Master มาให้ใช้งานกันได้อย่างอิสระ

Portrait Mode ร่วมกับกล้องหน้า จะเห็นว่าหน้าชัดหลังเบลอของ ASUS Zenfone 4 Selfie จะใช้ซอฟต์แวร์ช่วยเป็นหลัก

นอกจากนั้นยังมีโหมดถ่ายภาพพิเศษ (ใช้ได้ทั้งกล้องหน้าและหลัง) คือ “Portrait” สำหรับทำหน้าชัดหลังเบลอ

ในส่วนโหมดกล้องปกติ จะไม่แตกต่างจากสมาร์ทโฟนรุ่นอื่นของเอซุส โดยจะมีโหมดให้เลือกใช้งานตั้งแต่อัตโนมัติ โหมดโปร (ปรับค่ากล้องได้ตามต้องการ) ไปถึงโหมดพาโนรามาหรือ Time Lapse ก็มีให้เลือกใช้เช่นเดิม

สำหรับการใช้งานกล้องหน้า Dual Camera ผู้ใช้สามารถสลับเปลี่ยนกล้องทั้ง 2 ได้ผ่านไอคอนรูปคน โดยกล้องทั้งสองตัวจะทำงานแยกกันอย่างอิสระ เช่น ใช้งานกล้องตัวแรกระยะ 31 มิลลิเมตร ผู้ใช้จะถ่ายรูปที่ความละเอียดสูงสุด 20 ล้านพิกเซล ส่วนเมื่อกดใช้กล้องตัวที่สองระยะ 12 มิลลิเมตร ผู้ใช้ก็จะถ่ายภาพได้ที่ความละเอียดแค่ 8 ล้านพิกเซลเท่านั้น อีกทั้งคุณภาพไฟล์ภาพจากกล้องทั้งสองตัวยังแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ตามตัวอย่างต่อไปนี้

กล้องหน้าตัวที่ 1 ระยะ 31 มิลลิเมตร พร้อมเปิด Beauty Mode (ถ่ายในที่แสงน้อย)

กล้องหน้าตัวที่ 2 ระยะ 12 มิลลิเมตร พร้อมเปิด Beauty Mode จะเห็นว่าได้ภาพที่กว้างกว่ามาก ออกแบบมาเพื่อให้เราสามารถถ่ายเซลฟีกับภาพวิวทิวทัศน์ได้เหมือนกล้อง Action Cam หรือจะถ่ายเซลฟีหมู่ก็ได้ แต่คุณภาพจะลดลงไปพอสมควร (ถ่ายในที่แสงน้อย)

กล้องหน้าตัวที่ 1 ระยะ 31 มิลลิเมตร พร้อมเปิด Beauty Mode และเปิดใช้ Softlight LED flash ควบคู่ไปด้วย

ส่วนกล้องหลักด้านหลังจะให้คุณภาพกลางๆ และไม่มีระบบป้องกันภาพสั่นไหวมาให้

ทดสอบประสิทธิภาพ

AnTuTu Benchmark = 43,892 คะแนน
PCMark Work 2.0 = 3,628 คะแนน

3D Mark
Sling Shot Extreme = 298 คะแนน
Sling Shot = 582 คะแนน
Sling Shot Unlimited = 9,369 คะแนน
Ice Storm Extreme = 5,878 คะแนน

PassMark PerformanceTest
System = 3,575 คะแนน
CPU Tests = 80,284 คะแนน
Memory Tests = 5,367 คะแนน
Disk Tests = 50,023 คะแนน
2D Graphics Tests = 2,434 คะแนน
3D Graphics Tests = 823 คะแนน

AndroBench
Seq. Read = 276.77MB/s
Seq. Write = 211.92MB/s

สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพ อาจเพราะเอซุสเลือกใช้ซีพียูระดับเริ่มต้นทำให้การทำงานไม่ค่อยรวดเร็วนัก แต่ถ้านำไปใช้งานปกติเช่นเล่นเฟสบุ๊ก ท่องเว็บ แชทถือว่าตอบสนองได้ดี แต่ถ้านำไปเล่นเกม Zenfone 4 Selfie อาจไม่เหมาะ

ส่วนการใช้งานกล้องถ่ายภาพจะเจอปัญหาชัตเตอร์ช้าเล็กน้อย (อารมณ์เหมือนกดชัตเตอร์ลงไปแล้วต้องรอประมาณครึ่งถึงหนึ่งวินาทีภาพถึงจะถูกบันทึก) ไม่เหมาะสำหรับการถ่ายสแนป

ด้านแบตเตอรีทดสอบด้วย PC Mark ด้วยการเปิดหน้าจอและเชื่อมต่อ WiFi/4G ตลอดการทดสอบ สามารถใช้งานต่อเนื่องได้ที่ 8 ชั่วโมง 25 นาที ส่วนทดลองใช้งานปกติจะอยู่ที่ 12-14 ชั่วโมง ใช้งานได้ตลอดทั้งวัน แต่ถ้าใช้งานกล้องถ่ายรูปบ่อยแบตเตอรีค่อนข้างลดลงรวดเร็วพอสมควร

สรุป

สำหรับราคาเปิดตัว ASUS Zenfone 4 Selfie อยู่ที่ 8,990 บาท ถือว่าเป็นอีกหนึ่งสมาร์ทโฟนสเปกระดับกลางค่อนไปทางเริ่มต้นที่มึจุดขายหลักอยู่ที่กล้องหน้าแบบคู่ 2 ระยะเลนส์ เน้นเซลฟีได้ทั้งแบบกลุ่มหรือจะเน้นเดี่ยวแต่สามารถเก็บวิวทิวทัศน์ได่ในราคาไม่ถึงหมื่นบาท โดยถ้าต้องการคุณภาพที่ดีมากขึ้นอาจต้องรอ Zenfone 4 Selfie Pro เพราะในรุ่นที่ทีมงานทดสอบนี้ทั้งกล้องหน้าและหลังยังให้คุณภาพแค่ระดับกลางๆ เท่านั้น

ข้อดี

– ตัวเครื่องน้ำหนักเบา จอภาพขนาดกำลังพอดี
– ช่องใส่ซิม 2 ไม่ต้องแชร์กับ MicroSD
– กล้องหน้าคู่ 2 ระยะ เลนส์ตัวที่สองให้ภาพที่กว้าง สามารถถ่ายเซลฟีหมู่ได้
– ซอฟต์แวร์ช่วยเซลฟีมีให้เลือกใช้หลากหลาย
– ZenUI ปรับมาดีขึ้นมาก

ข้อสังเกต

– คุณภาพกล้องอยู่ระดับกลางๆ ทั้งหน้าและหลัง
– ชัตเตอร์กล้องช้ามาก

Gallery

]]>
Review : ASUS ZenFone Zoom S เน้นกล้องคู่ ท้าชน iPhone 7 Plus https://cyberbiz.mgronline.com/review-asus-zenfone-zooms/ Thu, 20 Apr 2017 07:33:13 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=25806

เมื่อช่วงปลายปีที่แล้ว เอซุส (ASUS) เป็นแบรนด์เดียวที่สร้างปรากฏการณ์คลอดสมาร์ทโฟนตระกูล ZenFone 3 ออกมากถึง 7 รุ่นครอบคลุมทุกตลาดตั้งแต่ระดับเริ่มต้นราคาหลักพันถึงแฟลกชิปสองหมื่นปลายๆ

มาต้นปีนี้ เอซุสต่อยอดความแรงด้วยการประกาศเปิดตัวสมาร์ทโฟนในกลุ่ม ZenFone Zoom เอาใจคนรักการถ่ายภาพบ้างกับ “ASUS ZenFone Zoom S” หรืออีกชื่อก็คือ “ASUS ZenFone 3 Zoom” ต่อยอด ASUS ZenFone Zoom เดิม (คลิกอ่านรีวิวได้ที่นี่) ที่เคยสร้างปรากฏการณ์กล้องซูมได้จริง 3 เท่ามาก่อนหน้า แต่ผลตอบรับไม่ดีเท่าที่ควร

การออกแบบ

ZenFone Zoom S ถูกจัดเป็นรุ่นพิเศษในกลุ่ม ZenFone 3 ที่เอซุสเลือกเน้นปรับส่วนกล้องถ่ายภาพทั้งหน้าและหลังเป็นจุดขายหลัก โดยในส่วนสเปกจะคล้ายกับ ZenFone 3 รุ่นที่ทีมงานไซเบอร์บิซเคยได้รีวิวไปก่อนหน้านี้ (คลิกอ่านรีวิวที่นี่) เพราะฉะนั้นในบทความรีวิวนี้ ทีมงานจะขอเน้นลงรายละเอียดในส่วนกล้องถ่ายภาพทั้งหน้าและหลังเป็นหลัก

แต่ก่อนอื่น เรามารับชมเรื่องของการออกแบบที่ถูกปรับเปลี่ยนไปเล็กน้อยกันก่อน

เริ่มจากหน้าจอ เอซุสเปลี่ยนกระจกจอไปใช้ 2.5D Corning Gorilla Glass 5 ขนาด 5.5 นิ้ว ความละเอียด 1,920×1,080 พิกเซล

ด้านปุ่มคำสั่ง Navigation Buttons จะเป็นแบบสัมผัส แบ่งเป็น ปุ่มซ้ายย้อนกลับ ตรงกลางปุ่มโฮมและขวามือปุ่มเรียก Recent Apps โดยใต้ปุ่มคำสั่งจะไม่มีไฟส่องสว่างเวลากลางคืน

ในส่วนขนาดตัวเครื่อง ZenFone Zoom S จะมีน้ำหนักอยู่ที่ 170 กรัม หนา 7.99 มิลลิเมตร

ด้านหลัง ใช้วัสดุเป็นอะลูมิเนียมมี 3 สีได้แก่ Navy Black, Glacier Silver และ Rose Gold พร้อมเซนเซอร์สแกนลายนิ้วมือและกล้องคู่รุ่นใหม่ล่าสุด

ด้านขวาของตัวเครื่อง จะเป็นที่อยู่ของช่องใส่ซิมการ์ดแบบ Nano Sim รองรับ 2 ซิมการ์ด โดยช่องที่ 2 จะแชร์กับช่องใส่ MicroSD Card รองรับความจุสูงสุด 128GB

ด้านซ้ายของตัวเครื่อง จะเป็นที่อยู่ของปุ่มเปิดปิดเครื่องและปุ่มเพิ่มลดเสียง

ด้านล่าง ตรงกลางเป็นพอร์ต USB-C ฝั่งซ้ายเป็นช่องหูฟัง 3.5 มิลลิเมตร ถัดมาเป็นไมโครโฟน ฝั่งขวาเป็นลำโพง

ด้านบน เป็นส่วนของไมโครโฟนตัดเสียงรบกวน

กล้องหน้าและหลังปรับใหม่หมด

ถึงแม้ ASUS ZenFone Zoom S จะมาพร้อมกล้องหลังแบบคู่ (Dual Camera) เหมือนสมาร์ทโฟนคู่แข่งหลากหลายรุ่น แต่จุดประสงค์การพัฒนากล้องคู่ของเอซุสจะแตกต่างจากคู่แข่งที่ส่วนใหญ่จะเน้นใช้ทำหน้าชัดหลังเบลอ (Depth of Field) แต่กล้องคู่ของ ZenFone Zoom S จะถูกนำมาใช้เพื่อทำให้กล้องหลังสามารถซูมได้ (ตามชื่อรุ่น Zoom S)

ภาพจากกล้องตัวแรก ระยะ 25 มิลลิเมตร

ภาพจากกล้องตัวที่สอง ระยะ 59 มิลลิเมตร หรือเทียบเท่าซูม 2.3 เท่า

โดยกล้องตัวแรกจะเป็นมุมกว้าง (Wide) 25 มิลลิเมตร พร้อมรูรับแสงกว้าง f1.7 ส่วนกล้องตัวสองจะเป็นเทเล (Tele) 59 มิลลิเมตร พร้อมรูรับแสง f2.6 โดยระบบซูมจะถูกควบคุมผ่านซอฟต์แวร์ ASUS PixelMaster 3.0 ทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกซูมภาพแบบออปติคอล (ซูมจริงผ่านเลนส์กล้อง) มากสุด 2.3 เท่า และสูงสุด 12 เท่าเมื่อซูมผ่านซอฟต์แวร์

นอกจากนั้น กล้องหลังคู่ยังรองรับการถ่ายภาพหน้าชัดหลังเบลอ (Depth of Field) แบบเดียวกับ iPhone 7 Plus หรือ HUAWEI P10 ได้ด้วย

มาดูในส่วนสเปกกล้องหลังกันบ้าง ใน ZenFone Zoom S เอซุสปรับเซ็นเซอร์รับภาพเป็น Sony IMX362 ที่มีขนาด 1/2.55″ เซ็นเซอร์รับภาพรับแสงได้มากกว่าสมาร์ทโฟนทั่วไป 2.5 เท่า รองรับความละเอียดภาพสูงสุด 12 ล้านพิกเซล พร้อมกันสั่น OIS 4 แกนสำหรับภาพนิ่งและ EIS 3 แกนสำหรับงานวิดีโอ 4K ประกบชิปประมวลผลภาพ ASUS SuperPixel ที่มาพร้อมเซ็นเซอร์ตรวจจับสี RGB ที่สามารถแก้ไขสีสันของภาพให้เป็นธรรมชาติได้

มาถึงระบบออโต้โฟกัสที่เอซุสปรับใหม่ยกแผงเช่นกัน โดยจากเดิมใน ZenFone 3 จะใช้เทคโนโลยีออโต้โฟกัส ASUS TriTech (Laser AF + Phase Detection AF + Continuous AF) แต่ใน ZenFone Zoom S จะปรับเปลี่ยนเป็น “ASUS TriTech+” ที่รวมเทคโนโลยีออโต้โฟกัสสุดฮิตของปัจจุบัน ตั้งแต่ Dual Pixel PDAF + Laser AF + Continuous AF (Subject Tracking) ทำให้การจับโฟกัสทำได้รวดเร็ว 0.03 วินาทีในทุกสภาวะแสง

พลิกกลับมาดูกล้องหน้า แน่นอนว่าถูกปรับเปลี่ยนใหม่เช่นกัน เริ่มตั้งแต่เซ็นเซอร์รับภาพ Sony IMX214 รองรับความละเอียดภาพ 13 ล้านพิกเซล ไปถึงรูรับแสง f2.0 และกล้องหน้ายังรองรับเทคโนโลยี SuperPixel ทำให้สามารถเซลฟีในที่แสงน้อยได้ดีกว่าเดิม หรือถ้าอยู่ในที่มืดมิดจริงๆ หน้าจอสมาร์ทโฟนก็สามารถเปลี่ยนตัวเองเป็นไฟแฟลชได้เหมือนกับ iPhone 7 Plus

สุดท้ายมาดูซอฟต์แวร์กล้อง PixelMaster กันบ้าง โดยภาพรวมการใช้งานจะไม่ต่างจากสมาร์ทโฟน ASUS ZenFone ทุกรุ่น แต่ใน ZenFone Zoom S จะมาพร้อมโหมด Manual ที่ปรับตั้งค่าได้อิสระตั้งแต่ ปรับชดเชยแสง ค่าสมดุลแสงขาว โฟกัส ระบบวัดแสง รวมถึงสามารถเปิดใช้งาน RAW File สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการนำภาพไปตกแต่งผ่านซอฟต์แวร์ภายนอก

และนอกจากนั้นในส่วนของโหมดถ่ายภาพสำเร็จรูปก็มีให้เลือกใช้มากมายตั้งแต่ HDR Pro, ถ่ายภาพบุคคล/เซลฟีที่มาพร้อมส่วนปรับแต่งใบหน้าเราได้ทุกส่วนของหน้า โหมด Super Resolution อัปสเกลภาพไปถึงระดับ 47 ล้านพิกเซล รวมถึงโหมดกล้องอ่าน QR-Code, เซลฟีหมู่, ทำสโลโมชั่น, Timelapse และโหมดถ่ายภาพอื่นๆอีก 20 กว่าโหมด

ตัวอย่างภาพถ่ายจาก ASUS ZenFone Zoom S

สเปกและฟีเจอร์เด่น

ASUS ZenFone Zoom S ยังคงขับเคลื่อนด้วยหน่วยประมวลผล Qualcomm Snapdragon 625 Octa-core ความเร็ว 2.0GHz พร้อมแรม 4GB เช่นเดียวกับ ZenFone 3 โดยในส่วนรอมสำหรับรุ่นที่ทีมงานได้รับมาทดสอบจะมีความจุอยู่ที่ 64GB เหลือให้ใช้จริงประมาณ 51.94GB แบตเตอรีให้มา 5,000mAh ขับเคลื่อนด้วย Android 6.0.1 และ ZenUI 3.0

ด้านการเชื่อมต่อเครือข่าย รองรับ 3G/4G ทุกเครือข่ายในประเทศไทยพร้อมรองรับ VoLTE ในส่วน WiFi รองรับมาตรฐาน 802.11 b/g/n บลูทูธ 4.2 ไม่มี NFC

ส่วนสเปกอื่นๆที่น่าสนใจ ZenFone Zoom S มาพร้อมชิปถอดรหัสเสียง Hi-Res Audio 192kHz/24 บิต รองรับระบบเสียง DTS สำหรับหูฟังและมาพร้อมภาครับสัญญาณ FM Stereo

มาถึงส่วนของซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ ZenUI 3.0 จะเห็นว่าไม่แตกต่างจาก ZenFone 3 รุ่นที่ทีมงานได้รีวิวไปเมื่อปีที่แล้วแต่อย่างใด (คลิกที่นี่เพื่ออ่านรีวิว) จะมีเพิ่มเข้ามาก็เป็นแอปฯจำพวกตรวจวัดก้าวเดิน Health Hub และความสามารถในการซ่อนแจ้งเตือนแอปพลิเคชันที่เราไม่ต้องการได้

ที่สำคัญสำหรับคนที่เป็นเจ้าของ ASUS ZenFone Zoom S อย่าลืมล็อคอิน Google Drive ก่อนใช้งาน เพื่อเปิดใช้พื้นที่เก็บข้อมูลฟรี 100GB เป็นเวลา 2 ปี

ทดสอบประสิทธิภาพและสรุป

PC Mark
Work 2.0 = 4,667 คะแนน
Computer Vision = 2,806 คะแนน
Storage Score = 3,988 คะแนน

Antutu Benchmark = 61236 คะแนน

3D Mark
Sling Shot Extreme = 467 คะแนน
Sling Shot = 849 คะแนน
Ice Storm Extreme = 8,132 คะแนน

Vellamo
Chrome Browser = 3,270 คะแนน
Metal = 1,490 คะแนน
Multicore = 2,571 คะแนน

PassMark PerformanceTest
System = 4,254 คะแนน
CPU Tests = 21,956 คะแนน
Memory Tests = 3,069 คะแนน
Disk Tests = 56,198 คะแนน
2D Graphics Tests = 2,965 คะแนน
3D Graphics Tests = 1,308 คะแนน

Geekbench 4
Single-Core = 857 คะแนน
Multi-Core = 4,096 คะแนน

ด้านการใช้งานจริง ZenFone Zoom S ซึ่งขับเคลื่อนด้วย ZenUI 3.0 ยังคงความลื่นไหลเช่นเดิม ตัว UI สามารถปรับแต่งได้อิสระแทบทุกส่วน การเรียกแอปฯและใช้งานไม่มีอาการหน่วงช้าหรือแอปฯเด้งออกให้พบเห็น แรม 4GB ถือว่าเพียงพอกับการใช้งานทั่วไปแน่นอน รวมถึงการเล่นเกมถ้าไม่ใช่เกมกราฟิกสูงมาก ZenFone Zoom S ก็สามารถเล่นได้ลื่นไหล แต่อาจจะโหลดข้อมูลช้ากว่าสมาร์ทโฟนตัวท็อปของตลาดเล็กน้อย

มาถึงจุดที่น่าประทับใจที่สุดก็คือเรื่องแบตเตอรีขนาด 5,000 mAh กับระบบจัดการพลังงานที่ทำได้ค่อนข้างดีมาก (แถมยังปรับเลือกรูปแบบการใช้พลังงานได้ตามที่ผู้ใช้ต้องการได้ด้วย) ทำให้สามารถใช้งานต่อเนื่อง (เปิดหน้าจอตลอดเวลา) ได้ยาวนาน 14-20 ชั่วโมงเลยทีเดียว และถ้าเป็นคนใช้งานสมาร์ทโฟนไม่หนัก ชาร์จแบตเตอรีเต็มหนึ่งครั้งอาจอยู่ได้นานถึง 1-2 วันเลย

มาถึงในส่วนกล้องถ่ายภาพ หลังจากทดสอบอยู่ร่วมอาทิตย์ อย่างแรกกล่าวถึงความประทับใจก่อนว่า เทคโนโลยีกล้องของเอซุสถือว่าพัฒนามาได้ดี โดยเฉพาะระบบออโต้โฟกัสที่รวดเร็วและแม่นยำ กล้องหน้าลูกเล่นน่าสนใจและทำได้ดีกว่าหลายแบรนด์ในราคาระดับเดียวกัน รวมถึงการถ่ายในที่แสงน้อยก็ทำได้ดีไม่แพ้กัน แต่ในเรื่องคุณภาพไฟล์ภาพ ส่วนนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่เอซุสยังคงต้องพัฒนา เพราะถ้าเทียบกับ iPhone 7 Plus ที่เอซุสตั้งให้เป็นคู่แข่งของสมาร์ทโฟนรุ่นนี้ ไฟล์ภาพของเอซุสจะค่อนข้างปรุงแต่งทั้งเรื่องความคมชัดของภาพที่มากเกินไปจนทำให้เวลาซูมดูภาพแล้วเกิดอาการภาพแตกเป็นวุ้นๆ ส่วนสีสันถ้ามองผ่านหน้าจอ ZenFone Zoom S จะให้สีสันที่สดจนเกินธรรมชาติไปมาก ต้องมาเปิดดูในคอมพิวเตอร์ถึงจะเห็นสีสันที่แท้จริง แม้จะปรับเลือกความเข้มของสีสันและแสงของหน้าจอได้ แต่เมื่อปรับเป็นค่ามาตรฐาน สีกลับจืดชืดไม่เป็นธรรมชาติ

อีกเรื่องที่เหมือนเอซุสยังไม่ได้แก้ไขตั้งแต่ ZenFone รุ่นก่อนหน้าก็คือ โหมดวิดีโอทั้ง 1080p และ 4K ยังให้คุณภาพที่ไม่ดี ถึงแม้วิดีโอจะสามารถปรับเลือกคุณภาพไฟล์ได้ทั้งแบบมาตรฐานและแบบละเอียด แต่เมื่อปรับใช้ค่าสูงสุด ไฟล์ที่ได้ดีขึ้นแต่ภาพกลับไม่ลื่นไหล มีอาการภาพสะดุดให้เห็น

ส่วนระบบกันสั่นวิดีโอและภาพนิ่งทั้ง OIS และ EIS ถูกปรับปรุงมาได้ดีมากแล้ว

โดยภาพรวมทุกส่วน ZenFone Zoom S มีดีที่เรื่องกล้องเพียงอย่างเดียว เนื่องจากซอฟต์แวร์และสเปกเครื่องไม่แตกต่างจากรุ่นก่อนหน้าอย่างชัดเจน ทำให้จุดดีทั้งหมดมาอยู่ที่กล้อง ซึ่งถ้ามองถึงเรื่องเทคโนโลยีกล้องถ่ายภาพ ส่วนนี้สอบผ่านเพราะออกแบบมาได้ดีมาก แถมใช้งานได้จริง แต่เมื่อมาเจาะลึกถึงเรื่องไฟล์ภาพ ส่วนนี้ถือว่าเอซุสยังต้องพัฒนาอีกมาก โดยเฉพาะส่วนของภาคซอฟต์แวร์ที่เข้าไปจัดการไฟล์ภาพมากเกินควร จนทำให้ภาพที่ได้ดูแข็งและไม่เป็นธรรมชาติอย่างมาก ต่างจากคู่แข่งที่เอซุสเลือกท้าชนอย่าง iPhone 7 Plus ที่ให้คุณภาพไฟล์ภาพที่ดีกว่า

แต่ทั้งนี้ถ้ามองถึงราคาเทียบกับสิ่งที่ได้กลับมา สำหรับ ASUS ZenFone Zoom S อยู่ที่ 16,900 บาท เทียบกับ iPhone 7 Plus แล้วราคาต่างกันเป็นเท่าตัว ทำให้ ASUS ZenFone Zoom S ดูจะคุ้มค่ามากกว่า สำหรับคนที่มีงบประมาณจำกัดและกำลังมองหาสมาร์ทโฟนกล้องคู่แบบ iPhone 7 Plus แต่ก็ใช่ว่าในช่วงราคานี้จะไม่มีตัวเลือกอื่นเลย เพราะในปีนี้สมาร์ทโฟนระดับราคาหมื่นกลางๆกำลังเข้ามาทำตลาดหลายรุ่น โดยหนึ่งในรุ่นที่น่าสนใจไม่แพ้กันก็คือ OPPO R9s Plus ที่มีดีกรีทั้งกล้องและประสิทธิภาพที่ปรับแต่งมาได้ลงตัวไม่แพ้กัน

ข้อดี

– ZenUI 3.0 มาพร้อมฟีเจอร์ที่สามารถปรับแต่งได้อิสระแทบทุกส่วน
– ลำโพงถึงแม้มีตัวเดียว แต่ให้เสียงดังฟังชัดมาก
– กล้องคู่เน้นสองระยะแบบเดียวกับ iPhone 7 Plus
– ฟีเจอร์กล้องมีให้เลือกใช้งานหลากหลาย
– กล้องมีกันสั่น OIS+EIS
– แบตเตอรีอึดมาก

ข้อสังเกต

– สเปกโดยรวมเหมือน ZenFone 3 เมื่อปีที่แล้ว
– วิดีโอ โดยเฉพาะความละเอียด 4K ยังให้คุณภาพไฟล์ที่ไม่ดี
– หน้าจอ สีและคอนทราสต์จัดเกินไป แม้จะปรับแต่งแล้วก็ยังให้ภาพที่ไม่เป็นธรรมชาติอยู่ดี

]]>
Review : ASUS Zenfone 3 Marshall Limited Edition รุ่นกลางสุดคุ้มค่า https://cyberbiz.mgronline.com/review-asus-zenfone3-marshall/ Sun, 28 Aug 2016 07:36:48 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=23587

IMG_6252

หลังจากประสบความสำเร็จกับสมาร์ทโฟนคุ้มค่าคุ้มราคาในตระกูล Zenfone ไปแล้วเมื่อปีก่อน ปีนี้เอซุส (ASUS) เลยขอคิดต่างจากเดิมด้วยการขยายครอบครัว Zenfone ออกไปมากถึง 7 รุ่นครอบคลุมทุกตลาดตั้งแต่ระดับเริ่มต้นราคาหลักพันถึงแฟลกชิปสองหมื่นปลายๆ เริ่มตั้งแต่ Zenfone 3 Max, Zenfone 3 Laser, Zenfone 3 5.2 นิ้ว, Zenfone 3 5.5 นิ้ว, Zenfone 3 Ultra และรุ่นท็อป Zenfone 3 Deluxe แบ่งเป็น 2 รุ่นได้แก่รุ่นใช้ชิป Snapdragon 820 กับ Snapdragon 821

IMG_6130

โดยรุ่นที่เอซุสจะเริ่มทำตลาดก่อนในช่วงแรกก็คือรุ่นกลางที่ได้ชื่อว่าเป็นรุ่นที่คุ้มค่าคุ้มราคาที่สุดกับ Zenfone 3 5.2 นิ้ว, Zenfone 3 5.5 นิ้ว โดยในรุ่น 5.5 นิ้ว (รุ่นที่ทีมงานจะรีวิวให้ชมในบทความนี้) จะมีการแถมหูฟัง Marshall Major 2 แบบจำนวนจำกัด ส่วนรุ่นอื่นๆอีก 5 รุ่นรอการประกาศจากเอซุสประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง

การออกแบบ

IMG_6197

IMG_6221

เริ่มจากการออกแบบ ASUS Zenfone 3 รุ่นที่ทีมงานได้รับมาทดสอบเป็นรหัส ZE552KL โดยตัวเครื่องมาพร้อมหน้าจอ Super IPS+ มีระบบตัดแสงสีน้ำเงิน (Bluelight Filter) ขนาดหน้าจออยู่ที่ 5.5 นิ้วความละเอียด 1,920×1,080 พิกเซล (401ppi) กระจกจอเป็น 2.5D Corning Gorilla Glass 3 ขอบจอมีความโค้งมนเล็กน้อยตามสมัยนิยม

ส่วนกล้องหน้ามีความละเอียด 8 ล้านพิกเซล รูรับแสง f2.0 ใต้จอภาพเป็นส่วนของ Navigation Buttons แบบเดียวกับ Zenfone รุ่นก่อน (ไม่มีไฟส่องสว่างใต้ปุ่มกด)

IMG_6223

ด้านขนาดตัวเครื่องกว้าง 77.38 มิลลิเมตร ยาว 152.59 มิลลิเมตร หนา 7.69 มิลลิเมตร พร้อมน้ำหนัก 155 กรัม

IMG_6212

IMG_6219

ส่วนสเปกกล้องหลัง เอซุสอัปเกรดไปใช้เซ็นเซอร์ Sony IMX298 ความละเอียด 16 ล้านพิกเซล รูรับแสง f2.0 ประกบหน่วยประมวลผลภาพ Pixel Master 3.0 พร้อมระบบป้องกันภาพสั่นไหว OIS/EIS แบบ 4 แกน และระบบออโต้โฟกัส TriTech AF รวมเทคโนโลยีโฟกัสแบบทั้ง Laser AF, Phase Detection AF และ Continuous AF เข้าไว้ด้วยกัน ทำให้ออโต้โฟกัสสามารถจับโฟกัสได้รวดเร็วด้วยเวลาเพียง 0.03 วินาทีเท่านั้น

ถัดจากกล้องไปทางขวามือเป็นไฟแฟลช และด้านล่างเป็นส่วนของเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือ (Fingerprint Scan)

IMG_6231

IMG_6255

มาดูด้านข้างตัวเครื่องจะเห็นว่าทุกด้านเอซุสเลือกใช้เฟรมโลหะมาเชื่อมต่อกับกระจกหน้าหลัง ทำให้ตัวเครื่องมีความแข็งแรง ในส่วนพอร์ตและปุ่มกดต่างๆ เริ่มจากด้านซ้ายของตัวเครื่อง จะเป็นที่อยู่ของช่องใส่ซิมการ์ด 2 ช่อง แบ่งเป็นช่องใส่ซิมที่ 1 รองรับซิมการ์ดแบบ Micro SIM ส่วนช่องใส่ซิมที่ 2 รองรับซิมการ์ดแบบ Nano Sim พร้อมแชร์กับช่องใส่การ์ดความจำ MicroSD (รองรับความจุสูงสุด 256GB) จะใส่ซิมการ์ดโทรศัพท์หรือการ์ดความจำต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง

IMG_6233

ด้านขวา จะเป็นที่อยู่ของปุ่มเปิดปิดเครื่องและปุ่มเพิ่มลดระดับเสียง

IMG_6235

ด้านบน เป็นส่วนของเสารับสัญญาณโทรศัพท์, ช่องไมโครโฟนรับเสียงตัวที่สองและช่องหูฟัง 3.5 มิลลิเมตร

IMG_6234

ด้านล่าง เริ่มจากส่วนของเสาสัญญาณ ช่องไมโครโฟนรับเสียงหลัก รองรับ ASUS NoiseZero Talk Technology ตรงกลางเป็นช่อง USB-C (รองรับ Quick Charge 3.0) ถัดไปเป็นลำโพง

IMG_6249

โดยอะแดปเตอร์ชาร์จไฟที่ให้มากับ ASUS Zenfone 3 Marshall Limited Edition จะเป็นอะแดปเตอร์สเปก 5V 2A 10W

หูฟัง Marshall Major 2

IMG_6162

IMG_6159

สำหรับหูฟัง Marshall Major 2 รุ่นนี้เป็นรุ่นที่ออกแบบมารองรับเฉพาะแอนดรอยด์ ถ้าซื้อแยกต่างหากจะมีราคาค่าตัวเกือบ 5 พันบาทแต่เอซุสก็ใจดีแถมมาให้กับ Zenfone 3 เฉพาะหน้าจอ 5.5 นิ้ว (จำนวนจำกัดนะครับ) โดยจุดเด่นของหูฟังตัวนี้คือมาพร้อมกับส่วน Small Talk และปุ่มควบคุมการเล่นเพลงผ่านสมาร์ทโฟน

IMG_6136

IMG_6152

อีกทั้งสายแจ็คยังสามารถถอดแยกกับหูฟังได้ด้วย ซึ่งถ้าสังเกตบริเวณช่องเสียบแจ็คหูฟังจะมีทั้งฝั่งซ้ายและขวา ผู้ใช้สามารถนำแจ็คมาเสียบข้างใดก็ได้ โดยช่องเสียบแจ็คอีกข้างที่ปล่อยโล่งไว้ คุณสามารถนำ Marshall Major 2 อีกตัวมาเชื่อมต่อเพื่อแชร์เสียงจากหูฟังตัวหลักไปยังหูฟังตัวที่สองได้ด้วย

ด้านเอกลักษณ์ของเสียงที่ออกมาจาก Marshall Major 2 จะเด่นเรื่องเสียงเบสที่หนักแน่นเป็นพิเศษ เหมาะแก่การฟังเพลงแนว Rock, Metal, Hardcore, Alternative เป็นหลัก

สเปก ASUS Zenfone 3 5.5 นิ้ว

spec-zen3

กลับมาที่เรื่องสเปกของพระเอกกันต่อ ASUS Zenfone 3 5.5 นิ้ว ขับเคลื่อนด้วยซีพียู Qualcomm Snapdragon 625 (Octa-core 64 bit) ความเร็ว 2.0GHz กราฟิกใช้ Adreno 506 GPU แรมให้มา 4GB รอม 64GB (เหลือให้ใช้งานจริงประมาณ 51.21GB) แบตเตอรี 3,000mAh ขับเคลื่อนด้วยระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 6.0.1 (Marshmallow)

cellular-zen3

มาถึงเรื่องการรองรับเครือข่ายต่างๆ เริ่มจาก 3G/4G รองรับ Full NetCom 3.0 (แต่มีข้อแม้ว่าถ้าใส่สองซิม ซิมสองมีคนโทรเข้า ซิมแรกจะใช้งานอินเตอร์เน็ตไม่ได้) ส่วนคลื่นความถี่ รองรับทุกคลื่นความถี่ที่มีในบ้านเราทั้งหมด โดยในส่วนของ 4G จะรองรับความเร็วสูงสุดที่ Cat7 300Mbps อีกทั้งยังรองรับ VoLTE และ Carrier Aggregation แบบ 2CA

มาดูเรื่อง WiFi รองรับมาตรฐาน 802.11 b/g/n/ac ที่ความเร็วสูงสุด 433Mbps, บลูทูธ 4.2, GPS รองรับทั้ง A-GPS GLONASS และ BDSS อีกทั้งตัวเครื่องยังมาพร้อมภาครับสัญญาณ FM ในตัว สามารถเชื่อมต่อหูฟังเพื่อฟังวิทยุได้

ซอฟต์แวร์และฟีเจอร์เด่น

home1-zen3

home2-zen3

เริ่มจากยูสเซอร์อินเตอร์เฟส ใน Zenfone 3 เอซุสอัปเดต Zen UI เป็นเวอร์ชัน 3.0 ที่เน้นเรื่องความเรียบง่ายตามสมัยนิยม อีกทั้งยังปรับปรุงประสิทธิภาพ การบริโภคหน่วยความจำให้ลื่นไหลขึ้น

home3-zen3

อีกทั้งจุดเด่นหลักของยูสเซอร์อินเตอร์เฟส Zen UI อย่างการปรับแต่งธีมก็สามารถทำได้ พร้อมมีคลังธีมให้เลือกดาวน์โหลดได้ตามความต้องการด้วย

otherapps-1-zen3

otherapps-3-zen3

ส่วนจุดเด่นเรื่องซอฟต์แวร์ช่วยเหลือและแอปพลิเคชันอำนวยความสะดวกจากโรงงาน เอซุสจัดเต็มมามากมายแบบเหลือกินเหลือใช้เช่นเดิม ตั้งแต่ MiniMovie, TripAdvisor, Puffin เกม Sim City/Need for Speed No Limit เป็นต้น ซึ่งถ้าผู้ใช้ท่านใดมองว่ากินพื้นที่เพราะไม่ได้ใช้งานก็สามารถสั่ง Uninstall ลบออกได้

keybaord-zen3

ด้านคีย์บอร์ดถือเป็นอีกส่วนที่มีความยืดหยุ่นสูงมาก เพราะผู้ใช้สามารถปรับแต่งเลย์เอาท์ เลือกธีม ปรับ Emoji ได้หลากหลาย อีกทั้งตัวคีย์บอร์ดยังมาพร้อมระบบเดาคำศัพท์รองรับทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษและภาษาอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี เป็นต้น

mobile-manage-zen3

Mobile Manager – ปัจจุบันสมาร์ทโฟนที่ทำงานบนแอนดรอยด์ 6.0 จะต้องมาพร้อมส่วนจัดการพลังงานทุกรุ่น โดยใน Zenfone 3 จะเป็นส่วนหนึ่งของ Mobile Manager หรือส่วนจัดการระบบตัวเครื่อง ที่มีให้ผู้ใช้สามารถเลือกปรับแต่งหลักๆได้ตั้งแต่

1.จำกัด Data usage ที่ผู้ใช้สามารถตั้งลิมิตการใช้ Mobile Data 3G/4G ได้ว่าเดือนหนึ่งจะใช้ได้เท่าไร รวมถึงจำกัดการเรียกใช้ดาต้าอินเตอร์เน็ตของแต่ละแอปฯที่อยู่ในเครื่องได้แบบละเอียดยิบ

2.Power saver เลือกโปรไฟล์พลังงาน รวมถึงให้ระบบสแกนแอปฯที่เรียกใช้พลังงานที่มากเกินไปจนเข้าข่ายน่าสงสัยและรายงานให้เราทราบได้ รวมถึงจัดการแอปฯที่ทำงาน Background ได้อย่างอิสระ

3.Boost เป็นจุดเด่นของเอซุสทุกรุ่น ที่เมื่อผู้ใช้กดปุ่มนี้ทั้งจากส่วนของ Notification หน้าโฮมหรือภายในแอปฯนี้ ระบบจะทำการเคลียร์แรมให้

4.Cleanup ลบไฟล์ขยะ แคชไฟล์ต่างๆ

fingerprint-zen3

Fingerprint Scan – ใน Zenfone 3 จะมาพร้อมระบบสแกนลายนิ้วมือเพื่อปลดล็อกหน้าจอ โดยระบบจะเป็นไปตามมาตรฐานของกูเกิลและแอนดรอยด์ยุคใหม่ทั้งหมด (เซ็นเซอร์ใช้การสัมผัสเบาๆ หน้าจอจะปลดล็อกทันที โดยไม่ต้องกดปุ่มเปิดปิดหน้าจอก่อน)

audio-zen3

Hi-Res Audioครั้งนี้เอซุสเซอร์ไพรส์คนชอบฟังเพลงหูเทพด้วยการรองรับ Hi-Res Audio 24-bit/192KHz แบบเต็มรูปแบบทั้งในส่วนของการเล่นไฟล์ FLAC Hi-Res และรองรับการเชื่อมต่อกับหูฟังที่ออกแบบมาเฉพาะ Hi-Res Audio ด้วย

ส่วนการใช้ฟังเพลงทั่วไป ทางเอซุสให้ระบบประมวลผลเสียง SonicMaster มาให้ ซึ่งผู้ใช้สามารถปรับแต่งโปรไฟล์เสียง ปรับเพิ่มเบส เพิ่มเสียงแหลมได้ตามต้องการ อีกทั้งยังสามารถปรับ EQ ได้ 5 ย่านความถี่ด้วย

game-genie1-zen3

game-genie2-zen3

ASUS Game Genie – เป็นฟีเจอร์ใหม่ที่มาพร้อมกับ Zen UI 3.0 โดยหลักการทำงานก็คือ ตัว Game Genie จะทำงานเมื่อเราเข้าเล่นเกมต่างๆ โดยใน Game Genie จะมีฟีเจอร์ย่อยดังต่อไปนี้

Speed Booster เมื่อกดจะเป็นการเคลียร์แรมและปิดแอปฯที่เราเปิดค้างไว้เพื่อเป็นการเรียกหน่วยความจำกลับคืนมาจนทำให้เกมลื่นไหลขึ้น

Live & record ผู้ใช้สามารถถ่ายทอดสดการเล่นเกมผ่าน YouTube Live, Twitch หรือจะเลือกบันทึกเป็นคลิปวิดีโอเก็บไว้ในเครื่องก็ได้

Search ส่วนค้นหาคลิปวิดีโอจาก YouTube แบบเร่งด่วน สำหรับค้นหาทริป รีวิวเกมที่เรากำลังเล่นอยู่

Share แชร์ภาพสกรีนช็อตหรือวิดีโอไปยังโซเชียลต่างๆ

zencircle-zen3

gallery-zen3

soundrec-zen3

สุดท้ายในส่วนของแอปฯที่น่าสนใจซึ่งมาพร้อมกับ ASUS Zenfone 3 หลักๆจะมี Gallery ที่นอกจากจะมาพร้อมส่วนตกแต่งภาพแล้ว Gallery ยังมาพร้อมระบบใส่รหัสผ่านเพื่อความเป็นส่วนตัวได้ด้วย, Zen Circle โซเชียลสำหรับผู้ใช้ Zenfone และแอปฯบันทึกเสียง ที่นอกจากจะใช้บันทึกเสียงปกติได้แล้ว เวลาโทรศัพท์ยังสามารถกดบันทึกเสียงสายสนทนาได้ด้วย

กล้อง

cam1-zen3

cam2-zen3

กล้องใน ASUS Zenfone 3 เฉพาะรุ่น 5.5 และ 5.2 นิ้ว จะมีสเปกกล้องเหมือนกัน โดยความละเอียดของกล้องหลักจะอยู่ที่ 16 ล้านพิกเซล มี Super Resolution เพิ่มความละเอียดเป็น 66 ล้านพิกเซล ด้วยเทคโนโลยี Deep Trench Isolation Technology โดยทั้งหมดถูกควบคุมและจัดการโดย PixelMaster 3.0

ในส่วนซอฟต์แวร์กล้องถ่ายภาพ เอซุสจัดเต็มด้วยโหมดถ่ายภาพให้เลือกใช้อย่างจุใจตั้งแต่ Auto, Manual ที่ให้ผู้ใช้ปรับความเร็วชัตเตอร์ ชดเชยแสง ปรับระบบโฟกัส White Balance ได้, HDR Pro รวมถึงมีโหมดเฉพาะเหตุการณ์อย่าง ถ่ายภาพเด็ก ถ่ายในที่แสงน้อยมาก ไปถึงความสามารถในการอ่าน QR Code ถ่ายพาโนรามา Slow Motion ทำ Depth of field หรือสร้าง GIF Animation จากกล้องได้ เป็นต้น

นอกจากนั้นในส่วนของการเซลฟี ทางเอซุสยังให้โหมด Beautification สามารถปรับโครงหน้า ทำหน้าเนียน หน้าเด้ง ตาโตได้ตามต้องการ

ด้านโหมดวิดีโอ รองรับความละเอียดสูงสุด 4K

ตัวอย่างภาพถ่ายจาก ASUS Zenfone 3 5.5 นิ้ว

คุณภาพไฟล์ภาพ สำหรับ Zenfone 3 รุ่นที่ทีมงานทดสอบจะใช้เซ็นเซอร์กล้องรุ่นกลาง (ต่างจาก Zenfone 3 Deluxe ที่ใช้เซ็นเซอร์กล้องรุ่นท็อป) เพราะฉะนั้นคุณภาพที่ได้ถือว่าโอเค เป็นไปตามราคา Super Resolution ใช้งานจริงแล้ว คงไว้ใช่ครอปภาพเพื่อลงโซเชียลเท่านั้น

ส่วนเมื่อนำไปเทียบกับรุ่นก่อน ตัวนี้ให้คุณภาพไฟล์ภาพดีกว่ามาก โดยเฉพาะการโฟกัสที่ทำได้รวดเร็วขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน

ส่วนการถ่ายวิดีโอ ถึงแม้ทางเอซุสจะเครมว่า Zenfone 3 มาพร้อมระบบกันสั่นแบบฮาร์ดแวร์และออโต้โฟกัสที่เร็วมาก แต่เมื่อทดสอบใช้งานจริงกลับไม่ประทับใจเลย โดยเฉพาะระบบออโต้โฟกัสที่ไม่สามารถโฟกัสแบบต่อเนื่องได้ ไม่รู้เป็นที่ซอฟต์แวร์มีบั๊กหรืออย่างไร อีกทั้งคุณภาพวิดีโอยังอยู่ในเกณฑ์พอใช้เท่านั้น

สรุปส่วนกล้องถ่ายภาพหลัง ยังไม่น่าประทับใจเหมือนกับสเปกที่ให้ไว้อย่างหรูหรา กล้องมีดีที่ตัวซอฟต์แวร์กับโหมดถ่ายภาพที่มีให้เลือกหลากหลาย รวมถึงกล้องหน้าที่ให้คุณภาพค่อนข้างดี

ทดสอบประสิทธิภาพ

bench1-zen3

3D Mark

Sling Shot ES 3.1 = 467 คะแนน
Sling Shot ES 3.0 = 845 คะแนน
Ice Storm Unlimited = 14,061 คะแนน
Ice Storm Extreme = 8,174 คะแนน

PC Mark

Work Performance = 6,423 คะแนน
Storage Score = 3,091 คะแนน

AnTuTu Benchmark = 62,040 คะแนน

Geekbench 3

Single-core = 926 คะแนน
Multi-core = 5,212 คะแนน

bench2-zen3

Quadrant Standard = 39,877 คะแนน

PassMark PerformanceTest Mobile

System = 6,071 คะแนน
CPU Tests = 154,835 คะแนน
Disk Tests = 55,322 คะแนน
Memory Tests = 4,368 คะแนน
2D Graphics Tests = 4,077 คะแนน
3D Graphics Tests = 1,699 คะแนน

Vellamo

Multicore = 2,393 คะแนน
Metal = 1,571 คะแนน
Chrome Browser = 3,519 คะแนน

มาถึงส่วนทดสอบประสิทธิภาพ ต้องเรียนตามตรงว่า Zenfone 3 5.5 นิ้ว ให้ผลลัพท์ทั้งส่วนคะแนนและการใช้งานจริงที่ดีมาก จนกลายเป็นเหมือนจุดแข็งของรุ่นนี้มากที่สุด ประสิทธิภาพโดยรวม ทีมงานขอยกให้เทียบเคียงกับสมาร์ทโฟนไฮเอนด์ของปีที่แล้วอย่าง Samsung Galaxy S6 หรือ iPhone 6 ได้เลย โดยเฉพาะรอมที่ให้มามากถึง 64GB ก็น่าจะเพียงพอต่อการใช้งานในยุคปัจจุบันแล้ว แต่ก็มีผลทำให้ราคาเครื่องแพงขึ้น

จะติดอยู่เรื่องเดียวก็คือแอปฯเสริมที่เอซุสใส่มาให้มากมายเกินความจำเป็นไปเล็กน้อย ถ้าเป็นไปได้อยากให้ตัดออกให้เหลือแค่เฉพาะตัวที่จำเป็นจริงๆ น่าจะช่วยให้เครื่องเบาลง แรมก็จะเหลือมากขึ้น ประสิทธิภาพน่าจะโดดเด่นขึ้น และถ้าเป็นไปได้จัดระเบียบส่วนออปชันตั้งค่า-ปรับแต่งต่างๆให้เรียบร้อยขึ้นจะดีมาก

batttest-zen3

มาดูเรื่องแบตเตอรี ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่น่าประทับใจต่อจากส่วนประสิทธิภาพประมวลผล เพราะใน Zenfone 3 5.5 นิ้ว (ให้แบตเตอรีมา 3,000mAh) สามารถทำเวลาทดสอบใช้งานต่อเนื่องได้ยาวนานถึง 12 ชั่วโมง 11 นาที และเมื่อทดลองใช้งานในชีวิตประจำวันจริง พบว่าแบตเตอรีสามารถใช้งานตลอดทั้งวันได้สบายๆ ประทับใจกว่าทุกรุ่นที่ผ่านมาเลย

6IMG_6247

มาถึงการทดสอบหูฟังที่แถมมาในรุ่นนี้ (ย้ำว่าที่แถมกับ Zenfone 3 5.5 นิ้วมีจำนวนจำกัดนะครับ) กับ Marshall Major 2 หูฟังที่ออกแบบมาเพื่อผู้ใช้สมาร์ทดีไวซ์หูหนักโดยเฉพาะ แน่นอนว่าเหมาะกับการฟังเพลงที่มีดนตรีหนักหน่วง หูฟังจะแสดงศักยภาพได้ดีมาก แต่เมื่อลองกับเพลงเบาๆ Jazz หรือเพลงช้าๆที่ใช้กีตาร์โปร่งเป็นหลัก Major 2 อาจให้ผลลัพท์ที่ไม่ดีนัก เสียงที่ออกมาจะดูเบาบางพร้อมตวามทู่เล็กน้อย และอาการจะหนักขึ้นเมื่อฟังเพลงจากไฟล์ Hi-Res Audio Major 2 ให้เสียงที่ไม่ดีนัก (ทุกอย่างฟังดูเบาบางไปหมด) แต่ก็อย่างว่า Major 2 ไม่ได้ออกแบบมาให้รองรับการฟัง Hi-Res อยู่แล้ว

อีกส่วนที่ต้องกล่าวถึงก็คือ โครงหูฟังและส่วนของ earcup ที่มีข้อดีคือกระชับ สวมใส่แล้วแน่นจนเสียงรบกวนภายนอกเข้ามาได้น้อย แต่สำหรับคนใส่แว่นส่วนของ earcup จะมีปัญหาไปบีบขาแว่นเล็กน้อย ใส่ไปนานๆอาจรู้สึกเจ็บได้

สรุป

2IMG_6229

สำหรับราคาค่าตัว ASUS Zenfone 3 5.5 นิ้ว อยู่ที่ 14,990 บาท มีให้เลือก 4 สีได้แก่ สีทอง, สีน้ำเงิน, สีดำ และสีขาว ส่วนราคารุ่นอื่นลองไปติดตามได้ในเว็บไซต์ ASUS Thailand

หลายคนเห็นราคาของรุ่นนี้ แล้วอาจบ่นว่าแพงไม่สมกับจุดขายของ Zenfone ที่เน้นราคาประหยัดเหมือนสมัยก่อน อย่าเพิ่งรีบตัดสินใจแบบนั้นครับ เพราะความจริงแล้ว Zenfone 3 มีซีรีย์ย่อยอีก 7 รุ่น และราคาเริ่มต้นก็มีตั้งแต่หลักพันไปถึงสองหมื่นบาท เนื่องจากเอซุสต้องการให้จับตลาดครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยรุ่น 5.5 นิ้ว Snapdragon 625 เป็นรุ่นกลางที่เอซุสต้องการยกระดับทั้งการออกแบบ วัสดุ ด้วยกระจก 2.5D หน้าหลังและประสิทธิภาพให้ใกล้เคียงรุ่นท็อป (แรม 4GB รอม 64GB) ซึ่งทั้งหมดเมื่อรวมกับประสิทธิภาพที่ทดสอบได้ ทีมงานก็มองว่าคุ้มค่าคุ้มราคาพอตัว ยิ่งเป็นชุดที่แถมหูฟัง Marshall Major 2 ด้วยแล้วถือว่าคุ้มค่ามาก แต่น่าเสียดายที่เอซุสทำเป็น Limited Edition ไม่อย่างนั้นรุ่นนี้จะจัดให้เป็นรุ่นคุ้มค่าคุ้มราคาที่สุดของปีนี้ได้เลย

ข้อดี

– ตัวเครื่องออกแบบแน่นหนาและหรูหราขึ้นด้วยกระจกประกบหน้าหลัง
– ประสิทธิภาพภายในอยู่ในเกณฑ์ดี ลื่นไหล รวดเร็ว
– รอม 64GB แรม 4GB
– รองรับ Hi-Res Audio
– ASUS Game Genie ออกแบบฟีเจอร์มาได้น่าสนใจ
– แบตเตอรีทำเวลาทดสอบต่อเนื่องได้น่าประทับใจมาก สามารถใช้งานทั่วไปได้ข้ามวัน

ข้อสังเกต

– กล้องถ่ายภาพหลักยังให้ประสิทธิภาพธรรมดาไม่เหมือนกับสเปกที่เขียนไว้หรูหรามาก
– ซอฟต์แวร์เสริมจากโรงงานให้มามากเกินจำเป็น
– ถ้าเล่นไฟล์เพลง Hi-Res Audio คุณภาพสูงสุด 24-bit/192KHz บางครั้งมีอาการเสียงสะดุด
– การจับถือตัวเครื่องไม่ค่อยกระชับมือ ยิ่งมาเจอกระจกประกบทั้งหน้าหลัง จับไม่ดีเครื่องหลุดมือได้ง่าย

*รุ่นนี้ใช้พอร์ต USB-C เชื่อมต่อข้อมูลและชาร์จไฟ

Gallery

]]>