Microsoft – CBIZ Reviews – MGR Online https://cyberbiz.mgronline.com เว็บไซต์รีวิวอุปกรณ์ ไอที ไฮเทค เป็นส่วนหนึ่งของผู้จัดการออนไลน์ Wed, 29 Jun 2016 12:31:05 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.0 Review : Microsoft Lumia 650 วินโดวส์โฟนต่ำกว่า 8000 https://cyberbiz.mgronline.com/review-microsoft-lumia-650/ Wed, 29 Jun 2016 10:25:01 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=23102

IMG_3617

Lumia 650 นับเป็นสมาร์ทโฟนที่เน้นเจาะกลุ่มลูกค้าระดับกลางรุ่นแรกของไมโครซอฟท์ ตั้งแต่มีการปรับโครงสร้างองค์กรให้รวมกันเป็นหนึ่งเดียวมากยิ่งขึ้นบนระบบปฏิบัติการ Windows 10 หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีออกรุ่นที่มาจับกลุ่มผู้เริ่มใช้สมาร์ทโฟนจาก Lumia 535 และในกลุ่มบนจาก Lumia 950XL

ที่สำคัญคือ Lumia 650 เริ่มกลับมาเป็นสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์ของไมโครซอฟท์แล้ว ด้วยการออกแบบตัวเครื่องที่มีความน่าสนใจ ไม่ได้ยึดตามแบบสมาร์ทโฟนรุ่นอื่นๆในตลาด ซึ่งถือเป็นจุดเด่นที่สำคัญของไมโครซอฟท์ อย่างไรก็ตามด้วยการที่ทำงานบน Windows 10 ก็ทำให้ผู้ใช้มีความสะดวกในการใช้งานเครื่องบนแพลตฟอร์มเดียวกันมากขึ้น

ส่วนของสเปกเครื่อง ด้วยการที่ทำราคาออกมาต่ำกว่าหมื่นบาท ทำให้เครื่องจะเน้นไปที่สเปกกลางๆด้วยการใช้ซีพียู Snapdragon 212 ที่เป็นรุ่นประหยัด มาใช้กับหน้าจอเครื่องขนาด 5 นิ้ว ตัวเครื่องรองรับทั้ง 3G และ 4G กล้องที่ความละเอียด 8 ล้านพิกเซล แต่มีอินเตอร์เฟสในการปรับแต่งใช้งานที่น่าสนใจ

การออกแบบ

IMG_3629

ดีไซน์ของ Lumia 650 จะเน้นไปที่การนำเฟรมที่เป็นอะลูมิเนียมขัดมันผสมกับพลาสติกคุณภาพสูง เพื่อให้เมื่อได้สัมผัสแล้วจะรู้สึกถึงความพรีเมียมของตัวสินค้าเป็นหลัก โดยเน้นหลักๆไปที่ความบางของตัวเครื่อง ที่มีขนาดรอบตัวอยู่ที่ 142 x 70.9 x 6.9 มิลลิเมตร น้ำหนัก 122 กรัม มีให้เลือกด้วยกัน 2 สี คือขาว และดำ

IMG_3618

ด้านหน้าไล่จากส่วนบนจะเป็นช่องลำโพงสนทนา ถัดลงมามีสกรีนแบรนด์ ‘Microsoft’ โดยมีกล้องหน้าความละเอียด 5 ล้านพิกเซล f/2.2 อยู่ที่มุมขวาบน ถัดลงมาเป็นหน้าจอที่ใช้กระจก Gorilla Glass 3 บนเทคโนโลยี ClearBlack OLED ขนาด 5 นิ้ว ความละเอียด HD (1280 x 720 พิกเซล) ความละเอียดเม็ดสี 297 ppi ส่วนล่างเป็นลำโพงปกติ ซึ่งถ้าสังเกตุจะพบว่ามีการปล่อยพื้นที่ว่างบริเวณส่วนบนและล่างหน้าจอค่อนข้างเยอะ เพื่อทำให้ตัวเครื่องบางลง

IMG_3619

ด้านหลังเนื่องจากต้องการให้ตัวเครื่องเบา ฝาหลังที่ใช้จึงเป็นพลาสติกที่สามารถยืดหยุ่นได้ ลักษณะเป็นผิวด้านเล็กน้อย มีสัญลักษณ์วินโดวส์สีเงินอยู่ตรงกลาง เยื้องขึ้นมาส่วนบนเป็นเลนส์กล้องความละเอียด 8 ล้านพิกเซล f/2.2 พร้อมไฟแฟลชที่นูนขึ้นมาเล็กน้อย โดยสามารถแงะฝาหลังได้จากตรงกึ่งกลางล่าง

IMG_3623

เมื่อแกะฝาหลังออกมาจะพบกับแบตเตอรีขนาด 2,000 mAh ที่สามารถถอดเปลี่ยนได้ โดยมีช่องใส่ไมโครเอสดีการ์ด และไมโครซิมการ์ดอยู่ข้างๆ ทำให้เวลาถอดเปลี่ยน หรือสลับการใช้งานจำเป็นต้องปิดเครื่องก่อน ส่วนหนึ่งเพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลสูญหายเมื่อไม่ได้กดถอดการ์ดออกขณะเปิดเครื่อง

IMG_3636IMG_3637

ด้านซ้ายจะถูกปล่อยว่างไว้ ด้านขวาเป็นที่อยู่ของปุ่มเปิดปิดเครื่อง และปุ่มปรับระดับเสียง

IMG_3634IMG_3633

ด้านบนมีช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม. และไมโครโฟน ด้านล่างจะมีช่องไมโครยูเอสบี สำหรับเสียบสายชาร์จ และเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์

สเปก

s09

ในส่วนของสเปกภายใน Lumia 650 มาพร้อมกับหน่วยประมวลผล Qualcomm Snapdragon 212 ที่เป็นควอดคอร์ความเร็ว 1.3 GHz RAM 1 GB พื้นที่เก็บข้อมูลภายในตัวเครื่อง 16 GB รองรับไมโครเอสดีการ์ดเพิ่มเติมสูงสุด 200 GB ทำงานบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 10

การเชื่อมต่อรองรับ 3G บนคลื่นความถี่ 850/900/1900/2100 ความเร็วในการเชื่อมต่อสูงสุด 42.2/5.76 Mbps ส่วน 4G รองรับบนคลื่นความถี่ 700/850/2100 ความเร็ว 150/50 Mbps ขณะที่การเชื่อมต่อไวไฟอยู่บนมาตรฐาน 802.11b/g/n บลูทูธ 4.1 GPS NFC และวิทยุFM

ฟีเจอร์เด่น

เนื่องจาก Lumia 650 มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 10 ดังนั้น ฟังก์ชันในการใช้งานส่วนใหญ่ ก็จะไม่แตกต่างจากรุ่นพี่ใหญ่ก่อนหน้านี้อย่าง Lumia 950XL http://www.cyberbiz.in.th/review-microsoft-lumia-950xl/ เพียงแต่ในรุ่นนี้ จะไม่รองรับการใช้งาน Continuum ที่เป็นการต่อสมาร์ทโฟนเข้ากับจอเพื่อใช้งานแทนพีซี เช่นเดียวกับระบบปลดล็อกเครื่องด้วย Windwso Hello ที่จะถูกตัดออกไป

แต่ฟังก์ชันที่เหลือไม่ว่าจะเป็น Glance Screen ที่มีบอกเวลาบนหน้าจอ ตัวแจ้งเตือน ตารางนัดหมาย แม้ว่ากดปิดหน้าจอไปแล้ว ก็ยังอยู่ให้ใช้งาน รวมถึงบริการอื่นๆที่มีมากับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 10 ไม่ว่าจะเป็น Microsoft Office Skype OneDrive OneNote Outlook Mail และการเข้าถึง Store เพื่อดาวน์โหลดแอปพลิเคชันเพิ่มเติม

s01

หน้าจอหลักของ Windows 10 ยังคงเป็น Live Tiles เหมือนเดิม ที่รวมการแสดงผลของรายชื่อผู้ติดต่อที่จะหมุนวนรูปขึ้นมาแสดง หน้าปฏิทินที่บอกตารางนัดหมาย อัลบั้มรูปที่ปรับเปลี่ยนแกลอรี่มาแสดงผล รวมถึงโซเชียลเน็ตเวิร์กต่างๆ แน่นอนว่าผู้ใช้สามารถปรับแต่งธีมสี ขนาดไอค่อนได้ตามความต้องการเพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน

แถบการแจ้งเตือน ยังสามารถเข้าถึงได้จากการลากนิ้วจากขอบบนลงมา เพื่อแสดงข้อมูลเครือข่ายที่ใช้งาน สถานะแบตเตอรี วันที่ การตั้งค่าด่วนอย่างการเปิดปิด ไวไฟ บลูทูธ การหมุนหน้าจอ  ไฟฉาย โน้ต เข้าใช้งานกล้อง ปรับความสว่างหน้าจอ เปิด HotSpot 

s04นอกจากนี้ ยังมีการเปิดโหมดใช้งานมือเดียว ด้วยการกดปุ่มวินโดวส์ค้าง เพื่อย่อหน้าต่างลงมา และกดซ้ำเพื่อขยายกลับเหมือนเดิม ขณะเดียวกันผู้ใช้ยังสามารถเข้าไปตั้งค่าการแสดงผลของโทนสีหน้าจอได้จากในส่วนของ Colour Profile หรือจะเปลี่ยนธีมสีที่ใช้ได้จากในส่วนของการตั้งค่าเช่นเดียวกัน โดยจะมีโทนสีให้เลือกว่าเป็นสีดำ หรือขาว ที่จะเปลี่ยนบริเวณแถบเมนู และเลือกสีธีมหลักได้จากตารางสีที่ให้มา

s02

ในขณะที่แอปพลิเคชันที่ติดตั้งมาให้ในเครื่อง ส่วนใหญ่จะเป็นแอปฯทั่วๆไปไม่ว่าจะเป็นนาฬิกาปลุก เครื่องคิดเลข กล้อง ตัวจัดการไฟล์ วิทยุ เครื่องเล่นเพลง แผนที่ เบราว์เซอร์ รูปภาพ โทรศัพท์ และบริการต่างๆของไมโครซอฟท์ ให้เลือกใช้งาน ไม่นับรวมพวกโซเชียลเน็ตเวิร์กอย่างเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ที่มีให้ดาวน์โหลดมาใช้งานเพิ่มเติม

IMG_3639

โหมดใช้งานกล้อง ถือเป็นอีกจุดเด่นของ Lumia ที่ผู้ใช้สามารถใช้นิ้วลากบริเวณปุ่มชัตเตอร์มาทางซ้าย เพื่อเข้าสู่การปรับตั้งค่าสมดุลแสง ระยะโฟกัส ปรับ ISO และความเร็วชัตเตอร์ได้ ถือเป็นความสะดวกของผู้ที่ชื่นชอบใช้กล้องแบบมืออาชีพ แต่ถ้าไม่ต้องการก็สามารถใช้การถ่ายภาพโหมดอัตโนมัติในการถ่ายภาพได้ปกติ โดยจะมีให้ตั้งแค่ว่าจะใช้แฟลข หรือเปิดโหมด HDR หรือไม่

s05

นอกจากนี้ Lumia ยังมีการปล่อยให้ลูกค้าดาวน์โหลด Lens เพิ่มเติม (โหมดถ่ายภาพพิเศษ) ได้จากในสโตร์ เพื่อให้สามารถใช้งานโหมดกล้องได้หลากหลายมากยิ่งขึ้นไม่ว่าจะเป็นการตั้งเวลาถ่ายภาพ โหมดถ่ายภาพเซลฟี่ ถ่ายภาพแบบ 360 องศา ให้เลือกดาวน์โหลดเพิ่มเติมได้

s06

การนำทางใน Lumia 650 ยังถือเป็นอีกจุดเด่นที่ขาดไม่ได้ เพราะผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดแผนที่มาเก็บไว้ภายในเครื่องล่วงหน้า ทำให้เวลาเดินทางไปต่างประเทศ หรือต่างจังหวัดก็ยังสามารถเปิดใช้ระบบนำทางได้ แม้ไม่ได้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต เพียงแต่ว่าถ้ามีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตก็จะได้ข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้นอย่างร้านอาหารต่างๆ หรือข้อมูลที่มีการอัปเดต

s07

โหมดการใช้งานโทรศัพท์ ยังคงเน้นที่ความง่ายในการใช้งานเป็นหลัก ด้วยการมีแป้นปุ่มกดตัวเลขให้สามารถใช้ระบบคาดเดารายชื่อจากในเครื่องได้ ขณะที่น่าจอการสนทนาก็จะมีบอกระยะเวลาที่คุยสาย พร้อมปุ่มกดพักสาย เพิ่มสาย ปิดเสียง เปิดลำโพง หรือสลับเป็นการใช้สไกป์วิดีโอได้ กรณีสายเรียกเข้าสามารถกดเลือกได้ว่าจะรับสาย ตัดสาย หรือส่งข้อความกลับ

s03

ส่วนการที่แอปในวินโดวส์สโตรยังไม่เป็นที่รู้จักมากนักทาง Lumia ก็มีการรวบรวมแอปพลิเคชันที่น่าสนใจมาไว้ภายใน Lumia Highlight ที่จะคอยแนะนำแอปพลิเคชันที่น่าสนใจ และผู้ใช้สามารถกดต่อเพื่อเข้าไปดาวน์โหลดในสโตร์ได้ทันที

ทดสอบประสิทธิภาพ

s10

ในส่วนของการทดสอบประสิทธิภาพ ทีมงานทดสอบด้วยการใช้แอปพลิเคชันยอดนิยมอย่าง AnTuTu ที่ภายในระบบปฏิบัติการวินโดวส์ จะมีให้เลือก 2 เวอร์ชัน คือ AnTuTu Benchmark v6.0.5 UWP Beta5 ได้ 31,646 คะแนน และ AnTuTu Benchmark v0.8.0 beta สามารถทำคะแนนรวมได้ราว 12,608 คะแนน ซึ่งต่ำกว่า Lumia 950XL อย่างเห็นได้ชัด

ส่วนในแง่ของระยะเวลาการใช้งานบนแบตเตอรี ด้วยการที่ให้แบตมาขนาด 2,400 mAh ทดลองใช้งานทั่วๆไป มีการซิงค์อีเมล ใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์กตามปกติ แต่ไม่ได้ใช้งานเล่นเกม หรือฟังเพลงหนักๆ สามารถใช้ต่อเนื่องได้สบายๆใน 1 วัน ไม่มีปัญหาแบตหมดระหว่างวันแต่อย่างใด

สรุป

ด้วยราคาเปิดตัวที่ 7,190 บาท ของ Lumia 650 ทำให้กลายเป็นวินโดวส์โฟนระดับราคาเอื้อมถึงได้สำหรับคนทั่วไปที่รองรับการใช้งาน 4G พร้อมกับฟังก์ชันหลักของแพลตฟอร์มวินโดวส์อย่างไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ ดังนั้น ถ้าเป็นผู้ใช้งานที่เน้นนำมาใช้งานเป็นหลักกับไฟล์เอกสาร ก็ถือเป็นรุ่นที่น่าสนใจ แต่ถ้าจะเน้นมาใช้งานโซเชียลมีเดีย หรือเพื่อความบันเทิงอย่างเล่นเกม ในวินโดวส์อาจจะยังไม่รองรับอย่างเต็มที่

ข้อดี

– สมาร์ทโฟนหน้าจอ 5 นิ้ว ความละเอียด HD กล้อง 8/5 ล้านพิกเซล

– รองรับการเชื่อมต่อ 4G

– ทำงานร่วมกับแพลตฟอร์มวินโดวส์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ

ข้อสังเกต

– แอปส่วนใหญ่จะเน้นการทำงานเป็นหลัก

– ไม่รองรับการใช้งาน Continuum ที่เป็นจุดเด่นของวินโดวส์ 10

– หน่วยประมวลผลที่ใช้เป็นรุ่นราคาต่ำ อาจประมวลผลได้ไม่เต็มที่

– กล้องวิดีโอไม่รองรับการบันทึกระดับ Full HD (1080p)

]]>
ทดสอบกล้องหลัง PureView : Microsoft Lumia 950XL https://cyberbiz.mgronline.com/review-pureview-lumia950xl/ Tue, 26 Jan 2016 06:32:17 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=21279

IMG_0472

ทุกครั้งที่สมาร์ทโฟนตระกูล Lumia จากไมโครซอฟท์ออกวางจำหน่าย นอกจากความเป็นวินโดวส์ที่มีรูปแบบการใช้งานเฉพาะตัวแล้ว เรื่องของกล้องถ่ายภาพ PureView ประกบเลนส์ ZEISS ที่โด่งดังมาตั้งแต่โนเกีย ก็ถือเป็นหนึ่งความสนใจของผู้อ่านไซเบอร์บิซมาตลอด จนทีมงานต้องแยกเขียนบททดสอบเฉพาะกล้องหลัง PureView แยกจากรีวิวฉบับเต็มทุกครั้งที่ได้รับสมาร์ทโฟน Lumia มาทดสอบ

และในวันนี้ขอต้อนรับปีใหม่ด้วย Microsoft Lumia 950XL หลังจากทางทีมงานได้ทดสอบในส่วนประสิทธิภาพไปแล้ว ในบทความนี้จะเป็นเรื่องของกล้องหลัง PureView กับการทดสอบเค้นประสิทธิภาพกล้องหลังทั้งไฟล์ดิบ DNG โหมดกล้องอัตโนมัติ และจุดขายสำคัญ “High resolution zoom (PureView Zoom) ซูมภาพโดยไม่สูญเสียความละเอียด”

IMG_0470

สำหรับสเปกกล้องหลัง Microsoft Lumia 950XL (Windows 10) มาพร้อมเซ็นเซอร์รับภาพ Backside-illuminated PureView ขนาด 1/2.4 นิ้ว ความละเอียดภาพสูงสุด 20 ล้านพิกเซล ระบบป้องกันภาพสั่นไหวแบบออปติคอลและออโต้โฟกัสมีการปรับปรุงให้ทำงานได้รวดเร็วขึ้น

ในส่วนเลนส์ ZEISS เป็นมุมกว้าง 26 มิลลิเมตร รูรับแสงกว้าง f/1.9 ตามสมัยนิยมเพื่อให้รับแสงในที่แสงน้อยได้ดีขึ้นกว่ารุ่นก่อนหน้า และไฟแฟลช LED ได้รับการออกแบบใหม่บนเทคโนโลยี Natural Flash จำนวน 3 ดวงพร้อมรองรับ Rich Capture (เปิดไฟแฟลชถ่ายภาพก่อนแล้วค่อยมาเลือกความเข้มของไฟแฟลชทีหลังผ่านซอฟต์แวร์)

กล้องหน้า ปรับเพิ่มความละเอียดเป็น 5 ล้านพิกเซล รูรับแสง f2.4 และรองรับการบันทึกวิดีโอ 1080p

video-950xl

ด้านวิดีโอ เนื่องจากไมโครซอฟต์ปรับฮาร์ดแวร์หลายส่วนใหม่ทำให้ Lumia 950XL รองรับการถ่ายวิดีโอที่ความละเอียดสูงสุดถึง 4K (Ultra HD 3,840 x 2,160 พิกเซล) ที่ความเร็ว 30 เฟรมต่อวินาทีพร้อมเทคโนโลยีไมโครโฟนบันทึกเสียง 4 ตัว (Lumia Rich Recording) และวิดีโอสโลโมชัน

User Interface ซอฟต์แวร์กล้อง

s14

ยังคงเน้นรูปแบบการใช้งานที่ง่าย โดยหลักๆหลังเข้าใช้งานกล้องครั้งแรก ระบบจะปรับเป็นโหมดอัตโนมัติให้ ผู้ใช้มีหน้าที่กดชัตเตอร์ถ่ายภาพอย่างเดียวเท่านั้น แต่ทั้งนี้ถ้าต้องการโหมดโปรเพื่อปรับแต่งค่ากล้องตามต้องการ ก็สามารถทำได้เพียงกดปุ่มชัตเตอร์ (รูปกล้องถ่ายภาพ) ที่หน้าจอค้างไว้แล้วเลื่อนไปทางซ้าย จะปรากฏแถบปรับแต่งค่ากล้องขึ้นมา ซึ่งมีให้เลือกตั้งแต่ ชดเชยแสง +/- ความเร็วชัตเตอร์ ค่าความไวแสง (ISO) โฟกัสและสมดุลแสงขาว (White Balance)

lumia-settings

ในส่วนการตั้งค่าสามารถปรับแต่งได้อิสระ ตั้งแต่ความละเอียดภาพว่าจะเป็น JPEG อย่างเดียว หรือเลือก JPEG + RAW File (DNG) ส่วนเมนู Capture living images เมื่อเปิดใช้งานระหว่างถ่ายภาพนิ่ง ระบบจะแอบบันทึกวิดีโอขนาดสั้นเพื่อเก็บบรรยากาศในรูปแบบภาพเคลื่อนไหวระหว่างถ่ายภาพนิ่งไว้ คล้ายหลักการเดียวกับ Live Photos ของแอปเปิล

filesize-950xl

สุดท้ายในส่วนขนาดไฟล์ภาพ JPEG 1 ไฟล์จะใช้พื้นที่ประมาณ 4-4.4MB ส่วนไฟล์ดิบ .DNG 1 ไฟล์จะใช้พื้นที่ประมาณ 26-27MB และถ้ารวมไฟล์ภาพทั้งหมดตั้งแต่ JPEG + RAW DNG + Capture living images เท่ากับว่ารูปถ่าย 1 รูปจะใช้พื้นที่มากถึง 40MB เลยทีเดียว

ฟีเจอร์เด่น

rich-capture-mode-950

Rich Capture Mode นอกจากจะช่วยปรับแต่งภาพ JPEG ให้สวยงามหลังจากกดชัตเตอร์แล้ว อีกหนึ่งจุดเด่นก็คือ เมื่อถ่ายภาพด้วยการเปิดใช้ไฟแฟลช ระบบจะบันทึกภาพทั้งก่อนเปิดไฟแฟลชและหลังเปิดไฟแฟลชไว้

โดยหลังจากถ่ายภาพเสร็จแล้ว ที่ Gallery ผู้ใช้สามารถกลับมาปรับแต่งสมดุลไฟแฟลชได้ตามต้องการ (Choose the best lighting) โดยระบบจะนำภาพที่บันทึกไว้ทั้งสองภาพมารวมกันเป็นภาพเดียว ผู้ใช้มีหน้าที่เลื่อนแถบปรับสมดุลแสงด้านล่างเพื่อเลือกช่วงแสงที่เหมาะสมได้อย่างอิสระ ช่วยให้การถ่ายภาพย้อนแสงทำได้สวยงามขึ้น

rich-capture-mode-950-sample

ตัวอย่างภาพถ่ายด้วย Rich Capture Mode ร่วมกับการเปิดไฟแฟลช หลังจากนั้นได้ปรับแถบสมดุลแสงให้พอดีเพื่อไม่ให้แสงไฟแฟลชเข้มจนเกินไป 

pureview-zoom-950xl

High resolution zoom (PureView Zoom) ระบบซูมภาพดิจิตอลแบบไม่สูญเสียความละเอียดเป็นจุดเด่นของสมาร์ทโฟนตระกูลนี้เกือบทุกรุ่น และถูกพัฒนาปรับปรุงให้ประสิทธิภาพดีขึ้นมาตลอด โดยในรุ่นล่าสุด Lumia 950XL ก็ได้รับการปรับปรุงในส่วนรายละเอียดภาพและความคมชัดที่ดีขึ้นกว่าเดิม

WP-950XL-ZOOM-1WP-950XL-ZOOM-2WP-950XL-ZOOM-3

ทั้ง 3 ภาพนี้ ทีมงานใช้ High resolution zoom (PureView Zoom) ด้วยวิธีเดียวกับการซูมดิจิตอลบนสมาร์ทโฟนทั่วไป ไม่ต้องตั้งค่าใดๆให้วุ่นวาย

ทดสอบประสิทธิภาพและสรุป

lightroom-dng-950xl

จำได้ว่าเมื่อรุ่นที่แล้วการถ่าย RAW File .DNG + JPEG และระบบกล้องหลายส่วนยังดูขาดๆเกินๆ แต่มาถึงแพลตฟอร์ม Windows 10 และฮาร์ดแวร์ที่พัฒนาสูงขึ้น การถ่ายภาพทั้งโหมดอัตโนมัติ JPEG File และแบบมืออาชีพ RAW .DNG ทำได้ง่ายดายและลื่นไหลมากขึ้น การตั้งค่าไม่วุ่นวายเหมือนก่อนแล้ว

ISOtest-950xl

จุดที่น่าประทับใจก็คือการจัดการสัญญาณรบกวน JPEG File ที่ไมโครซอฟท์ปรับปรุงมาได้ดี ISO 3,200 ให้ผลลัพท์ของภาพที่ดีมาก สีสันที่เคยผิดเพี้ยนเมื่อดัน ISO ให้สูงถูกแก้ไขให้ดีขึ้นมาก

bf-950xl-2

ส่วน RAW .DNG เห็นได้ชัดเจนจากรุ่นก่อนหน้าเลยว่า ไมโครซอฟท์ได้ปรับปรุงเรื่องการเก็บรายละเอียดภาพและไดนามิกที่ดีขึ้น แต่ก็ยังมีปัญหาเรื่องสัญญาณรบกวนจากไฟล์ดิบและเซ็นเซอร์รับภาพขนาดเล็ก ยิ่งเมื่อเปิดหน้ากล้องนานเกิน 2 วินาที ISO เกิน 400 เราจะเห็นความเละเทะของไฟล์ได้ (แต่สามารถแก้ไขได้ด้วยซอฟต์แวร์ต่างๆ)

WP-950XL-PAO-3

ยกตัวอย่างภาพนี้ถ่ายที่ความเร็วชัตเตอร์ 4 วินาที ISO แค่ 400 แต่เมื่อถ่ายด้วย RAW File นอยซ์ค่อนข้างเยอะมาก ต้องใช้ Lightroom ลบนอยซ์ออก ซึ่งก็ช่วยได้แค่ระดับหนึ่ง เพราะเนื้อไฟล์ค่อนข้างเละเทะพอสมควร

WP-950XL-PAO-4

แต่พอแสงยามเช้าเริ่มมา ทำให้เราสามารถขยับ ISO ลงมาต่ำสุดได้ ภาพที่ได้ถือว่าเนียนและคมชัดมากขึ้น

bf-950xl-1

โดยภาพนี้ถือว่าเป็นการโชว์พลังของ RAW File จาก Lumia 950XL ได้อย่างดี เพราะตอนบันทึกภาพนี้เป็นไฟล์ดิบ ทีมงานเลือกให้แสงติดโอเวอร์เล็กน้อยจากข้อจำกัดของ f-stop ที่ปรับไม่ได้ จากนั้นเมื่อมาถึงขั้นตอนตกแต่งภาพ ทีมงานเลือกดึงแสงลงและเพิ่มรายละเอียดของส่วนฟ้าให้มีสีที่สดขึ้น ทุกอย่างสามารถจัดการได้เหมือน RAW File จากกล้อง DSLR

WP-950XL-PAO-1WP-950XL-PAO-11WP-950XL-PAO-5

มาลองถือถ่ายด้วยโหมดอัตโนมัติกันบ้าง ในที่แสงน้อยการจับโฟกัสทำได้รวดเร็วกว่ารุ่นก่อนหน้าพอสมควร ระบบป้องกันภาพสั่นไหวเมื่อทำงานควบคู่กับระยะเลนส์มุมกว้าง ทำให้คุณสามารถถือ Lumia 950XL ถ่ายที่ความเร็วชัตเตอร์ระดับ 2 วินาทีได้โดยไม่เกิดภาพสั่นไหว

WP-950XL-PAO-2WP-950XL-PAO-6WP-950XL-PAO-10WP-950XL-PAO-9WP-950XL-PAO-7WP-950XL-PAO-8

สุดท้ายกับภาพรวมกล้อง PureView บน Lumia 950XL สิ่งที่ประทับใจมากที่สุดหลังทดลองถ่ายภาพอยู่ 5 วันเต็ม คือ


1.ชัตเตอร์ทำงานเร็ว ระบบประมวลผลภาพเร็ว โดยเฉพาะการเลือกถ่ายแบบ JPEG 8 ล้านพิกเซล + DNG 19 ล้านพร้อมกัน ไม่มีอาการหน่วงให้เห็นแต่อย่างใด

2.ไฟล์ RAW .DNG มีการปรับปรุงด้านรายละเอียดภาพ ทำให้เกิดความยืดหยุ่นในการปรับแต่งที่เพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างถ่ายฟ้ามาโอเวอร์ เราสามารถเข้าโปรแกรมตกแต่งภาพแล้วดึงรายละเอียดฟ้ากลับมาได้ชัดเจนกว่ารุ่นก่อนหน้ามาก

3.High resolution zoom (PureView Zoom) ทำงานได้ดีและนำไฟล์ไปใช้งานได้จริง

4.JPEG กับซอฟต์แวร์ปรับแต่งภาพอัตโนมัติหลังกดชัตเตอร์ ระบบเลือกปรับแต่งภาพได้ค่อนข้างฉลาด แต่ติดเรื่องหน้าจอแสดงผลชอบปรับภาพให้สวยกว่าไฟล์จริงพอสมควร

WP_20160123_05_54_40_Raw_LI

ถ่ายด้วย RAW File เปิดหน้ากล้องนาน 4 วินาที ISO ประมาณ 1 พัน จะเริ่มเห็นสัญญาณรบกวนเกิดขึ้นแม้จะลบด้วยซอฟต์แวร์บนคอมพิวเตอร์แล้วก็ตาม

5.JPEG กับ ISO 3,200 ให้นอยซ์ที่น้อยมาก ซอฟต์แวร์ประมวลผลภาพทำงานได้ดี ในขณะไฟล์ RAW .DNG ที่ ISO เท่ากันแต่นอยซ์มากกว่า (มากระดับเละเทะ รายละเอียด สีสันเพี้ยนไปเลย) เพราะฉะนั้นสำหรับผู้ใช้ทั่วไปที่เลือกถ่ายด้วยโหมดอัตโนมัติคงไม่มีปัญหาใดๆ แต่สำหรับมือโปรชอบไฟล์ดิบ ทีมงานแนะนำอย่าตั้ง ISO ให้เกิน 800 จะดีที่สุด ยิ่งเป็นการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ยามค่ำคืนเพื่อนำไปตกแต่งต่อ แนะนำให้คุม ISO ให้เหมาะสม ต้องใจเย็นๆ ลองถ่ายแล้วซูมเช็คภาพดูเรื่อยๆ เพราะถ้ามีปัญหานอยซ์และสัญญาณรบกวนจากการเปิดหน้ากล้องนานเกิดขึ้น คุณจะแก้ไขอะไรไม่ได้เลย (ต้องทำใจเซ็นเซอร์และสเปกกล้องหลังเล็กลงจากสมัย 808 PureView มาก)


 

สุดท้ายกับการทดสอบวิดีโอ 4K UHD ถือว่าคมชัดตามมาตรฐาน โดยเฉพาะเสียงที่แยกซ้ายขวาและมิติชัดเจนดี ส่วนวิดีโอ 1080p ปกติ ทีมงานมีข้อสังเกตเล็กน้อยในเรื่องระบบป้องกันภาพสั่นไหว ที่ทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร แม้จะเปิดฟังก์ชัน Digital Video Stabilization ร่วมด้วยก็ตาม (ส่วนนี้คาดว่าปัญหามาจากเฟริมแวร์ คล้ายกรณี LG G4 คงต้องรอให้ไมโครซอฟท์ออกเฟริมแวร์มาแก้ไขในอนาคต)

สรุปภาพรวมทั้งหมดในเรื่องกล้อง PureView – โดยภาพรวมถือว่ามีการปรับปรุงไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ถ้าเทียบกับคู่แข่งอย่าง LG G4 และสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ยอดนิยมอย่าง Samsung Galaxy S6 edge+ ที่ปรับค่ากล้องแบบแมนวลและถ่าย RAW .DNG ได้ Microsoft Lumia 950XL ไม่ได้มีฟังก์ชันการทำงานที่แปลกใหม่กว่าคู่แข่งแต่อย่างใด ยกเว้น High resolution zoom (PureView Zoom) ที่ Lumia 950XL ทำได้ดีกว่าและระบบไฟแฟลชกับ Rich Capture ที่ทำได้น่าสนใจมาก

“ความจริงแล้วไมโครซอฟท์มีเทคโนโลยีกล้องที่น่าสนใจเหนือคู่แข่งมากมายอยู่ในมือตั้งแต่สมัย Nokia 808 PureView แต่น่าเสียดายที่เทคโนโลยีเหล่านั้นถูกจำกัดด้วยกลไกตลาดหลายส่วน ทำให้ Lumia ในยุคหลังไม่ค่อยแตกต่างจากคู่แข่งในตลาดมากนัก หลายฟักง์ชันใน Lumia 950/950XL ทำได้น่าสนใจและทีมงานมองว่าไมโครซอฟท์ที่มีเทคโนโลยีกล้องถ่ายภาพของโนเกียอยู่ในมือน่าจะพัฒนาได้ดีเยี่ยมกว่านี้เหมือนสมัย 808 PureView แต่สุดท้ายเราก็ยังไม่เห็นความพิเศษเหนือคู่แข่งจาก Microsoft Lumia 950/950XL นอกจากประสิทธิภาพที่ปรับปรุงไปตามสมัยเท่านั้น”

]]>
Review : Microsoft Lumia 950XL ประเดิม Windows 10 บนสมาร์ทโฟนรุ่นแรกในไทย https://cyberbiz.mgronline.com/review-microsoft-lumia-950xl/ Tue, 19 Jan 2016 07:06:30 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=21158

IMG_2142

ถือเป็นการกลับมาอีกครั้งของไมโครซอฟท์ในตลาดสมาร์ทโฟน หลังจากทิ้งช่วงไปในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ด้วยการอัปเดตจากระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 8.1 เป็นวินโดวส์ 10 ในจุดนี้ไมโครซอฟท์ ประเดิมด้วย Lumia 950 และ Lumia 950XL ที่ถือเป็น 2 รุ่นแรกที่เป็นวินโดวส์ 10 และเริ่มวางตลาดในประเทศไทย

จุดเด่นหลักที่ไมโครซอฟท์ชูขึ้นมาสำหรับ Lumia 950XL คือในเรื่องของขนาดหน้าจอ 5.7 นิ้ว ความละเอียดระดับ 2K กับกล้องถ่ายภาพที่ใช้เทคโนโลยี PureView 20 ล้านพิกเซล ที่สามารถถ่ายวิดีโอระดับ 4K ได้ ไม่นับรวมกับความสามารถของระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 10 ที่มีมาให้ใช้ทั้ง Cortana Windows Hello และ Continuum

การออกแบบ

IMG_2154

ในแง่ของการออกแบบไมโครซอฟท์พยายามกลับมาสู่จุดเดิมที่เน้นความเรียบหรู จากเครื่องรูปทรงสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ที่มีการลบขอบมุมให้มน เน้นประโยชน์ใช้สอยในการใข้งานเป็นหลัก โดยมีขนาดรอบตัวอยู่ที่ 78.4 x 151.9 x 8.1 มิลลิเมตร น้ำหนัก 165 กรัม วางจำหน่ายด้วยกัน 2 สี คือ ขาว และดำ

IMG_2143

ด้านหน้าไล่จากบนสุดจะมีช่องลำโพงสนทนาพาดอยู่ตรงกึ่งกลางบนตัวอักษรระบุแบรนด์ ‘Microsoft’ โดยมีไฟแสดงสถานะ และกล้องหน้าความละเอียด 5 ล้านพิกเซลแบบมุมกว้าง f/2.4 ทางฝั่งขวา ส่วนทางฝั่งซ้ายจะมีเซ็นเซอร์อินฟาเรตที่ใช้งานร่วมกับ Windows Hello ในการปลดล็อกตัวเครื่อง

ถัดลงมาเป็นหน้าจอขนาด 5.7 นิ้ว ความละเอียด WQHD หรือจอ 2K (2560 x 1440 พิกเซล) ที่ยังคงใช้จอแบบ AMOLED ClearBlack ให้ความละเอียดเม็ดสีที่ 581ppi โดยเป็นจอกระจกจาก Gorilla Glass 4 ขณะที่ปุ่มควบคุมหลัก 3 ปุ่มคือ ย้อนกลับ ปุ่มวินโดวส์ และค้นหา จะฝังอยู่ในหน้าจอดังนั้นจึงไม่มีปุ่มแยกออกมา ล่างหน้าจอจะมีช่องไมโครโฟนอยู่ด้วย

IMG_2144

ด้านหลังบริเวณกล้องจะนูนขึ้นมาจากตัวเครื่องเล็กน้อย แต่ด้วยดีไซน์ของฝาหลังทำให้คลุมขึ้นมาเหนือกระจกเลนส์ดังนั้นจึงช่วยปกป้องเลนส์ไปในตัว โดยบริเวณกระจกเลนส์จะเป็นที่อยู่ของเซ็นเซอร์กล้องความละเอียด 20 ล้านพิกเซล และไฟแฟลข 3 ดวง โดยมีช่องลำโพงอยู่ใกล้เคียง ตรงกลางจะมีสัญลักษณ์วินโดวส์และตัวอักษรระบุ PureView และ ZEISS

IMG_2193

เมื่อแกะฝาหลังออกมาจะพบกับแบตเตอรีขนาด 3,340 mAh อยู่ตรงกลาง พร้อมช่องงัดแบตเตอรี เมื่องัดออกมาจะพบกับช่องใส่นาโนซิมการ์ดอยู่ (เครื่องที่ได้มาทดสอบเป็น Dual SIM แต่เครื่องที่ขายจริงจะเป็นรุ่น 1 ซิม) ส่วนช่องใส่ไมโครเอสดีการ์ดจะแยกอยู่บริเวณส่วนล่าง แถวๆขั้วการเชื่อมต่ NFC

IMG_2158IMG_2156ด้านซ้ายถูกปล่อยว่างไว้ ด้านขวาเป็นปุ่มปรับระดับเสียง พร้อมกับปุ่มเปิดปิดเครื่องที่อยู่ติดกัน ให้ความรู้สึกคล้ายๆกับดีไซน์ของปุ่มบน BlackBerry Playbook ที่เคยออกแบบมาในลักษณะดังกล่าว ถัดลงมาเป็นปุ่มชัตเตอร์กล้องแบบ 2 จังหวะ สามารถกดลดไปจังหวะแรกเพื่อโฟกัส ก่อนกดอีกขั้นเพื่อบันทึกภาพ

IMG_2159IMG_2157ด้านบนตรงกึ่งกลางจะเป็นช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม. ด้านล่างเป็นพอร์ต USB-C ไว้ใข้สำหรับการชาร์จ เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ รวมถึงใช้ต่อกับ Microsoft Display Port เพื่อใช้งาน Continuum หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆด้วย

สำหรับอุปกรณ์ที่มีมาในกล่องนอกจากตัวเครื่อง Lumia 950 XL แบตเตอรี่ ก็จะมี Microsoft USB-C Fast Charger  Microsoft USB-C-USB 3.1 Cable ไว้เชื่อมต่อกับพอร์ต USB 2.0 / USB 3.0 และ คู่มือการใช้งาน

สเปก

Lumia 950XL ที่ถือเป็นรุ่นไฮเอนด์สุดของไมโครซอฟท์ในเวลานี้ จะทำงานบนหน่วยประมวลผล Qualcomm Snapdragon 810 ที่ะเป็น Octa-Core 2 GHz RAM 3 GB พื้นที่เก็บข้อมูลภายในตัวเครื่อง 32 GB สามารถใส่ไมโครเอสดีการ์ดเพิ่มได้สูงสุด 200 GB ทำงานบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 10

ในแง่ของการเชื่อมต่อรองรับทั้ง 3G ให้ความเร็วในการใช้งานสูงสุด 42.2/5.76 Mbps ส่วน 4G LTE เป็น Cat 4 ให้ความเร็ว 150/50 Mbps ขณะที่ตัว WiFi รองรับมาตรฐาน 802.11 a/b/g/n/ac บลูทูธ 4.1 GPS NFC และวิทยุFM

ฟีเจอร์เด่น

s01

ในส่วนของการใช้งาน Lumia 950XL ที่มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 10 จะใช้การแสดงผลบนหน้าจอหลักเป็นแบบ Live Tile ที่ผู้ใช้สามารถเลือกปรับขนาด สลับตำแหน่ง รวมไอคอนเป็นโฟลเดอร์ได้ด้วยตัวเอง ถ้าต้องการเข้าสู่หน้ารวมโปรแกรมใช้วิธีการปาดนิ้วจากขวาไปซ้ายได้ทันที

เมื่อลากนิ้วจากขอบบนลงมาจะเป็นการเรียกแถบการแจ้งเตือน และตั้งค่าปุ่มลัด ที่จะมีให้เลือกตั้งได้ตามต้องการ แต่พื้นฐานจะเป็นการเรียกใช้งานกล้อง เปิดปิด ไวเลส บลูทูธ การหมุนหน้าจอ โหมดเครื่องบิน การเชื่อมต่อ ฮ็อตสป็อต ความสว่างหน้าจอ โหมดประหยัดพลังงาน การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่น ไฟฉาย พิกัด สมุดโน้ต และเข้าสู่การตั้งค่าหลัก ส่วนการลากนิ้วจากขอบจอล่างขึ้นจะใช้เรียกปุ่มสั่งงาน

IMG_2153

Glance Screen ยังถือเป็นจุดเด่นสำคัญในส่วนของการแสดงผลหน้าจอขณะที่ไม่ได้เปิดใช้งานเครื่อง โดยตัวเครื่องจะขึ้นแสดงเวลา วัน วันที่ และผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าจะให้แสดงผลข้อมูลจากตารางนัดหมาย พยากรณ์อากาศ หรือกสนแจ้งเตือนจากโซเชียลมีเดียต่างๆได้

s02

ขณะที่หน้าจอปลดล็อกนอกจากการปัดเพื่อปลดล็อก หรือใส่รหัสปลดล็อกแล้วในวินโดวส์ 10 จะมาพร้อมกับฟังก์ชันอย่าง Windows Hello (Beta) ที่นำกล้องหน้ากับแสงอินฟาเรดมาช่วยในการปลดล็อกจากการสแกนดวงตา 2 ข้างของผู้ใช้ โดยก่อนอื่นต้องเข้าไปตั้งค่าเปิดใช้งาน Windows Hello (beta) ก่อน โดยตัวเครื่องจะทำการบันทึกภาพดวงตาทั้ง 2 ข้างไว้ เมื่อบันทึกเรียบร้อยก็พร้อมใช้งานได้ทันที

IMG_2149

การปลดล็อกเครื่องด้วย Windows Hello (beta) ผู้ใช้จำเป็นต้องยกตัวสมาร์ทโฟนขึ้นมาอยู่ในระดับสายตา โดยจะสามารถใช้งานได้กับผู้ที่ใส่แว่นตาใสปกติ แต่กรณีที่ใส่แว่นดำปกปิดดวงตาตัวเครื่องจะไม่สามารถอ่านค่าได้ และให้ใส่รหัสผ่านเพื่อปลดล็อกเครื่องแทน อย่างไรก็ตามความสามารถในการปลดล็อกนี้สามารถใช้งานในเวลากลางคืนได้ด้วย จากแสงสว่างของหน้าจอที่ส่องมายังใบหน้าผู้ใช้

อย่างไรก็ตาม Windows Hello (beta) ยังมีจุดบอดอยู่เช่นเดียวกับบนโน้ตบุ๊ก หรือ Microsoft Surface ที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 10 ขณะที่ชาร์จแบตคือเมื่อหน้าจอเครื่องติดขึ้นมา แล้วทำการสแกนไม่พบดวงตาผู้ใช้ก็จะทำงานไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงเวลาที่กำหนดให้ปิดหน้าจอถ้าไม่มีการใช้งาน จนบางทีอาจจะล็อกจนต้องใส่รหัสเองก็เป็นได้

ถัดมาที่พิเศษขึ้นมาใน Lumia 950XL ก็ถือเป็นเครื่องรุ่นแรกที่วางจำหน่ายและรองรับการใช้งาน Microsoft Continuum ที่ใช้สมาร์ทโฟนเชื่อมต่อกับจอ เมาส์ และคีย์บอร์ดเพื่อใช้งานแทนพีซีได้ทันที สามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดแบบเต็มๆของ Continuum ได้ที่ http://www.cyberbiz.in.th/review-microsoft-continuum

IMG_2170

นอกจากนี้ ก็จะมีฟีเจอร์ปลีกย่อยที่ใช้ความสามารถของ USB-C ทำให้เมื่อใช้งานร่วมกับที่ชาร์จที่แถมมาให้ในกล่องจะเป็นระบบชาร์จเร็ว จะทำให้สามารถชาร์จแบตเตอรีจาก 0 – 50% ได้ภายในเวลาประมาณ 30 นาที (ทีมงานทดสอบแล้วใช้ประมาณ 40 นาที) และถ้าต้องการชาร์จจนเต็มจะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 40 นาที ซึ่งถือว่าค่อนข้างเร็วสำหรับแบตเตอรีขนาด 3,340 mAh

ขณะเดียวกันตัว Lumia 950XL ก็รองรับการชาร์จแบบไร้สาย (Wireless Charge) บนมาตรฐานของ Qi ทำให้สามารถใช้งานร่วมกับที่ชาร์จไร้สายทั่วไปได้ทันที เพียงแต่ระยะเวลาชาร์จแบบไร้สายจะช้ากว่าการชาร์จแบบมีสายแน่นอน

IMG_2155

ย้อนมาถึงฟังก์ชันที่มากับตัวเครื่องและมีความน่าสนใจอีกจุดที่เห็นชัดเจนมากคือเรื่องของหน้าจอแสดงผล ที่ทางไมโครซอฟท์ อัดจอ 2K มาในขนาด 5.7 นิ้ว ทำให้ความละเอียดเม็ดสีสูงถึง 581ppi ดังนั้นการแสดงผลภาพจึงมีความคมชัดสูง ประกอบกับเทคโนโลยีการแสดงของแบบ Clear Black ที่ใช้มาตั้งแต่สมัยเป็น Nokia ทำให้การตัดกันของสีมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นด้วย เช่นเดียวกับมุมมองของหน้าจอที่รองรับการมองในมุมกว้างด้วย

s21

อย่างไรก็ตาม ไมโครซอฟท์ ได้มีการเพิ่มฟังก์ชันพิเศษในการใช้งานสมาร์ทโฟนจอใหญ่มาด้วย คือการที่ผู้ใช้สามารถกดปุ่ม วินโดวส์ ค้างเพื่อย่อหน้าต่างลงมาให้สามารถใช้งานด้วยมือข้างเดียว ถ้าต้องการกลับขึ้นไปใช้งานแบบเต็มจอก็สามารถกดบริเวณพื้นที่ว่างด้านบนได้ทันที และสามารถใช้งานได้กับเกือบทุกแอปพลิเคชัน

IMG_2166

อีกจุดที่ถือเป็นเรื่องสำคัญในสมาร์ทโฟนไฮเอนด์รุ่นหลังๆในตระกูล Lumia คงหนีไม่พ้นเรื่องของกล้องถ่ายภาพที่ยังคงจุดเด่นด้วยการนำเทคโนโลยี Pureview ร่วมกับเลนส์จาก ZEISS ที่ให้ความละเอียดภาพ 20 ล้านพิกเซล และสามารถบันทึกวิดีโอความละเอียด 4K ได้ด้วย

s14

อินเตอร์เฟสการใช้งานกล้องจะเน้นไปที่ความง่ายในการใช้งานเป็นหลัก คือผู้ใช้สามารถสลับโหมดระหว่างภาพนิ่ง และวิดีโอได้จากไอค่อนทางด้านขวา ถ้าต้องการปรับตั้งค่าลัดจะมีให้เลือกสลับกล้อง เปิดปิดแฟลช โหมด Rich Capture ในการบันทึกภาพและเลือกภาพที่ดีที่สุด  นอกจากนี้ยังสามารถเข้าไปเลือกตั้ง White Balance Focus ISO Speed Shutter และความสว่างได้จากแถบลัดตรงกลางบนหน้าจอ

หรือถ้าชอบการตั้งค่าแบบการเลื่อนปรับ ก็สามารถลากนิ้วตรงปุ่มชัดเตอร์ไปทางซ้าย เพื่อเรียกวงแหวนการตั้งค่าออกมาหมุนได้ เมื่อตั้งเสร็จก็ใช้การปาดนิ้วขวาไปซ้าย เพื่อเก็บวงแหวนและมาเล็งภาพแทนได้เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามโหมดการตั้งค่าระดับสูงจะเหมาะกับผู้ที่มีความรู้ในการถ่ายภาพบ้าง เพื่อให้ได้ภาพที่แตกต่างจากการถ่ายแบบอัตโนมัติทั่วไป

ถัดมาโหมดถ่ายวิดีโออย่างที่บอกไปว่าตัวกล้องสามารถบันทึกวิดีโอความละเอียด 4K (3840 x 2160 พิกเซล) ได้ในระดับ 30 เฟรมต่อวินาที แต่ถ้าเป็นวิดีโอ Full HD (1920 x 1080 พิกเซล) จะสามารถบันทึกได้ที่ 60 เฟรมต่อวินาที รวมถึงความสามารถในการถ่าย Slow Motionได้ด้วย

ทั้งนี้ ความโดดเด่นของกล้อง Lumia 950XL จะเน้นไปที่ความสามารถในการบันทึกภาพในที่แสงน้อย ที่เมื่อเทียบกับสมาร์ทโฟนแบรนด์อื่นแล้วให้ภาพที่สว่างกว่า จากการที่ดัน ISO ขึ้นไปถึง 3200 แต่ภาพที่ได้ก็ไม่มี Noise รบกวนจนเกินไป ขณะที่ภาพวิดีโอบันทึกออกมาอยู่ในเกณฑ์ที่ถือว่าดีมาก จะเสียอย่างเดียวเลยคือการใช้งานกล้องนานๆแล้วตัวเครื่องจะร้อนเร็วมาก

s15

นอกจากนี้ ไมโครซอฟท์ ก็ยังคงจุดเด่นในแง่ของฟังก์ชันการถ่ายภาพด้วยการนำ Lenses ในที่นี้หมายถึงแอปที่ใช้คู่กับกล้องเพื่อให้ถ่ายภาพอย่าง Lumia Selfie ที่มีระบบถ่ายภาพ Selfie อัตโนมัติเมื่อจับใบหน้าได้ Blink การถ่ายภาพต่อเนื่องและนำมาเรียงกันเป็นวิดีโอ

s19

ที่เหลือก็จะเป็นฟีเจอร์ที่มากับเครื่องทั่วไปอย่าง Microsoft EDGE หรือเว็บเบราว์เซอร์รุ่นใหม่ของไมโครซอฟท์ ที่จะซิงค์ข้อมูลการใช้งานจากบัญชีผู้ใช้มาได้ทันที พร้อมกับฟังก์ชันในการอ่านที่ผู้ใช้สามารถบันทึกหน้าเว็บที่ต้องการอ่านไว้ เพื่อมาเปิดอ่านทีหลังได้ ส่วนการใช้งาน การตอบสนองของเบราว์เซอร์ถือว่าทำได้ลื่นไหลดี

s13s16

ระบบนำทางที่ใช้แผนที่ของ Here ยังคงจุดเด่นในเรื่องของการที่ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดแผนที่มาเก็บไว้ในตัวเครื่อง เพื่อใช้นำทางเวลาไปต่างประเทศและไม่ได้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตก็สามารถใช้ได้ นอกจากนี้ ยังมีโหมดภาพ 3D หลายเมืองในต่างประเทศให้ดู เพียงแต่แอปฯยังมีอาการเด้งออกบ่อยมาก

s12

ในส่วนของโหมดการใช้งานโทรศัพท์ มาพร้อมระบบคาดเดารายชื่อจากชื่อ และเลขหมายที่พิมพ์เข้าไป เมื่อพิมพ์ชื่อหรือหมายเลขนำหน้าก็จะดึงลิสต์รายชื่อจากคอนเทคขึ้นมาแสดงผลทันที หน้าจอขณะสนทนาจะมีแสดงทั้งรูปภาพ ชื่อ เลขหมาย พร้อมเวลาในการสนทนา ส่วนล่างจะเป็นปุ่มลัดสำหรับพักสาย เพิ่มสาย เปิดบลูทูธ ปิดเสียง เปิดลำโพง เรียกปุ่มกด และกรณีที่ปลายสายมีการใช้งานสไกป์ก็จะเรียกใช้เป็นวิดีโอคอลได้ด้วย

กรณีที่มีสายเรียกเข้า น่าเสียดายที่ทางไมโครซอฟท์ ออกแบบการรับโทรศัพท์ออกเป็น 2 ขั้นตอน คือต้องสไลด์เพื่อปลดล็อกหน้าจอก่อน แล้วค่อยกดเลือกว่าจะรับสาย ตัดสาย หรือส่งข้อความกลับมาหา ไม่ใช่การสไลด์เพื่อรับสายทันที จุดนึงก็อาจจะให้รู้สึกยากในการใช้งาน

s20

แป้นคีย์บอร์ด ในส่วนของภาษาอังกฤษถือว่าทำออกมาได้ดี เพราะมาพร้อมกับระบบ Swype ให้ลากนิ้วเพื่อพิมพ์ได้ทันที แป้นพิมพ์มีขนาดใหญ่ใช้งานง่าย แต่ในส่วนของภาษาไทยด้วยการที่ตัวอักษรมีจำนวนมากกว่าทำให้แป้นพิมพ์บีบอัดมากกว่าภาษาอังกฤษ ขณะเดียวกันเลย์เอาท์บางปุ่มก็ถูกเปลี่ยนตำแหน่งอย่าง’ ‘’ ‘ที่เด้งลงไปอยู่ข้างสเปซบาร์แทน

การสลับภาษาทำได้ 2 วิธีคือจากการปัดนิ้วบริเวณสเปซบาร์ หรือกดปุ่ม ‘&123’ ค้างและเลือกภาษาที่ต้องการ นอกจากนี้ถ้ากดปุ่มสเปซบาร์ค้างจะสามารถปรับตำแหน่งของคีย์บอร์ดเลื่อนขึ้นลงได้ตามต้องการ อีกจุดที่ไมโครซอฟท์ทำมาได้ดีและต้องชมคือปุ่มทรงกลมสีฟ้าๆที่อยู่บนคีย์บอร์ด ผู้ใช้สามารถกดและลากนิ้วขึ้น ลง ซ้าย ขวา เพื่อเลื่อนตำแหน่งของเคอเซอร์ได้ ทำให้ไม่ต้องใช้นิ้วค่อยๆจิ้มหน้าจอให้ถูกตำแหน่งอีกต่อไป

s17

Outlook Mail ที่เป็นระบบเมลที่มากับเครื่องผู้ใช้สามารถใส่บัญชีอีเมลเข้าไปซิงค์ได้ทั้งบัญชีของทางไมโครซอฟท์ บัญชีของ Yahoo หรือ Gmail เพียงแต่ในแง่ของการแสดงผลยังมีปัญหาการถอดรหัส (Encode) บางอีเมลที่ส่งมาไม่ได้ ทำให้ไม่สามารถอ่านภาษาไทยได้

s05

ในส่วนของความบันเทิงจะมี Groove Music เป็นเครื่องเล่นเพลง โดยการลงเพลงก็สามารถนำไฟล์จากพีซีซิงค์ลงเครื่องได้ทันที ในที่นี้ตัวเครื่องเล่นสามารถเล่นไฟล์ Hi-def ที่เป็น Flac ได้ด้วย ฟังก์ชันการใช้งานก็จะเป็นแบบพื้นฐานทั่วไป ส่วนเครื่องเล่นวิดีโอก็สามารถดึงไฟล์ mp4 จากคอมมาเล่นได้ทันที ไม่ได้มีฟังก์ชันอะไรพิเศษเช่นเดียวกัน

s11

ในเครื่องยังมีการติดตั้ง Shazam มาให้ใช้งานโดยฟังก์ชันหลักของ Shazam คือการค้นหาเพลงที่ได้ยิน ซึ่งระบบทำออกมาได้ค่อยข้างดีใช้ระยะเวลาเพียงครู่เดียวก็สามารถค้นหาเพลงได้ เมื่อค้นเจอสามารถเปิดฟังตัวอย่างเพลง ดูเนื้อร้อง และเข้าไปชมคลิปวิดีโอได้ทันที นอกจากนี้ก็จะมีการแสดงผลชาร์จเพลงที่ถูกค้นหาบ่อยที่สุดมาให้ดูด้วย

s03s04

สำหรับแอปพลิเคชันที่พรีโหลดมาให้ในเครื่องจะประกอบไปด้วย นาฬิกาปลุก เครื่องคิดเลข กล้อง Continuum Cortana Excel File Explorer File&TV FM Radio Gadgets (ไว้จัดการอุปกรณ์เชื่อมต่อ) Groove Music Maps Messaging Microsoft Edge OneDrive OneNote Outlook ปฏิทิน โทรศัพท์ รูปภาพ พอดคาสต์ PowerPoint Shazam Skype Store บันทึกเสียง Waller (ยังไม่เปิดใช้ในไทย) พยากรณ์อากาศ Word Xbox และพวกข้อมูลข่าวทั้งหลาย

s06

ผู้ใช้สามารถเข้าไปดาวน์โหลดแอปเพิ่มเติมได้จากภายใน Windows Store ที่จะมีจัดเรียงแอปพลิเคชันที่น่าสนใจไว้ให้  รวมถึงคอนเทนต์อย่าง เพลง หนัง และเกม โดยแนะนำให้ผู้ใช้ทำการเข้าไปอัปเดตแอปพลิเคชันให้ใหม่อยู่เสมอภายใน และสามารถเข้าไปดูว่าดาวน์โหลดแอปพลิเคชันใดไปแล้วบ้างได้ที่ My Library

s18

สุดท้ายในส่วนของการตั้งค่า ถือว่าทำมาแล้วใช้านค่อนข้างยากสำหรับผู้ใช้ทั่วไปที่ไม่มีความรู้ เพราะไม่มีสัญลักษณ์ใดๆบอกเลย มีแต่ตัวอักษรอธิบายรายละเอียดการตั้งค่าเท่านั้น แต่ถ้าในมุมของผู้ที่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์พื้นฐานก็อาจมองว่าสะดวกในการใช้งาน เพราะสามารถเลือกค้นหาการตั้งค่าที่ต้องการจากแถบด้านบนได้ทันที

ทดสอบประสิทธิภาพ

s22

การทดสอบประสิทธิภาพจาก AnTuTu Benchmark ได้คะแนนรวม 29,265 คะแนน แบ่งเป็นคะแนน ขณะที่ในแง่ของการใช้งานแบตเตอรีขนาด 3,340 mAh กับขนาดหน้าจอ 5.7 นิ้ว ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ใช้งานได้ต่อเนื่องสบายๆใน 1 วัน แต่ถ้ามีการเปิดใช้งานหนักอย่างต่อเนื่องก็อาจจะอยู่ได้ถึงช่วงเย็นๆ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้งานของผู้ใช้แต่ละรายด้วย

สรุป

กลุ่มเป้าหมายหลักของ Microsoft Lumia 950XL คงหนีไม่พ้นกลุ่มนักธุรกิจ หรือผู้ที่ใช้ชีวิตอยู่กับงานเอกสาร พร้อมการทำงานร่วมกับ Microsoft Office เป็นหลัก แถมมาด้วยความสามารถเพิ่มเติมทางไลฟ์สไตลการใช้งานจากกล้องความละเอียดสูงระดับ PureView 20 ล้านพิกเซล พร้อมด้วยการอัดสเปกเครื่องระดับสูงมาให้ใช้งาน แต่ก็แลกมากับราคาจำหน่ายที่ค่อนข้างสูง

เพราะความสามารถต่างๆของ Lumia 950XL ต่างเน้นไปที่การเชื่อมระหว่างแพลตฟอร์ม วินโดวส์ 10 เข้าหากันเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งานเป็นหลัก แต่ด้วยการที่แอปพลิเคชันยังน้อยทำให้ผู้ใช้ที่ต้องการโทรศัพท์มาเล่น ไม่ได้เน้นทำงานมากนักอาจต้องเบือนหน้าหนี ประกอบกับราคาจำหน่ายที่เฉียด 3 หมื่นบาท ยิ่งทำให้กลุ่มลูกค้าหดแคบเข้ามาอีก

ดังนั้น ถ้าต้องการสมาร์ทโฟนมาช่วยทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และไลฟ์สไตล์ไม่ได้เน้นการโหลดแอปเพิ่มเติมมากนัก ใช้แต่แอปทั่วไปที่มากับตัวเครื่อง เช็กอีเมล เล่นโซเชียลเน็ตเวิร์ก ด้วยประสิทธิภาพของ Lumia 950XL ถือว่าตอบโจทย์ แต่ถ้าต้องการความบันเทิงมากกว่านี้อาจจะต้องลองมองหาสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการอื่นจะดีกว่า

ข้อดี

อุปกรณ์ที่ทำงานกับแพลตฟอร์ม Windows 10 ได้เต็มรูปแบบ

– Continuum เชื่อมต่อกับจอ และคีย์บอร์ดใช้ทำงาน Microsoft Office

ฟีเจอร์หลักๆอย่าง กล้อง Pureview แผนที่ Here ยังคงประสิทธิภาพในการใช้งาน

มาพร้อมกับ USB-C และมีพอร์ตแปลงมาให้ใช้งานกับยูเอสบีปกติ

ข้อสังเกต

จากการที่ใช้ซีพียู ​Snapdragon 810 เครื่องร้อนเร็วมากเวลาใช้งาน

มีอาการเครื่องรีสตาตเองบ่อยครั้ง (เครื่องที่ได้มาเป็นเครื่องทดสอบ ไม่ใช่เครื่องที่วางจำหน่ายในประเทศไทย)

เหมาะกับผู้ที่ใช้ทำงานร่วมกับ Microsoft Office เป็นหลัก แอปทั่วไปยังมีปริมาณน้อยอยู่

ฝาหลังด้านล่างไม่แน่นไปกับตัวเครื่อง ทำให้กดแล้วยุบๆ

Gallery

]]>