Sony – CBIZ Reviews – MGR Online https://cyberbiz.mgronline.com เว็บไซต์รีวิวอุปกรณ์ ไอที ไฮเทค เป็นส่วนหนึ่งของผู้จัดการออนไลน์ Tue, 29 Dec 2020 11:51:35 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.0 Review : Sony Xperia 5 II เครื่องแรง กล้องดี จับถือถนัดมือ https://cyberbiz.mgronline.com/review-sony-xperia-5-ii/ Tue, 29 Dec 2020 11:49:11 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=34406

โซนี่ (Sony) ยังคงความโดดเด่นในการผลิตสมาร์ทโฟนในขนาดตัวเครื่องที่พกพาใช้งานง่าย ด้วยการเลือกผลิตสมาร์ทโฟนในสัดส่วนหน้าจอแบบ 21:9 ต่อเนื่องจากในช่วงกลางปีที่นำเสนอ Xperia 1 II ตามด้วยการส่ง Xperia 5 II สู่ตลาดในช่วงปลายปี

ความโดดเด่นของ Xperia 5 II ถือพัฒนาขึ้นมาจากรุ่นก่อนหน้าคือ ปรับหน้าจอแสดงผลให้รองรับ Refresh Rate 120 Hz ในขนาดหน้าจอ 6.1 นิ้ว ใส่สเปกจัดเต็มมาด้วย Snapdragon 865 5G ทำให้รองรับการใช้งานยาวๆ ต่อไปในอนาคต

อีกจุดก็คือการนำเทคโนโลยีที่โซนี่ มีความเชี่ยวชาญทั้งด้านภาพ เสียง และกล้องถ่ายภาพ มารวมกันไว้ให้ใช้งานในสมาร์ทโฟนเครื่องนี้ ทำให้โดยรวมแล้ว รุ่นนี้จะเข้ามาตอบโจทย์ผู้ที่ช่ืนชอบ โซนี่ และต้องการเครื่องในระดับราคาไม่เกิน 30,000 บาท ได้อย่างแน่นอน

ข้อดี

  • ตัวเครื่องขนาดพอดีมือ
  • หน้าจอรองรับ Refresh Rate 120 Hz
  • กันน้ำ กันฝุ่น IP65/68
  • มีช่องเสียบหูฟัง 3.5 มม.

ข้อสังเกต

  • รองรับ 5G บนคลื่น 700 MHz ทำให้ต้องรอโอเปอเรเตอร์ในไทยขยายพื้นที่ให้บริการ
  • ไม่รองรับการชาร์จไร้สาย

การออกแบบ

Sony Xperia 5 II ถือว่าอยู่ในกลุ่มสมาร์ทโฟนที่มีขนาดตัวเครื่องเล็ก พกพาง่าย เพราะสามารถถือใช้งานได้ด้วยมือข้างเดียว จากการที่โซนี่เลือกใช้สัดส่วนหน้าจอแบบ CinemaWide 21:9 ทำให้มือถือขนาดหน้าจอ 6.1 นิ้ว มาในทรงยาวคล้ายรีโมททีวีเช่นเดิม

จนกลายเป็นจุดเด่นที่ทำให้ผู้ที่ชื่นชอบโซนี่ ให้ความสนใจ เพราะจะได้มือถือที่ถือใช้งานมือเดียวได้สะดวก ในขนาดตัวเครื่อง 158 x 68 x 8 มิลลิเมตร น้ำหนัก 163 กรัม นอกจากนี้ ตัวเครื่องยังกันน้ำ กันฝุ่นมาตรฐาน IP65/68 อีกด้วย


ในส่วนของหน้าจอที่ให้มาเป็นกระจก Corning Gorilla Glass 6 ขนาดหน้าจอ 6.1 นิ้ว ที่เป็นจอแบบ OLED HDR ความละเอียด FHD+ (2520 x 1080 พิกเซล) ความน่าสนใจก็คือมากับอัตรารีเฟรชที่ 120 Hz พร้อมเทคโนโลยี Motion Blur Reduction 240 Hz และอัตราการสัมผัสที่ 240 Hz

ส่วนบนของหน้าจอมีกล้องหน้าความละเอียด 8 ล้านพิกเซล f/2.0 ซึ่งด้วยการที่โซนี่ ไม่ได้เลือกใช้จอแบบเจาะรู ทำให้ยังมีการเว้นพื้นที่บริเวณขอบบน และขอบล่างของหน้าจออยู่ ซึ่งกลายเป็นช่วยให้เวลาใช้งานตัวเครื่องในแนวนอน อุ้งมือจะไม่ไปสัมผัสโดนหน้าจอในขณะถือใช้งานด้วย

รอบตัวเครื่องของ Xperia 5 II ทางฝั่งซ้าย จะมีช่องใส่ซิมการ์ดแบบไฮบริด ที่สามารถเลือกใส่นาโนซิมการ์ด พร้อมกับ MicroSDXC ความจุสูงสุด 1 TB ที่จะมีซีลยางปิดไว้เพื่อป้องกันน้ำกันฝุ่น ทำให้ไม่ต้องใช้งานร่วมกับเข็มจิ้มซิม

ทางฝั่งขวา จะมีทั้งปุ่มเพิ่มลดเสียง ปุ่มเปิดเครื่องที่ใช้เป็นจุดสแกนลายนิ้วมือเพื่อปลดล็อกตัวเครื่อง ปุ่มลัดสำหรับเรียกใช้งาน Google Assistant และปุ่มเรียกใช้งานกล้อง ที่เปลี่ยนเป็นชัตเตอร์ในการถ่ายภาพเมื่อเข้าสู่โหมดกล้องด้วย

ด้านบนมีช่องเสียบหูฟัง 3.5 มม. มาให้ใช้งานเพื่อให้ได้คุณภาพเสียงที่ดีขึ้น และลดสัญญาณรบกวนลดเหลือน้อยกว่า 20dB ด้านล่าง จะมีช่องไมโครโฟน และ USB-C ให้เสียบชาร์จแบตเตอรี และเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ตามปกติ

ด้านหลัง Xperia 5 II มากับกล้องหลัก 3 เลนส์ ที่นำชิ้นเลนส์ของ ZEISS มาใช้งาน ความละเอียดเท่ากันทั้งหมดที่ 12 ล้านพิกเซล ใน 3 ระยะเลนส์ เริ่มต้นที่เลนส์ปกติ 24 มม. f/1.7 ตามด้วยเลนส์ซูม 70 มม. f/2.4 และเลนส์มุมกว้าง 16 มม. f/2.2 พร้อมกับไฟแฟลช โดยมีสัญลักษณ์ NFC อยู่ข้างๆ กล้องด้วย

ภายในตัวเครื่องให้แบตเตอรีมาขนาด 4000 mAh รองรับการชาร์จเร็วแบบ USB PD (USB Power Delivery) เมื่อใช้งานร่วมกับอะเดปเตอร์ที่ปล่อยไฟ 21W ขึ้นไป จะสามารถชาร์จได้ 50% ภายใน 30 นาที

ในส่วนของสเปกตัวเครื่อง มากับซีพียู Qualcomm Snapdragon 865 RAM 8 GB พื้นที่เก็บข้อมูลในตัวเครื่อง 256 GB ทำงานบนระบบปฏิบัติการ Android 10 และรองรับการอัปเกรดเป็น Android 11 ในอนาคตอันใกล้นี้

ขณะที่การเชื่อมต่อรองรับ WiFi 6 บลูทูธ 5.1 พร้อมระบบระบุพิกัด (GPS) รวมถึง 4G และ 5G เพียงแต่ไม่รองรับการใช้งานบนคลื่น 2600 MHz ทำให้ต้องรอโอเปอเรเตอร์ในไทยนำคลื่น 700 MHz มาให้บริการ 5G ก่อนถึงจะสามารถใช้งานได้ หรือรอการประมูลคลื่น 3500 MHz ที่เป็นอีกหนึ่งคลื่นมาตรฐานของ 5G

รวมความเชี่ยวชาญ โซนี่ สู่มือถือ

ด้วยการที่จุดเด่นของสมาร์ทโฟน Xperia ของโซนี่ คือการนำความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีทั้งการแสดงผล จากโทรทัศน์ Bravia กล้องจาก Alpha และระบบเสียงระดับ Hi-Res Audio มาผสมผสานออกมากลายเป็นสมาร์ทโฟนที่ครบเครื่อง

Sony Xperia 5 II จึงกลายเป็นสมาร์ทโฟนที่มีความครบเครื่องทั้งเรื่องของการถ่ายภาพวิดีโอ ภาพนิ่ง ระบบการแสดงผลบนหน้าจอ CinemaWide ประสบการณ์เล่นเกม จากขุมพลังของ Snapdragon 865 รวมกับการที่มีช่องเสียบหูฟัง 3.5 มม. มาให้ใช้งานคู่กับหูฟัง จึงทำให้รุ่นนี้มีความครบเครื่องในแง่ของการส่งมอบความบันเทิงเป็นอย่างมาก

แน่นอนว่า เมื่อเทียบกับ Xperia 1 II ที่วางจำหน่ายไปก่อนหน้า อาจจะมีบางอย่างเช่นเรื่องขนาดของหน้าจอที่ใหญ่กว่า (6.5 นิ้ว ความละเอียด 4K) แต่เป็น Refresh Rate 60 Hz กล้องหลักมีเซ็นเซอร์ 3D มาช่วยในการโฟกัสเพิ่มเติม และขนาดเครื่องที่ใหญ่กว่า

แต่เมื่อดูในแง่ของความคุ้มค่าแล้ว Xperia 5 II ในระดับราคาที่ต่ำกว่า เพราะเปิดราคามา 28,990 บาท แม้จะได้จอเล็กลงเป็น 6.1 นิ้ว แต่ในภาพรวมของการใช้งานแล้ว ถือว่าพกพาง่าย รองรับการแสดงผลในระดับ Refresh Rate 120 Hz ทำให้การเล่นเกมทำได้ลื่นไหลมากกว่าด้วย

ทีนี้ มาเจาะลึกถึงความสามารถของ Xperia 5 II กันบ้าง เริ่มจากจุดเด่นที่สุดของรุ่นนี้คือหน้าจอขนาด 6.1 นิ้ว นั้นมีการนำชิป X1 สำหรับมือถือ ในการแสดงผลเทคโนโลยี Bravia HDR ช่วยให้คอนเทนต์ที่รับชมมีสีสัน และคมชัดมากขึ้นกว่าปกติ ขณะเดียวกัน ประสบการณ์เล่นเกมบนหน้าจอสัมผัสที่แสดงผลแบบ 120 Hz และรองรับอัตราการสัมผัสที่ 240 Hz จะช่วยให้เล่นเกมได้สนุกขึ้นด้วย

ถัดมาคือเรื่องของกล้องที่โซนี่ เลือกนำเทคโนโลยีกล้องจาก Alpha มาช่วยเสริมประสิทธิภาพของกล้องบนสมาร์ทโฟน ทำให้ Xperia 5 II สามารถตรวจจับโฟกัสดวงตาแบบอัตโนมัติ ช่วยให้ถ่ายภาพผู้คน หรือสัตว์ที่กำลังเคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็ว

ประกอบกับการนำเลนส์ ZEISS มาใช้ร่วมกับเซ็นเซอร์กล้องหลัก Exmor RS ขนาด 1/1.7 นิ้ว ทำให้สามารถเก็บรายละเอียดได้คมชัด มีการนำระบบประมวลผลภาพ BIONZ X มาใช้ให้ถ่ายภาพในที่แสงน้อยได้ดียิ่งขึ้น

โดยความน่าสนใจคือโหมดถ่ายภาพที่ให้มาใน Xperia 5 II คือการมีแอปกล้องให้เลือกใช้งานทั้งสำหรับการใช้งานทั่วไปแบบอัตโนมัติ จนถึงแอปฯ ถ่ายภาพสำหรับมืออาชีพ ให้เลือกปรับแต่งการตั้งค่าต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ช่วยให้สามารถสร้างสรรค์ภาพนิ่ง และวิดีโอได้อย่างที่ต้องการ

ทดสอบประสิทธิภาพ

สำหรับประสิทธิภาพของของ Sony Xperia 5 II นั้นต้องยอมรับว่าอยู่ในกลุ่มของสมาร์ทโฟนเรือธงอยู่แล้ว ทำให้รองรับการใช้งานต่างๆ บนสมาร์ทโฟนได้ครบถ้วน และที่สำคัญเมื่อจอมีขนาดเล็กลงทำให้การใช้งานแบตเตอรีต่อการชาร์จทำได้นานขึ้นมากกว่า 13 ชั่วโมง

สรุป

สำหรับผู้ที่สนใจ Sony Xperia 5 II โดยเฉพาะผู้ที่ชื่นชอบสมาร์ทโฟนขนาดพกพาง่าย การเปิดราคาค่าตัวที่ 28,990 บาท ถือว่าไม่ใช่ราคาที่สูงเกินไปนัก เพราะได้เข้าถึงเทคโนโลยีทั้งเรื่องภาพ กล้อง เสียง จากโซนี่ รวมถึงการเลือกใช้ซีพียูระดับไฮเอนด์ ทำให้สามารถใช้งานได้ต่อเนื่องยาวๆ

อย่างไรก็ตาม Xperia 5 II อาจจะไม่เหมาะกับผู้ที่ต้องการใช้งาน 5G ในไทยเท่าไหร่ เพราะตัวเครื่องไม่ได้รองรับคลื่น 2600 MHz ซึ่งเป็นคลื่นหลักที่โอเปอเรเตอร์นำมาให้บริการ แต่ในอนาคตถ้ามีการนำคลื่น 3500 MHz มาประมูล เครื่องรุ่นนี้จะรองรับการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพแน่นอน

Gallery

]]>
Review : Sony Xperia 1 II แฟลกชิปครบเครื่องจอ 21:9 กล้องระดับโปร https://cyberbiz.mgronline.com/review-sony-xperia-1-ii/ Tue, 06 Oct 2020 04:18:05 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=33819

การนำสมาร์ทโฟนเรือธง Sony Xperia 1 II (1 mark 2) เข้ามาทำตลาดในประเทศไทยครั้งนี้ ถือเป็นการตอบรับข้อเรียกร้องของบรรดาสาวกอารยะธรรมโซนี่ในประเทศไทยได้เป็นอย่างไร

เพราะใน Xperia 1 II มีการนำเทคโนโลยีที่น่าสนใจของ Sony เข้ามารวบรวมไว้ให้ได้ใช้งานกัน ทั้งเรื่องของจอแสดงผล กล้อง จนถึงเสียง ที่โซนี่มีความเชียวชาญเป็นพิเศษ เรียกได้ว่าให้มาสุดครบ พร้อมประสิทธิภาพในการประมวลผลจากซีพียูอย่าง Snapdragon 865

จุดเด่นหลักของรุ่นนี้เลยคือหน้าจอความละเอียด 4K โหมดถ่ายภาพระดับโปร พร้อมปุ่มชัตเตอร์แยก ทั้งภาพนิ่ง และภาพวิดีโอ ที่ให้ความละเอียดสูงสุด 4K เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม. มาให้ใช้งานด้วย และยังรวมไปถึงโหมดเกมให้ใช้งานด้วย

ข้อดี

  • จอแสดงผล OLED ขนาด 6.5 นิ้ว ความละเอียด 4K
  • กล้องหลัก 12 ล้านพิกเซล เลนส์ ZEISS รองรับการถ่ายภาพ RAW
  • ถ่ายภาพต่อเนื่อง 20 รูปต่อวินาที
  • ช่องเสียบหูฟัง 3.5 มม.
  • กันน้ำ กันฝุ่น IP68

ข้อสังเกต

  • ตัวเครื่องค่อนข้างยาว ทำให้เวลาใส่กระเป๋ากางเกงจะเลยออกมา
  • ฝาหลังเป็นกระจกเงา ทำให้เป็นรอยนิ้วมือง่าย
  • รองรับ 5G บนคลื่น 700 MHz (ยังไม่เปิดให้บริการในไทย)

รวมเทคโนโลยีของ Sony

ด้วยการที่โซนี่ ถือเป็นบริษัทพัฒนาสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีเทคโนโลยีขั้นสูง มานำเสนอให้แก่ผู้บริโภคเสมอมา ทั้งในกลุ่มผลิตภัณฑ์โทรทัศน์ กล้องถ่ายภาพ และอุปกรณ์หูฟัง ที่ในแต่ละตลาดถือว่าได้รับความนิยมเป็นลำดับต้นๆ อยู่แล้ว ทั้งโทรทัศน์ในตระกูล Bravia กล้องมิลเลอร์เลส Alpha และหูฟังบลูทูธคุณภาพสูง

ดังนั้นจึงไม่แปลกที่โซนี่ จะนำเทคโนโลยีเหล่านั้น มารวมกันบนสมาร์ทโฟน เพื่อนำเสนอแฟลกชิปสมาร์ทโฟนที่ดึงจุดเด่นในทุกๆ ด้านของโซนี่ มาให้กลุ่มผู้ที่ชื่นชอบโซนี่ ได้เลือกหาใช้งาน และที่สำคัญคือการทำงานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์เหล่านี้ ภายในอีโคซิสเตมส์ก็น่าสนใจ

เริ่มกันที่หน้าจอแสดงผล Sony Xperia 1 II มากับหน้าจอขนาด 6.5 นิ้ว ที่เป็น HDR OLED ในสัดส่วน 21:9 CinemaWide ด้วยการนำเทคโนโลยี Bravia HDR มาช่วยเพิ่มคุณภาพสี และความคมชัดของภาพ รวมถึงการนำซอฟต์แวร์มาช่วยลดการเบลอของภาพในระดับ 90Hz

ตามด้วยเทคโนโลยีด้านเสียงอย่าง Dolby Atmos ที่ทำงานร่วมกับ Sony Picture Entertainment ให้เสียงแบบรอบด้าน และที่สำคัญรุ่นนี้ยังเป็นสมาร์ทโฟนรุ่นแรกที่จำลองเสียงแบบ 360 Reality Audio ได้ด้วย ส่วนสายฟังเพลงได้มีการนำ AI มาช่วยเพิ่มคุณภาพเสียงแบบเรีบลไทม์ ทำให้ได้เสียงที่ดีขึ้นทั้งการเชื่อมต่อแบบมีสาย และไร้สาย

ต่อเนื่องกันที่กล้องถ่ายภาพ Xperia 1 II มากับเลนส์กล้องหลัก 3 เลนส์ด้วยกัน ประกอบด้วยเลนส์ 16 มม. ที่ใช้ทำหน้าที่เลนส์มุมกว้าง เลนส์ 24 มม. สำหรับมุมถ่ายภาพปกติ และเลนส์ 70 มม. สำหรับเลนส์เทเลโฟโต้ โดยทั้ง 3 ระยะนี้ ถือเป็นช่วงเลนส์ที่ช่างภาพมืออาชีพนิยมใช้งานกัน

ความพิเศษที่เพิ่มเติมมาคือการร่วมมือกันระหว่างโซนี่ และ ZEISS ผู้ผลิตเลนส์ชั้นนำของโลก นำ ZEISS T มาเคลือบเพื่อลดการสะท้อนของแสง และช่วยให้ภาพคมชัดมากขึ้น ภายในยังมีการใส่เทคโนโลยีการถ่ายภาพอย่าง Real-Time Eye AF หรือการตรวจจับโฟกัสที่ดวงตาอัตโนมัติมาให้

นอกจากนี้ Xperia 1 II ยังเป็นสมาร์ทโฟนรุ่นแรกที่สามารถโฟกัสได้ต่อเนื่องถึง 60 เฟรมต่อวินาที ช่วยให้สามารถถ่ายภาพแบบออโตโฟกัสได้มากที่สุด 20 ภาพต่อวินาที (เฉพาะในโหมดโปรเลนส์ 24 มม.) ด้วยเช่นเดียวกัน ด้วยการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยี และเซ็นเซอร์ 3D iToF มาช่วย

โดยในการใช้งานกล้องถ่ายภาพบน Xperia 1 II จะมีแอปพลิเคชันมาให้เลือกใช้งาน 2 รูปแบบคือ แอปกล้องถ่ายภาพปกติ ที่ผู้ใช้งานทั่วไปชื่นชอบ ด้วยความง่ายในการแตะถ่ายภาพได้แบบง่ายๆ หรือใช้ร่วมกับปุ่มชัตเตอร์ข้างตัวเครื่องก็ได้เช่นกัน

ส่วนผู้ที่ชื่นชอบการปรับแต่งเพิ่มขึ้นมาในลักษณะของมืออาชีพ โซนี่ มีการเพิ่มแอปอย่าง Photography Pro เข้ามา ที่เปิดให้ผู้ใช้เลือกโหมดถ่ายภาพอย่าง Auto P (ปรับ ISO) หรือ M (ปรับความเร็วชัตเตอร์) มาให้เลือก พร้อมเลือกปรับการโฟกัส วัดค่าแสง เลือกเลนส์ที่ใช้งาน และที่สำคัญคือรองรับการถ่ายภาพแบบไฟล์ RAW ให้นำไปปรับแต่งต่อได้

ขณะเดียวกัน โซนี่ ให้ความสำคัญกับการบันทึกวิดีโอมากยิ่งขึ้นด้วย Cinematography Pro ที่เปิดให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างโปรเจกต์ในการถ่ายภาพแบบ Cinematic โดยสามารถเลือกความละเอียดของภาพได้สูงสุดที่ 4K60fps เลือกปรับแต่งความเร็วชัตเตอร์ แสดงแถบวัดค่าแสงให้เห็นทันที และรองรับการแตะเพื่อโฟกัส ทำให้การถ่ายวิดีโอทำได้สะดวกขึ้น

อย่างไรก็ตาม ในการถ่ายภาพด้วย Cinematography Pro นั้น จะมีข้อจำกัดอย่างหนึ่งคือ เมื่อไหร่ที่สร้างโปรเจกต์ขึ้นมา แล้วเลือกความละเอียดของวิดีโอที่ถ่ายไปแล้วนั้น ทั้งโปรเจกต์นั้นจะต้องใช้ความละเอียดเท่ากันทั้งหมด ทำให้ถ้าต้องการสลับไปถ่ายภาพที่ความละเอียดอื่นจะต้องสร้างโปรเจกต์ใหม่ขึ้นมาแทน

เมื่อเห็นถึงเทคโนโลยีภาพ และเสียงที่น่าสนใจแล้ว ก็มาถึงเรื่องของการประมวลผล ด้วยการที่โซนี่ เป็นผู้ผลิตเครื่องเกมคอนโซลอย่าง PlayStation ทำให้ Xperia 1 II รองรับการเชื่อมต่อกับจอยเกม Dualshock 4 เพื่อใช้เล่นเกมได้อย่างสมบูรณ์แบบ

รวมถึงการเพิ่มโหมด Game Booster มาให้ผู้ที่ชื่นชอบเล่นเกมผ่านสมาร์ทโฟนใช้งาน โดยจะมีการเคลียแรม เพื่อรีดประสิทธิภาพของตัวเครื่องออกมาให้มากที่สุด พร้อมเปิดโหมดป้องกันการรบกวน ทำให้เล่นเกมได้อย่างสบายใจ

ส่วนเรื่องของแบตเตอรีนั้นก็ไม่ต้องเป็นห่วงเพราะที่ให้แบตมา 4,000 mAh นั้น ถือว่าเพียงพอกับการใช้งานได้ตลอดวันสบายๆ ยกเว้นถ้ามีการถ่ายภาพ หรือวิดีโอหนักๆ อาจจะอยู่ไม่ถึง แต่ตัวเครื่องก็มีระบบชาร์จเร็วมาให้ สามารถชาร์จแบตได้ 50% ภายในเวลา 30 นาที และรองรับการชาร์จไร้สายด้วย

ที่น่าสนใจคือ โซนี่ มีระบบที่จะมาช่วยยืดระยะเวลาการใช้งานแบตเตอรี ในชื่อ Battery Care ที่จะปรับการชาร์จไฟให้เข้ากับพฤติกรรมการใช้งาน เช่นในช่วงเวลานอนจะบรรจุแบตเตอรีขึ้นไปสูงสุดที่ 90% และจะเริ่มชาร์จต่อให้เต็ม 100% ในช่วงที่เราใกล้ตื่นนอนเป็นต้น

ทั้งนี้ เพื่อให้ตัวเครื่องนี้สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น โซนี่ เลือกนำระบบกันน้ำกันฝุ่น IP58/68 มาให้ใช้งาน เพียงแต่ต้องแน่ใจว่าปิดพอร์ตของช่องใส่ซิมให้แน่น เพื่อป้องกันน้ำเข้าเครื่อง ส่วนกระจกทั้งหน้า และหลังเลือกใช้ Gorilla Glass 6 ที่ให้ทั้งความแข็งแรง และสวยงาม

โหมดใช้งานที่น่าสนใจ

เมื่อตัวจอแสดงผลของ Xperia 1 II เป็นแบบจอยาว ทำให้ในการใช้งานโซนี่ ได้นำเสนอ Multi Mode มาให้ใช้งานแอปแบบ 2 หน้าจอ พร้อมกัน โดยผู้ใช้สามารถเลือกจับคู่แอปที่ต้องการใช้งาน และเซฟเก็บไว้เป็นคู่ที่ใช้งานบ่อยๆ ได้

โดยเมื่อแบ่งหน้าจอแล้ว ก็สามารถเลือกใช้งานได้ทั้งแนวตั้ง และแนวนอน หรือถ้าต้องการเลื่อนปิดก็สามารถกดที่แถบกลางระหว่างหน้าจอเพื่อเลื่อนปรับขนาด จนถึงสุดขอบจอเพื่อปิดได้ทันที

นอกจากนี้ เพื่อให้สั่งงานตัวเครื่องมือเดียวได้สะดวกขึ้น โซนี่ มีการเพิ่มฟีเจอร์อย่าง SideSense ขึ้นมา ให้ผู้ใช้แตะ หรือปัด บริเวณขอบจอเพื่อสั่งงานได้ อย่างการแตะขอบจอเพื่อเปิด MultiMode ชึ้นมาให้เลือกแอปที่ต้องการใช้งานได้ทันที

การออกแบบตัวเครื่อง

Sony Xperia 1 II ถือว่าเป็นสมาร์ทโฟนในรูปทรงยาว จากสัดส่วนจอแบบ 21:9 และยังมีการเว้นระยะขอบบนสำหรับกล้องหน้าด้วย ทำให้ขนาดตัวเครื่องโดยรวมอยู่ที่ 166 x 72 x 7.9 มิลลิเมตร น้ำหนัก 181 กรัม วางจำหน่ายด้วยกัน 2 สี คือดำ และม่วง

ด้านหน้านอกจากตัวจอขนาด 6.5 นิ้ว จะมีกล้องหน้าความละเอียด 8 ล้านพิกเซล 4f/2.0 ให้มุมมองภาพ 82 องศา อยู่ที่ขอบด้านบน ซึ่งยังไม่ได้ใช้กล้องหน้าแบบเจาะรู หรือรอยแหว่งแต่อย่างใด

ส่วนด้านหลัง จากกที่เลือกใช้กระจกทำให้ตัวเครื่องสวยงาม แต่ก็แลกมากับการที่เก็บรอยนิ้วมือได้ง่าย ทำให้เวลาใช้งานจะต้องเช็ดบ่อยๆ หรือเลือกใส่เคสใช้งานแทน โดยจะมีชุดเลนส์กล้องอยู่ที่ด้านบน ประกอบด้วยเลนส์ 12 ล้านพิกเซล ทั้ง 3 ระยะ โดยเลนส์หลัก 24 มม. มากับ f/1.7 70 มม. เป็น f.24 และ 16 มม. f/2.2 ซึ่งจะทำงานแยกจากกันอย่างชัดเจน

รอบๆ ตัวเครื่องทางฝั่งขวา นอกจากปุ่มปรับระดับเสียงแล้ว ยังมีปุ่มเปิด-ปิดเครื่อง ที่มาพร้อมกับเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือมาให้ใช้ ซึ่งโซนี่ ทำออกมาได้เป็นอย่างดี เพราะอยู่ในระยะที่จับถือตัวเครื่องอยู่แล้ว และยังมีปุ่มชัตเตอร์กล้องให้ใช้ด้วย

ทางฝั่งซ้ายจะมีช่องสำหรับใส่ซิมการ์ดแบบไฮบริด เลือกได้ว่าจะใส่ 2 นาโนซิม หรือใส่ซิมคู่กับไมโครเอสดีการ์ดได้สูงสุด 1 TB เพื่อให้สามารถเก็บภาพวิดีโอ 4K ได้อย่างเต็มที่

ด้านบนจะมีช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม. มาให้ใช้งาน สำหรับผู้ที่ชื่นชอบคุณภาพเสียงจากหูฟังแบบมีสาย ส่วนด้านล่างเป็นพอร์ต USB-C ใช้สำหรับชาร์จ เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ และใช้งานเป็น DisplayPort ร่วมกับอะเดปเตอร์ให้ความละเอียดสูงสุดที่ 4K 60fps

อุปกรณ์ที่ให้มาในกล่อง ประกอบไปด้วยตัวเครื่อง หูฟังแบบ In-Ears อะเดปเตอร์ชาร์จ และสาย USB-C ในกล่องไม่มีเข็มจิ้มซิมมาให้ เพราะเป็นพอร์ตแบบฝาปิดทำให้แกะได้เลย ส่วนที่เหลือก็จะเป็นคู่มือการใช้งาน

สเปก

ตัวเครื่อง Xperia 1 II ใช้งานหน่วยประมวลผล Qualcomm Snapdragon 865 5G ให้ RAM 8 GB พื้นที่เก็บข้อมูล 256 GB ทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 10 ที่เรียกได้ว่าแทบจะไม่มีการปรับแต่งเพิ่มเติม

ด้านการเชื่อมต่อตัวเครื่องรองรับถึง 5G แต่เป็นคลื่นความถี่มาตรฐานอย่าง 3500 MHz ที่ยังไม่เปิดประมูลในไทย และคลื่น 700 MHz ที่คาดว่าจะเริ่มให้บริการในไทยได้ช่วงต้นปี 2564 ที่เหลือทั้ง WiFi 6 บลูทูธ 5.1 ระบบระบุพิกัดอย่าง A-GNSS NFC ถือว่าให้มาครบถ้วน

ทดสอบประสิทธิภาพ

ในส่วนของการใช้งาน Xperia 1 II เรียกได้ว่า Snapdragon 865 ไม่ทำให้ผิดหวังอยู่แล้ว การเป็นเรือธงที่มากับซีพียูนี้ ทำให้มั่นใจในแง่ของการใช้งานได้อย่างแน่นอน

ในขณะที่การใช้งานแบตเตอรี ถือว่าทำออกมาได้ประทับใจ ด้วยการใช้งานต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 11 ชั่วโมง ที่สำคัญโซนี่ มากับโหมดประหยัดพลังงานอย่าง Stamina Mode ที่จะช่วยยืดระยะเวลาการใช้งานบนแบตเตอรีออกไปอีกในกรณีฉุกเฉินที่สามารถเปิดใช้ได้

สรุป

Sony Xperia 1 II ได้กลายมาเป็นแฟลกชิปสมาร์ทโฟนอีกรุ่นที่น่าสนใจในช่วงระดับราคา 35,990 บาท โดยเฉพาะผู้ที่ชื่นชอบในการถ่ายภาพ และบันทึกวิดีโอแบบโปร รุ่นนี้ไม่ทำให้ผิดหวังแน่นอน

รวมถึงผู้ที่ต้องการเครื่องประสิทธิภาพสูง ตัวเครื่องจับถือได้ถนัดมือ เพราะตัวเครื่องจะเล็ก ค่อนไปทางสูงแทน จากจอ 21:9 ที่ให้อรรถรสในเพื่อความบันเทิงได้อย่างเต็มที่รุ่นหนึ่งเลยก็ว่าได้

Gallery

]]>
Review : Sony Xperia XZ Premium สมาร์ทโฟนครบเครื่อง เด่นทั้งจอ เสียง เน็ตเวิร์ก และกล้อง https://cyberbiz.mgronline.com/review-sony-xperia-xz-premium/ Mon, 10 Jul 2017 07:07:19 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=26481

น่าสนใจว่าความโดดเด่นของ Sony Xperia XZ Premium จะกลับมาเรียกศรัทธาให้แก่สาวกอารยะธรรมโซนี่ ได้หรือไม่ เพราะด้วยการที่วางตัวเป็นแฟลกชิปสมาร์ทโฟนประจำปีนี้ XZ Premium จึงรับภาระหนักในการรุกตลาดไฮเอนด์ไปโดยปริยาย

ที่ผ่านมา โซนี่ ค่อนข้างจะโฟกัสในตลาดสมาร์ทโฟนระดับพรีเมียมเป็นหลัก และถือว่าทำได้ค่อนข้างดี แต่พอช่วงหลังๆมีการขยายไลน์สินค้าลงไประดับหมื่นบาทเพิ่มมากขึ้น แม้จะทำให้ไลน์สินค้ากว้างขึ้น ผู้บริโภคเข้าถึงได้ง่าย แต่ก็เจอกับปัญหาว่าในเมื่อสามารถหาเครื่องที่ให้ฟังก์ชันใกล้เคียงกันได้ในราคาต่ำกว่า จะเลือกรุ่นแฟลกชิปไปทำไม

โซนี่จึงได้เวลาคิดใหม่ทำใหม่ ด้วยการนำสุดยอดเทคโนโลยีที่มีทั้งด้านภาพ เสียง และกล้อง มารวมกับความสามารถในการประมวลผลของ Qualcomm Snapdragon 835 ที่ขึ้นชื่อว่าแรงที่สุดในเวลานี้ และรองรับการใข้งาน 4.5G ในไทยได้อย่างสมบูรณ์แบบ จนออกมาเป็น Sony Xperia XZ Premium ในทุกวันนี้

การออกแบบ

เอกลักษณ์ในการใช้ Omni Design ยังกลายเป็นจุดสำคัญของ XZ Premium ที่คราวนี้หันมาใช้ ตัวเครื่องโลหะ ผสมกับกระจกหน้าหลัง เพื่อสร้างให้เครื่องดูหรูหรามากขึ้น งานประกอบทำได้แข็งแรง แน่นหนา เมื่อสัมผัสแล้วจะรู้สึกถึงความพรีเมียมของตัวเครื่องอย่างแน่นอน

ในส่วนของขนาดตัวเครื่อง จะอยู่ที่ 156 x 77 x 7.9 มิลลิเมตร น้ำหนัก 191 กรัม มีให้เลือกด้วยกัน 2 สีคือ ดำ (Deepsea Black) และเงิน (Luminous Silver) เมื่อเทียบกันในท้องตลาดแล้ว XZ Premium จะมีขนาดใกล้เคียงกับ Samsung Galaxy S8+ แต่หน้าจอของ S8+ จะใหญ่กว่าที่ 6.4 นิ้ว

ส่วนหน้าจอของ Xperia XZ Premium จะอยู่ที่ 5.5 นิ้ว แต่ก็ชดเชยได้ด้วยความละเอียดหน้าจอที่โซนี่ อัดมาให้เต็มเป็นแบบ 4K HDR ซึ่งเรียกได้ว่าละเอียดที่สุดในตลาดเวลานี้ และโซนี่ก็ยังคงช่องว่างระหว่างขอบบน และขอบล่างเครื่องอยู่เช่นเดิม แต่ก็ถือเป็นข้อดี เพราะทำให้จับใช้งานถนัดมือมากขึ้น

ด้านหน้าขอบบนจะมีช่องลำโพงสนทนา อยู่กึ่งกลาง โดยมีการสกรีนแบรนด์ Sony อยู่ข้างล่าง ขนาบไปด้วยกล้องหน้าความละเอียด 13 ล้านพิกเซล ที่เป็นเลนส์มุมกว้าง f/2 ทำงานด้วยเซ็นเซอร์ Exmor RS 1/3.06” อีกฝั่งเป็นเซ็นเซอร์ตรวจจับใบหน้า วัดแสง

ส่วนไฟแจ้งสถานะต่างๆจะขยับไปอยู่ที่บริเวณขอบซ้าย ขอบล่างก็จะมีลำโพงอีกตัว เพื่อให้เสียงที่ออกมาเป็นแบบสเตอริโอ เมื่อใช้ดูภาพยนตร์ ในแนวนอน ซึ่งถือว่าโซนี่ยังรักษาคุณภาพของเสียงที่ออกจากลำโพงได้เป็นอย่างดี

ด้านหลังเนื่องจากหันมาใช้กระจกครอบทำให้ฝาหลังที่เป็นกระจก เมื่อไม่ได้ใส่เคสใช้งานจะเต็มไปด้วยรอยนิ้วมือได้ค่อนข้างง่าย ประกอบกับฝาหลังถูกปล่อยให้โล่งๆ มีการติดซับแบรนด์ Xperia อยู่ตรงกึ่งกลาง พร้อมสัญลักษณ์ NFC ภายในมีแบตเตอรีขนาด 3,230 mAh

ส่วนมุมซ้ายบนจะเป็นที่อยู่ของทีเด็ดอย่างหกล้องหลัง ที่โซนี่เลือกใช้เทคโนโลยี Motion Eye มาใช้งานเหมือนใน Xperia XZs ที่ออกมาก่อนหน้านี้ โดยจะเป็นกล้องความละเอียด 19 ล้านพิกเซล ที่ใช้เลนส์ G มาใช้งาน ให้รูรับแสง f/2.0 ตัวเซ็นเซอร์เป็น Exmor RS 1/2.3” ความละเอียดเม็ดพิกเซล 1.22 um พร้อมกับระบบโฟกัสแบบไฮบริดจ์ และไฟ LED

ด้านบนจะมีช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม. ให้เลือกใช้อยู่ ด้านล่างเป็นพอร์ต USB-C

ด้านซ้ายจะมีฝาปิดช่องใส่ซิมการ์ด และไมโครเอสดีการ์ด โดยแยกออกเป็น 2 ถาด ถาดแรกที่ถอดออกมาจะไว้ใส่ซิม 2 หรือเลือกใส่ไมโครเอสดีการ์ด ส่วนถาดซิมแรกจะอยู่ซ้อนเข้าไปด้านในอีก ด้านขวามีปุ่มปรับระดับเสียง ปุ่มเปิดปิดเครื่อง ที่เป็นเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือ สุดท้ายคือปุ่มชัตเตอร์กล้อง ที่ใช้เปิดโหมดกล้องได้ทันที

ที่น่าสนใจคือตัวเครื่องกันน้ำกันฝุ่น มาตรฐาน IP 65/68 เพียงแต่ต้องดูการปิดถอดซิมให้แนบสนิทมากที่สุด อุปกรณ์ที่ให้มาในกล่องจะประกอบไปด้วยตัวเครื่อง คู่มือการใช้งาน สาย USB-C อะเดปเตอร์ และหูฟังแบบ In-Ear

สเปก

ในส่วนของฮาร์ดแวร์ Xperia XZ Premium มากับหน่วยประมวลผล Qualcomm Snapdragon 835 ที่เป็น Octa-Core (Quad 2.45 GHz Kryo + Quad 1.9 GHz Kryo) หน่วยประมวลผลภาพ Adreno 540 RAM 4 GB พื้นที่เก็บข้อมูลภายในตัวเครื่อง 64 GB ทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 7.1.1

ด้านการเชื่อมต่อรองรับการใช้งาน 2 ซิม 2G/3G/4G โดยเฉพาะในระบบ 4G ที่ตัวเครื่องรองรับ LTE Cat 16 หรือ 4.5G ที่เอไอเอส และทรูมูฟ เอช ให้บริการอยู่ในเวลานี้ WiFi มาตรฐาน 802.11ac บลูทูธ 5.0 มี NFC GPS มาให้ครบถ้วน แต่ไม่มีวิทยุ FM

ฟีเจอร์เด่น

ความโดดเด่นของ Xperia XZ Premium แทบทั้งหมดจะมาจากฮาร์ดแวร์ที่ใส่มาให้เป็นหลัก ส่วนอินเตอร์เฟส และฟีเจอร์การใช้งานภายใน ถือเป็นส่วนเสริมที่ได้มาจากฮาร์ดแวร์เป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการแสดงผล XZ Premium เป็นสมาร์ทโฟนรุ่นแรกที่มีหน้าจอความละเอียดระดับ 4K

ผลที่ตามมาคือผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงคอนเทนต์ 4K ได้จากในเครื่อง ไม่ว่าจะเป็นการใช้งาน Youtube เพื่อรับชมไฟล์ความละเอียดสูง 4K ภาพที่ได้ออกมาเมื่อใช้คอนเทนต์ที่รองรับจะแสดงให้เห็นความแตกต่างในการใช้งานที่ชัดเจน

โดยถ้าไล่ดูก็จะมาจากการที่โซนี่นำเทคโนโลยีอย่างจอแสดงผล TRILUMINOS ระบบประมวลผลภาพ X-Reality พร้อมปรับการแสดงผลให้เป็นแบบ sRGB 138% ทำให้ภาพที่ได้ออกมาค่อนข้างสมจริง และให้สีสันทีสวยงาม

ถัดมาในแง่ของกล้อง Motion Eye ที่เคยพูดถึงกันไปแล้วใน Review : Sony Xpreria XZs สิ่งที่เพิ่มขึ้นมาใน XZ Premium คือระบบการถ่ายวิดีโอแบบ 4K ที่โซนี่พัฒนาขึ้นในรุ่นนี้อย่างชัดเจน แต่เดิมตัวเครื่องจะเกิดปัญหาความร้อนในการถ่ายวิดีโอทำให้ถ่ายได้ไม่เกิน 15-30 นาที แต่พอมาเป็น XZ Premium ทดลองถ่ายต่อเนื่องไปราว 1 ชั่วโมง ก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด

ส่วนในแง่ของภาพนิ่ง ด้วยการที่โซนี่เลือกใช้เลนส์มุมกว้าง (มาก) ทำให้ตอนนี้เกิดปัญหาขึ้นเล็กน้อยเมื่อถ่ายภาพในระยะใกล้ๆ ทำให้เกิดอาการภาพบิดเบี้ยว (Distortion) ซึ่งถือเป็นปัญหากับเลนส์มุมกว้างในกล้องโปรมาก่อน จนช่างภาพส่วนใหญ่เข้าใจถึงธรรมชาติดังกล่าวแล้ว

(เทียบให้เห็นระหว่าง XZ Premium กับ S8+ ว่าเมื่อถ่ายภาพใกล้ๆบริเวณขอบภาพจะโค้งๆ)

แต่พอมาเกิดในสมาร์ทโฟน ผู้ที่ไม่เคยมีความรู้เรื่องการถ่ายภาพมาก่อน อาจจะมองว่าเป็นปัญหาใหญ่ แต่เชื่อว่าเมื่อโซนี่ได้รับทราบปัญหาดังกล่าวแล้ว จะมีการออกเฟิร์มแวร์แก้ไขออกมาได้ไม่ยาก แน่นอนว่าปัญหาดังกล่าวจะไม่เกิดเมื่อถ่ายภาพในระยะไกล

ส่วนถ้าถามว่าคุณภาพของภาพนิ่ง Xperia XZ Premium ทำได้ดีแค่ไหน สามารถเข้าไปดูได้จากคอนเทนต์ก่อนหน้านี้อย่าง “เทียบกันยาวๆ ภาพจาก 4 สมาร์ทโฟนเรือธง” โดยรวมแล้วสีที่ได้จากกล้องของโซนี่จะสมจริงมากที่สุด เมื่อเทียบกับแบรนด์อื่นๆ

แต่ก็จะมีในส่วนของระบบถ่ายภาพแบบมือโปร ที่โซนี่ ตั้งมาให้ปรับได้แค่ความเร็วชัตเตอร์ระหว่าง 1/4000 – 1 วินาที ระบบโฟกัส ไวท์บาลานซ์ และปรับค่าชดเชยแสง (EV) เท่านั้น ถ้าต้องการตั้ง ISO ก็สามารถตั้งได้ตั้งแต่ 50-3200 แต่ไม่สามารถตั้งคู่กับชัตเตอร์สปีดได้

ส่วนการปรับตั้งค่าอื่นๆ ของกล้องถือว่ามีอิสระมาก ผู้ใช้สามารถเข้าไปปรับองศาเคลวินเพื่อคุมโทนสีของภาพได้ พร้อมกับเข้าไปเลือกคุณภาพของการบันทึกวิดีโอสโลว์โมชันว่าจะถ่ายแบบสโลว์ปกติ แล้วกดซ้ำเพื่ออัดซูเปอร์สโลว์โมชัน หรือจะเลือกถ่ายเป็นช็อตซูเปอร์สโลว์โมชันเลยก็ได้

ขณะที่การบันทึกวิดีโอ 4K ที่ให้สามารถ จะต้องเข้าไปเลือกที่โหมดถ่ายภาพ 4K แทน ไม่ได้อยู่กับโหมดถ่ายวิดีโอปกติ โดยผู้ใช้สามารถเลือกการเข้ารหัสไฟล์มาตรฐานให้เป็น .h264 หรือ .h265 ก็ได้ พร้อมความสามารถในการปรับสมดุลแสงให้เหมาะสม เลือกไวท์บาลานซ์ได้ปกติ

อีกจุดที่น่าสนใจคือเรื่องของการเชื่อมต่อบนเครือข่าย 4.5G ที่จะเห็นว่าตอนนี้ทั้งเอไอเอส และ ทรูมูฟ เอช เริ่มมีการโฆษณา เรื่องการรวมคลื่น และปรับปรุงอุปกรณ์ส่งสัญญาณให้ทันสมัยมากขึ้น Xperia XZ Premium ที่มากับโมเด็ม X16 LTE ของ Qualcomm จึงกลายเป็นรุ่นแรกที่รองรับสมบูรณ์แบบ (ไม่นับ U11 เพราะรุ่นที่ขายในไทย เป็นตัว RAM 6 GB ไม่ได้ใช้ชิปเซ็ต X16)

กล่าวคือถ้าเข้าไปอยู่ในพื้นที่ ที่มีการปล่อยสัญญาณ 4.5G 3CA (รวม 3 คลื่น 900 1800 2100 MHz มาให้ใช้งาน) พร้อมกับ 4×4 MIMO 256 qam (เทคโนโลยีที่ทำให้ตัวเครื่องสามารถรับสัญญาณพร้อมๆ 5 เท่ามาช่วยเพิ่มความแรงของคลื่น) โดยความเร็วที่ทำได้จะเกิน 200 Mbps ขึ้นไป

ในส่วนของระบบเสียง ที่ผ่านมาชื่อชั้นของโซนี่ ถือว่าเป็นผู้นำในการก้าวเข้าสู่เสียงระดับ Hi-Res อยู่แล้ว ดังนั้นการที่นำการสังเคราะห์เสียงดิจิตอลคุณภาพสูง (DSEE HX) มาใช้ ร่วมกับ Clear Audio+ และ Clear Bass ทำให้เสียงที่ได้ออกมาอยู่ในระดับสูง

อีกจุดที่พัฒนากันต่อของเสียงคือ การเชื่อมต่อแบบไร้สายผ่านบลูทูธที่ปัจจุบันก้าวเข้าสู่ยุคของ Bluetooth 5.0 แล้ว คุณภาพของการส่งผ่านสัญญาณไร้สาย ไปยังหูฟัง หรือเครื่องเล่นเพลงสามารถให้คุณภาพไม่แตกต่างจากการใช้สายเชื่อมต่อ ดังนั้นถ้ามีหูฟังบลูทูธ Hi-Res อยู่แล้วเอามาเชื่อมต่อฟังเพลงก็ได้รายละเอียดที่ครบถ้วน

ส่วนที่เหลือไม่ว่าจะเป็นแอปที่บันเดิลมาให้ในเครื่อง ระบบการตั้งค่าต่างๆ ยังคงยึดเอกลักษณ์ของโซนี่ จึงไม่ได้มีความแตกต่างจากเครื่องรุ่นก่อนๆมากนัก ดังนั้นผู้ที่เคยใช้งานสมาร์ทโฟนโซนี่มาก่อน พอมาใช้งานบนอินเตอร์เฟสของแอนดรอยด์ 7.1.1 ก็อาจจะมีการปรับตัวเพียงนิดเดียว แต่ที่เหลือเรียนรู้ได้ไม่ยาก

ทดสอบประสิทธิภาพ

Antutu Benchmark = 144,953 คะแนน
Quadrant Standard = 38,632
Multi-touch Test = 10 จุด

Geekbench 4
Single-Core = 1,784 คะแนน
Multi-Core = 5,529 คะแนน
Compute = 7,927 คะแนน

PassMark PerformanceTest
System = 12,568 คะแนน
CPU Tests = 232,048 คะแนน
Memory Tests = 13,975 คะแนน
Disk Tests = 67,829 คะแนน
2D Graphics Tests = 7,745 คะแนน
3D Graphics Tests = 3,294 คะแนน

PC Mark
Work 2.0 = 6,507 คะแนน
Computer Vision = 3,448 คะแนน
Storage = 4,181 คะแนน
Work = 7,883 คะแนน

3D Mark
Sling Shot Extreme Unlimited = 4,021 คะแนน
Sling Shot Unlimited = 4,987 คะแนน
Sling Shot Extreme = 3,108 คะแนน
Sling Shot = 3,685 คะแนน
Ice Storm Extreme = 13,509 คะแนน
Ice Storm Unlimited = 39,128 คะแนน
Ice Storm = 14,522 คะแนน

ส่วนการทดสอบแบตเตอรี่ แม้ว่า XZ Premium จะให้แบตมาที่ 3,230 mAh และมากับหน้าจอความละเอียดระดับ 4K แต่ถือว่าระบบบริหารจัดการแบตเตอรีทำได้ดี ทดสอบจาก PC Mark ใช้งานได้ต่อเนื่อง 7 ชั่วโมง 52 นาที ถือว่าอยู่ในระดับบนๆ ส่วนถ้าใช้งานปกติ ทั่วๆไป สามารถใช้ได้เกินวันสบายๆ

สรุป

ต้องยอมรับว่าการรอคอยของสาวกโซนี่ ที่ตั้งตารอสมาร์ทโฟนในตระกูล Xperia ที่ครบเครื่อง ถือว่าบรรลุเป้าหมายแล้ว กับความสามารถของ Xperia XZ Premium ที่ออกมาตอกย้ำการเป็นสมาร์ทโฟนที่ครบเครื่องในหลายๆด้าน

ที่สำคัญคือด้วยราคาเปิดตัวที่ 25,990 บาท เมื่อสมัครใช้แพกเกจพร้อมชำระค่าบริการล่วงหน้ากับโอเปอเรเตอร์ผู้บริโภคจะสามารถหาเครื่องมาใช้ได้ในราคา 19,990 บาท จึงนับได้ว่า Xperia XZ Premium ถือเป็นสมาร์ทโฟนที่คุ้มค่า กับประสิทธิภาพของตัวเครื่องที่ได้รับ

เพียงแต่ว่า ถ้าเป็นคนที่ชื่นชอบดีไซน์ของสมาร์ทโฟนที่ให้ความโฉบเฉี่ยวแหวกแนว และโหมดถ่ายโปรที่มีข้อจำกัดในการตั้งค่า Xperia XZ Premium อาจจะไม่ใช่ แต่ถ้ารับได้กับรูปทรง และขอบบนขอบล่างหน้าจอที่กินพื้นที่ไปสักหน่อย ก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในตลาดเวลานี้

ข้อดี

หน้าจอ 5.5 นิ้ว ความละเอียด 4K HDR
กล้อง Motion Eye ที่มากับการถ่ายภาพสโลว์โมชัน 960 fps
รองรับ 4.5G / บลูทูธ 5.0 / Wi-Fi 802.11ac
ระบบเสียง Hi-Res
ระบบบริหารจัดการแบตเตอรีที่ทำได้ดี ใช้งานเกิน 1 วันสบายๆ

ข้อสังเกต

ตัวเครื่องเป็นรอยนิ้วมือง่าย จากกระจกที่ใช้ทั้งหน้าหลัง
พื้นที่ขอบบนล่าง ที่ถูกเว้นว่างไว้
โหมดถ่ายภาพแบบ Pro ที่ตั้งสปีดชัตเตอร์ได้ต่ำสุด 1 วินาที และไม่สามารถปรับ ISO ได้

Gallery

]]>
เทียบกันยาวๆ ภาพจาก 4 มือถือเรือธง ช่วงต้นปี 2017 S8+ I P10 Plus I U11 I XZ Premium https://cyberbiz.mgronline.com/compare-flagship-smartphone-camera-1h2017/ Sun, 02 Jul 2017 09:54:59 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=26425

ต้อนรับครึ่งปีหลังของปี 2017 ทีมงาน Cyberbiz พาไปดูภาพที่ถ่ายจากกล้องของสมาร์ทโฟนเรือธงในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น Samsung Galaxy S8+, Huawei P10 Plus, HTC U11 และ Sony Xperia XZ Premium ในสภาพแสงต่างๆ มาเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อสมาร์ทโฟนกัน

ส่วนการเรียกลำดับภาพจากทั้ง 4 รุ่นมีเฉลยอยู่ด้านล่าง

ภายในอาคาร

ก่อนแสงหมดราวๆเกือบ 19.00 น.

ตอนกลางคืน

การเรียงลำดับภาพ จากเริ่มจาก Huawei P10 Plus (p) ตามด้วย Samsung Galaxy S8+ (s) HTC U11 (u) และ Sony Xperia XZ Premium (x) โดยรูปทั้งหมดทำการย่อไฟล์ใกล้เคียงกัน ถ้าอยากเทียบรูปจริงสามารถโหลดดูได้จาก Google Drive ในลิงก์นี้

สรุปแล้ว ความสามารถในการถ่ายภาพเวลากลางวัน ก็จะขึ้นอยู่กับโทนสีที่ชอบมากกว่า ความละเอียดที่ได้ไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ถ้าเป็นภาพที่ถ่ายในเวลากลางคืน Samsung Galaxy S8+ และ HTC U11 จะให้รายละเอียดที่เห็นชัดออกมา และครบเครื่องมากกว่า

ในขณะที่ Sony Xperia XZ Premium จะมีข้อจำกัดในการถ่ายภาพโหมด Pro คือไม่สามารถเลือกตั้ง ISO พร้อมกับความเร็วชัตเตอร์ (Speed Shutter) ได้ และเลือกความเร็วชัตเตอร์ได้ต่ำสุดที่ 1 วินาที ทำให้ไม่สามารถถ่ายภาพกลางคืนแบบเปิดชัตเตอร์ทิ้งไว้รับแสงนานๆได้

แต่ก็จะมีจุดเด่นในเรื่องของการถ่ายวิดีโอระดับ Super Slow Motion และการบันทึกวิดีโอความละเอียด 4K ที่ถูกปรับปรุงให้ถ่ายต่อเนื่องได้ยาวนานขึ้น ไม่มีอาการเครื่องร้อนจนหยุดการทำงานเหมือนในรุ่นก่อนหน้า มาเป็นจุดขายสำคัญ

ส่วน Huawei P10 Plus ก็จะได้เปรียบในส่วนของการถ่ายภาพขาว-ดำ และการถ่ายภาพบุคคล จาก Dual-Camera ทำให้ได้มิติของภาพที่ละเอียดกว่าอีก 3 รุ่นที่เหลือ และกลายเป็นสมาร์ทโฟนที่ปรับการถ่ายภาพในโหมด Pro ได้ละเอียดที่สุดทั้งความเร็วชัตเตอร์ / เลือกรูรับแรง / ตั้ง ISO ที่มืออาชีพจะเลือกใช้งานได้สะดวกกว่า

]]>
Review : Sony Xperia XZs จุดเด่นที่ Motion Eye ถ่ายวิดีโอ Slow-Motion 960 fps https://cyberbiz.mgronline.com/review-sony-xperia-xzs/ Tue, 16 May 2017 22:16:05 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=26171

แม้ว่ามองไปในไลน์สินค้าของโซนี่แล้ว Xperia XZs อาจจะไม่ใช่รุ่นไฮเอนด์ที่สุดในช่วงนี้ เพราะมีคิวของ Xperia XZ Premium ที่รอจ่อคิวผลิต และนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยอยู่จากหน่วยประมวลผลที่สูงขึ้น แต่ Xperia XZs ก็ถือเป็นรุ่นระดับเรือธงที่พลาดไม่ได้ในช่วงนี้

ที่น่าสนใจอีกอย่างคือการที่จะบอกว่า Xperiz XZs เป็นสมาร์ทโฟนที่ถูกผลิตขึ้นในไทย หลังจากที่โซนี่มีการขยับขยายโรงงานการผลิตสินค้าให้ครอบคลุมมากขึ้น จากเดิมที่เน้นผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และกล้อง จนมาเป็นสมาร์ทโฟน แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของไทยเป็นอย่างดี

ในส่วนของจุดขายหลักของ Xperiz XZs นอกจากในเรื่องของดีไซน์ และขนาดที่จับถนัดมือ ก็จะเป็นในส่วนของความสามารถกล้องที่หลายๆแบรนด์ต่างนำเซ็นเซอร์กล้องของโซนี่ไปใช้งาน ดังนั้นใน XZs จึงได้เลือกใช้เซ็นเซอร์ที่ดีที่สุดของโซนี่ในเวลานี้ ที่มีจุดขายอย่างการถ่ายวิดีโอสโลว์โมชัน 960 เฟรมต่อวินาที

ขณะที่ในส่วนอื่นๆ ก็นำเทคโนโลยีของโซนี่มาใช้ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงผล (นำเทคโนโลยี Triluminos มาใช้) เรื่องของคุณภาพเสียง (Sony Hi-res) ทำให้เชื่อมือได้ว่าเสียงของไฟล์มัลติมีเดียคุณภาพสูงที่ออกจาก XZs ไม่แพ้การใช้งาน DAC (ตัวแปลงสัญญาณเสียง) ดีๆสักเครื่อง

การออกแบบ

โซนี่ยังคงยึดแนวทางในการออกแบบภายใต้คอนเซปต์แบบ Omni Design ที่เน้นตัวเครื่องเป็นสี่เหลี่ยม ทรงแท่ง ที่มีการลบขอบมุมออกให้ดูสวยงามขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็ถือเป็นจุดขายในตระกูล Xperia Z เสมอมา โดยมีขนาดที่ 146 x 72 x 8.1 มม. น้ำหนัก 161 กรัม มีให้เลือก 3 สี คือดำ ฟ้า และเงิน

ด้านหน้าหลักๆแล้วจะเป็นจอ Triluminos ขนาด 5.2 นิ้ว ความละเอียด Full HD (1920 x 1080 พิกเซล) ที่จะมีการเว้นขอบบนและล่าง เพื่อใส่ลำโพงสเตอริโอเข้ามาให้ใช้งานกัน (กรณีใช้งานแนวนอน) พร้อมกับกล้องหน้าความละเอียด 13 ล้านพิกเซล ที่แปลกคือมีการย้ายแถบ NFC มาอยู่บริเวณมุมซ้ายบนทางด้านหน้าแทน ส่วนปุ่มกด และปุ่มสัมผัสต่างๆ ถูกนำไปรวมไว้บนหน้าจอทั้งหมด

ด้านหลังด้วยการออกแบบที่เน้นความเรียบหรู ฝาหลังของ XZs ที่เป็นแบบดำเงา จึงเต็มไปด้วยรอยนิ้วมือเวลาจับใช้งาน โดยจะมีสัญลักษณ์ Sony สีเงินอยู่ตรงกึ่งกลาง และจุดเด่นของเครื่องอย่างกล้องความละเอียด 19 ล้านพิกเซล f/2.0 พร้อมไฟแฟลชแบบ Dual LED ภายในมีแบตเตอรีขนาด 2,900 mAh อยู่ไม่สามารถถอดเปลี่ยนได้

ด้านซ้ายจะมีช่องใส่ถาดซิม ที่ไม่จำเป็นต้องใช้เข็มจิ้ม สามารถใช้นิ้วดึงถาดออกมาได้ทันที ภายในจะเป็นถาดสำหรับใส่นาโนซิมการ์ด 2 ซิม (รองรับ 3G/4G) หรือเลือกใส่นาโนซิมการ์ด พร้อมกับไมโครเอสดีการ์ดสูงสุด 256 GB

ด้านขวายังคงมีเอกลักษณ์ของโซนี่ที่นำปุ่มกดเปิดปิดเครื่อง สีเงิน มาไว้ทางขวา พร้อมกับการเพิ่มเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือเข้าไป ทำให้เวลากดเปิดใช้งานจะเป็นการสแกนลายนิ้วมือไปในทันที ถัดลงมาเป็นปุ่มปรับระดับเสียง และปุ่มชัตเตอร์กล้อง (สามารถกดเพื่อเรียกใช้งานโหมดถ่ายภาพได้ทันที)

ด้านบนจะเป็นที่อยู่ของช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม. ซึ่งถือว่าเซอร์ไพรส์พอสมควรที่โซนี่ยังเลือกใช้พอร์ต 3.5 มม. ในขณะที่หลายๆแบรนด์เริ่มตัดพอร์ตดังกล่าวออกไป ด้านล่างโซนี่จะเลือกใช้พอร์ต USB-C มาใช้งานแทนที่ไมโครยูเอสบีแล้ว ทำให้รองรับการใช้งานต่างๆได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเสียบชาร์จ การเชื่อมต่อแบบ OTG และการต่อกับจอภาพให้สะดวกขึ้น

สำหรับอุปกรณ์ที่แถมมาให้ในกล่อง จะประกอบไปด้วยตัวเครื่อง Sony Xperia XZs อะเดปเตอร์ สาย USB-A to USB-C หูฟังแบบ In-Ear คู่มือการใช้งาน และใบรับประกัน ทั้งนี้ถ้าใครที่แกะกล่องแล้วหาสาย USB-C ไม่เจอ ให้ลองเปิดกล่องที่ซ้อนอยู่ภายในดีๆ จะเจอสายถูกม้วนเก็บอยู่

สเปก

ในส่วนของสเปกภายในของ Xperia XZs จะมากับหน่วยประมวลผล Qualcomm Snapdragon 820 ที่เป็น Quad-Core (Dual 2.15 GHz x Dual 1.5 GHz) RAM 4 GB พื้นที่เก็บข้อมูลภายในตัวเครื่อง 64 GB รองรับไมโครเอสดีการ์ดเพิ่มเติม 256 GB ทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 7.1

ด้านการเชื่อมต่อรองรับ 3G/4G ซิมที่ 2 สแตนบาย 3G ได้ โดยตัว 4G LTE ที่รองรับจะเป็น LTE CAT 11 ที่รองรับความเร็วในการดาวน์โหลดสูงสุด 600 Mbps จาก 3CA ส่วน Wi-Fi รองรับมาตรฐาน 802.11ac แบบ Dual-Band 2.4/5GHz พร้อม GPS/aGPS/Glonass บลูทูธ 4.2 และ NFC

ส่วนสเปกของกล้องจะใช้เซ็นเซอร์ภาพ Exmor RS ขนาด 1/ 2.3” ความละเอียดพิกเซล 1.22μm มีระบบคาดโฟกัสที่คาดเดาการณ์เคลื่อนไหว พร้อมระบบประมวลผลภาพ BIONZ รองรับ ISO สูงสุดที่ 12800 สำหรับภาพนิ่ง และ ISO 4000 สำหรับวิดีโอ ตัวเลนส์จะเป็น Sony G Lens 25 มม. กันสั่น 5 ทิศทาง

ฟีเจอร์เด่น

โซนี่ ถือเป็นอีกแบรนด์ที่มีการนำอินเตอร์เฟสมาครอบการทำงานของแอนดรอยด์ เพื่อสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัว และสร้างความคุ้นเคยให้กับเหล่าสาวกของอารยธรรมโซนี่ ที่เน้นในแง่ของคุณภาพการใช้งานของสินค้าเสมอมา

โดยจะยังคงรูปแบบของการมีหน้าหลักให้ผู้ใช้สามารถเลือกนำวิตเจ็ตต่างๆมาใส่ได้เหมือนเดิม ส่วนของแถบการแจ้งเตือนถูกทำให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น ด้วยไอค่อนลัดในการตั้งค่าที่สามารถลากมาใส่เพิ่มได้จนกลายเป็น 2 หน้า สำหรับการปิดการตั้งค่าต่างๆ

โซนี่ ยังมีการแยกหน้ารวมแอปฯออกมาให้เลือกใช้งานกัน โดยแอปที่บันเดิลมาให้ส่วนใหญ่จะเป็นกูเกิล เซอร์วิสต่างๆ พร้อมแอปการใช้งานทั่วๆไป ที่เพิ่มมาคือแอปจากค่ายโซนี่ ที่ไว้อำนวยความสะดวกลูกค้า อย่าง What’s News ไว้แนะนำข้อมูล และแอปที่น่าสนใจ โปรแกรมตัดต่อวิดีโอ และโปรแกรมวาดรูป

การใช้งานโทรศัพท์ เนื่องจากตัวเครื่องรองรับ 2 ซิมอยู่แล้ว ผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าจะตั้งเลขหมายใดในการโทร เลขหมายใดใช้ต่ออินเทอร์เน็ต อินเตอร์เฟสการใช้งานโทรศัพท์จะเน้นตัวเลขใหญ่กดง่าย การแสดงผลชื่อ เลขหมายชัดเจน มีไอค่อนให้เลือกเปิดลำโพง ปิดไมค์ พักสาย เพิ่มสายปกติ ส่วนกรณีสายเข้า จะใช้การลากเพื่อรับสาย ตัดสายเช่นเดิม

ส่วนของการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านเว็บเบราว์เซอร์ทำได้ตามมาตรฐาน เช่นเดียวกับการใช้งานโซเขียลมีเดียต่างๆ ที่รองรับครบถ้วน จากการที่ตัวเครื่องอยู่ในระดับไฮเอนด์อยู่แล้ว จึงไม่น่ากังวลในส่วนนี้เท่าใด

รวมถึงการมี PS4 Remote Play ติดตั้งมาให้ สำหรับผู้ที่มีเครื่องเกมคอนโซล PS4 ก็สามารถใช้เครื่อง XZs เป็นจอที่ 2 เชื่อมต่อกับจอยเกมผ่านบลูทูธ นำไปเล่นส่วนใดของบ้าน (เครือข่ายไวไฟเดียวกัน) ก็ได้ ถือว่าช่วยอำนวยความสะดวกไปอีกแบบ

อีกจุดขายที่หลังๆ โซนี่ ไม่ค่อยได้โฆษณาออกมาแล้วก็คือเรื่องของการกันน้ำ กันฝุ่นบนมาตรฐาน IP68 ที่สามารถกันน้ำลึก 1.5 เมตร ได้ไม่เกิน 30 นาที ซึ่งแน่นอนว่า ถ้าเป็นการใช้งานทั่วไป โดนละอองน้ำ ก็ไม่ต้องกังวลในการใช้งาน

นอกจากนี้ ยังมีการนำระบบ Machine Learning มาใช้งาน กับ Xperia Actions ที่จะเป็นระบบแบ่งช่วงเวลาในการใช้งานเครื่องอย่างตอนนอน ตอนทำงาน หรือเวลาเดินทางไปต่างประเทศ เพื่อให้ตัวเครื่องทำการตั้งค่าต่างๆแบบอัตโนมัติ

อย่างตอนนอนสามารถตั้งเวลาไว้ได้ว่าระหว่างช่วงกี่โมงถึงกี่โมง ให้ตัวเครื่องตั้งค่าอย่างไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นเปิดโหมดเครื่องบิน ตั้งโหมดห้ามรบกวน ปิดไฟแจ้งเตือน ปรับความสว่างหน้าจอต่ำสุด เปิดโหมดสั่น เปิดไวไฟ เปิดโหมดประหยัดพลังงานเป็นต้น

ส่วนของการจัดการข้อมูลต่างๆในตัวเครื่องจะมีโหมด Smart Cleaner ที่จะคอยล้างไฟล์ที่ไม่จำเป็นออกจากเครื่อง เพื่อทำให้เครื่องทำงานได้บนประสิทธิภาพสูงสุด เช่นเดียวกับแบตเตอรี จะมีโหมด Battery Care ที่เมื่อชาร์จไฟถึง 90% แล้วตัวเครื่องถูกเสียบชาร์จต่อค้างไว้ก็จะมีการคำนวนและปรับความเร็วในการชาร์จ

ขณะเดียวกัน Xperia XZs ยังมาพร้อมกับโหมดประหยัดพลังงานไม่ว่าจะเป็น STAMINA Mode ที่ช่วยยืดระยะเวลาการใช้งาน ด้วยการควบคุมการประมวลผลให้ทำงาน โดยใช้พลังงานน้อยลง และ Ultra STAMINA Mode ที่จะตัดการเชื่อมต่อ และปิดการทำงานแอปเบื้องหลัง เพื่อยืดเวลาการใช้แบตเตอรีออกไปอีก

อย่างที่กล่าวไปเบื้องต้นว่า ปกติโซนี่ จะเน้นการนำเทคโนโลยีทางด้านภาพ และเสียงในเครือมาใช้ ดังนั้นใน Xperia XZs จึงมีการนำเทคโนโลยีในการแสดงผลอย่าง รวมถึงจอภาพแบบ Triluminos และเทคโนโลยี X-Reality for mobile มาช่วย

ในส่วนของระบบเสียง Hi-Res ที่เครื่องรองรับ ก็ถอดแบบมาจากเครื่องเล่นเพลง โดยผู้ใช้สามารถเลือกโหมดการใช้งานได้ 2 รูปแบบ DSEE HX ที่จะใช้ซอฟต์แวร์อัปเกรดคุณภาพไฟล์ให้ดีขึ้น (ใช้ได้กับหูฟังมีสาย) และ Clear Audio+ ที่จะปรับค่าเสียงอัตโนมัติ หรือจะเลือกปรับตั้งเองก็ได้

สุดท้ายในส่วนของกล้อง Motion Eye ที่ใช้เทคโนโลยีล่าสุดของโซนี่ นอกจากในแง่คุณภาพของภาพนิ่งที่สามารถเก็บภาพในที่แสงน้อยได้ดีขึ้นแล้ว ยังมีอีกจุดคือเรื่องของการถ่ายวิดีโอต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระดับ 4K หรือ Full HD และที่สำคัญคือมาพร้อมกับระบบกันสั่น ทำให้สามารถถือเครื่องถ่ายวิดีโอได้นิ่ง จนเหมือนกับใช้ Gimble ช่วย

ประกอบกับการชูจุดเด่นในเรื่องของการถ่ายวิดีโอแบบ Slow Motion ที่จะมี 2 ระดับคือ การถ่าย Slow-Motion แบบปกติที่ และยังมีโหมด Super Slow Motion ที่จะใช้การถ่ายวิดีโอซ้อนด้วย Super Slow เข้าไปบางช่วงที่ 960 เฟรมต่อวินาที จนกลายเป็นสมาร์ทโฟนที่ถ่าย Slow-Motion ได้สูงที่สุดในเวลานี้

ทั้งนี้ ในการถ่ายวิดีโอแบบ Slow-Motion เมื่อถูกนำมาถ่ายภายในอาคาร หรือภายใต้แสงจากหลอดไฟ จะไม่ดีเท่าที่ควร เพราะกล้องจับภาพได้เร็วกว่าไฟในห้อง ภาพที่ออกมาจึงกลายเป็นเส้นๆ ดังนั้น การถ่าย Slow-Motion ควรถ่ายในภาวะแสงธรรมชาติเป็นหลัก

เบื้องต้น โซนี่ ใช้การโปรโมทวิดีโอ Slow-Motion จากช่างภาพอย่างทวีพงษ์ ประทุมวงษ์ ที่ได้นำ Xperia XZs ไปใช้ถ่ายภาพลูกสาวเล่นน้ำ สามารถรับชมได้จากวิดีโอด้านล่างนี้ ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงช่วงเวลา Super Slow-Motion จนหยุดหยดน้ำ หรือใบไม้ที่กระเด็นขึ้นมาได้

ส่วนการทดสอบกล้องถ่ายภาพ Motion Eye อย่างละเอียดจะมีการนำเสนอต่อไปในภายหลัง

ทดสอบประสิทธิภาพ

Antutu Benchmark = 111,901 คะแนน
Quadrant Standard = 27,371
Multi-touch Test = 10 จุด

PC Mark
Work 2.0 = 5,006 คะแนน
Computer Vision = 2,632 คะแนน
Storage Score = 2,713 คะแนน
Work = 6,790 คะแนน

3D Mark
Sling Shot Extreme Unlimited = 1,892 คะแนน
Sling Shot Unlimited = 2,461 คะแนน
Sling Shot Extreme = 2,051 คะแนน
Sling Shot = 2,371 คะแนน
Ice Storm Extreme = 12,341 คะแนน
Ice Storm Unlimited = 19,573 คะแนน
Ice Storm = 13,170 คะแนน

PassMark PerformanceTest
System = 5,649 คะแนน
CPU Tests = 22,549 คะแนน
Memory Tests = 3,784 คะแนน
Disk Tests = 51,989 คะแนน
2D Graphics Tests = 3,334 คะแนน
3D Graphics Tests = 2,090 คะแนน

Geekbench 4
Single-Core = 1,733 คะแนน
Multi-Core = 3,608 คะแนน
Compute = 5,958 คะแนน

ในส่วนของการเล่นเกม หรือใช้งานที่รีดประสิทธิภาพเครื่องหนักๆ อย่างการใช้ PS4 Remote Play ตัวเครื่องรองรับได้ลื่นไหลดี ไม่มีอาการกระตุกให้เห็น เพียงแต่ว่าแบตเตอรีก็จะหมดเร็วขึ้น ตามประเภทของการใช้งานเช่นเดียวกัน แต่ถ้าใช้งานทั่วๆไปถือว่าเป็นรุ่นที่แบตอึดพอสมควร

สรุป

Sony Xperia XZs ถือเป็นรุ่นที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่กำลังมองหาสมาร์ทโฟนที่กล้องถ่ายภาพสวยๆ ชอบถ่ายวิดีโอ เพราะให้มาทั้งระบบกันสั่น ถ่าย 4K ได้ แถมด้วย Super Slow Motion 960 fps เรียกได้ว่าครบเครื่องสำหรับการนำเทคโนโลยี Motion Eye มาใช้

ประกอบกับการที่ตัวเครื่องถูกออกแบบมากับหน้าจอขนาด 5.2 นิ้ว ทำให้ตัวเครื่องจับถือค่อนข้างง่าย จึงน่าจะเหมาะกับผู้ที่ไม่ต้องการสมาร์ทโฟนไฮเอนด์ที่หน้าจอใหญ่เกินไป ความสามารถโดยรวมครบถ้วน

อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่ได้กังวลในเรื่องของราคาว่า 21,990 บาท แพงเกินไป ก็จะแนะนำให้รอ Xperia XZ Premium ที่กำลังจ่อเข้าไทยดีกว่า เพราะ XZs จะใช้หน่วยประมวลผลที่เป็นแฟลกชิปของปีที่แล้ว มาอัปเกรดกล้องให้ดีขึ้นในรุ่นนี้ แต่ถ้าเป็น XZ Premium นอกจากได้กล้องรุ่นล่าสุดแล้ว ซีพียูก็จะเป็นรุ่นล่าสุดด้วยกับ Snadragon 835 ซึ่งแน่นอนว่าราคาจำหน่ายก็จะสูงขึ้นไปอีก

ข้อดี

การออกแบบเป็นเอกลักษณ์ของโซนี่
เทคโนโลยีกล้อง Motion Eye กับการถ่ายวิดีโอสโลว์โมชัน 960 fps
ขนาดตัวเครื่องจับถนัดมือ เซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือที่ปุ่มเปิดเครื่อง
ใส่เทคโนโลยีด้านภาพ และเสียงของโซนี่มาครบ

ข้อสังเกต

ซีพียูที่ใช้เป็นรุ่นไฮเอนด์ของปีที่แล้ว
ฝาหลังสีดำเป็นรอยนิ้วมือง่ายมาก
ราคาค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับสเปก (ยกเว้นกล้อง)

Gallery

]]>
Review : Sony Xperia XZ ท็อปสุดในตระกูล พร้อมกล้องใหม่ มีกันสั่น 5 แกน https://cyberbiz.mgronline.com/review-sony-xperia-xz/ Sat, 05 Nov 2016 04:33:50 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=24420

headxz

ครั้งที่แล้วทีมงานได้รีวิว Sony Xperia X Performance ไปแล้ว มาวันนี้โซนี่คลอดสมาร์ทโฟนตัวท็อปออกมาอีกหนึ่งรุ่นในชื่อ Sony Xperia XZ เพื่อหวังจัดเต็มเรื่องกล้องถ่ายภาพรวมถึงสเปกส่วนอื่นให้ถึงขีดสุดอีกครั้ง ด้วยดีไซน์ที่ปรับให้ลงตัวกว่าเดิมรวมถึงแบตเตอรีความจุเพิ่มขึ้น

waterresis-xz

การออกแบบ

PAO_2208

เริ่มจากตัวเครื่องยังคงเอกลักษณ์ของโซนี่คือตัวเครื่องมองแล้วสมดุลกันตั้งแต่หัวไปท้าย ขนาดตัวเครื่อง กว้าง 72 มิลลิเมตร ยาว 146 มิลลิเมตร หนา 8.1 มิลลิเมตร น้ำหนัก 161 กรัม พร้อมป้องกันน้ำและฝุ่นตามมาตรฐาน IP65/IP68 (ใช้งานกลางสายฝนและล้างน้ำก๊อกได้ แต่ไม่แนะนำให้นำเครื่องไปใช้งานใต้น้ำหรือลงน้ำทะเล เพราะถ้าได้รับความเสียหายประกันอาจไม่ครอบคลุม)

ด้านหน้า ใช้จอแสดงผล TRILUMINOS สำหรับมือถือ ขนาดหน้าจอถูกขยายจากรุ่น X Performance เป็น 5.2 นิ้วที่ความละเอียดเท่าเดิมคือ 1,920×1,080 พิกเซล ประกบ X-Reality for Mobile ในส่วนกระจกจอเป็น Corning Gorilla Glass เช่นเดิม

PAO_2247

ด้านกล้องถ่ายภาพด้านหน้าใช้เซ็นเซอร์ Exmor RS for Mobile ขนาด 1/3.06” ความละเอียดภาพ 13 ล้านพิกเซล รูรับแสง f2.0 ระยะเลนส์ 22 มิลลิเมตรพร้อมจัดเต็มความไวแสงที่รองรับสูงถึง ISO 6,400

PAO_2241

ในส่วนลำโพง ถูกติดตั้งอยู่บริเวณด้านบน (ใช้ร่วมกับลำโพงโทรศัพท์) 1 ตัว และด้านล่างหน้าจออีก 1 ตัว ให้เสียงแบบสเตอริโอ

PAO_2218

PAO_2213

มาดูด้าหลังตัวเครื่อง มีความพิเศษตรงที่ Xperia XZ ถูกออกแบบใหม่หมดให้มีความเรียบร้อย หรูหรามากขึ้นด้วยการเลือกใช้วัสดุโลหะ ALKALEIDO แบบมันวาว ขอบเครื่องเป็นเป็นโลหะ มีเหลี่ยมมุมปกป้องหน้าจอเป็นรอยเวลาคว่ำหน้าเครื่องลงบนโต๊ะ

PAO_2228

มาถึงกล้องถ่ายภาพหลัก ยังคงใช้ Exmor RS for Mobile ขนาดเซ็นเซอร์ 1/2.3” ประกบชิปประมวลผลภาพ BIONZ (รองรับความไวแสง ISO สูงสุด 12,800) ความละเอียดภาพอยู่ที่ 23 ล้านพิกเซลพร้อมระบบออโต้โฟกัส Predictive Hybrid Autofocus เลนส์ G ระยะ 24 มิลลิเมตร และไฟแฟลชแบบ LED เลือกใช้งานได้หลากหลาย

ในส่วนฟีเจอร์ที่เพิ่มเข้ามาเฉพาะ Xperia XZ เพื่อทำให้กล้องฉลาดกว่ารุ่นเดิม เริ่มตั้งแต่ส่วนแรก Laser Autofocus ที่โซนี่เพิ่มเข้ามาเพื่อช่วยให้การวัดระยะชัดทำได้แม่นยำมากขึ้น โดยเฉพาะในที่แสงน้อย คอนทราสต์ต่ำหรือการถ่ายย้อนแสง

ส่วนต่อไปได้แก่การฝัง RGBC-IR หรือเซ็นเซอร์วัดระดับสี เพื่อช่วยในการวัด คำนวณและสั่งให้ซอฟต์แวร์ปรับสีสันให้เหมือนที่ตาเห็น อีกทั้งตัวเซ็นเซอร์ยังมีอินฟาเรดช่วยตรวจจับสมดุลแสงขาว (White Balance) เพื่อทำให้โทนภาพมีความเป็นธรรมชาติ โดยเฉพาะในที่แสงน้อย RGBC-IR จะแสดงศักยภาพได้ดีที่สุด

PAO_2232

กลับมาดูพอร์ตเชื่อมต่อและปุ่มกดรอบตัวเครื่อง เริ่มจากด้านบน จะเป็นที่อยู่ของไมโครโฟนตัวที่ 2 และช่องหูฟัง 3.5 มิลลิเมตร

PAO_2231

ด้านล่าง เป็นช่องไมโครโฟนหลักและตรงกลางเป็นพอร์ต USB-C

PAO_2235

PAO_2249

ด้านซ้าย เป็นช่องถาดใส่ซิมการ์ดโทรศัพท์แบบ Nano Sim 1 ช่อง และช่องไฮบริดเลือกใส่ได้อย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างซิมการ์ดโทรศัพท์ (Nano Sim) ใช้งาน Dual Sim ได้ หรือใส่การ์ดความจำ MicroSD Card สูงสุด 256GB ก็ได้

PAO_2233

ด้านขวา เริ่มจากซ้ายของภาพเป็นปุ่มชัตเตอร์กล้อง (ระหว่างหน้าจอดับอยู่สามารถกดปุ่มนี้ค้างไว้เพื่อเข้าสู่โหมดกล้องได้ทันที) ถัดมาเป็นปุ่มเพิ่มลดเสียง และตรงกลางเป็นปุ่มเปิดปิดเครื่องพร้อมเซ็นเซอร์อ่านลายนิ้วมือ

สเปก

spec-xz

spec2-xz

Sony Xperia XZ ขับเคลื่อนด้วยซีพียู Qualcomm Snapdragon 820 Quad core 64 บิต ความเร็ว 2.15GHz พร้อมกราฟิก Adreno 530 ในส่วนแรมให้มา 3GB รอม 64GB (เหลือพื้นที่ให้ใช้จริงประมาณ 50GB) แบตเตอรีให้มา 2,900mAh รองรับระบบชาร์จไฟ Qnovo Adaptive Charging (ระบบสามารถตรวจสอบสภาพแบตเตอรีและปล่อยกระแสไฟอย่างเหมาะสม)

ในส่วนระบบปฏบัติการแอนดรอยด์เป็นรุ่น 6.0.1 (Marshmallow) รองรับการอัปเดตเป็นแอนดรอยด์ 7.0 (Nougat)

ด้านการรองรับเครือข่าย เริ่มจาก 2G/3G/4G LTE cat.9 รองรับทุกคลื่นความถี่ในประเทศไทย พร้อมรองรับ Carrier aggregation แบบ 3CA, Full NetCom 3.0 (เมื่อใช้โทรศัพท์ นอกจากซิมที่ 1 จะรองรับ 3G/4G ตามปกติอยู่แล้ว ซิมที่ 2 ยังสามารถใช้งานบนเครือข่าย 3G ได้จากเดิมจะใช้งานได้แค่ 2G เท่านั้น) นอกจากนั้นยังรองรับฟีเจอร์ VoLTE และ WiFi-calling ด้วย

สำหรับสเปกส่วนอื่นๆ Xperia XZ จะมาพร้อม WiFi มาตรฐาน 802.11 a/b/g/n/ac (รองรับ DLNA – Miracast – Google Cast) มี NFC (ติดตั้งอยู่ข้างกล้องหน้า) A-GNSS (GPS + GLONASS), บลูทูธเวอร์ชัน 4.2 และสุดท้าย Xperia XZ จะมาพร้อมชิปประมวลผลเสียง Hi-res Audio 24-bit/192kHz (LPCM, FLAC, ALAC, DSD) รวมถึงรองรับหูฟัง Hi-res แบบบลูทูธผ่่านเทคโนโลยี LDAC ด้วย

ยูสเซอร์อินเตอร์เฟสและฟีเจอร์เด่น

home-xz

set-xz

เริ่มจากยูสเซอร์อินเตอร์เฟสเป็นไปตามแบบฉบับของโซนี่ คือเน้นความเรียบง่ายและใช้งานได้รวดเร็วตามสมัยนิยม โดยส่วนของฟีเจอร์ซอฟต์แวร์ที่น่าสนใจเช่น one-touch tethering หรือการใช้ NFC แตะกับสมาร์ทโฟนที่รองรับระบบ One touch ก็จะสามารถแชร์อินเตอร์เน็ตได้ทันทีโดยไม่ต้องตั้งค่าให้วุ่นวาย เป็นต้น

headphone-xz

นอกจากนั้นด้วยการที่โซนี่เป็นหนึ่งในผู้นำด้านการฟังเพลงแบบ Hi-res Audio ใน Xperia XZ จึงมีออปชันให้ผู้ใช้สามารถปรับแต่งเสียงได้หลากหลาย ยิ่งใช้ร่วมกับหูฟังของโซนี่ด้วยแล้ว ระบบจะสามารถเรียนรู้และปรับแต่งเสียงหูฟังได้อย่างอัตโนมัติ

ps4-xz

ส่วนสาวกเกมคอนโซล Sony PlayStation 4 สมาร์ทโฟนรุ่นนี้รองรับการเชื่อมต่อกับ Play Station 4 เพื่อทำเป็นจอที่สองผ่านฟีเจอร์ PS4 Remote Play หรือ Second Screen

นอกจากนั้นจอยเกม DualShock 4 ยังสามารถนำมาใช้เล่นเกมบน Sony Xperia XZ ผ่านการเชื่อมต่อบลูทูธได้ด้วย

กล้องถ่ายภาพ

camera-xz

มาดูซอฟต์แวร์กล้องถ่ายภาพ โดยภาพรวมจะไม่แตกต่างจากเดิม ตัวกล้องเน้นโหมดอัตโนัมัติแบบอัจฉริยะเป็นค่าเริ่มต้น แต่ทั้งนี้โซนี่มีการปรับเพิ่มโหมด Manual ให้ผู้ใช้สามารถปรับค่ากล้องได้บางส่วน เช่น ความเร็วชัตเตอร์ ชดเชยแสง สมดุลแสงขาวและระบบโฟกัส รวมทั้งในส่วนของไฟแฟลช ก็สามารถปรับการใช้งานได้หลากหลายเช่นกัน

ทดสอบประสิทธิภาพ

benchmark-xz

bench2-xz

AnTuTu Benchmark = 143,040 คะแนน

PCMark Work 2.0 = 5,051 คะแนน

3DMark
Sling Shot using ES 3.1 = 2,468 คะแนน
Sling Shot using ES 3.0 = 3,156 คะแนน

PassMark PerformanceTest Mobile
System = 7,787 คะแนน
CPU Tests = 172,445 คะแนน
Disk Tests = 33,515 คะแนน
Memory Tests = 8,654 คะแนน
2D Graphics Test = 5,797 คะแนน
3D Graphics Tests = 1,913 คะแนน

Quadrant Standard Edition = 42,535 คะแนน

Vellamo
Multicore = 3,447 คะแนน
Metal = 3,455 คะแนน
Chrome Browser = 4,569 คะแนน

ในภาพรวมประสิทธิภาพที่ได้จะเหมือนกับ Sony Xperia X Performance ทุกส่วน เนื่องจากใช้สเปกเครื่องเดียวกัน เพราะฉะนั้นเรื่องการใช้งานและประสบการณ์ที่ได้รับจะไม่ต่างกัน ยกเว้นเรื่องงานออกแบบ การจับถือที่ Xperia XZ จะทำได้ดีกว่า หรูหรากว่า

battery-test-xz

ส่วนการทดสอบแบตเตอรี เห็นผลต่างชัดเจนเนื่องจาก Xperia XZ เพิ่มแบตเตอรีเป็น 2,900mAh โดยเวลาใช้งานจากแอปฯทดสอบ Geekbench (เปิดหน้าจอตลอดการทดสอบเทียบเท่าการรับชมวิดีโอต่อเนื่อง) อยู่ที่ 7 ชั่วโมง 59 นาที 10 วินาที และถ้านำมาคำนวณเป็นเวลาใช้งานในชีวิตประจำวันปกติจะอยู่ที่ประมาณ 13-14 ชั่วโมง ถือว่าใช้งานได้ตลอดทั้งวันแน่นอน

ทดสอบถ่ายภาพและวิดีโอกันสั่น 5 แกน

เริ่มจากภาพนิ่งจากกล้องหลังปรับปรุงใหม่เล็กน้อย แน่นอนว่า Xperia XZ มีระบบโฟกัสที่รวดเร็ว นุ่มนวล แม่นยำและสีที่สดใสกว่า X Performance โดยเฉพาะในที่แสงน้อยจะเห็นผลต่างชัดเจน แต่ในเรื่องคุณภาพไฟล์ภาพที่ได้ ทีมงานมองว่าไม่แตกต่างกันมากนัก ภาพจาก Xperia XZ และ X Performance ค่อนข้างถูกปรุงแต่งจากซอฟต์แวร์พอสมควร ทำให้ภาพไม่ค่อยเป็นธรรมชาตินัก อีกทั้งขอบเลนส์ระยะ 24 มิลลิเมตรยังมีอาการขอบเบลอให้เราได้สัมผัสอยู่เล็กน้อย

ในส่วนวิดีโอมาพร้อมกันสั่น SteadyShot 5 แกน จากตัวอย่างวิดีโอ ทีมงานทดลองถือโทรศัพท์มือเดียวและเดินถ่ายตามถนนหนทางไปเรื่อยๆ พบว่าระบบป้องกันภาพสั่นไหว 5 แกน (คาดว่าทำงานสอดประสานระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์) ช่วยให้ภาพที่ได้นิ่งมากรวมถึงออโต้โฟกัสที่ทำได้นุ่มนวลและโฟกัสได้รวดเร็วแม่นยำดี

แต่ก็ใช่ว่าวิดีโอที่ได้จะเคลียร์ใส 100% เพราะเวลามือเริ่มสั่นมากขึ้น ภาพที่ได้จะมีเริ่มอาการกระตุกและถ้าเคลื่อนไหวเร็วๆ ภาพจะไม่ค่อยลื่นไหลเหมือนอาการเฟรมเรตตก รวมถึงคุณภาพวิดีโอที่จัดอยู่ในระดับกลางเท่านั้น

สรุป

xzzzzzxx

สำหรับราคาเปิดตัว Sony Xperia XZ อยู่ที่ 23,990 บาท ต้องบอกว่าเป็นช่วงราคาที่เหมาะสมแล้วสำหรับไฮเอนด์สมาร์ทโฟนรุ่นนี้ ยิ่งเมื่อเทียบกับสิ่งที่ได้มา อย่างเช่นโหมดวิดีโอกับกันสั่น 5 แกนไม่เหมือนใครในตลาด ก็ถือว่ามีความน่าสนใจอยู่บ้าง แม้จุดขายอย่างกล้องถ่ายภาพที่โซนี่เน้นหนักใน Xperia XZ จะให้ผลลัพท์ที่ยังไม่ตื่นตาตื่นใจนัก แต่ภาพรวมทั้งหมดก็ถือว่า Xperia XZ ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกไฮเอนด์สมาร์ทโฟนที่ไม่ควรมองข้ามในปีนี้

ข้อดี

– วิดีโอพร้อมกันสั่น 5 แกน
– ตัวเครื่องออกแบบใหม่ ลงตัวและหรูหราขึ้น
– กล้อง Manual Mode ปรับค่ากล้องได้หลากหลายขึ้น
– แบตเตอรีอึดกว่าเดิม
– เป็นสมาร์ทโฟนไม่กี่รุ่นที่รองรับ Hi-res Audio เต็มระบบ

ข้อสังเกต

– เรื่องการกันน้ำ ตามเอกสารประชาสัมพันธ์ระบุไว้ว่ารุ่นนี้สามารถกันละอองน้ำ ในสภาพฝนตกหนักได้ (water resistant) แต่ไม่ได้ระบุว่าสามารถใช้งานใต้น้ำ (waterproof) ได้ แม้จะได้มาตรฐาน IP65/68 ก็ตาม

Gallery

]]>
Review : Sony Xperia XA Ultra เน้นจอใหญ่ ดีไซน์มีเอกลักษณ์ https://cyberbiz.mgronline.com/review-sony-xperia-xa-ultra/ Mon, 12 Sep 2016 06:18:08 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=23753

IMG_5791

การที่โซนี่ยังคงเลือก XA Ultra มาเจาะกลุ่มลูกค้าที่ต้องการสมาร์ทโฟนหน้าจอขนาดใหญ่ ที่ถือว่าเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการชัดเจนมากขึ้นในปัจจุบัน ถือเป็นอีกกลยุทธ์นอกเหนือไปจากที่มีการเพิ่มไลน์สินค้าในกลุ่ม Compact มาจับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการสมาร์ทโฟนขนาดหน้าจอไม่ใหญ่จนเกินไป

Screen-Shot-2559-09-10-at-3.02.42-PM

จุดเด่นหลักๆของ Sony XA Ultra คือหน้าจอขนาด 6 นิ้ว พร้อมกับอัดกล้องหน้ามาที่ความละเอียด 16 ล้านพิกเซล และกล้องหลัก 21 ล้านพิกเซล พร้อมเซ็นเซอร์จาก ExmorRS มาเป็นจุดขาย เรียกได้ว่าเป็นรุ่นที่รองลงมาจากตัวท็อปอย่าง Xperia Z5 ก็ว่าได้ นอกเหนือจากนี้ก็คือตัวเครื่องรองรับการใช้งาน 4G แบบ 2 ซิม (เลือกใช้ได้ซิมใดซิมหนึ่ง) ส่วนแบตเตอรีให้มาอยู่ที่ 2,700 mAh ก็ไม่ได้ถือว่าสูงมาก

การออกแบบ

Screen-Shot-2559-09-10-at-3.02.30-PM

โซนี่ยังคงเอกลักษณ์ในการออกแบบของสมาร์ทโฟนในตระกูล Xperia ไว้อย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับ XA Ultra ที่มีการออกแบบที่ไม่ต่างจากเดิม เพียงแต่ขยายขนาดให้ใหญ่ขึ้น ลดขนาดขอบจอให้แคบลงเพื่อให้จับถือได้ง่ายขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็ยังเว้นพื้นที่ในส่วนของขอบบน และล่างเพื่อให้มีพื้นที่ในการใส่เซ็นเซอร์เพิ่มเติม ส่งผลให้ขนาดของเครื่องโดยรวมอยู่ที่ 164 x 79 x 8.4 มิลลิเมตริ น้ำหนัก 202 กรัม วางจำหน่ายด้วยกัน 3 สี คือ ขาว ทอง และดำ

IMG_5795

ด้านหน้าสิ่งที่โดดเด่นขึ้นมามากที่สุดคงหนีไม่พ้นหน้าจอขนาด 6 นิ้ว ความละเอียด Full HD (1920 x 1080 พิกเซล) ที่โซนี่มีการนำเทคโนโลยี Mobile BRAVIA engine 2 และ Super Vivid มาช่วยเพิ่มสีสันให้สะดุดตามากยิ่งขึ้น โดยชอบบนของหน้าจอจะมีโลโก้โซนี่พาดอยู่กึ่งกลาง เหนือโลโก้เป็นช่องลำโพงทนา ขนาบข้างโลโก้ด้วยเซ็นเซอร์ตรวจจับใบหน้า ไฟแอลอีดีแสดวผล และกล้องหน้าความละเอียเ 16 ล้านพิกเซล พร้อมไฟแฟลช ที่สำคัญคือมากับระบบกันสั่นแบบ OIS ส่วนขอบล่างจะปล่อยว่างไว้

IMG_5794

ด้านหลังพื้นที่ส่วนใหญ่จะถูกปล่อยให้ว่างไว้กับฝาหลังที่ใช้วัสดุเป็นพลาสติกเพื่อไม่ให้น้ำหนักตัวเครื่องมากเกินไป โดยตรงกลางจะมีการสกรีนแบรนด์ Xperia ไว้ ส่วนที่มุมบนจะมีกล้องหลักความละเอียด 21.5 ล้านพิกเซล ที่ใช้เซ็นเซอร์รับภาพขนาด 1/2.4” เพื่อให้รับภาพได้ละเอียดมากยิ่งขึ้น พร้อมกับไฟแฟลช

IMG_5803IMG_5801ด้านบนจะมีช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม. และช่องไมโครโฟนตัวที่ 2 เพื่อรับเสียง และตัดเสียงรบกวน ด้านล่างมีพอร์ตไมโครยูเอสบีสำหรับเสียบสายชาร์จ ช่องลำโพง และไมโครโฟนสนทนา

IMG_5804IMG_5802ด้านซ้าย – จะมีเพียงฝาปิดช่องใส่ซิมการ์ด และไมโครเอสดีการ์ด โดยถาดใส่ซิมการ์ดจะเป็นแบบนาโนซิมแบบยาวถาดเดียวให้ใส่ 2 ซิมการ์ด ด้านขวาเป็นปุ่มเปิดปิดเครื่อง สีเงิน (เอกลักษณ์ของ Xperia) ปุ่มปรับระดับเสียง และชัตเตอร์กล้องถ่ายรูป (สามาถรกดค้างเพื่อเรียกใช้งานกล้องแบบด่วนได้)

สเปก

s11

<B>สำหรับสเปกภายในของ Xperia XA Ultra จะมากับ หน่วยประมวลผล MediaTek MT6755 Helio P10 Octa Core 2.0 GHz 64bit RAM 3 GB พื้นที่เก็บข้อมูลภายในตัวเครื่อง 16 GB รองรับไมโครเอสดีการ์ดสูงสุด 200 GB ทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอดย์ 6.0.1 (Marshmallow) แบตเตอรีภายใน 2,700 mAh รองรับ Quick Charge 3.0</B>

ด้านการเชื่อมต่อรองรับการใช้งาน 4G LTE Cat 4 ทั้ง 2 ซิม แต่ต้องสลับใช้งานระหว่าง 4G/3G/2G กับ 2G (ยังไม่เป็น Full NetCom 3.0) ซิมการ์ดเป็นแบบ นาโนซิม ส่วนการเชื่อมต่อพื้นฐานไวไฟ มาตรฐาน 802.11 a/b/g/n บลูทูธ 4.1 ระบบระบุพิกัด GPS, A-GPS รองรับ NFC

ฟีเจอร์เด่น

s01

โซนี่ยังคงคอนเซปต์ของอินเตอร์เฟสการใช้งานแบบเดิมกับรุ่นก่อนหน้า แม้ว่าจะมีการปรับเพิ่มให้รับกับการทำงานบนแอนดรอยด์ 6.0.1 เพิ่มขึ้นบ้างก็ตาม โดยในส่วนของหน้าจอหลักผู้ใช้งานสามารถเลือกจัดวางไอคอน วิตเจ็ตต่างๆได้ตามสะดวก ในส่วนของหน้าจอล็อกจะมีการแสดงผลนาฬิกาขนาดใหญ่ พร้อมการแจ้งเตือนต่างๆ และปุ่มลัดสำหรับเรียกใช้งานคำสั่งเสียง ปลดล็อก และเรียกใช้งานกล้องได้ทันที

หน้าจอการแจ้งเตือนสามารถเรียกใช้ได้จากการลากนิ้วลงจากขอบบนเช่นเดิม ซึ่งก็จะมีการแสดงผลปกติ เมื่อลากลงอีกครั้งจะเป็นการเรียกตั้งค่าด่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการปรับความสว่างหน้าจอ การเปิดปิดการเชื่อมต่อไวไฟ บลูทูธ เรียกใช้งานไฟฉาย เปิดโหมดเครื่องบิน การหมุนหน้าจอ ปล่อยฮ็อตสป็อต การใช้งานโมบายดาต้า เปิดโหมดห้ามรบกวน แน่นอนว่าตรงส่วนนี้ผู้ใช้สามารถเลือกปรับแต่งได้

s02

สำหรับหน้ารวมแอปพลิเคชันที่ติดตั้งมาให้ในเครื่อง โซนี่จะมีการรวมแอปที่มีการใช้งานเป็นประจำ และแอปแนะนำไว้ให้เลือกกดใช้งานได้ทันที ขณะที่เมื่อเลื่อนดูแอปฯที่ติดตั้งมาให้ในเครื่องก็จะเป็นแอปทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ ข้อความ รายชื่อ เบราว์เซอร์ เครื่องเล่นเพลง วิดีโอ อัลบัมภาพ รวมถึงแอปที่เป็นโซนี่เซอร์วิส และกูเกิล เซอร์วิส ให้เลือกใช้

s04

โดยแอปที่บันเดิลมาให้ในเครื่องของโซนี่หลักๆแล้วก็จะมี What’s News ที่เป็นแอปแนะนำแอปพลิเคชันที่น่าสนใจ โดยจะมีทั้งรูปแบบที่เป็นวิตเจ็ตบนหน้าจอหลัก และกดเข้าไปดูรายละเอียดภายในได้ กับแอปในการเชื่อมต่อ Play Station Store สำหรับผู้ที่เล่นเกมให้สามารถเชื่อมต่อสมาร์ทโฟนเข้ากับเครือข่ายได้ด้วย

s09

จุดเด่นลักที่โซนี่พยายามชูขึ้นมาในเครื่องรุ่นนี้คือกล้อง โดยอินเตอร์เฟสการใช้งานยังเน้นการใช้งานง่ายคือมีปุ่มชัตเตอร์ให้กดถ่ายภาพทางฝั่งขวา พร้อมปุ่มกดดูรูปในอัลบั้ม และเข้าสู่การตั้งค่า ส่วนฝั่งขวาเป็นการตั้งค่าด่วนอย่างการสลับกล้องหน้าหลัง และการเลือกโหมดถ่ายภาพแบบอัตโนมัติ ปรับเอง วิดีโอ เป็นต้น

s10

ในส่วนของการเลือกโหมดถ่ายภาพผู้ใช้สามารถเข้าไปดาวน์โหลดโหมดเพิ่มเติมได้จากในสโตร์ ส่วนการตั้งค่าก็จะเป็นรูปแบบการตั้งค่าทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นเวลาถ่ายภาพ ปรับสี ความสว่าง ความละเอียดภาพ ระบบโฟกัสอัตโนมัติ บันทึกพิกัดรูปถ่าย การแตะหน้าจอเพื่อถ่ายภาพ แสดงตาราง เลือกพื้นที่เก็บข้อมูลเป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ด้วยการที่โซนี่ให้กล้องหน้ามาถึง 16 ล้านพิกเซล พร้อมระบบกันสั่น OIS ทำให้เห็นได้ว่าโซนี่พยายามจะเน้นการใช้งานกล้องเซลฟี่เป็นหลัก เพราะในกล้องหลักแม้ว่าจะให้ความละเอียดมาถึง 21.5 ล้านพิกเซล แต่กลับไม่มีการใส่ระบบกันสั่นมาให้ ทำให้น่าแปลกใจไม่น้อย

s03

การใช้งานโหมดโทรศัพท์ มาพร้อมกับระบบคาดเดารายชื่อ กับอินเตอร์เฟสการใช้งานที่ดูโล่งสบายตา พร้อมปุ่มกดขนาดใหญ่ตามขนาดของหน้าจอ หน้าจอขณะสนทนาจะมีการแสดงชื่อ เบอร์ ระยะเวลารับสาย รูปภาพ พร้อมกับไอค่อนลัดสำหรับเปิดลำโพง ปิดเสียง เรียกปุ่มกด พักสาย และเพิ่มสายตามปกติ ส่วนหน้าจอรับสายจะใช้การลากปุ่มเพื่อรับสาย ตัดสาย

s05

หน้ารวมของการตั้งค่าจะแบ่งออกเป็น 5 ส่วนคือเรื่องของการเชื่อมต่อต่างๆ ที่เพิ่มจากทั่วไปคือการตั้งค่าซิมการ์ดเนื่องจากเครื่องรองรับการใช้งาน 2 ซิม การเลือกธีมและภาพพื้นหลัง การตั้งค่าอุปกรณ์อย่างการแสดงผล และระบบเสียงที่มีการนำเทคโนโลยีของโซนี่มาใส่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการบัญชีและบริการต่างๆ และการตั้งค่าระบบของเครื่อง

s06

ด้วยการที่ตัวเครื่องมีขนาดหน้าจอใหญ่ ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้ด้วยมือข้างเดียวได้ถนัดนัก ดังนั้นโซนี่จึงเพิ่มโหมดการใช้งานด้วยมือข้างเดียวมาให้ผู้ใช้สามารถเรียกด้วยการลากนิ้วจากมุมล่างเข้าหากลางจอ เพื่อปรับขนาดจอได้ตามต้องการ นอกจากนี้ ยังสามารถตั้งให้การแป้นข้อมูลบนแป้นคีย์บอร์ด ปุ่มกดตัวเลขมีขนาดเล็กลงให้สามารถใช้งานได้ด้วยมือข้างเดียวด้วย

s08s07

จากการที่ตัวเครื่องให้พื้นที่เก็บข้อมูลภายใน 16 GB ซึ่งจะเหลือพื้นที่ให้ใช้งานจริงราว 8 GB จึงมีการใส่โปรแกรมทำความสะอาดข้อมูลอัจฉริยะมาเพิ่มให้ผู้ใช้สามารถเคลียข้อมูลที่ไม่จำเป็นเพื่อเพิ่มพื้นที่การใช้งาน นอกจากนี้การที่ตัวเครื่องมีหน้าจอขนาดใหญ่แต่ให้แบตเตอรีมา 2,700 mAh ก็ต้องมีระบบประหยัดพลังงานมาให้เลือกใช้ ซึ่งจะช่วยยืดระยะเวลาใช้งานได้ยาวนานขึ้นด้วย

ทดสอบประสิทธิภาพ

s12

เมื่อทดสอบ ผ่านโปรแกรมทดสอบประสิทธิภาพบนแอนดรอยด์อย่าง Quadrant Standart และ Antutu ได้คะแนน 16,410 คะแนน และ 48,759 คะแนน ตามลำดับ หน้าจอรองรับการสัมผัส 10 จุดพร้อมกัน

s13

ทดสอบการใช้งาน HTML 5 ผ่าน Vellamo จากแอนดรอยด์เว็บวิวได้ 3,388 คะแนน โครมเบราว์เซอร์ 3,207 คะแนน ส่วนประสิทธิภาพตัวเครื่องได้ (Metal) 1,187 คะแนนMulticore 2,315 คะแนน คะแนน ส่วนโปรแกรม PCMark ในส่วนของ Work Performance ได้ 4,350 คะแนน 3D Mark ตัว Sling Shot ES3.1 ได้ 421 คะแนน Sling Shot ES3.0 ได้ 598 คะแนน Ice Storm Unlimited ได้ 11,087 คะแนน ส่วน Ice Storm Extreme 6,449 คะแนน และ Ice Storm 10,486 คะแนนทะลุ

น่าเสียดายที่ไม่สามารถทดสอบประสิทธิภาพบน GeekBench 3 ได้ เนื่องจากระหว่างที่ได้มาทดสอบทางเซิร์ฟเวอร์ของ Geek Bench มีปัญหาทำให้ไม่สามารถประมวลผลคะแนนของตัวเครื่องออกมาได้ ก่อนที่ปัจจุบัน Geek Bench ได้อัปเดตเวอร์ชันเป็น 4 แล้ว

ทั้งนี้ เมื่อทดสอบการใช้งานแบตเตอรีทั่วๆไป ต้องยอมรับว่าตัวเครื่อง Xperia XA Ultra มีการจัดการแบตเตอรีที่ดี เมื่อใช้งานทั่วๆไปสามารถอยู่ได้เกิน 1 วันสบายๆ แต่ถ้ามีการใช้งานหน่วยประมวลผลหนักๆ เปิดเครื่องใช้งานติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็ทำให้แบตเตอรีลดลงได้เร็วขึ้น ทำให้ไม่พอต่อการใช้งานครบวัน ดังนั้นก็ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมในการใช้งานเป็นหลักมากกว่า

สรุป

Sony Xperia XA Ultra ถือเป็นสมาร์ทโฟนหน้าจอขนาด 6 นิ้วอีกรุ่นที่มีความน่าสนใจ โดยเฉพาะถ้าชื่นชอบการออกแบบของโซนี่ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว พร้อมกับในแง่ของความสเถียรในการใช้งาน เพียงแต่น่าเสียดายที่ตัวเครื่องยังไม่รองรับ 2 ซิม แบบ Full NetCom 3.0 ทำให้ซิมที่ 2 ยังคงใช้งานได้เฉพาะ 2G เช่น เมื่อเทียบกับสมาร์ทโฟนในระดับใกล้เคียงกันของคู่แข่งรองรับแล้ว

แต่แน่นอนว่าถ้าไม่ได้ซีเรียสกับการใช้งาน 2 ซิม ก็ต้องยอมรับว่าประสิทธิภาพโดยรวมของ Xpria XA Ultra ถือว่าสูงเพียงพอใช้งานอย่างแน่นอน ในสมาร์ทโฟนระดับราคาหมื่นกลางๆ เพราะตัวเครื่องรองรับ 4G LTE อยู่แล้ว ยิ่งมากับกล้องความละเอียด 21.5/16 ล้านพิกเซล ทำให้เหมาะกับผู้ที่ชื่นชอบการถ่ายภาพด้วยเช่นเดียวกัน

Gallery

]]>
Review : Sony Xperia X Performance เด่นที่กล้องหลังฉลาด สเปกแรง https://cyberbiz.mgronline.com/review-sony-xperia-x-performance/ Thu, 04 Aug 2016 09:39:58 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=23318

Sony Xperia X ถือเป็นตำนานไฮเอนด์สมาร์ทโฟนครั้งใหม่จากโซนี่ที่ประเดิมเปิดตัวมากถึง 4 รุ่นครอบคลุมตลาดตั้งแต่ราคาประหยัดจนถึงไฮเอนด์ ได้แก่ Xperia XA, Xperia XA Ultra, Xperia X และท็อปสุด Xperia X Performance

นอกจากนั้น ในครั้งนี้ Sony Xperia X ทุกรุ่นยังถูกปรับเปลี่ยนแนวคิดการออกแบบใหม่ทั้งหมด จากเดิมใน Xperia Z-Series จะโดดเด่นเรื่องกันน้ำ แต่ในตระกูล X โซนี่จะปรับเปลี่ยนไปเน้นหนักในเรื่องกล้องถ่ายภาพ การออกแบบและแบตเตอรีซึ่งถือเป็นหัวใจของสมาร์ทโฟนยุคนี้มากกว่าส่วนอื่นใด

โดยในวันนี้ทีมงานไซเบอร์บิซได้รับ Sony Xperia X Performance รุ่นท็อปสุดมารีวิวให้ชมกันครับ

การออกแบบและสเปก

เริ่มจากด้านรูปทรง การออกแบบหลักๆยังคงเอกลักษณ์โซนี่ไว้ชัดเจน ตั้งแต่การวางเลย์เอาท์ให้สมมาตรกันทุกส่วน ตัวเครื่องมีขนาดกว้างxยาว 70.5×143.7 มิลลิเมตร หนา 8.6 มิลลิเมตร น้ำหนักอยู่ที่ 165 กรัม

หน้าจอเป็น Triluminos display มีขนาด 5 นิ้วความละเอียด 1,920×1,080 พิกเซล ได้รับการออกแบบใหม่เป็นกระจก 2.5D ขอบจอมีความโค้งมนเล็กน้อยตามสมัยนิยม เพื่อการจับถือที่ถนัดมากขึ้น พาเนลจอเป็น IPS พร้อมขับเคลื่อนด้วย X-Reality for Mobile เหมือน Xperia รุ่นก่อนหน้า

ในส่วนกล้องหน้า โซนี่ปรับปรุงใหม่หมดตั้งแต่ความละเอียดภาพสูงสุดที่ 13 ล้านพิกเซลรวมถึงเซ็นเซอร์รับภาพกล้องหน้าที่ปรับให้ไวต่อแสง สามารถถ่ายในที่แสงน้อยได้ดีขึ้น

มาถึงส่วนของลำโพงภายในตัวเครื่อง โซนี่ยังคงเลือกติดตั้งไว้ที่ด้านหน้าบริเวณเดียวกับลำโพงสนทนาและด้านล่างของจอ โดยเมื่อผู้ใช้รับชมวิดีโอในแนวนอน ลำโพงทั้งสองจะทำหน้าที่เป็นลำโพงสเตอริโอซ้ายขวา

พลิกเครื่องดูด้านหลังกันบ้าง สำหรับ Xperia X Performance โซนี่เลือกใช้โลหะ (รุ่นเล็กสุด XA เป็นพลาสติก) ชิ้นเดียวแทนที่กระจกแบบเดิม พร้อมผิวสัมผัสแบบขัดหยาบ ซึ่งช่วยเรื่องการจับถือ ไม่ลื่นหลุดจากมือง่าย อีกทั้งยังได้ความแข็งแรงเพิ่มขึ้นด้วย

ด้านกล้องถ่ายภาพหลักด้านหลัง โซนี่ปรับเปลี่ยนใหม่หมดเฉกเช่นเดียวกับกล้องหน้า ตั้งแต่ความละเอียดภาพ 23 ล้านพิกเซล เลนส์ G รูรับแสง F2.0 เซ็นเซอร์รับภาพใช้ Exmor RS for Mobile ขนาด 1/2.3” รุ่นอัปเกรดประสิทธิภาพ รองรับการถ่ายในที่แสงน้อยด้วยค่าความไวแสงสูงสุด ISO 3,200-12,800 พร้อมระบบซูมดิจิตอลแบบ Clear Image Zoom 5x เฉกเช่นเดียวกับ Xperia ทุกรุ่น

ถัดลงมาจากกล้องถ่ายภาพเป็นไฟแฟลช LED ตรงกลางเป็นโลโก้ XPERIA

มาดูปุ่มกดและพอร์ตเชื่อมต่อรอบตัวเครื่อง เริ่มจากด้านซ้ายของเครื่องจะเป็นช่องใส่ซิมการ์ดโทรศัพท์แบบ Nano Sim รองรับ 2 ซิม (Dual Sim) โดยช่องใส่ซิมที่ 2 จะแชร์กับช่อง MicroSD Card (รองรับความจุสูงสุด 200GB)

อีกด้าน ตรงกลางจะเป็นปุ่มเปิดปิดเครื่องที่ฝังเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือมาให้ด้วย ถัดลงมาด้านล่างจะเป็นปุ่มเพิ่มลดเสียง และสุดท้ายปุ่มชัตเตอร์กล้อง (หน้าจอปิดอยู่ กดปุ่มนี้ค้างไว้จะเรียกใช้งานกล้องได้อย่างรวดเร็ว)

ส่วนด้านบน ตรงกลางเป็นช่องไมโครโฟนรับเสียงตัวที่สอง มุมเครื่องด้านขวาของภาพจะเป็นช่องใส่หูฟัง 3.5 มิลลิเมตร

ด้านล่าง ตรงกลางเป็นช่อง MicroUSB 2.0 รองรับระบบชาร์จไฟเร็ว Quick Charge 2.0 และไมโครโฟนตัวหลักสำหรับรับเสียงสนทนาโทรศัพท์

spec-sonyx

มาถึงส่วนของสเปกภายใน Sony Xperia X Performance ซึ่งชื่อรุ่นบอกอยู่แล้วว่าเน้นประสิทธิภาพ โซนี่จึงเลือกใช้ซีพียูที่มาแรงสุดของตลาดตอนนี้กับ Qualcomm Snapdragon 820 Quad-cores 64 บิต แบ่งเป็น 2 คอร์แรกความเร็ว 2.15GHz ส่วน 2 คอร์หลังมาพร้อมความเร็ว 1.6GHz กราฟิก Adreno 530 แรมให้มา 3GB หน่วยเก็บข้อมูลภายในให้มาเริ่มต้น 32GB เหลือใช้งานจริงประมาณ 15.90GB ระบบปฏิบัติการที่ติดตั้งมากับเครื่อง แอนดรอยด์ 6.0.1 Marshmallow

ด้านสเปกการเชื่อมต่อเครือข่ายโทรศัพท์ ซิมการ์ดที่ 1 จะรองรับการเชื่อมต่อ 4G LTE Cat 9/3G/2G ทุกคลื่นความถี่ที่มีในไทย พร้อมรองรับ Carrier aggregation แบบ 3CA และ Full NetCom 3.0 (เมื่อใช้โทรศัพท์ นอกจากซิมที่ 1 จะรองรับ 3G/4G ตามปกติอยู่แล้ว ซิมที่ 2 ยังสามารถใช้งานบนเครือข่าย 3G ได้จากเดิมจะใช้งานได้แค่ 2G เท่านั้น)

ในส่วนการเชื่อมต่อ WiFi รองรับมาตรฐาน a/b/g/n/ac Dual Band, รองรับ WiFi Direct DLNA บลูทูธ 4.2 GPS รองรับ GLONASS/BDS, NFC ถูกเปลี่ยนตำแหน่งไปอยู่ด้านหน้าซ้ายบนใกล้กับกล้องหน้า ส่วนแบตเตอรีให้ความจุมา 2,700 mAh

ซอฟต์แวร์และฟีเจอร์เด่น

home-sonyx

home2-sonyx

เริ่มจากยูสเซอร์อินเตอร์เฟส โซนี่ได้ปรับปรุงใหม่ตั้งแต่การดีไซน์ให้มีความลงตัวกว่าเดิม และที่เห็นได้ชัดคือความลื่นไหลของเอฟเฟ็กต์ต่างๆ รวมถึงแอปพลิเคชันจากโรงงานที่ปรับให้มาอย่างพอดี ส่วนธีมโซนี่ยังอนุญาตให้ผู้ใช้ปรับแต่งได้ตามต้องการเช่นเดิม

oapps-sonyx

oapps2-sonyx

ในส่วน Xperia Apps เช่น Lounge, PS4 Remote (โคลนเครื่องเกม Play Station 4 จากที่บ้านมาเล่นบน Xperia X ได้), Smart cleaner, AVG Anti Virus ยังคงมีให้เลือกใช้งานตามเดิม แต่จะมีการอัปเดตหน้าตาและการใช้งานให้น่าใช้มากยิ่งขึ้น

setup-sonyx

feat-xperiax

Hi-Res Audio Support – ในครั้งนี้โซนี่จัดเต็มให้ Xperia X มาพร้อมชิปประมวลผลเสียงภายในแบบเดียวกับเครื่องเล่นเพลงคุณภาพสูงของโซนี่ ซึ่งรองรับการถอดรหัสไฟล์เพลงคุณภาพสูงทุกรูปแบบตั้งแต่ LPCM, FLAC, ALAC, DSD อีกทั้งยังรองรับ LDAC แบบ 24 บิต รวมถึงรองรับระบบหูฟังไร้สายที่ออกแบบมาเพื่อ Hi-Fi Audio และหูฟังที่มีเทคโนโลยีตัดเสียงรบกวน Digital NC ด้วย

fingerprint-sonyx

Fingerprint Scan – ใน Xperia X เซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือจะเป็นแบบสัมผัสและระบบอ่านนิ้วมือจะเป็นไปตามมาตรฐานของกูเกิล โดยเซ็นเซอร์จะติดตั้งอยู่บริเวณปุ่มเปิดปิดเครื่อง

swiftkeys-sonyx

ในส่วนคีย์บอร์ด โซนี่เลือกใช้ SwiftKey รองรับภาษาไทยและผู้ใช้สามารถปรับแต่งธีมคีย์บอร์ด กำหนดขนาด เลย์เอาท์ได้ตามต้องการ

lifelog-sonyx

สุดท้ายกับแอปฯตรวจวัดก้าวเดินและการใช้ชีวิตของเราในแต่ละวันกับ Lifelog ที่โซนี่ปรับปรุงหน้าตาให้สอดคล้องกับ UI ของ Xperia X รวมถึงด้านประสิทธิภาพได้ปรับปรุงให้เสถียรมากขึ้น บริโภคแบตเตอรีสมาร์ทโฟนน้อยลง อีกทั้งถ้าผู้ใช้มีอุปกรณ์วัดอัตราการเต้นของหัวใจก็สามารถซิงค์กับ Lifelog ได้ด้วย

กล้องถ่ายภาพ

camera-sonyx

camera2-sonyx

กล้องถ่ายภาพเป็นส่วนที่โซนี่เน้นมากสุดสำหรับ Xperia X ทุกรุ่น โดยนอกจากความละเอียด 23 ล้านพิกเซล กล้องพร้อมใช้ใน 0.6 วินาที สำหรับภาพนิ่ง สิ่งที่เห็นชัดเจนสุดคงเป็นโหมดอัตโนมัติที่ฉลาด ระบบคิดเปลี่ยนซีนโหมดแบบอัตโนมัติได้รวดเร็ว แม่นยำขึ้น ส่วน Manual Mode ไม่มีความโดดเด่นใดๆ เพราะระบบเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ปรับได้แค่ชดเชยแสง White Balance (ไม่มี RAW File ให้เลือกใช้เช่นเดิม) และซีนโหมดเท่านั้น (ซีนโหมดจะปรับได้ต่อเมื่อตั้งความละเอียดภาพที่ 8 ล้านพิกเซล)

camera3-sonyx

ส่วนโหมดวิดีโอ Xperia X Performance รองรับการบันทึกวิดีโอสูงสุดที่ 1080p ที่ความเร็ว 60 เฟรมต่อวินาที พร้อมระบบป้องกันภาพสั่นไหวแบบ Intelligent Active ไม่รองรับ 4K VDO แต่โซนี่ก็ชดเชยให้ด้วยระบบออโต้โฟกัสที่ฉลาดกว่าเดิมหลายเท่าตัวในชื่อ “Predictive Hybrid Autofocus”

ที่นอกจากจะเป็นออโต้โฟกัสแบบไฮบริดระหว่าง Contrast AF กับ Phase AF แล้ว ชิปประมวลผลยังสามารถคาดคะเนการเคลื่อนไหวของวัตถุในเฟรมพร้อมติดตามและโฟกัสภาพได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำไม่ต่างจากระบบออโต้โฟกัสในกล้องมิร์เรอร์เลสของโซนี่ (ลองรับชมวิดีโอตัวอย่างด้านบน)

ทดสอบประสิทธิภาพ

bench-sonyx

3dmark-sonyx

AnTuTu Benchmark = 119,421
Geekbench 3 = Single Core 2,125/Multi-Core 5,235
PC Mark = 6,152

PassMark PerformanceTest Mobile
System = 7,416
CPU Tests = 168,006
Disk Tests = 31,216
Memory Tests = 8,406
2D Graphics Tests = 5,617
3D Graphics Tests = 1,805

3D Mark
Sling Shot ES3.1 = 2,122
Sling Shot ES3.0 = 2,718
Ice Storm Unlimited = 25,657

หลายคนน่าจะดีใจที่โซนี่เลือก Qualcomm Snapdragon 820 มาใช้กับ Xperia X Performance เพราะในด้านการทดสอบประสิทธิภาพด้วยซอฟต์แวร์ต่างๆ ผลลัพท์ถือว่า Xperia X ทำคะแนนได้สูงสุดของตารางตอนนี้ แน่นอนว่าการใช้งานจริงไม่ว่าจะแอปฯหรือเล่นเกสามมิติ ถือว่าลื่นไหลดี โดยเฉพาะเรื่องความร้อนที่เคยเป็นปัญหาของ Snapdragon รุ่นก่อนหน้าก็ถูกแก้ไขแล้ว และจากการใช้งานตลอดทั้งวันก็ยังไม่พบอาการผิดปกติจากซีพียูแต่อย่างใด

battery-sonyx

z5-x

มาถึงการทดสอบแบตเตอรีด้วย Geekbench 3 แม้จะไม่น่าประทับใจเหมือนไฮเอนด์คู่แข่งในท้องตลาดตอนนี้หลายรุ่นที่ทำเวลาใช้งานต่อเนื่องแตะระดับ 10-12 ชั่วโมง แต่เมื่อเทียบกับ Xperia Z5 แล้ว Xperia X Performance (แบตเตอรี 2,700mAh) ทำเวลาใช้งานและคะแนนทดสอบแบตเตอรีได้ดีกว่า ด้วยเวลาใช้งานแบบฮาร์ดคอร์ ต่อเนื่อง (เปิดหน้าจอตลอด) ที่ 7 ชั่วโมง 13 นาที 40 วินาที โดยเมื่อคิดเป็นเวลาใช้งานทั่วไปแล้วจะอยู่ที่ประมาณ 13-14 ชั่วโมง

โดยหลังจากแบตเตอรีต่ำกว่า 15% ผู้ใช้ยังสามารถเปิด STAMINA Mode (ระบบจะจำกัดการเรียกใช้ Background data) เพื่อยืดอายุแบตเตอรีได้คล้าย Power Saving Mode

ทดสอบกล้องถ่ายภาพ

มาทดสอบกล้องถ่ายภาพทั้งกล้องหลักด้านหลังและกล้องหน้า ใน Xperia X โซนี่ปรับปรุงเรื่องคุณภาพไฟล์ โหมดอัตโนมัติ เลนส์ รวมถึงสเปกกล้องมาได้ดีกว่าเดิมมาก จากเดิมใน Xperia ตั้งแต่ Z ตัวแรกมาถึง Z5 ทีมงานไม่เคยพอใจในคุณภาพไฟล์จากสมาร์ทโฟนของโซนี่เลย โดยเฉพาะความเพี้ยนของ White Balance และการถ่ายในที่แสงน้อยซึ่งทำได้ไม่ดีอย่างมากเมื่อเทียบคู่แข่งในตอนนั้น

แต่ใน Xperia X โซนี่ปรับปรุงและแก้ไขซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์กล้องเยอะมาก จุดที่น่าสนใจก็คือการจัดการนอยซ์ที่ ISO ระดับ 1,600 (ลองดูภาพเกียร์รถที่ทีมงานเลือกถ่ายกลางคืน) จะเห็นว่าภาพยังคงความคมชัดและให้สีสันรวมถึงการวัดแสงที่ดีขึ้นมาก หรือแม้แต่การถ่ายย้อนแสง สีสันที่ได้รวมถึงความคมชัด ไดนามิกถูกปรับปรุงขึ้นอย่างชัดเจน

ส่วนกล้องหน้า 13 ล้านพิกเซล ออกแบบมาเพื่อถ่ายเซลฟีในที่แสงน้อย ให้ภาพที่ดีและคมชัดมากขึ้น

croptest

ยกตัวอย่างภาพแมว ทีมงานเลือกถ่ายที่ความละเอียดสูงสุด 23 ล้านพิกเซลและนำมาครอปแบบ 100% เพื่อดูคุณภาพ จะเห็นว่ากล้องและหน่วยประมวลผลภาพให้รายละเอียดของภาพที่ดี สามารถนำไฟล์ไปใช้งานได้จริง ยิ่งเมื่อทดสอบกับโหมด Clear Image Zoom จะเห็นว่าคุณภาพไฟล์ที่ถูกดิจิตอลซูมนั้นดีขึ้นมาก

แต่ทั้งนี้ถ้าเทียบกับคู่แข่งสมาร์ทโฟนกล้องเทพทั้งหลายในปีนี้ Xperia X อาจทำคะแนนสูสีเมื่อถ่ายภาพในสภาพแสงกลางวันปกติ แต่เมื่อถึงช่วงพลบค่ำ แสงน้อย ถึงแม้ Xperia X จะจัดการนอยซ์ได้ดีกว่าคู่แข่งหลายเจ้า แต่การรับแสงของเซ็นเซอร์และเลนส์อาจทำได้น้อยกว่า ในสถานที่แสงน้อยมากจริงๆ Xperia X อาจให้ภาพที่มืดกว่าคู่แข่งอยู่บ้าง

อีกทั้งการที่โซนี่ไม่ให้ Manual Mode มาแบบเต็มระบบ ก็ทำให้การสร้างสรรค์ภาพแบบมืออาชีพทำได้ยากใน Xperia X

สรุป

สำหรับราคา Sony Xperia X Performance อยู่ที่ 25,990 บาท มี 3 สี ได้แก่ ดำกราไฟต์ ขาว และ ชมพูโรสโกลด์

เรียกได้ว่าทั้งราคาและประสิทธิภาพก็จัดเป็นไฮเอนด์ตามชื่อ X Performance โดยประสิทธิภาพถือเป็นเรื่องโดดเด่นด้วย Snapdragon 820 ที่แรงติดระดับบนสุดของตารางตอนนี้ ในส่วนกล้องที่โซนี่เน้นปรับปรุงเป็นพิเศษ ก็ถือว่าทำได้ดีขึ้นมากในระดับที่น่าพอใจ แต่คงไม่ดีที่สุดในตลาด

ส่วนเรื่องการกันน้ำอันเป็นเอกลักษณ์เด่นมานานของโซนี่ ตามเอกสารประชาสัมพันธ์ระบุไว้ว่ารุ่นนี้สามารถกันละอองน้ำ ในสภาพฝนตกหนักได้ (water resistant) แต่ไม่ได้ระบุว่าสามารถใช้งานใต้น้ำ (waterproof) ได้ แม้จะได้มาตรฐาน IP65/68 ก็ตาม เพราะฉะนั้นใครที่สนใจ Xperia X Performance และคิดจะซื้อไปดำน้ำถ่ายวิดีโอแทน Action Camera ต้องศึกษาตรงจุดนี้ให้ดีเป็นอันดับแรก

ข้อดี

– ตัวเครื่องออกแบบใหม่ จับถือกระชับมือมากขึ้น
– สเปกเครื่องดี โดยเฉพาะซีพียู
– ฝาหลังโลหะ เป็นรอยยาก
– กล้องถูกปรับปรุงใหม่ดีขึ้นมาก
– รองรับ Carrier aggregation – 3CA และ Full NetCom 3.0

ข้อสังเกต

– ซอฟต์แวร์กล้อง Manual Mode ไม่เป็นแบบเต็มระบบ
– แบตเตอรียังไม่น่าประทับใจเหมือนคู่แข่งในระดับเดียวกัน

Gallery

]]>
Review : Sony Xperia Z5 เด่นที่กล้อง 23 ล้านพิกเซล https://cyberbiz.mgronline.com/review-sony-xperia-z5/ Tue, 24 Nov 2015 00:50:36 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=19584

head-start

หลังจากปล่อยให้แฟนๆและสาวกโซนี่ต้องนั่งร้องเพลงรอการกลับมาของ Xperia Z-Serie มานาน (เนื่องจากตอน Xperia Z4 โซนี่เลือกทำตลาดเฉพาะประเทศญี่ปุ่น) วันนี้โซนี่พร้อมแล้วที่จะนำสมาร์ทโฟนแฟลกชิปกลับมาทำตลาดทั่วโลกอีกครั้งกับ “Sony Xperia Z5” ที่เปิดตัวพร้อมกันถึง 3 รุ่นได้แก่ Xperia Z5 รุ่นมาตรฐาน (รุ่นที่เรานำมารีวิวให้ชมกันในวันนี้) Xperia Z5 Compact และรุ่นใหญ่สุด Xperia Z5 Premium

การออกแบบและสเปก

DSC01277DSC01300

โซนี่ยังคงใช้แนวทางการออกแบบ Xperia Z5 แบบ OmniBalance หรือการออกแบบให้สมดุลทุกส่วน พร้อมปรับปรุงวัสดุตรงกรอบโลหะและกระจกด้านหลังใหม่ ให้ความรู้สึกนุ่มนวลเวลาจับถือมากขึ้น อีกทั้งโซนี่ยังได้เพิ่มสีทองเข้ามาทำตลาดใหม่และตัวเครื่องป้องกันน้ำและฝุ่นตามมาตรฐาน IP65 และ IP68

water-resis-z5

ด้านขนาดตัวเครื่องกว้าง 72 มิลลิเมตร ยาว 146 มิลลิเมตร หนา 7.3 มิลลิเมตร น้ำหนัก 154 กรัม หน้าจอเป็น Triluminos พร้อมเทคโนโลยี Dynamic Contrast Enhancer ขนาด 5.2 นิ้ว ความละเอียด 1,920×1,080 พิกเซล มาพร้อมกล้องหน้าเลนส์มุมกว้างพิเศษ (25 มิลลิเมตร) ความละเอียด 5 ล้านพิกเซล รองรับการถ่ายวิดีโอ FullHD และมีระบบป้องกันภาพสั่นไหวด้วย

DSC01303

นอกจากนั้นถ้าสังเกตบริเวณขอบหน้าจอทั้งบนและล่าง จะเห็นช่องลำโพงกระจายเสียงแบบสเตอริโอติดตั้งอยู่อย่างแนบเนียนทั้ง 2 ข้าง

DSC01278

มาดูบริเวณด้านหลังของ Xperia Z5 จุดเด่นหลักอยู่ที่กล้องหลัง Sony Exmor RS ขนาด 1/2.3 นิ้วที่โซนี่ปรับปรุงใหม่ในชื่อรหัส IMX300 ประกบเลนส์ G มุมกว้าง 24 มิลลิเมตรและไฟแฟลช LED

โดย Xperia Z5 รองรับความละเอียดภาพสูงสุด 23 ล้านพิกเซล (Clear Zoom 5 เท่า) รองรับการถ่ายภาพในที่แสงน้อยด้วย ISO ที่สามารถเพิ่มระดับได้ถึง 12,800 สำหรับภาพนิ่ง และ ISO 3,200 สำหรับงานวิดีโอ พร้อมระบบออโต้โฟกัสแบบไฮบริด สามารถจับโฟกัสด้วยความเร็ว 0.03 วินาที

ส่วนระบบป้องกันภาพสั่นไหว SteadyShot ใน Xperia Z5 โซนี่ได้ปรับปรุงใหม่โดยใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ทำงานช่วยเหลือกันในชื่อ Intelligent Active SteadyShot ระบบเดียวกับที่อยู่ในกล้องดิจิตอลของโซนี่

DSC01283DSC01308

มาถึงปุ่มกดและพอร์ตเชื่อมต่อรอบตัวเครื่อง จากด้านซ้ายจะเป็นช่องใส่ซิม (รองรับ Nano SIM) และการ์ด MicroSD เพิ่มความจุเครื่องได้สูงสุด 200GB โดยทั้งสองช่องติดตั้งอยู่ในส่วนเดียวกัน พร้อมฝาปิดป้องกันน้ำเข้าตามแบบฉบับของโซนี่ ถัดลงมาด้านล่างเป็นโลโก้ Xperia

DSC01285fingerscan-z5

อีกด้านหนึ่ง จะเป็นที่อยู่ของปุ่มกดสั่งงานต่างๆ เริ่มจากซ้ายมือของภาพจะเป็นปุ่มชัตเตอร์กล้องถ่ายภาพ (กดครึ่งหนึ่งเพื่อล็อคโฟกัส กดเต็มแรงเพื่อถ่ายภาพ หรือถ้าหน้าจอปิดอยู่ กดปุ่มนี้ค้างไว้จะเป็นการเรียกแอปฯกล้องขึ้นมา) ถัดมาเป็นปุ่มเพิ่มลดระดับเสียง และตรงกลางจะเป็นปุ่มเปิดปิดเครื่อง ซึ่งในครั้งนี้โซนี่แอบใส่เซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือไว้ใต้ปุ่มดังกล่าวด้วย

DSC01294DSC01295

มาดูส่วนด้านบนและด้านล่างของตัวเครื่อง ด้านบนจะเป็นช่องเชื่อมต่อหูฟังขนาด 3.5 มิลลิเมตรและไมโครโฟนรับเสียงตัวที่สอง ด้านล่าง ตรงกลางเป็นพอร์ต MicroUSB ด้านซ้ายเป็นช่องคล้องสายรัดข้อมือ

spec-z5

ด้านสเปกหน่วยประมวลผล ครั้งนี้โซนี่มาแปลกเพราะเลือกใช้ซีพียูเจ้าปัญหา Qualcomm Snapdragon 810 Octa-core 64 บิต ความเร็ว 1.56GHz (ใช้กราฟิก Adreno 430 GPU) ที่มีปัญหาเรื่องความร้อนสะสมภายในและผู้ผลิตสมาร์ทโฟนเกือบทุกเจ้าต่างหลีกเลี่ยงชิปตัวนี้ทั้งนั้น

โดยโซนี่มั่นใจว่าตนจะสามารถจัดการกับปัญหาเหล่านี้ได้ด้วยวิธีเพิ่มท่อระบายความร้อนแบบคู่ (Dual Heat pipes) ประกบเข้ากับ Heat sink บนซีพียูและระบายออกทางฝาหลังตัวเครื่อง ซึ่งผลลัพท์จะเป็นอย่างไรติดตามในส่วนทดสอบประสิทธิภาพต่อไป

กลับมาดูเรื่องสเปกแรมกันต่อ โซนี่ใส่แรมมาให้ 3GB รอมภายใน 32GB เหลือใช้งานจริงประมาณ 21.78GB แบตเตอรีใส่มา 2,900mAh และโซนี่เครมว่าแบตเตอรีสามารถใช้งานได้ยาวนาน 2 วัน

มาถึงเรื่องระบบเชื่อมต่อต่างๆ Sony Xperia Z5 รองรับ 3G/4G LTE ทุกเครือข่ายในไทย ส่วน WiFi เลือกใช้ MiMo เข้ามาเสริม มี NFC, Bluetooth 4.1 อีกทั้งพอร์ต MicroUSB ยังรองรับการเชื่อมต่อสาย MHL รุ่น 3.0 ด้วย

ยูสเซอร์อินเตอร์เฟสและฟีเจอร์เด่น

apps-z5-1apps-z5-2homescreen-z5

ระบบปฏิบัติการที่ใช้ขับเคลื่อน Xperia Z5 คือ Android 5.1.1 Lollipop ซึ่งมีหน้าตาการทำงานและแอปฯหลายตัวคล้ายกับ Xperia M5 ที่ทีมงานได้รีวิวไปก่อนหน้านี้แล้ว เพราะฉะนั้นในส่วนนี้ ทีมงานจะเน้นอธิบายฟีเจอร์ที่เพิ่มเข้ามาใหม่เพียงอย่างเดียว ส่วนฟีเจอร์เดิมผู้อ่านสามารถย้อนกลับไปอ่านได้จากลิงค์ด้านล่างนี้

streaming-video-z5

Screenshot Live Streaming – เป็นฟีเจอร์ที่มีอยู่ใน Xperia Z3 เดิมแต่ถูกพัฒนาปรับปรุงใหม่ใน Xperia Z5 กับความสามารถในการถ่ายทอดสดจากหน้าจอสมาร์ทโฟนของคุณไปสู่บริการ YouTube Live ได้ รวมถึงระหว่างถ่ายทำคุณยังสามารถเปิดกล้องหน้าได้ด้วย เหมาะแก่ผู้ใช้ที่อยากทำคลิปวิดีโอสอนการใช้แอปฯต่างๆได้อย่างดี

hires-option-z5

Hi-Res Audio – ได้ชื่อว่าเป็นสมาร์ทโฟนเรือธง เพราะฉะนั้นโซนี่ต้องจัดเต็มเรื่องคุณภาพเสียงเช่นเดิม โดย Xperia Z5 มาพร้อมชิปประมวลผลเสียง Hi-Res Audio 24bit/96KHz รองรับการเล่นไฟล์ FLAC ที่เข้ารหัส Hi-Res Audio ได้ รวมถึงรองรับการเชื่อมต่อหูฟังบลูทูธ Hi-Res และหูฟังที่มีระบบตัดเสียงรบกวนแบบดิจิตอล Digital Noise Canceling

นอกจากนั้นตัวระบบยังสามารถเปิด S-Force Front Surround ใช้งานร่วมกับลำโพงคู่หน้าบนสมาร์ทโฟนตัวนี้ได้ ซึ่งจะช่วยให้เสียงมีมิติมากขึ้น เหมาะแก่การเปิดระหว่างรับชมภาพยนตร์

party-share-z5

PartyShare – เป็นแอปฯสร้างสรรค์ตัวใหม่ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ Xperia Z5 กับเพื่อนที่มีสมาร์ทโฟนโซนี่และรองรับ PartyShare สามารถแชร์คอนเทนต์ เช่น ภาพถ่ายหรือรายการเพลงกับเพื่อนๆแบบเรียลไทม์ได้โดยไม่ต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

xperia-transfer-mobile

Xperia Transfer Mobile เป็นอีกหนึ่งบริการอำนวยความสะดวกสำหรับคนที่กำลังคิดเปลี่ยนจากสมาร์ทโฟนรุ่นเก่ามายัง Xperia Z5 โดย Xperia Transfer Mobile จะช่วยให้คุณย้ายข้อความ สมุดโทรศัพท์และอื่นๆได้อย่างอัตโนมัติ ไม่ต้องมานั่งคัดลอกด้วยตัวเองเหมือนสมัยก่อน

camera1-z5camera2-z5

มาถึงกล้องถ่ายภาพ สำหรับซอฟต์แวร์กล้องยุคใหม่ของโซนี่จะเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถถ่ายภาพที่ความละเอียดสูงสุด 23 ล้านพิกเซลในโหมดอัตโนมัติพิเศษได้ ส่วนโหมด Manual ปรับแต่งค่ากล้องเอง จะอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถตั้งชดเชยแสง White Balance และเปิดปิด HDR หรือเลือกซีนโหมดได้ด้วยตัวเองเท่านั้น ยังไม่เห็นฟีเจอร์ปรับความเร็วชัตเตอร์ ถ่าย RAW ได้เหมือนคู่แข่ง (แม้ตัวฮาร์ดแวร์จะรองรับก็ตาม)

camera3-video-z5

สุดท้ายโหมดวิดีโอ 4K มีสิ่งที่เปลี่ยนไปคือ การรองรับไฟล์รูปแบบใหม่ H.265 ที่ใช้พื้นที่เก็บข้อมูลน้อยกว่ารูปแบบ H.264 อีกทั้งวิดีโอ 4K ยังรองรับระบบป้องกันภาพสั่นไหว SteadyShot เป็นครั้งแรกของโซนี่ด้วย

ทดสอบประสิทธิภาพ

benchmark2-z5benchmark-z5

ไม่เสียแรงที่ใช้ซีพียูแฟลกชิป Qualcomm Snapdragon 810 ที่ถึงแม้หลายเจ้าจะเมินหน้าหนีเพราะปัญหามากมาย แต่โซนี่กลับเลือกใช้และทำให้ผลคะแนนทดสอบออกมาดีมากจนสูสีกับแชมป์เก่า Samsung Galaxy S6 edge ที่เคยทำคะแนน AnTuTu ไว้สูงสุดของตาราง (68,296 คะแนน)

แบรนด์ คะแนนทดสอบ ราคาเปิดตัว
Samsung Galaxy S6 edge (64 บิต) 68,296 27,900.-
Sony Xperia Z5 (64 บิต) 64,201 24,990.-
Apple iPhone 6s Plus 128GB 58,689 30,500.-
Apple iPhone 6s 128GB 58,615 26,500.-
Samsung Galaxy Note 5 61,835 25,900.-
HTC One M9+ 50,794 24,990.-
LG G4 (Korea Model) 50,610 21,990.-
Samsung Galaxy Note Edge 48,156 28,900.-
Sony Xperia Z3 45,039 23,990.-


เรื่องประสิทธิภาพหมดห่วงได้แต่เรื่องความร้อนของ Qualcomm Snapdragon 810 สรุปโซนี่จัดการได้ดีหรือไม่ คำตอบคือ “จัดการได้ดีระดับหนึ่ง”
เพราะทีมงานได้ทดลองตั้งแต่เล่นเกม 3 มิติ ถ่ายภาพต่อเนื่องและถ่ายวิดีโอ FullHD ต่อเนื่อง พบว่า ไม่เจอปัญหาแอปฯปิดตัวเพราะเครื่องค้างเหมือนกับที่หลายแบรนด์พบเจอ แต่จุดที่น่าเป็นห่วงก็คือฝาหลังเครื่อง (บริเวณโลโก้ SONY) จะมีความสะสมค่อนข้างมากและกลายเป็นเรื่องน่ากังวลของผู้ที่ได้ลองสัมผัส หลายคนจับแล้วต้องร้องตกใจกับความร้อนที่เกิดขึ้นพร้อมตั้งคำถามว่า

“ตอนนี้ไม่มีปัญหาอะไรเพราะโซนี่ออกแบบการระบายความร้อนมาได้ค่อนข้างดี แต่ถ้าใช้เป็นระยะเวลานาน (ในที่นี้หมายถึงใช้เครื่องนานกว่า 1-2 ปีขึ้นไป) ระบบระบายความร้อนจะมีปัญหาหรือไม่ ซิลิโคนและฮีตไปป์คู่จะยังทำงานได้เต็มประสิทธิภาพเหมือนช่วงซื้อเครื่องใหม่หรือไม่” คำถามเหล่านี้ทีมงานอยากฝากทีมโซนี่เข้ามาตอบจะเป็นเรื่องที่ดีอย่างยิ่ง…

จบเรื่องทดสอบประสิทธิภาพ มาดูเรื่องงานวิดีโอกับการทดสอบจุดเด่นสำคัญก็คือ “ไมโครโฟนรับเสียงสเตอริโอกับระบบออโต้โฟกัสที่ทำงานร่วมกับระบบป้องกันภาพสั่นไหวตัวใหม่” จุดนี้จาก 2 คลิปวิดีโอด้านบน ถือว่าโซนี่ปรับปรุงงานวิดีโอมาได้ดีกว่าเดิมมาก และถือเป็นกล้องถ่ายวิดีโอบนสมาร์ทโฟนที่มีประสิทธิภาพสูงติดอันดับต้นๆของปีนี้ได้เลย

4k-prob

H.265 ถูกใช้ในการบีบอัดไฟล์ 4K รูปแบบใหม่ เพราะขนาดไฟล์ที่เล็กลงแต่คุณภาพเท่าต้นฉบับ แต่ปัจจุบันซอฟต์แวร์ที่จะใช้จัดการไฟล์ลักษณะนี้ยังมีน้อยมาก

ในส่วนวิดีโอ 4K จุดนี้ถือว่าให้ผลลัพท์ที่ดีกว่าเดิม แต่ถามว่าดีที่สุดไหม ทีมงานขอตอบว่า “ไม่” ข้อสังเกตสำคัญของวิดีโอ 4K บน Xperia Z5 ก็เหมือนกับรุ่นก่อนหน้าก็คือ ไฟล์คุณภาพสูงจริง แถมมีให้เลือก 2 รูปแบบทั้ง H.264 และ H.265 ใหม่ แต่เมื่อต้องการนำไฟล์ออกมาใช้งานจริง ความลำบากจะเกิดขึ้นทันทีเพราะในตัวสมาร์ทโฟนเองยังไม่มีซอฟต์แวร์เข้ามาจัดการไฟล์ 4K เหล่านี้ได้ โดยเฉพาะ H.265 (ขนาดซอฟต์แวร์ที่ติดมากับเครื่องยังฟ้องไม่รู้จักเลย) เพราะฉะนั้นถ้าใครถ่าย 4K มาแล้วอยากตัดต่อเรียบเรียงคลิปก็ต้องใช้วิธีเดียวคือดึงไฟล์มาจัดทำบนเครื่องคอมพิวเตอร์สเปกสูงเท่านั้น

ภาพจากกล้องหน้า Sony Xperia Z5

มาถึงการทดสอบกล้องถ่ายภาพ 23 ล้านพิกเซล ถือเป็นจุดสูงสุดของ Xperia Z5 เลยก็ว่าได้ เพราะตั้งแต่โซนี่ปรับไปใช้เซ็นเซอร์รับภาพตัวใหม่ คุณภาพไฟล์ถือว่าทำได้ดีขึ้น โดยเฉพาะการเลือกซีนโหมด การปรับสมดุลแสงและโทนภาพทำได้ฉลาดขึ้น ยิ่งเป็นภาพในที่แสงน้อยหรือภาพวิวช่วงกลางคืนด้วยแล้ว Xperia Z5 ให้ผลลัพท์ภาพที่ดีกว่ารุ่นที่แล้วแน่นอน

แต่ทั้งนี้ถ้าถามว่าคุณภาพไฟล์ภาพดีขึ้นมากจนน่าประทับใจไหม คำตอบของทีมงานก็คือ ดีกว่าเดิมครับ แต่ไม่ถึงกับดีจนน่าประทับใจ ไฟล์ภาพคุณภาพกลางๆ (รู้สึกเหมือนกล้องใน Xperia M5 จะทำได้น่าประทับใจกว่า) ทำให้จุดเด่นเรื่องกล้องทั้งหมดไปตกอยู่กับเรื่องระบบออโต้โฟกัสแบบไฮบริดที่ทำได้ดีมาก

ตารางผลทดสอบแบตเตอรีสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ประจำปี 2015 (กรกฏาคม-ธันวาคม)

*โมเดลขายในประเทศไทย / ชุดทดสอบ : Geekbench / ทดสอบจากสถานะแบตเตอรี 100% ถึง 0%
*EXTREMELY TEST เป็นการสอบแบบหนักหน่วง (เปิดหน้าจอตลอดเวลา) ไม่ใช่การทดสอบใช้งานทั่วไป

*คาดการณ์เวลาสำหรับใช้งานทั่วไปให้ +6 ชั่วโมงโดยประมาณ จากช่องเวลาที่ทำได้

แบรนด์ ความจุแบตเตอรี สเปก CPU/DISPLAY/OS Ver. เวลาที่ทำได้ คะแนน ราคาเปิดตัว
Samsung Galaxy Note 5 3,000 mAh Exynos 7420 Octa 1.5+2.1 / 5.7″ 2K / A5.1.1 8h39m50s 5,198 25,900.-
Sony Xperia M5 Dual 2,600 mAh MediaTek Helio X10 Octa 2.0 / 5″ 1080p / A5.0 7h18m30s 3,157 14,990.-
i-mobile IQ II Android One 2,500 mAh Snapdragon 410 Quad 1.2 / 5″ 720p / A5.1.1 7h10m00s 2,867 4,444.-
Lenovo Phab Plus 3,500 mAh Snapdragon 615 Octa 1.5 / 6.8″ 1080p / A5.0 6h6m50s 2,446 11,990.-
Samsung Galaxy Tab S2 4,000 mAh Exynos 5433 Octa 1.9+1.3 / 8″ 2K / A5.0.2 6h36m10s 3,945 15,900.-
LG G4 (Korea Model) 3,000 mAh Snapdragon 808 Hexa 1.44 / 5.5″ 2K / A5.1 5h47m20s 3,470 21,990.-
Sony Xperia Z5 2,900 mAh Snapdragon 810 Octa 1.56 / 5.2″ 1080p / A5.1.1 5h29m50s 3,298 24,990.-

สุดท้ายกับการทดสอบแบตเตอรี โซนี่เครมไว้ว่าสามารถใช้งานได้ 2 วัน แต่เอาเข้าจริงแล้ว ถ้าใช้งานทั่วไปแบตเตอรีจะอยู่ได้ประมาณ 11-13 ชั่วโมง ใช้งานสลับสแตนบายรอรับสายโทรเข้าจะอยู่ได้ 1 วัน (เปิดโหมด STAMINA) ส่วนถ้าใช้งานหนักหน่วง เช่น เล่นเกม 3 มิติ แบตเตอรีจะลดลงอย่างรวดเร็วเพียง 4-5 ชั่วโมงเท่านั้น จุดนี้น่าจะมีผลมาจากชิป Snapdragon 810 ด้วย คะแนนแบตเตอรีถึงได้ตกไปอยู่ท้ายตารางเลย

สรุป

สำหรับราคาเปิดตัว Sony Xperia Z5 อยู่ที่ 24,990 บาท ถือเป็นการกลับมาของโซนี่โมบายที่ยังคงเน้นเรื่องกล้องถ่ายภาพเป็นจุดขายสำคัญ ส่วนเรื่องสเปกเครื่องถือเป็นการอัปเกรดตามกระแส ไม่มีสิ่งใดหวือหวา ยกเว้นในรุ่น Z5 Premium ที่มาพร้อมหน้าจอความละเอียด 4K 806ppi แต่ก็ต้องแลกกับราคาที่เพิ่มเป็น 27,990 บาท

ข้อดี

– ออกแบบดี งานประกอบแน่นหนาเหมือนเดิม
– ระบบป้องกันภาพสั่นไหวตัวใหม่ยอดเยี่ยมขึ้นมาก
– ระบบออโต้โฟกัสแบบไฮบริดทำงานรวดเร็วและแม่นยำ
– รองรับ Hi-Res Audio
– Clear Zoom 5 เท่า ใช้งานได้จริง

ข้อสังเกต

– เวลาใช้งานหนัก ฝาหลังจะร้อนมากกว่าปกติและแบตเตอรีลดลงอย่างรวดเร็ว
– 4K H.265 ใช้งานจริงยากมาก เพราะตัวเครื่องไม่มีซอฟต์แวร์จัดการมาให้
– ซอฟต์แวร์กล้องยังดึงประสิทธิภาพกล้องออกมาไม่เต็มที่

Gallery

]]>
Review: Sony Xperia M5 ปรับใหม่ กล้องเยี่ยม เทียบไฮเอนด์ สเปกคุ้มราคา https://cyberbiz.mgronline.com/sony-xperia-m5/ Mon, 12 Oct 2015 07:57:47 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=17821

558000011834602

ก่อนที่สมาร์ทโฟนท็อปฟอร์มกระแสดีอย่าง Sony Xperia Z5 จะวางขายอย่างเป็นทางการ Sony Xperia M5 ก็ถือเป็นสมาร์ทโฟนระดับกลางที่หลายคนให้ความสนใจไม่แพ้กัน เพราะในครั้งนี้โซนี่ตั้งใจลบเสียงวิจารณ์ด้านลบที่เคยเกิดขึ้นกับ M4 Aqua โดยเฉพาะกล้องถ่ายภาพที่โซนี่จัดเต็มทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ไม่แพ้ Z5 จนได้ชื่อว่า “เป็นสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ระดับกลางที่มาพร้อมกล้องถ่ายภาพความละเอียดสูงที่สุดในโลก” และถือเป็นครั้งแรกที่โซนี่ปรับปรุงกล้องถ่ายภาพใหม่หมดโดยนำฟีเจอร์จากกล้องดิจิตอลตระกูลอัลฟ่ามาบรรจุลงใน Xperia M5 พร้อมด้วยราคาที่ยังจัดว่าคุ้มค่าคุ้มราคาอีกด้วย

การออกแบบ

558000011834603558000011834604

แต่ก่อนจะไปรับชมรีวิวจุดเด่นต่างๆ เรามาดูเรื่องการออกแบบกันก่อน สำหรับ Xperia M5 รุ่นที่วางจำหน่ายในไทยจะเป็นรุ่นซิมเดียว (แต่เครื่องรีวิวเป็น Dual Sim) และมีสีให้เลือก 3 สีได้แก่ ดำ ขาวและทอง

ภาพรวมด้านการออกแบบ การวางปุ่มต่างๆ โซนี่ยึดตามหลัก OmniBalance เช่นเดิม ด้านหน้าของตัวเครื่อง โซนี่เลือกใช้วัสดุเป็นกระจกป้องกันรอยขีดข่วน ด้านบนเหนือโลโก้ Sony เป็นช่องลำโพงฟังเสียงสนทนา ด้านล่างเป็นช่องไมโครโฟนตัวที่ 1

หน้าจอเป็น IPS LCD ขนาด 5 นิ้ว ความละเอียด 1,920×1,080 พิกเซล ประกบหน่วยประมวลผล BRAVIA Engine 2 ตัวเครื่องหนา 7.6 มิลลิเมตร ขอบเครื่องจากสเปกชีทระบุว่าเป็นอลูมิเนียม น้ำหนักตัวเครื่องรวม 142.5 กรัม

และที่สำคัญโซนี่ยังคงรักษาจุดขายของตนในเรื่องการป้องกันน้ำและฝุ่นตามมาตรฐาน IP65/68

558000011834605

มาดูกล้องหน้า ถือเป็นครั้งแรกที่โซนี่ปรับให้เข้ากับยุคแห่งการเซลฟีมากขึ้น โดย Xperia M5 มาพร้อมกล้องหน้าความละเอียด 13 ล้านพิกเซล ประกบเซนเซอร์รับภาพ Exmor RS รองรับ HDR และสามารถถ่ายวิดีโอที่ความละเอียด 1,920×1,080 พิกเซล ที่ความเร็ว 30 เฟรมต่อวินาที

558000011834606

ด้านหลังของตัวเครื่อง ใช้วัสดุเป็นกระจกเช่นเดียวกับด้านหน้า จุดเด่นอยู่ที่กล้องถ่ายภาพด้านหลัง 21.5 ล้านพิกเซล รูรับแสง f2.2 ประกบเซนเซอร์รับภาพ Exmor RS รองรับความไวแสงสูงสุด ISO 3,200 และรองรับระบบซูมภาพแบบไม่สูญเสียความคมชัดที่ 5 เท่า พร้อมระบบโฟกัสภาพแบบ Hybrid Auto focus (Phase + Contrast Detection จากเทคโนโลยีโฟกัสของกล้องตระกูลอัลฟ่า) ที่ช่วยให้โฟกัสเร็วถึง 0.25 วินาทีและโฟกัสในที่แสงน้อยทำได้แม่นยำขึ้น ถัดมาเป็นไฟแฟลช LED 1 ดวง

ตรงกลางเป็นส่วนของภาครับสัญญาณ NFC และโลโก้ Sony ถัดลงไปด้านล่างเป็นชื่อรุ่น Xperia

558000011834607

ในส่วนปุ่มกดและช่องเชื่อมต่อต่างๆรอบตัวเครื่อง เริ่มจากด้านซ้ายของเครื่อง จะเป็นที่อยู่ของช่องใส่ซิมการ์ดโทรศัพท์แบบ Nano Sim และช่องใส่การ์ดเพิ่มความจุตัวเครื่อง MicroSD รองรับความจุสูงสุด 200GB Class 10 หรือ UHS Class 1

558000011834608

โดยหลังใส่ซิมหรือการ์ด MicroSD แล้วควรปิดช่องดังกล่าวให้สนิทเพื่อป้องกันน้ำและฝุ่นละอองผ่านเข้าไปภายในตัวเครื่อง เวลาเราต้องนำเครื่องไปลุยฝนหรือลุยน้ำในรูปแบบต่างๆ

558000011834609

ด้านขวาของเครื่อง จากซ้ายของภาพเป็นปุ่มชัตเตอร์ โดยเมื่อหน้าปิดอยู่สามารถกดค้างเพื่อเรียกกล้องถ่ายภาพได้ทันที ถัดมาเป็นปุ่มเพิ่มลดระดับเสียง และสุดท้ายปุ่มวงกลมคือปุ่มเปิดปิดเครื่อง

558000011834610558000011834611

ด้านบนเครื่อง เป็นที่อยู่ของช่องหูฟัง 3.5 มิลลิเมตรและไมโครโฟนตัวที่ 2 สำหรับตัดเสียงรบกวน ส่วนด้านล่างเครื่องตรงกลางเป็นช่อง MicroUSB สำหรับชาร์จไฟและเชื่อมต่อข้อมูลกับคอมพิวเตอร์ ถัดไปด้านซ้ายเป็นช่องลำโพง (Internal Speaker)

สเปก

558000011834612

มาถึงด้านสเปกเครื่อง Sony Xperia M5 ขับเคลื่อนด้วยซีพียู 64 บิตตัวฮิตของปีนี้ในชื่อ MediaTek Helio X10 Octa-core (8 คอร์) ความเร็ว 2.0GHz กราฟิกเป็นของ PowerVR รุ่น Rogue G6200 แรมให้มา 3GB ความจุภายในตัวเครื่อง 16GB เหลือใช้งานจริงประมาณ 9.05GB ส่วนระบบปฏิบัติการเลือกใช้ แอนดรอยด์ 5.0 Lollipop แบบ 64 บิตเต็มรูปแบบ

ในส่วนการเชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ Xperia M5 รองรับ 3G และ 4G LTE ทุกเครือข่ายในประเทศไทย WiFi รองรับมาตรฐาน 802.11 a/b/g/n Dual band ทั้ง 2.4GHz และ 5GHz นอกจากนั้นยังรองรับ DLNA และ Wi-Fi Direct ส่วน GPS รองรับทั้ง aGPS และ GLONASS พร้อมบลูทูธ 4.1 รองรับการเชื่อมต่อ aptX แต่ไม่รองรับ Hi-Res Audio เหมือนรุ่นพี่ใหญ่ Xperia Z5

สำหรับแบตเตอรี ให้มา 2,600mAh ตามสเปกชีทระบุว่าสามารถสนทนาได้ต่อเนื่อง 11 ชั่วโมง 49 นาที ส่วนเล่นวิดีโอต่อเนื่องได้ยาวนาน 8 ชั่วโมง 2 นาที

ฟีเจอร์เด่น

558000011834613

ภาพรวมของยูสเซอร์อินเตอร์เฟสของโซนี่บนแอนดรอยด์ 5.0 Lollipop ไม่ค่อยแตกต่างจากรุ่นก่อนหน้ามากนัก จุดที่เปลี่ยนแปลงไปส่วนใหญ่จะอยู่ในส่วนไอคอนและหน้าตาแอปฯบางตัวมีการปรับให้เรียบง่ายขึ้นตามรูปแบบของ Material Design

558000011834614

โดยเฉพาะส่วนของแถบแจ้งเตือน (Notification) ที่ดึงหน้าตาแถบแจ้งเตือนบนแอนดรอยด์ 5.0 Lollipop ออกมาใช้ได้อย่างลงตัวพร้อมเพิ่มความสามารถให้ผู้ใช้สามารถเลือกเพิ่มเมนูตั้งค่าด่วนได้ตามต้องการ

558000011834615

ในส่วนแอปฯจากโรงงานที่น่าสนใจ นอกจากแอปฯเดิมอย่าง Sketch, What’s New และแอปฯอื่นๆ จะได้รับอัปเดตให้รองรับแอนดรอยด์ 5.0 Lollipop รวมถึงปรับดีไซน์ใหม่แล้ว ทางโซนี่ยังได้เพิ่มแอปฯในกลุ่ม Play Station Network สำหรับผู้ใช้ที่มีเครื่องเล่นเกมคอนโซล PlayStation 4 อยู่ สามารถเชื่อมต่อเครื่องเล่นเกมดังกล่าวเข้ากับสมาร์ทโฟนกลุ่ม Xperia และแชร์เกมมาเล่นบนสมาร์ทโฟนได้ด้วยฟีเจอร์ Remote Play ที่ทำงานได้ลื่นไหลกว่าเดิม

558000011834616558000011834617

ด้านฟีเจอร์จับภาพหน้าจอในรูปแบบวิดีโอที่ผู้ใช้หลายคนชื่นชอบก็ยังคงมีให้เลือกใช้งานเหมือนเดิม หรือแม้แต่ระบบตั้งค่าเสียง ClearAudio+ ที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของโซนี่ก็ยังคงมีให้เลือกปรับแต่งได้เหมือนรุ่นก่อนหน้าทั้งหมด แต่น่าเสียดายที่ Xperia M5 ไม่มีชิปประมวลผลเสียงคุณภาพสูงติดตั้งมาให้ ทำให้เมนูปรับเสียงบางฟังก์ชัน เช่น Clear Phase, HiRes Audio, xLOUD ถูกตัดออกไปทั้งหมด

558000011834618

STAMINA กลายเป็นจุดเด่นสำคัญของสมาร์ทโฟนโซนี่ทุกรุ่น เพราะฟังก์ชันนี้ช่วยในการจัดการพลังงานและประหยัดแบตเตอรีได้ค่อนข้างดี โดยเฉพาะโหมด Ultra STAMINA ที่ช่วยชีวิตเวลาสมาร์ทโฟนแบตเตอรีใกล้หมด โดยโหมดดังกล่าวจะปิดการดึงข้อมูลเบื้องหลังทั้งหมด รวมถึงปิดอินเตอร์เน็ทให้เหลือไว้เพียงความสามารถในการโทรออกรับสาย ถ่ายรูปและส่งข้อความ

558000011834619

Movie Creator มาถึงแอปฯที่ถูกเพิ่มเข้ามาใหม่ กับความสามารถในการช่วยลำดับภาพวิดีโอและภาพนิ่งแบบง่ายในสไตล์จับใส่ๆแล้วแอปฯจะประมวลผลให้อัตโนมัติ รวมถึงผู้ใช้สามารถเลือกใส่ฟิลเตอร์หรือใส่ดนตรีประกอบ (คล้ายกับ Google Photos) ได้แบบฟรีๆ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการทำพรีเซนต์รวมภาพหรือวิดีโอประจำสัปดาห์ ไว้เปิดดูเล่นกับครอบครัว

กล้องถ่ายภาพ


 

558000011834620

มาโฟกัสเรื่องกล้องกันบ้าง ซอฟต์แวร์ควบคุมกล้องใน Xperia M5 มีหน้าตาไม่แตกต่างจากซอฟต์แวร์กล้องของ Xperia รุ่นก่อนหน้า โดยโซนี่ได้ปรับปรุงเรื่องความเสถียรและความรวดเร็วในการประมวลผลภาพให้ดีขึ้น รวมถึงโหมดอัตโนมัติพิเศษ (Superior Auto) กับการเลือกซีนโหมดไปถึงการปรับแสงสีที่ทำได้รวดเร็วและแม่นยำกว่าเดิมด้วยฮาร์ดแวร์กล้องชุดใหม่

ในส่วนวิดีโอมีการเพิ่มความละเอียด FullHD 1080p ที่ความเร็ว 60 เฟรมต่อวินาทีเข้ามา รวมถึงโหมดสโลโมชันที่คมชัดขึ้น

558000011834621

สำหรับการถ่ายวิดีโอความละเอียด 4K ที่มีมาตั้งแต่รุ่นที่แล้ว ใน Xperia M5 โซนี่ได้ปรับปรุงเรื่องคุณภาพไฟล์ภาพโดยเฉพาะความคมชัดที่ทำได้ดีขึ้นมาก แต่ทั้งนี้การถ่ายวิดีโอ 4K จะไม่สามารถเปิดโหมดกันภาพสั่นไหว SteadyShot ได้

558000011834622

สุดท้ายสำหรับสิ่งที่เพิ่มเติมมาจากรุ่นก่อนหน้า จะอยู่ที๋โหมดถ่ายภาพใหม่ “หน้ากาก AR โดยระบบจะใช้ระบบตรวจจับใบหน้าวิเคราะห์หน้าของเรา จากนั้นผู้ใช้สามารถเลือกใส่หน้ากากลวดลายต่างๆทับใบหน้าเดิมได้ตามต้องการ ถือเป็นโหมดภาพที่สร้างเสียงหัวเราะอย่างมาก

ในส่วนโหมดถ่ายภาพนิ่งและเคลื่อนไหวอื่นๆจะเหมือนกับ Xperia รุ่นก่อนหน้า และสามารถดาวน์โหลดโหมดถ่ายภาพใหม่ๆเพิ่มเติมได้จาก PlayStore

ทดสอบประสิทธิภาพ

558000011834624558000011834623

ปัจจุบันด้วยสเปกเครื่องและซอฟต์แวร์รุ่นใหม่แบบ 64 บิต ทำให้แอนดรอยด์สมัยใหม่มีความลื่นไหล รวดเร็วและน่าใช้มากขึ้น โดย Xperia M5 ก็ถือเป็นหนึ่งในสมาร์ทโฟนระดับกลางยุคใหม่ที่มีประสิทธิภาพดี ตั้งแต่ใช้งานทั่วไปถึงเล่นเกม โดยเฉพาะความลื่นไหลของ OS และ UI ถือว่าโซนี่จัดการได้ดีขึ้นมาก

โดยทั้งหมดนี้ถ้าถามถึงจุดคุ้มค่าที่จะทำให้คนยอมจ่ายเงินซื้อ Xperia M5 เรื่องประสิทธิภาพด้านการประมวลผลคงไม่ใช่คำตอบเพราะมองในภาพรวมก็ไม่ต่างจากสมาร์ทโฟน 64 บิตในช่วงราคาระดับเดียวกันในยุคนี้ แต่ถ้าเป็นเรื่องคุณภาพกล้องถ่ายภาพ สิ่งนี้คือจุดคุ้มค่าที่หลายคนเห็นแล้วอาจเกิดอาการอยากเสียเงินให้สมาร์ทโฟนโซนี่รุ่นนี้ได้ไม่ยาก

>ชมรูปตัวอย่างเต็มความละเอียด กรุณาคลิก<

ลองมานั่งนึกดูว่าปัจจุบันสมาร์ทโฟนในช่วงราคาไม่เกิน 15,000 บาทที่ส่วนใหญ่จะมีสเปกใกล้เคียงกัน มีรุ่นใดเน้นกล้องเป็นจุดขายและให้ผลลัพท์ที่โดดเด่นบ้าง นึกดูแล้วในปีนี้ก็ยังไม่เห็นสมาร์ทโฟนรุ่นใดมีกล้องที่โดดเด่นเท่า Sony Xperia M5 ได้เลย

เพราะในสเปกกล้องของ Xperia M5 ถือว่าครั้งนี้โซนี่จัดเต็มฮาร์ดแวร์มาใกล้เคียงกับไฮเอนด์ Z5 ตั้งแต่ความละเอียดภาพ 21.5 ล้านพิกเซล (ทั้งในโหมด Manual และ Superior Auto) พร้องระบบ Clear Zoom 5 เท่า ที่อัตราส่วน 4:3, กล้องหน้า 13 ล้่านพิกเซล หน่วยประมวลผลภาพตัวใหม่รองรับความไวแสงสูงถึง ISO 3,200 ที่ใช้งานได้จริงและให้ผลลัพท์ภาพถ่ายในที่แสงน้อยที่ยอดเยี่ยม โดยเฉพาะโฟกัสแบบไฮบริด อีกทั้งระบบกล้องยังค่อนข้างฉลาดในการปรับใช้ HDR ควบคู่ซีนโหมดได้ดีเมื่ออยู่ในโหมดถ่ายภาพอัตโนมัติพิเศษ

558000011834625

ในส่วนระบบซูมภาพแบบไม่เสียความละเอียด (ClearZoom) ที่มีตั้งแต่รุ่นก่อนหน้า โซนี่ได้ปรับใหม่อีกครั้งใน Xperia M5 ซึ่งผลลัพท์ภาพที่ออกมาถือว่าทำได้น่าพอใจและกลายเป็นสมาร์ทโฟนที่มี Digital Zoom ดีที่สุดในตอนนี้

ด้านงานวิดีโอ ใน Xperia M5 โซนี่ได้ปรับปรุงคุณภาพวิดีโอใหม่ให้มีความคมชัดมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของสีสันและการเก็บรายละเอียดแสงสีที่อิ่มตัวขึ้น แต่น่าเสียดายในเรื่องระบบกันภาพสั่นไหวที่ใน M5 จะมีให้เลือกเพียง SteadyShot แบบซอฟต์แวร์เท่านั้น ต่างจากใน Xperia Z5 ที่เป็นระบบซอฟต์แวร์ผสมฮาร์ดแวร์ในชื่อ SteadyShot with Intelligent Active Mode

558000011834626

มาถึงการทดสอบสุดท้ายกับแบตเตอรีด้วยชุดทดสอบเดิม Geekbench ผลคะแนนถือว่าทำได้น่าพอใจ เพราะสามารถทำเวลาใช้งานได้นานถึง 7 ชั่วโมง 18 นาที 50 วินาที ส่วนเมื่อใช้งานทั่วไปแบตเตอรีความจุ 2,600mAh สามารถใช้งานได้นานกว่า 13-14 ชั่วโมงแน่นอน

สรุป

558000011834635

สำหรับราคาเปิดตัว Sony Xperia M5 อยู่ที่ 14,990 บาท เทียบกับคุณภาพ สเปกและประสิทธิภาพที่ได้ ถือเป็นอีกหนึ่งสมาร์ทโฟนระดับกลางที่เมื่อเทียบราคาแล้วมีความคุ้มค่าจนไม่น่าเชื่อว่าจะได้เห็นจากแบรนด์โซนี่ จุดขายที่น่าสนใจสุดของ Xperia M5 คือคุณภาพกล้องที่เทียบกับไฮเอนด์หลายเจ้าและดีกว่ากล้องบนสมาร์ทโฟนราคาระดับเดียวกันเกือบทุกตัว โดยเฉพาะกล้องหน้าที่คาดว่าจะถูกใจสาวๆอย่างยิ่ง

ถือเป็นน้องกลางที่มีพลังในตัวสูงใกล้เคียงพี่ใหญ่ Xperia Z5 ถ้าผู้อ่านที่กำลังสนใจ ชอบถ่ายภาพแบบง่ายๆแต่ให้คุณภาพสูงและเน้นการใช้งานทั่วไปมากกว่าเน้นระบบมัลติมีเดียและใช้เล่นเกมกราฟิกสูงๆเป็นงานหลัก Sony Xperia M5 ก็ถือเป็นตัวเลือกที่ไม่ควรมองข้ามในชั่วโมงนี้

ข้อดี

– สเปกดี มีอนาคต อัปเดตได้ไกลเพราะเป็น 64 บิตแท้ๆ
– แบตเตอรีและระบบจัดการพลังงานได้ดี
– กล้องปรับใหม่ให้คุณภาพที่ดีกว่าเดิมมาก โดยเฉพาะกล้องหน้า 13 ล้่านพิกเซล
– งานประกอบดี วัสดุหน้าหลังเป็นกระจก
– รับ 4G LTE เพิ่มความจุได้ด้วย MicroSD Card
– กันน้ำ กันฝุ่น

ข้อสังเกต

– งานออกแบบ ขอบจอและตัวเครื่องค่อนข้างหนา
– หน้าจอไม่ค่อยคมชัดแม้จะทำงานบนความละเอียด 1080p ก็ตาม
– ลำโพงในตัวเครื่องให้เสียงที่ไม่ดีนัก และไม่รองรับ Hi-Res Audio

Gallery

]]>