Review : Acer Liquid X2 แอนดรอดย์ 3 ซิมสเปกดีราคาต่ำหมื่น

19838

IMG_1567

การมาของมือถือ 3 ซิม ในจังหวะที่ผู้ให้บริการรายใหญ่ในตลาดอย่าง เอไอเอส ไม่มีคลื่นมาให้บริการ 2G ถือเป็นความท้าทายใหญ่ของทางเอเซอร์ ที่ออกสมาร์ทโฟนมาจับตลาดนี้ เพราะในการใช้งานมือถือไม่ว่าจะเป็น 2 ซิม หรือ 3 ซิม ซิมที่ไม่ได้ถูกใช้งานเป็นซิมหลัก ก็จะสแตนบายอยู่ในคลื่น 2G

จุดเด่นหลักของ X2 นอกจากเรื่อง 2 ซิมแล้ว ก็คือเรื่องของประสิทธิภาพตัวเครื่องที่มากับหน่วยประมวลผล 8 คอร์ กล้องหลัก และกล้องหน้า 13 ล้านพิกเซล รองรับการเชื่อมต่อ 4G มีระบบเสียง DTS มาให้ใช้งาน พร้อมแบตเตอรีขนาด 4,000 mAh ในราคา 9,990 บาท

การออกแบบ

IMG_1540

ในแง่ของการออกแบบ Acer Liquid X2 ถูกคิดค้นมาด้วยดีไซน์ใหม่ที่แตกต่างจากเครื่องเอเซอร์รุ่นก่อนหน้า ด้วยการใช้วัสดุที่ดูแข็งแรงขึ้นอย่างอะลูมิเนียมมาผสมกับพลาสติก ประกอบกับลวดลายของฝาหลังที่เป็นแบบเส้นผม ช่วยเพิ่มความสวยงามให้กับตัวเครื่อง โดยขนาดรอบตัวของ Liquid X2 จะอยู่ที่ 153 x 79 x 8.5 มิลลิเมตร น้ำหนัก 170 กรัม

ด้านหน้าไล่จากส่วนบนจะพบกับกล้องหน้าความละเอียด 13 ล้านพิกเซล เซ็นเซอร์ตรวจจับใบหน้า และวัดแสง ลำโพงสนทนาลักษณะเป็นวงกลม และมีไฟแฟลชหน้าอยู่ด้วย ถัดลงมาเป็นหน้าจอทัชสกรีนขนาด 5.5 นิ้ว ความละเอียด HD (1280 x 720 พิกเซล) ล่างหน้าจอมีสัญลักษณ์ acer แปะอยู่ โดยตรงพื้นหลังจะมีลวดลายเป็นแพทเทิร์นแบบสี่เหลี่ยม

IMG_1558

ด้านหลังอย่างที่บอกไปว่า เอเซอร์ ออกแบบลายคล้ายเส้นผม และทำให้การถือใช้งานถนัดมือมากขึ้น เพราะไม่ได้ใช้เป็นพลาสติกแบบลื่น โดยจะมีกล้องความละเอียด 13 ล้านพิกเซล พร้อมไฟแฟลชอยู่ที่มุมบน ตรงกลางเป็นสัญลักษณ์เอเซอร์ และส่วนล่างเป็นช่องลำโพง ที่มีสัญลักษณ์ระบบเสียง dts HD ระบุไว้ด้วย

IMG_1561

เมื่อแกะฝาหลังออกมา (ใช้การแงะบริเวณช่องเสียบสายชาร์จ จะพบกับแบตเตอรี Li-Pol ขนาดใหญ่ 4,000 mAh และช่องใส่ไมโครซิมการ์ด 3 ช่อง กับช่องใส่ไมโครเอสดีการ์ดอีก 1 ช่อง

IMG_1543IMG_1545

ด้านบนจะมีช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม. และไมโครโฟนตัดเสียงรบกวน ด้านล่างเป็นพอร์ตไมโครยูเอสบี และไมโครโฟนสนทนา

IMG_1542IMG_1544

ด้านซ้ายจะถูกปล่อยว่างไว้ ด้านขวาจะเป็นปุ่มปรับระดับเสียง และปุ่มเปิดปิดเครื่อง

IMG_1563

อุปกรณ์ที่ให้มาภายในกล่องของ Liquid X2 จะประกอบไปด้วย ตัวเครื่อง หูฟัง สายชาร์จ อะเดปเตอร์ เคสพร้อมฝาปิด คู่มือการใช้งาน และใบรับประกัน

สเปก

s13

สำหรับสเปกภายในของ Liquid X2 มาพร้อมกับหน่วยประมวลผล MediaTek MT6735 ที่เป็น Octa-Core 1.3 GHz RAM 3 GB พื้นที่เก็บข้อมูลภายในตัวเครื่อง 32 GB รองรับการใส่ไมโครเอสดีการ์ดเพิ่มเติมสูงสุด 32 GB ทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 5.1.1 (Lollipop) โดยมีระบบเสียง DTS HD แบบ 24bit มาให้ใช้งานด้วย

ด้านการเชื่อมต่อ ตัวเครื่องรองรับการใช้งานทั้ง 2G 3G และ 4G 800/1800/2100/2600 MHz เพียงแต่จะเลือกซิมหลักให้ใช้งาน 3G/4G ได้ซิมเดียว การเชื่อมต่อ WiFI บนมาตรฐาน 802.11 b/g/n บลูทูธ 4.0 จีพีเอส วิทยุFM รวมถึงการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่าน Acer Extend

ฟีเจอร์เด่น

s01

สำหรับฟีเจอร์ในการใช้งาน Liquid X2 ก็มากับระบบแอนดรอยด์ ที่โดยภายรวมแล้วจะมีอินเตอร์เฟสในการใช้งานใกล้เคียงกันคือ มีหน้าจอหลักให้เลือกนำวิตเจ็ต หรือไอค่อนลัดต่างๆมาวางได้ตามใจผู้ใช้งาน โดยทางเอเซอร์ได้มีการรวมโฟลเดอร์บริการชองกูเกิล และเอเซอร์ไว้ที่หน้าจอให้ในเบื้องต้น

โดยมีแถบการแจ้งเตือนที่จะแตกต่างกัน โดยใน X2 จะมีแถบตั้งค่าด่วนในการเปิดปิด ไวไฟ โหมดเครื่องบิน ดาต้า ไฟฉาย การแจ้งเตือน บลูทูธ เปิดใช้งานโหมดลอยตัวสำหรับบันทึกข้อความ เครื่องคิดเลข ปฏิทิน รวมถึงการเปิดจีพีเอส ไวไฟฮ็อตสป็อต และระบบตัดแสงสีฟ้าได้ทันที

ส่วนการล็อกหน้าจอที่ตั้งค่ามากับโรงงาน จะเป็นการปัดเพื่อปลดล็อก โดยมีเวลาขึ้นแสดงตรงกลางหน้าจอ พร้อมวันและวันที่ ถ้ามีการแจ้งเตือนต่างๆก็จะขึ้นแสดงตรงนี้ให้กดเข้าไปดูได้ทันที ส่วนแถบล่างจากมีไอค่อนลัดสำหรับเข้าไปใช้งานโทรศัพท์ และกล้องแบบด่วนได้ทันที

s03

ในส่วนของฟีเจอร์ที่น่าสนใจจะเริ่มจากการใช้งาน X2 คู่กับเคสพิเศษ ที่จะมีช่องสำหรับดูหน้าจอขนาดเล็ก ตรงจุดนี้ผู้ใช้สามารถกดให้บนหน้าจอแสดงสถานะต่างๆ เช่น แบตเตอรี ตั้งค่าด่วน บันทึกเสียง พยากรณ์อากาศ ดูการแจ้งเตือนปฏิทิน ข้อความ สายไม่ได้รับ และสุดท้ายคือเปิดไฟฉาย

s06

โดยในตัวของ Flip Cover ยังมีความสามารถอีกอย่างคือการถ่ายภาพได้ทันที โดยไม่ต้องเปิดเคสขึ้นมา เพียงแต่ต้องเข้าไปเปิดโหมดใช้งานก่อน เช่นเดียวกับระบบเสียง DTS Premium ที่เอเซอร์โปรโมทว่าเครื่องนี้มาพร้อมกับระบบเสียงดังกล่าว ก็ช่วยให้การขับเสียงของเอเซอร์ทำได้ดีขึ้นเช่นเดียวกัน

s07

นอกจากนี้ ยังมีโหมดในการใช้งานอย่าง EZ Tasking ให้สามารถเปิดหน้าจอ 2 แอปพลิเคชันพร้อมกัน สามารถใช้งานได้ทั้งแนวตั้ง และแนวนอน เพียงแต่จะใช้งานได้กับบางแอปพลิเคชันของทางกูเกิลเท่านั้น อย่างโครม เบราว์เซอร์ ยูทูป เป็นต้น

อีกระบบที่มากับการบันทึกภาพคือ การสร้างอัลบั้มส่วนตัว โดยก่อนถ่ายภาพผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าจะบันทึกรูปไว้ในอัลบั้มที่มีการล็อกรหัสหรือไม่ ถ้าเลือกเวลาเข้าไปดูภาพก็จะมีต้องมีการใส่รหัสผ่านเข้าไปก่อน

ส่วนในการใช้งานที่เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ด้วยกัน ทางเอเซอร์ ได้มีการคิดค้น Acer Extend ขึ้นมา ให้ดาวน์โหลดไปติดตั้งไว้บนพีซี ทำให้ตัวสมาร์ทโฟน สามารถส่งข้อมูลจากเครื่องไปยังพีซีได้ทันที ทั้งรูปภาพ ไฟล์ เพลง วิดีโอ และเอกสาร รวมถึงการใช้พีซีควบคุมหน้าจอสมาร์ทโฟนด้วย

s05

ถัดมาที่น่าสนใจคือระบบการแสดงผล ที่เอเซอร์เพิ่ม Bluelight Shield ขึ้นมาให้เลือกใช้กันเลย ไม่ต้องพึงพาฟิล์มกันรอยตัดแสงฟ้าอีกต่อไป เมื่อกดใช้ตัวหน้าจอก็จะมีการลดการแสดงผลแสงสีฟ้าออกไป โดยผู้ใช้สามารถปรับเลือกระดับได้ตามต้องการ กับอีกระบบหนึ่งคือการสั่งงานแบบรวดเร็วด้วยการวาด ตัวอักษร หรือปัดมือ เพื่อสั่งงานตัวเครื่อง

s04

โดยฟังก์ชันพิเศษเหล่านี้ สามารถเข้าไปตั้งค่าได้ภายในส่วนของการตั้งค่า ที่จะมีแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลักๆตามแบบฉบับของแอนดรอดย์ คือ การเชื่อมต่อไร้สาย ตั้งค่าอุปกรณ์ ตั้งค่าส่วนตัว และตั้งค่าระบบ

s08

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของหน้าจอหลัก ถ้าต้องการนำเครื่องมาให้ผู้สูงอายุใช้งาน เอเซอร์ ก็มีโหมดง่ายมาให้ใช้กัน โดยเป็นการเพิ่มขนาดของไอค่อนให้ใหญ่ขึ้น รวมถึงการที่ผู้ใช้สามารถเลือกแอป หรือรายชื่อที่ใช้บ่อยๆ ขึ้นมาวางไว้บนหน้าจอให้ใช้งานได้ทันที ไม่จำเป็นต้องกดเข้าไปหาลึกๆภายในเครื่องอีกต่อไป

s09

ที่เหลือก็จะมีระบบอย่างการจัดการพลังงาน แสดงระยะเวลาการใช้งานบนแบตเตอรี สามารถเข้าไปตั้งค่าโหมดประหยัดพลังงานด้วยการเปิดปิด ไวไฟ บลูทูธ การเชื่อมต่อข้อมูล เวลาพักหน้าจอให้สั้นลง ก็จะช่วยประหยัดแบตเตอรีได้มากยิ่งขึ้น ประกอบกับตัวเครื่อง X2 ที่มีแบตเตอรีขนาด 4,000 mAh มาให้ทำให้สามารถใช้งานต่อเนื่องได้ยาวนาน

s10

ระบบตรวจสอบการใช้งานตัวเครื่อง สำหรับตรวจการใช้งาน RAM และพื้นที่เก็บข้อมูลต่างๆ ที่จะแสดงผลชัดเจนว่ามีแอปพลิเคชันใด ใช้ทรัพยากรเครื่องไปเท่าไหร่บ้าง แล้วสามารถกดล้างข้อมูล เคลียแคชข้อมูลภายในแอปได้ทันที เพื่อให้เครื่องทำงานได้รวดเร็วตลอดเวลา

s11

ในส่วนของโหมดกล้องที่ให้มาหน้าหลัง 13 ล้านพิกเซล ถือว่าทำออกมาได้ใช้งานค่อนข้างง่าย ด้วยอินเตอร์เฟสที่เรียบๆ คือมีปุ่มชัตเตอร์ขนาดใหญ่ ที่ฝั่งขวาหน้าจอ ขนาบด้วยปุ่มกดบันทึกวิดีโอ และการถ่ายภาพในโหมดสวยอัตโนมัติ พร้อมแถบซูมภาพ ส่วนฝั่งขวาจะแสดงไอค่อนลัดการเปิดแฟลช สลับกล้อง บันทึกเสียง และอัลบั้มเข้ารหัส

s12

ผู้ใช้สามารถเข้าไปตั้งความละเอียดสูงสุดของภาพ โดยค่าความไวแสง (ISO) สูงสุดในเครื่องคือ 1600 พร้อมเลือกเปิดระบบถ่ายภาพต่อเนื่อง การถ่ายภาพเมื่อสัมผัสหน้าจอ ระบบกันสั่นในการถ่ายวิดีโอความละเอียดสูงสุดระดับ Full HD นอกจากนี้ ยังเข้าไปเลือกโหมดในการถ่ายภาพนิ่ง ปรับสมดุลแสงขาว ถ่ายพาโนราม่า ใส่เอฟเฟกต์ภาพได้ด้วย

s02

ทั้งนี้ แอปพลิเคชัน ที่มีการติดตั้งมาให้กับตัวเครื่อง นอกจากแอปทั่วไปแล้วจะมีการพรีโหลดเกมมาให้เพิ่มเติม 6-7 เกม กับโปรแกรมจัดการเอกสาร และคู่มือการใช้งาน ถ้าไม่ต้องการใช้งานก็สามารถลบออกจากเครื่องได้เช่นเดียวกัน

IMG_1560

สุดท้ายในส่วนของการใช้งาน 3 ซิม แน่นอนว่าตัวเครื่องจะสามารถเลือกซิมหลักในการใช้งานได้เพียง 1 ซิม ที่ใช้เชื่อมต่อ 3G หรือ 4G ส่วนอีก 2 ซิมที่เหลือจะใช้เป็นโหมดสแตนบาย 2G เพียงแต่สามารถเลือกสลับการใช้งานได้ โดยไม่ต้องถอดเปลี่ยนซิม ก็ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ที่มีหลายเบอร์ได้

ทดสอบประสิทธิภาพ

s14

มาถึงส่วนของผลการทดสอบ ผ่านโปรแกรมทดสอบประสิทธิภาพบนแอนดรอยด์อย่าง Antutu 64bit ได้คะแนน 33,841 คะแนน ส่วน 32bit ได้ 31,192 คะแน Quadrant Standart ได้คะแนน 20,667 คะแนน และ 21,483 คะแนน ตามลำดับ หน้าจอรองรับการสัมผัส 5 จุดพร้อมกัน

ทดสอบการใช้งาน HTML 5 ผ่าน Vellamo จากเว็บเบราว์เซอร์ได้ 2,462 คะแนน โครมเบราว์เซอร์ 2,775 คะแนน Android WebVIew 2,462 คะแนน ส่วนประสิทธิภาพตัวเครื่องได้ (Metal) 1,119 คะแนน Multicore 1,586 คะแนน คะแนน Geek Bench 3 Single-Core 628 Multi-Core 2,748 คะแนน

ระยะเวลาการใช้งานบนแบตเตอรีต่อเนื่องอยู่ที่ 11 ชั่วโมง 24 นาที 20 วินาที คิดเป็นคะแนนของ Geekbench 3 ได้ 6,078 คะแนน

s16

ขณะที่การทดสอบด้วยโปรแกรม PCMark ในส่วนของ Work Performance ได้ 3,927 คะแนน 3D Mark ตัว Sling shot ES3.1 187 คะแนน ES3.0 286 คะแนน Ice Storm Unlimited ได้ 6,581 คะแนน ส่วน Ice Storm Extreme 4,281 คะแนน

ส่วน Passmark Performance Test Mobile ได้คะแนน System 3,896 คะแนน CPU 78,246 คะแนน Disk 40,160 คะแนน Memory 4,815 คะแนน 2D Graphics 3,112 คะแนน และ 3D Graphics 892 คะแนน

สรุป

ถ้ามองถึงสเปกโดยรวมกับหน้าจอ 5.5 นิ้ว ความละเอียด 720p แบต 4,000 mAh กับหน่วยประมวลผล 8 คอร์ ในราคา 9,990 บาท ถือว่าเป็นรุ่นที่มีความน่าสนใจ ส่วนการที่ตัวเครื่องรองรับ 3 ซิม ก็เหมือนเป็นของแถมไป เพราะในช่วงเวลานี้อาจจะใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพสักเท่าไหร่

ที่น่าสนใจคือ เอเซอร์พยายามทำให้สมาร์ทโฟน กลายเป็นส่วนหนึ่งของแพลตฟอร์มในการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์เข้าด้วยกันภายใต้ยุค IoT ดังนั้นจึงมีการพัฒนา Acer Extend ขึ้นมาให้เชื่อมต่อสมาร์ทโฟนกับพีซีเพิ่มเติมด้วย พร้อมกับฟีเจอร์เสริมอย่างระบบเสียง DTS หน้าจอตัดแสงสีฟ้าก็ช่วยเพิ่มให้ตัวเครื่องน่าใช้งานมากขึ้น

สุดท้ายที่ถือเป็นจุดเด่นของ Liquid X2 คงหนีไม่พ้นเรื่องของแบตเตอรีที่ให้มาขนาด 4,000 mAh สามารถเปิดใช้งานต่อเนื่องได้ไม่ต่ำกว่า 12 ชั่วโมง ส่วนประสิทธิภาพในการรับสัญญาณโทรศัพท์ การพูดคุยโดยรวมถือว่าอยู่ในระดับมาตรฐาน ส่วนการจับไวไฟอาจจะมี Dead Grip เวลาจับเครื่องแนวนอน

ข้อดี

สเปกเครื่องโดยรวม รองรับ 4G ในราคาต่ำหมื่น

รองรับการใช้งาน 3 ซิม (2G/3G/4G)

แบตเตอรีขนาด 4,000 mAh ที่อึดมาก

กล้องหน้าหลัง 13 ล้านพิกเซล พร้อมไฟแฟลช

ข้อสังเกต

คุณภาพของเซ็นเซอร์กล้องแม้ว่าความละเอียด 13 ล้านพิกเซล แต่ภาพที่ได้ไม่ดีนัก

ตอนนี้เหลือผู้ให้บริการ 2G เพียง 2 ราย ทำให้เครื่อง 3 ซิมอาจใช้ประโยชน์ได้ไม่ดีนัก

Gallery

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็น

REVIEW OVERVIEW
การออกแบบ
7.5
สเปก/ฟีเจอร์เด่น
8
ความสามารถโดยรวม
7.5
ความคุ้มค่า
8
SHARE