Review : Acer Swift 3 (Ryzen 5) เมื่อ AMD เข้ามาช่วยยกระดับโน้ตบุ๊ก

9418

เรียกได้ว่าเป็นการกลับมาคืนชีพในตลาดโน้ตบุ๊กอีกครั้งของ AMD ก็ว่าได้ กับการที่แบรนด์ผู้ผลิตโน้ตบุ๊กต่างๆ เริ่มนำโน้ตบุ๊กรุ่นที่ใช้หน่วยประมวลผลของ AMD เข้ามาทำตลาด จากการที่เห็นประสิทธิภาพในการทำงานที่เพิ่มขึ้น และที่สำคัญคือไม่ร้อนอีกต่อไป

ดังนั้น จุดเด่นหลักของ Acer Swift 3 คือเรื่องของประสิทธิภาพ เทียบกับราคา ที่เชื่อว่าใครที่เป็นแฟนของ AMD พลาดไม่ได้ เพราะได้โน้ตบุ๊กในระดับราคา 21,990 บาท ที่สามารถเทียบประสิทธิภาพกับเครื่องราคาสูงกว่าเกือบหมื่นบาทได้

เพียงแต่ว่าด้วยรูปลักษณ์ของ Acer Swift 3 ยังเป็นดีไซน์โน้ตบุ๊กแบบเดิมๆอยู่ ดังนั้นอาจจะไม่เหมาะกับการพกพาไปใช้งาน แต่สามารถนำไปใช้แทนคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปในบ้าน หรือในองค์กรธุรกิจได้ จากประสิทธิภาพที่เพียงพอกับการใช้งาน

ข้อดี

  • โน้ตบุ๊กระดับราคา 2 หมื่นต้นๆ แต่ประสิทธิภาพใกล้เคียงกับรุ่นการ์ดจอแยก
  • พอร์ตการเชื่อมต่อครบครัน
  • ตอบโจทย์ในแง่ของโน้ตบุ๊กเครื่องแรกที่นำมาใช้งานทั่วๆไป และประมวลผลหนักๆด้วย

ข้อสังเกต

  • ไม่ได้บันเดิลวินโดวส์ลิขสิทธ์มาให้ด้วย
  • เมื่อใช้งานหนักๆ ยังมีอาการเครื่องร้อนให้เห็นอยู่

Acer x AMD รุ่นแรกที่นำ Ryzen มาใช้

Acer Swift 3 ถือเป็นโน้ตบุ๊กรุ่นแรกของ เอเซอร์ ที่ประเดิมนำ AMD Ryzen เข้ามาใช้งาน ชูจุดเด่นในเรื่องของการเป็นโน้ตบุ๊กที่ครบเครื่อง เหมาะกับการใช้งานทุกรูปแบบ ด้วยหน้าจอแสดงผล 15.6 นิ้ว ความละเอียด Full HD น้ำหนักเครื่องอยู่ที่ 1.9 กิโลกรัม

ประกอบกับการที่ใส่พอร์ตเชื่อมต่อมาให้ครบ ไม่ว่าจะเป็น USB 3.0 2 พอร์ต USB 2.0 1 พอร์ต USB-C 1 พอร์ต ช่องเสียบหูฟัง 3.5 มม. พอร์ต HDMI สำหรับต่อจอแยก ช่องอ่าน SD Card และพอร์ตล็อกเครื่อง

นอกจากนี้ ยังใส่เซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือมาให้ใช้เพิ่มความปลอดภัยของข้อมูลตัวเครื่องให้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ด้วยการใช้ลายนิ้วมือเพื่อล็อกอินเข้าไปใช้งาน Windows 10 (รุ่นที่จำหน่ายในไทยจะเป็นรุ่นที่มากับ Linpus Linux ผู้ใช้สามารถซื้อ Windows 10 ที่เป็นไลเซนต์มาลงได้)

รวมถึงการที่หน่วยประมวลผล AMD Ryzen 5 ที่ถูกผลิตขึ้นมาสำหรับใช้งานบนโน้ตบุ๊กโดยเฉพาะ ที่ให้ประสิทธิภาพมากขึ้น และกินหลังงานน้อยลง ช่วยให้สามารถใช้งานโน้ตบุ๊กได้ยาวนานขึ้น

โดยตัวเครื่องของ Acer Swift 3 จะมาในรูปแบบของ Claim Shell ที่ผู้ใช้สามารถเปิดหน้าจอได้ถึง 180 องศา จากการที่เลือกใช้ข้อต่อรุ่นใหม่ ที่นอกจากจะช่วยให้เครื่องระบายอากาศได้ดีขึ้นแล้ว ยังเพิ่มความแข็งแรงด้วย

สเปก

สำหรับสเปกภายในของ Acer Swift 3 จะมากับหน่วยประมวลผล AMD Ryzen 5 2500U (2 GHz Up to 3.6 GHz) ที่มาพร้อมการ์ดจอออนบอร์ด Radeon RX Vega 8 โดยจะมากับ RAM ขนาด 8 GB ที่เก็บข้อมูลเป็นฮาร์ดดิสก์ความจุ 500 GB รองรับการเชื่อมต่อ Wi-Fi บลูทูธตามปกติ

การใช้งาน

ในแง่ของการใช้งาน รวมๆแล้วถือว่า Swift 3 ค่อนข้างตอบโจทย์ของผู้ที่ต้องการโน้ตบุ๊กที่มาใช้งานทั่วๆไป แต่ก็สามารถประมวลผลหนักๆได้ ดังนั้น ถ้ามองหาโน้ตบุ๊กที่จะมาใช้งานโปรแกรมออฟฟิศ ทำเอกสาร หรือใช้งานเพื่อความบันเทิง Swift 3 ถือว่าตอบโจทย์เบื้องต้นเหล่านี้อยู่แล้ว

ถัดมาถ้าในแง่ของการนำมาใช้เพื่อเล่นเกม ด้วยการที่มากับ Ryzen 2 ถ้านำมาใช้เล่นเกมออนไลน์ หรือเกมที่ใช้สเปกไม่สูงมากนัก ก็สามารถปรับเล่นสุดๆได้สบายๆ หรือถ้าเป็นเกมที่ใช้สเปกหนักๆ ถ้าปรับรายละเอียดลงมาเล็กน้อย ก็สามารถเล่นได้ลื่นอยู่

แต่ถ้าเกมที่ใช้สเปกหนักๆอย่าง Farcry 5 ที่เพิ่งออกมา ทีมงานลองลงเล่นดู ก็พบว่าสามารถเล่นได้แต่ต้องปรับความละเอียดต่ำสุด ถึงจะทำให้เล่นได้แบบลื่นไหล แต่ถ้าเป็นเกมที่สเปกเก่ากว่านี้เชื่อว่า Swift 3 รองรับได้สบายๆ

กลับมาดูในแง่ของการใช้งานร่วมกับ Windows 10 ด้วยการที่ Swift 3 มีเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือมาให้ด้วย ทำให้สามารถใช้การปลดล็อกตัวเครื่องด้วยลายนิ้วมือเพิ่มเข้ามา เพิ่มจากการใช้งาน Windows Hello ที่พิมพ์รหัสผ่าน หรือกล้องหน้าในการปลดล็อก

ส่วนการใช้งานฟีเจอร์อื่นๆที่มีมาให้อย่าง Cortana การทำงานด้วยการดาวน์โหลดแอปจาก Windows Store ก็สามารถใช้งานได้ตามปกติ ทำให้รวมๆแล้ว Swift 3 ถือเป็นอีกหนึ่งรุ่นที่น่าสนใจช่วงระดับ

Gallery

ทดสอบประสิทธิภาพ

เมื่อเทียบกับการใช้งานทั่วไป ต้องยอมรับว่าการประมวลผลของ Acer Swift 3 ที่นำหน่วยประมวลผล Ryzen มาใช้งาน ถือว่าทำออกมาได้ดีเมื่อเทียบกับราคาจำหน่ายของเครื่องที่ 21,900 บาท ทั้งในแง่ของระยะเวลาการใช้งานบนแบตเตอรีถ้าไม่ได้ใช้งานหนักๆ ก็สามารถใช้งานได้ถึง 4-5 ชั่วโมง

ส่วนผลทดสอบจากโปรแกรมต่างๆ สามารถดูได้จากแกลอรี่ด้านล่างนี้

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็น

SHARE