Review : AMD Radeon RX 480 กราฟิกการ์ดสุดคุ้ม แรม 8GB ในราคาเริ่มต้นไม่ถึงหมื่นบาท

16243

DSC_2723

นานทีปีหนทีมงานไซเบอร์บิซจะได้รับกราฟิกการ์ดสำหรับพีซีเกมเมอร์มารีวิวสักครั้งหนึ่ง วันนี้ทีมงานได้รับกราฟิกการ์ดรุ่นใหม่ล่าสุดจาก AMD (เอเอ็มดี) มารีวิวให้ชมกันในชื่อ “AMD Radeon RX 480”

AMD Radeon RX Series เป็นกราฟิกการ์ดตระกูลใหม่จาก AMD โดยปัจจุบันจะมีให้เลิอก 3 รุ่น ได้แก่รุ่นท็อปสุด RX 480 เน้นฮาร์ดคอร์เกมเมอร์และใช้งาน VR ได้ลื่นไหลสุด รุ่นกลาง RX 470 เน้น HD เกม และสุดท้ายรุ่นราคาประหยัด RX 460 เน้นตลาดเกมออนไลน์

การออกแบบ

DSC_2728

DSC_2726

AMD Radeon RX 480 เป็นกราฟิกการ์ดซีรีย์ใหม่บนสถาปัตยกรรมรุ่นที่ 4 (GCN 4.0)  “Polaris” จาก AMD ที่ได้รับออกแบบทุกส่วนใหม่หมดตั้งแต่บอร์ดไปถึงชิปประมวลผล โดยในรุ่นที่ทีมงานไซเบอร์บิซได้รับมารีวิวจะผลิตจาก AMD โดยตรง

DSC_2736

DSC_2731

สำหรับการออกแบบ ตัวการ์ด RX 480 จะเชื่อมต่อกับสลอต PCI Express รองรับเวอร์ชัน 3.0 กินพื้นที่ใส่การ์ด PCIE 2 ช่องตามมาตรฐาน ตัวการ์ดมีขนาดสั้นและน้ำหนักไม่มาก

ด้านหน้าของตัวการ์ดจะเป็นพลาสติกสีดำครอบทับฮีทซิงค์ระบายความร้อนพร้อมพัดลมระบายความร้อน 1 ตัว ด้านหลังเป็นบอร์ดสีดำเปลือย ซึ่งถ้าสังเกตที่บริเวณชิปกราฟิก จะพบว่ามีขนาดเล็กลงจากเดิม

DSC_2719

ด้านไฟเลี้ยงใช้เพียงแค่ 6 พินเท่านั้น (ตามสเปกตัวการ์ดใช้ไฟประมาณ 110 วัตต์) พร้อมโลโก้ RADEON (ไม่มีไฟส่องสว่างเหมือนรุ่นใหญ่)

DSC_2724

ส่วนพอร์ตเชื่อมต่อจอภาพจะแบ่งเป็น Display Port 3 ช่อง (รองรับเวอร์ชัน 1.4 HDR Ready) HDMI 2.0 1 ช่อง

โดย Display Port ทั้ง 3 ช่อง รองรับการต่อเชื่อมกับ Multi Stream Transport (MST) Hub เพื่อต่อจอเพิ่มอีก 3 จอ รวม Display Port รองรับการแสดงผลภาพพร้อมกันทั้งหมดได้สูงถึง 6 จอ เพื่อทำ AMD Eyefinity ได้

สเปก

rx480-specdetails

AMD Radeon RX 480 มาพร้อมชิปประมวลผลกราฟิก (GPU) แบบ 14 นาโนเมตร ความเร็ว 1,266 MHz ในส่วน Stream Processors อยู่ที่ 2,304 Compute Units อยู่ที่ 36 ยูนิต ที่นอกจากความแรงจะมากกว่าสถาปัตยกรรมเก่าถึง 1-2 เท่า ตัวกราฟิกการ์ดยังมาพร้อมการรองรับฟีเจอร์ในอนาคต ได้แก่

– HDR Game
– รองรับ DirectX 12 ใน Windows 10 เต็มรูปแบบ
– รองรับ Vulkan, OpenCL 2.0, OpenGL 4.5
– รองรับเกมที่รันบนความละเอียด 4K 60 เฟรมต่อวินาที และ RX 480 จะรองรับความละเอียด 5K ด้วย
– รองรับการถอดรหัส HEVC H.265 ที่ใช้ในวิดีโอความละเอียดสูง
– รองรับ Virtual Reality ในชื่อ “AMD LiquidVR”

และนอกจากนั้นตัวการ์ดยังบริโภคพลังงานต่ำลง อย่างรุ่น RX 480 ที่เรานำมารีวิวในวันนี้ มีผู้ใช้หลายท่านทดลองใช้งานร่วมกับ Power Supply 300 วัตต์ สามารถใช้ได้อย่างไม่มีปัญหา

มาดูสเปกส่วนอื่นของการ์ดกันบ้าง เริ่มจากแรม AMD เลือกใช้ GDDR5 ขนาด 8GB (มีรุ่น 4GB ให้เลือก) ความเร็ว 2GHz (ปริมาณการรับส่งข้อมูลอยู่ที่ 224GB/s) รองรับ AMD CrossFire แบบ Bridgeless

ในส่วนชุดซอฟต์แวร์ควบคุมใช้ Crimson รองรับฟีเจอร์ AMD FreeSync, Frame Rate Target Control, Virtual Super Resolution และรองรับการโอเวอร์คล็อกผ่านฟีเจอร์ WattMan

ทดสอบประสิทธิภาพ

อย่างที่ทราบว่าตัวการ์ด RX 480 จะใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพต้องรันบนอินเตอร์เฟส PCI Express 3.0 แต่เพราะเมนบอร์ดของทีมงานรองรับแค่ PCI Express 2.0 เท่านั้น คะแนนที่ได้อาจคาดเคลื่อนไปบ้างเล็กน้อย

amdset-rx480

ชุดคอมพิวเตอร์ที่ทีมงานใช้ร่วมกับการทดสอบกราฟิกการ์ด AMD Radeon RX 480 – 8GB GDDR 5 เป็นเช็ทระดับกลางที่ทีมงานหวังว่าด้วยสเปกที่ไม่สูงมาก ผู้อ่านสามารถจับต้องได้ทุกคน น่าจะช่วยให้การทดสอบทำได้น่าตื่นเต้น มองแล้วไม่ไกลตัวเกินไป เหมาะกับสภาพเศรษฐกิจในยุคนี้

คลิปวิดีโอเสริมบทความรีวิวเพื่อความชัดเจนในการทดสอบ AMD Radeon RX 480 – 8GB GDDR 5 ด้วยเกม GTA 5 (ปรับค่ากราฟิกสูงสุดทั้งหมด ยกเว้น MSAA ปิดไว้) และทดลองรันบน DirectX 12 ดูความลื่นไหล

3drx480

เริ่มจากการทดสอบแรก 3D Mark ที่เพิ่งปล่อยให้อัปเดตเพิ่มชุดทดสอบ DirectX 12 ในชื่อ “Time Spy” (ดูวิดีโอเดโมได้จากคลิปด้านบน ช่วงที่ 3) จากการทดสอบจะเห็นว่าด้านคะแนน Time Spy จะอยู่ที่ 3,602 คะแนน ส่วนชุดทดสอบบน DirectX 11 “Fire Strike/Ultra” จะได้คะแนนอยู่ที่ 2,719 และ 5,010 คะแนน

โดยถ้ามองถึงความลื่นไหลและเฟรมเรตที่ได้ RX 480 ถือว่าทำคะแนนได้กลางๆ แต่จะโดดเด่นอย่างมากเมื่อรันบน DirectX 12 ตามที่ AMD คุยไว้ในเรื่องความรวดเร็วและลื่นไหลที่ถือว่าใช้ได้เลยทีเดียว

Rise-of-the-Tomb-Raider-v1.0-build-668

2Rise-of-the-Tomb-Raider-v1.0-build-668

เปลี่ยนมาทดสอบเกมอย่าง Rise of the Tomb Raider ในโหมด DirectX 12 ปรับค่ากราฟิกสูงสุด และเปิดลบรอยหนักภาพ SSAA ทั้งหมดจะพบอาการหน่วงให้เห็นบ้าง ยิ่งเวลาเจอฉากหิมะถล่มเฟรมเรตจะตกมาอยู่ระดับ 20-26 เฟรมต่อวินาทีได้เลย แต่ก็สามารถแก้ไขได้ด้วยการปรับลบรอยหยักเป็น SMAA ระดับแรก เกมจะลื่นขึ้นพร้อมเฟรมเรตที่สามารถพุ่งไปแตะเลข 50-56 เฟรมต่อวินาทีได้ตลอดทั้งเกม คนที่ชอบเปิด VSync สามารถเลือกใช้งานได้สบายๆไม่หน่วงแน่นอน

ทดสอบกับอีกหนึ่งเกมสเปกสูง Quantum Break (DirectX 12) เวอร์ชันแรกก่อนอัปเดตล่าสุดที่หลายคนบ่นว่ากินแรมกราฟิกการ์ดสูงมาก สำหรับการ์ดจอ RX 480 แรม 8GB บนชุดทดสอบของทีมงาน ปรับทุกอย่างสูงสุดทั้งหมดรวมถึงเปิดลบรอยหยัก ไม่พบอาการกระตุก หน่วง หรือการแสดงผลกราฟิกผิดพลาดให้เห็นแต่อย่างใด เกมเล่นได้ลื่นไหล อาจมีสะดุดเล็กๆเท่านั้น

แต่โดยภาพรวมถือว่า AMD Radeon RX 480 กับเกม Quantum Break เล่นได้ลื่นไหลและดูเหมือนว่า DirectX 12 จะเข้ากันได้ดีกับกราฟิกการ์ดตัวนี้เสียจริงๆ พิสูจน์ได้ด้วยตาตัวเองจากคลิปวิดีโอด้านบน

GTA5-2016-10-17-10-33-09-81

ขยับมาทดสอบเกมมหาโหดด้านการบริโภคแรมกราฟิกการ์ดอย่าง GTA V (DirectX 11) แน่นอนด้วยจำนวนแรม 8GB GDDR5 เพียงพอต่อการปรับเรนเดอร์ฉากได้เต็มที่ ยิ่งถ้านำ RX 480 ไปใส่กับคอมพิวเตอร์พีซีที่มีสเปกสูงและใช้บัช PCI Express ที่สูงกว่าเครื่องทดสอบของทีมงาน คุณจะสามารถเล่น GTA V ที่ความละเอียด 4K ได้โดยที่เฟรมเรตจะอยู่ที่ประมาณ 25-30 เฟรมต่อวินาที (ปิด MSAA)

ส่วนเครื่องทดสอบของทีมงาน สเปกกลางๆ สามารถปรับค่ากราฟิก Ultra/High ได้ แต่ต้องปิดลบรอยหยักภาพ MSAA ถึงจะลื่นไหล โดยที่ความละเอียด 1080p เฟรมเรตจะวิ่งอยู่ที่ประมาณ 25-35 เฟรมต่อวินาที ส่วนฉากฝนตกจะวิ่งได้สูงถึง 50-60 เฟรมต่อวินาที และระหว่างการเล่นอาจมีอาการภาพหน่วงเล็กน้อยแต่ไม่ถึงกับกระตุกจนเล่นไม่ได้

ภาพรวมสำหรับ GTA V ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี ถ้าใช้สเปกเครื่อง เมนบอร์ดสูงกว่าของทีมงานอีกนิด ที่ค่ากราฟิก Ultra คงทำเฟรมเรตได้สูงระดับ 40-50 เฟรมต่อวินาที แต่ทั้งนี้ถ้าเป็นคนไม่จริงจังเรืองกราฟิกนัก สามารถปรับตั้งค่าเป็น High/Very High ได้ เพราะเกมจะลื่นไหลระดับ 60 เฟรมต่อวินาทีตลอดเวลาเลย

deadrising3-2016-10-17-10-42-58-42

ในส่วนเกม Dead Rising 3 Apocalypse Edition เกมนี้ไม่มีปัญหาอะไรกับ RX 480 และชุดทดสอบของทีมงานเลย สามารถปรับค่ากราฟิกสูงสุดทั้งหมด (1080p) รวมถึงเปิดใช้ระบบลบรอยหยักภาพสูงสุด เปิด VSync ร่วมด้วยได้ โดยเฟรมเรตภาพ ส่วนใหญ่จะคงที่ 30 เฟรมต่อวินาทีตลอดการเล่น อาจมีตกลงมา 25-27 เฟรมต่อวินาทีบ้างในฉากที่มีฝูงซอมบี้จำนวนมาก

ffxiv_dx11-2016-10-17-12-45-59-90

มาดูการทดสอบด้วยชุดทดสอบกราฟิกจากเกม Final Fantasy XIV HEAVENSWARD ที่ความละเอียด 1080p DirectX 11 ปรับสูงสุดทั้งหมดทำคะแนนได้ 9,320 คะแนน ลื่นไหล ไม่มีปัญหาใดๆ

catzilla-rx480

อีกหนึ่งชุดทดสอบ Catzilla 720p DirectX 11 ทำคะแนนได้ 17,853 คะแนน

wattman-rx480

สำหรับการทดสอบสุดท้ายเกี่ยวกับอุณหภูมิระหว่างใช้งาน (ทดสอบที่อุณหภูมิห้องประมาณ 26-28 องศาเซลเซียส) ทีมงานเลือกใช้ฟีเจอร์ WattMan ใน AMD Catalyst เป็นตัววัดผลหลัก จะเห็นว่าเมื่อ RX 480 ทำงานเต็มประสิทธิภาพ 100% อุณหภูมิจะอยู่คงที่ประมาณ 87 องศาเซลเซียสเท่านั้น ส่วนเมื่อไม่ใช้งานกราฟิกการ์ด อุณหภูมิจะอยู่ประมาณ 38-42 องศาเซลเซียส ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี

สรุป

สำหรับราคา AMD Radeon RX 480 เริ่มต้น 9,900 บาท โดยในช่วงแรกจะเป็น Reference Card จาก AMD และแบรนด์เช่น ASUS, XFX, Power Color, Sapphire ก่อน และหลังจากนั้นจะเป็นรุ่น Non-Ref ที่อาจมีการปรับเพิ่มแรม เพิ่มพัดลมระบายความร้อนหรือโอเวอร์คล็อกความเร็วการ์ดขึ้นและราคาอาจสูงขึ้นเล็กน้อย

โดยในส่วนประสิทธิภาพโดยรวมของ Radeon RX 480 จัดเป็นกราฟิกการ์ดระดับกลางค่อนสูง สามารถปรับกราฟิกในเกมระดับสูงถึงสูงสุดและเล่นได้ลื่นไหลที่ความละเอียดจอเริ่มต้น 1080p เป็นต้นไป (บางเกมอาจต้องปิดลบรอยหยักเกมถึงลื่นไม่หน่วง) จุดเด่นคงอยู่ในเรื่องราคา แรม 8GB อยากได้กราฟิกการ์ดระดับบนแต่มีงบประมาณจำกัด ส่วนเรื่องความแรงอาจตามคู่แข่งอยู่บ้าง แต่สุดท้ายแล้วทั้งหมดก็พอเพียงสำหรับเกมพีซีทุกเกมในปัจจุบันรวมถึงอนาคต ยิ่งถ้าเกมพีซีออกมารองรับ DirectX 12 หรือ Vulkan ให้สมบูรณ์แบบมากขึ้น การ์ด RX 480 น่าจะแสดงประสิทธิภาพได้เต็มที่กว่านี้

ส่วนคำถามสำหรับผู้ใช้จอ 4K แล้วอยากได้กราฟิกการ์ดรุ่นนี้มาใช้เล่นเกมแบบ 4K ทีมงานต้องเรียนตามตรงว่า ด้วยขนาดแรมกราฟิกการ์ดถึง 8GB สามารถเปิดใช้ความละเอียด 4K ได้ แต่ทั้งนี้ในส่วนคุณภาพกราฟิกอาจต้องปรับลดลงมาเล็กน้อย เพราะต้องไม่ลืมว่าตัวการ์ดมีสเปกแค่ระดับกลางค่อนสูงเท่านั้น

ข้อดี

– ราคาเทียบประสิทธิภาพจัดอยู่ในเกณฑ์คุ้มค่าคุ้มราคา
– แรม 8GB GDDR5
– AMD Radeon สถาปัตยกรรมใหม่ ประหยัดไฟมากขึ้น ความร้อนต่ำลงมาก

ข้อสังเกต

– ไม่มีพอร์ต DVI มาให้
– ใช้ช่วยประมวลผลร่วมกับแอปพลิเคชันที่รองรับ เช่น Adobe Premiere, Photoshop ยังให้ผลลัพท์ธรรมดาเมื่อเทียบกับคู่แข่ง

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็น

REVIEW OVERVIEW
การออกแบบ
9
สเปก/ฟีเจอร์เด่น
9.5
ความสามารถโดยรวม
9.5
ความคุ้มค่า
10
SHARE