Review : Lenovo Yoga Book แท็บเล็ต 2 in 1 มีคีย์บอร์ดและปากกาใช้หมึกจริง

31278

lenovo-yoga-book-android-1

Lenovo Yoga Book ถือเป็นสีสันใหม่ของวงการแท็บเล็ตได้อย่างดี เนื่องจากการออกแบบตัวเครื่องให้เป็นลูกผสมระหว่างแท็บเล็ตและโน้ตบุ๊ก มีให้เลือก 2 ระบบปฏิบัติการ ได้แก่ แอนดรอยด์ และวินโดวส์ 10 ไปถึงส่วนการใช้งานที่ถือเป็นเรื่องแปลกใหม่ในตลาดแท็บเล็ตตอนนี้

สำหรับ Yoga Book รุ่นที่ทีมงานไซเบอร์บิซได้รับมาทดสอบขับเคลื่อนด้วยระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์มาพร้อมแบตเตอรีขนาดใหญ่ซึ่งเลอโนโวเครมว่าใช้งานได้ยาวนานกว่า 15 ชั่วโมง (All Day Battery Life)

การออกแบบและฟีเจอร์เด่น

IMG_0212

IMG_0270

การออกแบบ ชื่อรุ่นก็บอกอยู่แล้วว่า Yoga Book เพราะฉะนั้นรูปทรงแท็บเล็ตจะคล้ายกับสมุด ใช้งานได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน มาพร้อมความบางเพียง 4.05 มิลลิเมตร น้ำหนัก 690 กรัมและตัวเครื่องทั้งหมดผลิตจากโลหะ

IMG_0302

หน้าจอ – เป็นแบบสัมผัส Capacitive Touch ขนาด 10.1 นิ้ว ความละเอียด Full HD 1,920×1,200 พิกเซล รองรับปากกา (AnyPen Technology)

yob-drawing

ส่วนอีกด้านถือเป็นสีสันใหม่ของโลกแท็บเล็ตและโน้ตบุ๊ก ซึ่งเลอโนโวเรียกว่า “Create Pad” เป็นส่วนที่ผู้ใช้สามารถนำปากกามาเขียนบนแพดได้เหมือนกับหน้าจอ (ใช้เทคโนโลยีจาก Wacom) อีกทั้งยังสามารถปรับเปลี่ยนเป็นคีย์บอร์ดเสมือนจริง (Halo Keyboard) ได้ด้วย

IMG_0227

IMG_0225

IMG_0307

และทีเด็ดสุดไม่มีใครเหมือนก็คือ บริเวณ “Create Pad” สามารถนำกระดาษจริงมาวางและเขียนด้วยปากกาของเลอโนโวด้วยหมึกจริง (Real Ink ออกแบบมาใช้งานเฉพาะ Lenovo Yoga Book เท่านั้น ไม่สามารถใช้ร่วมกับไส้หมึกยี่ห้ออื่นได้) หรือถ้าไม่อยากเขียนบนกระดาษจริง ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนไปใช้หัวปากกา Capacitive แล้วเขียนไปบนแพดเปล่าๆได้

สำหรับผู้อ่านที่ต้องการชมการทำงานระหว่างปากกากับ Create Pad ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น สามารถกดรับชมจากคลิปวิดีโอด้านบน

IMG_0314

ด้านสเปกตัวปากกาจะรองรับแรงกด 2,048 ระดับ ไม่ต้องใส่แบตเตอรี สามารถใช้งานได้ทั้งจดข้อความและวาดรูป

IMG_0276

IMG_0288

กลับมาดูงานออกแบบรอบตัวเครื่องกันต่อ อีกหนึ่งจุดที่น่าสนใจใน Yoga Book จะอยู่ที่บริเวณสันเครื่องที่ถูกออกแบบเป็นบานพับโลหะอันเป็นเอกลักษณ์เด่นของเลอโนโวตระกูล Yoga เพราะสามารถพับหน้าจอได้อิสระ 360 องศา 4 รูปแบบใช้งานดังนี้

IMG_0317

Type ใช้ในรูปแบบโน้ตบุ๊ก เน้นใช้พิมพ์งานและวาดภาพเป็นหลัก
Watch ใช้ในการรับชมวิดีโอ

IMG_0331

Browse ใช้ในรูปแบบแท็บเล็ต อ่านอีบุ๊ค ท่องเว็บไซต์

IMG_0306

IMG_0220

Create ใช้สำหรับเขียนหนังสือ จดเลคเชอร์ โดยอุปกรณ์เสริมแนะนำเพื่อให้การเขียนเหมือนเขียนลงกระดาษจริงมากขึ้น ได้แก่ Lenovo Book Pad (แถมมาให้ตามภาพประกอบ) หรือถ้าไม่อยากเขียนลงกระดาษด้วยหมึกจริงก็สามารถเปลี่ยนเป็นหัวปากกา Capacitive ได้ (ในกล่องแถมหัวปากกามาให้ 2 รูปแบบ)

IMG_0341

ด้านพอร์ตเชื่อมต่อรอบตัวเครื่อง เริ่มจากซ้ายมือ เป็นพอร์ต Micro USB 2.0 ช่องใส่ MicroSD Card รองรับความจุสูงสุด 128GB

ถัดมาเป็นช่อง Micro HDMI และลำโพงซ้าย

IMG_0343

ด้านขวา เริ่มจากซ้ายเป็นสวิตซ์เปิดปิดเครื่อง ถัดมาเป็นช่องลำโพงขวา ปุ่มเพิ่มลดระดับเสียงและช่องหูฟัง 3.5 มิลลิเมตร

ในส่วนกล้องถ่ายภาพมี 2 ตัวได้แก่ กล้องหน้า ติดตั้งบริเวณด้านบนของจอภาพ (ในแนวนอน) มีความละเอียด 2 ล้านพิกเซล ส่วนกล้องหลังเป็นแบบออโต้โฟกัส ติดตั้งอยู่บริเวณ Create Pad มุมบนขวา มีความละเอียด 8 ล้านพิกเซล

สเปก

spec-yob

Lenovo Yoga Book รุ่นที่ทีมงานได้รับมาทดสอบใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 6.0 Marshmallow ขับเคลื่อนด้วยหน่วยประมวลผล (x86) Intel Atom x5-Z8550 Processor Quad-Core ความเร็ว 2.4GHz แรม LPDDR3 ขนาด 4GB รอม 64GB (เหลือให้ใช้งานจริงประมาณ 46GB)

ด้านแบตเตอรี เป็น Li-ion Polymer ขนาด 8,500mAh ให้มาใหญ่จุใจ โดยเลอโนโวเครมว่า รุ่นระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์สามารถสแตนบายได้นาน 70 วันและอายุการใช้งานแบตเตอรีอยู่ที่ 15 ชั่วโมง

atmos-yob

ในส่วนสเปกอื่นๆ เริ่มจากการเชื่อมต่อเครือข่าย ถึงแม้จะมีช่องใส่ซิมการ์ดโทรศัพท์แต่จากสเปกจะไม่รองรับการเชื่อมต่อเครือข่ายมือถือ (รุ่นที่วางขายอย่างเป็นทางการในไทยอาจรองรับ 3G/4G ต้องตรวจสอบจากเลอโนโว ประเทศไทยอีกครั้ง) ส่วน WiFi รองรับมาตรฐาน 802.11 a/b/g/n/ac ระบบเสียง Dolby Atmos มีบลูทูธ 4.0 และเซ็นเซอร์ภายในมีให้ทั้ง G-Sensor, Hall Sensor, GPS-AGPS และ Ambient Light Sensor เหมือนแท็บเล็ตทั่วไป

ซอฟต์แวร์เด่น

home-yob

แอนดรอยด์ 6.0 ที่ติดตั้งมาใน Yoga Book จะถูกปรับแต่งจากเลอโนโวเพิ่มเติม โดยเน้นให้ตัวระบบปฏิบัติการสอดคล้องกับการออกแบบสไตล์โน้ตบุ๊กมากขึ้น (จะต่างจากรุ่นที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 10 ที่ตัวโอเอสออกแบบมาเพื่อเป็นโน้ตบุ๊กอยู่แล้ว)

taskbar-yob

ยกตัวอย่างการใส่ Taskbar เข้ามา ทำให้ผู้ใช้สามารถกดสลับใช้งานแอปฯได้ลื่นไหลขึ้น รวมถึงสามารถกดเปิดปิดการใช้งานปากกากับตัว Halo Keyboard ได้สะดวกสบายขึ้น

multi-yob

อีกส่วนที่ทำให้ Yoga Book มีความคล้ายกับการใช้งานบน Windows มากยิ่งขึ้นก็คือ การรองรับ Multitasking สามารถเปิดแอปฯหลายตัวและใช้งานพร้อมกันได้อย่างอิสระ

web-yob

รวมถึงการใช้งานเว็บบราวเซอร์ผ่าน Chrome เมื่อเปลี่ยนรูปแบบไปใช้งานสไตล์โน้ตบุ๊ก ทั้งการแสดงผลและการควบคุม คุณสามารถใช้ทัชแพดเลื่อนเคอเซอร์เมาส์และคลิกเลือกได้เหมือนโน้ตบุ๊กทุกอย่าง

IMG_0324

halo-yob

Halo Keyboard – ถือเป็นคีย์บอร์ดเสมือน มีปุ่ม Function (Fn) เหมือนคีย์บอร์ดโน้ตบุ๊ก การทำงานใช้ Capacitive Touch ที่ให้แรงกดเหมือนคีย์บอร์ดจริงด้วย Haptic (กดแล้วจะมีแรงสั่นตอบกลับนิ้วให้เราได้รู้สึก) พร้อมทัชแพดใช้งานแบบเมาส์ได้ไม่ต่างจากโน้ตบุ๊ก โดยตัว Halo Keyboard รองรับภาษาไทย สมบูรณ์แบบ (แต่ไม่มีสกรีนคีย์ไทยไว้ ต้องใช้การพิมพ์สัมผัส) พร้อมฟีเจอร์ตรวจคำผิดและคาดเดาคำคัพท์

ในส่วนการเปิดใช้งาน Halo Keybaord สามารถทำได้ 2 วิธีได้แก่ 1.เมื่อใช้งานในรูปแบบโน้ตบุ๊ก คีย์บอร์ดจะทำงานอัตโนมัติ 2.กดปุ่มปิดปากกา คีย์บอร์ดจะทำงานทันที

ส่วนเมื่อพับส่วนคีย์บอร์ดไปด้านหลังเพื่อใช้งานแบบแท็บเล็ต คีย์บอร์ดจะปิดการทำงานอัตโนมัติ

ซอฟต์แวร์ปากกา

IMG_0228

อย่างที่เกริ่นไปแล้วข้างต้นว่า ปากกาที่ใช้กับ Yoga Book ถูกพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีจาก Wacom โดยเน้นการใช้งานไปในด้านเขียนตัวอักษรด้วยหมึกกับกระดาษจริงผ่านเทคโนโลยี EMR เป็นอันดับแรก ส่วนรองลงมาจะเป็นการใช้วาดภาพด้วยปากกาแบบเดียวกับ Sketch Pad ของ Wacom ที่เหล่าศิลปินน่าจะรู้จักกันดี

bookapp-yob

เพราะฉะนั้นในส่วนแอปฯที่ใช้แสดงศักยภาพของปากกา ทางเลอโนโวติดตั้งมาให้ 2 ตัวด้วยกัน เริ่มจาก Lenovo Note Saver ที่เปิดให้ผู้ใช้สามารถจดโน้ตข้อความต่างๆผ่านแอปฯ รวมถึงใส่ภาพถ่ายหรือพิมพ์ข้อความผ่านคีย์บอร์ดและจัดเก็บเป็นไฟล์รูปภาพได้ หรือถ้าอยากวาดภาพเล็กๆน้อยๆด้วยปากกาก็สามารถทำผ่านแอปฯนี้ได้เช่นกัน

ส่วนถ้าผู้ใช้อยากใช้ฟีเจอร์เขียนลง Create Pad แล้วให้ระบบแปลงเป็นตัวพิมพ์ให้ ก็สามารถเข้า Play Store แล้วเลือกติดตั้ง “Google Handwriting Input” ได้ (ตัวอย่างการใช้งานตามคลิปวิดีโอด้านบน)

paint-yob

และสำหรับคนชอบวาดภาพ ทางเลอโนโวได้ติดตั้งแอปฯ “ArtRage” มาให้ โดยภายในแอปฯจะสามารถเปลี่ยนหัวปากกาปกติเป็น พู่กัน ดินสอ รวมถึงเลือกการลงสีได้หลากหลายรูปแบบ

anypen

AnyPen – เป็นเทคโนโลยีในส่วนของหน้าจอที่เปิดโอกาสให้คุณสามารถนำปากกามาเขียนที่ส่วนของหน้าจอได้ (ทดสอบแล้วปากกาที่เป็นหัว Capacitive ทั้งหมดรวมทั้ง Apple Pencil สามารถใช้งานได้) แต่ความแม่นยำและความลื่นไหลจะสู้การเขียนผ่านส่วน Create Pad ไม่ได้ โดยเฉพาะระบบรับรู้น้ำหนักแรงกดจะไม่ทำงาน

ทดสอบประสิทธิภาพและสรุป

bench-yob

PC Mark
Work 2.0 = 4,702 คะแนน
Storage score = 3,709 คะแนน

AnTuTu Benchmark = 84,696 คะแนน

Geekbench 4.0
Single-Core = 1,118 คะแนน
Multi-Core = 3,239 คะแนน

bench2-yob

PassMark PerformanceTest Mobile
System = 6,380 คะแนน
CPU Tests = 65,894  คะแนน
Disk Tests = 55,804 คะแนน
Memory Tests = 6,324 คะแนน
2D Graphics Tests = 5,085 คะแนน
3D Graphics Tests = 1,583 คะแนน

3D Mark
Sling Shot Using ES 3.1 = 1,104 คะแนน
Sling Shot Using ES 3.0 = 1,444 คะแนน

vellamo-yob

Vellamo
Multicore = 2,614 คะแนน
Metal = 1,612 คะแนน
Chrome Browser = 3,946 คะแนน

เรื่องทดสอบประสิทธิภาพ ทีมงานขอกล่าวถึงภาพรวมหลังจากใช้ชีวิตร่วมกันมา 1 อาทิตย์เต็ม พบว่า Lenovo Yoga Book ซึ่งใช้ชิปประมวลผล x86 (Intel Atom) เมื่อมาอยู่ในเวอร์ชันแอนดรอยด์ การทำงานต่างๆก็ถือว่าลื่นไหล ยกเว้นการแสดงผลกราฟิก 3 มิติ เมื่อทีมงานลองทดสอบกับเกม ยกตัวอย่างเช่น Asphalt Xtreme จะพบอาการกระตุกจนไม่สามารถเล่นได้ รวมถึงอีกหลายเกมที่แสดงอาการไม่รองรับซีพียูสถาปัตยกรรม x86

ด้านปากกาและแอปฯที่รองรับ ถือว่าเพียงพอสำหรับคนทำงานที่เน้นเลคเชอร์เป็นหลัก เทคโนโลยี Wacom feel IT ทำให้ปากกาใช้งานได้เหมือนจริง โดยเฉพาะการเขียนด้วยหมึกจริงบนกระดาษจริง ให้ความรู้สึกที่ดีและเป็นธรรมชาติมากที่สุดในตลาดตอนนี้ อีกทั้งสเปกปากกาก็ถือว่าให้มาหรูหรา เช่น สามารถเอียงมุมปากกาได้สูงสุด 100 องศา และไม่จำเป็นต้องใช้แบตเตอรีด้วย

แต่ทั้งนี้ก็มีผู้ทดสอบหลายคนบ่นว่า การเขียนบนกระดาษจริงค่อนข้างสิ้นเปลืองและทำให้การใช้งานยุ่งยากกว่าเขียนบนหน้าจอโดยตรง ส่วนนี้ก็คงต้องให้ผู้อ่านและผู้สนใจไปลองทดสอบด้วยตัวเองครับ

ส่วนการใช้วาดภาพ ทีมงานมีความรู้สึกว่าตัวแอปฯยังดึงศักยภาพของปากกาออกมาได้ไม่เต็มที่นัก อาจต้องหาแอปฯจากผู้พัฒนารายอื่นมาใช้งานร่วมกัน

batt-yob

มาถึงเรื่องแบตเตอรี เป็นสิ่งที่น่าประทับใจเพราะ Yoga Book สามารถใช้งานต่อเนื่อง (ทดสอบด้วยแอปฯ Geekbench เปิดหน้าจอตลอดการทดสอบ) ได้ยาวนาน 10 ชั่วโมง 32 นาที 50 วินาที ซึ่งถ้าคิดเป็นเวลาใช้งานปกติก็จะอยู่ที่ประมาณ 14-15 ชั่วโมง เพียงพอต่อการใช้งานทั้งวัน

IMG_0350

สุดท้ายค่าตัว Lenovo Yoga Book เริ่มต้น 19,990 บาท (แอนดรอยด์) ส่วนเวอร์ชัน Windows เลอโนโวจะวางจำหน่ายเร็วๆนี้ แน่นอนว่าถ้าผู้ใช้เน้นงานออฟิซเป็นหลัก รุ่น Windows น่าจะเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ ส่วนถ้าผู้ใช้เน้นทำงานเล็กๆน้อยๆ แต่เน้นการพกพา ต้องการแบตเตอรีอึดและชอบขีดเขียนมากกว่าพิมพ์ เวอร์ชันแอนดรอยด์น่าจะตอบโจทย์ดีที่สุด

ข้อดี

– วัสดุ งานประกอบแข็งแรงมาก ปรับเปลี่ยนการใช้งานได้หลากหลาย
– เป็นแท็บเล็ตมีคีย์บอร์ด น้ำหนักเบา พกพาสะดวก
– แบตเตอรีอึด
– ปากกาใช้หมึกจริง เขียนได้จริง และสามารถเปลี่ยนหัวปากกาได้
– Halo Keyboard ตอบสนองการกดดีเยี่ยม

ข้อสังเกต

– เวอร์ชันแอนดรอยด์ แอปฯที่ให้มายังไม่น่าสนใจเพราะเน้นเขียนและเซฟเป็นภาพมากกว่า (น่าจะมีระบบแปลงลายมือเป็นตัวอักษรได้ภายในแอปฯของเลอโนโว)
– หน้าจอรองรับการใช้ปากกาผ่านฟีเจอร์ AnyPen ยังทำงานได้ไม่ดีนัก
– ไส้น้ำหมึกต้องใช้เฉพาะรุ่นที่เลอโนโวออกแบบมาเท่านั้น

Gallery

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็น

REVIEW OVERVIEW
การออกแบบ
10
สเปก/ฟีเจอร์เด่น
9.2
ความสามารถโดยรวม
9
ความคุ้มค่า
9
SHARE