Review : Philips SpeechAir PSP1100 เครื่องบันทีกเสียงไฮเอนด์ลูกผสมสมาร์ทโฟน

4552

svoice-1111

วันนี้ทีมงานไซเบอร์บิซได้รับเครื่องบันทึกเสียงดิจิตอล Philips (ฟิลิปส์) “SpeechAir PSP1100” ที่โดดเด่นในเรื่องการออกแบบให้เป็นลูกผสมกับแอนดรอยด์สมาร์ทโฟน ใช้งานได้หลากหลาย อีกทั้งภายในยังมาพร้อมระบบรักษาความปลอดภัยระดับองค์กร รวมถึงฟีเจอร์และสเปกแบบจัดเต็มด้วยชุดไมโครโฟนคุณภาพสูง 3 ตัวรับเสียงได้กว้าง 360 องศา เน้นใช้บันทึกเสียงงานสัมภาษณ์เดี่ยว สัมภาษณ์กลุ่ม หรือบันทึกเสียงจากที่ประชุมต่างๆ

การออกแบบและสเปก

Philips SpeechAir มีหน้าตาคล้ายกับสมาร์ทโฟนอย่างมาก โดยตัวเครื่องมาพร้อมหน้าจอ IPS ทัชสกรีนขนาด 4 นิ้ว กระจกจอเป็น Gorilla Glass ความละเอียดหน้าจออยู่ที่ 480×800 พิกเซล พร้อมเซ็นเซอร์ตรวจวัดแสง, Motion Sensor และ optical proximity sensor ติดตั้งเหนือหน้าจอขึ้นไปแบบเดียวกับที่อยู่ในแอนดรอยด์สมาร์ทโฟน รวมถึงมีการติดตั้งลำโพงสนทนาโทรศัพท์เหนือโลโก้ PHILIPS สำหรับใช้งานโทรศัพท์ผ่าน VoIP

ด้านขนาดตัวเครื่อง กว้างxสูง อยู่ที่ 62×127 มิลลิเมตร หนา 15 มิลลิเมตร น้ำหนัก 116 กรัม ตัวเครื่องป้องกันการตกกระแทกตามมาตรฐาน US military standard 516.6 อีกทั้งพื้นผิวรอบตัวเครื่องรวมถึงหน้าจอยังผลิตจากวัสดุที่เชื้อแบคทีเรียไม่สามารถเกาะติดได้

sair-setup

ในส่วนสเปกเครื่อง SpeechAir ขับเคลื่อนด้วยแอนดรอยด์ 4.4.2 ซีพียู Dual Core Cortex-A9 ความเร็ว 1.6GHz แรม 1GB รอมภายใน 16GB (เหลือให้ใช้งานจริงประมาณ 12.5GB) แบตเตอรี 2,700mAh ใช้งานบันทึกเสียงต่อเนื่อง 12 ชั่วโมง

ด้านหลัง จะเป็นที่อยู่ของกล้องถ่ายภาพ สามารถถ่ายภาพที่ความละเอียด 5 ล้านพิกเซล บันทึกวิดีโอ 1080p 30fps และอ่าน QR-Code พร้อมไฟแฟลช LED

ถัดลงไปเป็นลำโพงและโลโก้ฟิลิปส์

มาดูตำแหน่งไมโครโฟนตัวหลัก Dictation microphone (directional microphone) มี 2 ตัว ติดตั้งอยู่บริเวณมุมขวาบนของเครื่องและข้างไฟแฟลชกล้องถ่ายภาพด้านหลัง โดยไมโครโฟนทั้งสองตัวนี้จะรับเสียงตรงเข้าทางเดียว (ใช้กับงานในลักษณะยื่นไมโครโฟนจ่อปากผู้ถูกสัมภาษณ์) ซึ่งจะให้เสียงที่คมชัดและมีน้ำหนักเสียงดีที่สุด

ในส่วนไมโครโฟนตัวที่ 3 จะถูกติดตั้งอยู่ด้านข้างของเครื่องเหนือปุ่มเพิ่มลดระดับเสียง โดยไมโครโฟนตัวนี้จะใช้รับเสียง 360 องศา (omnidirectional microphone) สำหรับงานประชุม

ด้านขวาของตัวเครื่อง – ส่วนนี้จะเป็นที่อยู่ของปุ่มคำสั่งต่างๆ เริ่มจาก ช่องรีเซ็ทเครื่อง, สวิตซ์ปิดเปิดเครื่อง, Slide Switch (สำหรับสั่งงานบันทึกเสียง) และปุ่มฟังก์ชัน (ตั้งค่าใช้งานได้จากเมนู Button assignment)

ด้านล่างของตัวเครื่อง – ตรงกลางเป็นพอร์ตเชื่อมต่อ Docking ด้านซ้ายเป็นรูไมโครโฟนรับเสียงสนทนาเมื่อใช้งานโทรศัพท์ผ่าน VOIP ด้านขวาเป็นช่อง MicroUSB

ด้านบน – เริ่มจากตรงกลาง เป็นไฟ LED (ติดเป็นสีแดงเมื่อมีการกดบันทึกเสียง) ขวามือเป็นช่องเสียงไมโครโฟนภายนอกและช่องหูฟังขนาด 3.5 มิลลิเมตร

มาดูในส่วน Docking Station (แถมมาในชุด) ทำหน้าที่หลักในการชาร์จไฟให้ตัว SpeechAir และสามารถชิงค์ข้อมูลกับคอมพิวเตอร์ได้ โดยด้านหลังจะมีพอร์ตเชื่อมต่อเริ่มจากซ้ายสุด MicroUSB สำหรับเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ตรงกลาง LAN สำหรับเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตและระบบเครือข่ายภายในองค์กรผ่านสายแลน ขวาสุด MicroUSB 5V DC สำหรับเชื่อมต่อกับอะแดปเตอร์ชาร์จไฟบ้าน

svoice-222

โดยในส่วนไฟสถานะการทำงานด้านหน้า Docking ซ้ายเป็นไฟชาร์จแบตเตอรี ขวาเป็นไฟซิงค์ข้อมูลกับคอมพิวเตอร์

หน้าตาอุปกรณ์ที่แถมมาในกล่อง Philips SpeechAir PSP1100 เริ่มจาก แฟลชไดร์ฟ 4GB ภายในมีคู่มือและซอฟต์แวร์จัดการไฟล์เสียง, อะแดปเตอร์ชาร์จไฟ 5V 2A, หูฟังอินเอียร์ และสาย MicroUSB 2 เส้น แบ่งเป็น สายสั้นใช้สำหรับเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ส่วนสายยาวไว้เชื่อมต่อกับ Docking

การใช้งานและฟีเจอร์เด่น

sair-home

ด้วยความที่ตัวเครื่องขับเคลื่อนด้วยแอนดรอยด์ 4.2.2 Jelly Bean ทำให้ฟังก์ชันการใช้งานพื้นฐานจะเหมือนกับใช้บนสมาร์ทโฟนทั้งหมด คุณสามารถเชื่อมต่อ WiFi, บลูทูธ, ถ่ายภาพหรือท่องเว็บไซต์ผ่านบราวเซอร์ได้ปกติ

ส่วนการติดตั้งแอปฯเพิ่มเติม จะไม่สามารถทำได้เพราะไม่มี Play Store แต่ฟิลิปส์ให้แอปฯ Explorer สำหรับเพื่อเอาไว้จัดการไฟล์รวมถึงเลือกติดตั้ง apk หรือเฟริมแวร์จากภายนอกได้

sair-dict

ในส่วนแอปฯหลักก็คือ “Dictation recorder” ลิขสิทธิ์ใช้ได้เฉพาะ Philips SpeechAir เท่านั้น หน้าที่หลักก็คือใช้บันทึกเสียง โดยวิธีการควบคุมทำได้ง่ายผ่าน Slide Switch ด้านข้างเครื่อง (ดันขึ้น เริ่มบันทึก ดันลง หยุด ดันลงจนสุดแล้วค้างไว้ กรอคลิปเสียง)

นอกจากนั้นผู้ใช้ยังสามารถตัดต่อคลิปเสียงด้วยการบันทึกซ้ำหรือแทรกคลิปเสียงใหม่ได้ รวมถึงใส่รายละเอียดของคลิปเสียงได้ด้วย

sair-audioset

มาถึงรูปแบบไฟล์ที่บันทึก มาตรฐานจะเป็นไฟล์ DSS Pro .DS2 (28 kbit/s) เพราะให้ขนาดไฟล์ที่เล็กเหมาะกับส่งผ่านทางอีเมล์ แต่ทั้งนี้ถ้าคิดว่าไม่สะดวก ทางฟิลิปส์ได้ให้ออปชันบันทึกเป็น WAV PCM (256 kbit/s) มาให้อีกหนึ่งตัวเลือก

ในส่วนไมโครโฟน 3 ตัว ผู้ใช้สามารถปรับตั้งความไวของไมโครโฟนรวมถึงเลือกวิธีการรับเสียงของตัวไมโครโฟนได้ตามการใช้งานอีกด้วย เรียกได้ว่า SpeechAir PSP1100 สามารถใช้บันทึกเสียงได้ตั้งแต่สัมภาษณ์เดี่ยวไปถึงใช้บันทึกเสียงในที่ประชุมขนาดใหญ่ได้เลย

และนอกจากนั้นสำหรับคนที่ต้องการป้องกันคลิปเสียงหลุด ทางฟิลิปส์ยังให้ระบบเข้ารหัสไฟล์แบบ Real-Time Advanced Encryption Standard (AES) 256 bits มาให้ด้วย (แต่ระบบดังกล่าวจะป้องกันเฉพาะเมื่อใช้ภายในแอปฯ Dictation recorder เท่านั้น)

sair-dict2

มาถึงบริการพิเศษเฉพาะผู้ใช้เครื่องบันทึกเสียงฟิลิปส์ ก็คือ “SpeechLive“ หรือบริการถอดเทปแล้วพิมพ์เป็นเอกสาร Text file ให้” (มีค่าบริการรายเดือน) แต่ทั้งนี้บริการดังกล่าว ปัจจุบันไม่เปิดให้ผู้ใช้ในประเทศไทยและไม่รองรับภาษาไทย

speechair-manage

ส่วนวิธีการดึงคลิปเสียงออกจากตัวเครื่อง ระบบจะให้ทำผ่านซอฟต์แวร์ Philips SpeechAir Management software ในคอมพิวเตอร์ หรือเครื่อแมคจะเป็นซอฟต์แวร์ DPMConnect for Mac

email-sound

และอีกวิธีก็คือใช้ส่งผ่านอีเมล์ แต่ทั้งนี้ไฟล์ที่ได้มาไม่ว่าจะเป็น DSS Pro หรือ WAV จะต้องใช้ Audio Codec จากฟิลิปส์ร่วมกับ Media Player เพื่อใช้เล่นไฟล์ เพราะไม่อย่างนั้นจะไม่สามารถเล่นคลิปเสียงบนคอมพิวเตอร์ได้

ทดสอบประสิทธิภาพและสรุป

ในภาพรวมทั้งหมด SpeechAir PSP1100 จัดเป็นเครื่องบันทึกเสียงที่ถูกออกแบบมาเพื่องานบันทึกเสียงสัมภาษณ์หรือใช้บันทึกเสียงรายงานการประชุม โดย SpeechAir PSP1100 จัดเป็นรุ่นท็อปสุดของตลาด ทำให้ไม่ต้องห่วงเรื่องของคุณภาพไมโครโฟนและไฟล์เสียง โดยจากการทดสอบในสภาพแวดล้อมต่างๆ การรับเสียงพูด ทำได้ดี ชัดเจน

อีกทั้งแอปฯ Dictation recorder ก็ทำงานได้ค่อนข้างฉลาด กล่าวคือ ตัวแอปฯสามารถเรียนรู้ได้ว่าตอนนี้เรากำลังบันทึกเสียงในลักษณะสัมภาษณ์บุคคลหรือใช้ในที่ประชุมโดยใช้เซ็นเซอร์ภายในใน ตรวจจับการถือจับถือตัวเครื่องของเรา เพราะคนปกติเวลาสัมภาษณ์จะถือเครื่องไว้ในมือ แต่ถ้าเป็นการบันทึกเสียงประชุมเราจะวางไว้บนโต๊ะ ระบบภายในสามารถเรียนรู้และปรับแต่งเสียงให้อัตโนมัติ

อีกจุดเด่นหนึ่งที่ SpeechAir ทำได้ดีมากไม่แพ้กัน ก็คือ ความทนทานที่สูง อีกทั้งตัวเครื่องยังเลือกใช้วัสดุ ANTIMICROBIAL แน่นอนว่ารองรับการใช้งานในวงการแพทย์ ส่วนคนทั่วไปที่ต้องวางเครื่องบันทึกเสียงไว้ตามสถานที่ต่างๆก็มั่นใจได้ว่าแบคทีเรียจะไม่สามารถเกาะติดตัว SpeechAir แน่นอน

แต่ทั้งนี้ก็ใช่ว่า SpeechAir PSP1100 จะไม่มีข้อสังเกตเลย เพราะถึงแม้ตัวเครื่องจะบันทึกรูปแบบไฟล์เสียงตามมาตรฐาน DSS Pro (มาตรฐานกลาง) แต่เอาเข้าจริงๆแล้วสำหรับผู้ใช้ทั่วไป ไฟล์ DSS Pro รวมถึง WAV PCM ต้องมีซอฟต์แวร์เฉพาะถึงจะสามารถเล่นได้ ความจริงไหนๆก็เป็นเครื่องบันทึกเสียงยุคใหม่แล้วน่าจะเพิ่มรูปแบบการบันทึกเสียงสำหรับงานทั่วไปที่ไม่ต้องมีการเข้ารหัส (เช่น MP3 หรือ MP4) ที่สามารถดึงไปใช้ได้ทันทีจากทุกดีไวซ์ น่าจะทำให้ SpeechAir PSP1100 ครอบคลุมทุกการใช้งานมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการใช้งานแบบเร่งด่วนแบบสมาร์ทโฟนส่งต่อไปยังสมาร์ทโฟนหรือแชร์ผ่านแอปฯข้อความในเครื่อง SpeechAir PSP1100 ทำได้ยากมาก เนื่องจากฟังก์ชันแชร์ไฟล์ผ่านอินเตอร์เน็ตบังคับให้ส่งผ่านอีเมล์ในรูปแบบไฟล์ดิบได้อย่างเดียว

สำหรับราคาเปิดตัว Philips SpeechAir PSP1100 อยู่ที่ 39,990 บาท จัดจำหน่ายโดย บริษัท เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

ข้อดี

– ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ใช้งานเหมือนสมาร์ทโฟน ใช้งานอีเมล์ ปฏิทินนัดหมายได้
– รองรับการเชื่อมต่อ WiFi และ LAN
– มีระบบรักษาความปลอดภัยสูงสุด ป้องกันคลิปเสียงหลุดและไฟล์ถูกเข้ารหัสไว้แน่นหนา
– ไมโครโฟน 3 ตัวบันทึกเสียงสนทนาได้ทุกรูปแบบ ยอดเยี่ยมทุกสภาพแวดล้อม
– ต่อไมโครโฟนภายนอกได้
– มีกล้อง สามารถถ่ายภาพแนบไปกับไฟล์เสียงหรือใช้อ่าน barcodes/QR ได้
– ตัวเครื่องมีความทนทานและวัสดุเป็น ANTIMICROBIAL

ข้อสังเกต

– ไฟล์เข้ารหัสแน่นหนา เวลาดึงไปใช้งานต้องทำผ่านซอฟต์แวร์ของฟิลิปส์เท่านั้น ไม่มีโหมดใช้งานทั่วไปมาให้
– SpeechLive ปัจจุบันยังใช้งานในประเทศไทยไม่ได้

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็น

REVIEW OVERVIEW
การออกแบบ
8
สเปก/ฟีเจอร์เด่น
9
ความสามารถโดยรวม
8.5
ความคุ้มค่า
7.5
SHARE