Review : Plantronics Voyager 5200 ยกระดับหูฟังบลูทูธ ด้วยระบบตัดเสียงรบกวน

18831

Voyager_5200_Photography_Photo6_LS_ENUS_print_CMYK_05FEB16

อุปกรณ์หูฟังบลูทูธถือเป็นอีกอุปกรณ์เสริมที่จะมาคู่กับมือถือในยุคที่สมาร์ทโฟนเน้นความบางมากยิ่งขึ้น รวมถึงคอนเซปต์ใหม่อย่างการยกเลิกพอร์ตหูฟัง 3.5 มม. เปิดโอกาสให้แบรนด์หูฟังมีโอกาสเติบโตมากยิ่งขึ้น พร้อมไปกับการพัฒนาประสิทธิภาพของหูฟังบลูทูธให้สูงมากยิ่งขึ้น และรองรับการทำงานที่หลากหลายมากขึ้น

Plantronics Voyager 5200 จึงเป็นอีกหูฟังบลูทูธในยุคใหม่ ที่มีการเพิ่มประสิทธิภาพนอกเหนือไปจากการพัฒนาด้านคุณภาพการสนทนาให้ชัดเจนมากขึ้น ก็จะมีการเพิ่มฟังก์ชันอย่างการเชื่อมต่อพร้อมกันหลายๆเครื่อง ระยะการเชื่อมต่อที่ใกล้ขึ้นถึง 30 เมตร พร้อมกับการใส่เซ็นเซอร์ตรวจจับการใช้งาน เพื่อระบบรับสายอัตโนมัติ

การออกแบบ

IMG_3580

จุดหนึ่งที่ทำให้ Plantronics ได้รับความนิยมในกลุ่มผู้ใช้งานหูฟังบลูทูธคือเรื่องของการออกแบบที่ทำให้ดูทันสมัย มีการเล่นลายขอบโค้งสีเงินของตัวหูฟังให้ดูทันสมัย ตัดกับสีแดงภายในให้ดูโฉบเฉี่ยว ในส่วนของไมค์ที่ยื่นออกมาช่วยรับเสียงให้ดียิ่งขึ้น ทำให้เวลาใช้งานเห็นชัดเจนว่าใช้หูฟังบลูทูธอยู่ เช่นเดียวกับความแน่นหนาในการใส่ไม่หลุดออกจากหูง่ายๆ โดยขนาดของหูฟังจะอยู่ที่ 30 x 100 x 60 มิลลิเมตร น้ำหนัก 20 กรัม

IMG_3592IMG_3591

Voyager 5200 จะเป็นหูฟังบลูทูธแบบเกี่ยวหลังหู ที่สามารถหมุนแกนได้ 180 องศา ทำให้สามารถใช้งานได้ทั้งหูซ้าย และหูขวา โดยในส่วนของไมค์รับเสียงก็จะปรับได้ในแนว 180 องศาเช่นเดียวกัน โดยที่ตัวเครื่องจะมีการสลักชื่อแบรนด์ Plantronics และอักษรย่อ PLT ไว้ให้เห็นชัดเจน

Light

ขณะที่ปุ่มควบคุมจะมีด้วยกัน 4 จุดหลักๆคือ ปุ่มเปิดปิดหูฟัง ที่มีจะไฟแสดงสัญลักษณ์การเชื่อมต่ออยู่ข้างๆ (สีแดง และน้ำเงิน) อีกจุดคือปุ่มปรับระดับเสียง ที่อยู่บริเวณด้านบนของหูฟังเป็นปุ่มกลมๆ สีเงิน 2 ปุ่ม พร้อมสัญลักษณ์ + และส่วนตรงก้านไมค์จะมีปุ่มรับสายตรงบริเวณขอบท้าย และปุ่มปิดเสียง (Mute) สีแดงอยู่ตรงก้านไมค์

IMG_3578

ส่วนพอร์ตชาร์จจะมีด้วยกัน 2 แบบคือ พอร์ตไมโครยูเอสบี ใช้ชาร์จโดยตรงผ่านสายยูเอสบีคู่กับอะเดปเตอร์ ที่บริเวณด้านล่างหูฟัง ถัดขึ้นมาจะเป็นแถบทองแดง ไว้ใช้ชาร์จคู่กับ Portable Power ซึ่งจะใช้การเชื่อมต่อแม่เหล็กร่วมด้วย โดยจะชาร์จได้ 2 รูปแบบคือวางไว้ด้านบนเพื่อให้สามารถหยิบใช้งานได้ทันที หรือใส่เก็บไว้ในกล่องกรณีที่พกพาติดตัวไปใช้งาน

IMG_3586สำหรับอุปกรณ์ที่ให้มาภายในกล่องจะประกอบไปด้วย ตัวหูฟัง จุกหูฟัง (Ear Bud) ให้เลือกด้วยกัน 3 ขนาด สายชาร์จไมโครยูเอสบี คู่มือการใช้งาน ใบรับประกัน และสายคล้อง ขณะที่ในส่วนของ Portable Power ที่แยกมาอีกกล่องก็จะมีเฉพาะตัวอะเดปเตอร์เท่านั้น

ฟีเจอร์เด่น

Voyager_5200_Photography_Photo8_LS_ENUS_print_CMYK_05FEB16

จุดเด่นหลักๆของ Voyager 5200 จะเน้นไปที่เทคโนโลยีที่นำมาใช้ภายในตัวหูฟังมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นระบบตัดเสียงรบกวนจากไมค์ 4 จุด (Four-mic noise cancelling) เทคโนโลยีในการตัดเสียงลม (WindSmart) ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยเพิ่มคุณภาพของเสียงในการสนทนา ทำให้ทั้งผู้รับ และคู่สายได้เสียงที่ชัดเจนมากที่สุด

IMG_3595

ถัดลงมาคือการนำระบบเซ็นเซอร์ตรวจจับมาช่วยในการใช้งาน ทำให้ช่วยเพิ่มลูกเล่นอย่างกรณีที่ใส่หูฟังอยู่ เมื่อมีสายเรียกเข้าจะบอกชื่อคู่สายทันที ถ้าต้องการรับก็สามารถใช้คำสั่งเสียง (Answer) รับสายได้ทันที หรือกรณีที่ไม่ได้ใส่หูฟังวางไว้ ระบบจะตรวจจับได้ว่าขณะนี้ไม่ได้ใส่หูฟังอยู่ เสียงเรียกเข้าก็จะดังที่สมาร์ทโฟนตามปกติ เมื่อใส่หูฟังระบบจะทำการรับสายอัตโนมัติ

รวมถึงกรณีที่ใส่หูฟังอยู่เมื่อสั่งงานโทรออกจากสมาร์ทโฟนเสียงก็จะดังที่หูฟังทันที แต่กรณีที่ไม่ได้ใส่หูฟังเสียงก็จะดังที่ตัวโทรศัพท์แทน ซึ่งเซ็นเซอร์นี้จะถูกนำมาใช้กับการควบคุมการเล่นเพลงด้วย เมื่อใส่ระบบก็จะเปิดเครื่องเล่นเพลงอัตโนมัติ เมื่อถอดก็จะหยุดการเล่นเพลงเป็นต้น แน่นอนว่าฟังก์ชันต่างๆเหล่านี้สามารถเข้าไปตั้งค่าเพิ่มเติมได้จากในแอปพลิเคชัน

นอกจากนี้ ด้วยรูปแบบของการใช้งานคำสั่งเสียงต่างๆ Voyager 5200 จึงพร้อมทำงานคู่กับ Siri บน iOS Google Now บน Android และ Cortana บน Windows 10 ได้ทันที เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้คำสั่งเสียงผ่านหูฟังบลูทูธได้ทันที ในการจดบันทึกตารางนัดหมาย ค้นหาปฏิทิน ตรวจสอบสภาพอากาศ และอื่นๆตามต้องการ

อีกจุดคือการที่ Voyager 5200 ได้มีการเคลื่อบสาร P2i Nano-coating ทำให้สามารถป้องกันละอองน้ำได้ในระดับหนึ่ง ดังนั้นถ้าอยู่ในสภาพอากาศที่มีฝนตกปรอยๆก็สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ไม่พลาดการติดต่อในทุกช่วงเวลา

s01

แน่นอนว่าในการใช้งาน Voyager 5200 ให้ได้ประสิทธิภาพสูงที่สุด ผู้ใช้ควรใช้งานควบคู่ไปกับแอปพลิเคชัน Plantronics Hub ที่มีให้ดาวน์โหลดใช้ทั้งในพีซี และสมาร์ทโฟน โดยการเชื่อมต่อบนพีซี จะเหมาะสำหรับการใช้ในการอัปเกรดเฟิร์มแวร์ ควบคู่ไปกับการตั้งค่าต่างๆของหูฟัง นอกจากนี้ ยังใช้ในการตั้งค่า SoftPhone หรือหมายถึงพวกโปรแกรมที่ใช้สนทนาผ่านทางพีซี ไม่ว่าจะเป็น Skype Avaya One-X Cisco Jabber ที่ถูกใช้งานภายในองค์กร

s02s03

ส่วนในมุมของการใช้งานบนสมาร์ทโฟน เมื่อทำการติดตั้ง และเชื่อมต่อเรียบร้อย จะเน้นการแสดงผลการเชื่อมต่อ สถานะแบตเตอรี ระยะเวลาที่สามารถใช้งานได้ พร้อมระบุด้วยว่ากำลังใส่หูฟังอยู่หรือไม่ นอกจากนี้ก็จะมีคู่มีบอกถึงการควบคุมต่างๆ และเมนูการตั้งค่าหูฟังในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เสริมอื่นๆ และฟังก์ชันในการค้นหาหูฟังด้วยการเล่นเสียงคลื่นความถี่สูงออกมาให้ได้ยิน (ไม่ควรเปิดเสียงดังมากเพราะจะทำให้ลำโพงเสียงได้)

ทดสอบประสิทธิภาพ

IMG_3606

ในการทดลองใช้งาน ทีมงานได้ทดลองการเชื่อมต่อ Voyager 5200 กับสมาร์ทโฟนเป็นเครื่องที่ 1 และเชื่อมต่อกับแมคบุ๊กเป็นเครื่องที่ 2 เมื่อมีการเปิดหูฟังใช้งาน ตัวหูฟังจะมีการบอกสถานะการเชื่อมต่อทันทีว่า ขณะที่ได้เชื่อมต่ออยู่กับอุปกรณ์ใดบ้าง ถัดมาจะเป็นการแจ้งสถานีแบตเตอรีการใช้งานว่าสามารถใช้งานได้ต่อเนื่องกี่ชั่วโมงเป็นต้น

ทั้งนี้ ในการใช้งานเมื่อชาร์จแบตเต็ม 100% จะใช้งานได้ต่อเนื่องประมาณ 6 ชั่วโมง 30 นาที ใช้ระยะเวลาในการชาร์จจนเต็มประมาณ 90 นาที นอกจากนี้ทาง Plantronics ยังระบุว่า สามารถเปิดสแตนบายในการใช้งานได้นาน 1 สัปดาห์ ซึ่งเท่าที่ทดลองใช้มาระยะเวลาที่ขึ้นแสดงผลถือว่าค่อนข้างตรง

ขณะที่ประสิทธิภาพในการสนทนา ก็ถือว่าเป็นหูฟังบลูทูธในระดับพรีเมียม เพราะใช้เสียงที่ชัดเจน ทั้งฝั่งของผู้ใช้ และคู่สาย รวมถึงระบบตัดเสียงลม ที่ทดลองด้วยการใช้สนทนาหน้าพัดลม เมื่ออยู่ในระยะห่างจากพัดลมเกิน 1 เมตร จะไม่มีเสียงลมแทรกเข้ามาเลย ส่วนระยะการเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน อาจจะไม่ถึง 30 เมตรตามที่ระบุไว้ ถ้าไม่ได้อยู่ในพื้นที่โล่ง

สรุป

ถ้าเป็นผู้ที่ใช้งานโทรศัพท์เป็นชีวิตจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นด้วยหน้าที่การงาน หรือภารกิจในการติดต่อสื่อสารต่างๆ Plantronics Voyager 5200 เป็นหนึ่งในหูฟังบลูทูธที่น่าสนใจ จากฟังก์ชันที่พัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มั่นใจได้ว่าการสนทนาจะได้เสียงที่คมชัดตลอดเวลาแน่นอน

เพียงแต่ด้วยราคาที่เปิดตัวมาในระดับ 4,590 บาท ไม่รวมกับ Power Case อีก 1,590 บาท อาจทำให้ต้องลงทุนสักหน่อยในการได้หูฟังบลูทูธระดับพรีเมียมแบบนี้มาใช้งาน ที่สำคัญคือการที่ถูกออกแบบมาให้รองรับการใช้งานทั้งบนสมาร์ทโฟน และพีซี ทำให้ในการติดต่อสื่อสารผ่านโปรแกรมต่างๆภายในองค์กรก็สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อดี

คุณภาพเสียงที่ได้จากทั้งระบบตัดเสียงรบกวนเสียงลม

รองรับการใช้งานทั้งสมาร์ทโฟนพีซี ผ่าน Plantronics Hub

ดีไซน์ดูพรีเมียม รองรับการใช้คำสั่งเสียงผ่าน Siri Google Now และ Cortana

ข้อสังเกต

ราคาค่อนข้างสูง เพราะถือเป็นหูฟังระดับพรีเมียม

การเชื่อมต่อกับแอนดรอยด์ บางทีต้องจับคู่ใหม่ เพื่อให้จับสัญญาณได้ชัดเจน

ยังมีการอัปเฟิร์มแวร์ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานอย่างต่อเนื่อง

Gallery

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็น

SHARE