Review : Sony a6300 เด่นที่ออโต้โฟกัสเร็วสุดในโลก

29011

head-a6300

a6300 ถูกจัดเป็นกล้องมิร์เรอร์เลสแฟลกชิปในตระกูล APS-C ที่โซนี่ตั้งใจจับกลุ่มผู้ใช้ที่ต้องการกล้องมิร์เรอร์เลสความเร็วสูง โดย a6300 ถูกพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพจาก a6000 อยู่หลายส่วน โดยเฉพาะระบบออโต้โฟกัสใหม่ที่โซนี่ตั้งใจพัฒนาให้ทำงานได้รวดเร็วจนได้ชื่อว่า “เป็นกล้องที่ออกแบบมาเพื่อถ่ายงานกีฬา งานแคนดิต สตรีท หรือไลฟ์โฟโต้ได้อย่างยอดเยี่ยม”

**Sony a6300 รุ่นที่ทีมงานได้รับจะมาพร้อมคิทเลนส์ 16-50mm f3.5-5.6 Power Zoom พร้อมระบบป้องกันภาพสั่นไหว Optical Steady Shot

การออกแบบ

IMG_4279

ตั้งแต่โซนี่ปรับตระกูล NEX และ Alpha มารวมกันและมุ่งพัฒนามิร์เรอร์เลสให้เป็นตลาดหลักแทน DSLR ทำให้เราเห็นการมุ่งเน้นพัฒนาเทคโนโลยีบนมิร์เรอร์เลสของโซนี่ได้ชัดเจนมากขึ้น โดย a6300 เป็นกล้องมิร์เรอร์เลสเปลี่ยนเลนส์ได้ (ใช้เลนส์ E-Mount) ขนาดเท่าฝ่ามือ (Palm-size) ขนาดกล้องกว้างxสูง อยู่ที่ 120×66.9 มิลลิเมตร หนา 48.8 มิลลิเมตร น้ำหนักประมาณ 404 กรัม

นอกจากนั้นบอดี้ตัวกล้องยังถูกผลิตโดยใช้วัสดุแมกนีเซียมอัลลอยพร้อมป้องกันน้ำและฝุ่น (ในที่นี่หมายถึงป้องกันน้ำฝน ฝุ่นทรายได้เล็กๆน้อยๆ ไม่สามารถลุยน้ำหรือถ่ายใต้น้ำได้)

IMG_4280IMG_4282

ด้านข้าง – เริ่มจากซ้ายจะเป็นที่อยู่พอร์ตเชื่อมต่อ (มีฝาปิดไว้) ไล่ตั้งแต่ AV Multi, Micro HDMI และมีการเพิ่มช่องเสียบไมโครโฟนภายนอกขนาด 3.5 มิลลิเมตรสำหรับงานวิดีโอมาให้ด้วย

ส่วนด้านขวามือจะเป็นส่วนของกริปยางจับถือพร้อมเซ็นเซอร์ NFC ส่วนด้านหน้ากริปยางจะเป็นที่อยู่ของเซ็นเซอร์อินฟาเรดสำหรับใช้งานกับอุปกรณ์เสริมไร้สาย เช่น รีโมทชัตเตอร์ เป็นต้น

IMG_4291

ด้านบน – ตรงกลางเป็นที่อยู่ของช่อง Hot Shoe สำหรับสวมใส่อุปกรณ์เสริม เช่น ไฟแฟลช ไมโครโฟนจากโซนี่ ถัดมาเป็นไฟแฟลชแบบ Pop up, วงล้อหมุนปรับโหมดถ่ายภาพ, ปุ่มชัตเตอร์พร้อมสวิตซ์เปิดปิดกล้อง, ปุ่ม Custom 1 และสุดท้ายขวาสุดคือ วงล้อปรับตั้งค่าที่สามารถตั้งการใช้งานได้อิสระ

IMG_4303display-a6300IMG_4299

ด้านหลัง – หน้าจอสี TFT 3 นิ้ว (ปรับหน้าจอขึ้นได้ 90 องศา กดหน้าจอลงได้ 45 องศา) ความละเอียดหน้าจออยู่ที่ 921,600 จุด Live View สามารถแสดงภาพเคลื่อนไหวความเร็วสูงสุด 50/100fps (NTSC 60/120fps) ซึ่งช่วยให้การติดตามวัตถุทำได้ลื่นไหลต่อเนื่องกว่าหน้าจอ Live View ทั่วไป

IMG_4350

ในส่วนช่องมองภาพอิเล็กทรอนิกส์สี XGA OLED มีความละเอียด 2,359,296 จุด พร้อมเซ็นเซอร์เปิดปิดการทำงานช่องมองภาพและสลับการทำงานระหว่าง Live View แบบอัตโนมัติ

ด้านปุ่มคำสั่งที่น่าสนใจจะอยู่ที่สวิตซ์ AF/MF, AEL เวลาผู้ใช้ต้องการเลือกล็อคโฟกัส คอนเฟริมโฟกัสในโหมด Manual Focus หรือล็อคค่าแสงที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งก็เพียงนำนิ้วโป้งดันก้านสวิตซ์เลือกคำสั่งที่ต้องการ จากนั้นก็ใช้นิ้วโป้งกดปุ่มตรงกลางค้างไว้เท่านั้น

ส่วนปุ่มคำสั่งอื่นๆ จะคล้ายกับมิร์เรอร์เลสทุกรุ่นของโซนี่ เช่นปุ่ม Fn เวลาอยู่ในโหมดกล้องถ่ายภาพกดจะเป็นการเรียกเมนูตั้งค่ากล้อง ส่วนเมื่ออยู่ในหน้าพรีวิวภาพกดค้างไว้จะเป็นการเปิด WiFi และแชร์ภาพ อีกทั้งในรุ่น a6300 ปุ่มกดต่างๆจะดูแข็งแรงกว่า a6000 ด้วย

IMG_4294IMG_4318

ด้านล่าง – นอกจากเป็นที่อยู่ของช่องใส่ขาตั้งกล้องแล้ว บริเวณกริปยังเป็นที่อยู่ของช่องใส่แบตเตอรี NP-FW50 (แบตเตอรี 1 ก้อนถ่ายได้ต่อเนื่องประมาณ 350-400 ภาพ) และช่องใส่การ์ดความจำ SD Card/Memory Stick รองรับมาตรฐาน Memory Stick PRO Duo, Memory Stick PRO-HG Duo, Memory Stick Micro (M2), SDHC UHS, SDXC UHS

IMG_4321

ในส่วนการชาร์จไฟ โซนี่ยุคใหม่ไม่มีการแถมแท่นชาร์จแบตเตอรีภายนอกมาให้ แต่จะให้เป็นอะแดปเตอร์แปลงไฟ 5V 1.5A พร้อมสาย MicroUSB เชื่อมต่อกับกล้องโดยตรง อีกทั้งด้วยระบบจัดการพลังงานแบบใหม่ ทำให้ผู้ใช้สามารถนำตัวกล้องไปชาร์จกับ Power Bank ที่จ่ายไฟ 5V ได้ หรือแม้กระทั่งระหว่างจะชาร์จไฟก็สามารถใช้งานกล้องพร้อมกันได้ด้วย

สเปกและฟีเจอร์เด่น

IMG_4317new-sensor-design-a6300

มาถึงส่วนของสเปกที่น่าสนใจของ a6300 เริ่มจากเซ็นเซอร์รับภาพใช้ขนาด APS-C (23.5 x 15.6 มม.) Exmor CMOS ความละเอียดสูงสุด 24.2 ล้านพิกเซล (6,000×4,000 พิกเซล ที่อัตราส่วนภาพ 3:2) ตัวเซ็นเซอร์ได้รับการออกแบบในส่วนตัวนำสัญญาณไฟฟ้าใหม่เป็น “โลหะทองแดง” ช่วยให้การไหลผ่านของไฟฟ้าทำได้รวดเร็วขึ้น อีกทั้งยังสามารถขยายพื้นที่โฟโต้ไดโอดให้สามารถรับแสงได้มากขึ้น

อีกทั้งโซนี่ยังได้ปรับปรุงหน่วยประมวลผลภาพ BIONZ X ให้สามารถขจัดสัญญาณรบกวนได้ดีขึ้นกว่ารุ่นก่อนหน้า ค่าความไวแสง (ISO) รองรับได้กว้างตั้งแต่ 100-51,200 รวมถึงรองรับการถ่ายภาพในรูปแบบ RAW 14-bit + 16-bit Color (แต่เป็นแบบบีบอัดไฟล์) ซึ่งให้คุณภาพสูงกว่า a6000

4dfocus

ในส่วนระบบออโต้โฟกัส “4D Focus” บนเทคโนโลยี “Fast Hybrid AF (Phase/Contrast AF)” โซนี่ปรับปรุงใหม่โดยขยายพื้นที่ตรวจจับโฟกัสแบบ Phase Detection ให้เต็มเซ็นเซอร์รับภาพเป็นจำนวนมากถึง 425 จุด ส่วน Contrast Detection เพิ่มเป็น 169 จุด เมื่อรวมแล้ว a6300 จะครอบคลุมพื้นที่โฟกัสมากกว่า a6000 ถึง 7.5 เท่า พร้อมปรับปรุงสมองกลให้สามารถคิด วิเคราะห์และคาดเดาทิศทางและเวลาของวัตถุที่กำลังโฟกัสได้แม่นยำ ต่อเนื่องและรวดเร็วกว่าเดิม โดยความเร็วออโต้โฟกัสของ a6300 โซนี่เครมไว้ที่เวลา 0.05 วินาทีเท่านั้น

นอกจากนั้นโซนี่ยังได้ปรับปรุงให้ระบบออโต้โฟกัสแบบ Phase Detection AF ให้สามารถใช้ร่วมกับอะแดปเตอร์ A-mount (LA-EA2 หรือ LA-EA4)

วิดีโอแสดงตัวอย่างการทำงานของระบบออโต้โฟกัสใหม่ในโหมดถ่ายภาพต่อเนื่อง โดยตั้งพื้นที่โฟกัสเป็น Wide และกดถ่ายโดยไม่เล็งแบบที่กำลังถ่ายเพราะต้องการให้กล้องตรวจจับเอง

focus-a6300

ด้านโหมดถ่ายภาพต่อเนื่อง โซนี่เลือกปรับปรุงใหม่หมด โดยเพิ่มโหมดถ่ายภาพต่อเนื่องแบบ Hi+ ที่ความเร็ว 11 เฟรมต่อวินาทีขึ้นมา และปรับ Hi ให้มีความเร็วเพิ่มขึ้นเป็น 8 เฟรมต่อวินาที รวมถึงปรับเพิ่มบัฟเฟอร์ (เมื่อกดชัตเตอร์ค้างไว้ในโหมดถ่ายภาพต่อเนื่อง) ให้ทำงานได้สูงขึ้น โดยที่คุณภาพไฟล์ JPEG Extra Fine อยู่ที่ประมาณ 44 ภาพ JPEG Fine L อยู่ที่ประมาณ 47 ภาพ JPEG Standard L อยู่ที่ประมาณ 55 ภาพ ส่วน RAW และ RAW+JPEG จะอยู่ที่ประมาณ 21 ภาพ

focus-mag-a6300

และสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการความแม่นยำในการจับโฟกัสวัตถุมากกว่าปกติ เช่น ต้องการโฟกัสวัตถุชิ้นเล็กมาก สามารถใช้ฟีเจอร์ Focus Magnifier เพื่อขยายภาพให้ใหญ่ขึ้น จากนั้นผู้ใช้สามารถเลื่อนกากบาทไปยังวัตถุที่ต้องการโฟกัสแบบละเอียดกว่าจุดโฟกัสทั่วไปได้

peaking-a6300

ส่วนคนใช้เลนส์มือหมุน a6300 ยังคงมี Focus Peaking ให้เลือกใช้เช่นเดียวกับมิร์เรอร์เลสรุ่นก่อนหน้าของโซนี่ (รู้สึกว่า Peaking จะทำงานได้แม่นยำขึ้นเล็กน้อย)

วิดีโอปรับปรุงใหม่

วิดีโอตัวอย่างโปรไฟล์ภาพใหม่ S-Gamut3.Cine/S-Log 3

วิดีโอ 4K จาก Sony a6300 บนฟอร์แมต Super35 แท้ๆ

มาถึงโหมดวิดีโอที่ในครั้งนี้โซนี่จัดเต็มกว่าเดิม เริ่มจากโปรไฟล์ใหม่ S-Gamut3.Cine/S-Log 3 ที่ให้ไดนามิกกว้างถึง 1,300%, ฟอร์แมต Super35 แท้ๆที่ใช้การครอปเซ็นเซอร์แทนการบีบอัดภาพ (No Pixel Binning) ไปถึงวิดีโอ 4K 25p ที่บันทึกด้วยฟอร์แมต XAVC S 100Mbps ได้ (วิดีโอ 1080p สูงสุดที่ 50Mbps ฟอร์แมตมีให้เลือกใช้ตั้งแต่ XAVC S, AVCHD และ MP4) รวมถึงรองรับวิดีโอสโลโมชัน (High Frame Rate) ที่ความเร็ว 120 เฟรมต่อวินาทีบนความละเอียด 1080p 100Mbps

IMG_4360

ส่วนคนที่ชอบ แชะ & แชร์ ใน a6300 รองรับการเชื่อมต่อ NFC/WiFi ทำให้สามารถควบคุมกล้อง (คล้ายเป็นรีโมทชัตเตอร์) หรือจะถ่ายปุ๊บแชร์เข้าสมาร์ทโฟนปั๊บ (Remote Camera – ไม่จำเป็นต้องใส่เมมกล้องก็ถ่ายได้ เพราะระบบจะบันทึกภาพลงในสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตทันที) ซึ่งทั้งหมดสามารถทำได้ผ่านแอปฯ PlayMemories Camera Apps บนสมาร์ทดีไวซ์

นอกจากนั้นจะดาวน์โหลดโหมดถ่ายภาพพิเศษเพิ่มเติมก็สามารถทำได้ผ่านสโตร์ภายในตัวกล้องหรือหน้าเว็บไซต์ https://www.playmemoriescameraapps.com/portal/

สุดท้ายสำหรับสเปกปลีกย่อยที่น่าสนใจ เริ่มจากความเร็วชัตเตอร์ที่รองรับต่ำสุดที่ 30 วินาที (รองรับชัตเตอร์ B) สูงสุดที่ 1/4,000 วินาที Flash Sync ที่ความเร็วสูงสุด 1/160 วินาที นอกจากนั้น a6300 มาพร้อมฟังก์ชันชัตเตอร์เงียบ (Silent Shooting) และรองรับ Eye AF ที่เหมาะแก่การถ่ายภาพบุคคล เพราะโฟกัสสามารถตรวจจับดวงตาของแบบได้

filesize-a6300

ขนาดไฟล์ภาพ 1 รูป ฟอร์แมต RAW อยู่ที่ประมาณ 25-26MB JPEG Extra Fine อยู่ที่ประมาณ 10-11MB

ทดสอบประสิทธิภาพ

ISO-a6300

เริ่มจากทดสอบ Noise (ไฟล์ JPEG) ที่ค่าความไวแสงแต่ละช่วงเพื่อพิสูจน์เซ็นเซอร์รับภาพและหน่วยประมวลผลภาพปรับแต่งใหม่ว่าจะทำได้ดีแค่ไหน จากภาพจะเห็นว่าช่วงค่าความไวแสงตั้งแต่ ISO100-6,400 สอบผ่านแบบไม่ต้องซูมดูแต่อย่างใด ไฟล์ที่ได้เนียนมาก ส่วนเมื่อเข้า High Zone เริ่มตั้งแต่ 12,800 ก็ยังถือว่าใช้ได้ แต่พอเข้าสู่ตัวเลข 25,600-51,200 ไฟล์ที่ได้เริ่มมีสัญญาณรบกวนสูงขึ้นตามลำดับ โดยถ้านำไปใช้ถ่ายภาพเพื่องานเว็บไซต์หรือโพสต์ภาพลงโซเชียลปกติ ช่วง ISO 12,800-32,000 ถือว่าให้คุณภาพที่ใช้ได้ ส่วน 51,200 แนะนำให้ใช้เวลาจำเป็นจริงๆจะดีที่สุด

ด้าน Noise สำหรับ RAW ไฟล์ จะเริ่มเกิดสัญญาณรบกวนมากตั้งแต่ ISO 3,200 เป็นต้นไป

caf-a6300

มาถึงการทดสอบจุดขายสำคัญอย่าง “ระบบออโต้โฟกัส 4D Focus ปรับปรุงใหม่” โดยเพิ่มจุดโฟกัสทั้ง Phase และ Contrast ให้มากขึ้นจนเต็มเซ็นเซอร์รับภาพ ผลลัพท์ที่ได้จากการทดสอบโดยเปิดใช้โหมดถ่ายภาพต่อเนื่อง Hi+ 11fps (แนะนำให้ใช้ร่วมกับ SD Card อ่านเขียนความเร็วสูงมาตรฐาน UHS-I จะดีที่สุด) โดยทีมงานได้ลองวิ่งจากระยะไกลสุดเข้ามาหาตัวกล้อง โดยไม่มีการเล็งภาพหรือจับโฟกัสก่อนกดชัตเตอร์ จะเห็นว่ากล้องสามารถเรียนรู้ได้ว่าวัตถุใดเคลื่อนไหวและควรจับโฟกัสที่ตำแหน่งใด ภาพที่ได้จึงออกมาคมชัดเกือบทุกเฟรมที่ถ่าย

โดยบัฟเฟอร์ที่ทำได้ ทดสอบจากการกดชัตเตอร์ลงไป 1 ครั้งแล้วกดค้างไว้ตลอดจนกล้องเริ่มทำงานช้าลงจนหยุดถ่ายภาพจะอยู่ที่ประมาณ 44-46 ภาพ (บนความละเอียด 24 ล้านพิกเซล JPEG Extra Fine) หลังจากนั้นก็ต้องรอกล้องบันทึกภาพทั้งหมด (ประมาณ 400-500MB) ลงบนการ์ด ซึ่งต้องใช้เวลาเป็นนาทีสำหรับการ์ดความจำ MicroSD 32GB Sandisk Class 10 UHS-I 80MB/s

DSC00761DSC00631

ยกตัวอย่าง 2 ภาพนี้ ทีมงานเลือกถ่ายโดยใช้โหมดถ่ายภาพต่อเนื่อง Hi+ พร้อมตั้งโฟกัสต่อเนื่อง Wide Continuous AF และตั้ง ISO ให้วิ่งอยู่ที่ 1,000-2,000 เพื่อหยุดการเคลื่อนไหวของเด็กน้อย จากนั้นทีมงานก็เริ่มกดชัตเตอร์ทันที ระบบโฟกัสจะเข้าใจว่าต้อง Tracking บริเวณหน้าของเด็กและผลลัพท์ของภาพที่ออกมาก็คือโฟกัสเข้าเป้าหมายตามที่ผู้ถ่ายต้องการ

failfocus-a6300

แต่ก็ใช่ว่าระบบออโต้โฟกัสใหม่นี้จะไม่มีอาการจับโฟกัสพลาดเป้าเลย เพราะจากการทดสอบร่วมกับคิทเลนส์ 16-50mm พบว่า บางครั้งถ้าแบบหรือวัสถุที่ถ่ายเคลื่อนไหวเข้าหากล้องเร็วเกินไป หรือในเฟรมภาพมีวัตถุที่เคลื่อนไหวอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ใบหน้าและแขนของแบบเคลื่อนไหวอยู่ในเฟรมพร้อมกัน ออโต้โฟกัสอาจมีสับสนเล็กน้อย และเกิดอาการโฟกัสผิดพลาดบ้าง (บางทีทั้ง 40-46 ภาพที่ถ่ายได้ อาจมีโฟกัสพลาดเป้าถึง 10-12 ภาพ แต่บางสถานการณ์อาจพลาดเป้าเพียง 2-3 รูปเท่านั้น) แต่สักพักโฟกัสก็จะเรียนรู้ทิศทางและจับโฟกัสให้ใหม่ในเสี้ยววินาที

DSC00008

ส่วนในโหมดวิดีโอ ด้วยระบบโฟกัสใหม่ทำให้การจับโฟกัสทำได้เร็วและแม่นยำมากขึ้น แต่ก็มีข้อสังเกตเล็กน้อยในเรื่องเวลาเปลี่ยนตำแหน่งโฟกัสแบบต่อเนื่องจะมีอาการกระชาก ไม่นุ่มนวลเท่าที่ควร

rolling-shutter-a6300

นอกจากนั้นการถ่ายวิดีโอ ถ้าต้องมีการแพนกล้องซ้ายขวาอย่างรวดเร็ว ผู้ใช้จะพบอาการภาพล้มเกิดขึ้นได้ ต้องใช้ซอฟต์แวร์ตัดต่อช่วยลดอาการภาพล้มภายหลัง

DSC00440

raw-details-a6300-1

มาถึงการทดสอบ RAW ปรับปรุงใหม่แบบ 14-bit ที่ในครั้งนี้ถือว่าไฟล์ให้รายละเอียดที่ดี ยกตัวอย่างจากภาพประกอบด้านบน ทีมงานเลือกถ่ายโดยวัดแสงภายในร้านของชำให้พอดีและปล่อยให้รอบข้างมืด จากนั้นเมื่อนำมาปรับแก้ผ่านโปรแกรมตกแต่งภาพจะเห็นว่าเราสามารถดึงส่วนที่มืดให้ปรากฏรายละเอียดขึ้นมาได้ชัดเจนดี สัญญาณรบกวนต่างๆถูกจัดการมาได้ดีขึ้น แต่ก็ยังถือว่ามากอยู่ถ้าใช้ ISO เกิน 3,200 ขึ้นไป ต่างจาก JPEG File ที่ให้คุณภาพที่ดีแม้จะตั้ง ISO สูงถึง 12,800

DSC00606raw-details-a6300-2

ส่วนคุณภาพไฟล์ JPEG เป็นไปตามมาตรฐานโซนี่ยุคใหม่เริ่มตั้งแต่ a6000, a7-Series ไปถึง RX100 Mark 4 โทน JPEG File จะมาแบบเดียวกัน คือเน้นไดนามิกที่กว้างขึ้น เอาใจคนชอบแต่งภาพบนสมาร์ทดีไวซ์ เพราะผู้ใช้สามารถนำ JPEG ไปตกแต่งต่อยอดทั้งจากแอปฯบนสมาร์ทโฟนและอื่นๆได้ไม่ต่างจาก RAW

ยกตัวอย่างภาพด้านบน ทีมงานถ่ายด้วย JPEG Extra Fine จากนั้นนำมาย้อมสีฟิล์ม Kodak Portra 400 ด้วยปลั๊กอิน VSCO จะเห็นว่าสกินโทนและเนื้อไฟล์ยังให้คุณภาพที่ดีอยู่

DSC00486DSC00407

ด้านการใช้ร่วมกับเลนส์มือหมุน ยกตัวอย่าง 2 ภาพนี้ใช้ a6300 ร่วมกับอะแดปเตอร์ OM>NEX เลนส์ Olympus Zuiko 50mm f1.4 ตั้งแต่ช่วงยุค ’70 เมื่อเชื่อมต่อกับกล้องระบบออโต้โฟกัสทุกฟังก์ชันจะหยุดทำงาน แต่เราสามารถเรียก Peaking Level ขึ้นมาดูได้ โดยเมื่อหมุนเลนส์ Peaking จะวิ่งไปตามขอบวัตถุที่โฟกัสเข้าเป้า แน่นอนว่าใน a6300 Peaking Level ทำงานได้ค่อนข้างน่าประทับใจกว่ามิร์เรอร์เลสโซนี่ยุคก่อนๆมาก

ตัวอย่างภาพถ่ายจาก Sony a6300 + Kit Lens 16-50mm PZ OSS

DSC00017

ISO 100 – Shutter speed 1/60s – f4

DSC00034

ISO 100 – Shutter speed 1/250s – f5.6

DSC00052

ISO 100 – Shutter speed 1/200s – f5.6

DSC00372

ISO 2,500 – Shutter speed 1/60s – f4

DSC00400

ISO 4,000 – Shutter speed 1/60s – f4.5

DSC00429

ISO 160 – Shutter speed 13s – f14

DSC00463

ISO 6,400 – Shutter speed 1/30s – f5, ถ่ายด้วย RAW แล้วนำไปตกแต่งดึงสีใหม่หมดด้วย Lightroom โดยบริเวณคนนั่งภาพต้นฉบับจะมืดมาก ทีมงานจึงดึงส่วน Shadow ขึ้นมากพอสมควร

DSC00521

ISO 800 – Shutter speed 1/80s – f5.6 – Skin Tone : Low

DSC00509DSC00511

เปิดใช้ Picture Effect : HDR Painting: Mid (Picture Effect ต่างๆยังมีให้เลือกใช้เหมือนเดิม รวมถึงโหมดถ่ายอัตโนมัติ Superior Auto, Anti Motion Blur ก็มีให้เลือกใช้เหมือนเดิม แต่เมนูจะซ่อนอยู่ลึกหน่อย)

สรุป

IMG_4354

สำหรับค่าตัว a6300 เฉพาะบอดี้ อยู่ที่ 39,990 บาท ส่วนชุดรวมคิทเลนส์พาวเวอร์ซูม 16-50 มิลลิเมตร อยู่ที่ 46,990 บาท

เทียบกับสเปกและฟังก์ชันการใช้งานที่ได้ ถ้าผู้อ่านเป็นคนชอบถ่ายภาพแคนดิต สตรีท หรือชีวิตผู้คนตามท้องถนนไปถึงภาพกีฬา จงลอง Sony a6300 แล้วคุณอาจจะถูกใจ เพราะจากการทดสอบหลายส่วนค่อนข้างลงตัว ไฟล์ดิบ JPEG ไว้ใจได้ วิดีโอและระบบโฟกัสคือพระเอกคนสำคัญ รวมถึงขนาดตัวกล้องและการจับถือ โซนี่ปรับปรุงมาได้ดีกว่าเดิมมาก

ส่วนใครที่งบประมาณไม่ถึง การเลือกเล่น a6000 (ปัจจุบันราคาอยู่ที่ประมาณ 23,000-24,000 บาท) ก็ไม่ถือว่าตกรุ่นจนตาม a6300 ไม่ทันแต่อย่างใด

ข้อดี

– กริปจับถือถนัดมือขึ้น งานประกอบแข็งแรงมาก
– ออโต้โฟกัสทำงานได้แม่นยำและรวดเร็วตามที่คุยไว้จริง
– Silent shooting เงียบจริงๆ (ไม่มีเสียงเลย)
– วิดีโอ 4K คุณภาพสูง มี S-log 3 /S-Gamut 3 ให้ใช้ พร้อมรองรับสโลโมชัน 100/120fps ที่ความละเอียด 1080p
– JPEG Extra Fine ไฟล์ดีมากทั้งเรื่องนอยซ์และไดนามิก
– Live View 50/100fps (60/120fps NTSC) สมูท ลื่นไหล ช่วยให้การจับโฟกัสติดตามวัตถุทำได้ดีขึ้น
– มีช่องไมโครโฟน 3.5 มิลลิเมตรแล้ว

ข้อสังเกต

– วิดีโอมีอาการภาพล้ม (Rolling Shutter) เมื่อแพนกล้องซ้ายหรือขวาเร็วๆ และโฟกัสค่อนข้างกระชากไปนิด (ทดสอบโดยคิทเลนส์)
– ราคาสูงแต่ไม่มีระบบกันสั่นในตัวกล้อง
– หน้าจอปรับพับแบบ 180 องศาไม่ได้

Gallery

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็น

REVIEW OVERVIEW
การออกแบบ
9
สเปก/ฟีเจอร์เด่น
9.5
ความสามารถโดยรวม
8.5
ความคุ้มค่า
9
SHARE