Review : Wiko U Feel Fab ต่ำกว่า 6,000 แต่มาพร้อม 4G และ สแกนลายนิ้วมือ

9209

Wiko ถือเป็นสมาร์ทโฟนอีกแบรนด์ที่เข้ามาจับในตลาดกลุ่มผู้เริ่มใช้งาน ที่ต้องการเครื่องที่คุ้มค่าในระดับราคาไม่เกินหมื่นบาท ซึ่งถือว่าได้รับการตอบรับที่ดีในตลาดต่างจังหวัด ด้วยการใส่เทคโนโลยีหลายๆอย่างมาให้ผู้บริโภคได้ใช้งาน

จุดเด่นของ Wiko U Feel Fab คือเป็นแอนดรอย์โฟนที่รองรับ 4G LTE และมาพร้อมกับฟังก์ชันสแกนลายนิ้วมือให้ได้ใช้งานกัน บนราคาจำหน่าย 5,690 บาท ที่มากับหน่วยประมวลผลระดับควอดคอร์ ให้ RAM 3 GB แม้ว่าจะมี ROM มา 32 GB แต่สามารถใส่ไมโครเอสดีการ์ดเพิ่มได้

การออกแบบ

รูปลักษณ์ของ Wiko ยังถือว่าอยู่ในกรอบเดิมๆของสมาร์ทโฟน ที่เน้นจอขนาดใหญ่ โดยมีขอบตัวเครื่องโค้งรับการจับถือ ตัดกับลายฝาหลังสีเทา โดยมีขนาดรอบตัว 154.35 × 77.15 × 10.6 มม. น้ำหนัก 193 กรัม วางจำหน่ายด้วยกันทั้งหมด 3 สี คือ ดำ เงิน และโรสโกลด์

ด้านหน้าเป็นจอ IPS ขนาด 5.5 นิ้ว โดยเป็นจอแบบขอบโค้ง 2.5D ความละเอียด HD (1280 x 720 พิกเซล) ความละเอียดเม็ดสี 266 ppi ส่วนบนหน้าจอ มีกล้องหน้าความละเอียด 5 ล้านพิกเซล พร้อมไฟแฟลช ขนาบไปกับช่องลำโพงสนทนาที่อยู่ชิดขอบบนเครื่อง

ส่วนล่างหน้าจอจะมีปุ่มที่ทำหน้าที่เป็นเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือไปในตัว ส่วนปุ่มย้อนกลับ โฮม และเรียกดูแอปล่าสุดจะถูกนำไปรวมกับหน้าจอแสดงผลภาย ทั้งนี้เมื่อแกะกล่องออกมาตัวเครื่องจะมีการติดฟิลม์มาให้อยู่แล้ว เรียกว่าเปิดมาก็พร้อมใช้งานทันที

ด้านหลังอย่างที่บอกว่าจะมีการทำลายฝาหลังเป็นสีเทาตัดกับตัวเครื่องสีดำ (จริงๆฝาหลังจะคลุมตัวเครื่องทั้งหมด) โดยจะมีการวางกล้องหลังความละเอียด 13 ล้านพิกเซล พร้อมไฟแฟลช สัญลักษณ์ Wiko และแนวลำโพงอยู่ตรงกึ่งกลางทั้งหมด

เมื่อแงะฝาหลังออกมา ภายในจะมีแบตเตอรีขนาด 4,000 mAh ที่ไม่สามารถถอดเปลี่ยนได้ ส่วนบนจะมีช่องใส่ไมโครซิมการ์ดโดยซิม 1 จะอยู่ทางซ้าย และซิม 2 กับช่องใส่ไมโครเอสดีการ์ดจะอยู่ทางขวา

ด้านซ้ายจะถูกปล่อยว่างไว้ ด้านขวามีปุ่มปรับระดับเสียง และปุ่มเปิดเครื่อง (ปุ่มเปิดปิดค่อนข้างเล็ก) ด้านบนมีช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม. ด้านล่างจะมีช่องไมโครยูเอสบีอยู่ที่มุมซ้าย และไมโครโฟนสนทนา

สำหรับอุปกรณ์ที่ให้มาภายในกล่องนอกจากตัวเครื่อง และแบตเตอรีแล้ว จะมีอะเดปเตอร์ชาร์จไฟ สายไมโครยูเอสบี หูฟัง อะเดปเตอร์แปลงซิมการ์ด คู่มือการใช้งาน ฟิลม์กันรอย และเคสใส ให้ใช้งานเบื้องต้น

สเปก

สำหรับสเปกของ Wiko U Feel Fab จะมาพร้อมกับหน่วยประมวลผล MediaTek MT6735 Cortex-A53 Quad-Core 1.25 GHz RAM 3 GB พื้นที่เก็บข้อมูลภายใน 32 GB รองรับไมโครเอสดีการ์ดเพิ่มเติม 64 GB ทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 6 Mashmallow

ตัวเครื่องรองรับการทำงานแบบ 2 ซิม (ใช้เป็นไมโครซิมการ์ด) 4G LTE / 3G ทุกคลื่นที่ให้บริการในไทย พร้อมรองรับการเชื่อมต่อไวไฟ มาตรฐาน 802.11 b/g/n บลูทูธ 4.0 วิทยุ FM สามารถต่อพอร์ตไมโครยูเอสบีใช้เป็น OTG ได้ตามปกติ

ฟีเจอร์เด่น

การทำงานหลักๆของ Wiko U Feel Fab ส่วนใหญ่จะมาในลักษณะของ Pure Android ไม่ได้มีการครอบ UI พิเศษ เพื่อสร้างความต่างให้แก่ผู้ใช้งาน แต่เน้นความง่ายในการใช้งาน ไม่ซับซ้อนเป็นหลัก ทำให้หน้าหลักของการใช้งานจะมีการรรวมไอค่อนหลักมาไว้ ให้ผู้ใช้กดใช้ได้ทันที

ขณะเดียวกันก็จะมีหน้ารวมแอปพลิเคชัน ที่ใช้การแสดงผลแบบจัดเรียงอักษรมาให้ โดยส่วนใหญ่จะมาพร้อมกับแอปพื้นฐานทั่วๆไป และกูเกิล เซอร์วิส รวมถึงการเพิ่มแอปอย่าง 360 Security ตัวเคลียแอปที่เปิดใช้งานค้างไว้มาให้ใช้เพิ่มเติม

นอกจากนี้ ก็จะมี Apps Lock ที่ไว้มาป้องกันไม่ให้ผู้อื่นเข้าถึงแอปพลิเคชันส่วนตัว โดยผู้ใช้สามารถเลือกล็อกแอปที่ต้องการไว้ได้ ด้วยการใส่รหัส เมื่อเรียกใช้งานแอปที่ตั้งค่าไว้ก็จะต้องใส่รหัสก่อนเริ่มใช้งาน

ตัวจัดการไฟล์ในเครื่องที่จะแสดงผลเป็นไฟล์แต่ละประเภท ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ เพลง วิดีโอ เอกสาร ตัวติดตั้งแอป (Apks) และไฟล์ที่มีการบีบอัด (Zip) พร้อมระบุพื้นที่ว่างภายในโทรศัพท์ หรือจะเลือกดูตามโฟลเดอร์ของไฟล์ก็ได้เช่นเดียวกัน

แน่นอนว่า สำหรับผู้ที่ไม่เคยใช้งานสมาร์ทโฟนมาก่อน Wiko จะมีส่วนพิเศษที่จะแสดงผลเมื่อกดค้างที่หน้าจอหลัก จะมีการขึ้นแนะนำแอปพลิเคชันที่น่าสนใจ พร้อมกับทางลัดในการเข้าในงานแอปพลิเคชันต่างๆ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้งานสะดวกขึ้น

ส่วนฟังก์ชันที่ Wiko มีการใส่เพิ่มมาให้เป็นลูกเล่นของรุ่นนี้จะมีทั้ง Smart Action ไม่ว่าจะเป็นการดับเบิลคลิกเพื่อเปิดปิดหน้าจอคว่ำเครื่องเพื่อปิดเสียงยกเครื่องแนบหูเพื่อรับสายทันทีและฟีเจอร์อื่นๆที่รวมถึงการวาดตัวอักษรบนหน้าจอเพื่อเข้าแอปด่วนไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์เครื่องเล่นเพลงกล้อง

ในส่วนของการสแกนลายนิ้วมือ ผู้ใช้สามารถนำนิ้วมือที่ตั้งค่าไว้ไปสัมผัสที่เซ็นเซอร์ได้ทันที โดยไม่ต้องกดเปิดหน้าจอก่อน ช่วยให้สามารถกดใช้งานได้เร็วขึ้น โดยสามารถตั้งลายนิ้วมือได้สูงสุด 5 ลายนิ้วมือ ควบคู่ไปกับการป้อนรหัส หรือเลือกรูปแบบในการปลดล็อก

โหมดการใช้งานกล้องจะเน้นที่ความง่าย ผู้ใช้สามารถเปิดขึ้นมา พร้อมกดชัตเตอร์ในการถ่ายภาพได้ทันที หรือจะเข้าไปเลือกโหมดในการถ่ายภาพไม่ว่าจะเป็น ถ่ายภาพปกติ ถ่ายภาพหน้าสวย โหมดมืออาชีพในการปรับแต่งต่างๆ พาโนราม่า ถ่ายภาพชดเชยแสง โหมดกลางคืน และโหมดกีฬา

รวมถึงการเข้าไปตั้งค่าว่า เมื่อใช้นิ้วสัมผัสหน้าจอจะเป็นการถ่ายภาพทันทีหรือไม่ การสลับกล้องหน้าหลัง ถ่ายรูปอัตโนมัติเมื่อตรวจจับรอยยิ้ม เปิดปิดเสียงชัตเตอร์ เลือกขนาดภาพ ขนาดวิดีโอ บันทึกพิกัด GPS ถือว่าให้มาค่อนข้างครบ

การใช้งานโทรศัพท์จะมาพร้อมกับระบบคาดเดารายชื่อ เมื่อมีสายเข้าจะสามารถใช้นิ้วลากเพื่อรับสาย ตัดสาย ส่งข้อความกลับ ขณะสนทนาจะมีการแสดงผลว่าใช้งานบนระบบ HD Voice ชื่อ เบอร์ เวลาที่ใช้สาย พร้อมปุ่มลัดในการเปิดลำโพง ปิดไมค์ พักสาย บันทึกเสียง เรียกปุ่มกด ได้ทันที

เว็บเบราว์เซอร์ที่ให้มา กับการใช้งานหน้าจอขนาด 5.5 นิ้วถือว่าอยู่ในระดับที่กำลังดีผู้ใช้สามารถสลับการแสดงผลได้ทั้งแนวตั้งแนวนอนเลือกให้แสดงผลเป็นหน้าเว็บไซต์สำหรับพีซีและมือถือได้ตามปกติ

ทดสอบประสิทธิภาพ

AnTuTu Benchmark = 27,603 คะแนน

Quadrant Standard = 8,675 คะแนน

Multitouch Test = 5 จุด

Vellamo
Chrome Browser = 1,686 คะแนน
Android WebView = 1,758
Metal = 914
คะแนน
Multicore = 1,292
คะแนน

Geek Bench 4.0
Single-Core 525 คะแนน
Multi-Core 1,429 คะแนน
RenderScript = 761 คะแนน

Battery ผ่าน PC Mark ได้ 6 ชั่วโมง 33 นาที (แบตเหลืออีก 20%)


3DMark
Sling Shot Extreme = 102 คะแนน
Sling Shot = 154 คะแนน
Ice Storm Unlimited = 2,324 คะแนน
Ice Storm Extreme = 2,324 คะแนน
Ice Storm = 4,130 คะแนน

PC Mark
Work 2.0 = 2,507 คะแนน
Computer Vision = 1,433 คะแนน
Storage = 2,364 คะแนน
Work = 3,501 คะแนน

PassMark PerformanceTest Mobile
System = 3,117 คะแนน
CPU Tests = 18,216 คะแนน
Disk Tests = 23,312 คะแนน
Memory Tests = 3,885 คะแนน
2D Graphics Tests = 2,530 คะแนน
3D Graphics Tests = 771 คะแนน

สรุป

ถ้าเป็นกลุ่มผู้ใช้ที่กำลังมองหาสมาร์ทโฟนมาใช้งาน ถัดจากเครื่องที่ได้ฟรีจากโอเปอเรเตอร์ และมีงบประมาณจำกัด การเลื่อนขึ้นมาใช้งาน Wiko U Feel Fab ถือเป็นอีกรุ่นที่น่าสนใจในช่วงระดับราคาประมาณ 5,000 บาท จากการที่ตัวเครื่องรองรับ 4G LTE ทำให้ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้สะดวกขึ้น

แต่ถ้ามองในแง่ของประสบการณ์ใช้งานโดยรวม ก็ต้องยอมรับว่ากับระดับราคาดังกล่าว ถ้าต้องการเครื่องที่ลื่นไหลมากๆ ก็คงจะเป็นไปไม่ได้ เพราะจะมีข้อจำกัดในแง่ของหน่วยประมวลผลพอสมควร ทำให้ประสิทธิภาพในการใช้งานอยู่ในระดับกลางๆเท่านั้น

สิ่งที่เพิ่มขึ้นมา และทำให้เครื่องน่าสนใจคือการใส่พวกเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือ กับเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวต่างๆ ทำให้มีลูกเล่นเพิ่มเติมมาใช้งานกัน แต่ถ้าไม่ได้มองว่าพวกนี้สำคัญ กับมีงบประมาณที่เพิ่มขึ้น ก็ขยับไปเล่นในระดับ 8,000 – 10,000 บาท จะมีตัวเลือกที่น่าสนใจกว่า

ข้อดี

ข้อสังเกต

Gallery

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็น

REVIEW OVERVIEW
การออกแบบ
6.5
สเปก/ฟีเจอร์เด่น
7
ความสามารถโดยรวม
6.5
ความคุ้มค่า
7
SHARE