จอพับ – CBIZ Reviews – MGR Online https://cyberbiz.mgronline.com เว็บไซต์รีวิวอุปกรณ์ ไอที ไฮเทค เป็นส่วนหนึ่งของผู้จัดการออนไลน์ Tue, 22 Dec 2020 07:28:52 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.0 Review : Motorola Razr 5G ปลุกตำนานสมาร์ทโฟนจอพับ https://cyberbiz.mgronline.com/review-motorola-razr-5g/ Tue, 22 Dec 2020 07:15:24 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=34351

การกลับมาทำตลาดสมาร์ทโฟนในไทยอีกครั้งของ โมโตโรล่า (Motorola) ในปีนี้ ไม่ใช่มาแค่สมาร์ทโฟนระดับกลางล่าง ในซีรีส์ยอดนิยมอย่าง Moto G เท่านั้น แต่มีการนำนวัตกรรมจอพับอย่าง Razr 5G เข้ามาขายในไทยด้วย

ความโดดเด่นของ Motorola Razr 5G คือการนำดีไซน์สุดคลาสสิกของ Razr ในทรงฝาพับเครื่องบาง กลับมาทำตลาดอีกครั้ง กับสมาร์ทโฟนจอพับของโมโตโรล่า ที่ได้รับการอัปเกรดให้รองรับ 5G

เมื่อเทคโนโลยีจอพับ เริ่มกลายเป็นนวัตกรรมที่เข้าถึงได้ของสมาร์ทโฟน หลังจากที่เห็นหลายๆ แบรนด์เริ่มผลิตมือถือจอพับออกสู่ตลาด จึงไม่แปลกที่แบรนด์อย่าง Motorola ที่โดดเด่นในเรื่องสมาร์ทโฟนจอพับทรงคลาสสิกจะให้ความสนใจ

Motorola Razr เป็นสมาร์ทโฟนจอพับที่มากับจอแสดงผล 2 หน้าจอ ให้ใช้งานด่วนๆ ด้านนอก และใช้งานแบบเต็มที่เมื่อกางหน้าจอออกมา ทำให้ได้ขนาดจอ 6.2 นิ้ว ในตัวเครื่องเล็ก พกพาง่าย ในราคา 44,990 บาท

ข้อดี

  • สมาร์ทโฟนจอพับหน้าจอ 6.2 นิ้ว
  • รองรับการเชื่อมต่อ 5G
  • กล้องหลัก 48 ล้านพิกเซล ที่ใช้ถ่ายเซลฟี่ได้ด้วย
  • ตัวเครื่องแข็งแรง โดนเฉพาะข้อต่อพับหน้าจอ

ข้อสังเกต

  • ไม่กันน้ำ กันฝุ่น จากการที่ตัวเครื่องเป็นจอพบ
  • ปุ่มสแกนลายนิ้วมือ อยู่ในตำแหน่งที่ใช้งานได้ยาก
  • ไม่มีกล้องมุมกว้าง-เทเลโฟโต้มาด้วย
  • ราคาค่อนข้างสูง

มือถือจอพับ ปลุกตำนาน RAZR

ถ้ามองไปในยุคของโทรศัพท์มือถือจอพับสมัยก่อน เชื่อว่า Motorola Razr ได้กลายเป็นโทรศัพท์เครื่องโปรดของใครหลายๆ คนที่อาจจะเคยใช้งาน หรือได้สัมผัสถึงความบางของมือถือในยุคนั้น

จนทำให้ Razr กลายเป็นหนึ่งในตำนานที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของ Motorola และมีการนำซีรีส์นี้กลับมาผลิตใหม่ในยุคสมาร์ทโฟนหลายๆ ครั้ง เพียงแต่ที่ผ่านมานวัตกรรมจอพับยังไม่เกิดขึ้น ทำให้เน้นจุดเด่นเรื่องความบางของตัวเครื่องเป็นหลัก

ในวันที่มือถือจอพับกลับมาเป็นเทคโนโลยีใหม่ในตลาดอีกครั้ง Motorola จึงไม่รอช้าที่จะนำซีรีส์ Razr กลับมาปัดฝุ่นใหม่อีกครั้ง ในการเป็นสมาร์ทโฟนจอพับ ที่จะเรียกความเชื่อมั่นแบรนด์กลับมา

ดีไซน์ของ Motorola Razr 5G นั้น ถือว่าพยามนำจุดเด่นของ Razr กลับมา ในการเป็นมือถือจอพับแบบฝาหอย แต่ด้วยข้อจำกัดหลายๆ อย่างทำให้ตัวเครื่องเวลาพับหน้าจอนั้น ยังค่อนข้างหนาอยู่

ขนาดของตัวเครื่องเวลาพับจะอยู่ที่ 91.7 x 72.6 x 16 มิลลิเมตร ด้านหน้าจะมีจอแสดงผลขนาด 2.7 นิ้ว (800 x 600 พิกเซ,)ให้ใช้สั่งงานแบบง่ายๆ ในกรณีที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลในสมาร์ทโฟนแบบด่วนๆ

ด้านล่างหน้าจอจะเป็นกล้องหลักความละเอียด 48 ล้านพิกเซล พร้อมไฟแฟลช ซึ่งการที่มี 2 จอทำให้สามารถใช้กล้องนี้ในการถ่ายภาพเซลฟี่ได้เช่นเดียวกัน

เมื่อกางหน้าจอขึ้นมาตัวเครื่องจะอยู่ที่ 169.2 x 72.6 x 7.9 มิลลิเมตร น้ำหนักจะอยู่ที่ 192 กรัม ถ้าดูที่ความหนาของตัวเครื่องเมื่อพับหน้าจอจะอยู่ที่ 16 มิลลิเมตร ซึ่งถือว่าค่อนข้างหนาเมื่อเทียบกับขนาดของสมาร์ทโฟนทั่วไป แต่เมื่อกางหน้าจอออกมาเหลือ 7.9 มิลลิเมตร ก็นับว่าเป็นสมาร์ทโฟนที่บางมากๆ รุ่นหนึ่ง

ในส่วนของหน้าจอแสดงผลด้านในจะมีขนาด 6.2 นิ้ว (2142 x 876 พิกเซล) ในสัดส่วน 21:9 ซึ่งจะเห็นว่าจอค่อนข้างยาว เมื่อเทียบกับสมาร์ทโฟนทั่วไปในท้องตลาด โดยจอจะมีแถบกล้องหน้าความละเอียด 20 ล้านพิกเซล อยู่ด้วย

สำหรับปุ่มควบคุมรอบตัวเครื่องทางซ้าย จะมีปุ่มเปิดเครื่องอยู่ที่ขอบจอส่วนบน และปุ่มปรับระดับเสียงอยู่ทางฝั่งขวา ทำให้เวลากางหน้าจอใช้งาน จะรู้สึกว่าตำแหน่งของปุ่มอยู่สูงไปสักหน่อย

ด้านหลังเครื่อง จะมีสัญลักษณ์ของ Motorola อยู่ ซึ่งเป็นที่อยู่ของเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือด้วย ซึ่งเวลาถือจะปลดล็อกใช้งานต้องขยับจุดในการจับตัวเครื่องเล็กน้อย ถึงจะสามารถสแกนลายนิ้วมือได้อย่างง่ายๆ

ส่วนข้อต่อจอพับของ Motorola Razr 5G นั้นถูกออกแบบมาได้เป็นอย่างดี และถือว่าทำมาได้แข็งแรงมากๆ เพราะด้วยลักษณะการใช้งานของมือถือฝาพับ ในกรณีที่สะดวกเปิดใช้งานมือเดียว เรายังสามารถใช้นิ้วแทรกเข้าไป และเหวี่ยงหน้าจอให้เปิดได้เหมือนเดิม

ด้านล่างของเครื่องจะมีพอร์ต USB-C ถาดใส่ซิมการ์ดแบบนาโนซิม ไมโครโฟน และลำโพงอยู่ ซึ่งทำให้บริเวณนี้หนาขึ้นมาเล็กน้อย ส่งผลให้เวลาสัมผัสขอบล่างของหน้าจอจะชอบโดนตรงจุดนี้เป็นประจำ

แบตเตอรีของ Motorola Razr 5G มีขนาด 2800 mAh รองรับการชาร์จเร็วแบบ TurboPower 15W โดยเท่าที่ใช้งานมา แม้ว่าจะเชื่อมต่อ 5G ตลอดเวลา ก็สามารถใช้งานได้ตลอดวันสบายๆ

สเปก

ในส่วนของสเปกตัวเครื่อง Motorola Razr 5G มากับซีพียู Qualcomm Snapdragon 765G กราฟิก Aderno 620 RAM 8 GB พื้นที่เก็บข้อมูล 256 GB (ไม่สามารถใส่ MicroSD การ์ดเพิ่มเติมได้)

รองรับการเชื่อมต่อทั้ง 4G 5G Wi-Fi 5 บลูทูธ 5.1 NFC GPS เรียกว่าใส่มาให้ครบถ้วนทั้งหมด ทำงานบนระบบปฏิบัติการ Android 10 ที่รองรับการอัปเกรดเป็น Android 11 ในอนาคต

การใช้งาน RAZR 5G

ด้วยการที่ตัวเครื่อง Razr 5G มีหน้าจอแสดงผลภายนอก ที่เรียกว่า Quick View มาให้ใช้งานด้วย ในหน้าจอนี้ เราสามารถเข้าถึงการใช้งานแอปพลิเคชันต่างๆ ได้ทันทีที่เราปลดล็อกเครื่อง

ดังนั้นถ้ามีข้อความแจ้งเตือนเข้ามา ก็สามารถใช้นิ้วปลดล็อกที่เซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือด้านหลังเครื่อง เพื่อดูข้อความได้ทันที หรือแม้แต่เข้าใช้งานแอปโซเชียลมีเดียต่างๆ

โดยผู้ใช้สามารถเข้าไปเลือกตั้งแอปฯ ด่วนที่ใช้งานประจำไว้เรียกใช้งานได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้เข้าโหมดกล้องเพื่อถ่ายภาพจากกล้องหลัง 48 ล้านพิกเซลได้ทันที

ความน่าสนใจก็คือเวลาที่ใช้งานแอปฯ ในหน้าจอเล็กอยู่แล้วเปิดฝาขึ้นมา ถ้าเป็นแอปที่รองรับการใช้งานแบบต่อเนื่อง อย่างแอปของ Google อย่าง Maps หรือ YouTube ก็สามารถเข้าถึงคอนเทนต์ได้ต่อทันที

เมื่อเปิดฝาพับขึ้นมา ก็จะพบกับหน้าจออินเตอร์เฟสแบบ My UX ที่มาพร้อม Android 10 แบบโล่งๆ ไม่ได้มีการปรับแต่งอะไรเพิ่มเติมมากนัก ทำให้การใช้งานโดยรวมค่อนข้างลื่นไหล

ในส่วนของกล้องถ่ายภาพที่ให้มาทั้งกล้องหลัก 48 ล้านพิกเซล และกล้องเซลฟี่ 20 ล้านพิกเซล ก็ถือว่าเพียงพอกับการใช้งานอยู่แล้ว

ตัวเครื่อง Razr 5G ยังมีฟีเจอร์การควบคุมต่างๆ (Moto Actions) ที่น่าสนใจ อย่างการถ่ายภาพด่วน สามารถทำได้ด้วยการสบัดข้อมือ 2 ครั้ง เปิดไฟฉายด้วยการเขย่ายเครื่อง 2 ครั้ง หรือการใช้สามนิ้วแตะที่หน้าจอค้าง เพื่อจับภาพหน้าจอ มาให้เพิ่มเติมด้วย

สำหรับการใช้งานทั่วไป Razr 5G ถือว่ารองรับทุกรูปแบบการใช้งานอยู่แล้ว แต่ด้วยตัวเครื่องที่มาเป็นลักษณะของฝาพับ อาจจะไม่เหมาะกับการใช้งานเล่นเกมมากสักเท่าไหร่ เนื่องจากเวลาใช้งานตัวเครื่องในแนวนอน บริเวณขอบเครื่องด้านล่างจะทำให้การสัมผัสหน้าจอแถวๆ นั้นยากขั้น

ประกอบกับตัวจอแสดงผลที่เป็นแบบจอพับ ยังไม่ได้เรียบเนียนเหมือนจอแสดงผลแบบปกติ ทำให้เวลาลูบผ่านจะรู้สึกว่าจอบริเวณแกนฝาพับนั้นยุบลงไปเล็กน้อย

อีกอย่างคือจอพับของ Razr 5G นั้น ยังไม่สามารถใช้งานในลักษณะของการงอหน้าจอเหมือนใน Galaxy Z Flip ทำให้ลักษณะการใช้งานจะอยู่ในรูปแบบของการกางจอจนสุดเท่านั้น

สรุป

Motorola Razr 5G ได้เรียกกลิ่นอายของ Razr กลับมาได้อย่างน่าสนใจ ผู้ที่ชื่นชอบโทรศัพท์แบบฝาพับน่าจะชื่นชอบรุ่นนี้ได้ไม่ยาก ที่สำคัญคือการที่ตัวเครื่องรองรับ 5G ทำให้สามารถใช้งานได้ยาวๆ

เช่นเดียวกับงานประกอบ และวัสดุของตัวเครื่อง ที่ให้ความรู้สึกพรีเมียม แกนของฝาพับทำได้แข็งแรง รองรับการพับจอ และกางจอได้เป็นอย่างดี

แต่ด้วยลักษณะของการใช้งานจะเน้นที่การใช้เป็นโทรศัพท์ และใช้งานทั่วๆ ไปมากกว่า ไม่ได้เด่นในแง่ของกล้องถ่ายภาพ หรือการเล่นเกม เพราะให้กล้องมาระยะเดียว และซีพียูที่เลือกใช้ก็ไม่ใช่รุ่นท็อปสุด

Motorola Razr 5G วางจำหน่ายแล้วในราคา 44,990 บาท มีให้เลือกสีเดียวคือ สีเทาเข้ม Polished Graphite

]]>
Review : Samsung Galaxy Z Fold2 5G ประสบการณ์ 1 เดือนกับสมาร์ทโฟนจอพับ https://cyberbiz.mgronline.com/review-samsung-galaxy-z-fold2/ Mon, 26 Oct 2020 07:39:57 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=34027

หลังจากออกสมาร์ทโฟนจอพับมาต่อเนื่องเป็นรุ่นที่ 3 ทำให้ ซัมซุง (Samsung) เห็นแล้วว่าความต้องการของผู้ใช้งานคืออะไร และต้องเพิ่มฟีเจอร์อะไรมาช่วยเพิ่มประสบการณ์ใช้งานให้ผู้ใช้ได้มากที่สุด และต้องยอมรับว่ารุ่นนี้ทำออกมาได้สมบูรณ์แบบแล้ว

ความน่าสนใจของ Samsung Galaxy Z Fold2 5G คือการเป็นสมาร์ทโฟนจอพับประสิทธิภาพสูง ที่สามารถกางหน้าจอออกมาเป็นหน้าจอใหญ่สำหรับใช้งานได้เต็มตา และที่สำคัญคือรองรับการแสดงผลแบบ 120Hz ด้วย พร้อมกับพัฒนาให้สามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบมากขึ้น

ประกอบกับการที่กลุ่มผู้ใช้งานของ Galaxy Z Fold2 5G นั้นชัดเจนมากๆ คือเป็นกลุ่มผู้ใช้ที่ชื่นชอบเทคโนโลยี ต้องการสมาร์ทโฟนรูปแบบใหม่ๆ ที่มาช่วยตอบโจทย์การใช้งานในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริหาร และผู้สูงอายุที่ต้องการสมาร์ทโฟนจอใหญ่ และมีกำลังซื้อสูง

ดังนั้น Z Fold2 5G จึงทำให้ซัมซุง สามารถครองตำแหน่งผู้นำในตลาดสมาร์ทโฟนจอพับเวลานี้ได้อย่างไม่ยาก โดยนอกจาก Galaxy Z Fold2 5G แล้วก่อนหน้านี้สมาร์ทโฟนจอพับอย่าง Galaxy Z Filp ก็เป็นรุ่นที่ได้รับความนิยมเช่นเดียวกัน

ข้อดี

  • สมาร์ทโฟนจอพับที่พัฒนารูปแบบการใช้งานได้หลากหลายขึ้น
  • จอภายนอกขนาดใหญ่ 6.2 นิ้ว กางหน้าจอออกมาเป็น 7.6 นิ้ว
  • ประสิทธิภาพสูง ตามความคาดหวังของสมาร์ทโฟนไฮเอนด์
  • โหมดถ่ายภาพใช้ความสามารถของจอพับได้น่าสนใจ

ข้อสังเกต

  • ระดับราคาค่อนข้างสูง (69,900 บาท)
  • จอภายนอกอัตราการแสดงผล 60 Hz
  • การใช้งานจอพับยังมีข้อจำกัดอย่างการที่ต้องระวังการขูดขีดหน้าจอภายใน

สมาร์ทโฟนจอพับรุ่นสมบูรณ์

ในปีที่แล้วตอนที่ Samsung เปิดตัว และเริ่มทำตลาด Galaxy Fold รุ่นแรกนั้น มีคำถามที่ตามมาหลายๆ เรื่องถึงรูปแบบการใช้งาน ความคงทนแข็งแรงต่างๆ จนทำให้รู้สึกเหมือนว่าเป็นรุ่นทดลอง หรือ โปรโตไทป์ ที่นำเสนอออกมาสู่ตลาด นำมาซึ่งเสียงตอบรับของผู้บริโภคให้ซัมซุง นำข้อมูลกลับไปปรับปรุงออกมาเป็นรุ่นถัดมา

ต่อด้วยในรุ่นอย่าง Z Flip ที่เปลี่ยนรูปแบบมาเป็นลักษณะของฝาพับ มีการเพิ่มฟีเจอร์การใช้งานแบบกางจอเพียงครึ่งเดียว เพื่อใช้ประโยชน์ของฝาพับด้านล่างให้กลายเป็นฐานในการใช้งาน ซึ่งรูปแบบการใช้งานนี้ยังไม่เกิดขึ้นกับ Galaxy Fold รุ่นแรก เพราะในรุ่นแรกจะไม่สามารถกางแบบไม่สุดได้

พอมาเป็นรุ่นที่พัฒนาล่าสุดอย่าง Galaxy Z Fold2 5G ต้องยอมรับว่า ปรับการใช้งานออกมาได้หลากหลาย น่าสนใจ ทั้งการกางจอเพียงครึ่งเดียว แล้วใช้ครึ่งล่างเป็นฐานในการวางใช้งานเหมือนใน Z Flip หรือจะเลือกกางเต็มจอแล้วใช้งานได้ทั้งแนวตั้ง และแนวนอน

อีกอย่างที่ปรับปรุงขึ้นคือการทำงานร่วมกับระหว่างจอภายนอก และภายใน ในการทำงานอย่างต่อเนื่อง หรือ App Continuity ที่เมื่อเปิดใช้งานแอปในหน้าจอนอกแล้ว เมื่อกางจอออกมาใช้งานจะสามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง ไม่เจออาการแอปหลุด แอปเด้ง ไม่รองรับเหมือนในรุ่นแรก

นอกจากนี้ยังมาพร้อบกับการใช้งานแบบ Multi-Windows ที่ผู้ใช้สามารถเลือกเปิดแอปใช้งานได้สูงสุด 4 แอปพร้อมกัน โดยแบ่งหน้าจอออกเป็น 3 ส่วน คือครึ่งหนึ่งใช้งาน 1 แอปหลัก ตามด้วยแบ่งอีกครึ่งหน้าจอเป็น 2 แอปเพื่อใช้ดูข้อมูลต่างๆ และแอปสุดท้ายที่มีข้อจำกัดเฉพาะแอปที่รองรับการแสดงผลแบบ Pop Up ออกมา

นั่นหมายถึง ผู้ใช้งานสามารถเลือกเปิดหน้าไมโครซอฟท์ออฟฟิศ เพื่อทำงานคู่กับ การเว็บไซต์เพื่อหาข้อมูล และเปิดแอปความบันเทิงอย่างยูทูป หรือ Spotify เพื่อสั่งเล่นเพลงไปพร้อมๆ กันได้เลย และสามารถประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายมากๆ

ขณะเดียวกัน ด้วยการที่ซัมซุง ทำงานร่วมกับไมโครซอฟท์อย่างใกล้ชิด ดังนั้น Galaxy Z Fold2 5G จึงทำงานร่วมกับ Microsoft Office ทั้ง Word Excel Powerpoint ที่ทำงานร่วมกันได้อย่างน่าสนใจ ยิ่งเมื่อใช้งานในลักษณะของจอใหญ่เต็มจอ จะช่วยให้ทำงานได้อย่างเต็มที่มากขึ้นด้วย

ถัดมาในแง่ของความบันเทิง ต้องยอมรับว่า เมื่อมีจอขนาดใหญ่ถึง 7.6 นิ้ว แถมยังรองรับการแสดงผลแบบ 120 Hz นั่นทำให้ทั้งการเล่นเกมได้การแสดงผลที่ลื่นไหล การใช้งานโซเชียลมีเดียทำได้อย่างเต็มตา และที่สำคัญคือการดูหนัง ที่สามารถรับชมได้ไม่ต่างจากแท็บเล็ต ในขณะที่พกพาเครื่องเท่าสมาร์ทโฟนทั่วไปเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม Galaxy Z Fold2 5G อาจจะไม่ได้ถูกออกแบบมาสำหรับการเล่นเกมอย่างหนักหน่วง เพราะด้วยหน้าจอที่เป็นจอพับ ซึ่งต้องระมัดระวังในการใช้งานพอสมควร เพราะเป็นจอแบบยืดหยุ่น ไม่ใช่จอกระจก ดังนั้นถ้าใช้เล่นเกมอาจจะมีจังหวะที่เล็บขูดหน้าจอได้

กล้องคุณภาพ ใช้ได้หลายรูปแบบ

กล้องกลายเป็นอีกหนึ่งจุดที่พัฒนาขึ้นมาได้อย่างน่าสนใจใน Galaxy Z Fold2 5G โดยในรุ่นนี้มีกล้องทั้งหมด 3 จุดด้วยกัน เริ่มจากกล้องหลัก 3 ชุดเลนส์ด้านหลังเครื่อง ที่มากับเลนส์ UltraWide Wide และ Telephoto 12 ล้านพิกเซล

ถัดมาคือกล้องบริเวณจอนอกความละเอียด 10 ล้านพิกเซล และ กล้องที่อยู่ในจอพับด้านในความละเอียด 10 ล้านพิกเซล เช่นเดียวกัน โดยจะมาในลักษณะของจอเจาะรูแบบ Infinity-O

รวมๆ แล้วอาจจะมองว่าชุดกล้องนั้นไม่สุดเหมือนใน Galaxy Note20 Ultra แต่ด้วยลักษณะการใช้งานของ Fold ที่เป็นสมาร์ทโฟนสำหรับใช้งานด้านอื่นๆ มากกว่า จึงมองว่ากล้องที่ให้มานั้นเพียงพอกับการใช้งานอยู่แล้ว

โดยกล้องใน Z Fold2 5G กลับมีความน่าสนใจอยู่ที่รูปแบบการใช้งาน เพราะซัมซุง ได้พัฒนาอินเตอร์เฟสการใช้งานมาให้ใช้บนสมาร์ทโฟนจอพับได้น่าสนใจ เริ่มกันจากตัวกล้องหลัก ที่นอกจากผู้ใช้จะสามารถถ่ายได้ทั้งเวลาที่กางจอ หรือพับจอก็ได้แล้ว

เวลาที่กางจอออกมา ยังสามารถเปิดจอนอกเพื่อให้ตัวแบบสามารถเห็นภาพที่กำลังถ่ายได้ ในลักษณะของการแสดงผล 2 จอ พร้อมกัน ซึ่งในจุดนี้ ก็สามารถประยุกมาใช้เป็นการถ่ายเซลฟี่ด้วยกล้องหลังได้เช่นเดียวกัน ซึ่งจะได้ภาพที่มีคุณภาพมากขึ้น เมื่อเทียบกับกล้องหน้า

ถัดมาคือการใช้งานกล้องเมื่อกางหน้าจอเพียงครึ่งเดียว ตัวเครื่องจะทำการแบ่งครึ่งการแสดงผล ให้ภาพจากกล้องแสดงผลอยู่ครึ่งบน และครึ่งล่างเป็นปุ่มควบคุมอย่างปุ่มชัตเตอร์ เปลี่ยนโหมดใช้งาน และแสดงตัวอย่างภาพก่อนหน้า

นั่นทำให้เราสามารถวาง Galaxy Z Fold2 5G กับพื้นราบ เพื่อใช้แทนขาตั้งกล้องได้ทันที หรือจะเปลี่ยนมาใช้งานคู่กับกล้องหน้า เพื่อใช้งานวิดีโอคอลล์ หรือถ่ายวิดีโอเซลฟี่จากกล้องหน้าก็ได้เช่นเดียวกัน

การออกแบบตัวเครื่อง

ด้วยการที่ Samsung Galaxy Z Fold2 5G เป็นสมาร์ทโฟนจอพับ ทำให้มีหน้าจอแสดงผลอยู่ 2 ส่วนด้วยกัน โดยจอนอกจะเป็น Super AMOLED ขนาด 6.2 นิ้ว ความละเอียด 2260 x 816 พิกเซล โดยมีกล้องหน้าแบบเจาะรูอยู่ด้านบน

การที่ซัมซุง เพิ่มขนาดหน้าจอนอกทำให้สามารถใช้งานตัวเครื่องได้ โดยไม่จำเป็นต้องกางจอใช้งาน เวลาที่ไม่สะดวกใช้งาน 2 มือ จากรุ่นก่อนหน้าที่ให้มาเป็นจอ 4.6 นิ้วเท่านั้น ตัวเครื่องมีให้เลือกด้วยกัน 2 สี คือ Mystic Black และ Mystic Bronze ที่เป็นสีพิเศษของปีนี้

ส่วนจอภายในเป็น Dynamic AMOLED 2X ความละเอียด QXGA+ (2208 x 1768 พิกเซล) ที่รองรับการแสดงผลแบบ Adaptive Dynamic Display 120 Hz โดยตัวเครื่องจะปรับ Refresh Rate หน้าจอตามลักษณะของคอนเทนต์ที่ใช้งาน ซึ่งช่วยยืดระยะเวลาการใช้งานแบตเตอรีด้วย

ขนาดของ Galaxy Z Fold2 5G จะอยู่ที่ 159.2 x 68 x 13.8 – 16.8 มิลลิเมตร และเมื่อกางหน้าจอออกมาจะอยู่ที่ 159.2 x 128.2 x 6 – 6.9 มิลลิเมตร น้ำหนัก 282 กรัม ซึ่งต้องถือว่าตัวเครื่องเวลาพับแล้วจะค่อนข้างหนา แต่เมื่อกางออกมาใช้งานก็ถือเป็นรุ่นที่มีขนาดบางที่สุดรุ่นหนึ่งก็ว่าได้

หน้าจอของ Galaxy Z Fold2 5G สามารถปรับองศาในการกางได้ตั้งแต่ 75 – 115 องศา เพื่อใช้งานในลักษณะของการวางตัวเครื่องไว้กับพื้นราบ และสามารถกางสุดที่ 180 องศา เพื่อใช้งานเป็นจอใหญ่ได้ตามปกติ

ข้างเครื่องทางฝั่งขวาจะเป็นที่อยู่ของปุ่มปรับระดับเสียง และปุ่มเปิดเครื่อง ที่ฝั่งเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือมาให้ด้วย เพื่อให้สามารถสแกนนิ้วมือเพื่อใช้จอภาพนอกได้ทันที หรือถ้ากางจอออกมาก็สามารถใช้ปุ่มด้านข้างเครื่องเพื่อปลดล็อกได้

ขณะที่ถาดใส่ซิมการ์ดจะอยู่ที่ฝั่งซ้าย (เวลากางหน้าจอ) ซึ่งในส่วนครึ่งซ้ายทั้งบน และล่าง จะมีช่องลำโพงอยู่ด้วย ทำให้เวลาถือเครื่องใช้งานในแนวนอน อาจจะต้องระวังไม่ให้มือไปปิดลำโพง

ส่วนด้านล่างเครื่องจะมีพอร์ต USB-C สารพัดประโยชน์ ที่รองรับการชาร์จเร็ว 25W เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ และหน้าจอเพื่อใช้งาน Samsung DeX หรือจะเชื่อมต่อแบบไร้สายก็ได้

สำหรับด้านหลัง นอกจากชุดเลนส์กล้องแล้ว ยังมากับระบบชาร์จไร้สาย ที่สามารถเป็นแท่นชาร์จให้อุปกรณ์อื่นได้ด้วยผ่านฟีเจอร์อย่าง Wireless PowerShare อย่างการใช้งานคู่กับ Galaxy Buds Live ภายในมีแบตเตอรีขนาด 4,500 mAh

สเปก

สำหรับสเปกภายในของ Samsung Galaxy Z Fold2 5G ทำงานบนหน่วยประมวลผล Qualcomm Snapdragon 865 RAM 12 GB พื้นที่เก็บข้อมูล 256 GB ทำงานบนระบบปฏิบัติการ Android 10 ที่ครอบด้วย One UI

ด้านการเชื่อมต่อรองรับถึง 5G ซึ่งสามารถใช้งานในประเทศไทยได้แล้วบนเครือข่าย AIS และ Truemove H พร้อม WiFi 6 บลูทูธ 5.0 มี GPS NFC ครบถ้วนตามสไตล์ของเครื่องระดับไฮเอนด์

ทดสอบประสิทธิภาพ

ต้องยอมรับว่าการที่ซัมซุง เลือกนำหน่วยประมวลผลรุ่นท็อปอย่าง Qualcomm Snapdragon 865 มาใช้งานกับรุ่นนี้เพื่อทำตลาดทั่วโลกนั้น ทำให้ Galaxy Z Fold2 5G มีประสิทธิภาพในการประมวลผลที่ครอบคลุมการใช้งานทุกรูปแบบอยู่แล้ว โดยเฉพาะการทำงานแบบมัลติทาสกิ้งที่เป็นจุดเด่นของเครื่องรุ่นนี้

ขณะเดียวกัน แบตเตอรีที่ให้มา 4,500 mAh ก็ถือว่าเพียงพอกับการใช้งาน โดยถ้าใช้งานเฉพาะจอนอกอย่างเดียวจะสามารถใช้ได้ต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 13 ชั่วโมง ส่วนจอใหญ่นั้น ถ้าเปิดใช้งานในโหมด Adaptive Display 120 Hz จะสามารถใช้งานได้ราว 7 ชั่วโมง และเพิ่มเป็น 8 ชั่วโมงครึ่ง ถ้าปรับการแสดงผลลงมาเป็น 60 Hz

สรุป

Samsung Galaxy Z Fold2 5G ได้กลายเป็นตัวเลือกแรกสำหรับผู้ที่ต้องการสมาร์ทโฟนจอพับ ที่สามารถกางออกมาเป็นหน้าจอขนาดใหญ่เพื่อใช้งานได้ทันที ซึ่งกลายเป็นหนึ่งในรูปแบบการใช้งานของผู้ที่ไม่อยากพกทั้งสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตใช้งาน

อย่างไรก็ตาม ด้วยการที่ระดับราคาของเครื่องค่อนข้างสูงทำให้กลุ่มผู้ใช้งานจะไม่ได้อยู่ในกลุ่มผู้บริโภคทั่วไป แต่เป็นผู้ที่มีกำลังซื้อ ซึ่งตามปกติแล้วก็จะมีสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตอย่างละเครื่องใช้งานอยู่แล้ว การเลือกใช้งาน Z Fold2 5G ก็จะทำให้ไม่ต้องลงทุนซื้อแท็บเล็ตเครื่องใหม่ได้ด้วย

สำหรับใครที่อยากลองประสบการณ์ใช้งานสมาร์ทโฟนจอพับ เชื่อว่า Samsung Galaxy Z Fold2 5G นั้นตอบโจทย์อย่างแน่นอน และสามารถใช้งานได้ยาวๆ เพราะตัวเครื่องรองรับการเชื่อมต่อ 5G ที่เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่อยุคใหม่อยู่แล้ว

Gallery

]]>
Review : Samsung Galaxy Fold ถึงวันที่นวัตกรรมออกสู่ตลาด https://cyberbiz.mgronline.com/review-samsung-galaxy-fold/ Wed, 16 Oct 2019 17:26:13 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=31435

หลังจากปล่อยให้ผู้บริโภครอกันมาสักพัก ในการเข้าถึงนวัตกรรมของสมาร์ทโฟนที่จะกลายมาเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในยุคต่อไป ล่าสุด Samsung นำ Galaxy Fold เข้ามาเปิดจองในไทยแล้ว ก่อนเริ่มทยอยส่งมอบในวันที่ 16 ตุลาคมที่ผ่านมา ในราคา 69,900 บาท

ความน่าสนใจของ Galaxy Fold อาจจะไม่ได้อยู่ที่ความสมบูรณ์แบบในการใช้งาน เพราะถือว่าเป็นเครื่องรุ่นแรก ที่เปรียบเหมือนรุ่นทดลอง ที่ทำออกมาให้ผู้บริโภคได้เห็นภาพ ถึงประสบการณ์ในการใช้งานสมาร์ทโฟนจอพับ ที่จะกลายเป็นหนึ่งในเทรนด์สำคัญในอนาคต

ข้อดี

กางออกมาแล้วจอใหญ่ ใช้งานแทนแท็บเล็ตได้

อินเตอร์เฟสถูกออกแบบมาให้ทำงานได้ต่อเนื่อง

รุ่นต้นแบบของสมาร์ทโฟนจอพับ

ข้อสังเกต

ต้องรอดูความแข็งแรงของจอพับว่าจะเป็นอย่างไร

ตัวเครื่องพับแล้วค่อนข้างหนา

อินเตอร์เฟสการใช้งานที่ลื่นไหล

สิ่งที่น่าสนใจคือ แม้ว่าจะเป็นแนวคิดใหม่ในการทำสมาร์ทโฟนจอพับ แต่ซัมซุง ได้ทำงานร่วมกับกูเกิล (Google) เป็นอย่างดี ในการออกแบบ ยูสเซอร์อินเทอร์เฟส (User Interface) การทำงานบนระบบปฏิบัติการ Android ให้ไร้รอยต่อ (App Continuity)

ที่บอกว่าไร้รอยต่อคือ ผู้บริโภคต้องคาดหวังว่าเมื่อหยิบสมาร์ทโฟนขึ้นมาใช้งาน ในกรณีที่ใช้งานจอเล็กในขณะที่พับเครื่องอยู่นั้น เมื่อกางออกมาเป็นจอใหญ่เพื่อใช้งาน จะต้องมีความต่อเนื่อง ที่พร้อมให้ทำงานต่อได้ทันที

ในเรื่องของประสบการณ์ใช้งานตรงนี้ ซัมซุง ทำออกมาได้น่าพอใจ เพราะเท่าที่ทดสอบใช้งานหลายๆ แอปพลิเคชัน ทั้งบริการต่างๆ ของ กูเกิล เซอร์วิส แอปโซเชียลมีเดียต่างๆ สามารถทำงานร่วมกันระหว่างพับจอ และกางจอได้เป็นอย่างดี

อีกจุดที่ทำได้ดีคือเรื่องของการเปิดใช้งานหลายๆ หน้าจอ เพราะด้วยหน้าจอที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ใกล้เคียงกับแท็บเล็ต ทำให้เวลาใช้งาน ทำให้รองรับการเปิดใช้งาน 3 แอปในเวลาเดียวกัน ที่ซัมซุงเรียกว่า Multi-Active Window

เพียงแต่ว่าแอปที่รองรับการทำงานพร้อมๆ กันในเวลานี้ยังมีไม่มากนัก ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นแอปที่รองรับการใช้งาน App Pair หรือการเปิดใช้แอปคู่ที่ซัมซุงนำมาใช้กับ Galaxy S และ Galaxy Note ก่อนหน้านี้อยู่แล้ว

ในส่วนของการใช้งาน ถือว่าต้องปรับตัวกันพอสมควร เพราะกลายเป็นว่าหน้าจอขณะที่ยังไม่กางออก เวลาใช้งานก็จะรู้สึกเล็กเกินไป เนื่องจากชินกับหน้าจอขนาดใหญ่ ประกอบกับการเว้นพื้นที่ส่วนบน และล่างหน้าจอไว้ด้วย

ส่วนบางกรณีที่ใช้งานเครื่องมือเดียว แล้วต้องการกางหน้าจอออกเพื่อใช้งานต่อ จะต้องมีเทคนิคเล็กน้อยคือการใช้นิ้วสอดเข้าไปเพื่อกางเครื่องออก แต่ก็ต้องระวังไม่ให้ขูดโดนหน้าจอด้วย เพราะด้วยการที่ทำให้จอพับได้วัสดุที่ใช้สำหรับจอภายในจึงเป็นพลาสติก ไม่ใช่กระจกเหมือนด้านนอก

เร่งสื่อสารวิธีการใช้งาน

อีกหนึ่งสิ่งที่ซัมซุงต้องทำเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายกับตัวหน้าจอพับได้ คือการสื่อสารถึงวิธีการใช้งานที่ถูกต้อง เนื่องจาก Galaxy Fold มากับหน้าจอพับได้ที่ซัมซุงเรียกว่าInfinity Flex Display ซึ่งมีความแตกต่างจากหน้าจอปกติที่ใช้งานกันในสมาร์ทโฟนทั่วไป เนื่องจากไม่มีกระจกครอบหน้าจอแต่ใช้เป็นแผ่นฟิล์มที่มีความยืดหยุ่นได้แทน

ด้วยเหตุนี้เวลาใช้งาน สิ่งที่ต้องระวังเลยคือการนำของแข็ง หรือวัสดุปลายแหลมเข้าไปสัมผัสที่หน้าจอ เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายได้ หรือแม้แต่ถ้ามีเม็ดทราย หรือฝุ่นแข็งขนาดเล็กเข้าไปติดกับขอบจอก็ทำให้เกิดรอยได้เช่นกัน

รวมถึงในการพับหน้าจอ วิธีการพับที่ถูกต้องคือใช้นิ้วดันบริเวณขอบข้อพับของตัวเครื่อง ไม่ควรดันที่ตัวหน้าจอโดยตรง เพราะจะเป็นการกดที่หน้าจอที่มีความอ่อนตัวอยู่ ส่วนวิธีการกางหน้าจอใช้งานทำได้ตามปกติ

สำรวจรายละเอียดของ Galaxy Fold เบื้องต้น

รายละเอียดหลักๆ ของ Samsung Galaxy Fold ที่เป็นสมาร์ทโฟนจอพับรุ่นแรกของโลก จะมากับ 2 หน้าจอหลักๆ ให้ใช้งานคือ หน้าจอด้านนอกที่มีขนาด 4.6 นิ้ว (1680 x 720) ไว้ใช้ในกรณีที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ บนสมาร์ทโฟน หรือในจังหวะการใช้งานทั่วๆไป

อีกหน้าจอคือเมื่อกางฝาพับออกมาที่จะเป็นจอขนาด 7.3 นิ้ว QXGA+ (2152×1536) ที่ซัมซุง มีการนำเครื่องล็อตแรกกลับไปปรับปรุง เพื่อให้หน้าจอมีความทนทานมากขึ้น จนทำให้เลื่อนระยะเวลาจำหน่ายออกมาเป็นช่วงปลายเดือนกันยายนแทน
รายละเอียดอื่นๆ ที่สำคัญก็จะมีอย่างกล้องที่ให้มาด้วยกันทั้งหมด 6 กล้องคือ กล้องหน้า

ขณะที่พับเครื่องอยู่ 1 เลนส์ (10 ล้านพิกเซล) กล้องหลัง 3 เลนส์ (16+12+12 ล้านพิกเซล ที่ใช้เลนส์ชุดเดียวกับ S10 และ Note10) และกล้องหน้าขณะที่กางหน้าจออีก 2 เลนส์ (10 ล้านพิกเซล และเลนส์ RGB 8 ล้านพิกเซล)

รวมๆแล้ว ขนาดของตัวเครื่องเมื่อพับ จะอยู่ที่ 62.8 x 160.9 x 15.7-17.1 มิลลิเมตร และเมื่อกางออกจะอยู่ที่ 117.9 x 160.9 x 6.9-7.6 มิลลิเมตร น้ำหนัก 276 กรัม

ส่วนภายในจะให้แบตเตอรีขนาด 4,380 mAh มาใช้งาน คู่กับหน่วยประมวลผล Qualcomm Snapdragon 855 โดยตัวเครื่องที่ทำตลาดในไทยจะรองรับการเชื่อมต่อ 4G LTE เท่านั้น ไม่ได้นำรุ่น 5G เข้ามาจำหน่าย

ใครที่เหมาะกับ Galaxy Fold

ด้วยระดับราคาที่เปิดตัวมาเฉียด 7 หมื่นบาท อาจจะทำให้ใครหลายคนมองว่าเป็นสมาร์ทโฟนราคาแพง แต่ถ้าเป็นผู้ที่ชื่นชอบเทคโนโลยี อยู่ในกลุ่ม Early Adopter เชื่อว่า Samsung Galaxy Fold จะเหมาะกับการใช้งานแน่นอน

เพราะนอกจากจะได้ลองของใหม่ที่เป็นนวัตกรรมจริงๆ ของสมาร์ทโฟนในยุคนี้แล้ว การพกสมาร์ทโฟนเครื่องเดียว แต่ใช้งานแทนแท็บเล็ตได้ด้วย ถือเป็นของแถมทำให้การใช้ชีวิตในยุคดิจิทัลสะดวกขึ้น แต่แน่นอนว่า Samsung Galaxy Fold ไม่ได้เหมาะกับทุกคน เพราะถ้าไม่ได้มีกำลังซื้อ หรือไม่ได้รีบร้อนที่อยากได้มาใช้งาน การรอรุ่นต่อไปที่สมบูรณ์แบบมากกว่านี้ น่าจะเป็นคำตอบสำหรับใครหลายๆ คน

ดังนั้น จึงกลายเป็นว่าถ้ามีโอกาสได้ลองสัมผัส หรือลองเล่น Samsung Galaxy Fold ก็อย่าพลาดลอง และเก็บมาเป็นประสบการณ์ในการใช้งาน เพราะสิ่งนี้จะกลายเป็นเทรนด์ของสมาร์ทโฟนในอนาคตอย่างแน่นอน

Gallery

]]>