D-Link – CBIZ Reviews – MGR Online https://cyberbiz.mgronline.com เว็บไซต์รีวิวอุปกรณ์ ไอที ไฮเทค เป็นส่วนหนึ่งของผู้จัดการออนไลน์ Mon, 19 Dec 2016 00:02:33 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.0 Review : D-Link DIR-895L อัลตร้าเราเตอร์ มาตรฐาน AC5300 https://cyberbiz.mgronline.com/review-dlink-dir-895l/ Sat, 10 Dec 2016 08:16:00 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=24616

001

เราเตอร์กลายเป็นสิ่งที่จำเป็นมากขึ้น เมื่ออุปกรณ์ไอทีในบ้านเริ่มต้องการเครือข่ายที่ใช้งานได้จริง เพราะนอกจากจะต้องมีความเร็วและระยะการกระจายสัญญาณที่รับได้กับกิจกรรมที่เกิดขึ้นของคนทั้งบ้านแล้ว ยังต้องรองรับจำนวนของอุปกรณ์ที่ถูกใช้งานพร้อมกันในบ้านได้อย่างไม่มีสะดุด แน่นอนว่าคำตอบของเราเตอร์ที่รองรับได้เช่นนั้น ไม่เกิดขึ้นกับเราเตอร์ที่แถมมากับสัญญาณอินเทอร์เน็ตจากผู้ให้บริการอย่างแน่นอน เราลองมาดูเราเตอร์ขนาดใหญ่ที่สามารถลองรับการใช้งานได้ครอบคลุมความต้องการแบบทั่วพื้นที่กับ D-Link DIR-895L ซึ่งทำงานบนมาตรฐาน AC 5300 กัน

D-Link DIR-895L ถูกแบบมาให้ใช้งานภายในบ้านเป็นหลัก แม้ว่าตัวเครื่องจะมาพร้อมเทคโนโลยีชั้นสูงและขนาดที่ใหญ่ พร้อมการออกแบบที่สุดอลังการด้วยเสา 8 ต้น นั่นเพราะทางดีลิงค์มองว่า อุปกรณ์ภายในบ้านจะต้องการประสิทธิภาพการเชื่อมต่อที่ดีไต่างจากองค์กร เพราะท้ายที่สุดแล้วการเชื่อมต่อเน็ตเวิร์กเพื่อให้อุปกรณ์ที่มีทั้งหมดภายในบ้านทำงานได้อย่างเต็มความสามารถ ย่อมหมายถึงความสุขที่ไม่ติดขัดของผู้อยู่อาศัยด้วยเช่นกัน

การออกแบบ

002

D-Link DIR-895L มาพร้อมรูปลักษณ์สุดอลังการของสีแดงสด รูปร่างสามเหลี่ยมที่ทำให้นึกถึงยานบิน โดยขนาดของเครื่องถือว่าใหญ่พอตัว แถมยังมีเสาทั้ง 8 ตำแหน่งที่จำกัดให้การวางเครื่องที่เหมาะสมมีอยู่ด้านเดียวเท่านั้นนั่น ซึ่งทำให้การหาตำแหน่งวางเครื่องอาจจะดูลำบากสำหรับบ้านไปสักหน่อย ซึ่งโดยเทคนิคแล้วตำแหน่งการวางเครื่องมีผลต่อประสิทธิภาพของการจ่ายสัญญาณด้วยเช่นกัน

003

ด้านหน้า – จะเห็นเหลี่ยมของเครื่องสีแดงสดสโลปลงด้านข้างซ้ายและขวา มีแถบไปแสดงสถานะตรงกลาง บนพื้นสีบรอนซ์ที่เป็นเส้นแนวยาวตรงขึ้นด้านบน ขณะที่เยื้องไปทางด้านหลังจะเห็นช่องระบายความร้อนแบบรวงผื้งสีแดงแบบเดียวกัน พร้อมตราสัญลักษณ์ D-Link อยู่ตรงกลางโดดเด่น

004

ด้านหลัง – เป็นแถบช่องต่อสัญญาณต่าง โดยมีพอร์ตยูเอสบี2.0 และ 3.0 ให้อย่างละช่อง ถัดมาเป็นปุ่มรีเซ็ตที่จะต้องใช้เหล็กปลายแหลมจิ้มลงไปไป และปุ่ม WPS ที่ช่วยให้การเชื่อมต่อง่ายขึ้นอยู่ด้านข้าง ถัดไปเป็บแถบช่องต่อแลนทั้งหมด 4 ช่องเรียงจากขวามาซ้าย และช่องอินเทอร์เน็ต สำหรับการต่อสัญญาณเข้าโดยจะเห็นความแตกต่างของช่องนี้ว่าเป็นสีเหลือง ถัดมาเป็นปุ่มพาวเวอร์เปิดปิด และช่องต่อไฟ DC และสุดท้ายเป็นสวิตซ์สำหรับสลับการใช้งานของเครื่องระหว่างเราเตอร์และเอ็กซ์เทนเดอร์นั่นเอง

005

ด้านล่าง – มีช่องระบายอากาศเป็นร่องตลอดทั้งผืน ทำด้วยวัสดุพลาสติกเป็นสีดำด้าน โดยมีช่องสำหรับแขวนผนังอยู่สองตำแหน่ง พร้อมสติ๊กเกอร์บอกรายละเอียดรุ่นและสเปกเครื่องโดยประมาณ

006

ด้านซ้ายและขวา – จะมีช่องต่อเสาสัญญาณแบบถอดได้ขนาดใหญ่อยู่ด้านละ 4 เสา ซึ่งเสาที่สี่จะอ้อมไปทางด้านหลังอย่างละข้าง โดยลักษณะของเสาเป็นแบบพับงอได้บริเวณขั้วเสา ตัวเสามีลักษณะแบนเล็กน้อยเป็นสีเทาและปลายเสามีสีดำ ทุกเสามีตราสัญลักษณ์ D-Link สีดำอยู่ 1 ด้าน

สเปก

007

ประมวลผลด้วยชิปเซ็ต Broadcom BCM47094 1.4 GHz พร้อมเสาอากาศ 8 เสา สามารถปล่อยสัญญาณได้พร้อมกันถึง 3 ความถี่ โดยแบ่งเป็น 2 ย่านความถี่ 5 GHz ด้วยความเร็วของการส่งตามทฤษฎีอยู่ที่ย่านละ 2,165 Mbps และย่านความถี่ 2.4 GHz ได้อีก 1 ย่านด้วยความเร็ว 1,000 Mbps ทำให้ได้ความเร็วทั้ง 3 ย่านรวม 5,300 Mbps สามารถกระจายสัญญาณตามทฤษฏีได้ครอบคลุม 500 ตารางเมตร มาพร้อมเทคโนโลยี MU-MIMO (Multiple Users-Multiple Input/Multiple Output) ช่วยให้การรับส่งข้อมูลของอุปกรณ์หลายๆอย่างทำงานได้พร้อมกันอย่างไม่มีสะดุด รองรับ VPN Server แบบ L2TP over IPSec มีขนาดกว้าง 387 มม. ยาว 247.3 มม.และสูง 119.5 มม. น้ำหนักโดยรวม 1 กก.

ฟีเจอร์เด่น

008

Smart Connect ช่วยให้การเชื่อมต่อง่ายขึ้น โดยระบบจะเลือกย่านความถี่ที่เหมาะสมให้แบบอัตโนมัติ ช่วยให้การทำงานของทุกอุปกรณ์รับส่งข้อมูลได้อย่างลื่นไหล ทั้งนี้ตัวเครื่อง D-Link DIR-895L นั้นรองรับการปล่อยสัญญาณ 3 ย่านความถี่พร้อมกัน ดังรายละเอียดที่กล่าวไปแล้วก่อนหน้า ดังนั้นเทคโนโลยีในการเลือกย่านความถี่ที่เหมาะสมอย่าง Smart Connect จึงเข้ามาช่วยจัดสรรการทำงานของแต่ละอุปกรณ์นั่นเอง

009

ระบบ D-Link Cloud ช่วยให้สามารถเชื่อมต่อเราเตอร์ในบ้านเพื่อจัดการได้ทุกที่ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตามผ่านอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อระบบ โดยสามารถปรับตั้งค่าการเชื่อมต่อ ตรวจสอบการเชื่อมต่อของเราเตอร์ หรือปิดกั้นการใช้งานจากบุคคลไม่พึงประสงค์ และแม้กระทั่งการควบคุมเนื้อหาการใช้งานของอุปกรณ์ผ่านเราเตอร์ได้อย่างไม่สะดวก

010

Mydlink Shareport ช่วยให้การเชื่อมอุปกรณ์จัดเก็บข้อมผ่านช่อง USB 3.0 และ USB 2.0 ทำให้การแชร์ภาพยนตร์ เอกสาร รูปภาพและเพลง ไปยังทุกอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่ภายในเราเตอร์นี้ได้อย่างรวดเร็ว

011

QRS (Quick Router Setup) ช่วยให้การติดตั้งผ่านสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต ใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที เพราะเพียงแค่เสียบเราเตอร์ แล้วเปิดแอปพลิเคชั่นและทำตามเพียงไม่กี่ขั้นตอนก็สามารถเชื่อมต่อเน็ตเวิร์คเข้ากับเราเตอร์ D-Link DIR-895L โดยที่ไม่ต้องแตะต้องคอมพิวเตอร์เลย แถมยังสามารถตั้งค่าความปลอดภัยผ่านปุ่ม Wifi- Protected ภายในแอปได้อีกด้วย

012

MU-MIMO (Multiple Users-Multiple Input/Multiple Output) รองรับการทำงานได้ถึง 4 อุปกรณ์พร้อมกันได้อย่างดีเยี่ยม โดยระบบจะทำการปล่อยสัญญาณแยกระหว่างอุปกรณ์แต่ละตัว ทำให้ความเร็วของการใช้งานไม่ลดค่าความเร็วเฉลี่ยลง

013

Guest zone ช่วยเพิ่มลูกเล่นของการจัดการเครือข่ายให้แขกผู้มาเยือนได้แยกใช้ได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น โดยสามารถเลือกช่องทางการตอบรับในกรณีที่ใช้งานในร้านอาหาร ให้กดถูกใจแฟนเพจก่อนเข้าใช้งานก็ได้ โดยสามาถกำหนดรูปแบบและจำกัดความเร็วของการเข้าใช้งานได้ตามที่ต้องการ

ทดสอบประสิทธิภาพ

014

การทดลองติดตั้งทำได้ง่ายดาย โดยหลังจากต่อสายเรียบร้อย สามารถติดตั้งได้ผ่าน Wizard ภายใน 3 ขั้นตอนเท่านั้น นับว่าสะดวกกับมือใหม่เป็นอย่างมาก แต่ก็ต้องบอกก่อนว่านี่เป็นการตั้งค่าพื้นฐาน หากต้องการเลือกแบ่งโซนการทำงาน หรือการตั้งค่าขั้นสูง อาจจะต้องยุ่งยากในการติดตั้งเพิ่มขึ้น แต่โดยรวมมีทางลัดเพื่อการตั้งค่าใช้งานปกติครับ

015

การทดสอบสัญญาณเป็นที่น่าพอใจ โดยในระยะทำการไม่เกิน 3 เมตรสามารถทำความเร็วในการดาวน์โหลดได้สูงสุด 92.15 Mbps และอัปโหลดเร็วสูงสุด 42.74 Mbps สามารถเปิดไฟล์วิดีโอ 4K ได้ลื่นไหลไม่สะดุด ขณะที่การเชื่อมต่อจากชั้นล่างนอกอาคาร โดยเราเตอร์ตั้งอยู่ในห้องชั้น 2 สามารถรับส่งสัญญาณได้ เปิดวิดีโอยูทูปได้ปกติ แต่สังเกตความเร็วน้อยลงตามระยะทาง ซึ่งน่าจะเกิดจากความสามารถที่จำกัดของตัวอุปกรณ์แท็บเล็ตที่ใช้ นอกจากนี้ประสิทธิภาพของการเชื่อมต่อยังถือว่าต่อเนื่อง

016

ขณะที่การทดสอบด้วยโปรแกรม Wifi-Test ได้ผลทดสอบอยู่ในระดับ Great มีความเร็วประมาณการอยู่ที่ 544 Mbps ของการส่งสัญญาณไวไฟ

สรุป

D-Link DIR-895L นับว่าเป็นเราเตอร์ประสิทธิภาพสูง ซึ่งแม้ว่าอาจจะดูดีเกินกว่าจะใช้ในบ้านสักหน่อย แถมราคาที่เปิดตัวก็อยู่ที่ราว 9,500 บาท แต่กระนั้น เมื่อเทียบกับประสิทธิภาพที่จะได้รับแล้วนับว่าคุ้มค่าคุ้มค่าราคาจริงๆ หากไม่กังวลเรื่องงบประมาณแล้วจะรู้ว่า ไวไฟที่ดีใช้แล้วไม่สะดุดเป็นอย่างไร แถมมีประสิทธิภาพของสัญญาณที่ดีครอบคลุมทั้งบ้าน หากติดตั้งในตำแหน่งที่ดีและเหมาะสม งานนี้จึงนับว่าโดยรวมของการใช้งานอยู่ในเกณฑ์ดีมากครับ

ข้อดี

  • ประสิทธิภาพของการทำงานลื่นไหล
  • แบ่งสัญญาณ 3 ย่านความถี่พร้อมกันได้ บนมาตรฐาน AC5300
  • รองรับการสร้างกดถูกใจแฟนเพจ สำหรับร้านค้า
  • รัศมีสัญญาณครอบคลุมที่มากขึ้น

ข้อสังเกต

ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ โดดเด่นจนเกินไปทำให้อาจจะหาที่วางลำบาก ไม่หลบสายตา

Gallery

]]>
Review : D-Link AC1750 (DIR-859) Wi-Fi เราเตอร์ตัวแรงเพื่อมัลติมีเดียสตรีมมิงยุคใหม่ https://cyberbiz.mgronline.com/review-dlink-dir859/ Wed, 27 Jan 2016 15:06:58 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=21322

IMG_3700

ในปี 2016 ผู้ผลิตเราเตอร์หลายแบรนด์เริ่มเข็นเทคโนโลยีรับส่งข้อมูล Wireless AC เข้ามาจับตลาดผู้ใช้งานทั่วไปมากขึ้น เพื่อให้สอดรับกับเทรนด์โลกไร้สายที่ปัจจุบันเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และ “D-Link” ก็ถือเป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่มีการปรับตัวตามยุคตามสมัยเช่นกัน

โดยในปีนี้ D-Link ตั้งใจปรับกลยุทธ์เราเตอร์คุณภาพสูงหลากหลายรุ่นให้สามารถเข้าจับตลาดผู้ใช้งานทั่วไปด้วยราคาที่ไม่สูงพร้อมการใช้งานที่ง่ายและมีประสิทธิภาพสูงบนคอนเซป “Next Generation Wi-Fi” ประเดิมตัวแรกรับปีใหม่กับ “D-Link AC1750 High Power Wi-Fi Gigabit Router”

การออกแบบ สเปกและฟีเจอร์เด่น

IMG_3707IMG_3714

เราเตอร์ D-Link AC1750 รุ่น DIR-859 ถือเป็นเราเตอร์ไร้สายยุคใหม่ที่รองรับมาตรฐานการเชื่อมต่อ IEEE 802.11 a/g/n/ac แบบ Dual band 5GHz และ 2.4GHz พร้อมรองรับการเชื่อมต่อแลน 4 พอร์ต ที่ความเร็ว 10/100/1,000 Mbps พร้อมปุ่ม WPS (Wi-Fi Protected Setup) ส่วน WAN Port สีเหลือง (ใช้เชื่อมต่อกับเราเตอร์อินเตอร์เน็ต) รองรับความเร็วระดับ 1,000 Mbps ด้วย

IMG_3718

มาถึงส่วนของฟีเจอร์เด่นมีดังต่อไปนี้

11AC Wi-Fi Dual Bandรองรับความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ย่านความถี่ 5GHz สูงสุด 1,300 Mbps และ 2.4GHz สูงสุด 450 Mbps พร้อม MIMO (Multiple-Input Multiple-Output) หรือการใช้เสารับส่งสัญญาณ 3 เสารับส่งข้อมูลได้มาก เสถียรและไกลขึ้น โดยเฉพาะย่านความถี่ 5GHz ที่ทาง D-Link ตั้งใจปรับปรุงให้ส่งสัญญาณได้ไกลและเสถียรขึ้นจากรุ่นก่อน เพื่อรองรับการสตรีมมิงมัลติมีเดียคุณภาพ HD ถึง 4K ที่ลื่นไหล รวมถึงรองรับดีไวซ์เชื่อมต่อได้สูงสุด 16-25 เครื่องพร้อมกัน

dlink1750-home

Easy To Install – D-Link ยุคใหม่เกือบทุกรุ่นสามารถตั้งค่าได้ง่ายด้วยอินเตอร์เฟสที่ออกแบบมาได้สวยงาม และการตั้งค่าแบบอัตโนมัติในลักษณะ Plug and Play โดยในส่วนฟีเจอร์ด้านเครือข่ายที่มีให้เลือกใช้ใน DIR-859 ก็มีตั้งแต่ Parental Controls, Block Websites, QoS Engine (ไว้จัดแบนด์วิธของเครือข่าย), Guest Wi-Fi Network, VPN และรองรับ IPV6 และ DLNA ด้่วย

ทดสอบประสิทธิภาพและสรุป

test-d1750

ชุดทดสอบที่ 1สตรีมมิงวิดีโอ 4K ระหว่าง MacBook Pro Late 2011 (5GHz Wireless N 400Mbps+) และ iPad Pro (5GHz Wireless AC 866Mbps) โดยใส่ไฟล์วิดีโอ 4K ขนาดไฟล์ประมาณ 1GB ไว้ใน MacBook Pro และทำ iTunes Home Sharing แชร์วิดีโอไร้สายไปเปิดชมบน iPad Pro

ผลลัพท์ที่ได้จากคลิปวิดีโอด้านบนจะเห็นว่า ไฟล์ 4K ที่เล่นผ่านบน iPad Pro สามารถรับชมได้ลื่นไหล การ Seek ไปยังช่วงเวลาต่างๆทำได้รวดเร็วมาก โดยอัตราการส่งข้อมูลวัดค่าจาก Activity Monitor บน OSX จะเห็นว่าอยู่ที่ประมาณ 4-22MB ต่อวินาที

Bench-d1750Bench-d1750-2

ชุดทดสอบที่ 2 – เพื่อพิสูจน์สิ่งที่ทาง D-Link คุยไว้ว่า AC1750 (DIR-859) พัฒนา MIMO ให้มีความแรงและฉลาดขึ้น ทีมงานจึงสร้างชุดทดสอบนี้โดยใช้กำแพงที่มีความหนาระดับเป็นนิ้วถึง 10 กว่านิ้วเป็นตัวกั้นสัญญาณ Wi-Fi และสถานที่ทดสอบตั้งแต่จุดที่ 3-4 ก็ค่อนข้างอับสัญญาณมากเพราะเป็นทั้งห้องน้ำและมุมอับที่แคบ มีกำแพง ตู้เหล็กและประตูเป็นตัวกั้นไว้ โดยส่วนใหญ่ถ้าเป็นเราเตอร์รุ่นอื่นที่ทดสอบเมื่อปีก่อนๆจะมาจบชีวิตตรงจุดทดสอบที่ 3 กันหมด

แต่สำหรับ D-Link AC1750 High Power Wi-Fi Gigabit Router จะเห็นว่าสัญญาณสามารถเจาะไปถึงจุดที่ 3 (เทียบกับบ้านก็เหมือนเชื่อมต่ออยู่ชั้น 2) ได้ถึงแม้ความเร็วจะตกลงไปพอสมควร แต่สัญญาณไม่หลุด ในขณะที่จุดทดสอบสุดท้ายจะเห็นว่ามีเพียง WiFi 2.4GHz เท่านั้นที่สามารถเจาะเข้าถึงด้วยความเร็วที่เหลือเพียง 3.34 Mbps และเกิดอาการ WiFi เชื่อมต่อติดๆดับๆเกิดขึ้น

สรุปเป็นไปตามคำคุยของ D-Link และขอชื่นชมการออกแบบระบบส่งสัญญาณและระบบภายในใหม่ที่ทำให้ DIR-859 กลายเป็นเราเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง (ออกแบบมาสำหรับบ้านหลังใหญ่ จัดวางดีๆ สัญญาณ Wi-Fi กระจายไปได้ทั้งหลังแน่นอน) โดยเฉพาะย่านความถี่ 5GHz สุดกว้าง ที่ไปได้ไกลขึ้น ในขณะที่การจัดสรรแบนด์วิธเวลาผู้ใช้นำสมาร์ทดีไวซ์ คอมพิวเตอร์และอื่นๆ ที่ใช้ย่านความถี่ต่างกันมาเชื่อมต่อในวงแลนเดียวกันและดึงข้อมูลพร้อมกัน ระบบจัดสรรได้ค่อนข้างดีและไม่พบอาการการเชื่อมต่อเด้งหลุดให้เห็น

อีกทั้งสำหรับผู้ใช้ที่ชอบการสตรีมมิงวิดีโอความละเอียดสูงเช่น FullHD 1080p หรือ 4K รวมถึงคนที่กำลังมองหาตัวกลางส่งผ่านข้อมูลจาก Server หรือ NAS เก็บภาพความละเอียดสูงมากๆ เช่น ไฟล์ดิบจากกล้องฟูลเฟรม D-Link AC1750 High Power Wi-Fi Gigabit Router น่าจะตอบโจทย์การใช้งานเหล่านั้นได้เช่นกัน

สำหรับราคา D-Link AC1750 High Power Wi-Fi Gigabit Router อยู่ที่ 4,590 บาท ถ้ายังไม่พอใจในความแรงอยากได้รุ่นที่มีกำลังมากขึ้น ทาง D-Link ก็มีรุ่น AC1900 และรุ่นที่ต่ำกว่า ได้แก่ AC1200 และ AC750 สำหรับเน้นการใช้งานทั่วไป ไม่เน้นสตรีมมิงวิดีโอความละเอียดสูง

ข้อดี

-ยูสเซอร์อินเตอร์เฟสของหน้าตั้งค่าระบบออกแบบเข้าใจง่ายและจัดหมวดหมู่ดี
-รองรับการตั้งค่าผ่านสมาร์ทโฟนด้วยแอปฯ Quick Router Setup (QRS)
-เริ่มต้นใช้งาน มีระบบช่วยตั้งค่าอัตโนมัติและระบบช่วยวิเคราะห์ความผิดพลาดในการเชื่อมต่อ
-ประสิทธิภาพดี ราคากลางๆไม่สูงเกินไป

ข้อสังเกต

-ไม่มี USB Port สำหรับเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์หรือแฟลชไดร์ฟ

Gallery

]]>