Garmin – CBIZ Reviews – MGR Online https://cyberbiz.mgronline.com เว็บไซต์รีวิวอุปกรณ์ ไอที ไฮเทค เป็นส่วนหนึ่งของผู้จัดการออนไลน์ Mon, 15 Aug 2016 07:34:46 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.0 Review : Garmin Fenix 3 HR ยกระดับนาฬิกาออกกำลังมาใช้งานในชีวิตประจำวัน https://cyberbiz.mgronline.com/review-garmin-fenix3hr/ Mon, 15 Aug 2016 07:31:47 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=23392

IMG_5113ก่อนหน้านี้ ทีมงานไซเบอร์บิส เคยได้รับนาฬิกา Garmin Fenix 3 มาทดลองใช้งานในแง่ของการบันทึกข้อมูลการออกกำลังกาย และมองว่าเป็นหนึ่งในนาฬิกาที่เหมาะกับผู้ที่ชื่นชอบการออกกำลังกายแบบสมบุกสมบันมากที่สุด ล่าสุดทางการ์มินได้มีการเพิ่มฟังก์ชันวัดอัตราการเต้นของหัวใจใส่เพิ่มเข้ามาก็ได้ส่งมาให้ลองใช้งานกันอีกครั้งหนึ่ง พร้อมพัฒนาการที่เพิ่มขึ้นของตัวแอปพลิเคชันที่แสดงผลจึงได้นำกลับมารีวิวกันอีกรอบหนึ่ง

Garmin Fenix 3 HR ในส่วนของรูปแบบการใช้งานจริงๆ แทบไม่แตกต่างจากในรุ่นของ Fenix 3 ก่อนหน้านี้ แต่การที่เพิ่มระบบวัดอัตราการเต้นของหัวใจเข้ามา ถือว่าช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานค่อนข้างมาก เพราะจากเดิมผู้ใช้จำเป็นต้องเชื่อมต่อนาฬิกาเข้ากับอุปกรณ์วัดชีพจรอย่างสายรัดหน้าอกเพิ่มเติม แต่พอใส่เซ็นเซอร์วัดชีพจรเข้ามาก็ไม่จำเป็นอีกต่อไป

การออกแบบ

IMG_5112

ในแง่ของการออกแบบตัวเครื่อง Fenix 3 HR แทบไม่มีความแตกต่างจาก Fenix 3 ก่อนหน้านี้ เรียกได้ว่าถ้าดูกันที่ตัวเรือนนาฬิกาภายนอก แทบจะแยกระหว่างทั้ง 2 เครื่องออกจากกันไม่ได้ เพราะจุดต่างเดียวจะอยู่ที่เซ็นเซอร์ด้านหลังตัวเรือนนาฬิกาเท่านั้น โดยขนาดของตัวเรือนนาฬิกาจะอยู่ที่ 51.5 x 51.5 x 16 มิลลิเมตร น้ำหนัก 86.1 กรัม ตอนนี้มีวางจำหน่ายเพียงสีดำสีเดียว

ด้านหน้าตัวเรือนจะมากับจอแสดงผล Garmin Chroma Display ขนาด 1.2 นิ้ว ความละเอียด 218 x 218 พิกเซล ไม่รองรับการสัมผัส ที่สามารถมองจอได้ชัดแม้อยู่กลางแสงแดด กับเลนส์ที่เป็นแซฟไฟร์ เพิ่มความแข็งแกร่งของนาฬิกา ให้เหมาะกับการเป็นนาฬิกาสำหรับนักไตรกีฬา หรือผู้ที่ชื่นชอบกีฬาสมบุกสมบันมากยิ่งขึ้น

IMG_5115IMG_5114

ปุ่มควบคุมรอบตัวเครื่องยังประกอบด้วย 5 ปุ่มหลักเช่นเดิม ไล่จากฝั่งซ้ายมีด้วยกัน 3 ปุ่มคือ ปุ่มเปิด-ปิดเครื่อง (กดค้าง) และปุ่มเปิดไฟแสดงผล ที่อยู่ซ้ายบน ถัดลงมาตรงกลางเมื่อกดค้างจะเรียกเมนูรวมขึ้นมา และใช้เป็นปุ่มเลื่อนขึ้น ส่วนปุ่มซ้ายล่างไว้กดเลื่อนลง ขณะที่ทางขวาตัวเรือนจะมี 2 ปุ่มคือ ปุ่มตกลง (เริ่มออกกำลังกาย) และปุ่มย้อนกลับ

IMG_5116

ด้านหลังตัวเรือนจะเห็นเซ็นเซอร์วัดอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ตรงกลางชัดเจน โดยมีแถบเซ็นเซอร์สำหรับชาร์จตัวนาฬิกาอยู่ข้างๆ ภายในจะมีแบตเตอรีขนาด 300 mAh ซึ่งตัวเครื่องจะกันน้ำที่ระดับ 10 ATM ทำให้สามารถใส่ว่ายน้ำเพื่อวัดสโตรกแขนขณะว่ายน้ำได้ด้วย

สเปก

ตัวนาฬิกาจะมาพร้อมกับระบบการเชื่อมต่อที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Wi-Fi บลูทูธ 4.0 ในการเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน มีการบรรจุระบบระบุพิกัด (GPS) ไว้ด้วย พร้อมกับเซ็นเซอร์วัดอัตราการเต้นของหัวใจ (HR) บาโรมิเตอร์ และเข็มทิศ เพื่อให้สามรถเป็นสมาร์ทวอชที่ใส่ใช้งานได้แบบ 24/7

ในส่วนของแบตเตอรี ทางการ์มินเคลมไว้ว่า 300 mAh ที่ให้มา สามารถใช้งานได้ต่อเนื่อง 40 ชั่วโมง ในโหมด UltraTrac และลดเหลือ 16 ชั่วโมงถ้ามีการบันทึกพิกัดด้วย และใช้งานได้ต่อเนื่อง 2 สัปดาห์กรณีที่ใช้งานเป็นสมาร์ทวอชทั่วๆไป สำหรับการเก็บข้อมูลภายในจะมีพื้นที่เก็บข้อมูลอยู่ 32 MB สามารถเก็บแผนที่ เส้นทางการออกกำลังกาย และบันทึกกิจกรรมต่างๆได้ต่อเนื่อง 100 ชั่วโมง

ฟีเจอร์เด่น

ในแง่ของการใช้งาน Garmin Fenix 3 HR จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆด้วยกัน คือการใช้เป็นนาฬิกาเพื่อบันทึกกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนก้าว การนอน การออกกำลังกาย ซึ่งในส่วนของการนับก้าว วัดการนอน ถือว่าเป็นข้อมูลพื้นฐานของนาฬิกาเพื่อสุขภาพในปัจจุบันไปแล้ว การที่ Fenix 3 HR เพิ่มเซ็นเซอร์การวัดอัตราการเต้นของหัวใจมาก็จะช่วยให้สามารถคำนวน rHR ขณะนอนได้ง่ายขึ้นเพิ่มมาจากเดิม

ในขณะที่เป็นฟังก์ชันของการออกกำลังกาย ที่ถือเป็นจุดเด่นหลักของ Fenix 3 HR คือการบันทึกข้อมูลระหว่างการออกกำลังโดยใช้เซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว ผสมกับระบบจีพีเอส การบันทึกข้อมูลการเต้นของหัวใจ (ยกเว้นกีฬาว่ายน้ำไม่สามารถใช้งานได้) เซ็นเซอร์วัดความสูงด้วยความกดดันของบรรยากาศ มาช่วยบันทึกข้อมูลต่างๆ ก่อนแสดงผลอย่างง่ายบนหน้าจอ และเข้าไปดูแบบละเอียดได้ผ่านแอปพลิเคชัน

ยกตัวอย่างในการใช้เพื่อการวิ่ง หลังจากกดเริ่มวิ่งตัวเครื่องจะทำการจับอัตราการเต้นของหัวใจ พร้อมกับเปิดใช้งานจีพีเอสเพื่อระบุตำแหน่ง เมื่อสัญลักษณ์บนหน้าจอพร้อมแล้วผู้ใช้ก็สามารถออกวิ่งได้ทันที โดยจะมีการแสดงผลระยะเวลาการวิ่ง ระยะทาง Pace อัตราการเต้นของหัวใจ พร้อมระบุโซน สามารถกดบันทึกรอบการวิ่งได้ ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วก็จะแสดงข้อมูลบนหน้าปัดประมาณนี้

หลังออกกำลังกายเสร็จก็จะมีสรุปกิจกรรมอย่างเช่น ระยะทางที่วิ่งไปทั้งหมด ระยะเวลาที่เคลื่อนไหว Pace (วิ่ง) ความเร็ว (กรณีขี่จักรยาน) สโตรกแบน (ว่ายน้ำ) อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด ค่าเฉลี่ย และระยะเวลาที่ควรพักผ่อนก่อนออกกำลังกายอีกครั้ง (Recovery advisor) ที่จะประเมินจากประวัติของผู้ใช้งานย้อนหลังร่วมด้วย

แน่นอนว่าสำหรับนักวิ่งมืออาชีพใน Fenix 3 HR จะมีระบบกำหนดเส้นทางวิ่ง หรือขี่จักรยาน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการแช่งขัน ให้สามารถทำสถิติได้ดีกว่าเดิม รวมถึงการใช้งานมัลติสปอร์ตสำหรับการออกกำลังกายหลายชนิดร่วมกัน หรือโหมดการฝึกซ้อม (Interval) มาให้ใช้งานด้วย ดังนั้นจึงถือเป็นนาฬิกาที่เหมาะสำหรับมืออาชีพเป็นอย่างมาก

ในส่วนของเซ็นเซอร์วัดอัตราการเต้นของหัวใจ เมื่อใส่ใช้งานในชีวิตประจำวันก็จะมีการบันทึกข้อมูลตลอดเวลา ไม่ใช่เฉพาะตอนที่ออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว เพื่อเก็บเป็นข้อมูลเพื่อแสดงผลย้อนหลังได้ แต่อย่างที่กล่าวไปว่าตัววัด HR ไม่สามารถใช้ร่วมกับกีฬาว่ายน้ำได้ ดังนั้นถ้าต้องการวัดด้วยก็อาจจะต้องทำการเชื่อมต่อสายรัดอกที่ไว้วัดสำหรับว่ายน้ำโดยเฉพาะเพิ่มเติมเข้าไป

อีกส่วนนอกเหนือไปจากการใช้สำหรับบันทึกข้อมูลแล้ว Fenix 3 HR ยังถูกพัฒนามาให้เป็นสมาร์ทวอทช์ (Smart Watch) ด้วย โดยเมื่อตัวเครื่องทำการเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนผ่านแอปพลิเคชัน Garmin Connect แล้ว เวลามีการแจ้งเตือนเกิดขึ้นก็จะแสดงผลบนหน้าปัดนาฬิกาด้วย ที่สำคัญคือรองรับการแสดงผลภาษาไทย ทำให้ไม่ต้องกังวลเวลามีข้อความแชตหรืออีเมลที่เป็นภาษาไทยส่งมาแล้วจะอ่านไม่ได้

เชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนผ่าน Garmin Connect

s01

สำหรับการแสดงผลในส่วนของแอปพลิเคชัน Garmin Connect ในหน้าจอหลักจะมีแสดงข้อมูลจำนวนก้าว และเวลาที่นอนเป็นหลัก นอกเหนือจากนี้ก็จะเป็นช่องทางในการเข้าถึงแอปต่อเชื่อมอื่นๆ โดยสามารถเลื่อนซ้ายขวา เพื่อเข้าไปดูรายละเอียดของการออกกำลังกายแต่ละประเภทได้

ในส่วนของการตั้งค่าเพิ่มเติมสามารถเข้าไปดูรายละเอียดแบบเจาะลึก การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เสริมอื่นๆ เข้าไปดูกิจกรรมออกกำลังกายของเพื่อน ที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ชื่นชอบกีฬากอล์ฟสามารถเข้าไปดาวน์โหลดแผนที่สนามมาใช้เพิ่มเติมได้ รวมถึงการเข้าไปใน Connect IQ Store เพื่อจะดาวน์โหลดวิตเจ็ต และแอปพลิเคชันที่มาใช้บนนาฬิกาเพิ่มเติม

s02

วิตเจ็ตที่ใส่มาให้ก็จะมีการแสดงผลข้อมูลอย่างอุณหภูมิ สภาพอากาศ การแจ้งเตือน การวัดอัตราการเต้นของหัวใจ รายละเอียดในแต่ละวัน โดยสามารถเพิ่มในส่วนของตัวควบคุมเพลง และเข็มทิศเข้าไปบนนาฬิกาได้ หรือจะเลือกเข้าไปดาวน์โหลดวิตเจ็ตเพิ่มเติมได้จากในสโตร์

ส่วนของแอปพลิเคชันจะเป็นการจัดเรียงประเภทของกีฬาที่มีให้เลือกตั้งแต่สกี ปีนเขา ไต่เขา วิ่ง วิ่งเทรล วิ่งบนลู่ ขี่จักรยาน ขี่จักรยานบนเครื่อง ว่ายน้ำ พาย ไตรกีฬา กอล์ฟ หรือจะเป็นแอปพลิเคชันอื่นๆอย่าง การสั่งค้นหาสมาร์ทโฟน ซึ่งบนสโตร์ก็จะมีให้ดาวน์โหลดแอปมาใช้งานเพิ่มเติมด้วยเช่นเดียวกัน

s03

สุดท้ายในส่วนของการแสดงรายละเอียดการออกกำลัง เมื่อกดเข้าไปดูจะบอกหลักๆคือ ระยะเวลาที่ออกกำลัง ระยะทาง และจำนวนแคลอรี่ที่เผาผลานไป อย่างกรณีวิ่งก็จะมีเวลา Pace ให้ แต่ถ้าเป็นขี่จักรยานก็จะเป็นความเร็วเฉลี่ย พร้อมกับการแสดงเส้นทางที่ออกกำลัง และสภาพอากาศ

เมื่อกดเข้าไปดูรายละเอียดมากยิ่งขึ้นก็จะมีแสดงผลทั้งอัตราเฉลี่ยของ Pace ความเร็ว เวลาที่เคลื่อนไหว อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด และเฉลี่ย ความเร็วของรอบขา ซึ่งสามารถแสดงผลเป็นกราฟให้ดูได้ แน่นอนว่าข้อมูลเหล่านี้สามารถเชื่อมต่อไปยังแอปพลิเคชันเฉพาะทางอย่าง Strava ได้ด้วย ทำให้เข้าถึงกลุ่มผู้ใช้งานได้กว้างขึ้นอีก

สรุป

โดยรวมแล้ว Garmin Fenix 3 HR ถือว่ามีจุดที่พัฒนามาเพื่อเพิ่มความสะดวกในการใช้งานในการเป็นนาฬิกาสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการออกกำลังกายแบบสมบุกสมบัน พร้อมลุยไปทุกที่ ที่เพิ่มความพิเศษจากรุ่นเดิมคือเซ็นเซอร์วัดอัตราการเต้นของหัวใจ ทำให้ไม่ต้องใช้งานร่วมกับสายคาดอกที่บางคนอาจจะไม่สะดวกในการใส่ใช้งาน

อย่างไรก็ตามความแม่นยำเมื่อเทียบระหว่างเซ็นเซอร์และสายคาดอก สายคาดอกที่ถูกออกแบบมาเฉพาะจะให้ความแม่นยำได้สูงกว่า แต่ถ้าไม่ได้ซีเรียสกับอัตราการเต้นของหัวใจมากขนาดนั้น แค่นำมาใช้ดูเป็นข้อมูลขณะออกกำลังกาย Fenix 3 HR ก็จะเข้ามาช่วยตอบโจทย์ในกลุ่มนี้

อย่างไรก็ตามด้วยระดับราคาของ Fenix 3 HR ที่ 23,400 บาท อาจจะค่อนข้างสูงไปสักหน่อยสำหรับผู้ที่เริ่มต้นออกกำลังกาย แต่ถ้าเป็นผู้ที่ลงทุนในการเก็บข้อมูลการออกกำลังกายแล้ว ไม่ได้ถือเป็นราคาที่สูงไปเลยเมื่อเทียบกับประโยชน์ในการใช้สอย ที่ครบเครื่องมากที่สุดในการเป็นทั้งสมาร์ทวอช และนาฬิกาออกกำลังกาย

ข้อดี

นาฬิกาสำหรับการออกกำลังกายสมาร์ทวอชสมบูรณ์แบบ

มาพร้อมเซ็นเซอร์วัดอัตราการเต้นของหัวใจ

รองรับการแจ้งเตือนเป็นภาษาไทย

ข้อสังเกต

ระดับราคาค่อนข้างสูง เหมาะกับคนที่ชื่นชอบไตรกีฬาเป็นหลัก

ขนาดค่อนข้างใหญ่ เหมาะกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง

Gallery

]]>
Review : Garmin Forerunner 235 นาฬิกาคู่มือนักวิ่ง https://cyberbiz.mgronline.com/review-garmin-forerunner-235/ Mon, 29 Feb 2016 08:18:17 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=21781

IMG_2400

ด้วยแผนการตลาดที่ชัดเจนของการ์มินในการเข้าถึงกลุ่มผู้ออกกำลังกาย ทำให้ช่วงที่ผ่านมาผลิตภัณฑ์ของการ์มินได้รับความนิยมเป็นอย่างมากทั้งผู้ที่ออกกำลังกายเป็นอาชีพ รวมถึงกลุ่มผู้ใช้ที่ชื่นชอบการออกกำลังกาย และต้องการข้อมูลมาเพื่อดูพัฒนาการ ดูแลสุขภาพ การฝึก และความปลอดภัยในการออกกำลังกาย

เพราะปัจจุบัน จะเห็นได้ว่ามีการออกกำลังกายที่หนักจนเกินไปจนถึงขั้นทำให้เสียชีวิต ดังนั้นการที่มีนาฬิกาวัดอัตราการเต้นของหัวใจมาช่วยก็จะทำให้ผู้ใช้ระมัดระวังในการออกกำลังกายมากขึ้น แถมด้วยการบันทึกพิกัดข้อมูลการออกกำลังกาย มีโปรแกรมฝึกซ้อมมาให้ใช้งาน ทำให้ผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Forerunner ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามปริมาณนักวิ่งที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน

สำหรับ Forerunner 235 ถือเป็นนาฬิกาสำหรับนักวิ่งที่มาพร้อมกับระบบวัดอัตราการเต้นของหัวใจที่ตัวเรือน รุ่นที่ 2 ของทางการ์มินต่อจาก Forerunner 225 ที่ออกมาทำตลาดในช่วงปีที่ผ่านมา ชูจุดเด่นนอกเหนือจากเรื่องของการออกกำลังกายแล้วก็คือการแจ้งเตือนจากสมาร์ทโฟนที่รองรับภาษาไทยด้วย

การออกแบบ

IMG_2440

ด้วยการที่เป็นนาฬิกาสำหรับนักวิ่งโดยเฉพาะทำให้การออกแบบของ Forerunner 235 ยังคงเน้นไปที่ความเบาในการใส่ใช้งาน พร้อมกับปุ่มกดที่สามารถสั่งงานได้ขณะวิ่ง พร้อมกับหน้าจอขนาดใหญ่ที่สามารถแสดงผลอัตราการเต้นของหัวใจได้ชัดเจน โดยขนาดหน้าปัดจะอยู่ที่ 45 x 45 x 11.7 มิลลิเมตร น้ำหนัก 42 กรัม วางจำหน่ายด้วยกันทั้งหมด 3 สี คือ เทา แดง และเหลือง

IMG_2427

ตัวหน้าจอจะมีขนาด 1.23 นิ้ว ความละเอียด 215 x 180 พิกเซล โดยเป็นหน้าจอสี ผู้ใช้สามารถเข้าไปเลือกเปลี่ยนหน้าปัดได้จากในแอปพลิเคชัน โดยรอบหน้าจอจะมีสัญลักษณ์ต่างๆประกอบไปด้วย โลโก้ การ์มิน อยู่ที่ส่วนบน ขณะที่ฝั่งซ้ายจะมีสัญลักษณ์ ไฟ และลูกศรขึ้นลง ด้านขวาเป็นสัญลักษณ์ วิ่ง และย้อนกลับ

IMG_2434IMG_2435

รอบตัวเครื่องจะมีปุ่มกดต่างๆ ตามสัญลักษณ์ที่แสดงอยู่บนหน้าจอ แต่ทั้งนี้ที่ปุ่มก็จะมีสัญลักษณ์เพิ่มเติมอย่าง ปุ่มซ้ายบนที่เมื่อกดค้างจะเป็นการเปิดปิดตัวเครื่อง ซ้ายกลาง ใช้กดค้างเพื่อเข้าหน้าเมนูควบคุมเพลง ตั้งนาฬิกา และล็อกหน้าจอ ส่วนปุ่มขวาก็จะไว้เลือก และย้อนกลับตามปกติ

IMG_2429

หลังตัวเรือนจะมีเซ็นเซอร์วัดอัตราการเต้นของหัวใจ พร้อมกับสัญลักษณ์มาตรฐานต่างๆ โดยจะมีเซ็นเซอร์ที่ไว้ใช้ชาร์จแบตอยู่ทางซ้าย ซึ่งจะใช้ร่วมกับสายเฉพาะที่แถมมาให้ภายในกล่อง

IMG_2423

ทั้งนี้ ภายในกล่องนอกจากจะมีตัวเรือน และสายชาร์จแล้ว ก็จะมีคู่มือการใช้งาน พร้อมกับสายสีดำ และไขควงสำหรับเปลี่ยนสาย

สเปก

IMG_2401

สำหรับสเปกคร่าวๆของ Forerunner คือตัวเครื่องป้องกันน้ำระดับ 5 ATM (50 เมตร) ภายในมีระบบระบุพิกัด (GPS) พร้อมกับเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว และวัดอัตราการเต้นของหัวใจ สามารถใช้วัดการออกกำลังกายได้ต่อเนื่อง 11 ชั่วโมง และถ้าใช้งานในชีวิตประจำวันทั่วๆไปจะอยู่ที่ราว 9 วัน

ฟีเจอร์เด่น

แน่นอนว่าฟังก์ชันหลักของ Forerunner 235 ถูกออกแบบมาให้ใช้กับการวิ่งเป็นหลัก โดยผู้ใช้สามารถกดบันทึกการวิ่งได้ง่ายๆด้วยปุ่มขวาบน กดปุ่มขึ้นเพื่อเลือกกิจกรรมที่ต้องการ (มีให้เลือกทั้งวิ่ง วิ่งบนลู่ ขี่จักรยาน และอื่น) หลังจากนั้นก็สามารถเริ่มออกกำลังได้ทันที 

s07s08ที่สำคัญคือผู้ใช้สามารถเลือกปรับหน้าจอการแสดงผลได้ว่าจะให้แสดงระยะทาง เวลา Pace วัดรอบ ระยะทางต่อรอบ ดูอัตราการเต้นของหัวใจ พร้อมระบุโซน (สามารถเข้าไปตั้งโซนได้จากภายในแอปฯ) ที่สำคัญคือสามารถวัดรอบขาในการวิ่งได้ ซึ่งข้อมูลทั้งหมดสามารถเข้าไปดูรายละเอียดย้อนหลังผ่านแอปพลิเคชันได้

s03s01s02ถัดมาก็คือฟังก์ชันอย่างการฝึกฝน (Training) ที่ผู้ใช้สามารถเข้าไปเลือกตารางการออกกำลังได้จากในเว็บ โดยสามารถค้นหาเส้นทางที่มีการบันทึกไว้ อย่างสถานที่วิ่งหรือขี่ต่างๆได้ หรือจะไปเลือกโปรแกรมในการฝึกฝน ที่จะมีทั้งโปรแกรมระดับเริ่มต้นไปจนถึงสำหรับมืออาชีพ ที่จะระบุตารางการฝึกซ้อมไว้อย่างละเอียดมาให้เลือกใช้งาน

แน่นอนว่า ถ้านำ Forerunner ไปใช้งานกับกีฬาประเภทอื่นๆ นอกจากวิ่ง ถ้าเป็นกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหว ก็จะมีการบันทึกการเคลื่อนไหว บันทึกอัตราการเต้นของหัวใจ ถ้านำไปใช้กับการขี่จักรยานก็จะบันทึกเส้นทางที่ปั่นเพื่อนำไปแสดงผลบนแผนที่ได้เช่นเดียวกัน และยังสามารถใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์เสริมอื่นๆอย่างตัววัดรอบขาจักรยาน และกำลังได้ (Power Meter)

IMG_2439

จุดเด่นอีกจุดในการวัดอัตราการเต้นของหัวใจของ Forerunner 235 คือมีระบบส่งอัตราการเต้นของหัวใจไปแสดงผลบนอุปกรณ์อื่นๆที่เชื่อมต่อกัน อย่างกรณีที่ใช้ในการปั่นจักรยาน ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อตัว Forerunner 235 เข้ากับไมล์ Garmin EDGE เพื่อแสดงผลอัตราการเต้นของหัวใจบนหน้าจอที่ติดตั้งไว้บนแฮนด์จักรยานได้ทันที ไม่จำเป็นต้องยกข้อมือขึ้นมาดูที่ตัวนาฬิกา

อีกจุดที่น่าสนใจคือเมื่อออกกำลังกายเสร็จ ตัวแอปจะทำการคำนวนว่า จากกิจกรรมที่ผ่านมาควรใช้ระยะเวลาในการพักผ่อนเท่าไหร่ เพื่อให้ร่างกายสมบูรณ์ที่สุดก่อนออกกำลังกายครั้งต่อไป ออกมาเป็นจำนวนชั่วโมงที่ต้องพักผ่อนไว้ด้วย

s05

ฟังก์ชันต่างๆเหล่านี้จะถูกออกแบบมาให้ใช้ไปกับการออกกำลังกายเป็นหลัก แต่ Forerunner 235 ก็จะมีความสามารถอื่นๆเพิ่มเติม เพราะตัวนาฬิกาสามารถเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนผ่านแอปพลิเคชัน Connect IQ ได้ ทำให้ผู้ใช้สามารถส่งการแจ้งเตือนต่างๆจากสมาร์ทโฟนมาแสดงผลบนนาฬิกาได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นการแสดงผลสายเรียกเข้า ข้อความ อีเมล โซเชียลมีเดียต่างๆ ที่สำคัญคือรองรับการแสดงผลภาษาไทยด้วย

นอกจากนี้ ก็ยังสามารถเข้าไปเลือกปรับหน้าจอ (โหลดเพิ่มเติมได้ภายในแอปฯ) ใช้ควบคุมเครื่องเล่นเพลง แสดงพยากรณ์อากาศ ตารางนัดหมายได้ รวมถึงการเข้าไปดาวน์โหลดวิตเจ็ตต่างๆเพิ่มเติมมาติดตั้งได้อีก คล้ายๆกับการเป็นสมาร์ทวอทช์เครื่องหนึ่ง

s04s06

ไม่นับรวมไปกับความสามารถพื้นฐานของนาฬิกาจับการเคลื่อนไหว ที่สามารถนับก้าว บันทึกการนอน ระยะทาง แสดงผลปริมาณแคลอรี่ที่เผาผลานไปในแต่ละวัน รวมถึงการแสดงอัตราการเต้นของหัวใจที่จะมีการบันทึกต่อเนื่องตลอด เพื่อแสดงให้เห็นถึงอัตรการเต้นของหัวใจเป็นกราฟย้อนหลังในช่วง 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา รวมถึง Rest HR ด้วย

สรุป

ถ้าเป็นนักวิ่งที่จริงจังกับการออกกำลังกาย และต้องการอุปกรณ์ที่จะมาช่วยพัฒนาการวิ่ง เชื่อว่า Forerunner 235 ถือเป็นหนึ่งในอุปกรณ์อันดับต้นๆที่ควรมีไว้ เพราะช่วยให้ผู้ใช้สามารถบันทึกการวิ่ง พร้อมกับนำข้อมูลการเต้นของหัวใจ ระยะทาง การลงเท้า รวมถึง VO2MAX มาแสดงผลเพื่อให้ผู้ใช้สามารถปรับตัวให้เหมาะกับการวิ่งที่ดีที่สุด

แต่ไม่ใช่เหมาะกับนักวิ่งเพียงอย่างเดียว เพราะ Forerunner 235 ก็สามารถนำมาใช้งานในชีวิตประจำวันได้ หรือจะนำไปใช้กับการปั่นจักรยาน เพียงแต่จะใช้ความสามารถของนาฬิกาได้ไม่เต็มประสิทธิภาพเท่านั้นเอง เพราะถ้าใช้งานทั่วๆไปการ์มินก็จะมีผลิตภัณฑ์อื่นที่ตอบโจทย์ได้มากกว่า

ข้อดี

นาฬิกาวัดสำหรับนักวิ่งวัด HR VO2MAX บันทึกพิกัด กันน้ำได้

มีโปรแกรมฝึกซ้อม พร้อมระบบคำนวนเวลาพักร่าง

วัดรอบขาได้ เหมาะกับการวัดการซ้อมวิ่งกับเครื่อง

รองรับการแจ้งเตือนภาษาไทย

ข้อสังเกต

ราคาค่อนข้างสูง (12,990 บาท)

การซิงค์กับ IQ Connect บางครั้งไม่ค่อยสเถียร และยังมีวิตเจ็ตให้ใช้งานน้อย

Gallery

]]>
Review: Garmin Forerunner 225 นาฬิกาวิ่งจับ HR ได้ https://cyberbiz.mgronline.com/garmin-forerunner/ Tue, 18 Aug 2015 05:32:50 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=18303

558000009215513

หนึ่งในอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับผู้ที่ออกกำลังกายในปัจจุบันคงหนีไม่พ้นอุปกรณ์วัดอัตราการเต้นของหัวใจ เนื่องจากหลังๆจะได้เห็นข่าวผู้ที่ออกกำลังกายอย่างหักโหมเกินไปจนถึงขั้นเสียชีวิตกันมากขึ้น ดังนั้นการที่จะได้รู้ข้อมูลการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกาย จะถือเป็นตัวช่วยที่สำคัญในการออกกำลังกาย

ก่อนหน้านี้การ์มินเคยออกอุปกรณ์ที่เป็นนาฬิกาสำหรับนักวิ่งมากแล้ว เพียงแต่ว่าในการใช้งานฟังก์ชันอย่างการวัดอัตราการเต้นของหัวใจจะต้องทำการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เสริมอื่นๆ อย่างสายคาดอกที่ไว้วัดการเต้นของหัวใจโดยเฉพาะ

แต่ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันที่สามารถนำเซ็นเซอร์วัดอัตราการเต้นมาไว้ภายในนาฬิกาได้แล้ว ทำให้ Garmin Forerunner 225 กลายเป็นนาฬิกาสำหรับนักวิ่งที่ถือเป็นรุ่นแรกๆในตลาดที่มาพร้อมกับการวัดอัตราการเต้นของหัวใจ เพื่อบอกโซนต่างๆ

การออกแบบและสเปก

558000009215514

ด้วยการที่ออกแบบมาให้เป็นนาฬิกาที่เกือบจะกึ่งสมบุกสมบัน ทำให้ตัวเรือนของนาฬิกาจะดูแล้วแข็งแรง โดยมีขนาดรอบตัวเครื่องอยู่ที่ 287 x 48 x 16 มิลลิเมตร น้ำหนักประมาณ 54 กรัม เพื่อให้สวมใส่สบาย ไม่รู้สึกเกะกะเวลาใส่ใช้งานในชีวิตประจำวัน

558000009215512

ตัวหน้าจอจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว ความละเอียดหน้าจอ 180 x 180 พิกเซล โดยผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน เพื่อปรับตั้งค่าการแสดงผลต่างๆได้ตามต้องการ

558000009215505558000009215506

รอบตัวเรือนจะมีปุ่มกดด้วยกันทั้งหมด 5 ปุ่ม เริ่มจากฝั่งซ้ายบนเป็นปุ่มเปิดไฟแสดงผลที่หน้าจอ ถัดลงมาเป็นปุ่มเลื่อนขึ้นและลง ส่วนฝั่งขวาจะมีปุ่ม เริ่มวิ่ง (ตกลง) ที่มีสีแดงเด่นชัด รวมถึงใช้ในการปลดล็อกนาฬิกาด้วยการกดปุ่มนี้ 2 ครั้งด้วย ส่วนอีกปุ่มไว้สำหรับกดย้อนกลับ

558000009215503

ด้านหลังตัวเรือนจะมียางหุ่มบริเวณตัวเรือนเพื่อให้สามารถปิดกั้นแสงที่จะส่งผลกระทบต่อเซ็นเซอร์วัดอัตราการเต้นของหัวใจ พร้อมกับข้อความระบุรายละเอียดต่างๆ ที่สำคัญคือตัวเครื่องกันน้ำได้ลึก 50 เมตร (5ATM)

สำหรับแบตเตอรีที่ติดตั้งมาภายในจะเป็น Li-ion ที่การ์มินระบุว่าสามารถใช้งานในโหมดนาฬิกาได้ต่อเนื่อง 4 สัปดาห์ และใช้งานในโหมดบันทึกการออกำลังกายที่วัดทั้งการเต้นหัวใจ และบันทึกพิกัด (GPS) ได้ต่อเนื่อง 10 ชั่วโมง โดยใช้การเชื่อมต่อทางบลูทูธกับสมาร์ทโฟน

ฟีเจอร์เด่น

558000009215515

ถ้าถามถึงฟีเจอร์หลักในการเป็นนาฬิกาของนักวิ่งก็อย่างที่รู้กันว่า ตัวเรือนนาฬิกาจะสามารถใช้ในการบอกระยะเวลาในการวิ่ง บอกระยะทาง ความเร็ว ซึ่งสามารถหาข้อมูลได้จากรีวิว Garmin Forerunner 620 ที่เคยได้รีวิวไว้ เพราะความสามารถหลักเหล่านี้ยังคงอยู่เหมือนเดิม

558000009215509

แต่สิ่งที่เพิ่มขึ้นมาใน Forerunner 225 คือแสดงผลอัตราการเต้นของหัวใจในขณะที่ออกกำลังกาย (Workout) โดยเมื่อกดเข้าสู่โหมดออกกำลังกาย ตัวเซ็นเซอร์ที่นาฬิกาจะเริ่มทำงานเพื่อวัดอัตราการเต้นของหัวใจ มาแสดงผลบนหน้าจอในทันที

558000009215508

สำหรับวิธีการวัดอัตราการเต้นของหัวใจใน Forerunner 225 จะใช้เซ็นเซอร์ออปติคอลเพื่อส่องแสงเข้าไปในผิวของผู้ใช้เพื่อวัดปริมาณแสงที่สะท้อนกลับมาคำนวนการเต้นของหัวใจที่แม่นยำ ในขณะที่การแสดงผลอัตราการเต้นของหัวใจ จะใช้โซนสีในการบอกสถานะ ไล่สีจากเทา ฟ้า เขียว ส้ม และ แดง เพื่อให้ผู้ที่ออกกำลังกายสามารถรับรู้ได้อย่างรวดเร็ว

โดยผู้ใช้สามารถเข้าไปตั้ง โซน ของอัตรการเต้นของหัวใจได้จากหน้าจอการตั้งค่า เพื่อให้ได้ค่าที่ตรงกับผู้ใช้งานมากที่สุด

558000009215516

ที่สำคัญ ภายใน Forerunner 225 ยังมีการติดตั้งมาตรวัดความเร่ง ที่นำมาใช้ในการวัดระยะทางกรณีที่ออกกำลังกายภายในร่ม (วิ่งบนลู่วิ่ง) โดยไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เสริมเพิ่มเติมอย่าง foot pod ทำให้สามารถใช้บันทึกการวิ่งได้ตลอดเวลา

นอกจากนี้ ก็ยังสามารถใช้ในการนับก้าว ติดตามการนอน แจ้งเตือนเมื่อไม่มีการเคลื่อนไหวด้วยระบบสั่นที่ติดตั้งมาภายในเครื่อง ได้อีกด้วย

558000009215517

สุดท้ายคือ การเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนทั้งบนแอนดรอยดื และ iOS สามารถติดตั้งแอปพลิเคชัน Garmin Connect เพื่อใช้ในการแสดงผลการออกกำลังกายได้ทันที รวมถึงการสรุปกิจกรรมต่างๆที่ทำด้วย

อีกจุดที่น่าสนใจคือ ผู้ใช้สามารถซิงค์ข้อมูลการวิ่ง หรือออกกำลังกายต่างๆ ที่บันทึกจากอุปกรณ์ของการ์มิน เข้าไปไว้ในแอปพลิเคชันสำหรับการออกกำลังกายโดยเฉพาะอย่าง Strava หรือ Endomondo ที่มีกลุ่มผู้ใช้งานจำนวนมากก็ได้เช่นเดียวกัน

สรุป

กับราคาค่าตัวที่ 10,900 บาท ถ้าเป็นนักวิ่งที่ใช้งานเป็นประจำ และต้องการอุปกรณ์ที่สามารถบันทึกข้อมูลการวิ่งได้สะดวก และละเอียดกว่าการพกสมาร์ทโฟนเปิดแอปติดตัวไปวิ่ง Foreruner 225 ถือเป็นอุปกรณ์ที่น่าสนใจ ยิ่งนับรวมกับการวัดอัตราการเต้นของหัวใจที่เป็นฟีเจอร์หลักในรุ่นนี้ ก็จะยิ่งช่วยให้การออกกำลังกายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ข้อดี

– นาฬิกาวิ่งพร้อมเซ็นเซอร์วัดอัตราการเต้นของหัวใจ
– กันน้ำลึก 50 เมตร
– ใช้งานร่วมกับแอปเฉพาะอย่าง Strava หรือ Endomondo ได้ทันที

ข้อสังเกต

– ตัวนาฬิกาไม่ได้ซิงค์การแจ้งเตือนกับสมาร์ทโฟนเหมือนใน Fenix
– การจับอัตราการเต้นของหัวใจได้เฉพาะช่วงออกกำลังกายเท่านั้น

[usrlist “การออกแบบ:9” “สเปก/ฟีเจอร์เด่น:9” “ความสามารถโดยรวม:8” “ความคุ้มค่า:8″ avg=”true”]>หลักเกณฑ์การให้คะแนนรีวิว<

Gallery

]]>
Review: Garmin Vivo Smart อีกหนึ่งสายรัดข้อมือสารพัดประโยชน์ https://cyberbiz.mgronline.com/review-garmin-vivo/ Tue, 06 Jan 2015 09:53:52 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=17737

558000000167303

หลังจากได้รับการตอบรับจากตลาด Wearable Device ในส่วนของอุปกรณ์ตรวจจับการเคลื่อนไหวใน Garmin Vivo Fit ไปแล้ว การ์มิน ก็ไม่รอช้าที่จะนำผลิตภัณฑ์ที่นำเสียงตอบรับจาก Vivo Fit ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ในกลุ่มเดียวกันอย่าง Vivo Smart

จุดเด่นของ Vivo Smart ยังคงเป็นเช่นเดียวกับ Vivo Fit คือ กันน้ำ ทำให้ผู้ใช้สามารถใส่ใช้งานติดตัวได้ตลอดเวลา แม้ขณะว่ายน้ำ แตกต่างจากอุปกรณ์ชนิดเดียวกันของแบรนด์อื่นๆในท้องตลาดที่ส่วนใหญ่จะไม่สามารถกันน้ำได้

เท่านั้นยังไม่พอ Vivo Smart ยังเพิ่มความสามารถในการแสดงผลการแจ้งเตือนต่างๆจากสมาร์ทโฟน ที่ซิงค์อยู่มายังข้อมือได้ทันที เพื่อเปิดอ่านข้อความ อีเมล หรือดูว่ามีสายเรียกเข้าจากใคร รวมถึงใช้เป็นรีโมทควบคุมเครื่องเล่นมัลติมีเดีย และแสดงผลอื่นๆได้ด้วย แต่ก็มีข้อที่ทำได้ไม่ดีเท่า Vivo Fit คือเรื่องของแบตเตอรี ที่จากเดิมใช้งานได้เป็นปี กลับต้องเปลี่ยนมาชาร์จทุกๆ 5-7 วัน

การออกแบบและสเปก

558000000167307

เนื่องด้วยเป็นผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อใส่ติดไว้ที่ข้อมือตลอดเวลา จึงมีการออกแบบให้เหมือนสายคาดพลาสติกสีดำเรียบๆ ไม่มีลวดลายมากนัก ซึ่งในเวลาปกติที่ไม่ใช้งานหน้าจอก็จะไม่มีการแสดงผลอะไรเลย ทำให้ดูเหมือนใส่สายรัดข้อมือเฉยๆ

แต่ก็ไม่ใช่ว่าการ์มินจะไม่คำนึงถึงด้านแฟชันเลย เพราะลวดลายของสายจริงๆจะอยู่ภายในที่มีให้เลือกด้วยกันหลายสีทั้ง ชมพู ม่วง ฟ้า เทา และดำ มีให้เลือกด้วยกัน 2 ขนาด คือ เล็ก (127 – 172 มม.) น้ำหนัก 18.7 กรัม และใหญ่ (155 – 221 มม.) น้ำหนัก 19 กรัม

มาดูกันที่หน้าจอแสดงผล จะมีขนาด 1.35 นิ้ว x 0.14 นิ้ว (34.4 x 3.5 มม.) ความละเอียด 128 x 16 พิกเซล โดยเป็นจอแบบ OLED ทำให้สามารถแสดงผลในเวลากลางคืนได้ ไม่เหมือนกับ Vivo Fit ที่ไม่สามารถดูในเวลากลางคืนได้

ในส่วนของตัวล็อก จะมีล็อกเป็น 2 ชั้น กล่าวคือ มีทั้งล็อกจากที่ปลายสาย และอีกจุดหนึ่งคือที่ล็อกสายที่ภายในจะมีตุ่มล็อกกับช่องเพื่อขยับสายเพื่อให้รัดเข้ากับข้อมือได้พอดีที่สุด ที่สำคัญคือสามารถใส่ได้ด้วยมือข้างเดียว ไม่ลำบากจนเกินไป

558000000167310

เมื่อหงายบริเวณจอแสดงผลขึ้นมาดูข้างหลัง ก็จะมีตัวอักษรระบุชื่อรุ่น Vivo Smart สัญลักษณ์การเชื่อมต่อบลูทูธ รองรับการเชื่อมต่อแบบ ANT+ และมาตรฐานต่างๆ พร้อมกับจุดที่เป็นตัวเชื่อมกับหัวของสายชาร์จ

558000000167312

โดยในการชาร์จจะใช้หัวของสายชาร์จหนีบเข้าไปที่ตัว Vivo Smart ถ้าข้อต่อสัมผัสกันบนหน้าจอก็จะขึ้นว่า ‘Entering Charge Mode’ โดยสามารถใช้กับอะแดปเตอร์ที่เป็นพอร์ตยูเอสบีทั่วไป หรือจะเสียบชาร์จกับคอมพิวเตอร์ก็ได้เช่นเดียวกัน

ฟีเจอร์เด่น

อย่างที่เกริ่นไปแต่ต้นว่า Vivo Smart ถือเป็นรุ่นที่ต่อยอดของ Vivo Fit จึงทำให้ยกความสามารถต่างๆของ Fit มาหมด ไม่ว่าจะเป็นการนับก้าวเดิน ตั้งเป้าหมายการเดินในแต่ละวัน วัดระยะทาง ปริมาณแคลอรีที่เผาผลานไป ตรวจสอบการเคลื่อนไหว (เตือนเมื่อไม่มีการเคลื่อนไหวในระยะเวลาหนึ่ง) บันทึกการนอน และการเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชัน Garmin Connect บนสมาร์ทโฟน

ดังนั้น มาดูกันถึงความสามารถที่เพิ่มมาของ Vivo Smart กันบ้าง เริ่มกันจากตัว Smart Notification โดยเมื่อทำการเชื่อมต่อ Vivo Smart เข้ากับสมาร์ทโฟนแล้ว ตัว Smart ก็จะทำหน้าที่แจ้งเตือนข้อมูลต่างๆจากสมาร์ทโฟน เข้ามายังข้อมือทันที ไม่ว่าจะเป็นสายเรียกเข้า ข้อความ อีเมล รวมไปถึงการแจ้งเตือนจากโซเชียลเน็ตเวิร์กด้วย

ถัดมา เนื่องจากในตัว Smart รองรับการเชื่อมต่อ ANT+ ทำให้สามารถใช้การเชื่อมต่อคู่กับสมาร์ทโฟน เพื่อแสดงผลอัตราการเต้นของหัวใจ และจะรวมไปถึงประโยชน์จากการใช้อุปกรณ์ออกกำลังกายอื่นๆ อย่างการวัดรอบขา การวัดความเร็วการปั่นจักรยาน จากอุปกรณ์ของการ์ฒิน ก็สามารถนำมาแสดงผลได้

นอกจากนี้ ก็ยังมีความสามารถอย่างการใช้เป็นรีโมทควบคุมเครื่องเล่นเพลง สำหรับผู้ที่ใช้ควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย ก็ไม่ต้องหยิบสมาร์ทโฟนขึ้นมา แต่สามารถสัมผัสเพื่อเปลี่ยนเพลงจากข้อมือได้ทันที หรือ การใช้ร่วมกับกล้อง VIRB ที่ใช้ Vivo Smart เป็นตัวควบคุมได้เช่นเดียวกัน

558000000167314

มาถึงในส่วนของวิธีการใช้งาน Vivo Smart สามารถแตะเรียกการแสดงผลหน้าจอด้วยการสัมผัสที่หน้าจอ 2 ที หรือสามารถเข้าไปตั้งได้ว่าให้หน้าจอติดอัตโนมัติเมื่อยกแขนขึ้นมาดูเวลา โดยใช้หลักการปาดเลื่อนซ้าย-ขวา เพื่อสลับหน้าจอแสดงผล ตั้งแต่เวลา การแจ้งเตือน ปุ่มควบคุมเครื่องเล่น ระยะทาง แคลรอรี ก้าวเดิน และเป้าหมาย

 

558000000167315

อีกส่วนหนึ่งคือเข้าไปสู่หน้าการตั้งค่า ด้วยการสัมผัสค้างที่หน้าจอ เพื่อเข้าไปเลือกโหมดการใช้งานว่า จะให้จับการออกกำลัง โหมดการนอน ตั้งความสว่างหน้าจอ ตั้งค่าการแจ้งเตือน ระบบการค้นหาโทรศัพท์ การซิงค์ข้อมูล การเชื่อมต่อบลูทูธ ตั้งเวลา (เลือกตั้งเองหรือให้ซิงค์เวลากับมือถือ) และดูรายละเอียดต่างๆ อย่างเฟิร์มแวร์ที่ใช้ สถานะแบตเตอรี

558000000167316

ทีนี้มาดูกันภายใน Garmin Connect ที่เป็นแอปภายในสมาร์ทโฟนบ้าง หลังจากติดตั้งแอป และทำการเชื่อมต่อบลูทูธ เข้ากับตัว Vivo Smart แล้ว ผู้ใช้สามารถเข้าไปดูรายละเอียดของ ปริมาณก้าวเดิน ระยะเวลาการนอน รวมไปถึงกิจกรรมการออกกำลังกายต่างๆ ที่สามารถบันทึกรายละเอียดได้ด้วยตนเองภายในแอปพลิเคชัน

558000000167317

หรือการกดเข้าไปตั้งค่าต่างๆของ Vivo Smart ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการเลือกหน้าจอที่จะให้แสดงผล ตั้งแนวแสดงผล (แนวตั้ง, แนวนอน) เลือกการแสดงผลหน้าแรกสุด และตั้งเวลาให้กลายเป็นนาฬิกาปลุก

สิ่งต่างๆเหล่านี้คือรายละเอียดสำคัญๆของ Vivo Smart ไม่นับไปกับความสามารถอื่นๆอย่างการกันน้ำ ที่ผู้ใช้สามารถใส่แช่น้ำได้ ในขณะที่เมื่อมีการเปลี่ยนรูปแบบการสั่งงานเป็นหน้าจอสัมผัส ส่งผลให้ระยะเวลาการใช้งานต่อเนื่องอยู่ที่ราว 5-7 วัน

ส่วนการเก็บข้อมูล ทางการ์มินระบุว่า ตัว Vivo Smart สามารถบันทึกข้อมูลทั่วไปได้ราว 4 สัปดาห์ แต่ถ้ามีการใช้งานร่วมกับเครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ หรืออุปกรณ์อื่นๆ วันละ 1 ชั่วโมง จะบันทึกข้อมูลได้ราว 3 สัปดาห์

สรุป

ถ้ามองกันที่ความสามารถทั่วไปของ Vivo Smart ต้องยอมรับว่าไม่แตกต่าง Wearable Device ที่เป็น Tracker ตัวอื่นๆมากนัก เพียงแต่จะมีจุดเด่นเพิ่มเข้ามาคือเรื่องของการแสดงผลอุปกรณ์เสริมตัวอื่นๆ อย่างการวัดอัตราการเต้นหัวใจ ความเร็วรอบขาในการปั่นจักรยานเพิ่มเข้ามา เพื่ออำนวจความสะดวกในการใช้งาน

แน่นอนว่าจะคุ้มค่ากับผู้ที่ใช้อุปกรณ์เสริมอื่นๆของการ์มินอยู่แล้ว ที่จะใช้งานร่วมกันภายใต้ Garmin Connect ที่เป็นศูนย์กลางของอุปกรณ์เสริมทุกชนิดของการ์มินในแง่ของการออกกำลังกาย และสุขภาพก็ว่าได้ เพียงแต่ด้วยระดับราคาที่ 6,590 บาท อาจทำให้ตัดสินใจลำบากสักหน่อย กับอุปกรณ์ที่ติดข้อมือตลอดระยะการใช้งานนี้

นอกจากนี้ ด้วยความที่ตัวเครื่องถูกออกแบบมาให้ติดไปกับสาย ทำให้อาจมีปัญหาในกรณีที่สายขาด ไม่สามารถซื้อมาเปลี่ยนใหม่ง่ายๆเหมือนกับ Vivo Fit แต่อาจจะต้องนำเข้าศูนย์บริการเพื่อเปลี่ยนสายใหม่แทน

ข้อดี

– หน้าจอสัมผัส พร้อมการแสดงผลแจ้งเตือนต่างๆ (แต่ยังได้เฉพาะภาษาอังกฤษ)
– ตัวเครื่องสามารถกันน้ำได้ ทำให้สามารถใส่ติดตัวได้ตลอดเวลา
– มีแอปพลิเคชันในการเชื่อมต่อสมาร์ทโฟน และอุปกรณ์เสริมอื่นๆครบ

ข้อสังเกต

– ระยะเวลาการใช้งานต่อเนื่อง 7 วันต่อการชาร์จ 1 ครั้ง
– สีสันต่างๆของสายรัดข้อมือยังเรียบๆ ใช้สีดำเป็นหลัก
– ตัวระบบทำได้แค่แจ้งเตือน แต่ไม่สามารถสั่งงานกลับได้ เช่น ตัดสายเรียกเข้า

[usrlist “การออกแบบ:9” “สเปก/ฟีเจอร์เด่น:9” “ความสามารถโดยรวม:9” “ความคุ้มค่า:9″ avg=”true”]

.

Gallery

]]>