HTC – CBIZ Reviews – MGR Online https://cyberbiz.mgronline.com เว็บไซต์รีวิวอุปกรณ์ ไอที ไฮเทค เป็นส่วนหนึ่งของผู้จัดการออนไลน์ Sun, 25 Jun 2017 07:17:36 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.0 Review : HTC U11 สเปกแรง กล้องดีสุดในตลาด https://cyberbiz.mgronline.com/review-htc-u11/ Wed, 21 Jun 2017 15:46:41 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=26319

แบรนด์ HTC (เอชทีซี) ห่างหายจากตลาดสมาร์ทโฟนทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศไทยไปนานหลายปี กลับมาในปีนี้ HTC เข็นสมาร์ทโฟนตระกูล U-Series บุกตลาดสมาร์ทโฟนแบบพลิกโฉมใหม่หมดตั้งแต่การออกแบบไปถึงซอฟต์แวร์ภายใน โดยในบ้านเราเริ่มทำตลาดไปก่อนหน้าแล้วกับ HTC U Ultra และในวันนี้ก็ถึงคิวของพี่ใหญ่เรือธงตระกูล U กับ “HTC U11” ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อเร็วๆนี้

การออกแบบ

เริ่มจากจอภาพเป็น SuperLCD 5 ขนาด 5.5 นิ้ว ความละเอียด QuadHD 2,560×1,440 พิกเซล ครอบทับด้วยกระจกจอ 3D (ขอบโค้งมนทั้งสองด้าน) Corning Gorilla Glass 5 มาพร้อมปุ่มโฮม-เซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือและ Navigation Buttons แบบทัชเซนเซอร์ติดตั้งอยู่ใต้จอภาพ

ส่วนกล้องหน้ามาพร้อมความละเอียด 16 ล้านพิกเซล รูรับแสงกว้าง f2.0 เป็นเลนส์มุมกว้าง 150 องศา รองรับการถ่ายวิดีโอเซลฟีความละเอียด FullHD 1080p

ด้านหลังถือเป็นจุดขายหลักของ HTC ก็คือวัสดุที่ใช้ผลิตแบบ “Liquid glass surface” ให้ผิวมันวาว เวลาสะท้อนแสงตามมุมต่างๆจะให้สีสันที่แปลกตา หรูหราแบบเดียวกับกระจก โดยจะมีสีให้เลือก 5 สีได้แก่ Amazing Silver (สีเงินออกฟ้า – เครื่องที่ทีมงานนำมาทดสอบในวันนี้) Sapphire Blue (สีน้ำเงิน) Brilliant Black (สีดำ) Ice White (สีขาว) และสุดท้ายสีพิเศษ Solar Red หรีอสีแดง โดยเมื่อสะท้อนกับแสงจะสามารถไล่เฉดสีเป็นสีส้มได้อารมณ์พระอาทิตย์ยามเย็น

แต่มีข้อสังเกตเล็กน้อยในเรื่องพื้นผิวแบบ Liquid glass surface จะค่อนข้างลื่นง่าย โดยเฉพาะการถือถ่ายภาพในแนวนอนทำได้ไม่ค่อยถนัดนัก แนะนำให้ใส่เคสจะดีที่สุดครับ

ในส่วนกล้องถ่ายภาพหลังก็ถือเป็นอีกหนึ่งจุดขายหลักของ HTC U11 เช่นกันเพราะทางผู้ผลิตเลือกปรับปรุงใหม่หมด โดยสเปกกล้องจะใช้เซ็นเซอร์ที่มาพร้อมพิกเซลขนาดใหญ่ถึง 1.4 ไมครอน เลนส์มาพร้อมรูรับแสงกว้าง f1.7 ความละเอียดภาพ 12 ล้านพิกเซล รองรับการถ่ายวิดีโอ 4K ระบบออโต้โฟกัส UltraSpeed Autofocus (คาดว่าใช้ Dual Pixel) และเลนส์กล้องมาพร้อมระบบป้องกันภาพสั่นไหว OIS โดยสเปกกล้องจะคล้ายกับ Samsung Galaxy S8/S8+ แต่ HTC จะเพิ่มส่วนประมวลผลภาพเฉพาะตัวในชื่อ HTC UltraPixel 3 เข้ามาด้วย

มาถึงปุ่มกดและพอร์ตเชื่อมต่อรอบตัวเครื่อง เริ่มจากด้านขวาของเครื่อง ตรงกลางจะเป็นปุ่มเปิดปิด, ปุ่มเพิ่มลดเสียง, เสาสัญญาณโทรศัพท์และบริเวณพื้นที่ว่างด้านล่างจะเป็นส่วนเซ็นเซอร์รับแรงกด (Haptic Sensor) โดย HTC เลือกติดตั้งไว้ทั้งสองข้าง ให้ผู้ใช้สามารถบีบขอบเครื่องเพื่อสั่งให้ระบบ Edge Sense ทำงานได้

ด้านบน เป็นช่องใส่ซิมการ์ดโทรศัพท์แบบ Nano Sim รองรับ 2 ซิมตามสมัยนิยม

ส่วนด้านล่างเป็นช่อง USB-C (USB3.1 Gen1) ไมโครโฟนและช่องลำโพง โดยลำโพงในตัวเครื่อง U11 จะเป็นสเตอริโอใช้ร่วมกับลำโพงโทรศัพท์ด้านบนด้วยเทคโนโลยี HTC BoomSound อันเป็นเอกลักษณ์ของ HTC

และนอกจากนั้นถ้าสังเกตรอบตัวเครื่องให้ดีจะพบว่า HTC U11 ไม่มีช่องเชื่อมต่อหูฟัง 3.5 มิลลิเมตรอีกแล้ว โดยการเชื่อมต่อหูฟังจะต้องทำผ่านพอร์ต USB-C หรือผ่านอะแดปเตอร์แปลง 3.5 มิลลิเมตรเป็น USB-C เท่านั้น (มีแถมมาให้)

สเปก

ด้านสเปก HTC U11 ทุกรุ่นที่จำหน่ายทั่วโลกจะขับเคลื่อนด้วยหน่วยประมวลผลแฟลกชิปรุ่นใหม่ล่าสุดของปีนี้กับ Qualcomm Snapdragon 835 (64-bit) Octa-core ความเร็ว 2.45GHz โดยรุ่นที่ขายในประเทศไทยจะเป็นรุ่นแรมขนาด 6GB พร้อมพื้นที่เก็บข้อมูล 128GB (แต่รุ่นที่ทีมงานได้รับมาทดสอบจะเป็นรุ่นแรม 4GB พร้อมความจุ 64GB) และสามารถเพิ่มความจุด้วยการ์ด MicroSD ได้สูงสุด 2TB (ใช้ร่วมกับถาดใส่ซิมที่ 2) มาพร้อมระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 7.1

ในส่วนสเปกเชื่อมต่อเครือข่าย HTC U11 รองรับ 2G/3G/4G LTE โดย 4G จะรองรับความเร็วระดับ Cat 16 หรือ Gigabit Network 4CA (ในไทยตอนนี้จะวิ่งได้สูงสุด 700 Mbps จาก 3CA 4×4 MIMO 256 QAM) พร้อมรองรับ VoLTE และ WiFi Calling เต็มระบบ

ด้านการเชื่อมต่อ WiFi รองรับมาตรฐาน 802.11 a/b/g/n/ac รองรับ Miracast, NFC, บลูทูธ 4.2 มี GPS – AGPS – GLONASS – Beidou พร้อมแบตเตอรีขนาด 3,000 mAh รองรับมาตรฐานชาร์จไฟเร็ว Quick Charge 3.0 (HTC แถมอะแดปเตอร์มาให้) โดยสามารถชาร์จไฟตั้งแต่ 0-80% ด้วยเวลาเพียงครึ่งชั่วโมงเท่านั้น (ระบบจ่ายไฟได้สูงสุด 12V 1.25A)

ซอฟต์แวร์และฟีเจอร์เด่น

HTC U11 จะมาพร้อมกับแอนดรอยด์ 7.1 Nougat ครอบทับด้วย HTC Sense โดยในรุ่นใหม่นี้ได้รับการออกแบบใหม่หมดตั้งแต่ยูสเซอร์อินเตอร์เฟสที่เรียบง่ายมากขึ้นไปถึงการเลือกติดตั้งแอปพลิเคชันเสริมเฉพาะที่จำเป็นต้องใช้ เช่น Facebook Instagram เครื่อบันทึกเสียง แอปฯจัดการพลังงานและแอปฯตรวจดูสภาพอากาศ เป็นต้น โดยในภาพรวมแล้ว HTC Sense รุ่นติดตั้งมากับ U11 จะมีความลื่นไหลและให้ประสบการณ์การใช้งานที่ดีกว่า Sense ทุกรุ่นที่ผ่านมา

หน้าตาแป้นคีย์บอร์ดภาษาอังกฤษ

หน้าตาแป้นคีย์บอร์ดภาษาไทย

ส่วนคีย์บอร์ด HTC ไม่ได้พัฒนาเองแต่เลือกใช้บริการจาก TouchPal ซึ่งมีข้อดีในเรื่องแป้นคีย์บอร์ดสามารถปรับแต่งได้หลากหลาย แต่ข้อสังเกตสำหรับทีมงานไซเบอร์บิซจะอยู่ในเรื่องการจัดวางตำแหน่งปุ่มที่รู้สึกไม่ค่อยถนัดต้องอาศัยการปรับตัวเล็กน้อย

มาถึงจุดขายของ HTC Sense ตัวใหม่กันบ้าง จะมาพร้อมผู้ช่วยอัจฉริยะ HTC Sense Companion ที่จะคอยเรียนรู้พฤติกรรมผู้ใช้ และคอยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน อย่างการแนะนำให้ตั้งแจ้งเตือนล่วงหน้าก่อนถึงช่วงเวลานัดหมายในปฏิทิน การแสดงข้อมูลพยากรณอากาศล่วงหน้าเมื่อตื่นนอนหรือแสดงร้านอาหารที่อยู่ใกล้ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม Sense Companion ในตอนนี้ยังไม่สามารถใช้งานในส่วน Amazon Alexa หรือเลขาส่วนตัวที่มีความเป็นมนุษย์เหมือน Siri ของแอปเปิลในประเทศไทยได้ ทำให้ Sense Companion ปัจจุบันสำหรับคนไทยแล้วอาจจะดูไม่น่าตื่นเต้นเหมือน Siri หรือ Google Now/Google Assistant ที่เคยสร้างสีสันในการเลือกตอบคำถามให้คนไทยมาแล้ว คงต้องรออัปเดตจากทางผู้ผลิตต่อไป

via GIPHY

มาถึงฟีเจอร์เด่น เริ่มจากฟีเจอร์แรกอย่าง Edge Sense หรือความสามารถในการบีบขอบเครื่องทั้งสองด้านเพื่อสั่งงานตัวเครื่องได้ โดยคำสั่งหลักๆที่รองรับกับ Edge Sense มีดังนี้

– เมื่อหน้าจอปิดอยู่ ผู้ใช้สามารถบีบขอบเครื่องสองครั้งติดกันจะเป็นการเรียกกล้องถ่ายภาพขึ้นมา
– ระหว่างอยู่ในโหมดกล้องถ่ายภาพ สามารถบีบขอบเครื่อง 1 ครั้งเพื่อลั่นชัตเตอร์ได้
– ระหว่างอยู่ในหน้าโฮมสกรีนสามารถบีบขอบเครื่องค้างไว้เพื่อเรียก Google Assistant
– ระหว่างพิมพ์ข้อความด้วยแป้น TouchPal สามารถบีบขอบเครื่อง 1 ครั้งเพื่อเรียกฟีเจอร์ Voice-to-text ได้

และนอกจากนั้นผู้ใช้ยังสามารถปรับแต่งการใช้งาน Edge Sense ได้อย่างอิสระผ่านเมนูตั้งค่าในระบบด้วย

ป้องกันน้ำและฝุ่น – HTC U11 มาพร้อมการป้องกันน้ำและฝุ่น IP67 ตามสมัยนิยม โดยส่วนที่ต้องระวังเป็นพิเศษเมื่อต้องใช้งานในสภาพอากาศที่เสี่ยงต่อเครื่องเสียหายก็คือ “ส่วนฝาปิดซิมจะมีขอบยางซีลไว้ เวลาแกะเปลี่ยนซิมต้องกดปิดฝาให้สนิท”

HTC USonic – เป็นอีกหนึ่งจุดขายที่น่าสนใจสำหรับ HTC U11 เพราะนอกจากในแพกเกจจะแถมหูฟังอินเอียร์ที่มาพร้อมระบบตัดเสียงรบกวนแบบแอ็คทีฟและรองรับ Hi-Res Audio แล้ว ระบบการทำงานของ USonic ก็ยังน่าสนใจอย่างมาก

เริ่มจากครั้งแรกที่เราเชื่อมต่อหูฟังผ่านพอร์ต USB-C เมื่อเราใส่หูฟังระบบจะตรวจจับและให้เราตั้งค่าหูฟังครั้งแรกก่อน โดยระบบจะปล่อยคลื่นเสียงเข้าไปในรูหูของเรา จากนั้นเมื่อคลื่นเสียงไปกระทบกับแก้วหูและส่งสัญญาณกลับมาที่ตัวหูฟัง ระบบจะอ่านค่าและนำมาตั้งค่าโปรไฟล์เสียงและโปรไฟล์ระบบตัดเสียงรบกวนแบบดิจิตอลที่เหมาะสมกับหูของเราให้อัตโนมัติ

ส่วนคนที่ไม่ชอบใช้หูฟัง แต่ชอบฟังเพลง ชมภาพยนตร์จากลำโพงตัวเครื่อง ทาง HTC ยังให้เทคโนโลยี HTC BoomSound มาให้เช่นเดิม แต่ใน U11 ทาง HTC จะมีการปรับปรุงลำโพงให้สามารถส่งเสียงได้ดังและมีไดนามิกที่ดีกว่าเดิม

Motion Launch อีกหนึ่งฟีเจอร์สุดท้ายที่เคยโด่งดังมาตั้งแต่สมัย HTC One ใน U11 ก็มีให้เลือกใช้งานเช่นเดิม ตั้งแต่ฟังก์ชันปลุกหน้าจอด้วยการแตะหน้าจอ 2 ครั้งระหว่างจอดับอยู่และแตะอีก 2 ครั้งเพื่อปิดหน้าจอ เป็นต้น

กล้องถ่ายภาพ

กล้องถ่ายภาพทั้งหน้าและหลังของ HTC U11 เรียกได้ว่าปรับปรุงใหม่หมดทุกสัดส่วนตั้งแต่ฮาร์ดแวร์ไปถึงซอฟต์แวร์ โดยสเปกในส่วนกล้องหลังจะเหมือนกับ Samsung Galaxy S8/S8+ ซึ่งทีมงานไซเบอร์บิซเคยได้นำมาประชันความเจ๋งไปแล้วในบทความ “ใครเจ๋งกว่ากัน! ทดสอบกล้อง HTC U11 vs Samsung Galaxy S8 (ชมคลิป)”

จากบทสรุปในบทความก่อนหน้าจะเห็นว่า HTC U11 จะโดดเด่นในเรื่องการเก็บรายละเอียดของภาพที่สูงกว่า Samsung Galaxy S8/S8+ และดีกว่า HTC รุ่นก่อนหน้าทุกรุ่น สอดคล้องกับคะแนนที่ทาง DxOMark ให้ไว้เป็นอันดับ 1 (90 คะแนน) โดยไฟล์ภาพจาก HTC U11 ค่อนข้างมีคุณภาพสูง การจัดการของ HTC UltraPixel 3 ทำได้ค่อนข้างดีมาก โดยเฉพาะในที่แสงน้อยค่อนข้างจะโดดเด่นในเรื่องความคมชัดสูงและอาการภาพเป็นวุ้นๆค่อนข้างมีน้อยกว่ากล้องจากสมาร์ทโฟนแฟลกชิปในระดับเดียวกันแทบทุกรุ่น

ตัวอย่างภาพจากกล้อง HTC U11

แต่ทั้งนี้ก็ใช่ว่าจะมีแต่เพียงข้อดีอย่างเดียว ข้อสังเกตเกี่ยวกับกล้องถ่ายภาพ U11 ก็มีเช่นกัน ยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนเลยก็คือกล้องหน้า ที่ HTC คุยว่าให้คุณภาพไม่ต่างจากกล้องหลัง แต่จากที่ทีมงานได้ทดสอบถ่ายเซลฟีพบว่าเรื่องของการจัดการสีผิว (Skin Tone) ยังไม่ค่อยธรรมชาติมากนัก โดยเฉพาะเมื่อถ่ายในที่แสงน้อยและต้องเปิดไฟแฟลชจากจอภาพ สีสันที่ได้ดูไม่เป็นธรรมชาติเท่าที่ควร

และอีกเรื่องในส่วนซอฟต์แวร์ที่ไม่ค่อยมีลูกเล่นพิเศษเหมือนคู่แข่งเจ้าอื่น ลูกเล่นหลักๆของ U11 จะมีพาโนรามาที่ความละเอียด 8,736×1,890 พิกเซล พาโนรามาเซลฟีและทำสโลโมชันวิดีโอที่ความเร็ว 120fps 1080p โดยส่วนใหญ่จะไปเน้นไปในเรื่องคุณภาพไฟล์ภาพนิ่งและ RAW File มากกว่า

แต่โดยรวมทีมงานค่อนข้างพอใจกับไฟล์ภาพนิ่งจาก HTC U11 ค่อนข้างมากและขอยกให้เป็นสมาร์ทโฟนที่มีกล้องถ่ายภาพยอดเยี่ยมสุดในตอนนี้ได้เลย

มาดูงานวิดีโอกับการบันทึกเสียงแบบ 3D Audio กันบ้าง โดย HTC U11 จะมาพร้อมไมโครโฟน 4 ตัวติดตั้งอยู่บริเวณข้างกล้องหน้า 1 ตัว สันเครื่องด้านบน 1 ตัว ล่าง 1 ตัวและด้านหลังอีก 1 ตัว

โดยการทำงาน 3D Audio จะมาพร้อมเทคโนโลยี Acoustic Focus สำหรับการใช้งานปกติระบบจะโฟกัสเสียงที่อยู่ใกล้กับสมาร์ทโฟนก่อนเป็นอันดับแรกไม่ว่าเสียงสภาพแวดล้อมจะดังขนาดไหนก็ตาม เสียงที่อยู่ใกล้ เช่น เสียงพูดจะชัดเจนตลอดการบันทึกวิดีโอ แต่เมื่อเราเริ่มซูมภาพวิดีโอเพื่อไปโฟกัสกับวัตถุที่อยู่ไกลตัวออกไป ไมโครโฟนทั้ง 4 ตัวจะถูกระบบเลือกใช้ตามความเหมาะสมและเริ่มเพิ่มระดับการรับเสียงสอดคล้องไปตามระบบซูมภาพ เพื่อให้เสียงที่อยู่ไกลถูกบันทึกได้อย่างคมชัดมากขึ้น

ทดสอบประสิทธิภาพ

PCMark
Work 2.0 = 7,124 คะแนน
Computer Vision = 3,575 คะแนน

AnTuTu Benchmark = 174,304 คะแนน

3DMark
Sling Shot Extreme = 2,683 คะแนน
Sling Shot = 4,099 คะแนน

Geekbench 4.0
Single-Core = 1,897 คะแนน
Multi-Core = 6,181 คะแนน

PassMark PerformanceTest
System = 13,344 คะแนน
CPU Tests = 248,306 คะแนน
Memory Tests = 12,919 คะแนน
Disk Tests = 68,358 คะแนน
2D Graphics Tests = 7,447 คะแนน
3D Graphics Tests = 3,809 คะแนน

AndroBench
Seq. Read = 708.06MB/s
Seq. Write = 194.89MB/s

เสียดายที่ทีมงานไซเบอร์บิซไม่ได้รับตัวทดสอบเป็นรุ่นแรม 6GB แต่โดยภาพรวมถึงแม้ตัวเครื่องรุ่นนี้จะมาพร้อมแรมเพียง 4GB (เป็นเครื่องไต้หวัน) แต่การใช้งานก็ไม่พบอาการสะดุดให้เห็น การเล่นเกมทุกเกมสามารถทำได้ลื่นไหล การเปิดใช้งานแอปฯจำนวนมากสามารถทำได้ HTC Sense กับแอนดรอยด์ 7.0 ทำงานเข้าขากันดีมาก ฟีเจอร์ที่มากับซีพียู Snapdragon 835 HTC ก็เรียกใช้งานได้ครบถ้วนดีตั้งแต่ ระบบชาร์จไฟ Quick Charge 3.0 ทาง HTC ก็แถมอะแดปเตอร์มาให้ด้วย ไปถึงการรองรับ 4.5G LTE Advanced แบบ Cat 16 ก็มีให้เลือกใช้จาก U11 ทั้งหมด

มาถึงการทดสอบแบตเตอรี น่าจะถือเป็นข้อสังเกตใหญ่สุดเพียงเรื่องเดียวนอกจากข้อสังเกตยิบย่อยเรื่องกล้องที่เป็นเพียงแค่ความรู้สึกของทีมงาน (คนอื่นอาจรู้สึกต่างไป) เพราะตัวเครื่องให้แบตเตอรีมา 3,000 mAh ซึ่งถือว่าไม่ใหญ่มากเมื่อเทียบกับสเปกเครื่องและขนาดหน้าจอ ทำให้สามารถใช้งานได้เพียง 9 ชั่วโมง 39 นาทีเท่านั้น ยิ่งใช้งานหนักหน่วง เช่น เล่นเกม แบตเตอรีสามารถหมดได้เพียง 5-6 ชั่วโมง ถือว่ายังไม่น่าประทับใจนัก

สรุป

สำหรับราคา HTC U11 ในประเทศไทยเป็นรุ่นแรม 6GB ความจุ 128GB อยู่ที่ 25,990 บาท เทียบสเปกกับคู่แข่งระดับเดียวกันแล้ว ราคาเปิดตัวมาได้ค่อนข้างน่าสนใจ (ราคาเปิดตัวต่ำกว่าคู่แข่งระดับเดียวกันหลายเจ้า) โดยเฉพาะคนชอบถ่ายภาพน่าจะถูกใจ HTC U11 ได้ไม่ยาก เพราะกล้องถ่ายภาพโดยเฉพาะด้านหลังถือว่าทำได้ดีมาก แต่กล้องหน้าสำหรับคนที่ชอบเซลฟีทีมงานแนะนำให้ไปลองก่อน เพราะสำหรับทีมงานเองรู้สึกว่ากล้องหน้ายังให้คุณภาพไม่ดีนัก

แต่โดยภาพรวมทั้งตัวเครื่องไปถึงประสิทธิภาพถือว่าครั้งนี้ HTC กลับมาได้สมศักดิ์ศรี ทุกอย่างดูลงตัวดี และที่สำคัญอุปกรณ์ที่แถมมาให้ในกล่องทั้งหูฟัง USonic และอะแดปเตอร์ชาร์จไฟแบบ Quick Charge 3.0 เรียกได้ว่าจัดเต็ม คุ้มราคาดี ใครกำลังมองหาสมาร์ทโฟนแฟลกชิปในตอนนี้ HTC U11 ถือว่าไม่ควรมองข้าม

เบื้องต้น HTC U11 คาดว่าจะเริ่มวางจำหน่ายในช่วงสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ แต่ที่สำคัญคือต้องรอดูในแง่ของการให้บริการหลังการขาย และช่องทางจำหน่ายว่าจะครอบคลุมมากแค่ไหน เพราะเอชทีซี เรียกได้ว่าหายไปจากตลาดไทยพอสมควรในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา

ข้อดี

– ฝาหลัง Liquid glass surface ดูหรูหรา
– สเปกเครื่องดี
– หูฟังอินเอียร์พร้อมระบบตัดเสียงรบกวนและฟีเจอร์ USonic ดีมาก
– กล้องหลังคุณภาพดี
– รองรับ 4G Cat 16
– รองรับการถอดรหัสไฟล์เพลงแบบ HiRes Audio
– ในชุดที่ทีมงานได้รับมาทดสอบ อุปกรณ์ที่ให้มาในกล่องค่อนข้างน่าสนใจ โดยเฉพาะหูฟังอินเอียร์คุณภาพสูงรองรับ HiRes Audio และอะแดปเตอร์ชาร์จไฟ Quick Charge 3.0 มาตรฐาน Qualcomm

ข้อสังเกต

– Liquid glass surface ดูหรูหราแต่ลื่นมาก ยิ่งมาเจอกับขอบเครื่องโค้ง ทำให้จับถือไม่ถนัด
– การบันทึกเสียงวิดีโอแบบ 3D Audio ให้เสียงที่เบาไป
– Edge Sense บีบขอบเครื่องเพื่อสั่งงานเป็นแนวคิดที่ดี แต่การใช้งานยังไม่ค่อยมีประสิทธิภาพนัก บางครั้งต้องบีบแรงๆเพื่อให้ระบบรับคำสั่ง แต่บางครั้งถือเครื่องอยู่ในมือปกติแต่ระบบก็สั่งให้เรียก Google Assistant หรือบางทีก็พาเข้าโหมดกล้องไปโดยผู้ทดสอบยังไม่ทำอะไรเลย
– แบตเตอรีไม่อึด

Gallery

]]>
Review : HTC U Ultra สมาร์ทโฟน 2 จอ กับการสร้างความต่างในตลาด https://cyberbiz.mgronline.com/review-htc-u-ultra/ Sun, 21 May 2017 17:04:05 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=26229

จะเห็นกันว่าตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา เอชทีซี จะเริ่มแนะนำซีรีส์ U เข้าสู่ท้องตลาด เพื่อสื่อถึงการเป็นสมาร์ทโฟนที่เข้าใจผู้ใช้งาน พร้อมกับการนำ HTC U Play และ HTC U Ultra เข้ามาวางจำหน่ายในไทยแบบเงียบๆ จากผู้นำเข้ารายใหม่ และหวังใช้จุดขายของผลิตภัณฑ์มาช่วยบอกต่อในวงกว้าง

HTC U Ultra ถือเป็นสมาร์ทโฟน ที่มากับจอใหญ่ขนาด 5.7 นิ้ว และยังไม่พอมีการแถมจอที่ 2 มาให้ใช้กันด้วย ซึ่งถือเป็นจุดต่างที่สำคัญกับสมาร์ทโฟนรุ่นอื่นๆในตลาด ส่วนในแง่ของสเปก จะเป็นซีพียูรุ่นไฮเอนด์ในปีก่อนอย่าง Snapdragon 821 RAM 4 GB ROM 64 GB รองรับ 4G LTE Cat11 หรือ 3CA ในราคา 22,490 บาท

การออกแบบ

ที่เห็นได้ชัดเลยคือเอชทีซีเริ่มเปลี่ยนจากการใช้งานวัสดุอลูมิเนียมชิ้นเดียวที่ถือเป็นเอกลักษณ์มาเป็นใช้เป็นขอบอลูมิเนียมพร้อมกระจกเคลือบด้านหน้า และด้านหลังแทน บนลวดลายที่เอชทีซีใช้คำว่า ‘Liquid surface’ จากวัสดุกันรอยขีดข่วนแต่ผิวมัน จนสะท้อนแสงในหลายมุม

โดยเอชทีซี เลือกวางจำหน่าย U Ultra ในประเทศไทยทั้งหมด 2 สีดำ (Brillian Black) และ น้ำเงิน (Indigo Blue) แต่ในต่างประเทศจะมีสีขาว (Ice White) และชมพู (Cosmetic Pink) ด้วย ส่วนขนาดรอบตัวจะอยู่ที่ 162.41 x 79.79 x 7.99 มิลลิเมตร น้ำหนัก 170 กรัม

ด้านหน้าอย่างที่บอกไปว่าด้านหน้าจะเป็นกระจก Gorilla Glass 5 แบบขอบโค้ง 2.5D ภายในเป็นจอแบบ Super LCD 5 ขนาด 5.7 นิ้ว ความละเอียด Quad HD (2,560 x 1.440 พิกเซล) โดยส่วนบนจอจะมี Dual Display อยู่ทางฝั่งขวา และกล้องหน้าความละเอียด 16 ล้านพิกเซลอยู่ข้างๆ บนสุดจะเป็นลำโพงสนทนา

ส่วนด้านล่างจอจะมีเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือ ที่เป็นปุ่มกดโฮมไปในตัว ที่ไม่จำเป็นต้องให้หน้าจอติดก็สามารถนำนิ้วมาสัมผัสเพื่อปลดล็อกเครื่องได้ โดยมีปุ่มสัมผัสย้อนหลัง (ทางซ้าย) และเรียกดูแอปที่ใช้งานล่าสุด (ทางขวา) ขนาบอยู่

ด้านหลังจะมีการสกรีนสัญลักษณ์ hTC อยู่ตรงกลางค่อนไปทางบน และกล่องหลักที่เป็น Ultra Pixel 2 ความละเอียด 12 ล้านพิกเซล 1.55um ที่นูนขึ้นมาจากตัวเครื่อง และไฟแฟลชแบบ 2 สี (Dual Tone LED Flash) และจะมีเลเซอร์โฟกัสซ่อนอยู่ล่างแฟลชด้วย

ถ้าสังเกตดีๆส่วนล่างจะมีไมโครโฟนช่วยรับเสียงแบบ 3มิติอยู่ด้วย ภายในจะมีแบตเตอรีขนาด 3,000 mAh ที่มาพร้อมระบบ Quick Charge 3.0 แต่ทั้งนี้ในส่วนของฝาหลังจะเป็นรอยนิ้วมือง่ายมาก ทำให้ต้องเช็ดเครื่องบ่อยๆ

ด้านบนจะมีช่องสำหรับใช้เข็มจิ้มถาดใส่ซิมออกมา ตัวเครื่องรองรับ Dual Nano Sim แบบ 3G Standby ในซิมที่ 2 หรือจะเลือกใส่ไมโครเอสดีการ์ดสูงสุด 256 GB แทน และมีไมค์ตัดเสียงรบกวนข้างๆ ด้านล่างเหลือเพียงพอร์ต USB-C ไมค์สนทนา และลำโพงเท่านั้น ตัดพอร์ต 3.5 มม.ออกไปเรียบร้อย

ด้านขวาเป็นปุ่มปรับระดับเสียง และปุ่มเปิดปิดเครื่อง ด้านซ้ายจะถูกปล่อยว่างไว้ และรอบๆขอบจะมีเส้นรับสัญญาณอากาศอยู่รอบๆตัวเครื่อง

สำหรับอุปกรณ์ที่ให้มาในกล่องจะประกอบไปด้วยตัวเครื่อง HTC U Ultra เคสพลาสติกใส ผ้าเช็ดเครื่อง อะเดปเตอร์ สาย USB-C และหูฟัง In-Ear ที่เป็นพอร์ต USB-C พร้อมจุกหูฟังอีก 2 ขนาด แต่ไม่มีอะเดปเตอร์แปลง USB-C เป็น 3.5 มม.ให้มาด้วย

สเปก

ในส่วนของสเปกภายใน HTC U Ultra จะมากับชิปเซ็ต Snapdragon 821 ที่เป็นควอดคอร์ 2.15 GHz 64bit RAM 4 GB พื้นที่เก็บข้อมูลภายใน 64 GB รองรับไมโครเอสดีการ์ดสูงสุด 256 GB ตัวเครื่องทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 7.0

ด้านการเชื่อมต่อรองรับ 4G LTE Cat 11 หรือ 3CA (กรณีใช้งานซิมเดียว) ให้อัตราการดาวน์โหลดสูงสุด 600 Mbps อัปโหลด 50 Mpbs ส่วน Wi-FI เป็น Dual Band 802.11ac มาพร้อมบลูทูธ 4.2 NFC GPS ภายในเรียบร้อย

ส่วนสเปกกล้องหลัก เป็น HTC UltraPixel 2 ที่ให้เม็ดสีขนาด 1.55um ความละเอียด 12 ล้านพิกเซล f/1.8 มาพร้อมระบบโฟกัสแบบ PDAF และเลเซอร์โฟกัส เซ็นเซอร์แบบ BSI รองรับระบบกันสั่น OIS ตัวเลนส์ทำจากกระจก Sapphire กล้องหน้าเป็น 16 ล้านพิกเซล ที่มีโหมด UltraPixel ให้เลือกถ่ายเวลาแสงน้อยด้วย

ฟีเจอร์เด่น

ในส่วนของการใช้งาน U Ultra จะมากับอินเตอร์เฟส HTC Sense เช่นเดิม ไล่ตั้งแต่หน้าจอปลดล็อกที่สามารถลากไอค่อนลัดเพื่อเข้าสู่การใช้งานได้ทันที หรือจะใช้ลายนิ้วมือปลดล็อกก่อนใช้งานก็ได้ ถัดมาหน้าจอหลักก็จะให้ผู้ใช้ปรับแต่งตามปกติ ส่วนการแจ้งเตือนจะมีการตั้งค่าลัดต่างๆให้เลือก

ที่เพิ่มเติมเข้ามาคือหน้าจอที่ 2 ทีทางเอชทีซีเรียกว่า จอแสดงผลรอง (Dual Screen) ที่จะแสดงผลอยู่ที่มุมขวาบนของหน้าจอหลักอีกที โดยค่ามาตรฐานของจอนี้จะมีให้เลือก 6 รูปแบบคือ แสดงข้อความเตือนความจำ แสดงปฏิทินนัดหมาย รายชื่อผู้ติดต่อด่วน เครื่องเล่นเพลง พยากรณอากาศ และทางลัดเรียกใช้งานแอป

แต่ในกรณีที่หน้าจอหลักปิดอยู่ เมื่อทำการสัมผัสบริเวณจอรอง หรือยกเครื่องขึ้นมา จะมีการแสดงผลวัน เวลา อุณหภูมิ และไอคอนการแจ้งเตือน สามารถปัด เพื่อเข้าไปตั้งค่าด่วนอย่างปิดเสียง เปิดปิด ไวไฟ บลูทูธ ไฟฉาย กล้อง และเครื่องคิดเลขได้ เพิ่มเข้ามา

นอกจากนี้ ในกรณีที่เข้าใช้งานแอปแบบเต็มหน้าจอ อย่างการเล่นเกม หรือดูหนัง ตัวจอแสดงผลรอง ก็จะปรับมาเป็นการแสดงผลนาฬิกา พร้อมกับเปอเซนแบตเตอรี่ เพื่อให้ผู้ใช้ทราบ โดยไม่มีผลกับการแสดงผลของจอหลัก

ถัดมาคือระบบ AI หรือการนำ Machine Learning มาใช้ในเอชทีซี กับระบบที่เรียกว่า Sense Companion ที่จะกลายมาเป็นผู้ช่วยในการแนะนำข้อมูลต่างๆ ในการใช้งานอย่างการแสดงพยากรณ์อากาศวันรุ่งขึ้น การแจ้งเตือนให้ชาร์จแบต การติดต่อกับผู้ใช้ หรือตารางนัดหมายที่จะเกิดขึ้นเป็นต้น

อีกจุดเด่นที่น่าสนใจใน U Ultra คือเรื่องของกล้อง อาจจะเพราะไม่ได้เล่นกล้องของเอชทีซีมาสักพักนึง พอกลับมาจับอีกครั้งให้ความรู้สึกที่ดีขึ้น อินเตอร์เฟสใช้งานง่าย ตัวกล้องโฟกัสได้เร็วมากจาก PDAF + Laser Focus ทำให้ช่วยถ่ายภาพได้สนุกขึ้น

โดยผู้ใช้สามารถเลือกโหมดในการถ่ายภาพได้จากการลากนิ้วจากขอบบนลงมา จะมีให้เลือกโหมดถ่ายภาพทั้งปกติ Zoe (ถ่ายเป็นคลิปวิดีโอสั้นๆ) พาโนรามา โปร วิดีโอ ไฮเปอร์แลปส์ สโลว์โมชั่น เซลฟี่ เซลฟี่พาโนรามา และวิดีโอเซลฟี่ได้

ที่น่าสนใจคือในโหมดโปรตัวกล้องจะบันทึกภาพทั้งไฟล์ JPG และ DNG ให้ไปปรับแต่งกัน สามารถเลือกตั้งค่าความไวแสง (ISO) ได้ที่ 100 – 3200 ส่วนความเร็วชัตเตอร์ได้ตั้งแต่ 1/8000 – 16 วินาที พร้อมปรับสมดุลแสงขาวได้ตามองศาเคลวินที่ต้องการ

ส่วนโหมดถ่ายภาพวิดีโอ ผู้ใช้สามารถพักหน้าจอหลักขณะถ่าย มาควบคุมผ่านจอแสดงผลรองได้ ทำให้ช่วยประหยัดแบตเตอรีขณะบันทึกวิดีโอได้ (กดพักหน้าจอ) แต่ถ้าอยู่ในโหมดกล้องธรรมดาจอรองจะใช้เป็นแถบในการซูมเข้าออกแทน

กลับมาที่แอปพลิเคชันที่ติดตั้งมาให้ในเครื่อง ส่วนใหญ่จะเป็นแอปทั่วๆไป ไม่ได้มีการบันเดิลแอปอื่นๆมาให้รกเครื่อง รวมถึงแอปส่วนใหญ่จะใช้บริการจากกูเกิล เซอร์วิสเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ (พร้อมอัปโหลดขึ้นกูเกิลไดรฟ์เก็บรูปได้ทันที) ปฏิทินที่ซิงค์กับเมล จะมีเพิ่มมาก็คือคีย์บอร์ด TouchPal และ Viveport ในการใช้งานคู่กับแว่นวีอาร์

ในส่วนของหน้าจอตั้งค่า ก็จะเน้นความเรียบง่าย แบ่งการตั้งค่าเป็นการเชื่อมต่อ การใช้งานตัวเครื่องต่างๆ และการตั้งค่าโทรศัพท์ ที่น่าสนใจคือระบบอย่าง HTC Boomsound ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาให้สามารถตรวจจับได้เองว่าคอนเทนต์ที่เล่นอยู่เป็นเพลง หรือภาพยนตร์ ก็จะให้ผลที่ต่างกัน

ตัว RAM ที่ให้มา 4 GB เมื่อเปิดใช้งานไปสักพักจะเหลือให้ใช้งานราว 1.7 GB ถือว่าค่อนข้างเพียงพอ ส่วน ROM 64 GB เมื่อลงแอปทดสอบต่างๆแล้วจะเหลือพื้นที่ให้ใช้งานราว 50 GB นอกจากนี้ ยังมีในเรื่องการตั้งค่าเสียงหูฟัง U Sonic ที่จะปรับเสียงให้เหมาะกับหูของแต่ละคนมาให้ใช้งานด้วย

พวกการใช้งานท่าทางสั่งงานตัวเครื่อง อย่างการแตะหน้าจอ 2 ครั้งเพื่อเปิด กวาดนิ้วขึ้นเพื่อปลดล็อก กวาดทางซ้ายเพื่อเข้าหน้าจอหลัก และกวาดทางขวาเพื่อเรียกใช้งาน BlinkFeed ที่มีมาตั้งแต่สมัย HTC One ก็ยังมีมาให้ใช้งานต่อเนื่อง รวมถึงการตั้งอุณหภูมิสีของหน้าจอ

ตัวอย่างภาพจากกล้อง

ทดสอบประสิทธิภาพ

Antutu Benchmark = 127,041 คะแนน
Quadrant Standard = 38,181
Multi-touch Test = 10 จุด

PC Mark
Work 2.0 = 5,207 คะแนน
Computer Vision = 2,846 คะแนน
Work = 6,707 คะแนน

3D Mark
Sling Shot Extreme Unlimited = 2,077 คะแนน
Sling Shot Unlimited = 2,700 คะแนน
Sling Shot Extreme = 1,951 คะแนน
Sling Shot = 2,483 คะแนน
Ice Storm Extreme = 13,025 คะแนน
Ice Storm Unlimited = 28,907 คะแนน
Ice Storm = 13,627 คะแนน

PassMark PerformanceTest
System = 7,239 คะแนน
CPU Tests = 31,975 คะแนน
Memory Tests = 3,953 คะแนน
Disk Tests = 44,288 คะแนน
2D Graphics Tests = 4,907 คะแนน
3D Graphics Tests = 2,792 คะแนน

Geekbench 4
Single-Core = 1,700 คะแนน
Multi-Core = 3,817 คะแนน
Compute = 7,168 คะแนน

ที่น่าสนใจคือแม้ว่าตัวเครื่องจะให้แบตเตอรีมา 3,000 mAh กับจอ 2K ขนาด 5.7 นิ้ว แต่กลับสามารถใช้งานได้ต่อเนื่อง 6 ชั่วโมง 15 นาที ซึ่งถือว่าทำได้อยู่ในระดับมาตรฐาน ถ้าการใช้งานในแต่ละวันไม่ได้หนักมากก็อยู่ถึงวันสบายๆ

การใช้งานทั่วไปพวกเล่นโซเชียล ใช้งานเว็บเบราว์เซอร์ต่างๆ ถือว่าทำได้ดี จากการแสดงผลที่ใหญ่ถึง 5.7 นิ้ว ไม่นับรวมเรื่องของเสียงที่เอชทีซีโด่งดังมาจาก Boom Sound ที่หันลำโพงเข้าหาผู้ใช้ และยังมากับชิปเสียงแบบ HiRes ด้วย

สรุป

HTC U Ultra ถือเป็นการกลับมาที่น่าสนใจในตลาดประเทศไทย เพราะเชื่อว่ายังมีกลุ่มผู้ใช้งานเอชทีซี ที่เชื่อมั่นในแบรนด์อยู่ เพียงแต่ว่าทางเอชทีซีคงต้องพิสูจน์ความน่าเชื่อถือทั้งบริการหลังการขาย และช่องทางจำหน่ายให้ครอบคลุมได้มากขึ้นเสียก่อน

ส่วนในแง่ของตัวเครื่อง U Ultra ผู้บริโภคอาจจะมองว่ากับราคา 22,490 บาท ถือว่าค่อนข้างสูง แต่ถ้ามองจริงๆแล้วกับเครื่องขนาดจอ 5.7 นิ้ว กับซีพียู Snapdragon 821 ที่เป็นหน่วยประมวลผลรุ่นท็อปในปีที่ผ่านมา ก็ถือว่าอยู่ในระดับที่พอรับได้ ประกอบกับการที่ต้องการจับตลาดพรีเมียมเป็นหลัก แต่ถ้ามีการทำโปรโมชันร่วมกับโอเปอเรเตอร์จะน่าสนใจกว่านี้

ขณะที่ในแง่การใช้งานรวมๆ แล้ว U Ultra ถือว่าเป็นสมาร์ทโฟนที่ค่อนข้างครบรอบด้านทั้งประสิทธิภาพ กล้อง (โฟกัสถ่ายเร็วมาก) รองรับ 4G LTE 3CA / VoWiFi / VoLTE เซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือเร็ว เรียกได้ว่าอะไรที่เครื่องไฮเอนด์ควรจะมีก็มีมาให้ครบ แถมเพิ่มด้วยจอเล็กๆมาให้ใช้สั่งงาน ดูการแจ้งเตือนเพิ่มเติม

ข้อดี
หน้าจอขนาดใหญ่ 5.7 นิ้ว และจอรองนำเสนอการใช้งานในอีกรูปแบบหนึ่ง
กล้องหลักความละเอียด 12 ล้านพิกเซล พร้อม PDAF + Laser Focus
กล้องหน้า 16 ล้านพิกเซล มีโหมด UltraPixel ให้ถ่ายเวลากลางคืน (แต่จะไม่เหมาะกับสายบิวตี้เพราะกล้องค่อนข้างเรียล)
เซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือ ที่ใช้งานได้โดยไม่ต้องเปิดหน้าจอขึ้นมา

ข้อสังเกต
ฝาหลังกระจกที่ให้รอยนิ้วมือมาเต็ม
ความสามารถของจอรอง ยังต้องมีการพัฒนาเพิ่มเติม
แบตเตอรี 3,000 mAh อาจจะไม่พอกับผู้ที่ใช้งานเครื่องหนักๆ แม้จะมีระบบบริหารจัดการแบตที่ดีมาให้ก็ตาม
ไม่มีพอร์ตหูฟัง 3.5มม. และไม่มีตัวแปลงให้ด้วย

Gallery

]]>
เก็บ 5 เรื่องน่าสนใจส่งตรงจากงานเปิดตัว HTC U 11 https://cyberbiz.mgronline.com/preview-5-feature-htc-u11/ Mon, 15 May 2017 16:53:56 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=26111

แม้ว่าในประเทศไทย HTC จะหายจากตลาดไปพักใหญ่ๆ จากการที่ในช่วงหลังโดนทั้งแบรนด์เกาหลี และแบรนด์จีน กดดันอย่างหนัก แต่ล่าสุดก็เริ่มกลับมาโฟกัสในตลาดไทย รวมถึงในภูมิภาคเอเชียมากขึ้น

ดังจะเห็นได้จากความเคลื่อนไหวในช่วงที่ผ่านมาในการแนะนำ HTC U Ultra และการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆที่เริ่มหลากหลายขึ้น แต่ในตลาดระดับโลก ด้วยชื่อของเอชทีซี ยังถือเป็นแบรนด์ระดับไฮเอนด์ ที่มีนวัตกรรมเป็นของตัวเอง

ประกอบกับการที่ในปี 2017 เป็นการเฉลิมฉลองครบรอบ 20 ปี ของเอชทีซี ทำให้เกิดแนวคิดในการสร้างจุดเปลี่ยนให้แก่อุตสาหกรรม ทีมงานไซเบอร์บิส จึงรวบรวม 5 จุดเด่นที่มาพร้อมกับสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ล่าสุดที่เพิ่งเปิดตัว HTC U 11 มาให้ได้รับรู้กัน


1.Edge Sense
ที่มีการนำ Haptic Sensor (เซ็นเซอร์รับการสัมผัสที่จะส่งกระแสไฟฟ้ากลับมาให้นิ้วรู้สึกเหมือนเครื่องถูกกด) มาใส่ไว้ที่บริเวณขอบเครื่อง เพื่อใช้ในการบีบเพื่อสั่งงาน (แม้ขณะเครื่องปิดหน้าจอ) โดยจะมีรูปแบบการบีบ 2 แบบ คือ การบีบแล้วปล่อย (บีบสั้น) กับ บีบจนเครื่องสั่นแล้วปล่อย (บีบยาว) ซึ่งฟังก์ชันที่ตั้งเป็นค่ามาตรฐานคือ การบีบสั้นเพื่อเรียกใช้งานกล้อง และบีบยาวเพื่อเรียกใช้งานผู้ช่วยอัจฉริยะ

นอกจากนี้ ยังประยุกต์ใช้ในโหมดกล้องอย่างการบีบสั้น เพื่อถ่ายภาพ และบีบยาวในการสลับกล้องหน้าหลัง หรือจะเข้าไปเปลี่ยนรูปแบบการสั่งงานอื่นๆ อย่างการสั่งเปิดแอปพลิเคชัน จับภาพหน้าจอ เปิดปิดไฟฉาย เรียกโหมดบันทึกเสียง เปิดใช้งาน Sense Companion หรือเพื่อเปิดปิด Wi-Fi

ทั้งนี้ ในการบีบเครื่อง ผู้ใช้สามารถเข้าไปตั้งค่าแรงบีบได้ตามความต้องการ โดยจะมีระดับให้เลือก 10 ระดับ ไล่จากบีบเบาๆ ไปจนถึงบีบแน่นๆ โดยเมื่อผู้ใช้มีการบีบเครื่อง ที่หน้าจอก็จะมีสัญลักษณ์สีฟ้าขึ้นบอก

ส่วนใครที่สงสัยว่าถ้านำเครื่องไปต่อกับไม้เซลฟี่ หรือขาตั้งที่หนีบตัวเครื่องจะเป็นอย่างไร ทดลองได้จากการบีบเครื่องค้างไว้สักพัก จะมีข้อความขึ้นแจ้งเตือนให้ปล่อย ถ้ายังคงบีบต่อจะตัดฟังก์ชันการทำงานของ Edge Sense ออกไป ดังนั้นไม่ต้องกังวลว่าจะมีปัญหาเมื่อนำไปใช้งานแบบนั้น

กรณีที่ใช้งานร่วมกับเคส ถ้าใส่เคสอ่อนที่ยังส่งแรงบีบไปที่ตัวเครื่องได้ Edge Sense จะยังทำงานอยู่ แต่ถ้าใส่กับเคสเหล็ก หรือกรอบที่เป็นโลหะ ก็จะไม่สามารถใช้งาน Edge Sense ได้ กรณีที่ใส่ถุงมือก็สามารถบีบ สั่งงานตัวเครื่องได้ปกติ

2.ผู้ช่วยอัจฉริยะที่พร้อมรับฟังตลอดเวลา ด้วย Google Assistants x Amazon Alexa โดยทางเอชทีซีมองว่า ปัจจุบันการใช้งานคำสั่งเสียงเริ่มมีความแม่นยำ และฉลาดมากขึ้น AI สามารถเรียนรู้ และพูดคุยกับมนุษย์ได้มากขึ้น เพียงแต่ปัจจุบัน เฉพาะ Google Assistants เพียงอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ จึงได้นำ Alexa เข้ามาใช้งานร่วมกัน

เพราะ Google Assistants อาจจะเชี่ยวชาญในการทำงานอย่างการกำหนดตารางนัดหมาย การนำทาง ส่วน Alexa ก็จะมีความเป็นมนุษย์มากกว่า สามารถทำงานร่วมกับ Smart Home ได้ จึงนำทั้ง 2 AI มารวมกันไว้ภายใน HTC U 11

เมื่อทั้ง 2 AI มาทำงานร่วมกันภายใน HTC Sense Companion ที่จะคอยเรียนรู้พฤติกรรมผู้ใช้ และคอยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน อย่างการแนะนำให้ตั้งแจ้งเตือน ล่วงหน้าก่อนถึงช่วงเวลานัดหมายในปฏิธิน การแสดงข้อมูลพยากรณอากาศล่วงหน้าเมื่อตื่นนอน และหยิบเครื่องขึ้นมา

อย่างไรก็ตาม ด้วยการที่ในไทย Alexa ยังไม่รองรับการทำงานแบบเต็มรูปแบบ ดังนั้นก็อาจจะไม่ได้ใช้งานในส่วนนี้แบบเต็มที่ เหมือนใน สหรัฐฯ อังกฤษ หรือเยอรมัน ที่จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในเดือนกรกฏาคม

3.กล้อง ถือเป็นอีกจุดที่ HTC พัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง โดยใน HTC U 11 ส่วนของกล้องหลังจะอัปเดตมาใช้เทคโนโลยี Ultra Pixel 3 ที่ความละเอียด 12 ล้านพิกเซล ขนาดพิกเซล 1.4 um f/1.7 ที่มาพร้อมระกับกันสั่น OIS/EIS และระบบโฟกัสแบบ UltraSpeed AF พร้อม HDR Boost

ส่วนของกล้องหน้า ความละเอียดที่ 16 ล้านพิกเซล f/2.0 เป็นเลนส์มุมกว้าง 150 องศา โดยเอชทีซีเคลมว่าทั้งกล้องหน้าหลัง สามารถถ่ายภาพในที่แสงน้อยระดับเดียวกันได้ ซึ่งในจุดนี้อาจจะต้องรอดูภาพจากเครื่องจริงอีกครั้ง เนื่องจากเครื่องที่ได้มาลองในช่วงเวลาสั้นๆ ห้ามไม่ให้นำรูปออกมาใช้

อย่างไรก็ตามเว็บไซต์ที่ทำการทดประสอบประสิทธิภาพเกี่ยวกับกล้อง ที่จากเดิมเคยให้คะแนน Google Pixel เป็นสมาร์ทโฟนที่ถ่ายภาพดีที่สุดในช่วงที่ผ่านมาจาก 89 คะแนน อย่าง DXomark แต่หลังจากนำ U 11 ไปทดสอบ คะแนนที่สูงสุดตกเป็นของ U 11 ที่ 90 คะแนน ขึ้นแท่นเป็นสมาร์ทโฟนที่ถ่ายภาพดีที่สุดในเวลานี้

อีกจุดที่ เอชทีซี ชูขึ้นมาเป็นจุดเด่นคือเรื่องของการถ่ายวิดีโอ ที่สามารถซูมได้ทั้งภาพ และเสียง โดยใช้เทคโนโลยี 3D Audio Microphones ทำให้เวลาซูมภาพไปในจุดใด ไมค์ก็จะรับเสียงจากจุดนั้น และตัดเสียงรบกวนที่เกิดจากบริเวณรอบๆออกไป โดยเอชทีซีเรียกเทคโนโลยีนี้ว่า Acoustic Focus

4.เสียง ที่ผ่านมาเอชทีซีจะมีจุดเด่นในเรื่องของเสียงเสมอมา ตั้งแต่การนำ Boom Sound มาใช้ ทำให้ลำโพงสเตอริโอหันเข้าหาผู้ใช้ พอมาในรุ่น U 11 เอชทีซี ได้มีการออกแบบลำโพงที่อยู่บริเวณส่วนล่างเครื่อง ให้สะท้อนเสียงเข้ากับฝาหลัง และกระจายเสียงออกมาในขอบบน และล่างของเครื่อง

ทำให้ตัวเครื่องทั้งหมดช่วยขยายเสียงออกมา ทำให้เสียงดังขึ้น ในขณะเดียวกันก็ได้เบสที่หนักขึ้น พร้อมไปกับเสียงร้องที่ใสขึ้นด้วย โดยเรียกเทคโนโลยีนี้ว่า HTC Boomsound Hi-Fi Edition ที่ถูกพัฒนาเพิ่มมาจากรุ่นก่อนหน้านี้อย่าง HTC 10

ในส่วนของระบบเสียงภายใน U 11 จะรองรับไฟล์เสียงแบบ Hi-Res 24bit พร้อมไปกับการออกแบบให้ตัวเครื่อง ปรับแต่งเสียงให้เหมาะกับแต่ละบุคคลได้ ด้วย Personalized Audio ที่จะทำงานร่วมกับหูฟัง U Sonic ที่เป็นหูฟังรุ่นใหม่ มีการฝังไมโครโฟนไว้ในหูฟังเพื่อช่วยรับเสียงสะท้อน

ทำให้เวลาปรับแต่งเสียง เพียงแค่ใส่ U Sonic เข้าไปในหู เข้าไปในหน้าตั้งค่า กดเลือกปรับแต่งเสียง หลังจากนั้นตัวเครื่องจะทำการวัดเสียงสะท้อนจากแก้วหูออกมา และปรับแต่งค่าที่เหมาะสมให้กับแต่ละบุคคล ที่สำคัญหูฟังดังกล่าวเป็นหูฟังที่รองรับระบบตัดเสียงรบกวนด้วย (Active Noise Cancellation)

อีกประเด็นที่ไม่พูดถึงไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องเสียงคือ U 11 เลือกที่จะตัดพอร์ตหูฟัง 3.5 มม. ออกไป พร้อมแถมหูฟัง U Sonic มาให้ใช้งานคู่กับ USB-C อยู่แต่ แต่ถ้าไม่ชอบทางเอชทีซีก็มีการแถมอะเดปเตอร์แปลง USB-C เป็น 3.5 มม. มาให้ด้วย

โดยทางเอชทีซี ระบุว่า อะเดปเตอร์รุ่นดังกล่าว จะมากำหนดมาตรฐานใหม่ของอะเดปเตอร์หูฟังที่จะออกมาในอนาคต เพราะภายในมีการบรรจุ DAC (Digital to Analog Converter) หรืออุปกรณ์แปลงสัญญาณดิจิตอลเป็นแอนาล็อกอยู่ภายในด้วย เพื่อให้เสียงมีคุณภาพมากขึ้น

5.สุดท้ายคือในส่วนของฮาร์ดแวร์ ที่ทางเอชทีซีชูในเรื่องของการที่ผู้บริโภคทุกคนอยู่ในระดับเฟิร์สคลาสเหมือนกันทั่วโลก (Everyone is a first class citizen) ที่ทางเอชทีซี เลือกใช้หน่วยประมวลผลที่ดีที่สุดในตลาดตอนนี้จาก Qualcomm พร้อมเป็นการจิกกัดซัมซุงกลายๆ ที่เลือกใช้หน่วยประมวลผล 2 รูปแบบ

สรุปสเปกเบื้องต้นของ HTC U 11 จะมาพร้อมกับหน่วยประมวลผล Qualcomm Snapdragon 835 ที่มีจุดเด่นในเรื่องของการรองรับ 4G LTE Cat 16 หรือ Gigabit Network (ในไทยตอนนี้จะวิ่งได้สูงสุด 700 Mbps จาก 3CA 4×4 MIMO 256 QAM)

ตัวเครื่องมีให้เลือกด้วยกัน 2 รุ่นคือ RAM 4 GB พร้อมพื้นที่เก็บข้อมูล 64 GB กับอีกรุ่นคือ RAM 6 GB พื้นที่เก็บข้อมูล 128 GB (ไทยขายรุ่น 6 GB) โดยตัวเครื่องรองรับการใช้งาน 2 ซิม (เลือกใส่ 2 นาโนซิมการ์ด หรือ ใส่นาโนซิมการ์ด คู่กับไมโครเอสดีการ์ด)

สำหรับการออกแบบ U 11 จะมากับความสมมาตรของตัวเครื่องทั้งหน้าและหลัง โดยจะมีหน้าจอ Super LCD ขนาด 5.5 นิ้ว ความละเอียด Quad HD ที่เป็นแบบ 3D Glass ทั้งหน้าและหลัง มาพร้อมกับเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือ และปุ่มสัมผัสล่างหน้าจอ

ส่วนรอบๆเครื่องจะมีปุ่มเปิดปิด เครื่อง และปุ่มปรับระดับเสียงทางขวา ส่วนด้านบนจะเป็นถาดใส่ซิมการ์ด และด้านล่าง เป็นพอร์ต USB-C

ในส่วนของสี เอชทีซี ทำแนวคิดของพื้นผิวน้ำมาใช้ในการออกแบบ (Liquid Surface) ซึ่งเป็นคอนเซปต์ตั้งแต่รุ่นก่อนหน้านี้อย่าง HTC U Ultra ที่ใช้การเคลือบวัสดุพิเศษ ทำให้เวลาสะท้อนกับแสงในแต่ละมุมแล้วให้สีที่แตกต่างกัน

มีให้เลือกด้วยกันทั้งหมด 5 สี คือ สีเงิน (Amazing Silver) ดำ (Brilliant Black) นำ้เงิน (Sapphire Blue) ขาว (Ice white) และ สีแดง (Solid Red) เพียงแต่สีแดงจะออกวางจำหน่ายทีหลังในเฟส 2

โดยสีที่น่าสนใจจริงๆ จะเป็น Amazing Silver และ Solid Red ที่ใช้คอนเซปต์การสะท้อนของแสงไฟในมุมมองที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดสีหลากหลายโทน คล้ายกับสีของน้ำทะเล และพระอาทิตย์ ที่ส่องแสงในช่วงเวลาที่ต่างกัน

ภาพตัวเครื่อง

]]>
Review: HTC One M9 Plus นี่แหละ!ไฮเอนด์ตัวจริงจากเอชทีซี https://cyberbiz.mgronline.com/htc-m9plus-review/ Mon, 06 Jul 2015 02:03:44 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=18678

558000007448202

หลังจากทาง HTC (เอชทีซี) ประเทศไทยตัดสินใจไม่ทำตลาด One M9 ในไทย (อาจเพราะคำวิจารณ์จากสื่อต่างประเทศเกี่ยวกับประสิทธิภาพและสเปกโดยรวมที่ไม่ต่างจากรุ่นก่อนหน้านัก) แต่เปรยให้สาวกรอรุ่นท็อปกว่าอย่าง One M9 Plus แทน วันนี้ก็ถึงเวลาที่ One M9 Plus ได้พร้อมวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการแล้ว ด้วยสเปกหลายส่วนที่เหนือกว่า One M9 และถือเป็นสมาร์ทโฟนแฟลกชิปที่สมบูรณ์ที่สุดของเอชทีซีในตอนนี้

การออกแบบ

ถ้าจะกล่าวอย่างตรงไปตรงมา One M9 Plus ก็เหมือนรุ่นแก้เขินของ HTC หลังจากเสียงตอบรับของ One M9 ไม่ดีนัก แต่ก็ถือเป็นโชคดีของคนไทยที่ HTC ประเทศไทยไหวตัวทันดึงรุ่นแก้จุดด้อยอย่าง One M9 Plus มาทำตลาดแทน พร้อมการปรับเปลี่ยนสเปกและจัดเต็มฟังก์ชันที่ขาดหายไปเพื่อเอาใจผู้บริโภคและสาวกกันสุดๆ

558000007448203

โดยการออกแบบก็ถือเป็นอีกส่วนที่ HTC เลือกปรับปรุงเช่นกัน โดยเฉพาะหน้าจอสัมผัส Super LCD3 ที่ขยายขนาดเป็น 5.2 นิ้ว จากเดิมรุ่น One M9 อยู่ที่ 5 นิ้ว พร้อมความละเอียด 2K Quad HD (2,560×1,440 พิกเซล) และความหนาแน่นพิกเซล 534ppi แบบเดียวกับคู่แข่งท็อปฟอร์มในปีนี้ทั้งหมด

ในส่วนกล้องหน้ายังคงเลือกใช้ Ultra Pixel ความละเอียด 4 ล้านพิกเซล พร้อมลำโพงสเตอริโอขนาบทั้งสองข้างของหน้าจอด้านหน้า (HTC BoomSound) อันเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์นี้

สำหรับน้ำหนักอยู่ที่ 168 กรัม วัสดุงานประกอบทั้งหมดเป็นอลูมิเนียม Unibody

558000007448205558000007448204

อีกจุดเด่นที่ HTC เพิ่มเข้ามาใน One M9 Plus ก็คือปุ่มโฮมแบบพิเศษที่แทรกกลางอยู่ตรงลำโพงด้านล่างหน้าจอ โดย HTC เลือกใช้วัสดุที่ไม่ทิ้งคราบรอยนิ้วมือเมื่อสัมผัสและภายในยังติดตั้งเซนเซอร์สแกนลายนิ้วมือ (Fingerscan) แบบใหม่ที่สามารถสแกนลายนิ้วมือได้ไม่ว่าเครื่องจะนอน กลับหัวหรือทะแยงแนวในก็ตาม เมื่อหน้าจอปิดอยู่ ผู้ใช้สามารถนำนิ้วมาสัมผัสเบาๆ หน้าจอจะติดและปลดล็อกอัตโนมัติสู่หน้าโฮมสกรีนทันที

558000007448206558000007448207

มาดูด้านหลังของตัวเครื่องจะเห็นความแตกต่างจากรุ่น One M9 ชัดเจนก็คือการกลับมาของกล้องหลังแบบคู่ 2 ตัวพร้อมไฟแฟลชคู่แบบ LED โดยกล้องหลักใหญ่สุด (คาดว่าใช้เซนเซอร์รับภาพจากโซนี่ขนาด 1/3 นิ้ว) จะรองรับการถ่ายภาพนิ่งที่ความละเอียดสูงสุด 20 ล้านพิกเซล รูรับแสงกว้าง f2.2 ส่วนกล้องตัวที่สองความละเอียด 2.1 ล้านพิกเซลจะทำหน้าควบคู่กับกล้องหลักเพื่อใช้เก็บรายละเอียดภาพให้ภาพคมชัดและมีมิติมากขึ้นรวมถึงสามารถใช้โหมด Duo Camera ทำหน้าชัดหลังเบลอได้เหมือน One M8

นอกนั้นการออกแบบฝาหลังจะคล้ายกับ One M9 โดยแถบด้านบนและล่างจะเป็นส่วนเสาสัญญาณ พร้อมไมโครโฟนรับเสียงตัวที่ 3 ติดตั้งเหนือกล้องหลัก ตรงกลางเป็นโลโก้ HTC

558000007448209558000007448208

ด้านปุ่มกดและพอร์ตเชื่อมต่อรอบตัวเครื่อง เริ่มจากตัวเครื่องด้านซ้ายจะเป็นที่อยู่ของช่องใส่ซิมการ์ดโทรศัพท์ Nano Sim เพียงช่องเดียว ส่วนตัวเครื่องด้านขวาจะเป็นช่องใส่การ์ดเพิ่มความจุแบบ MicroSD (รองรับความจุสูงสุด 2TB) พร้อมปุ่มเพิ่มลดเสียงและปุ่มเปิดปิดเครื่อง

558000007448210558000007448211

ส่วนช่อง MicroUSB และช่องหูฟัง 3.5 มิลลิเมตรจะติดตั้งอยู่ด้านล่างของตัวเครื่อง และด้านบนจะเป็นส่วนของช่องยิงแสงอินฟาเรดเพียงอย่างเดียว

สเปก

558000007448212

ด้านสเปก HTC ปรับใหมหมดเช่นกัน ตั้งแต่ส่วนหน่วยประมวลผล (ซีพียู) จากเดิม HTC เลือกใช้บริการ Qualcomm Snapdragon ก็เปลี่ยนมาใช้ซีพียู MediaTek รุ่น MT6795 (Helio X10) ความเร็ว 2.2GHz ที่ทางผู้ผลิตคุยว่าเป็น Octa-core 64bit แท้ๆ กราฟิกชิปใช้ PowerVR Rogue G6200 แรมให้มา 3GB รอม 32GB ส่วนระบบปฏิบัติการเลือกใช้แอนดรอยด์ 5.0.2 Lollipop ครอบทับด้วย HTC Sense UI 7.0 รุ่นล่าสุด พร้อม Google Drive ฟรีพื้นที่ 100GB)

ในส่วนสเปกอื่นๆ การรองรับเครือข่าย 3G/4G LTE สามารถรองรับทุกเครือข่ายที่มีในไทยได้ทั้งหมด WiFi รองรับมาตรฐาน 802.11 a/b/g/b/ac Dual Band พร้อมรองรับ WiFi Direct, DLNA, มี NFC อีกทั้งภายในยังติดตั้งภาครับสัญญาณวิทยุ FM แบบสเตอริโอมาให้ด้วย

ด้านภาครับสัญญาณดาวเทียมจะรองรับทั้งระบบ GPS และ GLONASS บลูทูธรองรับเวอร์ชัน 4.1 A2DP และ apt-X และสุดท้ายแบตเตอรีเป็นแบบ Li-Po ความจุ 2,840mAh

ฟีเจอร์เด่น

558000007448213

ขอเริ่มจาก User Interface หน้าตาของ HTC Sense 7.0 บนแอนดรอยด์ 5.0.2 Lollipop ที่ยังคงคอนเซป HTC ไว้ทั้งหมด ไว้ว่าจะเป็นแถบปุ่มคำสั่ง Navigation Buttons รวมถึง Blink Feed แต่อาจมีการปรับดีไซนืไอคอนและกราฟิกให้เรียบง่ายและทันสมัยตามหลัก Material Design

แต่บางส่วนก็อาจมีการปรับเปลี่ยนไปเล็กน้อย เช่น เพิ่มส่วนแสดงผลแอปพลิเคชันบนหน้าโฮมสกรีนใหม่ โดยจะมีการแบ่งหมวดหมู่ตามสถานที่ใช้งานด้วย GPS แบบอัตโนมัติ ยกตัวอย่างเมื่ออยู่ที่บ้านระบบจะเลือกแสดงแอปฯที่เรากำหนดไว้ให้แสดงเฉพาะเมื่ออยู่บ้าน อยู่ที่ทำงานก็จะแสดงแอปฯเกี่ยวกับการทำงาน หรืออยู่ข้างนอกบนรถก็จะแสดงแอปฯเกี่ยวกับเพลง แผนที่ หรือผู้ใช้จะเลือกกำหนดเองก็สามารถทำได้

558000007448214558000007448215

มาดูในส่วนฟีเจอร์เด่น เริ่มจาก HTC BoomSound ที่ในครั้งนี้เลือกจับคู่กับ Dolby Audio ด้วย ทำให้โทนเสียงและมิติเสียงที่ได้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการฟังเพลงและรับชมภาพยนตร์ เสียงจะกระจายรอบทิศทางและมีมิติดีขึ้นมาก

558000007448217558000007448216

ธีม ในครั้งนี้ HTC มีธีมให้เลือกใช้งานและดาวน์โหลดมากขึ้นกว่าเดิม รวมถึงส่วนแสดงผลเมื่อนำเครื่องไปใส่ร่วมกับเคส Dot View จะมีธีมให้เลือกใช้งานแล้ว

558000007448218

Fun Fit หรือแอปฯ นับก้าวเดินที่นอกจากจะบอกผู้ใช้ว่าวันหนึ่งเราเดินไปกี่ก้าว กี่กิโลเมตร และเผาพลาญไปกี่กิโลแคลอรี่แล้ว ตัวแอปฯยังมีเครือข่ายสังคมให้ผู้ใช้สามารถเลือกนำสถิติไปเทียบแข่งกับเพื่อนได้ด้วย

558000007448219

iPhone to HTC อีกหนึ่งส่วนสำคัญสำหรับผู้ใช้ที่กำลังเปลี่ยนโทรศัพท์จากไอโฟนหรือแอนดรอยด์รุ่นอื่นๆมาสู่ HTC เพราะคุณสามารถย้ายรายชื่อและข้อมูลจากโทรศัพท์เครื่องเก่ามาสู่ HTC ได้ง่ายผ่านแอปฯตัวนี้ และที่สำคัญสำหรับคนใช้ไอโฟนก็คือ ตัวแอปฯรองรับการ Log in บัญชี iCloud พร้อมดึงข้อมูลรายชื่อและข้อมูลจากไอโฟนทั้งหมดมาใส่ไว้ใน HTC One M9 Plus ได้ทันที

558000007448220

One Gallery ถือเป็นปลั๊กอินของส่วนแกลอรี่ภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่ออัลบั้มภาพที่เก็บไว้ในโซเชียล เช่น Google Drive, Dropbox, Facebook และ Flickr ให้มาแสดงผลรวมอยู่ในหน้าแกลอรี่ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเปิดดูรูปภาพจากโซเชียลได้ง่ายขึ้น

558000007448221

มาถึงแอปฯกล้องถ่ายภาพ การใช้งานถือว่าไม่แตกต่างจากรุ่นอื่นๆนัก โหมดกล้องเน้นโหมดอัตโนมัติเป็นหลัก แต่ผู้ใช้ก็สามารถเลือกกำหนดค่ากล้องได้เองผ่านโหมด Manual ไม่ว่าจะตั้งความเร็วชัตเตอร์ เลือกโฟกัส ความไวแสง (ISO) สามารถปรับแต่งได้ตามใจชอบ

558000007448222

ส่วนโหมดวิดีโอจะรองรับการถ่ายวิดีโอคุณภาพสูง FullHD ที่ความเร็ว 60 เฟรมต่อวินาทีหรือจะเลือกถ่ายที่ความละเอียด 4K 30 เฟรมต่อวินาทีไปถึงการถ่ายสโลโมชัน 120 เฟรมต่อวินาทีก็สามารถทำได้เช่นกัน

558000007448223

มาถึงจุดเด่นเรื่องเอ็ฟเฟ็กต์กล้องคู่ Duo Camera ที่เมื่อเปิดใช้งาน ไฟล์ภาพจะถูกบันทึกเป็นสองภาพแทนตาซ้ายและขวาและเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถปรับแต่งภาพเหล่านั้นได้ตั้งแต่ เลือกจุดโฟกัสทำหน้าชัดหลังเบลอไปถึงเลือกทำเอ็ฟเฟ็กต์ภาพสามมิติดังตัวอย่างด้านบน เป็นต้น

558000007448224

มาถึงอีกหนึ่งความสามารถใหม่เอาใจขา Hipster ก็คือส่วนตกแต่งภาพด้วยเอ็ฟเฟ็กต์ภาพซ้อนภาพบนรูปร่างต่างๆ เอาใจเด็กแนวสุดๆ

558000007448225

สุดท้ายสำหรับ ZOE ก็ยังคงมีให้เลือกใช้งานอยู่เช่นเดิม โดยผู้ใช้สามารถรวมภาพถ่ายพร้อมใส่ดนตรีประกอบจากนั้นเลือกแชร์เข้าสู่สังคม ZOE ได้ทันที แต่น่าเสียดายที่ ZOE เวอร์ชันใหม่นี้ไม่สามารถแชร์ภาพ 3D Dimension เหมือนตอนสมัย One M8 ได้แล้ว

ทดสอบประสิทธิภาพ

558000007448226

เป็นก้าวที่กล้าของ HTC ที่ตัดสินใจเลือกใช้ซีพียู MediaTek แทน Qualcomm Snapdragon ที่ช่วงหลังประสบปัญหาต่างๆมากมาย โดยการตัดสินใจครั้งนี้ HTC ไม่ทำให้ผิดหวังเพราะประสิทธิภาพโดยรวมจากโปรแกรมทดสอบต่างๆและใช้งานจริงตลอดหนึ่งอาทิตย์ที่ผ่านมาถือว่าทำได้ดีและลื่นไหล แต่ก็แอบมีหน่วงๆให้เห็นบ้างบางครั้ง แตกต่างจากตอน One M8 ที่ทำงานได้ลื่นไหลกว่า

ส่วนเรื่องความร้อนถึงแม้จะเปลี่ยนไปใช้ซีพียูตัวใหม่แล้ว แต่ทีมงานก็ยังสัมผัสถึงความร้อนที่เกิดขึ้นตลอดเวลาระหว่างใช้งานได้ โดยเฉพาะเมื่อใช้งานกล้องถ่ายภาพเป็นเวลานานหรือเปิดๆปิดๆส่วนกล้องถ่ายภาพบ่อยครั้ง ความร้อนสะสมที่เกิดขึ้นบริเวณฝาหลังก็มีมากเช่นกัน

558000007448227

ด้านการเล่นเกม 3 มิติส่วนสเปกถือว่าไม่ใช่ปัญหาเพราะไฮเอนด์สมาร์ทโฟนส่วนใหญ่จะรันเกม 3 มิติบน PlayStore ได้ทั้งหมดอยู่แล้ว แต่สำหรับสมาร์ทโฟนที่ใช้ซีพียู MediaTek อาจมีบางเกมที่ยังรองรับได้ไม่สมบูรณ์นัก ต้องรออัปเดตจากผู้พัฒนาอีกครั้ง

558000007448228

มาถึงเรื่องการทดสอบแบตเตอรีถือว่าทำคะแนนและระยะเวลาใช้งานได้กลางๆ อยู่ที่ 5 ชั่วโมง 47 นาที ถ้าคิดเป็นเวลาใช้งานทั่วไปจะอยู่ประมาณ 11-12 ชั่วโมง ก็ถือว่าความอึดของแบตเตอรีอยู่ระดับกลางๆ สามารถใช้งานเล่นเว็บ แชท โซเชียลได้ตลอดวัน แต่ถ้าให้ดีสำหรับคนที่ใช้งานหนักหน่วง เช่น ชอบถ่ายรูป เล่นเกม อาจต้องหา Power Bank ติดตัวไว้จะปลอดภัยกว่า เพราะการเปิดหน้าจอเล่นสิ่งต่างๆบน One M9 Plus ตลอดเวลา ขีดแบตเตอรีค่อนข้างลดเร็วพอสมควร (ส่วนนี้น่าจะเป็นเพราะหน้าจอที่ใหญ่และความละเอียด 2K ที่บริโภคแบตเตอรีค่อนข้างสูง)

สุดท้ายกับการทดสอบกล้องถ่ายภาพด้านหลัง ทีมงานได้มีโอกาสทดลองเฟริมแวร์กล้องตัวเก่าและใหม่ล่าสุด สำหรับตัวเฟริมแวร์เก่าสีสันที่ได้ค่อนข้างหม่นหมองติดสีตุ่นๆ บางสภาพแสงติดโทนอมฟ้า บางสภาพแสงติดโทนอมชมพูจนทีมงานไม่อยากเชื่อว่านี่คือกล้องจากไฮเอนด์สมาร์ทโฟน

อย่างไรก็ตามตัวเครื่องมีเฟริมแวร์ใหม่ที่ทางเอชทีซีระบุว่า จะมาช่วยแก้ไขในเรื่องการถ่ายภาพ เป็นเวอร์ชัน 1.61.707.4 ภายใต้แอนดรอยด์ 5.0.2 เมื่อทดลองใช้ก็พบว่า มีการปรับในแง่ของการโฟกัสได้รวดเร็วขึ้น เพียงแต่ในการเก็บสีของภาพยังคงความหม่นเช่นเดิม ทำให้ภาพที่ได้ออกมาสีสันไม่ค่อยสดใสมากนัก รวมถึงในการเก็บแสงก็ยังทำได้ไม่ดีมากนักในภาพที่มีคอนทราสต์สูง ดังนั้นตรงจุดนี้ยังคงต้องมีการปรับปรุงเพิ่มเติม

558000007448244558000007448241558000007448243558000007448242

ทดสอบถ่ายวิดีโอ 1080p ด้วยไมโครโฟน 3 ตัวอันเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นก็ยังคงมีให้ใช้งานเช่นเดิม

สรุป

558000007448230

สำหรับราคาเปิดตัว HTC One M9 Plus อยู่ที่ 24,990 บาท ซึ่งถือเป็นราคาเปิดตัวที่สูงมาก หลายส่วน HTC ทำได้ดีโดยเฉพาะส่วนสแกนลายนิ้วมือ ลำโพงและการออกแบบ แต่หลายส่วนก็สร้างความผิดหวังให้กับทีมงานเช่นกัน โดยเฉพาะการเลือกใช้ซีพียู MediaTek Helio X10 ที่เป็นซีพียูที่ดีกว่ารุ่นก่อนๆมาก แต่ HTC กลับดึงความสามารถมาใช้ได้ไม่หมด ทีมงานเชื่อว่าหลายคนตั้งตารอฟีเจอร์แปลกใหม่ที่ MediaTek สามารถให้ได้อย่าง Super Slow Motion แบบ 1080p หรือการนำความสามารถของซีพียูรุ่นนี้มาประยุกต์ใช้กับกล้องถ่ายภาพ Duo Camera ที่น่าจะให้คุณภาพภาพถ่ายและฟีเจอร์กล้องที่แปลกใหม่กว่านี้ แต่ HTC ก็กลับให้ฟีเจอร์มาไม่ต่างกับ One M8 และยิ่งเทียบกับราคาระดับ 2 หมื่น 4 พันบาทปลายๆในยุคที่สมาร์ทโฟนไฮเอนด์มีตัวเลือกที่หลากหลายมากขึ้นแล้ว ผู้ใดสนใจก็อาจต้องลองพิจารณาความคุ้มค่าให้ดีก่อนตัดสินใจจ่ายเงินออกไป

ข้อดี

– งานออกแบบแข็งแรงและดูดี หรูหราตามแบบฉบับ HTC
– ปุ่มโฮม/สแกนลายนิ้วมือแบบสัมผัสและเป็นแบบ Multi direction ด้วย
– HTC BoomSound with Dolby Audio ให้คุณภาพเสียงที่ดีขึ้นจากมาตรฐานเดิมที่ดีอยู่แล้ว
– รองรับ MicroSD สูงสุด 2TB
– โปรแกรมตกแต่งภาพน่าสนใจและจับกลุ่มเด็กแนวได้ดีมาก

ข้อสังเกต

– ซีพียู MediaTek รุ่นนี้มีสเปกและจุดเด่นมากพอสมควร แต่เหมือน HTC ยังดึงความสามารถมาใช้ไม่เต็มที่นัก เช่น ถ่ายวิดีโอ Super Slow motion 480 เฟรมต่อวินาทีที่ขาดหายไป เป็นต้น
– ความร้อนจากฝาหลังอลูมิเนียมยังคงมีให้สัมผัสตลอดการใช้งาน และจะยิ่งร้อนมากขึ้นเมื่อเปิดใช้งานกล้องหรือเล่นเกม 3 มิติติดต่อเป็นเวลานาน
– กล้องหลังไม่มีระบบป้องกันภาพสั่นไหว OIS

[usrlist “การออกแบบ:9” “สเปก/ฟีเจอร์เด่น:8” “ความสามารถโดยรวม:8.5” “ความคุ้มค่า:7.5″ avg=”true”]>หลักเกณฑ์การให้คะแนนรีวิว<

Gallery

]]>