Intel – CBIZ Reviews – MGR Online https://cyberbiz.mgronline.com เว็บไซต์รีวิวอุปกรณ์ ไอที ไฮเทค เป็นส่วนหนึ่งของผู้จัดการออนไลน์ Mon, 01 Aug 2016 08:11:02 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.0 Review : Intel NUC (2016) พีซีขนาดเล็ก พอร์ตครบ https://cyberbiz.mgronline.com/review-intel-nuc-2016/ Mon, 01 Aug 2016 07:50:13 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=23288

IMG_4857

ผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม NUC (Next Unit Computer) ของอินเทล ถือว่าเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์แรกๆที่อินเทลทำออกมาแล้ววางจำหน่ายด้วยตัวเอง และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แตกต่างไปจากการผลิตหน่วยประมวลผล หรือชิ้นส่วนอุปกรณ์เสริมที่เปิดให้เหล่าผู้ผลิตนำไปใช้ ซึ่งในจุดนี้อินเทลมองว่าเป็นโอกาสที่จะสร้างตลาดใหม่ให้แก่ผลิตภัณฑ์นั่นเอง

Intel NUC (2016) ถือเป็นคอมพ์ตั้งโต๊ะขนาดเล็ก ที่พร้อมใช้งานเพียงเชื่อมต่อเข้ากับหน้าจอและอุปกรณ์ควบคุม เหมาะสำหรับองค์กรธุรกิจขนาดเล็กที่ไม่ได้ต้องการคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงไปใช้งาน หรือนำไปใช้เป็นคอมเสริมภายในบ้าน เนื่องจากใช้พื้นที่เพียงเล็กน้อย ทำให้สามารถนำไปติดตั้งบริเวณใดก็ได้

จุดเด่นหลักของ Intel NUC (2016) จะแตกต่างกับอุปกรณ์ Intel Compute Stick ตรงที่มีพอร์ตการเชื่อมต่อมาให้ครบ ไม่จำเป็นต้องต่อกับอุปกรณ์เสริม ดังนั้นในการใช้งานแค่มี Intel NUC 1 เครื่อง ต่อกับจอมอนิเตอร์ หรือทีวีผ่านสาย HDMI เชื่อมต่อคีย์บอร์ด และเมาส์ ก็พร้อมใช้งานเป็นคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องทันที แถมยังมีพอร์ตเหลือให้ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์เสริมอื่นๆอีก

การออกแบบ

IMG_4862

ในแง่ของการออกแบบด้วยแนวคิดของ Intel NUC ที่ต้องการประหยัดพื้นที่ ให้ออกมาเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก หรือกล่องสี่เหลี่ยมหนึ่งกล่อง ที่ภายในมีการติดตั้งแผงวงจร หน่วยประมวลผล อุปกรณ์เชื่อมต่อไร้สายต่างๆไว้ภายใน โดยมีขนาดอยู่ที่ 115 x 111 x 51.6 มิลลิเมตร มีให้เลือกเพียงสีเดียวคือตัวเครื่องสีเงินตัดกับฝาสีดำ

ด้านบนจะมีปุ่มเปิดปิดเครื่องสีเทา พร้อมสัญลักษณ์พาวเวอร์อยู่บริเวณมุมเครื่อง พร้อมไฟแสดงสถานะการทำงานของเครื่อง ตัดกับฝาเครื่องสีดำที่ทำจากพลาสติกออกเงาๆเล็กน่อย ซึ่งตอนที่แกะออกจากกล่องจะมีพลาสติกซีลมาเป็นอย่างดี

IMG_4866

ด้านหน้าจะมีพอร์ตยูเอสบี 3.0 ให้ 2 พอร์ต (โดยพอร์ตที่มีสีเหลืองจะรองรับการชาร์จไฟให้กับอุปกรณ์พกพาอื่นๆได้ด้วย) ถัดมาข้างๆจะมีพอร์ตหูฟังและไมโครโฟนขนาด 3.5 มม.

IMG_4868

ด้านหลังไล่จากทางซ้ายจะมีช่องสำหรับเสียบสายไฟ (อะเดปเตอร์) พอร์ตเสียง (Optical) พอร์ตภาพ (HDMI / VGA) ช่องเสียบสาย LAN และพอร์ตยูเอสบี 3.0 อีก 2 พอร์ต

IMG_4865IMG_4867

ด้านขวาจะมีช่องการ์ดรีดเดอร์ขนาดมาตรฐาน ช่องพัดลมระบายอากาศ และช่องล็อกตัวเครื่อง ส่วนด้านซ้ายจะมีเพียงช่องระบายอากาศเท่านั้น

IMG_4876

ในส่วนของใต้เครื่อง จะมีบอกรายละเอียดเบื้องต้นของตัวเครื่องไม่ว่าจะเป็นชื่อรุ่น สัญลักษณ์มาตรฐานที่รับรองต่างๆ รวมถึงเลขตัวเครื่อง และรูน็อตสำหรับยึดกับอุปกรณ์เสริมไว้ใช้แขวนตัวเครื่องกับผนัง เพื่อไม่ให้กินพื้นที่เวลาเชื่อมต่อใช้งาน

IMG_4860

อุปกรณ์ที่ให้มาในกล่องจะมีตัว Intel NUC อะเดปเตอร์ ฐานยึดผนัง คู่มือการใช้งาน และใบรับประกัน

สเปก

s03

Intel NUC Mini PC NUC5PGYH จะมาพร้อมกับหน่วยประมวลผล Intel Pentium N3700 ที่เป็นควอดคอร์ ความเร็ว 2.4 GHz ทำงานบนพื้นฐาน 64 บิต กราฟิกออนบอร์ด Intel HD RAM DDR3L 2 GB (ใส่เพิ่มได้สูงสุด 8 GB) พื้นที่เก็บข้อมูลเป็น eMMC 32 GB ทำงานบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 10 ด้านการเชื่อมต่อไร้สายจะรองรับ ไวเลส มาตรฐาน 802.11 ac และบลูทูธ 4.0

ฟีเจอร์เด่น

IMG_4880

ความโดดเด่นของ Intel NUC ไม่ได้อยู่ที่ประสิทธิภาพ หรือฟังก์ชันอะไรที่คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นไม่มี แต่จับจุดขายที่เป็นพีซีขนาดเล็กเหมาะกับการใช้งานในบ้านหรือองค์กรธุรกิจขนาดเล็กเป็นหลัก ที่ไม่ต้องการลงทุนคอมพิวเตอร์ราคาหลายๆหมื่นมาให้พนักงานใช้งานโปรแกรมทั่วๆไป

s01

ดังนั้นด้วยการเปิดราคาจำหน่ายที่ 9,900 บาท จึงเข้ามาตอบโจทย์ดังกล่าว ทั้งในแง่ของราคาที่ไม่สูงเกินไป ตัวเครื่องมีขนาดเล็กประหยัดพื้นที่ในการใช้งาน ที่สำคัญตือการที่ทำงานบนระปฏิบัติการวินโดวส์ 10 โปรแกรม หรือแอปพลิเคชันใดที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการดังกล่าวได้ก็รองรับการใช้งานทั้งหมด

IMG_4874

อีกจุดคือการที่มีพอร์ตต่างๆมาให้ใช้งานครบเครื่อง ไม่ว่าจะเป็นแง่ของการเชื่อมต่อนอกจากการเชื่อมต่อไร้สายแล้ว ยังสามารถต่ออุปกรณ์ผ่านสายแลน เพื่อให้เข้ากับระบบภายในออฟฟิศให้ใช้งานได้สะดวกขึ้น หรือกรณีที่ต้องการต่อกับฮาร์ดดิสก์พกพา หรืออุปกรณ์เสริมอื่นๆก็มีพอร์ตยูเอสบีให้ใช้งานถึง 4 พอร์ต ซึ่งถือว่าเพียงพอกับการใช้งานอยู่แล้ว

ทดสอบประสิทธิภาพ

ในส่วนของการทดสอบประสิทธิภาพ ด้วยการที่ตัว Intel NUC ใช้หน่วยประมวลผลเป็น Intel Pentiem ประสิทธิภาพจึงอยู่ในระดับกลางๆ ไม่ได้โดดเด่นขึ้นมาเหมือนเครื่องราคาแพง แต่ก็ถือว่าเพียงพอกับการใช้งานทั่วๆไป ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมแนวไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ การใช้งานเว็บเบราว์เซอร์ หรือการใช้งานด้านความบันเทิงอย่างรับชมภาพยนตร์ระดับ 4K ก็สามารถรันได้ตามปกติ

s04

ผลการทดสอบจาก PCMark 8 สำหรับ Home Accelerated ได้คะแนนอยู่ที่ 1,844 คะแนน Work Accelerated 1,473 คะแนน และ Creative Accelerated อยู่ที่ 2,025 คะแนน จะเห็นได้ว่าคะแนนของประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมไม่ได้สูงมากนัก เนื่องจากถูกออกแบบมาให้เน้นใช้งานเอกสารทั่วๆไป และตกแต่งภาพเล็กน้อยเท่านั้น

s05

ขณะที่ผลการทดสอบ 3Dmark ในการทดสอบประสิทธิภาพกราฟิก Ice Storm 24,353 คะแนน Ice Storm Extreme 17140 คะแนน Ice Storm Unlimited 24,792 คะแนน Cloud Gate 2,223 คะแนน Sky Diver 1,264 คะแนน

s06Geekbench 3 ทำคะแนน 32-bit Single Core อยู่ที่ 955 คะแนน Multi Core อยู่ที่ 3,156 คะแนน ส่วน 64-bit Single Core อยู่ที่ 1,008 คะแนน Multi Core อยู่ที่ 3,365 คะแนน

เมื่อเห็นถึงผลการทดสอบแล้ว ก็จะเห็นว่าตัว Intel NUC จะไม่ได้เน้นตอบโจทย์ผู้ที่ต้องการพีซีประสิทธิภาพสูง แต่จะเน้นไปที่ตัวเครื่องที่มีพอร์ตการทำงานให้ครบเครื่อง ไม่ว่าจะเป็นฝั่งของเสียงที่มีออปติคัลพอร์ตมาให้เชื่อมต่อ รวมถึงด้านภาพที่มีตัวเลือกให้ทั้ง VGA และ HDMI กับพอร์ต USB 3.0 อีกรวมกัน 4 พอร์ต

ส่วนการใช้งานด้านความบันเทิง แม้ว่าประสิทธิภาพจะไม่สูงนัก แต่ก็ยังสามารถรันไฟล์วิดีโอระดับ 4K ได้ แต่ก็ไม่ลื่นไหลเท่าที่ควร แต่ถ้าเป็นวิดีโอระดับ Full HD ถือว่าไม่มีปัญหา ดังนั้นอาจจะไม่เหมาะนำมาเป็นเครื่องเล่นมัลติมีเดียไว้ใช้งานภายในบ้านมากนัก

สรุป

จากการที่อินเทล วางผลิตภัณฑ์ Inte NUC 2016 จะเข้ามาตอบโจทย์กลุ่มผู้ที่ต้องการพีซีขนาดเล็กไว้ใช้งานทั่วๆไป จึงเหมาะกับกลุ่ม SMEs ที่ต้องการพีซีราคาประหยัดมาใช้งานเป็นหลัก แต่ขณะเดียวกัน Intel NUC ก็ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ร่วมกับพวก Digital SIgness ในการแสดงผล หรือนำไปใช้งานนอกสถานที่ตามคีออส หรือจุดให้บริการต่างๆเพิ่มเติมได้จากการที่ตัวเครื่องเล็กพกพาสะดวก

แน่นอนว่า Intel NUC จะไม่เหมาะกับกลุ่มผู้ใช้ที่เป็นฮาร์ดคอร์เนื่องจากสเปกที่เป็น Intel Atom ดังนั้นถ้าต้องการนำมาใช้งานภายในบ้าน ก็เหมาะกับการเป็นพีซีต่อกับจอหรือโทรทัศน์ไว้ใช้ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ดูหนัง ฟังเพลง พิมพ์งานเอกสารทั่วๆไป ยังไม่เหมาะกับการนำมาเป็นอุปกรณ์เกมเมอร์ หรือใช้รับชมไฟล์วิดีโอระดับ 4K

ส่วนในอนาคต ก็ต้องลุ้นกันว่าทางอินเทล จะมีการนำ Intel NUC ที่เป็นรุ่น Skylake ที่มาพร้อมกับ Core i3 หรือ Core i5 รวมถึง Skull Canyon NUC ที่เป็น Core i7 เข้ามาทำตลาดในประเทศไทยเพิ่มเติมหรือไม่ เพราะจะเป็นรุ่นที่มีสเปกดีขึ้น เหมาะกับกลุ่มผู้ที่ต้องการพีซีขนาดเล็กประสิทธิภาพสูงเพิ่มเติม

ข้อดี

พีซีขนาดเล็ก พกพาไปใช้งานได้ทุกที่

มีพอร์ตเชื่อมต่อมาให้ครบ

มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 10 ให้ใช้งานได้ทันที

ข้อสังเกต

พื้นที่เก็บข้อมูลในตัวเครื่องให้มาเพียง 32 GB ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใส่การ์ด หรือต่อ Extermal HDD ร่วมด้วย

ประสิทธิภาพอยู่ในระดับการใช้งานทั่วๆไป

Gallery

]]>
Review : Intel Compute Stick (2016) คอมจิ๋วพกพาง่าย ต่อจอใช้ได้เลย https://cyberbiz.mgronline.com/review-intel-compute-stick2016/ Mon, 16 May 2016 07:36:31 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=22593

IMG_2986

อุปกรณ์ที่ถือเป็นต้นแบบสำหรับอินเทล ในการนำซีพียูรุ่นเล็ก มาเชื่อมต่อกับหน้าจอโทรทัศน์ หรือจอมอนิเตอร์เพื่อใช้งานภายใต้ชื่อ Intel Compute Stick ยังถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภครุ่นใหม่ในยุคปัจจุบัน ที่นิยมรับชมรายการโทรทัศน์ ซีรีส์ หรือภาพยนตร์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

จุดเด่นที่เพิ่มขึ้นมาใน Intel Compute Stick (2016) นอกเหนือไปจากใช้ซีพียู Atom รุ่นใหม่ (Cherry Trail) กับปรับสเปกเพิ่มเล็กน้อยแล้ว ก็จะมีในส่วนของพอร์ตยูเอสบีเป็น 2 พอร์ต จากเดิมที่มีเพียงพอร์ตเดียว พร้อมกับการเพิ่มฟังก์ชันอย่าง Intel Remote Keyboard ให้สามารถใช้สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตควบคุมได้

การออกแบบ

IMG_2997

ด้วยจุดประสงค์หลักของอินเทล คือการออกมาเป็นต้นแบบคอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก (Stick) ทำให้การออกแบบจะเน้นไปที่การตอบโจทย์การใช้งานเป็นหลัก ดีไซน์จึงออกมาอยู่ในลักษณะแท่งๆเหมือนพวกแอร์การ์ด โดยในรุ่นนี้จะมีความยาวเพิ่มขึ้นจากรุ่นก่อนหน้า จากการเพิ่มพอร์ตยูเอสบีเข้ามา

ทำให้ขนาดของ Intel Compute Stick อยู่ที่ 113 x 38 x 12 มิลลิเมตร ขณะที่อุปกรณ์ที่ให้มาในกล่องนอกจากตัว Compute Stick แล้วก็จะมี สายต่อ HDMI ขนาดสั้นมาให้กรณีที่พื้นที่หลังโทรทัศน์มีจำกัด พร้อมกับอะเดปเตอร์ที่เป็นพอร์ตไมโครยูเอสบี (สามารถนำที่ชาร์จโทรศัพท์ทั่วไปใช้แทนได้เวลาพกพาไปที่ต่างๆ)

IMG_2987

ด้านหน้าจะมีสัญลักษณ์ของ Intel Inside อยู่ส่วนปลาย ขณะที่ส่วนบนจะเป็นเหมือนช่องระบายอากาศ ด้านหล้งจะเป็นสติกเกอร์บอกรายละเอียดมาตรฐานต่างๆ รวมถึงรหัสผลิตภัณฑ์ และ Mac Address เพื่อใช้ตั้งเข้ากับเครือข่ายในการใช้งาน

ด้านบนเป็นพอร์ต HDMI 1.4b ด้านล่างจะมีความโค้งเล็กน้อย

IMG_2990

ด้านซ้ายมีช่องใส่ไมโครเอสดีการ์ดให้เพิ่มพื้นที่เก็บข้อมูล และช่องสำหรับร้อยสายล็อกเครื่อง

IMG_2992

ด้านขวาจะมีปุ่มเปิดเครื่อง ถัดลงมาเป็นช่องไมโครยูเอสบีสำหรับเสียบสายชาร์จ พอร์ตยูเอสบี 2 ช่อง โดยเป็น USB 2.0 1 ช่อง และ USB 3.0 (สีฟ้า) อีก 1 ช่อง กรณีที่ต้องการความเร็วในการเชื่อมต่อที่มากขึ้น

สเปก

cpuzw10

สำหรับหน่วยประมวลผลของ Intel Compute Stick (2016) จะใช้หน่วยประมวลผล Intel Atom x5-Z8300 ที่เป็น Quad-Core 1.44 GHz (Upto 1.84 GHz 2MB Cache) RAM DDR3L 2 GB พื้นที่เก็บข้อมูลภายใน 32 GB รองรับการเพิ่มไมโครเอสดีการ์ดสูงสุด 128 GB ด้านการเชื่อมต่อไร้สายจะรองรับทั้ง WiFi 802.11ac บลูทูธ 4.0 ที่สำคัญคือมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 10 Home Edition ให้พร้อมใช้งานทันที

ฟีเจอร์เด่น

intel

ด้วยเป้าหมายของ Compute Stick คือการเป็นคอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก ที่เหมาะกับทั้งในส่วนของผู้บริโภคทั่วไปที่ต้องการเปลี่ยนโทรทัศน์ให้สามารถใช้งานเป็นคอมพ์เพื่อใช้ท่องอินเทอร์เน็ต ใช้เข้าถึงคอนเทนต์ส่วนตัวอย่างรูปภาพ วิดีโอ การใช้งานเพื่อความบันเทิงอย่างรับชมวิดีโอสตรีมมิ่งหรือใช้งานสไกป์ เพื่อติดต่อสื่อสารกับเพื่อนๆ

ขณะที่ลูกค้าฝั่งองค์กรธุรกิจ ก็สามารถนำ Compute Stick ไปปรับใช้ได้กับการนำเสนอข้อมูลระบบดิจิตอล (Digital Signafe) หรือใช้เป็นคอมพ์ตามจุดบริการลูกค้า (Kiosk) หรือจะประยุกต์มากับงานชนิดอื่นๆที่ใช้ประสิทธิภาพทั่วไปของคอมพิวเตอร์ หรือในระบบประหยัดพลังงานก็ทำได้

โดยจริงๆแล้วอินเทลจะผลิต Compute Stick ออกมาด้วยกัน 2 รุ่นคือ รุ่นรหัส STK1AW32SC คือรุ่นที่มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 10 กับอีกรุ่นคือ STK1A32SC เป็นรุ่นที่ไม่ได้มากับระบบปฏิบัติการใดๆ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถนำไปลงโอเอสที่ต้องการใช้อย่างลินุกซ์ได้

อย่างไรก็ตาม ด้วยการที่ประสิทธิภาพตัวเครื่องไม่ได้สูงมาก ทำให้การแสดงผลที่อินเทลระบุว่ารองรับคือ 1080p เท่านั้น แต่อย่างไรด็ตามผู้ใช้สามารถนำไปใช้เชื่อมต่อกับจอ 4K บางรุ่นได้ ทั้งนี้ ทีมงานได้ทดลองใช้กับจอ LG UltraWide 4K กลับไม่สามารถใช้งานได้ ดังนั้นจึงอาจจะขึ้นอยู่กับรุ่นของจอว่าจะใช้ด้วยกันได้หรือไม่

windows10

เมื่อเชื่อมต่อ Intel Compute Stick เข้ากับหน้าจอครั้งแรกจะพบกับหน้าจอการติตตั้ง Windows 10 อย่างการใส่ชื่อผู้ใช้ การเชื่อมต่อเข้าไวไฟ ล็อกอินเข้าบัญชีผู้ใช้ ซึ่งเป็นไปตามปกติหลังจากที่ลง Windows 10 ครั้งแรก เมื่อตั้งค่าต่างๆเสร็จเรียบร้อย ก็พร้อมให้ใช้งานได้ทันที

remote

แอปพลิเคชันเสริมที่อินเทลติดตั้งมาให้ด้วยเพื่อความสะดวกในการใช้งานคือ Intel  Remote Keyboard กรณีที่ไม่สามารถเชื่อมต่อเมาส์ และคีย์บอร์ดเข้ากับ Stick ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันดังกล่าวมาติดตั้งไว้ในสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต เพื่อใช้การควบคุมผ่านระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายได้ทันที

เพียงแต่ในการใช้งานครั้งแรก อาจจะต้องมีการเปิดใช้งานในเครื่องก่อน หลังจากนั้นเปิดแอปที่สมาร์ทโฟนขึ้นมา เลือกชื่ออุปกรณ์ที่จะเข้าไปควบคุม ซึ่งที่หน้าจอแสดงผลจะขึ้นรหัส QR Code มาให้ใช้สมาร์ทโฟนสแกนเพื่อเข้าเครื่องป้องกันการเข้าใช้งานผิดเครื่อง และเพื่อความปลอดภัย จากนั้นก็สามารถใช้สมาร์ทโฟนแทนเมาส์ และคีย์บอร์ดได้ทันที

ทดสอบประสิทธิภาพ

geekbench

ในส่วนของการทดสอบประสิทธิภาพ เนื่องจากตัวสเปกเครื่องของ Compute Stick ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ใช้งานหนักๆ ดังนั้นโปรแกรมเทสอย่าง PCMark8 หรือ 3DMark จึงไม่สามารถรันได้เสร็จสมบูรณ์ ทีมงานจึงเหลือเพียงการทดสอบผ่าน Geekbench มาให้ดูกันคือคะแนนแบบ Single Core ได้ที่ 745 คะแนน ส่วน Multi Core ได้ 2,101 คะแนน

ขณะที่การทดสอบอื่นๆ อย่างการรับชมภาพยนตร์ความละเอียดสูงระดับ 1080p ที่การแสดงผล 1080p จะพบอาการหน่วงเป็นระยะๆ ดังนั้นถ้าต้องการนำมาสตรีมมิ่งภาพยนตร์ความละเอียดสูง อาจจะต้องหาสติ้กที่มีประสิทธิภาพสูงกว่านี้ แต่ถ้าเป็นความละเอียดระดับ 720p สามารถแสดงผลได้สบายๆ

สรุป

ถ้าเทียบระหว่าง Compute Stick ปี 2015 กับ ปี 2016 สิ่งที่เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจนเลยคือการเพิ่มพอร์ต USB 3.0 มาให้อีกพอร์ต ทำให้มีตัวเลือกในการเชื่อมต่อเพิ่มเติม ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ควบคุมเข้ากับพอร์ต USB 2.0 หรือผ่านบลูทูธ และเลือกใช้พอร์ต USB 3.0 สำหรับการเชื่อมต่อ External Harddisk เพื่อให้ได้ความเร็วในการใช้งานที่สูงขึ้น

แต่ด้วยประสิทธิภาพของหน่วยประมวลผลที่เป็น Atom กับ RAM ที่ให้มาเพียง 2 GB ข้อจำกัดในการใช้งานจึงมีค่อนข้างสูง ทำให้ใช้งานได้ทั่วๆไป อย่างการแปลงโทรทัศน์มาใช้ ท่องอินเทอร์เน็ต ใช้ติดต่อสื่อสารผ่านโปรแกรมแชตต่างๆ รวมถึงการทำงานเล็กๆน้อยๆจากไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ การสตรีมภาพยนตร์ระดับ 720p (1080p มีอาการกระตุกบ้าง)

ทั้งนี้ ถ้าเทียบกับราคาจำหน่ายที่ 6,490 บาท กับการได้อุปกรณ์ที่จะเปลี่ยนจอโทรทัศน์ให้กลายเป็นสมาร์ททีวี หรือสำหรับการใช้งานในองค์กรที่ต้องการเพียงระบบแสดงผลตามคีออส หรือการใช้งานเว็บแอปพลิเคชัน การลงทุนระดับนี้ถือว่าค่อนข้างคุ้มค่าเมื่อเทียบกับราคาคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะขนาดทั่วไป แถมยังได้ความสะดวกในการพกพาเพิ่มขึ้นมา ดังนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าจะนำอุปกรณ์นี้ไปใช้ในมุมไหนด้วย

ข้อดี

เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กพกพาติดตัวไปได้ง่าย

สามารถเชื่อมต่อกับจอภาพเพื่อแปลงเป็นพีซีได้ทันที

มีพอร์ต USB 3.0 มาให้ใช้งานเพิ่มเติม

ข้อสังเกต

แม้ว่าตัวเครื่องจะรองรับการแสดงผล 1080p แต่ยังมีอาการกระตุกให้เห็น

ประสิทธิภาพเหมาะกับการใช้งานเบื้องต้นเท่านั้น

Gallery

]]>
Review: Intel Compute Stick คอมพ์จิ๋ว ใช้งานง่าย https://cyberbiz.mgronline.com/review-intel-compute-stick-%e0%b8%84%e0%b8%ad%e0%b8%a1%e0%b8%9e%e0%b9%8c%e0%b8%88%e0%b8%b4%e0%b9%8b%e0%b8%a7-%e0%b9%83%e0%b8%8a%e0%b9%89%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%87%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%a2/ Tue, 16 Jun 2015 08:17:31 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=17659

558000006894821

ในยุคของ IoT (Internet of Things) เมื่ออุปกรณ์ทุกอย่างสามารถเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้แล้ว คอมพิวเตอร์เองก็ไม่มีความจำเป็นต้องมีขนาดใหญ่อีกต่อไป เพราะด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน เมื่อหน่วยประมวลผลมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ขนาดเล็กลง กินไฟน้อยลง ก็ทำให้ผู้ผลิตสามารถผลิตพีซีขนาดจิ๋วออกมาได้

อินเทล ในฐานะของผู้ผลิตซีพียู ก็เล็งเห็นถึงโอกาสดังกล่าวในการทำ Intel Compute Stick หรือคอมพ์จิ๋วออกมา เพื่อเป็นต้นแบบให้ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์รายอื่นได้เห็น และร่วมกันผลิตออกมาจำหน่ายในท้องตลาด เหมือนเช่นตอนที่อินเทลทำ Intel NUC (Next Unit of Computing) ออกมา และผู้ผลิตรายอื่นก็เริ่มทำตาม

จุดเด่นหลักของ Intel Compute Stick ก็คือเป็นอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อกับจอภาพ หรือโทรทัศน์ ที่มีพอร์ต HDMI และแสดงผลออกมาเป็น Windows 8.1 with Bing ให้ใช้งานได้ทันที โดยสามารถต่อพ่วงกับไฟจากตัวจอ และเชื่อมเมาส์ คีย์บอร์ด เพื่อใช้งานได้ทันที

การออกแบบและสเปก

558000006894810

ด้วยการที่อินเทลต้องการออกแบบให้ตัว Intel Stick มีขนาดเล็ก เหมาะกับการนำไปต่อกับจอโทรทัศน์ หรือ จอภาพต่างๆได้ทุกที่ ทุกเวลา ทำให้การออกแบบออกมามีลักษณะเหมือนแฮนดี้ไดร์ฟ หรือแอร์การ์ดทั่วๆไป ทำให้มีขนาดอยู่ที่ 103.4 x 37.6 x 12.5 มิลลิเมตร

โดยที่ตัวของ Compute Stick จะใช้สีดำเป็นพื้น มีโลโก้ Intel แปะอยู่กึ่งกลาง โดยมีพอร์ตหลักเป็น HDMI 1.4a ไว้ต่อกับจอภาพ หรือ โทรทัศน์ ถัดมาก็จะมีช่องเสียบยูเอสบี 1 พอร์ต และช่องใส่ไมโครเอสดีการ์ด

558000006894820

แน่นอนว่าในการใช้งานจำเป็นต้องเชื่อมต่อกับพลังงานไฟฟ้า ด้วยการที่อินเทลใส่พอร์ตไมโครยูเอสบีมาให้ ทำให้สามารถนำสายยูเอสบีมาเชื่อมต่อได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นการนำไฟจากจอ หรือจากอแดปเตอร์ก็ได้เช่นเดียวกัน

ในการใช้งานกรณีที่เชื่อมต่อกับโทรทัศน์ เมื่อเปิดโทรทัศน์ตัว Compute Stick ก็จะติดขึ้นมาโดยอัตโนมัติ เพราะมีไฟเข้า แต่ถ้าไม่ติดก็สามารถกดปุ่มเปิดเครื่องได้เช่นเดียวกัน

558000006894818

นอกจากนี้ ในกล่องยังมีอุปกรณ์ที่แถมมาให้ กรณีที่หลังทีวีไม่มีพื้นที่เพียงพอก็สามารถต่อกับสายเชื่อม HDMI ได้ เช่นเดียวกับอะแดปเตอร์ชาร์จที่แถมมา ถ้าตัวจอภาพไม่มีพอร์ตยูเอสบีให้เชื่อมต่อ

558000006894808

สำหรับระบบปฏิบัติการที่ติดตั้งมาให้ใน Compute Stick คือ Windows 8.1 with Bing 32 bit โดยมีสเปกภายในเป็น Intel Atom Z3735F QuadCore 1.3 GHz RAM DDR3 2 GB ROM 32 GB รองรับการเชื่อมต่อผ่านไวไฟ 802.11 b/g/n และบลูทูธ 4.0

ฟีเจอร์เด่น

558000006894822

ด้วยคอนเซปต์ของอินเทล ที่ออก Compute Stick มาเป็นอุปกรณ์เพื่อเชื่อมต่อกับจอภาพให้กลายเป็นจอแสดงผลคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง โดยไม่จำกัดว่าการใช้งานต้องใช้แค่ภายในบ้าน แต่ยังสามารถนำไปใช้กับภายนอก รวมถึงไปองค์กรได้ด้วย

โดยคอนเซปต์หลักที่อินเทลวางไว้ก็คือ การนำ Compute Stick ไปเชื่อมต่อกับจอโทรทัศน์ขนาดใหญ่เพื่อใช้ภายในบ้านให้กลายเป็นโฮมเอนเตอร์เทนเมนต์ ถัดมาก็คือการนำไปใช้กับจอแสดงผลภายนอก อย่างจอโฆษณา หรือบิลบอร์ดต่างๆ

รวมไปถึงการนำมาใช้ในองค์กร ให้กลายเป็น Thin Client เพราะตัว Compute Stick สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเพื่อนำมาใช้ในการทำงานที่ไม่ได้ต้องการคอมพิวเตอร์สเปกสูงมากนัก ซึ่งถ้ามองโดยรวมก็จะช่วยประหยัดทั้งในแง่ของพื้นที่ และพลังงาน

เบื้องต้น Inte; Compute Stick จะมีให้เลือกด้วยกัน 2 ระบบปฏิบัติการคือ วินโดวส์ 8.1 ที่มาพร้อมบิงก์ (Windows 8.1 with Bing) และระบบลินุกซ์อย่าง อูบุนตู (Ubintu) เพียงแต่ที่นำมาจำหน่ายตามช่องทางต่างๆจะเป็นรุ่นของวินโดวส์เป็นหลัก เพราะถือว่าใช้งานได้ง่าย

558000006894806

โดยถ้ามองถึงการใช้งานแล้ว Windows 8.1 with Bing จะแตกต่างกับ 8.1 ปกติ ตรงที่ ค่าตั้งต้นของเสิร์ชเอนจิ้นใน Internet Explorer จะเป็น Bing (แน่นอนว่าสามารถเปลี่ยนได้ทีหลัง) กับอีกส่วนหนึ่งคือเป็นวินโดวส์ เวอร์ชัน 32 บิต เพราะถือว่าเป็นวินโดวส์ที่ผู้ผลิตสามารถนำไปใช้ได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายด้านไลเซนต์ จึงจำกัดให้ใช้กับเครื่องที่สเปกไม่สูงมากนักเป็นหลัก

558000006894803

อีกฟีเจอร์หนึ่งที่อินเทลมีการติดตั้งมาให้ได้ใช้งานกันเลยก็คือ Intel HD Graphics Control Panel ที่ผู้ใช้สามารถเข้าไปตั้งค่าการแสดงผลต่างๆได้ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นหน้าจอ การแสดงผล 3มิติ ปรับแต่งค่าต่างๆ วิดีโอ พลังงาน และตั้งโปรไฟล์ได้

558000006894804

แน่นอนว่าเมื่อทำการเชื่อมต่อกับจอภาพ ก็จะสามารถเลือกความละเอียด (ตามสเปกหน้าจอ) สามารถตั้งหมุนหน้าจอได้ กรณีนำไปใช้กับการแสดงผลจอภาพในแนวตั้ง ปรับสเกลภาพให้ได้ขนาดตามต้องการ รวมไปถึงการเข้าไปตั้งค่าสีอื่นๆได้

ขณะที่ในแง่ของการใช้งาน Intel Compute Stick จะเหมาะกับการใช้งานทั่วๆไป อย่างเล่นอินเทอร์เน็ต ดูหนังได้ถึงความละเอียด 1080p ฟังเพลง หรือใช้งานพวก Microsoft Office แต่ไม่เหมาะนำไปใช้กับการทำภาพความละเอียดสูง ตัดต่อวิดีโอ หรือแม้กระทั่งเล่นเกมที่สเปกสูงๆ เพราะด้วยประสิทธิภาพของตัวเครื่อง ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้เหมาะกับการใช้งานแบบนั้น

ทดสอบประสิทธิภาพ

558000006894805

ทั้งนี้เมื่อทำการทดสอบด้วยโปรแกรมทดสอบ PCmark8 Home Conventional ได้ 1,120 คะแนน Creative Conventional ได้ 880 คะแนน Work Conventional 1,502 คะแนน ส่วนคะแนน Storage ไม่สามารถวัดผลได้ เพราะที่ใส่มาเป็น SSD 32 GB เท่านั้น

558000006894807

ส่วน 3Dmark Fire Strike ไม่สามารถวัดคะแนนได้ Sky Driver 358 คะแนน Cloud Gate 892 คะแนน Ice Storm 9,645 คะแนน จะเห็นได้ว่า การทำงานด้านกราฟิกจะค่อนข้างถูกจำกัดให้ใช้งานได้แบบทั่วๆไปเท่านั้น

558000006894809

สุดท้ายการทดสอบด้วยโปรแกรมอย่าง Geekbench ได้คะแนน SIngle-Core 773 คะแนน ส่วน Multi-Core ได้ 2,195 คะแนน

สรุป

ก่อนอื่นต้องมองว่า Intel Compute Stick ถือเป็นอุปกรณ์เสริมที่จะมาเปลี่ยนจอโทรทัศน์ให้กลายเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งแทนที่จะมองว่า เป็นพีซีประสิทธิภาพสูง เพราะด้วยสเปกของตัวเครื่องที่ให้มา ที่ต้องการเน้นประหยัดพลังงานด้วย ทำให้มีข้อจำกัดในการใช้งานค่อนข้างเยอะ

ดังนั้นในการใช้งานนอกจากต้องมีจอโทรทัศน์แล้ว ยังต้องมองหา USB HUB ไว้สำหรับต่อเมาส์ คีย์บอร์ด รวมไปถึงช่องเสียบแฮนดี้ไดร์ฟ หรือฮาร์ดดิสก์พกพาด้วย เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ หรือจะไปเลือกใช้งานคู่กับคีย์บอร์ดและเมาส์ไร้สายผ่านบลูทูธแทนก็ได้

ในแง่ของการเชื่อมต่อ ด้วยการที่เครื่องมีการใส่ตัวรับสัญญาณไวเลสมาให้อยู่แล้ว ถือว่าพร้อมให้ใช้งาน ถ้ามองง่ายๆ ต่อกับจอโทรทัศน์เปิดดูซีรีส์ผ่านอินเทอร์เน็ต เล่นโซเชียลเน็ตเวิร์กนิดหน่อย ก็ถือว่าเหมาะกับการซื้อไปติดตั้งใช้งานก็จะเหมาะกับผู้บริโภคทั่วไป

ข้อดี

– คอมพ์ขนาดจิ๋ว สามารถนำติดตัวไปใช้งานได้ทุกที่
– สามารถต่อกับจอโทรทัศน์ เพื่อเปิดดูหนัง ฟังเพลง เล่นเน็ตได้ทันที
– กรณีที่จอโทรทัศน์มีพอร์ต USB สามารถใช้ไฟจากช่องดังกล่าวเพื่อเปิดใช้งานได้ทันที

ข้อสังเกต

– ประสิทธิภาพไม่สูงมากนัก จึงเหมาะกับใช้งานทั่วๆไป
– พอร์ตยูเอสบีที่ให้มา 1 พอร์ต ไม่เพียงพอกับการใช้งาน จำเป็นต้องต่อกับ USB Hub
– กรณีต่อกับ Externa Harddiskl ควรต่อกับพอร์ตที่มีไฟเลี้ยงเฉพาะ ไม่งั้นไฟอาจไม่พอ และทำให้เสียได้

[usrlist “การออกแบบ:7.5” “สเปก/ฟีเจอร์เด่น:8” “ความสามารถโดยรวม:8” “ความคุ้มค่า:8″ avg=”true”]

Gallery

]]>