Linksys – CBIZ Reviews – MGR Online https://cyberbiz.mgronline.com เว็บไซต์รีวิวอุปกรณ์ ไอที ไฮเทค เป็นส่วนหนึ่งของผู้จัดการออนไลน์ Mon, 11 May 2020 04:16:48 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.0 Review : Linksys Velop MX5300 ยกระดับเครือข่ายไร้สายในบ้านด้วย WiFi 6 https://cyberbiz.mgronline.com/review-linksys-velop-mx5300/ Mon, 11 May 2020 04:16:48 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=32808

ก่อนหน้านี้ Cyberbiz เคยแนะนำทั้ง Linksys Velop Tri-Band และเกมเมอร์เราเตอร์  MR900X ที่รองรับการกระจายสัญญาณแบบ Mesh WiFi กันมาอย่างต่อเนื่อง แต่ทั้ง 2 รุ่นจะมากับเทคโนโลยี WiFi 5 ทำให้ยังมีข้อจำกัดในการกระจายสัญญาณบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอยู่

ประกอบกับการที่ ISP ในบ้านเราเพิ่มความเร็วในการเชื่อมต่อ 1 Gbps เข้ามาเป็นมาตรฐาน การที่จะใช้งานสัญญาณอินเทอร์เน็ตไร้สายภายในบ้านให้ได้ความเร็วตามแพ็กเกจ ก็จะต้องใช้งานคู่กับเราเตอร์ที่มีประสิทธิภาพด้วย โดยเฉพาะเทคโนโลยี WiFi 6 ที่อุปกรณ์ลูกข่าย (ดีไวซ์) รุ่นใหม่ๆ รองรับ

Linksys Velop MX5300 ถือเป็น Mesh WiFi ที่รองรับการกระจายสัญญาณ WiFi 6 ในระดับไฮเอนด์รุ่นแรกๆ ที่เข้ามาทำตลาดในประเทศไทย ซึ่งชูจุดเด่นในเรื่องของการกระจายสัญญาณที่ครอบคลุม และความนิ่งของสัญญาณให้ใช้งานกัน

ข้อดี

  • เทคโนโลยี WiFi 6 ช่วยให้ส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น
  • รองรับ Mesh WiFi สามารถใช้กับอุปกรณ์เก่าได้
  • ดีไซน์สวยงาม มีพอร์ตเชื่อมต่อ LAN ให้มากขึ้น

ข้อสังเกต

  • ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ขึ้น เมื่อเทียบกับ Velop รุ่นเดิม
  • การกระจายสัญญาณจะเน้นครอบคลุม ไม่ได้เน้นความเร็วสูงสุด
  • ราคาค่อนข้างสูง

WiFi 6 ส่งข้อมูลความเร็วสูง

การอัปเกรดขึ้นมาเป็น Velop MX5300 ของ Linksys ในครั้งนี้ จะเน้นการเพิ่มความเร็วในการเชื่อมต่อของเครือข่ายภายในบ้าน โดยเฉพาะการทำงานร่วมกับเน็ตบ้านความเร็วสูงระดับ 1 Gbps เพราะตัว MX5300 สามารถส่งต่อข้อมูลในบ้านได้ความเร็วสูงถึง 5.3 Gbps

เพียงแต่ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า ในการส่งข้อมูลนั้น จะมีทั้งการส่งข้อมูลไป และกลับ ทำให้จากแบนด์วิดท์ที่ได้ 5.3 Gbps เวลาใช้งานจริงก็จะแบ่งสัดส่วนออกเป็นการส่งข้อมูลบนคลื่น 2.4GHz 1147 Mbps 5GHz 2402 Mbps และ 5GHz คลื่นที่ 2 สำหรับ Mesh อีก 1733 Mbps

ดังนั้นเวลาใช้งาน ความเร็วในการใช้งานอินเทอร์เน็ตสูงสุดที่ทำได้ ถ้าเป็นอุปกรณ์ที่รองรับคลื่น 5GHz บน WiFi 6 จะทำความเร็วได้เต็มสปีดที่เกือบๆ 1 Gbps ส่วนอุปกรณ์ที่รองรับ WiFi 5 ก็จะลงมาอยู่สูงสุดราว 850 Mbps ตามปกติ

การที่ MX5300 รองรับทั้งคลื่น 2.4 GHz และ 5GHz อีก 2 คลื่น จะมาช่วยให้เวลาใช้เป็น Mesh WiFi ร่วมกับ Velop รุ่นอื่น จะสามารถส่งสัญญาณ 5 GHz ไปให้ Velop เครื่องลูกได้ โดยไม่รบกวนกับคลื่นหลักที่ใช้งาน ซึ่งจะช่วยให้เครื่องอื่นๆ ได้ความเร็วที่เพิ่มขึ้นไปด้วย

ข้อดีอีกอย่างของ MX5300 คือรองรับเครื่องลูกข่ายได้มากขึ้น โดยเฉพาะในยุคของอุปกรณ์ IoT ที่เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเพื่อสั่งงานได้ ทำให้การที่มีเครือข่ายที่รองรับก็จะช่วยให้การใช้งาน IoT ภายในบ้านสะดวกขึ้นด้วย

ทีมงานทดลองเชื่อมต่อ MX5300 เข้ากับ AIS Fibre ที่ให้ความเร็ว 1 Gbps / 200 Mbps ผ่านการเชื่อมต่อสาย LAN เข้ากับเราเตอร์หลัก เพื่อลดขั้นตอนในการติดตั้ง และทดสอบใช้งานพบว่า MX5300 สามารถรับสัญญาณอินเทอร์เน็ตผ่านสาย LAN มาได้ราว 935 Mbps

เมื่อทดลองนำสมาร์ทโฟนที่รองรับ WiFi 6 อย่าง Samsung Galaxy S20 Ultra มาเชื่อมต่อ ก็จะได้ความเร็วที่ใกล้เคียงกันอยู่ในช่วง 850-900 Mbps ส่วนอุปกรณ์ที่เป็น WiFi 5 ก็จะลดลงอยู่ที่ราว 650-700 Mbps ซึ่งถือเป็นการทดสอบความเร็วสูงสุดในการเชื่อมต่อ

ถัดมา ทดลองเชื่อมต่อใช้งานในจุดที่ไกลขึ้น จากเดิมที่ Velop รุ่นแรก ใช้งานได้ความเร็วประมาณ 200 – 300 Mbps พอเปลี่ยนมาเป็น MX5300 ความเร็วที่ได้เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ราว 500-600 Mbps ซึ่งถือว่าให้สัญญาณที่แรง และครอบคลุมพื้นที่ได้มากขึ้น

ดังนั้น สำหรับบ้านหลังใหญ่ๆ ที่จากเดิมอาจจะต้องใช้ Velop 3 จุดให้ครอบคลุมทั่วทั้งบ้าน พอมาเป็นรุ่นใหม่อย่าง MX5300 การวางจุดกระจายสัญญาณดีๆ สัก 2 จุด ก็เชื่อว่าเพียงพอใช้งานให้ครอบคลุมในระดับที่ใช้งานได้แบบไม่หงุดหงิดแล้ว

ตัวเครื่องใหญ่ขึ้น แต่พอร์ตก็ครบขึ้นด้วย

มาถึงในส่วนของดีไซน์ตัวเครื่อง Velop MX5300 ยังมากับดีไซน์ที่คล้ายคลึงกับ Velop รุ่นเดิม เพียงแต่มีขนาดที่ใหญ่ขึ้น เนื่องจากมีการเพิ่มเสาสัญญาณภายในเป็น 13 เสา เพื่อขยายกำลังส่งให้ไกลมากขึ้น

โดยขนาดของ MX5300 จะอยู่ที่ 110 x 110 x 244 มิลลิเมตร น้ำหนัก 1.59 กิโลกรัม ที่มีการสกรีนสัญลักษณ์ Linksys อยู่ด้านหน้า ข้างบนจะเป็นช่องระบายอากาศ และไฟแสดงสถานะในการเชื่อมต่อ

ด้านหลัง จะเป็นจุดรวมพอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ ไล่ตั้งแต่ USB 3.0 พอร์ต Gigabit LAN 4 พอร์ต และอีก 1 พอร์ตสำหรับรับสัญญาณอินเทอร์เน็ต (WAN) กับช่องเสียบอะเดปเตอร์ ซึ่งภายในกล่องที่ให้มาจะแถมสาย LAN 1 เมตร มาให้ด้วย

ใต้เครื่อง จะมีปุ่มเปิดปิดเครื่อง พร้อมปุ่ม WPS และปุ่ม Reset มาให้กดใช้เวลาต้องการล้างเครื่อง หรือการเชื่อมต่อแบบรวดเร็ว โดยบริเวณขอบๆ จะมีการเว้นช่องไว้เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกขึ้น

ติดตั้งใช้งานง่าย

อีกจุดเด่นที่สำคัญของ Linksys Velop คือการที่ผู้ใช้สามารถซื้อมาติดตั้งได้ด้วยตัวเอง และมีขั้นตอนในการติดตั้งที่ง่ายมาก โดยสามารถเลือกได้ว่าจะใช้งานร่วมกับเราเตอร์เก่าที่มีอยู่เชื่อมต่อ LAN เข้ากับ Velop เพื่อใช้งานได้เลย

หรือจะเลือกใช้ Velop MX5300 แทนเราเตอร์เครื่องที่ ISP ให้มา ซึ่งถ้าเป็นขั้นตอนนี้จะต้องทำการประสานกับทาง Call Center ของแต่ละผู้ให้บริการเพื่อขอรหัสผ่าน และทำ Bridge Mode เพื่อให้ใช้ Velop ได้แทนเราเตอร์ ซึ่งอาจจะยุ่งยากขึ้นเล็กน้อย แต่ก็แลกกับการที่ไม่ต้องต่อเราเตอร์ 2 เครื่อง

ขั้นตอนในการติดตั้งก็จะเริ่มจากดาวน์โหลดแอป Linksys มาติดตั้งไว้บนสมาร์ทโฟน เปิดแอปขึ้นมาจะให้ทำการลงทะเบียน และทำตามขั้นตอนในการตั้งค่าไปเรื่อยๆ จนเสร็จแล้วไฟสัญลักษณ์ที่แสดงผลจะขึ้นเป็นสีฟ้า

เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วสามารถใช้แอปพลิเคชันเป็น Dashboard ดูข้อมูลการเชื่อมต่อ และตั้งค่าเพิ่มเติมได้ด้วยไม่ว่าจะเป็นดูว่ามีอุปกรณ์ใดเชื่อมต่ออยู่บ้าน จัดความสำคัญของอุปกรณ์ในการจัดสรรแบนด์วิดท์ จนถึงการเปิดโหมดผู้ปกครอง และตั้งเครือข่ายสำหรับแขกที่มาที่บ้าน

สำหรับรายละเอียดการตั้งค่าต่างๆ สามารถย้อนกลับไปดูได้ในรีวิว Linksys MR900X ที่อธิบายการทำงานของแอป Linksys ไว้อย่างละเอียดแล้ว และทำการเชื่อมต่อระบบ Mesh WiFi กับอุปกรณ์ Velop รุ่นอื่นไว้ด้วย

ราคาจำหน่าย Linksys Velop MX5300

สำหรับราคาจำหน่ายของ MX5300 จะมีขายทั้งแบบ 1 ตัว และแบบเป็นแพ็กให้เลือกประกอบด้วย Linksys Velop MX5300 1 โหนด ราคา 14,990 บาท 2 โหนด 24,990 บาท และ 3 โหนด 34,990 บาท

และยังมีการจัดแพ็กคู่ระหว่าง MX5300 คู่กับ Velop Tri-Band 3 โหนด ราคา 19,990 บาท เพิ่มเติมสำหรับผู้ที่เน้นสัญญาณให้ครอบคลุมบ้านขนาดใหญ่มากๆ

สรุป

แม้ว่าราคาของ Linksys Velop MX5300 จะเริ่มต้นที่ 14,990 บาท แต่ถ้ามองถึงการใช้งานในระยะยาว กับอุปกรณ์ที่รองรับ WiFi 6 และสามารถขยาย Mesh เพิ่มได้ในอนาคต ก็ถือเป็นการลงทุนที่น่าสนใจ

โดยเฉพาะบ้านที่มีพื้นที่กว้างๆ อาศัยอยู่กันเป็นครอบครัวขนาดใหญ่ และเจอปัญหาในเรื่องของสัญญาณ WiFi ไม่ครอบคลุมทั่วบ้าน ที่สำคัญคือเรื่องของการติดตั้งใช้งานที่ง่ายที่สามารถติดตั้งใช้งานได้ด้วยตัวเอง

อย่างไรก็ตาม ถ้าการใช้งานในปัจจุบันยังไม่ได้มีอุปกรณ์ที่รองรับ WiFi 6 มาใช้งานมากนัก เครื่องรุ่นเดิมอย่าง Velop Tri-Band ที่ปรับลดราคาลงมาก็ถือเป็นรุ่นที่น่าสนใจเช่นเดียวกัน

Gallery

]]>
Review : Linksys MR9000X ไฮเอนด์เราเตอร์รองรับ Mesh WiFi https://cyberbiz.mgronline.com/review-linksys-mr9000x/ Mon, 23 Mar 2020 02:54:24 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=32460

หลังจากที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหลายๆ รายเริ่มปรับความเร็วในการใช้งานเน็ตบ้านเพิ่มขึ้นเป็น 1 Gbps แต่กลายเป็นว่าเราเตอร์ที่ให้มาไม่รองรับ หรือใช้งานได้ไม่ครอบคลุม ทำให้เป็นโอกาสของ Linksys ที่จะนำเสนอเราเตอร์คุณภาพสูงให้ได้ใช้งานกัน

ที่ผ่านมา Linksys เริ่มนำเสนอ Mesh WiFi มา 2-3 ปีแล้ว ในรุ่นของไฮเอนด์ดีไซน์สวย และเริ่มพัฒนาให้มีคุณภาพในการใช้งานมากขึ้น อย่าง MR9000 รุ่นนี้ นอกจากจะเชื่อมต่อกับ Velop เพื่อทำ Mesh ได้แล้ว ยังสามารถแยกคลื่นเพื่อให้เกมเมอร์ใช้งานโดยเฉพาะได้

MR9000 ชูเรื่องของ Tri-Band ที่แบ่งเป็นการปล่อยสัญญาณ WiFi 5 GHz 2 ช่องสัญญาณ และ 2.4 GHz อีก 1 ช่องสัญญาณ ที่มีระบบป้องกันคลื่นรบกวน และให้ Latency ที่ต่ำด้วย จึงเหมาะกับพาวเวอร์ยูสเซอร์ที่ต้องการอินเทอร์เน็ตคุณภาพสูง

ข้อดี

  • เราเตอร์ Tri-Band รองรับ Velop Mesh WiFi
  • แยกสัญญาณ WiFi สำหรับเล่นเกมโดยเฉพาะได้
  • ติดตั้งใช้งานง่านผ่านแอป Linksys
  • เลือก 3 ดีไวซ์สำคัญที่จะให้ความสำคัญในการกระจายสัญญาณ

ข้อสังเกต

  • เราเตอร์ยังรองรับแค่ WiFi 5
  • ไม่สามารถตั้งค่าขั้นสูงได้ (เลือกช่องสัญญาณ WiFi เองไม่ได้)

เราเตอร์กระจายสัญญาณคุณภาพสูง

เชื่อว่าก่อนเลือกซื้อเราเตอร์ที่มีราคาค่อนข้างสูงมักจะเกิดคำถามขึ้นว่า จะเสียเงินทำไมในเมื่อผู้ให้บริการก็มีเราเตอร์มาให้ และสามารถใช้งาน WiFi ในบ้านได้

แต่จริงๆ แล้วเราเตอร์คุณภาพสูงเหล่านี้ จะเหมาะกับผู้บริโภคที่ต้องการประสิทธิภาพ และคุณภาพในการใช้งานเครือข่ายไวไฟภายในบ้าน ซึ่งไม่ใช่แค่ใช้ได้ แต่ต้องคุณภาพดี ครอบคลุมทุกพื้นที่ภายในบ้านด้วย

ทำให้ตลาดของเราเตอร์กระจายสัญญาณในบ้านยังได้รับการตอบรับที่ดีเสมอมา และเติบโตไปพร้อมๆ กับปริมาณผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ที่เพิ่มมากขึ้น

ยิ่งในเฉพาะช่วงที่เกิดการทำงานที่บ้าน (Work From Home) การที่นั่งทำงานที่บ้านแล้วสัญญาณไวไฟมีปัญหา เน็ตช้า หรือนั่งทำได้เฉพาะบางจุด ไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ การหาเราเตอร์ดีๆ มาช่วยกระจายสัญญาณจะทำให้ปัญหาเหล่านี้หมดไป

3 ย่านความถี่ ส่งข้อมูลได้สเถียรกว่า

จากจุดเด่นของ Linksys MR9000X ที่ชูเรื่องของ Tri-Band หรือ 3 ย่านความถี่ ที่มากับหน่วยประมวลผล Quad Core ช่วยให้การประมวลผล ส่งข้อมูลทำได้รวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะการส่งต่อข้อมูลขนาดใหญ่ระดับ 4K หรือการเล่นเกมที่ต้องการความเร็วในการตอบสนอง

โดยการที่มี 3 ย่านความถี่ทำให้รองรับทั้งอุปกรณ์รุ่นเก่าที่รองรับ WiFi 4 ส่วน ย่านคลื่นความถี่ 5 GHz ที่มี 2 ช่องสัญญาณ จะใช้สำหรับการส่งข้อมูลไปยัง Mesh WiFi เพื่อช่วยให้การใช้งานครอบคลุมพื้นที่มากที่สุด ซึ่งความเร็วสูงสุดที่ส่งได้ภายในเครือข่ายภายในบ้านจะอยู่ที่ 3000 Mbps

ขณะเดียวกัน ด้วยการที่นำระบบ Intelligent Mesh มาช่วยในการกระจายสัญญาณให้ครอบคลุมทั่วบ้าน และรองรับการเชื่อมต่อกับ Velop ทำให้ตัวเราเตอร์จะคำนวนการส่งสัญญาณที่ได้คุณภาพมากที่สุดโดยอัตโนมัติ

ที่สำคัญคือมีระบบค้นหาช่องสัญญาณที่ดีที่สุดแบบอัตโนมัติด้วย โดยเมื่อเลือกแล้วเราเตอร์จะทำการสแกนช่องสัญญาณรบกวนบริเวณบ้าน ก่อนเลือกช่องสัญญาณที่โดนรบกวนน้อยที่สุดมาใช้ ซึ่งถ้ามีการใช้งานในระบบ Mesh ก็จะมีการเลือกช่องสัญญาณที่แตกต่างกันไปด้วย

จุดสำคัญอยู่ที่แอปฯ

นอกเหนือจากประสิทธิภาพของเราเตอร์ที่ดีแล้ว การบริหารจัดการเครือข่ายภายในบ้านที่ง่าย และรวดเร็วกลายเป็นอีกจุดเด่นของ Linksys หลังจากเริ่มนำเสนอแอปพลิเคชันในการตั้งค่าต่างๆ ภายในบ้านตั้งแต่ 2 ปีที่ผ่านมา เมื่อตอนที่ออก Velop มาให้ใช้งานกัน

ผู้ที่สนใจ Velop สามารถย้อนกลับไปอ่านรีวิว Review : Linksys Velop สร้างเครือข่าย Wi-Fi ที่คลุมทุกพื้นที่ในบ้าน ได้ที่ https://cyberbiz.mgronline.com/review-linksys-velop/ โดยทางทีมงานได้นำ Velop มาเชื่อมต่อกับ MR9000X เพื่อช่วยกระจายสัญญาณเพิ่มเติมด้วย

ในการติดตั้งครั้งแรก หลังจากนำเราเตอร์เชื่อมต่อกับ Eternet ผ่านสาย LAN จากโมเด็มเข้าเราเตอร์ เปิดเครื่อง ให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Linksys มาติดตั้งไว้บนสมาร์ทโฟน หลังจากนั้นทำการล็อกอินเลือกเพิ่มเราเตอร์เข้าไปในระบบ ทำตามขั้นตอนต่างๆได้เลย

โดยเมื่อติดตั้งเราเตอร์หลักเสร็จ ค่อยเลือกเพิ่มจุดกระจายสัญญาณเพิ่ม เมื่อติดตั้งครบทุกจุดแล้ว แนะนำให้ใช้ความสามารถของ Intelligent Mesh ในการเลือกช่องสัญญาณอัตโนมัติ (Channel Finder) เพื่อให้การเชื่อมต่อได้ประสิทธิภาพสูงที่สุด

ภายในแอปฯ ยังเลือกตั้งดีไวซ์ที่จะให้ความสำคัญในการเชื่อมต่อมากที่สุด (Device Prioritization) เลือกตั้งจำกัดการเข้าถึงเฉพาะช่วงเวลาที่กำหนด (Parental Controls) รวมถึงแยกสัญญาณ WiFi ออกมาให้แขกที่มาบ้านใช้งาน (Guest Access) ซึ่งจะช่วยในเรื่องความปลอดภัยที่ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญภายในบ้านได้

ข้อดีอีกหนึ่งอย่างคือ Mesh WiFi ของ Linksys จะไม่มีการแยกคลื่น 2.4GHz หรือ 5GHz ให้เชื่อมต่อ แต่ใช้เป็นชื่อเดียวกันเชื่อมต่อได้ทั้งบ้าน ทำให้ไม่ต้องมาคอยเปลี่ยนช่องสัญญาณที่ใช้งาน เพราะสมาร์ทโฟนจะเลือกสัญญาณ WiFi ที่ดีที่สุดอัตโนมัติอยู่แล้ว

ทดสอบประสิทธิภาพ

หลังจากที่ทีมงานได้ทดลองติดตั้ง Linksys MR9000X ไว้ในห้องทำงานบริเวณชั้น 2 ของบ้าน และนำ Velop อีก 1 คู่ มาติดตั้งเพื่อใช้งานในชั้น 1 และ ชั้น 3 อย่างแรกที่เกิดขึ้นคือ ไม่มีพื้นที่ที่เป็นจุดบอดของสัญญาณ WiFi ภายในบ้านอีกต่อไป

โดยบริเวณชั้น 2 ที่ MR9000X กระจายสัญญาณ จะเป็นชั้นที่ทำความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้สูงที่สุด ส่วนชั้น 1 และ ชั้น 3 เมื่อเป็นการเชื่อมต่อผ่าน Mesh ทำให้ความเร็วในการใช้งานจะอยู่ที่ราว 200 – 250 Mbps เนื่องจากเป็นการกระจายสัญญาณผ่าน Velop

ประโยชน์ของการเพิ่มจุดที่ 2 และ 3 เข้ามาก็คือช่วยให้สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตกับอุปกรณ์ที่ต้องการความเสถียรอย่างชั้น 1 เชื่อมเข้ากับเครื่องเล่นเกม Playstation 4 และกล่องอินเทอร์เน็ตทีวี ซึ่งเมื่อเชื่อมต่อจาก LAN ของ Velop เข้าไปจะทำความเร็วได้ระดับ 600 Mbps

เช่นเดียวกับชั้น 3 ที่ติดตั้งกล่องควบคุมกล้องวงจรปิด และมีสมาร์ททีวี ก็สามารถใช้สาย LAN จาก Velop เชื่อมต่อเข้าไปเพื่อช่วยให้คุณภาพดีที่สุดเช่นกัน ส่วนอุปกรณ์พกพาต่างๆ การใช้งานบนความเร็วอินเทอร์เน็ตระดับ 200 Mbps ต่ออุปกรณ์ก็ถือว่าเพียงพออยู่แล้ว

สรุป

การที่จะตัดสินใจเลือกซื้อเราเตอร์กระจายสัญญาณ WiFi ภายในบ้าน ถือเป็นเรื่องที่ตัดสินใจค่อนข้างยากจากการที่มีเราเตอร์ที่ทางผู้ให้บริการแถมมาให้อยู่แล้ว แต่ถ้าใช้แล้วมีปัญหาสัญญาณไม่ครอบคลุม อินเทอร์เน็ตช้า ไม่ได้ความเร็วตามที่ต้องการ ซึ่งเป็นปัญหาหลักๆ ที่พบเจอในการใช้งานเน็ตบ้าน

การเลือกซื้อเราเตอร์กระจายสัญญาณคุณภาพดีมาใช้งานจะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ในตัว ซึ่งถ้ามองว่าเป็นการลงทุนเพื่อให้ใช้งาน WiFi ได้คุณภาพ และประสิทธิภาพดีขึ้น โดยเฉพาะในบ้านที่มีจำนวนดีไวซ์เยอะ และมีแนวโน้มที่จะติดตั้งอุปกรณ์ IoT เพิ่มเติม Linksys จะช่วยเข้ามาตอบโจทย์นี้ได้

ทั้งนี้ ราคาจำหน่ายของ Linksys MR9000X เปิดตัวอยู่ที่ 7,990 บาท ส่วนถ้าต้องการ Mesh WiFi Velop มาช่วยเรื่องความครอบคลุม สามารถซื้อ Linksys Velop AC4400 เพิ่มได้ ในราคา 8,990 บาท

Gallery

]]>
Review : Linksys Velop สร้างเครือข่าย Wi-Fi ที่คลุมทุกพื้นที่ในบ้าน https://cyberbiz.mgronline.com/review-linksys-velop/ Tue, 11 Sep 2018 20:27:43 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=29230

ในยุคที่อินเทอร์เน็ตเริ่มเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ปัญหาสัญญาณ Wi-Fi อ่อน หรือได้ความเร็วไม่เต็มที่  เมื่อต้องใช้งานภายในบ้าน กลายเป็นเรื่องน่าปวดหัว เพราะเมื่อใช้งานแล้วรู้สึกช้า ผู้ใช้ส่วนใหญ่จะคิดไปว่าเป็นที่ผู้ให้บริการ หรือ ISP แต่ในความเป็นจริง การที่สัญญาณ Wi-Fi อ่อนกลายเป็นจุดหลักที่ทำให้ใช้งานแล้วช้ามากกว่า

เมื่อเป็นเช่นนั้น ในยุคปัจจุบันจึงเริ่มมีการนำระบบ Mesh Wi-Fi เข้ามาใช้งานกัน โดยรูปแบบการใช้งานคือจะเป็นอุปกรณ์กระจายสัญญาณ Wi-Fi ที่สามารถเชื่อมต่อหลายๆ จุดเข้าด้วยกัน เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ใช้งานทั่วบ้าน หรือภายในอาคารต่างๆ

Linksys Velop เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมสำหรับการทำ Mesh- Wi-Fi ภายในบ้าน ด้วยการที่ Velop 3 ตัว สามารถครอบคลุมพื้นที่ใช้งานได้ถึง 550 ตารางเมตร เมื่อรวมกับการตั้งค่าใช้งานที่ง่ายสะดวก จึงทำให้กลายเป็น 1 ในแบรนด์ที่ได้รับความนิยม

เพียงแต่ว่าด้วยระดับราคาที่ค่อนข้างสูง แม้จะมีให้เลือกตั้งแต่ตัวกระจายสัญญาณ 1 ตัวเริ่มต้นที่ 7,990 บาท 2 ตัว 12,990 บาท และ 3 ตัว ที่นำมารีวิวคือ 17,990 บาท ทำให้อาจจะตัดสินใจค่อนข้างยากในการเลือกซื้อมาใช้งาน

ข้อดี

ระบบ Mesh Wi-Fi ช่วยกระจายสัญญาณ Wi-Fi ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ในบ้าน

เทคโนโลยี Velop ที่มาช่วยในการจัดการเครือข่าย

ส่งต่อข้อมูลแบบ Tri-Band ทำให้ใช้งานภายในเครือข่ายได้เต็มประสิทธิภาพ

รองรับความเร็วระดับ 1 Gbps

ข้อสังเกต

ราคาค่อนข้างสูง

เหมาะกับใช้งานในบ้านขนาดใหญ่

ควรใช้กับเน็ตความเร็วเกิน 100 Mbps ขึ้นไป

ตั้งค่าง่ายควบคุมผ่านแอปฯ

สำหรับอุปกรณ์ที่ให้มาในกล่อง Velop 1 ชุด จะประกอบไปด้วยตัวกระจายสัญญาณ 3 ตัว พร้อมกับอะเดปเตอร์ ที่มีหัวเสียบมาให้เลือกหลากหลายตามรูปแบบของปลั้กที่ใช้งาน พร้อมกับสาย LAN 1 เส้น และคู่มือที่เป็นกระดาษ 1 ใบเท่านั้น

โดยวิธีการเริ่มติดตั้งใช้งานจะเริ่มจากนำ Velop เข้าไปเชื่อมต่อกับเราเตอร์ที่ใช้งานอยู่ผ่านสาย LAN หลังจากนั้นเปิดเครื่องรอให้ไฟแสดงสถานะกระพริบเป็นสีม่วงฟ้า ในขณะเดียวกันบนสมาร์ทโฟนก็ให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Linksys มาติดตั้งไว้

เมื่อเตรียมการเรียบร้อยก็เข้าสู่กระบวนการตั้งค่า ด้วยการเปิดแอปพลิเคชันขึ้นมา ทำตามขั้นตอนเริ่มจากการเลือกว่าจะติดตั้ง A Velop System จากนั้นในแอป ก็จะสอนวิธีการเชื่อมต่อ โดยจะมีให้เลือกว่าใช้ Velop เป็นตัวกระจายสัญญาณเฉยๆ หรือใช้เป็นโมเด็มด้วย

ในกรณีที่จะใช้งาน Velop เป็นโมเด็มด้วย ผู้ใช้อาจจะต้องมีการติดต่อกับทาง ISP เพิ่มเติม เพื่อให้เข้ามาตั้งค่าการเชื่อมต่อต่างๆให้ แต่ถ้าใช้การแชร์สัญญาณจากเราเตอร์เครื่องเก่า ก็สามารถเสียบสาย LAN เพื่อเชื่อมต่อได้เลย

เมื่อตัว Velop ขึ้นไฟแสดงสถานะเป็นสีม่วง ก็กดติดตั้งได้เลย หลังจากนั้นแอปจะทำการตั้งค่าเราเตอร์ให้อัตโนมัติ ถ้าต้องการเพิ่มจุด Velop เพิ่มก็สามารถกด Add Another Node ต่อไปได้ทันที เมื่อทำการติดตั้งครบทั้ง 3 จุดแล้ว ก็จะได้ Mesh Wi-Fi มาใช้งานในบ้านแล้ว

ต่อจากนั้น ก็เข้าสู่การตั้งค่าเชื่อมต่อทั่วไป โดยเมื่อเข้าไปในแอป Linksys จะมีหน้าจอแสดงสถานะ (Dashboard) ขึ้นมา แสดงว่าขณะนี้มีการเชื่อมต่อสัญญาณกับอินเทอร์เน็ตหรือไม่ มีอุปกรณ์เชื่อมต่อเข้ามาในเครือข่ายกี่ชิ้น

ผู้ใช้สามารถเข้าไปเลือกเปลี่ยนชื่อ Wi-Fi ตั้งรหัส เลือก Channel เพื่อไม่ให้ชนกับเครือข่ายอื่นๆได้ตามปกติ รวมถึงเปิดการใช้งาน Guest Wi-Fi ที่สามารถตั้งจำกัดความเร็วในการเชื่อมต่อ และป้องกันไม่ให้เข้าสู่เครือข่ายภายในบ้านด้วย

เช็กความเร็ว จำกัดการเข้าถึง

นอกเหนือจากการตั้งค่าเชื่อมต่อทั่วไปแล้ว อีกฟีเจอร์ที่มีมาให้ในแอป Linksys คือเรื่องของการตรวจสอบความเร็วในการเชื่อมต่อ โดยผู้ใช้สามารถกดที่เมนู Speed Check เพื่อเทสความเร็วอินเทอร์เน็ตได้ทันที ตัวแอปจะมีการซิงค์ข้อมูลกับ Speedtest.net ในการทดสอบความเร็ว

ยังมีฟีเจอร์อย่างการจำกัดการเข้าถึงของบุตรหลาย อย่างเช่นผู้ปกครองสามารถตั้งค่าได้ว่า อุปกรณ์ใดสามารถใช้เน็ตได้ในวันไหน ช่วงเวลาใดบ้าง รวมถึงบล็อกเว็บไซต์แบบเจาะจงก็สามารถทำได้ และยังสามารถตั้งความสำคัญของอุปกรณ์ (Device Prioritization)ที่จะได้แบนด์วิธในการใช้งานเน็ตได้สูงสุดด้วย

ในส่วนของการเชื่อมต่อ เมื่อกดเข้าไปดูก็จะเห็นว่ามีอุปกรณ์อะไรบ้างเชื่อมต่อกับ Velop ในจุดต่างๆ รวมถึงแสดงให้เห็นว่าเชื่อมต่อบนเครือข่าย 2.4 GHz หรือ 5 GHz หรือผ่านสาย LAN ก็จะมีการแสดงผลอย่างชัดเจน

ข้อดีอีกอย่างก็คือที่ใต้ Velop ทุกตัวจะมีช่องให้เชื่อมต่อสาย LAN ได้ 2 พอร์ต ดังนั้น ถ้าต้องการให้อินเทอร์เน็ตสเถียรที่สุด ก็สามารถใช้การเชื่อมต่อสาย LAN เข้ากับอุปกรณ์ได้เลย อย่าง Apple TV เครื่องเล่นเกม PS4 กล่อง Android TV เป็นต้น

Mesh Wi-Fi ที่คลุมทุกจุดในบ้าน

เมื่อทดลองใช้งานจริง การที่มีเครือข่าย Velop อยู่ในบ้านแล้วจะช่วยเรื่องหลักเลยคือ ปัญหาสัญญาณ Wi-Fi อ่อนในบางจุดจะหมดไป เพราะสามารถเลือกวางจุดกระจายสัญญาณได้ตามที่ต้องการ

ขณะเดียวกัน เมื่อมีการเดิน หรือย้ายจุดใช้งานตัวอุปกรณ์ก็จะเชื่อมต่อเข้ากับตัวกระจายสัญญาณที่ใกล้ที่สุด เพื่อให้สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ เพราะบางทีถ้าสัญญาณอ่อนลงเหลือ 1-2 ขีด จากความเร็วเน็ตที่ 100 Mbps อาจจะลดลงมาเหลือ 15-20 Mbps ก็เป็นได้

ที่น่าสนใจคือ ในอนาคตถ้ามีการนำอุปกรณ์ IoT ต่างๆเข้ามาใช้งานภายในบ้าน การมี Velop ก็เหมือนเป็นการช่วยสร้างเครือข่ายการเชื่อมต่อ IoT ในบ้านแบบง่ายๆอยู่แล้ว ถ้ามีแผนที่จะเปลี่ยนบ้านเป็น Smart Home ในอนาคตก็ถือเป็นการลงทุนที่ได้ใช้งานยาวๆกันไป

Gallery

]]>
Review : Linksys WRT1200AC เราเตอร์ไฮเอนด์ ประสิทธิภาพสูง ราคาประหยัด https://cyberbiz.mgronline.com/review-linksys-wrt1200ac/ Tue, 12 Jul 2016 10:04:17 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=23163

IMG_5557

เมื่อ 2 ปีก่อนทีมงานเคยได้รีวิวเราเตอร์ตัวท็อปสุดฮาร์ดคอร์อย่าง WRT1900AC ไปแล้ว มาวันนี้ก็ถึงคิวที่ Linksys จะคลอดเราเตอร์รุ่นน้องของกลุ่มฮาร์ดคอร์กันอีกครั้งกับ Linksys WRT1200AC Smart Wi-Fi Router ที่นอกจากประสิทธิภาพที่สูงใกล้เคียงพี่ใหญ่แล้ว เรื่องของความฉลาดและซอฟต์แวร์ควบคุมก็ถูกยกจาก WRT1900AC มาทั้งหมดอีกด้วย

การออกแบบและสเปก

IMG_5552

IMG_5570

การออกแบบเหมือนพี่ใหญ่ WRT1900AC ย่อส่วนและตัดส่วนเสาอากาศให้เหลือเพียง 2 ต้นแบบถอดเปลี่ยนได้ (จากเดิมใน WRT1900AC มี 4 ต้น) โดยในส่วนสเปก Linksys จัดเต็มตั้งแต่หน่วยประมวลผล ARM Dual Core ความเร็ว 1.3GHz พร้อมแรม DDR3 256MB

IMG_5569

ในส่วนระบบเชื่อมต่อไร้สายเป็น Wireless N+AC รองรับ Dual Band โดยที่คลื่น 2.4GHz รองรับความเร็วสูงสุด 400Mbps ส่วน 5GHz รองรับความเร็วสูงสุด 867Mbps รวมสองคลื่นความถี่ 2.4+5GHz จะได้ความเร็วมากถึง 1,200Mbps ตามชื่อรุ่น

ด้านเทคโนโลยีการส่งสัญญาณไร้สาย Linksys ยังคงใช้ Beamforming Technology ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณจากเราเตอร์ไปยังอุปกรณ์ต่างๆได้แรงและเสถียรมากขึ้น

IMG_5572

มาถึงพอร์ตเชื่อมต่อด้านหลังเราเตอร์ เริ่มตั้งแต่ พอร์ตแลน 4 พอร์ต ถัดมาเป็นปุ่ม WPS, พอร์ต Internet สำหรับเชื่อมกับโมเด็มอินเตอร์เน็ต, USB 3.0/2.0, USB/eSATA, ปุ่มรีเซ็ทเพื่อคืนค่าโรงงาน สุดท้ายช่องต่อไฟ DC 12V และสวิตซ์ปิดเปิดเครื่อง

IMG_5571

ด้านหน้า – เป็นส่วนของไฟแสดงสถานะการทำงานขนาดใหญ่ มองเห็นชัดเจน โดยไฟแสดงสถานะการเชื่อมต่อ WiFi จะแยกเป็น 2.4GHz และ 5GHz

IMG_5576

ส่วนด้านบนและล่างของตัวเครื่องจะเป็นช่องระบายความร้อน ซึ่งถ้าผู้ใช้สังเกตขาตั้งทั้ง 4 มุมให้ดีจะพบว่ามีช่องสำหรับเกี่ยวกับหัวน็อตทั้ง 4 มุมได้เลย (ใช้เวลาต้องการนำเราเตอร์แขวนผนัง)

ฟีเจอร์เด่น

linksys-homemenu

linksapps

Linksys WRT1200AC ยังคงคอนเซปเป็น Smart Wi-Fi Router เฉกเช่น Linksys รุ่นใหม่ทั้งหมด เพราะฉะนั้นการตั้งค่าเราเตอร์จะทำได้ง่ายและทำได้จากทุกที่ผ่าน Linksys Smart Wi-Fi Account

ในส่วนฟีเจอร์ส่วนใหญ่จะคล้ายกับพี่ใหญ่ WRT1900AC (รองรับ Open Source Firmware – Linux-based) เพราะฉะนั้นในครั้งนี้ทีมงานจะไม่ขอลงรายละเอียดเชิงลึกมากนัก แต่จะเน้นพูดถึงภาพรวมแทน

ls1

แผนผังเครือข่าย ทำให้ผู้ใช้มองเห็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับเราเตอร์ตัวนี้อยู่ทั้งหมด

ls2

Guest สามารถตั้งได้สูงสุดถึง 50 เกสต์

ls3

Parental Controls ที่เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองสามารถจำกัดการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตรวมถึงเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมกับบุตรหลานได้

ls4

เราเตอร์รุ่นนี้ถูกออกแบบมาให้ใช้งานสำหรับเล่นเกมออนไลน์ด้วย เพราะฉะนั้นผู้ใช้สามารถจัดลำดับความสำคัญของแบนด์วิธได้ตามรูปแบบการใช้งาน

ls6

รองรับการเชื่อมต่อกับ External HDD หรือจะเชื่อมต่อกับ NAS เพื่อใช้ทำ Media Server ผ่าน DLNA/FTP Server และอื่นๆได้ทุกรูปแบบ

ls5

รองรับ OpenVPN ด้วย

ทดสอบประสิทธิภาพและสรุป

ด้านประสิทธิภาพเมื่อลองทำ Media Streaming Server (ทดสอบบนคลื่น 5GHz – Wireless AC 2 ดีไวซ์ และ 2.4GHz Wireless N 1 ดีไวซ์) โดยทีมงานทดสอบดึงข้อมูลจาก External HDD USB 3.0 พบว่าลื่นไหลมาก แม้จะเปิดคลิปวิดีโอ 4K, Bluray 1080p และไฟล์ MP4 1080p จากกล้องดิจิตอลพร้อมๆกัน 3 ดีไวซ์ ก็ยังไม่พบอาการสะดุดแต่อย่างใด

ในส่วนการทดสอบความแรงของคลื่นไร้สาย ด้วยการที่ Linksys ลดจำนวนเสารับส่งสัญญาณจาก 4 ต้นเหลือ 2 ต้น ทำให้ระยะการเชื่อมต่อลดลงจากรุ่นก่อนหน้าเล็กน้อย โดยการเชื่อมต่อที่คลื่น 5GHz วัดจากแอปฯ Wi-Fi Sweetspots ด้วย iPhone 6s สามารถทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 447.1Mbps จากนั้นเมื่อลองเดินออกห่างจากเราเตอร์ผ่านกำแพงหนาประมาณ 120 มิลลิเมตรจำนวน 2 ด้านและประตูออกห่างไปอีก 7 เมตร ความแรงของสัญญาณจะอยู่ที่ 41.7Mbps

ส่วนที่คลื่นความถี่ 2.4GHz ความเร็วสูงสุดที่ทำได้อยู่ที่ 116.6Mbps และเมื่อเดินออกห่างไป 7 เมตรในสภาพแวดล้อมเดียวกันจะพบว่าความแรงของสัญญาณอยู่ที่ประมาณ 20-30Mbps และเมื่อลองเดินออกไปอีกประมาณ 1-2 เมตร ความแรงจะตกลงมาอยู่ที่ 2-9Mbps

นับว่า Linksys WRT1200AC ยังคงให้ประสิทธิภาพที่ดีไม่ต่างจากรุ่นพี่ใหญ่ WRT1900AC เพียงแค่รุ่น WRT1200AC จะมีความแรงน้อยกว่าเล็กน้อย ใครที่อยู่คอนโดหรือบ้านชั้นเดียว ในบ้านมีดีไวซ์ที่เชื่อมต่อกับเราเตอร์ไม่มากนัก และกำลังมองหาเราเตอร์ประสิทธิภาพสูงมาเป็นตัวเชื่อมมีเดียเซ็นเตอร์หรือทำ Server เก็บข้อมูล Linksys WRT1200AC เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดี ยิ่งราคาต่าตัวอยู่ที่ประมาณ 5-6 พันบาทด้วยแล้ว (รุ่น WRT1900AC ราคาอยู่ประมาณ 8-9 พันบาท) ถือว่าน่าสนใจอย่างมากสำหรับการใช้แบบโฮมยูส

ข้อดี

– งานออกแบบ ประกอบแข็งแรงดีมาก ดูถึกและบึกบึน
– ส่วนระบายความร้อนมีขนาดใหญ่ ออกแบบมาเพื่อเปิดทำงาน 24/7
– GUI ระบบออกแบบมาให้ใช้งานง่าย รองรับการปรับแต่งผ่านสมาร์ทโฟน

ข้อสังเกต

– ด้วยความที่ช่องระบายความร้อนมีขนาดใหญ่และกินพื้นที่ครึ่งหนึ่งของเราเตอร์ เวลาวางไว้บนโต๊ะต้องระวังเศษขยะตกลงไป

Gallery

]]>