Microsoft – CBIZ Reviews – MGR Online https://cyberbiz.mgronline.com เว็บไซต์รีวิวอุปกรณ์ ไอที ไฮเทค เป็นส่วนหนึ่งของผู้จัดการออนไลน์ Fri, 02 Jul 2021 03:12:42 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.0 Review : Microsoft Surface Laptop 4 คีย์บอร์ดพิมพ์สนุก เพิ่มตัวเลือกซีพียู https://cyberbiz.mgronline.com/review-microsoft-surface-laptop-4/ Wed, 30 Jun 2021 08:06:53 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=35468

ไมโครซอฟท์ ยังคงรักษามาตรฐานของการออกผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่ปรับแต่งให้เหมาะกับลักษณะการใช้งานระบบปฏิบัติการ Windows 10 ที่น่าสนใจ โดยเฉพาะในกลุ่มของผู้ที่ต้องการใช้งานโน้ตบุ๊กเพื่อทำงาน พกพาไปไหนมาไหนได้ง่าย และที่สำคัญคือประสิทธิภาพในการประมวลผลต้องสูงด้วย

Surface Laptop 4 ถือเป็นโน้ตบุ๊กในฟอร์มเฟคเตอร์ปกติรุ่นล่าสุดของ ไมโครซอฟท์ ที่นำเสนอมาในปีนี้ได้อย่างน่าสนใจ ทั้งการเปลี่ยนแปลงคีย์บอร์ดให้พิมพ์ได้สนุกขึ้น เปิดทางเลือกรุ่นซีพียูให้มีทั้ง Intel และ AMD บนขนาดหน้าจอทั้ง 13.5 นิ้ว และ 15 นิ้ว ให้เลือก

แน่นอนว่า ระบบปฏิบัติการ Windows 10 ที่ติดตั้งมาให้บน Surface Laptop 4 นั้น เพียงพอกับการใช้งานในปัจจุบันแล้ว แต่เมื่อ Windows 11 เปิดให้ผู้ใช้งานทั่วไปใช้งาน Surface Laptop 4 จะรองรับการอัปเกรด และเพิ่มประสบการณ์ใช้งานที่ดีขึ้นให้แก่ผู้ใช้ด้วย

ข้อดี

  • จอ PixelSense 13.5 นิ้ว สัดส่วน 3:2 รองรับการสัมผัส และใช้งานปากกาได้
  • ตัวเครื่องบาง 14.5 มม. น้ำหนัก 1.2 กิโลกรัม
  • คีย์บอร์ดที่มาพร้อมที่รองฝ่ามือหุ้ม Alcantara ช่วยให้พิมพ์ได้สนุกขึ้น
  • แบตเตอรี ใช้งานได้ต่อเนื่องทั้งวัน

ข้อสังเกต

  • อะเดปเตอร์ชาร์จยังเป็นพอร์ตเฉพาะของ Surface เช่นเดิม (แม้จะชาร์จจาก USB-C ได้แล้วก็ตาม
  • พอร์ตเชื่อมต่อไม่ครบ มีเพียง USB-C USB Type-A และ 3.5 มม. เท่านั้น
  • กล้องเว็บแคมความละเอียด 720p

ราคาเริ่มต้น เข้าถึงง่ายขึ้น

หนึ่งในความน่าสนใจของ Surface Laptop 4 คือการเพิ่มทางเลือกซีพียูมาให้ผู้ใช้งานอย่าง AMD Ryzen จากเดิมที่จะมีให้เลือกเฉพาะซีพียูจาก Intel เท่านั้น และนั่นทำให้ราคาเริ่มต้นของ Surface Laptop โน้ตบุ๊กที่ดีที่สุดของไมโครซอฟท์ราคาเข้าถึงได้ง่ายขึ้นด้วย

สำหรับรุ่นเริ่มต้นของ Surface Laptop 4 ขนาดจอ 13.5” มากับชิปเซ็ต AMD Ryzen 5 4680U RAM 8 GB SSD 256 GB ในราคา 35,999 บาท หรือจะเพิ่ม RAM เป็น 16 GB SSD 256 GB จะอยู่ที่ 42,999 บาท

ส่วนชิปเซ็ต 11 Gen Intel Core i5 1145G7 RAM 8 GB SSD 512 GB จะเริ่มต้นที่ 44,999 บาท โดยสามารถปรับสเปกไปได้ถึง Intel Core i7 1185G& RAM 16 GB SSD 512 GB ในราคา 57,999 บาท

จะเห็นได้ว่าจากราคาเริ่มต้นของ Surface Laptop 4 ในช่วง 35,999 บาท แต่ได้โน้ตบุ๊กหน้าจอสัมผัส ที่รองรับการพกพาไปใช้งานได้ทุกที่ถือเป็นตัวเริ่มต้นที่น่าสนใจ แต่ถ้าใครที่ต้องการใช้งานยาวๆ อาจจะต้องมองตัวเลือกเป็นรุ่นที่มี SSD 512 GB แทน เพราะ 256 GB อาจจะไม่เพียงพอกับการเก็บข้อมูลในระยะยาว

ดีไซน์เดิม ปรับปรุงภายในให้ดีขึ้น

Surface Laptop 4 ยังคงลักษณะการออกแบบไม่แตกต่างจาก Surface Laptop 3 จนเรียกว่าเป็นไมเนอร์เชนจ์ของรุ่นก็ว่าได้ เพราะตัวเครื่องจะเน้นที่การอัปเดตสเปกภายในเป็นหลัก โดยขนาดของเครื่องจะอยู่ที่ 308 x 223 x 14.5 มิลลิเมตร น้ำหนัก 1.26 กิโลกรัม

ตัวเครื่องมีให้เลือกด้วยกัน 2 สีคือ สีเงินแพลตตินัม ที่จะมากับวัสดุหุ้ม Alcantara และสีดำด้านที่เป็นโลหะตามปกติ ซึ่งในรุ่นสีดำจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็น 1.28 กิโลกรัม ซึ่งจะให้โทนสี และภาพลักษณ์ในการใช้งานที่แตกต่างกันไป

การออกแบบของ Surface Laptop 4 ยังคงเน้นที่ความเป็นมินิมอลเช่นเดิม โดยมีสัญลักษณ์ของ Windows สะท้อนแสงติดอยู่ตรงกึ่งกลางด้านนอกเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

เมื่อเปิดตัวเครื่องขึ้นมาจะพบกับจอสัมผัส PixelSense ขนาด 13.5 นิ้ว ความละเอียด 2256 x 1504 พิกเซล 201 ppi ในสัดส่วน 3:2 ซึ่งช่วยให้แสดงผลคอนเทนต์สำหรับการท่องเว็บ หรือทำงานเอกสารได้ดีขึ้น แต่จะไม่เหมาะกับการรับชมภาพยนต์เท่าไหร่ เนื่องจากจะเหลือขอบสีดำด้านบนและล่างเพิ่มขึ้นด้วย

ที่น่าเสียดายอีกอย่างก็คือเรื่องของขอบจอที่ Surface Laptop 4 ยังมีขอบจอที่ค่อนข้างหนา เมื่อเทียบกับแบรนด์อื่นๆ ในท้องตลาดอย่างเอซุส เดลล์ หรือเอชพี ที่นำเสนอตัวเครื่องขนาด 14 นิ้ว ในฟอร์มเฟคเตอร์ขนาด 13 นิ้ว ได้อย่างน่าสนใจ

บริเวณขอบบนยังคงเป็นที่อยู่ของกล้องเว็บแคมความละเอียด 720p ซึ่งถือว่าน้อยไปหน่อยสำหรับยุคปัจจุบันที่การใช้งานวิดีโอคอลล์มีความจำเป็นมากยิ่งขึ้น ที่ดีก็คือยังมาพร้อมกับเซ็นเซอร์ IR ที่ทำงานร่วมกับ Windows Hello ในการปลดล็อกด้วยใบหน้าได้อยู่

จุดเด่นที่สำคัญที่สุดของ Surface Laptop 4 เท่าที่ทดสอบใช้งานมาคือ ความนิ่มของคีย์บอร์ด ทั้งในแง่ของแป้นคีย์บอร์ดที่รับสัมผัส ทำให้พิมพ์ได้สนุก มีปุ่มลัดสำหรับการสั่งงานต่างๆ ครบถ้วน จะมีจุดที่น่าเสียดายคือย้ายปุ่มลัดอย่าง Home End PageUp PageDown ไปไว้บริเวณแถบบนแทน ทำให้เวลาใช้งานอาจจะต้องปรับตัวเล็กน้อย

ส่วนปุ่มเปิดเครื่องก็ถูกขยับเข้ามาไม่ได้อยู่ที่มุมขวาบน แต่เป็นที่อยู่ของปุ่ม Delete แทน ช่วยให้เวลากดใช้งานทำได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องกังวลว่าจะไปสัมผัสโดนปุ่มปิดเครื่องแทน แทร็กแพดของ Surface Laptop 4 ที่ให้มาใหญ่สะใจ รองรับการใช้งานได้ลื่นไหล

อีกจุดที่นุ่มก็คือการที่ Surface Laptop 4 มีการหุ้มหนังสังเคราะห์อย่าง Alcantara มาให้บริเวณตัวเครื่องด้านใน ทำให้สัมผัสของข้อมือระหว่างการพิมพ์นุ่มสบายกว่าโน้ตบุ๊กที่ใช้โลหะ หรือพลาสติกอื่นๆ แต่ก็แลกมากับการดูแลรักษาที่เพิ่มขึ้น โดยทางไมโครซอฟท์ แนะนำให้สามารถนำผ้าชุบสบู่เหลวอ่อนๆ มาถูกทำความสะอาดได้

ในส่วนของพอร์ตเชื่อมต่อ Surface Laptop 4 ถือว่าให้มาค่อนข้างจำกัด โดยทางฝั่งซ้ายจะมีเพียงช่องเสียบ USB Type A และ USB-C พร้อมกับช่องเสียบหูฟัง 3.5 มม. เท่านั้น ไม่รองรับการเชื่อมต่อ Thunderbolt ด้วย

ส่วนทางขวามีพอร์ต Surface Connect ไว้เสียบชาร์จตัวเครื่อง โดยที่บริเวณอะเดปเตอร์จะมีพอร์ต USB Type A เพิ่มมาให้ใช้งานอีก 1 ช่อง ความจุของแบตเตอรีจะอยู่ที่ 47.4 Whr ที่ไมโครซอฟท์ระบุว่าใช้งานได้ต่อเนื่อง 17-19 ชั่วโมง

สเปก และทดสอบประสิทธิภาพ

ในส่วนของสเปก Surface Laptop ที่ได้รับมาทดสอบจะเป็นรุ่น 11 Gen Intel Core i5 RAM 8 GB SSD 256 GB มาพร้อมกราฟิก Intel IrisXe ส่วนถ้าเป็นรุ่น AMD Ryzen ก็จะมาพร้อมกับ AMD Radeon แบบออนบอร์ดให้ใช้งาน

โดยเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ AMD Ryzen สามารถใช้งานบนแบตเตอรีได้ยาวนานกว่ารุ่นของ Intel คือการที่ปัจจุบัน AMD พัฒนาชิปเซ็ตบนสถาปัตยกรรมแบบ 7 นาโนเมตร ที่ประหยัดพลังงานมากกว่า ในขณะที่ Intel ยังอยู่บนสถาปัตยกรรมแบบ 10 นาโนเมตร

สำหรับการใช้งาน Surface Laptop 4 ต้องยอมรับว่า ถือเป็นแล็ปท็อปเพื่อการทำงาน และความบันเทิงที่ตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการใช้งานทั่วๆ ไป ทำงานเอกสาร ทำรูปภาพบ้าง แต่จะไม่หนักไปจนถึงการตัดต่อวิดีโอ หรือเล่นเกมความละเอียดสูงๆ เนื่องจากไม่มีการ์ดจอแยกมาช่วยประมวลผล

ส่วนในแง่ของความบันเทิง เรียกได้ว่าให้มาครบถ้วนจากหน้าจอขนาดใหญ่ 13.5 นิ้ว ที่ให้ความละเอียดสูง สีสันสมจริง แบตเตอรีที่ใช้งานต่อเนื่องได้ยาวนาน ทีมงานลองใช้งานทั่วๆ ไปอยู่ที่ราว 11 ชั่วโมง แต่ถ้าใช้งานหนักๆ อย่างเล่นเกม จะเหลือประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง

สรุป

Microsoft Surface Laptop 4 ยังคงรักษาการเป็นโน้ตบุ๊กที่ดีที่สุดของไมโครซอฟท์ได้อย่างน่าสนใจ และนำเสนอเทคโนโลยีต่างๆ ของ Windows 10 ได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยของ Windows Hello ควบคู่กับชิปความปลอดภัย TPM2.0 ที่มาช่วยเข้ารหัสข้อมูล

ทำให้ Surface Laptop 4 เหมาะที่จะเป็นทั้งโน้ตบุ๊กสำหรับคอนซูเมอร์ และใช้งานในองค์กรธุรกิจ จะติดก็เรื่องของพอร์ตเชื่อมต่อที่ให้มาค่อนข้างจำกัด อาจจะต้องพกอะเดปเตอร์เพิ่มเติมในการใช้งาน

ที่น่าสนใจคือ Surface Laptop 4 รองรับการอัปเกรดเป็น Windows 11 ใช้งานในอนาคตอย่างแน่นอนอยู่แล้ว เมื่อมีการปรับเปลี่ยนดีไซน์ของ Windows ใหม่ให้ใช้งานสัมผัสจากหน้าจอได้สะดวกขึ้น Surface Laptop 4 จะเพิ่มความน่าใช้งานเข้าไปอีก

Gallery

]]>
Review : Microsoft Surface Pro X โน้ตบุ๊ก 2-1 พร้อมใช้ LTE บน TrueMove H https://cyberbiz.mgronline.com/review-microsoft-surface-pro-x/ Tue, 10 Nov 2020 07:01:48 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=34118

ในช่วงที่องค์กรธุรกิจกำลังมองหาโน้ตบุ๊กพกพาง่าย เหมาะกับการใช้ทำงาน เพราะเน้นเรื่องความปลอดภัยเป็นหลัก ทำให้ทรูบิสสิเนส เข้าไปร่วมกับทาง Microsoft เป็นผู้ให้บริการสื่อสารโทรคมนามรายแรกในไทย เริ่มนำ Microsoft Surface สำหรับลูกค้าธุรกิจเข้ามาเริ่มทำตลาด

จุดต่างของ Surface สำหรับลูกค้าธุรกิจคือมากับ Windows 10 Pro ทำให้มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีกว่า Windows 10 Home ของผู้ใช้งานทั่วไป และมีบริการเสริมสำหรับการใช้งานธุรกิจเพิ่มเติมอย่างประกันตัวเครื่อง บริการซ่อม และให้คำปรึกษาในการใช้งานต่างๆ

ประกอบกับ Microsoft Surface Pro X ถือเป็น Surface สำหรับผู้ใช้งานมืออาชีพที่หันมาใช้หน่วยประมวลผล Microsoft SQ1 / SQ2 บนสถาปัตยกรรมแบบ ARM ที่ไมโครซอฟท์ เข้าไปร่วมพัฒนากับ Qualcomm มาพร้อมโมเด็มทำให้สามารถเชื่อมต่อ LTE ได้ทันที

ข้อดี

  • ดีไซน์เรียบหรู เหมาะกับพกพาใช้งาน
  • รองรับการเชื่อมต่อ LTE
  • คีย์บอร์ดพิมพ์สนุกมือ ใช้งานง่าย

ข้อสังเกต

  • ข้อจำกัดในการใช้งานบางโปรแกรม
  • แบตเตอรี เวลาประมวลผลหนักๆ จะหมดค่อนข้างเร็ว
  • พอร์ตเชื่อมต่อค่อนข้างจำกัด (USB-C 2 พอร์ต)

เน้นพกพาใช้งานได้ทุกที่

Microsoft Surface Pro X ถือเป็นซีรีส์ใหม่ในตระกูล Surface ของไมโครซอฟท์ ที่ต้องการควบคุมประสบการณ์ใช้งานแก่ผู้ใช้ให้ดีที่สุด ด้วยการเข้าไปร่วมกับทางผู้ผลิตชิปเซ็ตอย่าง Qualcomm ร่วมกันผลิตชิปเซ็ต Microsoft SQ1 ขึ้นมาใช้งาน

โดย Microsoft SQ1 เป็นหน่วยประมวลผลที่พัฒนาขึ้นบนสถาปัตยกรรมแบบ ARM ทำให้สามารถประหยัดพลังงานได้มากขึ้น และสามารถฝังโมเด็มเข้าไปเพื่อให้ตัวเครื่องสามารถใส่ซิมการ์ดเข้าไป ใช้งาน 4G LTE ได้ทันที ไม่ต้องพึ่งพาเครือข่าย Wi-Fi เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากระบบปฏิบัติการ Windows นั้นแรกเริ่มเดิมทีพัฒนาขึ้นมาใช้งานกับหน่วยประมวลผลบนสถาปัตยกรรมแบบ x86 (32 บิต) และ x64 (64 บิต) ทำให้เมื่อเปลี่ยนมาใช้งาน ARM โปรแกรมหลายๆ อย่างที่พัฒนาขึ้นบน สถาปัตยกรรมแบบเดิม จะยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์

ยกเว้นโปรแกรมหลักๆ จาก Microsoft ที่มีการพัฒนาเพิ่มเติมให้สามารถทำงานบน ARM ได้สมบูรณ์แบบแล้ว โดยเฉพาะ Microsoft Office ที่มีความโดดเด่นในแง่ของการทำงานทั้ง Microsoft Word PowerPoint Excel รวมถึง OneNote ด้วย

รวมถึงอีกหลายๆ โปรแกรมที่โหลดใช้งานได้จาก Microsoft Store ทำให้โดยรวมแล้วสามารถใช้งานได้ไม่แตกต่างจากโน้ตบุ๊กทั่วไป แต่ถ้ามีการใช้งานโปรแกรมเฉพาะทางอาจจะต้องลองทดสอบใช้งานดูก่อนว่า สามารถรันใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

หรือในกรณีที่ใช้งานผ่านระบบคลาวด์ ผ่านหน้าเว็บไซต์ เบราว์เซอร์อย่าง Microsoft EDGE ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่นี้ มีความรวดเร็วในการใช้งานดีขึ้นอย่างชัดเจน ก็จะช่วยปลดล็อกข้อจำกัดในการใช้งานหลายๆ อย่างได้ด้วย

แบตเตอรีกลายเป็นอีกจุดที่ทำให้ Surface Pro X น่าสนใจ เพราะในการใช้งานบนหน่วยประมวลผล Microsoft SQ1 นั้นจะช่วยประหยัดพลังงานมากกว่าเดิม ทำให้แม้จะมีการเชื่อมต่อกับ 4G LTE ใช้งานไปด้วย ก็สามารถใช้งานได้ต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 11 ชั่วโมง

เหมาะกับองค์ธุรกิจที่หาดีไวซ์ตอบโจทย์

กลับมาที่การทำตลาดของ Microsoft Surface ซึ่งไมโครซอฟท์ เข้าไปร่วมกับทางทรู บิสสิเนส เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าองค์กรธุรกิจ ดังนั้นองค์กรธุรกิจที่สนใจ สามารถเข้าไปปรึกษากับทางทรู บิสสิเนส ได้ว่า ในแต่ละองค์กรเหมาะกับการนำ Microsoft Surface รุ่นไหนไปใช้งาน

หนึ่งในนั้นก็คือ Microsoft Surface Pro X รุ่นนี้ ที่จะแตกต่างจากโมเดลที่ขายให้แก่ผู้บริโภคทั่วไปตรงที่ ตามปกติจะมากับ Windows 10 Home แต่สำหรับลูกค้าองค์กรธุรกิจจะเป็น Windows 10 Pro แทน ซึ่งจะได้ในเรื่องของความปลอดภัยในการใช้งานที่มากขึ้น

เนื่องจากองค์กรธุรกิจนั้นต้องระมัดระวังในแง่ของการเก็บช้อมูล ให้ปลอดภัยมากที่สุด เมื่อใช้งานร่วมกับ Windows 10 Pro ก็จะได้ระบบรักษาความปลอดภัยอย่าง Windows Hello ที่สามารถทำงานร่วมกับกล้องวิดีโอคอลล์ เพื่อใช้ปลดล็อกเครื่องด้วยใบหน้าได้ด้วย

ปัจจุบัน Microsoft Surface Pro X วางจำหน่ายด้วยกัน 4 รุ่นหลักด้วยกัน คือ รุ่นที่มากับชิปเซ็ต Microsoft SQ1 RAM 8 GB SSD 128 GB / 8 GB SSD 256 GB / Microsoft SQ2 RAM 16 GB SSD 256 GB และ RAM 16 GB SSD 512 GB ในราคาเริ่มต้นเดือนละ 2,799 บาท

สำหรับลูกค้าทรูบิสิเนส จะได้รับบริการอย่างให้คำปรึกษาในการเลือกซื้อรุ่นที่เหมาะสม พร้อมแพ็กเกจใช้งานได้ทันที และรับประกันเครื่องนาน 3 ปี และบริการหลังการขายจากทรูบิสสิเนสเพิ่มเติม

การออกแบบ

Microsoft Surface Pro X ออกแบบมาเป็นโน้ตบุ๊กในลักษณะของแท็บเล็ต 2-1 ที่สามารถเชื่อมต่อกับ Signature Keyboard ที่มีช่องลสำหรับเก็บปากกา Surface Slim Pen เพื่อให้พกพาใช้งานได้สะดวกขึ้น

หน้าจอ Surface Pro X มากับจอ PixelSense ขนาด 13 นิ้ว ความละเอียด 2880 x 1920 พิกเซล ความละเอียดเม็ดสีอยู่ที่ 267 ppi อัตราส่วนหน้าจอแบบ 3:2 รองรับการสัมผัส 10 จุด โดยมีดีไซน์ขอบจอบาง

ตัวเครื่องทำจากอะลูมิเนียม มีให้เลือก 2 สี คือ สีดำด้าน และสีเงินแพลตินัม ขนาดของตัวเครื่องอยู่ที่ 287 x 208 x 7.3 มิลลิเมตร นำ้หนัก เฉพาะหน้าจออยู่ที่ราว 774 กรัม เมื่อร่วมกับคีย์บอร์ด และปากา ก็จะอยู่ที่ราว 1 กิโลกรัม

รอบตัวเครื่องจะมีปุ่มปรับระดับเสียง และปุ่มเปิด/ปิดเครื่องอยู่ด้านบน ด้านซ้าย มีพอร์ต USB-C 2 ช่อง เท่านั้น ส่วนทางขวาเป็น Surface Connect สำหรับเสียบสายชาร์จ

ด้านหลังตัวเครื่อง ถือเป็นจุดเด่นของ Surface Pro X ก็คือขาตั้ง Kickstand ที่สามารถปรับเปลี่ยนมุมมองในการใช้งานได้หลากหลาย เหมาะกับทั้งใช้เป็นโน้ตบุ๊ก หรือเป็นแท็บเล็ตเพื่อจดบันทึกข้อมูลก็ได้

ใต้ขาตั้ง Kickstand บริเวณมุมเครื่อง จะมีช่องใส่ซิมการ์ดแบบนาโนซิมอยู่ ในกรณีที่ซื้อเครื่องใช้งานกับทางทรูบิสสิเนส ก็จะมีซิม 4G LTE ของ TruemoveH มาให้ใช้งานพร้อมแพ็กเกจด้วย

 

อีกความพิเศษที่จะเปลี่ยนให้ Surface Pro X ทำงานได้ไม่ต่างจากโน้ตบุ๊กทั่วไปก็คือ Signature Keyboard ที่มีความพิเศษตรงสามารถปรับองศาการพิมพ์ได้ คือการยกองศาขึ้นมาเล็กน้อย หรือวางให้แบนราบไปกับพื้นก็ได้

ในช่วงที่ใช้งาน Signature Keyboard แบบยกองศาขึ้นมานั้น จะเป็นการซ่อนช่องเก็บปากกา Surface Slim Pen ไปด้วย ถ้าต้องการใช้งานปากกาก็แค่ปรับมุมคีย์บอร์ดออกมาเป็นแนวราบนั่นเอง

สรุป

องค์กรธุรกิจที่กำลังมองหาโน้ตบุ๊กให้พนักงาน หรือผู้บริหารใช้งาน โดยเฉพาะในยุคที่การทำงานสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ Microsoft Surface Pro X พร้อมกับบริการให้คำปรึกษาจาก TrueMove H น่าจะเข้ามาช่วยหาโซลูชันที่ตอบโจทย์ได้ไม่ยาก

อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก Surface Pro X เป็นการนำซีพียูรุ่นใหม่ที่ทาง Microsoft ผลิตขึ้นมาบนสถาปัตยกรรมแบบใหม่ อาจทำให้โปรแกรมเดิมที่เคยใช้งานบน Windows 10 ได้ อาจจะไม่สามารถใช้งานบน Pro X ได้ ซึ่งแนะนำให้ตรวจสอบให้ดีก่อนเลือกซื้อมาใช้งาน

Gallery

]]>
Review : Microsoft Surface Go เล็กสุดดีสุดของไมโครซอฟท์ https://cyberbiz.mgronline.com/review-microsoft-surface-go/ Mon, 01 Oct 2018 04:30:55 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=29327 ยกแชมป์ให้ไปเลยสำหรับ Surface Go อุปกรณ์ 10 นิ้วที่ไมโครซอฟท์การันตีเองว่าเป็นอุปกรณ์ที่ดีที่สุดประจำปีนี้ จุดดีจุดด้อยของ Surface Go มีหลายส่วน ทุกส่วนถือว่าลงตัวรับได้จนทำให้ Surface Go เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจมากสำหรับใครที่กำลังมองหาอุปกรณ์คู่ใจมาใช้งาน

การออกแบบ

Surface Go หน้าจอขนาด 10 นิ้ว ความละเอียด 1800×1200 (217 PPI) ซีพียู Intel Pentium Gold 4415Y เป็นรุ่นเริ่มต้นในสินค้ากลุ่ม Surface สินค้าที่มากับกล่อง Surface Go มีเพียงอะแดปเตอร์ชาร์จไฟ และเอกสารเท่านั้น

Surface Go มีให้เลือก 2 รุ่น คือความจุ 64GB แบบ eMMC แรม 4GB (ราคา 14,999 บาท) และรุ่นความจุ 128GB แบบ SSD แรม 8GB (ราคา 19,999 บาท) รุ่นที่ทีมงานได้ทดสอบคือรุ่น 128GB ความจุสูงและทำงานเร็วกว่า

ด้านขวามือของเครื่อง มีช่องเสียบหูฟัง 3.5 มม., พอร์ต USB-C 3.1 ที่ใช้ชาร์จไฟได้ และพอร์ต Surface Connect สำหรับชาร์จกับอะแดปเตอร์ที่แถมมา ขณะที่ปุ่ม Power และปุ่มปรับเสียง ติดที่ขอบบนของเครื่องเช่นเดิม ขอบล่างของเครื่องออกแบบมาสำหรับต่อคีย์บอร์ด Type Cover ซึ่งต้องซื้อเพิ่มในราคาเริ่มต้น 3,590 บาท

ไมโครซอฟท์ให้ทางเลือกคีย์บอร์ด 2 ทาง คือรุ่น Signature ที่ใช้ผ้า Alcantara แบบเดียวกับรถยนต์หรู (4,690 บาท) และรุ่น Standard สีดำ (3,590 บาท) ความต่างที่ชัดเจนคือสัมผัสเนียนซึ่งรุ่น Signature ชนะขาด

ช่องเสียบ microSD อยู่ด้านหลังขาตั้งของ Surface Go ซึ่งเป็นบานพับที่เปิดได้กว้างเต็มที่ 165 องศา ดังนั้นหากพื้นที่เก็บข้อมูลไม่พอ สามารถซื้อการ์ด microSD มาใส่เพิ่มได้สูงสุด 512GB ขณะที่ด้านหน้าของเครื่องมีกล้องหน้า เมื่อใช้งานกล้องจะมีไฟ LED สีขาวแสดงขึ้นมา

สเปก

สำหรับ Surface Go รุ่นใหม่นี้จะวางตลาดด้วยสเปกซีพียู Intel Pentium Gold 4415Y โดยรุ่นที่ทีมงานได้รับมาทดสอบเป็นรุ่นแรม LPDDR3 8GB หน่วยเก็บข้อมูลเป็น SSD ความจุ 128GB (เหลือให้ใช้จริงประมาณ 117GB) มาพร้อมระบบปฏิบัติการ Windows 10 Home ตัวเต็ม

ด้านการเชื่อมต่อจะรองรับ WiFi มาตรฐาน 802.11 a/b/g/n/ac บลูทูธ 4.1 ไม่รองรับการใส่ซิมการ์ดโทรศัพท์ และไม่มี GPS นำทางในตัว รุ่นพิเศษ Surface Go LTE ที่ใส่ซิมการ์ดได้ยังไม่มีประกาศวางจำหน่ายในไทย

ฟีเจอร์เด่นและทดสอบประสิทธิภาพ

Surface Go จะติดตั้ง Windows 10 Home แบบ S Mode ที่เปิดปิดได้มาให้ หากเปิด S Mode เครื่องจะทำงานเหมือน Windows 10 ปกติทั้งหมด แต่จะถูกจำกัดให้ติดตั้งหรือรันแอปพลิเคชันได้เฉพาะจาก Microsoft Store เท่านั้น ไม่สามารถรันไฟล์ .exe ได้ ผลดีของโหมดนี้คือเครื่องจะทำงานได้เร็วอยู่เสมอ และปลอดภัยจากไวรัสเพราะหมดโอกาสเปิดการทำงานไฟล์จากเว็บไซต์ล่อลวง

แม้ Surface Go แบบ S Mode จะเหมาะกับการใช้งานในชีวิตประจำวัน เพราะมีแอปใน Store ค่อนข้างหลากหลายทั้ง LINE, Facebook, Netflix, Spotify รวมถึง iTunes (ไม่มี Amazon Video หรือ Google Play Movies) แต่ถ้าต้องการใช้โปรแกรมเฉพาะทาง ไมโครซอฟท์ก็เข้าใจและเปิดช่องให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถออกจาก S Mode ได้ เพื่อให้รันไฟล์ .exe และติดตั้งโปรแกรมที่ไม่ได้อยู่ใน Microsoft Store ได้

จุดสำคัญที่ต้องระวังคือใครที่ออกจาก S Mode จะกลับมาเปิด S Mode กลับมาอีกไม่ได้ ประเด็นนี้ไมโครซอฟท์ยืนยันว่าแม้แต่การ reset เครื่องก็จะไม่มีโหมด S Mode ให้เลือกใช้ ใครที่สนใจอยากปิดโหมด S Mode ให้กดปุ่ม turn off S Mode ที่จะแสดงขึ้นมาเมื่อพิมพ์ค้นหาในเครื่อง

เครื่องที่ทีมงานได้รับมาทดสอบนั้นปิด S Mode ไว้แล้ว พบว่าเครื่องสามารถติดตั้งเครื่องมือ เกม หรือแอปพลิเคชันคุ้นมือที่ใช้งานได้บ่อยบนแล็ปท็อปทั่วไปโดยไม่ทำให้เครื่องหน่วง แต่บนหน้าจอจะแสดงความเสี่ยงจากการปิด S Mode บ่อยครั้ง

ความสะดวกสบายคือชาวออฟฟิศสามารถซื้อ Office 365 บน Microsoft Store ได้ทันที ผู้ที่ซื้อไว้แล้วสามารถลงชื่อใช้งานและติดตั้งได้ตามปกติ นอกจากนี้ Office เวอร์ชันฟรีก็มีให้ใช้งาน บนฟีเจอร์การทำงานที่น้อยกว่า

จากที่ใช้งาน MacBook Air เป็นประจำ การเปลี่ยนมาพิมพ์งานบน Surface Go ผ่าน Type Cover ทำให้พิมพ์ผิดบ่อยมาก เนื่องจากคีย์บอร์ดค่อนข้างเล็กและระยะกดปุ่มสั้นกว่า แต่เมื่อปรับตัวได้ก็สามารถใช้งานได้ดีไม่แพ้แล็บท็อปรุ่นไหน แถมยังเหนือกว่าเพราะมีปุ่ม Home, End, Page Up และ Page Down มาให้พร้อม ทำให้ไม่ต้องกด Fn คู่กันแบบโน้ตบุ๊กทั่วไป ขณะเดียวกันก็มี TouchPad ที่ใช้ได้สะดวกและแม่นยำไม่ผิดหวัง

ขณะที่ปากกาที่ใช้ทดสอบเป็น Surface Pen รุ่นปี 2017 ราคาปี 2018 ยังเท่าเดิมไม่ลดลง จุดเด่นของปากกาคือการรองรับแรงกด 4,096 จุด ตอบสนองได้ดีกว่ารุ่นก่อนหน้า หัวปากกาขนาด HB ตัวปากกาเชื่อมต่อผ่านบลูทูธ แบตเตอรีใช้ถ่าน AAAA 1 ก้อน รองรับการเอียงปากกาเพื่อแรเงาด้วย

ด้านแบตเตอรี่ เมื่อชาร์จเต็ม ใช้งานเบราว์เซอร์เปิดหลายแท็บ ดูยูทูบ พร้อมเปิดแอป Spotify ค้างไว้ แบตอยู่ได้ราว 4-5 ชั่วโมงเท่านั้น การชาร์จแบตจาก 3% จนถึง 100% ทำได้ภายใน 2 ชั่วโมงผ่านอะแดปเตอร์ที่ให้มา มีข้อเสียคือสถานะไฟเป็นสีเดิมตลอดการชาร์จ ทำให้ไม่สามารถสังเกตได้ว่าชาร์จเต็มแล้วหรือยัง เมื่อจับเครื่องขณะชาร์จโดยไม่ใส่รองเท้า หลายครั้งรู้สึกเหมือนถูกไฟดูดอ่อนๆ

หลายครั้งที่ Surface Go ร้อนเป็นพิเศษ เช่นระหว่างการใช้งานทั่วไปในสวนที่ไม่มีเครื่องปรับอากาศ พบว่าเครื่องร้อนแบบรู้สึกได้ แต่ทั้งหมดนี้ต้องยกนิ้วให้เรื่องความเงียบ เพราะ Surface Go ไม่มีพัดลมติดตั้งภายในเครื่อง


ทดสอบประสิทธิภาพ : PCMark 10 = 1,591 คะแนน


ทดสอบประสิทธิภาพ : Geekbench 4 / Single Core = 1,701 คะแนน / Multi Core = 3,310 คะแนน


ทดสอบประสิทธิภาพ : Cinebench R15 / OpenGL = 20.85 เฟรมต่อวินาที / CPU = 99cb

แม้คะแนนจะน้อย แต่ทีมงานยืนยันว่าการใช้งานโดยรวมลื่นไหล การเปิดโปรแกรมทำได้เร็ว พร้อมใช้งานเร็ว อย่างไรก็ตาม การใช้ Chrome บน Surface Go กลับไม่ลื่นไหลเท่าที่ควรเมื่อเทียบกับ Edge ที่ใช้งานได้ดีกว่า

สรุป

ตลอดการใช้งาน 1 สัปดาห์ เราพบว่าหลายคนแอบเหลียวมองเมื่อหยิบ Surface Go ขึ้นมา ความเบาขนาดเล็กพกง่ายใช้งานลงตัวกลายเป็นจุดขายที่ใช้โฆษณา Surface Go กับทุกคนได้แบบไม่ต้องคิดมาก โดยเฉพาะคีย์บอร์ดที่ทำมาได้ดีชนิดต้องปรบมือให้

จุดขายสำคัญของ Surface Go คือการใช้เป็นแท็บเล็ตได้เลยในเครื่องเดียว เหมาะมากสำหรับคนที่ไม่อยากมี 2 เครื่องแยกกัน ซึ่งที่ผ่านมา หลายคนต้องมีแท็บเล็ตเพื่อพกไว้ใช้จดบันทึกหรือวาดรูป และมีคอมพิวเตอร์พีซีอีกเครื่องเพื่อทำงานหลัก จุดนี้ถือว่า Surface Go สามารถทำงานได้แบบ 2 in 1 ทำให้การทำงานสะดวกมากขึ้นกว่าเดิม


ภาพจากกล้องหลัง


ภาพจากกล้องหน้า

น่าเสียดายที่ Surface Go อาจไม่เหมาะกับงานตัดต่อวิดีโอ 4K หนักหน่วงเหมือน Surface Pro 2017 แต่ก็ถือว่ารับได้เมื่อเทียบกับความสามารถใช้งานร่วมกับซอฟต์แวร์ Windows ได้แบบเดียวกัน บนจุดเด่นเรื่องการปิดเปิดเครื่องที่รวดเร็วกว่าโน้ตบุ๊กปกติไม่ต่างกัน และการมีพอร์ต USB-C ทำให้ Surface Go สามารถถ่ายโอนไฟล์หรือต่อออกจอนอกได้ง่ายมาก ทั้งหมดนี้จัดให้บนราคา Surface Go ที่ต่ำกว่า Surface Pro 2017 หลักหมื่น ซึ่งถือเป็นอีกจุดที่ชาว Surface ต้องพิจารณาก่อนซื้อ.

ข้อดี

– เล็ก เบา พกสะดวก ขาตั้งแข็งแรง มีพอร์ต USB-C
– มีช่องอ่านการ์ด microSD
– Windows 10 ใช้งานได้เต็มรูปแบบ ไม่กระตุก
– คีย์บอร์ดดี ปากกาดี

ข้อสังเกต

– แบตเตอรี่ไม่อึด
– ไม่มีพอร์ต USB-A แบบมาตรฐานเลย ต้องการใช้งานต้องซื้ออะแดปเตอร์ราคาเริ่มที่ 790 บาท
– ไม่แถมคีย์บอร์ด อุปกรณ์เสริมราคาไม่ธรรมดา

]]>
Review : Microsoft Surface Pro 2017 สเปกใหม่ ลงตัวมากขึ้น https://cyberbiz.mgronline.com/review-surface-pro2017/ Mon, 16 Oct 2017 07:18:05 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=27436

วันนี้ไมโครซอฟท์เปิดตัว New Surface Pro หรือแท็บเล็ตสายพันธุ์วินโดวส์รุ่นใหม่จากไมโครซอฟท์ (หลายคนเรียกว่าเป็น Surface Pro รุ่นที่ 5) ประจำปี 2017 ที่ทีมงานไซเบอร์บิซมองว่าเป็นรุ่นพัฒนาต่อยอด อัปสเปกเพิ่มจาก Surface Pro 4 โดยเฉพาะในส่วนอุปกรณ์เสริมอย่างปากกา Surface Pen ที่ถูกปรับปรุงใหม่ให้แม่นยำมากขึ้น รวมถึงตัวเครื่อง Surface เองที่ออกแบบมาได้ลงตัวพร้อมสเปกซีพียูเปลี่ยนไปใช้ตระกูล Kaby Lake (รุ่นที่ 7)

การออกแบบ

สำหรับการออกแบบ Surface Pro ยังคงเป็นวินโดวส์แท็บเล็ตที่สามารถใช้งานแบบโน้ตบุ๊กได้อย่างสมบูรณ์แบบเช่นเดิม โดยตัวเครื่องมาพร้อมหน้าจอแสดงผล PixelSense แบบสัมผัส 10 จุด ขนาด 12.3 นิ้ว ความละเอียด 2,736×1,824 พิกเซล ขนาดตัวเครื่องหนา 8.5 มิลลิเมตร พร้อมน้ำหนักประมาณ 770 กรัม

เหนือหน้าจอแสดงผลขึ้นไป ยังคงเป็นที่อยู่ของกล้องหน้าความละเอียด 5 ล้านพิกเซล รองรับวิดีโอคอลล์ที่ความละเอียดสูงสุด FullHD 1080p พร้อมไมโครโฟนแบบคู่ในตัวรวมถึงมีเซ็นเซอร์ตรวจจับใบหน้าเพื่อใช้ปลดล็อกตัวเครื่องผ่านฟีเจอร์ Windows Hello ใน Windows 10 และเซ็นเซอร์ตรวจวัดแสง รวมถึงภายในยังมีไจโรสโคปด้วย

นอกจากนั้นบริเวณขอบจอทั้งสองด้าน ไมโครซอฟท์เลือกติดตั้งลำโพงสเตอริโอ (ใช้เทคโนโลยี Dolby Audio Premium) ไว้ด้วย

ด้านหลัง วัสดุเป็นอะลูมิเนียมมาพร้อมขาตั้ง Kickstand อันเป็นเอกลักษณ์เด่นของไมโครซอฟท์ Surface โดยในรุ่นปี 2017 ขาตั้งจะกางออกได้ถึง 165 องศา ส่วนการปรับเปลี่ยนขาตั้งสามารถทำได้ 3 โหมดหลักได้แก่ 1.แล็ปท็อป เมื่อเชื่อมต่อกับคีย์บอร์ดจะใช้งานได้แบบโน้ตบุ๊ก 2.Studio ปรับ Kickstand ลงให้สุด 165 องศาสำหรับใช้งานวาดเขียน 3.แท็บเล็ต สามารถใช้งานเป็นแท็บเล็ตพกพาได้ปกติ

มาดูกล้องหลังจะมีความละเอียดอยู่ที่ 8 ล้านพิกเซลพร้อมออโต้โฟกัสและรองรับการถ่ายวิดีโอที่ความละเอียด FullHD 1080p พร้อมไมโครโฟนรับเสียงสเตอริโอติดตั้งอยู่ด้วย

ส่วนช่องใส่การ์ด MicroSD (จะใช้เพื่อเพิ่มความจุตัวเครื่องหรือใช้อ่านการ์ด MicroSD ปกติก็ได้) จะถูกติดตั้งอยู่ใต้ Kickstand

มาถึงพอร์ตเชื่อมต่อและปุ่มกดรอบตัวเครื่อง เริ่มจากด้านซ้ายมือจะเป็นช่องหูฟัง/Headset 3.5 มิลลิเมตร ถัดไปจะเป็นส่วนแม่เหล็กที่สามารถดูดปากกา Surface Pen ให้ติดกับตัวเครื่องได้ (หรือจะเรียกว่าที่เก็บปากกาก็ไม่ผิด)

ขวา เริ่มจาก Surface Connect สำหรับใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์เสริมและอะแดปเตอร์ชาร์จไฟบ้านของ Surface พอร์ต USB 3.0 จำนวน 1 ช่องและ Mini Display Port (ไม่รองรับการเชื่อมต่อ USB-C)

ด้านล่าง ตรงกลางจะเป็นช่องเชื่อมต่อกับคีย์บอร์ดเพื่อใช้งานในรูปแบบโน้ตบุ๊ก

ด้านบน เป็นปุ่มเพิ่มลดเสียงและปุ่มเปิดปิดเครื่อง

อุปกรณ์เสริม (จำหน่ายแยก)

มาดูอุปกรณ์เสริมของ Surface Pro 2017 กันบ้าง เริ่มจากคีย์บอร์ดจะเพิ่มรุ่น “Surface Pro Signature Type Cover” (ราคา 6,390 บาท) หุ้มด้วยผ้าวัสดุ Alcantara ตามภาพประกอบด้านบน

Surface Arc Mouse ใหม่ เมาส์ดีไซน์ล้ำจากไมโครซอฟท์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับ Surface Pro และสามารถนำไปใช้งานกับโน้ตบุ๊กทั่วไปหรือพีซีที่ติดตั้ง Windows 10/8.1/8 ผ่านการเชื่อมต่อบลูทูธ โดยส่วนแบตเตอรีอัลคาไลน์ขนาด AAA สองก้อน

Surface Pen รุ่นใหม่ปี 2017 (ต้องซื้อแยกต่างหากในราคา 3,900 บาท) จะถูกอัปเกรดเรื่องการรองรับแรงกดได้มากถึง 4,096 จุดพร้อมปรับปรุงเรื่องการตอบสนองให้ดีขึ้นกว่ารุ่นก่อนหน้า หัวปากกาขนาด HB ส่วนการเชื่อมต่อทำผ่านบลูทูธ แบตเตอรีใช้ถ่าน AAAA 1 ก้อน รองรับ Surface Pro ตั้งแต่รุ่น 3 ขึ้นไป

สเปก

สำหรับ Surface Pro รุ่นใหม่นี้จะวางตลาดด้วยสเปกซีพียูใหม่ 3 รุ่นย่อยได้แก่ Intel Core m3, i5 และ i7 (เจนเนอเรชั่น 7 ทั้งหมด) โดยรุ่นที่ทีมงานได้รับมาทดสอบวันนี้จะเป็นตัวกลางขับเคลื่อนด้วยซีพียู Intel Core i5 7300U ความเร็ว 2.60GHz กราฟิกการ์ดเป็นออนบอร์ด Intel HD Graphics 620 (ท็อปสุดสำหรับรุ่นซีพียู i7 จะเป็นการ์ดจอ Intel Iris Plus 640) พร้อมแรม DDR3 (Dual Channel) 8GB หน่วยเก็บข้อมูลเป็น SSD ความจุ 256GB (เหลือให้ใช้จริงประมาณ 190-200GB) มาพร้อมระบบปฏิบัติการ Windows 10 Pro ตัวเต็ม พร้อมแถม Office ให้ใช้งานฟรี 30 วันด้วย

ด้านการเชื่อมต่อจะรองรับ WiFi มาตรฐาน 802.11 a/b/g/n/ac บลูทูธ 4.1 ไม่รองรับการใส่ซิมการ์ดโทรศัพท์ และไม่มี GPS นำทางในตัว

ฟีเจอร์เด่นและทดสอบประสิทธิภาพ

Surface Pro 2017 จะติดตั้ง Windows 10 Pro มาให้ ทำให้ผู้ใช้สามารถติดตั้งซอฟต์แวร์ที่รองรับ Windows ได้ปกติเช่น ชุดซอฟต์แวร์ Adobe, Office ได้แบบเดียวกับการใช้บนพีซีหรือโน้ตบุ๊กทั่วไป ส่วนซอฟต์แวร์พิเศษ เนื่องจาก Surface Pro เป็นของไมโครซอฟท์เพราะฉะนั้นการปรับตั้งค่าระบบต่างๆจะสามารถทำผ่านหน้า Settings ได้ทั้งหมด รวมถึงการกำหนดรูปแบบการใช้พลังงานเพื่อประหยัดแบตเตอรีก็สามารถทำผ่านส่วนไอคอนแบตเตอรีได้ทันที

ทดสอบประสิทธิภาพ : PCMark 10 = 2,894 คะแนน

ทดสอบประสิทธิภาพ : Geekbench 4 / Single Core = 4,071 คะแนน / Multi Core = 8,415 คะแนน

ทดสอบประสิทธิภาพ : Cinebench R15 / OpenGL = 43.02 เฟรมต่อวินาที / CPU = 343cb

มาดูด้านการทดสอบประสิทธิภาพ โดยรุ่นที่เราได้รับมาเป็น Core i5 7300U ประกบกราฟิก Intel HD Graphics 620 ซึ่งถือเป็นสเปกระดับกลาง ภาพรวมถือว่าสามารถตอบโจทย์การทำงานได้หลากหลายตั้งแต่ใช้พิมพ์งาน ตกแต่งภาพจากไฟล์ RAW ของกล้อง DSLR ไปถึงตัดวิดีโอ 1080p ทุกอย่างทำงานได้ลื่นไหล หน่วยเก็บข้อมูล SSD ทำงานได้รวดเร็วดี และสามารถเพิ่มความจุด้วย MicroSD เพื่อใช้สำหรับเก็บไฟล์งานได้ (แต่ไม่แนะนำให้ใช้เก็บโปรแกรมเพราะอ่านเขียนช้า)

ส่วนข้อสังเกตจะเป็นเรื่องของพอร์ตเชื่อมต่อที่มีให้เพียง USB 3.0 จำนวน 1 พอร์ตเท่านั้น (ถ้ามีอุปกรณ์ต่อพ่วงเยอะอาจต้องหาอุปกรณ์เสริมอย่าง Surface Dock มาใช้งาน) อีกทั้งตัวเครื่องยังไม่มี USB-C ที่เป็นมาตรฐานใหม่ของปีนี้ติดตั้งมาให้ด้วย

ด้านการใช้งานคีย์บอร์ดและปากกา เริ่มจากคีย์บอร์ด ทีมงานรู้สึกว่านอกจากพื้นผิว Alcantara ในคีย์บอร์ดเวอร์ชัน Signature Type Cover ที่สัมผัสแล้วรู้สึกกระชับมือ วางพิมพ์งานบนตักแล้วตัว Cover เกาะกับขาและกางเกงไม่ลื่นหล่นได้ดีมาก ส่วนแป้นพิมพ์ให้ความรู้สึกกดง่ายและแม่นยำมากขึ้น โดยเฉพาะส่วนทัชแพดที่ตอบสนองได้ดีมาก

ด้านปากกา Surface Pen นอกจากดีไซน์ที่ปรับเหมือนดินสอมากขึ้นแล้ว เรื่องสเปกฮาร์ดแวร์ภายยังถูกปรับปรุงให้ตอบสนองได้ดีขึ้นแถมรับแรงกดได้ละเอียดขึ้นจากรุ่นก่อนหน้า ประสิทธิภาพถือว่าเทียบเท่าคู่แข่งแล้ว แถมตัวปากกายังมีฟีเจอร์เด่นอย่างท้ายปากกาเป็นยางสามารถใช้แทนยางลบดิจิตอลหรือแม้แต่หัวปากกาก็สามารถเปลี่ยนรูปแบบได้ทั้งเป็นแบบดินสอ HB/B หรือหัวปากกาลูกลื่น

สุดท้ายในส่วนของแบตเตอรีโดยทดสอบใช้งานเป็นโน้ตบุ๊กส่วนตัวเน้นพิมพ์งาน ต่อ WiFi เข้าเว็บไซต์ แชทและเล่นเกมฆ่าเวลาบ้างสลับตลอดทั้งวัน พบว่าเรื่องของแบตเตอรีทำได้น่าพอใจกว่ารุ่นก่อน โดยทีมงานทดสอบสามารถทำเวลาใช้งานได้มากถึง 9-11 ชั่วโมงเลยทีเดียว และอีกหนึ่งข้อดีของ Surface Pro ที่ถูกปรับระบบทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ Windows 10 มาให้เข้ากันมากขึ้นก็คือ เวลาเราเลิกใช้งานเครื่องเราสามารถกดปุ่มปิดเครื่องครั้งเดียวเพื่อสั่งให้หน้าจอดับแล้วเข้าโหมดสแตนบายได้ทันทีแบบเดียวกับแท็บเล็ตแอนดรอยด์หรือ iOS และสามารถปลุกเครื่องให้ตื่นได้ตลอดเวลาโดยไม่พบอาการเครื่องค้างให้เห็น อีกทั้งถ้าเรากดสแตนบายเครื่องเป็นเวลานานเกินไป ระบบจะพาตัวเองเข้าสู่ Hibernate อัตโนมัติ เวลาเปิดเครื่องใหม่ระบบบู๊ตค่อนข้างเร็วกว่ารุ่นที่แล้ว ทำให้การใช้งาน Surface Pro 2017 ไม่พบอาการสะดุดให้เห็นตลอดการทดสอบร่วม 2 อาทิตย์ (ทีมงานไม่เคยสั่งชัทดาวน์เครื่องเลย ส่วนใหญ่ใช้วิธีกดปุ่มปิด 1 ครั้งให้หน้าจอดับแล้วก็ใส่กระเป๋าทันที)

กล้องหน้า

กล้องหลัง

สุดท้ายในส่วนการทดสอบกล้องถ่ายภาพ เริ่มจากด้านหน้า คุณภาพถือว่าอยู่ในระดับพอใช้ไม่ค่อยคมชัดเมื่ออยู่ในที่แสงน้อย แต่เรื่องความลื่นไหลของภาพถือว่าทำได้ดี ส่วนกล้องหลังถือว่าคุณภาพกลางๆ ใช้แก้ขัดได้

สรุป

สำหรับราคา Surface Pro 2017 จะเริ่มต้นที่ 30,900 บาทไปจนถึงรุ่นท็อปสุด Intel Core i7/1TB SSD/16GB RAM/Iris Plus Graphics 640 อยู่ที่ราคา 101,900 บาท

Surface Pro 2017 ถือว่าเป็นแท็บเล็ตลูกผสมโน้ตบุ๊กสายพันธุ์ Windows 10 จากไมโครซอฟท์ที่เน้นการปรับปรุงด้านสเปกภายในที่มีให้เลือกหลากหลายระดับตั้งแต่ระดับเริ่มต้นไปถึงเน้นประสิทธิภาพสูง เน้นงานตัดต่อวิดีโอ 4K รวมถึงการปรับปรุงเรื่องฟีเจอร์ในแบบแท็บเล็ต เช่น การปิดเปิดเครื่องที่รวดเร็วกว่าโน้ตบุ๊กปกติและสามารถใช้งานได้ตลอดทั้งวันแบบไร้รอยต่อ สิ่งเหล่านี้ไมโครซอฟท์ปรับปรุงมาได้ดีมากขึ้น ผู้อ่านที่กำลังมองหาโน้ตบุ๊ก-แท็บเล็ตวินโดวส์เน้นน้ำหนักเบา พกพาง่ายแบบแท็บเล็ตแต่ประสิทธิภาพสูงสามารถใช้งานร่วมกับซอฟต์แวร์รองรับ Windows ได้แบบเดียวกับพีซี Surface Pro 2017 เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจ

ส่วนผู้ใช้ที่เป็นแฟน Surface Pro อยู่แล้ว ต้องเรียนตามตรงเลยว่ารุ่นปี 2017 ถูกปรับปรุงเน้นความลงตัวและพยายามเป็นแท็บเล็ตไฮบริดที่สมบูรณ์มากกว่าเก่า จุดที่แตกต่างจากรุ่นเดิมจริงๆจะอยู่ที่ตัว m3 กับ i5 ที่ไม่มีพัดลมระบายความร้อนแล้วทำให้เครื่องทำงานเงียบมาก รวมถึงแบตเตอรีที่อึดขึ้น มองแล้วมีความเป็นแท็บเล็ตสูงกว่ารุ่นก่อน นอกนั้นจะแตกต่างจากเดิมไม่มากนัก ใครกำลังสนใจต้องลองช่างใจดูเองครับ

ข้อดี

– ปรับแต่งได้ลงตัวไม่ว่าจะใช้ในโหมดไหนก็ตาม
– ได้ Windows 10 Pro มาจากโรงงาน
– รุ่น m3 และ i5 ทำงานเงียบเพราะใช้ระบบระบายความร้อนแบบใหม่ ไร้พัดลม
– แบตเตอรีอึดกว่ารุ่นเดิมเกือบเท่าตัว
– ปากกา Surface Pen ใหม่ เขียนได้แม่นยำ ลื่นไหลขึ้นมาก

ข้อสังเกต

– กล้องหน้าและหลังคุณภาพแค่พอใช้
– ช่องเชื่อมต่อ USB ให้มาน้อย ไม่มี USB-C

Gallery

]]>
Review : Microsoft Lumia 650 วินโดวส์โฟนต่ำกว่า 8000 https://cyberbiz.mgronline.com/review-microsoft-lumia-650/ Wed, 29 Jun 2016 10:25:01 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=23102

IMG_3617

Lumia 650 นับเป็นสมาร์ทโฟนที่เน้นเจาะกลุ่มลูกค้าระดับกลางรุ่นแรกของไมโครซอฟท์ ตั้งแต่มีการปรับโครงสร้างองค์กรให้รวมกันเป็นหนึ่งเดียวมากยิ่งขึ้นบนระบบปฏิบัติการ Windows 10 หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีออกรุ่นที่มาจับกลุ่มผู้เริ่มใช้สมาร์ทโฟนจาก Lumia 535 และในกลุ่มบนจาก Lumia 950XL

ที่สำคัญคือ Lumia 650 เริ่มกลับมาเป็นสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์ของไมโครซอฟท์แล้ว ด้วยการออกแบบตัวเครื่องที่มีความน่าสนใจ ไม่ได้ยึดตามแบบสมาร์ทโฟนรุ่นอื่นๆในตลาด ซึ่งถือเป็นจุดเด่นที่สำคัญของไมโครซอฟท์ อย่างไรก็ตามด้วยการที่ทำงานบน Windows 10 ก็ทำให้ผู้ใช้มีความสะดวกในการใช้งานเครื่องบนแพลตฟอร์มเดียวกันมากขึ้น

ส่วนของสเปกเครื่อง ด้วยการที่ทำราคาออกมาต่ำกว่าหมื่นบาท ทำให้เครื่องจะเน้นไปที่สเปกกลางๆด้วยการใช้ซีพียู Snapdragon 212 ที่เป็นรุ่นประหยัด มาใช้กับหน้าจอเครื่องขนาด 5 นิ้ว ตัวเครื่องรองรับทั้ง 3G และ 4G กล้องที่ความละเอียด 8 ล้านพิกเซล แต่มีอินเตอร์เฟสในการปรับแต่งใช้งานที่น่าสนใจ

การออกแบบ

IMG_3629

ดีไซน์ของ Lumia 650 จะเน้นไปที่การนำเฟรมที่เป็นอะลูมิเนียมขัดมันผสมกับพลาสติกคุณภาพสูง เพื่อให้เมื่อได้สัมผัสแล้วจะรู้สึกถึงความพรีเมียมของตัวสินค้าเป็นหลัก โดยเน้นหลักๆไปที่ความบางของตัวเครื่อง ที่มีขนาดรอบตัวอยู่ที่ 142 x 70.9 x 6.9 มิลลิเมตร น้ำหนัก 122 กรัม มีให้เลือกด้วยกัน 2 สี คือขาว และดำ

IMG_3618

ด้านหน้าไล่จากส่วนบนจะเป็นช่องลำโพงสนทนา ถัดลงมามีสกรีนแบรนด์ ‘Microsoft’ โดยมีกล้องหน้าความละเอียด 5 ล้านพิกเซล f/2.2 อยู่ที่มุมขวาบน ถัดลงมาเป็นหน้าจอที่ใช้กระจก Gorilla Glass 3 บนเทคโนโลยี ClearBlack OLED ขนาด 5 นิ้ว ความละเอียด HD (1280 x 720 พิกเซล) ความละเอียดเม็ดสี 297 ppi ส่วนล่างเป็นลำโพงปกติ ซึ่งถ้าสังเกตุจะพบว่ามีการปล่อยพื้นที่ว่างบริเวณส่วนบนและล่างหน้าจอค่อนข้างเยอะ เพื่อทำให้ตัวเครื่องบางลง

IMG_3619

ด้านหลังเนื่องจากต้องการให้ตัวเครื่องเบา ฝาหลังที่ใช้จึงเป็นพลาสติกที่สามารถยืดหยุ่นได้ ลักษณะเป็นผิวด้านเล็กน้อย มีสัญลักษณ์วินโดวส์สีเงินอยู่ตรงกลาง เยื้องขึ้นมาส่วนบนเป็นเลนส์กล้องความละเอียด 8 ล้านพิกเซล f/2.2 พร้อมไฟแฟลชที่นูนขึ้นมาเล็กน้อย โดยสามารถแงะฝาหลังได้จากตรงกึ่งกลางล่าง

IMG_3623

เมื่อแกะฝาหลังออกมาจะพบกับแบตเตอรีขนาด 2,000 mAh ที่สามารถถอดเปลี่ยนได้ โดยมีช่องใส่ไมโครเอสดีการ์ด และไมโครซิมการ์ดอยู่ข้างๆ ทำให้เวลาถอดเปลี่ยน หรือสลับการใช้งานจำเป็นต้องปิดเครื่องก่อน ส่วนหนึ่งเพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลสูญหายเมื่อไม่ได้กดถอดการ์ดออกขณะเปิดเครื่อง

IMG_3636IMG_3637

ด้านซ้ายจะถูกปล่อยว่างไว้ ด้านขวาเป็นที่อยู่ของปุ่มเปิดปิดเครื่อง และปุ่มปรับระดับเสียง

IMG_3634IMG_3633

ด้านบนมีช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม. และไมโครโฟน ด้านล่างจะมีช่องไมโครยูเอสบี สำหรับเสียบสายชาร์จ และเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์

สเปก

s09

ในส่วนของสเปกภายใน Lumia 650 มาพร้อมกับหน่วยประมวลผล Qualcomm Snapdragon 212 ที่เป็นควอดคอร์ความเร็ว 1.3 GHz RAM 1 GB พื้นที่เก็บข้อมูลภายในตัวเครื่อง 16 GB รองรับไมโครเอสดีการ์ดเพิ่มเติมสูงสุด 200 GB ทำงานบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 10

การเชื่อมต่อรองรับ 3G บนคลื่นความถี่ 850/900/1900/2100 ความเร็วในการเชื่อมต่อสูงสุด 42.2/5.76 Mbps ส่วน 4G รองรับบนคลื่นความถี่ 700/850/2100 ความเร็ว 150/50 Mbps ขณะที่การเชื่อมต่อไวไฟอยู่บนมาตรฐาน 802.11b/g/n บลูทูธ 4.1 GPS NFC และวิทยุFM

ฟีเจอร์เด่น

เนื่องจาก Lumia 650 มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 10 ดังนั้น ฟังก์ชันในการใช้งานส่วนใหญ่ ก็จะไม่แตกต่างจากรุ่นพี่ใหญ่ก่อนหน้านี้อย่าง Lumia 950XL http://www.cyberbiz.in.th/review-microsoft-lumia-950xl/ เพียงแต่ในรุ่นนี้ จะไม่รองรับการใช้งาน Continuum ที่เป็นการต่อสมาร์ทโฟนเข้ากับจอเพื่อใช้งานแทนพีซี เช่นเดียวกับระบบปลดล็อกเครื่องด้วย Windwso Hello ที่จะถูกตัดออกไป

แต่ฟังก์ชันที่เหลือไม่ว่าจะเป็น Glance Screen ที่มีบอกเวลาบนหน้าจอ ตัวแจ้งเตือน ตารางนัดหมาย แม้ว่ากดปิดหน้าจอไปแล้ว ก็ยังอยู่ให้ใช้งาน รวมถึงบริการอื่นๆที่มีมากับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 10 ไม่ว่าจะเป็น Microsoft Office Skype OneDrive OneNote Outlook Mail และการเข้าถึง Store เพื่อดาวน์โหลดแอปพลิเคชันเพิ่มเติม

s01

หน้าจอหลักของ Windows 10 ยังคงเป็น Live Tiles เหมือนเดิม ที่รวมการแสดงผลของรายชื่อผู้ติดต่อที่จะหมุนวนรูปขึ้นมาแสดง หน้าปฏิทินที่บอกตารางนัดหมาย อัลบั้มรูปที่ปรับเปลี่ยนแกลอรี่มาแสดงผล รวมถึงโซเชียลเน็ตเวิร์กต่างๆ แน่นอนว่าผู้ใช้สามารถปรับแต่งธีมสี ขนาดไอค่อนได้ตามความต้องการเพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน

แถบการแจ้งเตือน ยังสามารถเข้าถึงได้จากการลากนิ้วจากขอบบนลงมา เพื่อแสดงข้อมูลเครือข่ายที่ใช้งาน สถานะแบตเตอรี วันที่ การตั้งค่าด่วนอย่างการเปิดปิด ไวไฟ บลูทูธ การหมุนหน้าจอ  ไฟฉาย โน้ต เข้าใช้งานกล้อง ปรับความสว่างหน้าจอ เปิด HotSpot 

s04นอกจากนี้ ยังมีการเปิดโหมดใช้งานมือเดียว ด้วยการกดปุ่มวินโดวส์ค้าง เพื่อย่อหน้าต่างลงมา และกดซ้ำเพื่อขยายกลับเหมือนเดิม ขณะเดียวกันผู้ใช้ยังสามารถเข้าไปตั้งค่าการแสดงผลของโทนสีหน้าจอได้จากในส่วนของ Colour Profile หรือจะเปลี่ยนธีมสีที่ใช้ได้จากในส่วนของการตั้งค่าเช่นเดียวกัน โดยจะมีโทนสีให้เลือกว่าเป็นสีดำ หรือขาว ที่จะเปลี่ยนบริเวณแถบเมนู และเลือกสีธีมหลักได้จากตารางสีที่ให้มา

s02

ในขณะที่แอปพลิเคชันที่ติดตั้งมาให้ในเครื่อง ส่วนใหญ่จะเป็นแอปฯทั่วๆไปไม่ว่าจะเป็นนาฬิกาปลุก เครื่องคิดเลข กล้อง ตัวจัดการไฟล์ วิทยุ เครื่องเล่นเพลง แผนที่ เบราว์เซอร์ รูปภาพ โทรศัพท์ และบริการต่างๆของไมโครซอฟท์ ให้เลือกใช้งาน ไม่นับรวมพวกโซเชียลเน็ตเวิร์กอย่างเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ที่มีให้ดาวน์โหลดมาใช้งานเพิ่มเติม

IMG_3639

โหมดใช้งานกล้อง ถือเป็นอีกจุดเด่นของ Lumia ที่ผู้ใช้สามารถใช้นิ้วลากบริเวณปุ่มชัตเตอร์มาทางซ้าย เพื่อเข้าสู่การปรับตั้งค่าสมดุลแสง ระยะโฟกัส ปรับ ISO และความเร็วชัตเตอร์ได้ ถือเป็นความสะดวกของผู้ที่ชื่นชอบใช้กล้องแบบมืออาชีพ แต่ถ้าไม่ต้องการก็สามารถใช้การถ่ายภาพโหมดอัตโนมัติในการถ่ายภาพได้ปกติ โดยจะมีให้ตั้งแค่ว่าจะใช้แฟลข หรือเปิดโหมด HDR หรือไม่

s05

นอกจากนี้ Lumia ยังมีการปล่อยให้ลูกค้าดาวน์โหลด Lens เพิ่มเติม (โหมดถ่ายภาพพิเศษ) ได้จากในสโตร์ เพื่อให้สามารถใช้งานโหมดกล้องได้หลากหลายมากยิ่งขึ้นไม่ว่าจะเป็นการตั้งเวลาถ่ายภาพ โหมดถ่ายภาพเซลฟี่ ถ่ายภาพแบบ 360 องศา ให้เลือกดาวน์โหลดเพิ่มเติมได้

s06

การนำทางใน Lumia 650 ยังถือเป็นอีกจุดเด่นที่ขาดไม่ได้ เพราะผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดแผนที่มาเก็บไว้ภายในเครื่องล่วงหน้า ทำให้เวลาเดินทางไปต่างประเทศ หรือต่างจังหวัดก็ยังสามารถเปิดใช้ระบบนำทางได้ แม้ไม่ได้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต เพียงแต่ว่าถ้ามีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตก็จะได้ข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้นอย่างร้านอาหารต่างๆ หรือข้อมูลที่มีการอัปเดต

s07

โหมดการใช้งานโทรศัพท์ ยังคงเน้นที่ความง่ายในการใช้งานเป็นหลัก ด้วยการมีแป้นปุ่มกดตัวเลขให้สามารถใช้ระบบคาดเดารายชื่อจากในเครื่องได้ ขณะที่น่าจอการสนทนาก็จะมีบอกระยะเวลาที่คุยสาย พร้อมปุ่มกดพักสาย เพิ่มสาย ปิดเสียง เปิดลำโพง หรือสลับเป็นการใช้สไกป์วิดีโอได้ กรณีสายเรียกเข้าสามารถกดเลือกได้ว่าจะรับสาย ตัดสาย หรือส่งข้อความกลับ

s03

ส่วนการที่แอปในวินโดวส์สโตรยังไม่เป็นที่รู้จักมากนักทาง Lumia ก็มีการรวบรวมแอปพลิเคชันที่น่าสนใจมาไว้ภายใน Lumia Highlight ที่จะคอยแนะนำแอปพลิเคชันที่น่าสนใจ และผู้ใช้สามารถกดต่อเพื่อเข้าไปดาวน์โหลดในสโตร์ได้ทันที

ทดสอบประสิทธิภาพ

s10

ในส่วนของการทดสอบประสิทธิภาพ ทีมงานทดสอบด้วยการใช้แอปพลิเคชันยอดนิยมอย่าง AnTuTu ที่ภายในระบบปฏิบัติการวินโดวส์ จะมีให้เลือก 2 เวอร์ชัน คือ AnTuTu Benchmark v6.0.5 UWP Beta5 ได้ 31,646 คะแนน และ AnTuTu Benchmark v0.8.0 beta สามารถทำคะแนนรวมได้ราว 12,608 คะแนน ซึ่งต่ำกว่า Lumia 950XL อย่างเห็นได้ชัด

ส่วนในแง่ของระยะเวลาการใช้งานบนแบตเตอรี ด้วยการที่ให้แบตมาขนาด 2,400 mAh ทดลองใช้งานทั่วๆไป มีการซิงค์อีเมล ใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์กตามปกติ แต่ไม่ได้ใช้งานเล่นเกม หรือฟังเพลงหนักๆ สามารถใช้ต่อเนื่องได้สบายๆใน 1 วัน ไม่มีปัญหาแบตหมดระหว่างวันแต่อย่างใด

สรุป

ด้วยราคาเปิดตัวที่ 7,190 บาท ของ Lumia 650 ทำให้กลายเป็นวินโดวส์โฟนระดับราคาเอื้อมถึงได้สำหรับคนทั่วไปที่รองรับการใช้งาน 4G พร้อมกับฟังก์ชันหลักของแพลตฟอร์มวินโดวส์อย่างไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ ดังนั้น ถ้าเป็นผู้ใช้งานที่เน้นนำมาใช้งานเป็นหลักกับไฟล์เอกสาร ก็ถือเป็นรุ่นที่น่าสนใจ แต่ถ้าจะเน้นมาใช้งานโซเชียลมีเดีย หรือเพื่อความบันเทิงอย่างเล่นเกม ในวินโดวส์อาจจะยังไม่รองรับอย่างเต็มที่

ข้อดี

– สมาร์ทโฟนหน้าจอ 5 นิ้ว ความละเอียด HD กล้อง 8/5 ล้านพิกเซล

– รองรับการเชื่อมต่อ 4G

– ทำงานร่วมกับแพลตฟอร์มวินโดวส์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ

ข้อสังเกต

– แอปส่วนใหญ่จะเน้นการทำงานเป็นหลัก

– ไม่รองรับการใช้งาน Continuum ที่เป็นจุดเด่นของวินโดวส์ 10

– หน่วยประมวลผลที่ใช้เป็นรุ่นราคาต่ำ อาจประมวลผลได้ไม่เต็มที่

– กล้องวิดีโอไม่รองรับการบันทึกระดับ Full HD (1080p)

]]>
ทดสอบกล้องหลัง PureView : Microsoft Lumia 950XL https://cyberbiz.mgronline.com/review-pureview-lumia950xl/ Tue, 26 Jan 2016 06:32:17 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=21279

IMG_0472

ทุกครั้งที่สมาร์ทโฟนตระกูล Lumia จากไมโครซอฟท์ออกวางจำหน่าย นอกจากความเป็นวินโดวส์ที่มีรูปแบบการใช้งานเฉพาะตัวแล้ว เรื่องของกล้องถ่ายภาพ PureView ประกบเลนส์ ZEISS ที่โด่งดังมาตั้งแต่โนเกีย ก็ถือเป็นหนึ่งความสนใจของผู้อ่านไซเบอร์บิซมาตลอด จนทีมงานต้องแยกเขียนบททดสอบเฉพาะกล้องหลัง PureView แยกจากรีวิวฉบับเต็มทุกครั้งที่ได้รับสมาร์ทโฟน Lumia มาทดสอบ

และในวันนี้ขอต้อนรับปีใหม่ด้วย Microsoft Lumia 950XL หลังจากทางทีมงานได้ทดสอบในส่วนประสิทธิภาพไปแล้ว ในบทความนี้จะเป็นเรื่องของกล้องหลัง PureView กับการทดสอบเค้นประสิทธิภาพกล้องหลังทั้งไฟล์ดิบ DNG โหมดกล้องอัตโนมัติ และจุดขายสำคัญ “High resolution zoom (PureView Zoom) ซูมภาพโดยไม่สูญเสียความละเอียด”

IMG_0470

สำหรับสเปกกล้องหลัง Microsoft Lumia 950XL (Windows 10) มาพร้อมเซ็นเซอร์รับภาพ Backside-illuminated PureView ขนาด 1/2.4 นิ้ว ความละเอียดภาพสูงสุด 20 ล้านพิกเซล ระบบป้องกันภาพสั่นไหวแบบออปติคอลและออโต้โฟกัสมีการปรับปรุงให้ทำงานได้รวดเร็วขึ้น

ในส่วนเลนส์ ZEISS เป็นมุมกว้าง 26 มิลลิเมตร รูรับแสงกว้าง f/1.9 ตามสมัยนิยมเพื่อให้รับแสงในที่แสงน้อยได้ดีขึ้นกว่ารุ่นก่อนหน้า และไฟแฟลช LED ได้รับการออกแบบใหม่บนเทคโนโลยี Natural Flash จำนวน 3 ดวงพร้อมรองรับ Rich Capture (เปิดไฟแฟลชถ่ายภาพก่อนแล้วค่อยมาเลือกความเข้มของไฟแฟลชทีหลังผ่านซอฟต์แวร์)

กล้องหน้า ปรับเพิ่มความละเอียดเป็น 5 ล้านพิกเซล รูรับแสง f2.4 และรองรับการบันทึกวิดีโอ 1080p

video-950xl

ด้านวิดีโอ เนื่องจากไมโครซอฟต์ปรับฮาร์ดแวร์หลายส่วนใหม่ทำให้ Lumia 950XL รองรับการถ่ายวิดีโอที่ความละเอียดสูงสุดถึง 4K (Ultra HD 3,840 x 2,160 พิกเซล) ที่ความเร็ว 30 เฟรมต่อวินาทีพร้อมเทคโนโลยีไมโครโฟนบันทึกเสียง 4 ตัว (Lumia Rich Recording) และวิดีโอสโลโมชัน

User Interface ซอฟต์แวร์กล้อง

s14

ยังคงเน้นรูปแบบการใช้งานที่ง่าย โดยหลักๆหลังเข้าใช้งานกล้องครั้งแรก ระบบจะปรับเป็นโหมดอัตโนมัติให้ ผู้ใช้มีหน้าที่กดชัตเตอร์ถ่ายภาพอย่างเดียวเท่านั้น แต่ทั้งนี้ถ้าต้องการโหมดโปรเพื่อปรับแต่งค่ากล้องตามต้องการ ก็สามารถทำได้เพียงกดปุ่มชัตเตอร์ (รูปกล้องถ่ายภาพ) ที่หน้าจอค้างไว้แล้วเลื่อนไปทางซ้าย จะปรากฏแถบปรับแต่งค่ากล้องขึ้นมา ซึ่งมีให้เลือกตั้งแต่ ชดเชยแสง +/- ความเร็วชัตเตอร์ ค่าความไวแสง (ISO) โฟกัสและสมดุลแสงขาว (White Balance)

lumia-settings

ในส่วนการตั้งค่าสามารถปรับแต่งได้อิสระ ตั้งแต่ความละเอียดภาพว่าจะเป็น JPEG อย่างเดียว หรือเลือก JPEG + RAW File (DNG) ส่วนเมนู Capture living images เมื่อเปิดใช้งานระหว่างถ่ายภาพนิ่ง ระบบจะแอบบันทึกวิดีโอขนาดสั้นเพื่อเก็บบรรยากาศในรูปแบบภาพเคลื่อนไหวระหว่างถ่ายภาพนิ่งไว้ คล้ายหลักการเดียวกับ Live Photos ของแอปเปิล

filesize-950xl

สุดท้ายในส่วนขนาดไฟล์ภาพ JPEG 1 ไฟล์จะใช้พื้นที่ประมาณ 4-4.4MB ส่วนไฟล์ดิบ .DNG 1 ไฟล์จะใช้พื้นที่ประมาณ 26-27MB และถ้ารวมไฟล์ภาพทั้งหมดตั้งแต่ JPEG + RAW DNG + Capture living images เท่ากับว่ารูปถ่าย 1 รูปจะใช้พื้นที่มากถึง 40MB เลยทีเดียว

ฟีเจอร์เด่น

rich-capture-mode-950

Rich Capture Mode นอกจากจะช่วยปรับแต่งภาพ JPEG ให้สวยงามหลังจากกดชัตเตอร์แล้ว อีกหนึ่งจุดเด่นก็คือ เมื่อถ่ายภาพด้วยการเปิดใช้ไฟแฟลช ระบบจะบันทึกภาพทั้งก่อนเปิดไฟแฟลชและหลังเปิดไฟแฟลชไว้

โดยหลังจากถ่ายภาพเสร็จแล้ว ที่ Gallery ผู้ใช้สามารถกลับมาปรับแต่งสมดุลไฟแฟลชได้ตามต้องการ (Choose the best lighting) โดยระบบจะนำภาพที่บันทึกไว้ทั้งสองภาพมารวมกันเป็นภาพเดียว ผู้ใช้มีหน้าที่เลื่อนแถบปรับสมดุลแสงด้านล่างเพื่อเลือกช่วงแสงที่เหมาะสมได้อย่างอิสระ ช่วยให้การถ่ายภาพย้อนแสงทำได้สวยงามขึ้น

rich-capture-mode-950-sample

ตัวอย่างภาพถ่ายด้วย Rich Capture Mode ร่วมกับการเปิดไฟแฟลช หลังจากนั้นได้ปรับแถบสมดุลแสงให้พอดีเพื่อไม่ให้แสงไฟแฟลชเข้มจนเกินไป 

pureview-zoom-950xl

High resolution zoom (PureView Zoom) ระบบซูมภาพดิจิตอลแบบไม่สูญเสียความละเอียดเป็นจุดเด่นของสมาร์ทโฟนตระกูลนี้เกือบทุกรุ่น และถูกพัฒนาปรับปรุงให้ประสิทธิภาพดีขึ้นมาตลอด โดยในรุ่นล่าสุด Lumia 950XL ก็ได้รับการปรับปรุงในส่วนรายละเอียดภาพและความคมชัดที่ดีขึ้นกว่าเดิม

WP-950XL-ZOOM-1WP-950XL-ZOOM-2WP-950XL-ZOOM-3

ทั้ง 3 ภาพนี้ ทีมงานใช้ High resolution zoom (PureView Zoom) ด้วยวิธีเดียวกับการซูมดิจิตอลบนสมาร์ทโฟนทั่วไป ไม่ต้องตั้งค่าใดๆให้วุ่นวาย

ทดสอบประสิทธิภาพและสรุป

lightroom-dng-950xl

จำได้ว่าเมื่อรุ่นที่แล้วการถ่าย RAW File .DNG + JPEG และระบบกล้องหลายส่วนยังดูขาดๆเกินๆ แต่มาถึงแพลตฟอร์ม Windows 10 และฮาร์ดแวร์ที่พัฒนาสูงขึ้น การถ่ายภาพทั้งโหมดอัตโนมัติ JPEG File และแบบมืออาชีพ RAW .DNG ทำได้ง่ายดายและลื่นไหลมากขึ้น การตั้งค่าไม่วุ่นวายเหมือนก่อนแล้ว

ISOtest-950xl

จุดที่น่าประทับใจก็คือการจัดการสัญญาณรบกวน JPEG File ที่ไมโครซอฟท์ปรับปรุงมาได้ดี ISO 3,200 ให้ผลลัพท์ของภาพที่ดีมาก สีสันที่เคยผิดเพี้ยนเมื่อดัน ISO ให้สูงถูกแก้ไขให้ดีขึ้นมาก

bf-950xl-2

ส่วน RAW .DNG เห็นได้ชัดเจนจากรุ่นก่อนหน้าเลยว่า ไมโครซอฟท์ได้ปรับปรุงเรื่องการเก็บรายละเอียดภาพและไดนามิกที่ดีขึ้น แต่ก็ยังมีปัญหาเรื่องสัญญาณรบกวนจากไฟล์ดิบและเซ็นเซอร์รับภาพขนาดเล็ก ยิ่งเมื่อเปิดหน้ากล้องนานเกิน 2 วินาที ISO เกิน 400 เราจะเห็นความเละเทะของไฟล์ได้ (แต่สามารถแก้ไขได้ด้วยซอฟต์แวร์ต่างๆ)

WP-950XL-PAO-3

ยกตัวอย่างภาพนี้ถ่ายที่ความเร็วชัตเตอร์ 4 วินาที ISO แค่ 400 แต่เมื่อถ่ายด้วย RAW File นอยซ์ค่อนข้างเยอะมาก ต้องใช้ Lightroom ลบนอยซ์ออก ซึ่งก็ช่วยได้แค่ระดับหนึ่ง เพราะเนื้อไฟล์ค่อนข้างเละเทะพอสมควร

WP-950XL-PAO-4

แต่พอแสงยามเช้าเริ่มมา ทำให้เราสามารถขยับ ISO ลงมาต่ำสุดได้ ภาพที่ได้ถือว่าเนียนและคมชัดมากขึ้น

bf-950xl-1

โดยภาพนี้ถือว่าเป็นการโชว์พลังของ RAW File จาก Lumia 950XL ได้อย่างดี เพราะตอนบันทึกภาพนี้เป็นไฟล์ดิบ ทีมงานเลือกให้แสงติดโอเวอร์เล็กน้อยจากข้อจำกัดของ f-stop ที่ปรับไม่ได้ จากนั้นเมื่อมาถึงขั้นตอนตกแต่งภาพ ทีมงานเลือกดึงแสงลงและเพิ่มรายละเอียดของส่วนฟ้าให้มีสีที่สดขึ้น ทุกอย่างสามารถจัดการได้เหมือน RAW File จากกล้อง DSLR

WP-950XL-PAO-1WP-950XL-PAO-11WP-950XL-PAO-5

มาลองถือถ่ายด้วยโหมดอัตโนมัติกันบ้าง ในที่แสงน้อยการจับโฟกัสทำได้รวดเร็วกว่ารุ่นก่อนหน้าพอสมควร ระบบป้องกันภาพสั่นไหวเมื่อทำงานควบคู่กับระยะเลนส์มุมกว้าง ทำให้คุณสามารถถือ Lumia 950XL ถ่ายที่ความเร็วชัตเตอร์ระดับ 2 วินาทีได้โดยไม่เกิดภาพสั่นไหว

WP-950XL-PAO-2WP-950XL-PAO-6WP-950XL-PAO-10WP-950XL-PAO-9WP-950XL-PAO-7WP-950XL-PAO-8

สุดท้ายกับภาพรวมกล้อง PureView บน Lumia 950XL สิ่งที่ประทับใจมากที่สุดหลังทดลองถ่ายภาพอยู่ 5 วันเต็ม คือ


1.ชัตเตอร์ทำงานเร็ว ระบบประมวลผลภาพเร็ว โดยเฉพาะการเลือกถ่ายแบบ JPEG 8 ล้านพิกเซล + DNG 19 ล้านพร้อมกัน ไม่มีอาการหน่วงให้เห็นแต่อย่างใด

2.ไฟล์ RAW .DNG มีการปรับปรุงด้านรายละเอียดภาพ ทำให้เกิดความยืดหยุ่นในการปรับแต่งที่เพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างถ่ายฟ้ามาโอเวอร์ เราสามารถเข้าโปรแกรมตกแต่งภาพแล้วดึงรายละเอียดฟ้ากลับมาได้ชัดเจนกว่ารุ่นก่อนหน้ามาก

3.High resolution zoom (PureView Zoom) ทำงานได้ดีและนำไฟล์ไปใช้งานได้จริง

4.JPEG กับซอฟต์แวร์ปรับแต่งภาพอัตโนมัติหลังกดชัตเตอร์ ระบบเลือกปรับแต่งภาพได้ค่อนข้างฉลาด แต่ติดเรื่องหน้าจอแสดงผลชอบปรับภาพให้สวยกว่าไฟล์จริงพอสมควร

WP_20160123_05_54_40_Raw_LI

ถ่ายด้วย RAW File เปิดหน้ากล้องนาน 4 วินาที ISO ประมาณ 1 พัน จะเริ่มเห็นสัญญาณรบกวนเกิดขึ้นแม้จะลบด้วยซอฟต์แวร์บนคอมพิวเตอร์แล้วก็ตาม

5.JPEG กับ ISO 3,200 ให้นอยซ์ที่น้อยมาก ซอฟต์แวร์ประมวลผลภาพทำงานได้ดี ในขณะไฟล์ RAW .DNG ที่ ISO เท่ากันแต่นอยซ์มากกว่า (มากระดับเละเทะ รายละเอียด สีสันเพี้ยนไปเลย) เพราะฉะนั้นสำหรับผู้ใช้ทั่วไปที่เลือกถ่ายด้วยโหมดอัตโนมัติคงไม่มีปัญหาใดๆ แต่สำหรับมือโปรชอบไฟล์ดิบ ทีมงานแนะนำอย่าตั้ง ISO ให้เกิน 800 จะดีที่สุด ยิ่งเป็นการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ยามค่ำคืนเพื่อนำไปตกแต่งต่อ แนะนำให้คุม ISO ให้เหมาะสม ต้องใจเย็นๆ ลองถ่ายแล้วซูมเช็คภาพดูเรื่อยๆ เพราะถ้ามีปัญหานอยซ์และสัญญาณรบกวนจากการเปิดหน้ากล้องนานเกิดขึ้น คุณจะแก้ไขอะไรไม่ได้เลย (ต้องทำใจเซ็นเซอร์และสเปกกล้องหลังเล็กลงจากสมัย 808 PureView มาก)


 

สุดท้ายกับการทดสอบวิดีโอ 4K UHD ถือว่าคมชัดตามมาตรฐาน โดยเฉพาะเสียงที่แยกซ้ายขวาและมิติชัดเจนดี ส่วนวิดีโอ 1080p ปกติ ทีมงานมีข้อสังเกตเล็กน้อยในเรื่องระบบป้องกันภาพสั่นไหว ที่ทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร แม้จะเปิดฟังก์ชัน Digital Video Stabilization ร่วมด้วยก็ตาม (ส่วนนี้คาดว่าปัญหามาจากเฟริมแวร์ คล้ายกรณี LG G4 คงต้องรอให้ไมโครซอฟท์ออกเฟริมแวร์มาแก้ไขในอนาคต)

สรุปภาพรวมทั้งหมดในเรื่องกล้อง PureView – โดยภาพรวมถือว่ามีการปรับปรุงไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ถ้าเทียบกับคู่แข่งอย่าง LG G4 และสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ยอดนิยมอย่าง Samsung Galaxy S6 edge+ ที่ปรับค่ากล้องแบบแมนวลและถ่าย RAW .DNG ได้ Microsoft Lumia 950XL ไม่ได้มีฟังก์ชันการทำงานที่แปลกใหม่กว่าคู่แข่งแต่อย่างใด ยกเว้น High resolution zoom (PureView Zoom) ที่ Lumia 950XL ทำได้ดีกว่าและระบบไฟแฟลชกับ Rich Capture ที่ทำได้น่าสนใจมาก

“ความจริงแล้วไมโครซอฟท์มีเทคโนโลยีกล้องที่น่าสนใจเหนือคู่แข่งมากมายอยู่ในมือตั้งแต่สมัย Nokia 808 PureView แต่น่าเสียดายที่เทคโนโลยีเหล่านั้นถูกจำกัดด้วยกลไกตลาดหลายส่วน ทำให้ Lumia ในยุคหลังไม่ค่อยแตกต่างจากคู่แข่งในตลาดมากนัก หลายฟักง์ชันใน Lumia 950/950XL ทำได้น่าสนใจและทีมงานมองว่าไมโครซอฟท์ที่มีเทคโนโลยีกล้องถ่ายภาพของโนเกียอยู่ในมือน่าจะพัฒนาได้ดีเยี่ยมกว่านี้เหมือนสมัย 808 PureView แต่สุดท้ายเราก็ยังไม่เห็นความพิเศษเหนือคู่แข่งจาก Microsoft Lumia 950/950XL นอกจากประสิทธิภาพที่ปรับปรุงไปตามสมัยเท่านั้น”

]]>
Review : Microsoft Lumia 950XL ประเดิม Windows 10 บนสมาร์ทโฟนรุ่นแรกในไทย https://cyberbiz.mgronline.com/review-microsoft-lumia-950xl/ Tue, 19 Jan 2016 07:06:30 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=21158

IMG_2142

ถือเป็นการกลับมาอีกครั้งของไมโครซอฟท์ในตลาดสมาร์ทโฟน หลังจากทิ้งช่วงไปในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ด้วยการอัปเดตจากระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 8.1 เป็นวินโดวส์ 10 ในจุดนี้ไมโครซอฟท์ ประเดิมด้วย Lumia 950 และ Lumia 950XL ที่ถือเป็น 2 รุ่นแรกที่เป็นวินโดวส์ 10 และเริ่มวางตลาดในประเทศไทย

จุดเด่นหลักที่ไมโครซอฟท์ชูขึ้นมาสำหรับ Lumia 950XL คือในเรื่องของขนาดหน้าจอ 5.7 นิ้ว ความละเอียดระดับ 2K กับกล้องถ่ายภาพที่ใช้เทคโนโลยี PureView 20 ล้านพิกเซล ที่สามารถถ่ายวิดีโอระดับ 4K ได้ ไม่นับรวมกับความสามารถของระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 10 ที่มีมาให้ใช้ทั้ง Cortana Windows Hello และ Continuum

การออกแบบ

IMG_2154

ในแง่ของการออกแบบไมโครซอฟท์พยายามกลับมาสู่จุดเดิมที่เน้นความเรียบหรู จากเครื่องรูปทรงสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ที่มีการลบขอบมุมให้มน เน้นประโยชน์ใช้สอยในการใข้งานเป็นหลัก โดยมีขนาดรอบตัวอยู่ที่ 78.4 x 151.9 x 8.1 มิลลิเมตร น้ำหนัก 165 กรัม วางจำหน่ายด้วยกัน 2 สี คือ ขาว และดำ

IMG_2143

ด้านหน้าไล่จากบนสุดจะมีช่องลำโพงสนทนาพาดอยู่ตรงกึ่งกลางบนตัวอักษรระบุแบรนด์ ‘Microsoft’ โดยมีไฟแสดงสถานะ และกล้องหน้าความละเอียด 5 ล้านพิกเซลแบบมุมกว้าง f/2.4 ทางฝั่งขวา ส่วนทางฝั่งซ้ายจะมีเซ็นเซอร์อินฟาเรตที่ใช้งานร่วมกับ Windows Hello ในการปลดล็อกตัวเครื่อง

ถัดลงมาเป็นหน้าจอขนาด 5.7 นิ้ว ความละเอียด WQHD หรือจอ 2K (2560 x 1440 พิกเซล) ที่ยังคงใช้จอแบบ AMOLED ClearBlack ให้ความละเอียดเม็ดสีที่ 581ppi โดยเป็นจอกระจกจาก Gorilla Glass 4 ขณะที่ปุ่มควบคุมหลัก 3 ปุ่มคือ ย้อนกลับ ปุ่มวินโดวส์ และค้นหา จะฝังอยู่ในหน้าจอดังนั้นจึงไม่มีปุ่มแยกออกมา ล่างหน้าจอจะมีช่องไมโครโฟนอยู่ด้วย

IMG_2144

ด้านหลังบริเวณกล้องจะนูนขึ้นมาจากตัวเครื่องเล็กน้อย แต่ด้วยดีไซน์ของฝาหลังทำให้คลุมขึ้นมาเหนือกระจกเลนส์ดังนั้นจึงช่วยปกป้องเลนส์ไปในตัว โดยบริเวณกระจกเลนส์จะเป็นที่อยู่ของเซ็นเซอร์กล้องความละเอียด 20 ล้านพิกเซล และไฟแฟลข 3 ดวง โดยมีช่องลำโพงอยู่ใกล้เคียง ตรงกลางจะมีสัญลักษณ์วินโดวส์และตัวอักษรระบุ PureView และ ZEISS

IMG_2193

เมื่อแกะฝาหลังออกมาจะพบกับแบตเตอรีขนาด 3,340 mAh อยู่ตรงกลาง พร้อมช่องงัดแบตเตอรี เมื่องัดออกมาจะพบกับช่องใส่นาโนซิมการ์ดอยู่ (เครื่องที่ได้มาทดสอบเป็น Dual SIM แต่เครื่องที่ขายจริงจะเป็นรุ่น 1 ซิม) ส่วนช่องใส่ไมโครเอสดีการ์ดจะแยกอยู่บริเวณส่วนล่าง แถวๆขั้วการเชื่อมต่ NFC

IMG_2158IMG_2156ด้านซ้ายถูกปล่อยว่างไว้ ด้านขวาเป็นปุ่มปรับระดับเสียง พร้อมกับปุ่มเปิดปิดเครื่องที่อยู่ติดกัน ให้ความรู้สึกคล้ายๆกับดีไซน์ของปุ่มบน BlackBerry Playbook ที่เคยออกแบบมาในลักษณะดังกล่าว ถัดลงมาเป็นปุ่มชัตเตอร์กล้องแบบ 2 จังหวะ สามารถกดลดไปจังหวะแรกเพื่อโฟกัส ก่อนกดอีกขั้นเพื่อบันทึกภาพ

IMG_2159IMG_2157ด้านบนตรงกึ่งกลางจะเป็นช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม. ด้านล่างเป็นพอร์ต USB-C ไว้ใข้สำหรับการชาร์จ เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ รวมถึงใช้ต่อกับ Microsoft Display Port เพื่อใช้งาน Continuum หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆด้วย

สำหรับอุปกรณ์ที่มีมาในกล่องนอกจากตัวเครื่อง Lumia 950 XL แบตเตอรี่ ก็จะมี Microsoft USB-C Fast Charger  Microsoft USB-C-USB 3.1 Cable ไว้เชื่อมต่อกับพอร์ต USB 2.0 / USB 3.0 และ คู่มือการใช้งาน

สเปก

Lumia 950XL ที่ถือเป็นรุ่นไฮเอนด์สุดของไมโครซอฟท์ในเวลานี้ จะทำงานบนหน่วยประมวลผล Qualcomm Snapdragon 810 ที่ะเป็น Octa-Core 2 GHz RAM 3 GB พื้นที่เก็บข้อมูลภายในตัวเครื่อง 32 GB สามารถใส่ไมโครเอสดีการ์ดเพิ่มได้สูงสุด 200 GB ทำงานบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 10

ในแง่ของการเชื่อมต่อรองรับทั้ง 3G ให้ความเร็วในการใช้งานสูงสุด 42.2/5.76 Mbps ส่วน 4G LTE เป็น Cat 4 ให้ความเร็ว 150/50 Mbps ขณะที่ตัว WiFi รองรับมาตรฐาน 802.11 a/b/g/n/ac บลูทูธ 4.1 GPS NFC และวิทยุFM

ฟีเจอร์เด่น

s01

ในส่วนของการใช้งาน Lumia 950XL ที่มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 10 จะใช้การแสดงผลบนหน้าจอหลักเป็นแบบ Live Tile ที่ผู้ใช้สามารถเลือกปรับขนาด สลับตำแหน่ง รวมไอคอนเป็นโฟลเดอร์ได้ด้วยตัวเอง ถ้าต้องการเข้าสู่หน้ารวมโปรแกรมใช้วิธีการปาดนิ้วจากขวาไปซ้ายได้ทันที

เมื่อลากนิ้วจากขอบบนลงมาจะเป็นการเรียกแถบการแจ้งเตือน และตั้งค่าปุ่มลัด ที่จะมีให้เลือกตั้งได้ตามต้องการ แต่พื้นฐานจะเป็นการเรียกใช้งานกล้อง เปิดปิด ไวเลส บลูทูธ การหมุนหน้าจอ โหมดเครื่องบิน การเชื่อมต่อ ฮ็อตสป็อต ความสว่างหน้าจอ โหมดประหยัดพลังงาน การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่น ไฟฉาย พิกัด สมุดโน้ต และเข้าสู่การตั้งค่าหลัก ส่วนการลากนิ้วจากขอบจอล่างขึ้นจะใช้เรียกปุ่มสั่งงาน

IMG_2153

Glance Screen ยังถือเป็นจุดเด่นสำคัญในส่วนของการแสดงผลหน้าจอขณะที่ไม่ได้เปิดใช้งานเครื่อง โดยตัวเครื่องจะขึ้นแสดงเวลา วัน วันที่ และผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าจะให้แสดงผลข้อมูลจากตารางนัดหมาย พยากรณ์อากาศ หรือกสนแจ้งเตือนจากโซเชียลมีเดียต่างๆได้

s02

ขณะที่หน้าจอปลดล็อกนอกจากการปัดเพื่อปลดล็อก หรือใส่รหัสปลดล็อกแล้วในวินโดวส์ 10 จะมาพร้อมกับฟังก์ชันอย่าง Windows Hello (Beta) ที่นำกล้องหน้ากับแสงอินฟาเรดมาช่วยในการปลดล็อกจากการสแกนดวงตา 2 ข้างของผู้ใช้ โดยก่อนอื่นต้องเข้าไปตั้งค่าเปิดใช้งาน Windows Hello (beta) ก่อน โดยตัวเครื่องจะทำการบันทึกภาพดวงตาทั้ง 2 ข้างไว้ เมื่อบันทึกเรียบร้อยก็พร้อมใช้งานได้ทันที

IMG_2149

การปลดล็อกเครื่องด้วย Windows Hello (beta) ผู้ใช้จำเป็นต้องยกตัวสมาร์ทโฟนขึ้นมาอยู่ในระดับสายตา โดยจะสามารถใช้งานได้กับผู้ที่ใส่แว่นตาใสปกติ แต่กรณีที่ใส่แว่นดำปกปิดดวงตาตัวเครื่องจะไม่สามารถอ่านค่าได้ และให้ใส่รหัสผ่านเพื่อปลดล็อกเครื่องแทน อย่างไรก็ตามความสามารถในการปลดล็อกนี้สามารถใช้งานในเวลากลางคืนได้ด้วย จากแสงสว่างของหน้าจอที่ส่องมายังใบหน้าผู้ใช้

อย่างไรก็ตาม Windows Hello (beta) ยังมีจุดบอดอยู่เช่นเดียวกับบนโน้ตบุ๊ก หรือ Microsoft Surface ที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 10 ขณะที่ชาร์จแบตคือเมื่อหน้าจอเครื่องติดขึ้นมา แล้วทำการสแกนไม่พบดวงตาผู้ใช้ก็จะทำงานไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงเวลาที่กำหนดให้ปิดหน้าจอถ้าไม่มีการใช้งาน จนบางทีอาจจะล็อกจนต้องใส่รหัสเองก็เป็นได้

ถัดมาที่พิเศษขึ้นมาใน Lumia 950XL ก็ถือเป็นเครื่องรุ่นแรกที่วางจำหน่ายและรองรับการใช้งาน Microsoft Continuum ที่ใช้สมาร์ทโฟนเชื่อมต่อกับจอ เมาส์ และคีย์บอร์ดเพื่อใช้งานแทนพีซีได้ทันที สามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดแบบเต็มๆของ Continuum ได้ที่ http://www.cyberbiz.in.th/review-microsoft-continuum

IMG_2170

นอกจากนี้ ก็จะมีฟีเจอร์ปลีกย่อยที่ใช้ความสามารถของ USB-C ทำให้เมื่อใช้งานร่วมกับที่ชาร์จที่แถมมาให้ในกล่องจะเป็นระบบชาร์จเร็ว จะทำให้สามารถชาร์จแบตเตอรีจาก 0 – 50% ได้ภายในเวลาประมาณ 30 นาที (ทีมงานทดสอบแล้วใช้ประมาณ 40 นาที) และถ้าต้องการชาร์จจนเต็มจะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 40 นาที ซึ่งถือว่าค่อนข้างเร็วสำหรับแบตเตอรีขนาด 3,340 mAh

ขณะเดียวกันตัว Lumia 950XL ก็รองรับการชาร์จแบบไร้สาย (Wireless Charge) บนมาตรฐานของ Qi ทำให้สามารถใช้งานร่วมกับที่ชาร์จไร้สายทั่วไปได้ทันที เพียงแต่ระยะเวลาชาร์จแบบไร้สายจะช้ากว่าการชาร์จแบบมีสายแน่นอน

IMG_2155

ย้อนมาถึงฟังก์ชันที่มากับตัวเครื่องและมีความน่าสนใจอีกจุดที่เห็นชัดเจนมากคือเรื่องของหน้าจอแสดงผล ที่ทางไมโครซอฟท์ อัดจอ 2K มาในขนาด 5.7 นิ้ว ทำให้ความละเอียดเม็ดสีสูงถึง 581ppi ดังนั้นการแสดงผลภาพจึงมีความคมชัดสูง ประกอบกับเทคโนโลยีการแสดงของแบบ Clear Black ที่ใช้มาตั้งแต่สมัยเป็น Nokia ทำให้การตัดกันของสีมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นด้วย เช่นเดียวกับมุมมองของหน้าจอที่รองรับการมองในมุมกว้างด้วย

s21

อย่างไรก็ตาม ไมโครซอฟท์ ได้มีการเพิ่มฟังก์ชันพิเศษในการใช้งานสมาร์ทโฟนจอใหญ่มาด้วย คือการที่ผู้ใช้สามารถกดปุ่ม วินโดวส์ ค้างเพื่อย่อหน้าต่างลงมาให้สามารถใช้งานด้วยมือข้างเดียว ถ้าต้องการกลับขึ้นไปใช้งานแบบเต็มจอก็สามารถกดบริเวณพื้นที่ว่างด้านบนได้ทันที และสามารถใช้งานได้กับเกือบทุกแอปพลิเคชัน

IMG_2166

อีกจุดที่ถือเป็นเรื่องสำคัญในสมาร์ทโฟนไฮเอนด์รุ่นหลังๆในตระกูล Lumia คงหนีไม่พ้นเรื่องของกล้องถ่ายภาพที่ยังคงจุดเด่นด้วยการนำเทคโนโลยี Pureview ร่วมกับเลนส์จาก ZEISS ที่ให้ความละเอียดภาพ 20 ล้านพิกเซล และสามารถบันทึกวิดีโอความละเอียด 4K ได้ด้วย

s14

อินเตอร์เฟสการใช้งานกล้องจะเน้นไปที่ความง่ายในการใช้งานเป็นหลัก คือผู้ใช้สามารถสลับโหมดระหว่างภาพนิ่ง และวิดีโอได้จากไอค่อนทางด้านขวา ถ้าต้องการปรับตั้งค่าลัดจะมีให้เลือกสลับกล้อง เปิดปิดแฟลช โหมด Rich Capture ในการบันทึกภาพและเลือกภาพที่ดีที่สุด  นอกจากนี้ยังสามารถเข้าไปเลือกตั้ง White Balance Focus ISO Speed Shutter และความสว่างได้จากแถบลัดตรงกลางบนหน้าจอ

หรือถ้าชอบการตั้งค่าแบบการเลื่อนปรับ ก็สามารถลากนิ้วตรงปุ่มชัดเตอร์ไปทางซ้าย เพื่อเรียกวงแหวนการตั้งค่าออกมาหมุนได้ เมื่อตั้งเสร็จก็ใช้การปาดนิ้วขวาไปซ้าย เพื่อเก็บวงแหวนและมาเล็งภาพแทนได้เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามโหมดการตั้งค่าระดับสูงจะเหมาะกับผู้ที่มีความรู้ในการถ่ายภาพบ้าง เพื่อให้ได้ภาพที่แตกต่างจากการถ่ายแบบอัตโนมัติทั่วไป

ถัดมาโหมดถ่ายวิดีโออย่างที่บอกไปว่าตัวกล้องสามารถบันทึกวิดีโอความละเอียด 4K (3840 x 2160 พิกเซล) ได้ในระดับ 30 เฟรมต่อวินาที แต่ถ้าเป็นวิดีโอ Full HD (1920 x 1080 พิกเซล) จะสามารถบันทึกได้ที่ 60 เฟรมต่อวินาที รวมถึงความสามารถในการถ่าย Slow Motionได้ด้วย

ทั้งนี้ ความโดดเด่นของกล้อง Lumia 950XL จะเน้นไปที่ความสามารถในการบันทึกภาพในที่แสงน้อย ที่เมื่อเทียบกับสมาร์ทโฟนแบรนด์อื่นแล้วให้ภาพที่สว่างกว่า จากการที่ดัน ISO ขึ้นไปถึง 3200 แต่ภาพที่ได้ก็ไม่มี Noise รบกวนจนเกินไป ขณะที่ภาพวิดีโอบันทึกออกมาอยู่ในเกณฑ์ที่ถือว่าดีมาก จะเสียอย่างเดียวเลยคือการใช้งานกล้องนานๆแล้วตัวเครื่องจะร้อนเร็วมาก

s15

นอกจากนี้ ไมโครซอฟท์ ก็ยังคงจุดเด่นในแง่ของฟังก์ชันการถ่ายภาพด้วยการนำ Lenses ในที่นี้หมายถึงแอปที่ใช้คู่กับกล้องเพื่อให้ถ่ายภาพอย่าง Lumia Selfie ที่มีระบบถ่ายภาพ Selfie อัตโนมัติเมื่อจับใบหน้าได้ Blink การถ่ายภาพต่อเนื่องและนำมาเรียงกันเป็นวิดีโอ

s19

ที่เหลือก็จะเป็นฟีเจอร์ที่มากับเครื่องทั่วไปอย่าง Microsoft EDGE หรือเว็บเบราว์เซอร์รุ่นใหม่ของไมโครซอฟท์ ที่จะซิงค์ข้อมูลการใช้งานจากบัญชีผู้ใช้มาได้ทันที พร้อมกับฟังก์ชันในการอ่านที่ผู้ใช้สามารถบันทึกหน้าเว็บที่ต้องการอ่านไว้ เพื่อมาเปิดอ่านทีหลังได้ ส่วนการใช้งาน การตอบสนองของเบราว์เซอร์ถือว่าทำได้ลื่นไหลดี

s13s16

ระบบนำทางที่ใช้แผนที่ของ Here ยังคงจุดเด่นในเรื่องของการที่ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดแผนที่มาเก็บไว้ในตัวเครื่อง เพื่อใช้นำทางเวลาไปต่างประเทศและไม่ได้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตก็สามารถใช้ได้ นอกจากนี้ ยังมีโหมดภาพ 3D หลายเมืองในต่างประเทศให้ดู เพียงแต่แอปฯยังมีอาการเด้งออกบ่อยมาก

s12

ในส่วนของโหมดการใช้งานโทรศัพท์ มาพร้อมระบบคาดเดารายชื่อจากชื่อ และเลขหมายที่พิมพ์เข้าไป เมื่อพิมพ์ชื่อหรือหมายเลขนำหน้าก็จะดึงลิสต์รายชื่อจากคอนเทคขึ้นมาแสดงผลทันที หน้าจอขณะสนทนาจะมีแสดงทั้งรูปภาพ ชื่อ เลขหมาย พร้อมเวลาในการสนทนา ส่วนล่างจะเป็นปุ่มลัดสำหรับพักสาย เพิ่มสาย เปิดบลูทูธ ปิดเสียง เปิดลำโพง เรียกปุ่มกด และกรณีที่ปลายสายมีการใช้งานสไกป์ก็จะเรียกใช้เป็นวิดีโอคอลได้ด้วย

กรณีที่มีสายเรียกเข้า น่าเสียดายที่ทางไมโครซอฟท์ ออกแบบการรับโทรศัพท์ออกเป็น 2 ขั้นตอน คือต้องสไลด์เพื่อปลดล็อกหน้าจอก่อน แล้วค่อยกดเลือกว่าจะรับสาย ตัดสาย หรือส่งข้อความกลับมาหา ไม่ใช่การสไลด์เพื่อรับสายทันที จุดนึงก็อาจจะให้รู้สึกยากในการใช้งาน

s20

แป้นคีย์บอร์ด ในส่วนของภาษาอังกฤษถือว่าทำออกมาได้ดี เพราะมาพร้อมกับระบบ Swype ให้ลากนิ้วเพื่อพิมพ์ได้ทันที แป้นพิมพ์มีขนาดใหญ่ใช้งานง่าย แต่ในส่วนของภาษาไทยด้วยการที่ตัวอักษรมีจำนวนมากกว่าทำให้แป้นพิมพ์บีบอัดมากกว่าภาษาอังกฤษ ขณะเดียวกันเลย์เอาท์บางปุ่มก็ถูกเปลี่ยนตำแหน่งอย่าง’ ‘’ ‘ที่เด้งลงไปอยู่ข้างสเปซบาร์แทน

การสลับภาษาทำได้ 2 วิธีคือจากการปัดนิ้วบริเวณสเปซบาร์ หรือกดปุ่ม ‘&123’ ค้างและเลือกภาษาที่ต้องการ นอกจากนี้ถ้ากดปุ่มสเปซบาร์ค้างจะสามารถปรับตำแหน่งของคีย์บอร์ดเลื่อนขึ้นลงได้ตามต้องการ อีกจุดที่ไมโครซอฟท์ทำมาได้ดีและต้องชมคือปุ่มทรงกลมสีฟ้าๆที่อยู่บนคีย์บอร์ด ผู้ใช้สามารถกดและลากนิ้วขึ้น ลง ซ้าย ขวา เพื่อเลื่อนตำแหน่งของเคอเซอร์ได้ ทำให้ไม่ต้องใช้นิ้วค่อยๆจิ้มหน้าจอให้ถูกตำแหน่งอีกต่อไป

s17

Outlook Mail ที่เป็นระบบเมลที่มากับเครื่องผู้ใช้สามารถใส่บัญชีอีเมลเข้าไปซิงค์ได้ทั้งบัญชีของทางไมโครซอฟท์ บัญชีของ Yahoo หรือ Gmail เพียงแต่ในแง่ของการแสดงผลยังมีปัญหาการถอดรหัส (Encode) บางอีเมลที่ส่งมาไม่ได้ ทำให้ไม่สามารถอ่านภาษาไทยได้

s05

ในส่วนของความบันเทิงจะมี Groove Music เป็นเครื่องเล่นเพลง โดยการลงเพลงก็สามารถนำไฟล์จากพีซีซิงค์ลงเครื่องได้ทันที ในที่นี้ตัวเครื่องเล่นสามารถเล่นไฟล์ Hi-def ที่เป็น Flac ได้ด้วย ฟังก์ชันการใช้งานก็จะเป็นแบบพื้นฐานทั่วไป ส่วนเครื่องเล่นวิดีโอก็สามารถดึงไฟล์ mp4 จากคอมมาเล่นได้ทันที ไม่ได้มีฟังก์ชันอะไรพิเศษเช่นเดียวกัน

s11

ในเครื่องยังมีการติดตั้ง Shazam มาให้ใช้งานโดยฟังก์ชันหลักของ Shazam คือการค้นหาเพลงที่ได้ยิน ซึ่งระบบทำออกมาได้ค่อยข้างดีใช้ระยะเวลาเพียงครู่เดียวก็สามารถค้นหาเพลงได้ เมื่อค้นเจอสามารถเปิดฟังตัวอย่างเพลง ดูเนื้อร้อง และเข้าไปชมคลิปวิดีโอได้ทันที นอกจากนี้ก็จะมีการแสดงผลชาร์จเพลงที่ถูกค้นหาบ่อยที่สุดมาให้ดูด้วย

s03s04

สำหรับแอปพลิเคชันที่พรีโหลดมาให้ในเครื่องจะประกอบไปด้วย นาฬิกาปลุก เครื่องคิดเลข กล้อง Continuum Cortana Excel File Explorer File&TV FM Radio Gadgets (ไว้จัดการอุปกรณ์เชื่อมต่อ) Groove Music Maps Messaging Microsoft Edge OneDrive OneNote Outlook ปฏิทิน โทรศัพท์ รูปภาพ พอดคาสต์ PowerPoint Shazam Skype Store บันทึกเสียง Waller (ยังไม่เปิดใช้ในไทย) พยากรณ์อากาศ Word Xbox และพวกข้อมูลข่าวทั้งหลาย

s06

ผู้ใช้สามารถเข้าไปดาวน์โหลดแอปเพิ่มเติมได้จากภายใน Windows Store ที่จะมีจัดเรียงแอปพลิเคชันที่น่าสนใจไว้ให้  รวมถึงคอนเทนต์อย่าง เพลง หนัง และเกม โดยแนะนำให้ผู้ใช้ทำการเข้าไปอัปเดตแอปพลิเคชันให้ใหม่อยู่เสมอภายใน และสามารถเข้าไปดูว่าดาวน์โหลดแอปพลิเคชันใดไปแล้วบ้างได้ที่ My Library

s18

สุดท้ายในส่วนของการตั้งค่า ถือว่าทำมาแล้วใช้านค่อนข้างยากสำหรับผู้ใช้ทั่วไปที่ไม่มีความรู้ เพราะไม่มีสัญลักษณ์ใดๆบอกเลย มีแต่ตัวอักษรอธิบายรายละเอียดการตั้งค่าเท่านั้น แต่ถ้าในมุมของผู้ที่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์พื้นฐานก็อาจมองว่าสะดวกในการใช้งาน เพราะสามารถเลือกค้นหาการตั้งค่าที่ต้องการจากแถบด้านบนได้ทันที

ทดสอบประสิทธิภาพ

s22

การทดสอบประสิทธิภาพจาก AnTuTu Benchmark ได้คะแนนรวม 29,265 คะแนน แบ่งเป็นคะแนน ขณะที่ในแง่ของการใช้งานแบตเตอรีขนาด 3,340 mAh กับขนาดหน้าจอ 5.7 นิ้ว ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ใช้งานได้ต่อเนื่องสบายๆใน 1 วัน แต่ถ้ามีการเปิดใช้งานหนักอย่างต่อเนื่องก็อาจจะอยู่ได้ถึงช่วงเย็นๆ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้งานของผู้ใช้แต่ละรายด้วย

สรุป

กลุ่มเป้าหมายหลักของ Microsoft Lumia 950XL คงหนีไม่พ้นกลุ่มนักธุรกิจ หรือผู้ที่ใช้ชีวิตอยู่กับงานเอกสาร พร้อมการทำงานร่วมกับ Microsoft Office เป็นหลัก แถมมาด้วยความสามารถเพิ่มเติมทางไลฟ์สไตลการใช้งานจากกล้องความละเอียดสูงระดับ PureView 20 ล้านพิกเซล พร้อมด้วยการอัดสเปกเครื่องระดับสูงมาให้ใช้งาน แต่ก็แลกมากับราคาจำหน่ายที่ค่อนข้างสูง

เพราะความสามารถต่างๆของ Lumia 950XL ต่างเน้นไปที่การเชื่อมระหว่างแพลตฟอร์ม วินโดวส์ 10 เข้าหากันเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งานเป็นหลัก แต่ด้วยการที่แอปพลิเคชันยังน้อยทำให้ผู้ใช้ที่ต้องการโทรศัพท์มาเล่น ไม่ได้เน้นทำงานมากนักอาจต้องเบือนหน้าหนี ประกอบกับราคาจำหน่ายที่เฉียด 3 หมื่นบาท ยิ่งทำให้กลุ่มลูกค้าหดแคบเข้ามาอีก

ดังนั้น ถ้าต้องการสมาร์ทโฟนมาช่วยทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และไลฟ์สไตล์ไม่ได้เน้นการโหลดแอปเพิ่มเติมมากนัก ใช้แต่แอปทั่วไปที่มากับตัวเครื่อง เช็กอีเมล เล่นโซเชียลเน็ตเวิร์ก ด้วยประสิทธิภาพของ Lumia 950XL ถือว่าตอบโจทย์ แต่ถ้าต้องการความบันเทิงมากกว่านี้อาจจะต้องลองมองหาสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการอื่นจะดีกว่า

ข้อดี

อุปกรณ์ที่ทำงานกับแพลตฟอร์ม Windows 10 ได้เต็มรูปแบบ

– Continuum เชื่อมต่อกับจอ และคีย์บอร์ดใช้ทำงาน Microsoft Office

ฟีเจอร์หลักๆอย่าง กล้อง Pureview แผนที่ Here ยังคงประสิทธิภาพในการใช้งาน

มาพร้อมกับ USB-C และมีพอร์ตแปลงมาให้ใช้งานกับยูเอสบีปกติ

ข้อสังเกต

จากการที่ใช้ซีพียู ​Snapdragon 810 เครื่องร้อนเร็วมากเวลาใช้งาน

มีอาการเครื่องรีสตาตเองบ่อยครั้ง (เครื่องที่ได้มาเป็นเครื่องทดสอบ ไม่ใช่เครื่องที่วางจำหน่ายในประเทศไทย)

เหมาะกับผู้ที่ใช้ทำงานร่วมกับ Microsoft Office เป็นหลัก แอปทั่วไปยังมีปริมาณน้อยอยู่

ฝาหลังด้านล่างไม่แน่นไปกับตัวเครื่อง ทำให้กดแล้วยุบๆ

Gallery

]]>
Review : Microsoft Continuum ไม้เด็ดในตลาดสมาร์ทโฟน https://cyberbiz.mgronline.com/review-microsoft-continuum/ Thu, 14 Jan 2016 09:10:10 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=21080

build920150428_web

ถ้าให้พูดถึง Continuum ง่ายๆก็คือระบบที่จะแปลงสมาร์ทโฟน หรือ แท็บเล็ต ให้กลายเป็นคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปเพื่อให้ทำงานได้สะดวกขึ้น ถือเป็นฟังก์ชันที่จะมากับสมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 10 ที่กำลังจะทยอยเปิดตัวในประเทศไทยช่วงต้นปีนี้

ความสามารถดังกล่าวถูกพัฒนาขึ้นมาพร้อมๆไปกับการเปิดตัว Windows 10 ที่ทางไมโครซอฟท์วางไว้เป็นแพลตฟอร์มหลักในการเชื่อมต่อผลิตภัณฑ์ทุกๆกลุ่มเข้าด้วยกันไล่กันตั้งแต่อุปกรณ์ IoT สมาร์ทโฟน ไปจนถึงเครื่องเล่นเกมคอนโซล และคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถใช้งานข้อมูลต่างๆข้ามกันไปมาผ่านระบบคลาวด์ได้อย่างสะดวกสบาย

จุดแรกที่ต้องรู้กันคือ ไม่ใช่วินโดวส์โฟนทุกเครื่องจะใช้งาน Continuum ได้ เพราะต้องใช้ประสิทธิภาพในการประมวลผลเพื่อการทำงานทั้ง 2 หน้าจอไปพร้อมๆกัน ดังนั้นทางไมโครซอฟท์จึงระบุไว้ว่า เครื่องที่ใช้ซีพียู Qualcomm 808 และ 810 ถือเป็นขั้นต่ำในการใช้งาน พร้อมกับ RAM 2 GB สำหรับจอแสดงผลความละเอียด 720p และ 3 GB สำหรับความละเอียด 1080p

ในขณะที่การเชื่อมต่อระหว่างตัวสมาร์ทโฟน และจอสามารถทำได้ด้วยกัน 2 รูปแบบคือ แบบไร้สายร่วมกับ Wireless Dock โดยตัวเครื่องต้องรองรับ WiFi มาตรฐาน 802.11n dual band ขึ้นไป พร้อมกับระบบ WIndows 10 Miracast เพื่อให้สามารถส่งข้อมูลจากตัวเครื่องไปยังตัวรับได้อย่างรวดเร็ว และลื่นไหลไม่เกิดอาการกระตุก

ส่วนการเชื่อมต่อแบบมีสาย ก็สามารถทำงานร่วมกับ Wire Docking ได้ตั้งแต่ USB 2.0 ขึ้นไป แต่ที่ดีที่สุดคือการใช้งานร่วมกับ USB-C เพื่อให้ตัว Dock สามารถส่งต่อข้อมูล และรับข้อมูลได้ทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการส่งภาพผ่านสาย HDMI การเชื่อมต่อกับคีย์บอร์ด เมาส์ และฮาร์ดดิสก์พกพาผ่านช่องเสียบ USB ที่ตัว Dock

s1

โดยเมื่อทำการเชื่อมต่อ Continuum บน Windows 10 Mobile จะมีให้เลือกระหว่างการเชื่อมต่อแบบมีสาย และแบบไร้สาย เมื่อเชื่อมต่อเรียบร้อย ก็สามารถเข้าไปตั้งค่าการแสดงผลต่างๆได้ในเรื่องของภาพพื้นหลัง เพื่อให้เกิดความแตกต่างขณะใช้งาน

s2

ส่วนของการควบคุมถ้าไม่ได้มีการเชื่อมต่อกับคีย์บอร์ดหรือเมาส์ภายนอก ผู้ใช้ก็สามารถใช้สมาร์ทโฟนในการสั่งงานได้ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมเมาส์ โดยใช้นิ้วลากไปบนจน หรือถ้าต้องการพิมพ์เมื่อเลือกในช่องที่ต้องการคีย์บอร์ดก็จะปรากฏขึ้นมาให้พิมพ์กรอกข้อมูลได้ทันที

c1

เมื่อเห็นถึงพื้นฐานในการเชื่อมต่อแล้ว ก็จะมองเห็นภาพคร่าวๆ ของการนำวินโดวส์โฟนมาใช้งาน Continuum ที่จะใช้สมาร์ทโฟนเป็นเหมือนหน่วยประมวลผล ที่ส่งภาพออกไปยังหน้าจอสมาร์ทโฟน และจอภาพ เพื่อให้สามารถใช้งานได้ในเวลาเดียวกัน ซึ่งถือเป็นจุดเด่นหลักของ Continuum เพราะผู้ใช้สามารถเลือกเปิดดูข้อมูลในสมาร์ทโฟน หรือคุยโทรศัพท์ ประชุมสาย ไปพร้อมกับการทำงานบนหน้าจอได้ในเวลาเดียวกัน

s3

ดังนั้นในส่วนของหน้าจอ Windows 10 บนสมาร์ทโฟน ก็จะใช้การแสดงผลในรูปแบบเดิม ส่วนบนหน้าจอที่เชื่อมต่อ จะใช้อินเตอร์เฟสคล้ายคลึงกับบน Windows 10 ที่มีปุ่มวินโดวส์อยู่มุมซ้ายล่าง เพื่อเรียกดูแอปพลิเคชันต่างๆ พร้อมกับปุ่มค้นหา สลับการใช้งานแอป ส่วนมุมขวาล่างก็จะเป็นจุดรวมการแจ้งเตือน และเข้าสู่หน้าการตั้งค่าต่างๆ

ตัวแอปพลิเคชันพื้นฐาน ที่จะนำมาใช้งานกับ Continuum ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การทำงาน และความบันเทิงเป็นหลัก และที่สำคัญต้องเป็นแอปพลิเคชันบน Windows 10 ที่สามารถดาวน์โหลดผ่านสโตร์ได้เท่านั้น ดังนั้นผู้ใช้ที่หวังว่าจะนำโปรแกรมสกุลไฟล์ exe มาลงเพื่อทำงานไม่ต่างกับคอมพิวเตอร์จึงไม่สามารถทำได้

s4

ในแง่ของการทำงาน ถ้าเป็นผู้ที่ใช้งาน Microsoft Office เดิมอยู่แล้ว มีการซิงค์ข้อมูลออนไลน์ไว้ตลอดเวลา ตัว Continuum จะสะดวกช่วยอำนวยความสะดวก จากเดิมที่ต้องมาแก้งานบนสมาร์ทโฟน ตอนนี้ก็สามารถต่อกับจอ คีย์บอร์ด เมาส์ เพื่อทำงานได้ทุกที่ เพราะการใช้งานทั้ง Word Excel PowerPoint และ One Note บน Continuum จะไม่แตกต่างกับใช้งานบนพีซี

s5

ถัดมาในส่วนของ Microsoft Edge หรือเว็บเบราว์เซอร์ของไมโครซอฟท์ ก็สามารถใช้ในการท่องเว็บได้ แน่นอนว่าถ้ามีการล็อกอินบัญชีไว้บนพีซี เมื่อมาใช้งานบน Continuum พวกหน้าเว็บที่บุ๊กมาร์คไว้ก็จะถูกดึงมาด้วย ทำให้สามารถเข้าถึงเว็บไซต์ที่ใช้งานประจำได้ทันที

อีกมุมหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือเรื่องของความบันเทิง ตัวเครื่องสามารถใช้เปิดเพลง (รองรับไฟล์ flac) เล่นวิดีโอ เปิดดูรูปจากบนสมาร์ทโฟนได้ตามปกติ ดังนั้นถ้าต้องการแชร์วิดีโอด้วยระบบไร้สายไปยังหน้าจอเพื่อเล่นให้ทุกคนดูก็ทำได้ทันที

แต่น่าเสียดายที่ตัว Continuum ไม่ได้คำนึงถึงในเรื่องของการเลือก Output ของเสียงมากนัก ทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถเลือกได้ว่าจะให้เสียงที่เล่นวิดีโอ หรือเพลง ดังจากจอภาพ (ที่มีลำโพง) หรือดังจากตัวเครื่อง เพราะบางกรณีที่เชื่อมต่อกับจอภาพทั่วไปและไม่มีลำโพงในตัว เสียงก็จะไม่ออก หรือถ้าเชื่อมต่อกับจอภาพที่มีความละเอียดต่ำกว่า 1080p เสียงจะออกจากตัวสมาร์ทโฟนแทนจอโทรทัศน์

s7

นอกจากนี้ ก็จะมีอย่างตัวจัดการไฟล์ File Explorer อาจจะใช้งานไม่สะดวกเหมือนบนพีซีที่สามารถลากไฟล์วางๆ ได้เลย แต่บน Continuum จะใช้การเลือกไฟล์ เพื่อทำการคัดลอก (Copy) หรือ ย้าย (Move) แทน เหมือนกับการใช้งานบนสมาร์ทโฟน แต่จุดเด่นจะอยู่ที่เมื่อเชื่อมต่อกับ Dock แล้วก็สามารถเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์พกพา (External HD) เพื่อเรียกใช้งานไฟล์ต่างๆได้ทันที

s6

กรณีที่ต้องการสลับการทำงานระหว่างโปรแกรมต่างๆ ก็สามารถกดหน้าต่างมัลติสกรีนขึ้นมาเพื่อเลือกสลับได้ทันที

s8

การใช้งาน Cortana ก็ถือเป็นอีกจุดเด่นที่สำคัญ เพราะช่วยให้สามารถสั่งงานผ่านระบบเสียงได้ทันที ส่วนในแง่ของการตั้งค่าจะไม่แตกต่างจากการตั้งค่าบนสมาร์ทโฟน และอีกปัญหาที่พบคือบางแอปพลิเคชันไม่สามารถใช้งานบน Continuum ได้

c2

อย่างที่บอกไปว่าในการทำงานระหว่างบนหน้าจอ และสมาร์ทโฟนที่แยกออกจากกัน ดังนั้นในขณะที่ใช้งานบนจอ ผู้ใช้สามารถเข้าไปเลือกส่งข้อความหาตามรายชื่อ หรือจะสั่งให้เครื่องทำการโทรออกไปได้ทันที เพียงแต่เมื่อกดแล้วก็ต้องยกตัวสมาร์ทโฟนขึ้นมาคุยเหมือนปกติแทน แสดงให้เห็นถึงการทำงานที่แยกจากกันโดยสิ้นเชิง

Microsoft Display Dock

d2

หนึ่งในอุปกรณ์สำคัญที่ต้องนำมาเชื่อมต่อระหว่างสมาร์ทโฟน Windows 10 และจอภาพคงหนีไม่พ้น Microsoft Display Dock โดยการออกแบบจะเน้นไปที่รูปทรงขนาดเล็กพกพาง่าย ผู้ใช้สามารถพกพาไปนอกสถานที่พร้อมกับคีย์บอร์ดและเมาส์ไร้สายได้ทันที ขนาดรอบตัวจะอยู่ที่ 64.1 x 64.1 x 25.6 มิลลิเมตร น้ำหนัก 230 กรัม

โดยด้านบนจะมีสัญลักษณ์ ‘Windows’ ปรากฏอยู่ตรงกึ่งกลาง ขณะที่ด้านหน้าจะมีไฟแสดงสถานะ (สีแดงกรณีไม่มีการใช้งาน สีขาวกำลังใช้งานอยู่) และพอร์ต USB-C สำหรับเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน

d1

ส่วนด้านหลังจะเป็นที่อยู่ของพอร์ตต่างๆไม่ว่าจะเป็นพอร์ตยูเอสบี 3 พอร์ต พอร์ต USB-C 1 พอร์ตสำหรับเชื่อมต่อกับอะเดปเตอร์ ช่องต่อ DisplayPort และ HDMI ที่ให้ความละเอียดสูงสุด 1920 x 1080 พิกเซล

สำหรับ Microsoft Display Dock จะวางจำหน่ายในราคา 2,990 บาท

สรุป

ในมุมของผู้บริโภคทั่วไป อาจจะมองว่า Continuum ไม่ได้มีความจำเป็นในการใช้งานมากนัก แต่ถ้าเป็นในมุมของนักธุรกิจ หรือคนทำงาน ที่มีการใช้งาน Microsoft Office เป็นประจำ Continuum จะมาช่วยให้ไม่จำเป็นต้องพกพาโน้ตบุ๊กติดตัวตลอดเวลา แต่ก็สามารถแก้ไขงานได้จากการพกอุปกรณ์เสริมเหล่านี้แทน

อีกมุมหนึ่งก็คือในเรื่องของ Smart Home ที่ผู้ใช้สามารถใช้งาน Continuum ร่วมกับจอโทรทัศน์ในการใข้งานเพื่อความบันเทิงได้ โดยไม่จำเป็นต้องเสียเงินซื้อ Smart TV ราคาแพง แต่ใช้การเชื่อมต่อจากสมาร์ทโฟนแทน ก็ถือเป็นอีกความสามารถที่น่าสนใจ

ทั้งนี้ เนื้อหาจากรีวิวนี้เขียนขึ้นบนการใช้งาน Continuum จาก Microsoft Lumia ที่มากับ Windows 10 ที่กำลังจะเปิดตัวเร็วๆนี้

ข้อดี

ช่วยให้การทำงานได้ต่อเนื่อง ไม่มีสะดุดแม้ต้องออกไปข้างนอก

เป็นการนำความสามารถของแพลตฟอร์ม Windows 10 ออกมาใช้อย่างเต็มที่

ข้อสังเกต

ระหว่างใช้งาน Continuum หน้าจอสมาร์ทโฟนจะติดค้างอยู่ตลอดเวลา

ไม่สามารถเลือก Audio Output ได้

แอปพลิเคชันที่ใช้งานได้ยังจำกัดอยู่

Gallery

]]>
Review : Microsoft Surface Pro 4 พัฒนาไปอีกระดับกับแท็บเล็ตลูกผสม https://cyberbiz.mgronline.com/review-microsoft-surface-pro-4/ Fri, 11 Dec 2015 07:32:10 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=20017

IMG_1483

ถือว่าเป็นต้นแบบที่ทำตลาดต่อเนื่องมาเป็นรุ่นที่ 4 แล้วสำหรับผลิตภัณฑ์ในตระกูล Surface ซึ่งมีเป้าหมายหลักในการที่เป็นอุปกรณ์ที่นำเสนอการใช้งานแพลตฟอร์มของไมโครซอฟท์ อย่างระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 10 ให้ใช้งานได้สมบูรณ์แบบมากที่สุด เพียงแค่ว่าก็มากับราคาที่สูงพอสมควรเช่นเดียวกัน

Surface Pro 4 มีการพัฒนาเพิ่มขึ้นมาจาก Surface 3 หลักๆเลยคือในส่วนของซีพียูที่ใช้งานภายในเป็น Intel 6th Gen และมีให้เลือกหลากหลายรุ่นมากขึ้นตั้งแต่ Core M3 จนถึง Core i7 ถัดมาคือส่วนของหน้าจอที่เพิ่มความละเอียดมากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับกล้อง ส่วนที่เหลือก็จะใกล้เคียงกับรุ่นก่อนหน้า

การออกแบบ

IMG_1487

ในส่วนของการออกแบบ ยังคงเป็นรูปลักษณ์เดิมคือเป็นแท็บเล็ตขนาดหน้าจอ 12 นิ้ว ที่ผู้ใช้สามารถกาง Kick Stand ออกมาเพื่อวางตั้งไว้บนพื้นเรียบได้ โดยขนาดรอบตัวของ Surface Pro 4 จะอยู่ที่ 292.1 x 201.42 x 8.45 มิลลิเมตร น้ำหนัก 786 กรัม เมื่อรวมกับคีย์บอร์ดแล้วจะอยู่ที่เกือบๆ 1.1 กิโลกรัม

สำหรับหน้าจอที่ให้มามีขนาด 12 นิ้ว ความละเอียด 2736 x 1824 พิกเซล เป็นอัตราส่วน 3:2 รองรับการสัมผัส 10 จุดพร้อมกัน โดยมีกล้องหน้าความละเอียด 5 ล้านพิกเซล อยู่ส่วนบน ใกล้ๆกันก็จะมีเซ็นเซอร์ตรวจวัดแสง ระบบสแกนใบหน้า และมีแถบลำโพงซ่อนอยู่ตรงขอบฝั่งซ้าย และขวา

IMG_1509

ขณะเดียวกันได้มีการปรับการวางปุ่มให้สะดวกกับการใช้งานมากยิ่งขึ้นด้วยการนำปุ่มเปิดเครื่อง และปรับระดับเสียงไปอยู่ไว้ด้านบน เพื่อให้ด้านซ้ายโล่ง กลายเป็นที่เก็บปากกา ด้วยแม่เหล็กแทน ทำให้ไม่ต้องกังวลว่าในการใช้งาน Surface Pen แล้วจะไม่มีที่เก็บปากกา เพราะ Surface Pro 4 ถูกออกแบบมาเฉพาะ

IMG_1497

ถัดมาคือในส่วนของพอรตการใช้งานที่ยังคงเก็บพอร์ตหลักๆอย่าง USB 3.0 และพอร์ต Thunderbolt ไว้ให้ใช้งาน พร้อมกับช่องเสียบสายชาร์จที่เป็นแบบแม่เหล็ก ในฝั่งขวา ส่วนฝั่งซ้าย จะมีเพียงช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม. ล่างเครื่องจะมีพอร์ต และแม่เหล็กเฉพาะสำหรับคีย์บอร์ดแบบ Type Cover ที่มีการยึดแน่นหนาขึ้น ไม่หลุดง่ายเหมือนรุ่นก่อนๆ

IMG_1492

หลังเครื่องจะมีสัญลักษณ์วินโดวส์สีเงิน ติดอยู่บริเวณ Kick Stand โดยมีกล้องหลักความละเอียด 8 ล้านพิกเซลอยู่ ส่วนตัว Kick Stand จะสามารถกางได้ 150 องศา เพื่อรับกับมุมในการใช้งานที่แตกต่างกันอยู่ผู้ใช้ ซึ่งจะมีตัวยึดเป็นข้อต่ออยู่ทั้งฝั่งซ้าย และขวา นอกจากนี้ ยังซ่อนช่องไมโครเอสดีการ์ดไว้เพื่อใส่เป็นพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มด้วย

IMG_1533

นอกจากตัวเครื่องแล้ว ภายในกล่องก็จะมาพร้อมกับปากกา Surface Pen มาให้ด้วย 1 แท่ง สีเงิน มีปุ่มกดที่บริเวณกลางปากกา และปลายปากกา แต่ความสามารถของ Surface Pen รุ่นใหม่นี้ นอกจากรองรับแรงกดเพิ่มขึ้นเป็น 1024 ระดับแล้ว ตรงหัวปากกายังสามารถเปลี่ยนขนาดได้ เพื่อให้เหมาะกับการใช้งาน มีให้เลือกทั้ง 2B H HB และ B ในราคา 690 บาท

IMG_1521

ขณะที่ Surface Pro 4 Type Cover นั้นไม่ได้มีการพัฒนาเพิ่มขึ้นมากนัก เพราะยังคงเป็นคีย์บอร์ดลักษณะเดิม ที่ผู้ใช้สามารถพิมพ์งานได้เสมือนคีย์บอร์ดจริง มีไฟแอลอีดีภายในเพื่อส่องสว่างกรณีที่ใช้งานในเวลากลางคืน รวมถึงทัชแพดที่รองรับการสั่งงานแบบมัลติทัชมากยิ่งขึ้น ขนาดของ Type Cover จะอยู่ที่ 295 x 217 x 4.9 มิลลิเมตร น้ำหนัก 310 กรัม

สเปก

s02

สำหรับสเปกภายในของ Surface Pro 4 จะมากับหน่วยประมวลผล Intel 6th Gen Core m3 – Core i7 RAM 4 – 16 GB โดยรุ่นที่ได้มาทดสอบคือรุ่น Core i5 RAM 4 GB พื้นที่เก็บข้อมูล SSD 256 GB ทำงานบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 10

ด้านการเชื่อมต่อจะรองรับการเชื่อมต่อ Wi-Fi มาตรฐาน 802.11 a/b/g/n/ac บลูทูธ 4.0 โดยจะไม่มีรุ่นที่รองรับการใส่ซิมการ์ดเข้ามา เนื่องจากไมโครซอฟท์มองว่าปัจจุบันการให้บริการไวไฟสาธารณะมีมากขึ้น ประกอบกับสมาร์ทโฟนก็สามารถปล่อยสัญญาณมาให้ใช้งานได้เช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ คำแนะนำของไมโครซอฟท์ในการเลือกใช้งาน Surface Pro 4 ระหว่างรุ่น Core m3 Core i5 และ Core i7 คือ Core m3 จะเหมาะกับการใช้งานซอฟต์แวร์บนโน้ตบุ๊กทั่วไป เน้นการสตรีมเพลง วิดีโอต่างๆเป็นหลัก Core i5 จะเหมาะกับกาใช้งาน Microsoft Office เล่นเกม รวมถึงการแต่งภาพบนโปรแกรมอย่าง Photoshop

ขณะที่รุ่น Core i7 จะเหมาะกับผู้ที่ใช้ในการตัดต่อวิดีโอระดับ HD ทำงานแต่งรูปบน Photoshop ใช้งานแอประดับมืออาชีพอย่าง Visual Studio หรือ AutoCAD ในการสร้างโมเดล 3มิติ ดังนั้น ในการเลือกซื้อก็ควรจะเลือกให้เหมาะกับรูปแบบการใช้งานด้วย

ฟีเจอร์เด่น

IMG_1527

จุดเด่นหลักที่ไมโครซอฟท์ พยายามชูขึ้นมานอกเหนือจากเรื่องของสเปกที่มีการพัฒนา และให้เลือกหลากหลายมากขึ้นแล้ว ก็จะเป็นเรื่องของการใช้งานตัวเครื่องที่ออกแบบมาใหม่ให้สามารถติดปากกาไว้ที่ข้างเครื่องเพื่อป้องกันการที่ไม่มีที่เก็บปากกา

IMG_1534

ขณะที่ความสามารถของ Surface Pen กดปุ่มบนสุดปากกาค้างไว้เพื่อเรียกใช้งาน Cortana หรือระบบผู้ช่วยอัจฉริยะในการค้นหาข้อมูล หรือสั่งงานอย่างง่าย กดปุ่ม 1 ครั้ง สำหรับเรียกใช้งานโปรแกรม OneNote ในการจดข้อมูลแบบเร่งด่วน และกด 2 ครั้ง เพื่อจับภาพหน้าจอ และเขียนลงไปได้ทันที

IMG_1535

ที่สำคัญคือ กรณีที่ต้องการหัวปากกาที่ให้ลายเส้นหลายขนาด ทางไมโครซอฟท์ ก็ได้มีการขายเป็นชุดหัวปากกาเสริม มีให้เลือกตั้งแต่หัว 2H H HB และ B ให้เปลี่ยนกัน ทั้งนี้หัวปากกาที่แถมมาให้กับ Surface Pen จะเป็นหัวแบบ HB อย่างไรก็ตาม ต้องขึ้นอยู่กับแอปพลิเคชันที่ใช้งานด้วยว่ารองรับการทำงานร่วมกับแรงกดของปากกาถึง 1024 ระดับหรือไม่

20151209_004241

นอกจากนี้ ก็จะมีระบบปลดล็อกหน้าจอด้วยใบหน้า Face  Recognize ถือเป็นอีกระบบรักษาความปลอดภัยที่ไมโครซอฟท์คิดค้นขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีร่วมกับทางอินเทล และติดตั้งมาบนวินโดวส์ 10 เมื่อนำมาใช้งานร่วมกับ Surface Pro 4 ก็จะได้ความสามารถในการปลดล็อกเครื่องด้วยใบหน้า รวมถึงการใช้ใบหน้าแทนการป้อนรหัสผู้ใช้ (Admin) ในขั้นตอนการลงโปรแกรมเป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ข้อเสียหลักของระบบปลดล็อกด้วยใบหน้าคือ กรณีที่ปิดเครื่องด้วยโหมด Sleep ไว้ และปรากฏเครื่องเปิดขึ้นมาโดยไม่ตั้งใจ ตัวระบบปลดล็อกด้วยใบหน้าก็จะพยายามค้นหาใบหน้าเพื่อมาปลดล็อกเครื่องไปเรื่อยๆ อาการเหมือนตัวเครื่องกลับมาทำงานแต่ไม่สามารถปลดล็อกเครื่องได้ ความร้อนจากการประมวลผลก็จะสะสมไปเรื่อยๆ ทำให้พัดลมเครื่องทำงานจนท้ายที่สุดคือแบตเตอรีหมด แม้ว่าจะตั้งเวลา Sleep เครื่องไว้ก็ตาม

ในจุดนี้ ทางไมโครซอฟท์ ออกมายอมรับถึงข้อผิลพลาดดังกล่าวแล้วว่า ระบบ Sleep ของเครื่องวินโดวส์ 10 ไม่หลับลึกเท่าที่ควรจะเป็น ดังนั้นจึงได้เตรียมการจะอัปเดตวินโดวส์เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ทำให้ต้องรอดูว่าหลังจากมีการอัปเดตแล้วปัญหาดังกล่าวจะหายไปหรือไม่

s01

ที่เหลือความสามารถของ Sufface Pro 4 ก็คล้ายคลึงกับการใช้งานของระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 10 ที่มีการพัฒนาขึ้นเป็นอย่างมาก ในแง่ของการใช้งานระหว่างเป็นแท็บเล็ต และเป็นพีซี หน้าจอแสดงผลก็จะแตกต่างกัน โดยผู้ใช้สามารถเข้าไปกดสลับการทำงานได้

IMG_1522
IMG_1523

ส่วนของ Type Cover ที่ขายแยกในราคา 5,190 บาท ก็จะมีความในแง่ของการวางระดับในการใช้งาน ว่าจะให้ตัวคีย์บอร์ดราบไปกับพื้น หรือติดขึ้นมาบนหน้าจอเล็กน้อย เพื่อให้แป้นเอียงรับองศากับการพิมพ์ นอกจากนี้ กรณีที่ใช้งานเป็นแท็บเล็ตยังสามารถสลับด้านในการติดกับจอเพื่อให้ปุ่มแนบเข้าไปกับหลังเครื่องได้ เพื่อความสะดวกในการใช้งาน ที่สำคัญยังมาพร้อมกับไฟส่องสว่างให้สามารถใช้งานได้ในเวลากลางคืน

IMG_1537ที่ไมโครซอฟท์ใส่ใจอีกจุดในการผลิตสินค้าออกมาคือ อะเดปเตอร์ ที่นอกจากจะมีขนาดเล็ก และใช้สายชาร์จปกติแล้ว ยังมีพอร์ตยูเอสบีให้ 1 ช่องสำหรับใช้ในการชาร์จอุปกรณ์เสริมอื่นๆเพิ่มไป ทำให้ไม่ต้องกังวลในกรณีที่มีปลั้กไม่เพียงพอในการใช้งาน

ทดสอบประสิทธิภาพ

pcmark-creative

เมื่อทดสอบประสิทธิภาพของ Surface Pro 4 ผ่านโปรแกรมทดสอบยอดนิยมอย่าง PC Mark 8 ผลที่ได้ในส่วนของ Cretive Conventional จะอยู่ที่ 2,448 คะแนน ส่วนแบบทดสอบอื่นๆ ต้องรอการอัปเดตเพิ่มเติมให้รองรับการทำงานบนวินโดวส์ 10 ของทาง FutureMark ก่อน

3dmark

ถัดมาในส่วนของ 3D Mark ทดสอบผ่านทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น Fire Strike Ultra ได้ 191 คะแนน Fire Strike Extreme 361 คะแนน Fire Strike 770 คะแนน Sky Diver 3,437 คะแนน Cloud Gate 5,654 คะแนน Ice Storm Unlimited 56,017 คะแนน Ice Storm Extreme 35,585 คะแนน และ Ice Storm 48,067 คะแนน

geekbench32geekbench64

ขณะที่ Geek Bench บนการทดสอบแบบ 32 บิต ได้คะแนน Single Core 2,907 คะแนน และ Multi Core 6,102 คะแนน ส่วน 64 บิต ได้คะแนน Single Core 3,051 คะแนน และ Multi Core 6,102 คะแนน

สรุป

IMG_1524

ถ้าถามว่า Surface Pro 4 น่าใช้หรือไม่ ต้องยอมรับว่าเป็นหนึ่งในแท็บเล็ต และพีซี (2in1) รุ่นที่น่าสนใจเป็นอันดับต้นๆในฝั่งของระบบปฏิบัติการวินโดวส์ จากการที่ไมโครซอฟท์ทำออกมาให้ผสานการทำงานของวินโดวส์ 10 ได้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด เพียงแต่ด้วยระดับราคาของ Surface Pro 4 ทำให้ผู้บริโภคหลายรายอาจถอยหนี เพราะกับราคาเริ่มต้นที่ 33,900 บาท ในรุ่น Intel Core M3 ก็ถือว่าแรงเอาเรื่อง

กลับกันด้วยขนาดของตัวเครื่องที่มีขนาดใหญ่ ทำให้เวลาใช้งานจริง Surface Pro 4 จะถูกใช้งานในรูปแบบของโน้ตบุ๊ก อาจจะมีการสัมผัสหน้าจอ หรือใช้ปากกาจดลงบนหน้าจอบ้างเป็นบางเวลา แต่โดยรวมก็ถือว่ามีไว้ดีกว่าไม่มี ดังนั้นถ้าเป็นผู้ที่ต้องการคอมพิวเตอร์แบบเครื่องเดียวจบ ไม่งอกเครื่องที่ 2-3 ต่อไปก็ควรจะหา Surface Pro 4 มาใช้

อย่างไรก็ตาม Surface Pro 4 ยังมีจุดที่ต้องทำการบ้านอีกเล็กน้อยอย่างในเรื่องของแบตเตอรี ที่แม้จะเคลมว่าสามารถใช้งานเล่นวิดีโอได้ต่อเนื่อง 9 ชั่วโมง แต่ในการใช้งานจริง 4-5 ชั่วโมงก็ถือว่าสูงแล้ว รวมถึงปัญหาการ Sleep ที่หลับไม่ลึกพอ ทำให้เครื่องยังมีการทำงานบางช่วงก็ส่งผลกระทบต่อแบตเตอรีเช่นเดียวกัน

ขณะเดียวกันในเรื่องของการระบายความร้อนถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญ เพราะเวลาใช้งานเครื่องหนักๆ ตัวเครื่องมีความร้อนสะสมก็จะทำให้ไม่สามารถใช้นิ้วสัมผัสหน้าจอได้ (ทดสอบจากรุ่น Core i5) และเมื่อมีความร้อนก็ทำให้พัดลมต้องทำงานหนัก ทำให้มีเสียงออกมารบกวนในเวลาใช้งานในที่เงียบๆด้วย

ข้อดี

แท็บเล็ต ที่สามารถเชื่อมต่อกับคีย์บอร์ดให้กลายเป็นพีซีได้

ถูกออกแบบมาให้เหมาะกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 10

มีให้เลือกหลายสเปกตามความต้องการของผู้ใช้

อะเดปเตอร์ สามารถเสียบสายยูเอสบีพร้อมกับการชาร์จเครื่องได้ด้วย

ข้อสังเกต

ตัวเครื่องรองรับการเชื่อมต่อผ่านไวไฟเท่านั้น ไม่รองรับการใส่ซิมการ์ด

เครื่องที่ได้รับมาทดสอบเป็นซีพียู Core i5 เมื่อใช้งานไปสักพักจะมีเสียงพัดลมออกมาค่อนข้างดัง

ในการใช้งานจริงแบตเตอรีหมดค่อนข้างเร็ว ไม่เพียงพอกับการใช้งานตลอดวัน

Gallery

]]>
Review : Microsoft Office 2016 สมบูรณ์ในแบบ Cloud-based มากขึ้น https://cyberbiz.mgronline.com/microsoft-office-2016/ Mon, 26 Oct 2015 16:20:26 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=18518

office-2016

“Microsoft Office” ถือเป็นซอฟต์แวร์จัดการเอกสารที่ได้รับความนิยมสูงทั่วทั้งโลกและถูกละเมิดลิขสิทธิ์มากที่สุด เนื่องจากชุดซอฟต์แวร์ดังกล่าวมีราคาสูงมากในยุคก่อน แต่ปัจจุบันโมเดลธุรกิจซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์มีการปรับเปลี่ยนไป จากเดิมเป็นการขายขาด ซื้อครั้งเดียวจบก็กลายเป็นระบบบอกรับสมาชิกรายเดือนหรือรายปีผูกกับบริการคลาวด์รวมไปด้วย ทำให้ช่วงราคาซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ในปัจจุบันมีการปรับลดจนผู้ใช้ทั่วไปสามารถจับต้องได้

ราคา Microsoft Office 2016 แบบใช้งานทั่วไป ทั้งแบบรุ่น Office 365 และรุ่นตัวเต็ม Office Home & Student 2016
ราคา Microsoft Office 2016 แบบใช้งานทั่วไป ทั้งแบบรุ่น Office 365 และรุ่นตัวเต็ม Office Home & Student 2016

ราคา Microsoft Office 2016 (รุ่น 365 เน้นทำงานบนคลาวด์) แบบใช้งานเชิงธุรกิจ ซึ่งจะเน้นเพิ่มเรื่องของระบบประชุมวิดีโอไร้สายและมีพื้นที่เก็บข้อมูลสำหรับทำงานเป็นทีมด้วย
ราคา Microsoft Office 2016 (รุ่น 365 เน้นทำงานบนคลาวด์) แบบใช้งานเชิงธุรกิจ ซึ่งจะเน้นเพิ่มเรื่องของระบบประชุมวิดีโอไร้สายและมีพื้นที่เก็บข้อมูลสำหรับทำงานเป็นทีมด้วย

 

แน่นอนว่า Microsoft Office ก็ได้รับการปรับเปลี่ยนตามโมเดลธุรกิจใหม่ตั้งแต่ช่วง Office 2013 และ Office 365 ที่มาพร้อมระบบคลาวด์ SkyDrive (ปัจจุบันคือ OneDrive) จนมาถึงรุ่นล่าสุดกับ Microsoft Office 2016 ที่ไมโครซอฟท์ปรับให้ออฟฟิซสามารถทำงานบนคลาวด์ได้สมบูรณ์แบบขึ้นพร้อมรองรับการทำงานข้ามดีไวซ์ตั้งแต่ Windows Phone, Android, iPhone, iPad, Windows และ Mac OSX

จุดเด่น Office 2016

ความจริงด้านการใช้งานในภาพรวม ไม่ค่อยมีความแตกต่างจากรุ่นก่อนหน้ามากนัก ยกเว้น Office ในเครื่องแมคที่ในครั้งนี้ไมโครซอฟท์ตั้งใจปรับปรุงประสิทธิภาพให้ดีขึ้นแบบหน้ามือเป็นหลังมือ รวมถึงการมาของ Office บนสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่ใช้งานได้เหมือนกับบนพีซีเลยทีเดียว

Office บนสมาร์ทดีไวซ์สามารถทำงานร่วมกับ Office 2016 จาก Mac Windows และแพลตฟอร์มอื่นได้โดยผ่าน OneDrive หรือ E-Mail
Office บนสมาร์ทดีไวซ์สามารถทำงานร่วมกับ Office 2016 จาก Mac Windows และแพลตฟอร์มอื่นได้โดยผ่าน OneDrive หรือ E-Mail

 

สำหรับจุดที่น่าสนใจของ Office 2016 for Mac หลักๆจะอยู่ในเรื่องการปรับเปลี่ยนสถาปัตยกรรมและหน้าตาแบบใหม่ยกแผงซึ่งข้อดีของการปรับชุดคำสั่งใหม่หมดทำให้ Office บนแมคมีประสิทธิภาพเท่าเทียมกับ Office บนวินโดวส์มากขึ้น

“แต่ฟีเจอร์บางอย่างจะน้อยกว่าเวอร์ชัน Windows รวมถึงระบบตัดคำภาษาไทยที่ยังทำงานไม่สมบูรณ์นัก”

outlook

มาถึงอีกหนึ่งจุดเด่นที่ไมโครซอฟท์ตั้งใจนำเสนอไม่แพ้ Office for Mac ก็คือ “Outlook” หรือซอฟต์แวร์จัดการอีเมล์เวอร์ชันใหม่ล่าสุดที่สามารถใช้งานได้ทั้งบน Mac และ Windows อีกทั้งลูกเล่นและหน้าตาก็ได้รับการปรับเปลี่ยนให้ดูทันสมัยและใช้งานได้ง่ายขึ้นมาก

ในส่วนภาพรวมการใช้งานและบทสรุป หลังจากทดลองใช้อยู่ร่วมอาทิตย์เศษ Office 2016 เวอร์ชันพีซีไม่ค่อยมีความแตกต่างจากรุ่น 2013 มากนัก ยกเว้นเมื่อใช้งานในโหมด Tablet ออฟฟิซตัวใหม่จะใช้งานได้ดีกว่า ลื่นไหลกว่าและรองรับกับระบบหน้าจอสัมผัสได้ดีกว่ารุ่นก่อนหน้ามาก

ส่วนในเวอร์ชันแมค ถือเป็นครั้งแรกของชุดซอฟต์แวร์ Microsoft Office ที่ทำงานได้สมบูรณ์แบบสุด ตั้งแต่การรองรับการแสดงผล Retina Display รองรับแทรคแพดของแอปเปิล เป็นต้น อีกทั้งการใช้พิมพ์งานตามปกติยังสามารถเซฟจากแพลตฟอร์มหนึ่งแล้วไปเปิดจากอีกแพลตฟอร์มหนึ่งได้สมบูรณ์ขึ้นกว่าออฟฟิซรุ่นก่อนด้วย (แต่ยังไม่ 100% เหมือนที่หลายคนคาดหวังไว้)

สรุป ถือว่าครั้งนี้ไมโครซอฟท์ทำการบ้านมาดี การพัฒนาชุดซอฟต์แวร์ Microsoft Office มาได้ถูกทางและเป็น Cloud-based ทุกแพลตฟอร์มแล้ว จุดเด่นของ Office 2016 ที่สำคัญที่สุดก็คือราคาแบบบอกรับสมาชิกในชุด 365 ที่ถือว่าเป็นราคาที่ยอมรับได้เมื่อเทียบกับสิ่งที่ได้ (OneDrive 1TB, ติดตั้งได้ 5 เครื่อง และโปรโมชัน Skype ฟรี 60 นาทีต่อเดือน)

ข้อดี

– เป็นออฟฟิซที่มีความเป็นคลาวด์สูงมาก สามารถใช้งานข้ามแพลตฟอร์มได้
– รองรับระบบหน้าจอสัมผัสสมบูรณ์แบบ
– Outlook ออกแบบดี สวยงามและใช้งานง่าย

ข้อสังเกต

– Office for Mac 2016 ยังมีข้อผิดพลาดบ้างเล็กน้อย เช่น ตัดคำภาษาไทยและฟีเจอร์บางตัวที่ไม่เทียบเท่าพีซี

[usrlist “การออกแบบ:9” “สเปก/ฟีเจอร์เด่น:8.5” “ความสามารถโดยรวม:9” “ความคุ้มค่า:9″ avg=”true”]>หลักเกณฑ์การให้คะแนนรีวิว<

Gallery

word-style-2
หน้าตาใหม่ Microsoft Word 2016

Microsoft Word 2016 จะมาพร้อมธีมให้เลือกใช้เพิ่มมากขึ้น
Microsoft Word 2016 จะมาพร้อมธีมให้เลือกใช้เพิ่มมากขึ้น

ปรับเลือกธีมได้หลากหลาย เช่น Colorful, Dark Gray หรือ White
ปรับเลือกธีมได้หลากหลาย เช่น Colorful, Dark Gray หรือ White

ribbon-search
Ribbon Search สามารถค้นหาวิธีใช้งานและอื่นๆได้

เพิ่มรูปประกอบจาก Bing Image, Facebook, Flickr หรือ OneDrive ได้
เพิ่มรูปประกอบจาก Bing Image, Facebook, Flickr หรือ OneDrive ได้

เอกสารสามารถแชร์ไปให้เพื่อนรวมถึงสามารถสร้างกลุ่มใช้งานเอกสารและแก้ไขได้
เอกสารสามารถแชร์ไปให้เพื่อนรวมถึงสามารถสร้างกลุ่มใช้งานเอกสารและแก้ไขได้

Word รองรับการสร้างและโพสต์ Blog เช่น WordPress ได้ทันที
Word รองรับการสร้างและโพสต์ Blog เช่น WordPress ได้ทันที

 

command

Office รองรับระบบหน้าจอสัมผัสและปากกาได้ลื่นไหลขึ้นมาก
Office รองรับระบบหน้าจอสัมผัสและปากกาได้ลื่นไหลขึ้นมาก

Microsoft PowerPoint มีธีมเพิ่มขึ้นมากมาย
Microsoft PowerPoint มีธีมเพิ่มขึ้นมากมาย

PowerPoint โหมด Slide Show ปรับหน้าตาและเพิ่มฟีเจอร์ใหม่พร้อมรองรับการแสดงผล 2 หน้าจอภาพ (จอแรกควบคุม จอที่สองแสดงสไลด์เต็มจอ)
PowerPoint โหมด Slide Show ปรับหน้าตาและเพิ่มฟีเจอร์ใหม่พร้อมรองรับการแสดงผล 2 หน้าจอภาพ (จอแรกควบคุม จอที่สองแสดงสไลด์เต็มจอ)

PowerPoint รองรับระบบ Present Online (Remote Viewers) แชร์สไลด์ไปเผยแพร่บนเว็บบราวเซอร์ผ่าน Microsoft Account ได้
PowerPoint รองรับระบบ Present Online (Remote Viewers) แชร์สไลด์ไปเผยแพร่บนเว็บบราวเซอร์ผ่าน Microsoft Account ได้

หน้าตา Microsoft Excel 2016
หน้าตา Microsoft Excel 2016

หน้าตา Microsoft Publisher 2016
หน้าตา Microsoft Publisher 2016

หน้าตา Microsoft Access 2016
หน้าตา Microsoft Access 2016

]]>