Seagate – CBIZ Reviews – MGR Online https://cyberbiz.mgronline.com เว็บไซต์รีวิวอุปกรณ์ ไอที ไฮเทค เป็นส่วนหนึ่งของผู้จัดการออนไลน์ Thu, 09 Mar 2017 01:44:53 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.0 Review : Seagate FireCuda 1TB ฮาร์ดดิสก์ไฮบริด SSHD เร็วแรงเพื่อคอเกมเมอร์ https://cyberbiz.mgronline.com/review-seagate-firecuda/ Wed, 08 Mar 2017 05:19:03 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=25515

ถึงแม้ปัจจุบันหน่วยเก็บข้อมูลแบบชิปรวมถึง Solid State Drive จะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเพราะมีราคาที่ปรับลดลง แต่ฮาร์ดดิสก์จานแม่เหล็กก็ยังเป็นตัวเลือกสำคัญในการเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ โดยเฉพาะเหล่าเกมเมอร์ที่ปัจจุบันเกมหนึ่งเกมใช้เนื้อที่ค่อนข้างมาก SSD อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนักเพราะยิ่งความจุสูงขึ้น ผู้อ่านก็ต้องจ่ายเงินมากป็นเท่าตัว ยกตัวอย่าง SSD 1TB มีราคาขายอยู่ที่ 1 หมื่นบาทในขณะที่ฮาร์ดดิสก์จานแม่เหล็ก 1TB ราคาขายอยู่เพียงหลักพันไม่เกินสี่พันบาทเท่านั้น

เพราะฉะนั้นทาง Seagate (ซีเกท) จึงได้คิดค้นฮาร์ดดิสก์รูปแบบใหม่ขึ้นมาเรียกว่า “SSHD” ย่อมาจาก Solid State Hybrid Drive หรือภาษาง่ายๆก็คือ ฮาร์ดดิสก์ไฮบริดระหว่าง SSD กับ ฮาร์ดดิสก์จานแม่เหล็กแบบเดิม

การออกแบบ สเปกและฟีเจอร์เด่น

โดยหน้าตาของ Seagate FireCuda (รุ่นที่นำมาทดสอบขนาด 3.5 นิ้วใช้กับ Desktop PC) จะเหมือนกับฮาร์ดดิสก์ปกติ เพียงแต่ภายในจะได้รับการออกแบบใหม่ตั้งแต่การติดตั้ง SSD (NAND Flash MLC) ขนาด 8GB เพิ่มลงไป เพื่อใช้เก็บข้อมูลที่ถูกเรียกใช้งานบ่อย (คอมพิวเตอร์จะมองไม่เห็นส่วน SSD แต่ระบบภายในฮาร์ดดิสก์จะเรียนรู้และจัดการด้วยตัวเองอัตโนมัติ คล้ายกับระบบแคชไฟล์)

ส่วนจานแม่เหล็ก Seagate ออกแบบใหม่ โดยให้จานแม่เหล็ก 1 แผ่นมีความจุ 1TB ช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลทำได้รวดเร็วขึ้น ความทนทานเพิ่มขึ้น น้ำหนักเบาลง ความร้อนน้อยลง ประหยัดไฟมากขึ้น

ด้านพอร์ตเชื่อมต่อใช้เป็น SATA 6Gb/s (รองรับ SATA 1.5/3.0) บัฟเฟอร์อยู่ที่ 64MB และรอบจานหมุนอยู่ที่ 7,200 รอบต่อนาที

ทดสอบประสิทธิภาพและสรุป

มาถึงการทดสอบประสิทธิภาพ เริ่มจากชุดทดสอบ Crystal DiskMark ทดสอบคะแนนส่วน Seq อ่านอยู่ที่ 154.5 MB/s เขียนอยู่ที่ 198.8 MB/s

ส่วนการทดสอบคัดลอกข้อมูลขนาดประมาณ 8GB ทำความเร็วได้ประมาณ 130-150 MB/s เลยทีเดียว

มาดูคะแนนจาก PC Mark 8 อยู่ที่ 3,294 คะแนน (23.18MB/s)

ลองมาทดสอบใช้งานจริงด้วยการเล่นเกมและใช้งานคัดลอก เซฟไฟล์งานในชีวิตประจำวัน ถามว่า Seagate FireCuda เร็วแรงสมคำคุยจริงหรือไม่ ทีมงานขอตอบว่า เร็วแรงจริงถ้าเทียบกับกลุ่มฮาร์ดดิสก์จานแม่เหล็กด้วยกัน FireCuda ให้ผลลัพท์ที่ดีมากโดยเฉพาะการใช้เล่นเกมและใช้ร่วมกับงานตัดต่อวิดีโอ FireCuda ให้ประสิทธิภาพที่ดี (ไม่ต้องไปเทียบกับ SSD นะครับ เพราะอย่างไรฮาร์ดดิสก์จานหมุนต้องทำงานช้ากว่าอยู่แล้ว)

ส่วนถ้าเทียบกับฮาร์ดดิสก์เกมเมอร์ด้วยกัน ด้านความเร็วจะใกล้เคียงกันแต่เรื่องการเข้าถึงข้อมูล FireCuda จะทำได้ลื่นไหลกว่า โดยเฉพาะเสียงรบกวนจากการอ่านข้อมูลบนจานแม่เหล็ก FireCuda ทำงานได้ค่อนข้างเงียบกว่าหลายแบรนด์เลยทีเดียว

ส่วนราคาถ้าเทียบในกลุ่มฮาร์ดดิสก์ระดับเดียวกัน เช่น WD Black ตัว Seagate FireCuda จะมีราคาสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 3 พันกว่าบาทสำหรับรุ่น 3.5 นิ้ว ความจุ 1TB

ข้อดี

– ประสิทธิภาพดีเหมาะแก่เหล่าเกมเมอร์และคนทำงานตัดต่อวิดีโองบจำกัดอย่างมาก
– ทำงานเงียบ

ข้อสังเกต

– ราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับกลุ่มฮาร์ดดิสก์ระดับเดียวกัน

]]>
Review : Seagate Personal Cloud 2-Bay คลาวด์สตอเรจส่วนตัว ใช้ง่าย ประสิทธิภาพสูง https://cyberbiz.mgronline.com/review-seagate-cloud-2bay/ Wed, 30 Mar 2016 07:44:55 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=22168

Personal_Cloudhead

ในยุคที่ “บริการคลาวด์บนโลกออนไลน์” เริ่มเข้ามามีบทบาทกับสมาร์ทดีไวซ์ที่หลากหลายขึ้น อีกหนึ่งอุปกรณ์เก็บข้อมูลอย่าง NAS (Network Attached Storage) ก็มีการปรับตัวตามเช่นกัน โดยจากเดิม NAS จะเป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลความจุสูงที่ถูกเลือกใช้เป็นศูนย์กลางในการเก็บข้อมูลขององค์กรหรือเก็บข้อมูลส่วนตัวผ่านระบบเน็ตเวิร์คเท่านั้น แต่ปัจจุบัน NAS ถูกพัฒนาให้สามารถทำงานผ่านระบบออนไลน์จนกลายเป็น “คลาวด์สตอเรจส่วนบุคคล” ได้เช่นเดียวกับบริการคลาวด์อย่าง Dropbox, BOX หรือ Google Drive พร้อมความสามารถที่มากกว่า เช่น สามารถสำรองจดหมายจากเมล์หรือโซเชียลต่างๆแล้วนำมาเก็บไว้ในไดร์ฟ จนเปรียบเสมือนเรามี Server ออนไลน์ส่วนตัว เป็นต้น

โดยในวันนี้ทีมงานไซเบอร์บิซได้รับ NAS + คลาวด์ “Seagate (ซีเกท) Personal Cloud 2-Bay” มาทดสอบประสิทธิภาพกันอีกหนึ่งรุ่น ไปติดตามชมกันได้เลย

การออกแบบและสเปก

Personal_Cloud_first

Seagate Personal Cloud 2-Bay ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Network Attached Storage สามารถใช้เก็บข้อมูลส่วนตัวทุกประเภทเหมือน External Harddisk เพียงแต่ NAS จะเก็บข้อมูลผ่านระบบเน็ตเวิร์ค ทั้ง LAN และ WiFi (เหมือน Server ส่วนตัว) สามารถรองรับการใช้งานจากทุกสมาร์ทดีไวซ์

นอกจากนั้นภายในยังมีฮาร์ดแวร์และระบบปฏิบัติการ สามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง พร้อมผสมความสามารถแบบคลาวด์สตอเรจไว้มากมาย โดยในรุ่นที่ลงท้ายด้วยข้อความ 2-Bay จะหมายถึงสามารถใส่ฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ตัวพร้อมรองรับเทคโนโลยี RAID 0 และ 1 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้สูงขึ้น

สำหรับรุ่นที่เราได้รับมาทดสอบ ภายในจะบรรจุฮาร์ดดิสก์ Seagate NAS HDD ST2000VN000 (สามารถเปิดใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง 7 วัน) ขนาด 2TB จำนวน 2 ลูก (รวมเป็น 4TB) น้ำหนักรวมประมาณ 1 กิโลกรัมกว่าๆ

Personal_Cloud_2-BaycbizDSC00379

ด้านหน่วยประมวลผล ซีเกทเลือกใช้ Marvell ARMADA 370 ความเร็ว 1.2 GHz แรม 512MB พร้อมระบบปฏิบัติการขับเคลื่อนภายใน

นอกจากนั้นผู้ใช้ยังสามารถนำฮาร์ดดิสก์ภายนอกมาเชื่อมต่อกับ Personal Cloud ผ่านพอร์ต USB 3.0 ด้านข้างเครื่อง

DSC00393DSC00380

ส่วนการเชื่อมต่อต้องทำผ่านอินเตอร์เฟส Ethernet สายแลน (ความเร็วสูงสุด 1Gbps) เข้ากับเราท์เตอร์อินเตอร์เน็ตเท่านั้น โดยลักษณะการเชื่อมต่อและติดตั้งจะเหมือน NAS ทั่วไป

การตั้งค่าและฟีเจอร์เด่น

setup-s2b

การตั้งค่า Seagate Personal Cloud 2-Bay ครั้งแรกทำได้ถึง 3 รูปแบบ ได้แก่

1.แค่เชื่อมต่อสายแลนเข้ากับเราท์เตอร์ จากนั้นพิมพ์เลข IP ของ Personal Cloud ที่เว็บบราวเซอร์
2.เข้าไปเลือกไอคอน PersonalCloud​​ > Public จากส่วนของ Networks (Windows) หรือ Shared (Mac)
3.ดาวน์โหลด http://www.seagate.com/as/en/services-software/apps/seagate-dashboard-software/ และเลือกเปิดใช้งานจาก Seagate Dashboard

โดยภายในหน้าตั้งค่า ซีเกทได้ออกแบบให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงทุกส่วนได้ง่ายด้วยภาพกราฟิกที่เข้าใจง่าย พร้อม Wizard ช่วยเหลือและแนะนำชัดเจน

สำหรับส่วนสำคัญของหน้าตั้งค่าก็คือ “การสร้างบัญชีผู้ใช้” พราะนอกจากจะจำเป็นสำหรับการสร้างความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลในวงเน็ตเวิร์คแล้ว การสร้างบัญชียังจำเป็นสำหรับการเปิดใช้งานคลาวด์ผ่านอินเตอร์เน็ตรวมถึงการทำ Remote Access จากทุกที่ทั่วโลก (อารมณ์เหมือนใช้งาน Dropbox เราก็ต้องมีการสมัครสมาชิก)

raid-s2b

นอกจากนั้นระบบยังเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถเลือกการทำงานของ RAID ได้ 2 รูปแบบคือ RAID 1 จะแบ่งฮาร์ดดิสก์ตัวแรกสำหรับเก็บข้อมูลหลัก ส่วนฮาร์ดดิสก์ตัวที่สองใช้สำรองข้อมูล

แต่ทั้งนี้ข้อเสียของ RAID 1 ก็คือ พื้นที่ใช้งานจาก 4TB จะเหลือเพียง 2TB เท่านั้น

ส่วน RAID 0 จะได้พื้นที่ใช้งานเต็ม 4TB พร้อมประสิทธิภาพการทำงานที่เพิ่มขึ้น เพราะฮาร์ดดิสก์ทั้งสองลูกจะช่วยกันทำงาน

แต่ข้อเสียของ RAID 0 ก็คือไม่มีการสำรองข้อมูล ถ้าฮาร์ดดิสก์ตัวใดตัวหนึ่งเสียหาย ข้อมูลจะสูญหายทั้งหมด

home-s2bapps-s2b

หลังจากตั้งค่าเสร็จเรียบร้อยแล้ว ระบบจะพาเข้าสู่หน้าโฮม จากนั้นผู้ใช้สามารถติดตั้งแอปพลิเคชันเสริมได้จากหน้า App Manager (ต้องใช้อินเตอร์เน็ตในการดาวน์โหลดแอปฯ) ซึ่งแอปฯส่วนใหญ่ที่เปิดให้ดาวน์โหลดจะช่วยขยายความสามารถด้านคลาวด์ให้แก่ Seagate Personal Cloud ได้หลากหลายขึ้น ยกตัวอย่างที่น่าสนใจ ได้แก่

รองรับบริการ IFTTT (If This Then That) – ที่ช่วยในการซิงค์ข้อมูลจากสื่อต่างๆมาเก็บไว้ที่ Seagate Personal Cloud ได้ เช่น เมื่อเราโพสต์ภาพลง Instagram หลังจากนั้นให้เซฟลง Personal Cloud เป็นต้น โดยระบบทั้งหมดเมื่อตั้งค่าใช้งานครั้งแรกแล้ว จะทำงานอัตโนมัติ

mac-s2b

ใช้งานคัดลอกไฟล์ผ่าน Mac

windows-s2b

ใช้งานคัดลอกไฟล์ผ่าน Windows 10

ipad-s2b

ทำ DLNA รับชมวิดีโอแบบสตรีมมิ่งผ่าน iPad Pro

android-s2b

แชร์ไฟล์ไปยัง Android

นอกจากนั้น Seagate Personal Cloud ยังรองรับการเชื่อมต่อกับบริการที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น UPnP, DLNA, iTunes, SMB, AFP, FTP, XBOX, PlayStation 3 เป็นต้นไป ฯลฯ รองรับทั้ง Windows และ Mac ทำให้ผู้ใช้สามารถโอนไฟล์ไปมาระหว่างแพลตฟอร์มได้ง่ายขึ้น

seagatemedia-s2b

ในส่วนการซิงค์ข้อมูลกับสมาร์ทดีไวซ์ สามารถทำผ่านแอปฯ Seagate Media รองรับทั้ง iOS, Android, Windows Phone, Roku และ Samsung App Store สำหรับสมาร์ททีวีและเครื่องเล่นมัลติมีเดียของซัมซุง

โดยการทำงานของแอปฯ Seagate Media กับ Personal Cloud จะคล้ายกับแอปฯจำพวก Dropbox, Google Drive โดยเมื่อเชื่อมต่อเน็ตเวิร์ควงเดียวกับที่เชื่อมต่อ Personal Cloud ผู้ใช้สามารถเปิดดูไฟล์ โอนไฟล์หรือคัดลอกไฟล์จากสมาร์ทดีไวซ์ไปเก็บไว้บน Personal Cloud ผ่านแอปฯดังกล่าวได้ทันที

Personal_Cloud_1

ส่วนเมื่อออกไปนอกบ้าน ผู้ใช้สามารถเปิดใช้ฟีเจอร์ Remote Access เข้าถึงไฟล์จาก Personal Cloud ที่ตั้งอยู่ที่บ้านได้ง่ายเพียงคุณเปิดเราท์เตอร์อินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่อกับ Personal Cloud ทิ้งไว้ จากนั้นในแอปฯ Seagate Media ส่วนของ Remote Access ให้ล็อกอินด้วยบัญชีที่สมัครไว้ตอนติดตั้งครั้งแรก เพียงเท่านี้ระบบจะลิงก์ข้อมูลกับ Personal Cloud ทันที ผู้ใช้สามารถเปิดดู คัดลอก ย้ายไฟล์ได้เหมือนกับการใช้งานคลาวด์สตอเรจทั่วไป

ทดสอบประสิทธิภาพและสรุป

หลังจากทดลองใช้งาน Seagate Personal Cloud 2-Bay ร่วม 5 วันเต็มๆ สิ่งหนึ่งที่ทีมงานสัมผัสได้ตลอดก็คือ การใช้งานรวมถึงการเข้าถึงข้อมูลบน Personal Cloud ที่ง่าย ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการตั้งค่า NAS ที่ยุ่งยาก ก็สามารถใช้งานได้ทันที (ขอแค่จำ Username/Password บัญชีผู้ใช้ได้เท่านั้น)

ส่วน Remote Access ถึงแม้จะมีข้อจำกัดต้องใช้ผ่านแอปฯ Seagate Media แต่เรื่องการเชื่อมต่อถือว่าทำได้ง่าย ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องไปตั้งค่าเราท์เตอร์อินเตอร์เน็ตให้วุ่นวายเลย

อีกจุดเด่นที่น่าสนใจก็คือ ฮาร์ดดิสก์ 2 ลูกที่บรรจุอยู่ภายใน Personal Cloud ทำงานค่อนข้างเงียบและไม่ค่อยมีความร้อนสะสมเท่าใดนัก รวมถึงฟีเจอร์คลาวด์ต่างๆที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถเลือกติดตั้งได้เองก็ถือว่าซีเกทออกแบบและจัดทำมาได้น่าสนใจ

สำหรับราคาค่าตัวอยู่ที่ประมาณ 11,500 บาท (รุ่น 2-Bay 4TB) ถ้ามองว่าความจุสูงไปและรูปแบบการเชื่อมต่อแบบ RAID ไม่จำเป็นต้องใช้ ก็สามารถเลือก Personal Cloud รุ่นที่ต่ำกว่าได้

Gallery

]]>