Sony – CBIZ Reviews – MGR Online https://cyberbiz.mgronline.com เว็บไซต์รีวิวอุปกรณ์ ไอที ไฮเทค เป็นส่วนหนึ่งของผู้จัดการออนไลน์ Tue, 29 Dec 2020 11:51:35 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.0 Review : Sony Xperia 5 II เครื่องแรง กล้องดี จับถือถนัดมือ https://cyberbiz.mgronline.com/review-sony-xperia-5-ii/ Tue, 29 Dec 2020 11:49:11 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=34406

โซนี่ (Sony) ยังคงความโดดเด่นในการผลิตสมาร์ทโฟนในขนาดตัวเครื่องที่พกพาใช้งานง่าย ด้วยการเลือกผลิตสมาร์ทโฟนในสัดส่วนหน้าจอแบบ 21:9 ต่อเนื่องจากในช่วงกลางปีที่นำเสนอ Xperia 1 II ตามด้วยการส่ง Xperia 5 II สู่ตลาดในช่วงปลายปี

ความโดดเด่นของ Xperia 5 II ถือพัฒนาขึ้นมาจากรุ่นก่อนหน้าคือ ปรับหน้าจอแสดงผลให้รองรับ Refresh Rate 120 Hz ในขนาดหน้าจอ 6.1 นิ้ว ใส่สเปกจัดเต็มมาด้วย Snapdragon 865 5G ทำให้รองรับการใช้งานยาวๆ ต่อไปในอนาคต

อีกจุดก็คือการนำเทคโนโลยีที่โซนี่ มีความเชี่ยวชาญทั้งด้านภาพ เสียง และกล้องถ่ายภาพ มารวมกันไว้ให้ใช้งานในสมาร์ทโฟนเครื่องนี้ ทำให้โดยรวมแล้ว รุ่นนี้จะเข้ามาตอบโจทย์ผู้ที่ช่ืนชอบ โซนี่ และต้องการเครื่องในระดับราคาไม่เกิน 30,000 บาท ได้อย่างแน่นอน

ข้อดี

  • ตัวเครื่องขนาดพอดีมือ
  • หน้าจอรองรับ Refresh Rate 120 Hz
  • กันน้ำ กันฝุ่น IP65/68
  • มีช่องเสียบหูฟัง 3.5 มม.

ข้อสังเกต

  • รองรับ 5G บนคลื่น 700 MHz ทำให้ต้องรอโอเปอเรเตอร์ในไทยขยายพื้นที่ให้บริการ
  • ไม่รองรับการชาร์จไร้สาย

การออกแบบ

Sony Xperia 5 II ถือว่าอยู่ในกลุ่มสมาร์ทโฟนที่มีขนาดตัวเครื่องเล็ก พกพาง่าย เพราะสามารถถือใช้งานได้ด้วยมือข้างเดียว จากการที่โซนี่เลือกใช้สัดส่วนหน้าจอแบบ CinemaWide 21:9 ทำให้มือถือขนาดหน้าจอ 6.1 นิ้ว มาในทรงยาวคล้ายรีโมททีวีเช่นเดิม

จนกลายเป็นจุดเด่นที่ทำให้ผู้ที่ชื่นชอบโซนี่ ให้ความสนใจ เพราะจะได้มือถือที่ถือใช้งานมือเดียวได้สะดวก ในขนาดตัวเครื่อง 158 x 68 x 8 มิลลิเมตร น้ำหนัก 163 กรัม นอกจากนี้ ตัวเครื่องยังกันน้ำ กันฝุ่นมาตรฐาน IP65/68 อีกด้วย


ในส่วนของหน้าจอที่ให้มาเป็นกระจก Corning Gorilla Glass 6 ขนาดหน้าจอ 6.1 นิ้ว ที่เป็นจอแบบ OLED HDR ความละเอียด FHD+ (2520 x 1080 พิกเซล) ความน่าสนใจก็คือมากับอัตรารีเฟรชที่ 120 Hz พร้อมเทคโนโลยี Motion Blur Reduction 240 Hz และอัตราการสัมผัสที่ 240 Hz

ส่วนบนของหน้าจอมีกล้องหน้าความละเอียด 8 ล้านพิกเซล f/2.0 ซึ่งด้วยการที่โซนี่ ไม่ได้เลือกใช้จอแบบเจาะรู ทำให้ยังมีการเว้นพื้นที่บริเวณขอบบน และขอบล่างของหน้าจออยู่ ซึ่งกลายเป็นช่วยให้เวลาใช้งานตัวเครื่องในแนวนอน อุ้งมือจะไม่ไปสัมผัสโดนหน้าจอในขณะถือใช้งานด้วย

รอบตัวเครื่องของ Xperia 5 II ทางฝั่งซ้าย จะมีช่องใส่ซิมการ์ดแบบไฮบริด ที่สามารถเลือกใส่นาโนซิมการ์ด พร้อมกับ MicroSDXC ความจุสูงสุด 1 TB ที่จะมีซีลยางปิดไว้เพื่อป้องกันน้ำกันฝุ่น ทำให้ไม่ต้องใช้งานร่วมกับเข็มจิ้มซิม

ทางฝั่งขวา จะมีทั้งปุ่มเพิ่มลดเสียง ปุ่มเปิดเครื่องที่ใช้เป็นจุดสแกนลายนิ้วมือเพื่อปลดล็อกตัวเครื่อง ปุ่มลัดสำหรับเรียกใช้งาน Google Assistant และปุ่มเรียกใช้งานกล้อง ที่เปลี่ยนเป็นชัตเตอร์ในการถ่ายภาพเมื่อเข้าสู่โหมดกล้องด้วย

ด้านบนมีช่องเสียบหูฟัง 3.5 มม. มาให้ใช้งานเพื่อให้ได้คุณภาพเสียงที่ดีขึ้น และลดสัญญาณรบกวนลดเหลือน้อยกว่า 20dB ด้านล่าง จะมีช่องไมโครโฟน และ USB-C ให้เสียบชาร์จแบตเตอรี และเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ตามปกติ

ด้านหลัง Xperia 5 II มากับกล้องหลัก 3 เลนส์ ที่นำชิ้นเลนส์ของ ZEISS มาใช้งาน ความละเอียดเท่ากันทั้งหมดที่ 12 ล้านพิกเซล ใน 3 ระยะเลนส์ เริ่มต้นที่เลนส์ปกติ 24 มม. f/1.7 ตามด้วยเลนส์ซูม 70 มม. f/2.4 และเลนส์มุมกว้าง 16 มม. f/2.2 พร้อมกับไฟแฟลช โดยมีสัญลักษณ์ NFC อยู่ข้างๆ กล้องด้วย

ภายในตัวเครื่องให้แบตเตอรีมาขนาด 4000 mAh รองรับการชาร์จเร็วแบบ USB PD (USB Power Delivery) เมื่อใช้งานร่วมกับอะเดปเตอร์ที่ปล่อยไฟ 21W ขึ้นไป จะสามารถชาร์จได้ 50% ภายใน 30 นาที

ในส่วนของสเปกตัวเครื่อง มากับซีพียู Qualcomm Snapdragon 865 RAM 8 GB พื้นที่เก็บข้อมูลในตัวเครื่อง 256 GB ทำงานบนระบบปฏิบัติการ Android 10 และรองรับการอัปเกรดเป็น Android 11 ในอนาคตอันใกล้นี้

ขณะที่การเชื่อมต่อรองรับ WiFi 6 บลูทูธ 5.1 พร้อมระบบระบุพิกัด (GPS) รวมถึง 4G และ 5G เพียงแต่ไม่รองรับการใช้งานบนคลื่น 2600 MHz ทำให้ต้องรอโอเปอเรเตอร์ในไทยนำคลื่น 700 MHz มาให้บริการ 5G ก่อนถึงจะสามารถใช้งานได้ หรือรอการประมูลคลื่น 3500 MHz ที่เป็นอีกหนึ่งคลื่นมาตรฐานของ 5G

รวมความเชี่ยวชาญ โซนี่ สู่มือถือ

ด้วยการที่จุดเด่นของสมาร์ทโฟน Xperia ของโซนี่ คือการนำความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีทั้งการแสดงผล จากโทรทัศน์ Bravia กล้องจาก Alpha และระบบเสียงระดับ Hi-Res Audio มาผสมผสานออกมากลายเป็นสมาร์ทโฟนที่ครบเครื่อง

Sony Xperia 5 II จึงกลายเป็นสมาร์ทโฟนที่มีความครบเครื่องทั้งเรื่องของการถ่ายภาพวิดีโอ ภาพนิ่ง ระบบการแสดงผลบนหน้าจอ CinemaWide ประสบการณ์เล่นเกม จากขุมพลังของ Snapdragon 865 รวมกับการที่มีช่องเสียบหูฟัง 3.5 มม. มาให้ใช้งานคู่กับหูฟัง จึงทำให้รุ่นนี้มีความครบเครื่องในแง่ของการส่งมอบความบันเทิงเป็นอย่างมาก

แน่นอนว่า เมื่อเทียบกับ Xperia 1 II ที่วางจำหน่ายไปก่อนหน้า อาจจะมีบางอย่างเช่นเรื่องขนาดของหน้าจอที่ใหญ่กว่า (6.5 นิ้ว ความละเอียด 4K) แต่เป็น Refresh Rate 60 Hz กล้องหลักมีเซ็นเซอร์ 3D มาช่วยในการโฟกัสเพิ่มเติม และขนาดเครื่องที่ใหญ่กว่า

แต่เมื่อดูในแง่ของความคุ้มค่าแล้ว Xperia 5 II ในระดับราคาที่ต่ำกว่า เพราะเปิดราคามา 28,990 บาท แม้จะได้จอเล็กลงเป็น 6.1 นิ้ว แต่ในภาพรวมของการใช้งานแล้ว ถือว่าพกพาง่าย รองรับการแสดงผลในระดับ Refresh Rate 120 Hz ทำให้การเล่นเกมทำได้ลื่นไหลมากกว่าด้วย

ทีนี้ มาเจาะลึกถึงความสามารถของ Xperia 5 II กันบ้าง เริ่มจากจุดเด่นที่สุดของรุ่นนี้คือหน้าจอขนาด 6.1 นิ้ว นั้นมีการนำชิป X1 สำหรับมือถือ ในการแสดงผลเทคโนโลยี Bravia HDR ช่วยให้คอนเทนต์ที่รับชมมีสีสัน และคมชัดมากขึ้นกว่าปกติ ขณะเดียวกัน ประสบการณ์เล่นเกมบนหน้าจอสัมผัสที่แสดงผลแบบ 120 Hz และรองรับอัตราการสัมผัสที่ 240 Hz จะช่วยให้เล่นเกมได้สนุกขึ้นด้วย

ถัดมาคือเรื่องของกล้องที่โซนี่ เลือกนำเทคโนโลยีกล้องจาก Alpha มาช่วยเสริมประสิทธิภาพของกล้องบนสมาร์ทโฟน ทำให้ Xperia 5 II สามารถตรวจจับโฟกัสดวงตาแบบอัตโนมัติ ช่วยให้ถ่ายภาพผู้คน หรือสัตว์ที่กำลังเคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็ว

ประกอบกับการนำเลนส์ ZEISS มาใช้ร่วมกับเซ็นเซอร์กล้องหลัก Exmor RS ขนาด 1/1.7 นิ้ว ทำให้สามารถเก็บรายละเอียดได้คมชัด มีการนำระบบประมวลผลภาพ BIONZ X มาใช้ให้ถ่ายภาพในที่แสงน้อยได้ดียิ่งขึ้น

โดยความน่าสนใจคือโหมดถ่ายภาพที่ให้มาใน Xperia 5 II คือการมีแอปกล้องให้เลือกใช้งานทั้งสำหรับการใช้งานทั่วไปแบบอัตโนมัติ จนถึงแอปฯ ถ่ายภาพสำหรับมืออาชีพ ให้เลือกปรับแต่งการตั้งค่าต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ช่วยให้สามารถสร้างสรรค์ภาพนิ่ง และวิดีโอได้อย่างที่ต้องการ

ทดสอบประสิทธิภาพ

สำหรับประสิทธิภาพของของ Sony Xperia 5 II นั้นต้องยอมรับว่าอยู่ในกลุ่มของสมาร์ทโฟนเรือธงอยู่แล้ว ทำให้รองรับการใช้งานต่างๆ บนสมาร์ทโฟนได้ครบถ้วน และที่สำคัญเมื่อจอมีขนาดเล็กลงทำให้การใช้งานแบตเตอรีต่อการชาร์จทำได้นานขึ้นมากกว่า 13 ชั่วโมง

สรุป

สำหรับผู้ที่สนใจ Sony Xperia 5 II โดยเฉพาะผู้ที่ชื่นชอบสมาร์ทโฟนขนาดพกพาง่าย การเปิดราคาค่าตัวที่ 28,990 บาท ถือว่าไม่ใช่ราคาที่สูงเกินไปนัก เพราะได้เข้าถึงเทคโนโลยีทั้งเรื่องภาพ กล้อง เสียง จากโซนี่ รวมถึงการเลือกใช้ซีพียูระดับไฮเอนด์ ทำให้สามารถใช้งานได้ต่อเนื่องยาวๆ

อย่างไรก็ตาม Xperia 5 II อาจจะไม่เหมาะกับผู้ที่ต้องการใช้งาน 5G ในไทยเท่าไหร่ เพราะตัวเครื่องไม่ได้รองรับคลื่น 2600 MHz ซึ่งเป็นคลื่นหลักที่โอเปอเรเตอร์นำมาให้บริการ แต่ในอนาคตถ้ามีการนำคลื่น 3500 MHz มาประมูล เครื่องรุ่นนี้จะรองรับการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพแน่นอน

Gallery

]]>
Review : Sony Xperia 1 II แฟลกชิปครบเครื่องจอ 21:9 กล้องระดับโปร https://cyberbiz.mgronline.com/review-sony-xperia-1-ii/ Tue, 06 Oct 2020 04:18:05 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=33819

การนำสมาร์ทโฟนเรือธง Sony Xperia 1 II (1 mark 2) เข้ามาทำตลาดในประเทศไทยครั้งนี้ ถือเป็นการตอบรับข้อเรียกร้องของบรรดาสาวกอารยะธรรมโซนี่ในประเทศไทยได้เป็นอย่างไร

เพราะใน Xperia 1 II มีการนำเทคโนโลยีที่น่าสนใจของ Sony เข้ามารวบรวมไว้ให้ได้ใช้งานกัน ทั้งเรื่องของจอแสดงผล กล้อง จนถึงเสียง ที่โซนี่มีความเชียวชาญเป็นพิเศษ เรียกได้ว่าให้มาสุดครบ พร้อมประสิทธิภาพในการประมวลผลจากซีพียูอย่าง Snapdragon 865

จุดเด่นหลักของรุ่นนี้เลยคือหน้าจอความละเอียด 4K โหมดถ่ายภาพระดับโปร พร้อมปุ่มชัตเตอร์แยก ทั้งภาพนิ่ง และภาพวิดีโอ ที่ให้ความละเอียดสูงสุด 4K เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม. มาให้ใช้งานด้วย และยังรวมไปถึงโหมดเกมให้ใช้งานด้วย

ข้อดี

  • จอแสดงผล OLED ขนาด 6.5 นิ้ว ความละเอียด 4K
  • กล้องหลัก 12 ล้านพิกเซล เลนส์ ZEISS รองรับการถ่ายภาพ RAW
  • ถ่ายภาพต่อเนื่อง 20 รูปต่อวินาที
  • ช่องเสียบหูฟัง 3.5 มม.
  • กันน้ำ กันฝุ่น IP68

ข้อสังเกต

  • ตัวเครื่องค่อนข้างยาว ทำให้เวลาใส่กระเป๋ากางเกงจะเลยออกมา
  • ฝาหลังเป็นกระจกเงา ทำให้เป็นรอยนิ้วมือง่าย
  • รองรับ 5G บนคลื่น 700 MHz (ยังไม่เปิดให้บริการในไทย)

รวมเทคโนโลยีของ Sony

ด้วยการที่โซนี่ ถือเป็นบริษัทพัฒนาสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีเทคโนโลยีขั้นสูง มานำเสนอให้แก่ผู้บริโภคเสมอมา ทั้งในกลุ่มผลิตภัณฑ์โทรทัศน์ กล้องถ่ายภาพ และอุปกรณ์หูฟัง ที่ในแต่ละตลาดถือว่าได้รับความนิยมเป็นลำดับต้นๆ อยู่แล้ว ทั้งโทรทัศน์ในตระกูล Bravia กล้องมิลเลอร์เลส Alpha และหูฟังบลูทูธคุณภาพสูง

ดังนั้นจึงไม่แปลกที่โซนี่ จะนำเทคโนโลยีเหล่านั้น มารวมกันบนสมาร์ทโฟน เพื่อนำเสนอแฟลกชิปสมาร์ทโฟนที่ดึงจุดเด่นในทุกๆ ด้านของโซนี่ มาให้กลุ่มผู้ที่ชื่นชอบโซนี่ ได้เลือกหาใช้งาน และที่สำคัญคือการทำงานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์เหล่านี้ ภายในอีโคซิสเตมส์ก็น่าสนใจ

เริ่มกันที่หน้าจอแสดงผล Sony Xperia 1 II มากับหน้าจอขนาด 6.5 นิ้ว ที่เป็น HDR OLED ในสัดส่วน 21:9 CinemaWide ด้วยการนำเทคโนโลยี Bravia HDR มาช่วยเพิ่มคุณภาพสี และความคมชัดของภาพ รวมถึงการนำซอฟต์แวร์มาช่วยลดการเบลอของภาพในระดับ 90Hz

ตามด้วยเทคโนโลยีด้านเสียงอย่าง Dolby Atmos ที่ทำงานร่วมกับ Sony Picture Entertainment ให้เสียงแบบรอบด้าน และที่สำคัญรุ่นนี้ยังเป็นสมาร์ทโฟนรุ่นแรกที่จำลองเสียงแบบ 360 Reality Audio ได้ด้วย ส่วนสายฟังเพลงได้มีการนำ AI มาช่วยเพิ่มคุณภาพเสียงแบบเรีบลไทม์ ทำให้ได้เสียงที่ดีขึ้นทั้งการเชื่อมต่อแบบมีสาย และไร้สาย

ต่อเนื่องกันที่กล้องถ่ายภาพ Xperia 1 II มากับเลนส์กล้องหลัก 3 เลนส์ด้วยกัน ประกอบด้วยเลนส์ 16 มม. ที่ใช้ทำหน้าที่เลนส์มุมกว้าง เลนส์ 24 มม. สำหรับมุมถ่ายภาพปกติ และเลนส์ 70 มม. สำหรับเลนส์เทเลโฟโต้ โดยทั้ง 3 ระยะนี้ ถือเป็นช่วงเลนส์ที่ช่างภาพมืออาชีพนิยมใช้งานกัน

ความพิเศษที่เพิ่มเติมมาคือการร่วมมือกันระหว่างโซนี่ และ ZEISS ผู้ผลิตเลนส์ชั้นนำของโลก นำ ZEISS T มาเคลือบเพื่อลดการสะท้อนของแสง และช่วยให้ภาพคมชัดมากขึ้น ภายในยังมีการใส่เทคโนโลยีการถ่ายภาพอย่าง Real-Time Eye AF หรือการตรวจจับโฟกัสที่ดวงตาอัตโนมัติมาให้

นอกจากนี้ Xperia 1 II ยังเป็นสมาร์ทโฟนรุ่นแรกที่สามารถโฟกัสได้ต่อเนื่องถึง 60 เฟรมต่อวินาที ช่วยให้สามารถถ่ายภาพแบบออโตโฟกัสได้มากที่สุด 20 ภาพต่อวินาที (เฉพาะในโหมดโปรเลนส์ 24 มม.) ด้วยเช่นเดียวกัน ด้วยการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยี และเซ็นเซอร์ 3D iToF มาช่วย

โดยในการใช้งานกล้องถ่ายภาพบน Xperia 1 II จะมีแอปพลิเคชันมาให้เลือกใช้งาน 2 รูปแบบคือ แอปกล้องถ่ายภาพปกติ ที่ผู้ใช้งานทั่วไปชื่นชอบ ด้วยความง่ายในการแตะถ่ายภาพได้แบบง่ายๆ หรือใช้ร่วมกับปุ่มชัตเตอร์ข้างตัวเครื่องก็ได้เช่นกัน

ส่วนผู้ที่ชื่นชอบการปรับแต่งเพิ่มขึ้นมาในลักษณะของมืออาชีพ โซนี่ มีการเพิ่มแอปอย่าง Photography Pro เข้ามา ที่เปิดให้ผู้ใช้เลือกโหมดถ่ายภาพอย่าง Auto P (ปรับ ISO) หรือ M (ปรับความเร็วชัตเตอร์) มาให้เลือก พร้อมเลือกปรับการโฟกัส วัดค่าแสง เลือกเลนส์ที่ใช้งาน และที่สำคัญคือรองรับการถ่ายภาพแบบไฟล์ RAW ให้นำไปปรับแต่งต่อได้

ขณะเดียวกัน โซนี่ ให้ความสำคัญกับการบันทึกวิดีโอมากยิ่งขึ้นด้วย Cinematography Pro ที่เปิดให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างโปรเจกต์ในการถ่ายภาพแบบ Cinematic โดยสามารถเลือกความละเอียดของภาพได้สูงสุดที่ 4K60fps เลือกปรับแต่งความเร็วชัตเตอร์ แสดงแถบวัดค่าแสงให้เห็นทันที และรองรับการแตะเพื่อโฟกัส ทำให้การถ่ายวิดีโอทำได้สะดวกขึ้น

อย่างไรก็ตาม ในการถ่ายภาพด้วย Cinematography Pro นั้น จะมีข้อจำกัดอย่างหนึ่งคือ เมื่อไหร่ที่สร้างโปรเจกต์ขึ้นมา แล้วเลือกความละเอียดของวิดีโอที่ถ่ายไปแล้วนั้น ทั้งโปรเจกต์นั้นจะต้องใช้ความละเอียดเท่ากันทั้งหมด ทำให้ถ้าต้องการสลับไปถ่ายภาพที่ความละเอียดอื่นจะต้องสร้างโปรเจกต์ใหม่ขึ้นมาแทน

เมื่อเห็นถึงเทคโนโลยีภาพ และเสียงที่น่าสนใจแล้ว ก็มาถึงเรื่องของการประมวลผล ด้วยการที่โซนี่ เป็นผู้ผลิตเครื่องเกมคอนโซลอย่าง PlayStation ทำให้ Xperia 1 II รองรับการเชื่อมต่อกับจอยเกม Dualshock 4 เพื่อใช้เล่นเกมได้อย่างสมบูรณ์แบบ

รวมถึงการเพิ่มโหมด Game Booster มาให้ผู้ที่ชื่นชอบเล่นเกมผ่านสมาร์ทโฟนใช้งาน โดยจะมีการเคลียแรม เพื่อรีดประสิทธิภาพของตัวเครื่องออกมาให้มากที่สุด พร้อมเปิดโหมดป้องกันการรบกวน ทำให้เล่นเกมได้อย่างสบายใจ

ส่วนเรื่องของแบตเตอรีนั้นก็ไม่ต้องเป็นห่วงเพราะที่ให้แบตมา 4,000 mAh นั้น ถือว่าเพียงพอกับการใช้งานได้ตลอดวันสบายๆ ยกเว้นถ้ามีการถ่ายภาพ หรือวิดีโอหนักๆ อาจจะอยู่ไม่ถึง แต่ตัวเครื่องก็มีระบบชาร์จเร็วมาให้ สามารถชาร์จแบตได้ 50% ภายในเวลา 30 นาที และรองรับการชาร์จไร้สายด้วย

ที่น่าสนใจคือ โซนี่ มีระบบที่จะมาช่วยยืดระยะเวลาการใช้งานแบตเตอรี ในชื่อ Battery Care ที่จะปรับการชาร์จไฟให้เข้ากับพฤติกรรมการใช้งาน เช่นในช่วงเวลานอนจะบรรจุแบตเตอรีขึ้นไปสูงสุดที่ 90% และจะเริ่มชาร์จต่อให้เต็ม 100% ในช่วงที่เราใกล้ตื่นนอนเป็นต้น

ทั้งนี้ เพื่อให้ตัวเครื่องนี้สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น โซนี่ เลือกนำระบบกันน้ำกันฝุ่น IP58/68 มาให้ใช้งาน เพียงแต่ต้องแน่ใจว่าปิดพอร์ตของช่องใส่ซิมให้แน่น เพื่อป้องกันน้ำเข้าเครื่อง ส่วนกระจกทั้งหน้า และหลังเลือกใช้ Gorilla Glass 6 ที่ให้ทั้งความแข็งแรง และสวยงาม

โหมดใช้งานที่น่าสนใจ

เมื่อตัวจอแสดงผลของ Xperia 1 II เป็นแบบจอยาว ทำให้ในการใช้งานโซนี่ ได้นำเสนอ Multi Mode มาให้ใช้งานแอปแบบ 2 หน้าจอ พร้อมกัน โดยผู้ใช้สามารถเลือกจับคู่แอปที่ต้องการใช้งาน และเซฟเก็บไว้เป็นคู่ที่ใช้งานบ่อยๆ ได้

โดยเมื่อแบ่งหน้าจอแล้ว ก็สามารถเลือกใช้งานได้ทั้งแนวตั้ง และแนวนอน หรือถ้าต้องการเลื่อนปิดก็สามารถกดที่แถบกลางระหว่างหน้าจอเพื่อเลื่อนปรับขนาด จนถึงสุดขอบจอเพื่อปิดได้ทันที

นอกจากนี้ เพื่อให้สั่งงานตัวเครื่องมือเดียวได้สะดวกขึ้น โซนี่ มีการเพิ่มฟีเจอร์อย่าง SideSense ขึ้นมา ให้ผู้ใช้แตะ หรือปัด บริเวณขอบจอเพื่อสั่งงานได้ อย่างการแตะขอบจอเพื่อเปิด MultiMode ชึ้นมาให้เลือกแอปที่ต้องการใช้งานได้ทันที

การออกแบบตัวเครื่อง

Sony Xperia 1 II ถือว่าเป็นสมาร์ทโฟนในรูปทรงยาว จากสัดส่วนจอแบบ 21:9 และยังมีการเว้นระยะขอบบนสำหรับกล้องหน้าด้วย ทำให้ขนาดตัวเครื่องโดยรวมอยู่ที่ 166 x 72 x 7.9 มิลลิเมตร น้ำหนัก 181 กรัม วางจำหน่ายด้วยกัน 2 สี คือดำ และม่วง

ด้านหน้านอกจากตัวจอขนาด 6.5 นิ้ว จะมีกล้องหน้าความละเอียด 8 ล้านพิกเซล 4f/2.0 ให้มุมมองภาพ 82 องศา อยู่ที่ขอบด้านบน ซึ่งยังไม่ได้ใช้กล้องหน้าแบบเจาะรู หรือรอยแหว่งแต่อย่างใด

ส่วนด้านหลัง จากกที่เลือกใช้กระจกทำให้ตัวเครื่องสวยงาม แต่ก็แลกมากับการที่เก็บรอยนิ้วมือได้ง่าย ทำให้เวลาใช้งานจะต้องเช็ดบ่อยๆ หรือเลือกใส่เคสใช้งานแทน โดยจะมีชุดเลนส์กล้องอยู่ที่ด้านบน ประกอบด้วยเลนส์ 12 ล้านพิกเซล ทั้ง 3 ระยะ โดยเลนส์หลัก 24 มม. มากับ f/1.7 70 มม. เป็น f.24 และ 16 มม. f/2.2 ซึ่งจะทำงานแยกจากกันอย่างชัดเจน

รอบๆ ตัวเครื่องทางฝั่งขวา นอกจากปุ่มปรับระดับเสียงแล้ว ยังมีปุ่มเปิด-ปิดเครื่อง ที่มาพร้อมกับเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือมาให้ใช้ ซึ่งโซนี่ ทำออกมาได้เป็นอย่างดี เพราะอยู่ในระยะที่จับถือตัวเครื่องอยู่แล้ว และยังมีปุ่มชัตเตอร์กล้องให้ใช้ด้วย

ทางฝั่งซ้ายจะมีช่องสำหรับใส่ซิมการ์ดแบบไฮบริด เลือกได้ว่าจะใส่ 2 นาโนซิม หรือใส่ซิมคู่กับไมโครเอสดีการ์ดได้สูงสุด 1 TB เพื่อให้สามารถเก็บภาพวิดีโอ 4K ได้อย่างเต็มที่

ด้านบนจะมีช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม. มาให้ใช้งาน สำหรับผู้ที่ชื่นชอบคุณภาพเสียงจากหูฟังแบบมีสาย ส่วนด้านล่างเป็นพอร์ต USB-C ใช้สำหรับชาร์จ เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ และใช้งานเป็น DisplayPort ร่วมกับอะเดปเตอร์ให้ความละเอียดสูงสุดที่ 4K 60fps

อุปกรณ์ที่ให้มาในกล่อง ประกอบไปด้วยตัวเครื่อง หูฟังแบบ In-Ears อะเดปเตอร์ชาร์จ และสาย USB-C ในกล่องไม่มีเข็มจิ้มซิมมาให้ เพราะเป็นพอร์ตแบบฝาปิดทำให้แกะได้เลย ส่วนที่เหลือก็จะเป็นคู่มือการใช้งาน

สเปก

ตัวเครื่อง Xperia 1 II ใช้งานหน่วยประมวลผล Qualcomm Snapdragon 865 5G ให้ RAM 8 GB พื้นที่เก็บข้อมูล 256 GB ทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 10 ที่เรียกได้ว่าแทบจะไม่มีการปรับแต่งเพิ่มเติม

ด้านการเชื่อมต่อตัวเครื่องรองรับถึง 5G แต่เป็นคลื่นความถี่มาตรฐานอย่าง 3500 MHz ที่ยังไม่เปิดประมูลในไทย และคลื่น 700 MHz ที่คาดว่าจะเริ่มให้บริการในไทยได้ช่วงต้นปี 2564 ที่เหลือทั้ง WiFi 6 บลูทูธ 5.1 ระบบระบุพิกัดอย่าง A-GNSS NFC ถือว่าให้มาครบถ้วน

ทดสอบประสิทธิภาพ

ในส่วนของการใช้งาน Xperia 1 II เรียกได้ว่า Snapdragon 865 ไม่ทำให้ผิดหวังอยู่แล้ว การเป็นเรือธงที่มากับซีพียูนี้ ทำให้มั่นใจในแง่ของการใช้งานได้อย่างแน่นอน

ในขณะที่การใช้งานแบตเตอรี ถือว่าทำออกมาได้ประทับใจ ด้วยการใช้งานต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 11 ชั่วโมง ที่สำคัญโซนี่ มากับโหมดประหยัดพลังงานอย่าง Stamina Mode ที่จะช่วยยืดระยะเวลาการใช้งานบนแบตเตอรีออกไปอีกในกรณีฉุกเฉินที่สามารถเปิดใช้ได้

สรุป

Sony Xperia 1 II ได้กลายมาเป็นแฟลกชิปสมาร์ทโฟนอีกรุ่นที่น่าสนใจในช่วงระดับราคา 35,990 บาท โดยเฉพาะผู้ที่ชื่นชอบในการถ่ายภาพ และบันทึกวิดีโอแบบโปร รุ่นนี้ไม่ทำให้ผิดหวังแน่นอน

รวมถึงผู้ที่ต้องการเครื่องประสิทธิภาพสูง ตัวเครื่องจับถือได้ถนัดมือ เพราะตัวเครื่องจะเล็ก ค่อนไปทางสูงแทน จากจอ 21:9 ที่ให้อรรถรสในเพื่อความบันเทิงได้อย่างเต็มที่รุ่นหนึ่งเลยก็ว่าได้

Gallery

]]>
Review : Sony WF1000XM3 หูฟัง TrueWireless เด่นที่ตัดเสียงรบกวนได้ https://cyberbiz.mgronline.com/review-sony-wf1000xm3/ Mon, 09 Sep 2019 04:17:57 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=31195

โซนี่ (Sony) กลับมาทำให้เห็นแล้วว่าการออกโปรดักส์ที่มีนวัตกรรม และจับกลุ่มเฉพาะ สามารถช่วยให้ได้รับความนิยม จนสินค้าขายตลาดในช่วงแรกที่วางจำหน่ายได้ กับหูฟังไร้สาย WF1000XM3 ซึ่งถือเป็นหูฟังแบบ True Wireless รุ่นแรกๆ ที่มากับระบบตัดเสียงรบกวน

ด้วยการนำจุดเด่นของหูฟัง True Wireless ที่มีขนาดเล็ก พกพาง่ายใส่ติดหู มาผสมกับเรื่องการตัดเสียงรบกวนที่โซนี่มุ่งพัฒนามาในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในกลุ่มหูฟังครอบหูตั้งแต่ยุคของ MDR1000X มาจนถึง WH1000X ที่ได้รับความนิยมต่อเนื่อง

ข้อดี

หูฟัง TrueWireless แบบ In-Ears พร้อมระบบตัดเสียงรบกวน

ใช้งานต่อเนื่องได้  5-6 ชั่วโมง ไม่รวมเคสชาร์จทำให้รวมแล้วได้ราว 24 ชั่วโมง

มีระบบ Adaptive Sound เลือกรับเสียงจากภายนอก หรือตัดเสียงรบกวน

สั่งงานสมาร์ทโฟนด้วยระบบเสียงได้ผ่านหูฟังทั้ง Siri และ Google Assistant

พอร์ตชาร์จเป็น USB-C และรองรับ NFC ให้เชื่อมต่อง่ายขึ้น

 

ข้อสังเกต

เคสชาร์จมีขนาดค่อนข้างใหญ่ทำให้พกติดตัวยาก

ปุ่มควบคุมแบบสัมผัสที่ค่อนข้างไว ทำให้บางทีจับหูฟังให้แน่นขึ้นกลายเป็นกดสั่งงาน

ถ้าต้องการปรับเสียงต้องสั่งที่อุปกรณ์เชื่อมต่อ หรือใช้ผู้ช่วยส่วนตัวปรับให้

ไม่เหมาะกับใส่ออกกำลัง เพราะตัวหูฟังไม่กันน้ำ

หูฟัง In-Ears ไร้สาย ตัดเสียงได้

ด้วยการที่โซนี่ ออกแบบหูฟังรุ่นนี้มาให้เป็นแบบ In-Ears ในลักษณะของ True Wireless คือใช้การเชื่อมต่อด้วยบลูทูธระหว่างหูฟังข้างซ้ายขวา กับดีไวซ์ต่างๆ ทำให้ลักษณะการใช้งานจะเน้นไปที่ความสะดวกในการพกพา และใส่ใช้งานเป็นหลัก

ขนาดของตัวหูฟังจึงมีขนาดเล็ก ที่ใส่ไปแล้วจะไม่รู้สึกหนักหู หรือทำให้ล้าเวลาใส่ใช้งานนานๆ ประกอบกับภายในกล่องมีขนาดของจุกยาง และจุกโฟมให้เลือกใช้ตามความต้องการ ดังนั้นใครที่มีปัญหาการใช้หูฟังแบบ In-Ears แล้วรู้สึกไม่สบายหู อาจจะต้องคิดภาพใหม่

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของตัวเคสใส่หูฟัง ที่เป็นที่ชาร์จในตัว มีพอร์ต USB-C สำหรับเสียบสายชาร์จ และมี NFC ให้สามารถนำสมาร์ทโฟนที่รองรับมาแสกนเพื่อเชื่อมต่อกับหูฟังได้ทันที เมื่อเปิดฝาขึ้นมาก็จะเจอกับหูฟังทั้ง 2 ข้างเสียบชาร์จอยู่

ที่ตัวหูฟังจะมีเซ็นเซอร์หลักๆ อยู่ 2 ส่วน คือบริเวณภายในไว้ใช้ตรวจจับการสวมใส่ของผู้ใช้ ทำให้เวลาใช้งานอยู่ ถ้าถอดหูฟังออกมา 1 ข้าง เพลงก็จะหยุด และถ้าใส่กลับเข้าไปเพลงก็เล่นต่อ โดยจะอยู่บริเวณที่ครอบพลาสติกสีข้างๆ จุกหูฟัง

กับเซ็นเซอร์รับสัมผัสในการสั่งงานที่อยู่ภายนอก บริเวณที่เป็นพลาสติกเป็นผิวเรียบๆ ทรงกลมๆ ที่สามารถแตะเพื่อสั่งงานแยกกันได้ทั้งหูซ้าย และหูขวา โดยผู้ใข้สามารถปรับตั้งค่าเพิ่มเติมได้จากแอปที่ติดตั้งบนสมาร์ทโฟน

การใช้งาน Sony WF1000M3

ในการใช้งาน Sony WF1000M3 เริ่มต้นขั้นแรกเลยคือทำการเชื่อมต่อ ถ้าใช้งาน Android ที่มีระบบ NFC สามารถนำสมาร์ทโฟนมาแตะบริเวณสัญลักษณ์ หลังจากที่เปิดฝาขึ้นมาเพื่อทำการเชื่อมต่อได้เลย

ส่วนถ้าเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆที่ไม่มี NFC จะต้องใส่หูฟังเข้าไปทั้งสองข้าง และแตะบริเวณเซ็นเซอร์ทั้ง 2 ข้าง ค้างไว้พร้อมๆ กัน เพื่อเข้าสู่โหมดการเชื่อมต่อ (Pairing Mode) จากนั้นก็เข้าไปเชื่อมต่อผ่านการตั้งค่า บลูทูธบนสมาร์ทโฟนได้ทันที

หลังจากเชื่อมต่อเสร็จ แนะนำให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Headphones ของทาง Sony มาติดตั้ง เพื่อใช้ควบคุม และดูสถานะต่างๆ ของหูฟัง ไม่ว่าจะเป็นเปอเซนต์แบตเตอรีที่เหลืออยู่ การอัปเดตเฟิร์มแวร์ของหูฟังต่างๆ จะทำผ่านแอปพลิเคชันนี้ทั้งหมด

นอกจากนี้ ภายในยังมีให้ตั้งโหมด Adaptive Sound Control ที่จะมีทั้งหมด 4 โหมดหลักๆ ด้วยกัน ตั้งแต่การใช้งานเมื่อนั่งอยู่กับที่ ขณะเดิน วิ่ง หรืออยู่บนรถโดยสาร เพื่อควบคุมการตัดเสียง (Noise Canceling) และเลือกรับเสียงจากภายนอก (Ambient Sound) ที่มีให้เลือกทั้งหมด 20 ระดับ

การทำงานของ Ambient Sound คือจะใช้ไมโครโฟนที่ติดตั้งอยู่บริเวณหูฟังรับเสียงจากภายนอก เพื่อทำให้เวลาที่ใส่หูฟังแล้วเดินอยู่บนถนน จะได้ยินเสียงรถ หรือบรรยากาศรอบๆตัว ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ หรือในกรณีที่ต้องการฟังเสียงคนที่มาพูดด้วยก็เปิดใช้โหมดนี้ได้

การสั่งงานระหว่างโหมดตัดเสียง และรับเสียงภายนอก ผู้ใช้สามารถนำนิ้วไปแตะที่หูฟังข้างซ้าย เพื่อสลับโหมดใช้งานได้ทันที และยังมีฟีเจอร์อย่างถ้าแตะนิ้วค้างไว้ที่หูฟังจะเป็นการเปิดฟังเสียงภายนอกในทันทีด้วย

ส่วนการแตะสั่งงานที่หูฟังทางขวาเบื้องต้นจะตั้งมาเป็นการควบคุมการเล่นเพลง แตะเพื่อหยุด และเล่นต่อ ถ้ากดค้างจะเป็นการเรียกใช้งานผู้ช่วยส่วนตัวอย่าง Siri และ Google Assistant ขึ้นมาให้สั่งงาน แต่ทั้งหมดนี้สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามการตั้งค่าภายในแอป

อีกจุดที่คิดว่าน่าสนใจ คือผู้ใช้เลือกได้ว่าอยากเน้นคุณภาพเสียง หรือความต่อเนื่องในการใช้งาน เพราะต้องรับรู้กันก่อนว่าเวลาใช้งานหูฟังแบบ True Wirless ปัญหาที่มักจะพบเจอกันคือเมื่อใช้งานภายในห้างสรรพสินค้า หรือสถานที่ที่มีคลื่นรบกวนเยอะๆ จะเกิดปัญหาหูฟังติดๆ ดับๆ

กับ Sony WF1000M3 ก็เจอปัญหานี้เช่นเดียวกัน แต่ดีที่มีโหมดให้สามารถเลือกได้ว่า ถ้าต้องการเน้นคุณภาพเสียงดีๆ ก็อาจจะเจอปัญหาดังกล่าว แต่ถ้าต้องการเชื่อมต่อให้สเถียรมากที่สุด ก็จะปรับลดคุณภาพเสียงลงเพื่อให้หูฟังเน้นการใช้งานที่ไม่กระตุก หรือติดๆ ดับๆ

ในจุดนี้ถือว่าโซนี่ พัฒนาออกมาได้ดี เพราะเมื่อทดลองใช้โหมดที่เน้นความสเถียรเดินใช้งานภายในห้างสรรพสินค้า ที่หูฟัง True Wireless รุ่นอื่นๆ เจอปัญหา แต่กับ Sony WF1000M3 ยังเชื่อมต่อได้ความสเถียรดี

สรุป

โซนี่ ทำการบ้านมาเป็นอย่างดีกับการออก Sony WF1000M3  เพราะในการใช้งานหูฟังแบบ True Wireless ผู้ใช้หลายๆ รายเวลานี้คือจะเจอปัญหาเรื่องเสียงรบกวนจากภายนอก ดังนั้นเมื่อนำนวัตกรรมที่โซนี่มีมาช่วย จึงทำให้ Sony WF1000M3 ได้รับความนิยม

ขณะเดียวกัน ด้วยราคาเปิดตัวที่ 8,990 บาท ในมุมหนึ่งถือว่าเป็นระดับราคาที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับหูฟังไร้สายจากแบรนด์มือถืออย่าง AirPods (6,500) Galaxy Buds (4,990) แต่ถ้าไปเทียบกับแบรนด์หูฟังในระดับเดียวกันอย่าง B&O Sennheiser หรือ Boss ในระดับหมื่นกว่าบาท กลายเป็นว่าโซนี่ทำราคาออกมาได้ค่อนข้างดีเลยทีเดียว

Gallery

]]>
Review : Sony Xperia XZ Premium สมาร์ทโฟนครบเครื่อง เด่นทั้งจอ เสียง เน็ตเวิร์ก และกล้อง https://cyberbiz.mgronline.com/review-sony-xperia-xz-premium/ Mon, 10 Jul 2017 07:07:19 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=26481

น่าสนใจว่าความโดดเด่นของ Sony Xperia XZ Premium จะกลับมาเรียกศรัทธาให้แก่สาวกอารยะธรรมโซนี่ ได้หรือไม่ เพราะด้วยการที่วางตัวเป็นแฟลกชิปสมาร์ทโฟนประจำปีนี้ XZ Premium จึงรับภาระหนักในการรุกตลาดไฮเอนด์ไปโดยปริยาย

ที่ผ่านมา โซนี่ ค่อนข้างจะโฟกัสในตลาดสมาร์ทโฟนระดับพรีเมียมเป็นหลัก และถือว่าทำได้ค่อนข้างดี แต่พอช่วงหลังๆมีการขยายไลน์สินค้าลงไประดับหมื่นบาทเพิ่มมากขึ้น แม้จะทำให้ไลน์สินค้ากว้างขึ้น ผู้บริโภคเข้าถึงได้ง่าย แต่ก็เจอกับปัญหาว่าในเมื่อสามารถหาเครื่องที่ให้ฟังก์ชันใกล้เคียงกันได้ในราคาต่ำกว่า จะเลือกรุ่นแฟลกชิปไปทำไม

โซนี่จึงได้เวลาคิดใหม่ทำใหม่ ด้วยการนำสุดยอดเทคโนโลยีที่มีทั้งด้านภาพ เสียง และกล้อง มารวมกับความสามารถในการประมวลผลของ Qualcomm Snapdragon 835 ที่ขึ้นชื่อว่าแรงที่สุดในเวลานี้ และรองรับการใข้งาน 4.5G ในไทยได้อย่างสมบูรณ์แบบ จนออกมาเป็น Sony Xperia XZ Premium ในทุกวันนี้

การออกแบบ

เอกลักษณ์ในการใช้ Omni Design ยังกลายเป็นจุดสำคัญของ XZ Premium ที่คราวนี้หันมาใช้ ตัวเครื่องโลหะ ผสมกับกระจกหน้าหลัง เพื่อสร้างให้เครื่องดูหรูหรามากขึ้น งานประกอบทำได้แข็งแรง แน่นหนา เมื่อสัมผัสแล้วจะรู้สึกถึงความพรีเมียมของตัวเครื่องอย่างแน่นอน

ในส่วนของขนาดตัวเครื่อง จะอยู่ที่ 156 x 77 x 7.9 มิลลิเมตร น้ำหนัก 191 กรัม มีให้เลือกด้วยกัน 2 สีคือ ดำ (Deepsea Black) และเงิน (Luminous Silver) เมื่อเทียบกันในท้องตลาดแล้ว XZ Premium จะมีขนาดใกล้เคียงกับ Samsung Galaxy S8+ แต่หน้าจอของ S8+ จะใหญ่กว่าที่ 6.4 นิ้ว

ส่วนหน้าจอของ Xperia XZ Premium จะอยู่ที่ 5.5 นิ้ว แต่ก็ชดเชยได้ด้วยความละเอียดหน้าจอที่โซนี่ อัดมาให้เต็มเป็นแบบ 4K HDR ซึ่งเรียกได้ว่าละเอียดที่สุดในตลาดเวลานี้ และโซนี่ก็ยังคงช่องว่างระหว่างขอบบน และขอบล่างเครื่องอยู่เช่นเดิม แต่ก็ถือเป็นข้อดี เพราะทำให้จับใช้งานถนัดมือมากขึ้น

ด้านหน้าขอบบนจะมีช่องลำโพงสนทนา อยู่กึ่งกลาง โดยมีการสกรีนแบรนด์ Sony อยู่ข้างล่าง ขนาบไปด้วยกล้องหน้าความละเอียด 13 ล้านพิกเซล ที่เป็นเลนส์มุมกว้าง f/2 ทำงานด้วยเซ็นเซอร์ Exmor RS 1/3.06” อีกฝั่งเป็นเซ็นเซอร์ตรวจจับใบหน้า วัดแสง

ส่วนไฟแจ้งสถานะต่างๆจะขยับไปอยู่ที่บริเวณขอบซ้าย ขอบล่างก็จะมีลำโพงอีกตัว เพื่อให้เสียงที่ออกมาเป็นแบบสเตอริโอ เมื่อใช้ดูภาพยนตร์ ในแนวนอน ซึ่งถือว่าโซนี่ยังรักษาคุณภาพของเสียงที่ออกจากลำโพงได้เป็นอย่างดี

ด้านหลังเนื่องจากหันมาใช้กระจกครอบทำให้ฝาหลังที่เป็นกระจก เมื่อไม่ได้ใส่เคสใช้งานจะเต็มไปด้วยรอยนิ้วมือได้ค่อนข้างง่าย ประกอบกับฝาหลังถูกปล่อยให้โล่งๆ มีการติดซับแบรนด์ Xperia อยู่ตรงกึ่งกลาง พร้อมสัญลักษณ์ NFC ภายในมีแบตเตอรีขนาด 3,230 mAh

ส่วนมุมซ้ายบนจะเป็นที่อยู่ของทีเด็ดอย่างหกล้องหลัง ที่โซนี่เลือกใช้เทคโนโลยี Motion Eye มาใช้งานเหมือนใน Xperia XZs ที่ออกมาก่อนหน้านี้ โดยจะเป็นกล้องความละเอียด 19 ล้านพิกเซล ที่ใช้เลนส์ G มาใช้งาน ให้รูรับแสง f/2.0 ตัวเซ็นเซอร์เป็น Exmor RS 1/2.3” ความละเอียดเม็ดพิกเซล 1.22 um พร้อมกับระบบโฟกัสแบบไฮบริดจ์ และไฟ LED

ด้านบนจะมีช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม. ให้เลือกใช้อยู่ ด้านล่างเป็นพอร์ต USB-C

ด้านซ้ายจะมีฝาปิดช่องใส่ซิมการ์ด และไมโครเอสดีการ์ด โดยแยกออกเป็น 2 ถาด ถาดแรกที่ถอดออกมาจะไว้ใส่ซิม 2 หรือเลือกใส่ไมโครเอสดีการ์ด ส่วนถาดซิมแรกจะอยู่ซ้อนเข้าไปด้านในอีก ด้านขวามีปุ่มปรับระดับเสียง ปุ่มเปิดปิดเครื่อง ที่เป็นเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือ สุดท้ายคือปุ่มชัตเตอร์กล้อง ที่ใช้เปิดโหมดกล้องได้ทันที

ที่น่าสนใจคือตัวเครื่องกันน้ำกันฝุ่น มาตรฐาน IP 65/68 เพียงแต่ต้องดูการปิดถอดซิมให้แนบสนิทมากที่สุด อุปกรณ์ที่ให้มาในกล่องจะประกอบไปด้วยตัวเครื่อง คู่มือการใช้งาน สาย USB-C อะเดปเตอร์ และหูฟังแบบ In-Ear

สเปก

ในส่วนของฮาร์ดแวร์ Xperia XZ Premium มากับหน่วยประมวลผล Qualcomm Snapdragon 835 ที่เป็น Octa-Core (Quad 2.45 GHz Kryo + Quad 1.9 GHz Kryo) หน่วยประมวลผลภาพ Adreno 540 RAM 4 GB พื้นที่เก็บข้อมูลภายในตัวเครื่อง 64 GB ทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 7.1.1

ด้านการเชื่อมต่อรองรับการใช้งาน 2 ซิม 2G/3G/4G โดยเฉพาะในระบบ 4G ที่ตัวเครื่องรองรับ LTE Cat 16 หรือ 4.5G ที่เอไอเอส และทรูมูฟ เอช ให้บริการอยู่ในเวลานี้ WiFi มาตรฐาน 802.11ac บลูทูธ 5.0 มี NFC GPS มาให้ครบถ้วน แต่ไม่มีวิทยุ FM

ฟีเจอร์เด่น

ความโดดเด่นของ Xperia XZ Premium แทบทั้งหมดจะมาจากฮาร์ดแวร์ที่ใส่มาให้เป็นหลัก ส่วนอินเตอร์เฟส และฟีเจอร์การใช้งานภายใน ถือเป็นส่วนเสริมที่ได้มาจากฮาร์ดแวร์เป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการแสดงผล XZ Premium เป็นสมาร์ทโฟนรุ่นแรกที่มีหน้าจอความละเอียดระดับ 4K

ผลที่ตามมาคือผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงคอนเทนต์ 4K ได้จากในเครื่อง ไม่ว่าจะเป็นการใช้งาน Youtube เพื่อรับชมไฟล์ความละเอียดสูง 4K ภาพที่ได้ออกมาเมื่อใช้คอนเทนต์ที่รองรับจะแสดงให้เห็นความแตกต่างในการใช้งานที่ชัดเจน

โดยถ้าไล่ดูก็จะมาจากการที่โซนี่นำเทคโนโลยีอย่างจอแสดงผล TRILUMINOS ระบบประมวลผลภาพ X-Reality พร้อมปรับการแสดงผลให้เป็นแบบ sRGB 138% ทำให้ภาพที่ได้ออกมาค่อนข้างสมจริง และให้สีสันทีสวยงาม

ถัดมาในแง่ของกล้อง Motion Eye ที่เคยพูดถึงกันไปแล้วใน Review : Sony Xpreria XZs สิ่งที่เพิ่มขึ้นมาใน XZ Premium คือระบบการถ่ายวิดีโอแบบ 4K ที่โซนี่พัฒนาขึ้นในรุ่นนี้อย่างชัดเจน แต่เดิมตัวเครื่องจะเกิดปัญหาความร้อนในการถ่ายวิดีโอทำให้ถ่ายได้ไม่เกิน 15-30 นาที แต่พอมาเป็น XZ Premium ทดลองถ่ายต่อเนื่องไปราว 1 ชั่วโมง ก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด

ส่วนในแง่ของภาพนิ่ง ด้วยการที่โซนี่เลือกใช้เลนส์มุมกว้าง (มาก) ทำให้ตอนนี้เกิดปัญหาขึ้นเล็กน้อยเมื่อถ่ายภาพในระยะใกล้ๆ ทำให้เกิดอาการภาพบิดเบี้ยว (Distortion) ซึ่งถือเป็นปัญหากับเลนส์มุมกว้างในกล้องโปรมาก่อน จนช่างภาพส่วนใหญ่เข้าใจถึงธรรมชาติดังกล่าวแล้ว

(เทียบให้เห็นระหว่าง XZ Premium กับ S8+ ว่าเมื่อถ่ายภาพใกล้ๆบริเวณขอบภาพจะโค้งๆ)

แต่พอมาเกิดในสมาร์ทโฟน ผู้ที่ไม่เคยมีความรู้เรื่องการถ่ายภาพมาก่อน อาจจะมองว่าเป็นปัญหาใหญ่ แต่เชื่อว่าเมื่อโซนี่ได้รับทราบปัญหาดังกล่าวแล้ว จะมีการออกเฟิร์มแวร์แก้ไขออกมาได้ไม่ยาก แน่นอนว่าปัญหาดังกล่าวจะไม่เกิดเมื่อถ่ายภาพในระยะไกล

ส่วนถ้าถามว่าคุณภาพของภาพนิ่ง Xperia XZ Premium ทำได้ดีแค่ไหน สามารถเข้าไปดูได้จากคอนเทนต์ก่อนหน้านี้อย่าง “เทียบกันยาวๆ ภาพจาก 4 สมาร์ทโฟนเรือธง” โดยรวมแล้วสีที่ได้จากกล้องของโซนี่จะสมจริงมากที่สุด เมื่อเทียบกับแบรนด์อื่นๆ

แต่ก็จะมีในส่วนของระบบถ่ายภาพแบบมือโปร ที่โซนี่ ตั้งมาให้ปรับได้แค่ความเร็วชัตเตอร์ระหว่าง 1/4000 – 1 วินาที ระบบโฟกัส ไวท์บาลานซ์ และปรับค่าชดเชยแสง (EV) เท่านั้น ถ้าต้องการตั้ง ISO ก็สามารถตั้งได้ตั้งแต่ 50-3200 แต่ไม่สามารถตั้งคู่กับชัตเตอร์สปีดได้

ส่วนการปรับตั้งค่าอื่นๆ ของกล้องถือว่ามีอิสระมาก ผู้ใช้สามารถเข้าไปปรับองศาเคลวินเพื่อคุมโทนสีของภาพได้ พร้อมกับเข้าไปเลือกคุณภาพของการบันทึกวิดีโอสโลว์โมชันว่าจะถ่ายแบบสโลว์ปกติ แล้วกดซ้ำเพื่ออัดซูเปอร์สโลว์โมชัน หรือจะเลือกถ่ายเป็นช็อตซูเปอร์สโลว์โมชันเลยก็ได้

ขณะที่การบันทึกวิดีโอ 4K ที่ให้สามารถ จะต้องเข้าไปเลือกที่โหมดถ่ายภาพ 4K แทน ไม่ได้อยู่กับโหมดถ่ายวิดีโอปกติ โดยผู้ใช้สามารถเลือกการเข้ารหัสไฟล์มาตรฐานให้เป็น .h264 หรือ .h265 ก็ได้ พร้อมความสามารถในการปรับสมดุลแสงให้เหมาะสม เลือกไวท์บาลานซ์ได้ปกติ

อีกจุดที่น่าสนใจคือเรื่องของการเชื่อมต่อบนเครือข่าย 4.5G ที่จะเห็นว่าตอนนี้ทั้งเอไอเอส และ ทรูมูฟ เอช เริ่มมีการโฆษณา เรื่องการรวมคลื่น และปรับปรุงอุปกรณ์ส่งสัญญาณให้ทันสมัยมากขึ้น Xperia XZ Premium ที่มากับโมเด็ม X16 LTE ของ Qualcomm จึงกลายเป็นรุ่นแรกที่รองรับสมบูรณ์แบบ (ไม่นับ U11 เพราะรุ่นที่ขายในไทย เป็นตัว RAM 6 GB ไม่ได้ใช้ชิปเซ็ต X16)

กล่าวคือถ้าเข้าไปอยู่ในพื้นที่ ที่มีการปล่อยสัญญาณ 4.5G 3CA (รวม 3 คลื่น 900 1800 2100 MHz มาให้ใช้งาน) พร้อมกับ 4×4 MIMO 256 qam (เทคโนโลยีที่ทำให้ตัวเครื่องสามารถรับสัญญาณพร้อมๆ 5 เท่ามาช่วยเพิ่มความแรงของคลื่น) โดยความเร็วที่ทำได้จะเกิน 200 Mbps ขึ้นไป

ในส่วนของระบบเสียง ที่ผ่านมาชื่อชั้นของโซนี่ ถือว่าเป็นผู้นำในการก้าวเข้าสู่เสียงระดับ Hi-Res อยู่แล้ว ดังนั้นการที่นำการสังเคราะห์เสียงดิจิตอลคุณภาพสูง (DSEE HX) มาใช้ ร่วมกับ Clear Audio+ และ Clear Bass ทำให้เสียงที่ได้ออกมาอยู่ในระดับสูง

อีกจุดที่พัฒนากันต่อของเสียงคือ การเชื่อมต่อแบบไร้สายผ่านบลูทูธที่ปัจจุบันก้าวเข้าสู่ยุคของ Bluetooth 5.0 แล้ว คุณภาพของการส่งผ่านสัญญาณไร้สาย ไปยังหูฟัง หรือเครื่องเล่นเพลงสามารถให้คุณภาพไม่แตกต่างจากการใช้สายเชื่อมต่อ ดังนั้นถ้ามีหูฟังบลูทูธ Hi-Res อยู่แล้วเอามาเชื่อมต่อฟังเพลงก็ได้รายละเอียดที่ครบถ้วน

ส่วนที่เหลือไม่ว่าจะเป็นแอปที่บันเดิลมาให้ในเครื่อง ระบบการตั้งค่าต่างๆ ยังคงยึดเอกลักษณ์ของโซนี่ จึงไม่ได้มีความแตกต่างจากเครื่องรุ่นก่อนๆมากนัก ดังนั้นผู้ที่เคยใช้งานสมาร์ทโฟนโซนี่มาก่อน พอมาใช้งานบนอินเตอร์เฟสของแอนดรอยด์ 7.1.1 ก็อาจจะมีการปรับตัวเพียงนิดเดียว แต่ที่เหลือเรียนรู้ได้ไม่ยาก

ทดสอบประสิทธิภาพ

Antutu Benchmark = 144,953 คะแนน
Quadrant Standard = 38,632
Multi-touch Test = 10 จุด

Geekbench 4
Single-Core = 1,784 คะแนน
Multi-Core = 5,529 คะแนน
Compute = 7,927 คะแนน

PassMark PerformanceTest
System = 12,568 คะแนน
CPU Tests = 232,048 คะแนน
Memory Tests = 13,975 คะแนน
Disk Tests = 67,829 คะแนน
2D Graphics Tests = 7,745 คะแนน
3D Graphics Tests = 3,294 คะแนน

PC Mark
Work 2.0 = 6,507 คะแนน
Computer Vision = 3,448 คะแนน
Storage = 4,181 คะแนน
Work = 7,883 คะแนน

3D Mark
Sling Shot Extreme Unlimited = 4,021 คะแนน
Sling Shot Unlimited = 4,987 คะแนน
Sling Shot Extreme = 3,108 คะแนน
Sling Shot = 3,685 คะแนน
Ice Storm Extreme = 13,509 คะแนน
Ice Storm Unlimited = 39,128 คะแนน
Ice Storm = 14,522 คะแนน

ส่วนการทดสอบแบตเตอรี่ แม้ว่า XZ Premium จะให้แบตมาที่ 3,230 mAh และมากับหน้าจอความละเอียดระดับ 4K แต่ถือว่าระบบบริหารจัดการแบตเตอรีทำได้ดี ทดสอบจาก PC Mark ใช้งานได้ต่อเนื่อง 7 ชั่วโมง 52 นาที ถือว่าอยู่ในระดับบนๆ ส่วนถ้าใช้งานปกติ ทั่วๆไป สามารถใช้ได้เกินวันสบายๆ

สรุป

ต้องยอมรับว่าการรอคอยของสาวกโซนี่ ที่ตั้งตารอสมาร์ทโฟนในตระกูล Xperia ที่ครบเครื่อง ถือว่าบรรลุเป้าหมายแล้ว กับความสามารถของ Xperia XZ Premium ที่ออกมาตอกย้ำการเป็นสมาร์ทโฟนที่ครบเครื่องในหลายๆด้าน

ที่สำคัญคือด้วยราคาเปิดตัวที่ 25,990 บาท เมื่อสมัครใช้แพกเกจพร้อมชำระค่าบริการล่วงหน้ากับโอเปอเรเตอร์ผู้บริโภคจะสามารถหาเครื่องมาใช้ได้ในราคา 19,990 บาท จึงนับได้ว่า Xperia XZ Premium ถือเป็นสมาร์ทโฟนที่คุ้มค่า กับประสิทธิภาพของตัวเครื่องที่ได้รับ

เพียงแต่ว่า ถ้าเป็นคนที่ชื่นชอบดีไซน์ของสมาร์ทโฟนที่ให้ความโฉบเฉี่ยวแหวกแนว และโหมดถ่ายโปรที่มีข้อจำกัดในการตั้งค่า Xperia XZ Premium อาจจะไม่ใช่ แต่ถ้ารับได้กับรูปทรง และขอบบนขอบล่างหน้าจอที่กินพื้นที่ไปสักหน่อย ก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในตลาดเวลานี้

ข้อดี

หน้าจอ 5.5 นิ้ว ความละเอียด 4K HDR
กล้อง Motion Eye ที่มากับการถ่ายภาพสโลว์โมชัน 960 fps
รองรับ 4.5G / บลูทูธ 5.0 / Wi-Fi 802.11ac
ระบบเสียง Hi-Res
ระบบบริหารจัดการแบตเตอรีที่ทำได้ดี ใช้งานเกิน 1 วันสบายๆ

ข้อสังเกต

ตัวเครื่องเป็นรอยนิ้วมือง่าย จากกระจกที่ใช้ทั้งหน้าหลัง
พื้นที่ขอบบนล่าง ที่ถูกเว้นว่างไว้
โหมดถ่ายภาพแบบ Pro ที่ตั้งสปีดชัตเตอร์ได้ต่ำสุด 1 วินาที และไม่สามารถปรับ ISO ได้

Gallery

]]>
Review : Sony Xperia XZs จุดเด่นที่ Motion Eye ถ่ายวิดีโอ Slow-Motion 960 fps https://cyberbiz.mgronline.com/review-sony-xperia-xzs/ Tue, 16 May 2017 22:16:05 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=26171

แม้ว่ามองไปในไลน์สินค้าของโซนี่แล้ว Xperia XZs อาจจะไม่ใช่รุ่นไฮเอนด์ที่สุดในช่วงนี้ เพราะมีคิวของ Xperia XZ Premium ที่รอจ่อคิวผลิต และนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยอยู่จากหน่วยประมวลผลที่สูงขึ้น แต่ Xperia XZs ก็ถือเป็นรุ่นระดับเรือธงที่พลาดไม่ได้ในช่วงนี้

ที่น่าสนใจอีกอย่างคือการที่จะบอกว่า Xperiz XZs เป็นสมาร์ทโฟนที่ถูกผลิตขึ้นในไทย หลังจากที่โซนี่มีการขยับขยายโรงงานการผลิตสินค้าให้ครอบคลุมมากขึ้น จากเดิมที่เน้นผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และกล้อง จนมาเป็นสมาร์ทโฟน แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของไทยเป็นอย่างดี

ในส่วนของจุดขายหลักของ Xperiz XZs นอกจากในเรื่องของดีไซน์ และขนาดที่จับถนัดมือ ก็จะเป็นในส่วนของความสามารถกล้องที่หลายๆแบรนด์ต่างนำเซ็นเซอร์กล้องของโซนี่ไปใช้งาน ดังนั้นใน XZs จึงได้เลือกใช้เซ็นเซอร์ที่ดีที่สุดของโซนี่ในเวลานี้ ที่มีจุดขายอย่างการถ่ายวิดีโอสโลว์โมชัน 960 เฟรมต่อวินาที

ขณะที่ในส่วนอื่นๆ ก็นำเทคโนโลยีของโซนี่มาใช้ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงผล (นำเทคโนโลยี Triluminos มาใช้) เรื่องของคุณภาพเสียง (Sony Hi-res) ทำให้เชื่อมือได้ว่าเสียงของไฟล์มัลติมีเดียคุณภาพสูงที่ออกจาก XZs ไม่แพ้การใช้งาน DAC (ตัวแปลงสัญญาณเสียง) ดีๆสักเครื่อง

การออกแบบ

โซนี่ยังคงยึดแนวทางในการออกแบบภายใต้คอนเซปต์แบบ Omni Design ที่เน้นตัวเครื่องเป็นสี่เหลี่ยม ทรงแท่ง ที่มีการลบขอบมุมออกให้ดูสวยงามขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็ถือเป็นจุดขายในตระกูล Xperia Z เสมอมา โดยมีขนาดที่ 146 x 72 x 8.1 มม. น้ำหนัก 161 กรัม มีให้เลือก 3 สี คือดำ ฟ้า และเงิน

ด้านหน้าหลักๆแล้วจะเป็นจอ Triluminos ขนาด 5.2 นิ้ว ความละเอียด Full HD (1920 x 1080 พิกเซล) ที่จะมีการเว้นขอบบนและล่าง เพื่อใส่ลำโพงสเตอริโอเข้ามาให้ใช้งานกัน (กรณีใช้งานแนวนอน) พร้อมกับกล้องหน้าความละเอียด 13 ล้านพิกเซล ที่แปลกคือมีการย้ายแถบ NFC มาอยู่บริเวณมุมซ้ายบนทางด้านหน้าแทน ส่วนปุ่มกด และปุ่มสัมผัสต่างๆ ถูกนำไปรวมไว้บนหน้าจอทั้งหมด

ด้านหลังด้วยการออกแบบที่เน้นความเรียบหรู ฝาหลังของ XZs ที่เป็นแบบดำเงา จึงเต็มไปด้วยรอยนิ้วมือเวลาจับใช้งาน โดยจะมีสัญลักษณ์ Sony สีเงินอยู่ตรงกึ่งกลาง และจุดเด่นของเครื่องอย่างกล้องความละเอียด 19 ล้านพิกเซล f/2.0 พร้อมไฟแฟลชแบบ Dual LED ภายในมีแบตเตอรีขนาด 2,900 mAh อยู่ไม่สามารถถอดเปลี่ยนได้

ด้านซ้ายจะมีช่องใส่ถาดซิม ที่ไม่จำเป็นต้องใช้เข็มจิ้ม สามารถใช้นิ้วดึงถาดออกมาได้ทันที ภายในจะเป็นถาดสำหรับใส่นาโนซิมการ์ด 2 ซิม (รองรับ 3G/4G) หรือเลือกใส่นาโนซิมการ์ด พร้อมกับไมโครเอสดีการ์ดสูงสุด 256 GB

ด้านขวายังคงมีเอกลักษณ์ของโซนี่ที่นำปุ่มกดเปิดปิดเครื่อง สีเงิน มาไว้ทางขวา พร้อมกับการเพิ่มเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือเข้าไป ทำให้เวลากดเปิดใช้งานจะเป็นการสแกนลายนิ้วมือไปในทันที ถัดลงมาเป็นปุ่มปรับระดับเสียง และปุ่มชัตเตอร์กล้อง (สามารถกดเพื่อเรียกใช้งานโหมดถ่ายภาพได้ทันที)

ด้านบนจะเป็นที่อยู่ของช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม. ซึ่งถือว่าเซอร์ไพรส์พอสมควรที่โซนี่ยังเลือกใช้พอร์ต 3.5 มม. ในขณะที่หลายๆแบรนด์เริ่มตัดพอร์ตดังกล่าวออกไป ด้านล่างโซนี่จะเลือกใช้พอร์ต USB-C มาใช้งานแทนที่ไมโครยูเอสบีแล้ว ทำให้รองรับการใช้งานต่างๆได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเสียบชาร์จ การเชื่อมต่อแบบ OTG และการต่อกับจอภาพให้สะดวกขึ้น

สำหรับอุปกรณ์ที่แถมมาให้ในกล่อง จะประกอบไปด้วยตัวเครื่อง Sony Xperia XZs อะเดปเตอร์ สาย USB-A to USB-C หูฟังแบบ In-Ear คู่มือการใช้งาน และใบรับประกัน ทั้งนี้ถ้าใครที่แกะกล่องแล้วหาสาย USB-C ไม่เจอ ให้ลองเปิดกล่องที่ซ้อนอยู่ภายในดีๆ จะเจอสายถูกม้วนเก็บอยู่

สเปก

ในส่วนของสเปกภายในของ Xperia XZs จะมากับหน่วยประมวลผล Qualcomm Snapdragon 820 ที่เป็น Quad-Core (Dual 2.15 GHz x Dual 1.5 GHz) RAM 4 GB พื้นที่เก็บข้อมูลภายในตัวเครื่อง 64 GB รองรับไมโครเอสดีการ์ดเพิ่มเติม 256 GB ทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 7.1

ด้านการเชื่อมต่อรองรับ 3G/4G ซิมที่ 2 สแตนบาย 3G ได้ โดยตัว 4G LTE ที่รองรับจะเป็น LTE CAT 11 ที่รองรับความเร็วในการดาวน์โหลดสูงสุด 600 Mbps จาก 3CA ส่วน Wi-Fi รองรับมาตรฐาน 802.11ac แบบ Dual-Band 2.4/5GHz พร้อม GPS/aGPS/Glonass บลูทูธ 4.2 และ NFC

ส่วนสเปกของกล้องจะใช้เซ็นเซอร์ภาพ Exmor RS ขนาด 1/ 2.3” ความละเอียดพิกเซล 1.22μm มีระบบคาดโฟกัสที่คาดเดาการณ์เคลื่อนไหว พร้อมระบบประมวลผลภาพ BIONZ รองรับ ISO สูงสุดที่ 12800 สำหรับภาพนิ่ง และ ISO 4000 สำหรับวิดีโอ ตัวเลนส์จะเป็น Sony G Lens 25 มม. กันสั่น 5 ทิศทาง

ฟีเจอร์เด่น

โซนี่ ถือเป็นอีกแบรนด์ที่มีการนำอินเตอร์เฟสมาครอบการทำงานของแอนดรอยด์ เพื่อสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัว และสร้างความคุ้นเคยให้กับเหล่าสาวกของอารยธรรมโซนี่ ที่เน้นในแง่ของคุณภาพการใช้งานของสินค้าเสมอมา

โดยจะยังคงรูปแบบของการมีหน้าหลักให้ผู้ใช้สามารถเลือกนำวิตเจ็ตต่างๆมาใส่ได้เหมือนเดิม ส่วนของแถบการแจ้งเตือนถูกทำให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น ด้วยไอค่อนลัดในการตั้งค่าที่สามารถลากมาใส่เพิ่มได้จนกลายเป็น 2 หน้า สำหรับการปิดการตั้งค่าต่างๆ

โซนี่ ยังมีการแยกหน้ารวมแอปฯออกมาให้เลือกใช้งานกัน โดยแอปที่บันเดิลมาให้ส่วนใหญ่จะเป็นกูเกิล เซอร์วิสต่างๆ พร้อมแอปการใช้งานทั่วๆไป ที่เพิ่มมาคือแอปจากค่ายโซนี่ ที่ไว้อำนวยความสะดวกลูกค้า อย่าง What’s News ไว้แนะนำข้อมูล และแอปที่น่าสนใจ โปรแกรมตัดต่อวิดีโอ และโปรแกรมวาดรูป

การใช้งานโทรศัพท์ เนื่องจากตัวเครื่องรองรับ 2 ซิมอยู่แล้ว ผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าจะตั้งเลขหมายใดในการโทร เลขหมายใดใช้ต่ออินเทอร์เน็ต อินเตอร์เฟสการใช้งานโทรศัพท์จะเน้นตัวเลขใหญ่กดง่าย การแสดงผลชื่อ เลขหมายชัดเจน มีไอค่อนให้เลือกเปิดลำโพง ปิดไมค์ พักสาย เพิ่มสายปกติ ส่วนกรณีสายเข้า จะใช้การลากเพื่อรับสาย ตัดสายเช่นเดิม

ส่วนของการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านเว็บเบราว์เซอร์ทำได้ตามมาตรฐาน เช่นเดียวกับการใช้งานโซเขียลมีเดียต่างๆ ที่รองรับครบถ้วน จากการที่ตัวเครื่องอยู่ในระดับไฮเอนด์อยู่แล้ว จึงไม่น่ากังวลในส่วนนี้เท่าใด

รวมถึงการมี PS4 Remote Play ติดตั้งมาให้ สำหรับผู้ที่มีเครื่องเกมคอนโซล PS4 ก็สามารถใช้เครื่อง XZs เป็นจอที่ 2 เชื่อมต่อกับจอยเกมผ่านบลูทูธ นำไปเล่นส่วนใดของบ้าน (เครือข่ายไวไฟเดียวกัน) ก็ได้ ถือว่าช่วยอำนวยความสะดวกไปอีกแบบ

อีกจุดขายที่หลังๆ โซนี่ ไม่ค่อยได้โฆษณาออกมาแล้วก็คือเรื่องของการกันน้ำ กันฝุ่นบนมาตรฐาน IP68 ที่สามารถกันน้ำลึก 1.5 เมตร ได้ไม่เกิน 30 นาที ซึ่งแน่นอนว่า ถ้าเป็นการใช้งานทั่วไป โดนละอองน้ำ ก็ไม่ต้องกังวลในการใช้งาน

นอกจากนี้ ยังมีการนำระบบ Machine Learning มาใช้งาน กับ Xperia Actions ที่จะเป็นระบบแบ่งช่วงเวลาในการใช้งานเครื่องอย่างตอนนอน ตอนทำงาน หรือเวลาเดินทางไปต่างประเทศ เพื่อให้ตัวเครื่องทำการตั้งค่าต่างๆแบบอัตโนมัติ

อย่างตอนนอนสามารถตั้งเวลาไว้ได้ว่าระหว่างช่วงกี่โมงถึงกี่โมง ให้ตัวเครื่องตั้งค่าอย่างไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นเปิดโหมดเครื่องบิน ตั้งโหมดห้ามรบกวน ปิดไฟแจ้งเตือน ปรับความสว่างหน้าจอต่ำสุด เปิดโหมดสั่น เปิดไวไฟ เปิดโหมดประหยัดพลังงานเป็นต้น

ส่วนของการจัดการข้อมูลต่างๆในตัวเครื่องจะมีโหมด Smart Cleaner ที่จะคอยล้างไฟล์ที่ไม่จำเป็นออกจากเครื่อง เพื่อทำให้เครื่องทำงานได้บนประสิทธิภาพสูงสุด เช่นเดียวกับแบตเตอรี จะมีโหมด Battery Care ที่เมื่อชาร์จไฟถึง 90% แล้วตัวเครื่องถูกเสียบชาร์จต่อค้างไว้ก็จะมีการคำนวนและปรับความเร็วในการชาร์จ

ขณะเดียวกัน Xperia XZs ยังมาพร้อมกับโหมดประหยัดพลังงานไม่ว่าจะเป็น STAMINA Mode ที่ช่วยยืดระยะเวลาการใช้งาน ด้วยการควบคุมการประมวลผลให้ทำงาน โดยใช้พลังงานน้อยลง และ Ultra STAMINA Mode ที่จะตัดการเชื่อมต่อ และปิดการทำงานแอปเบื้องหลัง เพื่อยืดเวลาการใช้แบตเตอรีออกไปอีก

อย่างที่กล่าวไปเบื้องต้นว่า ปกติโซนี่ จะเน้นการนำเทคโนโลยีทางด้านภาพ และเสียงในเครือมาใช้ ดังนั้นใน Xperia XZs จึงมีการนำเทคโนโลยีในการแสดงผลอย่าง รวมถึงจอภาพแบบ Triluminos และเทคโนโลยี X-Reality for mobile มาช่วย

ในส่วนของระบบเสียง Hi-Res ที่เครื่องรองรับ ก็ถอดแบบมาจากเครื่องเล่นเพลง โดยผู้ใช้สามารถเลือกโหมดการใช้งานได้ 2 รูปแบบ DSEE HX ที่จะใช้ซอฟต์แวร์อัปเกรดคุณภาพไฟล์ให้ดีขึ้น (ใช้ได้กับหูฟังมีสาย) และ Clear Audio+ ที่จะปรับค่าเสียงอัตโนมัติ หรือจะเลือกปรับตั้งเองก็ได้

สุดท้ายในส่วนของกล้อง Motion Eye ที่ใช้เทคโนโลยีล่าสุดของโซนี่ นอกจากในแง่คุณภาพของภาพนิ่งที่สามารถเก็บภาพในที่แสงน้อยได้ดีขึ้นแล้ว ยังมีอีกจุดคือเรื่องของการถ่ายวิดีโอต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระดับ 4K หรือ Full HD และที่สำคัญคือมาพร้อมกับระบบกันสั่น ทำให้สามารถถือเครื่องถ่ายวิดีโอได้นิ่ง จนเหมือนกับใช้ Gimble ช่วย

ประกอบกับการชูจุดเด่นในเรื่องของการถ่ายวิดีโอแบบ Slow Motion ที่จะมี 2 ระดับคือ การถ่าย Slow-Motion แบบปกติที่ และยังมีโหมด Super Slow Motion ที่จะใช้การถ่ายวิดีโอซ้อนด้วย Super Slow เข้าไปบางช่วงที่ 960 เฟรมต่อวินาที จนกลายเป็นสมาร์ทโฟนที่ถ่าย Slow-Motion ได้สูงที่สุดในเวลานี้

ทั้งนี้ ในการถ่ายวิดีโอแบบ Slow-Motion เมื่อถูกนำมาถ่ายภายในอาคาร หรือภายใต้แสงจากหลอดไฟ จะไม่ดีเท่าที่ควร เพราะกล้องจับภาพได้เร็วกว่าไฟในห้อง ภาพที่ออกมาจึงกลายเป็นเส้นๆ ดังนั้น การถ่าย Slow-Motion ควรถ่ายในภาวะแสงธรรมชาติเป็นหลัก

เบื้องต้น โซนี่ ใช้การโปรโมทวิดีโอ Slow-Motion จากช่างภาพอย่างทวีพงษ์ ประทุมวงษ์ ที่ได้นำ Xperia XZs ไปใช้ถ่ายภาพลูกสาวเล่นน้ำ สามารถรับชมได้จากวิดีโอด้านล่างนี้ ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงช่วงเวลา Super Slow-Motion จนหยุดหยดน้ำ หรือใบไม้ที่กระเด็นขึ้นมาได้

ส่วนการทดสอบกล้องถ่ายภาพ Motion Eye อย่างละเอียดจะมีการนำเสนอต่อไปในภายหลัง

ทดสอบประสิทธิภาพ

Antutu Benchmark = 111,901 คะแนน
Quadrant Standard = 27,371
Multi-touch Test = 10 จุด

PC Mark
Work 2.0 = 5,006 คะแนน
Computer Vision = 2,632 คะแนน
Storage Score = 2,713 คะแนน
Work = 6,790 คะแนน

3D Mark
Sling Shot Extreme Unlimited = 1,892 คะแนน
Sling Shot Unlimited = 2,461 คะแนน
Sling Shot Extreme = 2,051 คะแนน
Sling Shot = 2,371 คะแนน
Ice Storm Extreme = 12,341 คะแนน
Ice Storm Unlimited = 19,573 คะแนน
Ice Storm = 13,170 คะแนน

PassMark PerformanceTest
System = 5,649 คะแนน
CPU Tests = 22,549 คะแนน
Memory Tests = 3,784 คะแนน
Disk Tests = 51,989 คะแนน
2D Graphics Tests = 3,334 คะแนน
3D Graphics Tests = 2,090 คะแนน

Geekbench 4
Single-Core = 1,733 คะแนน
Multi-Core = 3,608 คะแนน
Compute = 5,958 คะแนน

ในส่วนของการเล่นเกม หรือใช้งานที่รีดประสิทธิภาพเครื่องหนักๆ อย่างการใช้ PS4 Remote Play ตัวเครื่องรองรับได้ลื่นไหลดี ไม่มีอาการกระตุกให้เห็น เพียงแต่ว่าแบตเตอรีก็จะหมดเร็วขึ้น ตามประเภทของการใช้งานเช่นเดียวกัน แต่ถ้าใช้งานทั่วๆไปถือว่าเป็นรุ่นที่แบตอึดพอสมควร

สรุป

Sony Xperia XZs ถือเป็นรุ่นที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่กำลังมองหาสมาร์ทโฟนที่กล้องถ่ายภาพสวยๆ ชอบถ่ายวิดีโอ เพราะให้มาทั้งระบบกันสั่น ถ่าย 4K ได้ แถมด้วย Super Slow Motion 960 fps เรียกได้ว่าครบเครื่องสำหรับการนำเทคโนโลยี Motion Eye มาใช้

ประกอบกับการที่ตัวเครื่องถูกออกแบบมากับหน้าจอขนาด 5.2 นิ้ว ทำให้ตัวเครื่องจับถือค่อนข้างง่าย จึงน่าจะเหมาะกับผู้ที่ไม่ต้องการสมาร์ทโฟนไฮเอนด์ที่หน้าจอใหญ่เกินไป ความสามารถโดยรวมครบถ้วน

อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่ได้กังวลในเรื่องของราคาว่า 21,990 บาท แพงเกินไป ก็จะแนะนำให้รอ Xperia XZ Premium ที่กำลังจ่อเข้าไทยดีกว่า เพราะ XZs จะใช้หน่วยประมวลผลที่เป็นแฟลกชิปของปีที่แล้ว มาอัปเกรดกล้องให้ดีขึ้นในรุ่นนี้ แต่ถ้าเป็น XZ Premium นอกจากได้กล้องรุ่นล่าสุดแล้ว ซีพียูก็จะเป็นรุ่นล่าสุดด้วยกับ Snadragon 835 ซึ่งแน่นอนว่าราคาจำหน่ายก็จะสูงขึ้นไปอีก

ข้อดี

การออกแบบเป็นเอกลักษณ์ของโซนี่
เทคโนโลยีกล้อง Motion Eye กับการถ่ายวิดีโอสโลว์โมชัน 960 fps
ขนาดตัวเครื่องจับถนัดมือ เซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือที่ปุ่มเปิดเครื่อง
ใส่เทคโนโลยีด้านภาพ และเสียงของโซนี่มาครบ

ข้อสังเกต

ซีพียูที่ใช้เป็นรุ่นไฮเอนด์ของปีที่แล้ว
ฝาหลังสีดำเป็นรอยนิ้วมือง่ายมาก
ราคาค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับสเปก (ยกเว้นกล้อง)

Gallery

]]>
Review : Sony RX100 V เด่นที่โฟกัสไว ถ่ายภาพเร็วที่สุดในโลก https://cyberbiz.mgronline.com/review-sony-rx100v/ Tue, 17 Jan 2017 09:16:07 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=25111

IMG_0673

ตระกูล RX100 จากโซนี่ถือเป็นการเปลี่ยนโลกกล้องพรีเมียมคอมแพกต์มาตั้งแต่รุ่นแรกจนมาถึงรุ่นปัจจุบัน (Mark IV) โดยจุดเด่นของกล้องตระกูลนี้คือเป็นกล้องคอมแพกต์ขนาดเล็ก (Cyber-shot) แต่ทรงประสิทธิภาพทั้งเรื่องเซ็นเซอร์รับภาพขนาดใหญ่และฟังก์ชันใช้งานครบครันตั้งแต่งานภาพนิ่งไปถึงวิดีโอ 4K ด้วยไฟล์คุณภาพสูงไม่ต่างจากกล้องโปร

มาถึงวันนี้โซนี่ก็พร้อมจะเปิดตัว RX100 Mark V (5) ต่อเนื่องจากรุ่น Mark IV ด้วยการปรับปรุงระบบออโต้โฟกัสและกลไกภายในจนได้ชื่อว่าเป็นกล้องคอมแพกต์ที่ถ่ายภาพได้เร็วสุดในโลก เอาใจทั้งขาสแนปและผู้กำลังมองหากล้องเล็กเพื่อใช้งานระดับโปร

การออกแบบและสเปก

IMG_0644

IMG_0652

Sony RX100 V เป็นกล้องคอมแพกต์ขนาดจิ๋ว โดยตัวกล้องมีขนาดแค่ฝ่ามือ น้ำหนักประมาณ 299 กรัม (ขนาดอ้วนกว่า RX100 IV เล็กน้อย แต่ก็ยังสามารถใส่กระเป๋ากางเกงได้เช่นเดิม) วัสดุภายนอกเป็นอะลูมิเนียมทั้งหมด แต่สเปกภายในเรียกได้ว่าจัดเต็มมากตั้งแต่เซ็นเซอร์รับภาพ Exmor RS CMOS ขนาด 1 นิ้ว หน่วยประมวลผลภาพ BIONZ X มี DRAM แปะด้านหลังเซ็นเซอร์เพื่อช่วยให้การส่งข้อมูลทำได้รวดเร็วขึ้น (โซนี่ขยาย DRAM ให้ใหญ่กว่า RX100 IV) ไปถึงความละเอียดภาพ 20.1 ล้านพิกเซล

ในส่วนความไวแสงรองรับ ISO 125-12,800 มี Multi-Frame NR ให้เลือกใช้ พร้อมระบบปรับ Dynamic Range อัตโนมัติ

IMG_0651

ด้านเลนส์ใช้ ZEISS Vario-Sonnar T* ชิ้นเลนส์ 10 ชิ้น เป็นซูมเลนส์ 2.9 เท่า ระยะเทียบกล้องฟูลเฟรมคือ 24-70 มิลลิเมตร พร้อมรูรับแสงกว้างสุด f1.8 ที่ระยะกว้างสุด ส่วนเมื่อซูมรูรับแสงกว้างสุดจะอยู่ที่ f2.8 (รูรับแสงแคบสุด f11) มาพร้อมฟิลเตอร์ลดแสง 3 สตอป และรองรับระบบ Clear Image Zoom 5.8 เท่า

IMG_0653

IMG_0659

IMG_0660

IMG_0662

ด้านหลังกล้องมาพร้อมหน้าจอไลฟ์วิวขนาด 3 นิ้วความละเอียด 1,228,800 จุด หน้าจอสามารถพับขึ้นได้ 180 องศา รองรับการเซลฟี ส่วนพับลงได้มากสุด 45 องศา

ด้านปุ่มคำสั่งต่างๆไม่แตกต่างจาก RX100 IV โดยบางปุ่มคำสั่งจะใช้สั่งงานได้สองคำสั่งพร้อมกัน ผู้ใช้งานครั้งแรกอาจเกิดความสับสนได้ต้องทำความเข้าใจก่อนใช้งาน

IMG_0674

นอกจากหน้าจอไลฟ์วิวแล้ว โซนี่ยังให้ช่องมองภาพอิเล็กทรอนิกส์แบบ OLED มาด้วย (EVF) โดยช่องมองภาพมีความละเอียด 2,359,296 จุด มาพร้อมสวิตซ์ปรับไดออปเตอร์ตั้งแต่ -4.0 ถึง +3.0m-1

IMG_0657

ด้านบนกล้องเหมือน RX100 IV ทุกสัดส่วนตั้งแต่ตำแหน่งไฟแฟลช ไมโครโฟนรับเสียงสเตอริโอ ไม่มี Hot Shoe ไปถึงปุ่มเปิดปิดและโหมดถ่ายภาพที่ไม่ต่างจากรุ่นก่อนหน้า

สามารถติดตามอ่านรีวิว Sony RX100 IV ได้โดย >กดที่นี่<

IMG_0670

ในส่วนวงแหวนบริเวณเลนส์กล้องสามารถหมุนแทนคำสั่งปรับรูรับแสง ชัตเตอร์สปีดหรือใช้แทนสวิตซ์ซูมภาพได้เมื่ออยู่ในโหมดถ่ายภาพแต่ละแบบ

IMG_0671

IMG_0672

ด้านไฟแฟลชหัวกล้องยังคงเอกลักษณ์เดิมคือเป็นก้านยกขึ้น ทำให้สามารถยิงแฟลชแนวตรงหรือใช้นิ้วดันให้ยิงสะท้อนกับเพดานได้

IMG_0680

มาดูสันเครื่องเริ่มจากขวาจะเป็นช่อง Multi (MicroUSB) สำหรับเชื่อมต่อสาย USB ชาร์จไฟ (รองรับการชาร์จกับพอร์ต USB 5V เช่น Power Bank) และเชื่อมต่อข้อมูลกับคอมพิวเตอร์ ถัดลงมาเป็น HDMI และสัญลักษณ์แสดงการรองรับ WiFi

IMG_0676

อีกด้านจะเป็นที่อยู่ของสวิตซ์เปิดช่องมองภาพ Finder ถัดลงมาเป็นช่องใส่สายคล้องข้อมือและสัญลักษณ์บอกตำแหน่งเซ็นเซอร์ NFC เพื่อใช้แตะเชื่อมต่อกับสมาร์ทดีไวซ์

IMG_0663

ด้านล่าง ตรงกลางเป็นช่องเชื่อมต่อกับขาตั้งกล้อง ซ้ายเป็นช่องใส่แบตเตอรี NP-BX1 และการ์ดความจำ ขวาสุดเป็นช่องลำโพง

ฟังก์ชันใช้งานและฟีเจอร์เด่น

afrx100v

ระบบออโต้โฟกัสปรับปรุงใหม่ครั้งแรกของกล้องคอมแพกต์ โดยในครั้งนี้โซนี่นำระบบออโต้โฟกัสจากมิร์เรอร์เลสมาใช้ในชื่อ “Fast Hybrid AF” 315 จุด ครอบคลุม 65% ของพื้นที่รับภาพบนเซ็นเซอร์ตัวใหม่ ทำให้ RX100 V สามารถจับโฟกัสได้เร็วสุด 0.05 วินาที รองรับ AF Lock on และ Eye AF สามารถโฟกัสติดตามวัตถุที่เคลื่อนไหวรวดเร็วไปถึงสามารถโฟกัสดวงตาและติดตามแบบต่อเนื่องได้เลย

24 fps Continuous Shooting เป็นจุดขายหลักของ RX100 V และเป็นครั้งแรกของโลกที่โซนี่ให้ผู้ใช้สามารถถ่ายภาพต่อเนื่องได้เร็วสุด (Hi) 24 เฟรมต่อวินาทีที่ความละเอียด 20.1 ล้านพิกเซล พร้อมบัฟเฟอร์ขนาดใหญ่จากการขยาย DRAM ทำให้การกดชัตเตอร์ค้างไว้หนึ่งครั้ง (เมื่ออยู่ในโหมดถ่ายภาพต่อเนื่อง) สามารถถ่ายภาพได้มากถึง 150-160 ภาพ

hfr-rx100v-long

HFR

HFR (High Frame Rate) หรือโหมดวิดีโอสโลโมชัน ถูกปรับปรุงเรื่องระยะเวลาในการถ่ายเพิ่มอีก 2 เท่าจาก RX100 IV โดยโหมด HFR สามารถเลือกความเร็วถ่ายได้ตั้งแต่ 250fps 500fps และ 1,000fps (PAL)

video-rx100v

มาถึงฟังก์ชันใช้งานทั่วไป ซึ่งจะเหมือนกับ RX100 IV โดยด้านคุณภาพไฟล์จะมีให้เลือกทั้ง JPEG, JPEG+RAW และ RAW สามารถถ่าย Dual Rec หรือระหว่างถ่ายวิดีโอสามารถกดชัตเตอร์ถ่ายภาพนิ่งได้ที่ความละเอียดสูงสุด 17 ล้านพิกเซล

ส่วนวิดีโอใช้ฟอร์แมต XAVC S ความละเอียด 4K 30fps และ 1080p ความเร็วสูงสุด 60fps พร้อมระบบป้องกันภาพสั่นไหว Intelligent Active ให้ผลลัพท์ไม่ต่างจากกันสั่น 5 แกนในมิร์เรอร์เลสโซนี่แต่อย่างใด (ลองรับชมได้จากคลิปวิดีโอด้านบน)

smartphone-rx100v

apps-sonyrx100

WiFi/NFC/Application มีให้เลือกใช้เช่นเดียวกับ RX100 IV พร้อม Smart Remote หรือรีโมทชัตเตอร์บนสมาร์ทโฟน รวมถึงสามารถติดตั้งแอปพลิเคชันเพิ่มเติมได้ด้วย

setup1-rx100v

setup2-rx100v

ส่วนผู้ใช้ที่ต้องการปรับแต่งปุ่มคำสั่งต่างๆด้วยตัวเอง RX100 V เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถปรับแต่งได้ตามความถนัดแทบจะทุกปุ่มคำสั่ง รวมถึงผู้ใช้งานวิดีโอ โซนี่ได้ใส่ Marker ไว้ให้ใช้งานด้วย เช่น ต้องการถ่ายวิดีโอที่อัตราส่วน 1.85:1 ก็สามารถเลือกใช้งานได้

mem-recall-rx100v

Memory recall (MR) ถือเป็นฟังก์ชันตอบสนองผู้ใช้มืออาชีพที่ชอบปรับค่ากล้องหลากหลายแนวและต้องการตั้งเป็นโปรไฟล์ไว้เพื่อความรวดเร็วในการเลือกใช้ โดย MR ใน RX100 V จะให้เราเลือกสร้างโปรไฟล์ได้มากสุด 3 โปรไฟล์

ทดสอบประสิทธิภาพและสรุป

rx100v-isotest

เริ่มจากการทดสอบความไวแสง(ISO)ช่วงต่างๆ สำหรับ RX100 V ให้ผลลัพท์ไม่ต่างจาก RX100 IV ตัวก่อนแต่อย่างใด นอยซ์ที่ค่าความไวแสงตั้งแต่ ISO100-12,800 ทำได้ดีมากสำหรับ JPEG ซึ่งก็สอดคล้องกับจุดประสงค์หลักที่โซนี่ต้องการให้ RX100 เป็นกล้องคอมแพกต์ใช้งานง่าย ใครถ่ายก็ได้ภาพคุณภาพสูงทั้งหมด

ส่วนถ้ามืออาชีพขึ้นมาและใช้งาน RAW เป็นหลัก RX100 V จะให้คุณภาพไฟล์ที่ดีเมื่อถ่ายด้วย ISO ไม่เกิน 3,200 ไม่ต่างจาก RX100 IV เช่นกัน

hi-speed-shoot-rx100v

DSC01712

คราวนี้มาดูสิ่งที่แตกต่างจาก RX100 IV กันบ้างก็คือเรื่องระบบออโต้โฟกัสและความรวดเร็วในการถ่ายภาพต่อเนื่อง 24 เฟรมต่อวินาที ถามว่าจำเป็นไหม สำหรับคนชอบถ่ายสแนปหรือสตรีทโฟโต้ 24fps ถือเป็นส่วนช่วยให้เรามีโอกาสได้ภาพที่ไม่หยุดนิ่งสูงขึ้น ยกตัวอย่างภาพนี้ทีมงานเดินสวนกับเด็ก 2 คนที่กำลังกึ่งเดินกึ่งวิ่งแบบรวดเร็วมาก ถ้าไม่มีระบบถ่ายภาพต่อเนื่อง 24fps อาจพลาดจังหวะที่ต้องการไป

DSC01605

1/400s : f4.5 : ISO125

หรือแม้แต่ภาพนี้ซับเจคที่เห็นทั้งหมดไม่หยุดนิ่ง แต่โหมดถ่ายภาพต่อเนื่อง 24fps ใน RX100 V ก็สามารถสแนปไว้ได้และหลังจากนั้นทีมงานค่อยมาเลือกภาพที่ดีที่สุดภายหลัง

DSC01015

1/160s : f5.6 : ISO125

DSC01034

1/80s : f2.8 : ISO320

DSC01162

1/160s : f2.8 : ISO250

DSC01234

1/160s : f1.8 : ISO125

DSC01251

1/500s : f4 : ISO125

DSC01267

1/100s : f6.3 : ISO125

DSC01720

1/40s : f5 : ISO125

ในส่วนการถ่ายภาพทั่วไป คุณภาพไฟล์ภาพไม่ต่างจาก RX100 IV อย่างชัดเจนนัก รวมถึงฟังก์ชันใช้งานต่างๆก็ยังเหมือนเดิม เรียกได้ว่า RX100 V เน้นเรื่องความรวดเร็วของระบบออโต้โฟกัสและการถ่ายภาพต่อเนื่องเป็นหลัก รวมถึงงานวิดีโอที่ได้รับผลจากการเปลี่ยนไปใช้โฟกัสแบบ Fast Hybrid AF 315 จุด พร้อม Lockon AF เต็มๆเพราะทำให้ระบบออโต้โฟกัสวิดีโอทำได้แม่นยำขึ้นกว่ารุ่นก่อนมาก โดยเฉพาะการโฟกัสติดตามวัตถุทำได้แม่นยำดี

ส่วนการใช้งานอื่นๆก็เรียกได้ว่าครอบคลุมทุกความต้องการของผู้ใช้แทบทั้งหมด ฟังก์ชันใช้งานมีให้เลือกมากมายเช่น วิดีโอ 4K, โปรไฟล์สี Slog, ถ่ายสโลโมชัน HFR ได้สูงถึง 1,000 เฟรมต่อวินาทีไปถึงการถ่ายภาพคร่อมแสง คร่อม White Balance ทำภาพ HDR และอื่นๆอีกมากมาย แน่นอนว่าก่อนใช้งานต้องเรียนรู้สักเล็กน้อย เนื่องจากตัว RX100 V ถูกออกแบบเมนูมาค่อนข้างซับซ้อนไปเสียหน่อย รวมถึงแบตเตอรีที่ไม่ทนทานนัก ใช้งานในหนึ่งวันหนักๆอาจต้องพกถึง 3-4 ก้อนเลยทีเดียว (แบตเตอรี 1 ก้อนชาร์จไฟเต็มสามารถถ่ายภาพได้ประมาณ 200-220 ภาพ ภาพยนตร์ประมาณครึ่งชั่วโมง)

อีกทั้งในส่วนของราคาค่าตัว RX100 V เปิดตัวมาค่อนข้างสูง 38,990 บาท ส่วน RX100 IV ลดลงเหลือ 29,990 บาท ถ้าผู้สนใจไม่ได้ต้องการสเปกออโต้โฟกัสและการถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็งสูง RX100 IV ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจไม่แพ้ Mark V เพราะถ้ามองเรื่องคุณภาพไฟล์ภาพอย่างเดียวแล้วเรียกว่าแทบไม่แตกต่างกันชัดเจนนัก

ข้อดี

– กล้องเล็กพกพาไปได้ทุกที่ ทุกเวลา
– ระบบออโต้โฟกัสใหม่ทำงานรวดเร็ว
– ถ่ายภาพต่อเนื่องเร็วสูงสุด 24 เฟรมต่อวินาที
– ฟังก์ชันใช้งานครอบคลุมทุกการใช้งานตั้งแต่ภาพนิ่งถึงวิดีโอ 4K ระดับภาพยนตร์

ข้อสังเกต

– ไม่มี Hot Shoe ไม่รองรับการต่อแฟลชภายนอก
– แบตเตอรีหมดเร็วมาก
– การจับถือไม่ถนัด อาจต้องพึ่งพาอุปกรณ์กริปเสริมภายนอก
– ไม่มีช่องเชื่อมต่อไมโครโฟนภายนอกทั้งที่สเปกวิดีโอถือว่าไฮเอนด์มาก

Gallery

]]>
Review : Sony Xperia XZ ท็อปสุดในตระกูล พร้อมกล้องใหม่ มีกันสั่น 5 แกน https://cyberbiz.mgronline.com/review-sony-xperia-xz/ Sat, 05 Nov 2016 04:33:50 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=24420

headxz

ครั้งที่แล้วทีมงานได้รีวิว Sony Xperia X Performance ไปแล้ว มาวันนี้โซนี่คลอดสมาร์ทโฟนตัวท็อปออกมาอีกหนึ่งรุ่นในชื่อ Sony Xperia XZ เพื่อหวังจัดเต็มเรื่องกล้องถ่ายภาพรวมถึงสเปกส่วนอื่นให้ถึงขีดสุดอีกครั้ง ด้วยดีไซน์ที่ปรับให้ลงตัวกว่าเดิมรวมถึงแบตเตอรีความจุเพิ่มขึ้น

waterresis-xz

การออกแบบ

PAO_2208

เริ่มจากตัวเครื่องยังคงเอกลักษณ์ของโซนี่คือตัวเครื่องมองแล้วสมดุลกันตั้งแต่หัวไปท้าย ขนาดตัวเครื่อง กว้าง 72 มิลลิเมตร ยาว 146 มิลลิเมตร หนา 8.1 มิลลิเมตร น้ำหนัก 161 กรัม พร้อมป้องกันน้ำและฝุ่นตามมาตรฐาน IP65/IP68 (ใช้งานกลางสายฝนและล้างน้ำก๊อกได้ แต่ไม่แนะนำให้นำเครื่องไปใช้งานใต้น้ำหรือลงน้ำทะเล เพราะถ้าได้รับความเสียหายประกันอาจไม่ครอบคลุม)

ด้านหน้า ใช้จอแสดงผล TRILUMINOS สำหรับมือถือ ขนาดหน้าจอถูกขยายจากรุ่น X Performance เป็น 5.2 นิ้วที่ความละเอียดเท่าเดิมคือ 1,920×1,080 พิกเซล ประกบ X-Reality for Mobile ในส่วนกระจกจอเป็น Corning Gorilla Glass เช่นเดิม

PAO_2247

ด้านกล้องถ่ายภาพด้านหน้าใช้เซ็นเซอร์ Exmor RS for Mobile ขนาด 1/3.06” ความละเอียดภาพ 13 ล้านพิกเซล รูรับแสง f2.0 ระยะเลนส์ 22 มิลลิเมตรพร้อมจัดเต็มความไวแสงที่รองรับสูงถึง ISO 6,400

PAO_2241

ในส่วนลำโพง ถูกติดตั้งอยู่บริเวณด้านบน (ใช้ร่วมกับลำโพงโทรศัพท์) 1 ตัว และด้านล่างหน้าจออีก 1 ตัว ให้เสียงแบบสเตอริโอ

PAO_2218

PAO_2213

มาดูด้าหลังตัวเครื่อง มีความพิเศษตรงที่ Xperia XZ ถูกออกแบบใหม่หมดให้มีความเรียบร้อย หรูหรามากขึ้นด้วยการเลือกใช้วัสดุโลหะ ALKALEIDO แบบมันวาว ขอบเครื่องเป็นเป็นโลหะ มีเหลี่ยมมุมปกป้องหน้าจอเป็นรอยเวลาคว่ำหน้าเครื่องลงบนโต๊ะ

PAO_2228

มาถึงกล้องถ่ายภาพหลัก ยังคงใช้ Exmor RS for Mobile ขนาดเซ็นเซอร์ 1/2.3” ประกบชิปประมวลผลภาพ BIONZ (รองรับความไวแสง ISO สูงสุด 12,800) ความละเอียดภาพอยู่ที่ 23 ล้านพิกเซลพร้อมระบบออโต้โฟกัส Predictive Hybrid Autofocus เลนส์ G ระยะ 24 มิลลิเมตร และไฟแฟลชแบบ LED เลือกใช้งานได้หลากหลาย

ในส่วนฟีเจอร์ที่เพิ่มเข้ามาเฉพาะ Xperia XZ เพื่อทำให้กล้องฉลาดกว่ารุ่นเดิม เริ่มตั้งแต่ส่วนแรก Laser Autofocus ที่โซนี่เพิ่มเข้ามาเพื่อช่วยให้การวัดระยะชัดทำได้แม่นยำมากขึ้น โดยเฉพาะในที่แสงน้อย คอนทราสต์ต่ำหรือการถ่ายย้อนแสง

ส่วนต่อไปได้แก่การฝัง RGBC-IR หรือเซ็นเซอร์วัดระดับสี เพื่อช่วยในการวัด คำนวณและสั่งให้ซอฟต์แวร์ปรับสีสันให้เหมือนที่ตาเห็น อีกทั้งตัวเซ็นเซอร์ยังมีอินฟาเรดช่วยตรวจจับสมดุลแสงขาว (White Balance) เพื่อทำให้โทนภาพมีความเป็นธรรมชาติ โดยเฉพาะในที่แสงน้อย RGBC-IR จะแสดงศักยภาพได้ดีที่สุด

PAO_2232

กลับมาดูพอร์ตเชื่อมต่อและปุ่มกดรอบตัวเครื่อง เริ่มจากด้านบน จะเป็นที่อยู่ของไมโครโฟนตัวที่ 2 และช่องหูฟัง 3.5 มิลลิเมตร

PAO_2231

ด้านล่าง เป็นช่องไมโครโฟนหลักและตรงกลางเป็นพอร์ต USB-C

PAO_2235

PAO_2249

ด้านซ้าย เป็นช่องถาดใส่ซิมการ์ดโทรศัพท์แบบ Nano Sim 1 ช่อง และช่องไฮบริดเลือกใส่ได้อย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างซิมการ์ดโทรศัพท์ (Nano Sim) ใช้งาน Dual Sim ได้ หรือใส่การ์ดความจำ MicroSD Card สูงสุด 256GB ก็ได้

PAO_2233

ด้านขวา เริ่มจากซ้ายของภาพเป็นปุ่มชัตเตอร์กล้อง (ระหว่างหน้าจอดับอยู่สามารถกดปุ่มนี้ค้างไว้เพื่อเข้าสู่โหมดกล้องได้ทันที) ถัดมาเป็นปุ่มเพิ่มลดเสียง และตรงกลางเป็นปุ่มเปิดปิดเครื่องพร้อมเซ็นเซอร์อ่านลายนิ้วมือ

สเปก

spec-xz

spec2-xz

Sony Xperia XZ ขับเคลื่อนด้วยซีพียู Qualcomm Snapdragon 820 Quad core 64 บิต ความเร็ว 2.15GHz พร้อมกราฟิก Adreno 530 ในส่วนแรมให้มา 3GB รอม 64GB (เหลือพื้นที่ให้ใช้จริงประมาณ 50GB) แบตเตอรีให้มา 2,900mAh รองรับระบบชาร์จไฟ Qnovo Adaptive Charging (ระบบสามารถตรวจสอบสภาพแบตเตอรีและปล่อยกระแสไฟอย่างเหมาะสม)

ในส่วนระบบปฏบัติการแอนดรอยด์เป็นรุ่น 6.0.1 (Marshmallow) รองรับการอัปเดตเป็นแอนดรอยด์ 7.0 (Nougat)

ด้านการรองรับเครือข่าย เริ่มจาก 2G/3G/4G LTE cat.9 รองรับทุกคลื่นความถี่ในประเทศไทย พร้อมรองรับ Carrier aggregation แบบ 3CA, Full NetCom 3.0 (เมื่อใช้โทรศัพท์ นอกจากซิมที่ 1 จะรองรับ 3G/4G ตามปกติอยู่แล้ว ซิมที่ 2 ยังสามารถใช้งานบนเครือข่าย 3G ได้จากเดิมจะใช้งานได้แค่ 2G เท่านั้น) นอกจากนั้นยังรองรับฟีเจอร์ VoLTE และ WiFi-calling ด้วย

สำหรับสเปกส่วนอื่นๆ Xperia XZ จะมาพร้อม WiFi มาตรฐาน 802.11 a/b/g/n/ac (รองรับ DLNA – Miracast – Google Cast) มี NFC (ติดตั้งอยู่ข้างกล้องหน้า) A-GNSS (GPS + GLONASS), บลูทูธเวอร์ชัน 4.2 และสุดท้าย Xperia XZ จะมาพร้อมชิปประมวลผลเสียง Hi-res Audio 24-bit/192kHz (LPCM, FLAC, ALAC, DSD) รวมถึงรองรับหูฟัง Hi-res แบบบลูทูธผ่่านเทคโนโลยี LDAC ด้วย

ยูสเซอร์อินเตอร์เฟสและฟีเจอร์เด่น

home-xz

set-xz

เริ่มจากยูสเซอร์อินเตอร์เฟสเป็นไปตามแบบฉบับของโซนี่ คือเน้นความเรียบง่ายและใช้งานได้รวดเร็วตามสมัยนิยม โดยส่วนของฟีเจอร์ซอฟต์แวร์ที่น่าสนใจเช่น one-touch tethering หรือการใช้ NFC แตะกับสมาร์ทโฟนที่รองรับระบบ One touch ก็จะสามารถแชร์อินเตอร์เน็ตได้ทันทีโดยไม่ต้องตั้งค่าให้วุ่นวาย เป็นต้น

headphone-xz

นอกจากนั้นด้วยการที่โซนี่เป็นหนึ่งในผู้นำด้านการฟังเพลงแบบ Hi-res Audio ใน Xperia XZ จึงมีออปชันให้ผู้ใช้สามารถปรับแต่งเสียงได้หลากหลาย ยิ่งใช้ร่วมกับหูฟังของโซนี่ด้วยแล้ว ระบบจะสามารถเรียนรู้และปรับแต่งเสียงหูฟังได้อย่างอัตโนมัติ

ps4-xz

ส่วนสาวกเกมคอนโซล Sony PlayStation 4 สมาร์ทโฟนรุ่นนี้รองรับการเชื่อมต่อกับ Play Station 4 เพื่อทำเป็นจอที่สองผ่านฟีเจอร์ PS4 Remote Play หรือ Second Screen

นอกจากนั้นจอยเกม DualShock 4 ยังสามารถนำมาใช้เล่นเกมบน Sony Xperia XZ ผ่านการเชื่อมต่อบลูทูธได้ด้วย

กล้องถ่ายภาพ

camera-xz

มาดูซอฟต์แวร์กล้องถ่ายภาพ โดยภาพรวมจะไม่แตกต่างจากเดิม ตัวกล้องเน้นโหมดอัตโนัมัติแบบอัจฉริยะเป็นค่าเริ่มต้น แต่ทั้งนี้โซนี่มีการปรับเพิ่มโหมด Manual ให้ผู้ใช้สามารถปรับค่ากล้องได้บางส่วน เช่น ความเร็วชัตเตอร์ ชดเชยแสง สมดุลแสงขาวและระบบโฟกัส รวมทั้งในส่วนของไฟแฟลช ก็สามารถปรับการใช้งานได้หลากหลายเช่นกัน

ทดสอบประสิทธิภาพ

benchmark-xz

bench2-xz

AnTuTu Benchmark = 143,040 คะแนน

PCMark Work 2.0 = 5,051 คะแนน

3DMark
Sling Shot using ES 3.1 = 2,468 คะแนน
Sling Shot using ES 3.0 = 3,156 คะแนน

PassMark PerformanceTest Mobile
System = 7,787 คะแนน
CPU Tests = 172,445 คะแนน
Disk Tests = 33,515 คะแนน
Memory Tests = 8,654 คะแนน
2D Graphics Test = 5,797 คะแนน
3D Graphics Tests = 1,913 คะแนน

Quadrant Standard Edition = 42,535 คะแนน

Vellamo
Multicore = 3,447 คะแนน
Metal = 3,455 คะแนน
Chrome Browser = 4,569 คะแนน

ในภาพรวมประสิทธิภาพที่ได้จะเหมือนกับ Sony Xperia X Performance ทุกส่วน เนื่องจากใช้สเปกเครื่องเดียวกัน เพราะฉะนั้นเรื่องการใช้งานและประสบการณ์ที่ได้รับจะไม่ต่างกัน ยกเว้นเรื่องงานออกแบบ การจับถือที่ Xperia XZ จะทำได้ดีกว่า หรูหรากว่า

battery-test-xz

ส่วนการทดสอบแบตเตอรี เห็นผลต่างชัดเจนเนื่องจาก Xperia XZ เพิ่มแบตเตอรีเป็น 2,900mAh โดยเวลาใช้งานจากแอปฯทดสอบ Geekbench (เปิดหน้าจอตลอดการทดสอบเทียบเท่าการรับชมวิดีโอต่อเนื่อง) อยู่ที่ 7 ชั่วโมง 59 นาที 10 วินาที และถ้านำมาคำนวณเป็นเวลาใช้งานในชีวิตประจำวันปกติจะอยู่ที่ประมาณ 13-14 ชั่วโมง ถือว่าใช้งานได้ตลอดทั้งวันแน่นอน

ทดสอบถ่ายภาพและวิดีโอกันสั่น 5 แกน

เริ่มจากภาพนิ่งจากกล้องหลังปรับปรุงใหม่เล็กน้อย แน่นอนว่า Xperia XZ มีระบบโฟกัสที่รวดเร็ว นุ่มนวล แม่นยำและสีที่สดใสกว่า X Performance โดยเฉพาะในที่แสงน้อยจะเห็นผลต่างชัดเจน แต่ในเรื่องคุณภาพไฟล์ภาพที่ได้ ทีมงานมองว่าไม่แตกต่างกันมากนัก ภาพจาก Xperia XZ และ X Performance ค่อนข้างถูกปรุงแต่งจากซอฟต์แวร์พอสมควร ทำให้ภาพไม่ค่อยเป็นธรรมชาตินัก อีกทั้งขอบเลนส์ระยะ 24 มิลลิเมตรยังมีอาการขอบเบลอให้เราได้สัมผัสอยู่เล็กน้อย

ในส่วนวิดีโอมาพร้อมกันสั่น SteadyShot 5 แกน จากตัวอย่างวิดีโอ ทีมงานทดลองถือโทรศัพท์มือเดียวและเดินถ่ายตามถนนหนทางไปเรื่อยๆ พบว่าระบบป้องกันภาพสั่นไหว 5 แกน (คาดว่าทำงานสอดประสานระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์) ช่วยให้ภาพที่ได้นิ่งมากรวมถึงออโต้โฟกัสที่ทำได้นุ่มนวลและโฟกัสได้รวดเร็วแม่นยำดี

แต่ก็ใช่ว่าวิดีโอที่ได้จะเคลียร์ใส 100% เพราะเวลามือเริ่มสั่นมากขึ้น ภาพที่ได้จะมีเริ่มอาการกระตุกและถ้าเคลื่อนไหวเร็วๆ ภาพจะไม่ค่อยลื่นไหลเหมือนอาการเฟรมเรตตก รวมถึงคุณภาพวิดีโอที่จัดอยู่ในระดับกลางเท่านั้น

สรุป

xzzzzzxx

สำหรับราคาเปิดตัว Sony Xperia XZ อยู่ที่ 23,990 บาท ต้องบอกว่าเป็นช่วงราคาที่เหมาะสมแล้วสำหรับไฮเอนด์สมาร์ทโฟนรุ่นนี้ ยิ่งเมื่อเทียบกับสิ่งที่ได้มา อย่างเช่นโหมดวิดีโอกับกันสั่น 5 แกนไม่เหมือนใครในตลาด ก็ถือว่ามีความน่าสนใจอยู่บ้าง แม้จุดขายอย่างกล้องถ่ายภาพที่โซนี่เน้นหนักใน Xperia XZ จะให้ผลลัพท์ที่ยังไม่ตื่นตาตื่นใจนัก แต่ภาพรวมทั้งหมดก็ถือว่า Xperia XZ ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกไฮเอนด์สมาร์ทโฟนที่ไม่ควรมองข้ามในปีนี้

ข้อดี

– วิดีโอพร้อมกันสั่น 5 แกน
– ตัวเครื่องออกแบบใหม่ ลงตัวและหรูหราขึ้น
– กล้อง Manual Mode ปรับค่ากล้องได้หลากหลายขึ้น
– แบตเตอรีอึดกว่าเดิม
– เป็นสมาร์ทโฟนไม่กี่รุ่นที่รองรับ Hi-res Audio เต็มระบบ

ข้อสังเกต

– เรื่องการกันน้ำ ตามเอกสารประชาสัมพันธ์ระบุไว้ว่ารุ่นนี้สามารถกันละอองน้ำ ในสภาพฝนตกหนักได้ (water resistant) แต่ไม่ได้ระบุว่าสามารถใช้งานใต้น้ำ (waterproof) ได้ แม้จะได้มาตรฐาน IP65/68 ก็ตาม

Gallery

]]>
Review : Sony Xperia XA Ultra เน้นจอใหญ่ ดีไซน์มีเอกลักษณ์ https://cyberbiz.mgronline.com/review-sony-xperia-xa-ultra/ Mon, 12 Sep 2016 06:18:08 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=23753

IMG_5791

การที่โซนี่ยังคงเลือก XA Ultra มาเจาะกลุ่มลูกค้าที่ต้องการสมาร์ทโฟนหน้าจอขนาดใหญ่ ที่ถือว่าเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการชัดเจนมากขึ้นในปัจจุบัน ถือเป็นอีกกลยุทธ์นอกเหนือไปจากที่มีการเพิ่มไลน์สินค้าในกลุ่ม Compact มาจับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการสมาร์ทโฟนขนาดหน้าจอไม่ใหญ่จนเกินไป

Screen-Shot-2559-09-10-at-3.02.42-PM

จุดเด่นหลักๆของ Sony XA Ultra คือหน้าจอขนาด 6 นิ้ว พร้อมกับอัดกล้องหน้ามาที่ความละเอียด 16 ล้านพิกเซล และกล้องหลัก 21 ล้านพิกเซล พร้อมเซ็นเซอร์จาก ExmorRS มาเป็นจุดขาย เรียกได้ว่าเป็นรุ่นที่รองลงมาจากตัวท็อปอย่าง Xperia Z5 ก็ว่าได้ นอกเหนือจากนี้ก็คือตัวเครื่องรองรับการใช้งาน 4G แบบ 2 ซิม (เลือกใช้ได้ซิมใดซิมหนึ่ง) ส่วนแบตเตอรีให้มาอยู่ที่ 2,700 mAh ก็ไม่ได้ถือว่าสูงมาก

การออกแบบ

Screen-Shot-2559-09-10-at-3.02.30-PM

โซนี่ยังคงเอกลักษณ์ในการออกแบบของสมาร์ทโฟนในตระกูล Xperia ไว้อย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับ XA Ultra ที่มีการออกแบบที่ไม่ต่างจากเดิม เพียงแต่ขยายขนาดให้ใหญ่ขึ้น ลดขนาดขอบจอให้แคบลงเพื่อให้จับถือได้ง่ายขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็ยังเว้นพื้นที่ในส่วนของขอบบน และล่างเพื่อให้มีพื้นที่ในการใส่เซ็นเซอร์เพิ่มเติม ส่งผลให้ขนาดของเครื่องโดยรวมอยู่ที่ 164 x 79 x 8.4 มิลลิเมตริ น้ำหนัก 202 กรัม วางจำหน่ายด้วยกัน 3 สี คือ ขาว ทอง และดำ

IMG_5795

ด้านหน้าสิ่งที่โดดเด่นขึ้นมามากที่สุดคงหนีไม่พ้นหน้าจอขนาด 6 นิ้ว ความละเอียด Full HD (1920 x 1080 พิกเซล) ที่โซนี่มีการนำเทคโนโลยี Mobile BRAVIA engine 2 และ Super Vivid มาช่วยเพิ่มสีสันให้สะดุดตามากยิ่งขึ้น โดยชอบบนของหน้าจอจะมีโลโก้โซนี่พาดอยู่กึ่งกลาง เหนือโลโก้เป็นช่องลำโพงทนา ขนาบข้างโลโก้ด้วยเซ็นเซอร์ตรวจจับใบหน้า ไฟแอลอีดีแสดวผล และกล้องหน้าความละเอียเ 16 ล้านพิกเซล พร้อมไฟแฟลช ที่สำคัญคือมากับระบบกันสั่นแบบ OIS ส่วนขอบล่างจะปล่อยว่างไว้

IMG_5794

ด้านหลังพื้นที่ส่วนใหญ่จะถูกปล่อยให้ว่างไว้กับฝาหลังที่ใช้วัสดุเป็นพลาสติกเพื่อไม่ให้น้ำหนักตัวเครื่องมากเกินไป โดยตรงกลางจะมีการสกรีนแบรนด์ Xperia ไว้ ส่วนที่มุมบนจะมีกล้องหลักความละเอียด 21.5 ล้านพิกเซล ที่ใช้เซ็นเซอร์รับภาพขนาด 1/2.4” เพื่อให้รับภาพได้ละเอียดมากยิ่งขึ้น พร้อมกับไฟแฟลช

IMG_5803IMG_5801ด้านบนจะมีช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม. และช่องไมโครโฟนตัวที่ 2 เพื่อรับเสียง และตัดเสียงรบกวน ด้านล่างมีพอร์ตไมโครยูเอสบีสำหรับเสียบสายชาร์จ ช่องลำโพง และไมโครโฟนสนทนา

IMG_5804IMG_5802ด้านซ้าย – จะมีเพียงฝาปิดช่องใส่ซิมการ์ด และไมโครเอสดีการ์ด โดยถาดใส่ซิมการ์ดจะเป็นแบบนาโนซิมแบบยาวถาดเดียวให้ใส่ 2 ซิมการ์ด ด้านขวาเป็นปุ่มเปิดปิดเครื่อง สีเงิน (เอกลักษณ์ของ Xperia) ปุ่มปรับระดับเสียง และชัตเตอร์กล้องถ่ายรูป (สามาถรกดค้างเพื่อเรียกใช้งานกล้องแบบด่วนได้)

สเปก

s11

<B>สำหรับสเปกภายในของ Xperia XA Ultra จะมากับ หน่วยประมวลผล MediaTek MT6755 Helio P10 Octa Core 2.0 GHz 64bit RAM 3 GB พื้นที่เก็บข้อมูลภายในตัวเครื่อง 16 GB รองรับไมโครเอสดีการ์ดสูงสุด 200 GB ทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอดย์ 6.0.1 (Marshmallow) แบตเตอรีภายใน 2,700 mAh รองรับ Quick Charge 3.0</B>

ด้านการเชื่อมต่อรองรับการใช้งาน 4G LTE Cat 4 ทั้ง 2 ซิม แต่ต้องสลับใช้งานระหว่าง 4G/3G/2G กับ 2G (ยังไม่เป็น Full NetCom 3.0) ซิมการ์ดเป็นแบบ นาโนซิม ส่วนการเชื่อมต่อพื้นฐานไวไฟ มาตรฐาน 802.11 a/b/g/n บลูทูธ 4.1 ระบบระบุพิกัด GPS, A-GPS รองรับ NFC

ฟีเจอร์เด่น

s01

โซนี่ยังคงคอนเซปต์ของอินเตอร์เฟสการใช้งานแบบเดิมกับรุ่นก่อนหน้า แม้ว่าจะมีการปรับเพิ่มให้รับกับการทำงานบนแอนดรอยด์ 6.0.1 เพิ่มขึ้นบ้างก็ตาม โดยในส่วนของหน้าจอหลักผู้ใช้งานสามารถเลือกจัดวางไอคอน วิตเจ็ตต่างๆได้ตามสะดวก ในส่วนของหน้าจอล็อกจะมีการแสดงผลนาฬิกาขนาดใหญ่ พร้อมการแจ้งเตือนต่างๆ และปุ่มลัดสำหรับเรียกใช้งานคำสั่งเสียง ปลดล็อก และเรียกใช้งานกล้องได้ทันที

หน้าจอการแจ้งเตือนสามารถเรียกใช้ได้จากการลากนิ้วลงจากขอบบนเช่นเดิม ซึ่งก็จะมีการแสดงผลปกติ เมื่อลากลงอีกครั้งจะเป็นการเรียกตั้งค่าด่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการปรับความสว่างหน้าจอ การเปิดปิดการเชื่อมต่อไวไฟ บลูทูธ เรียกใช้งานไฟฉาย เปิดโหมดเครื่องบิน การหมุนหน้าจอ ปล่อยฮ็อตสป็อต การใช้งานโมบายดาต้า เปิดโหมดห้ามรบกวน แน่นอนว่าตรงส่วนนี้ผู้ใช้สามารถเลือกปรับแต่งได้

s02

สำหรับหน้ารวมแอปพลิเคชันที่ติดตั้งมาให้ในเครื่อง โซนี่จะมีการรวมแอปที่มีการใช้งานเป็นประจำ และแอปแนะนำไว้ให้เลือกกดใช้งานได้ทันที ขณะที่เมื่อเลื่อนดูแอปฯที่ติดตั้งมาให้ในเครื่องก็จะเป็นแอปทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ ข้อความ รายชื่อ เบราว์เซอร์ เครื่องเล่นเพลง วิดีโอ อัลบัมภาพ รวมถึงแอปที่เป็นโซนี่เซอร์วิส และกูเกิล เซอร์วิส ให้เลือกใช้

s04

โดยแอปที่บันเดิลมาให้ในเครื่องของโซนี่หลักๆแล้วก็จะมี What’s News ที่เป็นแอปแนะนำแอปพลิเคชันที่น่าสนใจ โดยจะมีทั้งรูปแบบที่เป็นวิตเจ็ตบนหน้าจอหลัก และกดเข้าไปดูรายละเอียดภายในได้ กับแอปในการเชื่อมต่อ Play Station Store สำหรับผู้ที่เล่นเกมให้สามารถเชื่อมต่อสมาร์ทโฟนเข้ากับเครือข่ายได้ด้วย

s09

จุดเด่นลักที่โซนี่พยายามชูขึ้นมาในเครื่องรุ่นนี้คือกล้อง โดยอินเตอร์เฟสการใช้งานยังเน้นการใช้งานง่ายคือมีปุ่มชัตเตอร์ให้กดถ่ายภาพทางฝั่งขวา พร้อมปุ่มกดดูรูปในอัลบั้ม และเข้าสู่การตั้งค่า ส่วนฝั่งขวาเป็นการตั้งค่าด่วนอย่างการสลับกล้องหน้าหลัง และการเลือกโหมดถ่ายภาพแบบอัตโนมัติ ปรับเอง วิดีโอ เป็นต้น

s10

ในส่วนของการเลือกโหมดถ่ายภาพผู้ใช้สามารถเข้าไปดาวน์โหลดโหมดเพิ่มเติมได้จากในสโตร์ ส่วนการตั้งค่าก็จะเป็นรูปแบบการตั้งค่าทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นเวลาถ่ายภาพ ปรับสี ความสว่าง ความละเอียดภาพ ระบบโฟกัสอัตโนมัติ บันทึกพิกัดรูปถ่าย การแตะหน้าจอเพื่อถ่ายภาพ แสดงตาราง เลือกพื้นที่เก็บข้อมูลเป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ด้วยการที่โซนี่ให้กล้องหน้ามาถึง 16 ล้านพิกเซล พร้อมระบบกันสั่น OIS ทำให้เห็นได้ว่าโซนี่พยายามจะเน้นการใช้งานกล้องเซลฟี่เป็นหลัก เพราะในกล้องหลักแม้ว่าจะให้ความละเอียดมาถึง 21.5 ล้านพิกเซล แต่กลับไม่มีการใส่ระบบกันสั่นมาให้ ทำให้น่าแปลกใจไม่น้อย

s03

การใช้งานโหมดโทรศัพท์ มาพร้อมกับระบบคาดเดารายชื่อ กับอินเตอร์เฟสการใช้งานที่ดูโล่งสบายตา พร้อมปุ่มกดขนาดใหญ่ตามขนาดของหน้าจอ หน้าจอขณะสนทนาจะมีการแสดงชื่อ เบอร์ ระยะเวลารับสาย รูปภาพ พร้อมกับไอค่อนลัดสำหรับเปิดลำโพง ปิดเสียง เรียกปุ่มกด พักสาย และเพิ่มสายตามปกติ ส่วนหน้าจอรับสายจะใช้การลากปุ่มเพื่อรับสาย ตัดสาย

s05

หน้ารวมของการตั้งค่าจะแบ่งออกเป็น 5 ส่วนคือเรื่องของการเชื่อมต่อต่างๆ ที่เพิ่มจากทั่วไปคือการตั้งค่าซิมการ์ดเนื่องจากเครื่องรองรับการใช้งาน 2 ซิม การเลือกธีมและภาพพื้นหลัง การตั้งค่าอุปกรณ์อย่างการแสดงผล และระบบเสียงที่มีการนำเทคโนโลยีของโซนี่มาใส่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการบัญชีและบริการต่างๆ และการตั้งค่าระบบของเครื่อง

s06

ด้วยการที่ตัวเครื่องมีขนาดหน้าจอใหญ่ ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้ด้วยมือข้างเดียวได้ถนัดนัก ดังนั้นโซนี่จึงเพิ่มโหมดการใช้งานด้วยมือข้างเดียวมาให้ผู้ใช้สามารถเรียกด้วยการลากนิ้วจากมุมล่างเข้าหากลางจอ เพื่อปรับขนาดจอได้ตามต้องการ นอกจากนี้ ยังสามารถตั้งให้การแป้นข้อมูลบนแป้นคีย์บอร์ด ปุ่มกดตัวเลขมีขนาดเล็กลงให้สามารถใช้งานได้ด้วยมือข้างเดียวด้วย

s08s07

จากการที่ตัวเครื่องให้พื้นที่เก็บข้อมูลภายใน 16 GB ซึ่งจะเหลือพื้นที่ให้ใช้งานจริงราว 8 GB จึงมีการใส่โปรแกรมทำความสะอาดข้อมูลอัจฉริยะมาเพิ่มให้ผู้ใช้สามารถเคลียข้อมูลที่ไม่จำเป็นเพื่อเพิ่มพื้นที่การใช้งาน นอกจากนี้การที่ตัวเครื่องมีหน้าจอขนาดใหญ่แต่ให้แบตเตอรีมา 2,700 mAh ก็ต้องมีระบบประหยัดพลังงานมาให้เลือกใช้ ซึ่งจะช่วยยืดระยะเวลาใช้งานได้ยาวนานขึ้นด้วย

ทดสอบประสิทธิภาพ

s12

เมื่อทดสอบ ผ่านโปรแกรมทดสอบประสิทธิภาพบนแอนดรอยด์อย่าง Quadrant Standart และ Antutu ได้คะแนน 16,410 คะแนน และ 48,759 คะแนน ตามลำดับ หน้าจอรองรับการสัมผัส 10 จุดพร้อมกัน

s13

ทดสอบการใช้งาน HTML 5 ผ่าน Vellamo จากแอนดรอยด์เว็บวิวได้ 3,388 คะแนน โครมเบราว์เซอร์ 3,207 คะแนน ส่วนประสิทธิภาพตัวเครื่องได้ (Metal) 1,187 คะแนนMulticore 2,315 คะแนน คะแนน ส่วนโปรแกรม PCMark ในส่วนของ Work Performance ได้ 4,350 คะแนน 3D Mark ตัว Sling Shot ES3.1 ได้ 421 คะแนน Sling Shot ES3.0 ได้ 598 คะแนน Ice Storm Unlimited ได้ 11,087 คะแนน ส่วน Ice Storm Extreme 6,449 คะแนน และ Ice Storm 10,486 คะแนนทะลุ

น่าเสียดายที่ไม่สามารถทดสอบประสิทธิภาพบน GeekBench 3 ได้ เนื่องจากระหว่างที่ได้มาทดสอบทางเซิร์ฟเวอร์ของ Geek Bench มีปัญหาทำให้ไม่สามารถประมวลผลคะแนนของตัวเครื่องออกมาได้ ก่อนที่ปัจจุบัน Geek Bench ได้อัปเดตเวอร์ชันเป็น 4 แล้ว

ทั้งนี้ เมื่อทดสอบการใช้งานแบตเตอรีทั่วๆไป ต้องยอมรับว่าตัวเครื่อง Xperia XA Ultra มีการจัดการแบตเตอรีที่ดี เมื่อใช้งานทั่วๆไปสามารถอยู่ได้เกิน 1 วันสบายๆ แต่ถ้ามีการใช้งานหน่วยประมวลผลหนักๆ เปิดเครื่องใช้งานติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็ทำให้แบตเตอรีลดลงได้เร็วขึ้น ทำให้ไม่พอต่อการใช้งานครบวัน ดังนั้นก็ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมในการใช้งานเป็นหลักมากกว่า

สรุป

Sony Xperia XA Ultra ถือเป็นสมาร์ทโฟนหน้าจอขนาด 6 นิ้วอีกรุ่นที่มีความน่าสนใจ โดยเฉพาะถ้าชื่นชอบการออกแบบของโซนี่ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว พร้อมกับในแง่ของความสเถียรในการใช้งาน เพียงแต่น่าเสียดายที่ตัวเครื่องยังไม่รองรับ 2 ซิม แบบ Full NetCom 3.0 ทำให้ซิมที่ 2 ยังคงใช้งานได้เฉพาะ 2G เช่น เมื่อเทียบกับสมาร์ทโฟนในระดับใกล้เคียงกันของคู่แข่งรองรับแล้ว

แต่แน่นอนว่าถ้าไม่ได้ซีเรียสกับการใช้งาน 2 ซิม ก็ต้องยอมรับว่าประสิทธิภาพโดยรวมของ Xpria XA Ultra ถือว่าสูงเพียงพอใช้งานอย่างแน่นอน ในสมาร์ทโฟนระดับราคาหมื่นกลางๆ เพราะตัวเครื่องรองรับ 4G LTE อยู่แล้ว ยิ่งมากับกล้องความละเอียด 21.5/16 ล้านพิกเซล ทำให้เหมาะกับผู้ที่ชื่นชอบการถ่ายภาพด้วยเช่นเดียวกัน

Gallery

]]>
Review : Sony Xperia X Performance เด่นที่กล้องหลังฉลาด สเปกแรง https://cyberbiz.mgronline.com/review-sony-xperia-x-performance/ Thu, 04 Aug 2016 09:39:58 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=23318

Sony Xperia X ถือเป็นตำนานไฮเอนด์สมาร์ทโฟนครั้งใหม่จากโซนี่ที่ประเดิมเปิดตัวมากถึง 4 รุ่นครอบคลุมตลาดตั้งแต่ราคาประหยัดจนถึงไฮเอนด์ ได้แก่ Xperia XA, Xperia XA Ultra, Xperia X และท็อปสุด Xperia X Performance

นอกจากนั้น ในครั้งนี้ Sony Xperia X ทุกรุ่นยังถูกปรับเปลี่ยนแนวคิดการออกแบบใหม่ทั้งหมด จากเดิมใน Xperia Z-Series จะโดดเด่นเรื่องกันน้ำ แต่ในตระกูล X โซนี่จะปรับเปลี่ยนไปเน้นหนักในเรื่องกล้องถ่ายภาพ การออกแบบและแบตเตอรีซึ่งถือเป็นหัวใจของสมาร์ทโฟนยุคนี้มากกว่าส่วนอื่นใด

โดยในวันนี้ทีมงานไซเบอร์บิซได้รับ Sony Xperia X Performance รุ่นท็อปสุดมารีวิวให้ชมกันครับ

การออกแบบและสเปก

เริ่มจากด้านรูปทรง การออกแบบหลักๆยังคงเอกลักษณ์โซนี่ไว้ชัดเจน ตั้งแต่การวางเลย์เอาท์ให้สมมาตรกันทุกส่วน ตัวเครื่องมีขนาดกว้างxยาว 70.5×143.7 มิลลิเมตร หนา 8.6 มิลลิเมตร น้ำหนักอยู่ที่ 165 กรัม

หน้าจอเป็น Triluminos display มีขนาด 5 นิ้วความละเอียด 1,920×1,080 พิกเซล ได้รับการออกแบบใหม่เป็นกระจก 2.5D ขอบจอมีความโค้งมนเล็กน้อยตามสมัยนิยม เพื่อการจับถือที่ถนัดมากขึ้น พาเนลจอเป็น IPS พร้อมขับเคลื่อนด้วย X-Reality for Mobile เหมือน Xperia รุ่นก่อนหน้า

ในส่วนกล้องหน้า โซนี่ปรับปรุงใหม่หมดตั้งแต่ความละเอียดภาพสูงสุดที่ 13 ล้านพิกเซลรวมถึงเซ็นเซอร์รับภาพกล้องหน้าที่ปรับให้ไวต่อแสง สามารถถ่ายในที่แสงน้อยได้ดีขึ้น

มาถึงส่วนของลำโพงภายในตัวเครื่อง โซนี่ยังคงเลือกติดตั้งไว้ที่ด้านหน้าบริเวณเดียวกับลำโพงสนทนาและด้านล่างของจอ โดยเมื่อผู้ใช้รับชมวิดีโอในแนวนอน ลำโพงทั้งสองจะทำหน้าที่เป็นลำโพงสเตอริโอซ้ายขวา

พลิกเครื่องดูด้านหลังกันบ้าง สำหรับ Xperia X Performance โซนี่เลือกใช้โลหะ (รุ่นเล็กสุด XA เป็นพลาสติก) ชิ้นเดียวแทนที่กระจกแบบเดิม พร้อมผิวสัมผัสแบบขัดหยาบ ซึ่งช่วยเรื่องการจับถือ ไม่ลื่นหลุดจากมือง่าย อีกทั้งยังได้ความแข็งแรงเพิ่มขึ้นด้วย

ด้านกล้องถ่ายภาพหลักด้านหลัง โซนี่ปรับเปลี่ยนใหม่หมดเฉกเช่นเดียวกับกล้องหน้า ตั้งแต่ความละเอียดภาพ 23 ล้านพิกเซล เลนส์ G รูรับแสง F2.0 เซ็นเซอร์รับภาพใช้ Exmor RS for Mobile ขนาด 1/2.3” รุ่นอัปเกรดประสิทธิภาพ รองรับการถ่ายในที่แสงน้อยด้วยค่าความไวแสงสูงสุด ISO 3,200-12,800 พร้อมระบบซูมดิจิตอลแบบ Clear Image Zoom 5x เฉกเช่นเดียวกับ Xperia ทุกรุ่น

ถัดลงมาจากกล้องถ่ายภาพเป็นไฟแฟลช LED ตรงกลางเป็นโลโก้ XPERIA

มาดูปุ่มกดและพอร์ตเชื่อมต่อรอบตัวเครื่อง เริ่มจากด้านซ้ายของเครื่องจะเป็นช่องใส่ซิมการ์ดโทรศัพท์แบบ Nano Sim รองรับ 2 ซิม (Dual Sim) โดยช่องใส่ซิมที่ 2 จะแชร์กับช่อง MicroSD Card (รองรับความจุสูงสุด 200GB)

อีกด้าน ตรงกลางจะเป็นปุ่มเปิดปิดเครื่องที่ฝังเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือมาให้ด้วย ถัดลงมาด้านล่างจะเป็นปุ่มเพิ่มลดเสียง และสุดท้ายปุ่มชัตเตอร์กล้อง (หน้าจอปิดอยู่ กดปุ่มนี้ค้างไว้จะเรียกใช้งานกล้องได้อย่างรวดเร็ว)

ส่วนด้านบน ตรงกลางเป็นช่องไมโครโฟนรับเสียงตัวที่สอง มุมเครื่องด้านขวาของภาพจะเป็นช่องใส่หูฟัง 3.5 มิลลิเมตร

ด้านล่าง ตรงกลางเป็นช่อง MicroUSB 2.0 รองรับระบบชาร์จไฟเร็ว Quick Charge 2.0 และไมโครโฟนตัวหลักสำหรับรับเสียงสนทนาโทรศัพท์

spec-sonyx

มาถึงส่วนของสเปกภายใน Sony Xperia X Performance ซึ่งชื่อรุ่นบอกอยู่แล้วว่าเน้นประสิทธิภาพ โซนี่จึงเลือกใช้ซีพียูที่มาแรงสุดของตลาดตอนนี้กับ Qualcomm Snapdragon 820 Quad-cores 64 บิต แบ่งเป็น 2 คอร์แรกความเร็ว 2.15GHz ส่วน 2 คอร์หลังมาพร้อมความเร็ว 1.6GHz กราฟิก Adreno 530 แรมให้มา 3GB หน่วยเก็บข้อมูลภายในให้มาเริ่มต้น 32GB เหลือใช้งานจริงประมาณ 15.90GB ระบบปฏิบัติการที่ติดตั้งมากับเครื่อง แอนดรอยด์ 6.0.1 Marshmallow

ด้านสเปกการเชื่อมต่อเครือข่ายโทรศัพท์ ซิมการ์ดที่ 1 จะรองรับการเชื่อมต่อ 4G LTE Cat 9/3G/2G ทุกคลื่นความถี่ที่มีในไทย พร้อมรองรับ Carrier aggregation แบบ 3CA และ Full NetCom 3.0 (เมื่อใช้โทรศัพท์ นอกจากซิมที่ 1 จะรองรับ 3G/4G ตามปกติอยู่แล้ว ซิมที่ 2 ยังสามารถใช้งานบนเครือข่าย 3G ได้จากเดิมจะใช้งานได้แค่ 2G เท่านั้น)

ในส่วนการเชื่อมต่อ WiFi รองรับมาตรฐาน a/b/g/n/ac Dual Band, รองรับ WiFi Direct DLNA บลูทูธ 4.2 GPS รองรับ GLONASS/BDS, NFC ถูกเปลี่ยนตำแหน่งไปอยู่ด้านหน้าซ้ายบนใกล้กับกล้องหน้า ส่วนแบตเตอรีให้ความจุมา 2,700 mAh

ซอฟต์แวร์และฟีเจอร์เด่น

home-sonyx

home2-sonyx

เริ่มจากยูสเซอร์อินเตอร์เฟส โซนี่ได้ปรับปรุงใหม่ตั้งแต่การดีไซน์ให้มีความลงตัวกว่าเดิม และที่เห็นได้ชัดคือความลื่นไหลของเอฟเฟ็กต์ต่างๆ รวมถึงแอปพลิเคชันจากโรงงานที่ปรับให้มาอย่างพอดี ส่วนธีมโซนี่ยังอนุญาตให้ผู้ใช้ปรับแต่งได้ตามต้องการเช่นเดิม

oapps-sonyx

oapps2-sonyx

ในส่วน Xperia Apps เช่น Lounge, PS4 Remote (โคลนเครื่องเกม Play Station 4 จากที่บ้านมาเล่นบน Xperia X ได้), Smart cleaner, AVG Anti Virus ยังคงมีให้เลือกใช้งานตามเดิม แต่จะมีการอัปเดตหน้าตาและการใช้งานให้น่าใช้มากยิ่งขึ้น

setup-sonyx

feat-xperiax

Hi-Res Audio Support – ในครั้งนี้โซนี่จัดเต็มให้ Xperia X มาพร้อมชิปประมวลผลเสียงภายในแบบเดียวกับเครื่องเล่นเพลงคุณภาพสูงของโซนี่ ซึ่งรองรับการถอดรหัสไฟล์เพลงคุณภาพสูงทุกรูปแบบตั้งแต่ LPCM, FLAC, ALAC, DSD อีกทั้งยังรองรับ LDAC แบบ 24 บิต รวมถึงรองรับระบบหูฟังไร้สายที่ออกแบบมาเพื่อ Hi-Fi Audio และหูฟังที่มีเทคโนโลยีตัดเสียงรบกวน Digital NC ด้วย

fingerprint-sonyx

Fingerprint Scan – ใน Xperia X เซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือจะเป็นแบบสัมผัสและระบบอ่านนิ้วมือจะเป็นไปตามมาตรฐานของกูเกิล โดยเซ็นเซอร์จะติดตั้งอยู่บริเวณปุ่มเปิดปิดเครื่อง

swiftkeys-sonyx

ในส่วนคีย์บอร์ด โซนี่เลือกใช้ SwiftKey รองรับภาษาไทยและผู้ใช้สามารถปรับแต่งธีมคีย์บอร์ด กำหนดขนาด เลย์เอาท์ได้ตามต้องการ

lifelog-sonyx

สุดท้ายกับแอปฯตรวจวัดก้าวเดินและการใช้ชีวิตของเราในแต่ละวันกับ Lifelog ที่โซนี่ปรับปรุงหน้าตาให้สอดคล้องกับ UI ของ Xperia X รวมถึงด้านประสิทธิภาพได้ปรับปรุงให้เสถียรมากขึ้น บริโภคแบตเตอรีสมาร์ทโฟนน้อยลง อีกทั้งถ้าผู้ใช้มีอุปกรณ์วัดอัตราการเต้นของหัวใจก็สามารถซิงค์กับ Lifelog ได้ด้วย

กล้องถ่ายภาพ

camera-sonyx

camera2-sonyx

กล้องถ่ายภาพเป็นส่วนที่โซนี่เน้นมากสุดสำหรับ Xperia X ทุกรุ่น โดยนอกจากความละเอียด 23 ล้านพิกเซล กล้องพร้อมใช้ใน 0.6 วินาที สำหรับภาพนิ่ง สิ่งที่เห็นชัดเจนสุดคงเป็นโหมดอัตโนมัติที่ฉลาด ระบบคิดเปลี่ยนซีนโหมดแบบอัตโนมัติได้รวดเร็ว แม่นยำขึ้น ส่วน Manual Mode ไม่มีความโดดเด่นใดๆ เพราะระบบเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ปรับได้แค่ชดเชยแสง White Balance (ไม่มี RAW File ให้เลือกใช้เช่นเดิม) และซีนโหมดเท่านั้น (ซีนโหมดจะปรับได้ต่อเมื่อตั้งความละเอียดภาพที่ 8 ล้านพิกเซล)

camera3-sonyx

ส่วนโหมดวิดีโอ Xperia X Performance รองรับการบันทึกวิดีโอสูงสุดที่ 1080p ที่ความเร็ว 60 เฟรมต่อวินาที พร้อมระบบป้องกันภาพสั่นไหวแบบ Intelligent Active ไม่รองรับ 4K VDO แต่โซนี่ก็ชดเชยให้ด้วยระบบออโต้โฟกัสที่ฉลาดกว่าเดิมหลายเท่าตัวในชื่อ “Predictive Hybrid Autofocus”

ที่นอกจากจะเป็นออโต้โฟกัสแบบไฮบริดระหว่าง Contrast AF กับ Phase AF แล้ว ชิปประมวลผลยังสามารถคาดคะเนการเคลื่อนไหวของวัตถุในเฟรมพร้อมติดตามและโฟกัสภาพได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำไม่ต่างจากระบบออโต้โฟกัสในกล้องมิร์เรอร์เลสของโซนี่ (ลองรับชมวิดีโอตัวอย่างด้านบน)

ทดสอบประสิทธิภาพ

bench-sonyx

3dmark-sonyx

AnTuTu Benchmark = 119,421
Geekbench 3 = Single Core 2,125/Multi-Core 5,235
PC Mark = 6,152

PassMark PerformanceTest Mobile
System = 7,416
CPU Tests = 168,006
Disk Tests = 31,216
Memory Tests = 8,406
2D Graphics Tests = 5,617
3D Graphics Tests = 1,805

3D Mark
Sling Shot ES3.1 = 2,122
Sling Shot ES3.0 = 2,718
Ice Storm Unlimited = 25,657

หลายคนน่าจะดีใจที่โซนี่เลือก Qualcomm Snapdragon 820 มาใช้กับ Xperia X Performance เพราะในด้านการทดสอบประสิทธิภาพด้วยซอฟต์แวร์ต่างๆ ผลลัพท์ถือว่า Xperia X ทำคะแนนได้สูงสุดของตารางตอนนี้ แน่นอนว่าการใช้งานจริงไม่ว่าจะแอปฯหรือเล่นเกสามมิติ ถือว่าลื่นไหลดี โดยเฉพาะเรื่องความร้อนที่เคยเป็นปัญหาของ Snapdragon รุ่นก่อนหน้าก็ถูกแก้ไขแล้ว และจากการใช้งานตลอดทั้งวันก็ยังไม่พบอาการผิดปกติจากซีพียูแต่อย่างใด

battery-sonyx

z5-x

มาถึงการทดสอบแบตเตอรีด้วย Geekbench 3 แม้จะไม่น่าประทับใจเหมือนไฮเอนด์คู่แข่งในท้องตลาดตอนนี้หลายรุ่นที่ทำเวลาใช้งานต่อเนื่องแตะระดับ 10-12 ชั่วโมง แต่เมื่อเทียบกับ Xperia Z5 แล้ว Xperia X Performance (แบตเตอรี 2,700mAh) ทำเวลาใช้งานและคะแนนทดสอบแบตเตอรีได้ดีกว่า ด้วยเวลาใช้งานแบบฮาร์ดคอร์ ต่อเนื่อง (เปิดหน้าจอตลอด) ที่ 7 ชั่วโมง 13 นาที 40 วินาที โดยเมื่อคิดเป็นเวลาใช้งานทั่วไปแล้วจะอยู่ที่ประมาณ 13-14 ชั่วโมง

โดยหลังจากแบตเตอรีต่ำกว่า 15% ผู้ใช้ยังสามารถเปิด STAMINA Mode (ระบบจะจำกัดการเรียกใช้ Background data) เพื่อยืดอายุแบตเตอรีได้คล้าย Power Saving Mode

ทดสอบกล้องถ่ายภาพ

มาทดสอบกล้องถ่ายภาพทั้งกล้องหลักด้านหลังและกล้องหน้า ใน Xperia X โซนี่ปรับปรุงเรื่องคุณภาพไฟล์ โหมดอัตโนมัติ เลนส์ รวมถึงสเปกกล้องมาได้ดีกว่าเดิมมาก จากเดิมใน Xperia ตั้งแต่ Z ตัวแรกมาถึง Z5 ทีมงานไม่เคยพอใจในคุณภาพไฟล์จากสมาร์ทโฟนของโซนี่เลย โดยเฉพาะความเพี้ยนของ White Balance และการถ่ายในที่แสงน้อยซึ่งทำได้ไม่ดีอย่างมากเมื่อเทียบคู่แข่งในตอนนั้น

แต่ใน Xperia X โซนี่ปรับปรุงและแก้ไขซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์กล้องเยอะมาก จุดที่น่าสนใจก็คือการจัดการนอยซ์ที่ ISO ระดับ 1,600 (ลองดูภาพเกียร์รถที่ทีมงานเลือกถ่ายกลางคืน) จะเห็นว่าภาพยังคงความคมชัดและให้สีสันรวมถึงการวัดแสงที่ดีขึ้นมาก หรือแม้แต่การถ่ายย้อนแสง สีสันที่ได้รวมถึงความคมชัด ไดนามิกถูกปรับปรุงขึ้นอย่างชัดเจน

ส่วนกล้องหน้า 13 ล้านพิกเซล ออกแบบมาเพื่อถ่ายเซลฟีในที่แสงน้อย ให้ภาพที่ดีและคมชัดมากขึ้น

croptest

ยกตัวอย่างภาพแมว ทีมงานเลือกถ่ายที่ความละเอียดสูงสุด 23 ล้านพิกเซลและนำมาครอปแบบ 100% เพื่อดูคุณภาพ จะเห็นว่ากล้องและหน่วยประมวลผลภาพให้รายละเอียดของภาพที่ดี สามารถนำไฟล์ไปใช้งานได้จริง ยิ่งเมื่อทดสอบกับโหมด Clear Image Zoom จะเห็นว่าคุณภาพไฟล์ที่ถูกดิจิตอลซูมนั้นดีขึ้นมาก

แต่ทั้งนี้ถ้าเทียบกับคู่แข่งสมาร์ทโฟนกล้องเทพทั้งหลายในปีนี้ Xperia X อาจทำคะแนนสูสีเมื่อถ่ายภาพในสภาพแสงกลางวันปกติ แต่เมื่อถึงช่วงพลบค่ำ แสงน้อย ถึงแม้ Xperia X จะจัดการนอยซ์ได้ดีกว่าคู่แข่งหลายเจ้า แต่การรับแสงของเซ็นเซอร์และเลนส์อาจทำได้น้อยกว่า ในสถานที่แสงน้อยมากจริงๆ Xperia X อาจให้ภาพที่มืดกว่าคู่แข่งอยู่บ้าง

อีกทั้งการที่โซนี่ไม่ให้ Manual Mode มาแบบเต็มระบบ ก็ทำให้การสร้างสรรค์ภาพแบบมืออาชีพทำได้ยากใน Xperia X

สรุป

สำหรับราคา Sony Xperia X Performance อยู่ที่ 25,990 บาท มี 3 สี ได้แก่ ดำกราไฟต์ ขาว และ ชมพูโรสโกลด์

เรียกได้ว่าทั้งราคาและประสิทธิภาพก็จัดเป็นไฮเอนด์ตามชื่อ X Performance โดยประสิทธิภาพถือเป็นเรื่องโดดเด่นด้วย Snapdragon 820 ที่แรงติดระดับบนสุดของตารางตอนนี้ ในส่วนกล้องที่โซนี่เน้นปรับปรุงเป็นพิเศษ ก็ถือว่าทำได้ดีขึ้นมากในระดับที่น่าพอใจ แต่คงไม่ดีที่สุดในตลาด

ส่วนเรื่องการกันน้ำอันเป็นเอกลักษณ์เด่นมานานของโซนี่ ตามเอกสารประชาสัมพันธ์ระบุไว้ว่ารุ่นนี้สามารถกันละอองน้ำ ในสภาพฝนตกหนักได้ (water resistant) แต่ไม่ได้ระบุว่าสามารถใช้งานใต้น้ำ (waterproof) ได้ แม้จะได้มาตรฐาน IP65/68 ก็ตาม เพราะฉะนั้นใครที่สนใจ Xperia X Performance และคิดจะซื้อไปดำน้ำถ่ายวิดีโอแทน Action Camera ต้องศึกษาตรงจุดนี้ให้ดีเป็นอันดับแรก

ข้อดี

– ตัวเครื่องออกแบบใหม่ จับถือกระชับมือมากขึ้น
– สเปกเครื่องดี โดยเฉพาะซีพียู
– ฝาหลังโลหะ เป็นรอยยาก
– กล้องถูกปรับปรุงใหม่ดีขึ้นมาก
– รองรับ Carrier aggregation – 3CA และ Full NetCom 3.0

ข้อสังเกต

– ซอฟต์แวร์กล้อง Manual Mode ไม่เป็นแบบเต็มระบบ
– แบตเตอรียังไม่น่าประทับใจเหมือนคู่แข่งในระดับเดียวกัน

Gallery

]]>
Review : Sony Walkman NW-WS413 คู่ใจคนออกกำลังกาย https://cyberbiz.mgronline.com/review-sony-walkman-nw-ws413/ Mon, 18 Apr 2016 09:51:05 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=22354

WS413-00

เมื่อความนิยมในการออกกำลังกายกำลังเป็นกระแสที่ได้รับการตอบรับในสังคมมากยิ่งขึ้น จากที่ได้เห็นการจัดงานวิ่งเกือบทุกสัปดาห์ในทั้งในเมือง และต่างจังหวัด ทำให้อุปกรณ์เสริมถือเป็นอีกหนึ่งตลาดที่ได้รับการตอบรับที่ดี จากกลุ่มผู้ที่ชื่นชอบการออกกำลังกาย

IMG_2849

โซนี่ ในฐานะที่เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ไอที ก็ให้ความสำคัญกับตลาด Wearable ต่อเนื่อง จนล่าสุดได้ทำการเปิดตัว เครื่องเล่นเพลงพร้อมหูฟัง ภายใต้ชื่อรุ่น NW-WS413 พร้อมกับชูจุดเด่นในเรื่องของการใช้งานขณะออกกำลังกาย ที่สำคัญคือสามารถนำลงไปใช้งานในน้ำได้ จากการกันน้ำ และกันฝุ่นบนมาตรฐาน IP65/IP68

การออกแบบ

IMG_2850

เครื่องเล่นเพลง Walkman ของโซนี่ ถูกเปิดตัวออกสู่ตลาดมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยดีไซน์ที่เน้นความสะดวกในการใช้งาน ด้วยการเป็นหูฟังแบบ In-Ear ที่เกี่ยวกับใบหูคล้องมาทางหลังศรีษะ จากวัสดุที่เป็นยางทำให้มีความยืดหยุ่น ขนาดจะอยู่ที่ 105 x 115 x 20 มิลลิเมตร และน้ำหนักเบาที่ 32 กรัม มีให้เลือกด้วยกันทั้งหมด 4 สี คือ ดำ ขาว เขียวมะนาว และฟ้า

IMG_2858

โดยหูฟังด้านซ้ายจะมีสัญลักษณ์โซนี่ พร้อมปุ่มควบคุมที่ประกอบไปด้วย ปุ่ม Mode สำหรับสลับโหมดเล่นเพลงแบบเล่นตามรายชื่อ เล่นเพลงแบบปุ่ม ถัดลงมาเป็นปุ่มเปิดโหมด Ambient (ปุ่มสีขาว) และปุ่มปรับระดับเสียง

IMG_2857

ส่วนหูหังด้านขวาที่มีสกรีนสัญลักษณ์ Walkman ภายในจะมีเซ็นเซอร์สำหรับเชื่อมต่อกับแท่นเพื่อชาร์จและโอนเพลง โดยจะมีปุ่มเปิดปิดเครื่อง ไฟแสดงสถานะ ปุ่มเล่นเพลง/หยุดเพลง และปุ่มเลื่อนเพลง

IMG_2852

อุปกรณ์ที่ให้มาภายในกล่องจะประกอบไปด้วย ตัวเครื่องเล่นเพลง แท่นชาร์จ พร้อมสายยูเอสบี ที่ใช้เชื่อมต่อกับพีซีเพื่อโอนย้ายเพลงกับเสียบชาร์จ แถบปรับแต่ง และ จุกหูฟัง (EarBuds) 2 แบบ คือสีขาวที่เป็นจุกแบบมาตรฐานใช้สำหรับออกกำลังกายทั่วไป และจุกสีเทาสำหรับใช้ใส่เพื่อลงน้ำ เพราะจะมีฟิลม์บางๆอยู่ภายในเพื่อป้องกันน้ำเข้าตัวเครื่อง

IMG_2856

ทั้งนี้ ตัว EarBuds ที่ให้มาจะมีขนาดให้เลือกทั้งหมด 4 ขนาดคือ S/M/L/LL เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้งานได้ตามขนาดหู เนื่องจากเป็นหูแบบ In-Ear ดังนั้นควรเลือกใส่ให้พอดี และสบายที่สุด ไม่ควรเลือกใส่ EarBuds ที่มีขนาดใหญ่เกินไป เพราะจะทำให้รู้สึกไม่สบาย และตัวหูฟังจะหลุดได้

สเปก

ตัวเครื่องเล่นเพลงจะมาพร้อมกับพื้นที่เก็บข้อมูลภายใน 4 GB แบตเตอรีสามารถใช้งานได้ต่อเนื่อง 12 ชั่วโมง เมื่อชาร์จเต็ม (1.5 ขั่วโมง) และพิเศษคือจะมีไมค์รับเสียงจากรอบทิศทาง เพื่อใช้ขณะฟังเพลง ให้ได้ยินเสียงจากภายนอกป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นขณะออกกำลังกาย หรือได้ยินเสียงสนทนา

ฟีเจอร์เด่น

WM_Water_lg

จุดขายหลักของ NW-WS413 คงหนีไม่พ้นการเป็นหูฟังสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการออกกำลังกาย เนื่องจากเป็นเครื่องเล่นเพลงพร้อมหูฟังแบบไร้สายที่มีน้ำหนักเบา สามารถใส่ใช้งานได้กระชับจากสายคาดศรีษะ ทำให้สามารถใช้เพื่อวิ่ง กระโดด และฝึกซ้อมต่างๆได้อย่างเต็มที่

ถัดมาก็คือเรื่องของการกันน้ำ กันฝุ่น บนมาตรฐาน IP65 และ IP68 ทำให้สามารถใช้งานในน้ำได้ลึก 2 เมตร ไม่เกิน 30 นาที ที่สำคัญคือสามารถใช้งานในน้ำเค็ม (ทะเล) ได้ด้วย แต่ที่สำคัญคือผู้ใช้ต้องเปลี่ยน EarBuds ให้เป็นแบบกันน้ำก่อนลงน้ำ และกรณีที่ใช้งานในน้ำทะเลควรนำเครื่องมาล้างทำความสะอาดก่อนเก็บ

ขณะเดียวกันด้วยการที่รองรับการกันฝุ่นทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องของเม็ดทราย หรือฝุ่นละอองต่างๆกรณีที่นำออกไปใช้วิ่งเทรล นอกจากนี้ โซนี่ยังระบุว่าสามารถใช้งานได้ในอุณหภูมิตั้งแต่ -5 – 45 องศาเซลเซียสได้อีกด้วย ดังนั้นจึงถือเป็นเครื่องเล่นไร้สายที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ใช้ออกกำลังกาย

ตัดภาพมาในส่วนของการใช้งาน ฟีเจอร์เด่นที่ควรนำมาใช้งานหลักๆเลยคือการเปิดรับเสียงรอบข้าง (Ambient Sound Mode) ที่ผู้ใช้สามารถเลือกรับเสียงรอบข้างได้ 3 ระดับ เพื่อให้ได้ยินเสียงรอบตัว เมื่อนำไปใช้ในการออกกำลังกาย ใส่ขี่จักรยาน จะได้ยินเสียงจากรอบตัวขณะใช้งาน

ในส่วนของโหมดการเล่นเพลง ก็เป็นไปตามมาตรฐานของเครื่องเล่นเพลงทั่วไป ไม่มีฟังก์ชันซับซ้อน สามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เพื่อโอนย้ายไฟล์เพลง MP3 เข้าไปไว้ในโฟลเดอร์ได้ทันที ส่วนระยะเวลาการใช้งานทางโซนี่ระบุว่า สามารถใช้ได้ต่อเนื่อง 12 ชั่วโมง กรณีปิดโหมด Ambient และ 8 ชั่วโมงถ้าเปิดโหมด Ambient พร้อมฟังก์ชัน Quick Charge ที่ชาร์จ 3 นาที ฟังเพลงได้นาน 1 ชั่วโมง

สรุป

กับราคาจำหน่าย NW-WS413 ที่ราคา 3,490 บาท อาจจะทำให้คิดหนักเล็กน้อย สำหรับผู้ที่ต้องการฟังเพลงขณะออกกำลังกาย แต่เมื่อเทียบกับความสามารถทั้งกันน้ำ กันฝั่น และโหมดรับเสียงรอบข้าง ทำให้เครื่องเล่นเพลงดังกล่าวเป็นอุปกรณ์ที่น่าลงทุนขึ้นมา ถ้ามีไลฟ์สไตล์การใช้งานในรูปแบบดังกล่าว

แน่นอนว่าถ้าใช้เพียงแค่ใส่วิ่งอย่างเดียวก็จะมีรุ่นอื่นให้เลือกใช้งานกันด้วยระดับราคาที่ต่ำกว่า เพียงแต่ก็จะตัดความสามารถในเรื่องของการกันฝุ่นออกไป เหลือเพียงกันน้ำอย่างเดียวในรุ่น NWZ-W273S ที่ออกมาก่อนหน้านี้ในราคา 2,990 บาท

ข้อดี

กันน้ำ กันฝุ่น ลงน้ำทะเลได้

น้ำหนักเบา ใส่แล้วกระชับ เหมาะกับการออกกำลังกายทุกรูปแบบ

ระบบชาร์จเร็ว 3 นาที ฟังเพลงได้ 1 ชั่วโมง

ข้อสังเกต

คุณภาพเสียงที่ได้อยู่ในระดับ 128 kbps

ไม่รองรับการเชื่อมต่อบลูทูธ หรือ NFC กับสมาร์ทโฟน เป็นเฉพาะเครื่องเล่นเพลงอย่างเดียว

Gallery

]]>