TrueWireless – CBIZ Reviews – MGR Online https://cyberbiz.mgronline.com เว็บไซต์รีวิวอุปกรณ์ ไอที ไฮเทค เป็นส่วนหนึ่งของผู้จัดการออนไลน์ Mon, 09 Sep 2019 04:25:11 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.0 Review : Sony WF1000XM3 หูฟัง TrueWireless เด่นที่ตัดเสียงรบกวนได้ https://cyberbiz.mgronline.com/review-sony-wf1000xm3/ Mon, 09 Sep 2019 04:17:57 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=31195

โซนี่ (Sony) กลับมาทำให้เห็นแล้วว่าการออกโปรดักส์ที่มีนวัตกรรม และจับกลุ่มเฉพาะ สามารถช่วยให้ได้รับความนิยม จนสินค้าขายตลาดในช่วงแรกที่วางจำหน่ายได้ กับหูฟังไร้สาย WF1000XM3 ซึ่งถือเป็นหูฟังแบบ True Wireless รุ่นแรกๆ ที่มากับระบบตัดเสียงรบกวน

ด้วยการนำจุดเด่นของหูฟัง True Wireless ที่มีขนาดเล็ก พกพาง่ายใส่ติดหู มาผสมกับเรื่องการตัดเสียงรบกวนที่โซนี่มุ่งพัฒนามาในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในกลุ่มหูฟังครอบหูตั้งแต่ยุคของ MDR1000X มาจนถึง WH1000X ที่ได้รับความนิยมต่อเนื่อง

ข้อดี

หูฟัง TrueWireless แบบ In-Ears พร้อมระบบตัดเสียงรบกวน

ใช้งานต่อเนื่องได้  5-6 ชั่วโมง ไม่รวมเคสชาร์จทำให้รวมแล้วได้ราว 24 ชั่วโมง

มีระบบ Adaptive Sound เลือกรับเสียงจากภายนอก หรือตัดเสียงรบกวน

สั่งงานสมาร์ทโฟนด้วยระบบเสียงได้ผ่านหูฟังทั้ง Siri และ Google Assistant

พอร์ตชาร์จเป็น USB-C และรองรับ NFC ให้เชื่อมต่อง่ายขึ้น

 

ข้อสังเกต

เคสชาร์จมีขนาดค่อนข้างใหญ่ทำให้พกติดตัวยาก

ปุ่มควบคุมแบบสัมผัสที่ค่อนข้างไว ทำให้บางทีจับหูฟังให้แน่นขึ้นกลายเป็นกดสั่งงาน

ถ้าต้องการปรับเสียงต้องสั่งที่อุปกรณ์เชื่อมต่อ หรือใช้ผู้ช่วยส่วนตัวปรับให้

ไม่เหมาะกับใส่ออกกำลัง เพราะตัวหูฟังไม่กันน้ำ

หูฟัง In-Ears ไร้สาย ตัดเสียงได้

ด้วยการที่โซนี่ ออกแบบหูฟังรุ่นนี้มาให้เป็นแบบ In-Ears ในลักษณะของ True Wireless คือใช้การเชื่อมต่อด้วยบลูทูธระหว่างหูฟังข้างซ้ายขวา กับดีไวซ์ต่างๆ ทำให้ลักษณะการใช้งานจะเน้นไปที่ความสะดวกในการพกพา และใส่ใช้งานเป็นหลัก

ขนาดของตัวหูฟังจึงมีขนาดเล็ก ที่ใส่ไปแล้วจะไม่รู้สึกหนักหู หรือทำให้ล้าเวลาใส่ใช้งานนานๆ ประกอบกับภายในกล่องมีขนาดของจุกยาง และจุกโฟมให้เลือกใช้ตามความต้องการ ดังนั้นใครที่มีปัญหาการใช้หูฟังแบบ In-Ears แล้วรู้สึกไม่สบายหู อาจจะต้องคิดภาพใหม่

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของตัวเคสใส่หูฟัง ที่เป็นที่ชาร์จในตัว มีพอร์ต USB-C สำหรับเสียบสายชาร์จ และมี NFC ให้สามารถนำสมาร์ทโฟนที่รองรับมาแสกนเพื่อเชื่อมต่อกับหูฟังได้ทันที เมื่อเปิดฝาขึ้นมาก็จะเจอกับหูฟังทั้ง 2 ข้างเสียบชาร์จอยู่

ที่ตัวหูฟังจะมีเซ็นเซอร์หลักๆ อยู่ 2 ส่วน คือบริเวณภายในไว้ใช้ตรวจจับการสวมใส่ของผู้ใช้ ทำให้เวลาใช้งานอยู่ ถ้าถอดหูฟังออกมา 1 ข้าง เพลงก็จะหยุด และถ้าใส่กลับเข้าไปเพลงก็เล่นต่อ โดยจะอยู่บริเวณที่ครอบพลาสติกสีข้างๆ จุกหูฟัง

กับเซ็นเซอร์รับสัมผัสในการสั่งงานที่อยู่ภายนอก บริเวณที่เป็นพลาสติกเป็นผิวเรียบๆ ทรงกลมๆ ที่สามารถแตะเพื่อสั่งงานแยกกันได้ทั้งหูซ้าย และหูขวา โดยผู้ใข้สามารถปรับตั้งค่าเพิ่มเติมได้จากแอปที่ติดตั้งบนสมาร์ทโฟน

การใช้งาน Sony WF1000M3

ในการใช้งาน Sony WF1000M3 เริ่มต้นขั้นแรกเลยคือทำการเชื่อมต่อ ถ้าใช้งาน Android ที่มีระบบ NFC สามารถนำสมาร์ทโฟนมาแตะบริเวณสัญลักษณ์ หลังจากที่เปิดฝาขึ้นมาเพื่อทำการเชื่อมต่อได้เลย

ส่วนถ้าเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆที่ไม่มี NFC จะต้องใส่หูฟังเข้าไปทั้งสองข้าง และแตะบริเวณเซ็นเซอร์ทั้ง 2 ข้าง ค้างไว้พร้อมๆ กัน เพื่อเข้าสู่โหมดการเชื่อมต่อ (Pairing Mode) จากนั้นก็เข้าไปเชื่อมต่อผ่านการตั้งค่า บลูทูธบนสมาร์ทโฟนได้ทันที

หลังจากเชื่อมต่อเสร็จ แนะนำให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Headphones ของทาง Sony มาติดตั้ง เพื่อใช้ควบคุม และดูสถานะต่างๆ ของหูฟัง ไม่ว่าจะเป็นเปอเซนต์แบตเตอรีที่เหลืออยู่ การอัปเดตเฟิร์มแวร์ของหูฟังต่างๆ จะทำผ่านแอปพลิเคชันนี้ทั้งหมด

นอกจากนี้ ภายในยังมีให้ตั้งโหมด Adaptive Sound Control ที่จะมีทั้งหมด 4 โหมดหลักๆ ด้วยกัน ตั้งแต่การใช้งานเมื่อนั่งอยู่กับที่ ขณะเดิน วิ่ง หรืออยู่บนรถโดยสาร เพื่อควบคุมการตัดเสียง (Noise Canceling) และเลือกรับเสียงจากภายนอก (Ambient Sound) ที่มีให้เลือกทั้งหมด 20 ระดับ

การทำงานของ Ambient Sound คือจะใช้ไมโครโฟนที่ติดตั้งอยู่บริเวณหูฟังรับเสียงจากภายนอก เพื่อทำให้เวลาที่ใส่หูฟังแล้วเดินอยู่บนถนน จะได้ยินเสียงรถ หรือบรรยากาศรอบๆตัว ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ หรือในกรณีที่ต้องการฟังเสียงคนที่มาพูดด้วยก็เปิดใช้โหมดนี้ได้

การสั่งงานระหว่างโหมดตัดเสียง และรับเสียงภายนอก ผู้ใช้สามารถนำนิ้วไปแตะที่หูฟังข้างซ้าย เพื่อสลับโหมดใช้งานได้ทันที และยังมีฟีเจอร์อย่างถ้าแตะนิ้วค้างไว้ที่หูฟังจะเป็นการเปิดฟังเสียงภายนอกในทันทีด้วย

ส่วนการแตะสั่งงานที่หูฟังทางขวาเบื้องต้นจะตั้งมาเป็นการควบคุมการเล่นเพลง แตะเพื่อหยุด และเล่นต่อ ถ้ากดค้างจะเป็นการเรียกใช้งานผู้ช่วยส่วนตัวอย่าง Siri และ Google Assistant ขึ้นมาให้สั่งงาน แต่ทั้งหมดนี้สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามการตั้งค่าภายในแอป

อีกจุดที่คิดว่าน่าสนใจ คือผู้ใช้เลือกได้ว่าอยากเน้นคุณภาพเสียง หรือความต่อเนื่องในการใช้งาน เพราะต้องรับรู้กันก่อนว่าเวลาใช้งานหูฟังแบบ True Wirless ปัญหาที่มักจะพบเจอกันคือเมื่อใช้งานภายในห้างสรรพสินค้า หรือสถานที่ที่มีคลื่นรบกวนเยอะๆ จะเกิดปัญหาหูฟังติดๆ ดับๆ

กับ Sony WF1000M3 ก็เจอปัญหานี้เช่นเดียวกัน แต่ดีที่มีโหมดให้สามารถเลือกได้ว่า ถ้าต้องการเน้นคุณภาพเสียงดีๆ ก็อาจจะเจอปัญหาดังกล่าว แต่ถ้าต้องการเชื่อมต่อให้สเถียรมากที่สุด ก็จะปรับลดคุณภาพเสียงลงเพื่อให้หูฟังเน้นการใช้งานที่ไม่กระตุก หรือติดๆ ดับๆ

ในจุดนี้ถือว่าโซนี่ พัฒนาออกมาได้ดี เพราะเมื่อทดลองใช้โหมดที่เน้นความสเถียรเดินใช้งานภายในห้างสรรพสินค้า ที่หูฟัง True Wireless รุ่นอื่นๆ เจอปัญหา แต่กับ Sony WF1000M3 ยังเชื่อมต่อได้ความสเถียรดี

สรุป

โซนี่ ทำการบ้านมาเป็นอย่างดีกับการออก Sony WF1000M3  เพราะในการใช้งานหูฟังแบบ True Wireless ผู้ใช้หลายๆ รายเวลานี้คือจะเจอปัญหาเรื่องเสียงรบกวนจากภายนอก ดังนั้นเมื่อนำนวัตกรรมที่โซนี่มีมาช่วย จึงทำให้ Sony WF1000M3 ได้รับความนิยม

ขณะเดียวกัน ด้วยราคาเปิดตัวที่ 8,990 บาท ในมุมหนึ่งถือว่าเป็นระดับราคาที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับหูฟังไร้สายจากแบรนด์มือถืออย่าง AirPods (6,500) Galaxy Buds (4,990) แต่ถ้าไปเทียบกับแบรนด์หูฟังในระดับเดียวกันอย่าง B&O Sennheiser หรือ Boss ในระดับหมื่นกว่าบาท กลายเป็นว่าโซนี่ทำราคาออกมาได้ค่อนข้างดีเลยทีเดียว

Gallery

]]>