XPS 13 – CBIZ Reviews – MGR Online https://cyberbiz.mgronline.com เว็บไซต์รีวิวอุปกรณ์ ไอที ไฮเทค เป็นส่วนหนึ่งของผู้จัดการออนไลน์ Tue, 04 Feb 2020 06:19:19 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.0 Review : Dell XPS 13 2-1 (2019) จอสวย ใช้งานได้หลากหลาย https://cyberbiz.mgronline.com/review-dell-xps-13-2in1/ Tue, 04 Feb 2020 06:06:09 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=32118

เมื่อถึงเวลาที่ Intel ส่งซีพียูรุ่นใหม่เข้าสู่ตลาด บรรดาผู้ผลิตโน้ตบุ๊กก็หันมาอัปเกรดไลน์สินค้าเดิมด้วยซีพียูรุ่นใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของตัวเครื่องให้สูงขึ้น และในขณะเดียวกันก็ปรับในเรื่องของการประหยัดพลังงาน และระบายความร้อนไปในตัว

Dell XPS 13 2-1 ถือเป็นอีกหนึ่งโน้ตบุ๊กรุ่นเด่นของเดลล์ ที่ออกมาจับตลาดกลุ่มผู้ใช้งานที่เป็นผู้บริหารระดับสูง และกลุ่มผู้ที่ต้องการโน้ตบุ๊กบางเบาพกพาง่าย มากความสามารถ มาใช้งาน ด้วยการวางตัวอยู่ในระดับพรีเมียม ทั้งในแง่ของสเปก ดีไซน์ และรูปแบบการใช้งาน

ที่ผ่านมา Dell XPS 13 ได้รับการตอบรับที่ดีในเรื่องของขนาดตัวเครื่องที่บางเบาอยู่แล้ว ต่อมาพัฒขึ้นมาในเรื่องของการปรับมุมมองในการใช้งานที่ปัจจุบันรุ่น 2-in-1 สามารถพับหน้าจอแบบ 360 องศา มาใช้งานเป็นแท็บเล็ตได้ด้วย และแน่นอนว่ามากับหน้าจอแบบทัชสกรีนด้วย

ข้อดี

  • โน้ตบุ๊ก 2-1 บางเบา พกพาง่าย
  • มีพอร์ต Thunderbolt 3 (USB-C) ให้ใช้งาน 2 พอร์ต และช่องใส่ไมโครเอสดีการ์ด
  • รักษาความปลอดภัยด้วย Windows Hello ร่วมกับเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือ
  • หน้าจอ 4K ความละเอียดสูง รองรับทัชสกรีน

ข้อสังเกต

  • ราคาค่อนข้างสูง
  • ประสิทธิภาพเหมาะกับการใช้งานทั่วๆไป

เครื่อง 2-1 ระดับพรีเมียม

ถ้านับย้อนไปตั้งแต่เดลล์ ทำตลาด XPS 13 2-1 ออกมาคือย้อนไปในปี 2017 หรือราว 3-4 ปีที่ผ่าน การออกรุ่นอัปเกรดในปีนี้ นอกจากการปรับปรุงประสิทธิภาพตัวเครื่องให้ดีขึ้นแล้ว ยังมีการเปลี่ยนแปลงในส่วนของสัดส่วนหน้าจอที่ปรับมาเป็น 16:10 ให้ความละเอียดสูงสุดขึ้นเป็น UHD เช่นเดียวกับสเปกซีพียูที่มีให้เลือกระหว่าง Core i5 และ Core i7 ที่เป็น Intel Gen 10

ความสามารถหลักของ Dell XPS 13 2-1 คือการที่ตัวเครื่องสามารถเปิดใช้งานได้ทั้งในรูปแบบของโน้ตบุ๊กฝาพับปกติ หรือหมุนหน้าจอกลับให้กลายเป็นแท็บเล็ตเพื่อถือใช้งานได้ หรือจะใช้งานในรูปแบบของสแตน หรือเปิดจอแบนราบ 180 องศา ก็ได้

ขนาดของตัวเครื่องจะอยู่ที่ 296 x 207 x 7-13 มิลลิเมตร น้ำหนัก 1.33 กิโลกรัม โดยวัสดุที่เดลล์นำมาใช้คืออะลูมิเนียมแผ่นเดียวที่นำมาเจาะ และตัดเพื่อความแข็งแรงของตัวเครื่อง ร่วมกับกระจก Corning Gorilla Glass 5 และขอบเครื่องจะมีการเจียรแบบ Diamond cut

โดย XPS13 2-1 ที่ได้มาทดสอบนี้ จะเป็นรุ่นที่มากับหน้าจอขนาด 13.4 นิ้ว ความละเอียด UHD+ 3840 x 2400 พิกเซล ที่ปรับขอบจอให้บางลง พร้อมกับซ่อนกล้องหน้าไว้ที่ขอบจอบนเพื่อใช้สำหรับการปลดล็อกด้วยใบหน้า และใช้งานวิดีโอคอล

ในส่วนของขาพับตัวเครื่อง เนื่องจากสามารถเปิดหน้าจอพับกลับไปได้ 360 องศา ทำให้ออกแบบเป็นข้อต่อที่ยืดออกมาเล็กน้อยเมื่อเปิดหน้าจอขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าทางเดลล์ได้ทนสอบความทนทานของข้อต่อนี้แล้วให้สามารถบิดพับไปมาได้แข็งแรงกว่ารุ่นปกติทั่วไป

ตามมาด้วยส่วนของคีย์บอร์ด ที่เดลล์เรียกว่า MagLev ซึ่งพัฒนาให้มีขนาดบางลง 24%  เมื่อเทียบกับคีย์บอร์ดทั่วไป หรือลดลงเหลือ 1.3 มิลลิเมตร ทำให้มีพื้นที่ทัชแพดใหญ่ขึ้น 19% โดยที่ขนาดของคีย์บอร์ดอยู่ในระดับมาตรฐานทั่วไป

ส่วนพอร์ตเชื่อมต่อที่ให้มา ทางซ้าย และขวา จะมีพอร์ต Thunderbolt 3 ให้ใช้งาน เสริมด้วยช่องอ่านไมโครเอสดีการ์ดทางฝั่งซ้าย และช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม. ทางฝั่งขวา ซึ่งการที่ให้พอร์ตมาเป็น Thunderbolt 3 แปลว่าสามารถชาร์จแบตได้จากพอร์ตทั้ง 2 ฝั่ง รวมถึงเชื่อมต่อกับจอภายนอกได้ด้วย

สำหรับสเปกภายในของ XPS 13 2-1 จะมากับหน่วยประมวลผล Intel Core i7 Gen 10 (1065G7) 3.9 GHz RAM 16 GB SSD 512 GB กราฟิกการ์ดออนบอร์ด Intel UHD ทำงานบนระบบปฏิบัติการ Windows 10

จุดที่น่าสนใจของรุ่นนี้คือมาพร้อมการเชื่อมต่อบน Wi-Fi 6 หรือ 802.11ax จากชิปเซ็ต Killer AX1650 ที่สามารถรับสัญญาณไวไฟได้ความเร็วระดับ 1 Gbps ที่เริ่มให้บริการแล้วในประเทศไทย และยังมากับบลูทูธ 5.0 อีกด้วย

Gallery

จอสวย ใช้งานครบถ้วน

อีกหนึ่งจุดที่ Dell XPS 13 2-1 ทำได้น่าประทับใจเหมือนเสมอมาคือเรื่องของการแสดงผล ที่ในคราวนี้เลือกใช้จอแสดงผลที่ให้ความละเอียดสูง UHD+ มาใช้งาน และผ่านมาตรฐาน HDR400 รองรับการแสดงผลสี DCI P3 อัตราคอนทราสต์อยู่ที่ 1500:1 ให้ความสว่างต่อเนื่องที่ 500 nit พร้อมจอแบบตัดแสงสะท้อน

นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มเทคโนโลยีอย่าง Dell Eyesafe มาช่วยถนอมสายตาผู้ใช้ ด้วยการลดการแสดงผลแสงสีฟ้าที่เป็นอันตรายกับดวงตา แต่ยังให้ภาพที่สดใสเหมือนเดิม ทำให้กลายเป็นหนึ่งในโน้ตบุ๊กที่จอสวยที่สุดเวลานี้ก็ว่าได้

ที่สำคัญหน้าจอทัชสกรีนยังรองรับการทำงานร่วมกับ Dell Premium Active Pen ทำให้ผู้ที่ชื่นชอบการจดบันทึกบนแท็บเล็ต ทำงานได้สะดวกขึ้น โดยปากการองรับแรงกดถึง 4096 ระดับ

ส่วนของแบตเตอรีในการใช้งานต่อเนื่อง เดลล์เคลมว่าสามารถใช้งานได้ต่อเนื่องราว 10 ชั่วโมง เมื่อใช้งานทั่วไป แต่ถ้าเป็นการใช้รับชมภาพยนต์ผ่านสตรีมมิ่งจะอยู่ที่ราว 7 ชั่วโมง 24 นาที ซึ่งเท่าที่ทดสอบใช้งานก็จะใกล้เคียงกับเวลาที่เคลมไว้

ความสะดวกอีกอย่างของ XPS 13 2-1 คือการที่มากับ Windows Hello ที่นอกจากรองรับการปลดล็อกด้วยใบหน้าแล้ว ยังสามารถใช้ระบบสแกนลายนิ้วมือที่อยู่บริเวณมุมขวาบนของคีย์บอร์ด และเป็นปุ่มเปิดปิดเครื่องไปในตัวได้ด้วย

อะเดปเตอร์ชาร์จที่ให้มาเป็นพอร์ต USB-C ที่พกพาง่ายเหมือนเดิม เพราะสามารถพันสายเก็บรอบตัวอะเดปเตอร์ได้

ถ้าเป็นผู้ที่ใช้แป้นควบคุมทิศทางบ่อยๆ ใน MegLev คีย์บอร์ดของเครื่องรุ่นนี้ อาจจะใช้งานยากสักหน่อย เพราะปุ่มควบคุมทิศทางมีขนาดเล็ก และมีการแทรกปุ่ม Page Up Page Down มาไว้ข้างๆ ทำให้กดผิดเป็นประจำ

ทดสอบประสิทธิภาพ

สำหรับการทดสอบตัวเครื่องผ่านโปรแกรมเทสต่างๆ อย่าง PCmark10 3Dmark และ Geekbench ให้ผลออกมาน่าพอใจ ในระดับของโน้ตบุ๊กทำงานที่บางเบา แต่ไม่ได้เน้นการประมวลผลหนักๆ หรือนำไปเล่นเกม

สรุป

ด้วยการที่เป็นโน้ตบุ๊กรุ่นที่มีกลุ่มเป้าหมายเฉพาะทาง จากระดับราคาที่ค่อนข้างสูง ทำให้ XPS 13 2-1 จะเป็นตัวเลือกให้ผู้บริหารระดับสูง หรือนักธุรกิจที่ต้องการความคล่องตัวในการใช้งานเป็นหลัก และรองรับการใช้งานในโหมดแท็บเล็ต เพื่อคอมเมนต์งาน หรือเข้าถึงคอนเทนต์ต่างๆ

แต่ถ้ามองหาโน้ตบุ๊กเครื่องบาง อาจจะหันไปมอง XPS 13 รุ่นธรรมดา น่าจะตอบโจทย์การใช้งานโดยรวมในราคาที่สมเหตุสมผลมากขึ้น แต่ก็แลกกับการที่ไม่สามารถเปลี่ยนมาใช้เป็นโหมดแท็บเล็ตได้

โดยเดลล์ได้นำเข้ามาทำตลาดในไทย 2 สเปกด้วยกันคือ Intel Core i5 RAM 8 GB SSD 256 GB จอ Full HD+ ในราคา 69,990 บาท ส่วนรุ่นที่นำมาทดสอบคือ Core i7 จอ UHD+ จะอยู่ที่ 89,990 บาท และแน่นอนว่ามากับการรับประกัน On-Site ระดับพรีเมียม 3 ปี

]]>
Review : Dell XPS 13 (2018) โน้ตบุ๊กพกพาระดับพรีเมียมที่อัปเดตซีพียูให้แรงขึ้น https://cyberbiz.mgronline.com/review-dell-xps-13-2018/ Fri, 23 Nov 2018 10:03:27 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=29777

โน้ตบุ๊กตระกูลบางเบาระดับพรีเมียมของเดลล์ (Dell) อย่าง XPS 13 ยังกลายเป็นหนึ่งในโน้ตบุ๊กพกพาที่พัฒนาต่อเนื่องมาได้อย่างน่าสนใจ โดยเฉพาะการทำการบ้านในเรื่องของจอภาพ แบตเตอรี ไปพร้อมกับการเพิ่ประสิทธิภาพในการใช้งานให้สูงขึ้น

แม้ว่า XPS 13 ในปีนี้ จะไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนจากรุ่นปีก่อนหน้ามากนัก แต่ถ้ามองเฉพาะในแง่ของการปรับมาใช้ซีพียูรุ่นใหม่จาก Intel ก็เป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญที่ทำให้เครื่องรุ่นนี้น่าสนใจมากขึ้น เพียงแต่สุดท้าย เรื่องของราคาจำหน่ายที่สูงเกือบ 8 หมื่นบาท ก็ทำให้ต้องคิดหนักพอสมควร

ก่อนหน้านี้ทีมงานเคยรีวิว Dell XPS 13 (2017) ไว้ โดยฟีเจอร์หลักๆ จะคล้ายคลึงกัน แต่ที่เปลี่ยนแปลงคือเรื่องของดีไซน์​ และรูปแบบการใช้งานที่เปลี่ยนแปลงไป

ข้อดี

เครื่องบางเบา ประสิทธิภาพสูง

จอภาพระดับ 4K รองรับการสัมผัสหน้าจอ

ข้อสังเกต

ราคาเริ่มต้นที่ 59,990 – 79,990 บาท ขึ้นอยู่กับสเปกเครื่อง

พอร์ตเชื่อมต่อเป็น Thunderbolt 3 / USB-C ทั้งหมด ถ้าจะใช้กับอุปกรณ์เสริมเดิมต้องใช้อะเดปเตอร์

โน้ตบุ๊ก 13 นิ้ว ในขนาดเครื่อง 11 นิ้ว

Dell XPS 13 ถือเป็นเครื่องในตระกูลบางเบาของเดลล์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างดีมาโดยตลอด ตั้งแต่การปรับเปลี่ยนการออกแบบตัวเครื่องให้มีขนาดเล็กลง บางลง โดยในรุ่นล่าสุด สามารถทำความบางในจุดที่บางที่สุดได้ 7.8 มิลลิเมตร ส่วนหนาสุดก็จะอยู่ประมาณ 11.6 มม. เท่านั้น ส่วนน้ำหนักอยู่ที่ราว 1.21 กิโลกรัม

ก่อนหน้านี้ XPS 13 ถือเป็นโน้ตบุ๊กรุ่นแรกๆในตลาดที่มากับขนาดหน้าจอ 13.3” ในขนาดตัวเครื่องเท่ากับโน้ตบุ๊กจอ 11 นิ้วก่อนหน้านี้ โดยใช้วิธีการลดขอบจอให้บางลงเหลือ 4 มม. ทำให้ได้ตัวเครื่องที่มีขนาดเล็กลง แต่ยังให้จอแสดงผลใหญ่เหมือนเดิม

เดลล์เรียกการออกแบบหน้าจอใหม่นี้ว่าเป็น InfinityEdge Display และเลือกนำจอความละเอียด 4K Ultra HD (3840 x 2160 พิกเซล) มาใช้งาน ทำให้การแสดงผลคมชัด ให้ความสว่างถึง 400nit มุมมองในการแบบ IPS เรียกได้ว่าใส่เทคโนโลยีในการแสดงผลมาครบ

ถัดจากหน้าจอลงมา เดลล์ มีการใส่กล้องอินฟาเรตมาให้ใช้งานคู่กับกล้องเว็บแคมปกติด้วย ทำให้เวลาใช้งาน Windows Hello สามารถใช้งานได้ในทุกสภาพแสง และขณะเดียวกันก็ช่วยเพิ่มความปลอดภัย และความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลด้วย

ขณะที่ในส่วนของคีย์บอร์ด เดลล์ ยังทำการบ้านมาได้เป็นอย่างดี ที่แม้ว่าตัวเครื่องจะมีขนาดเล็กลง แต่ในการพิมพ์ใช้งานแบบสัมผัสได้แม่นยำ เช่นเดียวกับทัชแพดที่มีขนาดใหญ่ รองรับการใช้งานได้ลื่นไหลดี

ในส่วนของพอร์ตเชื่อมต่อบริเวณฝั่งซ้ายจะมีพอร์ต Thunderbolt 3 (USB-C) 2 พอร์ต ไว้ใช้ทั้งชาร์จไฟ เชื่อมต่อกับอุปกรณ์เสริม และต่อกับจอภาพ ข้างๆ จะเป็นไฟแสดงสถานะแบตเตอรีไว้ให้เช็กเวลาชาร์จทิ้งไว้ว่าเต็มหรือยัง โดยไม่ต้องเปิดเครื่องขึ้นมาดู

ทางฝั่งขวาจะมีตั้งแต่ช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม. พอร์ต USB-C 3.1 ช่องใส่ไมโครเอสดีการ์ด ส่วนบริเวณปลายขอบๆ จะเป็นที่อยู่ของลำโพงทั้ง 2 ฝั่ง ขนาดของ XPS 13 จะอยู่ที่ 302 x 199 x 7.8-11.6 มิลลิเมตร น้ำหนัก 1.21 กิโลกรัม

สำหรับสเปกของ XPS 13 ที่นำมาทดสอบจะเป็นรุ่นที่มากับซีพียู 8th Gen Intel Core i7 8550U ที่เป็น 4 คอร์ ความเร็วในการประมวลผลสูงสุด 4 GHz มากับ L3-Cache 8MB Intel UHD 620 RAM 16 GB พื้นที่เก็บข้อมูล 256 GB ทำงานบนระบบปฏิบัติการ Windows 10 Home 64bit

Gallery

ทดสอบประสิทธิภาพ

สำหรับผลการทดสอบประสิทธิภาพของ XPS 13 สามารถดูได้จากผลทดสอบด้านล่าง

สรุป

สำหรับในแง่ของการใช้งาน XPS 13 มาตอบโจทย์การใช้งานสำหรับนักธุรกิจและการใช้งานเพื่อความบันเทิงเป็นหลักโดยเฉพาะผู้ที่ต้องการโน้ตบุ๊กบางเบาพกพาง่ายที่เน้นในเรื่องของการแสดงผลที่คมชัดและไม่ได้มีปัญหาในเรื่องของงบประมาณเนื่องจากในตลาดนี้เริ่มมีตัวเลือกที่หลากหลายขึ้น

]]>
Review : Dell XPS 13 2in1 โน้ตบุ๊กไฮเอนด์ขอบจอบาง https://cyberbiz.mgronline.com/review-dell-xps-13-2in1-2017/ Sun, 01 Oct 2017 14:34:13 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=27282

การมาของ XPS 13 2in1 ในรุ่นปี 2017 ก็ถือเป็นการต่อยอดความสำเร็จของ XPS 13 รุ่นก่อนหน้า ด้วยการพัฒนาเรื่องของจอภาพแสดงผลให้เต็มพื้นที่มากขึ้น พร้อมกับใส่เทคโนโลยีในส่วนของระบบรักษาความปลอดภัยเข้ามาไม่ว่าจะเป็นกล้องหน้าที่รองรับ Windows Hello และเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือ

ขณะเดียวกันในส่วนของสเปกภายในก็มีการอัปเกรดอย่างต่อเนื่อง ด้วยหน่วยประมวลผลล่าสุดจากทาง Intel Core i7 Gen 7 RAM 16 GB พื้นที่เก็บข้อมูลเป็น SSD 512 GB มากับพอร์ตเชื่อมต่อสมัยใหม่อย่าง USB-C ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการยกเครื่องโน้ตบุ๊กให้ทันสมัยมากขึ้นด้วย

การออกแบบ

XPS 13 2in1 จะชูในเรื่องของการเป็นเครื่องขนาดหน้าจอ 13 นิ้ว ในฟอร์มเฟคเตอร์ของเครื่องขนาด 11-12 นิ้ว โดยใช้วัสดุอย่างอะลูมิเนียม ผสมกับคาร์บอนไฟเบอร์ เพื่อให้โครงเครื่องมีความแข็งแรง น้ำหนักเบา โดยมีขนาดอยู่ที่ 304 x 199 x 8-13.7 มิลลิเมตร น้ำหนัก 1.24 กิโลกรัม

ภายนอกตัวเครื่อง XPS 13 2in1 จะเน้นโทนสีเงินตัดกับโครงเครื่องสีดำ ที่จะเป็นจุดนำสายตาให้ตัวเครื่องดูเพรียวบาง โดยมีสัญลักษณ์ DELL อยู่ตรงกึ่งกลางฝาหน้า ตัดกับข้อต่อเหล็กสีเทาที่หุ้มด้วยอะลูมิเนียมคุณภาพสูง

เมื่อเปิดหน้าจอขึ้นมาจะพบกับจอแสดงผลแบบ InfinityEdge คลุมด้วยกระจก Corning Gorilla Glass รองรับการสัมผัส ขนาด 13.3 นิ้ว ความละเอียด QHD+ (3,200 x 1,800 พิกเซลที่ส่วนล่างหน้าจอจะมีสัญลักษณ์ DELL อีกจุด พร้อมกับกล้องเว็บแคมความละเอียด 720p ที่ทำหน้าที่เป็นเซ็นเซอร์สแกนใบหน้าสำหรับ Windows Hello ด้วย

ถัดลงมาในส่วนของคีย์บอร์ด ซึ่งถือเป็นอีกจุดที่น่าสนใจด้วยการนำปุ่มคีย์บอร์ดขนาดปกติมาให้ใช้งานกัน โดยจะไปย่อขนาดในส่วนของปุ่มฟังก์ชันที่แถบบนสุด ปุ่มควบคุมทิศทาง และปุ่มคำสั่งต่างๆแทน เพื่อให้การใช้งานพิมพ์สามารถทำได้อย่างคล่องตัว

พร้อมกันนี้ ในส่วนของ Touch Pad ที่ให้มาก็มีขนาดใหญ่ ช่วยให้ใช้งานเครื่องได้สะดวกขึ้น แม้ว่าหน้าจอของรุ่นนี้จะรองรับการสัมผัสอยู่แล้วก็ตาม ส่วนทางด้านขวาก็จะมีสี่เหลี่ยมที่เป็นจุดเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือ เพิ่มความปลอดภัยไปอีกขั้นหนึ่ง

เมื่อคว่ำเครื่องขึ้นมา จะเจอกับแถบยาง 2 แถบที่พาดยาวไปป้องกันตัวเครื่องเวลาวางใช้งาน โดยจะมีฝาปิดเหล็กที่สกรีนคำว่า XPS อยู่ เมื่อเปิดขึ้นมาก็จะเจอกับรหัสเครื่อง เครื่องหมายรับรองมาตรฐานต่างๆ และรูไขน็อตเพื่อเปิดฝาหลังออก

รอบๆเครื่องทางฝั่งซ้ายจะมีพอร์ต USB-C 1 พอร์ต ช่องเสียบหูฟัง 3.5 มม. และปุ่มสำหรับกดเช็กปริมาณแบตเตอรี ส่วนฝั่งขวาจจะมีพอร์ตสำหรับล็อกเครื่อง USB-C 1 พอร์ต ช่องใส่ไมโครเอสดีการ์ด และปุ่มเปิดเครื่อง ทั้งนี้ผู้ใช้สามารถเสียบสายชาร์จได้ทั้งฝั่งซ้าย และขวา เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน

ที่น่าสนใจคือเรื่องของสายชาร์จที่ให้มากับเครื่อง ที่ออกแบบมาให้พกพาได้สะดวก ด้วยการทำให้สามารถพันสายรอบอะเดปเตอร์ได้ แต่ก็จะมีในส่วนของสายไฟที่แยกออกมา ทำให้บางทีอยากหาหัวปลั้กมาต่อตรงกับอะเดปเตอร์แทน

สเปก

สำหรับเครื่อง XPS 13 2in1 รุ่นที่ได้มาทดสอบ จะมาพร้อมกับหน่วยประมวลผล 7th Generation Intel Core i7-7Y75 processor (4M Cache, up to 3.6 GHz) Intel HD Graphics 615 RAM 16 GB SSD 512GB

ในส่วนของการเชื่อมต่อจะใช้ชิปเซ็ต Intel 8265 รองรับ WiFi บนมาตรฐาน 802.11ac แบบ 2×2 พร้อมกับ บลูทูธ 4.2 ระบบเสียงจะใช้ลำโพงสเตอริโอที่ปรับแต่งโดย Waves MaxxAudio Pro ทำงานบนระบบปฏิบัติการ Windows 10 Home 64 bit

ฟีเจอร์เด่น

จุดเด่นหลักที่เดลล์ พยามนำเสนอในการใช้งาน XPS 13 2in1 คือเรื่องของรูปแบบในการใช้งาน ที่แบ่งออกเป็น 4 โหมดด้วยกัน คือโหมดแล็ปท็อป ในการทำงานทั่วไป โหมดแท็บเล็ตในกรณีที่ใช้สำหรับการอ่านหรือดูคอนเทนต์ โหมดตั้ง และโหมดเต็นท์ ในการนำเสนองาน หรือรับชมซีรีส์ที่ชื่นชอบ

ถัดมาเลยคือฟีเจอร์ที่มากับความสามารถของ Windows 10 ที่มีการเพิ่มในส่วนของระบบรักษาความปลอดภัยเพิ่มเติมด้วย Windows Hello ที่จะใช้ทั้งกล้องหน้าในการตรวจจับใบหน้าของผู้ใช้ ทำให้เมื่อเปิดเครื่องมาเจอใบหน้าที่ลงทะเบียนไว้ ตัวเครื่องก็จะปลอดล็อกโดนอัตโนมัติ

หรือจะเลือกใช้รูปแบบการปลดล็อกจากการสแกนลายนิ้วมือ ที่ให้มาด้วยก็ได้เช่นกัน หรือถ้าไม่ต้องการใช้ทั้ง 2 รูปแบบ ก็ยังสามารถเลือกการกรอกรหัส หรือเลือกแตะจุดบนหน้าจอเพื่อปลดล็อกได้เช่นเดิม

อย่างไรก็ตามในส่วนของโปรแกรมที่ติดตั้งมาให้ในเครื่อง และดูน่าสนใจที่สุดคือระบบอย่าง Dell Support Assist ที่จะช่วยเตือนในเรื่องของระยะเวลารับประกัน การแจ้งเตือนจากระบบให้อัปเดต รวมถึงการตรวจสอบอุปกรณ์ภายในเครื่อง ปรับแต่งการใช้งานให้เหมาะสม และการติดตั้งไดร์ฟเวอร์เพิ่มเติม

ส่วนที่เหลือก็จะเป็นโปรแกรมที่ให้มากับ Windows 10 อยู่แล้ว ดังนั้นก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคนว่าต้องการนำเครื่องไปใช้ทำอะไร ก็ลงโปรแกรมเพิ่มตามที่ใช้งาน ซึ่งจากสเปกเครื่องที่ให้มาเชื่อว่ารองรับการใช้งานของผู้บริโภคทั่วไป รวมถึงการทำงานหนักๆพอสมควรอยู่แล้ว

อีกจุดที่น่าสนใจเลยคือเรื่องของแบตเตอรีที่ให้มาขนาด 46WHr โดยเมื่อทดสอบใช้งานทั่วๆไป เล่นอินเทอร์เน็ต ทำงานเอกสาร ดูภาพยนตร์ออนไลน์ ที่มีการเชื่อมต่อตลอดเวลา ก็สามารถใช้งานได้ราว 8 ชั่วโมง ซึ่งทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการเปิดความสว่างหน้าจอ และการประมวลผลหนักๆ เพราะเดลล์เคลมว่าสามารถใช้งานได้สูงสุดถึง 15 ชั่วโมง

ทดสอบประสิทธิภาพ

PCMark 10 = 2,259 คะแนน

3D mark

Fire Strike Ultra 150 คะแนน
Fire Strike Extreme 282 คะแนน
Fire Strike 546 คะแนน
Sky Driver 2,286 คะแนน
Cloud Gate 4,336 คะแนน
Time Sky 216 คะแนน
Ice Storm Unlimited 56,308 คะแนน
Ice Storm Extreme 29,964 คะแนน

Cinebench R15 / OpenGL = 20.29fps, CPU = 164cb

Geekbench 4 / Single-core = 4,119 คะแนน, Multi-core = 7,068 คะแนน Open CL 14,216 คะแนน

เมื่อดูจากผลการทดสอบแล้ว จะพบว่า Dell XPS 13 2-1 ไม่ได้เป็นเครื่องที่เน้นด้านการประมวลผลเพื่อใช้ทำงานหนักๆ แต่จะเน้นไปที่ความสามารถของเครื่องโดยรวมมากกว่า รองรับการใช้งานทั่วๆไปในการทำงานแบบนักธุรกิจ หรือใช้เพื่อพรีเซนต์งานต่างๆ

สรุป

ด้วยคอนเซปต์ของเครื่องในตระกูล XPS ที่เน้นในแง่ของการนำนวัตกรรม ของโน้ตบุ๊กรุ่นใหม่ที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานได้ตามพฤติกรรมการใช้งาน ประกอบกับกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนว่าอยู่ในกลุ่มนักธุรกิจ

เพราะจากค่าตัวในรุ่นท็อปสุดจะอยู่ที่ 79,990 บาท แลกกับตัวเครื่อง 13 นิ้ว ที่พับหน้าจอใช้งานได้ 4 รูปแบบ มีความโดดเด่นในเรื่องของดีไซน์ที่ไม่เหมือนใคร ช่วยเสริมภาพลักษณ์ให้แก่ผู้ใช้งาน ดังนั้นก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้แล้วว่า มีความจำเป็นต้องใช้งานเครื่องในระดับนี้หรือไม่

ข้อดี

  • ไฮบริดโน้ตบุ๊กที่สามารถปรับรูปแบบการใช้งานได้ 4 แบบ
  • หน้าจอ 13 นิ้วแบบเต็มพื้นที่ ช่วยให้ตัวเครื่องมีขนาดเล็กลง
  • ขนาด และน้ำหนัก ทำให้พกพาง่าย
  • อะเดปเตอร์ชาร์จขนาดเล็ก

ข้อสังเกต

  • ราคาค่อนข้างสูง (ขึ้นกับสเปก)
  • ด้วยซีพียู ที่เป็นรุ่นประหยัดพลังงาน ทำให้มีข้อจำกัดในการใช้งานประมวลผลสูงๆ
  • แบตเตอรี เมื่อทำงานหนักๆ ไม่เพียงพอกับการใช้งานใน 1 วัน

Gallery

]]>