Apple – CBIZ Reviews – MGR Online https://cyberbiz.mgronline.com เว็บไซต์รีวิวอุปกรณ์ ไอที ไฮเทค เป็นส่วนหนึ่งของผู้จัดการออนไลน์ Fri, 21 May 2021 04:14:41 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.0 Review : Apple iMac 24” ดีไซน์ สีใหม่ แรงด้วยชิป M1 https://cyberbiz.mgronline.com/review-apple-imac-24inch/ Fri, 21 May 2021 03:52:00 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=35221

iMac 24” รุ่นปี 2021 ถือเป็นการปรับโฉมผลิตภัณฑ์ครั้งสำคัญของ Apple และมีการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ส่วน หลังจากที่ Apple เลือกหันมาพัฒนาชิปประมวลผลของตัวเองอย่าง Apple M1 และทยอยนำมาใช้งานกับผลิตภัณฑ์หลายๆ ประเภท เริ่มจาก MacBook Air MacBook Pro Mac mini และคราวนี้ก็ถึงคิวของ iMac และ iPad Pro

ความพิเศษก็คือที่ผ่านมาทั้ง MacBook Air MacBook Pro Mac mini และ iPad Pro ยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่แอปเปิลใช้ดีไซน์เดิมมาเปลี่ยนชิปเซ็ตภายในเป็น Apple M1 เท่านั้น ไม่เหมือนกับ iMac 24” ที่กลายเป็นผลิตภัณฑ์แรกที่แอปเปิล เลือกออกแบบใหม่ทั้งหมด และใช้ประโยชน์ของ Apple M1 ได้อย่างน่าสนใจ

นอกจากนี้ Apple ยังได้แยกรูปแบบการใช้งานของ iMac 24” ให้ชัดเจนมากขึ้น ด้วยการนำเสนอเป็นคอมพิวเตอร์แบบออลอินวันสำหรับทุกคน ที่ไม่ได้เน้นเจาะกลุ่มมืออาชีพที่ต้องการประสิทธิภาพในการทำงาน และจอใหญ่เท่านั้น แต่รวมถึงการนำไปใช้งานในชีวิตประจำวัน ด้วยการเพิ่มตัวเลือกสีสันที่หลากหลาย จนถึงการนำไปใช้ในภาคธุรกิจก็ได้เช่นกัน

ข้อดี

  • ออกแบบใหม่ ตัวเครื่องบาง มีให้เลือกหลายสี
  • จอ 24 นิ้ว ความละเอียด 4.5K
  • ประสิทธิภาพสูง รองรับการใช้งานที่หลากหลายจาก Apple M1
  • กล้อง FaceTime  HD 1080p รองรับการวิดีโอคอล
  • ไมโครโฟน และลำโพง ปรับปรุงให้คุณภาพดีขึ้น

ข้อสังเกต

  • ขนาดจอจริงๆ อยู่ที่ 23.5 นิ้ว
  • ไม่สามารถเลือกสีของอุปกรณ์เสริมได้
  • เมจิกคีย์บอร์ดพร้อม Touch ID มาในรุ่น CPU 8 Core GPU 8 Core ถ้ารุ่นเริ่มต้นต้องซื้อเพิ่ม

ใส่ใจทุกรายละเอียด

ต้องยอมรับว่า Apple ยังคงรักษามาตรฐานในการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้อย่างน่าสนใจ โดยเฉพาะกับการใส่ใจรายละเอียดของสีใน iMac รุ่นนี้ ซึ่งจะเห็นได้ตั้งแต่รายละเอียดต่างๆ กล่องของผลิตภัณฑ์ ที่ตรงสีกับตัวเครื่องที่เลือก รวมถึงการใส่ใจในสิ่งแวดล้อม โดยบรรจุภัณฑ์ของ iMac ใช้กระดาษเป็นสัดส่วนหลักถึง 90%

เมื่อเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ ทำให้ Apple ต้องออกแบบกล่องบรรจุภัณฑ์ที่สามารถป้องกันการกระแทกได้ ด้วยการนำกระดาษมาใช้งาน ทำให้เมื่อเปิดฝากล่องขึ้นมา เมื่อเห็นตัวเครื่องแล้วต้องง้างบริเวณขอบข้างกล่องออก ถึงจะสามารถยก iMac ออกจากกล่องได้ ช่วยให้ปลอดภัยระหว่างการขนส่งอย่างแน่นอน

ถัดมาคือรายละเอียดของอุปกรณ์เสริมต่างๆ อย่างใน iMac สีเหลืองเครื่องนี้ สัญลักษณ์อุปกรณ์เสริมก็จะเป็นสีเหลือง เมื่อเปิดออกมาก็จะพบกับอุปกรณ์ที่ถูกห่อด้วยกระดาษเช่นเดียวกัน ทำให้บรรจุภัณฑ์นี้ กลายเป็นบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกตามที่แอปเปิลวางแผนไว้

ในส่วนของสีอุปกรณ์เสริม ไม่ว่าจะเป็นคีย์บอร์ด เมาส์ และทัชแพด จะเล่นขอบสีให้เหมือนกับสีหลักของตัวเครื่อง ส่วนสายชาร์จเมาส์ที่เป็น USB-C to Lightning และสายไฟ จะใช้สีโทนอ่อนลง ซึ่งจะเป็นสีเดียวกับขอบล่างของจอ iMac นั่นเอง

น่าเสียดายที่ Apple ยังไม่เปิดเผยว่าจะมีการแยกวางจำหน่ายอุปกรณ์เสริมที่เป็นสีสันเหล่านี้แยกออกมาหรือไม่ เพราะเชื่อว่าต้องมีผู้ที่ใช้งาน iPhone แล้วอยากได้สายชาร์จแบบถักสีๆ ไปใช้งานแน่นอน สิ่งที่ทำได้ในเวลานี้คือการซื้อเครื่อง iMac ถึงจะได้อุปกรณ์เสริมตามสีที่อยากได้

ดีไซน์ใหม่หมด

หลังจากแกะเครื่องออกจากกล่องแล้ว สิ่งที่ได้เห็นคือ iMac ที่มีการออกแบบใหม่ทั้งหมด โดยมีจุดเด่นอยู่ที่ตัวเครื่องหนาเพียง 11.5 มิลลิเมตร พร้อมกับสีสันตัวเครื่องที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะสีเหลืองนี้ จะมีความโดดเด่นของตัวเครื่องใกล้เคียงกับสีทอง สำหรับขนาดของพื้นที่ใช้งานโดยรวมจะอยู่ที่ 46.1 x 54.7 x 14.7 เซนติเมตร น้ำหนักของตัวเครื่องอยู่ที่ 4.46 – 4.48 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับรุ่นที่เลือก

นอกจากสีเหลืองแล้ว iMac ยังมีให้เลือกอีก 6 สี เริ่มจากสีเงินที่เป็นสีดั้งเดิม ตามด้วยสีน้ำเงิน ม่วง ชมพู ส้ม และเขียว ซึ่งสีเหล่านี้ถ้าจำกันได้ก็คือมาจากโลโก้ของ Apple ในยุคแรก เรียกได้ว่ามีให้เลือกหลายสีตามสีที่แต่ละคนชื่นชอบ และเลือกนำไปใช้ให้เหมาะกับเฟอร์นิเจอร์ในบ้านก็ได้

ในส่วนของหน้าจอ iMac 24 นิ้ว ความจริงแล้วขนาดหน้าจอจะอยู่ที่ 23.5 นิ้ว เมื่อวัดในแนวทแยงมุม แต่ด้วยการสื่อสารที่ง่ายทำให้ Apple เลือกสื่อสารว่าเป็นรุ่น 24 นิ้วแทน ความละเอียดจอที่ได้จะเป็น 4.5K Retina display 4480 x 2520 พิกเซล รองรับการแสดงผล 1 พันล้านสี ความสว่างสูงสุด 500 nits ขอบเขตสี P3 และมีการปรับความสว่าง และโทนสีหน้าจออัตโนมัติ (True Tone)

บริเวณขอบของจอแสดงผล iMac ทั้ง 7 สี จะเลือกใช้สีขาว แตกต่างจากก่อนหน้านี้ที่ iMac ทั้งรุ่น 21.5 นิ้ว และ 27 นิ้ว จะมากับขอบจอสีดำ ซึ่งอาจจะเป็นเหตุผลที่จะสื่อถึงเหมาะกับการใช้งานทั่วไป ไม่ได้เน้นกลุ่มมืออาชีพเหมือนที่ผ่านมาอีกต่อไปแล้ว

ในส่วนของกล้อง FaceTime HD ใน iMac 24 นิ้ว มีการปรับความละเอียดเพิ่มขึ้นเป็น 1080p เช่นเดียวกับ iMac 27 นิ้ว ที่ออกมาก่อนหน้านี้ เพียงแต่ในรุ่นนี้จะมีคุณภาพที่ดีกว่าจากการนำชิปประมวลผลภาพ Image Signal Processor (ISP) ที่อยู่ในชิป M1 มาช่วยด้วย เนื่องจากช่วงหลังๆ การวิดีโอคอลล์กลายเป็นรูปแบบการใช้งานหลักของผู้ใช้หลายๆ คน

ในส่วนของพื้นที่ว่างใต้หน้าจอที่เรียกกันว่าบริเวณคางของ iMac 24″ นั้น ภายในจะเป็นที่อยู่ของเมนบอร์ด และชิปเซ็ตต่างๆ พร้อมพัดลมระบายอากาศ 2 ตัว ทำให้ในส่วนนี้จะมีหน้าที่หลักสำหรับการระบาดอากาศ และเป็นที่อยู่ของลำโพงด้วยเช่นกัน

พร้อมกับพัฒนาทั้งไมโครโฟน 3 ตัว ให้รับเสียงได้ดีขึ้น และช่วยตัดเสียงรบกวนจากรอบข้าง เช่นเดียวกับลำโพง 6 ตัว ที่ใส่มาให้ ทำให้เป็นเครื่องที่สามารถใช้งานได้ทั้งการประชุม จนถึงใช้เพื่อความบันเทิงอย่างดูหนัง ฟังเพลงได้อย่างเต็มที่ เพราะรองรับระบบเสียงแบบ Dolby Atmos ด้วย

สำหรับพอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ จะมีช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม. มาให้ทางซ้ายของเครื่อง จากในรุ่นก่อนที่อยู่ด้านหลัง เนื่องมาจากเมื่อตัวเครื่อง iMac บางลง ทำให้ไม่สามารถวางตำแหน่งพอร์ตไว้ที่เดิมได้อีกต่อไป ส่วนหลังเครื่องจะมีพอร์ต USB-C / Thunderbolt มาให้ตามรุ่นที่เลือก โดยในรุ่นเริ่มต้นจะให้มา 2 พอร์ต ส่วนรุ่น 8 CPU 8 GPU จะให้ USB 3 เพิ่มมากอีก 2 พอร์ต

จุดเชื่อมต่อสายไฟเข้าเครื่อง เป็นอีกนวัตกรรมที่ Apple พัฒนาขึ้น เพราะนอกจากใช้ในการปล่อยกระแสไฟเข้าตัวเครื่องแล้ว ที่อะเดปเตอร์ Apple ยังมีพอร์ต Gigabit Ethernet มาให้ด้วย เรียกได้ว่าเป็นการประหยัดพื้นที่ของตัวเครื่อง iMac แล้วนำพอร์ตมาไว้ที่อะเดปเตอร์แทน

โดยอะเดปเตอร์ที่ให้มาสามารถส่งไฟได้ 143W ซึ่งในความเป็นจริงชิป M1 ไม่ได้ใช้พลังงานมากขนาดนั้น เพราะ M1 ที่ใช้งานกับ MacBook Air มากับอะเดปเตอร์เพียง 30W เท่านั้น เรียกได้ว่า Apple เตรียมพร้อมไว้สำหรับอนาคตก็ว่าได้ จากอะเดปเตอร์จะมีสายถักไว้เชื่อมต่อกับตัวเครื่องยาว 2 เมตร ไม่นับรวมสายไฟอีกราว 1 เมตร ทำให้ผู้ใช้สามารถจัดวางตัวเครื่องโดยมีเพียงสายไฟเส้นเดียวโผล่ขึ้นมาจากโต๊ะ

ถัดมาในส่วนของ Magic Keyboard กรณีที่เป็นรุ่นเริ่มต้นจะไม่มี Touch ID มาให้ ต้องเป็นรุ่น 8 CPU 8 GPU ถึงจะมีให้เช่นเดียวกัน โดยความละดวกของ Touch ID ก็คือการที่เวลาใช้งานในบ้านที่มีผู้ใช้หลายคน เมื่อแตะ Touch ID ก็จะเป็นการล็อกอินเข้าบัญชีของแต่ละคนได้ทันที ยิ่งเมื่อทำงานร่วมกับคีย์บอร์ดไร้สายจึงยิ่งสะดวกขึ้น

ในขณะที่ Magic Mouse และ Magic Trackpad จะมีการเปลี่ยนแปลงที่สีบริเวณขอบ ซึ่งจะเป็นโทนเดียวกับตัวเครื่อง เรียกได้ว่าใครที่เลือก iMac สีเหลืองมาใช้ จะได้ปลดล็อกสกินสีทองในเมจิกเมาส์ทันที ที่น่าเสียดายก็คือเวลาต้องการชาร์จ Magic Mouse ก็ยังต้องใช้การเสียบสายที่ใต้เมาส์อยู่ดี ทำให้ไม่สามารถชาร์จไปใช้งานไปด้วยได้

แรงด้วย Apple M1

ที่ผ่านมา Apple ได้พิสูจน์ความสามารถของชิป M1 กันไปแล้ว ตั้งแต่ตอนที่เปิดตัว MacBook Pro M1 ซึ่งผลทดสอบประสิทธิภาพนั้น แรงกว่าชิป Intel Core i9 ที่อยู่ใน MacBook Pro 16” เสียอีก ดังนั้น เรื่องความแรงของ iMac 24” จึงไม่ได้เป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงมากนัก

โดยในภาพรวม Apple M1 ที่ให้มานั้น รองรับการใช้งานทั่วๆ ไปของผู้บริโภคทั่วไปอยู่แล้ว จนถึงคอนเทนต์ครีเอเตอร์ระดับมืออาชีพที่ต้องการคอมพิวเตอร์มาเรนเดอร์ภาพยนต์ความละเอียด 4K ชิป M1 ก็สามารถทำงานได้อย่างยอดเยี่ยม ดังนั้นถ้าเป็นการใช้งานภายในบ้าน สำนักงาน หรือวางไว้ใช้ตามสถานที่ต่างๆ iMac 24” รองรับได้สบาย

ในการเลือกซื้อ Apple จะมีให้เลือกว่าต้องการ Apple M1 รุ่น 8 Core CPU 7 Core GPU และ 8 Core CPU 8 Core GPU ให้เลือก สามารถใส่ RAM ได้สูงสุดที่ 16 GB และพื้นที่เก็บข้อมูลแบบ SSD ได้สูงสุดถึง 2 TB ดังนั้นก็ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งานเป็นหลัก

ส่วนการเชื่อมต่อ iMac 24” รองรับ WiFi 6 และบลูทูธ 5.0 ทำงานบนระบบปฏิบัติการ macOS BigSur ที่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับอีโคซิสเตมส์ของ iPhone และ iPad ได้อย่างไร้รอยต่อ ส่วน Thunderbolt / USB 4 ที่ให้มา สามารถส่งต่อข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงสุด 40 Gbps ส่วน USB 3 จะอยู่ที่ 10 Gbps โดยสามารถเชื่อมต่อกับจอแสดงผล 6K อย่าง Pro Display XDR ได้ด้วย

รุ่น และสี ที่วางจำหน่าย

iMac รุ่นเริ่มต้นแบบ 8 CPU 7 GPU จะมีให้เลือกเฉพาะสีฟ้า เขียว ชมพู และเงิน เท่านั้น ในราคาเริ่มต้น 42,900 บาท ส่วนถ้าต้องการสีเเหลือง ส้ม และม่วง จะต้องเลือกเป็นรุ่น 8 CPU 8 GPU แทนในราคาเริ่มต้น 49,900 บาท ซึ่งจะได้พื้นที่เก็บข้อมูล 256 GB

โดยในแง่ของการใช้งาน รุ่นที่แนะนำให้เลือกซื้อก็จะเป็น 8 Core CPU 8 Core GPU เป็นหลัก เพราะจะได้เพิ่มมาทั้งเมจิกคีย์บอร์ดที่มีทัชไอดี ตัวอะเดปเตอร์ที่สามารถเชื่อมต่อสายแลนได้ทันที และมีพอร์ต USB-C เพิ่มมาให้อีก 2 พอร์ตสำหรับเชื่อมต่อใช้งานเพิ่มเติม

ส่วนพื้นที่เก็บข้อมูลถ้าเป็นรุ่นเริ่มต้น 256 GB อาจจะเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ได้ต้องการใช้ iMac ในการเก็บข้อมูล เน้นการใช้งานร่วมกับคลาวด์ หรือเปิดใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก ตรงนี้อาจจะต้องดูถึงจุดประสงค์ในการใช้งานร่วมด้วย โดยสามารถเลือกความจุได้ตั้งแต่ 256 GB 512 GB 1 TB และ 2 TB

สรุป iMac 24” เหมาะกับใคร

Apple ไม่ได้วางตำแหน่งให้ iMac เป็นคอมพิวเตอร์สำหรับมืออาชีพอีกต่อไป แต่หันมาจับกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไปที่ต้องการคอมพิวเตอร์แบบออลอินวันใช้งานในบ้าน ซึ่งตลาดเครื่อง All-in-One ในช่วงที่ผ่านมา ถือว่าเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงที่มีการ Work from Home หลายๆ บ้านเลือกที่จะซื้อคอมพิวเตอร์ให้บุตรหลานใช้ในการเรียนออนไลน์ และใช้งานเพื่อความบันเทิงเพิ่มเติม

นอกจากนี้ iMac 24” ยังสามารถนำไปใช้งานในกลุ่มธุรกิจได้ อย่างโรงแรม ร้านอาหาร ที่ต้องการคอมพิวเตอร์ไปใช้งาน เพิ่มสีสันให้ร้านค้า เพราะมีตัวเลือกมาให้ถึง 7 สี สามารถนำไปตกแต่งร่วมกับบรรยากาศต่างๆ ได้ทันที ซึ่งถือเป็นการขยายตลาดของ iMac เพิ่มเติมได้อย่างน่าสนใจ

Gallery

]]>
Review : Apple MacBook Pro M1 จุดเริ่มต้นของแมคยุคใหม่ https://cyberbiz.mgronline.com/review-apple-macbook-pro-m1/ Fri, 29 Jan 2021 06:54:18 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=34666

นับตั้งแต่ Apple เปิดตัวชิปเซ็ตสำหรับแมคบุ๊กรุ่นใหม่อย่าง Apple M1 ออกมา ได้กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตลาดโน้ตบุ๊กพอสมควร ทั้งในแง่ของประสิทธิภาพในการทำงานที่แรงกว่าซีพียูหลักๆ ที่ใช้งานกันในปัจจุบัน จนถึงเรื่องของการใช้พลังงานที่น้อยลง และกลายเป็นจุดที่ทำให้ประทับใจกับชิปเซ็ตนี้มากที่สุด

หลังจากใช้งาน MacBook Pro M1 มาเกือบ 2 เดือน ทำให้เห็นถึงภาพรวมการใช้งานของ MacBook รุ่นใหม่ที่นำความสามารถของชิปเซ็ตนี้มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจ ทั้งเรื่องของฮาร์ดแวร์ และระบบปฏิบัติการที่ปรับปรุงให้รองรับการใช้งานได้เป็นอย่างดี

แม้ว่า MacBook Air และ MacBook Pro จะยังคงใช้โมเดลเครื่องเดิม แต่การที่เปลี่ยนแปลงชิปเซ็ตในครั้งนี้ ช่วยให้ตัวเครื่องแรงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และกลายเป็น MacBook 2 รุ่น เริ่มต้น ที่เหมาะกับการใช้งานทั่วไปมากที่สุดในเวลานี้

ข้อดี

  • ประสิทธิภาพในการทำงานของชิปเซ็ต ร่วมกับระบบปฏิบัติการ macOS BigSur
  • แบตเตอรีใช้งานได้ต่อเนื่องทั้งวันสบายๆ
  • ตัวเครื่องร้อนน้อยกว่ารุ่น Intel อย่างเห็นได้ชัด

ข้อสังเกต

  • การใช้งานโปรแกรมเก่า บนชิปเซ็ตรุ่นใหม่ยังไม่ 100%
  • ตัวเครื่องยังใช้โมเดลเดิม และคาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในปีนี้
  • ในช่วงแรกที่ใช้งานมีปัญหาเรื่องการเชื่อมต่อบลูทูธไม่เสถียร

เปลี่ยนชิป แต่ดีไซน์เดิม

ทั้ง MacBook Air และ MacBook Pro ที่ใช้งาน Apple M1 รุ่นแรกที่ออกมาทำตลาดนั้น ต้องมองว่าแอปเปิล เลือกที่จะนำชิปเซ็ตรุ่นใหม่มาใช้งานกับฟอร์มเฟคเตอร์แบบเดิมก่อน แม้ว่าในความเป็นจริงแล้วชิปเซ็ต M1 จะมีขนาดเล็กลงอย่างมาก เมื่อเทียบกับการใช้เมนบอร์ดที่ทำงานร่วมกับซีพียูของ Intel

ดังนั้น เครื่องรุ่นแรกนี้จึงเหมือนเป็นรุ่นทดสอบแรก ของ Apple ในช่วงการเปลี่ยนผ่านหน่วยประมวลผลจาก Intel ที่ทำงานบนสถาปัตยกรรมแบบ x86/x64 ไปยังสถาปัตยกรรมแบบ ARM ที่จะเกิดขึ้นในช่วง 2 ปีข้างหน้านี้

โดยใน MacBook Pro 13” (late 2020) จะใช้ดีไซน์เดิมของ MacBook Pro with TouchBar รุ่นเริ่มต้น ที่มีพอร์ต Thunderbolt 3 (USB-C) 2 พอร์ต มาให้ใช้งาน โดยมีขนาดตัวเครื่องอยู่ที่ 304.1 x 212.4 x 15.6 มิลลิเมตร น้ำหนักประมาณ 1.4 กิโลกรัม

สิ่งที่พัฒนาขึ้นมาคือเรื่องของการแสดงผลบนจอ Retina Display ขนาด 13.3 นิ้ว ความละเอียด 2560 x 1600 พิกเซ ที่ให้ความสว่างหน้าจอ 500 nit แสดงผลสีแบบ True Tone ที่รองรับขอบเขตสีกว้างระดับ P3 ทำให้การแสดงผลทำได้สวยงาม

พอร์ตเชื่อมต่อที่ให้มาทางซ้ายจะมีเพียง Thunderbolt 3 ที่เป็น USB 4 ใช้สำหรับเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เสริมต่างๆ ต่อจอภาพ รวมถึงชาร์จแบตฯ มาให้ 2 พอร์ต และทางขวาจะมีช่องเสียบหูฟัง 3.5 มม. มาให้ใช้งาน

คีย์บอร์ดของ MacBook Pro 13.3 นี้ปรับมาใช้งาน Magic Keyboard แล้วจากรุ่นก่อนหน้าที่ใช้งานเป็น Butterfly Keyboard และเริ่มนำมาใช้งานใน MacBook Pro 16” ก่อนทยอยอัปเดตให้ MacBook Pro รุ่นใหม่ใช้งานแทนที่ของเดิม

เทียบ Butterfly Keyboard ในรุ่นเก่า กับ Magic Keyboard ในรุ่นใหม่

บริเวณคีย์บอร์ดยังให้ Touch Bar มาไว้สำหรับสั่งงานร่วมกับโปรแกรมต่างๆ ได้สะดวกขึ้น โดยทางขวาสุดของ Touch Bar จะเป็น Touch ID ไว้สแกนลายนิ้วมือในการปลดล็อกเครื่อง รวมถึงการทำธุรกรรมต่างๆ บน MacBook ด้วย

ตัวแทร็กแพดที่ให้มายังคงใช้งานเป็น Force Touch ที่ใช้ไฟฟ้าสถิตมาคำนวนแรงกดของปุ่มช่วยให้มีความแม่นยำ และรองรับการใช้งานแบบมัลติทัชได้สมบุรณ์แบบเช่นเดิม

แบตเตอรีที่ให้มาภายใน MacBook Pro 13.3 นิ้ว เป็นขนาด 58.2 Whr ซึ่งทำให้ MacBook Pro รุ่นนี้ สามารถใช้งานเว็บเบราว์เซอร์ได้นานถึง 17 ชั่วโมง และใช้ดูภาพยนต์ได้ต่อเนื่องถึง 20 ชั่วโมงด้วยกัน

ภายในของ MacBook Pro M1 ยังมีจุดที่พัฒนาขึ้นอีกหลายๆ ด้านทั้งเรื่องของกล้อง FaceTime HD ที่ปรับปรุงให้รับแสงได้ดีขึ้น ลำโพงสเตอริโอที่ให้เสียงกว้างขึ้น รองรับ Dolby Atmos เพิ่มไมโครโฟนตัดเสียงรบกวน รับกับเทรนด์ของการใช้งานวิดีโอคอนเฟอเรนซ์มากยิ่งขึ้น

ในขณะที่การเชื่อมต่อจะรองรับ WiFi 6 (802.11ax) เรียบร้อยแล้ว พร้อมบลูทูธ 5.0 ทำงานบนระบบปฏิบัติการ macOS BigSur ภายในกล่องจะให้อะเดปเตอร์แปลงไฟ USB-C ขนาด 61W มาให้พร้อมสาย USB-C ยาว 2 เมตร

ทำความเข้าใจ Apple M1

ในส่วนของสเปกตัวเครื่อง MacBook Pro 13.3 นิ้ว รุ่นใหม่นี้ จะมากับชิป Apple M1 ที่เปลี่ยนการออกแบบของหน่วยประมวลผลจากเดิมที่แยกกันในยุคของ Intel มารวมกันอยู่ในชิปเดียว (SOC : System on Chip) ช่วยให้แต่ละส่วนสื่อสารกันได้เร็วขึ้น และทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ภายในชิป M1 นี้ จะเป็นการรวมทั้งซีพียู ชิปโมเด็มสำหรับเชื่อมต่อ หน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) หน่วยความจำ (RAM) ชิปประมวลผล AI (Neural Engine) เข้ามาอยู่รวมกัน

ขณะเดียวกัน ด้วยการผลิตบนสถาปัตยกรรมแบบ 5 นาโนเมตร ทำให้ Apple M1 กลายเป็นชิปรุ่นแรกที่ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ที่มีการนำทรานซิสเตอร์ 1.6 หมื่นล้านตัวมาไว้ในชิปเดียวกัน

ในส่วนของซีพียูนั้น จะทำงานในแบบของ Octa-Core หรือ 8 คอร์ ที่แบ่งเป็นคอร์ประสิทธิภาพสูงจำนวน 4 คอร์ ออกแบบมาให้เรียกใช้การประมวลผลได้อย่างเต็มที่ และอีก 4 คอร์ สำหรับการใช้งานเบาๆ ช่วยให้รวมๆ แล้วสามารถประหยัดพลังงานได้เป็นอย่างมาก

ถัดมาคือความสามารถในการประมวลผลภาพ ที่กลายเป็นว่าเมื่อ GPU สามารถดึงหน่วยความจำมาใช้งานได้เต็มที่ก็จะช่วยทำให้ความเร็วในการประมวลผลเพิ่มขึ้นด้วย ตามด้วยการเติมชิป Neural Engine มาช่วยเรียนรู้พฤติกรรมการใช้งาน และปรับรูปแบบการใช้งานให้เหมาะสมด้วย

ในภาพรวมชิปเซ็ต Apple M1 ถือว่าให้พลังในการประมวลผลที่เร็วขึ้น และประหยัดพลังงานขึ้นอย่างชัดเจน เมื่อเทียบกับซีพียู Intel ที่แอปเปิลเลือกใช้ก่อนหน้านี้ ถือว่าพัฒนามาอย่างก้าวกระโดด

โดยปัจจัยหนึ่งที่สำคัญมากๆ ในการเปลี่ยนผ่านซีพียูครั้งนี้เกิดขึ้นได้ไร้รอยต่อก็คือการที่ทีมนักพัฒนาของแอปเปิล ปรับปรุง macOS BigSur ให้รองรับการทำงานร่วมกับชิปที่ใช้ ARM ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และปลดล็อกรูปแบบการใช้งานใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นบน MacBook ด้วย

ภายใต้การนำ Rosetta 2 ที่จะช่วยแปลงโปรแกรมที่ใช้ x86/x64 มาใช้งานบน M1 ได้รวดเร็วขึ้นด้วย นอกจากนี้ ยังสามารถนำแอปพลิเคชันที่พัฒนาให้ใช้งานบน iPhone และ iPad มาใช้งานบน MacBook ได้ด้วย เพราะถือว่าเป็นแอปที่พัฒนาบนพื้นฐานเดียวกันเรียบร้อยแล้ว

MacBook Air / Pro ที่ใช้ M1 เหมาะกับใคร

แน่นอนว่า ด้วยการที่เป็นรุ่นเปลี่ยนผ่านจาก Intel สู่ Apple M1 ทำให้ในการใช้งานจะมีจุดที่ต้องคำนึงถึงหลายๆ อย่าง เช่นผู้ที่ต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมที่เป็น legacy ทั้งหลาย ที่หยุดพัฒนาไปแล้ว อาจจะไม่รองรับการทำงานได้อย่างเต็มที่บน M1

รวมถึงผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้งาน Bootcamp เพื่อรัน Windows ใช้งานบางส่วน บน Mac ที่ใช้ M1 ก็จะไม่สามารถใช้งาน Bootcamp ได้ ทำให้มีข้อจำกัดในการใช้งานอยู่พอสมควร

แต่กลับกันถ้าเป็นผู้ที่อยู่บนอีโคซิสเตมส์ของ Apple อยู่แล้ว โปรแกรมทั้งหลายที่ใช้เพื่อทำงาน ครีเอเตอร์ ทำงานเกี่ยวกับการตกแต่งภาพ ตัดต่อวิดีโอ ตลอดจนเรื่องของความบันเทิงต่างๆ ต้องยอมรับว่าประมวลผลได้เร็วขึ้นอย่างชัดเจน

เช่นเดียวกับเรื่องของแบตเตอรี ที่กลายเป็นว่าจากเดิม MacBook Pro ที่ใช้งาน Intel แทบจะต้องชาร์จแบตฯ เพื่อใช้งานทุกวัน แต่เมื่อใช้งานบน Apple Silicon ของ M1 แล้วกลายเป็นว่าใช้งานได้ต่อเนื่องยาวๆ เรียกได้ว่าไม่ต้องพกพาอะเดปเตอร์ออกนอกบ้านก็ทำงานได้ต่อเนื่องตลอดทั้งวัน

เรียกได้ว่าถ้าใครมีแผนที่จะซื้อ MacBook เครื่องใหม่ในช่วงนี้ เพื่อใช้ในการเรียน ทำงาน เน้นใช้โปรแกรมของ Apple และโปรแกรมใหม่ๆ ที่มีให้ดาวน์โหลดผ่าน App Store รุ่นที่ใช้งาน M1 จะตอบโจทย์อย่างแน่นอน

อีกข้อได้เปรียบของ MacBook ที่ใช้ Apple M1 คือภายใน App Store สามารถเลือกติดตั้งแอปพลิเคชันที่เปิดให้ใช้งานบน iPad และ iPhone ได้ด้วย ซึ่งถ้าแอปมีการอัปเดตให้รองรับก็จะใช้งานได้ไม่ต่างจากใช้งานบน iOS ได้เลย ช่วยอำนวยความสะดวกเพิ่มมากขึ้น

เลือก MacBook Air หรือ MacBook Pro

กลับมาที่อีกคำถามสำคัญคือ Apple เลือกเปิดตัว MacBook Air และ MacBook Pro ที่ใช้ชิป Apple M1 ออกมาพร้อมกัน ซึ่งประสิทธิภาพในการประมวลผลของทั้ง 2 รุ่นแทบไม่แตกต่างกัน

จุดต่างหลักๆ คือถ้าเป็น MacBook Air รุ่นเริ่มต้น 32,900 บาท จะเป็นชิป M1 ที่ใช้ GPU แบบ 7 คอร์ ความจุ 256 GB แต่ถ้าเป็นรุ่นที่ใช้ GPU 8 คอร์ ราคาจะอยู่ที่ 41,400 บาท ได้ความจุ 512 GB ซึ่งราคาจะไปใกล้กับ MacBook Pro M1 รุ่นเริ่มต้นที่ 42,900 บาท แต่ได้ความจุแค่ 256 GB

ถ้ามองในแง่ของความคุ้มค่าในการใช้งานจริงๆ MacBook Air M1 รุ่น 512 GB ถือว่าเพียงพอกับการใช้งานแล้ว ถ้าไม่ได้นำมาใช้ในการตัดต่อที่ต้องใช้พลังการประมวลผลยาวนาน แต่ถ้าใช้งานหนักๆ ต่อเนื่อง MacBook Pro ก็จะเหมาะกว่า

เหตุผลหลักก็คือ MacBook Air จะไม่มีพัดลมระบายอากาศ ในขณะที่ MacBook Pro จะมีพัดลม ทำให้ช่วยคุมอุณหภูมิของซีพียู เพื่อให้ใช้งานแบบประสิทธิภาพสูงสุดได้ต่อเนื่อง แต่ถ้าเป็นการประมวลผลในช่วงระยะเวลาสั้นๆ MacBook Air ก็พอกับการทำงานแล้ว

อย่างไรก็ตาม ถ้ายังไม่ได้มีความจำเป็นต้องซื้อเครื่องใหม่ในเวลานี้ ก็อยากแนะนำให้รอ MacBook รุ่นใหม่ที่จะออกในปี 2021 นี้มากกว่า เพราะคาดว่าจะมีการปรับปรุงในแง่ของดีไซน์ใหม่

เพราะขนาดของชิปเซ็ต และชิ้นส่วนต่างๆ ที่ใช้งานกับ Apple M1 นั้นเล็กลงมา แต่กลายเป็นว่าในรุ่นนี้ยังใช้ดีไซน์เดิมอยู่ การออกรุ่นใหม่ในปีนี้อย่าง Apple M1x อาจจะมาพร้อมกับดีไซน์ใหม่ และปลดล็อกประสิทธิภาพการใช้งานขึ้นไปอีก

สรุป

MacBook Pro 13 นิ้ว ที่มากับชิปเซ็ต Apple M1 ถือว่าทำออกมาได้ประทับใจในเรื่องประสิทธิภาพในการประมวลผล ที่เร็วขึ้นอย่างรู้สึกได้ ทั้งการใช้งานทั่วไป หรือแม้แต่การตกแต่งรูป ตัดต่อวิดีโอต่างๆ

อีกจุดที่สร้างความประทับใจเป็นอย่างมาก คือเรื่องของประหยัดพลังงานที่สามารถพกเครื่องนี้ออกไปทำงานนอกบ้านได้สบายๆ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องของแบตเตอรีเลย แม้ว่าจะเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตใช้งานตลอดเวลาก็ตาม

อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกที่ใช้งานพบเจอปัญหาจากความไม่เสถียรของรับบบ้าง อย่างเช่นการส่ง AirDrop ระหว่างอุปกรณ์ Apple ด้วยกัน หรือปัญหาการเชื่อมต่อบลูทูธหลายอุปกรณ์พร้อมๆ กัน ทำให้ Magic Mouse เกิดอาการหน่วง หรือ AirPods เสียงขาดๆ ซึ่งถูกปรับปรุงให้ดีขึ้นแล้วในการอัปเดต BigSur เวอร์ชันปัจจุบัน

]]>
Review : Apple MacBook Air (2020) รุ่นเริ่มต้น ใช้งานได้แค่ไหน https://cyberbiz.mgronline.com/review-macbook-air-2020/ Thu, 23 Apr 2020 05:40:18 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=32657

แอปเปิล (Apple) ออกอัปเดต MacBook Air รุ่นใหม่ในปีนี้ โดยมีจุดเปลี่ยนแปลงหลักๆ อยู่ที่ซีพียูที่ใช้เป็น Intel Core i Gen 10 พร้อมกับการเปลี่ยนมาใช้งาน Magic Keyboard เหมือนกับ MacBook Pro 16” ที่เพิ่งวางจำหน่ายในช่วงปลายปีที่ผ่านมา

ขณะเดียวกัน ยังมีการปรับราคารุ่นเริ่มต้นลงมาเหลือ 32,900 บาท จากเดิมรุ่นเริ่มต้นของ MacBook Air ในปี 2019 จะอยู่ที่ 35,900 บาท ซึ่งทำให้ผู้ที่สนใจสามารถซื้อหามาใช้งานได้ง่ายขึ้น

จุดที่น่าสนใจอีกอย่างคือรุ่นใหม่นี้ จะเพิ่มพื้นที่เก็บข้อมูลมาเริ่มต้นที่ 256 GB แล้วทำให้เพียงพอกับการใช้งานในระดับเบื้องต้นได้ทันที ส่วนใครที่ต้องการพื้นที่เก็บมากขึ้น ก็สามารถเลือกเพิ่มพื้นที่เก็บข้อมูลได้สูงสุดถึง 2 TB (เพิ่มไปอีก 28,000 บาท)

ข้อดี

  • ดีไซน์ตัวเครื่องทรงยอดนิยม น้ำหนักเบา
  • จอ Retina พร้อมเทคโนโลยี True Tone ช่วยปรับสีหน้าจออัตโนมัติ
  • Magic Keyboard ที่พิมพ์สนุกขึ้น

ข้อสังเกต

  • รุ่นเริ่มต้นที่ใช้ Core i3 ร้อนค่อนข้างง่าย
  • พอร์ต Thunderbolt 3 (USB-C) 2 พอร์ต อาจจะไม่เพียงพอถ้าเชื่อมต่อกับหลายอุปกรณ์
  • กล้องหน้าความละเอียดแค่ HD เช่นเดิม
  • ยังไม่รองรับ WiFi 6

มีอะไรใหม่บ้าง?

MacBook Air รุ่นปี 2020 นี้ ถือเป็นรุ่นที่ 3 ของ MacBook Air ที่หันมาใช้หน้าจอ Retina รุ่นที่ 3 ซึ่งเปิดตัวมาครั้งแรกในปี 2018 ซึ่งในเวลานั้น ได้ยกเลิกรุ่นหน้าจอ 11 นิ้ว ออกไปก่อนแล้ว และเหลือเพียงรุ่น 13 นิ้วเท่านั้น

ก่อนที่ในปี 2019 ที่ผ่านมามีการอัปเกรดซีพียูเพียงเล็กน้อย จนถึงรุ่นล่าสุดในปี 2020 ที่มีการปรับปรุง MacBook Air รุ่นจอ Retina ให้สมบูรณ์แบบมากขึ้น

สำหรับสิ่งที่ปรับปรุงเพิ่มขึ้นจากรุ่นที่แล้วจะมีอยู่ด้วยกัน 5 จุดหลักๆ เริ่มกันจาก 1.หน่วยประมวลผล ที่หันมาใช้เป็น Intel Core i Gen 10 พร้อมกับมีตัวเลือกซีพียูเริ่มต้นที่ Core i3 ตามด้วยรุ่นกลาง Core i5 และสามารถเลือกปรับไปใช้เป็น Core i7 ได้ด้วย

2.พื้นที่เก็บข้อมูลเริ่มต้นที่ 256 GB จากก่อนหน้าจะเริ่มต้นที่ 128 GB ทำให้กลายเป็นว่ารุ่นเริ่มต้นก็เพียงพอกับการใช้งานแล้ว และยังสามารถเลือกเพิ่มพื้นที่เก็บข้อมูลได้สูงสุดถึง 2 TB

3.ราคาเริ่มต้นปรับลงมา 3,000 บาท ทำให้ในปีนี้ราคาเริ่มต้นของ MacBook Air 2020 เริ่มต้นที่รุ่น Core i3 ในราคา 32,900 บาท จากที่ปกติจะเริ่มต้นในรุ่น Core i5 ราคา 35,900 บาท (สามารถเพิ่มเงิน 3,000 บาท เพื่อกลับมาราคาเดิม และใช้งาน Core i5 ได้)

4.Magic Keyboard หลังจากที่ Apple นำ Magic Keyboard กลับมาใช้งานกับ MacBook Pro 16 นิ้ว คราวนี้ก็ถึงเวลาที่ MacBook Air รุ่นใหม่จะหันมาใช้งาน Magic Keyboard เช่นเดียวกัน ทำให้ใครที่กำลังคิดถึงคีย์บอร์ดแบบ MacBook Air ดีไซน์เดิม กลับมาใช้งานได้อย่างมั่นใจแล้ว

5.น้ำหนัก เมื่อมีการปรับเปลี่ยนคีย์บอร์ดทำให้น้ำหนักของ MacBook Air มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย โดย MacBook Air รุ่นปี 2018 จะมีน้ำหนักอยู่ที่ 1.23 กิโลกรัม ในขณะที่รุ่นปี 2020 น้ำหนักจะเพิ่มมาเป็น 1.27 กิโลกรัม

รุ่นเริ่มต้นใช้เพียงพอหรือไม่?

แน่นอนว่าหลายคนอาจจะสงสัยเรื่องการประมวลผลของ MacBook Air รุ่นเริ่มต้นที่ปรับลงมาเป็น Intel Core i3 ที่เป็นแบบ Dual-Core 1.1 GHz ซึ่งสามารถ Turbo Boost ขึ้นไปเป็น 3.2 GHz ได้ เมื่อเทียบกับรุ่นปี 2018 ที่เป็น Core i5 แบบ Dual-Core 1.6 GHz Turbo Boost 3.6 GHz

กลับพบว่า Core i3 สามารถให้พลังในการประมวลผลได้ดีกว่า นั่นแปลว่าถ้าเป็นการใช้งานโน้ตบุ๊กทั่วไป อย่างการทำงานด้านเอกสาร ใช้งานเว็บเบราว์เซอร์ โซเชียลมีเดีย ติดต่อสื่อสารในการทำงาน

จนถึงการแต่งรูปภาพ และตัดต่อในระดับเริ่มต้นในขนาดไฟล์ที่ไม่ใหญ่มากนัก MacBook Air 2020 รองรับการทำงานได้สบายๆ แต่อาจจะไม่ได้ลื่นไหลมากนัก

ซึ่งถ้าต้องการใช้งานตัวเครื่องที่หนักขึ้น การเพิ่มเงินอีก 3,000 บาท เพื่อปรับสเปกเพิ่มเป็น Core i5 จะตอบโจทย์การใช้งานในระยะยาวมากกว่า และถือว่าคุ้มค่าที่จะจ่ายมากกว่ารุ่นเริ่มต้น

อีกจุดที่พบว่ารุ่น Core i3 ทำได้ไม่ค่อยดีคือเรื่องของการระบายความร้อนสะสม เพราะเมื่อใช้เป็นหน่วยประมวลผลรุ่นนี้ เวลาเครื่องทำงานหนักๆ ระบบ Turbo Boost จะทำงานตลอดเวลา ทำให้อุณหภูมิของเครื่องร้อนขึ้นมาก จนทำให้ไม่สามารถวางใช้งานบนหน้าตัก ในอุณหภูมิห้องทั่วไปได้

แต่กลายเป็นว่าปัญหาดังกล่าวไม่เกิดขึ้นกับรุ่น Core i5 เนื่องจากเมื่อหน่วยประมวลผลแรงขึ้น เวลาประมวลผลหนักๆ จะสั้นลงทำให้ระยะเวลาที่ Turbo Boost ลดลง ความร้อนก็จะไม่สะสมที่ตัวเครื่อง

อย่างไรก็ตาม ข้อดีที่เห็นได้ชัดเจนของ MacBook Air เมื่อเทียบกับโน้ตบุ๊กบางเบาหลายๆ รุ่น คือเรื่องเสียงของพัดลมระบายความร้อน ที่ค่อนข้างเบา จากการใช้งานพัดลมขนาดเล็ก แต่ก็แลกมากับการระบายความร้อนที่ไม่ดีเท่านั่นเอง

ดีไซน์ที่ยังคงน่าใช้เหมือนเดิม

เนื่องจากดีไซน์ภายนอกของ MacBook Air รุ่นปี 2020 นั้นแทบไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจาก MacBook Air รุ่นปี 2018 ด้วยการที่มีให้เลือก 3 สีคือ ทอง (รุ่นที่นำมารีวิว) เทาสเปซเกรย์ และเงิน

ขนาดของตัวเครื่องจะอยู่ที่ 304.1 x 212.4 x 41-16.1 มิลลิเมตร น้ำหนักตามหน้าเว็บไซต์ระบุว่าอยู่ที่ 1.29 กิโลกรัม (ทีมงานลองชั่งเครื่องที่ได้มาอยู่ที่ 1.27 กิโลกรัม)

รอบๆ ตัวเครื่องทางซ้ายจะมีพอร์ต Thunderbolt 3 (USB-C) จำนวน 2 พอร์ต สำหรับเสียบสายชาร์จ เชื่อมต่อกับอะเดปเตอร์ต่างๆ โดยในรุ่นนี้ได้ปรับปรุงให้รองรับการเชื่อมต่อจอแสดงผลความละเอียด 6K หรือ 5K ได้ 1 จอ กรณีที่ต่อกับจอ 4K จะสามารถต่อได้ 2 จอพร้อมกัน ส่วนทางฝั่งขวาเป็นพอร์ตหูฟัง และไมโครโฟนขนาด 3.5 มม.

เมื่อเปิดหน้าจอขึ้นมาจะเจอกับ Retina Display ขนาด 13.3 นิ้ว ความละเอียด 2560 x 1600 พิกเซล ให้ความละเอียดเม็ดสี 227 ppi ในอัตราส่วนภาพ 16:10 มาพร้อมกับเทคโนโลยีปรับแสงอัตโนมัต (True Tone)

MacBook Air รุ่นปี 2020

MacBook Air รุ่นปี 2018

มาในส่วนของจุดที่มีการเปลี่ยนแปลงคือ Magic Keyboard ที่ปรับมาใช้กลไกแบบกรรไกร (Scissor) แทนปีกผีเสื้อ (Butterfly) ทำให้ตัวคีย์บอร์ดจะมีความหนาเพิ่มขึ้นมาเล็กน้อย พร้อมกับมีการปรับปุ่มลูกศรให้เป็นแบบตัว T คว่ำแทน

Touch ID รุ่นใหม่ผิวจะด้าน รุ่นเดิมจะเคลือบมัน

ปุ่มลูกศรตัว T คว่ำ

นอกจากนี้ บริเวณเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือ (TouchID) และปุ่มเปิดเครื่อง จะเปลี่ยนผิวสัมผัสจากที่มีความมันเงา กลายเป็นผิวสัมผัสด้านเหมือนปุ่มคีย์บอร์ดปกติแทน

ส่วนแทร็กแพดยังคงเป็นแบบ Force Touch เช่นเดิม โดยถ้าเทียบกับ MacBook Air ดีไซน์เก่า จะมีขนาดใหญ่ขึ้น 20% และมีความแม่นยำมากขึ้น รองรับการใช้งาน Multi-Touch ได้สะดวกขึ้นด้วย

สำหรับอุปกรณ์ที่ให้มาในกล่องนอกจากตัวเครื่อง MacBook Air แล้วก็จะมีอะเดปเตอร์ 30W ที่มีขนาดเล็กพกพาง่าย สาย USB-C และกล่องคู่มือที่มีสติกเกอร์แอปเปิลอยู่ข้างในเช่นเดิม

สรุป

MacBook Air รุ่นใหม่นี้ ถือว่าเป็นการปรับปรุง MacBook Air Retina ให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น ซึ่งถ้าใครยังใช้งาน MacBook Air ดีไซน์เดิมอยู่ การตัดสินใจเปลี่ยนมาใช้เป็นรุ่นใหม่ในปีนี้ จะถือว่าได้ประสบการณ์ใช้งานที่ดีที่สุดอย่างแน่นอน

ประกอบกับระดับราคาเริ่มต้นที่ต่ำลง (32,900 บาท) ทำให้เข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น ถ้าต้องการโน้ตบุ๊กที่พกพาง่าย และชื่นชอบอีโคซิสเตมส์ของ Apple อยู่แล้วน่าจะตัดสินใจได้ไม่ยาก

Gallery

]]>
Review : Apple MacBook Pro 16” ไม่ใช่แค่จอใหญ่ขึ้น แต่ฟังเสียงผู้ใช้มากขึ้นด้วย https://cyberbiz.mgronline.com/review-apple-macbook-pro-16/ Fri, 06 Dec 2019 12:22:20 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=31796

ด้วยการที่ MacBook Pro 16” เป็นโน้ตบุ๊กที่จับตลาดเฉพาะกลุ่มมากๆ ทำให้เครื่องรุ่นนี้อาจจะไม่ได้เป็นที่สนใจของตลาดคอนซูเมอร์ทั่วไป แต่กลับกันถ้าเป็นผู้ที่อยู่ในสายงานอาชีพที่ต้องการเครื่องมือมาช่วยในการสร้าง Productivity เมื่อได้ลองสัมผัสกับ MacBook Pro 16” เครื่องนี้แล้ว จะพร้อมใจกันยกให้เป็น MacBook รุ่นที่ดีที่สุดของปีนี้

โดยการมาของ MacBook Pro 16” ทำให้แอปเปิล (Apple) ยุติการทำตลาด MacBook Pro 15” โดยปริยาย พร้อมกับปรับราคาเครื่องให้ได้สเปกที่ดีขึ้น ในราคาที่ใกล้เคียงกับรุ่น 15” และมีตัวเลือกสเปกให้ผู้ใช้งานได้เลือกมากขึ้น รับกับตลาดที่ต้องการเครื่องประสิทธิภาพสูงไปช่วยในการประมวลผล

จุดเด่นของ MacBook Pro 16” หลักๆ เลยคือเรื่องการปรับขนาดหน้าจอ เปลี่ยนคีย์บอร์ดกลับมาใช้เป็น Magic Keyboard เพิ่มคุณภาพของลำโพง เพิ่มประสิทธิภาพตัวเครื่องจากหน่วยประมวล และกราฟิกการ์ดรุ่นใหม่ ดังนั้น ถ้าอยู่ในแวดวงการใช้งานเครื่องหนักๆ ในการทำงาน การลงทุนเพื่อให้ได้เครื่องรุ่นใหม่ที่แรงขึ้น ช่วยลดระยะเวลาในการทำงานได้น้อยลง MacBook Pro 16″ จึงเป็นรุ่นที่ไม่ควรพลาด

ข้อดี

  • ขนาดหน้าจอใหญ่ขึ้นเป็น 16″ ให้ความสว่างสูงสุด 500nit
  • กลับมาใช้คีย์บอร์ดแบบกลไกกรรไกร ที่หลายคนคุ้นเคย
  • ปรับปรุงประสิทธิภาพ การระบายความร้อนให้ดีขึ้น

ข้อสังเกต

  • ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ขึ้น และหนักขึ้นเมื่อเทียบกับ 15″
  • พอร์ตเชื่อมต่อยังมีเฉพาะ USB-C / Thunderbolt 3
  • คีย์บอร์ดสกรีนตัวอักษรสลับจากรุ่นก่อนหน้า

MacBook Pro 16” ไม่ใช่เครื่องที่เหมาะกับทุกคน

หนาขึ้น และหนักขึ้น เมื่อเทียบกับรุ่น 15″

ด้วยการที่ MacBook Pro เน้นกลุ่มผู้ใช้งานระดับมืออาชีพเป็นหลัก ด้วยการพัฒนาเครื่องรุ่น 16” ขึ้นมา จากการรับฟังเสียงของผู้ใช้งานไปปรับปรุงเครื่องรุ่น 15” เดิม ทำให้พอมาเป็น 16” แล้วอาจจะไม่ได้เหมาะกับทุกคน

หนึ่งเลยคือด้วยการที่ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ ทำให้ไม่เหมาะกับการพกพาเหมือนอย่าง MacBook Air หรือ MacBook Pro 13” ดังนั้น กลุ่มผู้ใช้ที่ต้องการเครื่อง 16” จึงกลายเป็น Heavy User ที่ต้องการเครื่องประสิทธิภาพสูงเป็นหลัก

โดยเฉพาะในกลุ่มของช่างภาพมืออาชีพทั้งภาพนิ่ง และภาพวิดีโอ จนถึงนักตัดต่อ ที่ต้องการเครื่องประมวลผลแรงๆ มาช่วย แม้กระทั่งกลุ่มผู้ใช้ที่เป็นนักพัฒนาที่นำไปใช้กับการเขียนโปรแกรม ผู้ที่ทำงานกราฟิกต่างๆ

เพราะนอกจากประสิทธิภาพ และขนาดหน้าจอแล้ว หลายๆ จุดบน MacBook Pro 16” ยังได้มีการปรับปรุงมาให้เหมาะกับการใช้งานมากขึ้น แต่ถ้าเป็นผู้ที่ใช้งานทั่วๆ ไป ถ้าต้องการเครื่องจอใหญ่มาใช้งาน และไม่ยึดติดกับขนาดเครื่องรุ่น 16” ก็น่าสนใจ แต่ถ้าต้องการพกพาง่าย แนะนำให้มองไปรุ่นอย่าง Air หรือ Pro 13” ดีกว่า

จอเปิดให้ปรับ Refresh Rate ได้

เริ่มกันจากเรื่องของขนาดหน้าจอที่ปรับเพิ่มขึ้นมาเป็น 16 นิ้ว จากรุ่นเดิมที่อยู่ 15.4 นิ้ว แม้ว่าจะไม่ได้แตกต่างกันมากนัก แต่ที่เห็นชัดเจนเลยคือขอบจอ (Bezel) ของเครื่องบางลงกว่ารุ่นเดิม และสเปกจอสูงขึ้น

โดยจอของ MBP 16” นอกจากรองรับมาตรฐานสี P3 แล้วยังให้ความสว่างหน้าจอเพิ่มขึ้นเป็น 500nit ช่วยให้สามารถใช้งานในที่แสงจ้าได้สะดวกขึ้น ความละเอียดหน้าจออยู่ที่ 3072 x 1920 พิกเซล 5.9 ล้านสี ความละเอียดเม็ดสีอยู่ที่ 226 ppi

ความพิเศษของ MacBook Pro 16” คือเปิดให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปตั้งอัตราการรีเฟรชหน้าจอ (Refresh Rate) ได้ด้วยตนเอง ในจุดนี้จะเหมาะกับผู้ใช้งานที่ทำงานทางด้านตัดต่อ เพราะสามารถปรับการแสดงผลหน้าจอให้เหมาะกับผลิตวิดีโอคอนเทนต์ที่ใช้งาน

ที่สามารถเลือกได้ตั้งแต่ 47.95, 48, 50, 59.94 และ 60 Hertz ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าไฟล์วิดีโอที่นำมาใช้งานบันทึกมาในรูปแบบของ 25 เฟรม 30 เฟรม หรือ 60 เฟรม แล้วก็เลือกใช้ Refresh Rate ตามช่องทางที่นำไปใช้ เพื่อให้แสดงผลได้แม่นยำที่สุด

ปรับปรุงคีย์บอร์ด กลับมาใช้ Magic Keyboard

จุดที่ 2 คือการปรับปรุงคีย์บอร์ด จากรุ่นก่อนหน้านี้ใช้กลไกปีกผีเสื้อ (Butterfly) ซึ่งเริ่มต้นงานมาตั้งแต่ MacBook ปี 2015 กลับมาใช้กลไกแบบกรรไกร (Scissor) ของ Magic Keyboard ที่ให้สัมผัสในการพิมพ์ที่ดีขึ้น และเสียงปุ่มกดเบาลง

นอกจากนี้ ยังมีการปรับในส่วนของ Touch Bar จากเดิมที่เป็นแถบสัมผัสทั้งหมด ด้วยการเพิ่มปุ่มกด Esc และแยกปุ่มเปิดเครื่อง ที่รองรับการสแกนลายนิ้วมือ (Touch ID) ออกจากกัน แต่ก็ไม่ได้ลดขนาดของ Touch Bar ลงแต่อย่างใด

ในจุดนี้ แอปเปิล ระบุว่า ได้รับการเรียกร้องจากผู้ใช้ในกลุ่มของนักพัฒนา ที่เวลาเขียนโค้ด มักจะต้องการปุ่ม Esc ไว้ใช้งาน รวมถึงการปรับดีไซน์ปุ่มลูกศร ให้แยกปุ่มใช้งานได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะการทำงานเอกสาร หรือใช้เล่นเกม

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของคีย์บอร์ดไม่รู้ว่าเป็นความตั้งใจที่จะทำให้เวลามองจากภายนอกแล้วเห็นความต่างระหว่างเครื่องรุ่นเก่า และใหม่ หรือไม่อย่างไร เพราะกลายเป็นว่า การสกรีนตัวอักษรบนคีย์บอร์ดที่ปกติตัวอักษรภาษาอังกฤษจะอยู่ทางซ้าย ภาษาไทยอยู่ทางขวา แต่กลายเป็นสลับกันบนเครื่องรุ่นนี้

ปรับสเปกสูงขึ้นยกชุด

ตามมาด้วยเรื่องของหน่วยประมวลผล และระบบระบายความร้อน เนื่องจาก MacBook Pro 15” ในช่วงแรกที่ออกมาจำหน่ายพร้อมกับรุ่นของ Core i9 ช่วงแรกๆ เจอปัญหาเรื่องของการระบายความร้อนไม่ทัน ทำให้ตัวเครื่องมีการปรับลดการทำงานของซีพียูลงทำให้เครื่องช้า

ด้วยเหตุนี้ใน MacBook Pro 16” เลยมีการออกแบบพัดลมระบายอากาศใหม่ ที่สามารถระบายอากาศได้เพิ่ม 28% และเพิ่มขนาดจุดสัมผัสของ heat sink ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น 35% ซึ่งทำให้ตัวเครื่องหนาขึ้นเล็กน้อย แต่ผู้ใช้จะไม่เจอปัญหาเรื่องของการปรับการทำงานของซีพียูอีกแน่นอน

ส่วนของซีพียูที่เปิดให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้งานได้สูงสุดที่ Core i9 แบบ 8 Core ทำให้การประมวลผลบน MacBook Pro 16” แรงขึ้นกว่ารุ่น 15” เช่นเดียวกับระบบไฟที่เมื่อทำงานคู่กับระบบระบายความร้อนจะช่วยให้ใช้พลังงานได้สูงขึ้น 12 วัตต์ ทำให้ประมวลผลได้แรงไม่มีตก

ไม่ใช่แค่ซีพียูที่เปลี่ยนรุ่นใหม่เท่านั้น แต่ในส่วนของกราฟิกการ์ด ก็ปรับมาใช้ AMD Radeon Pro 5000M ซีรีส์ เช่นเดียวกับ RAM ที่เป็น DDR 4 ทำให้ความเร็วในการใช้งานเพิ่มสูงขึ้น ส่วนพื้นที่เก็บข้อมูลแบบ SSD เลือกได้สูงสุดถึง 8 TB

สำรวจตัวเครื่อง

เทียบขนาดกับรุ่น 13″

ในแง่ของดีไซน์ตัวเครื่อง MacBook Pro 16” ไม่ได้แตกต่างจากเดิมมากนัก มีเพียงขนาดตัวเครื่องที่ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ 35.79 x 24.59 x 1.62 เซนติเมตร นำ้หนัก 2 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับ 15” จะอยู่ที่ 34.93 x 24.07 x 1.55 เซนติเมตร น้ำหนัก 1.8 กิโลกรัม

ส่วนพอร์ตการเชื่อมต่อที่ให้มาจะเป็น Thunderbolt 3 4 พอร์ต รองรับการเชื่อมต่อจอภาพภายนอก (6K 2 จอ / 4K 4 จอ) และช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม. ดังนั้นในการใช้งานหลักๆ แล้วจำเป็นต้องใช้คู่กับอะเดปเตอร์อยู่เช่นเดิม

ทั้งนี้ กล้องของ MacBook Pro 16” ยังคงเป็นกล้อง FaceTime 720p เช่นเดิม เช่นเดียวกับแทร็กแพดแบบ Force Touch ที่รองรับแรงกด และการใช้งานแบบมัลติทัช เหมือนเดิม ด้านการเชื่อมต่อยังรองรับ WiFi 5 (802.11ac) เท่านั้น ยังไม่รองรับ WiFi 6 บลูทูธ 5.0

สำหรับอุปกรณ์ที่ให้มาในกล่อง นอกจากตัวเครื่องก็จะมีอะเดปเตอร์ชาร์จไฟขนาด 96w ที่ใหญ่ขึ้นจากรุ่น 15” ที่ให้มาแบบ 87w และสาย USB-C ยาว 2 เมตร โดยแบตเตอรีของ MBP 16” จะใช้งานได้ต่อเนื่องราว 11 ชั่วโมง ถ้าใช้งานทั่วๆไป อย่างท่องเว็บ หรือดูหนัง

เทียบอะเดปเตอร์รุ่น 13″ 15″ และ 16″

สรุป

MacBook Pro 16” จะเหมาะกับสายที่เน้นการทำงานเป็นหลัก ต้องการเครื่องมือที่มาช่วยให้ทำงานได้เร็วขึ้น โดยไม่ได้กังวลกับเรื่องราคาของตัวเครื่อง เพราะสามารถปรับแต่งเพิ่มเติมได้ ซึ่งจากทิศทางที่แอปเปิล ฟังเสียงจากผู้ใช้ไปปรับปรุงผลิตภัณฑ์ ถือเป็นแนวโน้มที่ดีกับเครื่องรุ่นอื่นๆ ที่จะทยอยอัปเดตในอนาคตด้วย

หลังจากนี้คงต้องรอดูกันว่า แอปเปิล จะนำ Magic Keyboard กลับมาใช้กับ MacBook รุ่นอื่นๆ ต่อหรือไม่ รวมถึงเสียงเรียกร้องให้นำช่องอ่าน SD Card กลับมา ด้วยเช่นกัน เพราะปัจจุบันผู้ที่ใช้ทำงานอย่างช่างภาพ หรือวิดีโอต่างต้องใช้งานคู่กับการ์ดรีดเดอร์ ทำให้ไม่สะดวกเท่าที่ควร

สำหรับราคาจำหน่ายของ MacBook Pro 16” รุ่น Core i7 เริ่มต้นที่ 75,900 บาท ส่วนรุ่น Core i9 เริ่มต้นที่ 89,900 บาท โดยสามารถปรับแต่งขึ้นไปได้ถึง Core i9 2.4 GHz RAM 64 GB กราฟิกการ์ด 8 GB SSD 8 TB ในราคา 221,900 บาท

Gallery

]]>
Review : Apple MacBook Air 13″ Retina ในที่สุดก็ปรับโฉม https://cyberbiz.mgronline.com/review-apple-macbook-air-13/ Thu, 14 Feb 2019 06:08:53 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=30233

หนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่มีการปรับโฉมใหม่ในช่วงปลายปีที่ผ่านมาของ Apple หลังจากที่ใช้โมเดลเดิมมานานกว่าสิบปี ก็คือ MacBook Air ที่ในรอบนี้มีการปรับให้เบา และพกพาได้ง่ายขึ้น พร้อมกับใส่พอร์ต USB-C มาให้ใช้งานกัน

อย่างที่ทราบกันว่าปัจจุบันไลน์สินค้าของ MacBook จะเหลืออยู่หลักๆคือ MacBook (รุ่นจอ 12”) ที่ถือเป็นรุ่นขนาดเล็กที่สุดมาแทน MacBook Air 11” ตามมาด้วย MacBook Air 13” รุ่นนี้ ก่อนขยับขึ้นไปเป็น MacBook Pro 13” และ 15” ตามลำดับ

โดยจุดเด่นหลักของ MacBook Air 13” ก็ยังคงเป็นเรื่องของดีไซน์ที่ดูทันสมัย ที่มาจอ Retina ขนาด 13 นิ้ว ที่ขนาดตัวเครื่องเล็กลง เพื่อให้พกพาได้ง่ายขึ้น พร้อมใส่เทคโนโลยีใหม่ๆ ทั้ง Touch ID คีย์บอร์ด แทร็กแพดต่างๆ

ข้อดี

แมคบุ๊กจอ Retina 13 นิ้ว ที่พกพาง่ายขึ้น

มี Touch ID มาให้ใช้ในการปลดล็อกเครื่อง

คีย์บอร์ด และแทร็กแพดที่ใช้งานได้ดีขึ้น

ข้อสังเกต

พอร์ต Thunderbolt 3 (USB-C) ให้มาแค่ 2 พอร์ต

ราคาเริ่มต้นสูงขึ้นจากรุ่นก่อนหน้า (42,900 บาท)

ประสิทธิภาพยังถูกจำกัดอยู่ให้ใช้กับงานทั่วๆไป

MacBook Air 13” เหมาะกับใคร

เมื่อดูถึงไลน์สินค้าของ MacBook ทั้งหมดในปัจจุบัน MacBook Air 13” ถือเป็นเครื่องที่ระดับราคาเข้าถึงได้ง่ายมากที่สุด โดยราคารุ่นเริ่มต้นจะอยู่ที่ 42,900 บาท เมื่อเทียบกับ MacBook รุ่นเริ่มต้นจะอยู่ที่ 47,900 บาท ไม่นับ MacBook Air 13” รุ่นเดิมที่ยังขายในราคา 35,900 บาท อยู่

ถ้าต้องเลือกซื้อระหว่าง MacBook และ MacBook Air 13” ว่าควรเลือกซื้อรุ่นไหน ก็ต้องมองที่รูปแบบของการใช้งานเป็นหลัก ถ้าเน้นเครื่องที่การพกพา ใช้งานทั่วๆไป MacBook รุ่นจอ 12 นิ้วจะพกพาได้สะดวกสบายมากกว่า

ในมุมกลับกัน MacBook Air 13” ก็จะได้เปรียบในเรื่องของสเปกเครื่อง ที่ให้ประสิทธิภาพสูงขึ้น และบางคนอาจจะมองว่าจอ 12 นิ้วเล็กเกินไปเมื่อใช้ทำงานเป็นเวลานาน ในจุดนี้ MacBook Air 13” ก็จะเหมาะกว่า แต่ถ้าต้องการเครื่องที่ใช้ประมวลผลหนักๆ การขยับขึ้นไปเป็น MacBook Pro ก็จะตอบโจทย์กว่า

ดังนั้น MacBook Air 13” จึงเหมาะกับผู้ที่ไม่ได้เน้นนำมาใช้งานเป็นเครื่องหลัก แต่เป็นเครื่องที่ใช้พกพาเวลาเดินทาง หรือออกไปประชุมนอกสถานที่ ใช้ในการพรีเซนต์งาน เขียนงาน ทำรูปภาพบ้างนิดหน่อย ที่มีจุดขายหลักคือเรื่องของแบตเตอรีที่สามารถใช้งานได้ตลอดวันสบายๆ

ปรับดีไซน์ครั้งแรกในรอบ 10 ปี

ในวันที่แอปเปิล เปิดตัว MacBook Air เมื่อปี 2008 ดีไซน์ของตัวเครื่องที่ถูกออกแบบมาเรียกได้ว่า เปลี่ยนโฉมรูปแบบของโน้ตบุ๊กในท้องตลาดเวลานั้นไปได้อย่างสิ้นเชิง ด้วยการมาของโน้ตบุ๊กที่บางเบา และพกพาง่าย

กลับมาในปี 2018 แอปเปิลมีการปรับโฉม MacBook Air ครั้งแรก ด้วยการนำดีไซน์ของ MacBook และ MacBook Pro ที่เปิดตัวในช่วง 3-4 ปีหลัง มาใช้งานใน MacBook Air รุ่นนี้ ดังนั้นถ้าจะมองว่าเป็นดีไซน์ใหม่หมด ก็ไม่เชิง แต่ถือเป็นการเปลี่ยนโฉม MacBook Air หลังจากที่ใช้ดีไซน์เดิมมานาน

การปรับโฉมใหม่ในครั้งนี้ ถือเป็นการปรับใหญ่ที่สุด ของสินค้าในตระกูลนี้ เนื่องจากที่ผ่านมาแอปเปิลเลือกที่จะอัปสเปกของซีพียูเป็นหลัก มาในรอบนี้จึงได้นำเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่คิดค้นขึ้นมาในช่วงหลังใส่เข้ามาให้ใช้งานใน MacBook Air รุ่นนี้

MacBook Air 13” Retina จะมีให้เลือกด้วยกัน 3 สี คือ สีทอง สีเงิน และสีเทาสเปซเกรย์ มีขนาดตัวเครื่องอยู่ที่ 304.1 x 212.4 x 4.1-15.6 มิลลิเมตร น้ำหนักจะอยู่ที่ราว 1.25 กิโลกรัม เบาลง 100 กรัมเมื่อเทียบกับ 13 นิ้วรุ่นเดิม และขนาดตัวเครื่องลดลงเกือบๆ 20 ..

โดยจุดที่เปลี่ยนแปลงหลักๆ คือหน้าจอที่ปรับมาใช้เป็น Retina Display ขนาด 13.3 นิ้ว ความละเอียด 2560 x 1600 พิกเซล 227 ppi ที่ถูกออกแบบมาให้มีขนาดขอบจดเล็กลง ส่วนกล้องหน้ารองรับการใช้งาน FaceTime HD ที่ความละเอียด 720p

ต่อมาคือปุ่มคีย์บอร์ด ที่นำคีย์บอร์ดแบบปีกผีเสื้อ (Butterfly) มาใช้งาน เช่นเดียวกับแทร็กแพดแบบไฟฟ้าสถิตย์ (Force Touch) ที่เริ่มนำมาใช้ครั้งแรกใน MacBook รุ่นปี 2015 และพัฒนาเรื่อยมา ให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น

นอกจากนี้ ก็จะมีเซ็นเซอร์ Touch ID ที่ใส่มาไว้มุมขวาบน เพื่อใช้ในการปลดล็อกตัวเครื่องด้วยลายนิ้วมือ ซึ่งจะทำงานคู่กับชิปเซ็ต Apple T2 ที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการรักษาความปลอดภัย ด้วยการเข้ารหัสข้อมูล ทำให้ถ้าไม่มีการถอดรหัสที่ถูกต้องข้อมูลที่อยู่ภายใน MacBook Air เครื่องนี้ก็จะไม่มีใครสามารถนำไปใช้งานได้

ในส่วนของพอร์ตเชื่อมต่อ เรียกได้ว่าเป็นการใช้งาน Thunderbolt 3 (USB-C) อย่างต่อเนื่อง นับจากในปี 2015 เช่นเดียว โดยในเวลานี้อุปกรณ์ไอทีในท้องตลาดหลายๆ ชนิดเริ่มรองรับการใช้งาน USB-C แล้ว ช่วยให้สะดวกในการใข้งานมากขึ้น

แต่ก็น่าเสียดายที่ให้พอร์ต USB-C มาเพียง 2 พอร์ต ซึ่งกลายเป็นว่าในการใช้งานจริง ผู้ใช้ก็จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เสริมอย่าง USB-C Hub เพื่อต่อกับอุปกรณ์อื่นๆอยู่ดี แต่ก็ถือเป็นแนวโน้มที่ดีเพราะใน MacBook มีให้มาเพียงพอร์ตเดียว

อีกพอร์ตที่แอปเปิลยังเลือกเก็บไว้ก็คือช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม. เพื่อให้สามารถต่อหูฟังใช้งานได้เช่นเดิม ส่วนการเชื่อมต่อไร้สายของรุ่นนี้ ถือว่ารองรับตามมาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็น WiFi 5 (802.11ac) บลูทูธ 4.2

สำหรับสเปกภายใน MacBook Air 13” รุ่นเริ่มต้น จะมากับหน่วยประมวลผล 8th Gen Intel Core i5 ที่ให้ความเร็ว 1.6 GHz Turbo Boost ไปได้สูงสุด 3.6 GHz RAM 8 GB (สูงสุด 16 GB) และพื้นที่เก็บข้อมูลแบบ SSD เริ่มต้น 128 GB (สูงสุด 1.5 TB)

Gallery

ผลิตภัณฑ์รักษ์โลก

อีกหนึ่งข้อมูลที่ถูกนำเสนอออกมาในช่วงการเปิดตัวคือ MacBook Air 13” เป็น 1 ใน 2 ผลิตภัณฑ์ของแอปเปิล (คู่กับ Mac Mini) ที่ใช้วัสดุอะลูมิเนียมรีไซเคิล 100% มาผลิต ที่นอกจากได้เรื่องความแข็งแรงของผลิตภัณฑ์แล้ว ยังเป็นการช่วยลดคาร์บอนฟุตปริ้นให้แก่โลกด้วย

ครบแต่ยังไม่สุด

ในส่วนของการใช้งาน เท่าที่ได้นำมาใช้งานเป็นเครื่องหลักในชีวิตประจำวัน ถ้าเป็นคนที่ติดกับเครื่องแรงๆ ประมวลผลได้เร็วๆ หรือเคยใช้งาน MacBook Pro ที่ซีพียูแรงกว่ามาก่อน พอมาใช้งานบน MacBook Air ก็จะรู้สึกว่าเครื่องประมวลผลช้าลงอย่างเห็นได้ชัด

แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้งานด้วย ถ้านำมาใช้ทำพรีเซ็นเทชัน เล่นเน็ต พิมพ์งาน ดูหนัง ฟังเพลงทั่วๆไป MacBook Air 13” รุ่นนี้รองรับได้อยู่แล้ว แต่ถ้าจะเลยไปถึงขั้นทำรูปไฟล์ขนาดใหญ่ๆ ไปจนถึงตัดต่อวิดีโอ ก็อาจจะต้องมองข้ามไป เพราะทำได้เล็กๆน้อยๆ เท่านั้น

เทียบความหนากับ MacBook Pro 13″

สุดท้ายแล้วก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้งานมากกว่า อย่างที่กล่าวไปว่า ถ้าต้องการเครื่องจอขนาด 13” ที่พกพาง่าย ไม่ได้เน้นใช้งานหนักมาก MacBook Air 13” จะตอบโจทย์ แต่ถ้าต้องการเครื่องเล็กกว่านี้ก็จะมี MacBook ให้เลือก ถ้าต้องการประสิทธิภาพสูงก็เพิ่มเงินเลือก MacBook Pro ไป

]]>
Review : Apple iPhone XS / XS Max เพิ่มประสิทธิภาพ-ตัวเลือกจอใหญ่ https://cyberbiz.mgronline.com/review-apple-iphone-xs-max/ Tue, 23 Oct 2018 05:58:26 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=29527

ในปีที่ผ่านมา Apple ได้พิสูจน์มาแล้วถึงความสำเร็จของ iPhone X ที่กลายเป็นการยกระดับสมาร์ทโฟนของแอปเปิลในรุ่นท็อปให้สูงขึ้นไปอีกระดับ ฉีกหนีแอนดรอยด์โฟนหลายๆรุ่นที่เริ่มสร้างแบรนด์ตามขึ้นมา โดยปัจจุบันเริ่มเปิดให้จองแล้ว และจะวางจำหน่ายในวันที่ 26 ตุลาคมนี้

แม้ว่ายอดขายของ iPhone X จะไม่ได้ขายดีถล่มทลาย จากราคาจำหน่ายที่สูงขึ้น แต่จากผลประกอบการของแอปเปิลในรอบปีที่ผ่านมา ก็แสดงให้เห็นว่ามีกลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อให้ความสนใจ และเลือกที่จะซื้อหามาใช้งาน เพียงพอกับเป้าหมายของแอปเปิลแล้ว

พอมาในรุ่น iPhone XS ก็เหมือนแอปเปิลกลับมาใช้กลยุทธ์เดิมในการออกรุ่นอัปเกรดออกมา ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพตัวเครื่องให้ดีขึ้น เช่นเดียวกับการออกรุ่นจอใหญ่อย่าง iPhone XS Max มาจับกลุ่มผู้ใช้ที่ต้องการจอใหญ่

อีกจุดอัปเกรดใหญ่ๆ ที่สำคัญคือเมื่อแอปเปิล เริ่มนำ eSIM มาใช้ใน Apple Watch 3 และได้รับการตอบรับที่ดี ใน iPhone XS และ XS Max ก็จะรองรับการใช้งาน 2 ซิมในรูปแบบของซิมหลัก + eSIM ช่วยให้สามารถใช้งาน iPhone 2 ซิมได้ด้วย

ข้อดี

การอัปเกรดตัวเครื่องให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
– iPhone XS Max ให้จอที่ใหญ่ขึ้น ในขนาดเท่ากับ 8 Plus
วัสดุตัวเครื่องที่ใช้ จับแล้วรู้สึกถึงความพรีเมียม
กล้องถูกพัฒนาให้เก็บภาพได้รายละเอียดมากขึ้น เพิ่มโหมดปรับความละเอียดพื้นหลัง

ข้อสังเกต

ระดับราคาเริ่มต้นเฉียด 4 หมื่นบาท
กล้องถ่ายภาพในที่แสงน้อยยังสู้แฟลกชิปจากฝั่งแอนดรอยด์ไม่ได้
ไม่มีช่องเสียบหูฟัง 3.5 มม. และไม่มีตัวแปลงให้ด้วย
ไม่แถมอะเดปเตอร์ชาร์จเร็วมาให้ ต้องซื้อเพิ่ม

Gallery

จุดต่างระหว่าง XS และ XS Max

ก่อนอื่นย้อนกลับไปดูราคาจำหน่ายของ iPhone XS และ iPhone XS Max กันก่อน โดย XS จะเริ่มต้นที่ 39,900 บาท สำหรับรุ่น 64 GB เมื่อเทียบกับช่วงที่ iPhone X เปิดตัวราคาอยู่ที่ 40,500 บาท ถือว่ามีการปรับลดลงเล็กน้อย และราคาสูงสุดของ XS รุ่น 512 GB จะอยู่ที่ 53,900 บาท

ในขณะที่รุ่น XS Max ราคาเริ่มต้น 64 GB อยู่ที่ 43,900 บาท และไปสุดอยู่ที่ 57,900 บาทสำหรับรุ่น 512 GB แน่นอนว่าถ้าเป็นราคาที่ซื้อพร้อมโปรโมชันกับทางโอเปอเรเตอร์ก็จะได้รับส่วนลดค่าเครื่องลงไปอีก แต่ราคาเครื่องเปล่าจากศูนย์แอปเปิลถือเป็นราคากลางไว้

โดยถ้ากำลังตัดสินใจเลือกซื้อว่าจะซื้อรุ่นเริ่มต้นที่เป็น 64 GB ดีหรือไม่ ในการใช้งานจริงทีมงานแนะนำให้เลือกซื้อรุ่น 256 GB ไปดีกว่า เพราะด้วยการถ่ายภาพ และวิดีโอในปัจจุบันพื้นที่เก็บข้อมูลเริ่มต้นที่ 64 GB ไม่เพียงพอกับการใช้งานอยู่แล้ว

ส่วนเมื่อกลับมาดูจุดต่างหลักๆ ระหว่าง iPhone XS และ iPhone XS Max มีอยู่ด้วยกัน 3 จุดใหญ่ๆ 1.คือเรื่องหน้าจอ ที่ XS มากับหน้าจอขนาด 5.8 นิ้ว ความละเอียด 2436 x 1125 พิกเซล ในขณะที่ XS Max มากับหน้าจอขนาด 6.5 นิ้ว ความละเอียด 2688 x 1242 พิกเซล ทั้ง 2 รุ่นให้ความละเอียดเม็ดสีเท่ากันที่ 458 ppi

ตามมาด้วย 2.ขนาดตัวเครื่อง XS จะอยู่ที่ 143.6 x 70.9 x 7.7 มิลลเมตร น้ำหนัก 177 กรัม (ใกล้เคียงกับ iPhone X เดิม) ส่วน XS Max จะอยู่ที่ 157.5 x 77.4 x 7.7 มิลลิเมตร น้ำหนัก 208 กรัม (ใกล้เคียงกับ iPhone 8 Plus)

สุดท้าย 3.เรื่องแบตเตอรี โดยทางแอปเปิลระบุมาคร่าวๆว่า iPhone XS ใช้งานได้นานกว่า iPhone X 30 นาที และ iPhone XS ใช้ได้นานกว่า 1.5 ชั่วโมง ซึ่งในรุ่น XS Max ให้แบตเตอรีมาที่ 3,174 mAh ที่ถือว่าเพิ่มขึ้นจาก iPhone 8 Plus ค่อนข้างเยอะ

ขณะเดียวกันพบว่า iPhone XS มากับแบตเตอรีขนาด 2,658 mAh ลดลงจากใน iPhone X แต่ด้วยหน่วยประมวลผลรุ่นใหม่ Apple A12 ที่ประหยัดพลังงานมากขึ้น ทำให้สามารถใช้งานได้นานกว่าเดิม ส่วน

สิ่งที่อัปเกรดขึ้นจากเดิม

ในส่วนของการอัปเกรดที่เพิ่มขึ้นจาก iPhone X ทั้ง XS และ XS Max มากับหน่วยประมวลผล Apple A12 Bionic ที่กลายเป็นหน่วยประมวลผลรุ่นแรกที่ทำงานบนสถาปัตยกรรมแบบ 7 นาโนเมตร ให้ความแรงในการประมวลผลเพิ่มขึ้น 15% และใช้พลังงานน้อยลง 50% เมื่อเทียบกับ A11

พร้อมกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลกราฟิก ด้วยการนำ GPU แบบ 4 Core มาใช้ประมวลผลร่วมกับ Metal 2 ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพขึ้นจากเดิม 50% นอกจากนี้ ยังมีการนำระบบ AI มาใช้ (Neural Engine) ในการประมวลผลแมชชีนเลิร์นนิ่ง (Core ML)

เมื่อดูถึงข้อมูลดังกล่าวอาจจะดูแล้วยาก แต่ถ้าให้สรุปง่ายๆคือ หลังจากลองใช้งานมาสักพักก็พบว่าตัวเครื่องเร็วขึ้น ทำงานได้หลากหลายมากขึ้นจากใน iPhone X ที่เดิมก็ประมวลผลได้ดีอยู่แล้ว แต่แน่นอนว่าการอัปเกรด iOS 12 ก็มีส่วนช่วยให้เครื่อง iPhone เร็วขึ้นด้วยเหมือนกัน

วัสดุที่ใช้ทำตัวเครื่องก็ถูกพัฒนาขึ้นมาใช้เป็นสแตนเลสสตีลระดับเดียวกับที่ใช้ทำเครื่องมือศัลยกรรม เคลือบผิวด้วยไอสาร (Physical Vapor Deposition – PVD) ให้ตัวเครื่องมีสีสันที่ชัดเจนขึ้น และจับถนัดมือมากขึ้น

ระบบสเตอริโอที่อยู่บน iPhone XS และ XS Max จะให้เสียงที่มีมิติมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อใช้รับชมภาพยนตร์ในแนวนอน เช่นเดียวกับการบันทึกวิดีโอที่มีไมค์รอบเครื่องถึง 4 ไมค์ ทำให้แยกทิศทางเสียงเข้าได้อย่างชัดเจน

นอกจากนี้ ยังมีในส่วนของ eSIM ที่คาดว่าจะเปิดให้ใช้งานกันภายในปีนี้ ทำให้ตัว iPhone สามารถใช้งาน 2 ซิมได้แล้วโดยส่วนใหญ่จะแนะนำให้ใช้เบอร์หลักเป็น eSIM และช่องใส่ถาดซิมไว้สำหรับเบอร์ที่ถอดเปลี่ยนได้ หรือเวลาเดินทางไปต่างประเทศก็สามารถนำซิมต่างประเทศมาใส่ใช้งานได้

ในส่วนของระบบเครือข่ายก็มีการพัฒนาขึ้นมารองรับ LTE Cat 16 หรือเครือข่ายระดับ Gigabit ด้วยการนำเทคโนโลยีอย่าง 4×4 MIMO LAA มาใช้งาน ซึ่งเครือข่ายในประเทศไทยส่วนใหญ่ก็เริ่มมีติดตั้งให้ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพแล้ว

กล้องที่เก็บรายละเอียดได้มากขึ้น

สำหรับเรื่องกล้องที่ทั้ง 2 รุ่นมากับกล้องคู่เหมือนเดิมคือ ความละเอียด 12 ล้านพิกเซล f/1.8 สำหรับเลนส์มุมปกติ และ f/2.4 สำหรับเลนส์เทเลโฟโต้ เพิ่มเติมด้วยการนำระบบประมวลผลภาพมาใช้ ทำให้สามารถถ่ายภาพชดเชยแสง (Smart HDR) เก็บรายละเอียดได้มากขึ้นกว่าเดิม

ในส่วนของกล้องหน้า ยังคงเป็นกล้อง TrueDepth ความละเอียด 7 ล้านพิกเซล f/2.2 ที่รับกับความสามารถใหม่เครื่อง สามารถถ่ายภาพ Portrait และเลือกปรับระดับความชัดตื้น ชัดลึกได้หลังถ่ายภาพ

โดยเท่าที่ลองถ่ายภาพเล่นๆ ก็พอว่าตัว iPhone XS และ XS Max สามารถเก็บภาพในที่แสงน้อยได้ดีขึ้นกว่าเดิม และในขณะเดียวกันโหมด Portrait ก็ฉลาดมากขึ้น ด้วยการเบลอฉากหลังที่เนียนขึ้นด้วยการนำ Neural Engine มาช่วยประมวลผล

ดูตัวเครื่องจริง XS / XS Max

โดยสีที่ได้มาจะเป็นสีใหม่ที่เพิ่งมีวางจำหน่ายคือสีทอง (Gold) ที่ลักษณะการออกแบบไม่ต่างจากเดิมอยู่แล้วอย่างที่รู้กัน มีเพียงการเพิ่มในแง่ของการกันน้ำ กันฝุ่นที่เป็น IP68 หรือกันน้ำลึก 2 เมตรได้ 30 นาที จากที่ในรุ่นก่อนหน้าเป็น iP67 กันน้ำได้ 1 เมตรไม่เกิน 30 นาที

รอบๆ ตัวเครื่องก็จะมีปุ่มเปิดเครื่อง และใช้เรียก Siri อยู่ทางขวา ปุ่มปิดเสียง และปรับระดับเสียงทางซ้าย ด้านล่างเครื่องเป็นพอร์ต Lightning ตัวเครื่องรองรับการใช้ Fast Charge ชาร์จได้ 50% ภายใน 30 นาที (ต้องซื้อสายชาร์จ USB-C to Lightning เพิ่มพร้อมหัวชาร์จ) และสามารถใช้การชาร์จไร้สายได้เหมือนเดิม

ส่วนในแง่ของการใช้งานตัวเครื่องต่างๆ จะไม่แตกต่างจาก iPhone X อยู่แล้ว ดังนั้นถ้าอยากย้อนไปดูรายละเอียดสามารถกลับไปอ่านกันได้ที่ https://cyberbiz.mgronline.com/review-apple-iphone-x/

ส่วนการใช้งานแบบเจาะลึกหลังจากใช้งานแบบเต็มที่แล้วจะกลับมาเล่าให้ฟังแบบละเอียดๆ แน่นอน เพราะเนื่องจากปัจจุบันผู้ให้บริการในประเทศไทยยังไม่ได้เปิดรองรับการใช้งาน eSIM บน iPhone

]]>
Review : Apple MacBook Pro 15″ (2018) เครื่องโปรที่ตอบโจทย์มืออาชีพมากขึ้นอีก https://cyberbiz.mgronline.com/review-apple-macbook-pro-2018/ Wed, 01 Aug 2018 12:07:19 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=28989

เป็นที่รู้กันว่าเครื่อง Macbook Pro ถือเป็นโน้ตบุ๊กประสิทธิภาพสูงที่ออกมาสำหรับผู้ใช้งานในกลุ่มของช่างภาพ ตัดต่อวิดีโอ ทำแอนิเมชัน 3 มิติ ไปจนถึงการเขียนโปรแกรมมิ่งขั้นสูง ที่ต้องใช้การประมวลผลของตัวเครื่องมาช่วย และในขณะเดียวกันก็เน้นที่ความสะดวกในการพกพาด้วย

ข้อดี

ปรับปรุงประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นจากซีพียูรุ่นใหม่ โดยเฉพาะรุ่น Core i9

จอแสดงผลแบบ True Tone ทำให้การแสดงผลเป็นธรรมชาติมากขึ้น

– Touch Bar เริ่มมีโปรแกรมรองรับเพิ่มมากขึ้น

ข้อสังเกต

ราคาจำหน่ายค่อนข้างสูง

ข้อจำกัดของพอร์ต USB-C ที่ต้องพกอุปกรณ์เสริมเพิ่ม

ไม่ได้มีการปรับปรุงในแง่ของดีไซน์ตัวเครื่องตั้งแต่ปี 2016

5 จุดน่าสนใจของ MacBook Pro 2018

ในภาพใหญ่แล้ว MacBook Pro with Touch Bar (2018) ได้รับการปรับปรุงเพิ่มเติมใน 5 ส่วนหลักๆ ด้วยกัน ประกอบไปด้วย 1.สเปกภายใน ที่เปลี่ยนมาใช้ซีพียูรุ่นที่ 8 จากอินเทล คอร์ ไอ (Intel Core i) เลือกได้ตั้งแต่ i5 i7 และ i9 RAM สูงสุด 32 GB พื้นที่เก็บข้อมูล SSD สูงสุด 4 TB

โดยในเครื่องรุ่น 13 นิ้ว ราคาเริ่มต้นจะอยู่ที่ 65,900 บาท โดยมาพร้อมหน่วยประมวลผล Intel Core i5 2.3 GHz และถ้าต้องการปรับสเปกเพิ่มเป็น Core i7 RAM 8 GB SSD 256 GB แต่ถ้าต้องการเพิ่มสเปกสูงสุดเป็น Core i7 2.7 GHz RAM 16 GB และ SSD 2 TB ราคาจะขึ้นไปอยู่ที่ 134,900 บาท

ส่วนในรุ่น 15 นิ้ว ราคาเริ่มต้นที่ 85,900 บาท สำหรับรุ่น Intel Core i7 2.2 GHz RAM 16 GB การ์ดจอ Radeon Pro 555X SSD 256 GB แน่นอนว่าสามารถปรับสเปกขึ้นไปเป็น Core i9 2.9 GHz RAM 32 GB การ์ดจอ Radeon Pro 560X และ SSD 4 TB ได้ในราคา 256,900 บาท

ทั้งนี้ รุ่นที่ได้มาทดสอบจะเป็น MacBook Pro 15 นิ้ว ที่มากับหน่วยประมวลผล 8th Gen Intel Core i9 RAM 32 GB การ์ดจอ Radeon Pro 560X SSD 2 TB ที่วางจำหน่ายในราคา 176,900 บาท ตัวเครื่องรองรับการเชื่อมต่อ Wi-Fi มาตรฐาน 802.11 a/b/g/n/ac บลูทูธ 5.0

2.มีการนำชิป Apple T2 ซึ่งเป็นชิปสำหรับเพิ่มความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูล ร่วมกับแต่เดิมที่มีการนำเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือ (Touch ID) มาใช้งานในการปลดล็อกเครื่อง ผสมผสานกับการจัดการตัวควบคุมเสียง ทำให้ผู้ใช้สามารถสั่งเรียกใช้งาน Siri ได้ทันทีโดยไม่ต้องกดปุ่มเรียกใช้งาน

ดังนั้น ผู้ใช้ MacBook Pro (2018) จึงสามารถใช้เสียง เรียก Siri ขึ้นมาเพื่อเปิดเพลง ตั้งแจ้งเตือน ค้นหาข้อมูลได้ทันที ในขณะที่กำลังใช้งานอย่างอื่นอยู่ อย่างกรณีที่พิมพ์งานอยู่ ไม่อยากสลับหน้าจอไปเปิดเพลง ก็สั่ง ‘หวัดดี Siri’ เปิดเพลงได้ทันที

3.การปรับปรุงหน้าจอแสดงผลที่ใช้จอ Retina 15.4 นิ้ว ความละเอียด 2880 x 1800 พิกเซล เช่นเดิม แต่เพิ่มความสามารถของ True Tone เข้ามาช่วยปรับสีการแสดงผลหน้าจอให้ธรรมชาติมากขึ้น โดยเทคโนโลยีนี้เริ่มนำมาใช้บน iPhone และ iPad รุ่นปีที่ผ่านมา ก่อนถูกนำมาใช้บนแมคบุ๊กในปีนี้

ขณะเดียวกันความสว่างของหน้าจอก็ปรับเพิ่มขึ้นมาเป็น 500 nit รองรับการแสดงผลสีบนมาตรฐาน P3 ที่ใช้ในวงการถ่ายภาพด้วย และในอนาคตเมื่อมีการปรับเดต macOS เป็น Mojave เมื่อทำงานร่วมกับ Dark Mode หรือ Dynamic Desktop ก็จะช่วยให้มีลูกเล่นเพิ่มมากขึ้น

4..คีย์บอร์ด Butterfly 3 ที่ปรับปรุงให้นุ่มขึ้น ทำให้เสียงในการพิมพ์เงียบกว่าเดิม และในขณะเดียวกันแอปเปิลก็พัฒนาคีย์บอร์ดรุ่นนี้มาเพื่อแก้ไขปัญหาปุ่มคีย์บอร์ดรุ่นเดิมที่มีปัญหากดไม่ติด หรือกดแล้วเบิ้ลหลังจากใช้งานไปสักพักด้วย

โดยในแง่ความรู้สึกในการพิมพ์ ถ้าเป็นผู้ที่เคยใช้งานคีย์บอร์ดแบบ Butterfly มาก่อน จะรับรู้ได้ถึงสัมผัสที่นุ่มขึ้นได้ชัดเจน แต่แน่นอนว่าถ้าไม่เคยใช้มาก่อน ในช่วงแรกที่ใช้งานน่าจะเจอปัญหาความไม่คุ้นชินในการใช้งาน เพราะจะรู้สึกเหมือนไม่ได้กดปุ่มคีย์บอร์ดจริงๆ

ส่วนแถบสัมผัส Touch Bar เหนือคีย์บอร์ด แม้จะไม่ได้มีการพัฒนาเพิ่มขึ้นจากรุ่นก่อนหน้า แต่เนื่องจากถูกนำเสนอมาในตลาดสักพักแล้ว ทำให้มีโปรแกรมที่ถูกพัฒนามารองรับการใช้งานเพิ่มมากขึ้น และช่วยให้ใช้งานเครื่องมือต่างๆได้สะดวกขึ้นด้วย

ต่อมาในส่วนของแทร็กแพด (TrackPad) ก็มากับระบบ Force Touch เช่นเดิม โดยยังคงความสามารถในการ Force Click (กดแทร็กแพดแรงขึ้นจากเดิมเล็กน้อย) เพื่อใช้ในการเปิดโหมด Quick Look หรือสั่งงานเพิ่มเติมในโปรแกรมต่างๆอยู่เช่นเดิม

สุดท้ายคือ การปรับปรุงพอร์ต Thunderbolt 3 ให้รองรับการใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น ในรูปแบบของ USB-C ที่สามารถใช้ทั้งชาร์จไฟกับพอร์ตไหนก็ได้ โอนถ่ายข้อมูล เชื่อมต่อกับหน่วยประมวลผลภาพภายนอก (eGPU) ได้พร้อมกัน 4 เครื่อง รวมถึงต่อจอภาพความละเอียดระดับ 5K ได้สูงสุด 2 จอภาพ

โดยที่รู้สึกได้อีกอย่างคือเรื่องของการเสียบสายในการใช้งาน จะแน่นขึ้นกว่าในรุ่นก่อนหน้า ถ้าเสียบเข้าไปแล้วจะมีรู้สึกถึงเสียงคลิก และรับรู้ได้ว่าแน่นแล้ว แต่แน่นอนว่า ปัญหาของการพกพาอุปกรณ์เสริม USB-C เพื่อเชื่อมต่อใช้งานยังคงมีอยู่แน่นอน

การออกแบบตัวเครื่อง

สำหรับ MacBook Pro (2018) รุ่นจอ 15 นิ้ว จะมีให้เลือกด้วยกัน 2 สีคือสีเงิน และสีเทา โดยรุ่นที่นำมารีวิวคือสีเทา (Space Gray) ดีไซน์ภายนอกของรุ่นนี้จะยังคงใช้คอนเซปต์เดิมกับการปรับโฉมครั้งใหญ่ของ MacBook ในปี 2016

ดังนั้น ภาพลักษณ์ภายนอกของเครื่องรุ่นนี้จึงไม่ได้มีจุดที่เปลี่ยนแปลงไป โดยที่ฝายังมากับโลโก้ Apple ที่ถูกเปลี่ยนจากเดิมที่เป็นไฟ มาเป็นวัสดุเงาๆ ขนาดตัวเครื่องอยู่ที่ 34.93 x 24.07 x 1.55 เซนติเมตร น้ำหนัก 1.83 กิโลกรัม

เมื่อเปิดหน้าจอขึ้นมาก็จะพบกับหน้าจอขนาด 15.4 นิ้ว โดยมีกล้อง Facetime อยู่ด้านบน พื้นที่ขอบจอที่บางขึ้น ล่างหน้าจอมีอักษรระบุ ‘MacBook Pro’ อยู่ ถัดลงไปบริเวณข้อต่อก็จะเป็นช่องระบายอากาศสำหรับเครื่องรุ่นนี้

ถัดมาบริเวณตัวเครื่อง ก็จะไล่ตั้งแต่แถบ Touch Bar ที่บริเวณปลายสุดทางขวาเป็น Touch ID ที่ใช้เป็นปุ่มเปิดปิดเครื่องด้วย ลงมาก็เป็นแผงคีย์บอร์ด Butterfly 3 ที่ขนาบไปด้วยลำโพงทั้ง 2 ฝั่ง ส่วนล่างก็จะเป็นแทร็กแพดขนาดใหญ่ให้ใช้งาน

หลังเครื่องก็จะตามสไตล์เดิมคือปล่อยไว้เรียบๆ โดยมีจุกยาง 4 จุด เพื่อยกให้เครื่อไม่แนบสนิทกับพื้น บริเวณขอบก็จะมีเว้นช่องไว้เป็นช่องระบายอากาศ และให้เสียงออกด้วย ส่วนการยึดเครื่องก็จะใช้น็อตพิเศษ 6 จุดรอบเครื่อง

ส่วนพอร์ตใช้งานรอบเครื่องก็จะมีพอร์ต Thunderbolt 3 หรือ USB-C ข้างละ 2 พอร์ต โดยทางฝั่งขวาจะมีช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม. มาให้เช่นเดิม

สำหรับอุปกรณ์ที่ให้มาในกล่อง จะประกอบไปด้วยตัวเครื่อง MacBook Pro 15 นิ้ว สาย USB-C ความยาว 2 เมตร และอะเดปเตอร์ 87 วัตต์ ที่เหลือก็จะเป็นคู่มือเบื้องต้น และสติกเกอร์แอปเปิลอยู่ในกล่องอีกที

ทดสอบประสิทธิภาพ

ในส่วนของการทดสอบประสิทธิภาพของ MacBook Pro 2018 ทีมงานทดสอบผ่านโปรแกรมทดสอบหลักๆอย่าง GekkBench 4 และ Cinebench R15 ก็พบว่าอยู่ในระดับท็อปๆของหน่วยประมวลผลใกล้เคียงกัน

ขณะที่เมื่อทดสอบกับการนำไปใช้งานแต่งภาพไฟล์ RAW หรือตัดต่อวิดีโอระดับ 4K พบว่า ทำได้ลื่นไหลกว่ารุ่นก่อนหน้าแบบเห็นได้ชัด ซึ่งแน่นอนว่าถือเป็นเครื่องที่ตอบโจทย์ผู้ที่ต้องการโน้ตบุ๊กพกพาประสิทธิภาพสูงไว้ใช้งานอย่างแน่นอน (แต่ราคาก็สูงตามไปด้วย)

หลังจากที่ ลองอัปเดต macOS Mojave เรียบร้อยแล้ว กลับมาทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องจาก Geekbench อีกครั้ง พบว่าคะแนนมีการปรับเพิ่มขึ้นตามไปด้วย แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของตัวเครื่องเมื่อทำงานบน macOS รุ่นใหม่ จะประมวลผลได้เร็วขึ้นกว่าเดิม

 

Gallery

]]>
Review : Apple MacBook Pro with Touch Bar กับแนวคิดใหม่ที่รอการพิสูจน์ https://cyberbiz.mgronline.com/review-apple-macbook-pro-with-touch-bar/ Wed, 04 Jan 2017 09:05:15 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=24907

IMG_6754

ถือเป็นการปรับเปลี่ยนอีกครั้งสำคัญในสินค้าตระกูล Macbook Pro ที่นอกจากจะมีการปรับดีไซน์ตัวเครื่องให้มีความบาง ให้เพรียวลงมาอีก ถัดจากในยุคก่อนหน้าที่ปรับมาแล้วรอบนึงในสมัยที่มี Macbook Pro with Retina Display ที่ชูความโดดเด่นของหน้าจอที่คมชัด สมจริงมากขึ้น พร้อมกับประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

จนมาถึงในรุ่นล่าสุดคือ MacBook Pro with Touch Bar ที่ปรับแนวคิดใหม่ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความบางมากขึ้น ปรับพอร์ตที่ใช้ให้กลายเป็น USB-C เหมือนใน Macbook ที่เริ่มใช้งานมาแล้ว 2 รุ่น พร้อมกันตลาดที่เริ่มให้ความยอมรับมากยิ่งขึ้น

แต่จุดที่เป็นของใหม่มากที่สุดในรุ่นนี้คือ Touch Bar หรือแถบควบคุมแบบสัมผัสบริเวณเหนือคีย์บอร์ด ที่จากเดิมเป็นปุ่ม ควบคุมการทำงานต่างๆของเครื่อง ไม่ว่าจะปรับแสงหน้าจอ เรียกดูหน้าจอทั้งหมด เข้าถึงโปรแกรมในเครื่อง ปรับแสงคีย์บอร์ด ปุ่มควบคุมเครื่องเล่นเพลง ปรับระดับเสียง ที่เป็นปุ่ม F1-F12 ในตัวหายไป กลายเป็นแถบจอสัมผัสให้ใช้งานแทน

การออกแบบ

IMG_6678

ในแง่ของการดีไซน์ ตัวเครื่องจะไม่ได้เปลี่ยนแนวแบบ All New แต่ก็ถือว่าเป็นการปรับรูปลักษณ์ของตัว Macbook Pro ให้ดูทันสมัยมากขึ้น ด้วยการนำดีไซน์ของ Macbook Pro รุ่นเดิมมาทำให้ตัวเครื่องบางลงกับขนาดขอบจอที่แคบลง ทำให้ตัวเครื่องโดยรวมของรุ่น 13 นิ้ว อยู่ที่ 304.1 x 212.4 x 14.9 มิลลิเมตร นำ้หนัก 1.37 กิโลกรัม พร้อมกับเพิ่มสี จากเดิมที่มีเฉพาะสีเงิน (Silver) ด้วยสีเทา (Space Gray) ให้เลือกด้วย

IMG_6686

บนเครื่องความโดดเด่นของ แอปเปิล Macbook Pro ที่ผ่านมาไม่ใช่ดีไซน์ที่มีสีสรรฉูดฉาดอยู๋แล้ว เพราะจะเน้นความเรียบง่ายด้วยการมีสัญลักษณ์ ‘Apple’ ติดอยู่ตรงกึ่งกลาง เพียงแต่ในรุ่นนี้สัญลักษณ์ดังกล่าวจะไม่ได่มีไฟติด เพื่อแสดงสถานะการเปิดเครื่องอีกต่อไป กลายเป็นสัญลักษณ์เหมือนใน Macbook ที่ใช้ความเงาของโลโก้ มาสร้างความแตกต่างแทน

IMG_6708

ใต้เครื่องยังคงสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์ของแอปเปิล คือมีจุกยางรองที่บริเวณมุมเครื่องทั้ง 4 พร้อมกับ รูสำหรับไขน็อตรอบเครื่อง ส่วนพื้นที่ที่เหลือจะปล่อยว่างไว้ เน้นความเรียบง่าย โดยจะมีการระบุเลขซีเรียลเครื่อง และสัญลักษณ์มาตรฐานต่างๆไว้ตรงกึ่งกลางบนเท่านั้น

IMG_6682

หน้าจอจุดที่สร้างความโดดเด่นให้กับ Macbook Pro มากที่สุดคงหนีไม่พ้นเรื่องของหน้าจอ Retina แบบ IPS ที่มีขนาด 13.3 นิ้ว ความละเอียด 2560 x 1600 พิกเซล ความละเอียดเม็ดสี 227 ppi ให้ความสว่างสูงสุด 500 nit และยังได้ในเรื่องของความกว้างของสีระดับ P3 ที่เมื่อได้มองแล้วจะเห็นถึงความแตกต่างในการแสดงผลเมื่อเทียบกับรุ่นเดิม

IMG_6716

ทั้งนี้ ส่วนบนของจอภาพจะมีกล้องหน้าสำหรับใช้ Factime ความละเอียด HD (720p) และขอบล่างจะมีการสกรีนชื่อรุ่น Macbook Pro อยู่ นอกจากนี้ การที่มีขอบจอ (Bazel) เล็กลง ทำให้ตัวเครื่องของ Macbook Pro 13 นิ้ว รุ่นปี 2013 จะมีขนาดเล็กลง และยิ่งเมื่อเทียบกับ Macbook Air 13 นิ้ว ก็จะเห็นได้ชัดว่า ขอบจอที่เล็กลงช่วยให้ตัวเครื่องดูพกพาใช้งานสะดวกขึ้น

IMG_6724

บริเวณแป้นพิมพ์ในส่วนนี้จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักๆคือ โครงของตัวบอดี้ที่ยังคงใช้การเจาะอะลูมิเนียมชิ้นเดียวเป็นหลัก โดยจะมีช่องลำโพงอยู่ขนาบไปกับคีย์บอร์ดทั้ง 2 ฝั่ง ตรงกึ่งกลางส่วนบนจะเป็นส่วนของคีย์บอร์ด และ Touch Bar ส่วนล่างจะเป็น แทร็กแพด ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเท่าตัว เมื่อเทียบกับรุ่นที่ผ่านมา

IMG_6717IMG_6720ทีนี้เมื่อแยกพูดถึงกันทีละส่วนจะพบว่า ในแง่ของลำโพงสนทนาที่มีการปรับให้อยู่ขนาบไปกับคีย์บอร์ดนั้น ช่วยให้พลังเสียงที่ ดังขึ้น ชัดขึ้น และละเอียดขึ้น จากการที่แอปเปิลมีการปรับดีไซน์ของลำโพงใหม่ เพื่อให้ครอบคลุมช่วงเสียงที่กว้างขึ้น ให้สามารถใช้งานได้ทั้งชมภาพยนตร์ ฟังเพลง และเล่นเกม

IMG_6793

ส่วนของคีย์บอร์ด ได้มีการปรับมาใช้คีย์บอร์ดแบบ ปีกผีเสื้อ (Butterfly mechanism) ที่พัฒนาขึ้นมาเป็นเวอร์ชัน 2 ที่ช่วยให้พิมพ์ใช้งานได้สะดวกขึ้น เพียงแต่ถ้าใช้งานในช่วงแรกแล้วยังไม่ชิน อาจจะต้องใช้เวลาปรับนิ้วให้เข้ากับคีย์บอร์ดสักพัก แต่ถ้าใช้งานคุ้นแล้วจะพบว่าสามารถพิมพ์ได้เร็วขึ้นอย่างชัดเจน

IMG_6718

ขณะที่ส่วนของแทร็กแพด ก็ยังใช้เป็นแบบ Force Touch Trackpad ที่ใช้ระบบไฟฟ้าสถิตมาช่วยเพื่อให้ความรู้สึกเหมือนการกดปุ่ม ซึ่งแน่นอนว่าด้วยการที่ปรับขนาดให้ใหญ่ขึ้น 2 เท่าเมื่อเทียบกับรุ่นเดิม ทำให้ใช้งานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น แต่ในขณะเดียวกันเมื่อใช้งานร่วมกับคีย์บอร์ดบางครั้งจะมีพลาดไปโดนบริเวณขอบของแทร็กแพดด้วย

IMG_6727สุดท้ายคือส่วนของ Touch Bar ที่เป็นแถบคำสั่งแบบสัมผัส ที่เผยโฉมครั้งแรกใน Macbook Pro รุ่นใหม่ในปีนี้ คิดง่ายๆก็มองเหมือนเป็นหน้าจอ OLED ระบบสัมผัส 10 จุด ความละเอียด 2170 × 60 พิกเซล ที่มาแทนที่แถบควบคุม และปุ่ม F1-F12 เดิม พร้อมกับระบบ Touch ID หรือเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือที่ช่วยให้ใช้งานเครื่องได้สะดวก และปลอดภัยมากขึ้น

IMG_6694IMG_6695พอร์ตเชื่อมต่ออีกจุดที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากเลยคือเรื่องของพอร์ตเชื่อมต่อ ที่แอปเปิลเลิกใช้งานพอร์ต USB แบบปกติ รวมถึงพอร์ต Thunderbolt เดิม ที่มีขนาดใหญ่ มาเหลือเป็นพอร์ต Thunderbolt 3 (USB-C) แทน ทำให้พอร์ตเชื่อมต่อของ Macbook Pro With Touch Bar จะมา USB-C ให้ทั้งหมด 4 พอร์ต และช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม.

IMG_6759

ข้อดีของการที่มีพอร์ตเชื่อมต่อมาให้ 4 พอร์ต คือ ผู้ใช้สามารถเลือกเสียบสายชาร์จเข้ากับพอร์ตใดก็ได้ โดยตัวเครื่องจะมีระบบเลือกไฟเข้าเฉพาะพอร์ตเดียว ทำให้ไม่ต้องกังวลว่าเมื่อเสียบซ้อนกัน 2 พอร์ตเครื่องจะมีปัญหา โดยแบตเตอรีของเครื่องจะมีขนาด 4,415 mAh นอกจากนี้ ก็ยังสามารถใช้ต่อกับอุปกรณ์เสริมที่เป็นพอร์ตแปลงเป็น USB 3.0 HDMI ช่องต่อสายแลน และอุปกรณ์อื่นๆที่รองรับได้

สเปก

About

สำหรับสเปกของ MacBook Pro with Touch Bar 13” ที่ได้มาทดสอบ จะมาพร้อมกับหน่วยประมวลผล Intel Core i5 ที่เป็น Dual-Core 2.9 GHz (Turbo Boost 3.3GHz) L3-Cache 4MB หน่วยประมวลผลภาพเป็น Intel Iris Graphic 550 RAM LPDDR3 2133 MHz ขนาด 8 GB พื้นที่เก็บข้อมูลเป็น SSD ขนาด 512 GB (เริ่มต้นที่ 256 GB)

โดยผู้ใช้สามารถเลือกปรับเปลี่ยนหน่วยประมวลผลในรุ่นจอ 13” ขึ้นไปเป็น  Intel Core i7 Dual-core 3.3 GHz (Turbo Boost 3.6 GHz) L3-Cache 4MB พร้อมเพิ่ม SSD ได้สูงสุดที่ 1 TB

ในขณะที่ในรุ่น 15” จะมากับ Intel Core i7 Quad-Core 2.7 GHz (Turbo boost 3.5 GHz) L3-Cache 6 MB สามารถปรับเพิ่มเป็น Intel Core i7 Quad-core 2.9GHz (Turbo Boost 3.8GHz) L3-Cache 8 MB ได้ RAM 16 GB พื้นที่เก็บข้อมูล SSD เริ่มต้นที่ 256 GB – 2 TB โดยในรุ่น 15” จะมากับการ์ดจอแยกเป็น Radeon Pro 450 (เพิ่มเป็น Radeon Pro 460 ได้)

ฟีเจอร์เด่น

IMG_6730

ในแง่ของฟีเจอร์การใช้งานที่ต้องพูดถึงแน่นอนว่าคงหนีไม่พ้น Touch Bar และ Touch ID ที่เป็นของใหม่สุด และเพิ่งเริ่มใช้งานกับ Macbook Pro รุ่นปี 2016 ซึ่งแน่นอนว่าด้วยความที่เป็นของใหม่ ทำให้ในช่วงแรกแอปพลิเคชัน หรือ โปรแกรมที่รองรับนั้นมีค่อนข้างน้อย และต้องรอให้โปรแกรมอื่นๆมีการอัปเดตให้รองรับเพิ่มเติม

TouchFeature

ทีนี้มาดูความสามารถเบื้องต้นของ Touch Bar เมื่อไม่ได้เปิดใช้งานโปรแกรมใดๆ ตัวแสดงผลจะขึ้นเพียงปุ่ม ESC พร้อมกับอีก 4 ไอค่อนหลัก อย่างปุ่มปรับระดับความสว่างหน้าจอ ปรับระดับเสียง ปิดเสียง และเรียกใช้งาน SIRI และเมื่อกดปุ่ม fn แถบปุ่ม F1-F12 ก็จะโชว์ขึ้นมาให้ใช้งาน

เมื่อกดปุ่มลูกศรข้างๆ ก็จะเป็นการยืดแถบควบคุมที่คุ้นเคยออกมา คือจะมีให้เลือกปรับความสว่างหน้าจอ เข้าหน้าจอแสดงโปรแกรมที่ใช้งานทั้งหมด (Mission Control) เรียกดูโปรแกรม (Launchpad) ปรับความสว่างไฟคีย์บอร์ด ปุ่มควบคุมเครื่องเล่นเพลง ปรับระดับเสียง และปุ่มเรียกใช้ SIRI

touchbaredit

ทั้งนี้ บริเวณแถบดังกล่าว ผู้ใช้สามารถเข้าไปปรับแต่งด้วยตนเองได้ด้วยการเข้าไปที่ System Preferences > Keyboard > Customize Control Strip หลังจากนั้น ทำการเลือกปุ่มควบคุมที่ต้องการจากหน้าจอลงไปไว้ที่ Touch Bar ได้ทันที โดยจะเลือกปรับเฉพาะ 4 ไอค่อนหลัก หรือทั้งแถบควบคุมเลยก็ได้

โดยปุ่มควบคุมที่สามารถตั้งได้จะประกอบด้วย ปุ่มปรับระดับความสว่างหน้าจอ Mission Control เรียกเมนูค้นหา (Spotlight) ปุ่มสั่งเล่น/หยุดเพลง ปรับระดับเสียง เปิด/ปิดเสียง SIRI เรียกดูการแจ้งเตือน ตั้งโหมดห้ามรบกวน จับภาพหน้าจอ ระบบค้นหาคำศัพท์ สลับภาษา Dasboard Launchpad แสดงหน้าจอ เรียกภาพพักหน้าจอ ล็อกจอ เข้าโหมดสลีป เพิ่ม/ลดความสว่างหน้าจอ เพิ่ม/ลดไฟคีย์บอร์ด ปุ่มควบคุมมีเดีย แถบควบคุมระดับเสียง และเว้นว่างไว้

IMG_6734

เบื้องต้น โปรแกรมที่รองรับการใช้งาน Touch Bar จะเป็นโปรแกรมพื้นฐานที่มากับ Mac OS อย่าง รูปภาพ (Photos) ผู้ใช้สามารถใช้นิ้วสัมผัสแถบ Touch Bar เพื่อกดถูกใจรูปแบบ (Favorite) หมุนภาพ กดปรับแต่งภาพ ไม่ว่าจะเป็นปรับสีอัตโนมัติ เลือกเพิ่มความสว่าง เพิ่มสี ทำรูปขาวดำ ครอบรูป ปรับองศา เลือกสัดส่วนภาพ ใส่ฟิลเตอร์ ปรับขนาด Retouch รูปภาพเบื้องต้น

ถัดมาคือ อีเมล (Mail) ผู้ใช้สามารถสั่งเขียนจดหมายใหม่ กด reply หรือ forword เก็บอีเมล (Archive) ย้ายไปเก็บยังกล่องต่างๆ ตั้งเป็น Junk Mail ปักหมุด นอกจากนี้ เมื่อกดเข้าสู่หน้าส่งข้อความใหม่ ก็จะมีปุ่มให้กดส่งเมลได้ทันที พร้อมกับตัวเลือก Emoticon ต่างๆให้เลือกใช้

ในส่วนของ ซาฟารี (Safari) Touch bar จะทำหน้าที่หลักๆ 2 ส่วน คือกดเพื่อพิมพ์ URL เว็บไซต์ หรือพิมพ์ข้อความเพื่อค้นหาต่างๆ กับ การเรียกหน้าใหม่ขึ้นมาพร้อมกดเข้าสู่เว็บไซต์จาก บุ๊กมาร์คที่ตั้งไว้ รวมถึงใช้สลับหน้าต่าง (Tabs) ขณะใช้งานจาก Touch bar ได้ทันที

นอกจากนี้ ยังสามารถใช้คู่กับ Keynote Pages และ Numbers ได้ โดย Touch Bar ก็จะปรับเปลี่ยนแถบคำสั่งในระหว่างใช้งานไม่ว่าจะเป็นการเลือกรูปแบบอักษร ปรับสีพื้นหลัง สีตัวอักษร สีกรอบ เลือกเส้นประ ความโปร่งใส จัดเรียงหน้ากระดาษ ใส่ Bullet ตั้งฟอร์แมตช่องต่างๆเมื่อใช้งานใน Numbers เหมือนเป็นแถบคำสั่งเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งานมากกว่า

เช่นเดียวกับใน สมุดจด (Notes) ที่ Touch Bar จะทำหน้าที่แสดงผลการคาดเดาคำศัพท์ (Word Prediction) ที่ปัจจุบันยังไม่รองรับภาษาไทย การขึ้นหน้าใหม่ ปรับรูปแบบตัวอักษรต่างๆ ยังมีการนำมาใช้ร่วมกับการตัดต่อภาพยนตร์ ทั้งผ่าน Final Cut และ iMovie ที่สามารถใช้เลื่อน Timeline และคำสั่งในการตัดต่อต่างๆ

IMG_6744IMG_6745

รวมถึงโปรแกรมพื้นฐานอย่าง สมุดรายชื่อ สามารถกดเพื่อส่งข้อความหาได้ทันที เครื่องคิดเลข ใช้ในการกดสูตรต่างๆ การใช้โทร Facetime ก็จะโชว์ปุ่มโทรออก วางสาย แสดงชื่อผู้ติดต่อ แน่นอนว่าถ้าใช้งานร่วมกับ iPhone ก็สามารถใช้กดรับโทรศัพท์บน Macbook ได้ทันที

IMG_6756

กรณีที่ใช้พวกโปรแกรมตกแต่งภาพอย่าง Adobe Photoshop CC หรือ Lightroom CC ทาง Adobe ก็มีอัปเดตให้โปรแกรมดังกล่าวรองรับการทำงานร่วมกับ Touch Bar แล้วด้วย หรือถ้าอยากหาโปรแกรมอื่นที่รองรับก็สามารถเข้าไปดูได้ใน App Store เลือกเมนู Enchance for Touch Bar

IMG_6674

นอกจากนี้ ที่บริเวณขวาสุดของ Touch Bar จะมีปุ่ม Touch ID ซ่อนอยู่ ไว้ใช้สำหรับสแกนลายนิ้วมือ เพื่อปลดล็อกเครื่อง ใช้ติดตั้งโปรแกรม รวมถึงใช้สำหรับยืนยันการซื้อแอปฯ หรือชำระค่าบริการต่างๆได้ด้วย (Apple Pay) เปรียบเหมือนระบบช่วยยืนยันตัวตน เพียงแต่ระบบดังกล่าวจะเริ่มใช้ เมื่อมีการกรอกรหัสปลดล็อกเครื่องครั้งแรกก่อน หลังจากนั้นจึงสามารถใช้ลายนิ้วมือได้

TouchID-Seting

สำหรับ Touch ID ผู้ใช้สามารถเลือกป้อนข้อมูลนิ้วมือได้ 3 ลายนิ้วมือ ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องมีการตั้งรหัสป้องกันเครื่องไว้ก่อน เพื่อใช้ปลดล็อกเครื่องในกรณีที่ไม่สะดวกใช้ลายนิ้วมือแต่ทั้งนี้ ถ้ามีผู้ใช้งานหลายบัญชีในเครื่องเดียว ตัวเครื่องก็จะรองรับการบันทึกลายนิ้วมือสูงสุดแค่ 3 ลายนิ้วมือเช่นเดิม

IMG_6729

หลักๆแล้ว การใช้งานของ Touch ID จะได้ใช้จริงเมื่อเปิดเครื่องขึ้นมาใช้งานจากโหมด Sleep กับอีกกรณีคือเมื่อต้องการปรับตั้งค่าในส่วนของ System Preference และกรณีที่มีการติดตั้งโปรแกรม หรือแอปพลิเคชันเพิ่มเติม ส่วนเสริมอื่นๆอย่างใช้การยืนยันรหัส Apple ID และ Apple Pay อาจจะได้ใช้กันมากขึ้นในอนาคต

นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มความสามารถพิเศษอย่างกรณีที่ปิดเครื่อง เมื่อเปิดหน้าจอขึ้นมาเครื่องจะติดโดยอัตโนมัติ พร้อมให้ผู้ใช้กรอกรหัสเพื่อเข้าใช้งานครั้งแรกได้เลย จากเดิมในรุ่นก่อนๆที่ต้องกดปุ่มเพื่อเปิดเครื่องก่อนเป็นต้น

ตัวอย่างการใช้งาน Touch Bar

ทดสอบประสิทธิภาพ

โดยรวมแล้วฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่มีใน Macbook Pro with Touch Bar ก็คือเรื่องความสามารถในการใช้งาน Touch Bar และ Touch ID ที่เพิ่มเข้ามา ส่วนที่เหลือหลักๆก็จะมีการเพิ่มเติมในแง่ของ คุณภาพเสียงจากลำโพงที่ดังขึ้นเมื่อเทียบกับรุ่นเดิม

การแสดงผลของหน้าจอที่ให้สีที่สดใส และคมชัดมากขึ้น เพียงแต่ว่า จากเดิมเมื่อใช้งานใน Macbook เมื่อปรับความสว่างเกือบต่ำสุด ก็ยังสามารถมองจอเพื่อใช้งานแบบประหยัดพลังงานได้ แต่ใน Macbook Pro การปรับแสดงเกือบต่ำสุด หน้าจอจะมืดเกินไป ทำให้ต้องเพิ่มความสว่างขึ้นมา อยู่ระดับกลางๆจึงใช้งานได้ตามปกติ

Screen-Shot-2560-01-13-at-6.41.01-PM

[Updated 13-01-18] ล่าสุด ทางแอปเปิลได้ลองปล่อยอัปเดตสำหรับนักพัฒนา macOS 10.12.3 Public Beta 4 ออกมา พร้อมระบุว่าได้แก้ไขปัญหาดังกล่าวแล้ว หลังจากทีมงานทดสอบแล้วจะมาแจ้งผลให้ทราบอีกทีหนึ่ง

ปัญหาเรื่องแบตเตอรี กลายเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะจากเดิมทีมงานเคยใช้งาน Macbook และ Macbook Pro รุ่นเก่ามาก่อน จะพบว่า แบตเตอรีเมื่อใช้งานต่อเนื่องจะอยู่ได้ 7-8 ชั่วโมงขึ้นไป แต่เมื่อมาลองใช้งานบน Macbook Pro with Touch Bar ปรากฏว่า ใช้งานต่อเนื่องได้ไม่เกิน 6 ชั่วโมง เมื่อใช้งานทั่วไป และลดลงน้อยกว่านั้นเมื่อใช้งานหนักๆ

ดังนั้น คงต้องรอดูการอัปเดตของแอปเปิลต่อไปว่า จะมีการปรับแต่งการใช้งานแบตเตอรีอย่างไร เพราะจากอัปเดตล่าสุดได้มีการ ปรับการแสดงผลแบตเตอรีในเครื่อง เหลือเพียงเปอเซนต์แบตที่เหลืออยู่ และไม่มีการคำนวนระยะเวลาที่ใช้งานได้ต่อเนื่องให้ดูเหมือนเมื่อก่อนแล้ว

Geek32Geek63สำหรับการทดสอบด้วยโปรแกรมทดสอบอย่าง GeekBench 32 bit และ 64 bit จะได้คะแนน Single Core 3,387 – 3,659 คะแนน และ Multi Core 6,815 – 7,625 คะแนน ตามลำดับ

Cinebench

ขณะที่ CineBench R15 ได้คะแนน OpenGL 36.76 fps และ CPU 339 cb

สรุป

MacBook Pro with Touch Bar อาจจะไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีที่สุด เมื่อคำนวนถึงค่าใช้จ่ายที่เสียไปกับราคาเครื่องที่ค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับประสิทธิภาพที่ได้ ซึ่งก็เป็นไปตามแนวทางของแอปเปิลอยู่แล้ว ที่จะมองในแง่ของการใช้งานเป็น รวมถึงทางด้านของนวัตกรรม การมาของ Touch Bar จะเป็นที่น่าสนใจในท้องตลาด เพราะช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งานได้เป็นอย่างดี

ความว้าวหลักของเครื่องรุ่นนี้ จะตกไปอยู่ที่หน้าจอที่ให้สีสมจริง เหมาะกับการทำงานกราฟิกเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันในแง่ของคีย์บอร์ดที่เป็นแบบปีกผีเสื้อถือว่าพัฒนาขึ้นจากรุ่นก่อนหน้า พิมพ์ได้สะดวกขึ้น ทัชแพดที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ประกอบกับการเพิ่มช่องต่อ USB-C มาให้ 4 ช่อง ช่วยให้การทำงานโดยรวมดีมากขึ้น (สำหรับผู้ที่มีอุปกรณ์ที่ใช้งาน USB-C)

แต่สิ่งที่แอปเปิล ต้องพิสูจน์ในเครื่องรุ่นนี้ และแก้ปัญหาพร้อมกับเรียกความเชื่อมั่นของผู้บริโภคกลับคืนมาคือเรื่องของแบตเตอรี เพราะจากอัปเดตล่าสุดของ masOS ได้มีการนำการคำนวนระยะเวลาใช้งานบนแบตเตอรีออกไป เหลือแสดงผลเพียงปริมาณแบตเตอรีเท่านั้น จึงทำให้เกิดข้อสงสัยว่าเพราะเหตุใด ประกอบกับการใช้งานจริงที่เมื่อใช้งานหนักๆ ระยะเวลาใช้งานบนแบตเตอรีก็จะน้อยลงอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับรุ่นก่อนหน้า

ทั้งนี้ ราคา จำหน่ายของ MacBook Pro รุ่นปี 2016 จะมีให้เลือกหลักๆ 3 รุ่นคือ

MacBook Pro 13-inch: ราคาเริ่มต้นที่ 56,900 บาท

MacBook Pro 13-inch with Touch Bar and Touch ID: ราคาเริ่มต้นที่ 67,900 บาท

MacBook Pro 15-inch with Touch Bar and Touch ID: ราคาเริ่มต้นที่ THB 89,900 บาท

ข้อดี

หน้าจอ 2K ที่ให้การแสดงผลคมชัด สมจริง

คีย์บอร์ด และแทร็กแพดที่ปรับปรุงประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

– Touch Bar & Touch ID ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน

ดีไซน์ตัวเครื่องที่บางลง Macbook Pro รุ่น 13” น้ำหนักเท่า Macbook Air 13”

ข้อสังเกต

ปัญหาเรื่องแบตเตอรีที่ยังไม่ค่อยเสถียร

พอร์ต Thunder Bolt 3 (USB-C) ยังมีอุปกรณ์รองรับน้อย ต้องใช้งานคู่กับอะเดปเตอร์เสริม

ประสิทธิภาพไม่ได้เพิ่มจากรุ่นเดิมมาก จนต้องเปลี่ยนมาใช้

Gallery

]]>
Review : Apple Macbook (2016) เพิ่มเติมคือสีใหม่ และเร็วขึ้น https://cyberbiz.mgronline.com/review-apple-macbook2016/ Mon, 30 May 2016 08:00:07 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=22624

IMG_2961

ในปีที่ผ่านมา Apple Macbook ถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่เข้ามาสร้างนวัตกรรมให้แก่ตลาดโน้ตบุ๊กอีกครั้งหนึ่ง ด้วยการเป็นโน้ตบุ๊กที่มีความบางที่สุดในโลก ประกอบกับเป็นเครื่องที่มีหน้าจอขนาด 12 นิ้ว ความละเอียด Retina Display ในขนาดตัวเครื่องใกล้เคียงกับ Macbbok Air 11 นิ้ว เข้ามาตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าที่ต้องการโน้ตบุ๊กเครื่องบางเบา และมีประสิทธิภาพในการใช้งาน

color

การมาของ Macbook (2016) ในรุ่นปีนี้ ที่ถือเป็นไมเนอร์เชนจ์ ด้วยการใช้ดีไซน์ตัวเครื่องแบบเดิม แต่แอปเปิล เลือกที่จะเพิ่มเติมด้วยสีตัวเครื่องใหม่ที่เพิ่มเข้ามาเป็น 4 สี คือ เงิน ทอง เทาสเปซเกรย์ และล่าสุดโรสโกลด์ เข้ามาจับกลุ่มผู้ที่ต้องการสร้างความแตกต่างในการใช้งานโน้ตบุ๊ก

ประกอบกับการที่อินเทล มีการอัปเดตรุ่นหน่วยประมวลผลประหยัดพลังงานอย่าง Intel Core M เป็น Generation ที่ 6 ซึ่งให้ประสิทธิภาพสูงขึ้น เมื่อเทียบกับรุ่นก่อนหน้า ทำให้สิ่งที่เพิ่มเข้ามาใน Macbook (2016) คือเรื่องของการมีสีใหม่เข้ามา และประสิทธิภาพในการใช้งานที่เพิ่มขึ้น

การออกแบบ

IMG_2953

ในแง่ของดีไซน์ Apple Macbook (2016) นั้นถูกใช้โมเดลเดียวกับรุ่นปีที่ผ่านมา ซึ่งถ้ามองในแง่ของการออกแบบแล้วก็ยังถือเป็นโน้ตบุ๊กที่บางอันดับต้นๆอยู่เช่นเดิม ด้วยฟอร์มเฟคเตอร์เครื่องขนาด 11 นิ้ว แต่ให้หน้าจอขนาด 12 นิ้ว พร้อมกับการเพิ่มสี Rose Gold เข้ามาในไลน์ ขณะที่ขนาดยังอยู่ที่ 280.5 x 196.5 x 3.5-13.1 มิลลิเมตร น้ำหนัก 920 กรัม

IMG_2958

ด้านหน้าจะมีสัญลักษณ์ Apple ที่ทำเงาอยู่ตรงกลาง แน่นอนว่าไม่มีไฟแสดงการเปิดเครื่องเหมือน Macbook Air และ Macbook Pro เช่นเดิม

เมื่อเปิดหน้าจอขึ้นจะก็จะพบกับจอขนาด 12 นิ้ว ความละเอียด 2304 x 1440 พิกเซล ที่แม้ว่าขอบจอจะไม่ได้บางมาก แต่ก็อยู่ในอัตราส่วนที่เกือบเต็มพื้นที่ ส่วนบนหน้าจอจะมีกล้องความละเอียด 480p ส่วนล่างเป็นอักษร ‘MacBook’ ที่สะท้อนสีชมพูขึ้นมาจากตัวเครื่องให้เห็น

ร่องระหว่างหน้าจอและตัวเครื่อง ถือเป็นช่องระบายอากาศที่สำคัญที่สุดของ MacBook ร่วมกับบริเวณปุ่มคีย์บอร์ด เพราะในเครื่องรุ่นนี้จะไม่มีการใช้พัดลมระบายความร้อน เนื่องจากหน่วยประมวลผลที่ใช้งานเป็นแบบ Core M ซึ่งใช้พลังงานต่ำ ทำให้ความร้อนสะสมไม่สูง

จุดเด่นที่สุดของ MacBook ยังคงเป็นแป้นคีย์บอร์ดที่ใช้เป็นกลไกแบบปีกผีเสื้อ (Butterfly) ทำให้ปุ่มกดมีความบาง รับสัมผัสได้ง่ายขึ้น และยังมาพร้อมกับไฟบนคีย์บอร์ดให้ใช้งานในเวลากลางคืนได้ เช่นเดียวกับส่วนของ แทร็กแพด ที่รองรับการกดแบบ Force Touch ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน ความสามารถพิเศษต่างๆของโปรแกรม

IMG_2941

ด้านหลังพื้นที่ส่วนใหญ่จะถูกปล่อยเรียบไว้ โดยมีการสกรีนสัญลักษณ์ และข้อมูลต่างๆไว้ส่วนหนึ่ง ที่เหลือจะเป็นช่องน็อตสำหรับยึดฝาหลัง และยางรองเพื่อยกเครื่องขึ้นมาจากระนาบพื้น ช่วยให้ตัวเครื่องไม่ลื่นไหล และระบายความร้อนได้ดีขึ้นด้วย

ด้านซ้ายจะเป็นที่อยู่ของพอร์ต USB-C ที่สามารถเชื่อมต่อสายชาร์จ และอะเดปเตอร์เพื่อเชื่อมต่อพอร์ตอื่นๆได้ ด้านขวามีช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม.และช่องไมโครโฟนรับเสียงอยู่

สำหรับอุปกรณ์ที่ให้มาในกล่องจะประกอบไปด้วยตัวเครื่อง สาย USB-C ยาว 2 เมตร อะเดปเตอร์ และคู่มือการใช้งาน ไม่ได้แถมสายยาวสำหรับเชื่อมต่อกับอะเดปเตอร์เหมือนใน MacBook Air และ MacBook Pro

สเปก

elcap

ในส่วนของสเปกภายใน Macbook (2016) จะมีให้เลือกด้วยกัน 2 รุ่น ซีพียูคือ ตัวเริ่มต้นจะมาพร้อมกับหน่วยประมวลผล Intel Core M3 6Y30 ความเร็ว 1.1 GHz (Turbo Boost up to 2.2 GHz) L3 Cache 3 MB SSD 256 GB กับอีกรุ่นคือ Intel Core M5 6Y54 ความเร็ว 1.2 GHz (Turbo Boost up to 2.7 GHz) L3 Cache 3 MB SSD 512 GB ทั้ง 2 รุ่นมาพร้อมกับ RAM LPDDR3 8 GB ให้เลือกใช้งาน

แต่ทั้งนี้ ถ้าต้องการประสิทธิภาพที่สูงขึ้น ผู้ใช้ยังสามารถที่จะเลือกเปลี่ยนเป็นซีพียูรุ่นสูงสุดในตระกูลคือ Intel Core M7 6Y75 ความเร็ว 1.3 GHz (Turbo Boost up to 3.1 GHz)  L3 Cache 3 MB แทนได้ ด้วยการเพิ่มเงินอีก 6,000 – 10,000 บาทได้เช่นเดียวกัน

priceทำให้ราคาของ Macbook (2016) แบ่งให้สามารถเลือกเป็น 4 รูปแบบคือ Core M3 1.1 GHz SSD 256 GB 49,900 บาท / 1.2 GHz 512 GB 59,900 บาท / 1.3 GHz 256 GB 59,900 บาท และ 1.3 GHz 512 GB 65,900 บาท นอกจากนี้ ยังสามารถเลือกได้ว่าจะเป็นแป้นพิมพ์ภาษาไทย หรือ อังกฤษอย่างเดียวสำหรับผู้ที่ไม่ได้ใช้ภาษาไทย

ถัดมาในส่วนของหน่วยประมวลผลภาพที่มากับ Core M Gen 6 คือ Intel HD Graphic 515 รองรับการแสดงผลบนตัวเครื่องที่ความละเอียดสูงสุด 2304 x 1440 ตามความละเอียดหน้าจอ และสามารถแสดงความละเอียดได้สูงสุดเมื่อต่อกับจอภายนอกคือ 3840 x 2160 พิกเซล

ด้านการเชื่อมต่อตัวเครื่องรองรับ Wi-Fi 802.11 a/b/g/n/ac พร้อมกับ Bluetooth 4.0 ส่วนพอร์ต USB-C นอกจากใช้ชาร์จแล้ว ยังรองรับ USB 3.1 ที่ให้ความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุด 5 Gbps เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่อจอภาพภายนอกทั้ง VGA และ HDMI ได้ผ่านตัวแปลงที่มีวางจำหน่ายแยก ทำงานบนระบบปฏิบัติการ OS X El Capitan

ฟีเจอร์เด่น

screenสำหรับจุดเด่นที่มากับ MacBook สามารถย้อนกลับไปอ่านกันได้จาก Review Apple MacBook (2015) http://www.cyberbiz.in.th/review-apple-macbook-2015/ เพราะความสามารถโดยรวมทั้งหมดเหมือนกัน เนื่องจากรุ่นนี้มีการปรับเพิ่มในส่วนของหน่วยประมวลผลเพิ่มเติมเท่านั้น แต่ความสามารถอื่นๆยังคงโดดเด่นเหมือนเดิม

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคีย์บอร์ด แทร็กแพดที่รองรับการกดน้ำหนักต่างๆ เรื่องของระยะเวลาการใช้งานบนแบตเตอรี ทำให้เน้นการใช้งานแบบไร้สายมากยิ่งขึ้น ประกอบกับการพัฒนาของทั้ง OS X El Capitan กับ iOS 9.3 ที่ทำมาให้รองรับการเชื่อมต่อกันมากยิ่งขึ้น ดังนั้นถ้าเป็นผู้ที่ใช้ผลิตภัณฑ์ของแอปเปิลอยู่แล้ว ข้อจำกัดเรื่อง USB-C ที่ให้มาพอร์ตเดียวจึงหมดไป

app

โปรแกรมที่ติดตั้งมาให้เบื้องต้น ถือว่าเป็นโปรแกรมพื้นฐานทั่วไป สามารถใช้งานได้ครบถ้วนไม่ว่าจะเป็นด้านการทำงานผ่าน Pages Number Keynote ด้านความบันเทิงจาก iTunes พร้อมกับการที่มีแอปสโตร์ให้เข้าไปดาวน์โหลดแอปเพิ่มเติมได้ทันที

ทดสอบประสิทธิภาพ

ssd

ในแง่ของประสิทธิภาพที่พัฒนาขึ้นมาคือการแสดงผลภาพของ Intel HD 515 ที่ทางแอปเปิลระบุว่า มีประสิทธิภาพเร็วขึ้น 25% เมื่อเทียบกับรุ่นก่อนหน้า เช่นเดียวกับ SSD ที่อ่านข้อมูลได้เร็วขึ้น 20% และเขียนข้อมูลได้เร็วขึ้น 90% ซึ่งถ้าเทียบกับโน้ตบุ๊กที่ใช้งานฮาร์ดดิสก์ 5400 rpm จะเร็วกว่าถึง 10 เท่า

สิ่งที่น่าสนใจในรุ่น Macbook (2016) คือการพัฒนาของซีพียู ที่ประหยัดพลังงานมากขึ้น โดยทางแอปเปิลเคลมไว้ว่า สามารถใช้งานเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าใช้เว็บไซต์ได้ต่อเนื่อง 10 ชั่วโมง หรือกรณีที่ไม่ได้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแต่ใช้เล่นภาพยนตร์ความละเอียดสูง 1080p ผ่าน iTunes จะได้ต่อเนื่องถึง 11 ชั่วโมง

เมื่อทดสอบในการใช้งานจริง ระยะเวลาใช้งานบนแบตเตอรี แม้ว่าจะไม่ได้ตามที่เคลมไว้ แต่ก็ใกล้เคียง ด้วยการใช้งานทั่วๆไป ฟังเพลง เล่นอินเทอร์เน็ต พิมพ์งาน ได้ราวๆ 9-10 ชั่วโมง แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการปรับความสว่างหน้าจอ ยิ่งถ้าไม่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตระยะเวลาใช้งานก็จะนานเพิ่มเข้าไปอีก

geek32geek64ส่วนการทดสอบผ่านโปรแกรมอย่าง GeekBench ในแบบ 32 bit จะได้คะแนน Single-Core 2,417 คะแนน ส่วน Multi-Core 4,584 คะแนน ส่วนการทดสอบแบบ 64 bit จะได้ Single-Core 2,582 คะแนน ส่วน Multi-Core 5,087 คะแนน ซึ่งเพิ่มขึ้นมาเล็กน้อยเมื่อเทียบกับรุ่นก่อนหน้า

Cinebench

Cinebench R15 ได้คะแนน OpenGL 19.93 fps คะแนน CPU 186 cb

สรุป

ในช่วงปีที่ผ่านมา MacBook ได้รับการพิสูจน์มาแล้วค่อนข้างเยอะ ทั้งในแง่ของการใช้งาน ประสิทธิภาพ ซึ่งแน่นอนว่ามีทั้งผู้ที่ชอบ และผู้ที่ไม่ชอบ ดังนั้นถ้าถามว่า MacBook เป็นผลิตภัณฑ์ที่น่าใช้งานหรือไม่ ถ้าเป็นผู้ที่ใช้งาน OS X อยู่แล้ว ต้องการโน้ตบุ๊กที่มีขนาดบางเบา เน้นการใช้งานยาวๆบนแบตเตอรี ไม่ได้เน้นการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆผ่านสาย MacBook ถือว่าค่อนข้างตอบโจทย์การใช้งานได้

แต่ถ้าเป็นผู้ใช้งานที่ต้องการประสิทธิภาพในการประมวลผล มีการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่อพ่วง MacBook อาจจะไม่ตอบโจทย์ เพราะด้วยระดับราคาแล้ว สามารถข้ามไปซื้อ MacBook Pro ได้ด้วยการเพิ่มเงินอีกนิดแต่ได้ประสิทธิภาพที่ดีกว่ามาก แต่ก็แลกกับการที่เครื่องมีขนาด และน้ำหนักมากขึ้น

ข้อดี

บาง เบา พกพาง่าย

มีสีให้เลือก เงิน เทา ทอง และชมพู

คีย์บอร์ด และแทร็กแพดยังคงเป็นจุดเด่นสำคัญที่ต้องลองใช้แล้วจะชอบ

แบตเตอรีที่ใช้งานได้ต่อเนื่องมากกว่า 9 ชั่วโมง

ข้อสังเกต

เรื่องของประสิทธิภาพในการประมวลผล ยังไม่เหมาะกับการใช้งานหนักๆ

พอร์ต USB-C ยังต้องพึ่งพาอุปกรณ์กลางในการเชื่อมต่อ แม้ว่าจะมีมากขึ้นในตลาดก็ตาม

Gallery

]]>
Review: Apple Macbook (2015) เปิดโลกไร้สายสไตล์แอปเปิล https://cyberbiz.mgronline.com/review-apple-macbook-2015/ Thu, 06 Aug 2015 04:11:20 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=17318

558000008746904

เรียกได้ว่าเป็นการปฏิวัติวงการโน้ตบุ๊กอีกครั้งก็ได้ หลังจากที่แอปเปิลเปิดตัว Macbook รุ่นใหม่ หรือที่รู้จักกันในชื่อ Macbook 12” 2015 เนื่องจากเป็น Macbook ขนาดหน้าจอ 12 นิ้ว ที่เพิ่งถูกเปิดตัวครั้งแรกในปี 2015 และเริ่มทยอยวางจำหน่ายในประเทศไทยเมื่อเดือนที่ผ่านมา และถือว่าได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

สิ่งที่ Macbook รุ่นใหม่แตกต่างจากเดิมแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆเลยคือเรื่องของดีไซน์ คีย์บอร์ด และทัชแพด ที่เรียกได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปจนเป็นนวัตกรรมที่น่าสนใจ ในอุตสาหกรรมไอทีก็ว่าได้ แต่อย่างไรก็ตามอาจจะมองได้ว่า Macbook รุ่นนี้ มาเร็วเกินไปจนอาจจะเป็นต้นแบบของทิศทางอุตสาหกรรม

การออกแบบ


558000008746905

ถ้าถามว่าดีไซน์ของ Macbook มีความเปลี่ยนแปลงไปมากไหมเมื่อเทียบกับ Macbook Air ก็เรียกว่าไม่ได้แตกต่างกันมาก แต่จากเดิม Macbook Air ที่มีความบางเป็นจุดเด่นอยู่แล้ว Macbook กลับทำได้บางกว่า Macbook Air ด้วยการที่มีขนาดเพียง 280.5 x 196.5 x 13.1 มิลลิเมตร (บางสุด 3.5 มิลลิเมตร) และน้ำหนัก 920 กรัม โดย Macbook จะมีให้เลือกด้วยกันทั้งหมด 3 สีด้วยกันคือ สีทอง สีเทา และสีเงิน

เริ่มกันจากภายนอกเครื่อง จุดที่มีการเปลี่ยนแปลงจุดแรกเลยคือสัญลักษณ์ของแอปเปิล ที่แต่เดิมเมื่อมีการใช้งานตรงโลโก้จะมีไฟสว่างขึ้นมา แต่ในรุ่นนี้มีการเปลี่ยนแปลงให้กลายเป็นโลโก้ปกติ เหมือนที่ใช้ใน iPad

558000008746906

เมื่อเปิดหน้าจอขึ้นมา จะพบกับจอแสดงผลขนาด 12 นิ้ว ที่ให้ความละเอียด 2304 x 1440 พิกเซล โดยทางแอปเปิลระบุว่าเป็นจอภาพที่มีการออกแบบใหม่เพื่อลดพื้นที่ในการใช้งานให้บางลงเหลือ 0.88 มิลลิเมตร แต่ยังคงความสามารถในเรื่องของ Retina Display ไว้ และที่สำคัญคือสว่างกว่าจอภาพแบบเดิม 30%

558000008746911

โดยส่วนบนหน้าจอจะมีกล้องสำหรับใช้งาน Facetime ความละเอียด 480p ขณะที่ขอบล่างก็จะมีสัญลักษณ์ MacBook สีเทาอยู่

558000008746912

ถัดลงมาในส่วนของตัวเครื่อง แนวบนสุดจะเป็นที่อยู่ของช่องลำโพง ถัดมาเป็นคีย์บอร์ดแบบใหม่ที่แอปเปิลคิดค้นขึ้นเป็นกลไกแบบปีกผีเสื้อ (Butterfly) โดยลดความหนาของปุ่มลงมาเหลือ 0.5 มิลลิเมตร จากเดิมที่อยู่ราว 1.5 มม. หรือราว 60% ที่สำคัญคือเมื่อเทียบกับ Macbook Air ขนาดจะใหญ่ขึ้น 17%

558000008746915

ถัดลงมาเป็นทัชแพดรูปแบบใหม่ (Force Touch) ที่รองรับการกดทั้งแผ่น และทำให้สามารถกดใช้งานได้สะดวกขึ้น พร้อมกับการเพิ่มระดับสัมผัสให้ง่ายต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น พร้อมกับคงจุดเด่นในเรื่องของการสัมผัส และใช้งานแบบมัลติทัชด้วย

558000008746919

โดยภายในเครื่อง แอปเปิลได้มีการออกแบบการจัดวางภายในใหม่ ทำให้ขนาดเมนบอร์ดลดลงเหลือ 1 ส่วน 3 ของเครื่อง เมื่อเทียบกับ Macbook Air จะมีขนาดเล็กลงถึง 67% ขณะเดียวกันได้มีการเพิ่มปริมาณของแบตเตอรีให้เพิ่มขึ้น ด้วยการจัดเรียงชั้นของแบตเตอรีให้สามารถวางได้เต็มพื้นที่ เป็นแบตเตอรีขนาด 7.55 V 39.71 Wh 5,263 mAh

ที่สำคัญคือการตัดพัดลมระบายอากาศออก ทำให้ช่วยลดเสียงรบกวนขณะใช้งานเครื่องลงไปได้ โดยเกิดจากความสามารถของหน่วยประมวลผลรุ่นใหม่ ที่นอกจากประหยัดพลังงานแล้วยังมีความร้อนต่ำด้วย

สเปกและฮาร์ดแวร์เด่น


558000008746932

ขณะที่สเปกภายในของ Macbook จะทำงานบนหน่วยประมวลผล Intel Core M 1.1 GHz ที่มี Turbo Boots ขึ้นไปเป็น 2.4 GHz (เลือกใส่ได้สูงสุด 1.3 GHz / 2.9 GHz) L3 Cache 4 MB RAM DDR3 8 GB พื้นที่เก็บข้อมูลแบบ SSD เริ่มต้นที่ 256 GB หน่วยประมวลผลภาพ Intel HD 5300

ด้านการเชื่อมต่อรองรับ WiFI มาตรฐาน 802.11 a/b/g/n/ac บลูทูธ 4.0 ส่วนที่เหลือจะเชื่อมต่อผ่านพอร์ต USB-C ที่ใช้ทั้งเป็นสายชาร์จ พอร์ตยูเอสบีปกติ และพอร์ตต่อจอภาพภายนอก ทำงานบนระบบปฏิบัติการ OS X Yosemite 10.10.4

4 จุดเด่น Macbook ใหม่


558000008746907

4 จุดเด่นหลักที่ห้ามพลาดในการพูดถึง Macbook 2015 เลยคือเรื่องของหน้าจอที่มีขนาด 12 นิ้ว แต่มีการจัดเลเยอร์ของหน้าจอใหม่ให้มีขนาดบางลง ขณะเดียวกันขอบจอก็มีขนาดเล็กลง ทำให้ผู้ใช้ได้เห็นเครื่องที่มีขนาดหน้าจอ 12 นิ้ว มีขนาดเล็กกว่าเครื่องขนาดหน้าจอ 11 นิ้ว ที่สำคัญคือเรื่องของการแสดงผลที่นำจอแบบ Retina มาใช้งาน ส่งผลให้สามารถแสดงผลได้คมชัดกว่าจอแบบเดิม

558000008746914

ถัดมาคือในเรื่องของการปรับเปลี่ยนมาใช้เป็นพอร์ต USB-C ที่แม้ว่าแอปเปิลจะเป็นรายแรกในท้องตลาดที่นำพอร์ตดังกล่าวมาใช้ แต่แอปเปิลเชื่อว่า พอร์ตนี้จะกลายเป็นมาตรฐานที่สำคัญต่อไปในอนาคต ทำให้ในช่วงแรกอาจจะเกิดความไม่คุ้นชินในการใช้งานก็ตาม

 

558000008746930

อย่างไรก็ตามด้วยการที่แอปเปิล ไม่ได้วางคอนเซปต์ในการใช้งาน Macbook ให้มาเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นผ่านสาย แต่เน้นไปที่การเชื่อมต่อแบบไร้สายมากกว่า ดังจะเห็นได้จากการที่แอปเปิล มีการปรับเปลี่ยนในแง่การเชื่อมต่อระหว่าง OS X และ iOS ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ปัจจุบันสามารถเชื่อมต่อผ่านระบบไร้สายได้แล้ว

558000008746910

ต่อมาคือเรื่องของคีย์บอร์ด ที่มีการออกแบบใหม่เช่นเดียวกัน ด้วยการเปลี่ยนกลไกที่ใช้รับสัมผัสเป็นแบบปีกผีเสื้อ ส่งผลให้ในการใช้งานแม้ว่าจะกดที่มุมของปุ่มขนาดไหนก็รับสัมผัสได้ ขณะเดียวกันขนาดของปุ่มก็มีขนาดกว้างขึ้น เมื่อเทียบกับ Macbook Air และบางลงอย่างเห็นได้ชัด ที่สำคัญคือยังมีไฟ LED อยู่ใต้แผงคีย์บอร์ดให้สามารถใช้งานในเวลากลางคืนได้

ทั้งนี้ ผู้ที่ได้สัมผัสใช้งานคีย์บอร์ดรุ่นใหม่ของ Macbook ช่วงแรกๆอาจจะไม่คุ้นชินกับการใช้งานเท่าไหร่ แต่ต้องใช้ระยะเวลาในการปรับตัว เพราะทำให้สามารถพิมพ์สัมผัสได้รวดเร็วขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เพียงแต่ว่าจะไม่ได้สัมผัสในการกดปุ่มลึกๆแบบเดิม

558000008746927

มาถึงจุดเด่นที่สำคัญที่สุดของ Macbook รุ่นนี้เลย และถือว่าเป็นจุดขายสำคัญที่จะกลายเป็นอนาคตในการใช้งาน Macbook รุ่นอื่นๆต่อไปในอนาคตคือ Force Touch Trackpad ที่เปลี่ยนการรับสัมผัสให้เป็นการใช้ไฟฟ้าสถิตแทน เพื่อส่งแรงกดมายังนิ้วมือของผู้ใช้ โดยสามารถรับแรงกดได้หลายระดับ

558000008746926

โดยการทำงานของแทร็กแพดแบบใหม่นี้ จะมีอยู่ด้วยกัน 4 ส่วนหลักๆเลยคือ เรื่องของการ คลิก ที่สามารถกดคลิกได้ทุกส่วนของแทร็กแพด จากในรุ่นเดิมที่แถบบนจะกดค่อนข้างยาก เนื่องจากมีการใช้เซ็นเซอร์รับแรงกด 4 จุด ครอบคลุมทั่วแทร็กแพด

558000008746928

นอกจากนี้ยังมีการเสริมฟังก์ชันพิเศษอย่างการกดย้ำลงไปอีกระดับ (Force Click) เพื่อใช้ในการแสดง Preview ค้นหาที่อยู่ใน Safari บันทึกตารางนัดหมายลงปฏิทิน แสดงผลลิงก์ และอื่นๆอีกมากมาย

558000008746925

ต่อมาคือการ เร่ง ที่จะแสดงความสามารถในการรับแรงกดของแทร็กแพด ยกตัวอย่างเช่นกรณีเล่นไฟล์วิดีโออยู่ ต้องการเร่งความเร็ว สามารถกดที่ปุ่ม Forward เมื่อกดแล้วสามารถลงน้ำหนักนิ้วเพิ่มเติมเพื่อเร่งความเร็วในการเลื่อนจาก 5 เท่า เป็น 10 เท่า 30 เท่า และ 60 เท่าได้

อีก 2 ส่วนที่เหลือคือ การจัดระเบียบ ที่สามารถใช้แทร็กแพดในการช่วยจัดเรียงไอคอนได้ง่ายขึ้น และสุดท้ายคือความสามารถใน การวาดรูป เนื่องจากตัวแทร็กแพดมีการรับแรงกด ทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าจะกดปุ่มด้วยความแรงขนาดไหน ลายเส้นทีไ่ด้ก็จะหนาขึ้นตามการกดไปด้วย

ทั้งนี้ ถ้าสังเกตในการใช้งาน กรณีที่ตัวเครื่องปิดตัว ตัวแทร็กแพดจะไม่สามารถกดลงไปได้ แสดงให้เห็นถึงระบบการรับสัมผัสที่เกิดจากไฟฟ้า ดังนั้นกรณีที่เครื่องไม่มีไฟเลี้ยงก็จะไม่สามารถกดปุ่มเพื่อใช้งานแทร็กแพดได้นั่นเอง แน่นอนว่าถ้าอยากได้สัมผัสที่กดแล้วรู้สึกว่าลึก หรือไม่จำเป็นก็สามารถเข้าไปปรับได้เช่นเดียวกัน

ทดสอบประสิทธิภาพ


558000008746931558000008746929

สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพ Macbook 2015 ด้วยโปรแกรมทดสอบอย่าง GeekBench wด้คะแนน Single Core 2,424 คะแนน Multi Core 4,619 คะแนน ส่วน Cinebench R15 ได้คะแนน Open GL 17.87 fps CPU 190 cb

โดยรวมแล้วความสามารถใหม่ๆของ Macbook ที่เกิดจากส่วนของฮาร์ดแวร์จะมีประมาณนี้ แต่อย่างที่รู้กันว่าโน้ตบุ๊กส่วนใหญ่จะเรียกประสิทธิภาพในการทำงานมาจากระบบปฏิบัติการเป็นหลัก ดังนั้นความสามารถในการใช้งานต่างๆก็จะขึ้นอยู่กับตัว OS X อย่าง Yosemite และ El Capitan ที่จะทยอยอัปเกรดในช่วงปลายปีนี้

สรุป


ถ้าเป็นผู้ใช้งาน Mac ที่เดิมมี Macbook Pro หรือ iMac อยู่ แล้วต้องการเครื่องใหม่มาใช้งานสำหรับพกพา หรือกำลังใช้งาน Macbook Air รุ่นเก่าแล้วมีความคิดจะเปลี่ยนเครื่องใหม่ Macbook 2015 ถือว่า เข้ามาตอบโจทย์การใช้งานในแง่ของอุปกรณ์พกพาไปใช้งานนอกสถานที่ได้เป็นอย่างดี

เพียงแต่ในการใช้งานจำเป็นต้องมองถึงโลกของการเชื่อมต่อไร้สายเป็นหลัก ด้วยการใช้ iCloud หรือ AIrDropควบคู่กับ iPad หรือ iPhone ในการโอนย้ายไฟล์มาใช้งานภายในเครื่อง มากกว่าการเชื่อมต่อผ่านพอร์ตยูเอสบีแบบเดิมๆ

ในแง่ของประสิทธิภาพตัวเครื่อง สามารถนำมาใช้งานทั่วไปได้สบายๆ รวมไปถึงสามารถใช้ในการแต่งรูปประเภท RAW ไฟล์ได้ หรือตัดต่อวิดีโอขนาดสั้นๆได้ แต่อย่านำไปเทียบกับเครื่องอย่าง Macbook Pro ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า แม้ระดับราคาจะใกล้เคียงกันก็ตาม

ทั้งนี้ Macbook 2015 วางจำหน่ายให้เลือกกันทั้งหมด 2 รุ่นคือ รุ่นที่ใช้ Intel Core M 1.1 GHz SSD 256 GB ในราคา 43,900 บาท และรุ่น Intel Core M 1.2 GHz SSD 512 GB ในราคา 54,900 บาท (หรือเพิ่มเงินอีก 4,920 บาท สำหรับ Intel Core M 1.3 GHz)

558000008746903

ส่วนอุปกรณ์เสริมอย่าง USB-C to USB อยู่ที่ 690 บาท USB-C to VGA Multiport และ USB-C to Digital AV Multiport ที่ราคา 2,990 บาท

ข้อดี

– ความบางของตัวเครื่อง ทำให้เหมาะกับการพกพา
– ระยะเวลาการใช้งานบนแบตเตอรีต่อเนื่องประมาณ 9 ชั่วโมง
– คีย์บอร์ด และแทร็กแพด ใหม่ที่ช่วยให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น

ข้อสังเกต

– ประสิทธิภาพไม่สูงมาก เหมาะกับการใช้งานพกพาทั่วๆไป
– พอร์ต USB-C ยังหาอุปกรณ์ใช้ด้วยยาก

Gallery

]]>