Lenovo – CBIZ Reviews – MGR Online https://cyberbiz.mgronline.com เว็บไซต์รีวิวอุปกรณ์ ไอที ไฮเทค เป็นส่วนหนึ่งของผู้จัดการออนไลน์ Wed, 05 Aug 2020 02:57:06 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.0 Review : Lenovo Ideapad Gaming 3i เกมมิ่งโน้ตบุ๊กรุ่นเริ่มต้น https://cyberbiz.mgronline.com/review-lenovo-ideapad-gaming-3i/ Wed, 05 Aug 2020 02:57:06 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=33400

โน้ตบุ๊กเกมมิ่งราคาเข้าถึงได้ ยังคงตลาดที่หลายแบรนด์ให้ความสนใจ โดยเฉพาะ Lenovo ที่ตามปกติแล้วจะมีการแยกแบรนด์ Legion ออกมาทำตลาดเกมมิ่งโดยเฉพาะ แต่เพื่อทำให้ระดับราคาสามารถเข้าถึงได้ จึงได้เสริมสินค้าในกลุ่มนี้ด้วย Lenovo Ideapad Gaming มาให้เป็นตัวเลือก

จุดเด่นของ Lenovo Ideapad Gaming 3i คือการเป็นโน้ตบุ๊กที่มากับหน่วยประมวลผลประสิทธิภาพสูง Intel Core i Gen 10 เสริมด้วยการ์ดจอแยก NVIDIA GeForce GTX 1650 ทำราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 25,990 บาท และสามารถปรับแต่งได้จนถึง 32,990 บาท

พร้อมกับพัฒนาฟีเจอร์มาเสริมสำหรับเกมเมอร์ที่ต้องการยกระดับ ด้วยปุ่มควบคุมโหมดการทำงานอย่าง Lenovo Q Control ในการสลับโหมดใช้งานระหว่างโหมดประสิทธิภาพสูง ทำงาน และโหมดเงียบ ที่จะลดการทำงานของซีพียู และพัดลมลงให้เหมาะกับรูปแบบการใช้งาน

ข้อดี

  • เกมมิ่งโน้ตบุ๊กจอ 15.9 นิ้ว
  • ราคาเริ่มต้น 25,990 บาท
  • พอร์ตเชื่อมต่อครบ
  • รองรับ WiFi 6 / USB-C

ข้อสังเกต

  • ตัวเครื่องหนาตามสไตล์โน้ตบุ๊กเกมเมอร์
  • อะเดปเตอร์ 135W ขนาดใหญ่
  • ระยะเวลาใช้งานบนแบตเตอรี ในโหมดประสิทธิภาพสูงได้ราว 1 ชั่วโมง

อัปเกรดรุ่นใหม่ เสริมประสิทธิภาพ

Lenovo Ideapad Gaming 3i

ในช่วงปลายปีที่แล้วเลอโนโว มีการแนะนำไลน์สินค้าใหม่ในกลุ่มเกมมิ่งอย่าง Lenovo Ideapad L340 Gaming ออกสู่ตลาดมาเพื่อจับกลุ่มเกมเมอร์ที่มีงบประมาณจำกัด ซึ่ง Ideapad Gaming 3i รุ่นใหม่นี้ ถือว่าเป็นรุ่นที่เลอโนโว เลือกนำมาอัปเกรดให้ดี และคุ้มค่ากับราคามากยิ่งขึ้น

Lenovo Ideapad Gaming 3i

โดยในรุ่น Ideapad Gmaing 3i นั้นได้มีการปรับปรุงในเรื่องการระบายความร้อน ที่นำระบบ Heat Pipe มาช่วยระบายความร้อนของ GPU โดยเฉพาะ ช่วยให้ในเวลานี้เล่นเกมประมวลผลหนักๆ ความร้อนที่สะสมในตัวเครื่องจะไม่สูงมาก

ที่เหลือจะเป็นการอัปเกรดสเปกภายในอย่างการนำซีพียู Intel Core i Gen 10 H ซีรีส์มาให้เลือกใช้ โดยในรุ่นเริ่มต้นจะมากับ Intel Core i5 10300H และสามารถปรับแต่งเพิ่มเป็น Intel Core i7 10750H ได้ ตามด้วยการ์ดจอที่มีตัวเลือกให้ระหว่าง NVIDIA Geforce GTX 1650 และ GTX 1650Ti ส่วนการอัปเกรด RAM รองรับได้สูงสุดที่ 16 GB

สำหรับรุ่นที่นำมาทดสอบกันในคราวนี้ จะเป็นรุ่นที่ใช้งาน Core i7 + GTX 1650i RAM 8 GB SSD 1 TB มากับตัวเครื่องสีดำ Onyx Black ขนาดตัวเครื่องอยู่ที่ 359 x 249.6 x 24.9 มิลลิเมตร น้ำหนัก 2.2 กิโลกรัม

ทั้งนี้ มีอีกจุดที่น่าสนใจสำหรับเกมเมอร์ที่ต้องการความแม่นยำในการแสดงผล Lenovo Ideapad Gaming 3i ที่มากับหน้าจอ Full HD (1920×1080 พิกเซล) นั้น ยังสามารถเลือกหน้าจอแสดงผลที่ให้ Refresh Rate 60 Hz และ 120 Hz ได้ด้วย

เน้นจอใหญ่ คีย์บอร์ดใหญ่ ใช้งานสะดวก

Lenovo Ideapad Gaming 3i

ด้วยการที่เป็นโน้ตบุ๊กสำหรับเล่นเกม การที่เลอโนโวเลือกหน้าจอขนาด 15.6 นิ้ว มาให้ใช้งานนั้น ถือว่าเป็นขนาดที่ตอบโจทย์ในเบื้องต้นอยู่แล้ว แต่ก็มาพร้อมกับน้ำหนักของตัวเครื่องที่หนักเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

เพียงแต่ว่าในส่วนของหน้าจอนั้น ยังมากับความละเอียดสูงสุดแค่ Full HD เท่านั้น ถ้าต้องการจอที่มีความละเอียดสูงๆ ระดับ 2K หรือมากกว่าเพื่อมาใช้ในการทำงานรุ่นนี้อาจจะไม่ได้ตอบโจทย์ในส่วนนั้น

Lenovo Ideapad Gaming 3i

ถัดมาในส่วนของคีย์บอร์ดถือว่า Lenovo Ideapad Gaming 3i ทำการบ้านมาได้ค่อนข้างดีว่าเกมเมอร์ต้องการไฟสีๆ ที่คีย์บอร์ด ทำให้เครื่องรุ่นนี้มากับ Blue backlit ให้ไฟสีฟ้าจากคีย์บอร์ด มาช่วยเสริมคีย์บอร์ดที่มีปุ่มกดลูกศรแยกออกมาชัดเจน

Lenovo Ideapad Gaming 3i

อีกความโดดเด่นก็คือการให้ปุ่มกดตัวเลขแยกออกมา ทำให้กลายเป็นคีย์บอร์ดแบบเต็มรูปแบบ แต่ละปุ่มมีความโค้งรับกับนิ้วมือ ทำให้เวลาพิมพ์สัมผัสทำได้แม่นยำมากขึ้นด้วย ส่งผลให้การใช้งานคีย์บอร์ดถือว่าทำมาได้ดี การพิมพ์ หรือการควบคุมในการเล่นเกมทำได้ลื่นไหลดี

แต่ในส่วนของแทร็กแพดนั้น แม้ว่าจะมีความแม่นยำสูง แต่ด้วยระบบปฏิบัติการทำให้การควบคุมยังติดๆ ขัดๆ อยู่บ้าง ซึ่งคิดว่าน่าจะปรับแต่งมาให้ควบคุมได้ลื่นไหลมากกว่านี้ โดยเฉพาะการทำงานแบบมัลติทัช

Lenovo Ideapad Gaming 3i

ความพิเศษอีกอย่างหนึ่งของ Lenovo Ideapad Gaming 3i คือการที่ให้พอร์ตมาค่อนข้างครบ โดยไล่จากทางฝั่งซ้ายจะมีช่องเสียบอะเดปเตอร์ชาร์จไฟ LAN HDMI USB 3.1 USB-C ช่องเสียบหูฟัง

Lenovo Ideapad Gaming 3i

ส่วนทางฝั่งขวาจะมีช่องล็อก Kensington มาให้ กับ USB อีกหนึ่งพอร์ตไว้เชื่อมต่อกับเมาส์เพิ่มเติม ส่วนการเชื่อมต่อไร้สายจะนั้นให้มาทั้ง WiFi 6 และบลูทูธ 5.0 ดังนั้นถือว่าให้มาครบถ้วนตามยุคสมัย

ปุ่มลัดสลับโหมดประหยัดพลังงาน

ด้วยการที่เป็นเกมมิ่งโน้ตบุ๊ก ทำให้เมื่อเปิดโหมด Performance นั้นจะทำให้ใช้พลังงานของแบตเตอรีนั้นหมดเร็วกว่าปกติ ทำให้ Lenovo มีการพัฒนา Lenovo Q Control ขึ้นมา ทำให้ผู้ใช้สามารถกดปุ่ม Fn+Q เพื่อสลับระหว่างโหมดใช้งานทั้ง Performance Work และ Quiet Mode ใช้งานได้ทันที

หรือในกรณีที่ไม่อยากกดปุ่มสลับใช้งานก็สามารถกดที่ไอค่อนแบตเตอรีบนหน้าจอเพื่อเข้าสู่ Lenovo Vantage เพื่อปรับโหมดใช้งานได้เช่นเดียวกัน เท่าที่ทีมงานทดสอบใช้งานดู เมื่อเข้าสู่โหมดประสิทธิภาพสูง เปิดเล่นเกมหนักๆ แบตเตอรีจะใช้งานได้ต่อเนื่องราว 1 ชั่วโมงเท่านั้น

ในกรณีกลับกันถ้าเป็นเป็นโหมดใช้งานทั่วไป แล้วใช้ในการทำงาน หรือเล่นเน็ต ตัวเครื่องจะสามารถใช้งานได้ต่อเนื่องราว 5-6 ชั่วโมง ซึ่งแน่นอนว่าขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานด้วย แต่ด้วยการที่ออกแบบมาให้เป็นเกมเมอร์ แนะนำให้พกอะเดปเตอร์ไปใช้งานด้วยจะดีที่สุด

เมื่อพูดถึงอะเดปเตอร์ที่ให้มากับ Ideapad Gaming 3i นั้น รองรับการชาร์จได้ถึง 135W ทำให้ชาร์จแบตเตอรีได้เร็ว แต่ก็แลกมากับขนาดของอะเดปเตอร์ที่ค่อนข้างใหญ่ ยิ่งเมื่อพกพาร่วมกับตัวเครื่องแล้ว จะทำให้พกพาค่อนข้างยาก

ในส่วนของการตั้งค่าลัดนั้น Lenovo ยังเปิดให้สามารถเลือกปิดกล้อง ปิดไมค์ ปิดเสียง และปิดไฟคีย์บอร์ดได้จากปุ่มลัดบนหน้าจอด้วย และถ้าต้องการดูรายละเอียดของเครื่องเพิ่มเติม ก็สามารถกดเข้าไปในโปรแกรมต่อได้ทันที

เมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมา จะมีกราฟิดแสดงผลการทำงานของ CPU RAM พื้นที่เก็บข้อมูลภายในตัวเครื่อง จนถึงการเลือกปรับระบบระบายความร้อน ปิดทัชแพด เปิดฟีเจอร์ชาร์จเร็ว เข้ารหัสการใช้งาน WiFi เพื่อให้เชื่อมต่อได้อย่างปลอดภัยเป็นต้น

ทดสอบประสิทธิภาพ

ในส่วนของการทดสอบประสิทธิภาพ ทั้ง PCMark10 และ 3DMark10 สามารถดได้จากภาพด้านล่างนี้

สรุป

Lenovo IdeaPad Gaming 3i ถือว่าเป็นโน้ตบุ๊กรุ่นเริ่มต้นสำหรับเกมเมอร์ที่มีงบประมาณจำกัดได้อย่างน่าสนใจ เพราะราคาเริ่มต้นจะอยู่ที่ 25,990 บาท เท่านั้น แต่สเปกที่ให้มาถือว่าเล่นเกมที่มีอยู่ในปัจจุบันได้อย่างสบายๆ

อีกกลุ่มผู้ใช้งานที่เหมาะกับเครื่องรุ่นนี้ก็คือผู้ที่ต้องการโน้ตบุ๊กประสิทธิภาพสูง ในระดับราคาที่เหมาะสม มีระบบระบายความร้อนที่ดี ดีไซน์เรียบๆ แต่ก็ต้องแลกกับน้ำหนัก และตัวเครื่องขนาดใหญ่ด้วย

]]>
Review : Lenovo IdeaPad L340 Gaming 15 โน้ตบุ๊กเกมเมอร์ราคาประหยัด https://cyberbiz.mgronline.com/review-lenovo-ideapad-l340-gaming-15/ Wed, 13 Nov 2019 03:52:27 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=31626

การจะเลือกซื้อโน้ตบุ๊กสำหรับเกมมิ่งในปัจจุบัน เริ่มมีความหลากหลายมากขึ้น และระดับราคาเครื่องก็ถูกปรับให้ต่ำลง จากสมัยก่อนที่ต้องมีประมาณ 3 หมื่นบาทขึ้นไป แต่ปัจจุบัน 2 หมื่นกลางๆ ก็สามารถหาซื้อโน้ตบุ๊กเกมมิ่งมาใช้งานได้แล้ว

โน้ตบุ๊กรุ่นที่ว่าก็คือ Lenovo IdeaPad L340 ที่ทางเลอโนโว วางไว้ให้เป็นรุ่นเริ่มต้นของผู้ที่ต้องการโน้ตบุ๊กประสิทธิภาพสูงสำหรับเล่นเกมได้ลื่นไหล จากทั้งหน่วยประมวลผลระดับ Core i5 คู่กับการ์ดจอ GTX1050

ข้อดี

เกมมิ่งโน้ตบุ๊กราคาเริ่มต้น 2 หมื่นกลางๆ

จอใหญ่ 15”

พอร์ตเชื่อมต่อครบ

มี TrueBlock Privacy Shutter มาให้ปิดกล้องหน้า

ข้อสังเกต

อะเดปเตอร์ชาร์จขนาดใหญ่ทำให้พกพายาก

รุ่นเริ่มต้น สเปกยังไม่สูงขนาดเล่นเกมปรับสุดได้ลื่นๆ

ภาพรวมเครื่อง

ตามปกติแล้วโน้ตบุ๊กเกมเมอร์ส่วนใหญ่จะมีการออกแบบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพื่อแสดงถึงความแรงของตัวเครื่อง แต่ไม่ใช่กับ Lenovo IdeaPad L340 Gaming 15 รุ่นนี้ เพราะเลอโนโว ยังเน้นถึงความเรียบง่ายในการออกแบบ ให้เป็นเหมือนโน้ตบุ๊กสำหรับการทำงานทั่วไป

ตัวเครื่อง IdeaPad L340 มากับสีดำกราไนต์แบล็ก โดยมีสัญลักษณ์ของ Lenovo สีน้ำเงินอยู่ที่ขอบเครื่องเท่านั้น ส่วนที่เหลือจะเป็นลูกเล่นการออกแบบบริเวณฐานเครื่องที่มีการตัดมุมบริเวณของลำโพง เพื่อให้ตัวเครื่องดูบางลง ขนาดของตัวเครื่องอยู่ที่ 363 x 254.6 x 23.9 มม. น้ำหนัก 2.2  กิโลกรัม

ส่วนเมื่อกางหน้าจอขึ้นมาแล้วจะพบกับหน้าจอขนาด 15.6 นิ้ว ความละเอียด Full HD IPS โดยผู้ใช้สามารถกางจอได้ถึง 180 องศา ด้านบนหน้าจอมีกิมมิคเล็กๆ ที่เลอโนโวใส่มาให้ใช้งานกับกล้องเว็บแคมคือ TrueBlock Privacy Shutter ที่ให้ผู้ใช้สามารถเลื่อนแถบมาปิดกล้องหน้าเมื่อไม่ใช้งานได้ทันที

จากหน้าจอลงมาเป็นคีย์บอร์ดแบบ Full Size ที่มีปุ่มตัวเลขมาให้กดใช้งานด้วย แต่ก็แลกมากับปุ่มลูกศรขึ้นลงที่มีขนาดเล็กลง และปุ่ม Enter ที่มีลักษณะเหมือนหัวคว่ำลงแทนรูปแบบเดิม ตามลงมาด้วยทัชแพด ที่อยู่เฉียงมาทางซ้ายเล็กน้อย

คีย์บอร์ดของ IdeaPad L340 Gaming 15 มีการเพิ่มความพิเศษเข้ามาด้วยไฟ LED Backlit ที่สามารถปรับความสว่างได้ โดยแสงที่ออกมาจะเป็นโทนสีฟ้า เดียวกับตัวเครื่อง รวมถึงบริเวณช่องพัดลมระบายอากาศ ก็มีการนำสีฟ้ามาใช้ด้วย

สำหรับพอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ จะอยู่ทางฝั่งซ้ายของเครื่องทั้งหมด เริ่มจากช่องเสียบสายชาร์จ พอร์ต LAN HDMI USB 3.1 2 พอร์ต ช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม. และ USB-C ส่วนทางขวาเป็นช่องล็อก Kensington

Gallery

เพื่อเกมเมอร์ราคาประหยัด

ด้วยการที่เลอโนโว ต้องการเพิ่มไลน์สินค้ามาจับกลุ่มลูกค้าเกมเมอร์ จากเดิมที่นำ Region มาเป็นแบรนด์หลักในการทำตลาดเกม แต่ด้วยระดับราคาของ Region ที่ค่อนข้างสูง จึงทำให้มีการปรับไลน์ของ IdeaPad บางรุ่นให้รองรับเกมเมอร์ด้วย

Lenovo IdeaPad L340 Gaming 15 จึงกลายเป็นคำตอบของเลอโนโว ในการเข้ามาเจาะผู้ใช้ที่ต้องการโน้ตบุ๊กระดับราคาเริ่มต้นที่ 2 หมื่นต้นๆ แต่ได้โน้ตบุ๊กที่มีการ์ดจอแยก

แต่ด้วยระดับราคาเริ่มต้นที่ 2 หมื่นบาท ทำให้รุ่นที่ได้จะใช้หน่วยประมวลผลอย่าง Intel Core i5 คู่กับการ์ดจอ GTX 1050 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับกลางๆ ไม่ได้เป็นรุ่นที่สเปกแรงมากๆ จนเหมาะกับการเล่นเกมฮาร์ดคอร์ทุกประเภท

ดังนั้น L340 Gaming จึงกลายเป็นตัวเลือกสำหรับผู้ที่ชื่นชอบเล่นเกมออนไลน์ หรือต้องการโน้ตบุ๊กประสิทธิภาพสูงมาใช้งานในชีวิตประจำวันมากกว่า เพราะราคาเครื่องสามารถเข้าถึงได้

สเปกเครื่อง และทดสอบประสิทธิภาพ

Lenovo IdeaPad L340 Gaming 15 จะมากับซีพียู Intel Core i5 9300H ที่เป็น Gen 9 RAM 12 GB โดยสามารถเลือกได้ว่าจะใช้คู่กับฮาร์ดดิสก์แบบปกติ สูงสุด 2 TB หรือ HDD 1 TB คู่กับ SSD ซึ่งระดับราคาก็จะแตกต่างกันไป

ส่วนของระบบปฏิบัติการทำงานบน Windows 10 Home รองรับการเชื่อมต่อผ่าน WiFi 802.11ac และบลูทูธ 4.2

ในส่วนของการทดสอบประสิทธิภาพ สามารถดูได้จากภาพด้านล่าง

สรุป

หากใครกำลังมองหาโน้ตบุ๊กสำหรับเล่นเกม ที่ไม่ได้เน้นคุณภาพที่สูงมากๆ Lenovo IdeaPad L340 Gaming น่าจะเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจ เนื่องจากด้วยระดับราคาเริ่มต้นที่ 24,990 จะได้ทั้ง Core i5 และ GTX 1050 และสามารถเลือกเพิ่มเป็น Core i7 คู่กับ GTX 1650 ได้ในราคา 29,990 บาท

ดังนั้นถ้างบประมาณอยู่ในช่วงไม่เกิน 3 หมื่นบาท แนะนำให้ลองปรับซีพียู และการ์ดจอขึ้นไปเป็นคู่หลังแทน เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และรองรับการเล่นเกมได้อย่างสบายใจมากขึ้นด้วย

]]>
Review : Lenovo ThinkPad T480s โน้ตบุ๊กสำหรับองค์กรที่เน้นความปลอดภัย https://cyberbiz.mgronline.com/review-lenovo-thinkpad-t480s/ Mon, 08 Oct 2018 05:56:24 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=29388

เมื่อนึกถึงภาพของโน้ตบุ๊กเลอโนโว (Lenovo) ในตระกูล ThinkPad ขึ้นมาเชื่อว่า ภาพแรกๆที่คิดถึงคือโน้ตบุ๊กเครื่องหนาๆ สีดำ ที่มากับความคลาสสิค เรียบง่าย ที่เป็นเอกลักษณ์มาตั้งแต่สมัยของ IBM แต่ในช่วงหลังๆ ดีไซน์ของ ThinkPad เริ่มมีการปรับเปลี่ยนมากขึ้น

โดยเฉพาะหลักจากที่เลอโนโว เริ่มมีการทำตลาด ThinkPad X ออกมา ดีไซน์ตัวเครื่องรุ่นหลังๆก็จะเริ่มบางลง เบาขึ้น ตามสมัยนิยม จนเมื่อทีมงาน Cybrbiz ได้รับเครื่อง ThnikPad T480s มาทดสอบ ซึ่งเป็นโน้ตบุ๊กองค์กรระดับกลางสูง ก็พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงหลายๆจุดที่น่าสนใจ

ความอ้วนดำเดิมที่เคยมี ถูกปรับให้มีความเพรียวบางมากขึ้น เช่นเดียวกับการใส่เทคโนโลยีเข้ามาเพิ่ม ทั้งในแง่ของความปลอดภัยในยุคที่ข้อมูลในโน้ตบุ๊ก มีค่ามากกว่าตัวเครื่อง โดยเฉพาะโน้ตบุ๊กที่ถูกนำไปใช้งานภายในองค์กรทั้งหลาย ที่ต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัยเป็นหลัก

จุดเด่นหลักของ Lenovo T480s นอกจากเรื่องของดีไซน์คลาสสิค และความปลอดภัยที่กล่าวไปแล้ว ภายในก็ยังใส่สเปกมารองรับการทำงานแบบโมบายได้สบายๆ มีพอร์ตเชื่อมต่อให้ใช้งานครบครัน จึงเรื่องได้ว่าเป็นหนึ่งในโน้ตบุ๊กองค์กรที่ยังได้รับการตอบรับที่ดีจากตลาดเรื่อยมา

ข้อดี

โน้ตบุ๊กองค์กรประสิทธิภาพสูง ความปลอดภัยครบ

มีเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือมาให้ใช้งาน

– ThinkShutter ช่วยปิดกล้องหน้าเวลาไม่ใช้งาน

– Lenovo Vantage ช่วยบริหารจัดการเครื่อง

ข้อสังเกต

ตัวเครื่องยังหนาอยู่ เมื่อเทียบกับ ThinkPad X Series

หน้าจอความละเอียด FullHD

ราคาค่อนข้างสูง (49,990 บาท)

เน้นความปลอดภัยเป็นหลัก

ประเด็นหลักที่เชื่อว่าทุกองค์กรให้ความสนใจ คือเรื่องของความปลอดภัย เนื่องจากเป็นโน้ตบุ๊กที่ต้องเก็บข้อมูลของบริษัทไว้ ในจุดนี้ Lenovo T480s จึงเพิ่มตัวเลือกในการรักษาความปลอดภัยมาให้ เพิ่มเติมจากระบบปกติของ Windows 10 ที่มี Windows Hello ที่เป็นระบบปลดล็อกตัวเครื่องด้วยใบหน้า หรือการใส่รหัสปกติ

สิ่งที่มาเสริมในที่นี้คือเรื่องของเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือ ร่วมกับ ระบบยืนยันตัวตน Fast Identity Online (FIDO) ที่ช่วยให้ผู้ใช้ปลดล็อกตัวเครื่อง โดยวางตำแหน่งไว้ข้างๆกับทัชแพด เพื่อให้สะดวกในการวางนิ้วเพื่อปลดล็อก

เช่นเดียวกันภายในเนื่องจากหันมาใช้หน่วยเก็บข้อมูลแบบ SSD ก็มีการเพิ่มระบบตรวจกับการกระแทกมาเพื่อหยุดการอ่านเขียน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเสียหายของข้อมูลเพิ่มเข้ามา รวมถึงการเข้ารหัสข้อมูลจากชิปเซ็ต

นอกจากนี้ ยังมีการใส่ฟีเจอร์อย่าง ThinkShutter ที่เป็นเหมือนม่านชัตเตอร์ที่ผู้ใช้สามารถเลื่อนเพื่อปิดการใช้งานกล้องหน้าได้ในเวลาที่ไม่ใช้งาน เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดจากการแอบรีโมทเข้ามาใช้กล้อง

พอร์ตเชื่อมต่อครบ

ขณะเดียวกันด้วยความที่เป็นโน้ตบุ๊กที่เจาะตลาดลูกค้าองค์กรโดยเฉพาะ ทำให้หลักๆแล้ว T480s จะมาพร้อมกับพอร์ตใช้งานที่ครบ ไม่ว่าจะเป็นพอร์ต USB-C พอร์ต ThunderBolt3 USB 3.0 อีก 2 พอร์ต ช่องต่อ HDMI รวมถึงการ์ดรีดเดอร์ ช่องเสียบหูฟัง และช่องเสียบสาย LAN ด้วย

ผู้ที่ต้องการใช้งานเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา T480s มีรุ่นที่เป็นออปชันให้เลือกซื้อคือ รุ่นที่รองรับการเชื่อมต่อ 4G LTE โดยตัวเครื่องจะมีช่องใส่ซิมการ์ดมาให้แล้วอยู่ด้านหลังเครื่อง ในรูปแบบของนาโนซิมการ์ด

ส่วนการเชื่อมต่อมาตรฐานอย่าง Wi-Fi มาตรฐาน 802.11ac บลูทูธ 4.1 ก็มีมาให้ตามปกติ ดังนั้นจึงเรียกว่ามากับการเชื่อมต่อที่ครบครันทั้งแบบมีสาย และไร้สาย ช่วยให้สามารถใช้งานได้กับการเชื่อมต่อทุกรูปแบบ

สำหรับสเปกของ Lenovo ThinkPad T480s ที่ได้มาทดสอบ จะมากับหน่วยประมวลผล Intel Core i7 8550 @ 1.8 GHz ที่สามารถ Turbo Boots ขึ้นไปอยู่ที่ 3.99 GHz L3-Cache 8 MB RAM 8 GBการ์ดจอออนบอร์ด Intel UHD 620 ทำงานบนระบบปฏิบัติการ Windows 10

การออกแบบ

ในส่วนของการดีไซน์แม้ว่าโดยภาพรวมแล้ว ThinkPad จะหน้าตาเหมือนเดิม แต่ก็มีจุดที่ทำการปรับปรุงให้ตัวเครื่องน่าถือใช้งานมากขึ้น ด้วยการทำให้ตัวเครื่องบางลง โดยขนาดรอบตัวอยู่ที่ 331 x 226.8 x 18.45 มิลลิเมตร น้ำหนัก 1.31 กิโลกรัม

บริเวณฝาหน้าก็จะมีสัญลักษณ์ ThinkPad พร้อมจุดแดงที่จะติดไฟขึ้นมาเมื่อเปิดใช้งาน ความพิเศษคือเมื่อเปิดฝาขึ้นมาผู้ใช้สามารถกางได้ 180 องศา จากข้อต่อที่ถูกออกแบบมาเฉพาะตัว ให้มีทั้งความแข็งแรง และสามารถกางได้สุด

หน้าจอแสดงผลของ T480s จะอยู่ที่ 14 นิ้ว ความละเอียด Full HD โดยผู้ใช้สามารถเลือกซื้อได้ว่าจะใช้รุ่นหน้าจอทัชสกรีน หรือหน้าจอธรรมดาก็ได้ โดยความละเอียดหน้าจอก็ปรับขึ้นไปได้ถึงระดับ 2K โดยรุ่นที่ได้มาทดสอบจะสามารถทัชสกรีนได้ด้วย ทำให้สามารถเปิดใช้งานเป็นโหมดแท็บเล็ตก็ได้

ปุ่มคีย์บอร์ด แทร็กพอยต์สีแดง และแทร็กแพดที่นำปุ่มคลิกซ้ายขวามาไว้ส่วนบนที่ ยังคงเป็นจุดเด่นสำคัญของเครื่องรุ่นนี้อยู่เช่นเดิม โดยจากขนาดของคีย์บอร์ดที่ได้มาตรฐานทำให้สามารถพิมพ์ใช้งานได้สะดวกขึ้นด้วย และสามารถใช้นิ้วโป้งในการกดคลิก เมื่อใช้งานร่วมกับแทร็กพอยต์ได้ทันที

Gallery

Lenovo Vantage ช่วยจัดการตัวเครื่อง

นอกเหนือจากการตั้งค่าทั่วไปของวินโดวส์ 10 แล้ว Lenovo ยังมีการเพิ่มซอฟต์แวร์มาช่วยบริหารจัดการตัวเครื่องเพิ่มขึ้นในชื่อ Lenovo Vantage ที่จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปดูสถานะแบตเตอรี เช็กการอัปเดตไดร์ฟเวอร์ต่างๆของตัวเครื่อง

รวมถึงมีปุ่มลัดให้สั่งงานอย่างการเปิดปิดไฟบนแป้นคีย์บอร์ด ระบบเสียง Dolby เปิดใช้งานกล้อง ไมโครโฟน การเข้ารหัสไวไฟ และแสดงระยะเวลาการใช้งานบนแบตเตอรีให้ดูด้วย นอกจากนี้ ยังสามารถเข้าไปตั้งค่าเพิ่มเติมสำหรับพอร์ต USB ให้สามารถเสียบชาร์จโทรศัพท์ได้แม้ปิดเครื่องอยู่

ทดสอบประสิทธิภาพ

ในเมื่อเน้นเป็นโน้ตบุ๊กสำหรับการทำงาน ที่ไม่ได้มีการ์ดจอแยกมาให้ แต่ด้วยหน่วยประมวลผลของ Intel Core i7 กับการ์ดจอออนบอร์ด ก็เพียงพอกับการใช้งานภายในสำนักงานอยู่แล้ว ดังนั้นถ้ามองในแง่ของประสิทธิภาพก็จะอยู่ในระดับกลางไปบน แต่ที่แน่นอนเลยคือเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล

]]>
Review : Lenovo Yoga 910 พรีเมียมอัลตร้าบุ๊ก สเปกแรง จอ 4K https://cyberbiz.mgronline.com/review-lenovo-yoga910/ Fri, 24 Feb 2017 04:38:40 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=25357

lenovo-y910head

หลังจากอินเทลเปิดตัวซีพียูตระกูล Kaby Lake ไปเมื่อช่วงปลายปีที่แล้วและผู้อ่านน่าจะได้เห็นซีพียูตระกูลใหม่นี้ไปโลดแล่นอยู่ในตลาดพีซีและโน้ตบุ๊กหลายเจ้า  มาวันนี้ถึงคิวของเลอโนโวกับ Yoga 910 อัลตร้าบุ๊กตัวท็อปในตระกูลโยก้าที่มาพร้อม Intel Core i7-7500U พร้อมสเปกระดับพรีเมียมเอาใจคนทำงานระดับบน

การออกแบบ

IMG_0929

IMG_0922

IMG_0949

อัลตร้าบุ๊กตระกูล Yoga ถือว่ามีจุดเด่นในเรื่องการออกแบบและรูปแบบการใช้งานมากที่สุด โดยในรุ่น 910 ยังคงคอนเซปหลักของเลอโนโวคือเป็นอัลตร้าบุ๊กบาง เบาที่สามารถพลิกหน้าจอ 360 องศาด้วยการออกแบบข้อต่อแบบ watchband hinge เพื่อรองรับการใช้งาน 4 รูปแบบได้แก่ 1.ใช้งานแบบโน้ตบุ๊กทั่วไป 2.Stand – สำหรับใช้รับชมภาพยนตร์ 3.Tablet – ใช้ในรูปแบบแท็บเล็ต และ 4.Tent – เหมาะสำหรับการวิดีโอคอลล์

ในส่วนวัสดุเป็นอะลูมิเนียมพร้อมความบาง 14.3 มิลลิเมตร น้ำหนัก 1.38 กิโลกรัม

IMG_0941

ด้านสเปกหน้าจอYoga 910 ใช้หน้าจอ IPS Multi-Touch ขนาด 13.9 นิ้ว ความละเอียด 3,840×2,160 พิกเซล (4K UHD) มาพร้อมกล้องเว็บแคมความละเอียด 720p และไมโครโฟนติดตั้งด้านล่างจอภาพ (เพื่อให้รองรับกับการใช้ในแบบ Tent) อีกทั้งถ้าสังเกตขอบจอให้ดีจะเห็นว่าเลอโนโวออกแบบให้ขอบจอมีขนาดเล็กลงมาก เวลาใช้งานจะให้ความรู้สึกภาพแสดงผลได้เต็มพื้นที่จอมากกว่าการออกแบบดั้งเดิม

IMG_0932

ในส่วนแป้นคีย์บอร์ดเป็นรูปแบบมาตรฐาน แต่เลอโนโวได้เพิ่มส่วนเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือ (แบบเดียวกับบนสมาร์ทโฟน) เพื่อให้รองรับกับฟีเจอร์ Windows Hello ใน Windows 10 อย่างสมบูรณ์แบบ

IMG_0956

พอร์ตเชื่อมต่อ – เริ่มจากด้านซ้ายของเครื่องจะเป็นพอร์ตเชื่อมต่ออะแดปเตอร์ชาร์จไฟ ถัดมาเป็นพอร์ต USB-C (USB3.0/2.0)

IMG_0957

อีกด้านเป็นปุ่มเปิดปิดเครื่อง ถัดมาเป็นช่องหูฟัง 3.5 มิลลิเมตรและช่องเชื่อมต่อ USB 3.0

IMG_0952

ด้านใต้ จะเป็นที่อยู่ของลำโพงสเตอริโอจาก JBL พร้อมรองรับระบบเสียง Dolby Audio Premium

IMG_0905

ส่วนอะแดปเตอร์ชาร์จไฟ 45W ถูกลดขนาดให้เล็กลง พกพาสะดวกสบายมากขึ้น

สเปกและฟีเจอร์เด่น

spec-y910

graphic-y910

Lenovo Yoga 910 ขับเคลื่อนด้วยหน่วยประมวลผล Kaby Lake – Intel Core i7 7500U (2-cores 4-threads) ความเร็ว 2.70GHz สามารถ Turbo boost ได้เร็วสุด 3.50GHz มาพร้อมแรม 16GB DDR4 (Dual Channel) และกราฟิกออนชิป Intel HD Graphics 620 ส่วน Windows 10 ที่ติดตั้งมาในเครื่องเป็นรุ่น Pro

spec-2-y910

ด้านสเปกอื่นๆ เริ่มจากแบตเตอรีไม่ได้ระบุในเอกสารบอกสเปก แต่เลอโนโวเครมว่าใช้งานได้ต่อเนื่องสูงสุด 9 ชั่วโมง WiFi รองรับมาตรฐาน 802.11AC พร้อมบลูทูธ 4.1

ส่วนหน่วยเก็บข้อมูลภายในเป็น M.2 PCIe NVMe SSD ความจุ 512GB

leapp-y910-1

ด้านซอฟต์แวร์จัดการระบบเป็นของเลอโนโว โดยผู้ใช้สามารถเปิดปิดฟังก์ชันการใช้งานต่างๆได้จากส่วน Settings บริเวณ Task Bar และสำหรับคนชอบอ่านหนังสือบนโน้ตบุ๊ก ทางเลอโนโวยังให้ฟีเจอร์ Paper Display มาให้ โดยเมื่อเปิดใช้งานหน้าจอจะปรับแสงและสมดุลแสงขาวให้เหมาะสมกับการอ่านหนังสือโดยอัตโนมัติ

ทดสอบประสิทธิภาพและสรุป

pcmark1-y910

PC Mark 8 – Home accelerated Test

pcmark2-y910

PC Mark 8 – Creative accelerated Test

pcmark3-y910

PC Mark 8 – Work accelerated Test

pcmark4-y910

PC Mark 8 – Storage Test

geekbench-y910

Geekbench 4

ในส่วนการทดสอบประสิทธิภาพ ทีมงานขอเน้นหนักไปทางซอฟต์แวร์ PC Mark จะเห็นว่าคะแนนส่วนใหญ่ทำได้ดีขึ้นเล็กน้อย โดยเฉพาะชุดทดสอบ Creative accelerated ที่ทำงานได้รวดเร็วขึ้นกว่าเดิม ซึ่งตรงจุดนี้น่าจะมาจากแรมที่ให้มามากถึง 16GB แน่นอนว่ามีผลอย่างมากสำหรับผู้ใช้อัลตร้าบุ๊กตกแต่งภาพจากกล้องดิจิตอลหรือใช้ตัดต่อวิดีโอ Yoga 910 จะแสดงประสิทธิภาพได้สมบูรณ์แบบ ใช้งานได้ลื่นไหลดีมาก

หน้าจอ 4K กับสเปกเครื่องไม่มีปัญหาหน่วงช้าให้เห็น ทุกอย่างทำงานได้ลื่นไหลจากการที่เลอโนโวให้แรมมามากถึง 16GB รวมถึงกราฟิกชิปออนบอร์ดตัวใหม่ Intel HD Graphics 620 ก็ให้ประสิทธิภาพด้านการใช้งานทั่วไป ไปถึงงานระดับตัดต่อวิดีโอ 4K ที่ดี ส่วนการเล่นเกมไม่เหมาะสมอย่างแน่นอน

และอีกสิ่งที่ Yoga 910 ทำได้น่าประทับใจไม่แพ้กันก็คือเรื่องการอ่านเขียนข้อมูลที่ทำคะแนนทั้งการการใช้งานจริงและผ่านซอฟต์แวร์ทดสอบได้รวดเร็ว น่าประทับใจเช่นกัน (จากชุดทดสอบ PC Mark ทำความเร็วได้ระดับ 360 เมกะไบต์ต่อวินาทีเลย) คงต้องยกความดีความชอบให้กับ NVMe SSD ไปเต็มๆ รวมถึงส่วนทัชแพดประสิทธิภาพดีมาก การสัมผัสและคลิกทำได้ลื่นไหลน้องๆ MacBook เลย

battery-y910

ส่วนแบตเตอรีทดสอบใช้งานต่อเนื่องได้ 4 ชั่วโมง 30 นาที (ถ้าใช้งานทั่วไปจะทำเวลาได้ประมาณ 6-7 ชั่วโมง) เป็นไปตามมาตรฐานอัลตร้าบุ๊กยุคใหม่ ไม่มีสิ่งใดหวือหวา

กับราคาค่าตัว 69,990 บาท (สี Champagne Gold) เรียกได้ว่าเป็นพรีเมียมอัลตร้าบุ๊กที่แรงทั้งราคาและประสิทธิภาพ เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับผู้ใช้ที่ต้องเดินทางบ่อยและเน้นการทำงานด้านตกแต่งภาพหรือตัดต่อวิดีโอความละเอียดสูงระดับ 2K 4K เป็นสำคัญ Lenovo Yoga 910 เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ด้วยสเปกซีพียูตัวใหม่ล่าสุดของปีนี้ ไปถึงแรมที่ให้มามากถึง 16GB กราฟิกออนชิป Intel HD 620 ที่ให้ประสิทธิภาพที่แรงกว่ารุ่นก่อนหน้ามาก เรียกได้ว่าเกิดมาเพื่อรองรับคนทำงานระดับบนได้อย่างดี

ข้อดี

– สเปกโดยรวมรองรับการใช้งานได้หลากหลาย
– หน้าจอความละเอียด 4K
– ตัวเครื่องบางเบาและเอกลักษณ์ของ Lenovo ตระกูล Yoga
– หน้าจอเป็น Multitouch
– ทัชแพดตอบสนองดี
– ลำโพงให้เสียงที่กว้างและดัง

ข้อสังเกต

– ตำแหน่งกล้องเว็บแคมถูกติดตั้งให้เหมาะแก่การใช้งานแบบ Tent มากกว่า
– ราคาเปิดตัวค่อนข้างสูง

Gallery

]]>
Review : Lenovo YOGA 700 อัลตร้าบุ๊ก 360 องศา เด่นที่การ์ดจอแยก และ SSD https://cyberbiz.mgronline.com/review-lenovo-yoga700/ Wed, 17 Feb 2016 10:35:44 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=21523

ถ้าจะกล่าวถึงโน้ตบุ๊กบางเบา (อัลตร้าบุ๊ก) รุ่นยอดนิยมจาก Lenovo (เลอโนโว) ก็คงหนีไม่พ้นตระกูล YOGA (โยก้า) ที่สร้างชื่อเสียงให้เลอโนโวมานานกว่า 3 ปี ด้วยรูปแบบการใช้งานแปลกใหม่และเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยนมุมองจอภาพได้หลากหลายด้วยมัลติโหมดถึง 4 รูปแบบ

โดยในวันนี้ Lenovo YOGA ก็เดินทางมาถึงรุ่นใหม่ล่าสุด กับ YOGA 500, 700 และ 900 ที่นอกจากเลอโนโวจะปรับสเปกไปใช้ประมวลผลใหม่ Intel Core i7 “Skylake” Ultra Low Voltage แล้ว เรื่องแนวทางการออกแบบก็ถูกปรับเปลี่ยนให้เรียบง่ายและบางเบาลง

การออกแบบ

lenovo700head

ขึ้นชื่อว่าเป็น “อัลตร้าบุ๊ก” เพราะฉะนั้นการออกแบบจะเน้นความบางและน้ำหนักที่เบากว่าโน้ตบุ๊กทั่วไป โดย Lenovo YOGA 700 มีขนาดตัวเครื่องกว้างxยาว 334.9×229.5 มิลลิเมตร หนา 18.3 มิลลิเมตร พร้อมน้ำหนัก 1.6 กิโลกรัม ซึ่งใกล้เคียงกับคู่แข่งอย่าง Apple MacBook Air 13 นิ้วที่มีความหนาประมาณ 17 มิลลิเมตรและน้ำหนัก 1.35 กิโลกรัม

ในส่วนหน้าจอแสดงผลมีขนาด 14 นิ้ว (IPS) เป็นหน้าจอสัมผัสแบบมัลติทัช 10 จุด พร้อมความละเอียด FullHD 1080p (1,920×1,080 พิกเซล)

IMG_3789

สำหรับคีย์บอร์ดและทัชแพด จุดเด่นอยู่ที่แต่ละคีย์มีไฟ Backlight ส่องสว่างในที่มืด (วิธีเปิดไฟกด Fn + Spacebar) ส่วนทัชแพดถูกออกแบบมาให้มีขนาดใหญ่และที่สำคัญเป็นมัลติทัชตามสมัยนิยม

yoga700-play

มาถึงเอกลักษณ์เฉพาะ YOGA กับหน้าจอพับได้ 360 องศาที่เลบอโนโวเรียกว่า “มัลติโหมด” เพื่อให้สอดคล้องกับความสามารถของวินโดวส์ยุคใหม่ที่มีความเป็นไฮบริดระหว่างแท็บเล็ตกับโน้ตบุ๊กมากขึ้น เลอโนโวจึงได้คิดค้นออกแบบอัลตร้าบุ๊กกลุ่ม YOGA ด้วยมัลติโหมด 4 รูปแบบเพื่อการใช้งานที่หลากหลาย ดังต่อไปนี้

1.Tent – พับหน้าจอไปด้านหลังทำมุมเหมือนกางเต้นท์ สำหรับใช้เวลารับชมภาพยนตร์หรือวิดีโอคอลล์
2.Stand – พับหน้าจอไปด้านหลังและจับส่วนของคีย์บอร์ดเปลี่ยนเป็นฐานตั้ง (คีย์บอร์ดและทัชแพดจะปิดการทำงานอัตโนมัติ) สำหรับใช้รับชมภาพยนตร์รวมถึงสามารถใช้ทำงานผ่านหน้าจอสัมผัสได้
3.Laptop – ใช้งานเป็นโน้ตบุ๊กปกติ
4.Tablet – พับหน้าจอจนประกบกับฐานตัวเครื่อง เพื่อใช้งานแบบแท็บเล็ตผ่านหน้าจอสัมผัส 10 จุด

IMG_3799IMG_3798

มาดูด้านข้างเครื่อง มีจุดที่น่าสังเกตคือ สันเครื่อง Lenovo YOGA 700 ทั้งหมดจะหุ้มด้วยวัสดุคล้ายยางสีดำไว้ ช่วยป้องกันการกระแทกและช่วยให้การจับถือกระชับมือมากขึ้น โดยพอร์ตเชื่อมต่อและปุ่มกดจะถูกติดตั้งอยู่บริเวณนี้ทั้งซ้ายและขวา ประกอบด้วย

“พอร์ต USB 3.0 จำนวน 2 พอร์ต (พอร์ตด้านซ้ายสามารถชาร์จสมาร์ทดีไวซ์ได้แม้เครื่องปิดอยู่) USB 2.0 (ช่องสีส้ม) จำนวน 1 พอร์ต (ใช้ร่วมกับช่องเสียบอะแดปเตอร์ชาร์จไฟบ้าน) ช่องหูฟังแบบ Combo jack (รวมหูฟังและไมโครโฟนไว้ในช่องเดียว) ขนาด 3.5 มิลลิเมตร ช่องอ่านการ์ดความจำ 4-in-1 card reader, Micro HDMI, ปุ่มเพิ่มลดระดับเสียงและปุ่มเปิดปิดเครื่องก็ถูกติดตั้งอยู่บริเวนด้านข้างนี้ด้วย”

IMG_3815IMG_3817

ด้านหน้าตาสายชาร์จและอะแดปเตอร์ชาร์จไฟบ้าน Lenovo YOGA 700 ถูกออกแบบมาให้เหมือนกับที่ชาร์จแท็บเล็ต ซึ่งมีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา โดยมีจุดสังเกตอยู่ที่อะแดปเตอร์ที่สามารถจ่ายไฟได้สองรูปแบบคือ 20V 2A และ 5.2V 2A 

IMG_3800

สุดท้ายในส่วนลำโพง ถูกติดตั้งอยู่ใต้เครื่องจำนวน 2 ตัวแบบสเตอริโอ พร้อมช่องระบายความร้อน

สเปก

spec-y700windowsdetails-y700spec2-y700

เริ่มจากหน่วยประมวลผล เลือกใช้แบบ 64 บิต Intel Core i7 6th Gen (Skylake) รหัส 6500U 2 คอร์ 4 Threads ความเร็ว 2.50GHz รองรับ Turbo Boost เพิ่มความเร็วได้สูงสุด 3.1GHz พร้อมแรม DDR3L 8GB และหน่วยเก็บข้อมูลเลือกใช้เป็น SSD ขนาด 256GB จากซัมซุง

ในส่วนการ์ดจอ เลอโนโวติดตั้งการ์ดจอแยก NVIDIA GeForce 940M พร้อมแรม 2GB ทำงานควบคู่กับการ์ดจอออนบอร์ด Intel HD Graphics 520 โดยระบบจะจัดสรรเลือกใช้การ์ดจอตามความเหมาะสมเพื่อประหยัดพลังงาน

ด้าน WiFi รองรับมาตรฐานสูงสุด 802.11 a/c บลูทูธ 4.0 กล้อง Webcam HD ความละเอียด 1 ล้านพิกเซล ส่วนระบบปฏิบัติการที่ติดตั้งมาให้เป็น Windows 10 Home Single Language 64 บิต

ฟีเจอร์เด่น

Paper Display – เมื่อเปิดใช้งาน ระบบสามารถตรวจจับการใช้งานโน้ตบุ๊กของผู้ใช้ได้ โดยถ้าเป็นการใช้งานด้านเอกสารและอ่านหนังสือ หน้าจอจะปรับอุณหภูมิสีให้ออกน้ำตาล เหลืองเพื่อช่วยถนอมสายตา และปรับเป็นสีปกติอีกครั้งเมื่อผู้ใช้เปิดใช้งานมัลติมีเดียต่างๆ เป็นต้น

Mobile Hotspot – สำหรับผู้ใช้ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตกับสายแลน สามารถแชร์อินเตอร์เน็ตผ่าน WiFi ไปยังอุปกรณ์สมาร์ทดีไวซ์และอื่นๆ ได้

Dolby Audio – YOGA 700 รองรับระบบเสียง Dolby® DS 1.0 Home Theater โดยผู้ใช้สามารถเข้าไปปรับแต่งเลือกระบบเสียงต่างๆได้ตามต้องการจาก Lenovo Settings

alwaysonusb0y700

Always on USB – อย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้นว่า YOGA 700 สามารถชาร์จไฟให้กับสมาร์ทดีไวซ์ได้แม้เครื่องปิดอยู่ เนื่องจากระบบรองรับฟังก์ชัน Always on USB แต่ทั้งนี้ก่อนใช้งานอย่าลืมเข้าไปเปิดใช้งานฟังก์ชันนี้จาก Lenovo Settings ก่อนด้วย

onekey-y700

OneKey Recovery – ตัวช่วยสำคัญในการสำรองข้อมูลและ Recovery ระบบเวลาเจอปัญหา

ทดสอบประสิทธิภาพ

benchpcmark-y700

PC Mark 8 ชุดทดสอบ Home Accelerated 3.0 ได้คะแนน 2,895 คะแนน Creative Accelerated 3.0 ได้คะแนน 3,588 คะแนน Work Accelerated 3.0 ได้คะแนน 4,174 คะแนน และสุดท้าย Storage 2.0 ได้คะแนนมากถึง 4,949 คะแนน มากกว่าโน้ตบุ๊กทั่วไปที่ใช้ฮาร์ดดิสก์จานหมุน โดยอัตราการอ่านเขียนข้อมูลอยู่ที่ 243.95 MB ต่อวินาที

64bitgeek-y70032bitgeek-y700

สำหรับคะแนน Geekbench ทดสอบแบบ 32 บิต ชุดทดสอบ Single Core ได้คะแนน 2,773 คะแนน Multi Core ได้คะแนน 6,064 คะแนน

ส่วนการทดสอบแบบ 64 บิต ชุดทดสอบ Single Core ได้คะแนน 2,887 คะแนน Multi Core ได้คะแนน 6,356 คะแนน

cinebench-y700benchmark2-y700

มาถึงการทดสอบในส่วนกราฟิก 3 มิติ ด้วยชุดทดสอบ 3D Mark ขอกล่าวในภาพรวมสำหรับการ์ดจอแยก NVIDIA GeForce 940M เมื่อประกบกับหน่วยประมวลผล i7 Ultra Low Voltage “Skylake” ถือว่าทำคะแนนออกมาได้น่าพอใจ และเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า ถึงแม้จะเป็นอัลตร้าบุ๊กบางเบาแต่ก็รองรับการเล่นเกม 3 มิติได้ดีระดับหนึ่ง

catzilla-y700

รองขยับมาทดสอบเกม 3 มิติจริงๆกันบ้างกับ Catzilla ชุดทดสอบที่ดึงประสิทธิภาพทั้งในส่วนซีพียูและกราฟิกการ์ดออกมาได้เต็มประสิทธิภาพที่สุด โดยทีมงานทดสอบที่ความละเอียด 720p สามารถทำคะแนนได้ 2,538 คะแนน ถือว่าอยู่ระดับเริ่มต้น

4ky700

ส่วนเรื่องการรับชมคอนเทนต์วิดีโอ 4K รวมถึงการใช้ตัดต่อวิดีโอเล็กๆน้อยๆ หรือใช้ทำงานด้านกราฟิกเบื้องต้น เช่น ครอปภาพหรือตกแต่งภาพส่วนตัว ไปถึงทำงานขึ้นเว็บไซต์ ส่วนนี้ถือเป็นจุดเด่นของ YOGA 700 มากที่สุด เพราะนอกจากการพกพาที่สะดวกสบายแล้ว สเปกที่ทางเลอโนโวให้มาก็เพียงพอต่อการใช้งานในรูปแบบดังกล่าวแล้ว

batttest-y700

สุดท้ายกับการทดสอบแบตเตอรีด้วย PC Mark 8 ชุดทดสอบ Home Accelerated 3.0 (ทดสอบโดยเปิดหน้าจอตลอดเวลาและการทดสอบจะเน้นเรื่องการใช้งานทั่วไป เช่น ตกแต่งภาพ เข้าเว็บบราวเซอร์ พิมพ์งาน เป็นต้น)

Lenovo YOGA 700 สามารถทำเวลาได้ 3 ชั่วโมง 32 นาที
และเมื่อคำนวณเป็นเวลาใช้งานทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 6-7 ชั่วโมง

สรุป

4 จุดขายหลักของ Lenovo YOGA 700 คือ มีการ์ดจอแยก, หน่วยเก็บข้อมูล SSD 256GB, หน้าจอสัมผัสพร้อมมัลติโหมด 360 องศา 4 รูปแบบและหน้าจอ FullHD 1080p

ทั้งหมดเมื่อเทียบกับราคาค่าตัว 39,900 บาท ยอมรับว่าหลายส่วนมีการปรับปรุงให้ลงตัวกว่ารุ่นก่อนหน้าอย่างมาก มัลติโหมดใช้งานได้น่าสนใจขึ้นจากการมาของ Windows 10 รวมถึงประสิทธิภาพที่เมื่อเทียบกับขนาด ความบาง และน้ำหนักแล้วถือว่าเลอโนโวจัดสเปกมาได้ลงตัวเหมาะแก่ผู้ใช้ยุคใหม่ โดยเฉพาะนักธุรกิจหรือคนทำงานที่ต้องพกพาโน้ตบุ๊กไปนำเสนองานตามสถานที่ต่างๆบ่อยครั้ง YOGA 700 ที่มาพร้อมหน้าจอพับได้ 360 องศา ถือเป็นอาวุธคู่กายที่ยอดเยี่ยมอีกหนึ่งรุ่นที่ดูดีและมีรูปแบบการใช้งานที่สร้างสรรค์สุดในตลาดตอนนี้

(บทความโฆษณา)

Gallery

]]>
Review: Lenovo Yoga 3 Pro ไฮบริดครบเครื่อง เน้นบาง พอร์ตครบ https://cyberbiz.mgronline.com/review-lenovo-yoga3/ Mon, 30 Mar 2015 05:12:16 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=17406

558000003605903

นับว่าเป็นบทพิสูจน์ที่สำคัญของเลอโนโว ในการที่ Lenovo Yoga 3 Pro ได้มีการผลิตออกมาอย่างต่อเนื่องเเป็นรุ่นที่ 3 แล้ว แสดงให้เห็นถึงความต้องการของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดีว่า จุดเด่นอย่างการหมุนหน้าจอได้ 360 องศา เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในยุคปัจจุบัน

เมื่อนับรวมไปกับการพัฒนาทางด้านหน่วยประมวลผลของอินเทล ที่มีการคิดค้น Intel Core M เพิ่มขึ้นมา ชูจุดเด่นเรื่องประสิทธิภาพในการประมวลผล แต่ใช้พลังงานต่ำ ยิ่งเข้ามาช่วยตอบโจทย์ในการใช้งานโน้ตบุ๊กเป็นอุปกรณ์พกพาได้มากขึ้น

การออกแบบ


558000003605906

ในแง่ของการออกแบบต้องยอมรับว่า Yoga 3 ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในแง่ของวัสดุที่ใช้งาน ความบาง น้ำหนัก บนจุดแข็งหลักคือการที่หน้าจอหมุนได้ 360 องศา โดยในรุ่นนี้ได้มีการเพิ่มความแข็งแรงของข้อต่อบานพับเข้ามาด้วยการนำเทคโนโลยีของข้อต่อนาฬิกาเข้ามาใช้งานร่วมกับแบบเดิม เพื่อให้ได้ความแข็งแรงในการพับจอได้มากขึ้น

558000003605920

ถัดมาในส่วนของวัสดุภายนอกจะใช้เป็นอะลูมิเนียมสีเงิน เพิ่มความหรูหราให้กับตัวสินค้ามากยิ่งขึ้น โดยจะมีเพียงสัญลักษณ์ของเลอโนโวติดอยู่ที่ขอบซ้ายบนเท่านั้น เช่นเดียวกับล่างเครื่องที่แทบจะถูกปล่อยโล่งไว้ทั้งหมด มีเพียงสัญลักษณ์การรับรองมาตรฐาน และสติกเกอร์ระบุรายละเอียดต่างๆของตัวเครื่อง กับยางไว้รองเครื่องเท่านั้น558000003605905

เมื่อเปิดหน้าจอขึ้นมาภายใน ส่วนของหน้าจอจะใช้กระจกแบบกอลิล่ากลาส ร่วมกับหน้า Full HD ขนาด 13.3 นิ้ว ความละเอียด 3800 x 1200 พิกเซล ที่สำคัญคือเป็นจอแบบ IPS ด้วย โดยมีสัญลักษณ์เลอโนโวสีเงินที่มุมซ้ายบน กล้องเว็บแคมตรงกลาง และสัญลักษณ์วินโดวส์ที่ล่างหน้าจอเท่านั้น แต่ก็น่าเสียดายที่บริเวณขอบจอยังค่อนข้างหนา ทำให้ดูแล้วตัวเครื่องจะค่อนข้างใหญ่ขึ้นมา

558000003605904

ในส่วนของบริเวณตัวเครื่อง จะมีการบุด้วยพลาสติกที่มีพื้นผิวคล้ายกับยางๆ ให้สัมผัสแล้วไม่รู้สึกว่าแข็งจนเกินไป โดยจะมีลวดลายจุดๆที่พื้นผิวด้วย ประกอบกับสัญลักษณ์แสดงการใช้เทคโนโลยีด้านเสียงของ JBL ที่มุมซ้ายบน และสติกเกอร์รบุหน่วยประมวลผลที่ใช้เป็น Intel Core M เครื่องแบบ UltraBook

558000003605910

เมื่อเจาะลึกเข้ามาที่บริเวณคีย์บอร์ด เลย์เอาท์ของคีย์บอร์ดจะเป็นแบบ 4 แถว ทำให้ในการใช้งานเบื้องต้นอาจงงเล็กน้อย อย่างปุ่มเปลี่ยนภาษา (`) ไปอยู่ที่มุมขวาสุดแทน ทำให้การเปลี่ยนภาษาที่คุ้นชินอาจลำบากไปบ้าง ต้องใช้การเปลี่ยนภาษาแบบกดปุ่มวินโดวส์และสเปซบาร์แทน

ตัวคีย์บอร์ดมีขนาดใหญ่ได้ตามมาตรฐาน รองรับการพิมพ์สัมผัสได้เป็นอย่างดี น่าเสียดายที่รุ่นที่นำมาทดสอบยังไม่มีการสกรีนภาษาไทยเข้าไป แต่ถ้าคุ้นกับเลย์เอาท์คีย์บอร์ดแล้วก็สามารถใช้งานได้อย่างปกติ ที่สำคัญคือที่คีย์บอร์ดมีไฟ Backlit ด้วย ทำให้สามารถใช้งานในที่มืดได้อย่างสบายๆ

ส่วนของตัวแทร็กแพด จะให้สัมผัสที่ค่อนข้างลื่นไหล มีการแบ่งส่วนคลิกซ้าย-ขวาอย่างชัดเจน รองรับการใช้งานแบบมัลติทัช กล่าวคือการใช้ 2 นิ้วพร้อมกันเพื่อเลื่อนหน้าจอ ร่วมไปกับการใช้ 3 นิ้ว และ 4 นิ้ว ในบางแอปพลิเคชัน

558000003605917

อีกจุดเด่นที่สำคัญของ Yoga 3 Pro คือเรื่องของพอร์ตการเชื่อมต่อที่ให้มาค่อนข้างครบ โดยทางฝั่งซ้ายจะมี พอร์ตยูเอสบี 3.0 2 พอร์ต โดย 1 ในนั้นจะเป็นช่องสำหรับเสียบสายชาร์จด้วย ถัดมาเป็นพอร์ต miniHDMI และช่องเสียบการ์ดเอสดี

558000003605918

ส่วนทางฝั่งขวาจะมีพอร์ตยูเอสบี ที่มีโหมดสามารถเสียบชาร์จอุปกรณ์อื่นๆได้แม้ปิดเครื่องอยู่ ช่องเสียบหูฟัง ปุ่มปรับระดับเสียง ปุ่มล็อกการหมุนหน้าจอ ปุ่มรีสตาต ไฟแสดงสถานะ และปุ่มเปิด-ปิดเครื่อง

558000003605914

สำหรับขนาดโดยรวมของตัวเครื่องจะอยู่ที่ 330 x 228 x 12.8 มิลลิเมตร น้ำหนักประมาณ 1.18 กิโลกรัม

สเปก


558000003605921

สเปกภายในจะมาพร้อมกับหน่วยประมวลผลที่เป็น Intel Core M 5Y70 ความเร็ว 1.1 GHz แต่สามารถเร่งประสิทธิภาพไปได้ถึง 2.6 GHz (เครื่องขายจริงเป็น Core M 5Y71 1.2 GHz สูงสุด 2.9 GHz) RAM 8 GB พื้นที่เก็บข้อมูลเป็น SSD 256 GB กราฟิกเป็น Intel HD 5300 ทำงานบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 8.1

ขณะที่แบตเตอรีภายในตัวเครื่องให้มา 44Wh 5,900 mAh ระยะเวลาการใช้งานจะอยู่ที่ราว 4-8 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับการใช้งาน โดยในตัวเครื่องก็จะมีโหมดประหยัดพลังงานอย่างการตัดการเชื่อมต่อ ลดความสว่างหน้าจอ ปรับการทำงานของซีพียู

ฟีเจอร์เด่น


558000003605922

จุดเด่นหลักของ Yoga 3 Pro คงหนีไม่พ้นการที่เป็น 2-1 โน้ตบุ๊ก ที่สามารถปรับหมุนได้ 360 องศา ทำให้สามารถเลือกใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น Tent ที่คว่ำตัวเครื่องลง เพื่อแสดงหน้าจออย่างเดียว Stand คือการใช้โน้ตบุ๊กในแนวปกติ และ Tablet ด้วยการพับหน้าจอลงไปแนบกับคีย์บอร์ด

โดยภายในเครื่องจะมีแอปที่คอยบอกรายละเอียดการใช้งานอย่าง Harmony ที่แสดงรูปแบบการใช้งานออกเป็นเปอเซนต์ และเทียบกับการใช้งานทั่วโลก โดยผู้ใช้สามารถเลือกดูสถิติได้แบบรายวัน สัปดาห์ เดือน และปี

นอกจากนี้ ยังมีการแสดงผลแอปพลิเคชันที่ใช้งานบ่อยในเครื่อง รวมไปถึงเทรนด์ในการใช้งานของเครื่องอื่นๆ พร้อมกับเปิดให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปดาวน์โหดลแอปพลิเคชันเพิ่มเติมจากวินโดวส์สโตร์มาติดตั้งเพื่อใช้งานได้ทันที

558000003605923

ยังสามารถเข้าไปตั้งค่าในส่วนของ Harmony Setting สำหรับควบคุมการใช้งานในโหมดต่างๆ เช่นเมื่อเปิดไฟล์เอกสาร จะปรับสีหน้าจอให้กลายเป็นสีเหลืองนวลพร้อมปรับลดความสว่างลงให้เหมือนอ่านหนังสือในโหมด Paper Display มีการปรับระบบเสียงเมื่อใช้งานโปรแกรมเล่นเพลง ภาพยนต์ เกม ในโหมด Intelligent Audio

Motion Control สำหรับการใช้ท่าทางในการควบคุมตัวเครื่อง อย่างการสั่งหยุดเล่นหนัง Full Screen ในการสลับโหมดการแสดงผลปกติเข้าสู่การแสดงผลแบบเต็มหน้าจออัตโนมัติ Energy Manager ในการปรับการใช้งานพลังงานโดยอัตโนมัติ และ Touch เพื่อปิดการสัมผัสหน้าจอการพรีเซนต์เมื่ออยู่ในโหมดการใช้งานแบบโน้ตบุ๊ก

558000003605925

มี PC App Store สำหรับแนะนำแอปพลิเคชันที่น่าใช้งาน ซึ่งสามารถกดเข้าไปเพื่ออ่านรายละเอียด และเข้าไปดาวน์โหลดได้ทันทีเช่นเดียวกัน

558000003605924

ส่วน Motion Control อย่างที่กล่าวไปว่าเป็นระบบที่ใช้การตรวจจับการเคลื่อนไหวของผู้ใช้ เพื่อสั่งงานตัวเครื่องผ่านกล้องหน้า โดยผู้ใช้สามารถทำนิ้วชี้ชูขึ้นมาเพื่อสั่งปิดเสียง ยกนิ้วโป้งขึ้นมาเพื่อหยุดเล่นภาพยนต์ที่รับชมอยู่ ปาดซ้าย-ขวา เพื่อเปลี่ยนรูปเป็นต้น ถือเป็นกิมมิคเล็กๆน้อยๆที่เพิ่มเข้ามาให้ใช้งานกัน

558000003605926

ด้วยการที่เลอโนโวเองก็มีการทำสมาร์ทโฟนด้วย ภายในจึงมีการติดตั้ง Phone Companion เพื่อเข้ามาให้ใช้ควบคุม และจัดการแอนดรอยด์โฟน อย่างการส่งข้อความ รับสาย จากโน้ตบุ๊ก พร้อมไปกับแอปอย่าง Share It ที่ใช้ในการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องผ่านไวไฟได้ทันที

558000003605927

นอกจากนี้ ก็ยังมีฟังก์ชันการจัดการพลังงาน OneKey Optimizer ที่เปิดให้ผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าจะให้เครื่องทำงานในโหมดประสิทธิภาพสูงที่สุด โหมดประหยัดแบตเตอรี รวมไปถึงในขณะชาร์จก็จะมีโหมดช่วยยืดอายุแบตเตอรีเข้ามาให้เลือกใช้ด้วยการรักษาประจุแบตเตอรีไว้ที่ 55-60%

558000003605928

ถัดมาก็คือเรื่องของการแสดงผลภาพที่ให้มากับหน้าจอความละเอียดสูง พร้อมไปกับลำโพงจาก JBL Audio ที่ช่วยเพิ่มพลังเสียงของ Yoga 3 Pro ให้สามารถใช้งานด้านมัลติมีเดียได้แบบเต็มรูปแบบ หรือถ้าใช้งานร่วมกับหูฟัง หรือลำโพง ก็จะมีตัวควบคุม MaxxAudio ขึ้นมาให้ปรับตั้งค่าอีควอไลเซอร์ต่างๆได้

ส่วนที่เหลือก็จะเป็นการนำจุดเด่นของวินโดวส์ 8 ที่รอการอัปเดตเพิ่มเติมเป็นวินโดวส์ 10 ในอนาคต ซึ่งแน่นอนว่า Yoga 3 Pro สามารถอัปเกรดเพื่อใช้งานได้อย่างแน่นอน ดังนั้นจุดเด่นการใช้งานไมโครซอฟท์อย่าง โปรแกรมออฟฟิศ 365 ก็จะติดมาให้ใช้กันอย่างแน่นอน

ทดสอบประสิทธิภาพ


558000003605929

ทั้งนี้เมื่อทำการทดสอบด้วยโปรแกรมทดสอบ PCmark8 Home Conventional ได้ 1,525 คะแนน Creative Conventional ได้ 1,599 คะแนน Work Conventional 2,139 คะแนน Storage ได้ 4,927 คะแนน

558000003605930

ส่วน 3Dmark Fire Strike 358 คะแนน Sky Driver 1,359 คะแนน Cloud Gate 2,577 คะแนน Ice Storm 28,499 คะแนน

สรุป


ด้วยการที่เลอโนโววาง Yoga 3 Pro มาเป็นโน้ตบุ๊กที่เน้นการพกพาออกไปใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลาเป็นหลัก ประกอบกับการเลือกใช้หน่วยประมวลผลที่เป็น Intel Core M ที่มีจุดเด่นเรื่องการประหยัดพลังงาน และให้ความร้อนน้อย ซึ่งผลที่ออกมาก็ถือว่าประสบความสำเร็จ เพราะ Yoga 3 Pro เหมือนเป็นโน้ตบุ๊กที่ออกมาไว้ให้พกพาไปใช้งานได้ทุกที่

แต่ถ้ามองในแง่ของประสิทธิภาพในการใช้งาน การประมวลผลของ Intel Core M ยังแรงสู้กับ Core i5 หรือ Core i7 ไม่ได้ ดังนั้นการใช้งานส่วนใหญ่จึงจบลงที่การใช้งานทั่วไปอย่างงานเอกสาร ทำรูป เล่นเน็ต ดูหนัง ฟังเพลง แต่ถ้าจะนำไปเล่นเกม หรือประมวลผลอะไรหนักๆ คงต้องมองข้ามไป

ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับราคาจำหน่ายแล้ว ก็ต้องยอมรับว่า Yoga 3 Pro ที่ 59,990 บาท ถือว่าเปิดราคามาค่อนข้างสูง แม้ว่ารุ่นที่ขายจริงจะใช้หน่วยประมวลผลเป็น Core M 1.2 GHz ก็ตาม แต่ถ้ามองในแง่ของความสะดวกสบายในการพกพา กับความหลากหลายที่ได้ทั้งโน้ตบุ๊ก และแท็บเล็ตที่ปรับรูปแบบการใช้งานได้ก็ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ หรือถ้างบไม่ถึงจะรอ Yoga 3 ทางเลอโนโวก็มีแผนจะนำเข้ามาจำหน่ายเช่นเดียวกัน

ข้อดี

– โน้ตบุ๊ก 2-1 ที่หมุนจอได้ 360 องศา
– ตัวเครื่องมีความบาง และน้ำหนักเบา แม้จะมีขนาดหน้าจอ 13.3 นิ้ว ความละเอียด 3800 x 1200 พิกเซล
– แป้นคีย์บอร์ดมาพร้อมไฟ LED ทำให้สามารถใช้งานในเวลากลางคืนได้
– มีกิมมิคเล็กๆน้อยๆอย่าง Motion Control มาช่วยเพิ่มความน่าสนใจ

ข้อสังเกต

– ระยะเวลาการใช้งานบนแบตเตอรี ยังมีข้อจำกัดอยู่ที่ราว 4-8 ขั่วโมง ขึ้นอยู่กับการใช้งาน
– การย้ายปุ่มเปลี่ยนภาษา (-) ไปอยู่ที่มุมขวา อาจส่งผลกระทบกับผู้ที่ชินกับการเปลี่ยนภาษาแบบเดิมๆ ทำให้ต้องใช้การกดปุ่มวินโดวส์ และสเปซบาร์แทน
– ปุ่มทัชแพดยังไม่ฉลาดเท่าที่ควร อย่างการใช้มัลติทัช

Gallery

]]>