Lenovo – CBIZ Reviews – MGR Online https://cyberbiz.mgronline.com เว็บไซต์รีวิวอุปกรณ์ ไอที ไฮเทค เป็นส่วนหนึ่งของผู้จัดการออนไลน์ Wed, 05 Aug 2020 02:57:06 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.0 Review : Lenovo Ideapad Gaming 3i เกมมิ่งโน้ตบุ๊กรุ่นเริ่มต้น https://cyberbiz.mgronline.com/review-lenovo-ideapad-gaming-3i/ Wed, 05 Aug 2020 02:57:06 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=33400

โน้ตบุ๊กเกมมิ่งราคาเข้าถึงได้ ยังคงตลาดที่หลายแบรนด์ให้ความสนใจ โดยเฉพาะ Lenovo ที่ตามปกติแล้วจะมีการแยกแบรนด์ Legion ออกมาทำตลาดเกมมิ่งโดยเฉพาะ แต่เพื่อทำให้ระดับราคาสามารถเข้าถึงได้ จึงได้เสริมสินค้าในกลุ่มนี้ด้วย Lenovo Ideapad Gaming มาให้เป็นตัวเลือก

จุดเด่นของ Lenovo Ideapad Gaming 3i คือการเป็นโน้ตบุ๊กที่มากับหน่วยประมวลผลประสิทธิภาพสูง Intel Core i Gen 10 เสริมด้วยการ์ดจอแยก NVIDIA GeForce GTX 1650 ทำราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 25,990 บาท และสามารถปรับแต่งได้จนถึง 32,990 บาท

พร้อมกับพัฒนาฟีเจอร์มาเสริมสำหรับเกมเมอร์ที่ต้องการยกระดับ ด้วยปุ่มควบคุมโหมดการทำงานอย่าง Lenovo Q Control ในการสลับโหมดใช้งานระหว่างโหมดประสิทธิภาพสูง ทำงาน และโหมดเงียบ ที่จะลดการทำงานของซีพียู และพัดลมลงให้เหมาะกับรูปแบบการใช้งาน

ข้อดี

  • เกมมิ่งโน้ตบุ๊กจอ 15.9 นิ้ว
  • ราคาเริ่มต้น 25,990 บาท
  • พอร์ตเชื่อมต่อครบ
  • รองรับ WiFi 6 / USB-C

ข้อสังเกต

  • ตัวเครื่องหนาตามสไตล์โน้ตบุ๊กเกมเมอร์
  • อะเดปเตอร์ 135W ขนาดใหญ่
  • ระยะเวลาใช้งานบนแบตเตอรี ในโหมดประสิทธิภาพสูงได้ราว 1 ชั่วโมง

อัปเกรดรุ่นใหม่ เสริมประสิทธิภาพ

Lenovo Ideapad Gaming 3i

ในช่วงปลายปีที่แล้วเลอโนโว มีการแนะนำไลน์สินค้าใหม่ในกลุ่มเกมมิ่งอย่าง Lenovo Ideapad L340 Gaming ออกสู่ตลาดมาเพื่อจับกลุ่มเกมเมอร์ที่มีงบประมาณจำกัด ซึ่ง Ideapad Gaming 3i รุ่นใหม่นี้ ถือว่าเป็นรุ่นที่เลอโนโว เลือกนำมาอัปเกรดให้ดี และคุ้มค่ากับราคามากยิ่งขึ้น

Lenovo Ideapad Gaming 3i

โดยในรุ่น Ideapad Gmaing 3i นั้นได้มีการปรับปรุงในเรื่องการระบายความร้อน ที่นำระบบ Heat Pipe มาช่วยระบายความร้อนของ GPU โดยเฉพาะ ช่วยให้ในเวลานี้เล่นเกมประมวลผลหนักๆ ความร้อนที่สะสมในตัวเครื่องจะไม่สูงมาก

ที่เหลือจะเป็นการอัปเกรดสเปกภายในอย่างการนำซีพียู Intel Core i Gen 10 H ซีรีส์มาให้เลือกใช้ โดยในรุ่นเริ่มต้นจะมากับ Intel Core i5 10300H และสามารถปรับแต่งเพิ่มเป็น Intel Core i7 10750H ได้ ตามด้วยการ์ดจอที่มีตัวเลือกให้ระหว่าง NVIDIA Geforce GTX 1650 และ GTX 1650Ti ส่วนการอัปเกรด RAM รองรับได้สูงสุดที่ 16 GB

สำหรับรุ่นที่นำมาทดสอบกันในคราวนี้ จะเป็นรุ่นที่ใช้งาน Core i7 + GTX 1650i RAM 8 GB SSD 1 TB มากับตัวเครื่องสีดำ Onyx Black ขนาดตัวเครื่องอยู่ที่ 359 x 249.6 x 24.9 มิลลิเมตร น้ำหนัก 2.2 กิโลกรัม

ทั้งนี้ มีอีกจุดที่น่าสนใจสำหรับเกมเมอร์ที่ต้องการความแม่นยำในการแสดงผล Lenovo Ideapad Gaming 3i ที่มากับหน้าจอ Full HD (1920×1080 พิกเซล) นั้น ยังสามารถเลือกหน้าจอแสดงผลที่ให้ Refresh Rate 60 Hz และ 120 Hz ได้ด้วย

เน้นจอใหญ่ คีย์บอร์ดใหญ่ ใช้งานสะดวก

Lenovo Ideapad Gaming 3i

ด้วยการที่เป็นโน้ตบุ๊กสำหรับเล่นเกม การที่เลอโนโวเลือกหน้าจอขนาด 15.6 นิ้ว มาให้ใช้งานนั้น ถือว่าเป็นขนาดที่ตอบโจทย์ในเบื้องต้นอยู่แล้ว แต่ก็มาพร้อมกับน้ำหนักของตัวเครื่องที่หนักเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

เพียงแต่ว่าในส่วนของหน้าจอนั้น ยังมากับความละเอียดสูงสุดแค่ Full HD เท่านั้น ถ้าต้องการจอที่มีความละเอียดสูงๆ ระดับ 2K หรือมากกว่าเพื่อมาใช้ในการทำงานรุ่นนี้อาจจะไม่ได้ตอบโจทย์ในส่วนนั้น

Lenovo Ideapad Gaming 3i

ถัดมาในส่วนของคีย์บอร์ดถือว่า Lenovo Ideapad Gaming 3i ทำการบ้านมาได้ค่อนข้างดีว่าเกมเมอร์ต้องการไฟสีๆ ที่คีย์บอร์ด ทำให้เครื่องรุ่นนี้มากับ Blue backlit ให้ไฟสีฟ้าจากคีย์บอร์ด มาช่วยเสริมคีย์บอร์ดที่มีปุ่มกดลูกศรแยกออกมาชัดเจน

Lenovo Ideapad Gaming 3i

อีกความโดดเด่นก็คือการให้ปุ่มกดตัวเลขแยกออกมา ทำให้กลายเป็นคีย์บอร์ดแบบเต็มรูปแบบ แต่ละปุ่มมีความโค้งรับกับนิ้วมือ ทำให้เวลาพิมพ์สัมผัสทำได้แม่นยำมากขึ้นด้วย ส่งผลให้การใช้งานคีย์บอร์ดถือว่าทำมาได้ดี การพิมพ์ หรือการควบคุมในการเล่นเกมทำได้ลื่นไหลดี

แต่ในส่วนของแทร็กแพดนั้น แม้ว่าจะมีความแม่นยำสูง แต่ด้วยระบบปฏิบัติการทำให้การควบคุมยังติดๆ ขัดๆ อยู่บ้าง ซึ่งคิดว่าน่าจะปรับแต่งมาให้ควบคุมได้ลื่นไหลมากกว่านี้ โดยเฉพาะการทำงานแบบมัลติทัช

Lenovo Ideapad Gaming 3i

ความพิเศษอีกอย่างหนึ่งของ Lenovo Ideapad Gaming 3i คือการที่ให้พอร์ตมาค่อนข้างครบ โดยไล่จากทางฝั่งซ้ายจะมีช่องเสียบอะเดปเตอร์ชาร์จไฟ LAN HDMI USB 3.1 USB-C ช่องเสียบหูฟัง

Lenovo Ideapad Gaming 3i

ส่วนทางฝั่งขวาจะมีช่องล็อก Kensington มาให้ กับ USB อีกหนึ่งพอร์ตไว้เชื่อมต่อกับเมาส์เพิ่มเติม ส่วนการเชื่อมต่อไร้สายจะนั้นให้มาทั้ง WiFi 6 และบลูทูธ 5.0 ดังนั้นถือว่าให้มาครบถ้วนตามยุคสมัย

ปุ่มลัดสลับโหมดประหยัดพลังงาน

ด้วยการที่เป็นเกมมิ่งโน้ตบุ๊ก ทำให้เมื่อเปิดโหมด Performance นั้นจะทำให้ใช้พลังงานของแบตเตอรีนั้นหมดเร็วกว่าปกติ ทำให้ Lenovo มีการพัฒนา Lenovo Q Control ขึ้นมา ทำให้ผู้ใช้สามารถกดปุ่ม Fn+Q เพื่อสลับระหว่างโหมดใช้งานทั้ง Performance Work และ Quiet Mode ใช้งานได้ทันที

หรือในกรณีที่ไม่อยากกดปุ่มสลับใช้งานก็สามารถกดที่ไอค่อนแบตเตอรีบนหน้าจอเพื่อเข้าสู่ Lenovo Vantage เพื่อปรับโหมดใช้งานได้เช่นเดียวกัน เท่าที่ทีมงานทดสอบใช้งานดู เมื่อเข้าสู่โหมดประสิทธิภาพสูง เปิดเล่นเกมหนักๆ แบตเตอรีจะใช้งานได้ต่อเนื่องราว 1 ชั่วโมงเท่านั้น

ในกรณีกลับกันถ้าเป็นเป็นโหมดใช้งานทั่วไป แล้วใช้ในการทำงาน หรือเล่นเน็ต ตัวเครื่องจะสามารถใช้งานได้ต่อเนื่องราว 5-6 ชั่วโมง ซึ่งแน่นอนว่าขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานด้วย แต่ด้วยการที่ออกแบบมาให้เป็นเกมเมอร์ แนะนำให้พกอะเดปเตอร์ไปใช้งานด้วยจะดีที่สุด

เมื่อพูดถึงอะเดปเตอร์ที่ให้มากับ Ideapad Gaming 3i นั้น รองรับการชาร์จได้ถึง 135W ทำให้ชาร์จแบตเตอรีได้เร็ว แต่ก็แลกมากับขนาดของอะเดปเตอร์ที่ค่อนข้างใหญ่ ยิ่งเมื่อพกพาร่วมกับตัวเครื่องแล้ว จะทำให้พกพาค่อนข้างยาก

ในส่วนของการตั้งค่าลัดนั้น Lenovo ยังเปิดให้สามารถเลือกปิดกล้อง ปิดไมค์ ปิดเสียง และปิดไฟคีย์บอร์ดได้จากปุ่มลัดบนหน้าจอด้วย และถ้าต้องการดูรายละเอียดของเครื่องเพิ่มเติม ก็สามารถกดเข้าไปในโปรแกรมต่อได้ทันที

เมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมา จะมีกราฟิดแสดงผลการทำงานของ CPU RAM พื้นที่เก็บข้อมูลภายในตัวเครื่อง จนถึงการเลือกปรับระบบระบายความร้อน ปิดทัชแพด เปิดฟีเจอร์ชาร์จเร็ว เข้ารหัสการใช้งาน WiFi เพื่อให้เชื่อมต่อได้อย่างปลอดภัยเป็นต้น

ทดสอบประสิทธิภาพ

ในส่วนของการทดสอบประสิทธิภาพ ทั้ง PCMark10 และ 3DMark10 สามารถดได้จากภาพด้านล่างนี้

สรุป

Lenovo IdeaPad Gaming 3i ถือว่าเป็นโน้ตบุ๊กรุ่นเริ่มต้นสำหรับเกมเมอร์ที่มีงบประมาณจำกัดได้อย่างน่าสนใจ เพราะราคาเริ่มต้นจะอยู่ที่ 25,990 บาท เท่านั้น แต่สเปกที่ให้มาถือว่าเล่นเกมที่มีอยู่ในปัจจุบันได้อย่างสบายๆ

อีกกลุ่มผู้ใช้งานที่เหมาะกับเครื่องรุ่นนี้ก็คือผู้ที่ต้องการโน้ตบุ๊กประสิทธิภาพสูง ในระดับราคาที่เหมาะสม มีระบบระบายความร้อนที่ดี ดีไซน์เรียบๆ แต่ก็ต้องแลกกับน้ำหนัก และตัวเครื่องขนาดใหญ่ด้วย

]]>
Review : Lenovo Z6 Pro มือถือสเปกเรือธง แต่ราคาหมื่นเดียว https://cyberbiz.mgronline.com/review-lenovo-z6-pro/ Thu, 09 Apr 2020 13:23:26 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=32553

ช่วงที่ผ่านมาแบรนด์อย่าง เลอโนโว (Lenovo) ถือว่าเงียบหายไปจากตลาดสมาร์ทโฟน หลังมีความไม่ชัดเจนในการทำตลาดว่าจะใช้แบรนด์ เลอโนโว หรือ โมโตโรล่า เข้ามาบุกตลาดดี ทำให้กลายเป็นไม่มีสินค้าเข้ามาสร้างความต่อเนื่องในตลาด

แต่พอมาถึงช่วงต้นปีนี้ เลอโนโว เริ่มกลับมาบุกตลาดประเทศไทยอีกครั้ง ด้วยการนำสมาร์ทโฟน 2 รุ่น อย่าง Lenovo Z6 Pro และ Lenovo K10 Note มาเพื่อจับกลุ่มผู้ที่ต้องการสมาร์ทโฟนสเปกดี ราคาคุ้มค่า

อย่าง Z6 Pro ถือว่าเป็นสมาร์นโฟนสเปกเรือธงที่ใช้หน่วยประมวลผลรุ่นท็อปของปี 2019 อย่าง Snapdragon 855 มากับจอ 6.39 นิ้ว กล้องหลัก 48 ล้านพิกเซล พร้อมเลนส์มุมกว้าง และเทเลโฟโต้ แบตเตอรี 4,000 mAh ในราคา 10,900 บาท

ส่วน K10 Note จะเป็นรุ่นรองลงมา ที่มากับหน้าจอ 6.3 นิ้ว ทำงานบนหน่วยประมวลผล Snapdragon 710 กล้อง 3 เลนส์ ความละเอียดสูงสุด 16 ล้านพิกเซล ในราา 7,490 บาท ที่มากับเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือใต้หน้าจอให้ใช้งานด้วย

ข้อดี

  • สเปกเรือธงของปีที่แล้ว ในราคา 1 หมื่นบาท
  • จอ AMOLED ขนาด 6.39 นิ้ว
  • แบตเตอรี 4,000 mAh รองรับชาร์จเร็ว 18W

ข้อสังเกต

  • ตัวเครื่องไม่กันน้ำ กันฝุ่น ไม่มี NFC
  • ยังไม่มีการประกาศว่าจะได้อัปเดต Android 10 เมื่อไหร่

เน้นประสิทธิภาพ ในราคาจับต้องได้

จุดขายหลักของ Lenovo Z6 Pro คือการนำหน่วยประมวลผลรุ่นที่เป็นเรือธงของปี 2019 อย่าง Qualcomm Snapdragon 855 มาให้ใช้งานกันในราคา 10,990 บาท ซึ่งถ้าเทียบกับสเปกที่เท่ากันของแบรนด์หลักจะเทียบเท่ากับ S10 Lite ที่ขายอยู่ 17,990 บาท

ทำให้ถ้าเป็นผู้ที่ต้องการใช้งานเครื่องทั่วไป ไม่ได้ต้องการฟีเจอร์ยิบย่อย เน้นเล่นเกมลื่นๆ ตัวเครื่องไม่ร้อนมาก Lenovo Z6 Pro จะเข้ามาตอบโจทย์นี้ได้ เพราะมีการนำระบบระบายความร้อนอย่าง Liquid Cooling System มาช่วย ทำให้แม้เวลาเครื่องประมวลผลหนักๆ ตัวเครื่องก็ยังไม่ร้อนมาก

ถัดมาคือเรื่องของกล้องถ่ายภาพที่ให้กล้องหลักมา 48 ล้านพิกเซล f/1.8 คู่กับเลนส์มุมกว้าง 16 ล้านพิกเซล f/2.2 เลนส์ Telephoto 8 ล้านพิกเซล f/2.4 และเลนส์เสริม 2 ล้านพิกเซล ที่จะช่วยในเรื่องของระยะชัดลึกให้ AI นำไปประมวลผล

อย่างไรก็ตาม ด้วยการที่เลอโนโว พัฒนาอินเตอร์เฟสการใช้งาน ZUI ขึ้นมาใช้งานเอง ทำให้เมื่อเข้าใช้งานในโหมดกล้อง ที่แม้ว่าดูเรียบง่ายมีแค่ชัตเตอร์ และปุ่มซูมให้กดเพื่อปรับระยะ แต่ในการใช้งานจริงจะไม่ค่อย User Friendly เท่าไหร่นัก แถมยังไม่สามารถตั้งค่าความละเอียดรูปได้ด้วย มีแต่เลือกบันทึกภาพที่ความละเอียดสูงสุด 48 ล้านพิกเซล

ส่วนการถ่ายวิดีโอ สามารถบันทึกภาพได้ที่ความละเอียด 4K แต่ไม่มีโหมดถ่ายบันทึกแบบ Pro มาให้ ผู้ใช้สามารถเลือกโหมดในการถ่ายอย่าง กีฬา มุมกว้าง มาโคร กลางคืน หรือ Vlog ที่ใช้การถ่ายภาพทั้งกล้องหน้าหลังพร้อมกัน มาให้ใช้งานด้วย

สำหรับการเล่นเกม Z6 Pro ถือว่าทำหน้าที่ได้ตามประสิทธิภาพของหน่วยประมวลผลอยู่แล้ว ลองเล่นเกมอย่าง Call of Duty ปรับภาพความละเอียดสูงสุด  ก็สามารถใช้งานได้ลื่นไหล ไม่มีอาการกระตุกให้เห็นแต่อย่างใด

สำรวจตัวเครื่อง Lenovo Z6 Pro

ในส่วนดีไซน์ของ Z6 Pro จะใช้หน้าจอแบบหยดน้ำ หรือ Waterdrop Full Screen Display ที่มีกล้องหน้าความละเอียด 32 ล้านอยู่ตรงกลาง ส่วนตัวจอจะใชเป็น AMOLED ขนาด 6.39 นิ้ว ความละเอียด Full HD+ (2340 x x1080 พิกเซล) ภายใต้กระจกจะมีเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือ ให้ใช้งานด้วย

ข้อดีอีกอย่างคือยังใช้จอกระจกที่ไม่โค้งลงด้านข้างทำให้เวลาจับถือ ใช้งานไม่พลาดไปโดนบริเวณขอบๆ เหมือนรุ่นอื่นๆ กับขอบล่างของจอที่ยังมีความหนาอยู่ ส่วนขนาดของตัวเครื่องจะอยู่ที่ 157.5 x 74.6 x 8.65 มิลลิเมตร น้ำหนัก 185 กรัม

ด้านหลังตัวเครื่องจะมีการเล่นลายแสงพาดผ่านบริเวณแนวกล้องลงมาถึงสัญลักษณ์ ‘Lenovo’ ทำให้เวลาสะท้อนแสงจากตัวเครื่องสีดำ จะมีสีแดงสะท้อนออกมาให้เห็น เพื่อสื่อถึงความแรงของตัวเครื่องไปในตัว เลอโนโว เรียกการไล่สีแบบนี้ว่าเป็น 3D Color Gradient ภายในให้แบตเตอรีมาขนาด 4,000 mAh

บริเวณชุดกล้องจะเป็นการเรียงกันของกล้อง 4 เลนส์ในแนวตั้ง โดยมีไฟแฟลช และเซ็นเซอร์วัดระยะอยู่ข้างๆ พร้อมตัวอักษรระบุเรื่อง Hyper Video 48 MO Quad AI Camera ที่สื่อถึงการนำ AI มาช่วยประมวลผลภาพถ่ายด้วย

รอบๆ ตัวเครื่องทางด้านซ้ายจะมีช่องใส่ถาดซิม ที่เป็นแบบไฮบริดจ์ คือเลือกใส่ 2 นาโนซิมการ์ด หรือ 1 นาโนซิมการ์ด คู่กับ ไมโครเอสดีการ์ดได้สูงสุด 512 GB ทางด้านขวาเป็นปุ่มปรับระดับเสียง และปุ่มเปิดเครื่องที่เป็นสีแดงเด่นชัดออกมา

ด้านบนจะมีช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม. ให้ใช้งานกับ พร้อมกับรูไมโครโฟน ส่วนด้านล่างจะเป็นช่องไมโครโฟน พอร์ต USB-C ที่รองรับการชาร์จเร็ว 18W และลำโพง

สำหรับอุปกรณ์ที่มีมาให้ในกล่องนอกจากตัวเครื่อง แล้วยังมีอะเดปเตอร์ที่รองรับกำลังไฟ 27W สาย USB-C หูฟัง เคสใส ฟิลม์กันรอย และอะเดปเตอร์แปลง USB to USB-C มาเผื่อด้วย

เรียนรู้อินเตอร์เฟส ZUI 11

แม้ว่าเมื่อเปิดใช้งาน Z6 Pro ขึ้นมาแว้บแรกจะเห็นอินเตอร์เฟสการใช้งานที่ค่อนข้างคลีน ดูแล้วเรียบง่ายเหมือนใช้ Pure Android แต่จริงๆ แล้ว Z6 Pro มีการนำ ZUI 11 มาครอบ ทำให้มีการเพิ่มวิธีการควบคุมแบบ 4D U-Touch ขึ้นมา

โดยในการใช้งาน 4D U-Touch จะเข้ามาแทนที่ปุ่มควบคุมเสมือนที่อยู่ล่างหน้าจอ ด้วยการใช้นิ้วปาดขึ้นเพื่อย้อนกลับ ปาดขึ้นแล้วค้างไว้ เพื่อกลับสู่หน้าโฮม และปาดจากซ้ายไปขวา เพื่อเรียกดูแอปที่ใช้งานล่าสุด และยังมีการสบัดเครื่อง เพื่อเปิดใช้งานกล้องได้ทันทีเพิ่มมาด้วย

การเข้าสู่หน้ารวมแอปพลิเคชันจะชัดการปัดขึ้น ในหน้าจอหลัก ส่วนแถบแจ้งเตือน ก็จะมีไอค่อนตั้งค่าลัดต่างๆ อย่างการเชื่อมต่ WiFi Mobile Data ไฟฉายล็อกหน้าจอจับภาพหน้าจอโหมดเครื่องบินบลูทูธปิดเสียงโลเคชันปล่อยฮ็อตสป็อตปรับความาสว่างการหมุนหน้าจอเครื่องคิดเลขเป็นต้น

สเปก

Lenovo Z6 Pro มากับหน่วยประมวลผล Qualcomm Snapdragon 855 ที่เป็น Octa Core 2.84 GHz พร้อมกราฟิก Adreno 640 RAM 8 GB พื้นที่เก็บข้อมูลภายในตัวเครื่อง 128 GB ทำงานบนระบบปฏิบัติการ Android 9 ที่ครอบด้วย ZUI 11 ด้านการเชื่อมต่อตัวเครื่องรองรับ 4G ซิม WiFi 5 (802.11ac) บลูทูธ 5.0

ทดสอบประสิทธิภาพ

สำหรับการทดสอบจากทั้ง Antutu GeekBench PCMark และ 3D​Mark สามารถดูได้จากด้านล่างนี้

สรุป

Lenovo Z6 Pro ที่อาจจะดูเหมือนเป็นสมาร์ทโฟนตกรุ่น เพราะเลอโนโว วางจำหน่ายในต่างประเทศมาสักพักแล้ว ก่อนนำเข้ามาทำตลาดในประเทศไทย แต่ด้วยการตั้งราคาที่ดึงดูดใจ กับหน่วยประมวลผลระดับท็อป ในราคา 10,990 บาท ทำให้ Z6 Pro เป็นหนึ่งในตัวเลือกน่าสนใจในช่วงราคาดังกล่าวทันที

]]>
Review : Lenovo IdeaPad L340 Gaming 15 โน้ตบุ๊กเกมเมอร์ราคาประหยัด https://cyberbiz.mgronline.com/review-lenovo-ideapad-l340-gaming-15/ Wed, 13 Nov 2019 03:52:27 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=31626

การจะเลือกซื้อโน้ตบุ๊กสำหรับเกมมิ่งในปัจจุบัน เริ่มมีความหลากหลายมากขึ้น และระดับราคาเครื่องก็ถูกปรับให้ต่ำลง จากสมัยก่อนที่ต้องมีประมาณ 3 หมื่นบาทขึ้นไป แต่ปัจจุบัน 2 หมื่นกลางๆ ก็สามารถหาซื้อโน้ตบุ๊กเกมมิ่งมาใช้งานได้แล้ว

โน้ตบุ๊กรุ่นที่ว่าก็คือ Lenovo IdeaPad L340 ที่ทางเลอโนโว วางไว้ให้เป็นรุ่นเริ่มต้นของผู้ที่ต้องการโน้ตบุ๊กประสิทธิภาพสูงสำหรับเล่นเกมได้ลื่นไหล จากทั้งหน่วยประมวลผลระดับ Core i5 คู่กับการ์ดจอ GTX1050

ข้อดี

เกมมิ่งโน้ตบุ๊กราคาเริ่มต้น 2 หมื่นกลางๆ

จอใหญ่ 15”

พอร์ตเชื่อมต่อครบ

มี TrueBlock Privacy Shutter มาให้ปิดกล้องหน้า

ข้อสังเกต

อะเดปเตอร์ชาร์จขนาดใหญ่ทำให้พกพายาก

รุ่นเริ่มต้น สเปกยังไม่สูงขนาดเล่นเกมปรับสุดได้ลื่นๆ

ภาพรวมเครื่อง

ตามปกติแล้วโน้ตบุ๊กเกมเมอร์ส่วนใหญ่จะมีการออกแบบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพื่อแสดงถึงความแรงของตัวเครื่อง แต่ไม่ใช่กับ Lenovo IdeaPad L340 Gaming 15 รุ่นนี้ เพราะเลอโนโว ยังเน้นถึงความเรียบง่ายในการออกแบบ ให้เป็นเหมือนโน้ตบุ๊กสำหรับการทำงานทั่วไป

ตัวเครื่อง IdeaPad L340 มากับสีดำกราไนต์แบล็ก โดยมีสัญลักษณ์ของ Lenovo สีน้ำเงินอยู่ที่ขอบเครื่องเท่านั้น ส่วนที่เหลือจะเป็นลูกเล่นการออกแบบบริเวณฐานเครื่องที่มีการตัดมุมบริเวณของลำโพง เพื่อให้ตัวเครื่องดูบางลง ขนาดของตัวเครื่องอยู่ที่ 363 x 254.6 x 23.9 มม. น้ำหนัก 2.2  กิโลกรัม

ส่วนเมื่อกางหน้าจอขึ้นมาแล้วจะพบกับหน้าจอขนาด 15.6 นิ้ว ความละเอียด Full HD IPS โดยผู้ใช้สามารถกางจอได้ถึง 180 องศา ด้านบนหน้าจอมีกิมมิคเล็กๆ ที่เลอโนโวใส่มาให้ใช้งานกับกล้องเว็บแคมคือ TrueBlock Privacy Shutter ที่ให้ผู้ใช้สามารถเลื่อนแถบมาปิดกล้องหน้าเมื่อไม่ใช้งานได้ทันที

จากหน้าจอลงมาเป็นคีย์บอร์ดแบบ Full Size ที่มีปุ่มตัวเลขมาให้กดใช้งานด้วย แต่ก็แลกมากับปุ่มลูกศรขึ้นลงที่มีขนาดเล็กลง และปุ่ม Enter ที่มีลักษณะเหมือนหัวคว่ำลงแทนรูปแบบเดิม ตามลงมาด้วยทัชแพด ที่อยู่เฉียงมาทางซ้ายเล็กน้อย

คีย์บอร์ดของ IdeaPad L340 Gaming 15 มีการเพิ่มความพิเศษเข้ามาด้วยไฟ LED Backlit ที่สามารถปรับความสว่างได้ โดยแสงที่ออกมาจะเป็นโทนสีฟ้า เดียวกับตัวเครื่อง รวมถึงบริเวณช่องพัดลมระบายอากาศ ก็มีการนำสีฟ้ามาใช้ด้วย

สำหรับพอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ จะอยู่ทางฝั่งซ้ายของเครื่องทั้งหมด เริ่มจากช่องเสียบสายชาร์จ พอร์ต LAN HDMI USB 3.1 2 พอร์ต ช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม. และ USB-C ส่วนทางขวาเป็นช่องล็อก Kensington

Gallery

เพื่อเกมเมอร์ราคาประหยัด

ด้วยการที่เลอโนโว ต้องการเพิ่มไลน์สินค้ามาจับกลุ่มลูกค้าเกมเมอร์ จากเดิมที่นำ Region มาเป็นแบรนด์หลักในการทำตลาดเกม แต่ด้วยระดับราคาของ Region ที่ค่อนข้างสูง จึงทำให้มีการปรับไลน์ของ IdeaPad บางรุ่นให้รองรับเกมเมอร์ด้วย

Lenovo IdeaPad L340 Gaming 15 จึงกลายเป็นคำตอบของเลอโนโว ในการเข้ามาเจาะผู้ใช้ที่ต้องการโน้ตบุ๊กระดับราคาเริ่มต้นที่ 2 หมื่นต้นๆ แต่ได้โน้ตบุ๊กที่มีการ์ดจอแยก

แต่ด้วยระดับราคาเริ่มต้นที่ 2 หมื่นบาท ทำให้รุ่นที่ได้จะใช้หน่วยประมวลผลอย่าง Intel Core i5 คู่กับการ์ดจอ GTX 1050 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับกลางๆ ไม่ได้เป็นรุ่นที่สเปกแรงมากๆ จนเหมาะกับการเล่นเกมฮาร์ดคอร์ทุกประเภท

ดังนั้น L340 Gaming จึงกลายเป็นตัวเลือกสำหรับผู้ที่ชื่นชอบเล่นเกมออนไลน์ หรือต้องการโน้ตบุ๊กประสิทธิภาพสูงมาใช้งานในชีวิตประจำวันมากกว่า เพราะราคาเครื่องสามารถเข้าถึงได้

สเปกเครื่อง และทดสอบประสิทธิภาพ

Lenovo IdeaPad L340 Gaming 15 จะมากับซีพียู Intel Core i5 9300H ที่เป็น Gen 9 RAM 12 GB โดยสามารถเลือกได้ว่าจะใช้คู่กับฮาร์ดดิสก์แบบปกติ สูงสุด 2 TB หรือ HDD 1 TB คู่กับ SSD ซึ่งระดับราคาก็จะแตกต่างกันไป

ส่วนของระบบปฏิบัติการทำงานบน Windows 10 Home รองรับการเชื่อมต่อผ่าน WiFi 802.11ac และบลูทูธ 4.2

ในส่วนของการทดสอบประสิทธิภาพ สามารถดูได้จากภาพด้านล่าง

สรุป

หากใครกำลังมองหาโน้ตบุ๊กสำหรับเล่นเกม ที่ไม่ได้เน้นคุณภาพที่สูงมากๆ Lenovo IdeaPad L340 Gaming น่าจะเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจ เนื่องจากด้วยระดับราคาเริ่มต้นที่ 24,990 จะได้ทั้ง Core i5 และ GTX 1050 และสามารถเลือกเพิ่มเป็น Core i7 คู่กับ GTX 1650 ได้ในราคา 29,990 บาท

ดังนั้นถ้างบประมาณอยู่ในช่วงไม่เกิน 3 หมื่นบาท แนะนำให้ลองปรับซีพียู และการ์ดจอขึ้นไปเป็นคู่หลังแทน เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และรองรับการเล่นเกมได้อย่างสบายใจมากขึ้นด้วย

]]>
Review : Lenovo ThinkPad T480s โน้ตบุ๊กสำหรับองค์กรที่เน้นความปลอดภัย https://cyberbiz.mgronline.com/review-lenovo-thinkpad-t480s/ Mon, 08 Oct 2018 05:56:24 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=29388

เมื่อนึกถึงภาพของโน้ตบุ๊กเลอโนโว (Lenovo) ในตระกูล ThinkPad ขึ้นมาเชื่อว่า ภาพแรกๆที่คิดถึงคือโน้ตบุ๊กเครื่องหนาๆ สีดำ ที่มากับความคลาสสิค เรียบง่าย ที่เป็นเอกลักษณ์มาตั้งแต่สมัยของ IBM แต่ในช่วงหลังๆ ดีไซน์ของ ThinkPad เริ่มมีการปรับเปลี่ยนมากขึ้น

โดยเฉพาะหลักจากที่เลอโนโว เริ่มมีการทำตลาด ThinkPad X ออกมา ดีไซน์ตัวเครื่องรุ่นหลังๆก็จะเริ่มบางลง เบาขึ้น ตามสมัยนิยม จนเมื่อทีมงาน Cybrbiz ได้รับเครื่อง ThnikPad T480s มาทดสอบ ซึ่งเป็นโน้ตบุ๊กองค์กรระดับกลางสูง ก็พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงหลายๆจุดที่น่าสนใจ

ความอ้วนดำเดิมที่เคยมี ถูกปรับให้มีความเพรียวบางมากขึ้น เช่นเดียวกับการใส่เทคโนโลยีเข้ามาเพิ่ม ทั้งในแง่ของความปลอดภัยในยุคที่ข้อมูลในโน้ตบุ๊ก มีค่ามากกว่าตัวเครื่อง โดยเฉพาะโน้ตบุ๊กที่ถูกนำไปใช้งานภายในองค์กรทั้งหลาย ที่ต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัยเป็นหลัก

จุดเด่นหลักของ Lenovo T480s นอกจากเรื่องของดีไซน์คลาสสิค และความปลอดภัยที่กล่าวไปแล้ว ภายในก็ยังใส่สเปกมารองรับการทำงานแบบโมบายได้สบายๆ มีพอร์ตเชื่อมต่อให้ใช้งานครบครัน จึงเรื่องได้ว่าเป็นหนึ่งในโน้ตบุ๊กองค์กรที่ยังได้รับการตอบรับที่ดีจากตลาดเรื่อยมา

ข้อดี

โน้ตบุ๊กองค์กรประสิทธิภาพสูง ความปลอดภัยครบ

มีเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือมาให้ใช้งาน

– ThinkShutter ช่วยปิดกล้องหน้าเวลาไม่ใช้งาน

– Lenovo Vantage ช่วยบริหารจัดการเครื่อง

ข้อสังเกต

ตัวเครื่องยังหนาอยู่ เมื่อเทียบกับ ThinkPad X Series

หน้าจอความละเอียด FullHD

ราคาค่อนข้างสูง (49,990 บาท)

เน้นความปลอดภัยเป็นหลัก

ประเด็นหลักที่เชื่อว่าทุกองค์กรให้ความสนใจ คือเรื่องของความปลอดภัย เนื่องจากเป็นโน้ตบุ๊กที่ต้องเก็บข้อมูลของบริษัทไว้ ในจุดนี้ Lenovo T480s จึงเพิ่มตัวเลือกในการรักษาความปลอดภัยมาให้ เพิ่มเติมจากระบบปกติของ Windows 10 ที่มี Windows Hello ที่เป็นระบบปลดล็อกตัวเครื่องด้วยใบหน้า หรือการใส่รหัสปกติ

สิ่งที่มาเสริมในที่นี้คือเรื่องของเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือ ร่วมกับ ระบบยืนยันตัวตน Fast Identity Online (FIDO) ที่ช่วยให้ผู้ใช้ปลดล็อกตัวเครื่อง โดยวางตำแหน่งไว้ข้างๆกับทัชแพด เพื่อให้สะดวกในการวางนิ้วเพื่อปลดล็อก

เช่นเดียวกันภายในเนื่องจากหันมาใช้หน่วยเก็บข้อมูลแบบ SSD ก็มีการเพิ่มระบบตรวจกับการกระแทกมาเพื่อหยุดการอ่านเขียน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเสียหายของข้อมูลเพิ่มเข้ามา รวมถึงการเข้ารหัสข้อมูลจากชิปเซ็ต

นอกจากนี้ ยังมีการใส่ฟีเจอร์อย่าง ThinkShutter ที่เป็นเหมือนม่านชัตเตอร์ที่ผู้ใช้สามารถเลื่อนเพื่อปิดการใช้งานกล้องหน้าได้ในเวลาที่ไม่ใช้งาน เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดจากการแอบรีโมทเข้ามาใช้กล้อง

พอร์ตเชื่อมต่อครบ

ขณะเดียวกันด้วยความที่เป็นโน้ตบุ๊กที่เจาะตลาดลูกค้าองค์กรโดยเฉพาะ ทำให้หลักๆแล้ว T480s จะมาพร้อมกับพอร์ตใช้งานที่ครบ ไม่ว่าจะเป็นพอร์ต USB-C พอร์ต ThunderBolt3 USB 3.0 อีก 2 พอร์ต ช่องต่อ HDMI รวมถึงการ์ดรีดเดอร์ ช่องเสียบหูฟัง และช่องเสียบสาย LAN ด้วย

ผู้ที่ต้องการใช้งานเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา T480s มีรุ่นที่เป็นออปชันให้เลือกซื้อคือ รุ่นที่รองรับการเชื่อมต่อ 4G LTE โดยตัวเครื่องจะมีช่องใส่ซิมการ์ดมาให้แล้วอยู่ด้านหลังเครื่อง ในรูปแบบของนาโนซิมการ์ด

ส่วนการเชื่อมต่อมาตรฐานอย่าง Wi-Fi มาตรฐาน 802.11ac บลูทูธ 4.1 ก็มีมาให้ตามปกติ ดังนั้นจึงเรียกว่ามากับการเชื่อมต่อที่ครบครันทั้งแบบมีสาย และไร้สาย ช่วยให้สามารถใช้งานได้กับการเชื่อมต่อทุกรูปแบบ

สำหรับสเปกของ Lenovo ThinkPad T480s ที่ได้มาทดสอบ จะมากับหน่วยประมวลผล Intel Core i7 8550 @ 1.8 GHz ที่สามารถ Turbo Boots ขึ้นไปอยู่ที่ 3.99 GHz L3-Cache 8 MB RAM 8 GBการ์ดจอออนบอร์ด Intel UHD 620 ทำงานบนระบบปฏิบัติการ Windows 10

การออกแบบ

ในส่วนของการดีไซน์แม้ว่าโดยภาพรวมแล้ว ThinkPad จะหน้าตาเหมือนเดิม แต่ก็มีจุดที่ทำการปรับปรุงให้ตัวเครื่องน่าถือใช้งานมากขึ้น ด้วยการทำให้ตัวเครื่องบางลง โดยขนาดรอบตัวอยู่ที่ 331 x 226.8 x 18.45 มิลลิเมตร น้ำหนัก 1.31 กิโลกรัม

บริเวณฝาหน้าก็จะมีสัญลักษณ์ ThinkPad พร้อมจุดแดงที่จะติดไฟขึ้นมาเมื่อเปิดใช้งาน ความพิเศษคือเมื่อเปิดฝาขึ้นมาผู้ใช้สามารถกางได้ 180 องศา จากข้อต่อที่ถูกออกแบบมาเฉพาะตัว ให้มีทั้งความแข็งแรง และสามารถกางได้สุด

หน้าจอแสดงผลของ T480s จะอยู่ที่ 14 นิ้ว ความละเอียด Full HD โดยผู้ใช้สามารถเลือกซื้อได้ว่าจะใช้รุ่นหน้าจอทัชสกรีน หรือหน้าจอธรรมดาก็ได้ โดยความละเอียดหน้าจอก็ปรับขึ้นไปได้ถึงระดับ 2K โดยรุ่นที่ได้มาทดสอบจะสามารถทัชสกรีนได้ด้วย ทำให้สามารถเปิดใช้งานเป็นโหมดแท็บเล็ตก็ได้

ปุ่มคีย์บอร์ด แทร็กพอยต์สีแดง และแทร็กแพดที่นำปุ่มคลิกซ้ายขวามาไว้ส่วนบนที่ ยังคงเป็นจุดเด่นสำคัญของเครื่องรุ่นนี้อยู่เช่นเดิม โดยจากขนาดของคีย์บอร์ดที่ได้มาตรฐานทำให้สามารถพิมพ์ใช้งานได้สะดวกขึ้นด้วย และสามารถใช้นิ้วโป้งในการกดคลิก เมื่อใช้งานร่วมกับแทร็กพอยต์ได้ทันที

Gallery

Lenovo Vantage ช่วยจัดการตัวเครื่อง

นอกเหนือจากการตั้งค่าทั่วไปของวินโดวส์ 10 แล้ว Lenovo ยังมีการเพิ่มซอฟต์แวร์มาช่วยบริหารจัดการตัวเครื่องเพิ่มขึ้นในชื่อ Lenovo Vantage ที่จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปดูสถานะแบตเตอรี เช็กการอัปเดตไดร์ฟเวอร์ต่างๆของตัวเครื่อง

รวมถึงมีปุ่มลัดให้สั่งงานอย่างการเปิดปิดไฟบนแป้นคีย์บอร์ด ระบบเสียง Dolby เปิดใช้งานกล้อง ไมโครโฟน การเข้ารหัสไวไฟ และแสดงระยะเวลาการใช้งานบนแบตเตอรีให้ดูด้วย นอกจากนี้ ยังสามารถเข้าไปตั้งค่าเพิ่มเติมสำหรับพอร์ต USB ให้สามารถเสียบชาร์จโทรศัพท์ได้แม้ปิดเครื่องอยู่

ทดสอบประสิทธิภาพ

ในเมื่อเน้นเป็นโน้ตบุ๊กสำหรับการทำงาน ที่ไม่ได้มีการ์ดจอแยกมาให้ แต่ด้วยหน่วยประมวลผลของ Intel Core i7 กับการ์ดจอออนบอร์ด ก็เพียงพอกับการใช้งานภายในสำนักงานอยู่แล้ว ดังนั้นถ้ามองในแง่ของประสิทธิภาพก็จะอยู่ในระดับกลางไปบน แต่ที่แน่นอนเลยคือเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล

]]>
Review : Lenovo Yoga 910 พรีเมียมอัลตร้าบุ๊ก สเปกแรง จอ 4K https://cyberbiz.mgronline.com/review-lenovo-yoga910/ Fri, 24 Feb 2017 04:38:40 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=25357

lenovo-y910head

หลังจากอินเทลเปิดตัวซีพียูตระกูล Kaby Lake ไปเมื่อช่วงปลายปีที่แล้วและผู้อ่านน่าจะได้เห็นซีพียูตระกูลใหม่นี้ไปโลดแล่นอยู่ในตลาดพีซีและโน้ตบุ๊กหลายเจ้า  มาวันนี้ถึงคิวของเลอโนโวกับ Yoga 910 อัลตร้าบุ๊กตัวท็อปในตระกูลโยก้าที่มาพร้อม Intel Core i7-7500U พร้อมสเปกระดับพรีเมียมเอาใจคนทำงานระดับบน

การออกแบบ

IMG_0929

IMG_0922

IMG_0949

อัลตร้าบุ๊กตระกูล Yoga ถือว่ามีจุดเด่นในเรื่องการออกแบบและรูปแบบการใช้งานมากที่สุด โดยในรุ่น 910 ยังคงคอนเซปหลักของเลอโนโวคือเป็นอัลตร้าบุ๊กบาง เบาที่สามารถพลิกหน้าจอ 360 องศาด้วยการออกแบบข้อต่อแบบ watchband hinge เพื่อรองรับการใช้งาน 4 รูปแบบได้แก่ 1.ใช้งานแบบโน้ตบุ๊กทั่วไป 2.Stand – สำหรับใช้รับชมภาพยนตร์ 3.Tablet – ใช้ในรูปแบบแท็บเล็ต และ 4.Tent – เหมาะสำหรับการวิดีโอคอลล์

ในส่วนวัสดุเป็นอะลูมิเนียมพร้อมความบาง 14.3 มิลลิเมตร น้ำหนัก 1.38 กิโลกรัม

IMG_0941

ด้านสเปกหน้าจอYoga 910 ใช้หน้าจอ IPS Multi-Touch ขนาด 13.9 นิ้ว ความละเอียด 3,840×2,160 พิกเซล (4K UHD) มาพร้อมกล้องเว็บแคมความละเอียด 720p และไมโครโฟนติดตั้งด้านล่างจอภาพ (เพื่อให้รองรับกับการใช้ในแบบ Tent) อีกทั้งถ้าสังเกตขอบจอให้ดีจะเห็นว่าเลอโนโวออกแบบให้ขอบจอมีขนาดเล็กลงมาก เวลาใช้งานจะให้ความรู้สึกภาพแสดงผลได้เต็มพื้นที่จอมากกว่าการออกแบบดั้งเดิม

IMG_0932

ในส่วนแป้นคีย์บอร์ดเป็นรูปแบบมาตรฐาน แต่เลอโนโวได้เพิ่มส่วนเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือ (แบบเดียวกับบนสมาร์ทโฟน) เพื่อให้รองรับกับฟีเจอร์ Windows Hello ใน Windows 10 อย่างสมบูรณ์แบบ

IMG_0956

พอร์ตเชื่อมต่อ – เริ่มจากด้านซ้ายของเครื่องจะเป็นพอร์ตเชื่อมต่ออะแดปเตอร์ชาร์จไฟ ถัดมาเป็นพอร์ต USB-C (USB3.0/2.0)

IMG_0957

อีกด้านเป็นปุ่มเปิดปิดเครื่อง ถัดมาเป็นช่องหูฟัง 3.5 มิลลิเมตรและช่องเชื่อมต่อ USB 3.0

IMG_0952

ด้านใต้ จะเป็นที่อยู่ของลำโพงสเตอริโอจาก JBL พร้อมรองรับระบบเสียง Dolby Audio Premium

IMG_0905

ส่วนอะแดปเตอร์ชาร์จไฟ 45W ถูกลดขนาดให้เล็กลง พกพาสะดวกสบายมากขึ้น

สเปกและฟีเจอร์เด่น

spec-y910

graphic-y910

Lenovo Yoga 910 ขับเคลื่อนด้วยหน่วยประมวลผล Kaby Lake – Intel Core i7 7500U (2-cores 4-threads) ความเร็ว 2.70GHz สามารถ Turbo boost ได้เร็วสุด 3.50GHz มาพร้อมแรม 16GB DDR4 (Dual Channel) และกราฟิกออนชิป Intel HD Graphics 620 ส่วน Windows 10 ที่ติดตั้งมาในเครื่องเป็นรุ่น Pro

spec-2-y910

ด้านสเปกอื่นๆ เริ่มจากแบตเตอรีไม่ได้ระบุในเอกสารบอกสเปก แต่เลอโนโวเครมว่าใช้งานได้ต่อเนื่องสูงสุด 9 ชั่วโมง WiFi รองรับมาตรฐาน 802.11AC พร้อมบลูทูธ 4.1

ส่วนหน่วยเก็บข้อมูลภายในเป็น M.2 PCIe NVMe SSD ความจุ 512GB

leapp-y910-1

ด้านซอฟต์แวร์จัดการระบบเป็นของเลอโนโว โดยผู้ใช้สามารถเปิดปิดฟังก์ชันการใช้งานต่างๆได้จากส่วน Settings บริเวณ Task Bar และสำหรับคนชอบอ่านหนังสือบนโน้ตบุ๊ก ทางเลอโนโวยังให้ฟีเจอร์ Paper Display มาให้ โดยเมื่อเปิดใช้งานหน้าจอจะปรับแสงและสมดุลแสงขาวให้เหมาะสมกับการอ่านหนังสือโดยอัตโนมัติ

ทดสอบประสิทธิภาพและสรุป

pcmark1-y910

PC Mark 8 – Home accelerated Test

pcmark2-y910

PC Mark 8 – Creative accelerated Test

pcmark3-y910

PC Mark 8 – Work accelerated Test

pcmark4-y910

PC Mark 8 – Storage Test

geekbench-y910

Geekbench 4

ในส่วนการทดสอบประสิทธิภาพ ทีมงานขอเน้นหนักไปทางซอฟต์แวร์ PC Mark จะเห็นว่าคะแนนส่วนใหญ่ทำได้ดีขึ้นเล็กน้อย โดยเฉพาะชุดทดสอบ Creative accelerated ที่ทำงานได้รวดเร็วขึ้นกว่าเดิม ซึ่งตรงจุดนี้น่าจะมาจากแรมที่ให้มามากถึง 16GB แน่นอนว่ามีผลอย่างมากสำหรับผู้ใช้อัลตร้าบุ๊กตกแต่งภาพจากกล้องดิจิตอลหรือใช้ตัดต่อวิดีโอ Yoga 910 จะแสดงประสิทธิภาพได้สมบูรณ์แบบ ใช้งานได้ลื่นไหลดีมาก

หน้าจอ 4K กับสเปกเครื่องไม่มีปัญหาหน่วงช้าให้เห็น ทุกอย่างทำงานได้ลื่นไหลจากการที่เลอโนโวให้แรมมามากถึง 16GB รวมถึงกราฟิกชิปออนบอร์ดตัวใหม่ Intel HD Graphics 620 ก็ให้ประสิทธิภาพด้านการใช้งานทั่วไป ไปถึงงานระดับตัดต่อวิดีโอ 4K ที่ดี ส่วนการเล่นเกมไม่เหมาะสมอย่างแน่นอน

และอีกสิ่งที่ Yoga 910 ทำได้น่าประทับใจไม่แพ้กันก็คือเรื่องการอ่านเขียนข้อมูลที่ทำคะแนนทั้งการการใช้งานจริงและผ่านซอฟต์แวร์ทดสอบได้รวดเร็ว น่าประทับใจเช่นกัน (จากชุดทดสอบ PC Mark ทำความเร็วได้ระดับ 360 เมกะไบต์ต่อวินาทีเลย) คงต้องยกความดีความชอบให้กับ NVMe SSD ไปเต็มๆ รวมถึงส่วนทัชแพดประสิทธิภาพดีมาก การสัมผัสและคลิกทำได้ลื่นไหลน้องๆ MacBook เลย

battery-y910

ส่วนแบตเตอรีทดสอบใช้งานต่อเนื่องได้ 4 ชั่วโมง 30 นาที (ถ้าใช้งานทั่วไปจะทำเวลาได้ประมาณ 6-7 ชั่วโมง) เป็นไปตามมาตรฐานอัลตร้าบุ๊กยุคใหม่ ไม่มีสิ่งใดหวือหวา

กับราคาค่าตัว 69,990 บาท (สี Champagne Gold) เรียกได้ว่าเป็นพรีเมียมอัลตร้าบุ๊กที่แรงทั้งราคาและประสิทธิภาพ เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับผู้ใช้ที่ต้องเดินทางบ่อยและเน้นการทำงานด้านตกแต่งภาพหรือตัดต่อวิดีโอความละเอียดสูงระดับ 2K 4K เป็นสำคัญ Lenovo Yoga 910 เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ด้วยสเปกซีพียูตัวใหม่ล่าสุดของปีนี้ ไปถึงแรมที่ให้มามากถึง 16GB กราฟิกออนชิป Intel HD 620 ที่ให้ประสิทธิภาพที่แรงกว่ารุ่นก่อนหน้ามาก เรียกได้ว่าเกิดมาเพื่อรองรับคนทำงานระดับบนได้อย่างดี

ข้อดี

– สเปกโดยรวมรองรับการใช้งานได้หลากหลาย
– หน้าจอความละเอียด 4K
– ตัวเครื่องบางเบาและเอกลักษณ์ของ Lenovo ตระกูล Yoga
– หน้าจอเป็น Multitouch
– ทัชแพดตอบสนองดี
– ลำโพงให้เสียงที่กว้างและดัง

ข้อสังเกต

– ตำแหน่งกล้องเว็บแคมถูกติดตั้งให้เหมาะแก่การใช้งานแบบ Tent มากกว่า
– ราคาเปิดตัวค่อนข้างสูง

Gallery

]]>
Review : Lenovo Yoga Book แท็บเล็ต 2 in 1 มีคีย์บอร์ดและปากกาใช้หมึกจริง https://cyberbiz.mgronline.com/review-lenovo-yoga-book/ Wed, 07 Dec 2016 12:54:20 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=24643

lenovo-yoga-book-android-1

Lenovo Yoga Book ถือเป็นสีสันใหม่ของวงการแท็บเล็ตได้อย่างดี เนื่องจากการออกแบบตัวเครื่องให้เป็นลูกผสมระหว่างแท็บเล็ตและโน้ตบุ๊ก มีให้เลือก 2 ระบบปฏิบัติการ ได้แก่ แอนดรอยด์ และวินโดวส์ 10 ไปถึงส่วนการใช้งานที่ถือเป็นเรื่องแปลกใหม่ในตลาดแท็บเล็ตตอนนี้

สำหรับ Yoga Book รุ่นที่ทีมงานไซเบอร์บิซได้รับมาทดสอบขับเคลื่อนด้วยระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์มาพร้อมแบตเตอรีขนาดใหญ่ซึ่งเลอโนโวเครมว่าใช้งานได้ยาวนานกว่า 15 ชั่วโมง (All Day Battery Life)

การออกแบบและฟีเจอร์เด่น

IMG_0212

IMG_0270

การออกแบบ ชื่อรุ่นก็บอกอยู่แล้วว่า Yoga Book เพราะฉะนั้นรูปทรงแท็บเล็ตจะคล้ายกับสมุด ใช้งานได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน มาพร้อมความบางเพียง 4.05 มิลลิเมตร น้ำหนัก 690 กรัมและตัวเครื่องทั้งหมดผลิตจากโลหะ

IMG_0302

หน้าจอ – เป็นแบบสัมผัส Capacitive Touch ขนาด 10.1 นิ้ว ความละเอียด Full HD 1,920×1,200 พิกเซล รองรับปากกา (AnyPen Technology)

yob-drawing

ส่วนอีกด้านถือเป็นสีสันใหม่ของโลกแท็บเล็ตและโน้ตบุ๊ก ซึ่งเลอโนโวเรียกว่า “Create Pad” เป็นส่วนที่ผู้ใช้สามารถนำปากกามาเขียนบนแพดได้เหมือนกับหน้าจอ (ใช้เทคโนโลยีจาก Wacom) อีกทั้งยังสามารถปรับเปลี่ยนเป็นคีย์บอร์ดเสมือนจริง (Halo Keyboard) ได้ด้วย

IMG_0227

IMG_0225

IMG_0307

และทีเด็ดสุดไม่มีใครเหมือนก็คือ บริเวณ “Create Pad” สามารถนำกระดาษจริงมาวางและเขียนด้วยปากกาของเลอโนโวด้วยหมึกจริง (Real Ink ออกแบบมาใช้งานเฉพาะ Lenovo Yoga Book เท่านั้น ไม่สามารถใช้ร่วมกับไส้หมึกยี่ห้ออื่นได้) หรือถ้าไม่อยากเขียนบนกระดาษจริง ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนไปใช้หัวปากกา Capacitive แล้วเขียนไปบนแพดเปล่าๆได้

สำหรับผู้อ่านที่ต้องการชมการทำงานระหว่างปากกากับ Create Pad ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น สามารถกดรับชมจากคลิปวิดีโอด้านบน

IMG_0314

ด้านสเปกตัวปากกาจะรองรับแรงกด 2,048 ระดับ ไม่ต้องใส่แบตเตอรี สามารถใช้งานได้ทั้งจดข้อความและวาดรูป

IMG_0276

IMG_0288

กลับมาดูงานออกแบบรอบตัวเครื่องกันต่อ อีกหนึ่งจุดที่น่าสนใจใน Yoga Book จะอยู่ที่บริเวณสันเครื่องที่ถูกออกแบบเป็นบานพับโลหะอันเป็นเอกลักษณ์เด่นของเลอโนโวตระกูล Yoga เพราะสามารถพับหน้าจอได้อิสระ 360 องศา 4 รูปแบบใช้งานดังนี้

IMG_0317

Type ใช้ในรูปแบบโน้ตบุ๊ก เน้นใช้พิมพ์งานและวาดภาพเป็นหลัก
Watch ใช้ในการรับชมวิดีโอ

IMG_0331

Browse ใช้ในรูปแบบแท็บเล็ต อ่านอีบุ๊ค ท่องเว็บไซต์

IMG_0306

IMG_0220

Create ใช้สำหรับเขียนหนังสือ จดเลคเชอร์ โดยอุปกรณ์เสริมแนะนำเพื่อให้การเขียนเหมือนเขียนลงกระดาษจริงมากขึ้น ได้แก่ Lenovo Book Pad (แถมมาให้ตามภาพประกอบ) หรือถ้าไม่อยากเขียนลงกระดาษด้วยหมึกจริงก็สามารถเปลี่ยนเป็นหัวปากกา Capacitive ได้ (ในกล่องแถมหัวปากกามาให้ 2 รูปแบบ)

IMG_0341

ด้านพอร์ตเชื่อมต่อรอบตัวเครื่อง เริ่มจากซ้ายมือ เป็นพอร์ต Micro USB 2.0 ช่องใส่ MicroSD Card รองรับความจุสูงสุด 128GB

ถัดมาเป็นช่อง Micro HDMI และลำโพงซ้าย

IMG_0343

ด้านขวา เริ่มจากซ้ายเป็นสวิตซ์เปิดปิดเครื่อง ถัดมาเป็นช่องลำโพงขวา ปุ่มเพิ่มลดระดับเสียงและช่องหูฟัง 3.5 มิลลิเมตร

ในส่วนกล้องถ่ายภาพมี 2 ตัวได้แก่ กล้องหน้า ติดตั้งบริเวณด้านบนของจอภาพ (ในแนวนอน) มีความละเอียด 2 ล้านพิกเซล ส่วนกล้องหลังเป็นแบบออโต้โฟกัส ติดตั้งอยู่บริเวณ Create Pad มุมบนขวา มีความละเอียด 8 ล้านพิกเซล

สเปก

spec-yob

Lenovo Yoga Book รุ่นที่ทีมงานได้รับมาทดสอบใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 6.0 Marshmallow ขับเคลื่อนด้วยหน่วยประมวลผล (x86) Intel Atom x5-Z8550 Processor Quad-Core ความเร็ว 2.4GHz แรม LPDDR3 ขนาด 4GB รอม 64GB (เหลือให้ใช้งานจริงประมาณ 46GB)

ด้านแบตเตอรี เป็น Li-ion Polymer ขนาด 8,500mAh ให้มาใหญ่จุใจ โดยเลอโนโวเครมว่า รุ่นระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์สามารถสแตนบายได้นาน 70 วันและอายุการใช้งานแบตเตอรีอยู่ที่ 15 ชั่วโมง

atmos-yob

ในส่วนสเปกอื่นๆ เริ่มจากการเชื่อมต่อเครือข่าย ถึงแม้จะมีช่องใส่ซิมการ์ดโทรศัพท์แต่จากสเปกจะไม่รองรับการเชื่อมต่อเครือข่ายมือถือ (รุ่นที่วางขายอย่างเป็นทางการในไทยอาจรองรับ 3G/4G ต้องตรวจสอบจากเลอโนโว ประเทศไทยอีกครั้ง) ส่วน WiFi รองรับมาตรฐาน 802.11 a/b/g/n/ac ระบบเสียง Dolby Atmos มีบลูทูธ 4.0 และเซ็นเซอร์ภายในมีให้ทั้ง G-Sensor, Hall Sensor, GPS-AGPS และ Ambient Light Sensor เหมือนแท็บเล็ตทั่วไป

ซอฟต์แวร์เด่น

home-yob

แอนดรอยด์ 6.0 ที่ติดตั้งมาใน Yoga Book จะถูกปรับแต่งจากเลอโนโวเพิ่มเติม โดยเน้นให้ตัวระบบปฏิบัติการสอดคล้องกับการออกแบบสไตล์โน้ตบุ๊กมากขึ้น (จะต่างจากรุ่นที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 10 ที่ตัวโอเอสออกแบบมาเพื่อเป็นโน้ตบุ๊กอยู่แล้ว)

taskbar-yob

ยกตัวอย่างการใส่ Taskbar เข้ามา ทำให้ผู้ใช้สามารถกดสลับใช้งานแอปฯได้ลื่นไหลขึ้น รวมถึงสามารถกดเปิดปิดการใช้งานปากกากับตัว Halo Keyboard ได้สะดวกสบายขึ้น

multi-yob

อีกส่วนที่ทำให้ Yoga Book มีความคล้ายกับการใช้งานบน Windows มากยิ่งขึ้นก็คือ การรองรับ Multitasking สามารถเปิดแอปฯหลายตัวและใช้งานพร้อมกันได้อย่างอิสระ

web-yob

รวมถึงการใช้งานเว็บบราวเซอร์ผ่าน Chrome เมื่อเปลี่ยนรูปแบบไปใช้งานสไตล์โน้ตบุ๊ก ทั้งการแสดงผลและการควบคุม คุณสามารถใช้ทัชแพดเลื่อนเคอเซอร์เมาส์และคลิกเลือกได้เหมือนโน้ตบุ๊กทุกอย่าง

IMG_0324

halo-yob

Halo Keyboard – ถือเป็นคีย์บอร์ดเสมือน มีปุ่ม Function (Fn) เหมือนคีย์บอร์ดโน้ตบุ๊ก การทำงานใช้ Capacitive Touch ที่ให้แรงกดเหมือนคีย์บอร์ดจริงด้วย Haptic (กดแล้วจะมีแรงสั่นตอบกลับนิ้วให้เราได้รู้สึก) พร้อมทัชแพดใช้งานแบบเมาส์ได้ไม่ต่างจากโน้ตบุ๊ก โดยตัว Halo Keyboard รองรับภาษาไทย สมบูรณ์แบบ (แต่ไม่มีสกรีนคีย์ไทยไว้ ต้องใช้การพิมพ์สัมผัส) พร้อมฟีเจอร์ตรวจคำผิดและคาดเดาคำคัพท์

ในส่วนการเปิดใช้งาน Halo Keybaord สามารถทำได้ 2 วิธีได้แก่ 1.เมื่อใช้งานในรูปแบบโน้ตบุ๊ก คีย์บอร์ดจะทำงานอัตโนมัติ 2.กดปุ่มปิดปากกา คีย์บอร์ดจะทำงานทันที

ส่วนเมื่อพับส่วนคีย์บอร์ดไปด้านหลังเพื่อใช้งานแบบแท็บเล็ต คีย์บอร์ดจะปิดการทำงานอัตโนมัติ

ซอฟต์แวร์ปากกา

IMG_0228

อย่างที่เกริ่นไปแล้วข้างต้นว่า ปากกาที่ใช้กับ Yoga Book ถูกพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีจาก Wacom โดยเน้นการใช้งานไปในด้านเขียนตัวอักษรด้วยหมึกกับกระดาษจริงผ่านเทคโนโลยี EMR เป็นอันดับแรก ส่วนรองลงมาจะเป็นการใช้วาดภาพด้วยปากกาแบบเดียวกับ Sketch Pad ของ Wacom ที่เหล่าศิลปินน่าจะรู้จักกันดี

bookapp-yob

เพราะฉะนั้นในส่วนแอปฯที่ใช้แสดงศักยภาพของปากกา ทางเลอโนโวติดตั้งมาให้ 2 ตัวด้วยกัน เริ่มจาก Lenovo Note Saver ที่เปิดให้ผู้ใช้สามารถจดโน้ตข้อความต่างๆผ่านแอปฯ รวมถึงใส่ภาพถ่ายหรือพิมพ์ข้อความผ่านคีย์บอร์ดและจัดเก็บเป็นไฟล์รูปภาพได้ หรือถ้าอยากวาดภาพเล็กๆน้อยๆด้วยปากกาก็สามารถทำผ่านแอปฯนี้ได้เช่นกัน

ส่วนถ้าผู้ใช้อยากใช้ฟีเจอร์เขียนลง Create Pad แล้วให้ระบบแปลงเป็นตัวพิมพ์ให้ ก็สามารถเข้า Play Store แล้วเลือกติดตั้ง “Google Handwriting Input” ได้ (ตัวอย่างการใช้งานตามคลิปวิดีโอด้านบน)

paint-yob

และสำหรับคนชอบวาดภาพ ทางเลอโนโวได้ติดตั้งแอปฯ “ArtRage” มาให้ โดยภายในแอปฯจะสามารถเปลี่ยนหัวปากกาปกติเป็น พู่กัน ดินสอ รวมถึงเลือกการลงสีได้หลากหลายรูปแบบ

anypen

AnyPen – เป็นเทคโนโลยีในส่วนของหน้าจอที่เปิดโอกาสให้คุณสามารถนำปากกามาเขียนที่ส่วนของหน้าจอได้ (ทดสอบแล้วปากกาที่เป็นหัว Capacitive ทั้งหมดรวมทั้ง Apple Pencil สามารถใช้งานได้) แต่ความแม่นยำและความลื่นไหลจะสู้การเขียนผ่านส่วน Create Pad ไม่ได้ โดยเฉพาะระบบรับรู้น้ำหนักแรงกดจะไม่ทำงาน

ทดสอบประสิทธิภาพและสรุป

bench-yob

PC Mark
Work 2.0 = 4,702 คะแนน
Storage score = 3,709 คะแนน

AnTuTu Benchmark = 84,696 คะแนน

Geekbench 4.0
Single-Core = 1,118 คะแนน
Multi-Core = 3,239 คะแนน

bench2-yob

PassMark PerformanceTest Mobile
System = 6,380 คะแนน
CPU Tests = 65,894  คะแนน
Disk Tests = 55,804 คะแนน
Memory Tests = 6,324 คะแนน
2D Graphics Tests = 5,085 คะแนน
3D Graphics Tests = 1,583 คะแนน

3D Mark
Sling Shot Using ES 3.1 = 1,104 คะแนน
Sling Shot Using ES 3.0 = 1,444 คะแนน

vellamo-yob

Vellamo
Multicore = 2,614 คะแนน
Metal = 1,612 คะแนน
Chrome Browser = 3,946 คะแนน

เรื่องทดสอบประสิทธิภาพ ทีมงานขอกล่าวถึงภาพรวมหลังจากใช้ชีวิตร่วมกันมา 1 อาทิตย์เต็ม พบว่า Lenovo Yoga Book ซึ่งใช้ชิปประมวลผล x86 (Intel Atom) เมื่อมาอยู่ในเวอร์ชันแอนดรอยด์ การทำงานต่างๆก็ถือว่าลื่นไหล ยกเว้นการแสดงผลกราฟิก 3 มิติ เมื่อทีมงานลองทดสอบกับเกม ยกตัวอย่างเช่น Asphalt Xtreme จะพบอาการกระตุกจนไม่สามารถเล่นได้ รวมถึงอีกหลายเกมที่แสดงอาการไม่รองรับซีพียูสถาปัตยกรรม x86

ด้านปากกาและแอปฯที่รองรับ ถือว่าเพียงพอสำหรับคนทำงานที่เน้นเลคเชอร์เป็นหลัก เทคโนโลยี Wacom feel IT ทำให้ปากกาใช้งานได้เหมือนจริง โดยเฉพาะการเขียนด้วยหมึกจริงบนกระดาษจริง ให้ความรู้สึกที่ดีและเป็นธรรมชาติมากที่สุดในตลาดตอนนี้ อีกทั้งสเปกปากกาก็ถือว่าให้มาหรูหรา เช่น สามารถเอียงมุมปากกาได้สูงสุด 100 องศา และไม่จำเป็นต้องใช้แบตเตอรีด้วย

แต่ทั้งนี้ก็มีผู้ทดสอบหลายคนบ่นว่า การเขียนบนกระดาษจริงค่อนข้างสิ้นเปลืองและทำให้การใช้งานยุ่งยากกว่าเขียนบนหน้าจอโดยตรง ส่วนนี้ก็คงต้องให้ผู้อ่านและผู้สนใจไปลองทดสอบด้วยตัวเองครับ

ส่วนการใช้วาดภาพ ทีมงานมีความรู้สึกว่าตัวแอปฯยังดึงศักยภาพของปากกาออกมาได้ไม่เต็มที่นัก อาจต้องหาแอปฯจากผู้พัฒนารายอื่นมาใช้งานร่วมกัน

batt-yob

มาถึงเรื่องแบตเตอรี เป็นสิ่งที่น่าประทับใจเพราะ Yoga Book สามารถใช้งานต่อเนื่อง (ทดสอบด้วยแอปฯ Geekbench เปิดหน้าจอตลอดการทดสอบ) ได้ยาวนาน 10 ชั่วโมง 32 นาที 50 วินาที ซึ่งถ้าคิดเป็นเวลาใช้งานปกติก็จะอยู่ที่ประมาณ 14-15 ชั่วโมง เพียงพอต่อการใช้งานทั้งวัน

IMG_0350

สุดท้ายค่าตัว Lenovo Yoga Book เริ่มต้น 19,990 บาท (แอนดรอยด์) ส่วนเวอร์ชัน Windows เลอโนโวจะวางจำหน่ายเร็วๆนี้ แน่นอนว่าถ้าผู้ใช้เน้นงานออฟิซเป็นหลัก รุ่น Windows น่าจะเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ ส่วนถ้าผู้ใช้เน้นทำงานเล็กๆน้อยๆ แต่เน้นการพกพา ต้องการแบตเตอรีอึดและชอบขีดเขียนมากกว่าพิมพ์ เวอร์ชันแอนดรอยด์น่าจะตอบโจทย์ดีที่สุด

ข้อดี

– วัสดุ งานประกอบแข็งแรงมาก ปรับเปลี่ยนการใช้งานได้หลากหลาย
– เป็นแท็บเล็ตมีคีย์บอร์ด น้ำหนักเบา พกพาสะดวก
– แบตเตอรีอึด
– ปากกาใช้หมึกจริง เขียนได้จริง และสามารถเปลี่ยนหัวปากกาได้
– Halo Keyboard ตอบสนองการกดดีเยี่ยม

ข้อสังเกต

– เวอร์ชันแอนดรอยด์ แอปฯที่ให้มายังไม่น่าสนใจเพราะเน้นเขียนและเซฟเป็นภาพมากกว่า (น่าจะมีระบบแปลงลายมือเป็นตัวอักษรได้ภายในแอปฯของเลอโนโว)
– หน้าจอรองรับการใช้ปากกาผ่านฟีเจอร์ AnyPen ยังทำงานได้ไม่ดีนัก
– ไส้น้ำหมึกต้องใช้เฉพาะรุ่นที่เลอโนโวออกแบบมาเท่านั้น

Gallery

]]>
Review : Lenovo Zuk Z1 อีกหนึ่งสมาร์ทโฟนต่ำหมื่น เน้นคุ้มค่า https://cyberbiz.mgronline.com/review-zuk-z1/ Thu, 06 Oct 2016 11:09:16 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=24029

IMG_5821

แบรนด์ ZUK อาจจะเป็นแบรนด์สมาร์ทโฟนที่ไม่เป็นที่รู้จักในประเทศไทยมากนัก เพราะถือเป็นซับแบรนด์ของ Lenovo ในการทำตลาดภายในประเทศจีน และอินเดียผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซ และด้วยการที่ล็อกซเล่ย์ มองเห็นโอกาสในการนำสมาร์ทโฟนสเปกดี ราคาคุ้มค่าเข้ามาทำตลาด จึงเป็นที่มาของการนำ Zuk Z1 มาวางขายผ่านลาซาด้า

จุดเด่นของ ZUK Z1 คือเป็นสมาร์ทโฟนขนาดหน้าจอ 5.5 นิ้ว ที่มาพร้อมฟังก์ชันสแกนลายนิ้วมือในการปลดล็อก ตัวเครื่องทำงานบนหน่วยประมวลผล Snapdragon 801 ซึ่งถือเป็นซีพียูระดับท็อปของควอลคอมม์เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังถือว่าเพียงพอกับการใช้งานในปัจจุบัน ขณะที่กล้องหลักจะมีความละเอียด 13 ล้านพิกเซล

การออกแบบ

IMG_5820

ในส่วนของการออกแบบ Zuk Z1 จะเน้นไปที่ความเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยความหรู่ จากการใช้โครงเครื่องเป็นโลหะ ทำให้ดูแข็งแกร่ง ตัดกับฝาเครื่องพลาสติกสีขาว และเทาเข้ม ขึ้นอยู่กับสีที่เลือก โดยมีขนาดรอบตัวอยู่ที่ 155.7 x 77.3 x 8.9 มิลลิเมตร และ น้ำหนัก 175 กรัม ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องที่ค่อนข้างหนักเมื่อเทียบกับขนาดหน้าจอที่ 5.5 นิ้ว

IMG_5827

ด้านหน้า – พื้นที่หลักเป็นของหน้าจอ IPS ขนาด 5.5 นิ้ว ความละเอียด Full HD (1920 x 1080 พิกเซล) ที่ให้ความละเอียดเม็ดสีสูงถึง 401 ppi ที่ให้ความสว่างถึง 450 nit และอัตราคอนทราสต์หน้าจออยู่ที่ 1500:1ซึ่งจะสังเกตได้ว่าขนาดของขอบจอจะค่อนข้างหนาทำให้ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ตามไปด้วย โดยมีแถบลำโพงสนทนา และกล้องหน้าความละเอียด 8 ล้านพิกเซล ที่ใช้เซ็นเซอร์จาก OmniVision อยู่ส่วนบน ส่วนล่างเป็น U-Touch ที่เป็นทั้งเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือและปุ่มควบคุมด้วย

IMG_5829

ด้านหลังตัวเครื่องจะถูกปล่อยว่างไว้ด้วยพลาสติกฝาหลังสีขาว ตัดกับโลโก้ ZUK สีเงินที่ส่วนล่างเครื่อง ขณะที่พื้นที่ส่วนบนจะมีกล้องหลังความละเอียด 13 ล้านพิกเซล ที่ใช้เซ็นเซอร์ Sony Exmor RS IMX214 รูรับแสง f/2.2 มาพร้อมกับระบบป้องกันการสั่นไหวของภาพ OIS และแฟลชแบบ Dual LED ส่วนภายในจะมีแบตเตอรีขนาด 4,100 mAh ให้ใช้งานกัน

IMG_5841IMG_5843IMG_5843

ด้านบนหลักๆจะเป็นช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม. โดยมีแถบรับสัญญาณโทรศัพท์เป็นเส้นๆอยู่ด้วย ด้านล่างมีพอร์ต USB-C ช่องลำโพง และไมโครโฟนสนทนา กับแถบรับสัญญาณเช่นเดียวกัน ดูไปจะคล้ายๆกับใน iPhone 6 และ iPhone 6s

IMG_5846IMG_5844ด้านซ้ายจะมีรูให้ใช้เข็มจิ้มเพื่อดึงถาดซิมการ์ดแบบดูอัลซิม (นาโนซิม) ส่งผลให้ไม่มีช่องใส่ไมโครเอสดีการ์ดเพิ่มเติม ด้านขวาเป็นปุ่มปรับระดับเสียง และปุ่มเปิดปิดเครื่อง

สเปก

s13

Zuk Z1 มากับหน่วยประมวลผล Snapdragon 801 MSM8974AC ที่เป็นควอดคอร์ 2.5 GHz RAM 3 GB พื้นที่เก็บข้อมูลภายในตัวเครื่อง 64 GB หน่วยประมวลผลภาพเป็น Adreno 330 ทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 5.1.1 (Lollipop) ที่ครอบด้วย Cyanogen OS 12.1 อีกที เพื่อให้ใช้งานได้ง่ายยิ่งขึ้น

ส่วนด้านการเชื่อมต่อรองรับการใช้งาน 2 ซิม โดยซิมหลักเป็น 3G/4G ส่วนซิมรองจะรับได้เฉพาะ 2G รองรับการใช้งานทุกคลื่นความถี่ในประเทศไทย ความเร็วในการดาวน์โหลดบน 3G 42.2/5.76 Mbps 4G LTE Cat4 150/50 Mbps นอกจากนี้ก็จะมี Wi-Fi มาตรฐาน 802.11 a/b/g/n/ac บลูทูธ 4.1 GPS และ เซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือ

ฟีเจอร์เด่น

s01

ด้วยการที่ Zuk Z1 ได้รับการปรับแต่งระบบปฏิบัติการจากทาง Cyanogen ส่งผลให้อินเตอร์เฟสในการใช้งาน จะถูกปรับออกมาให้ใช้งานค่อนข้างง่าย และเปิดโอกาสให้ปรับแต่งเพิ่มเติมได้ด้วย โดยในส่วนของหน้าหลักยังคงความสะดวกในการใช้งานด้วยการใส่วิตเจ็ต สร้างโฟลเดอร์ต่างๆตามปกติ หน้าจอล็อกสกรีนจะมีการแสดงวัน เวลา การแจ้งเตือน พร้อมปุ่มลัดเรียกใช้งานโทรศัพท์ กล้อง และตรงกลางเป็นสัญลักษณ์สแกนลายนิ้วมือ

ในส่วนของแถบการแจ้งเตือน ก็เป็นไปตามปกติ ส่วนแถบการตั้งค่าต่างๆ จะมีให้ปรับความสว่างหน้าจอ และไอค่อนลัดในการตั้งค่าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไวไฟ บลูทูธ โหมดเครื่องบิน การหมุนหน้าจอ ไฟฉาย จีพีเอส ไวไฟฮ็อตสปอต ฉายหน้าจอไปยังจอภาพ ระบบเสียง Audio FX

s03

นอกจากนี้ ผู้ใช้ยังสามารถปรับแต่งธีมการใช้งาน โดยสามารถเข้าไปโหลดเป็นชุดธีมต่างๆ ที่จะมีทั้งแบบเสียเงิน และแบบฟรี หรือจะเลือกปรับส่วนประกอบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ไอคอน แถบสถานะ แถบควบคุม แถบนำทาง ภาพพื้นหลัง แบบอักษร ทำให้มีความเป็นอิสระในการปรับแต่งหน้าจอค่อนข้างเยอะ

s02

ในขณะที่หน้าจอรวมแอปพลิเคชัน จะไมไ่ด้ถูกนำมาแสดงผลแบบเรียงเป็นช่องๆ แต่จะใช้การเรียงตามตัวอักษร ซึ่งแอปพลิเคชันที่ให้มาจะเป็นแอปพื้นฐานทั้งหมด รวมกับบริการต่างๆของกูเกิล ไม่ได้มีการเพิ่มแอปที่ไม่จำเป็น

s07s08

ส่วนของกล้องถ่ายภาพ จะเน้นที่ความเรียบง่ายในการใช้งาน โดยจะมีปุ่มหลัดคือชัตเตอร์ถ่ายภาพนิ่ง (สีขาว) ชัตเตอร์ถ่ายวิดีโอ (สีแดง) ปุ่มเข้าไปดูอัลบั้มภาพ ส่วนของการปรับแต่งต่างๆ จะมีให้เลือกปรับความสว่าง เลือกสมดุลแสงขาว สลับกล้องหน้า เลือกโหมดถ่ายภาพต่างๆ

s09

การตั้งค่ากล้องจะมีให้เลือกเป็น 3 ส่วนคือ ภาพนิ่ง ภาพวิดีโอ และตั้งค่าทั่วไป ทั้งขนาดภาพ คุณภาพ ปรับแต่ง ISO และจะมีให้ตั้งค่าใช้ปุ่มพาวเวอร์ในการเป็นชัตเตอร์ ใช้ปุ่มปรับระดับเสียงเป็นปุ่มซูม เลือกปรับให้ปุ่มชัตเตอร์เหมาะสำหรับผู้ถนัดซ้าย กับเลือกปรับความสว่างหน้าจอให้สูงสุดเมื่อใช้งานกล้อง

s10

โหมดการใช้งานโทรศัพท์ จะมาพร้อมกับระบบคาดเดารายชื่อ โดยผู้ใช้สามารถกดเลขหมายเพื่อดูรายชื่อได้ทันที หรือจะค้นหาจากชื่อก็ได้ตามปกติ ขณะหน้าจอสนทนาจะมีแสดงรายชื่อ เลขหมาย ระยะเวลาใช้งาน พร้อมกับปุ่มวางสายขนาดใหญ่ โดยจะมีแถบคำสั่งเปิดลำโพง ปิดไมค์ เรียกปุ่มกด พักสาย และเพิ่มสาย

s04 s11s06ถัดมาในส่วนของการตั้งค่า จะมีแบ่งออกเป็นด้านการเชื่อมต่อ ตั้งค่าการใช้งาน คั้งค่าตัวเครื่อง บัญชีผู้ใช้ ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานของแอนดรอยด์อยู่แล้ว เพียงแต่จะมีการตั้งค่าเพิ่มเติมอย่างระบบ AudioFX ที่ผู้ใช้สามารถปรับแต่งโปรไฟล์เสียงต่างๆได้ รวมถึงหน้าจอผู้ใช้สามารถเข้าไปปรับโหมดการแสดงผลได้ ที่ผู้ใช้สามารถปรับความสว่าง ปรับอุณหภูมิสีได้ตามต้องการ เพื่อช่วยรักษาสุขภาพตา

s12

ขณะที่ในส่วนของระบบสแกนลายนิ้วมือ ผู้ใช้สามารถใส่ลายนิ้วมือได้ทั้งหมด 5 ลายนิ้วมือ โดยชูจุดเด่นที่รองรับการสัมผัสได้แบบ 360 องศา นอกจากนี้ ก็จะมีให้เข้าไปตั้งปุ่มเนวิเกชันบาร์ ที่สามารถปรับให้ไปอยู่ทางฝั่งซ้ายขวา ตามความถนัดของนิ้วมือที่ใช้ รวมถึงโหมดแบตเตอรีให้เลือกใช้งานทั้งประหยัดพลังงาน สมดุล และประสิทธิภาพสูง

s05ส่วนเรื่องของการใช้งานซิมการ์ด สามารถเข้าไปเลือกซิมหลักที่จะใช้งานได้ โดยซิมหลักจะเป็น 3G/4G ขณะที่ซิมรองจะรองรับการสแตนบายที่ 2G ยังไม่เป็น 2 ซิม ที่รองรับ 3G ทั้ง 2 ซิม

ทดสอบประสิทธิภาพ

s14

เมื่อทดสอบ ด้วยโปรแกรมทดสอบประสิทธิภาพบนแอนดรอยด์อย่าง Quadrant Standart และ Antutu ได้คะแนน 25,987 คะแนน และ 62,841 คะแนน ตามลำดับ หน้าจอรองรับการสัมผัส 5 จุดพร้อมกัน

s15

ทดสอบการใช้งาน HTML 5 ผ่าน Vellamo จากแอนดรอยด์เว็บวิวได้ 3,176 คะแนน โครมเบราว์เซอร์ 3,273 คะแนน ส่วนประสิทธิภาพตัวเครื่องได้ (Metal) 1,733 คะแนน Multicore 1,836 คะแนน คะแนน Geek Bench 3 Single-Core 991 คะแนน Multi-Core 2,595 คะแนน

ระยะเวลาการใช้งานบนแบตเตอรีต่อเนื่องอยู่ที่ 7 ชั่วโมง 31 นาที 30 วินาที คิดเป็นคะแนนของ Geekbench 3 ได้ 4,515 คะแนน จากแบตเตอรีขนาด 4,100 mAh

s16ขณะที่การทดสอบด้วยโปรแกรม PCMark ในส่วนของ Work Performance ได้ 4,356 คะแนน 3D Mark ตัว Sling Shot ES 3.0 ได้ 1193 คะแนน Sling Shot Unlimited ES 3.0 ได้ 1,293 คะแนน Ice Storm Unlimited ได้ 19,630 คะแนน ส่วน Ice Storm Extreme และ Ice Storm ที่ทำคะแนนทะลุไป

ส่วน Passmark Performance Test Mobile ได้คะแนน System 4,581 คะแนน CPU 25,044 คะแนน Disk 26,110 คะแนน Memory 4,534 คะแนน 2D Graphics 3,600 คะแนน และ 3D Graphics 1,231 คะแนน

สรุป

IMG_5822

การมาของ Zuk Z1 ที่นำเข้ามาจำหน่ายโดยล็อกซเลย์อาจจะไม่ได้ถูกพูดถึงมากนัก เพราะถือเป็นก้าวแรกของล็อกซเลย์ในการเลือกนำสมาร์ทโฟน ประสิทธิาภพสูงราคาคุ้มค่าจากจีนเข้ามาทำตลาดในประเทศไทย ผ่านความร่วมมือกับทางลาซาด้า ในการใช้ช่องทางจำหน่ายออนไลน์ ที่มีระบบบริการหลังการขายของทางล็อกซเล่ย์รองรับ

Zuk Z1 ถือเป็นหนึ่งในสมาร์ทโฟนราคาต่ำกว่าหมื่นบาทที่น่าสนใจ ถ้าถูกนำเข้ามาจำหน่ายตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา เพราะปัจจุบันเริ่มมีหลายแบรนด์เข้ามาลุยตลาดในระดับราคาเดียวกัน ดังนั้น Zuk Z1 จึงกลายเป็นหนึ่งในสมาร์ทโฟนหลายรุ่นที่มีความน่าสนใจ สำหรับผู้ที่อยากลองสมาร์ทโฟนนอกกระแส ที่มีประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับที่น่าพอใจ

ข้อดี

สเปก เมื่อเทียบกับราคาต่ำกว่าหมื่นบาท

ระบบสแกนลายนิ้วมือ ที่ค่อนข้างแม่นยำ

ตัวเครื่องมาพร้อมกับ USB-C

กล้องถ่ายภาพที่ใช้เซ็นเซอร์จากโซนี่ ให้คุณภาพที่ดีเมื่อเทียบกับราคาเครื่อง

ข้อสังเกต

ไม่สามารถเพิ่มพื้นที่เก็บข้อมูลได้ (ในเครื่องให้มา 64 GB)

ไม่รองรับการเชื่อมต่อ NFC

Gallery

]]>
Review : Lenovo Pocket Projector โปรเจกเตอร์จิ๋วพร้อมเดินทาง https://cyberbiz.mgronline.com/lenovo-pocket-projector/ Thu, 22 Sep 2016 05:32:22 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=23916

001

Lenovo Pocket Projector ทำให้การพกพาโปรเจกเตอร์ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป สามารถนำเสนองานได้ทุกที่ทุกเวลา ด้วยความสามารถของเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ย่อทุกอย่างของการฉายภาพผ่านแสง ให้อยู่ในรูปแบบเครื่องฉายขนาดเล็กที่สามารถพกพาไปไหนต่อไหนได้อย่างสะดวก แถมเพียบพร้อมไปด้วยการเชื่อมต่อที่รองรับอุปกรณ์ที่หลากหลายที่มีอยู่อย่างครบถ้วน ทำให้ทั้งการนำเสนองานหรือเปิดชมเพื่อความบันเทิงสามารถทำได้ทุกที่ขอเพียงมีผนังหรือจอสีขาวเท่านั้นเป็นพอ

การออกแบบ

002

Lenovo Pocket Projector ออกแบบให้มีขนาดที่เล็ก 4 x 4 นิ้ว (กว้างxยาว) และหนา 1 นิ้ว ทำให้เหมาะกับการพกพา โดยมีการแบ่งฝั่งควบคุมและฝั่งฉายภาพที่สามารถปรับองศาขึ้นลงได้กว่า 90 องศา ซึ่งด้านบนที่เห็นนั้นมีการออกแบบฝั่งควบคุมด้วยยางสีดำที่ให้สัมผัสที่กระชับ อีกทั้งปุ่มกดมัลติฟังก์ชันก็ถูกออกแบบให้เป็นรูปบวก คล้ายปุ่มควบคุมเครื่องเล่นเกมสมัยก่อน พร้อมปุ่มฟังก์ชันทรงกลมขนาดเล็กวางอยู่บริเวณเดียวกัน

003

ด้านขอบของตัวเครื่องมีรูปร่างโค้งมนทั้งด้านหน้าและด้านหลัง โดยด้านหน้าเป็นส่วนของเลนส์ขยายแสงสำหรับการฉายภาพ ออกแบบให้หน้าเลนส์อยู่ด้านในเพื่อป้องกันการกระแทกจากการขนย้ายได้เป็นอย่างดี ขณะที่ด้านข้างของเลนส์มีวงแหวนปรับความคมชัดเช่นเดียวกับเครื่องโปรเจกเตอร์ขนาดใหญ่ทั่วไป ด้านหลังของตัวเครื่องมีปุ่มเปิดปิดเครื่อง ช่องต่อลำโพงแบบ 3.5 มิลลิเมตร และช่องต่อสายไฟแบบไมโครยูเอสบีเพื่อการชาร์จไฟ พร้อมปุ่มรีเซ็ตที่อาจจะต้องใช้เข็มปลายแหลมกด

004

ด้านข้างทั้งซ้ายและขวา มีลวดลายของลำโพงที่ทำจากสแตนเลสไว้อย่างสวยงาม โดยเฉพาะด้านขวาจะมีโลโก้ของเลอโนโวสลักไว้อย่างชัดเจน และเมื่อยกด้านเลนส์ขึ้น สันด้านในจะเห็นช่องใส่ไมโครเอสดีการ์ดซึ่งรองรับความจุสูงสุด 32 GB เพื่อให้สามารถเปิดมัลติมีเดียไฟล์ได้จากการ์ดนั้นได้เลย

005

ขณะที่ด้านหลังของตัวเครื่องมีขารองทำด้วยยาง 3 จุดบริเวณด้านหน้า และนอกจากนั้นยังมีช่องระบายอากาศขนาดเล็กเพื่อลดทอนความร้อนของตัวเครื่องที่เกิดขึ้นขณะใช้งาน และถัดมาด้านขวาจะเห็นวงกลมขนาดกลางเว้าลึกลงไป โดยจะแสดงตราสัญลักษณ์เลอโนโว พร้อมรายละเอียดรุ่นและสเปกของเครื่อง และมาตรฐานการผลิตไว้อย่างชัดเจน

สเปก

006

Lenovo Pocket Projector โปรเจกเตอร์ขนาดพกพา ด้วยเทคโนโลยีการฉายภาพแบบ DLP (Digital Light Processing) ให้ความคมชัดสูงสุดที่ความละเอียด 854 x 480 พิกเซล สัดส่วน 16 : 9 และฉายภาพได้ขนาดใหญ่สุด 110 นิ้ว ให้ความสว่าง 50 ลูเมนส์ อายุหลอดใช้ได้นานกว่า 20,000 ชั่วโมง รองรับการเชื่อมต่อไวเลสแบบ DLNA และ Miracast พร้อมลำโพงในตัว 2ด้าน แบตเตอรี่ภายในเครื่องใช้งานได้นาน 3 ชั่วโมงต่อการชาร์จไฟ 1 ครั้ง น้ำหนัก 180 กรัม รองรับระบบแอนดรอยด์, วินโดวส์ 8.1, วินโดวส์ 10, iOS, Mac แบบ Miracast

ฟีเจอร์เด่น

007

การเชื่อมต่อที่หลากหลายของเครื่อง Lenovo Pocket Projector ช่วยลดข้อจำกัดที่ยุ่งยากของอุปกรณ์ที่จะต่อพ่วงลงด้วย และนั่นก็ทำให้เราสามารถเชื่อมต่อได้จากทั้งคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน หรือแม้กระทั่งการใส่การ์ดโดยตรงเข้าภายในเครื่องก็สามารถเปิดมัลติมีเดียเพื่อรับชมได้อย่างสะดวก แน่นอนว่าการเชื่อมต่อนั้นก็ไม่ซับซ้อนเพราะหากเคยใช้งานคอมพิวเตอร์มาในระดับหนึ่งหรือผู้ที่ใช้งานสมาร์ทโฟนคล่องก็สามารถเชื่อมต่อได้โดยง่าย

008

องศาการปรับก้มเงยได้กว่า 90 องศา ช่วยให้การหาตำแหน่งวางเพื่อฉายบนผนังด้านใดด้านหนึ่งมีความคล่องตัวมากขึ้น สามารถวางได้ทุกที่ที่ต้องการ โดยระยะการวางมีผลต่อขนาดการแสดงผล ซึ่งมีขนาดใหญ่สุด 110 นิ้ว (ตามแนวแทยง)

009

แบตเตอรี่ในตัว เป็นอีกหนึ่งความสามารถของอุปกรณ์โมบายที่จะต้องมี ซึ่ง Lenovo Pocket Projector เองก็สามารถเปิดใช้งานด้วยแบตเตอรี่ภายในตัวเครื่องได้นานกว่า 2.5 ชั่วโมง โดยเมื่อนับชั่วโมงที่ได้ก็ถือว่าเพียงพอต่อการประชุม นำเสนองาน หรือแม้กระทั่งชมภาพยนตร์ 1 เรื่องนั่นเอง

010

น้ำหนักของเครื่องเพียง 180 กรัม ทำให้สามารถพกพาเครื่องฉายขนาดเล็กเครื่องนี้ไปได้ทุกที่ โดยไม่ลำบาก ซึ่งเท่ากับว่าสามารถตอบโจทย์การใช้งานเคลื่อนในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี รวมทั้งขนาดของเครื่องที่ไม่ใหญ่จนเกินไป และการออกแบบที่ไม่หวือวาแต่เรียบง่ายอย่างมีสไตล์ ก็ช่วยส่งเสริมให้การพกพาเครื่องฉายไม่ใช่เรื่องน่าอายอีกต่อไป

011

DLP (Digital Light Processing) ที่อยู่ในตัวเครื่อง แต่เดิมเป็นเทคโนโลยีราคาแพงที่มีอยู่เฉพาะเครื่องฉายในโรงภาพยนตร์เท่านั้น ซึ่งเมื่อเทียบกับคุณภาพจอของเครื่องฉายแบบ LCD ในขนาดเลนส์เท่ากันแล้ว เทคโนโลยี DLP จะมีการเรียงของเม็ดสีที่ชิดกันทำให้สีที่ได้มีความละเอียดและสดใสมากกว่า โดยเทคโนโลยีนี้เป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของ บริษัท Texas Instrument เท่านั้น

ทดสอบประสิทธิภาพ

012

การทดลองเชื่อมต่อ Lenovo Pocket Projector เข้ากับเครือข่ายไวไฟเป็นไปได้อย่างง่ายดายเช่นเดียวกับการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่ายปกติ ซึ่งก็คือการเลือกเครือข่ายและป้อนรหัสผ่านที่ตั้งค่าไว้ การเชื่อมต่อนี้ช่วยให้สามารถแชร์การแสดงผลจากอุปกรณ์ในวงแลนเดียวกันเข้ามาที่เครื่องฉายได้อย่างทันที

ขณะที่การทดสอบต่อตรงเข้ากับสมาร์ทโฟนระบบแอนดรอยด์ เพื่อทำการเปิดวิดีโอยูทูปผ่านเครื่องฉาย ใช้การเลือกเชื่อมต่อผ่านไวไฟโดยเปิดเครื่องและเลือกไปที่แอนดรอยด์ แล้วทำตามขั้นตอนที่เครื่องแนะนำ ซึ่งจะต้องเปิดระบบ Miracast ในอุปกรณ์ที่จะเชื่อมต่อด้วย เพียงเท่านี้เครื่องก็พร้อมฉายภาพขึ้นผนังให้ได้รับชมกันอย่างเต็มตา และที่สำคัญความร้อนของเครื่องนับว่าน้อยกว่าเครื่องฉายขนาดปกติเป็นอย่างมากอีกด้วย

สรุป

Lenovo Pocket Projector เปิดตัวด้วยราคา 9,900 บาท ซึ่งหากเทียบกับราคาเครื่องฉายขนาดกลางๆทั่วไปในท้องตลาดก็นับว่ามีราคาสูงเอาการ แต่ด้วยขนาดและเทคโนโลยีของการฉายภาพ DLP พร้อมการเชื่อมต่อแบบไร้สาย ที่สามารถพกพาไปได้ทุกที่ทำให้ตอบโจทย์ได้คนละมุมกับเครื่องฉายขนาดทั่วไป ซึ่งเท่ากับว่าการลงทุนด้วยราคาเช่นนี้เป็นการจ่ายเพื่อนวัตกรรมที่จับต้องได้จริง ซึ่งก็แล้วแต่มุมมมองว่าจะคุ้มกับการใช้งานของแต่ละคนว่าเป็นอย่างไร

ข้อดี

  • เชื่อมต่อได้หลากหลายอุปกรณ์
  • เทคโนโลยีการแสดงผลที่ดีแบบ DLP
  • ใช้งานง่าย
  • น้ำหนักเบา พกพาสะดวก

ข้อสังเกต

  • มีอาการเด้งออกของการเชื่อมต่อ หากเชื่อมต่อผิดวิธีหรือซ้ำซ้อน
  • ระบบแสดงการเชื่อมต่อที่เหมาะสมให้ ซึ่งอาจจะต้องเลือกการเชื่อมต่อใหม่ทำให้แสดงผลไม่ต่อเนื่อง

Gallery

]]>
Review : Lenovo YOGA 700 อัลตร้าบุ๊ก 360 องศา เด่นที่การ์ดจอแยก และ SSD https://cyberbiz.mgronline.com/review-lenovo-yoga700/ Wed, 17 Feb 2016 10:35:44 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=21523

ถ้าจะกล่าวถึงโน้ตบุ๊กบางเบา (อัลตร้าบุ๊ก) รุ่นยอดนิยมจาก Lenovo (เลอโนโว) ก็คงหนีไม่พ้นตระกูล YOGA (โยก้า) ที่สร้างชื่อเสียงให้เลอโนโวมานานกว่า 3 ปี ด้วยรูปแบบการใช้งานแปลกใหม่และเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยนมุมองจอภาพได้หลากหลายด้วยมัลติโหมดถึง 4 รูปแบบ

โดยในวันนี้ Lenovo YOGA ก็เดินทางมาถึงรุ่นใหม่ล่าสุด กับ YOGA 500, 700 และ 900 ที่นอกจากเลอโนโวจะปรับสเปกไปใช้ประมวลผลใหม่ Intel Core i7 “Skylake” Ultra Low Voltage แล้ว เรื่องแนวทางการออกแบบก็ถูกปรับเปลี่ยนให้เรียบง่ายและบางเบาลง

การออกแบบ

lenovo700head

ขึ้นชื่อว่าเป็น “อัลตร้าบุ๊ก” เพราะฉะนั้นการออกแบบจะเน้นความบางและน้ำหนักที่เบากว่าโน้ตบุ๊กทั่วไป โดย Lenovo YOGA 700 มีขนาดตัวเครื่องกว้างxยาว 334.9×229.5 มิลลิเมตร หนา 18.3 มิลลิเมตร พร้อมน้ำหนัก 1.6 กิโลกรัม ซึ่งใกล้เคียงกับคู่แข่งอย่าง Apple MacBook Air 13 นิ้วที่มีความหนาประมาณ 17 มิลลิเมตรและน้ำหนัก 1.35 กิโลกรัม

ในส่วนหน้าจอแสดงผลมีขนาด 14 นิ้ว (IPS) เป็นหน้าจอสัมผัสแบบมัลติทัช 10 จุด พร้อมความละเอียด FullHD 1080p (1,920×1,080 พิกเซล)

IMG_3789

สำหรับคีย์บอร์ดและทัชแพด จุดเด่นอยู่ที่แต่ละคีย์มีไฟ Backlight ส่องสว่างในที่มืด (วิธีเปิดไฟกด Fn + Spacebar) ส่วนทัชแพดถูกออกแบบมาให้มีขนาดใหญ่และที่สำคัญเป็นมัลติทัชตามสมัยนิยม

yoga700-play

มาถึงเอกลักษณ์เฉพาะ YOGA กับหน้าจอพับได้ 360 องศาที่เลบอโนโวเรียกว่า “มัลติโหมด” เพื่อให้สอดคล้องกับความสามารถของวินโดวส์ยุคใหม่ที่มีความเป็นไฮบริดระหว่างแท็บเล็ตกับโน้ตบุ๊กมากขึ้น เลอโนโวจึงได้คิดค้นออกแบบอัลตร้าบุ๊กกลุ่ม YOGA ด้วยมัลติโหมด 4 รูปแบบเพื่อการใช้งานที่หลากหลาย ดังต่อไปนี้

1.Tent – พับหน้าจอไปด้านหลังทำมุมเหมือนกางเต้นท์ สำหรับใช้เวลารับชมภาพยนตร์หรือวิดีโอคอลล์
2.Stand – พับหน้าจอไปด้านหลังและจับส่วนของคีย์บอร์ดเปลี่ยนเป็นฐานตั้ง (คีย์บอร์ดและทัชแพดจะปิดการทำงานอัตโนมัติ) สำหรับใช้รับชมภาพยนตร์รวมถึงสามารถใช้ทำงานผ่านหน้าจอสัมผัสได้
3.Laptop – ใช้งานเป็นโน้ตบุ๊กปกติ
4.Tablet – พับหน้าจอจนประกบกับฐานตัวเครื่อง เพื่อใช้งานแบบแท็บเล็ตผ่านหน้าจอสัมผัส 10 จุด

IMG_3799IMG_3798

มาดูด้านข้างเครื่อง มีจุดที่น่าสังเกตคือ สันเครื่อง Lenovo YOGA 700 ทั้งหมดจะหุ้มด้วยวัสดุคล้ายยางสีดำไว้ ช่วยป้องกันการกระแทกและช่วยให้การจับถือกระชับมือมากขึ้น โดยพอร์ตเชื่อมต่อและปุ่มกดจะถูกติดตั้งอยู่บริเวณนี้ทั้งซ้ายและขวา ประกอบด้วย

“พอร์ต USB 3.0 จำนวน 2 พอร์ต (พอร์ตด้านซ้ายสามารถชาร์จสมาร์ทดีไวซ์ได้แม้เครื่องปิดอยู่) USB 2.0 (ช่องสีส้ม) จำนวน 1 พอร์ต (ใช้ร่วมกับช่องเสียบอะแดปเตอร์ชาร์จไฟบ้าน) ช่องหูฟังแบบ Combo jack (รวมหูฟังและไมโครโฟนไว้ในช่องเดียว) ขนาด 3.5 มิลลิเมตร ช่องอ่านการ์ดความจำ 4-in-1 card reader, Micro HDMI, ปุ่มเพิ่มลดระดับเสียงและปุ่มเปิดปิดเครื่องก็ถูกติดตั้งอยู่บริเวนด้านข้างนี้ด้วย”

IMG_3815IMG_3817

ด้านหน้าตาสายชาร์จและอะแดปเตอร์ชาร์จไฟบ้าน Lenovo YOGA 700 ถูกออกแบบมาให้เหมือนกับที่ชาร์จแท็บเล็ต ซึ่งมีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา โดยมีจุดสังเกตอยู่ที่อะแดปเตอร์ที่สามารถจ่ายไฟได้สองรูปแบบคือ 20V 2A และ 5.2V 2A 

IMG_3800

สุดท้ายในส่วนลำโพง ถูกติดตั้งอยู่ใต้เครื่องจำนวน 2 ตัวแบบสเตอริโอ พร้อมช่องระบายความร้อน

สเปก

spec-y700windowsdetails-y700spec2-y700

เริ่มจากหน่วยประมวลผล เลือกใช้แบบ 64 บิต Intel Core i7 6th Gen (Skylake) รหัส 6500U 2 คอร์ 4 Threads ความเร็ว 2.50GHz รองรับ Turbo Boost เพิ่มความเร็วได้สูงสุด 3.1GHz พร้อมแรม DDR3L 8GB และหน่วยเก็บข้อมูลเลือกใช้เป็น SSD ขนาด 256GB จากซัมซุง

ในส่วนการ์ดจอ เลอโนโวติดตั้งการ์ดจอแยก NVIDIA GeForce 940M พร้อมแรม 2GB ทำงานควบคู่กับการ์ดจอออนบอร์ด Intel HD Graphics 520 โดยระบบจะจัดสรรเลือกใช้การ์ดจอตามความเหมาะสมเพื่อประหยัดพลังงาน

ด้าน WiFi รองรับมาตรฐานสูงสุด 802.11 a/c บลูทูธ 4.0 กล้อง Webcam HD ความละเอียด 1 ล้านพิกเซล ส่วนระบบปฏิบัติการที่ติดตั้งมาให้เป็น Windows 10 Home Single Language 64 บิต

ฟีเจอร์เด่น

Paper Display – เมื่อเปิดใช้งาน ระบบสามารถตรวจจับการใช้งานโน้ตบุ๊กของผู้ใช้ได้ โดยถ้าเป็นการใช้งานด้านเอกสารและอ่านหนังสือ หน้าจอจะปรับอุณหภูมิสีให้ออกน้ำตาล เหลืองเพื่อช่วยถนอมสายตา และปรับเป็นสีปกติอีกครั้งเมื่อผู้ใช้เปิดใช้งานมัลติมีเดียต่างๆ เป็นต้น

Mobile Hotspot – สำหรับผู้ใช้ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตกับสายแลน สามารถแชร์อินเตอร์เน็ตผ่าน WiFi ไปยังอุปกรณ์สมาร์ทดีไวซ์และอื่นๆ ได้

Dolby Audio – YOGA 700 รองรับระบบเสียง Dolby® DS 1.0 Home Theater โดยผู้ใช้สามารถเข้าไปปรับแต่งเลือกระบบเสียงต่างๆได้ตามต้องการจาก Lenovo Settings

alwaysonusb0y700

Always on USB – อย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้นว่า YOGA 700 สามารถชาร์จไฟให้กับสมาร์ทดีไวซ์ได้แม้เครื่องปิดอยู่ เนื่องจากระบบรองรับฟังก์ชัน Always on USB แต่ทั้งนี้ก่อนใช้งานอย่าลืมเข้าไปเปิดใช้งานฟังก์ชันนี้จาก Lenovo Settings ก่อนด้วย

onekey-y700

OneKey Recovery – ตัวช่วยสำคัญในการสำรองข้อมูลและ Recovery ระบบเวลาเจอปัญหา

ทดสอบประสิทธิภาพ

benchpcmark-y700

PC Mark 8 ชุดทดสอบ Home Accelerated 3.0 ได้คะแนน 2,895 คะแนน Creative Accelerated 3.0 ได้คะแนน 3,588 คะแนน Work Accelerated 3.0 ได้คะแนน 4,174 คะแนน และสุดท้าย Storage 2.0 ได้คะแนนมากถึง 4,949 คะแนน มากกว่าโน้ตบุ๊กทั่วไปที่ใช้ฮาร์ดดิสก์จานหมุน โดยอัตราการอ่านเขียนข้อมูลอยู่ที่ 243.95 MB ต่อวินาที

64bitgeek-y70032bitgeek-y700

สำหรับคะแนน Geekbench ทดสอบแบบ 32 บิต ชุดทดสอบ Single Core ได้คะแนน 2,773 คะแนน Multi Core ได้คะแนน 6,064 คะแนน

ส่วนการทดสอบแบบ 64 บิต ชุดทดสอบ Single Core ได้คะแนน 2,887 คะแนน Multi Core ได้คะแนน 6,356 คะแนน

cinebench-y700benchmark2-y700

มาถึงการทดสอบในส่วนกราฟิก 3 มิติ ด้วยชุดทดสอบ 3D Mark ขอกล่าวในภาพรวมสำหรับการ์ดจอแยก NVIDIA GeForce 940M เมื่อประกบกับหน่วยประมวลผล i7 Ultra Low Voltage “Skylake” ถือว่าทำคะแนนออกมาได้น่าพอใจ และเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า ถึงแม้จะเป็นอัลตร้าบุ๊กบางเบาแต่ก็รองรับการเล่นเกม 3 มิติได้ดีระดับหนึ่ง

catzilla-y700

รองขยับมาทดสอบเกม 3 มิติจริงๆกันบ้างกับ Catzilla ชุดทดสอบที่ดึงประสิทธิภาพทั้งในส่วนซีพียูและกราฟิกการ์ดออกมาได้เต็มประสิทธิภาพที่สุด โดยทีมงานทดสอบที่ความละเอียด 720p สามารถทำคะแนนได้ 2,538 คะแนน ถือว่าอยู่ระดับเริ่มต้น

4ky700

ส่วนเรื่องการรับชมคอนเทนต์วิดีโอ 4K รวมถึงการใช้ตัดต่อวิดีโอเล็กๆน้อยๆ หรือใช้ทำงานด้านกราฟิกเบื้องต้น เช่น ครอปภาพหรือตกแต่งภาพส่วนตัว ไปถึงทำงานขึ้นเว็บไซต์ ส่วนนี้ถือเป็นจุดเด่นของ YOGA 700 มากที่สุด เพราะนอกจากการพกพาที่สะดวกสบายแล้ว สเปกที่ทางเลอโนโวให้มาก็เพียงพอต่อการใช้งานในรูปแบบดังกล่าวแล้ว

batttest-y700

สุดท้ายกับการทดสอบแบตเตอรีด้วย PC Mark 8 ชุดทดสอบ Home Accelerated 3.0 (ทดสอบโดยเปิดหน้าจอตลอดเวลาและการทดสอบจะเน้นเรื่องการใช้งานทั่วไป เช่น ตกแต่งภาพ เข้าเว็บบราวเซอร์ พิมพ์งาน เป็นต้น)

Lenovo YOGA 700 สามารถทำเวลาได้ 3 ชั่วโมง 32 นาที
และเมื่อคำนวณเป็นเวลาใช้งานทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 6-7 ชั่วโมง

สรุป

4 จุดขายหลักของ Lenovo YOGA 700 คือ มีการ์ดจอแยก, หน่วยเก็บข้อมูล SSD 256GB, หน้าจอสัมผัสพร้อมมัลติโหมด 360 องศา 4 รูปแบบและหน้าจอ FullHD 1080p

ทั้งหมดเมื่อเทียบกับราคาค่าตัว 39,900 บาท ยอมรับว่าหลายส่วนมีการปรับปรุงให้ลงตัวกว่ารุ่นก่อนหน้าอย่างมาก มัลติโหมดใช้งานได้น่าสนใจขึ้นจากการมาของ Windows 10 รวมถึงประสิทธิภาพที่เมื่อเทียบกับขนาด ความบาง และน้ำหนักแล้วถือว่าเลอโนโวจัดสเปกมาได้ลงตัวเหมาะแก่ผู้ใช้ยุคใหม่ โดยเฉพาะนักธุรกิจหรือคนทำงานที่ต้องพกพาโน้ตบุ๊กไปนำเสนองานตามสถานที่ต่างๆบ่อยครั้ง YOGA 700 ที่มาพร้อมหน้าจอพับได้ 360 องศา ถือเป็นอาวุธคู่กายที่ยอดเยี่ยมอีกหนึ่งรุ่นที่ดูดีและมีรูปแบบการใช้งานที่สร้างสรรค์สุดในตลาดตอนนี้

(บทความโฆษณา)

Gallery

]]>
Review : Lenovo Phab Plus จอใหญ่ 6.8 นิ้ว ราคาหมื่นต้น https://cyberbiz.mgronline.com/lenovo-phab-plus-review/ Mon, 09 Nov 2015 04:45:12 +0000 http://www.cyberbiz.in.th/?p=18889

IMG_0842

แม้ว่าปัจจุบันเลอโนโวจะแบ่งธุรกิจโทรศัพท์มือถือ แยกออกมาจากฝั่งของพีซีแล้วแต่ก็ยังมีบางผลิตภัณฑ์ที่อยู่คาบเกี่ยวระหว่างการเป็นสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต คือแฟ็บเล็ต ที่ยังถูกทำตลาดโดยฝั่งธุรกิจพีซี เพราะมองว่าเป็นเครื่องที่มีขนาดจอใหญ่กว่าสมาร์ทโฟนทั่วไป

Lenovo Phab Plus จึงถือเป็นแฟ็บเล็ตที่เกิดขึ้นมาอยู่ระหว่างการเป็นสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ด้วยขนาดหน้าจอที่ใหญ่ถึง 6.8 นิ้ว ทำให้เหมาะกับการใช้งานในด้านการรับชมความบันเทิงบนหน้าจอขนาดใหญ่ ที่ไม่ถึงขั้นของแท็บเล็ตเพื่อให้พกพาได้ง่าย

จุดเด่นหลักของ Phab Plus นอกจากขนาดหน้าจอระดับ Full HD แล้ว ก็จะมีในส่วนของตัวเครื่องที่ใช้วัสดุเป็นโลหะ ระบบเสียงแบบ Dolby Atmos รวมถึงการเพิ่มฟังก์ชันอย่างการใช้งานด้วยมือเดียว และกล้องถ่ายภาพหลังที่ความละเอียด 13 ล้านพิกเซล

การออกแบบ

IMG_0847

ถ้าจำกันได้ก่อนหน้านี้เลอโนโว เคยออกสมาร์ทโฟนมที่มีรูปทรงใกล้เคียงกับ Phab Plus ในรุ่น S90 ซึ่งถ้ามองแล้วก็ถือว่าเป็นการนำดีไซน์ของไอโฟนมาใช้งาน เพราะด้วยรูปลักษณ์ทั้งแบบจะเหมือนกับ iPhone 6 Plus ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นนั่นเอง ด้วยการใช้วัสดุที่เป็นอะลูมิเนียมมีสีให้เลือกด้วยกัน 3 สี คือ ทอง เงิน และเทา ขนาดรอบตัวของ Phab Plus จะอยู่ที่ 188.6 x 96.6 x 7.6 มม. น้ำหนัก 220 กรัม

IMG_0839

ด้านหน้าจะมากับจอขนาด 6.8 นิ้ว ความละเอียด Full HD (1280 x 1080 พิกเซล) โดยทางเลอโนโวระบุว่าเป็นจอแบบ Retina ความละเอียด 368 ppi ส่วนบนหน้าจอจะมีลำโพงสนทนา และกล้องหน้าความละเอียด 5 ล้านพิกเซล ขณะที่ปุ่มกดสั่งงานด้านล่างก็จะอยู่บนจอสัมผัสทั้งหมด

IMG_0840ด้านหลังบริเวณบนจะมีการเจาะช่องลำโพงเป็นแนวยาว ซึ่งถือเป็นจุดที่สร้างความต่างระหว่างเลอโนโวกับไอโฟน โดยมีกล้องความละเอียด 13 ล้านพิกเซล พร้อมไฟแฟลชแบบ 2 โทนสี กับมีสัญลักษณ์ lenovo ตรงกลางเครื่อง พื้นที่ๆเหลือถูกปล่อยว่างไว้ แต่จะมีแถบรับสัญญาณคาดผ่านตัวเครื่องด้วย ภายในจะมีแบตเตอรีขนาด 3,500 mAh ที่ไม่สามารถถอดเปลี่ยนได้

IMG_0855IMG_0853

ด้านซ้ายจะมีช่องสำหรับใส่ซิมการ์ด และไมโครเอสดีการ์ด เพียงแต่จะต้องเลือกใส่เป็น นาโนซิมการ์ด พร้อมกับ ไมโครซิมการ์ด หรือไมโครเอสดีการ์ด กับไมโครซิมการ์ด ดังนั้นถ้าใส่ไมโครเอสดีการ์ดก็จะใช้งานได้แบบซิมเดียว ด้านขวาเป็นปุ่มปรับระดับเสียง และปุ่มเปิดปิดเครื่อง

IMG_0852

ด้านบนมีเพียงช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม. ด้านล่าง – เป็นพอร์ตไมโครยูเอสบี ไมโครโฟนสนทนา และเหมือนเป็นรูน็อต

สเปก

s14

สำหรับสเปกภายในของ Lenovo Phab Plus จะมากับหน่วยประมวลผล Qualcomm Snapdragon 615 ที่เป็น Octa Core 1.5 GHz 64 บิต RAM 2GB พื้นที่เก็บข้อมูล 64 GB ใส่ไมโครเอสดีการ์ดเพิ่มได้สูงสุด 64 GB ทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 5.0 (Lollipop)

ด้านการเชื่อมต่อรองรับการใช้งาน 2 ซิม (แทนช่องไมโครเอสดีการ์ด) โดยซิมหลักสามารถใช้งาน 3G 4G ได้ทุกเครือข่าย ส่วนซิมที่ 2 จะสแตนบายบนระบบ 2G ไวไฟมาตรฐาน 802.11 a/b/g/n/ac บลูทูธ 4.0 GPS และวิทยุFM แต่ไม่รองรับ NFC

ฟีเจอร์เด่น

IMG_0865

ฟีเจอร์หลักที่น่าสนใจใน Phab Plus คือโหมดการใช้งานมือเดียว โดยผู้ใช้จำเป็นต้องเข้าไปเปิดค่าการใช้งาน Screen Shrink ก่อน เมื่อเปิดแล้ว จะทำให้สามารถวาดสัญลักษณ์ตัว C บนหน้าจอ ขนาดหน้าจอก็จะเล็กลงมาให้สามารถใช้งานด้วยมือข้างเดียว โดยผู้ใช้สามารถเอียงซ้ายขวา เพื่อให้จออยู่ติดขอบฝั่งที่ถนัด

s01

หรือจะเลือกได้ว่าจะให้อยู่บริเวณบน กลาง ล่าง ของหน้าจอ ถัดมาคือฟังก์ชันการปลุกหน้าจอด้วยการกดจอ 2 ครั้ง และการสั่นเครื่องเพื่อปิดหน้าจอ โหมดคีย์บอร์ดสำหรับใช้งานมือเดียว และปุ่มช่วยสั่งงาน ที่ช่วยอำนวยความสะดวกกรณีที่ใช้งานด้วยมือข้างเดียวนั่นเอง

s02

ต่อมาคือการชูในเรื่องของระบบเสียง Dolby Atmos ที่ผู้ใช้สามารถเข้าไปเลือกตามโหมดที่ใช้งานได้ ไม่ว่าจะเป็นดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม นอกจากนี้ ผู้ใช้ที่มีความรู้ในการตั้งเสียงยังสามารถเลือกเข้าไปปรับ Equalizer ให้ได้ตามที่ต้องการเพิ่มเข้าไปอีก

s03

ขณะที่ตัวหน้าจอหลัก สังเกตได้จากพื้นหลังจะมีการใช้ภาพลวดลายใกล้เคียงกับปลากัดเพื่อชูถึงรายละเอียดในการแสดงผลของหน้าจอ โดยรวมแล้วหน้าจอหลักจะมีไอค่อนลัด 5 ปุ่มที่แถบล่างสุดคือโทรศัพท์ กล้อง เรียกดูแอปทั้งหมด ข้อความ และเว็บเบราว์เซอร์ ในขณะที่ผู้ใช้สามารถนำวิตเจ็ตมาใส่หน้าจอได้ตามปกติ

เมื่อลากแถบแจ้งเตือนลงมา จะพบกับนาฬิกาบอกวัน เวลาที่มุมซ้ายบน มุมขวาบนแสดงสถานะแบต และทางลัดเข้าสู่การตั้งค่าหลัก โดยในหน้าจอนี้ผู้ใช้สามารถเลือกปรับความสว่างหน้าจอ และตั้งค่าด่วนอย่างการเปิดปิด การใช้งานไวไฟ บลูทูธ โหมดเครื่องบิน หมุนหน้าจอ พิกัด สลับซิมการ์ด ดาต้า และโหมดใช้งานมือเดียวได้

ส่วนปุ่ม Recent Apps ที่ไว้ใช้สลับการใช้งานของแต่ละแอป ยังไม่มีการเพิ่มปุ่มเคลียแอปทั้งหมดเข้ามา ทำให้ถ้าต้องการปิดการใช้งานจำเป็นต้องเลื่อนไปทีละหน้าต่างแทน

s04

เข้ามาดูที่หน้ารวมแอปพลิเคชัน ก็จะเห็นแอปไว้ใช้งานทั่วๆไปมาครบ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคิดเลข ปฏิทิน นาฬิกา อีเมล วิทยุ สแกนไวรัส เครื่องเล่นเพลง ที่อัดเสียง เมื่อรวมกับบริการต่างๆของกูเกิลเข้าไปไม่ว่าจะเป็น เว็บเบราว์เซอร์ จีเมล กูเกิลพลัส กูเกิลแฮงเอาท์ และยูทูป ก็ถือว่าพอกับการใช้งานเบื้องต้นแล้ว

นอกจากนี้ ยังมีการใส่แอปที่เป็นการแนะนำฟังก์ชันต่างๆของเครื่องเข้ามาด้วย เมื่อเปิดแล้วจะแสดงผลเป็นวิดีโอเคลื่อนไหว แนะนำการใช้งานฟีเจอร์ที่น่าสนใจของ Phab Plus

s05

เข้ามาถึงส่วนของการตั้งค่า รวมๆแล้วจะแบ่งออกเป็นการตั้งค่าการเชื่อมต่อ ตัวเครื่อง บุคคล และระบบ โดยที่น่าสนใจคือระบบการใช้งาน 2 ซิม ที่ผู้ใช้สามารถเข้าไปเลือกเปิดปิด การทำงานซิมได้ สลับการใช้งานโทรศัพท์ ข้อความ และซิมที่ต่อเน็ตได้ เพียงแต่เมื่อเลือกซิมหลักแล้ว อีกซิมจะเข้าสู่โหมดสแตนบาย 2G

s06

โหมดการใช้งานกล้องของ Phab Plus ยังถือว่าไม่ได้มีจุดเด่นที่ชัดเจน เหมือนในรุ่นอย่าง Vibe Shot กล่าวคือตัวอินเตอร์เฟสจะเน้นการใช้งานแบบอัตโนมัติเป็นหลัก สามารถปรับโหมดถ่ายภาพได้มาไอค่อนลัดที่มุมขวาบน หรือถ้าต้องการเข้าไปตั้งค่าอื่นๆก็จะมีให้เลือกอย่าง สมดุลแสงขาว ระบบกันสั่น โหมดหน้าสวย เสียงชัตเตอร์ ระบบตรวจจับใบหน้าเป็นต้น

s07

การใช้งานโทรศัพท์ ยังมาพร้อมระบบเดารายชื่อจากเลขหมายหรือชื่อที่พิมพ์ไป โดยสามารถตั้งได้ว่าจะให้ซิมใดใช้งานสำหรับโทรศัพท์เป็นหลัก เมือเข้าสู่หน้าจอสนทนาจะมีไอค่อนลัดสำหรับเปิดลำโพง ปิดเสียง เรียกปุ่มกด พักสาย เพิ่มสาย บันทึกเสียงได้ ส่วนหน้าจอสายเรียกเข้าจะให้เลื่อนปุ่มรับสาย ตัดสาย และส่งข้อความกลับ

s08

คีย์บอร์ดที่แถมมาให้กับตัวเครื่อง Phab Plus รองรับการใช้งานภาษาไทยอยู่แล้ว ทำการสลับภาษาด้วยการกดปุ่มลูกโลก สามารถใช้งานได้ทั้งแนวตั้ง และแนวนอน ซึ่งด้วยขนาดหน้าจอแล้ว ทำให้ปุ่มกดที่ได้มีขนาดใหญ่ ง่ายต่อการพิมพ์

s09

ในแง่ของการใช้งานทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานเว็บไซต์ จากตัวจอที่มีขนาดใหญ่ 6.8 นิ้ว แน่นอนว่าทำให้สามารถใช้ในกาใช้งานได้ดีขึ้น รวมถึงการรับชมคลิปวิดีโอ ดูยูทูปได้เต็มตามากยิ่งขึ้น แต่ก็แลกมาด้วยความหนักของตัวเครื่อง กับความใหญ่ที่ทำให้ไม่สามารถถือใช้งานด้วยมือข้างเดียวเป็นเวลานานๆได้

s10

สุดท้ายแอปที่แถมมาให้สำหรับผู้ใช้งานเลอโนโว คือ Sync it เป็นแอปใช้สำรองข้อมูลรายชื่อผู้ติดต่อ ขึ้นไปเก็บไว้บนระบบคลาวด์ หรือจะเลือกสำรองข้อมูลไว้ในเอสดีการ์ดก็ได้ ส่วน Share it เป็นแอปในการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องสมาร์ทโฟนด้วยกัน แต่ต้องทำการติดตั้งแอปไว้ทั้งคู่ ภายในตัวเครื่องยังมีวิทยุFM มาให้ใช้งานด้วย

ทดสอบประสิทธิภาพ

s11

มาถึงส่วนของผลการทดสอบ ผ่านโปรแกรมทดสอบประสิทธิภาพบนแอนดรอยด์อย่าง Antutu 32 bit ได้คะแนน 32,498 คะแนน 64 bit 32,243 คะแนน และ Quadrant Standart 20,954 คะแนน ตามลำดับ หน้าจอรองรับการสัมผัส 5 จุดพร้อมกัน

s12

ทดสอบการใช้งาน HTML 5 ผ่าน Vellamo จากโครมเบราว์เซอร์ 2,083 คะแนน เว็บเบราว์เซอร์ได้ 1,578 คะแนน ส่วนประสิทธิภาพตัวเครื่องได้ (Metal) 1,014 คะแนน Multicore 1,488 คะแนน คะแนน Geek Bench 3 Single-Core 645 Multi-Core 2,432 คะแนน

ระยะเวลาการใช้งานบนแบตเตอรีต่อเนื่องอยู่ที่ 6 ชั่วโมง 6 นาที 50 วินาที คิดเป็นคะแนนของ Geekbench 3 ได้ 2,446 คะแนน

s13

ขณะที่การทดสอบด้วยโปรแกรม PCMark ในส่วนของ Work Performance ได้ 3,412 คะแนน 3D Mark ตัว Sling shot ES3.0 ได้ 101 คะแนน Ice Storm Unlimited ได้ 7,609 คะแนน Ice Storm Extreme 5,346 คะแนน และ Ice Storm 8,810 คะแนน

ส่วน Passmark PerformanceTest Mobile ได้คะแนน System 4,570 คะแนน CPU 86,871 คะแนน Disk 24,001 คะแนน Memory 4,560 คะแนน 2D Graphics 3,103 คะแนน และ 3D Graphics 1,184 คะแนน

สรุป

IMG_0863

โดยรวมแล้วถ้าต้องการสมาร์ทโฟนที่มีขนาดหน้าจอใหญ่กว่าปกติ เพื่อใช้งานทางด้านความบันเทิง Phab Plus ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในระดับราคา 11,990 บาท เพราะถ้าเทียบในระดับราคาเดียวกันจะหาเครื่องที่มีขนาดหน้าจอใหญ่เท่านี้ และใช้วัสดุแบบเดียวก็ถือว่าหาได้ยาก

อย่างไรก็ตาม Phab Plus อาจจะไม่ใช่แฟ็บเล็ตที่พกพา หรือใช้งานโทรศัพท์ได้ง่ายนัก เพราะตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ ทำให้การพกพาได้ลำบาก โดยเฉพาะผู้ชายที่นำเครื่องสมาร์ทโฟนใส่กระเป๋ากางเกง แต่ถ้าปกติไลฟ์สไตล์จะถือใช้งาน หรือใส่กระเป๋าเป็นหลักก็ถือว่าแลกกับความสะดวกในการใช้งาน

อีกจุดที่น่าสนใจคือการที่เครื่องรองรับการเชื่อมต่อ 4G รวมถึงสามารถเลือกได้ว่าจะใช้งานแบบ 2 ซิม (ซิมที่ 2 ต้องใช้งานดีแทค เพราะเป็นรายเดียวที่ยังให้บริการ 2G อยู่ในปัจจุบัน) หรือใส่ไมโครเอสดีการ์ดแทน แต่ก็น่าเสียดายที่ตัวเครื่องไม่ได้รองรับการใช้งาน NFC ด้วย

ข้อดี

แฟ็บเล็ตหน้าจอ 6.8 นิ้ว Full HD

รองรับการเชื่อมต่อ 4G

ใส่ฟีเจอร์สำหรับใช้งานมือเดียวมาให้ด้วย

การดีไซน์ และวัสดุ ดูน่าใช้งาน เมื่อเทียบกับราคา 11,990 บาท

ข้อสังเกต

ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ อาจจะไม่เหมาะกับการพกพา

คุณภาพกล้องยังไม่ดีเท่าที่ควร

ไม่รองรับ NFC

Gallery

]]>