mesh wifi – CBIZ Reviews – MGR Online https://cyberbiz.mgronline.com เว็บไซต์รีวิวอุปกรณ์ ไอที ไฮเทค เป็นส่วนหนึ่งของผู้จัดการออนไลน์ Mon, 11 May 2020 04:16:48 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.0 Review : Linksys Velop MX5300 ยกระดับเครือข่ายไร้สายในบ้านด้วย WiFi 6 https://cyberbiz.mgronline.com/review-linksys-velop-mx5300/ Mon, 11 May 2020 04:16:48 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=32808

ก่อนหน้านี้ Cyberbiz เคยแนะนำทั้ง Linksys Velop Tri-Band และเกมเมอร์เราเตอร์  MR900X ที่รองรับการกระจายสัญญาณแบบ Mesh WiFi กันมาอย่างต่อเนื่อง แต่ทั้ง 2 รุ่นจะมากับเทคโนโลยี WiFi 5 ทำให้ยังมีข้อจำกัดในการกระจายสัญญาณบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอยู่

ประกอบกับการที่ ISP ในบ้านเราเพิ่มความเร็วในการเชื่อมต่อ 1 Gbps เข้ามาเป็นมาตรฐาน การที่จะใช้งานสัญญาณอินเทอร์เน็ตไร้สายภายในบ้านให้ได้ความเร็วตามแพ็กเกจ ก็จะต้องใช้งานคู่กับเราเตอร์ที่มีประสิทธิภาพด้วย โดยเฉพาะเทคโนโลยี WiFi 6 ที่อุปกรณ์ลูกข่าย (ดีไวซ์) รุ่นใหม่ๆ รองรับ

Linksys Velop MX5300 ถือเป็น Mesh WiFi ที่รองรับการกระจายสัญญาณ WiFi 6 ในระดับไฮเอนด์รุ่นแรกๆ ที่เข้ามาทำตลาดในประเทศไทย ซึ่งชูจุดเด่นในเรื่องของการกระจายสัญญาณที่ครอบคลุม และความนิ่งของสัญญาณให้ใช้งานกัน

ข้อดี

  • เทคโนโลยี WiFi 6 ช่วยให้ส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น
  • รองรับ Mesh WiFi สามารถใช้กับอุปกรณ์เก่าได้
  • ดีไซน์สวยงาม มีพอร์ตเชื่อมต่อ LAN ให้มากขึ้น

ข้อสังเกต

  • ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ขึ้น เมื่อเทียบกับ Velop รุ่นเดิม
  • การกระจายสัญญาณจะเน้นครอบคลุม ไม่ได้เน้นความเร็วสูงสุด
  • ราคาค่อนข้างสูง

WiFi 6 ส่งข้อมูลความเร็วสูง

การอัปเกรดขึ้นมาเป็น Velop MX5300 ของ Linksys ในครั้งนี้ จะเน้นการเพิ่มความเร็วในการเชื่อมต่อของเครือข่ายภายในบ้าน โดยเฉพาะการทำงานร่วมกับเน็ตบ้านความเร็วสูงระดับ 1 Gbps เพราะตัว MX5300 สามารถส่งต่อข้อมูลในบ้านได้ความเร็วสูงถึง 5.3 Gbps

เพียงแต่ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า ในการส่งข้อมูลนั้น จะมีทั้งการส่งข้อมูลไป และกลับ ทำให้จากแบนด์วิดท์ที่ได้ 5.3 Gbps เวลาใช้งานจริงก็จะแบ่งสัดส่วนออกเป็นการส่งข้อมูลบนคลื่น 2.4GHz 1147 Mbps 5GHz 2402 Mbps และ 5GHz คลื่นที่ 2 สำหรับ Mesh อีก 1733 Mbps

ดังนั้นเวลาใช้งาน ความเร็วในการใช้งานอินเทอร์เน็ตสูงสุดที่ทำได้ ถ้าเป็นอุปกรณ์ที่รองรับคลื่น 5GHz บน WiFi 6 จะทำความเร็วได้เต็มสปีดที่เกือบๆ 1 Gbps ส่วนอุปกรณ์ที่รองรับ WiFi 5 ก็จะลงมาอยู่สูงสุดราว 850 Mbps ตามปกติ

การที่ MX5300 รองรับทั้งคลื่น 2.4 GHz และ 5GHz อีก 2 คลื่น จะมาช่วยให้เวลาใช้เป็น Mesh WiFi ร่วมกับ Velop รุ่นอื่น จะสามารถส่งสัญญาณ 5 GHz ไปให้ Velop เครื่องลูกได้ โดยไม่รบกวนกับคลื่นหลักที่ใช้งาน ซึ่งจะช่วยให้เครื่องอื่นๆ ได้ความเร็วที่เพิ่มขึ้นไปด้วย

ข้อดีอีกอย่างของ MX5300 คือรองรับเครื่องลูกข่ายได้มากขึ้น โดยเฉพาะในยุคของอุปกรณ์ IoT ที่เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเพื่อสั่งงานได้ ทำให้การที่มีเครือข่ายที่รองรับก็จะช่วยให้การใช้งาน IoT ภายในบ้านสะดวกขึ้นด้วย

ทีมงานทดลองเชื่อมต่อ MX5300 เข้ากับ AIS Fibre ที่ให้ความเร็ว 1 Gbps / 200 Mbps ผ่านการเชื่อมต่อสาย LAN เข้ากับเราเตอร์หลัก เพื่อลดขั้นตอนในการติดตั้ง และทดสอบใช้งานพบว่า MX5300 สามารถรับสัญญาณอินเทอร์เน็ตผ่านสาย LAN มาได้ราว 935 Mbps

เมื่อทดลองนำสมาร์ทโฟนที่รองรับ WiFi 6 อย่าง Samsung Galaxy S20 Ultra มาเชื่อมต่อ ก็จะได้ความเร็วที่ใกล้เคียงกันอยู่ในช่วง 850-900 Mbps ส่วนอุปกรณ์ที่เป็น WiFi 5 ก็จะลดลงอยู่ที่ราว 650-700 Mbps ซึ่งถือเป็นการทดสอบความเร็วสูงสุดในการเชื่อมต่อ

ถัดมา ทดลองเชื่อมต่อใช้งานในจุดที่ไกลขึ้น จากเดิมที่ Velop รุ่นแรก ใช้งานได้ความเร็วประมาณ 200 – 300 Mbps พอเปลี่ยนมาเป็น MX5300 ความเร็วที่ได้เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ราว 500-600 Mbps ซึ่งถือว่าให้สัญญาณที่แรง และครอบคลุมพื้นที่ได้มากขึ้น

ดังนั้น สำหรับบ้านหลังใหญ่ๆ ที่จากเดิมอาจจะต้องใช้ Velop 3 จุดให้ครอบคลุมทั่วทั้งบ้าน พอมาเป็นรุ่นใหม่อย่าง MX5300 การวางจุดกระจายสัญญาณดีๆ สัก 2 จุด ก็เชื่อว่าเพียงพอใช้งานให้ครอบคลุมในระดับที่ใช้งานได้แบบไม่หงุดหงิดแล้ว

ตัวเครื่องใหญ่ขึ้น แต่พอร์ตก็ครบขึ้นด้วย

มาถึงในส่วนของดีไซน์ตัวเครื่อง Velop MX5300 ยังมากับดีไซน์ที่คล้ายคลึงกับ Velop รุ่นเดิม เพียงแต่มีขนาดที่ใหญ่ขึ้น เนื่องจากมีการเพิ่มเสาสัญญาณภายในเป็น 13 เสา เพื่อขยายกำลังส่งให้ไกลมากขึ้น

โดยขนาดของ MX5300 จะอยู่ที่ 110 x 110 x 244 มิลลิเมตร น้ำหนัก 1.59 กิโลกรัม ที่มีการสกรีนสัญลักษณ์ Linksys อยู่ด้านหน้า ข้างบนจะเป็นช่องระบายอากาศ และไฟแสดงสถานะในการเชื่อมต่อ

ด้านหลัง จะเป็นจุดรวมพอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ ไล่ตั้งแต่ USB 3.0 พอร์ต Gigabit LAN 4 พอร์ต และอีก 1 พอร์ตสำหรับรับสัญญาณอินเทอร์เน็ต (WAN) กับช่องเสียบอะเดปเตอร์ ซึ่งภายในกล่องที่ให้มาจะแถมสาย LAN 1 เมตร มาให้ด้วย

ใต้เครื่อง จะมีปุ่มเปิดปิดเครื่อง พร้อมปุ่ม WPS และปุ่ม Reset มาให้กดใช้เวลาต้องการล้างเครื่อง หรือการเชื่อมต่อแบบรวดเร็ว โดยบริเวณขอบๆ จะมีการเว้นช่องไว้เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกขึ้น

ติดตั้งใช้งานง่าย

อีกจุดเด่นที่สำคัญของ Linksys Velop คือการที่ผู้ใช้สามารถซื้อมาติดตั้งได้ด้วยตัวเอง และมีขั้นตอนในการติดตั้งที่ง่ายมาก โดยสามารถเลือกได้ว่าจะใช้งานร่วมกับเราเตอร์เก่าที่มีอยู่เชื่อมต่อ LAN เข้ากับ Velop เพื่อใช้งานได้เลย

หรือจะเลือกใช้ Velop MX5300 แทนเราเตอร์เครื่องที่ ISP ให้มา ซึ่งถ้าเป็นขั้นตอนนี้จะต้องทำการประสานกับทาง Call Center ของแต่ละผู้ให้บริการเพื่อขอรหัสผ่าน และทำ Bridge Mode เพื่อให้ใช้ Velop ได้แทนเราเตอร์ ซึ่งอาจจะยุ่งยากขึ้นเล็กน้อย แต่ก็แลกกับการที่ไม่ต้องต่อเราเตอร์ 2 เครื่อง

ขั้นตอนในการติดตั้งก็จะเริ่มจากดาวน์โหลดแอป Linksys มาติดตั้งไว้บนสมาร์ทโฟน เปิดแอปขึ้นมาจะให้ทำการลงทะเบียน และทำตามขั้นตอนในการตั้งค่าไปเรื่อยๆ จนเสร็จแล้วไฟสัญลักษณ์ที่แสดงผลจะขึ้นเป็นสีฟ้า

เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วสามารถใช้แอปพลิเคชันเป็น Dashboard ดูข้อมูลการเชื่อมต่อ และตั้งค่าเพิ่มเติมได้ด้วยไม่ว่าจะเป็นดูว่ามีอุปกรณ์ใดเชื่อมต่ออยู่บ้าน จัดความสำคัญของอุปกรณ์ในการจัดสรรแบนด์วิดท์ จนถึงการเปิดโหมดผู้ปกครอง และตั้งเครือข่ายสำหรับแขกที่มาที่บ้าน

สำหรับรายละเอียดการตั้งค่าต่างๆ สามารถย้อนกลับไปดูได้ในรีวิว Linksys MR900X ที่อธิบายการทำงานของแอป Linksys ไว้อย่างละเอียดแล้ว และทำการเชื่อมต่อระบบ Mesh WiFi กับอุปกรณ์ Velop รุ่นอื่นไว้ด้วย

ราคาจำหน่าย Linksys Velop MX5300

สำหรับราคาจำหน่ายของ MX5300 จะมีขายทั้งแบบ 1 ตัว และแบบเป็นแพ็กให้เลือกประกอบด้วย Linksys Velop MX5300 1 โหนด ราคา 14,990 บาท 2 โหนด 24,990 บาท และ 3 โหนด 34,990 บาท

และยังมีการจัดแพ็กคู่ระหว่าง MX5300 คู่กับ Velop Tri-Band 3 โหนด ราคา 19,990 บาท เพิ่มเติมสำหรับผู้ที่เน้นสัญญาณให้ครอบคลุมบ้านขนาดใหญ่มากๆ

สรุป

แม้ว่าราคาของ Linksys Velop MX5300 จะเริ่มต้นที่ 14,990 บาท แต่ถ้ามองถึงการใช้งานในระยะยาว กับอุปกรณ์ที่รองรับ WiFi 6 และสามารถขยาย Mesh เพิ่มได้ในอนาคต ก็ถือเป็นการลงทุนที่น่าสนใจ

โดยเฉพาะบ้านที่มีพื้นที่กว้างๆ อาศัยอยู่กันเป็นครอบครัวขนาดใหญ่ และเจอปัญหาในเรื่องของสัญญาณ WiFi ไม่ครอบคลุมทั่วบ้าน ที่สำคัญคือเรื่องของการติดตั้งใช้งานที่ง่ายที่สามารถติดตั้งใช้งานได้ด้วยตัวเอง

อย่างไรก็ตาม ถ้าการใช้งานในปัจจุบันยังไม่ได้มีอุปกรณ์ที่รองรับ WiFi 6 มาใช้งานมากนัก เครื่องรุ่นเดิมอย่าง Velop Tri-Band ที่ปรับลดราคาลงมาก็ถือเป็นรุ่นที่น่าสนใจเช่นเดียวกัน

Gallery

]]>
Review : Linksys Velop สร้างเครือข่าย Wi-Fi ที่คลุมทุกพื้นที่ในบ้าน https://cyberbiz.mgronline.com/review-linksys-velop/ Tue, 11 Sep 2018 20:27:43 +0000 https://cyberbiz.mgronline.com/?p=29230

ในยุคที่อินเทอร์เน็ตเริ่มเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ปัญหาสัญญาณ Wi-Fi อ่อน หรือได้ความเร็วไม่เต็มที่  เมื่อต้องใช้งานภายในบ้าน กลายเป็นเรื่องน่าปวดหัว เพราะเมื่อใช้งานแล้วรู้สึกช้า ผู้ใช้ส่วนใหญ่จะคิดไปว่าเป็นที่ผู้ให้บริการ หรือ ISP แต่ในความเป็นจริง การที่สัญญาณ Wi-Fi อ่อนกลายเป็นจุดหลักที่ทำให้ใช้งานแล้วช้ามากกว่า

เมื่อเป็นเช่นนั้น ในยุคปัจจุบันจึงเริ่มมีการนำระบบ Mesh Wi-Fi เข้ามาใช้งานกัน โดยรูปแบบการใช้งานคือจะเป็นอุปกรณ์กระจายสัญญาณ Wi-Fi ที่สามารถเชื่อมต่อหลายๆ จุดเข้าด้วยกัน เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ใช้งานทั่วบ้าน หรือภายในอาคารต่างๆ

Linksys Velop เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมสำหรับการทำ Mesh- Wi-Fi ภายในบ้าน ด้วยการที่ Velop 3 ตัว สามารถครอบคลุมพื้นที่ใช้งานได้ถึง 550 ตารางเมตร เมื่อรวมกับการตั้งค่าใช้งานที่ง่ายสะดวก จึงทำให้กลายเป็น 1 ในแบรนด์ที่ได้รับความนิยม

เพียงแต่ว่าด้วยระดับราคาที่ค่อนข้างสูง แม้จะมีให้เลือกตั้งแต่ตัวกระจายสัญญาณ 1 ตัวเริ่มต้นที่ 7,990 บาท 2 ตัว 12,990 บาท และ 3 ตัว ที่นำมารีวิวคือ 17,990 บาท ทำให้อาจจะตัดสินใจค่อนข้างยากในการเลือกซื้อมาใช้งาน

ข้อดี

ระบบ Mesh Wi-Fi ช่วยกระจายสัญญาณ Wi-Fi ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ในบ้าน

เทคโนโลยี Velop ที่มาช่วยในการจัดการเครือข่าย

ส่งต่อข้อมูลแบบ Tri-Band ทำให้ใช้งานภายในเครือข่ายได้เต็มประสิทธิภาพ

รองรับความเร็วระดับ 1 Gbps

ข้อสังเกต

ราคาค่อนข้างสูง

เหมาะกับใช้งานในบ้านขนาดใหญ่

ควรใช้กับเน็ตความเร็วเกิน 100 Mbps ขึ้นไป

ตั้งค่าง่ายควบคุมผ่านแอปฯ

สำหรับอุปกรณ์ที่ให้มาในกล่อง Velop 1 ชุด จะประกอบไปด้วยตัวกระจายสัญญาณ 3 ตัว พร้อมกับอะเดปเตอร์ ที่มีหัวเสียบมาให้เลือกหลากหลายตามรูปแบบของปลั้กที่ใช้งาน พร้อมกับสาย LAN 1 เส้น และคู่มือที่เป็นกระดาษ 1 ใบเท่านั้น

โดยวิธีการเริ่มติดตั้งใช้งานจะเริ่มจากนำ Velop เข้าไปเชื่อมต่อกับเราเตอร์ที่ใช้งานอยู่ผ่านสาย LAN หลังจากนั้นเปิดเครื่องรอให้ไฟแสดงสถานะกระพริบเป็นสีม่วงฟ้า ในขณะเดียวกันบนสมาร์ทโฟนก็ให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Linksys มาติดตั้งไว้

เมื่อเตรียมการเรียบร้อยก็เข้าสู่กระบวนการตั้งค่า ด้วยการเปิดแอปพลิเคชันขึ้นมา ทำตามขั้นตอนเริ่มจากการเลือกว่าจะติดตั้ง A Velop System จากนั้นในแอป ก็จะสอนวิธีการเชื่อมต่อ โดยจะมีให้เลือกว่าใช้ Velop เป็นตัวกระจายสัญญาณเฉยๆ หรือใช้เป็นโมเด็มด้วย

ในกรณีที่จะใช้งาน Velop เป็นโมเด็มด้วย ผู้ใช้อาจจะต้องมีการติดต่อกับทาง ISP เพิ่มเติม เพื่อให้เข้ามาตั้งค่าการเชื่อมต่อต่างๆให้ แต่ถ้าใช้การแชร์สัญญาณจากเราเตอร์เครื่องเก่า ก็สามารถเสียบสาย LAN เพื่อเชื่อมต่อได้เลย

เมื่อตัว Velop ขึ้นไฟแสดงสถานะเป็นสีม่วง ก็กดติดตั้งได้เลย หลังจากนั้นแอปจะทำการตั้งค่าเราเตอร์ให้อัตโนมัติ ถ้าต้องการเพิ่มจุด Velop เพิ่มก็สามารถกด Add Another Node ต่อไปได้ทันที เมื่อทำการติดตั้งครบทั้ง 3 จุดแล้ว ก็จะได้ Mesh Wi-Fi มาใช้งานในบ้านแล้ว

ต่อจากนั้น ก็เข้าสู่การตั้งค่าเชื่อมต่อทั่วไป โดยเมื่อเข้าไปในแอป Linksys จะมีหน้าจอแสดงสถานะ (Dashboard) ขึ้นมา แสดงว่าขณะนี้มีการเชื่อมต่อสัญญาณกับอินเทอร์เน็ตหรือไม่ มีอุปกรณ์เชื่อมต่อเข้ามาในเครือข่ายกี่ชิ้น

ผู้ใช้สามารถเข้าไปเลือกเปลี่ยนชื่อ Wi-Fi ตั้งรหัส เลือก Channel เพื่อไม่ให้ชนกับเครือข่ายอื่นๆได้ตามปกติ รวมถึงเปิดการใช้งาน Guest Wi-Fi ที่สามารถตั้งจำกัดความเร็วในการเชื่อมต่อ และป้องกันไม่ให้เข้าสู่เครือข่ายภายในบ้านด้วย

เช็กความเร็ว จำกัดการเข้าถึง

นอกเหนือจากการตั้งค่าเชื่อมต่อทั่วไปแล้ว อีกฟีเจอร์ที่มีมาให้ในแอป Linksys คือเรื่องของการตรวจสอบความเร็วในการเชื่อมต่อ โดยผู้ใช้สามารถกดที่เมนู Speed Check เพื่อเทสความเร็วอินเทอร์เน็ตได้ทันที ตัวแอปจะมีการซิงค์ข้อมูลกับ Speedtest.net ในการทดสอบความเร็ว

ยังมีฟีเจอร์อย่างการจำกัดการเข้าถึงของบุตรหลาย อย่างเช่นผู้ปกครองสามารถตั้งค่าได้ว่า อุปกรณ์ใดสามารถใช้เน็ตได้ในวันไหน ช่วงเวลาใดบ้าง รวมถึงบล็อกเว็บไซต์แบบเจาะจงก็สามารถทำได้ และยังสามารถตั้งความสำคัญของอุปกรณ์ (Device Prioritization)ที่จะได้แบนด์วิธในการใช้งานเน็ตได้สูงสุดด้วย

ในส่วนของการเชื่อมต่อ เมื่อกดเข้าไปดูก็จะเห็นว่ามีอุปกรณ์อะไรบ้างเชื่อมต่อกับ Velop ในจุดต่างๆ รวมถึงแสดงให้เห็นว่าเชื่อมต่อบนเครือข่าย 2.4 GHz หรือ 5 GHz หรือผ่านสาย LAN ก็จะมีการแสดงผลอย่างชัดเจน

ข้อดีอีกอย่างก็คือที่ใต้ Velop ทุกตัวจะมีช่องให้เชื่อมต่อสาย LAN ได้ 2 พอร์ต ดังนั้น ถ้าต้องการให้อินเทอร์เน็ตสเถียรที่สุด ก็สามารถใช้การเชื่อมต่อสาย LAN เข้ากับอุปกรณ์ได้เลย อย่าง Apple TV เครื่องเล่นเกม PS4 กล่อง Android TV เป็นต้น

Mesh Wi-Fi ที่คลุมทุกจุดในบ้าน

เมื่อทดลองใช้งานจริง การที่มีเครือข่าย Velop อยู่ในบ้านแล้วจะช่วยเรื่องหลักเลยคือ ปัญหาสัญญาณ Wi-Fi อ่อนในบางจุดจะหมดไป เพราะสามารถเลือกวางจุดกระจายสัญญาณได้ตามที่ต้องการ

ขณะเดียวกัน เมื่อมีการเดิน หรือย้ายจุดใช้งานตัวอุปกรณ์ก็จะเชื่อมต่อเข้ากับตัวกระจายสัญญาณที่ใกล้ที่สุด เพื่อให้สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ เพราะบางทีถ้าสัญญาณอ่อนลงเหลือ 1-2 ขีด จากความเร็วเน็ตที่ 100 Mbps อาจจะลดลงมาเหลือ 15-20 Mbps ก็เป็นได้

ที่น่าสนใจคือ ในอนาคตถ้ามีการนำอุปกรณ์ IoT ต่างๆเข้ามาใช้งานภายในบ้าน การมี Velop ก็เหมือนเป็นการช่วยสร้างเครือข่ายการเชื่อมต่อ IoT ในบ้านแบบง่ายๆอยู่แล้ว ถ้ามีแผนที่จะเปลี่ยนบ้านเป็น Smart Home ในอนาคตก็ถือเป็นการลงทุนที่ได้ใช้งานยาวๆกันไป

Gallery

]]>