Review: Asus Zenfone 2 แอนดรอยด์โฟนสุดคุ้ม

2015

558000006700403

กลายเป็นหนึ่งในสมาร์ทโฟนที่ถูกจับตามองมากที่สุด ตั้งแต่มีการเปิดตัวในช่วงต้นปีที่ผ่านมา แต่ด้วยการทิ้งระยะเวลาเกือบครึ่งปีก่อนจะนำเข้ามาวางจำหน่ายในไทย ทำให้เอซุส ต้องมีการเร่งเกมในการทำตลาดเป็นอย่างมาก เพื่อให้ Zenfone 2 กลายเป็นสมาร์ทโฟนที่ผู้บริโภครอคอย

อย่างไรก็ตาม ด้วยการที่ Zenfone 2 มีการแยกรุ่นย่อยจำหน่ายด้วยกัน ในเวลานี้ถึง 4 รุ่นด้วยกัน ทำให้ทั้งในแง่ของลูกค้า รวมไปถึงทางเอซุส และร้านค้าตัวแทนจำหน่ายเองต่างต้องมีการให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าได้สมาร์ทโฟนตรงตามรุ่นและสเปกที่ต้องการ

ประกอบกับปัญหาในการรับคลื่นความถี่ 850 MHz ที่พบว่าเครื่องที่วางจำหน่ายในประเทศไทย แม้ว่าตัวเครื่องจะรองรับ แต่ตัวเฟิร์มแวร์กลับไม่สามารถใช้งานได้ โดยขณะนี้ทางเอซุส และดีแทคในฐานะที่วางจำหน่ายร่วมกัน ก็ได้รับทราบปัญหาดังกล่าว และกำลังดำเนินการแก้ไขอยู่ ซึ่งต้องคอยดูกันว่าจะแก้ปัญหาได้ทันการณ์หรือไม่ ก่อนที่ลูกค้าที่ใช้คลื่น 850 MHz จะไม่พอใจ เครื่องไม่ตรงตามสเปก (ล่าสุดทางเอซุสมีการปล่อยอัปเดตออกมาแก้ปัญหาดังกล่าวแล้ว)

558000006700404

เบื้องต้น Zenfone 2 จะแบ่งจำหน่ายออกเป็น 4 รุ่นด้วยกันคือ

1. ZE551ML RAM 4 GB, ROM 64 GB 2.3GHz ราคา 11,990 บาท
2. ZE551ML RAM 4 GB, ROM 32 GB 2.3 GHz ราคา 9,999 บาท (จำหน่ายร่วมกับทางดีแทค และเป็นรุ่นที่นำมาทดสอบ)
3. ZE551ML RAM 2 GB, ROM 32 GB 1.8 GHz ราคา 7,990 บาท
4. ZE550ML RAM 2 GB, ROM 16 GB 1.8 GHz ราคา 6,990 บาท (รุ่นเอนทรี่จอ 720p)

การออกแบบ

558000006700407

ถ้ามองในแง่ของการออกแบบต้องยอมรับว่า ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจาก Zenfone ในรุ่นก่อนหน้ามากนัก แต่จะเน้นปรับเปลี่ยนในเรื่องของวัสดุที่ใช้ และขนาดให้เหมาะสมกับการใช้งานมากยิ่งขึ้นแทน และแน่นอนว่ามีสีให้เลือกหลากหลายด้วย

โดยขนาดรอบตัวของ Zenfone 2 จะอยู่ที่ 152.5 x 77.2 x 10.9-3.9 มิลลิมเตร น้ำหนัก 170 กรัม มีให้เลือก เทา ดำ แดง ขาว และทอง ซึ่งจะเป็นแบบเมทาลิก ในขณะที่รุ่น ZE551ML ส่วนรุ่น ZE550ML จะมีสี ดำ แดง ขาว ให้เลือก แต่จะเป็นพลาสติกแทน

ด้านหน้า – อย่างที่บอกไปว่าไม่ค่อยแตกต่างจากรุ่นก่อนหน้าอย่าง Zenfone 5 มากนัก กล่าวคือมีหน้าจอขนาด 5.5 นิ้ว ความละเอียด Full HD 1080p โดยมีกล้องหน้าความละเอียด 5 ล้านพิกเซล และช่องลำโพงสนทนาอยู่ส่วนบน โดยมีโลโก้ ASUS อยู่ระหว่างกลาง

558000006700410

ขณะที่ล่างหน้าจอในส่วนของปุ่มสัมผัสที่เป็น ย้อนกลับ ปุ่มโฮม และปุ่มเรียกดูแอปที่ใช้งานล่าสุด ยังคงคอนเซปต์เดิมคือ ไม่มีไฟเพื่อบอกตำแหน่งปุ่ม ทำให้เวลาใช้งานในที่มืดต้องใช้ความเคยชินเหมือนเช่นเดิม

558000006700405

ด้านหลัง – จะสังเกตได้ว่าในส่วนของฝาหลังจะมีความโค้ง เพื่อทำให้ขอบตัวเครื่องดูบางลง แต่ด้วยในส่วนของกล้อง และแบตเตอรี ยังต้องการพื้นที่อยู่ ทำให้บริเวณนี่จะหนากว่าส่วนอื่นของตัวเครื่อง ในจุดนี้ก็จะมีกล้องความละเอียด 13 ล้านพิกเซล ไฟแฟลขคู่ และปุ่มเพิ่ม-ลดเสียงไว้ให้ใช้งาน

ถัดลงมาเป็นโลโก้ ASUS สกรีนติดอยู่ พร้อมกับโลโก้ Intel เพื่อบอกว่าตัวเครื่องใช้หน่วยประมวลผลของอินเทลภายใน และสัญลักษณ์ Zenfone เพื่อบอกชื่อรุ่น ปิดท้ายด้วยรูลำโพงที่วางพาดเป็นแนวยาว เมื่อถอดฝาหลังออกมา ภายในมีแบตเตอรีขนาด 3,000 mAh แต่ไม่สามารถเปลี่ยนได้ และช่องใส่ซิมการ์ด 2 ช่อง กับช่องใส่ไมโครเอสดีการ์ด

ด้านซ้าย และ ด้านขวา ตัวเครื่องถูกปล่อยว่างไว้ เพราะต้องการทำให้ตัวเครื่องบาง จึงไม่มีปุ่ม และช่องใส่อะไรให้มา

558000006700413558000006700412

ด้านบน – จะมีปุ่มเปิดเครื่องสีเงินอยู่ตรงกลาง กับช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม. และไมโครโฟนตัดเสียงรบกวน ด้านล่าง – มีพอร์ตไมโครยูเอสบี และรูไมโครโฟนสนทนา

สเปก

558000006700435

สำหรับสเปกภายในของ Zenfone 2 รุ่นที่ได้มาทดสอบคือ ZE551ML ใช้หน่วยประมวลผล Intel Atom Z3580 ที่เป็นควอดคอร์ 2.3 GHz ใช้หน่วยประมวลผลภาพ PowerVR G6430 RAM 4 GB พื้นที่เก็บข้อมูลภายในตัวเครื่อง 32 GB รองรับไมโครเอสดีการ์ดสูงสุด 64 GB ทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 5.0 (Lolipop)

ในแง่ของการเชื่อมต่อตัวเครื่องรองรับการใช้งาน 2 ซิม ซิมแรก รับ 4G/3G/2G ส่วนซิมสองรับเฉพาะ 2G เท่านั้น ทั้งนี้สเปกตัวเครื่องระบุว่าใช้กับการใช้งานได้ทุกคลื่นในประเทศไทยตอนนี้ (ไม่นับกรณีเฟิร์มแวร์ไม่รองรับ) ด้านการเชื่อมต่อไวไฟรองรับบนมาตรฐาน 802.11 a/b/g/n/ac บลูทูธ 4.0 จีพีเอส และ NFC (รุ่น ZE550ML ไม่มี NFC)

ฟีเจอร์เด่น

558000006700420

ในส่วนของฟีเจอร์การใช้งานของ Zenfone 2 ต้องยอมรับว่า มีการนำอินเตอร์เฟส Zen มาครอบไว้บนแอนดรอยด์ 5.0 ทำให้ยังคงรูปแบบการใช้งานที่คล้ายคลึงกับรุ่นก่อนหน้า ทำให้ผู้ที่เคยใช้งาน Zenfone มาก่อน สามารถเปลี่ยนมาและคุ้นชินได้ทันที

อย่างไรก็ตาม ยังมีการนำส่วนของการแจ้งเตือน (Notification) ใน Lolipop มาใช้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งานแก่ผู้ใช้ กล่าวคือ ผู้ใช้สามารถปรับความสว่างหน้าจอ มีปุ่มลัดในการเปิดใช้งานไฟฉาย เคลียแรม เครื่องคิดเลข รวมไปถึงปรับตั้งค่าต่างๆมาให้ใช้งานกัน แน่นอนว่าตรงส่วนนี้ผู้ใช้สามารถปรับแต่งได้ด้วยตนเอง

อีกอย่างหนึ่งคือผู้ใช้สามารถกดค้างที่หน้าจอหลักเพื่อปรับแต่งหน้าจอได้ โดยจะมีให้เลือกทั้งเพิ่มหน้าต่าง สลับหน้าต่าง เปลี่ยนภาพพื้นหลัง เปลี่ยนรูปแบบไอค่อน เปลี่ยนเอฟเฟกต์การหมุนระหว่างหน้าต่าง เลือกธีมใช้งานเป็นต้น

 

558000006700421

โดยในส่วนของธีมผู้ใช้สามารถเข้าไปเลือกดาวน์โหลดเพิ่มเติม และปรับเปลี่ยนใช้งานได้ตามสะดวก นอกจากนี้ ในส่วนของหน้าจอหลักก็จะมี โหมดง่าย (Easy Mode) มาให้ใช้งานกัน โดยสามารถเข้าไปเปิดได้ที่หน้าการตั้งค่า การใช้งานก็จะมีไอค่อยขนาดใหญ่ให้เลือกใช้งาน เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ

558000006700423

ที่นี้มาดูกันถึงโปรแกรมเฉพาะที่เอซุสมีมาให้ เบื้องต้นทางเอซุส จะพรีโหลดมาให้และรวมเป็นโฟลเดอร์ไว้ในหน้าหลักให้ใช้งานกัน ก็จะมีตั้งแต่ What’s Next คือการแสดงตารางนัดหมาย การแจ้งเตือนต่างๆล่วงหน้า และจะมีการดึงข้อมูลพยากรณ์อากาศมาแสดงผลด้วย ถัดมาก็เป็นตัวจัดการไฟล์ ไว้จัดการไฟล์ต่างๆในตัวเครื่อง

558000006700422

ตัวพยากรณ์อากาศสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมรายชั่วโมง หรือดูล่วงหน้าก็ได้ รวมไปถึงเวลาพระอาทิตย์ขึ้นและตกด้วย นอกจากนี้ก็จะมีอย่างโปรแกรมจัดการระบบเสียง เพื่อปรับตั้งค่าเสียงให้เหมาะกับการใช้งาน และสมุดช่วยเตือน Do it Later ที่ไว้คอยบันทึกงานที่ต้องทำ เมื่อทำแล้วก็สามารถเข้ามาติ้กว่าทำเสร็จแล้วได้

558000006700441

ทีนี้ ถ้ามาดูแอปที่พรีโหลดอื่นๆให้มาในเครื่อง ก็จะมีแอปที่ใช้งานในสมาร์ทโฟนทั่วไป อย่างโทรศัพท์ ข้อความ เครื่องคิดเลข อีเมล ปฏิทิน บริการต่างๆจากกูเกิล แต่ทางเอซุส ก็จะมีการนำแอปเสริมอย่าง Clean Master ติดตั้งมาให้ด้วยเพื่อใช้ในการเคลียแรม หรือแคชต่างๆที่ค้างอยู่ในระบบเพื่อให้เครื่องทำงานได้รวดเร็วขึ้น

558000006700426

การใช้งานเว็บเบราว์เซอร์ ถือว่าตอบสนองได้เป็นอย่างดี จากขนาดหน้าจอที่ให้มา กับความละเอียด เมื่อนำมาแสดงผลเว็บไซต์ทำให้ใช้งานได้คล่องตัว ลื่นไหลดี ไม่มีการอาการสะดุดให้เห็น ดังนั้นการใช้งานท่องเว็บทั่วไปถือว่าผ่าน

558000006700425

ในส่วนของการใช้งานโทรศัพท์ เนื่องจากตัวเครื่องรองรับการใช้งาน 2 ซิม ดังนั้นเวลาใช้งานก็สามารถเลือกได้ง่ายๆว่าจะโทรผ่านซิมไหน กรณีมีสายเข้าก็จะแสดงผลบอกด้วยว่ามีการโทรเข้าที่ซิมไหน นอกจากนี้การแจ้งเตือนจะมีทั้งแบบให้สไลด์รับกรณีปิดหน้าจออยู่ แต่ถ้าใช้งานอยู่จะแสดงผลเป็นหน้าต่างป็อปอัปขึ้นมาให้กดรับแทน ส่วนหน้าจอขณะสนทนาจะมีแสดงปุ่มลัดอย่างเปิดลำโพง ปิดไมค์ พักสาย เพิ่มสาย บันทึกโน้ตย่อ บันทึกการสนทนาให้เลือกใช้ด้วย

558000006700424

อีกจุดเด่นที่น่าสนใจใน Zenfone 2 คงหนีไม่พ้นเรื่องของกล้อง ที่ทางเอซุสเคลมว่าเป็นการนำระบบ PixelMaster มาใช้งาน ทำให้สามารถรับแสงได้มากกว่าเดิมถึง 400% โดยหน้าตาโหมดการใช้งานต่างๆ ถือว่าออกแบบมาตามมาตรฐาน มีโหมดถ่ายภาพให้เลือกใช้ค่อนข้างเยอะ ทั้งอัตโนมัติ กำหนดเอง ถ่ายภาพชดเชยแสง ภาพในที่แสงน้อย การซ้อนภาพ และลูกเล่นอื่นๆอีก

โดยตัวกล้องที่ให้มาสามารถถ่ายภาพนิ่งได้ที่ความละเอียด 13 ล้านพิกเซล ในขณะที่การบันทึกภาพวิดีโอก็สามารถทำได้ที่ 1080p ดังนั้น ต้องถือว่าเป็นกล้องที่ครบเครื่อง สามารถถ่ายได้ทั้งช่วงเวลากลางวัน และกลางคืนที่มีแสงน้อย รวมไปถึงภาพคมชัดสูงที่จะนำภาพมาต่อกันกลายเป็นภาพความละเอียด 52 ล้านพิกเซล

558000006700427

เมื่อถ่ายภาพเสร็จ ในส่วนของโปรแกรมดูรูปก็จะมีโปรแกรมปรับแต่งรูปมาให้ สามารถเลือกปรับสีให้ภาพสวยงาม หรือจะเลือกใส่กรอบ ครอบ หมุน หรือเขียนข้อความเพิ่มบนภาพก็ได้ เช่นเดียวกับการตั้งค่าความคมชัด ปรับแสง ปรับเงาก็มีมาให้

558000006700428

อีกส่วนหนึ่งคือเมื่อปรับแต่งภาพเสร็จแล้วอยากรวมภาพทั้งหมดเข้าด้วยกันเป็นภาพเดียวเอซุสก็ลงโปรแกรมอย่าง PhotoCollage มาให้เลือกใช้งานได้ทันที สามารถเลือกจำนวนรูปแบบได้สูงสุด 7 ภาพ เลือกเลย์เอาท์ภาพได้เอง

558000006700429

หรือถ้าต้องการตัดต่อวิดีโอแบบง่ายก็จะมี MiniMovie ที่ผู้ใช้สามารถเลือกนำภาพนิ่ง หรือวิดิโอคลิปที่ถ่ายมา ใส่เพลง เลือกธีม แล้วตัวเครื่องจะทำการร้อยเรียงออกมาเป็นคลิปสั้นๆให้สามารถแชร์ หรือส่งต่อได้ทันที

558000006700432

สุดท้ายมาดูกันในส่วนของการตั้งค่า ก็จะแบ่งเป็นสัดส่วนทั่วไปอย่าง การตั้งค่าการเชื่อมต่อ ทั้งไวไฟ บลูทูธ รวมถึงการแชร์หน้าจอไปยังอุปกรณ์ต่างๆ และ NFC ตั้งค่าอุปกรณ์ อย่างการแสดงผล การใช้ Zenmoiton Asus Cover ตั้งค่าส่วนตัวอย่างการเก็บข้อมูลพิกัด ความปลอดภัย บัญชีผู้ใช้ และตั้งค่าระบบต่างๆ

558000006700433

โดยส่วนของการตั้งค่าซิมการ์ด ผู้ใช้สามารถเลือกเปิด-ปิด การใช้งานซิมได้ รวมถึงสามารถเลือกได้ว่าจะให้ซิมไหนใช้สำหรับสนทนาเป็นหลัก หรือซิมไหนใช้ต่อเน็ต ขณะที่การตั้งค่าเพิ่มเติมก็จะมีการจับภาพหน้าจอโดยกดปุ่มแอปเร็วๆนี้ หรือการสัมผัสที่ปุ่มโฮม 2 ครั้งเพื่อย่อหน้าต่างลงมาให้ใช้งานมือเดียว รวมไปถึงการตั้งค่าเข้าถึงด่วน หรือเปิดกล้องเร็วด้วยการกดปุ่มระดับเสียง 2 ครั้ง

558000006700434

ในส่วนของ Asus Cover ถ้ามีการซื้อเคสมาใช้ ก็สามารถเลือกตั้งได้ว่าเมื่อเปิดฝาเคสออกมาให้ทำการปลดล็อกโดยอัตโนมัติ รวมไปถึงการตั้งการแสดงข้อมูลต่างๆบนจอเคส นอกจากนี้ก็จะมีพวกโหมดประหยัดพลังงานให้เลือกใช้งานอย่างประหยัดพลังงานพิเศษที่จะตัดการทำงานเบื้องหลัง และการเชื่อมต่อออกไปทั้งหมด และประหยัดพลังงานแบบทั่วไป

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของแอปที่เอซุส ติดตั้งมาให้ในเครื่อง ผู้ใช้จำเป็นต้องเข้าไปกดอัปเดตด้วยตนเองจากในส่วนของหน้าจอตั้งค่า เพราะแอปฯเหล่านี้จะไม่ปรากฏใน Play Store ให้อัปเดตเหมือนแอปปกติทั่วไป

ทดสอบประสิทธิภาพ

558000006700436

ในส่วนของผลการทดสอบ ผ่านโปรแกรมทดสอบประสิทธิภาพบนแอนดรอยด์อย่าง Antutu และ Quadrant Standart ได้คะแนน 46,735 คะแนน และ 22,743 คะแนน ตามลำดับ หน้าจอรองรับการสัมผัส 10 จุดพร้อมกัน

558000006700437

ทดสอบการใช้งาน HTML 5 ผ่าน Vellamo จากเว็บเบราว์เซอร์ได้ 2,926 คะแนน โครมเบราว์เซอร์ 3,526 คะแนน ส่วนประสิทธิภาพตัวเครื่องได้ (Metal) 1,240 คะแนน Multicore 1,528 PCmark ได้ Work Performance 5,909 คะแนน

558000006700438

ส่วนการทดสอบ 3D Mark ตัว Ice Storm Unlimited ได้ 16,363 คะแนน ส่วน Ice Storm Extream 8,416และ Ice Storm คะแนนทะลุเกินไป

558000006700439

เมื่อทำการทดสอบผ่าน Geekbench ได้คะแนน Single Core 907 คะแนน Multi Core 2,863 คะแนน ส่วนการทดสอบแบตเตอรีตั้งแต่ 100% – 0% ได้ระยะเวลาการใช้งานประมาณ 4 ชั่วโมง 51 นาที 30 วินาที คิดเป็นคะแนน 2,915 คะแนน

558000006700442

สรุป

ถ้ามองโดยรวมแล้วต้องยอมรับว่า Zenfone 2 เอซุสยังทำออกมาได้คุ้มค่ากับราคา เมื่อเทียบกับประสิทธิภาพที่ได้รับ โดยในส่วนของการใช้งานทั่วไปต้องยอมรับว่าจากสเปกที่ให้มาทำงานได้ลื่นไหลอย่างแน่นอน เพียงแต่ในส่วนของกล้องถ้านำไปเทียบกับสมาร์ทโฟนไฮเอนด์ค่ายอื่นยังถือว่าเป็นรองอยู่ในเรื่องของความคมชัด แต่ถ้าคิดเทียบกับราคาที่จ่ายไปก็ถือว่าโอเคดี

ในส่วนของแบตเตอรี แม้ว่าให้มา 3,000 mAh แต่เมื่อใช้งานต่อเนื่องแบตก็ลดลงอย่างรวดเร็ว อาจจะเพราะหน่วยประมวลผลที่ใช้เป็น Atom ด้วย แต่เอซุสก็เพิ่มระบบขาร์จเร็วมาให้ใช้ด้วย (Quick Charge) โดยเอซุสระบุว่าสามารถชาร์จได้ 60% ใน 39 นาที แน่นอนว่าต้องชาร์จร่วมกับที่ชาร์จ 18w Boots Master ที่แถมมา

ข้อดี

– เครื่องประสิทธิภาพสูง Quad Core 2.3 GHz RAM 4 ROM 32 GB จอ 1080p ในระดับราคาหมื่นบาท
– กล้องถ่ายภาพระบบ Pixel Master ที่สามารถถ่ายภาพในที่แสงน้อยได้ ประสิทธิภาพสมราคา
– อินเตอร์เฟสการใช้งานโดยรวมที่ลื่นไหล ใช้งานง่าย
– คุณภาพของวัสดุที่เลือกใช้ดูดีขึ้นอย่างชัดเจน

ข้อสังเกต

– แบตเตอรี ที่สามารถใช้งานได้ต่อเนื่องราว 5 ชั่วโมงเท่านั้น แม้ว่าจะให้แบตมาถึง 3,000 mAh
– การอัปเตดแอปของเอซุส ต้องเข้าไปเลือกอัปเดต App ZenUI ในหน้าจอตั้งค่า ไม่รวมอยู่ใน Playstore
– ปุ่มสัมผัสล่างหน้าจอยังไม่มีไฟเหมือนเช่นเดิม

[usrlist “การออกแบบ:9” “สเปก/ฟีเจอร์เด่น:8.5” “ความสามารถโดยรวม:8.5” “ความคุ้มค่า:9″ avg=”true”]>หลักเกณฑ์การให้คะแนนรีวิว<

Gallery

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็น

SHARE