Review : Microsoft Lumia 950XL ประเดิม Windows 10 บนสมาร์ทโฟนรุ่นแรกในไทย

20440

IMG_2142

ถือเป็นการกลับมาอีกครั้งของไมโครซอฟท์ในตลาดสมาร์ทโฟน หลังจากทิ้งช่วงไปในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ด้วยการอัปเดตจากระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 8.1 เป็นวินโดวส์ 10 ในจุดนี้ไมโครซอฟท์ ประเดิมด้วย Lumia 950 และ Lumia 950XL ที่ถือเป็น 2 รุ่นแรกที่เป็นวินโดวส์ 10 และเริ่มวางตลาดในประเทศไทย

จุดเด่นหลักที่ไมโครซอฟท์ชูขึ้นมาสำหรับ Lumia 950XL คือในเรื่องของขนาดหน้าจอ 5.7 นิ้ว ความละเอียดระดับ 2K กับกล้องถ่ายภาพที่ใช้เทคโนโลยี PureView 20 ล้านพิกเซล ที่สามารถถ่ายวิดีโอระดับ 4K ได้ ไม่นับรวมกับความสามารถของระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 10 ที่มีมาให้ใช้ทั้ง Cortana Windows Hello และ Continuum

การออกแบบ

IMG_2154

ในแง่ของการออกแบบไมโครซอฟท์พยายามกลับมาสู่จุดเดิมที่เน้นความเรียบหรู จากเครื่องรูปทรงสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ที่มีการลบขอบมุมให้มน เน้นประโยชน์ใช้สอยในการใข้งานเป็นหลัก โดยมีขนาดรอบตัวอยู่ที่ 78.4 x 151.9 x 8.1 มิลลิเมตร น้ำหนัก 165 กรัม วางจำหน่ายด้วยกัน 2 สี คือ ขาว และดำ

IMG_2143

ด้านหน้าไล่จากบนสุดจะมีช่องลำโพงสนทนาพาดอยู่ตรงกึ่งกลางบนตัวอักษรระบุแบรนด์ ‘Microsoft’ โดยมีไฟแสดงสถานะ และกล้องหน้าความละเอียด 5 ล้านพิกเซลแบบมุมกว้าง f/2.4 ทางฝั่งขวา ส่วนทางฝั่งซ้ายจะมีเซ็นเซอร์อินฟาเรตที่ใช้งานร่วมกับ Windows Hello ในการปลดล็อกตัวเครื่อง

ถัดลงมาเป็นหน้าจอขนาด 5.7 นิ้ว ความละเอียด WQHD หรือจอ 2K (2560 x 1440 พิกเซล) ที่ยังคงใช้จอแบบ AMOLED ClearBlack ให้ความละเอียดเม็ดสีที่ 581ppi โดยเป็นจอกระจกจาก Gorilla Glass 4 ขณะที่ปุ่มควบคุมหลัก 3 ปุ่มคือ ย้อนกลับ ปุ่มวินโดวส์ และค้นหา จะฝังอยู่ในหน้าจอดังนั้นจึงไม่มีปุ่มแยกออกมา ล่างหน้าจอจะมีช่องไมโครโฟนอยู่ด้วย

IMG_2144

ด้านหลังบริเวณกล้องจะนูนขึ้นมาจากตัวเครื่องเล็กน้อย แต่ด้วยดีไซน์ของฝาหลังทำให้คลุมขึ้นมาเหนือกระจกเลนส์ดังนั้นจึงช่วยปกป้องเลนส์ไปในตัว โดยบริเวณกระจกเลนส์จะเป็นที่อยู่ของเซ็นเซอร์กล้องความละเอียด 20 ล้านพิกเซล และไฟแฟลข 3 ดวง โดยมีช่องลำโพงอยู่ใกล้เคียง ตรงกลางจะมีสัญลักษณ์วินโดวส์และตัวอักษรระบุ PureView และ ZEISS

IMG_2193

เมื่อแกะฝาหลังออกมาจะพบกับแบตเตอรีขนาด 3,340 mAh อยู่ตรงกลาง พร้อมช่องงัดแบตเตอรี เมื่องัดออกมาจะพบกับช่องใส่นาโนซิมการ์ดอยู่ (เครื่องที่ได้มาทดสอบเป็น Dual SIM แต่เครื่องที่ขายจริงจะเป็นรุ่น 1 ซิม) ส่วนช่องใส่ไมโครเอสดีการ์ดจะแยกอยู่บริเวณส่วนล่าง แถวๆขั้วการเชื่อมต่ NFC

IMG_2158IMG_2156ด้านซ้ายถูกปล่อยว่างไว้ ด้านขวาเป็นปุ่มปรับระดับเสียง พร้อมกับปุ่มเปิดปิดเครื่องที่อยู่ติดกัน ให้ความรู้สึกคล้ายๆกับดีไซน์ของปุ่มบน BlackBerry Playbook ที่เคยออกแบบมาในลักษณะดังกล่าว ถัดลงมาเป็นปุ่มชัตเตอร์กล้องแบบ 2 จังหวะ สามารถกดลดไปจังหวะแรกเพื่อโฟกัส ก่อนกดอีกขั้นเพื่อบันทึกภาพ

IMG_2159IMG_2157ด้านบนตรงกึ่งกลางจะเป็นช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม. ด้านล่างเป็นพอร์ต USB-C ไว้ใข้สำหรับการชาร์จ เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ รวมถึงใช้ต่อกับ Microsoft Display Port เพื่อใช้งาน Continuum หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆด้วย

สำหรับอุปกรณ์ที่มีมาในกล่องนอกจากตัวเครื่อง Lumia 950 XL แบตเตอรี่ ก็จะมี Microsoft USB-C Fast Charger  Microsoft USB-C-USB 3.1 Cable ไว้เชื่อมต่อกับพอร์ต USB 2.0 / USB 3.0 และ คู่มือการใช้งาน

สเปก

Lumia 950XL ที่ถือเป็นรุ่นไฮเอนด์สุดของไมโครซอฟท์ในเวลานี้ จะทำงานบนหน่วยประมวลผล Qualcomm Snapdragon 810 ที่ะเป็น Octa-Core 2 GHz RAM 3 GB พื้นที่เก็บข้อมูลภายในตัวเครื่อง 32 GB สามารถใส่ไมโครเอสดีการ์ดเพิ่มได้สูงสุด 200 GB ทำงานบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 10

ในแง่ของการเชื่อมต่อรองรับทั้ง 3G ให้ความเร็วในการใช้งานสูงสุด 42.2/5.76 Mbps ส่วน 4G LTE เป็น Cat 4 ให้ความเร็ว 150/50 Mbps ขณะที่ตัว WiFi รองรับมาตรฐาน 802.11 a/b/g/n/ac บลูทูธ 4.1 GPS NFC และวิทยุFM

ฟีเจอร์เด่น

s01

ในส่วนของการใช้งาน Lumia 950XL ที่มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 10 จะใช้การแสดงผลบนหน้าจอหลักเป็นแบบ Live Tile ที่ผู้ใช้สามารถเลือกปรับขนาด สลับตำแหน่ง รวมไอคอนเป็นโฟลเดอร์ได้ด้วยตัวเอง ถ้าต้องการเข้าสู่หน้ารวมโปรแกรมใช้วิธีการปาดนิ้วจากขวาไปซ้ายได้ทันที

เมื่อลากนิ้วจากขอบบนลงมาจะเป็นการเรียกแถบการแจ้งเตือน และตั้งค่าปุ่มลัด ที่จะมีให้เลือกตั้งได้ตามต้องการ แต่พื้นฐานจะเป็นการเรียกใช้งานกล้อง เปิดปิด ไวเลส บลูทูธ การหมุนหน้าจอ โหมดเครื่องบิน การเชื่อมต่อ ฮ็อตสป็อต ความสว่างหน้าจอ โหมดประหยัดพลังงาน การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่น ไฟฉาย พิกัด สมุดโน้ต และเข้าสู่การตั้งค่าหลัก ส่วนการลากนิ้วจากขอบจอล่างขึ้นจะใช้เรียกปุ่มสั่งงาน

IMG_2153

Glance Screen ยังถือเป็นจุดเด่นสำคัญในส่วนของการแสดงผลหน้าจอขณะที่ไม่ได้เปิดใช้งานเครื่อง โดยตัวเครื่องจะขึ้นแสดงเวลา วัน วันที่ และผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าจะให้แสดงผลข้อมูลจากตารางนัดหมาย พยากรณ์อากาศ หรือกสนแจ้งเตือนจากโซเชียลมีเดียต่างๆได้

s02

ขณะที่หน้าจอปลดล็อกนอกจากการปัดเพื่อปลดล็อก หรือใส่รหัสปลดล็อกแล้วในวินโดวส์ 10 จะมาพร้อมกับฟังก์ชันอย่าง Windows Hello (Beta) ที่นำกล้องหน้ากับแสงอินฟาเรดมาช่วยในการปลดล็อกจากการสแกนดวงตา 2 ข้างของผู้ใช้ โดยก่อนอื่นต้องเข้าไปตั้งค่าเปิดใช้งาน Windows Hello (beta) ก่อน โดยตัวเครื่องจะทำการบันทึกภาพดวงตาทั้ง 2 ข้างไว้ เมื่อบันทึกเรียบร้อยก็พร้อมใช้งานได้ทันที

IMG_2149

การปลดล็อกเครื่องด้วย Windows Hello (beta) ผู้ใช้จำเป็นต้องยกตัวสมาร์ทโฟนขึ้นมาอยู่ในระดับสายตา โดยจะสามารถใช้งานได้กับผู้ที่ใส่แว่นตาใสปกติ แต่กรณีที่ใส่แว่นดำปกปิดดวงตาตัวเครื่องจะไม่สามารถอ่านค่าได้ และให้ใส่รหัสผ่านเพื่อปลดล็อกเครื่องแทน อย่างไรก็ตามความสามารถในการปลดล็อกนี้สามารถใช้งานในเวลากลางคืนได้ด้วย จากแสงสว่างของหน้าจอที่ส่องมายังใบหน้าผู้ใช้

อย่างไรก็ตาม Windows Hello (beta) ยังมีจุดบอดอยู่เช่นเดียวกับบนโน้ตบุ๊ก หรือ Microsoft Surface ที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 10 ขณะที่ชาร์จแบตคือเมื่อหน้าจอเครื่องติดขึ้นมา แล้วทำการสแกนไม่พบดวงตาผู้ใช้ก็จะทำงานไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงเวลาที่กำหนดให้ปิดหน้าจอถ้าไม่มีการใช้งาน จนบางทีอาจจะล็อกจนต้องใส่รหัสเองก็เป็นได้

ถัดมาที่พิเศษขึ้นมาใน Lumia 950XL ก็ถือเป็นเครื่องรุ่นแรกที่วางจำหน่ายและรองรับการใช้งาน Microsoft Continuum ที่ใช้สมาร์ทโฟนเชื่อมต่อกับจอ เมาส์ และคีย์บอร์ดเพื่อใช้งานแทนพีซีได้ทันที สามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดแบบเต็มๆของ Continuum ได้ที่ http://www.cyberbiz.in.th/review-microsoft-continuum

IMG_2170

นอกจากนี้ ก็จะมีฟีเจอร์ปลีกย่อยที่ใช้ความสามารถของ USB-C ทำให้เมื่อใช้งานร่วมกับที่ชาร์จที่แถมมาให้ในกล่องจะเป็นระบบชาร์จเร็ว จะทำให้สามารถชาร์จแบตเตอรีจาก 0 – 50% ได้ภายในเวลาประมาณ 30 นาที (ทีมงานทดสอบแล้วใช้ประมาณ 40 นาที) และถ้าต้องการชาร์จจนเต็มจะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 40 นาที ซึ่งถือว่าค่อนข้างเร็วสำหรับแบตเตอรีขนาด 3,340 mAh

ขณะเดียวกันตัว Lumia 950XL ก็รองรับการชาร์จแบบไร้สาย (Wireless Charge) บนมาตรฐานของ Qi ทำให้สามารถใช้งานร่วมกับที่ชาร์จไร้สายทั่วไปได้ทันที เพียงแต่ระยะเวลาชาร์จแบบไร้สายจะช้ากว่าการชาร์จแบบมีสายแน่นอน

IMG_2155

ย้อนมาถึงฟังก์ชันที่มากับตัวเครื่องและมีความน่าสนใจอีกจุดที่เห็นชัดเจนมากคือเรื่องของหน้าจอแสดงผล ที่ทางไมโครซอฟท์ อัดจอ 2K มาในขนาด 5.7 นิ้ว ทำให้ความละเอียดเม็ดสีสูงถึง 581ppi ดังนั้นการแสดงผลภาพจึงมีความคมชัดสูง ประกอบกับเทคโนโลยีการแสดงของแบบ Clear Black ที่ใช้มาตั้งแต่สมัยเป็น Nokia ทำให้การตัดกันของสีมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นด้วย เช่นเดียวกับมุมมองของหน้าจอที่รองรับการมองในมุมกว้างด้วย

s21

อย่างไรก็ตาม ไมโครซอฟท์ ได้มีการเพิ่มฟังก์ชันพิเศษในการใช้งานสมาร์ทโฟนจอใหญ่มาด้วย คือการที่ผู้ใช้สามารถกดปุ่ม วินโดวส์ ค้างเพื่อย่อหน้าต่างลงมาให้สามารถใช้งานด้วยมือข้างเดียว ถ้าต้องการกลับขึ้นไปใช้งานแบบเต็มจอก็สามารถกดบริเวณพื้นที่ว่างด้านบนได้ทันที และสามารถใช้งานได้กับเกือบทุกแอปพลิเคชัน

IMG_2166

อีกจุดที่ถือเป็นเรื่องสำคัญในสมาร์ทโฟนไฮเอนด์รุ่นหลังๆในตระกูล Lumia คงหนีไม่พ้นเรื่องของกล้องถ่ายภาพที่ยังคงจุดเด่นด้วยการนำเทคโนโลยี Pureview ร่วมกับเลนส์จาก ZEISS ที่ให้ความละเอียดภาพ 20 ล้านพิกเซล และสามารถบันทึกวิดีโอความละเอียด 4K ได้ด้วย

s14

อินเตอร์เฟสการใช้งานกล้องจะเน้นไปที่ความง่ายในการใช้งานเป็นหลัก คือผู้ใช้สามารถสลับโหมดระหว่างภาพนิ่ง และวิดีโอได้จากไอค่อนทางด้านขวา ถ้าต้องการปรับตั้งค่าลัดจะมีให้เลือกสลับกล้อง เปิดปิดแฟลช โหมด Rich Capture ในการบันทึกภาพและเลือกภาพที่ดีที่สุด  นอกจากนี้ยังสามารถเข้าไปเลือกตั้ง White Balance Focus ISO Speed Shutter และความสว่างได้จากแถบลัดตรงกลางบนหน้าจอ

หรือถ้าชอบการตั้งค่าแบบการเลื่อนปรับ ก็สามารถลากนิ้วตรงปุ่มชัดเตอร์ไปทางซ้าย เพื่อเรียกวงแหวนการตั้งค่าออกมาหมุนได้ เมื่อตั้งเสร็จก็ใช้การปาดนิ้วขวาไปซ้าย เพื่อเก็บวงแหวนและมาเล็งภาพแทนได้เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามโหมดการตั้งค่าระดับสูงจะเหมาะกับผู้ที่มีความรู้ในการถ่ายภาพบ้าง เพื่อให้ได้ภาพที่แตกต่างจากการถ่ายแบบอัตโนมัติทั่วไป

ถัดมาโหมดถ่ายวิดีโออย่างที่บอกไปว่าตัวกล้องสามารถบันทึกวิดีโอความละเอียด 4K (3840 x 2160 พิกเซล) ได้ในระดับ 30 เฟรมต่อวินาที แต่ถ้าเป็นวิดีโอ Full HD (1920 x 1080 พิกเซล) จะสามารถบันทึกได้ที่ 60 เฟรมต่อวินาที รวมถึงความสามารถในการถ่าย Slow Motionได้ด้วย

ทั้งนี้ ความโดดเด่นของกล้อง Lumia 950XL จะเน้นไปที่ความสามารถในการบันทึกภาพในที่แสงน้อย ที่เมื่อเทียบกับสมาร์ทโฟนแบรนด์อื่นแล้วให้ภาพที่สว่างกว่า จากการที่ดัน ISO ขึ้นไปถึง 3200 แต่ภาพที่ได้ก็ไม่มี Noise รบกวนจนเกินไป ขณะที่ภาพวิดีโอบันทึกออกมาอยู่ในเกณฑ์ที่ถือว่าดีมาก จะเสียอย่างเดียวเลยคือการใช้งานกล้องนานๆแล้วตัวเครื่องจะร้อนเร็วมาก

s15

นอกจากนี้ ไมโครซอฟท์ ก็ยังคงจุดเด่นในแง่ของฟังก์ชันการถ่ายภาพด้วยการนำ Lenses ในที่นี้หมายถึงแอปที่ใช้คู่กับกล้องเพื่อให้ถ่ายภาพอย่าง Lumia Selfie ที่มีระบบถ่ายภาพ Selfie อัตโนมัติเมื่อจับใบหน้าได้ Blink การถ่ายภาพต่อเนื่องและนำมาเรียงกันเป็นวิดีโอ

s19

ที่เหลือก็จะเป็นฟีเจอร์ที่มากับเครื่องทั่วไปอย่าง Microsoft EDGE หรือเว็บเบราว์เซอร์รุ่นใหม่ของไมโครซอฟท์ ที่จะซิงค์ข้อมูลการใช้งานจากบัญชีผู้ใช้มาได้ทันที พร้อมกับฟังก์ชันในการอ่านที่ผู้ใช้สามารถบันทึกหน้าเว็บที่ต้องการอ่านไว้ เพื่อมาเปิดอ่านทีหลังได้ ส่วนการใช้งาน การตอบสนองของเบราว์เซอร์ถือว่าทำได้ลื่นไหลดี

s13s16

ระบบนำทางที่ใช้แผนที่ของ Here ยังคงจุดเด่นในเรื่องของการที่ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดแผนที่มาเก็บไว้ในตัวเครื่อง เพื่อใช้นำทางเวลาไปต่างประเทศและไม่ได้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตก็สามารถใช้ได้ นอกจากนี้ ยังมีโหมดภาพ 3D หลายเมืองในต่างประเทศให้ดู เพียงแต่แอปฯยังมีอาการเด้งออกบ่อยมาก

s12

ในส่วนของโหมดการใช้งานโทรศัพท์ มาพร้อมระบบคาดเดารายชื่อจากชื่อ และเลขหมายที่พิมพ์เข้าไป เมื่อพิมพ์ชื่อหรือหมายเลขนำหน้าก็จะดึงลิสต์รายชื่อจากคอนเทคขึ้นมาแสดงผลทันที หน้าจอขณะสนทนาจะมีแสดงทั้งรูปภาพ ชื่อ เลขหมาย พร้อมเวลาในการสนทนา ส่วนล่างจะเป็นปุ่มลัดสำหรับพักสาย เพิ่มสาย เปิดบลูทูธ ปิดเสียง เปิดลำโพง เรียกปุ่มกด และกรณีที่ปลายสายมีการใช้งานสไกป์ก็จะเรียกใช้เป็นวิดีโอคอลได้ด้วย

กรณีที่มีสายเรียกเข้า น่าเสียดายที่ทางไมโครซอฟท์ ออกแบบการรับโทรศัพท์ออกเป็น 2 ขั้นตอน คือต้องสไลด์เพื่อปลดล็อกหน้าจอก่อน แล้วค่อยกดเลือกว่าจะรับสาย ตัดสาย หรือส่งข้อความกลับมาหา ไม่ใช่การสไลด์เพื่อรับสายทันที จุดนึงก็อาจจะให้รู้สึกยากในการใช้งาน

s20

แป้นคีย์บอร์ด ในส่วนของภาษาอังกฤษถือว่าทำออกมาได้ดี เพราะมาพร้อมกับระบบ Swype ให้ลากนิ้วเพื่อพิมพ์ได้ทันที แป้นพิมพ์มีขนาดใหญ่ใช้งานง่าย แต่ในส่วนของภาษาไทยด้วยการที่ตัวอักษรมีจำนวนมากกว่าทำให้แป้นพิมพ์บีบอัดมากกว่าภาษาอังกฤษ ขณะเดียวกันเลย์เอาท์บางปุ่มก็ถูกเปลี่ยนตำแหน่งอย่าง’ ‘’ ‘ที่เด้งลงไปอยู่ข้างสเปซบาร์แทน

การสลับภาษาทำได้ 2 วิธีคือจากการปัดนิ้วบริเวณสเปซบาร์ หรือกดปุ่ม ‘&123’ ค้างและเลือกภาษาที่ต้องการ นอกจากนี้ถ้ากดปุ่มสเปซบาร์ค้างจะสามารถปรับตำแหน่งของคีย์บอร์ดเลื่อนขึ้นลงได้ตามต้องการ อีกจุดที่ไมโครซอฟท์ทำมาได้ดีและต้องชมคือปุ่มทรงกลมสีฟ้าๆที่อยู่บนคีย์บอร์ด ผู้ใช้สามารถกดและลากนิ้วขึ้น ลง ซ้าย ขวา เพื่อเลื่อนตำแหน่งของเคอเซอร์ได้ ทำให้ไม่ต้องใช้นิ้วค่อยๆจิ้มหน้าจอให้ถูกตำแหน่งอีกต่อไป

s17

Outlook Mail ที่เป็นระบบเมลที่มากับเครื่องผู้ใช้สามารถใส่บัญชีอีเมลเข้าไปซิงค์ได้ทั้งบัญชีของทางไมโครซอฟท์ บัญชีของ Yahoo หรือ Gmail เพียงแต่ในแง่ของการแสดงผลยังมีปัญหาการถอดรหัส (Encode) บางอีเมลที่ส่งมาไม่ได้ ทำให้ไม่สามารถอ่านภาษาไทยได้

s05

ในส่วนของความบันเทิงจะมี Groove Music เป็นเครื่องเล่นเพลง โดยการลงเพลงก็สามารถนำไฟล์จากพีซีซิงค์ลงเครื่องได้ทันที ในที่นี้ตัวเครื่องเล่นสามารถเล่นไฟล์ Hi-def ที่เป็น Flac ได้ด้วย ฟังก์ชันการใช้งานก็จะเป็นแบบพื้นฐานทั่วไป ส่วนเครื่องเล่นวิดีโอก็สามารถดึงไฟล์ mp4 จากคอมมาเล่นได้ทันที ไม่ได้มีฟังก์ชันอะไรพิเศษเช่นเดียวกัน

s11

ในเครื่องยังมีการติดตั้ง Shazam มาให้ใช้งานโดยฟังก์ชันหลักของ Shazam คือการค้นหาเพลงที่ได้ยิน ซึ่งระบบทำออกมาได้ค่อยข้างดีใช้ระยะเวลาเพียงครู่เดียวก็สามารถค้นหาเพลงได้ เมื่อค้นเจอสามารถเปิดฟังตัวอย่างเพลง ดูเนื้อร้อง และเข้าไปชมคลิปวิดีโอได้ทันที นอกจากนี้ก็จะมีการแสดงผลชาร์จเพลงที่ถูกค้นหาบ่อยที่สุดมาให้ดูด้วย

s03s04

สำหรับแอปพลิเคชันที่พรีโหลดมาให้ในเครื่องจะประกอบไปด้วย นาฬิกาปลุก เครื่องคิดเลข กล้อง Continuum Cortana Excel File Explorer File&TV FM Radio Gadgets (ไว้จัดการอุปกรณ์เชื่อมต่อ) Groove Music Maps Messaging Microsoft Edge OneDrive OneNote Outlook ปฏิทิน โทรศัพท์ รูปภาพ พอดคาสต์ PowerPoint Shazam Skype Store บันทึกเสียง Waller (ยังไม่เปิดใช้ในไทย) พยากรณ์อากาศ Word Xbox และพวกข้อมูลข่าวทั้งหลาย

s06

ผู้ใช้สามารถเข้าไปดาวน์โหลดแอปเพิ่มเติมได้จากภายใน Windows Store ที่จะมีจัดเรียงแอปพลิเคชันที่น่าสนใจไว้ให้  รวมถึงคอนเทนต์อย่าง เพลง หนัง และเกม โดยแนะนำให้ผู้ใช้ทำการเข้าไปอัปเดตแอปพลิเคชันให้ใหม่อยู่เสมอภายใน และสามารถเข้าไปดูว่าดาวน์โหลดแอปพลิเคชันใดไปแล้วบ้างได้ที่ My Library

s18

สุดท้ายในส่วนของการตั้งค่า ถือว่าทำมาแล้วใช้านค่อนข้างยากสำหรับผู้ใช้ทั่วไปที่ไม่มีความรู้ เพราะไม่มีสัญลักษณ์ใดๆบอกเลย มีแต่ตัวอักษรอธิบายรายละเอียดการตั้งค่าเท่านั้น แต่ถ้าในมุมของผู้ที่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์พื้นฐานก็อาจมองว่าสะดวกในการใช้งาน เพราะสามารถเลือกค้นหาการตั้งค่าที่ต้องการจากแถบด้านบนได้ทันที

ทดสอบประสิทธิภาพ

s22

การทดสอบประสิทธิภาพจาก AnTuTu Benchmark ได้คะแนนรวม 29,265 คะแนน แบ่งเป็นคะแนน ขณะที่ในแง่ของการใช้งานแบตเตอรีขนาด 3,340 mAh กับขนาดหน้าจอ 5.7 นิ้ว ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ใช้งานได้ต่อเนื่องสบายๆใน 1 วัน แต่ถ้ามีการเปิดใช้งานหนักอย่างต่อเนื่องก็อาจจะอยู่ได้ถึงช่วงเย็นๆ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้งานของผู้ใช้แต่ละรายด้วย

สรุป

กลุ่มเป้าหมายหลักของ Microsoft Lumia 950XL คงหนีไม่พ้นกลุ่มนักธุรกิจ หรือผู้ที่ใช้ชีวิตอยู่กับงานเอกสาร พร้อมการทำงานร่วมกับ Microsoft Office เป็นหลัก แถมมาด้วยความสามารถเพิ่มเติมทางไลฟ์สไตลการใช้งานจากกล้องความละเอียดสูงระดับ PureView 20 ล้านพิกเซล พร้อมด้วยการอัดสเปกเครื่องระดับสูงมาให้ใช้งาน แต่ก็แลกมากับราคาจำหน่ายที่ค่อนข้างสูง

เพราะความสามารถต่างๆของ Lumia 950XL ต่างเน้นไปที่การเชื่อมระหว่างแพลตฟอร์ม วินโดวส์ 10 เข้าหากันเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งานเป็นหลัก แต่ด้วยการที่แอปพลิเคชันยังน้อยทำให้ผู้ใช้ที่ต้องการโทรศัพท์มาเล่น ไม่ได้เน้นทำงานมากนักอาจต้องเบือนหน้าหนี ประกอบกับราคาจำหน่ายที่เฉียด 3 หมื่นบาท ยิ่งทำให้กลุ่มลูกค้าหดแคบเข้ามาอีก

ดังนั้น ถ้าต้องการสมาร์ทโฟนมาช่วยทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และไลฟ์สไตล์ไม่ได้เน้นการโหลดแอปเพิ่มเติมมากนัก ใช้แต่แอปทั่วไปที่มากับตัวเครื่อง เช็กอีเมล เล่นโซเชียลเน็ตเวิร์ก ด้วยประสิทธิภาพของ Lumia 950XL ถือว่าตอบโจทย์ แต่ถ้าต้องการความบันเทิงมากกว่านี้อาจจะต้องลองมองหาสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการอื่นจะดีกว่า

ข้อดี

อุปกรณ์ที่ทำงานกับแพลตฟอร์ม Windows 10 ได้เต็มรูปแบบ

– Continuum เชื่อมต่อกับจอ และคีย์บอร์ดใช้ทำงาน Microsoft Office

ฟีเจอร์หลักๆอย่าง กล้อง Pureview แผนที่ Here ยังคงประสิทธิภาพในการใช้งาน

มาพร้อมกับ USB-C และมีพอร์ตแปลงมาให้ใช้งานกับยูเอสบีปกติ

ข้อสังเกต

จากการที่ใช้ซีพียู ​Snapdragon 810 เครื่องร้อนเร็วมากเวลาใช้งาน

มีอาการเครื่องรีสตาตเองบ่อยครั้ง (เครื่องที่ได้มาเป็นเครื่องทดสอบ ไม่ใช่เครื่องที่วางจำหน่ายในประเทศไทย)

เหมาะกับผู้ที่ใช้ทำงานร่วมกับ Microsoft Office เป็นหลัก แอปทั่วไปยังมีปริมาณน้อยอยู่

ฝาหลังด้านล่างไม่แน่นไปกับตัวเครื่อง ทำให้กดแล้วยุบๆ

Gallery

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็น

REVIEW OVERVIEW
การออกแบบ
7
สเปก/ฟีเจอร์เด่น
8
ความสามารถโดยรวม
7.5
ความคุ้มค่า
6
SHARE